Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ADA5D227-E674-4540-BF5B-A3C14A016D0E

ADA5D227-E674-4540-BF5B-A3C14A016D0E

Published by Guset User, 2021-12-31 04:35:26

Description: ADA5D227-E674-4540-BF5B-A3C14A016D0E

Search

Read the Text Version

นาฏศิลป์ นานาชาติ โดย นาย อภิสิทธิ์ ช่วยหาร ม.๖.๒ เลขที่ ๙



คำนำ สมุดเล่มเล็กเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชาศ ๓๓๑๐๒ ศิลปะ ๖ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องนาฏศิลป์นานาชาติ ได้แก่ นาฏศิลป์จีน นาฏศิลป์ญี่ปุ่น นาฏศิลป์เกาหลี นาฏศิลป์อินเดีย นาฏศิลป์มาเลเซีย และได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือ นักเรียน นักศึกษาที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการ ใดผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย นาย อภิสิทธิ์ ช่วยหาร ผู้จัดทำ



สารบัญ หน้า เรื่อง ๑ - นาฏศิลป์จีน ๕ - นาฏศิลป์ญี่ปุ่น ๙ - นาฏศิลป์เกาหลี ๑๓ - นาฏศิลป์อินเดีย ๑๗ - นาฏศิลป์มาเลเซีย



นาฏศิลป์จีน -๑-

การแสดงอุปรากรจีน (งิ้ว) อุปรากรจีนที่เป็นแบบมาตรฐาน และนับเป็นศิลปะ ประจำชาติ คือ อุปรากรปักกิ่ง ซึ่งการแสดงจะเน้นศิลปะ ด้านดนตรี การขับร้อง นาฏลีลา การแสดงอารมณ์ ศิลปะการต่อสู้กายกรรม ผู้แสดงจะต้องมีพรสวรรค์ น้ำ เสียงมีคุณภาพ นอกจากนี้ยังต้องมีความอดทนสูงอีก ด้วย -๒-

องค์ประกอบของการแสดงอุปรากรจีน 1. ประเภทและบทบาทตัวละคร ตัวละครชายกับหญิงแบ่งออกเป็น \"บู๊และบุ๋น\" โดยประเภทที่แสดงบู๊จะต้องแสดง กายกรรมส่วนประเภทที่แสดงบุ๋นจะเน้นที่การขับร้องและการแสดงอารมณ์ แต่ถ้าแสดงบทบาทที่คาบเกี่ยวกันจะเรียก ตัวละครนั้นว่า \"บู๊บุ๋น\" 2. เทคนิคการแสดงแสดง ตามทฤษฎีการเคลื่อนไหวทุกส่วนของร่างกายมีจังหวะสง่างามการเคลื่อนไหวของมือเท้า การเดินการเคลื่อนไหวของหนวดเคราชายเสื้อขนนกที่ประดับอยู่บนศีรษะจะคล้ายกับละครใบ้ใช้สัญลักษณ์แทนความ หมายเช่นการยกทัพใช้คนถือธงเพียงคนเดียวเดินนำหน้าแม่ทัพกิริยาอายของสตรีจะแสดงโดยการยกแขนเสื้อมาบังใบ หน้าและการแสดงว่ากำลังนอนก็แสดงโดยวางแขนไว้บนโต๊ะแล้วนอนหนุนแขนเป็นต้น C 3. เครื่องแต่งกาย แต่งตามชุดประจำชาติมีชุดจักรพรรดิชุดขุนนางเครื่องทรงเสื้อเกราะมงกุฎจักรพรรดิหมวกขุนนาง นักรบรองเท้าเป็นรองเท้าผ้าพื้นเรียบผู้แสดงแต่งหน้าเองตามบทบาทที่แสดง -๓-

-๔-

นาฏศิลป์ญี่ปุ่น -๕-

ละครคาบูกิ ต้นกำเนิดของคาบูกิมาจากหญิงชื่อ โอคุนิ เกอิชา ผู้แต่งกายด้วยชุดหรูหราอลังการ บางครั้งก็แต่งเป็น ซามูไรเลียนแบบผู้ชายออกแสดงด้วยท่าทางการร่าย รำแปลกตาในสมัยนั้นเรียกการแสดงของโอคุนิด้วย ภาษาญี่ปุ่นว่าคาบุอิตะเอ็นชุสึ (การแสดงแปลกใหม่ น่าแปลกตา) จึงกลายเป็นที่มาของคำว่า \"คาบูกิ\" -๖-

การแต่งหน้าและการแต่งกาย คาบูกินั้นจะเน้นความฉูดฉาดอลังการมีเอกลักษณ์ที่การแต่งหน้านักแสดงที่เรียกว่าคุมาโด ริ (Kumadori) โดยจะทาหน้าเป็นสีขาวและวาดลวดลายซึ่งแบ่งสีออกเป็นสีแดงคือฝ่ายดีสีฟ้า คือฝ่ายร้ายสีน้ำตาลคือตัวละครที่ไม่ใช่มนุษย์นอกจากนี้ยังใส่วิกผมและสวมชุดหรูหราสวยงาม การแสดง มีทั้งการร้องและการพากษ์ท่าทางการแสดงมีแบบแผนที่เคร่งครัดเรื่องที่แสดงเป็นเรื่อง ประวัติศาสตร์ศาสนาและเทพนิยายใช้ผู้ชายแสดงล้วนแต่งกายด้วยสีสันฉูดฉาดมีการเขียนหน้า คล้ายนิ้วการแต่งหน้ามีแบบแผนตายตัวกำหนดว่าสีใดเป็นของตัวละครใดเช่นผู้ร้ายหน้าสีน้ำเงิน พระเอกหน้าสีขาว -๗-

-๘-

นาฏศิลป์ เกาหลี -๙-

ทัลชุม ระบำหน้ากากเกาหลี (Korean Mask Dance) ที่เรียกว่า “ทัลชุม” (Talchum) เป็นการแสดงที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึง ปัจจุบัน ซึ่งยังสามารถหาชมกันได้ในงานเทศกาลหรือการแสดงใน แต่ละเมือง ในสมัยก่อนการระบำหน้ากากเกาหลีนั้นเป็นการแสดง ของชนชั้นล่าง ที่มีการคับข้องใจจากการถูกกดขี่จากชนชั้นที่สูงกว่า เนื้อหาที่ใช้แสดงจึงจะเกี่ยวกับการเสียดสีสังคม การเกิดความเหลื่อม ล้ำระหว่างชนชั้น และเรื่องราวในวังต่างๆ ซึ่งขณะแสดงผู้แสดงจะ สวมหน้ากากเพื่อปกปิดตัวตน และว่ากันว่าเสมือนได้ปลดปล่อยความ อึดอัดใจภายใต้หน้ากากอีกด้วย - ๑๐ -

การแต่งกาย หน้ากากที่ใช้แสดงจะทำจากไม้ กระดาษ ผลน้ำเต้าหรือขนสัตว์ การออกแบบหน้ากากรูป แบบจะมีทั้งมนุษย์ เทพเจ้า รวมไปถึงอมนุษย์ที่มีรูปลักษณ์ผิดธรรมชาติ ทั้งนี้เพื่อให้เห็นสีหน้า ในอิริยาบถการแสดงอารมณ์ของตัวละคร ได้ชัดเจนขึ้นเพราะในสมัยก่อนการแสดงทัลชุมนั้น จะแสดงในตอนกลางคืนโดยใช้แสงสว่างจากกองไฟ และคบไฟโดยรอบเพียงเท่านั้น การแสดง เนื้อหาของในแต่ละพื้นที่นั้นก็จะไปในทิศทางเดียวกันคือ การเสียดสีสังคม แต่จะ เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตเพราะปัจจุบันระบบขุนนางในวังได้หมดไปแล้ว ระบำหน้า กากทัลชุมจึงจะเน้นเรื่องราวของการกระทำผิดศีลธรรมในสังคมแทน เพื่อเป็นการ กระตุ้นเตือนให้ผู้คนได้ตระหนักต่อการกระทำความผิดนั่นเอง - ๑๑ -

- ๑๒ -

นาฏศิลป์ อินเดีย - ๑๓ -

มณีปุรี มณีปุรีเป็นการแสดงละครของชาวไทยอาหมใน รัฐอัสสัมซึ่งมีรูปร่างหน้าตาเหมือนชาวมองโกลเรียก เมืองหลวงของตนว่า“ มณีปุระ” และเรียกการแสดง ละครของเมืองนี้ว่า“ มณีปุระ” - ๑๔ -

การแต่งกาย แต่งกายคล้ายชาวยุโรปคือนุ่งกระโปรงบานที่เรียกว่า“ สุ่ม” มีลวดลายสวยงามมากเครื่อง แต่งกายของผู้แสดงเป็นพระกฤษณะแต่งแบบเก่าของพวกวรรณะกษัตริย์นักรบชุดเครื่องแต่ง กายระบำราสลีลาที่เรียกว่า \"ภูมิล\" เป็นชุดของผู้หญิงกระโปรงยาวคล้ายสุ่มช่วงเอวสวมผ้าอีก ชิ้นคล้ายกระโปรงสั้นเหมือนร่มกางแผ่รอบเอวสวมเสื้อกำมะหยี่แขนสั้นคาดเอวด้วยผ้าปัก สวมเครื่องประดับใช้ผ้าโปร่งคลุมหน้า การแสดง ผู้แสดงจะต้องมีความสามารถมีฝีมือได้รับการฝึกหัดจนเกิดทักษะในการแสดงเพราะเป็น นาฏศิลป์ชั้นสูงเป็นศิลปะเก่าแก่ประจำชาติรูปแบบของการแสดงมีสองรูปแบบคือระบำกับ ละครเนื้อเรื่องที่แสดงนำมาจากวรรณคดีส่วนมากนิยมแสดงเรื่องพระกฤษณะตอนความรักของ นางราธากับพระกฤษณะ - ๑๕ -

- ๑๖ -

นาฏศิลป์ มาเลเซีย - ๑๗ -

ซาปิน ซาปินการเต้นขาปินที่เกิดขึ้นในคาบสมุทรมลายูโดยชุมชน ชาวอาหรับที่ตั้งถิ่นฐานในรัฐยะโฮร์ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ซึ่ง เป็นประเพณีเฉพาะของชาวอาหรับมาเลย์และได้แพร่หลายไป ทั่วคาบสมุทรมลายูจนเป็นที่ยอมรับในรูปแบบศิลปะแห่งชาติ ของมาเลเซียการเต้นชาปืนจะมีทั้งรูปแบบอาหรับและมลายูซึ่ง ทั้ง 2 รูปแบบเป็นที่ยอมรับในรัฐยะโฮร์และมาจากประเพณีของ ชาวอาหรับบนคาบสมุทรชายฝั่ งทางใต้ของเยเมน 1. ซาปินอาหรับ 2. ชาปืนมลายู - ๑๘ -

การแต่งกาย เครื่องแต่งกายเป็นแบบเรียบๆชายใส่หมวกอิสลามหรือหมวกแขกใส่เสื้อกั๊กนุ่งโสร่งหญิงนุ่ง กระโปรงเสื้อรัดรูปมีผ้าแพรคลุมศีรษะ การแสดง มีผู้แสดง 12 คนแบ่งเป็นหญิงชายจํานวนเท่ากันฝ่ายละ 6 จับคู่เต้นกันเป็นกลุ่มใช้การยกเท้า ยกขาพร้อมกันเป็นจังหวะ - ๑๙ -

T HAN K S


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook