๗๕ ปี วบิ ูลย์ ล้สี ุวรรณ : ชีวิตและศิลปะ หอศิลปว์ งั หนา้ กรงุ เทพมหานคร ๒๐ กรกฎาคม - ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๔ VIBOON LEESUWAN 75 years of life and art Wangna art gallery,Bangkok,Thailand 20 July-13 August 2021
๗๕ ปี วบิ ูลย์ ล้สี ุวรรณ : ชีวิตและศิลปะ หอศิลปว์ งั หนา้ กรงุ เทพมหานคร ๒๐ กรกฎาคม - ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๔ VIBOON LEESUWAN 75 years of life and art Wangna art gallery,Bangkok,Thailand 20 July-13 August 2021
๗๕ ปี วบิ ูลย์ ล้สี ุวรรณ : ชีวิตและศิลปะ หอศิลปว์ งั หนา้ กรงุ เทพมหานคร ๒๐ กรกฎาคม - ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๔ VIBOON LEESUWAN 75 years of life and art Wangna art gallery,Bangkok,Thailand 20 July-13 August 2021
ศลิ ปนิ สร้างสรรค์ งานสอื่ สมัย สืบสาน มรดกไทย ไมส่ ิน้ สญู ถ่ายทอดสร้างเสรมิ ใหเ้ พ่มิ พูน ศิลปิน วิบลู ย์ ลี้สวุ รรณ เนาวรตั น์ พงษ์ไพบลู ย์ อ.๑๖ มคี .๒๕๕๑
ทำให้รู้ ดูเหน็ เพราะเปน็ อยู่ ผู้ให้ความรู้ คนหลากหลาย บรู ณาการ สารตั ถะ กระจดั กระจาย ฝันเป็นสาย“ศิลปะครู”และศิลปนิ สำแดง แรงพลัง หลั่งความคดิ ดว้ ยจิต คดิ ศรทั า ภาษาศิลป์ รูปทรง องค์ความรู้ คูแ่ ผน่ ดนิ แสดงผล ยลยิน จนิ ตนาการ กลนั่ หลอม รวมงาม การความรู้ วิสยั ครู ผรู้ กั จำหลักสาร ศรทั ธา จดุ ประทปี ทอดสะพาน ท้ังสรา้ งศิลปะ และทฤษฎี
คือราชบณั ฑิต วิจติ รลขิ ติ ค่า ศาสตราจารย์ ศลิ ปะคือศกั ดิ์ศรี ส่องงามแสงความจริงส่งส่งิ ดี คือ “วบิ ลู ย์ ลีส้ วุ รรณ”ครูชัน้ ครู รศ.สุรชาติ เกษประสิทธิ์ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๔
อายุเพมิ่ พนู ศรี หกสิบปผี า่ นแล้ เร็วยงิ่ เรว็ จรงิ แท้ รวดล้ำเวลาฯ ตรึกตราตรองพินิจ ถึงชอบผิดบกเบื้อง ใดชั่วพึงปลดเปลื้อง เปลีย่ นแก้เป็นคุณฯ ใดดบี ญุ ดำรง พงึ ควรคงสืบไว้ ปองสถิตนจิ เนืองไซร้ เสกสร้างสถาพรฯ สังวรชนม์ชพี นี้ ยนื นาน ฤานอ เกดิ แก่เจ็บจวบกาล มอดม้วย สญู สลายร่างวายปราน คราลว่ ง ลับแฮ บญุ บาป บ สญู ด้วย โลกรเู้ ลวดฯี หกสิบปลี ว่ งแล้ว เกนิ ประวงิ สรรสขุ เอิบสขุ อิง อกแลง้ วิมตุ ติสขุ บรรเจิดจริง จกั เสพ ได้ฤา เสพแตโ่ ศกสุขแสรง้ ซ่อนซ้ำนำศรีฯ
หกสิบปีหยง่ั รู้ ตัวตน รู้เล่หข์ องผองคน รอบขา้ ง รู้เราบเ่ มามน สมานมิ่ง ร้รู ักและเกลยี ดอา้ ง อยูด่ ว้ ยอาตมาฯ วิ เศษหกสิบแลว้ ชนม์ฉนำ บลู ย์ ประสทิ ธวิ์ ชิ ญ์ประจำ แจม่ ให้ ลี้ สุขเสกศิลปกรรม ไกรเกริก ยง่ิ นา สวุ รรณ ศิลป์นำชีพไว้ ค่าล้ำยนื ยงฯ วิบูลย์ ลีส้ ุวรรณ พฤศจกิ ายน ๒๕๔๗ รองศาสตราจารยโ์ ชษติ า มณีใส ราชบณั ฑิต ปรับแก้
เจ็ดสิบหา้ เลยล่วงแลว้ วยั วาร ชราโรคทพุ พลพาน เพ่ิมซ้ำ ปญั ญาสตวิ กิ าร เฟื่อนฟ่นั บา้ งนอ คอื ด่ังพฤกษ์รมิ นำ้ ลม่ ลบั ฤาฝืนฯ อนิจจา ยาวยนื ฤาชพี นี้ ดงั่ นนั้ เกดิ และดับธรรมดา กลืนสรรพ ส่ิงแฮ คนื วนั ผ่านผันมา หอ่ นย้ังยนื มฯี ปวงเปล่ียนโดยเหตุหัน้
เจ็ดสิบห้าปเี กลอื กกล้ัว ตณั หา รนเร่งกิเลสพา พร่ังพรอ้ ม แสวงสินเกยี รติคณุ า เนืองเนือ่ ง เปรมสขุ ศฤงคารหอ้ ม แห่งหว้ งศรัทธาฯ เจด็ สิบห้าปีลว่ งแล้ว ชพี เรา ทุกขโ์ ศกโลภหลงเงา เง่ือนรู้ ชพี ติ บห่ มายเนา นานเนิ่น นริ ันดร์นา เกดิ และดบั ทกุ ผู้ ผอ่ งแทส้ ัจธรรมฯ วบิ ลู ย์ ลีส้ ุวรรณ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๔ รองศาสตราจารย์โชษิตา มณีใส ราชบณั ฑติ ปรับแก้
๗๕ ปี วบิ ูลย์ ลสี้ วุ รรณ : ชวี ติ และศลิ ปะ ความนำ ๗๕ ปี วบิ ลู ย์ ลสี้ วุ รรณ : ชีวิตและผลงานศิลปะ นิทรรศการผลงานศิลปะครั้งนี้เป็นเสมือนนิทรรศการชีวิตในวาระอายุครบ ๗๕ ปี ตลอดชีวิตท่ีผ่านมา ทำงานสำคัญสองอย่างคือ สร้างสรรค์งานศิลปะและเขียนหนังสือศิลปะ วัฒนธรรม ท้ังสารคดีและวิชาการศิลปะ งานทั้งสองอย่างเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ไม่เคยหยุด คงตอ้ งทำไปจนช่วั ชีวติ การศึกษาศิลปะเร่ิมที่โรงเรียนช่างศิลป เป็นการเรียนศิลปะเบื้องต้น ทั้งที่ไม่รู้ว่า ศิลปะคืออะไร แต่ชอบวาดรูปมาแต่เด็ก เมื่อเข้าเรียนได้รับการถ่ายทอดว่า ศิลปะเป็นสิ่งวิเศษ และศิลปินย่ิงวิเศษกว่า เพราะเป็นผู้สร้างศิลปะ เมื่อเรียนช่างศิลปแล้ว เป้าหมายต่อไปคือ มหาวิทยาลัยศิลปากร ท้ังที่ไม่รู้ว่าต้องเรียนอะไรบ้าง แต่เป็นความไฝ่ผันท่ีถูกกระแสคววามคิด ในขณะนั้นว่า ต้องเป็นศิลปินเพราะศิลปินเป็นคนพิเศษ แม้ไม่รู้ว่า ศิลปินทำอะไร ทำมาหากิน อะไร เมื่อจบช่างศิลป ต้องสอบเข้า คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร รับปีละ ๓๐ คน สอบได้ท่ี ๒๙ เกือบสุดท้าย น่าภูมิใจ เม่ือเขา้ เรียนในคณะจติ รกรรมประตมิ ากรรมและภาพพิมพแ์ ล้วจึงรู้ นอกจากเรียน เขยี นภาพ ปัน้ รปู แล้ว ตอ้ งเรียนวชิ าปรชั ญา ประวตั ิศาสตรศ์ ิลป์ สถาปตั ยกรรมไทย ทฤษฎศี ิลป์ และภาษาอังกฤษ เป็นต้นวิชาเหล่านี้ช่วยเปิดโลก กว้างมากขึ้นสำหรับเด็กวัยรุ่น ที่ไม่ประสีประสาต่อโลก ต่อเม่ือไปเป็นอาจารย์วิชาการท่ีไม่ใช่วิชาปฎิบัติมีสำคัญย่ิง วิชาทฤษฎีท่ีเป็นองค์ความรู้ต่าง ๆ นั้น จำเป็นต้องใช้สอนมากกว่าวิชาปฎิบัติ ส่วนวิชาปฎิบัต ิ ท่ีใชท้ ักษะผ่านการฝกึ ฝนมาทุกวชิ า 13
๗๕ ปี วบิ ูลย์ ลีส้ ุวรรณ : ชวี ิตและศลิ ปะ การเรียนในคณะจิตรกรรมฯ ก่อนจบการศึกษานักศึกษาจะต้องเลือก สาขาวิชาที่ตนถนัด แล้วทำคล้ายวิทยานิพนธ์วิชาเอก เช่น วิชาจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ วิชาภาพพิมพ์เป็นวิชาใหม่ มีผู้เรียนไม่มากนัก ในการเรียนนักศึกษา ต้องทดลองทำทุกกลวิธีหรือเทคนิค(technique)ในวิชาภาพพิมพ์ที่แบ่งเป็น ๔ กลุ่มใหญ่1 บางกลุ่มมีหลายเทคนิค เช่น ภาพพิมพ์หิน(lithography) ภาพพิมพ์แม่พิมพ์โลหะโลหะ (Intaglio) มภี าพพมิ พร์ อ่ งลกึ (etching) Drypoint,Line engraving เปน็ ตน้ ภาพพมิ พต์ ะแกรงไหม (serigraphy) หรอื ภาพพมิ พซ์ ิลค์สกรีน ในการเรียนเน้นการปฎิบัติเป็นหลัก ทำให้ขาดความรู้องค์รวม ไม่สอนเรื่อง วัสดุศาสตร์ นักศึกษาจึงไม่รู้เร่ืองความเป็นมาของสีประเภทต่าง ๆ รวมท้ังกลวิธีการใช้สี แต่ละประเภทและวัสดุรองรับซ่ึงมีคุณสมบัติแตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้ต้องศึกษาค้นคว้าเอาเอง แม้เมื่อเรียนภาพพิมพ์ไม่เคยรู้วิวัฒนาการของภาพพิมพ์ เม่ือเป็นครูต้องศึกษาค้นคว้าหา ความรู้เอาเอง นี่เป็นส่ิงท่ีขาดหายไปจากการเรียนในช่วงเวลาน้ัน แต่ด้วยความเป็นคนรัก การศึกษาหาความรู้ จงึ ตอ้ งเตมิ เต็มดว้ ยตนเอง 1Printmaking แบ่งเป็น ๔ กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ๑.ภาพพิมพ์ผิวเรียบ (The Planography process) ๒.ภาพพิมพ์ผิวนูน (The Relief process) ได้แก ่ ภาพพิมพ์ไม้ (woodcut) ๓.ภาพพิมพ์แม่พิมพ์โลหะ (The Intaglio process) ได้แก่ ภาพพิมพ์ร่องลึก(etching) Aquatint,Soft ground and lift ground etching,Drypoint,Line engraving,Mezzotint. ๔.The Stencil Process ได้แก่ ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม(Silk screen,Screenprint) Jules Heller,PRINTMAKING TODAY,Holt,Rinehart and Winston,Inc.New York,U.S.A.1972 14
๗๕ ปี วบิ ลู ย์ ล้สี ุวรรณ : ชีวิตและศิลปะ เม่ือประมาณ พ.ศ.๒๕๑๐ ภาพพิมพ์ตะแกรงไหมไม่แพร่หลาย ส่วนมากใช้ในงานอุตสาหกรรม เม่ือนำมาสร้างงานศิลปะ จึงได้ผลงานท่ีแตกต่างไปจากงานภาพพิมพ์กลวิธีอื่น ตลอดเวลา ท่ีศึกษาอยู่ได้ทำงานภาพพิมพ์ซิลค์สกรีนไว้เป็นจำนวนมาก แม้เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว กท็ ำตอ่ เนอื่ งมาอกี ระยะหนง่ึ ผลงานภาพพมิ พซ์ ลิ คส์ กรนี หลายชน้ิ สง่ ไปแสดงในการแสดงภาพพมิ พ ์ ในต่างประเทศและในประเทศหลายคร้ัง เช่น THE 11TH INTERNATIONAL BIENNIALE EXHIBITION OF PRINT TOKYO JAPAN 1979. นิทรรศการผลงานจติ รกรไทยในออสเตรเลยี พ.ศ.๒๕๒๕ (ค.ศ.1982) ภาพพิมพ์ซิลค์สกรีนที่ทำไว้เป็นจำนวนมากนั้น เป็นส่วนหน่ึงอยู่กับ ผู้สะสมงานศิลปะร่วมสมัยของไทย2 ภาพพิมพ์ซิลค์สกรีนทำไว้จำนวนมาก ส่วนหน่ึงอยู่กับ ผู้สะสมงานศิลปะ ส่วนทีเ่ หลือกส็ ญู หายไปหมดสิ้น กิจกรรมสำคัญของผู้สร้างงานศิลปะ คือ จัดแสดงผลงานหรือนิทรรศการ เพื่อเสนอผลงานสู่สาธารณะ ผลงานภาพพิมพ์จัดแสดงคร้ังแรกที่ศูนย์ศิลปะเมฆพยับ ซอยอรรถการประสิทธิ์ ถนนสาทร กรุงเทพ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๖ ร่วมกับเพ่ือนศิลปินรุ่นเดียวกัน อีกสามคน เป็นการแสดงครั้งแรก หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วและเป็นการเปิดตัวศูนย์ศิลปะ เมฆพยับ ในช่วงเวลาท่ีกรุงเทพฯขาดแคลนสถานท่ีสำหรับจัดแสดงผลงานศิลป์ ศูนย์ศิลปะเมฆ พยับนอกจากมีห้องจัดแสดงผลงานศิลปะแล้วยังมีสตูดิโอสำหรับปฏิบัติงานและที่พำนัก ให้ศิลปินด้วย ศิลปินร่วมสมัยยุคบุกเบิกหลายคนก็พำนักที่ศูนย์ศิลปะเมฆพยับ ในบริเวณ ใกลเ้ คยี งกนั ภายหลงั ไดส้ รา้ ง หอศลิ ป์ พรี ะศรี ขนึ้ ในชว่ งเวลาใกลเ้ คยี งกนั ซอยอรรถการประสทิ ธ์ิ จงึ เปน็ แหลง่ ชมุ นุมศลิ ปนิ ในช่วงเวลานนั้ 2Herbert P.Phillips, The Integrative Art of Thailand.Lowic Museum of Anthropology University of Califonia at Berkeley,1991,P.70 15
๗๕ ปี วบิ ูลย์ ลีส้ วุ รรณ : ชีวติ และศิลปะ เมื่อเข้ามาวงการศิลปะและเริ่มแสดงผลงานคนเดียว (solo exhibition) ครงั้ แรกโดยจดั นทิ รรศการผลงานภาพพมิ พแ์ ละจติ รกรรม หอศลิ ป์ พรี ะศรี (Bhirasri instute of modern art) ซอยอรรถการประสทิ ธ์ิ สาทร กรงุ เทพฯใน พ.ศ.๒๕๒๖ในนทิ รรศการนนั้ จดั แสดง ผลงานภาพพิมพ์ซิลค์สกรีนและจิตรกรรมไทยประยุกต์ สีอะคริลิคบนผ้าใบ การสร้างงาน จิตรกรรมไทยประยุกต์เป็นการประมวลองค์ความรู้และทักษะที่ได้จากการศึกษาจิตรกรรม ฝาผนงั จากโบสถว์ หิ ารตา่ งๆ ตง้ั แตส่ มยั เรยี นทโี่ รงเรยี นชา่ งศลิ ป ทต่ี อ้ งไปคดั ลอกจติ รกรรมฝาผนงั วัดที่ไปบ่อยคือวัดสุวรรณาราม เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ซ่ึงเป็นจิตรกรรมฝีมือช่าง สมัยรัชกาลท่ี ๓ ที่งดงามและมีคุณค่าอย่างย่ิง ประกอบกับการเรียนวิชาวิจัยศิลปะ ไทย(Research of old Thai art)ขณะท่ีเรียนในคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นองค์ความรู้ท่ีนำมาสร้างงานจิตรกรรมไทยประยุกต์และใช้เป็น ข้อมูลในการเขียนหนังสือเก่ียวกับศิลปะไทย การสร้างงานศิลปะต้องมีองค์ความรู้พ้ืนฐาน มิใช่การสรา้ งงานอย่างเล่อื นลอย ผลงานจติ รกรรมไทยประยกุ ต์ เคยจัดแสดงหลายคร้งั เช่น นทิ รรศการภาพเขยี นของ ๕ ศลิ ปนิ ชว่ ง มลู พนิ จิ อทิ ธิ คงคากลุ ปรชี า อรชนุ กะ ดำรง วงศอ์ ปุ ราช วบิ ลู ย์ ลสี้ วุ รรณ ณ ภัตตาคารออกัสมูน อาคารไทยไดมารู กรุงเทพฯ พ.ศ.๒๕๒๕ (อ้างอิง สูจิบัตร นิทรรศการ ภาพเขยี นของ ๕ ศิลปนิ พ.ศ.๒๕๒๕) พ.ศ.๒๕๒๕ได้รับทุนจากมูลนิธิญี่ปุ่น (The japan foundation) ไปดูงานศิลปะ ในประเทศญี่ปุ่น เม่ือกลับมาได้นำภาพถ่ายศิลปะญ่ีปุ่นท่ีถ่ายไว้ขณะอยู่ในประเทศญี่ปุ่น 16
๗๕ ปี วบิ ูลย์ ลี้สุวรรณ : ชีวติ และศิลปะ จัดนิทรรศการท่ี ห้องนิทรรศการทัศนศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขต พระวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม สวนประทีป นครปฐม และหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรงุ เทพฯ การสร้างงานสืบเนื่องจากศิลปะญ่ีปุ่นคือ งานวาดเส้นท่ีวาดสวนญี่ปุ่นและสถาน ท่ีต่างๆ ในประเทศญ่ีปุ่น และสถานที่ต่างๆ ในประเทศไทย โดยจัดนิทรรศการศิลปะวาดเส้น ณ โรงแรมรเี จนท์ กรงุ เทพฯ( อา้ งองิ สจู บิ ตั ร นทิ รรศการศลิ ปะวาดเสน้ ณ โรงแรมรเี จนท์ กรงุ เทพฯ ๒๐ พฤษภาคม-๗ มถิ ุนายน ๒๕๒๙) ช่วงเวลาต่อมาทดลองการสร้างงานจิตรกรรมสีอะคริลิคบนวัสดุรองรับต่างๆ เช่น ผา้ ใบ แผน่ ไม้ กระดาษสา โดยเฉพาะกระดาษสาทท่ี ำดว้ ยมอื (Handmade Paper) มคี ุณสมบตั ิ พเิ ศษคอื หนา นมุ่ รองรบั สีได้ดี การทำงานจิตรกรรมสีอะครลิ ิคบนกระดาษสา โดยทดลองหลาย วิธีเพื่อหาความแปลกใหม่ เช่น อัดกระดาษสาลงแม่พิมพ์แกะไม้ท่ีทำเป็นร่องลึกไว้ ทำให้ได้ พื้นผิวท่ีไม่เรียบ มีมิติ ให้ความงามที่ต่างจากการสร้างงานบนผิวเรียบ นอกจากน้ีการอัด กระดาษสาลงบนแผ่นไม้อัดยังทำรูปทรงต่างๆได้ เช่น แผ่นกลม สามเหลี่ยม หรือรูปทรงอื่นๆ ได้ตามต้องการ การทำงานสีอะคริลิคบนกระดาษสาสนุกกับการใช้สี พื้นผิว (texture) และรูป ทรงจึงทำติดต่อกันหลายปี ผลงานจิตรกรรมชุดนี้ได้จัดนิทรรศการหลายคร้ัง ท้ังในประเทศและ ตา่ งประเทศ เชน่ นิทรรศการ “บทกวีของสีสนั บนกระดาษสา” ท่อี าร์ต ฟอรัม แกลเลอร่ี กรุงเทพฯ พ.ศ.๒๕๓๕ นิทรรศการที่ Pacific Asia Museum เมืองพาซาดินา(Pasadena) และที่ Department of Art,California State University Northridge รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศ 17
๗๕ ปี วบิ ูลย์ ลสี้ ุวรรณ : ชีวิตและศลิ ปะ สหรฐั อเมริกา พ.ศ.๒๕๓๓ Faculty of Creative Arts.University of Wallongong.Wollongong. N.S.W.Australia.พ.ศ.๒๕๓๗ (อ้างอิง สูจิบัตร Art exhibition Australian-Thai,Silpakorn University art gallery,Bangkok,Thailand,10-25 december 1994 พ.ศ.๒๕๓๗ ) นอกเหนือจากการนำผลงานไปจัดนิทรรศการแล้วยังได้บรรยายเกี่ยวกับ ศลิ ปะไทยดว้ ย พ.ศ.๒๕๓๗ (ค.ศ.1994) ได้รับเชิญจาก Faculty of Creative Arts.University of Wallongong.Wollongong.N.S.W.Australia. Artist inresidece) เป็นโอกาสดีได้จัด แสดงผลงานศิลปะและบรรยายยังได้ดูระบบการเรียนการสอน เพื่อนำมาปรับใช้กับการเรียน การสอนในขณะที่ยังรับราชการอยู่ในหมวดวิชาทัศนศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร อย่างไรก็ตาม การค้นคว้าทดลองสร้างงานจิตรกรรมสีอะคริลิค เม่ือทำไปจำนวน หนึง่ กอ็ ิ่มตวั เร่มิ สร้างงานประตมิ ากรรมไม้ เพราะเห็นความงามและคณุ คา่ ของไม้ โดยจดั แสดง ผลงานจิตรกรรมและประติมากรรม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลปะ กรุงเทพฯ พ.ศ.๒๕๓๙(อ้างองิ สูจิบตั ร นทิ รรศการผลงานจติ รกรรมและประติมากรรม ณ พิพิธภัณฑสถาน แหง่ ชาติ หอศิลป์ ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ ๗-๓๐ มนี าคม ๒๕๓๙) การสร้างงานศิลปะไม่เคยหยุดนิ่ง แม้ภารกิจอื่นๆจะเข้ามาแทรกก็ยังทำอย่าง สม่ำเสมอ เช่น ทำงานจิตรกรรมสีน้ำและสีพาสเทล(oil pastel)ขนาดเล็ก เป็นจำนวนมาก ในปี 18
๗๕ ปี วิบลู ย์ ล้ีสวุ รรณ : ชีวิตและศิลปะ พ.ศ.๒๕๕๔ จดั นิทรรศการ VIBOON LEESUWAN : RECENT PAINTINGS ณ หอศลิ ป์ วงั หนา้ กรงุ เทพฯ(อา้ งองิ สจู บิ ตั ร นทิ รรศการ VIBOON LEESUWAN : RECENT PAINTINGS ณ หอศลิ ป์ วังหน้า กรุงเทพฯ ๕-๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๔)ผลงานจิตรกรรมชุดน้ีจัดแสดงที่ หอศิลป์ริมน่าน จงั หวดั นา่ น พ.ศ.๒๕๒๕ (อา้ งองิ สจู บิ ตั ร นทิ รรศการผลงานจติ รกรรม วบิ ลู ย์ ลสี้ วุ รรณ ณ หอศลิ ป ์ ริมน่าน จังหวัดน่าน ๓ กุมภาพันธ์-๓ เมษายน ๒๕๕๕) นิทรรศการ ๑๐๐๑ จิตรกรรมสีน้ำ ณ หอศลิ ปร์ มิ นา่ น จงั หวดั นา่ น(อา้ งองิ สจู บิ ตั ร นทิ รรศการ ๑๐๐๑ จติ รกรรมสนี ำ้ ณ หอศลิ ปร์ มิ นา่ น จงั หวดั นา่ น ๘ กุมภาพนั ธ์-๒๖ มนี าคม ๒๕๕๖) ช่วง พ.ศ.๒๕๕๙ เป็นต้นมา ได้สร้างงานประติมากรรมจากวัสดุท่ีไม่ใช้ (junk) เช่น ก๊อกน้ำ ใบเล่ือย ค้อน กรรไกรจัดก่ิงไม้ ฯลฯ ทำให้ได้ประติมากรรมจากส่ิงเหลือใช ้ (junk sculpture) จำนวนหน่ึง ในขณะเดียวกันก็นำเส้นทองแดง ทองเหลือง ลวด มาดัด เป็นรูปมาในอิริยาบถต่างๆโดยใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมคือ การผูก รัด มัด ร้อย เป็นการแสดง ความงามด้วยเส้น ผลพลอยได้จากแนวคิดนี้อีกอย่างหน่ึงคือ การนำเศษไม้มาประกอบกันเป็น ประตมิ ากรรม และแกะสลักไม้เป็นรูปทรงต่างๆท้งั แบบนูนต่ำ นนู สงู และลอยตัว ประติมากรรม ไม้เป็นการหาความงามของรูปทรงที่รังสรรค์ขึ้นกับเน้ือไม้ที่มีลวดลายงามตามธรรมชาติ ประตมิ ากรรมท้งั หมดมที ัง้ ขนาดเลก็ และขนาดใหญ่ มรี ูปทรงหลากหลาย ไม่ได้ยึดติดกบั แบบใด แบบหน่ึง อยากทำอะไรก็ทำอย่างน้ัน ศิลปะมีมนต์เม่ือเข้ามาในเส้นทางนี้ก็ยากจะถอนตัว ออกได้เพราะมคี วามรกั ฝังอยู่ในจติ วิญาณ 19
๗๕ ปี วบิ ูลย์ ลีส้ ุวรรณ : ชีวติ และศิลปะ ตลอดเวลาหลายสิบปที ีผ่ า่ นมาได้สร้างงานศลิ ปะหลากหลายประเภทหลายรอ้ ยชิ้น เพื่อแสวงหาสุนทรียภาพผ่านสื่อศิลปะ โดยไม่ยึดติดกับรูปแบบและกลวิธีใดโดยเฉพาะ ซ่ึงเป็นแนวคิดเฉพาะตน ในการจัดนิทรรศการแต่ละครั้ง ได้รับความสนใจจากสื่อต่างๆ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ที่เขียนแนะนำให้ในช่วงเวลาที่ยังไม่มีสื่อดิจิทัล หนังสือพิมพ์จึงเป็น สื่อหลักในการส่งสารแห่งความรู้ความเข้าใจไปสู่สาธารณชน บางครั้งต้องเป็นท้ังผู้สร้างงาน ศลิ ปะและเปน็ ผ้สู ง่ สารดว้ ย ด้วยความท่ีเป็นคนชอบเขียนหนังสือเร่ิมจากเขียนบันทึกชีวิตประจำวัน ตามประสาคนหนุ่มท่ีอยู่คนเดียว บันทึกประจำวันเป็นเสมือนฝึกการเขียนหนังสือ ต่อมา จึงเริ่มเขียนลงหนังสือพิมพ์ บทความแรกที่ได้ตีพิมพ์ในหนังสือสยามรัฐรายวันคือเร่ือง “ควรมีหอศิลป์ร่วมสมัยได้แล้ว” ฉบับวันท่ี ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๔ บทความสองหน้าเต็ม เป็นความภูมิใจอย่างยิ่งและเป็นแรงกระตุ้นให้เขียนหนังสือต่อมาความต้ังใจหลักๆ ในการเขียน หนังสือก็เพ่ือแสดงความเห็นทางสังคม ศิลปะ วัฒนธรรมและอยากมีปฎิสัมพันธ์กับผู้คน ส่วนหนังสือประเภทสารคดีทางศิลปวัฒนธรรมก็เพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจไปสู่ประชาชน อย่างง่ายๆ ต่อมาเม่ีอไปเป็นอาจารย์ท่ีหมวดวิชาทัศน์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาเขต พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เม่ือ พ.ศ.๒๕๑๕ จำเป็นต้องเขียนหนังสือ วิชาการ หนงั สอื ท่ีเปน็ ตำราได้แก่ ศลิ ปะในประเทศไทย:จากศลิ ปะโบราณในสยามถงึ ศิลปะ สมยั ใหม่ (ศูนย์หนังสือลาดพร้าว กรงุ เทพฯ พ.ศ.๒๕๔๘) 20
๗๕ ปี วิบูลย์ ลีส้ วุ รรณ : ชวี ิตและศิลปะ การศกึ ษาคน้ ควา้ ดา้ นศลิ ปะและวฒั นธรรม ทงั้ ศลิ ปะ วฒั นธรรมไทย และตะวนั ตก เป็นงานสำคัญในชีวิตอย่างยิ่งโดยเฉพาะด้านศิลปะและวัฒนธรรมพ้ืนบ้านซึ่งสนใจเป็นพิเศษ สิ่งเหล่าน้ีใช้เป็นข้อมูลในการเขียนหนังสือและเป็นที่มาของการสะสมศิลปหัตถกรรม พื้นบ้าน(อ้างอิง หนังสือ เครื่องมือเคร่ืองใช้พื้นบ้าน.สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวฒั นธรรม.๒๕๕๐) การเขียนหนังสือสารคดีท่ีรวมเล่มเป็นคร้ังแรกคือ “ศิลปะชาวบ้าน” ตีพิมพ์ พ.ศ.๒๕๑๙ โดยสำนักพิมพ์สุริยบรรณ หนังสือเล่มน้ีได้รับรางวัล หนังสือสารคดีดีเด่น ประจำปี พ.ศ.๒๕๑๙ หนังสือเล่มน้ีมีความสำคัญสองประการคือ เป็นหนังสือที่เปิดโลกของงาน ศิลปหัตถกรรมของชาวบ้านหรือศิลปะพ้ืนบ้านไปสู่ประชาชนและนักวิชาการทางวัฒนธรรมพื้น บ้านในขณะน้ัน ประการที่สอง ศิลปะชาวบ้านตอกย้ำให้เห็นว่าการเขียนหนังสือแนวศิลปะและ วัฒนธรรมเป็นทางเดินที่ถูก จึงเป็นแรงผลักดันให้เขียนหนังสืออย่างไม่หยุดย้ังต่อมาอีกหลายสิบ เล่ม และได้รับรางวัลหนังสือสารคดีดีเด่นและรางวัลชมเชยหลายครั้ง หนังสือต่างๆ ท่ีเขียนไว้ เป็นความภมู ใิ จทีไ่ ดท้ ำหน้าทข่ี องมนุษยต์ วั เลก็ ๆ คนหน่ึงจะพึงทำได ้ ช่วงประมาณทศวรรษ ๒๕๓๐ ได้เขียนคอลัมน์ศิลปะและวัฒนธรรมในหนังสือ สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ต่อเนื่องกันมา ๑๐ ปี ปีละประมาณ ๕๐ เรื่อง รวมแล้วราว ๕๐๐ เรื่อง ส่วนมากเป็นการแนะนำศิลปะสมัยใหม่ ศิลปะร่วมสมัย ศิลปะโบราณและเรื่องวัฒนธรรม บทความที่เขียนลงหนังสือพิมพ์สยามรัฐเร่ือง “กุฏิร้อยปี ของดีเมืองนคร”ตีพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๒ 21
๗๕ ปี วิบลู ย์ ลส้ี ุวรรณ : ชวี ิตและศิลปะ ฉบับที่ ๔๖ ปีท่ี ๓๕ ได้รับรางวัลท่ี ๒ ประเภท การสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม กระทรวง ศึกษาธิการ (พ.ศ.๒๕๓๐-๒๕๓๒) นอกจากนี้ยังเขียนบทความประเภทสารคดีลงวารสารและ หนงั สอื พมิ พ์ต่างๆ เช่น หนงั สอื ตกแตง่ บา้ นและสวน สารคดี สตรสี าร เปน็ ตน้ นอกจากคอลัมน์ศิลปะและวัฒนธรรมในหนังสือรายสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์แล้ว ยังมีช่องเล็กๆ เขียนแนะนำหัตถกรรมพื้นบ้าน ฉบับละคำ เป็นท่ีมาของการทำหนังสือ ชุดพจนานุกรม ได้แก่ พจนานุกรม หัตถกรรม เคร่ืองมือเคร่ืองใช้พื้นบ้าน (สำนักพิมพ ์ เมืองโบราณ.๒๕๔๖.๒๕๕๘) นามานุกรมเคร่ืองจักสาน (สำนักพิมพ์เมืองโบราณ ๒๕๓๕) สารานุกรม ผ้าและเครื่องถักทอ (สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.๒๕๕๐.๒๕๕๙) พจนานุกรมศพั ท์ศิลปกรรมไทย (สำนักพมิ พเ์ มืองโบราณ.๒๕๕๙) บทความท่เี ขยี นลงหนงั สือ สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์และวารสารต่างๆ บางเรื่องนำมารวมเล่ม เป็นหนังสือพ็อกเก็ดบุ๊ค โดยจัดเปน็ กล่มุ ๆ ตามเนือ้ หา พ.ศ.๒๕๒๔ ได้รับทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อวิจัยเรื่อง เคร่ืองจักสานในประเทศไทย ทำให้ต้องเดินทางไปเก็บข้อมูลท่ัวประเทศ เป็นที่มาของ หนังสือ เคร่ืองจักสานในประเทศไทย (สำนักพิมพ์ โอเดียนสโตร์) เคร่ืองจักสานไทย (สำนักพิมพ์ คุรุสภา) และหนังสือที่เกี่ยวเน่ืองกับงานจักสานและศิลปหัตถกรรมพ้ืนบ้าน หลายเลม่ 22
๗๕ ปี วิบูลย์ ล้ีสุวรรณ : ชีวติ และศลิ ปะ เมื่อทำหน้าท่ีเป็นประธานมูลนิธิ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ได้จัดพิมพ์ หนงั สือชุด ศิลปะวิชาการ สามเลม่ ศิลปะวิชาการ เล่มที่ ๑ รวบรวมบทความของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ที่เก่ียวกับศิลปะ เป็นบทความทางศิลปะที่มีคุณค่าอย่างย่ิง (พ.ศ.๒๕๔๖) ศิลปะวิชาการ เล่มที่สอง (พ.ศ. ๒๕๔๙) รวมบทความทางศิลปะท่ีบรรดาศิษย์เขียนไว้ เพื่อนำ เสนอสาระศิลปะในช่วงเวลาหนึ่ง ศิลปะวิชาการเล่มที่ ๓ นำหนังสือ ศิลปะสงเคราะห ์ ที่พิมพ์คร้ังแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๒ ซ่ึง เป็นพจนานุกรมศิลปะเล่มแรกมาจัดพิมพ์ใหม่ พ.ศ.๒๕๕๓ ส่ิงที่ทำควบคู่กับการเขียนหนังสือคือ การถ่ายภาพ นอกจากการถ่ายด้วยตนเอง แล้วยังล้างฟิลม์ อัดขยายภาพขาวดำด้วย โดยได้รับคำแนะนำจากเพ่ือนชาวญี่ปุ่นช่ือ Hieo Nunokawa ช่างภาพมืออาชีพของญี่ปุ่น ดังน้ันภาพประกอบในหนังสือทุกเล่มจึงเป็นฝีมือตนเอง แทบทั้งสิ้น ดังกล่าวแล้วว่า ตลอดชีวิตที่ผ่านมาทำงานสำคัญสองอย่าง คือ การสร้างงาน ศิลปะซ่ึงได้กล่าวแล้ว งานอีกอย่างหน่ึงที่ทำคู่กันมาคือ งานเขียนหนังสือ ซ่ึงเป็นบทบาทสำคัญ ในการเสนอความรดู้ า้ นศิลปะแก่สาธารณชน ทั้งนักเรยี น นิสติ นกั ศกึ ษาและประชาชน หนังสอื ที่ เขียนส่วนมากเป็นการให้ความรู้เบ้ืองต้นด้านศิลปะและวัฒนธรรมในช่วงเวลาห้าทศวรรษท่ีผ่าน มาสังคมไทยสังคมไทยขาดส่ือท่ีให้ความรู้ลักษณะนี้ ดังนั้น หนังสือที่เขียนจึงช่วยอุดช่องว่าง ด้านศิลปะและวัฒนธรรมได้ส่วนหน่ึงในฐานะผู้สนใจวิชาการด้านศิลปะและปฏิบัติงาน 23
๗๕ ปี วิบูลย์ ลีส้ วุ รรณ : ชวี ิตและศลิ ปะ ศิลปะด้วยตนเองมาเป็นเวลานานกว่า ๕๐ ปี ประเมินได้ว่า ศิลปะคือผลผลิต (out put) ของศิลปิน ซ่ึงผ่านการกล่ันกรองออกมาจากความรู้สึกนึกคิด ผ่านสื่อท่ีเป็นสี ดิน หิน หรือวัสดุ ต่างๆ ทั้งท่ีเป็นรูปธรรมและนามธรรม ปัจจุบัน กล่าวกันว่า ส่ิงท่ีศิลปินคิดศิลปินทำคือศิลปะหรือ ตัวศิลปินนั่นแหละคือศิลปะ ลมหายใจของศิลปิน จะจริงเท็จอย่างไรตอบไม่ได้ จากการทำงาน ศิลปะมายาวนาน เปน็ สว่ นหนึ่งของชีวติ แตถ่ ้าพิจารณาอย่างลึกซง้ึ แลว้ จะเห็นว่า ศลิ ปะเป็นเพยี ง มารยาหน่งึ ในสรรพสิง่ ของโลก สุดท้าย ขอจบด้วยคำพูดของ เฟอ้ื หริพิทกั ษ์(ศิลปนิ แหง่ ชาติ พ.ศ.๒๔๕๓-๒๕๓๖) “ข้าพเจ้าทำศิลปะด้วยใจรักเล่ือมใสและจริงใจ มิได้ทำไปเพราะใยแห่งอามิส ข้าพเจ้าทำศิลปะ เพื่อศึกษาหาความจริงในความงาม อันเร้นลับอยู่ภายใต้สภาวะธรรมฯ ผลงานอันเกิดจาก กำลังกาย กำลังความคิด และกำลังใจของข้าพเจ้า ขอน้อมอุทิศให้ท่านอาจารย์ทั้งหลาย ของข้าพเจา้ ”3 ทุกวันนี้ยังเขียนหนังสือ ศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ พร้อมกับทำงานสร้างสรรค ์ อยู่เสมอ แม้จะไม่ได้ค่าตอบแทน สิ่งที่ได้รับคือความสุข ความพึงพอใจ ส่ิงเหล่าน้ี คงพอเพียง ในชว่ งปัจฉมิ วัย 3พภิ พ บุษราคมั วด.ี เฟอ้ื หรพิ ิทักษ์ : ชวี ติ และงาน.คณะมณั ฑนศิลป์ มหาวทิ ยาลัยศิลปากร.๒๕๒๗ 24
๗๕ ปี วิบลู ย์ ลส้ี ุวรรณ : ชวี ติ และศิลปะ กระบวนการสรา้ งงานศลิ ปะ(เฉพาะตน) จากประสบการณ์การศึกษาค้นคว้าเรื่องศิลปะและสร้างงานศิลปะต่อเนื่อง มาหลายสิบปี พบว่ากระบวนการหรือขั้นตอนการสร้างงานศิลปะ มีแนวคิดและขั้นตอนที่แยบยล น่าสนใจ โดยเฉพาะผู้ท่ีเป็นศิลปินจะมีลักษณะเฉพาะตนแตกต่างกันไป เสียดายท่ีศิลปินจำนวน มากไม่สามารถถ่ายทอดกระบวนการนน้ั ออกมาเปน็ ตวั อกั ษรใหผ้ ู้อนื่ ไดร้ ับร้ ู ข้อเขียนต่อไปนี้เป็นกระบวนการสร้าง(สรรค์)ท่ีเป็นเพียงทัศนะส่วนบุคคล เรียบเรียงและกล่ันกรองจากการศึกษา คน้ ควา้ และสรา้ งงานศลิ ปะมาเกือบตลอดชีวิต การสร้างงานศิลปะเป็นการศึกษาค้นคว้าทดลองเพ่ือหาแนวทางสนองความรู้สึก นึกคิดของตน ผ่านสื่อต่างๆท่ีตนมีทักษะ ในปัจจุบันการสร้างงานศิลปะไม่แยกเป็นจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ชัดเจน มักผสมผสานกันของกลวิธี (technique) ต่างๆ การสร้างงาน ศิลปะจึงไม่จำกัดอยู่ในกลวิธีใดวิธีหน่ึง ผู้สร้างงานศิลปะจึงมีอิสระ โลกศิลปะปัจจุบัน เปิดกว้างมาก จะเห็นได้จากการแสดงศิลปะร่วมสมัยท่ีสำคัญ เช่น เวนิส เบียนนาเล ่ (Venice Biennale,La Biennale di Venezia)จัดที่เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี เร่ิมตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๘๙๕ จัดขึ้น ทุกๆ ๒ ปี มีศิลปินร่วมสมัยจากทั่วโลกส่งผลงานเข้าร่วมแสดงจำนวนมาก แต่ละครั้งมีศิลปินนำเสนอผลงานศิลปะล้ำยุคหลากหลายรูปแบบ จึงเห็นว่า กระบวนการสร้าง งานศิลปะไม่หยุดนิ่ง งานศิลปะที่นำเสนอมีทั้งท่ีเป็นรูปธรรมและงานท่ีนำเสนอเพียง 25
๗๕ ปี วบิ ูลย์ ลสี้ วุ รรณ : ชวี ติ และศิลปะ ข้อมูล(documentary)จนกล่าวกันว่า สิ่งท่ีศิลปินคิดคืองานศิลปะหรือตัวศิลปินคือศิลปะ เพราะ ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะในตัวศิลปินคือศิลปะ แม้จะไม่ได้แสดงให้ปรากฏก็ตาม ซึ่งเป็น ความก้าวหน้าในโลกศลิ ปะท่ีไม่หยุดนิ่ง กระบวนการสรา้ ง(บางคนไม่ชอบคำวา่ สรา้ งสรรค์)งานศลิ ปะ เร่มิ จากกระบวนการ ทางความรู้สึก จินตนาการและความคิด หรืออย่างท่ีมักพูดกันว่าเป็นเรื่องของความรู้สึก นึกคิด หมายความว่าเป็นเรื่องของความรู้สึกหรืออารมณ์ นึกหรือจินตนาการ คิดคือส่ิงที ่ ศิลปินคิดที่และแสดงออกผ่านผลงานศิลปะ นอกเหนือจากกระบวนการดังกล่าวแล้ว ผู้สร้างงานศิลปะหรือศิลปิน กวี หรือใครก็ตามที่ต้องการสร้างงานศิลปะจะต้องมีคือ ทักษะ ในการใช้เครื่องมือในการใช้ส่ือ เช่น ผู้สร้างงานจิตรกรรมจะต้องมีทักษะในการ ใช้สี ใช้พู่กันได้อย่างเช่ียวชาญ ประหน่ึงนักดาบท่ีรู้จักดาบหรือกระบ่ีของตนเป็นอย่างด ี ช่างเขียนก็ต้องรู้วิธีใช้พู่กันแต่ละชนิดแต่ละขนาดเป็นอย่างดี สามารถปาดป้ายได้อย่าง คลอ่ งแคลว่ สิ่งท่ีเป็นปัญหาของผู้สร้างงานศิลปะและผู้เสพศิลปะมีมาช้านาน เร่ิมจากการ ทบทวนว่า ศิลปะคืออะไร ศิลปะมีคำนิยามไม่เคยหยุดน่ิง แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและค่านิยม ของสังคมแต่ละช่วงเวลา เคยเขียนเป็นบทความทางวิชาการไว้หลายคร้ัง โดยยกข้อเขียนของ นักวิชาการต่างชาติและนักวิชาการชาวไทยมาอ้างอิง ศิลปะคืออะไร มีหลากหลายทัศนะต้ังแต ่ นกั วชิ าการรุ่นเกา่ และร่นุ ใหม ่ 26
๗๕ ปี วบิ ลู ย์ ล้สี ุวรรณ : ชวี ติ และศลิ ปะ ในฐานะผู้สนใจวิชาการด้านศิลปะและปฏิบตั งิ านศิลปะด้วยตนเองมาเป็นเวลานาน ประเมินได้ว่า ศิลปะคือผลผลิต (out put) ของศิลปิน ซ่ึงผ่านการกลั่นกรองออกมาจากความรู้สึก นึกคดิ ใช้สี ดิน หิน ไม้หรือวสั ดุตา่ งๆ เปน็ สือ่ ทง้ั ทเ่ี ป็นรปู ธรรมและนามธรรม ปจั จุบัน กลา่ วกันวา่ ส่ิงท่ีศิลปินคิด ศิลปินทำคือ ศิลปะหรือตัวศิลปินน่ันแหละ เพราะลมหายใจของศิลปินคือ ศิลปะ จะจริงเท็จอย่างไรตอบไม่ได้ จากการทำงานศิลปะมายาวนาน จนคิดว่า ศิลปะเป็นส่วนหน่ึง ของชีวติ แทบทกุ ลมหายใจมแี ตศ่ ิลปะ จึงเปน็ ไปได้วา่ ส่งิ ท่คี ดิ ส่ิงทที่ ำเป็นศิลปะ การสรา้ งผลงานศลิ ปะใหเ้ ปน็ รปู ธรรมตอ้ งผา่ นทกั ษะคอื มคี วามชำ่ ชองในการใชส้ ื่อ ผ่านความรู้และความเข้าใจในทฤษฎีทั้งมวล แต่ศิลปินท่ีไม่ผ่านสถาบันต้องเรียนรู้องค์และมี กระบวนการทางความคิดเป็นของตนเอง ผลงานศิลปะที่นำเสนอน้ีแทบท้ังหมดเป็นงานศิลปะนามธรรม (abstract art) ศิลปะท่ีปรับ ตัดทอนรูปทรงธรรมชาติ (reduction of form) ให้เหลือเฉพาะรูปทรงท่ีเป็นแก่นแท ้ มที ั้งตัดออกและเพิม่ ใหเ้ ปน็ ไปตามความต้องการของศลิ ปิน หรอื อาจเหลือเพียงรปู ทรงทแี่ สดงออก มาจากภายในใหป้ รากฎเป็นรูปภายนอก โดยคำนงึ ถึงความกลมกลืน จังหวะ และองค์ประกอบอื่น ตามหลักทัศนธาตุ(element of art) ศิลปินบางคนอาจไม่ต้องคำนึงถึงหลักศิลปะนั้น แต่สร้างงาน ตามความรู้สึกนึกคิดของตนเท่าน้ัน ดังน้ัน ผลงานศิลปะบางประเภทจึงยากท่ีจะประเมิน คุณคา่ ตามหลกั วชิ าได ้ 27
๗๕ ปี วบิ ลู ย์ ลีส้ ุวรรณ : ชีวิตและศลิ ปะ กระบวนการสร้างงานศลิ ปะของศิลปิน มลี กั ษณะพเิ ศษหลายประการ เช่น เม่ือศลิ ปิน จรดปากกาหรือดินสอลงบนกระดาษเพื่อเขียนภาพร่าง สมองจะสั่งให้ลากเส้นไปอย่างไร สร้างรูป ตามความรู้สึก ตามทฤษฎีท่ีซ่อนอยู่ในสมอง เขารู้ว่าอะไรคือ ความงาม ความพอดี ภาพร่างอาจ เป็นรปู ธรรมหรอื ร่างไวใ้ นสมองของศิลปิน จากการศึกษาข้อเขียนของนักวิชาการและนักปรัชญาชาวตะวันตกหลายคน เช่น เอิร์นส์ ฮันส์ โจเซ่ กอมบริช๑ (Sir.Ernst Hans Josef Gombrich.1909-2001) เฮอร์เบิร์ต รีด๒ (Sir.Herbert Edward Read:1893-1968)เลโอ นิโคลาเยวิช ตอลสตอย (Leo Nikolayevich Tolstoy: 1828-1910) ซิกมันด์ ฟรอยด์(Sigmund Freud:1856-1939)โดยเฉพาะกอมบริช และรีด ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักวิชาการด้านทัศนศิลป์ที่มีบทบาทสูงในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ ก่อให้เกิดความเข้าใจและการรับรู้ศิลปะในแง่มุมต่างๆ เช่น กอมบริชอธิบายว่า ศิลปะเป็นเพียง สิ่งสมมุติว่ามีอยู่จริงหรือไม่ “งานศิลปะ นั้นไม่ใช่ส่ิงที่เกิดขึ้นจากพลังเหนือธรรมชาติ แต่เป็น วัตถุที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์” มนุษย์พยายามสร้างสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมชาติด้วยฝีมือมาแต่โบราณ ส่ิงที่ สร้างขึน้ อาจเลียนแบบธรรมชาติ อาจเพิม่ เตมิ หรือตดั ทอนตามความตอ้ งการ เพ่ือใหเ้ กิดความงาม ตามความรู้สึกนึกคิด ดังน้นั วตั ถุประสงคแ์ รกของการสรา้ งงานศลิ ปะคอื ความงาม ๑The Story of Art, E.H.Gombrich.Phaidon Press Limited,London,UK.1995.ฉบับแปล วา่ ด้วยเรื่องศิลปะ.รตพิ ร ชยั ปยิ ะพร, บริษัท เดอะเกรทไฟนอ์ าร๋ท จำกัด กรุงเทพฯ,๒๕๖๐. ๒The Meaning of Art,Herbert Read,1931,กติ ิมา อมรทตั ,แปลและเรยี บเรยี ง,กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ,๒๕๓๐. 28
๗๕ ปี วิบลู ย์ ลี้สวุ รรณ : ชวี ติ และศลิ ปะ นอกจากนี้ กอมบริช ยังเห็นว่า “งานศิลปะ คือ โลกอันน่าต่ืนตาต่ืนใจในตัว ของมันเอง มีกฎเกณฑ์ประหลาดๆของตัวเอง เราไม่ควรคิดว่ารู้ทุกอย่างเก่ียวกับงานศิลปะ เพราะนั่นเป็นส่ิงที่ไม่มีใครทำได้” (กรอมบริช หน้า ๓๐) จากความเห็นนี้ ศิลปะจึงเป็นส่ิงท่ีมนุษย์ สร้างขึ้นตามกฎเกณฑ์ทางศิลปะของแต่ละยุคแต่ละสมัยท่ีเปล่ียนแปลงไปตามค่านิยมของ แตล่ ะช่วงเวลา ทำใหร้ ปู แบบของงานศลิ ปะปรบั เปล่ยี นไปตามนยั นน้ั ๆ การสร้างงานศิลปะมีกระบวนการทางความคิด กลวิธี ต่างไปจากกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ท่ีได้ผลลัพธ์แน่นอนชัดเจน งานศิลปะไม่ใช่บวกลบคูณหารแล้ว ผลลัพธ์ ต้องเป็นหนึ่งเดียว แต่ผลลัพธ์ทางศิลปะมีตัวแปรหลายอย่าง วัดไม่ได้ว่า เป็นอย่างไร มีปริมาณ เทา่ ใด ศิลปินมีระบบการสร้างสรรค์งานศิลปะท่ีซับซ้อนในสมอง ก่อนประมวลผล ผ่านฝีมือและทักษะให้ปรากฎเป็นรูปธรรม “แต่ศิลปินทั้งหลายก็มีเจตนาเดียวกันท้ังสิ้น คือ ปรารถนาที่จะสร้างความพึงใจ ศิลปะจึงได้มีคำจำกัดความอย่างง่ายและเป็นธรรมดาที่สุด คือ พยายามที่จะสร้างสรรค์รูปลักษณ์ความพึงใจข้ึนมา และรูปลักษณะนั้นก่อให้เกิดอารมณ ์ รู้สึกในความงาม อารมณ์รู้สึกในความงามน้ันจะเป็นท่ีพึงพอใจได้ก็ต่อเมื่อประสาทสัมผัสของเขา รู้สึกชื่นชมในเอกภาพ หรือความประสมกลมกลืนกันในความสัมพันธ์อันมีระเบียบแบบแผน” (เฮอรเ์ บิรต์ รดี , ๑๘) 29
๗๕ ปี วบิ ูลย์ ลส้ี ุวรรณ : ชวี ติ และศลิ ปะ ศิลปินพยายามสร้างสรรค์รูปลักษณ์ตามความพึงใจของตนเองและส่งต่อ ความพึงใจไปสู่ผู้เสพผ่านความงามในงานศิลปะ แต่ก็มีข้อย้อนแย้งว่า ศิลปะต้องงามหรือไม่ ถ้าไม่งามจะเป็นศิลปะหรือไม่ เป็นประเด็นท่ีถกเถียงกัน หากศิลปกรรมกรีกงดงามเป็นศิลปกรรม ช้ันสูง ศิลปกรรมแอฟริกันเป็นศิลปะหรือไม่ แม้เป็นศิลปะที่ไม่งามตามคตินิยมโบราณ แตใ่ ห้ความรสู้ ึกทีแ่ ตกต่างไปและยอมรับว่าเปน็ ศิลปะรปู แบบหนง่ึ การประเมินคุณค่าของศิลปะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องใช้หลักวิชาจากนักวิชา การท่หี ลากหลาย อย่างไรก็ตาม ศิลปินมีกระบวนการสร้างงานศิลปะท่ีสำคัญคือ การตัดสินใจว่า อะไรคือ ความเหมาะสม ลงตัว กอมบริช ใช้คำว่า right หมายความว่า ถูกต้องเหมาะสมแล้ว ศิลปินต้องใช้ความรู้ความสามารถกำหนดความลงตัว ความลงตัวคืออะไร เม่ือศิลปินสร้างงาน ศลิ ปะ จะกำหนดรู้ได้ด้วยตนเองว่า ลงตวั หรือยงั อาจต้องเพิ่มสี เพ่มิ เสน้ หรอื ลดสีลง วางจงั หวะ ของพ้ืนที่ว่างให้เหมาะสม สิ่งเหล่านี้ ศิลปินท่ีมีทักษะและประสบการณ์การสร้างงานสูง จะรู้ได้ ดว้ ยตนเอง การเร่ิมต้นการสร้างงานศิลปะ มักจะเริ่มจากการภาพร่าง(sketch)จากจินตนาการ ท่ีมีอยู่ในสมองออกมาเป็นภาพร่างคร่าวๆ ก่อนสร้างเป็นผลงานจริง ภาพร่างมีความสำคัญ ในกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะ เป็นเสมือนกรอบกำหนดแนวคิด รูปแบบของผลงาน เม่ือ 30
๗๕ ปี วิบลู ย์ ลี้สุวรรณ : ชวี ติ และศลิ ปะ นำไปสร้างเป็นผลงานจริง ศิลปินอาจตัดทอน เพ่ิมเติมให้เกิดความลงตัวและความพอใจของ ศิลปิน ภาพร่างอาจทำเป็นรูปเล็กๆบนกระดาษหรือภาพร่างอาจมีอยู่ในสมองของศิลปินท่ีพร้อม จะถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานศิลปะ สมุดภาพร่างเป็นสิ่งสำคัญ ศิลปินแทบทุกคนจะต้องมีสมุดประจำตัว เพ่ือบันทึก ความคดิ ให้เป็นภาพ หรือใชบ้ ันทึกขอ้ มูล ทงั้ ทีเ่ ป็นภาพและจดบนั ทกึ เปน็ ตวั อกั ษร สมุดบันทึกของศิลปินระดับโลกหลายคนมีค่ามหาศาล แต่ก็มีศิลปินไม่น้อยไม่เห็น ความสำคัญของสมุดบันทึก ไม่เก็บรักษาไว้ ภาพลายเส้นของศิลปินหลายคนที่ร่างลวดลาย ที่คดั ลอกจากโบราณสถานเป็นหลกั ฐานที่งดงามและมีคุณค่าทางศิลปะ การสร้างงานศิลปะเป็นกระบวนการที่ซ่อนอยู่ในความรู้สึกนึกคิดของศิลปิน แล้วแสดงออกด้วยส่ือต่างตามท่ีตนถนัด “ศิลปินรวบรวม สะสม เรียบเรียงในในแบบ ที่ให้เป็นส่ือทางวัตถุและแสดงความมุ่งมาดปรารถนาไว้หลายประการ แสดงเจตนา และสภาพต่างๆ ท่ีเขารับเอามาจากความนึกคิดจิตใจและความเป็นอยู่ของตน ประเดี๋ยว เขาก็นึกถึงตัวอย่างรูปแบบของเขา ประเดี๋ยวก็คิดถึงสีต่างๆ นึกถึงสีน้ำมัน ถึงความหนักเบา ของการใช้สี ประเดี๋ยวก็นึกถึงผิวเนื้อของภาพและประเดี๋ยวก็นึกถึงผืนผ้าใบซ่ึงจะรองรับ สีของเขา แต่ความต้ังใจ จงใจอันเป็นอิสระแก่กันนี้ จำเป็นต้องประมวลลงเป็นอันเดียวกัน ในเม่ือลงมือวาดภาพ ชั่วขณะพิเศษอันแตกต่างกันแต่ละขณะเหล่านั้นก็กระจัดกระจายออกไป แล้วก็ถูกไล่ตามเอากลับคืนมา แล้วถูกจับแขวนไว้ แล้วก็หายไปอีก ทั้งหมดเหล่าน้ีจะงอกงาม ออกมาเปน็ รปู ภาพดว้ ยมอื ของศิลปนิ ทัง้ ส้ิน” (เฮอรเ์ บิรต์ รดี ,๒๘๖) 31
๗๕ ปี วบิ ูลย์ ลสี้ ุวรรณ : ชวี ติ และศลิ ปะ การสร้างงานศลิ ปะอาจมขี ้ันตอนดังนี ้ ๑. จินตนาการ ศิลปินมักเป็นคนท่ีมีจินตนาการสูง อาจได้รับมาจากอารมณ์ สะเทือนใจหรือจากสรรพสิ่งในธรรมชาติ อาจเป็นรูปธรรมในจินตนาการท่ีงดงามแปรมาเป็นงาน ศลิ ปะทสี่ มบรู ณด์ ว้ ยสุนทรยี ภาพ ๒. ภาพร่าง (sketch) ภาพท่ีเกิดจากจินตนาการให้ปรากฎเป็นรูปธรรม ภาพร่าง อาจจะไม่สมบูรณ์และงดงามเหมือนภาพในจินตนาการ เพราะภาพร่างท่ีสมองสั่งมายังมือที่ขีด เขียนน้ันต้องผ่านทักษะและองค์ความรู้ในตัวศิลปิน ภาพร่างอาจเป็นรูปธรรมบนแผ่นกระดาษ หรือเป็นรูปธรรมในความคิดของศิลปิน ตลอดชีวิตมีสมุดภาพร่างหลายสิบเล่ม แบ่งเป็น ๒ ประเภท ประเภทหน่ึงเป็นสมุดสเก็ชต์ผลงานต่างท่ีผุดขึ้นมาในความคิดหรือแวบข้ึนมาในความ ร้สู ึก ตอ้ งรบี บันทึกไว้ด้วยเสน้ ง่ายๆทง้ั จิตรกรรม ประติมากรรม หรืองานอ่นื จนถงึ แบบบา้ น สตดู โิ อ ท่ีอยากจะสร้าง สมุดบันทึกลักษณะนี้ช่วยเก็บความนึกคิดและจินตนาการไว้ เพื่อไม่ให้มันสลาย ไป สมดุ บันทึกอกี ลกั ษณะหนงึ่ เป็นการเก็บข้อมลู ขณะเดินทางๆไปถา่ ยภาพในที่ตา่ งๆ การสเก็ชต์ ภาพไว้เป็นหลักฐาน พร้อมข้อมูล เช่น ภาพวัดและจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์ วิหาร หัตถกรรมพ้ืน บ้านพื้นถ่ิน ต้องสเกช็ ต์ภาพ มีชือ่ ขนาด สถานท่ี ไวเ้ ปน็ หลักฐาน หากไมบ่ นั ทึกไว้ เมื่อเวลาผ่านไป ข้อมูลจะสูญหาย การเก็บข้อมูลลักษณะน้ี โชคดีท่ีเขียนรูปเป็นจึงได้ข้อมูลที่ค่อนข้างชัดเจน การ กระทำลักษณะนี้อยากให้เป็นตัวอย่างแก่เยาวชนที่ศึกษาศิลปะ ต้องใช้ศักยภาพที่มีอยู่ให้เกิด ประโยชน์สูงสุด 32
๗๕ ปี วบิ ูลย์ ล้สี ุวรรณ : ชวี ติ และศลิ ปะ ๓. การสร้างผลงาน ข้ันตอนสำคัญเพราะเป็นการสร้างงานตามจินตนาการ แปล จินตนาการ ความรู้สึกนึกคิด มาเป็นรูปธรรม ศิลปินต้องใช้องค์ความรู้ด้านศิลปะมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ แล้วสร้างเป็นงานศิลปกรรม ด้วยสอื่ ทหี่ ลากหลาย ตงั้ แต่ การใชส้ ี ดนิ หิน ไม้ เหลก็ มา เรียงรอ้ ยเปน็ งานของตน การสร้างงานศิลปะในปัจจุบันไม่ได้จำกัดด้วยส่ือหลักๆดังกล่าว แต่ศิลปิน สามารถแสดงออกดว้ ยสื่อสมยั ใหม่ เช่น ดจิ ทิ ลั สอื่ ผสม การแสดงสด เปน็ ตน้ ผลงานศิลปะท่ีศิลปินสร้างควรเผยแพร่สู่สาธารณะชนเพื่อให้เกิด การติชมหรือ การพากย์วิจารณ์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการวิจารณ์เป็นการประเมิน ตรวจสอบ ผลงานของ ศิลปินและเป็นช่องทางให้สาธารณะชนได้รับรู้และเข้าถึงศิลปะ ศิลปินยอมรับหรือไม่ หรือยอมรับ บางประเด็นที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ หรือไม่ยอมรับก็เป็นสิทธ์ิของศิลปิน อย่างไรก็ตาม ศิลปินต้อง ยึดมั่นในความคิดของตน การติชมเป็นเพียงกระแสที่อาจนำมาทบทวนและตรวจสอบ ไม่จำเป็น ต้องเห็นด้วยท้ังหมด เพราะผวู้ จิ ารณอ์ าจรู้สึกและมแี นวคิดต่างไปจากแนวคดิ ของศลิ ปิน หากรสู้ ึก ว่า สง่ิ ท่ีทำเปน็ ความพงึ ใจและสนองความร้สู ึกนึกคดิ ของตนก็เพยี งรับฟงั ไวเ้ ท่านน้ั การเรียบเรยี งความร้สู กึ นึกคดิ แล้วแสดงออกมาเป็นงานศิลปะ ยากท่จี ะให้ใคร มาบอกว่า การวางสีหน่ึงไว้กับอีกสีหน่ึงไม่เหมาะสมไม่ต้องตามทฤษฎี แต่ศิลปินไม่ได้ยึดถือ ทฤษฎนี ้ันทัง้ หมด แตม่ ันเปน็ ความ พอดี และ ลงตัว ของตน ดังน้ันการสร้างงานศิลปะแม้จะต้อง อาศัยทฤษฎเี ป็นเพียงกรอบกว้างๆ ศิลปนิ ไมจ่ ำเป็นตอ้ งอยูใ่ นกรอบนน้ั เสมอไป 33
๗๕ ปี วบิ ูลย์ ลสี้ วุ รรณ : ชีวิตและศิลปะ กลวิธีการสร้างงานศิลปะเป็นเสมือนการทดลองเพื่อแสวงหาความงามท่ีแตก ต่างกันไป ดังน้ัน การสรา้ งสรรค์งานศลิ ปะจึงไม่จำกดั อยู่เพียงกลวธิ ใี ดกลวิธีหนึง่ เท่านน้ั ผลงานศิลปะท่ีนำเสนอในครั้งน้ีประกอบด้วย จิตรกรรมสีน้ำบนกระดาษ ประตมิ ากรรมไม้ ประติมากรรมจากสง่ิ เหลอื ใชห้ รอื ขยะ(Junk sculpture)และประตมิ ากรรมนำมา วสั ดมุ าใช้ใหม(่ recycle sculpture) ผลงานสีน้ำบนกระดาษขนาดเล็กและขนาดใหญ่ซ่ึงทำไว้จำนวนมาก แนวคิดหลักเป็นการเสนอความงามผ่านสี พ้ืนท่ีว่าง โดยรวมเป็นจิตรกรรมนามธรรม เช่นเดียวกับ จติ รกรรมสีสเปรยบ์ นแผน่ สังกะสี โดยใช้พืน้ ผิว(texture)ของสังกะสีให้เกิดผลทางสายตาอีก ลักษณะหน่ึง การสร้างงานศิลปะเป็นการทดลองเพื่อแสวงหาความงามตาม ความรู้สึกนึกคิด แม้การสร้างงานศิลปะต้องศึกษาหาข้อมูลเฉพาะตนที่แตกต่างกันไป มิได้มี แบบแผนตายตวั ประติมากรรมมีลักษณะเป็นงานสามมิติ ต่างจากงานจิตรกรรม ภาพพิมพ์ท่ี เป็นงานสองมิติบนพ้ืนราบ งานประติมากรรมส่วนหน่ึงเป็นงานแกะสลักจากท่อนไม้ แผ่นไม้ ประสงค์ให้เกิดความงามจากปริมาตร(volume)และเส้นรอบนอก(out line) ตลอดจนถึงพื้นผิวที่ เกดิ จากรอยสวิ่ การเจาะ ขุด ขดี 34
๗๕ ปี วบิ ลู ย์ ลส้ี ุวรรณ : ชีวิตและศลิ ปะ งานประติมากรรมอีกชุดหน่ึงทำจากลวดทองเหลืองและทองแดงนำมาสร้าง เป็นรูปสัตว์ใช้กรรมวิธีโบราณคือ การผูก รัด มัดร้อย จากภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทย เปลี่ยนจาก ตอกหรือหวายมาเปน็ ลวด ใหไ้ ด้รปู ทรงตามต้องการ นอกจากน้ียังมีประติมากรรมขนาดเล็กแนวนามธรรมท่ีใช้รูปทรงของไม้ ประกอบกบั วสั ด(ุ ready made)สำเร็จรูป เชน่ หว่ งโลหะ ใบเล่ือย โซ่ คีม มาสรา้ งใหเ้ ปน็ องประกอบ ใหม่ แนวคิดโดยรวมคือ การสร้างความงามด้วยวัสดุต่างๆเท่าที่หาได้มาจัดองค์ประกอบให้ สอดคล้องกบั รปู ทรง พื้นผวิ ของส่ิงนนั้ สนุ ทรยี ศาสตร์ ผลงานที่สร้างขึน้ ในช่วงเวลา ๒-๓ ปี เปน็ การศึกษา ทดลอง การใชก้ ลวิธแี ละ ใช้วัสดุหลากหลาย กระบวนการสร้างงานศิลปะที่นำเสนอนี้ เป็นแนวทางเฉพาะตน สามารถ อธบิ ายเชงิ วชิ าการได้ ไม่ใชส่ ่งิ ท่เี พอ้ ฝนั เลอื่ นลอย ศลิ ปนิ มีอสิ ระทจ่ี ะสรา้ งงานอย่างไรกไ็ ด้ แต่ต้อง ไมข่ ัดกบั ศลี ธรรมอันดี ท้ังหมดเป็นความคิดเห็นส่วนตัว อาจถูกบ้าง ไม่ถูกบ้าง แต่จากประสบการณ์ ยอมรับว่า การสร้างงานศิลปะท้ังหมดเป็นเพียงการแสดงหาความงามและแง่คิดส่วนบุคคล ผลงานอาจมีสุนทรียรสบ้าง ให้ความรู้สึกบ้าง แต่ไม่มีผลกระทบ(impact)อย่างไรต่อสังคมนัก ไมไ่ ดค้ น้ พบสงิ่ แปลกใหม่ เหมอื นศลิ ปนิ ระดบั โลก แตก่ ต็ อ้ งทำเพราะเปน็ สว่ นหนงึ่ ของชวี ติ ถงึ กระนนั่ ก็ตามการแสวงหาความรู้อย่างไม่หยุดน่ิงและการสร้างงานศิลปะมาตลอดชีวิต ได้ค้นพบสัจธรรม หลายอยา่ งและภูมใิ จท่ไี ด้ทำสิ่งเหลา่ นีม้ าอยา่ งสดุ กำลงั ความสามารถ 35
๗๕ ปี วบิ ูลย์ ลีส้ วุ รรณ : ชีวติ และศลิ ปะ บรรณานกุ รม E.H.Gombrich ,The Story of Art,Phaidon Press Limited,London,UK.1995 E.H.Gombrich ,The Story of Art,Phaidon Press Limited,London,UK.1995.ฉบบั แปล ว่าด้วยเรื่องศลิ ปะ.รตพิ ร ชัยปิยะพร,บรษิ ทั เดอะเกรทไฟนอ์ าร์ท จำกัด กรุงเทพฯ,๒๕๖๐. Herbert Read, The Meaning of Art,Herbert Read,1931,กติ ิมา อมรทตั , แปลและเรยี บเรียง,กรมวิชาการ กระทรวงศกึ ษาธิการ,๒๕๓๐. Matin L.Wolf,Dictionary of theArts.Philosophical Library.New York,1951. พภิ พ บุษราคัมวดี. เฟอ้ื หรพิ ทิ กั ษ์ : ชีวิตและงาน.คณะมัณฑนศลิ ป์ มหาวทิ ยาลัยศลิ ปากร.๒๕๒๗ 36
กิจกรรม Activity
๗๕ ปี วิบูลย์ ลส้ี ุวรรณ : ชวี ติ และศิลปะ 38
๗๕ ปี วบิ ูลย์ ลีส้ ุวรรณ : ชวี ติ และศิลปะ สมเดจ็ พระเจา้ พี่นางเธอเจา้ ฟา้ กัลยาณิวัฒนา (สมเดจ็ พระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณวิ ัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร.พ.ศ.๒๔๖๖-๒๕๕๑) ทรงเปิดนิทรรศการผลงานศิลปะของอาจารย์หมวดวิชาทัศนศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ณ สมาคมฝร่ังเศส ถนนสาทร กรุงเทพมหานคร ราว พ.ศ.๒๕๓๐ 39
๗๕ ปี วิบูลย์ ลส้ี วุ รรณ : ชวี ิตและศิลปะ ศาสตราจารย์ หมอ่ มเจา้ สุภัทรดิศ ดศิ กลุ (พ.ศ.๒๔๖๖-๒๕๔๖) อดีตอธกิ ารบดี มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร ทรงเปดิ นิทรรศการศลิ ปะวาดเสน้ ณ. โรงแรมรเี จนท์ กรงุ เทพฯ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๙ 40
๗๕ ปี วิบลู ย์ ล้ีสวุ รรณ : ชวี ติ และศิลปะ พลเอกเปรม ตณิ สูลานนท ์ (พ.ศ.๒๔๖๓-๒๕๖๒) อดีตนายกรัฐมนตรี ประธานองคมนตรี เปดิ นิทรรศการศิลปะ ณ พิพธิ ภณั ฑสถานแห่งชาติ หอศลิ ป์ ถนนเจ้าฟา้ กรงุ เทพฯ ราว พ.ศ. ๒๕๓๐ 41
๗๕ ปี วิบูลย์ ลส้ี วุ รรณ : ชวี ิตและศลิ ปะ คุณเกริกเกียรติ ชาลีจนั ทร ์ อดีตกรรมการผจู้ ดั การใหญ่ ธนาคารกรุงเทพพาณชิ ย์การ จำกดั ประธานพธิ เี ปดิ นทิ รรศการ” “บทกวีของสีสนั บนกระดาษสา” ของวิบูลย์ ลี้สวุ รรณ ณ อารต์ ฟอรัม แกลเลอรี ถนนประดพิ ัทร์ กรุงเทพฯ วนั พุธท่ี ๔ สงิ หาคม พ.ศ.๒๕๓๕ (ภาพจากซา้ ย อนิ สนธิ์ วงศส์ าม ดำรง วงศอ์ ปุ ราช สันติ คุณประเสิรฐ ปรีชา อรชนุ กะ ไพฑรู ย์ เมอื งสมบูรณ์ เกรกิ เกยี รติ ชาลจี ันทร์ ชัยสิริ สมทุ รวาณิชย์ วิบูลย์ ลี้สุวรรณ เฉลมิ ชยั โฆษติ พพิ ัฒน์ ประพนั ธ์ ศรีสตุ า) 42
๗๕ ปี วิบูลย์ ลสี้ ุวรรณ : ชีวิตและศิลปะ ภาพพมิ พ์ PRINTS 43
๗๕ ปี วิบูลย์ ลส้ี ุวรรณ : ชวี ติ และศิลปะ 44
๗๕ ปี วบิ ูลย์ ล้สี ุวรรณ : ชวี ติ และศลิ ปะ สงครามและสนั ตภิ าพ. ๒๕๑๕ war and peace.1973 ๔๐x๔๕ ซม.ภาพพิมพซ์ ิลค์สกรนี 40x45 cm. serigraphy สมบตั ิของเอกชน private collection 45
๗๕ ปี วิบูลย์ ลส้ี ุวรรณ : ชวี ติ และศิลปะ 46
๗๕ ปี วิบลู ย์ ล้ีสุวรรณ : ชีวติ และศิลปะ ความทรงจำ หมายเลข ๖.๒๕๒๑ ความทรงจำ หมายเลข ๗.๒๕๒๑ ๔๑x๔๖.๕ ซม. ภาพพมิ พ์ซลิ ค์สกรนี ๔๓x๕๙.๕ ซม. ภาพพิมพ์ซิลคส์ กรีน สมบตั ขิ องเอกชน สมบัติของเอกชน memory No.6.1978 memory No.7.1978 41x46.5 cm. serigraphy 43x59.5 cm. serigraphy private collection private collection 47
๗๕ ปี วิบลู ย์ ล้ีสุวรรณ : ชีวติ และศิลปะ สีเขียวในสแี ดง. ๒๕๑๕ สีแดงในสีเขียว. ๒๕๑๕ ๔๘.๕x๖๒ ซม. ภาพพมิ พซ์ ลิ ค์สกรนี ๔๘.๕x๖๒ ซม. ภาพพิมพซ์ ลิ คส์ กรีน สมบัตขิ องเอกชน สมบตั ขิ องเอกชน green in red.1972 red in green.1972 48.5x62 cm. serigraphy 48.62 cm. serigraphy private collection private collection 48
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166