Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ยาเสพติด

ยาเสพติด

Published by want2playzzzzz2, 2022-08-24 10:59:42

Description: ยาเสพติด

Search

Read the Text Version

ยาเสพติด

คำนำ ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสังคมและมีผลกระทบ โดยตรงตอทังตัวผู้ติด/ผู้เสพยาเสพติด ชุมชน สังคม และ ประเทศชาติ จึงทําให้รัฐบาลในทุกยุคทุกสมัยให้ความ สําคัญและกําหนดเป็น วาระแห่งชาติ เพือแก้ไขปัญหายา เสพติดและจะต้องควบคุมป้องกัน และปราบปรามปัญหา ยาเสพติด ซึงการแก้ไขปัญหายาเสพติดทีมุ่งเน้นตัวผู้ติด ผู้เสพยาเสพติดทีเป็นตัวการหลักในการใช้ยาเสพติดนัน ถือเป็นทางหนึงในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยการนํา ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดเหล่านันเข้าสู่กระบวนการบําบัด รักษายาเสพติดระบบแบบสมัครใจในรูปแบบ ค่ายปรับเปลียนพฤติกรรม เพือปลูกฝังจิตสํานึกให้ผู้เข้ารับการบําบัดรักษาได้มี ส่วนร่วมและสมัครใจเข้ารับการปรับเปลียนพฤติกรรมได้เห็น คุณค่าในตนเอง เลิกใช้ยาเสพติดและ กลับเป็ นคนดีของสังคมก็จะทําให้ชุมชน หมู่บ้าน สังคมและ ประเทศชาติ มีความมันคงและ ปลอดภัยจากยาเสพติดมากยิงขึน

สารบัญ คำนำ หน้ า 2 ความเรื่องยาเสพติด หน้ า 4 ประเภทของยาเสพติด หน้ า 5 ผลเสียของยาเสพติด หน้ า 8

ความรู้เรื่องยาเสพติด ๑. ความหมายของยาเสพติด ยาเสพติดหมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ ขึ้น เมื่อนำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกาย และจิตใจ นอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้ สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง ลักษณะ สำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ และอาการ แสดงต่อผู้เสพดังนี้ ๑.๑ เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการ ใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น ๑.๒ เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้น เท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้ ๑.๓ มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่าง รุนแรงตลอดเวลา ๑.๔ สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และ ประเทศชาติ

ประเภทของยาเสพติด ๑. แบ่งตามแหล่งที่เกิด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑.๑ ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) ๑.๒ ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) ๒. แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ ๒.๑ ยาเสพติดประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารระเหย และยากล่อมประสาท ๒.๒ ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม และ โคคาอีน ๒.๓ ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มพี และ เห็ดขี้ควาย ๒.๔ ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน กล่าวคือ อาจกด กระตุ้น หรือ หลอนประสาทได้พร้อม ๆ กัน ตัวอย่างเช่น กัญชา

๓. แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ ๓.๑ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ ได้แก่ เฮโรอีน แอลเอ สดี แอมเฟตามีน หรือยาบ้า ยาอีหรือยาเลิฟ ๓.๒ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้ สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็น เท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือโคคาอีน โคเคอีน และเมทาโดน ๓.๓ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๓ ยาเสพติดประเภทนี้ เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ ๒ ผสมอยู่ ด้วย มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุด ประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยา เสพติดประเภทนี้ ได้แก่ ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น ๓.๔ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๔ คือสารเคมีที่ใช้ในการ ผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ หรือประเภทที่ ๒ ยา เสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัด โรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่น้ำยา อะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการ เปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถ ใช้ในการผลิตยาบ้าได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก ๑๒ ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้ ๓.๕ ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ ๕ เป็นยาเสพติดให้โทษที่ มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ ๑ ถึง ๔ ได้แก่ ทุก ส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืช กระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็ นต้น

๔. แบ่งตามองค์การอนามัยโลก ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๙ ประเภท คือ ๔.๑ ประเภทฝิ่น หรือ มอร์ฟีน รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้าย มอร์ฟีน ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เพทิดีน ๔.๒ ประเภทยาปิทูเรท รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน ได้แก่ เซโคบาร์ปิตาล อะโมบาร์ปิตาล พาราลดีไฮด์ เมโปร บาเมท ไดอาซีแพม เป็นต้น ๔.๓ ประเภทแอลกอฮอล ได้แก่ เหล้า เบียร์ วิสกี้ ๔.๔ ประเภทแอมเฟตามีน ได้แก่ แอมเฟตามีน เมทแอ มเฟตามีน ๔.๕ ประเภทโคเคน ได้แก่ โคเคน ใบโคคา ๔.๖ ประเภทกัญชา ได้แก่ ใบกัญชา ยางกัญชา ๔.๗ ประเภทใบกระท่อม ๔.๘ ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็นที เมส ตาลีน เมลัดมอนิ่งกลอรี่ ต้นลำโพง เห็ดเมาบางชนิด ๔.๙ ประเภทอื่น ๆ นอกเหนือจาก ๘ ประเภทข้างต้น ได้แก่ สารระเหยต่าง ๆ เช่น ทินเนอร์ เบนซิน น้ำยาล้าง เล็บ ยาแก้ปวด และบุหรี่

ผลเสียของยาเสพติด นอกจากนี้ ปัญหายาเสพติดอาจเป็นปัญหา ทางการเมือง ในประเทศ หรือระหว่างประเทศ และมีผลกระทบต่อ ความมั่นคงของชาติได้ การสูญเสียด้านบุคลิกภาพและจิตใจ การสูญเสียทางสุขภาพอนามัย การสูญเสียทางเศรษฐกิจ การสูญเสียทางสังคม

ที่มา http://www.huatei.go.th/files/com_networknews /2017-06_52cc285c6166e92.pdf https://webportal.bangkok.go.th/lab/page/main/ 2162/0/1/info/60062/%E0%B8%A2%E0%B8% B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%9E %E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94 https://saranukromthai.or.th/sub/book/book.ph p?book=9&chap=13&page=t9-13- infodetail04.html


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook