Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore best ศน.เจียมพล

best ศน.เจียมพล

Published by jiam boonprakom, 2023-08-15 05:08:28

Description: best ศน.เจียมพล

Search

Read the Text Version

ประเภท ผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาสมรรถนะครู ด้านการใช้ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC CONTENT CENTER เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (ACTIVE LEARNING) ที่มีผลต่อสมรรถนะของผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศ KID2CAE MODEL ผู้เสนอขอ นายเจียมพล บุญประคม ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ก คำนำ โลกยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รวดเร็ว และยากจะคาดการณ์ที่เรียกว่า VUCA ซึ่งได้แก่ โลกที่มีความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความสลับซับซ้อน (Complexity) และความ คลุมเครือ (Ambiguity) ประเทศไทยจึงจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ให้นักเรียน สามารถพัฒนาสมรรถนะได้อย่างเหมาะสม ซึ่งการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและทักษะในศตวรรษ ที่ 21 สามารถคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดแก้ปัญหา ปรับตัว สื่อสาร และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี ประสิทธิภาพ คือ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนที่ตอบสนองการ เปลี่ยนแปลงศตวรรษที่ 21 การเตรียมความพร้อมครูและบุคลากรทางการศึกษา ถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อ ความสำเร็จในการขับเคลื่อนหลักสูตรให้สามารถพัฒนาผู้เรียนจนบรรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาชาติ ที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง จึงจำเป็นต้องพัฒนาครูและบุคลากร ทางการศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมี คุณลักษณะและทักษะในศตวรรษที่ 21 การดำเนินงาน เรื่อง การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการใช้ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการจัด การเรียนรู้เชิงรุก (ACTIVE LEARNING) ที่มีผลต่อสมรรถนะของผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศ KID2CAE Model ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) เล่มนี้ จะป็นประโยชน์หรือเป็นแนวทางดำเนินงานของผู้ที่สนใจไม่มากก็น้อย ขอขอบพระคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ให้ ความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง นายเจียมพล บุญประคม ศึกษานิเทศก์ OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ข สารบัญ หน้า 1 ความเป็นมาและความสำคัญ 2 วัตถุประสงค์ 2 เป้าหมาย 3 กระบวนการสร้างและพัฒนานวัตกรรมการนิเทศ 11 ผลการดำเนินการ/ประโยชน์ที่ได้รับ 11 ปัจจัยความสำเร็จ 11 บทเรียนที่ได้รับ 11 การเผยแพร่ 12 หนังสืออ้างอิง 13 ภาคผนวก -เอกสารประกอบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริม สมรรถนะผู้เรียน - ภาพข่าวประชาสัมพันธ์โครงการ - ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยด้วยระบบคลังสื่อ เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 1 ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา การพัฒนาให้เด็กมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับ ปรับปรุง พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นหลักสูตรปัจจุบันที่ได้มีการนำสมรรถนะที่ตรงกับศตวรรษที่ 21 บางสมรรถนะเข้าไปใน หลักสูตรการศึกษาโดยเฉพาะทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ปัญหา (Citical Thinking/Problem-Solving) การคิดอย่างสร้างสรรค์ (Creativity) การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น (Communication) การทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration) และความตระหนักรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม (Social & Cutural Awareness) แต่อย่างไรก็ตามด้วย การที่หลายๆ อย่างบนโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ยิ่งเวลาผ่านไปทักษะที่จำเป็นในอนาคตจึงมีการ เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย หลักสูตรดังกล่าวยังขาดการนำทักษะบางอย่างเข้าไปในหลักสูตร หรือยังไม่มีแนวทางการพัฒนา ที่ชัดเจน ซึ่งทักษะเหล่านี้ผู้รายงานเห็นว่ามีความสำคัญและมีผลอย่างมากในการพัฒนาความสามารถของเด็กในอนาคต ได้แก่ ความพยายามในการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Persistence/Grit) เป็นทักษะที่สะท้อนถึงความทะเยอทะยานของ บุคคลที่จะไม่ลดละความพยายามนำพาตนเองไปสู่เป้าหมายที่ตั้งใจไว้โดยเป็นทักษะที่สามารถพัฒนา Growth Mindset ได้ซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนบุคคลให้เกิดการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self-Efficacy) เป็น ทักษะที่เด็กควรจะมีเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กประเมินตนเองต่ำเกินไปจนทำบางสิ่งบางอย่างไม่เต็มความสามารถ ซึ่งทักษะนี้ก็ สามารถพัฒนา Growth Mindset ได้เช่นเดียวกัน ทักษะการใช้เทคโนโลยี (ICT literacy) เป็นทักษะที่ต้องมีการพัฒนา ตามโลกทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ซึ่งบางครอบครัวเลี้ยงลูกโดยใช้ Smartphone หรือ Tablet ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะห้าม ไม่ให้เด็กปฐมวัยในยุคปัจจุบันใช้สิ่งเหล่านี้ ดังนั้นหากห้ามไม่ให้ใช้ไม่ได้ การสอนให้ใช้ให้เป็นใช้อย่างเหมาะสม ถูกวิธี ก็เป็นสิ่งสำคัญ แต่การนำทักษะศตวรรษที่ 21 เข้าไปในหลักสูตรเพียงอย่างเดียวคงไม่พอ ครูต้องพัฒนากระบวนทัศน์ใหม่ ให้กับเด็กให้เป็นคนใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดเวลา เน้นกระบวนการเรียนรู้สำคัญกว่าความรู้ ครูจึงไม่ใช่ผู้มอบความรู้แต่เป็นผู้ ออกแบบการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับผู้เรียน โดยต้องก้าวข้ามสาระวิชา ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษ ที่ 21” ที่ครูไม่ได้สอน นั่นคือ ครูต้องไม่สอนแต่ต้องออกแบบการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้นักเรียน เรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือทำ ชี้แนะ ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับผู้เรียน และมีการกำกับ ติดตามและประเมินผลเป็นระยะ ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการจัดการเรียนการสอน การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มีแนวคิดมาจาก จอห์น ดิวอี้ เชื่อว่า ผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ได้ดีก็ ต่อเมื่อผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ให้กับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการสร้างองค์ ความรู้ เป็นแนวการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีการเรียนรู้ที่มากขึ้นสามารถจดจำเนื้อหาการเรียนได้ยาวนานขึ้น มีการส่งเสริม ความคิดขั้นสูงและการสร้างความรู้ ได้ด้วยตนเองของผู้เรียนโดยอาศัยกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างการมีส่วน ร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้และมีการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยกันเป็นกลุ่มในชั้นเรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ โดยมีผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน นักเรียน ได้รับการพัฒนาสมรรถนะสำคัญ การนิเทศการศึกษาเป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยพัฒนาครูให้มีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนและ สามารถจัดการศึกษาได้อย่างยั่งยืน แต่ปัจจุบันครูขาดการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการพัฒนา การพัฒนาอบรมครู ไม่สอดคล้องกับความต้องการของครู ขาดกลไกในการรวมพลังขับเคลื่อน เพื่อพัฒนาวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง ไม่มี ระบบการนิเทศติดตามผลที่จะช่วยในการพัฒนาครู การพัฒนาครูยังขาดการวิเคราะห์สภาพปัญหาความต้องการจำเป็น OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 2 ในการพัฒนาครู การพัฒนาครูยังใช้รูปแบบเดิม ๆ ไม่มีนวัตกรรมใหม่ ซึ่งไม่ตรงกับความต้องการของครู การนิเทศการ ศึกษาจำเป็นต้องปรับกระบวนการนิเทศให้ทันสมัยและมีรูปแบบการนิเทศที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้การ จัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพและเพิ่มคุณภาพการจัดการเรียนรู้ สู่การปฏิรูปการศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 เพื่อให้เป็น กิจกรรมที่ช่วยให้ครูผู้สอนที่เป็นผู้รับการนิเทศมีเจตคติที่ดี และมีความรู้ความสามารถที่จะจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้บรรลุผลตามมาตรฐานการศึกษาทั้งของโรงเรียนและมาตรฐานการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด สภาพการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ครูยังไม่สามารถนำเทคนิคกลวิธีการจัดการเรียนรู้มาใช้เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจอยากเรียนรู้ ขาดการส่งเสริม นักเรียนในด้านต่างๆ เพื่อฝึกทักษะกระบวนการคิดทั้งคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ ประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อ ป้องกันและแก้ไขปัญหา นักเรียนขาดโอกาสในการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง การฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้ นักเรียนยังไม่มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ขาดทักษะในการสร้างความรู้จากประสบการณ์ตรง ครูยังมีบทบาทในการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้สู่นักเรียน อีกทั้งภาระงานที่มากทั้งงานสอบและงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย ส่งผลต่อการจัดเตรียมการสอนทำให้ครูมักจะใช้หนังสือเป็นหลักและใช้แผนการจัดการเรียนรู้สำเร็จรูปที่มีเผยแพร่ตามสื่อ อินเทอร์เน็ต หนังสือหรือสื่ออื่น ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษา จากสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ผู้รายงานจึงมีความสนใจในการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการใช้ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการจัด การเรียนรู้เชิงรุก (ACTIVE LEARNING) ที่มีผลต่อสมรรถนะของผู้เรียน ร่วมกับกระบวนการนิเทศโดยใช้กระบวนการนิเทศ KเดIียDว2กCันAคEือ Model โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ครูมีการจัดการเรียนการสอนโดยมีเป้าหมายในการปฏิบัติที่เป็นไปในทิศทาง เพื่อพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียรู้เชิงรุกของครูภายใต้บริบทสภาพแวดล้อมปัญหาที่ประสบจากในการ ปฏิบัติงานจริงภายในโรงเรียน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนากระบวนการนิเทศ OKIBDE2CCCAoEntMenotdCeel nทtี่eส่rงเสริมสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยการใช้ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 2. เพื่อพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อจากโปรแกรม Canva เพื่อนำไปใช้ในระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 3. เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียน เป้าหมาย เชิงปริมาณ ครูที่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยการใช้ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center ที่ส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียน จำนวน 50 คน เชิงคุณภาพ 1. ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ มีกระบวนการนิเทศ KID2CAE Model เพื่อนำไปใช้นิเทศการศึกษา 2. ผู้บริหารสถานศึกษา มีกระบวนการนิเทศ KID2CAE Model เพื่อนำไปใช้ในการนิเทศภายใน 3. ครูที่ได้รับการพัฒนามีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ที่ส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียน 4. ผู้เรียนเป็นผู้มีสมรรถนะสำคัญตามความต้องการของตนเอง OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 3 กระบวนการสร้างและพัฒนานวัตกรรมการนิเทศ ผู้รายงานได้ออกแบบนวัตกรรมโดยใช้หลักการนิเทศการศึกษา การปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้มี ส่วนเกี่ยวข้อง ทางการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนและครู โดยการทำงานแบบร่วมมือในการให้คำชี้แนะ การให้ ความช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน กระตุ้น ติดตาม เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผล ต่อคุณภาพผู้เรียน ให้บรรลุจุดมุ่ง หมายที่วางไว้หรือเป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการ โดยใช้กระบวนการนิเทศ KID2CAE MODEL ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น มี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) บันไดขั้นที่ 1 ความรู้ (KNOWLEDGE : K) ขั้นพัฒนาทักษะความรู้ที่จำเป็นในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สร้าง แรงจูงใจ 2) บันไดขั้นที่ 2 การนำไปใช้ (IMPLEMENT : I) ขั้นนำความรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และนิเทศ ติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยในขั้นที่ 2 การนำไปใช้ แบ่งวิธีการนิเทศเป็น 3 วิธี ดังนี้ 2.1) การนิเทศแบบพัฒนาการ Developmental Supervision 2.2) การนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ Collaborative Professional Supervision 2.3) การนิเทศแบบชี้แนะสอนงาน Coaching and Mentoring แบ่งกลุ่มครูโดยใช้ผลจากการทดสอบความรู้ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ของครูใน โรงเรียนขนาดเล็กที่เข้าร่วมการอบรมพัฒนา 3) บันไดขั้นที่ 3 สะท้อนคิดหลังการนิเทศ (AFTER ACTION : A) ขั้นวิเคราะห์และสะท้อนผลการดำเนินงาน โดยใช้กระบวนการ AAR 4) บันไดขั้นที่ 4 ประสิทธิภาพ (EFFECTIVE : E) ขั้นการประเมินผลที่เกิดขึ้นหลังจากการใช้รูปแบบการนิเทศ ตามรูปแบบ KID2CAE MODEL โดยใช้ชุดนิเทศกิจกรรมที่ผู้รายงานสร้างขึ้น จำนวน 3 ชุดกิจกรรม ได้แก่ 1) แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เป็นเอกสารแสดงรายละเอียดและแผนการจัดกิจกรรม ชุดกิจกรรมเสริมความรู้ และชุดนิเทศ สำหรับพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ด้วยกระบวนการ นิเทศ KID2CAE MODEL 2) เอกสารประกอบที่ผู้รายงานใช้ในอบรมให้ความรู้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 5 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เล่มที่ 2 ทักษะศตวรรษที่ 21 3Rs8Cs เล่มที่ 3 การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เล่มที่ 4 การออกแบบสื่อด้วยโปรแกรม Canva เล่มที่ 5 แพลตฟอร์มดิจิทัล OBEC CONTENT CENTER 3) ชุดนิเทศ เป็นชุดนิเทศครูในระหว่างปฏิบัติงาน ได้แก่ คู่มือการนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ด้วยกระบวนการนิเทศ KI D2CAE MODEL OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 4 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา 1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 50 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา ดังนี้ 2.1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 50 คนได้มาโดยวิธีการเลือกแบบ เจาะจง 1) เป็นครูที่ผ่านการพัฒนาตามโครงการพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยการใช้ ระบบ คลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center ที่ส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 2) เป็นครูที่ต้องการเห็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของวิธีการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถตอบสนอง ต่อความต้องการของผู้เรียนได้กว้างขวางขึ้น 2.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาความคิดเห็นจากการเผยแพร่ชุดนิเทศ ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ และได้รับการเผยแพร่ชุดนิเทศ จำนวน 50 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ เครื่องมือที่เป็นนวัตกรรม และเครื่องมือที่ใช้ เก็บรวบรวมข้อมูล มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1) เอกสารประกอบที่ผู้รายงานใช้ในอบรมให้ความรู้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 5 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เล่มที่ 2 ทักษะศตวรรษที่ 21 3Rs8Cs เล่มที่ 3 การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เล่มที่ 4 การออกแบบสื่อด้วยโปรแกรม Canva เล่มที่ 5 แพลตฟอร์มดิจิทัล OBEC CONTENT CENTER 2) ชุดนิเทศ เป็นชุดนิเทศครูในระหว่างปฏิบัติงาน ได้แก่ คู่มือการนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ด้วยกระบวนการนิเทศ KID2C AE MODEL OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 5 การสร้างเครื่องมือและการศึกษาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1) การสร้างเครื่องมือที่เป็น นวัตกรรมและ 2) การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ 1. เครื่องมือที่เป็นนวัตกรรม ผู้รายงานได้สร้างเครื่องมือที่เป็นนวัตกรรมที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ซึ่งได้แก่ ชุดนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน โดยมีขั้นตอนในการสร้างและการหาคุณภาพ ดังนี้ 1.1 การสร้างชุดนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน 1.1.1 ศึกษาเอกสาร แนวคิด หลักการ ทฤษฎีเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ของนักการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ 1.1.2 ศึกษานิยามสมรรถนะผู้เรียน โดยศึกษาจากเอกสารทางวิชาการและนักวิชาการศึกษาหลายท่าน ดังต่อไปนี้ วัชรา เล่าเรียนดี (2556), วชิรา เครือคำอ้าย และชวชิต ขอดศิริ (2561) และพิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดี (2560) 1.1.3 วิเคราะห์โครงสร้างและเนื้อหาสำหรับจัดทำชุดนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน และวิเคราะห์รูปแบบการนิเทศที่เหมาะสมนำมาใช้จัด กิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการประยุกต์การนิเทศแบบผสมผสาน คือ การนิเทศโดยใช้เทคโนโลยี และการนิเทศแบบ เผชิญหน้า โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ การศึกษาเอกสาร การสนทนาทางวิชาการ และการสังเกต ติดตามการสอนด้วย หลักการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหาและพัฒนา สรุปโครงสร้างและเนื้อหาชุดนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน 1.1.4 กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน โดยแบ่งเนื้อหาตามความเหมาะสมในการเรียนรู้ พร้อม ทั้งแบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจ 1.1.5 จัดทำรายละเอียดเนื้อหาชุดนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อ เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน ประกอบด้วย 1) คู่มือนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน 2) คู่มือการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่ง เสริมสมรรถนะผู้เรียน โดยมีรายละเอียดดังนี้ ส่วนที่ 1 การจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน ส่วนที่ 2 รูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อ เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 6 1.1.6 ประเมินเนื้อหาที่ใช้ในชุดนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อ เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน ดังนี้  1.1.6.1 กำหนดประเด็นการประเมินเนื้อหาในชุดนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน ครอบคลุม 4 ประเด็นใหญ่ ได้แก่ 1) การประเมินด้าน เนื้อหา 2) การประเมินด้านวัตถุประสงค์ของกิจกรรม 3) การประเมินด้านการใช้ภาษา 4) การประเมินด้านการทดสอบ และประเมินผล 1.1.6.2 กำหนดเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้ + เมื่อแน่ใจว่าเนื้อหาที่ใช้ในชุดนิเทศมีความเหมาะสม 0 เมื่อไม่แน่ใจว่า เนื้อหาที่ใช้ในชุดนิเทศมีความเหมาะสม -1 เมื่อแน่ใจว่าเนื้อหาที่ใช้ในชุดนิเทศมีความไม่เหมาะสม 1.1.7 นำแบบประเมินเนื้อหาที่จะใช้ในชุดนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบ คลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน ไปให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหา จำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบความถูก ต้องของเนื้อหา ความสอดคล้องของเนื้อหากับวัตถุประสงค์และความสอดคล้องของแบบประเมินทักษะการคิดพื้นฐานกับ เนื้อหา วัตถุประสงค์การเรียนรู้ โดยใช้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence : IOC) ซึ่งค่า ดัชนีสอดคล้องที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 1.1.8 สร้างชุดนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน 1.1.9 นำชุดนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อ ส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน ที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน เพื่อประเมินชุดนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน เพื่อให้คำแนะนำในส่วนที่ยังบกพร่อง แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข 1.1.10 กำหนดเกณฑ์การประเมินชุดนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบ คลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน โดยผู้ศึกษาแบ่งการประเมินชุดนิเทศออกเป็น 2 ส่วน คือ ประเมิน คู่มือการนิเทศ และประเมินคู่มือการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริม สมรรถนะผู้เรียน 1.2 การทดสอบหาคุณภาพของชุดนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อ เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน มีขั้นตอน ดังนี้ 1.2.1 ทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่งกับครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอน จำนวน 3 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เพื่อทดสอบคุณภาพเบื้องต้น โดยการสังเกต สัมภาษณ์ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไข เพื่อใช้ทดลองในขั้นต่อไป ผลการทดลองกับครูจำนวน 3 คน พบข้อเสนอแนะ ได้แก่ กิจกรรมแต่ละขั้นตอนมีอุปกรณ์ที่จะ ต้องเตรียมจำนวนมาก และบางอย่างหายากในบริบทของสถานศึกษา ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ ดัง กล่าวและปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องของอุปกรณ์ให้ครูสามารถใช้วัสดุในบริบทของสถานศึกษาได้ 1.2.2 ทดลองกลุ่มเล็กกับครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอน จำนวน 9 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยให้ครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอน ทดลองใช้ชุดนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วย ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน ทั้ง 5 เล่ม เพื่อหาแนวโน้มประสิทธิภาพและตรวจสอบคุณภาพ ตามวัตถุประสงค์ และนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่บกพร่องเพื่อใช้ทดลองขั้นต่อไป OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 7 2. การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 2.1 แบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจของครู เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วย ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน ผู้รายงานได้สร้างแบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจ เพื่อใช้ เป็นแบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจก่อนและหลังเรียนรู้ด้วยชุดนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วย ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน ซึ่งมีขั้นตอนในการสร้างและหาคุณภาพของแบบทดสอบ ดังนี้ 2.1.1 การสร้างแบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจ 2.1.1.1 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2561) 2.1.1.2 ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning การส่งเสริม ทักษะ 3R8C การนิเทศการสอน การใช้คลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งด้านเนื้อหา สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ สื่อก ารเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ 2.1.1.3 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบทดสอบสมรรถนะผู้เรียน การวัด และประเมินผล เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบทดสอบที่ใช้วัดความก้าวหน้าของการเรียนรู้ กำหนดจุดมุ่งหมายในการ สร้างแบบทดสอบ 2.1.1.4 สร้างแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ (Multiple Choice) 4 ตัวเลือก ตามเนื้อหาเป็นข้อสอบ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ 50 คะแนน 2.1.2 การหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจ 2.1.2.1 นำแบบทดสอบที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาข้อบกพร่องแล้วนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น 2.1.2.2 นำแบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบความเที่ยงตรงโดยยึด เกณฑ์การตัดสิน วิเคราะห์ข้อมูล หาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามของแบบประเมิน โดยใช้สูตรค่าดัชนีความ สอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence : IOC) (พิสณุ ฟองศรี, 2550 : 153) โดยให้ประเมินความสอดคล้อง ระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ มีเกณฑ์ให้คะแนน ดังนี้ ให้คะแนน +1เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดได้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ให้คะแนน 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดได้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ให้คะแนน -1 เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดไม่ได้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ 2.1.2.3 วิเคราะห์ข้อมูลค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามของแบบทดสอบกับจุดประสงค์ เชิงพฤติกรรม โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ใช้สูตรค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.98 ซึ่งไม่ต่ำกว่า เกณฑ์คะแนนจุดตัดคือ 0.50 แสดงว่าข้อสอบทั้ง 50 ข้อ มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ และเป็น ข้อสอบที่อยู่ในเกณฑ์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาที่ใช้ 2.1.2.4 นำแบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองกับครูในการอบรม พัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยการใช้คลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center ที่ส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ที่ไม่ใช่ กลุ่ม ตัวอย่าง จำนวน 50 คน OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 8 2.2 แบบประเมินความพึงพอใจของครู ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบ คลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน ด้วยชุดนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบ คลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน มีขั้นตอนการสร้างและหาคุณภาพของแบบทดสอบ ดังนี้ 2.2.1 การสร้างแบบประเมินความพึงพอใจของครูในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน ด้วยกระบวนการนิเทศ KID2CAE MODEL ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 2.2.1.1 ศึกษาเอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ 2.2.1.2 กำหนดจุดประสงค์การประเมินความพึงพอใจ ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน ด้วยกระบวนการนิเทศ KID2CAE MODEL สำหรับครู โดยพัฒนาจากทฤษฎีความพึงพอใจของเฮอร์เบอร์ก การดำเนินการศึกษาและทดลอง สำหรับขั้นตอนการดำเนินการศึกษาและทดลองใช้ชุดนิเทศการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน ด้วยกระบวนการนิเทศ KID2CAE MODEL มีรายละเอียด การดำเนินการที่สอดคล้องกับกระบวนการพัฒนาชุดนิเทศ ดังนี้ 1. ผู้รายงานได้ดำเนินการศึกษาสภาพการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อ เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการใช้ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 2. ในปีการศึกษา 2565 ผู้รายงานได้สร้างชุดนิเทศการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วย ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน และดำเนินการหาคุณภาพ และประสิทธิภาพของชุดนิเทศให้ได้ ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยทดลองนำร่องแบบหนึ่งต่อหนึ่งกับครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอน จำนวน 3 คน และทดลองกลุ่มเล็กกับครู ที่ปฏิบัติหน้าที่สอน จำนวน 9 คน และนำข้อบกพร่องที่ได้จากการทดลองนำร่องมาแก้ไขปรับปรุง จากนั้นจัดพิมพ์ต้นฉบับ ชุดนิเทศการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะ ผู้เรียน ด้วยกระบวนการนิเทศ KID2CAE MODEL 3. ทดลองใช้ชุดนิเทศการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน ผู้ศึกษาได้ดำเนินการทดลอง และศึกษาผลการทดลองใช้ ชุดนิเทศ ด้วยกระบวนการนิเทศ KID2CAE MODEL ในปีการศึกษา 2566 โดยดำเนินการตามแบบแผนการทดลอง แบบ One – Group Pre – test Post – test Design OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 9 การดำเนินการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ประกอบไปด้วยกิจกรรมสำคัญ ดังนี้ P ตววิิธาดีงกตแาาผรมแนลแกะลำระหะปยนระดะเเเวปม้ลินาาหผโมลดายใยนกแวาัตรต่จถลัุดปะทปรำะรสแะผงเดคน็์นกขัน้าินเรทตนิศอเทนศ (PLAN) ดคผุลำณเตนภิานามพกแกาผรานตรทจาีั่วมดาแกงผาไรวน้ศกึโกดาษรยนามิุ่เงทเนศ้นตใิดห้ตเกาิดมกแาลรพะัปฒรนะาเม ิน D (DO) C ดดแผำำเเนนนิิทีนน่วกกาาางรรไวแต้กรเ้วพไืข่จอจสในหอ้ไบสดาผ้รมัลบาทีกร่ไรถดะ้เรขบั้บาวจในจากปกัาญกราหหรารปืทอีฏ่ิเวกิบธิัีดตกิขงาึ้านรนปแตฏลิาะบมัรตีิบง าน (CHECK) นำผลประเมินที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาแผนในการปรับ A ปรุงต่อไป ซึ่งในขั้นตอนนี้ควรจะนำเสนอปัญหาและแนวทาง (ACTION) แก้ปัญหา เพื่อให้สามารถพัฒนาการศึกษาได้ดียิ่งขึ้น กระบวนการนิเทศการศึกษา การวางแผน การนิเทศ ศึกษาสภาพ การให้ และความ ความรู้ ต้องการ ก่อนการนิเทศ การประเมินผล รูปแบบการนิเทศ การนิเทศ - แบบสังเกตชั้นเรียน - แบบสอนแนะ coaching - แบบชี้แนะสะท้อนคิด reflective coaching - แบบพี่เลี้ยงและผู้สนับสนุน Mentoring and Suporting - แบบกัลยาณมิตร Mentoring and Suporting ฯลฯ OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 10 กรอบแนวคิดของกระบวนการนิเทศ KID2CAE Model KID2CAE MODEL KI AE บันไดขั้นที่ 1 บันไดขั้นที่ 2 บันไดขั้นที่ 3 บันไดขั้นที่ 4 ความรู้ K : การนำไปใช้ I : สะท้อนคิดหลัง ประสิทธิภาพ การนิเทศ A : KNOWLEDGE IMPLEMENT After Action E : EFFECTIVE ขั้นพัฒนาทักษะ ความรู้ที่จำเป็นใน ขั้นนำความรู้ ขั้นวิเคราะห์และ ขั้นการประเมินผล การจัดการเรียนรู้ ไปใช้ในการจัด สะท้อนผลการ ที่เกิดขึ้นหลังจาก เชิงรุก สร้างแรง การเรียนรู้เชิงรุก ดำเนินงาน โดยใช้ การใช้รูปแบบการ จูงใจ และนิเทศ ติดตาม กระบวนการ นิเทศตามรูปแบบ อย่างต่อเนื่อง AAR KID2CAE MODEL D C C การนิเทศแบบ การนิเทศแบบ การนิเทศแบบ พัฒนาการ ร่วมพัฒนาวิชาชีพ ชี้แนะสอนงาน Developmental Collaborative Coaching and Supervision Mentoring Professional Supervision OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 11 ผลการดำเนินการ/ประโยชน์ที่ได้รับ 1. ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ มีกระบวนการนิเทศ KID2C AE Model เพื่อนำไปใช้ในการนิเทศ การศึกษา 2. คผู้บรูมรีิสหมารรสรถถนานะศดึ้กานษกาามรีกสรร้ะางบสืว่อนเกทาครโนนิเโทลศยีดKิจIิDทั2ลCเพAื่EอนMำoไปdใeช้lใเนพืก่อานรำจัไดปกใาช้รใเนรีกยานรรูน้เิชเิทงรศุกภาทีย่ส่ใงนเสริมสมรรถนะ 3. ผู้เรียน 4. ครูมีสมรรถนะด้านการใช้ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ที่ส่งเสริมสมรรถนะ ผู้เรียน 5. ผู้เรียนมีสมรรถนะสำคัญ ปัจจัยความสำเร็จ 1. ผู้บริหารการศึกษาให้ความสำคัญและสนับสนุนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยกระบวนการนิเทศ KID2C AE Model 2. บุคลากรทางการศึกษาที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนา 3. มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีการใช้ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ 4. ผู้ปฏิบัติงานมีความพร้อมและความตั้งใจที่จะนำประสบการณ์การทำงานมาพัฒนาปรับปรุงระบบการ ทำงานอย่างต่อเนื่อง บทเรียนที่ได้รับ 1. การจัดการเรียนรู้เชิงรุกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสถานศึกษา/หน่วยงาน โดยครูมีการปรับเปลี่ยน มาให้ความสำคัญกับการนำการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ มากขึ้น 2. การจัดการเรียนรู้มีการนำระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล OBEC Content Center มาใช้จัดการเรียนรู้ 3. การจัดการเรียนรู้มีรูปแบบ เทคนิค และวิธีการที่หลากหลายมากขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา 4. การพัฒนางานร่วมกัน ความจริงจังในการปฏิบัติงาน การทำงานเป็นทีม การมีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน ในการปฏิบัติงาน ความร่วมมือร่วมใจ การเอาใจใส่ เสียสละ การอุทิศตนของบุคลากร ส่งผลให้งานประสบผลสำเร็จ ได้ผลงานที่มีคุณภาพ 5. ผู้ปฏิบัติงานมีความพร้อมและความตั้งใจที่จะนำประสบการณ์การทำงานมาพัฒนาปรับปรุงระบบการ ทำงานอย่างต่อเนื่อง การเผยแพร่ เผยแพร่ผลงานให้กับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ไปใช้ในการนิเทศภายใน OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 12 หนังสืออ้างอิง วชิรา เครือคำอ้าย และชวชิต ขอดศิริ. 2561. การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่. วัชรา เล่าเรียนดี. 2550. การนิเทศการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์. พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดี. 2560. การจัดการเรียนรู้แนวใหม่ในทศวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2558. OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 13 ภาคผนวก OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 14 ภาคผนวก เอกสารประกอบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 15 OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 16 OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 17 OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 18 OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 19 OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 20 ภาคผนวก ภาพข่าวประชาสัมพันธ์การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 21 OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 22 OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 23 OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 24 ภาคผนวก ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ด้วยระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 25 แผนฯ OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 26 OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 27 OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 28 OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 29 OBEC CONTENT CENTER

แบบเสนอขอรับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST Practice) : ประเภทผู้ขับเคลื่อนระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 30 OBEC CONTENT CENTER


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook