วารสารสังคมศาสตรแ์ ละมานุษยวทิ ยาเชิงพทุ ธ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 9 (กันยายน 2563) | 439 การเปลี่ยนแปลงของระดับการกำกับดูแลกิจการที่ดีขึ้น (Krafft J.& et al., 2013) โดยทีท Index: Corporate Governance Quotient (CGQ) จะส่งเสริมความสามารถในการทำกำไร ของบริษัทเพิ่มขึ้นได้ส่งผลต่อมูลค่ากิจการ อธิบายได้ว่า กิจการหรือบริษัทที่มีการควบคุมด้าน การกำกับดูแลกิจการให้ดีและต่อเนื่องตามมาตรฐานจะทำใหเ้ กิดการเปล่ียนแปลงกระบวนการ ดำเนินงานทางธรุ กิจการบริหารจดั การทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเมื่อมกี ารกำกับดูแลกิจการ จะทำใหเ้ กดิ การปรับปรงุ ท่ัวทั้งองค์กร โดยเฉพาะความโปร่งใสที่จะเกิดข้นึ และทำให้ใช้จ่ายเงิน ลงทุนอย่างเหมาะสม ในทางกลับกันสำหรับกิจการทีไ่ ม่ได้มีการกำหนดหรือมุง่ มั่นในการกำกับ ดูแลกิจการจะทำให้การดำเนินงาน กิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ ไร้การควบคุม หรือการตัดสินใจ ด้วยความชอบธรรมและเหมาะสม อาจส่งผลให้ความสามารถในการทำกำไรอยู่ในระดับต่ำ หรอื ไรป้ ระสิทธิภาพได้ สรุป/ข้อเสนอแนะ คะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับมูลค่ากิจการ (Tobin’s Q) และกลุ่มบริษัทที่มีคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการระดับดีขึ้นไป และ กลุ่มบริษัทท่มี ีคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกจิ การตำ่ กว่าระดับดมี ีมลู คา่ กิจการ (Tobin’s Q) ไม่แตกต่างกัน การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานโดยการผสมผสานข้อมูลจากงบการเงินและ มูลค่าทางการตลาดเพ่ือสะท้อนถึงมูลค่าทางเศรษฐกิจ จากการหาค่าเฉลี่ยของมูลค่ากิจการ (Tobin’s Q) เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ตามกลุ่มบริษัทที่มีคะแนนการประเมินการกำกับ ดูแลกิจการที่ดีขึ้นไปกับกลุ่มบริษัทที่มคี ะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการต่ำกว่าระดับดี พบว่า กลุ่มบริษทั ที่มีคะแนนการประเมนิ การกำกับดูแลกิจการที่ดีข้ึนไปจะมีผลการดำเนนิ งาน เฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มบริษัทที่มีคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการต่ำกว่าระดับดี สามารถ แสดงผลถึงคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการไม่ส่งผลต่อมูลค่ากิจการ (Tobin’s Q) ดังนั้นสรุปได้ว่ากิจการที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีส่งผลต่ออัตราความสามารถในการดำเนิน กิจกรรมด้านสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพของกิจการ ช่วยสะท้อนคุณค่า และประสิทธิภาพ หรือความสามารถของผู้บริหารหรือผู้มีส่วนได้เสียในการบริหารจัดการ สามารถสร้างความ เชื่อมั่น ทำให้กิจการเกิดความเสถียรภาพในการบริหารจัดการซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ผู้ถือหุน้ หรอื นักลงทุนให้ความสำคัญในการพิจารณาเลือกลงทุน ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งต่อไป ควรดำเนินการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มโดยใช้สถิติ Discriminant Analysis เพื่อการพิจารณาหา ปัจจัยหรือตัวแปรอิสระที่จะจำแนกกลุ่มที่มีมูลค่าของกิจการระดับสูงกับต่ำ เพื่อพิจารณาและ จัดอันดับปัจจัยหรือตัวแปรอิสระที่สามารถจำแนกกลุ่มที่มีมูลค่าของกิจการ (Tobin’s Q) ระดับสูงกับต่ำได้แม่นยำที่สุด โดยพิจารณาความแม่นยำของค่าคะแนนการประเมินการกำกับ ดูแลกิจการที่มีต่อการจำแนกกลุ่มที่มีอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA) และอัตรา
440 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.5 No.9 (September 2020) ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ในระดับสูงกับต่ำ เพื่อพิจารณาน้ำหนักของปัจจัย คะแนนการประเมนิ การกำกับดแู ลกจิ การ ถงึ ความแม่นยำในการจำแนกกลุ่มร้อยละเท่าใด เอกสารอา้ งองิ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2556). บริษัทจดทะเบียนคืออะไรบริษัทจดทะเบียนเป็น บริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานกำกับหลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์. เรียกใช้เมื่อ 8 มกราคม 2561 จาก http://th-th/facebook.com/set.ority/post /10150804806104975 นวลนภา อัครพุทธิพร และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2550). คะแนนการประเมินการกำกับดูแล กิจการมี ความสัมพันธ์กับมูลค่าของกิจการหรือไม่. วารสารวิชาชีพบัญชี, 3(6), 95- 106. เพชรี ขมุ ทรพั ย์. (2555). การวิเคราะหง์ บการเงนิ . กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.์ รัชฎาทพิ ย์ อุปถมั ภ์ประชา. (2557). ความคดิ เหน็ ตอ่ หลักธรรมาภิบาลของบริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 2(1), 69 - 80. วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2556). องค์ประกอบของธรรมาภิบาลในโรงเรียน. วารสารนัก บริหาร, 34(1), 80-88. ศิลปะภรณ์ ศรจั่นเพชร. (2550). การกำกับดูแลกิจการที่ดีคืออะไร. วารสารบริหารธุรกิจ, 30(113), 1 - 6. สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบรษิ ัทไทย. (2560). ผลสำรวจการกำกับดแู ลกิจการบริษัท จด ทะเบียนไทยปี 2560. เรียกใช้เมื่อ 7 มกราคม 2560 จาก http://www.thai- iod.com สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย. (2560). หลักเกณฑ์การสำรวจโครงการการกำกบั ดูแล กิจการบริษัทจดทะเบียนไทย. เรียกใช้เมื่อ 8 มีนาคม 2560 จาก http:// www.thai.iod.com สำนกั งานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2560). ความสำคัญและกลไก การกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของไทย. เรียกใช้เมื่อ 7 มกราคม 2560 จาก http://www.sec.or.th Carvalhal da Silva A.L. & Pereira Ricardo, C.L. (2005). Corporate Governance Index Firm Valuation and Performance in Brazil. Revista Brasileira de Finance, 3(1), 1-18. Chung, K.H. & Pruitt, S.W. (1994). A Simple Approbmation of Tobin’s Q. Financial Management, 23(3), 70 - 74.
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชิงพุทธ ปีที่ 5 ฉบบั ท่ี 9 (กนั ยายน 2563) | 441 Ehikioya Benjamin I. (2009). Corporate governance structure and firm performance in developing economies: evidence from Nigeria. Emerald Group Publishing Limited, 9(3), 231 - 243. Krafft J. & et al. ( 2 0 1 3 ) . Corporate Governance Value and Performance of Firms: New Empirical results on Convergence from a large international database. Industrial and Corporate Change, 23(2), 361 - 397.
การพฒั นารูปแบบการนเิ ทศการศึกษา ทีเ่ สรมิ สร้างสมรรถนะด้านการประกันคณุ ภาพการศกึ ษาของครู* THE DEVELOPMENT OF SUPERVISION MODEL TO ENHANCE TEACHERS COMPETENCY ON EDUCATIONAL QUALITY ASSURANCE พิมพส์ ุดา เอีย่ มสกุล Pimsuda Iemsakul วไิ ลลกั ษณ์ ลังกา Wilailak Langka มหาวิทยาลัยศรนี ครินทรวโิ รฒ Srinakarinwirot University, Thailand วิลาวลั ย์ ดา่ นสริ ิสขุ Wilawan Dansirisuk มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏศรสี ะเกษ Sisaket Rajabhat University, Thailand E-mail: [email protected] บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะด้านการประกัน คุณภาพการศึกษาของครู 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศการศึกษาทีเ่ สรมิ สรา้ งสมรรถนะด้าน การประกันคุณภาพการศึกษาของครู และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการนิเทศ การศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสมั ภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ แบบประเมนิ รูปแบบการนเิ ทศการศกึ ษาที่เสริมสร้าง สมรรถนะ แบบประเมินสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษา และแบบสอบถามความ พึงพอใจของครูต่อรูปแบบการนิเทศการศึกษา เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 18 คน และกลุ่มตัวอย่างครูจำนวน 81 คน ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู ประกอบด้วย 1) ด้านความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องระบบประกันคุณภาพการศึกษา 2) ด้านทักษะ ความสามารถในการวิเคราะห์จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และจัดทำรายงาน การประเมินตนเอง และ 3) ด้านเจตคติต่อการประกันคุณภาพการศึกษา ในส่วนของรูปแบบการ นิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครูนั้น เน้น กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันตามหลักการมีส่วนร่วม มีกระบวนการของรูปแบบ 8 ขั้นตอน * Received 20 August 2020; Revised 11 September 2020; Accepted 13 September 2020
วารสารสงั คมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชิงพทุ ธ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 9 (กันยายน 2563) | 443 ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ ขั้นที่ 2 การวางแผนการ ดำเนินงาน ขัน้ ที่ 3 การเสริมสร้างความรู้ในการปฏิบัตงิ าน ขั้นท่ี 4 การปฏบิ ัตงิ านตามแผน ข้ัน ท่ี 5 การปฏบิ ัติการนิเทศแบบกลั ยาณมิตร ขน้ั ที่ 6 การแลกเปลย่ี นเรียนรู้ ขนั้ ท่ี 7 การให้ข้อมูล สะท้อนผลการนิเทศ และขั้นที่ 8 การเผยแพร่ขยายผล สมรรถนะด้านการประกันคุณภาพ การศกึ ษา ดา้ นความรู้ความเข้าใจ ดา้ นทักษะ และดา้ นเจตคติ ในการประกันคุณภาพการศึกษา ของครู พบว่าหลังการใชร้ ูปแบบ ครมู ีสมรรถนะดา้ นการประกันคุณภาพการศึกษา สูงกว่าก่อน การใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และพบว่าความพึงพอใจของครูที่มีต่อ รูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู อยู่ใน ระดับมากทีส่ ดุ มคี า่ เฉลีย่ รวมเท่ากับ 4.54 คำสำคัญ: รปู แบบการนิเทศการศึกษา, เสริมสรา้ งสมรรถนะคร,ู ประกนั คุณภาพการศึกษา Abstract This research aimed 1) to study the factors of the competence of educational quality assurance 2) to develop models for educational supervision to enhance the educational quality assurance and 3) to study the effectiveness of models for educational supervision. The research tools for data collection were interview of academic experts; assessment of models for educational supervision to enhance the educational quality assurance and a questionnaire on the satisfaction of teachers towards the models of educational supervision. There were 5 experts, 9 academic experts and 81 teachers who gave information for this research. Regarding the result of this research, it was found that there were 3 factors of the competence of educational quality assurance: 1) understanding about educational quality assurance; 2) skills and abilities to analyze and implement educational quality development plan of school and also do performance report and individual self-assessment report; and 3) attitude towards educational quality assurance. With respect to models for educational supervision to enhance the educational quality assurance. The characteristics and process for educational supervision were composed of: 1) study the problems and need analysis; 2) functional planning; 3) enhancing process of practices; 4) performance; 5) friendly educational supervision; 6) knowledge and experience sharing; 7) feedback of educational supervision; and 8) elaboration. When compared understanding, skills and attitude about educational quality assurance of teachers before and after implementing the models for educational
444 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.5 No.9 (September 2020) supervision to enhance the educational quality assurance, it was found that there was a statistical significance at .01. The satisfaction of teachers towards the models of educational supervision to enhance the competence of educational quality assurance was at a high level with the average at 4.54. Keywords: Supervisor Model, Enhanced Teacher Competency, Educatinal Quality Assurance บทนำ สภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศ มีผลกระทบต่อ การจัดการศึกษาของประเทศ แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังต้องเผชิญกับกระแสการ เปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ซับซ้อนและคาดการณ์ได้ยาก ในขณะที่ผลการจัดการศึกษาของประเทศในทุกระดับยังคงมีปัญหา ทั้งในด้านคุณภาพของคน ไทยทีผ่ ้เู รยี นและผู้สำเร็จการศึกษาระดบั ตา่ ง ๆ ยงั มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา คณุ ลกั ษณะ และ ทักษะอยู่ในระดับที่ยังไม่น่าพึงพอใจ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560) ดังน้ัน จึงมีความจำเป็นต้องมีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการศึกษา เพื่อให้เป็นการจัดการศึกษาที่มี คุณภาพ ทำให้ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวคนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มท่ี ซึ่งเป็นหน้าที่ของทุกภาค ส่วนต้องร่วมมือกัน ในการ กำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้เรียน จัดสิ่งสนับสนนุ ด้านบุคลากรท่ีมีคุณภาพ รวมถึงการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน และแหล่งเรียนรู้ ที่เหมาะสม เอ้ือต่อการพัฒนาคณุ ภาพผู้เรียน ตลอดจนกำกบั ติดตาม ใหเ้ กิดการพฒั นาด้านการ บรหิ ารจดั การสถานศึกษาตามนโยบายท่ีรฐั กำหนด สว่ นผบู้ ริหารสถานศกึ ษามหี น้าทดี่ ำเนินงาน ภายในสถานศึกษาให้เกิดวัฒนธรรมคุณภาพ เน้นกระบวนการมีสว่ นร่วมและความสามัคคีของ บุคลากร ผู้ปกครอง และชุมชน ส่วนครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ให้ความรู้ จดั ประสบการณต์ รงในการเรียนรู้ เพอื่ พฒั นาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายทตี่ ้องการ รวมถึงการพัฒนา ตนเองให้มีความรู้ความสามารถที่ทันสมัยอยู่เสมอ สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่ใช้เป็นสื่อการ เรียนการสอนที่มีคุณค่าในการพัฒนาผู้เรียน ทั้งหมดนี้คือองค์ประกอบที่มีส่วนในการพัฒนา คณุ ภาพการศกึ ษา (สำนกั งานรับรองมาตรฐานและประเมนิ คุณภาพการศึกษา, 2562) ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของคนไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการมุ่งพัฒนาการศึกษา สู่คุณภาพและมาตรฐาน ซึ่งมีผลให้การศกึ ษามีพลังท่ีจะพัฒนาประชากรให้มคี ุณภาพอย่างเปน็ รูปธรรมและต่อเนื่อง การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นการบริหารจัดการและการดำเนิน กิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็น การสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการการศึกษา ทั้งยังเป็นการป้องกั นการจัดการศึกษา ที่ด้อยคุณภาพ และสร้างสรรค์การศึกษาให้เป็นกลไกที่มีพลังในการพัฒนาประชากรให้มี
วารสารสงั คมศาสตรแ์ ละมานุษยวิทยาเชงิ พุทธ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 9 (กนั ยายน 2563) | 445 คุณภาพยิง่ ข้นึ (สุภาวดี ตรรี ัตน์, 2554) ประกอบกบั แผนการศกึ ษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา ซึ่งให้ความสำคัญกับ การพัฒนาระบบประกันคุณภาพและประสิทธิภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทและความ ต้องการของสังคม เพื่อให้รัฐสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อตอบโจทย์การเพ่ิม ประสิทธิภาพ การบริหารจัดการ และบริบทที่เปลี่ยนแปลงของสังคมและประเทศ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพการจัดการศึกษาและส่งเสริมประสิทธิภาพ การดำเนินงานของสถานศึกษาและสถาบันการศึกษา (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560) และผู้ที่มีบทบาทอย่างยิ่งในกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาคือครู เนื่องจากครู คือผู้ที่ยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรยี น เป็นผู้ใกล้ชิดกับศิษย์มากที่สดุ ดังนั้นครูจึงต้องมี คุณภาพ จึงสร้างคุณภาพการศึกษาได้ (รุ่ง แก้วแดง, 2559) ครูคือหัวใจสำคัญในการพัฒนา คุณภาพการศึกษา ดังนั้นครูจะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานของตัวเองอยู่ ตลอดเวลา เพราะต้องมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในหลายด้าน (อำไพ สุจริตกุล, 2540) ครูเป็นผู้นำหลักการต่าง ๆ สู่การปฏิบัติ ครูต้องจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนอยู่ในระดับน่าพอใจ ครูต้องรู้จักมาตรฐานการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งเป็นมาตรฐานการปฏิบัติงาน ต้องใส่ใจจดจำรายละเอียดของมาตรฐานด้านการเรียนการ สอน ซึ่งเกยี่ วข้องกับคณุ สมบัติของครู และความสามารถของครูในการจัดการเรียนการสอน ใน ส่วนมาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน ครูต้องเห็นเป็นเรื่องสำคัญที่จะจัดกิจกรรม ดำเนินการให้ บรรลุมาตรฐาน เก็บหลกั ฐาน อย่างเปน็ ระบบ บนั ทึกทุกเรื่องที่ทำได้ สอดคล้องกับสิ่งท่ีกำหนด ไวเ้ ปน็ เกณฑก์ ารประเมนิ คุณภาพ ครูทกุ คนตอ้ งเห็นการประกนั คุณภาพเปน็ งานหลัก ทีท่ ุกคนมี หน้าที่ดำเนินงาน และมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ และได้คุณภาพ (ทิพราภา ปรางมุข, 2560) ดังนั้นครูจึงจำเปน็ ทีจ่ ะต้องมีสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งสมรรถนะ มีความสำคัญทั้งต่อบุคคลและองค์กร ช่วยให้บุคคลทราบถึงระดับความรู้ ทักษะ และความสามารถของตนเองว่าอยู่ในระดับใดและจะต้องพัฒนาในเรื่องใด อกี ทงั้ ช่วยให้องค์กร สามารถนำไปใช้ในการฝกึ อบรมและพัฒนาบุคลากรในองค์กร (ชูชัย สมทิ ธไิ กร, 2550) กระบวนการที่มีบทบาทเป็นผู้สนับสนุน และเป็นตัวเชื่อมในการพัฒนาสมรรถนะครู คือกระบวนการนิเทศการศึกษา (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2559) การนิเทศการศึกษาเป็นกระบวนการและภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่ง และถือเป็นมาตรการอย่าง หนึ่งที่ส่งผลโดยตรงต่อมาตรฐานการจัดการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาในทุกขั้นตอน การ นิเทศการศึกษาเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในการช่วยให้ครูพัฒนาในหลายๆด้าน ทั้งด้านการจัด กิจกรรมการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ให้สามารถดำเนินการได้ทันต่อการ เปลี่ยนแปลง เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพมาตรฐานตามที่กำหนด (สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2554) ดังนั้นการพัฒนาครูให้สามารถจัดกิจกรรมและกระบวนการ
446 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.5 No.9 (September 2020) จัดการเรียนรู้ให้บรรลุตามจดุ หมายนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่นิเทศการศึกษา จะต้องมีความรู้ หลักการ เทคนิค และวิธีการนิเทศอย่างชัดเจน เพื่อที่จะดำเนินการนิเทศ ติดตาม ให้ความช่วยเหลือ แนะนำ สนับสนุนแก่ครูอย่างจริงจัง ต่อเนื่องและเหมาะสมกับความแตกต่างกันของครู นอกจากนี้ศกึ ษานเิ ทศก์มีหนา้ ทส่ี ำคญั อีกหนึ่งบทบาทคือ การประกันคุณภาพการศกึ ษารูปแบบ ใหม่ ตามกฎกระทรวงเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ดังนั้นศึกษานิเทศก์ จะต้องทำให้การประกันคุณภาพการศึกษามีคุณภาพ เห็นได้ชัดว่าการนิเทศการศึกษามี ความสำคัญและความจำเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการเรียนรู้ ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เปรียบเสมือนกระจกเงาที่สะท้อนการทำงานของบุคลากรในสถานศึกษา การนิเทศการศึกษาจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ที่จะทำให้บุคลากรในสถานศึกษาพัฒนาไปใน ทิศทางที่ถูกต้อง เหมาะสม ตามความมุ่งหมายที่แท้จริงของการนิเทศการศึกษา ประกอบกับ ปัจจุบันองค์ความรู้ของโลกขยายขอบเขตเพิ่มพูนขึ้นแบบเท่าทวีคูณ ประสิทธิภาพของ เทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว สภาวะสังคมพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จึงต้องปรับ สภาพการจัดการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา (สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พน้ื ฐาน, 2559) แต่สืบเนื่องจากสภาพปัญหาการดำเนินการนิเทศการศึกษาที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่ จะเป็นการนิเทศตามนโยบายจากส่วนกลาง ศึกษานิเทศก์ไม่มีโอกาสในการพัฒนาเทคนิค วธิ ีการนิเทศทีท่ นั สมัยใหส้ อดคล้องกับความต้องการจำเป็นของครูและโรงเรียนเท่าท่ีควร อีกท้ัง ไม่ได้สำรวจความต้องการจำเป็นในการนิเทศ ขาดการประเมินผลและขาดการนำผลการนิเทศ ไปใช้ประโยชน์ รวมถึงครูมีทัศนคติทางลบต่อการนิเทศ ประกอบกับจำนวนศึกษานิเทศก์มีไม่ เพียงพอต่อการนิเทศ ตามรายงานผลการศึกษา สถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศ ไทย (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2561) พบว่าปัจจุบันครูไม่ได้รับการนิเทศจาก ศึกษานิเทศก์ที่มีความรู้ ความชำนาญเฉพาะสาขาวิชา มีเฉพาะการนิเทศภายในที่โรงเรียน ดำเนินการเอง การพัฒนาอบรมครู ไม่สอดคล้องกับความต้องการของครู โดยการพัฒนาอบรม ครูส่วนใหญ่ เป็นการอบรมตามที่หน่วยงานต้นสังกัดเป็นผู้กำหนด ทั้งเรื่องเน้ือหาหลักสตู รและ วิธีการฝึกอบรม ซึ่งมักไม่สอดคล้องกับความต้องการของครู และเป็นการอบรมที่ไม่ได้กำหนด แผนไว้ชัดเจน รูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพ การศึกษาของครูที่พัฒนาขึ้น จะเป็นการนิเทศที่ใช้แนวคิดการนิเทศ 4 แนวคิด โดยนำจุดเด่น ของแต่ละแนวคิดมาผสมผสานกัน ประกอบด้วย แนวคิดการนิเทศแบบร่วมพัฒนา ผสมผสาน กับการนิเทศแบบมีส่วนร่วม แนวคิดการนิเทศแบบกัลยาณมิตร และแนวคิดการนิเทศแบบ คลินิก โดยมีเป้าหมายการนิเทศที่ชัดเจน เน้นผลลัพธ์ที่ส่งผลต่อสมรรถนะด้านการประกัน คุณภาพการศึกษาของครู เพราะเนือ่ งดว้ ยในสงั คมปจั จุบนั ซ่ึงมีความเปลี่ยนแปลงอยตู่ ลอดเวลา ความเจริญก้าวหน้าทุกด้านเป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องมีรูปแบบการนิเทศที่ทันสมัย สอดคลอ้ งกับสภาพสังคมปจั จุบนั เพอื่ ใหม้ กี ารพัฒนาไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและ
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชงิ พทุ ธ ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 (กนั ยายน 2563) | 447 เกิดประสิทธิผล ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการ นิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู อันจะนำไปสู่ การพัฒนาผเู้ รยี นและพัฒนาคณุ ภาพการศึกษาให้เกิดประสทิ ธภิ าพต่อไป วตั ถุประสงคข์ องการวจิ ัย 1. เพอื่ ศกึ ษาองคป์ ระกอบของสมรรถนะดา้ นการประกันคณุ ภาพการศึกษาของครู 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการประกัน คุณภาพการศกึ ษาของครู 3. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้าน การประกันคุณภาพการศึกษาของครู วธิ ดี ำเนินการวจิ ัย การวิจัยครั้งนี้ได้ดำเนินการโดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยแบง่ ข้ันตอนการวจิ ัยออกเปน็ 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ของครู 1.1 การศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะครู และแนวคิดด้านการประกัน คุณภาพการศึกษา จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ในประเด็นของ องค์ประกอบของสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู แล้วนำมาสร้างเป็น ประเด็นคำถาม เพอื่ นำไปใช้ในการศกึ ษาความเหน็ ของผู้ทรงคุณวฒุ ิในการสมั ภาษณ์ 1.2 นำองค์ประกอบของสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู ทส่ี ังเคราะหไ์ ด้ ไปเปน็ ประเด็นในการสร้างแบบสมั ภาษณ์ผู้ทรงคณุ วฒุ ิ 1.3 สรุป วิเคราะห์องค์ประกอบของสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพ การศึกษาของครู ที่ได้จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการสัมภาษณ์ เพอื่ ใช้เป็นแนวทางในการเสรมิ สรา้ งสมรรถนะดา้ นการประกนั คุณภาพการศึกษาของครู กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 9 คน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 1 คน ผู้อำนวยการกลุ่ม นเิ ทศตดิ ตาม และประเมนิ ผลการจดั การศึกษา จำนวน 1 คน ผู้อำนวยการโรงเรยี นมัธยมศกึ ษา จำนวน 2 คน และ ศึกษานิเทศก์จำนวน 4 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการทำงาน การประกันคุณภาพการศกึ ษาไมต่ ่ำกวา่ 5 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi Structured interview) ถงึ องค์ประกอบของสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศกึ ษาของครู โดยผู้วิจัย ศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างข้อคำถาม
448 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.5 No.9 (September 2020) จากนั้นนำข้อสรุปที่ได้มาสังเคราะห์เพื่อกำหนดแนวทางข้อคำถามของแบบสัมภาษณ์ แล้วนำ แบบสัมภาษณ์ที่ปรับปรุงแล้ว ให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ตรวจสอบความถูกต้องและความ เที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) และพิจารณาความสอดคล้องระหว่างประเด็นข้อ คำถามในการสัมภาษณ์กับวัตถุประสงค์ และนำมาวเิ คราะห์คา่ ดชั นีความสอดคล้อง (Index of Item - Objective Congruency: IOC) พบว่ามีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.8 - 1.0 จากนั้น ปรับปรงุ แกไ้ ขให้แบบสมั ภาษณ์มปี ระสิทธิภาพมากขน้ึ ตามคำแนะนำของผู้เชย่ี วชาญ การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวฒุ ิ ถึงองค์ประกอบของสมรรถนะ ดา้ นการประกนั คณุ ภาพการศึกษาของครู การวิเคราะห์ข้อมูล โดยนำแบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ มาดำเนินการวิเคราะห์ เชิงเนื้อหา (Content analysis) และนำข้อมูลที่ได้ มาสรุปเป็นประเด็นข้อค้นพบ และนำมา กำหนดองคป์ ระกอบสมรรถนะด้านการประกนั คณุ ภาพการศึกษาของครู ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการ ประกันคุณภาพการศึกษาของครแู ละตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบ การพัฒนารูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพ การศกึ ษาของครู โดยนำผลการศึกษาจากระยะท่ี 1 มาสังเคราะห์ เพือ่ ให้ได้มาซึ่งกรอบแนวคิด ในการสร้างรูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพ การศึกษาของครู ร่างองค์ประกอบของรูปแบบ และนำไปตรวจสอบความเหมาะสมโดย ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ได้รูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการประกัน คณุ ภาพการศึกษาของครู กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประกันคุณภาพการศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการวัดและประเมินผล จำนวน 9 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีประสบการณ์ในการพัฒนา การศึกษา 10 ปีข้นึ ไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่คู่มือรูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสรมิ สร้างสมรรถนะ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู และแบบประเมินคุณภาพของรูปแบบการนิเทศ การศึกษาที่เสรมิ สร้างสมรรถนะดา้ นการประกันคุณภาพการศึกษาของครู การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยจัดทำร่างรูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้าง สมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู นำไปประเมินคุณภาพของรูปแบบ โดย ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 ท่าน โดยประยุกต์ใช้มาตรฐานการประเมินที่คณะกรรมการร่วมในการ กำหนดมาตรฐานการประเมินทางการศึกษา (The Joint Committee on Standards for Educational Evaluation) เป็นผู้พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน (Stufflebeam D. L. et al., 2000) คือมาตรฐานด้านความเป็นประโยชน์ มาตรฐานด้านความเป็นไปได้ มาตรฐาน ดา้ นความเหมาะสม มาตรฐานดา้ นความถกู ต้อง
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชงิ พทุ ธ ปีท่ี 5 ฉบบั ท่ี 9 (กันยายน 2563) | 449 การวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินคุณภาพของรูปแบบ 4 มาตรฐาน โดยการวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาจากค่าเฉลี่ยคะแนน ความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งกำหนดเกณฑ์ โดยเกณฑ์การยอมรับ ความเหมาะสมในการวิจัยครั้งนี้ คือค่าเฉลี่ยตั้งแต่ระดับ 3.50 ขึ้นไป จึงจะถือว่าผู้ทรงคุณวุฒิ มคี วามเหน็ วา่ มีความเหมาะสม หากข้อใดมผี ลการประเมินต่ำกวา่ 3.50 ผ้วู จิ ยั ไดน้ ำไปปรับปรุง ตามคำแนะคำของผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่ 3 การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้าง สมรรถนะดา้ นการประกนั คณุ ภาพการศึกษาของครู ระยะน้มี จี ดุ มุ่งหมายเพ่ือศึกษาประสิทธผิ ลของรูปแบบการนเิ ทศการศกึ ษาท่เี สริมสร้าง สมรรถนะ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู โดยเป็นการนำรูปแบบไปทดลองใช้กับ กล่มุ ตวั อย่าง กลุม่ ตวั อย่างใชใ้ นการวิจัยครั้งนี้ คอื ครรู ะดับมัธยมศึกษา ในโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต34 จำนวน 1 โรงเรียน โดยวิธีการเลือกแบบ เจาะจง ได้แก่ โรงเรียนแมส่ ะเรยี ง “บริพัตรศกึ ษา” มีครูจำนวน 81 คน ซึ่งมีหลักการสำคัญใน การเลือกคือ เป็นโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมสถานศึกษาและประสานความร่วมมือกับ หน่วยงานต้นสังกัด เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกรอบแนวทางการประเมินคุณภาพ ภายนอก ประกอบกับผู้บริหารโรงเรียนและคณะครูมุ่งเน้นในด้านการพัฒนาระบบประกัน คุณภาพ มีบุคลากรที่มีประสบการณ์แตกต่างกัน สามารถให้ข้อมูลหรือรายละเอียดที่ต้องการ ศึกษาอย่างหลากหลาย รวมถึงเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาที่อยู่ห่างไกลจากสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามาก ควรได้รับการสนับสนนุ ในการพฒั นาคุณภาพอยา่ งตอ่ เน่ือง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่รูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้าน การประกันคุณภาพการศึกษาของครู แบบประเมินสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพ การศึกษาของครู และแบบประเมินความพึงพอใจของครูต่อรูปแบบการนิเทศการศึกษาท่ี เสรมิ สร้างสมรรถนะด้านการประกันคณุ ภาพการศึกษาของครู การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยคร้ังน้ี ใช้แบบแผนการวิจัยแบบศกึ ษากลุ่มเดียวก่อน และหลังการทดลอง (One - Group Pretest - Posttest Design) ผู้วิจัยเก็บรวบรวมขอ้ มูลทัง้ ในเชิงคุณภาพและในเชิงปริมาณ โดยผู้วจิ ัยเก็บรวบรวมข้อมลู โดยดำเนินการประเมนิ สมรรถนะ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู และความพึงพอใจของครู ก่อนการทดลองและหลัง การทดลอง โดยใช้แบบวัดที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น นอกจากนี้ผู้วิจัยยังเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการ พดู คยุ ซักถาม หรอื สมั ภาษณ์จากกลุ่มเป้าหมาย การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการนิเทศการศึกษาท่ี เสริมสร้างสมรรถนะด้าน การประกันคุณภาพการศึกษาของครู ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบสมรรถนะการประกันคุณภาพการศึกษาด้านความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติของ
450 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.5 No.9 (September 2020) กลุ่มทดลองระหว่างก่อนและหลังการพัฒนา ด้วยรูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้าง สมรรถนะด้านการประกันคณุ ภาพการศึกษาของครู โดยใชก้ ารทดสอบค่า t-test และวิเคราะห์ ข้อมูลความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการ ประกนั คณุ ภาพการศึกษาของครู โดยใชค้ า่ เฉล่ีย ������ และคา่ เบยี่ งเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวจิ ัย 1. ผลการสังเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบของสมรรถนะด้านการประกัน คุณภาพการศึกษาของครู จากการสัมภาษณผ์ ู้ทรงคุณวุฒิ 9 ท่าน ได้แนวคิดเกีย่ วกับสมรรถนะ ครู คือสมรรถนะครูด้านการประกันคุณภาพการศึกษา คือคุณลักษณะของครูที่จำเป็น ในการปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพโดยมีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ 1) ด้านความรู้ความ เข้าใจ หมายถึง ความรู้ ความเข้าใจของครู ในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย นโยบายการปฏิรูประบบการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กฎกระทรวงเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา แนวปฏิบัติการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอก และความเชื่อมโยงของการประกันคุณภาพภายในกับการประเมินคุณภาพภายนอก 2) ด้าน ทักษะ หมายถึง ความสามารถของครูในการกำหนดมาตรฐานของสถานศึกษา จัดทำ แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา นำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาสู่การปฏิบัติ กำหนดระดับคณุ ภาพของสถานศึกษาตามรูปแบบการประเมินแนวใหม่ และจัดทำรายงานการ ประเมินตนเอง (Self-Assessment Report: SAR) 3) ด้านเจตคติ หมายถึง ความรู้สึก และ พฤติกรรมของครูทแี่ สดงออกถึงความรสู้ ึกทางบวกทีม่ ีต่อการประกนั คุณภาพการศึกษา มีความ รับผิดชอบ มีความสนใจ และมีความมุ่งมั่น โดยสมรรถนะหลักทั้ง 3 ด้าน นำมาประยุกต์ใช้กบั แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษา เพ่อื พฒั นาและยกระดับคณุ ภาพการศกึ ษา 2. รูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพ การศึกษาของครู เป็นกระบวนการนิเทศการศึกษาซึ่งมีระบบ มีขั้นตอนในการติดตาม ดูแล และให้คำแนะนำ โดยการ บูรณาการใช้แนวคิดการนิเทศที่สำคัญ 4 แนวคิด ประกอบด้วย แนวคิดการนิเทศแบบร่วมพัฒนา แนวคิดการนิเทศแบบมีส่วนร่วม แนวคิดการนิเทศแบบ กัลยาณมิตรและการนิเทศแบบคลินิก มีเป้าหมายการนิเทศที่ชัดเจน เน้นผลลัพธ์ที่การ เสริมสร้างสมรรถนะในด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู โดยมีองค์ประกอบ 6 ส่วน ดังนี้ 1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2) หลักการของรูปแบบ 3) แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบ 4) กระบวนการของรูปแบบ 5) กจิ กรรมและเน้ือหาในการนิเทศตามรูปแบบ และ 6) เครื่องมือ ประกอบการใช้รปู แบบ โดยมีกระบวนการของรปู แบบการนิเทศการศกึ ษา ดงั ต่อไปน้ี ขั้นที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ (Need analysis) โดย ขั้นตอนนี้ เป็นการประชุม พูดคุยกับคณะผู้บริหารและคณะครูในโรงเรียน เพื่อสำรวจความ
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชิงพุทธ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 9 (กนั ยายน 2563) | 451 คิดเห็น และความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของ บุคลากรในโรงเรยี น เพ่ือนำไปประกอบในการวางแผนและกำหนดประเด็นในการพัฒนา ข้ันท่ี 2 การวางแผนการดำเนินงาน (Fictional planning) ผมู้ สี ่วนร่วมใน การดำเนินงานทุกฝ่าย ทั้งศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารและคณะครู ระดมสมอง ร่วมกันวางแผน กำหนดปฏิทิน และขัน้ ตอน กระบวนการในการปฏิบตั งิ าน รวมถงึ กำหนดเปา้ หมายร่วมกนั ขั้นที่ 3 การเสริมสร้างความรู้ในการปฏิบัตงิ าน (Enhancing process of practices) ผู้วิจัยจัดอบรมครูในโรงเรียน ตามประเด็นการพฒั นา และตามปฏิทินที่วางไว้จาก ขนั้ ท่ี 1 และขน้ั ท่ี 2 เพอ่ื ใหค้ รมู คี วามรู้ ความเข้าใจ มที ักษะและความสามารถในการปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพ และยังเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจในการทำงานให้แก่ ครูอกี ทางหน่งึ ด้วย ขน้ั ท่ี 4 การปฏบิ ตั งิ านตามแผน (Performance) เป็นการลงมือปฏิบัติจริง โดยการนำความรู้จากขั้นที่ 3 มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ในแต่ละขั้นตอน อย่างเปน็ ระบบ ตามบทบาทหน้าทีข่ องตนเอง ทงั้ ในสว่ นของผ้ใู ห้การนิเทศ และผูร้ ับการนเิ ทศ ขั้นที่ 5 การปฏิบัติการนิเทศแบบกัลยาณมิตร (Friendly supervision) ในขั้นนี้เป็นบทบาทของผูน้ ิเทศ ประกอบด้วยศึกษานิเทศก์ และคณะผู้บริหารสถานศึกษา ร่วม ปฏิบตั ิการนเิ ทศโดยมุ่งเน้นการนิเทศแบบสร้างความเข้าใจ แนะแนวทางทถี่ ูกต้อง โดยเป็นไปใน รูปแบบกัลยาณมิตร ให้การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน ให้กำลังใจ และสนับสนุนในสิ่งที่ผู้รับ การนิเทศต้องการ ขน้ั ที่ 6 การแลกเปล่ยี นเรยี นรู้ (Sharing knowledge and experience) จัดการประชุม เพื่อให้ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ มีโอกาสได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงกิจกรรม และเนอ้ื หาทไ่ี ด้เรยี นรู้ไป เปน็ การทบทวนในสงิ่ ท่ปี ฏิบตั ิ โดยอาศัยแนวคิดความรู้ ประสบการณ์ และบริบทจากการปฏิบัติ เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับของแต่ละบุคคลไป ประยกุ ต์ใช้ ขั้นที่ 7 การให้ข้อมูลสะท้อนผลการนิเทศ (Feedback) ขั้นตอนนี้เป็น บทบาทของผู้นิเทศ ที่จะเป็นผู้ใหข้ ้อมูลย้อนกลับ ข้อสังเกต จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อครูจะ ได้นำไปปรับ และพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเป็นการให้ข้อมูลสะท้อน ผลการนิเทศแบบ Face to Face เพื่อให้ผู้รับการนิเทศได้รับฟังและสามารถโต้แย้ง ให้เหตุ ผลไดใ้ นขณะเดียวกนั ขั้นที่ 8 การเผยแพร่ขยายผล (Elaboration) โดยการเผยแพร่ผลการ พัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาจากการใช้รูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะ ดา้ นการประกนั คุณภาพการศึกษาของครู จดุ เด่น ข้อคน้ พบ รวมถึงประเด็นที่สถานศึกษาอ่ืน ๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาของตนเอง โดยการเผยแพร่ในรูปแบบที่หลากหลาย เพอ่ื เปน็ การเสรมิ สร้างขวัญและกำลังใจแก่ผรู้ ับการนิเทศ อาทิ การเผยแพร่ในส่ือออนไลน์ เช่น
452 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.5 No.9 (September 2020) Facebook, Line ของกลุ่มงานประกันคุณภาพการศึกษา รวมถึงเว็บไซด์ของสำนักงานเขต พืน้ ทกี่ ารศกึ ษา ผลการประเมนิ การประเมนิ รูปแบบการนิเทศการศึกษาทีเ่ สริมสร้างสมรรถนะ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 ท่าน มีความคิดเห็นต่อ รูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู ความคดิ เห็นภาพรวมอยรู่ ะดับมากมคี า่ เฉล่ยี เท่ากับ 4.32 3. ประสิทธิผลของรูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการประกัน คณุ ภาพการศึกษาของครู พบวา่ คะแนนประเมนิ ความรูค้ วามเข้าใจของครู ก่อนและหลังการใช้ รูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะดา้ นการประกันคณุ ภาพการศึกษา มีคะแนน ก่อนเรียนอยู่ระหว่าง 21 - 28 คะแนน และคะแนนหลังเรียนอยูร่ ะหว่าง 44 - 49 คะแนน การ ประเมินทักษะในการประกันคุณภาพการศึกษาของครู ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ การศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู มีทักษะการประกัน คุณภาพก่อนเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.95 และมีคะแนนหลัง เรียนค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.51 ด้านเจตคติของครู ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ การศึกษาทเี่ สรมิ สร้างสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู กอ่ นใชร้ ูปแบบมีเจต คติอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 2.74 และมีคะแนนหลังการใช้รูปแบบในภาพ รวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 และเมื่อเปรียบเทียบความด้านรู้ความเข้าใจ ด้านทักษะ และด้านเจตคตขิ องครใู นการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา ก่อนและหลงั การใชร้ ปู แบบ การนเิ ทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู ในทุกด้าน มคี วามแตกตา่ งกนั อยา่ งมนี ัยสำคัญทางสถติ ิ ทร่ี ะดบั .01ดังแสดงรายละเอียดในตารางที่ 1 ตารางท่ี 1 แสดงการเปรยี บเทียบสมรรถนะการประกันคณุ ภาพการศึกษาด้านความรู้ ความเข้าใจ ด้านทักษะ และด้านเจตคติในการประกันคุณภาพการศึกษาของครู ก่อนและหลัง การใช้รูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ของครู สมรรถนะ กอ่ น หลงั T Sig. ด้านการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา 89.502** ������ S.D. ������ S.D. 17.057** .000 ด้านความรคู้ วามเขา้ ใจ 25.69 1.74 46.96 1.47 31.422** .000 ด้านทกั ษะ 2.95 0.94 4.51 0.53 .000 ด้านเจตคติ 2.74 0.90 4.54 0.50 *p-value < 0.01 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการ ประกนั คุณภาพการศึกษา อยู่ในระดบั มากที่สุด มีคา่ เฉลีย่ รวมเท่ากับ 4.54
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชงิ พุทธ ปีท่ี 5 ฉบบั ท่ี 9 (กันยายน 2563) | 453 อภปิ รายผล 1. องค์ประกอบของสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู จากผลการวิจยั พบว่า องค์ประกอบของสมรรถนะดา้ นการประกันคุณภาพการศึกษาของครู คือ มี 3 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านความรู้ความเข้าใจในเรื่องระบบประกันคุณภาพการ ศึกษา ประกอบด้วย นโยบายการปฏิรูประบบการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษา กฎกระทรวงเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน แนว ปฏิบัติการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน และแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอก 2) ด้านทักษะ ครูต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์และกำหนดมาตรฐานของสถานศึกษา จดั ทำแผนพฒั นาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา นำแผนพฒั นาการจัดการศึกษาสู่การปฏิบัติ การกำหนดระดับคุณภาพของสถานศึกษา และจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (Self - Assessment Report: SAR) สามารถนำผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาไป ใช้ในการพฒั นาคุณภาพการศึกษา และการเตรยี มนำเสนอข้อมลู ทเ่ี หมาะสม ชัดเจนและเช่ือถือ ได้เพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอก และ 3) ด้านเจตคติ ครูควรมีความรู้สึกทางบวก ต่อการประกันคุณภาพการศึกษา มีความตระหนักและเห็นความสำคัญ มีความสนใจ มุ่งม่ัน มีส่วนร่วมและสนับสนุนการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อสร้างแรงขับเคลื่ อนต่อ การพฒั นาสมรรถนะครู ซึง่ สอดคลอ้ งกบั แนวคดิ ของกชกร รุ่งหัวไผ่ กล่าวถงึ องค์ประกอบของ สมรรถนะว่า ประกอบไปดว้ ย ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และคณุ ลกั ษณะส่วนบุคคล หรอื เจตคติ (Attribute) สมรรถนะในที่นีจ้ ึงหมายความรวมถงึ พฤตกิ รรมท่ีก่อให้เกดิ ประสทิ ธิผล ในการทำงานสูงสุด (กชกร รุ่งหัวไผ่, 2559) ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกบั แนวคดิ ของฉัตรชยั หวังมีจงมี ที่กล่าวว่าสมรรถนะมีความสำคัญทั้งต่อตัวบุคคลและองค์การ เพราะสมรรถนะจะมี ความสมั พนั ธเ์ กยี่ วข้องกบั การบริหารทรัพยากรมนุษย์ซึ่งสามารถนำแนวคิดเก่ียวกับสมรรถนะ ไปใช้ในการสรรหาและคัดเลือก บุคลากร การพัฒนาบุคลากร การประเมินผลการปฏิบัติงาน การพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพ การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง และการจ่ายผลตอบแทน เป็นต้น (ฉัตรชัย หวังมีจงมี, 2560) ประกอบกับความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิจากการ สัมภาษณ์ ไดม้ คี วามเห็นที่เปน็ ไปในทิศทางเดียวกนั วา่ การพัฒนาสมรรถนะหลักทั้ง 3 ด้านของ ครูนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะครูเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การส่งเสรมิ สมรรถนะครูจึงควรมีรูปแบบที่ชัดเจน มีเนื้อหาและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อครูในการนำไป ประยุกตใ์ ช้ไดจ้ ริง 2. การพัฒนารูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการประกัน คณุ ภาพการศึกษาของครู จากผลการวจิ ยั พบว่า จากการประเมินรูปแบบการนเิ ทศการศึกษาที่ เสรมิ สร้างสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู โดยผูท้ รงคุณวุฒิจำนวน 9 ท่าน พบว่าความคิดเห็นต่อรูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการประกัน คุณภาพการศึกษาของครู มีความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 จาก
454 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.5 No.9 (September 2020) รปู แบบที่ผวู้ จิ ัยพัฒนาขึ้น ผู้ทรงคุณวุฒเิ หน็ ว่า ด้านความเหมะสม โดยเฉพาะด้านเน้ือหาท่ีใช้ใน กิจกรรมตามรูปแบบ มีคะแนนสูงกว่าด้านอื่นอย่างเห็นได้ชัด สืบเนื่องมาจากเนื้อหาที่ใช้ใน กิจกรรม อันประกอบไปดว้ ย กฎกระทรวงวา่ ด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา แนวปฏบิ ตั ิการ ดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานการศึกษาขั้น พื้นฐาน แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาแนวใหม่ และการจัดทำรายงานการประเมิน ตนเอง (Self-Assessment Report : SAR) มีความชัดเจน และมีความทันสมัย สามารถนำไป ประยุกต์ใช้ได้ในการดำเนินงานได้จริง และตรงกับบริบทของสถานศึกษา แสดงให้เห็นว่า รูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู ที่ ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นรูปแบบการนิเทศที่มีความเหมาะสม และเป็นประโยชน์ เนื่องจากเป็นการ นิเทศที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วม และเน้นการปฏิบัติจริง รวมถึงมีการเสริมสร้างความรู้ในการ ปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับครู และครูสามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปใช้ประโยชน์ สอดคล้องกับแนวคิดของไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ ซึ่งได้กล่าวว่าหลักการนิเทศการศึกษาจะมี ความหมายสำหรับครู ก็ต่อเมื่อการนิเทศนั้นแสดงให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องและมีเหตุผลต่อ ผู้รับการนิเทศโดยตรง นั่นคือจะต้องทำให้ครูได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาว่า จะให้ผู้ทำการ นิเทศช่วยเหลือในเรื่องใดจงึ จะเป็นที่ต้องการ (ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ, 2552) และสอดคล้องกับ ผลงานวิจัยของ Ekundayo et al. ได้ศึกษาสิ่งที่ท้าทายการนิเทศการสอนในโรงเรียน มธั ยมศึกษา และแนวทางที่ควรปฏิบัติต่อไป การศกึ ษาพบว่า การนเิ ทศควรมผี ู้นำเพ่ือทำหน้าท่ี ดูแล ชว่ ยเหลอื ประเมนิ ชี้แนะครู และผบู้ ริหารสถานศกึ ษา เพื่อใหแ้ นใ่ จว่าสถานศึกษาไดบ้ รรลุ เป้าหมายที่วางไว้ การนิเทศที่ประสบผลสำเร็จ จะส่งผลให้วิสัยทัศน์ของโรงเรียนได้นำมาเป็น แนวทาง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบ ที่เอื้อต่อการพัฒนาโรงเรียน ส่วนการนิเทศการ สอน คือกระบวนการออกแบบเพื่อพัฒนา โดยมีจุดหมายสำคัญ และเป็นกระบวนการที่เป็น ประโยชนอ์ ยา่ งตอ่ เน่ือง (Ekundayo, H. T. et al., 2013) ดังน้นั ศกึ ษานเิ ทศก์จงึ ต้องมีโอกาสที่ จะสง่ เสริมการจดั กจิ กรรมของโรงเรยี น และให้โรงเรียนแนใ่ จว่ามีกิจกรรมทจ่ี ะเกดิ ประโยชน์ต่อ ผู้เรียนได้จริง ศึกษานิเทศก์ที่ประสบผลสำเร็จนั้น ควรเป็นผู้มีความรู้กว้างขวาง เช่นความรู้ เก่ียวกบั การบรหิ ารจดั การ ภาวะผูน้ ำ รวมถึงวฒั นธรรมของโรงเรียนและชุมชน 3. ประสิทธิผลของรูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการประกัน คณุ ภาพการศึกษาของครู จากผลการวิจัย เหน็ ไดช้ ดั วา่ สมรรถนะดา้ นความรู้ ความเขา้ ใจ และ ด้านทักษะในการประกันคุณภาพการศึกษาของครูหลังการใช้รูปแบบ มีค่าการพัฒนาที่สูง ข้ึน อย่างเห็นได้ชัด อาจเนื่องมาจากคณะครูมีประสบการณ์ในการทำงานสูง อายุการทำงานส่วน ใหญ่ อยู่ระหว่าง11 - 15 ปี เมื่อได้รับการทบทวน และเสริมสร้างความรู้เพิ่มเติม ตามกระบวนการของรูปแบบ ทำให้สามารถดึงศักยภาพที่มีอยู่ออกมาได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับงานวิจัยของ Ozcelik & Ferman ซึ่งได้ศึกษาเกี่ยวกับสมรรถนะ ผลการศึกษา พบว่า สมรรถนะเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การศึกษาครั้งนี้เป็นการ
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชงิ พุทธ ปีท่ี 5 ฉบับท่ี 9 (กันยายน 2563) | 455 ตรวจสอบจุดหมายของสมรรถนะที่มีส่วนในการจัดการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในองค์การ รวมทงั้ การทบทวนเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีทเ่ี กี่ยวข้องตามมุมมองต่าง ๆ ในเร่ืองของสมรรถนะ จากการสร้างทฤษฎีก่อนหน้านี้และหลักฐานท่ีสงั เกตได้บางอย่าง กรอบของสมรรถนะใหม่ได้มี การพัฒนาดีขึ้น จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการวิจัยเน้นการยืนยันการนำสมรรถนะได้ใช้ในการ พฒั นาทรพั ยากรบุคคล ทักษะ และอุปนิสัยในองค์การต่าง ๆ (Ozçelik, G. and Ferman, M., 2006) สิ่งที่ค้นพบในการศึกษาครั้งนี้ มีสิ่งที่ท้าทายเป้าหมายการพัฒนาสมรรถนะที่แตกต่าง ของบุคคล และความแตกต่างทางวัฒนธรรมการทำงานของแต่ละท้องถิ่นและประเทศ อย่างไร ก็ตาม หากมีการจัดการที่เหมาะสม สมรรถนะก็สามารถสร้างเสริมงาน และมีการพัฒนาจน สามารถบรรลุได้ทั้งความต้องการขององค์การและบุคคล ส่วนในด้านเจตคติของครู ก่อนและ หลังการใช้รปู แบบการนิเทศการศึกษาทเ่ี สริมสร้างสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ของครู ก่อนการใช้รูปแบบมีเจตคติอยู่ในระดับปานกลาง และมีหลังการใช้รูปแบบในภาพ รวมอยู่ในระดับมากที่สุด เห็นได้ชัดว่าครูมีความตระหนักในการพัฒนาตนเองเกี่ยวกับการ ประเมินภายนอกเพิ่มขึ้น จากบันทึกการนิเทศ ครูให้ความสนใจในเรื่องของการประเมิน คุณภาพภายนอกเป็นอย่างมาก เนื่องจากครูทุกคนมีภาระงานที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน ภายนอก และรับรู้ร่วมกันว่าการประเมินภายนอกเป็นเรื่องของทุกคน ไม่ใช่เป็นภาระความ รับผิดชอบของคนหนึ่งคนใด ประกอบกับผู้วิจัยได้ปฏิบัติการนิเทศแบบกัลยาณมิตร ทำให้ครู เกิดความไว้วางใจ และมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น จึงเกิดการเปิดใจยอมรับในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างดียิ่ง ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยของ Chamberlin ได้ศึกษาพฤติกรรมอวัจนภาษา และ ความประทับใจเริ่มแรกแห่งความไว้วางใจในความสัมพันธ์ ระหว่างครูและศึกษานิเทศก์ ผล การศึกษาเป็นไปตามสมมติฐานคือ ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับศึกษานิเทศก์ ส่งผลให้ครูเกิด ความไว้วางใจ มากกว่าการแสดงความมีอำนาจเหนือกวา่ ของศกึ ษานเิ ทศก์ และความสัมพันธ์ที่ ใกลช้ ดิ ยงั มรี ะดับคะแนน ดา้ นความเหมาะสม และความมปี ระสทิ ธภิ าพ มากกว่าการแสดงว่ามี อำนาจเหนือกว่า (Chamberlin, C. R., 2000) นอกจากนี้การรับรู้ของครูว่าเกิดความไว้วางใจ ในศึกษานเิ ทศก์ มคี า่ สหสมั พันธ์กับความเหมาะสมและความมีประสิทธภิ าพ การกระตุ้นให้เกิด ความไว้วางใจ คือกุญแจเบื้องต้นของความสัมพันธ์ ระหว่างครูและศึกษานิเทศก์ และเมื่อ เปรยี บเทยี บสมรรถนะความดา้ นรคู้ วามเข้าใจ ด้านทักษะ และด้านเจตคติของครูในการประกัน คุณภาพการศึกษาก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้าน การประกันคุณภาพการศึกษาของครู ในทุกด้าน พบว่าหลังการใช้รูปแบบครูมีสมรรถนะด้าน การประกันคุณภาพการศึกษา สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติท่ีระดับ.01 และความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการ ประกันคุณภาพการศึกษา อย่ใู นระดับมากทส่ี ุด มคี ่าเฉลย่ี รวมเทา่ กับ 4.54
456 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.5 No.9 (September 2020) องคค์ วามรใู้ หม่ จากการวจิ ยั ครง้ั นี้ ทำใหเ้ กิดรูปแบบการนิเทศการศึกษาท่ีเสรมิ สรา้ งสมรรถนะด้านการ ประกันคุณภาพการศึกษาของครู ซึ่งองค์ความรู้อันเป็นผลสัมฤทธิ์จากการวิจัยเป็นรูปแบบ เฉพาะของการนิเทศการศึกษา โดยการบูรณาการแนวคิดการนิเทศที่สำคัญ 4 แนวคิด ประกอบด้วย แนวคิดการนิเทศแบบร่วมพัฒนา แนวคิดการนิเทศแบบมีส่วนร่วม แนวคิด การนิเทศแบบกัลยาณมิตรและการนิเทศแบบคลินิก โดยมีองค์ประกอบ 6 ส่วน ดังน้ี 1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2) หลักการของรูปแบบ 3) แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบ 4) กระบวนการของรูปแบบ 5) กจิ กรรมและเนื้อหาในการนิเทศตามรูปแบบ และ 6) เครื่องมือ ประกอบการใช้รูปแบบ โดยมีกระบวนการของรูปแบบการนิเทศการศึกษา เป็นบันได 8 ขั้น ดงั ภาพท่ี 1 ขั้นที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ (Need analysis) ขน้ั ที่ 2 การวางแผนการดาเนนิ งาน (Fictional planning) ขั้นท่ี 3 การเสริมสรา้ งความรูใ้ นการปฏิบตั งิ าน (Enhancing process of practices) ข้ันที่ 4 การปฏบิ ัติงานตามแผน (Performance) ข้ันท่ี 5 การปฏิบตั ิการนิเทศแบบกลั ยาณมติ ร (Friendly supervision) ขน้ั ท่ี 6 การแลกเปล่ยี นเรยี นรู้ (Sharing knowledge and experience) ข้นั ที่ 7 การใหข้ อ้ มลู สะทอ้ นผลการนเิ ทศ (Feedback) ขัน้ ท่ี 8 การเผยแพรข่ ยายผล (Elaboration) ภาพท่ี 1 แสดงกระบวนการของรูปแบบการนเิ ทศการศกึ ษาที่เสริมสรา้ งสมรรถนะ ดา้ นการประกันคุณภาพการศึกษาของครู
วารสารสงั คมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชิงพทุ ธ ปีท่ี 5 ฉบบั ที่ 9 (กันยายน 2563) | 457 สรปุ /ข้อเสนอแนะ องค์ประกอบของสมรรถนะด้านการประกันคณุ ภาพการศึกษาของครู ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านทักษะ และด้านเจตคติ รูปแบบการนิเทศ การศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครูที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มี องค์ประกอบ 6 ส่วน คือ 1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2) หลักการของรูปแบบ 3) แนวคิดท่ี เกี่ยวข้องกับรูปแบบ 4) กระบวนการของรูปแบบ 5) กิจกรรมและเนื้อหาในการนิเทศตาม รูปแบบ และ 6) เครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ โดยมีกระบวนการของรูปแบบการนิเทศ การศึกษา 8 ขั้นตอน ได้แก่ การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ การวางแผนการ ดำเนินงาน การเสริมสร้างความรู้ในการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานตามแผน การปฏิบัติการ นิเทศแบบกัลยาณมิตร การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การให้ข้อมูลสะท้อนผลการนิเทศ และการ เผยแพร่ขยายผล และผลการประเมินสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครูก่อน และหลังการใช้รูปแบบ พบว่าหลังการใช้รูปแบบ ครูมีสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพ การศึกษา สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ข้อเสนอแนะเชิง นโยบาย 1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ควรมีนโยบายส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการ ประกันคุณภาพการศึกษาของครูกับทุกโรงเรียนในสังกัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ พัฒนาการเรียนการสอน พร้อมทั้งตอบสนองนโยบายของรัฐบาลด้านการจัดการศึกษา 2) หน่วยงานต้นสังกัด ควรให้ความสำคัญและสร้างแรงจูงใจให้ครูพัฒนานวัตกรรม และองค์ ความรูใ้ หม่ๆ ที่ส่งเสรมิ ความสามารถในการพัฒนาสมรรถนะด้านการประกนั คุณภาพการศึกษา เพอ่ื นำผลมาใชเ้ ป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะด้านการประกนั คุณภาพการศึกษาอย่างเป็น รูปธรรม ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป 1) รูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เสริมสร้าง สมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครู เป็นรูปแบบที่สามารถพัฒนาสมรรถนะ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของครูให้สูงขึ้น ดังนั้นจึงควรมีการวิจัยเพิ่มเติมโดยนำ รูปแบบการนิเทศการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาสมรรถนะด้านอื่นของครู 2) ควรมีการวิจัยและ พัฒนารูปแบบการนิเทศการศึกษาที่เน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่ายการพัฒนา 3) ควรใช้ เทคโนโลยีท่ีทนั สมัยมาพัฒนารปู แบบการนเิ ทศการศึกษา เพื่อการปฏิบัติงานทีส่ ะดวก รวดเรว็ เกิดประสทิ ธิภาพและประสทิ ธิผลต่อการประกันคณุ ภาพการศกึ ษาของครู เอกสารอา้ งอิง กชกร รุ่งหัวไผ่. (2559). การวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์เพื่อการพัฒนาสมรรถนะของหัวหน้า กลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัย พฤตกิ รรมศาสตรป์ ระยกุ ต์. มหาวทิ ยาลัยศรีนครินทรวโิ รฒ.
458 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.5 No.9 (September 2020) ฉัตรชัย หวังมีจงม.ี (2560). การศึกษาโมเดลเชิงสาเหตุสมรรถนะของครูผ็สอนระดบั การศึกษา ขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21: การวิเคราะห์กลุ่มพหุ. ใน ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร ดุษฎบี ณั ฑิต สาขาการวิจัยและพฒั นาศักยภาพมนษุ ย์. มหาวิทยาลัยศรีนครนิ ทรวโิ รฒ. ชูชัย สมิทธิไกร. (2550). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์กร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ มหาวทิ ยาลัย. ทิพราภา ปรางมุข. (2560). บทบาทของครูในการประกันคุณภาพการศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 18 มกราคม 2562 จาก https://adorablenan.wordpress.com/ ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ. (2552). การนิเทศการศึกษา : ทฤษฎีและการปฏบิ ัติ. กรุงเทพมหานคร: มหาวทิ ยาลัยศรีนครนิ ทรวิโรฒ. รุ่ง แก้วแดง. (2559). ก้าวข้ามขีดจำกัดสู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: ดีไซน์ เรพ โวลชู ่นั ส์. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). รายงานผลการประเมินความคิดเห็น ของศึกษานิเทศก์ที่มีต่อการประชุมทางวิชาการ เรื่องการพัฒนาศึกษานิเทศก์แนวใหม่ เพื่อการเร่งรัดคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์พัฒนาการนิเทศ และเร่งรัดคุณภาพการศึกษาขั้นพน้ื ฐาน. สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พืน้ ฐาน. (2559). รายงานประจำปี 2558 ศนู ย์พัฒนาการ นิเทศและเร่งรัดคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแหง่ ประเทศไทย. สำนกั งานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2562). รายงานประจำปี 2562 (1 ตุลาคม 2561-30 กันยายน 2562). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซิโน พับลิซซิ่ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง จำกดั . สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พรกิ หวานกราฟฟคิ . สำนักงานเลขาธิการสภาการศกึ ษา. (2561). สภาวะการศกึ ษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการ ปฏริ ูปการศกึ ษาไทยเพือ่ ก้าวสู่ยคุ Thailand 4.0. กรงุ เทพมหานคร: สกศ. สุภาวดี ตรีรัตน์. (2554). การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักวชิ าการและมาตรฐานการศกึ ษา กระทรวงศึกษาธกิ าร. อำไพ สุจริตกุล. (2540). ทฤษฎีการเรียนรู้เพือ่ การพัฒนาลักษณะนสิ ัย : การฝึกฝน กาย วาจา ใจ. กรงุ เทพมหานคร: สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. Chamberlin, C. R. ( 2 0 0 0 ) . Nonverbal behaviors and initial impressions of trustworthiness in teacher‐ supervisor relationships. Communication Education, 49(4), 352-364.
วารสารสงั คมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพทุ ธ ปีท่ี 5 ฉบบั ท่ี 9 (กนั ยายน 2563) | 459 Stufflebeam D. L. et al. ( 2 0 0 0 ) . Professional Standards and Principles for Evaluations. In Evaluation Models : Viewpoints on Educational and Human Services Evaluation. Boston: Springer Science & Business Media. Ekundayo, H. T. et al. ( 2 0 1 3 ) . Effective Supervision of Instruction in Nigerian Secondary Schools : Issues, Challenges and the Way Forward. Journal of Education and Practice, 4(8),185-190. Ozçelik, G. & Ferman, M. (2006). Competency Approach to Human Resources Management: Outcomes and Contributions in Turkish Cultural Context. Human Resource Development Review, 5(1),72-91.
ความสัมพนั ธ์หลากหลายทิศทางระหวา่ งความไว้วางใจในองค์กร ภาวะผู้นำการเปล่ียนแปลง การทำงานเป็นทมี และความสำเร็จของ โครงการรว่ มลงทนุ ระหวา่ งภาครฐั และเอกชน: กรณศี กึ ษาจากประเทศไทย* THE MULTIDIMENSIONAL RELATIONSHIPS OF ORGANIZATIONAL TRUST TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP TEAMWORK AND PUBLIC – PRIVATE PARTNERSHIP PROJECT SUCCESS: THE EVIDENCES FROM THAILAND วิสุทธิ บุตรศรภี ูมิ Visut Bootsripoom ทพิ ย์รตั น์ เลาหวิเชยี ร Tipparat Laohavichien ธงไชย ศรีวรรธนะ Thongchai Sriwattana นาวนิ มนี ะกรรณ Nawin Meenakan มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Kasetsart University, Thailand E-mail: [email protected] บทคดั ยอ่ บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบของภาวะผู้นำที่เปลี่ยนแปลง และความเชื่อถือขององค์กรต่อการทำงานเป็นทีมในโครงการ PPP 2) ศึกษาผลกระทบของ ความไว้วางใจขององค์กรและภาวะผู้นำการเปล่ียนแปลงและการทำงานเปน็ ทีมต่อความสำเร็จ ของโครงการ PPP 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการทำงานเป็นทีมและความสำเร็จของ โครงการ PPP ใช้รูปแบบการวิจยั เชงิ ปรมิ าณกลุ่มตวั อย่าง ได้แก่ภาครัฐและเอกชน คือคนไทยท่ี ทำงานในโครงการที่ศึกษาหรือมีประสบการณ์ในการทำงานในโครงการพนักงานในระดับ หัวหนา้ โครงการ เจ้าของบริษัทท่ีปรึกษา ตวั แทนของหนว่ ยงาน จากโครงการรว่ มลงทุนจำนวน 70 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่ผ่านการ ตรวจสอบได้โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน มีค่าความน่าเชื่อถือเท่ากับ 0.708 มีค่าสัมประสิทธ์ิ อัลฟ่าของครอนบาค 0.858 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำเสนอวิเคราะห์แบบจำลองโครงสร้าง * Received 26 August 2020; Revised 7 September 2020; Accepted 13 September 2020
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชงิ พทุ ธ ปีท่ี 5 ฉบับท่ี 9 (กนั ยายน 2563) | 461 จากการศึกษาพบว่า ความไว้วางใจในองค์กรและภาวะผูน้ ำการเปลี่ยนแปลง ส่งผลในทางบวก กับการทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ของโครงการร่วมลงทุนในภาครัฐและเอกชนของประเทศไทย จากผลลัพธ์หลังจากดำเนินการ PLS-SEM แสดงให้เห็นภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลในเชิงบวกต่อความสำเร็จของ โครงการผ่านการทำงานเป็นทมี ในฐานะสื่อกลาง ปฏิเสธสมมตฐิ านความสัมพันธข์ องการทำงาน เป็นทีมและความสำเร็จของโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครฐั และเอกชน สัมประสิทธ์ิเสน้ ทาง และระดับนัยสำคัญของสัมประสิทธิ์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 สมมติฐาน 1 และ 5 จะถูกปฏิเสธ เนอ่ื งจากคา่ P-value ซ่งึ มากกวา่ 0.01 ในขณะท่มี สี ามสมมตฐิ านทีย่ อมรับซง่ึ เป็นสมมติฐาน 2, 3 และ 4) โดยมีข้อเสนอแนะหากคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีความหลากหลายมากขึ้นโดยการ ตรวจสอบโครงการอ่นื ๆ ทอี่ าจมผี ลดกี วา่ และเปน็ ประโยชนต์ ่อผูบ้ รหิ ารและผูจ้ ัดการ คำสำคัญ: ความไว้วางใจในองค์กร, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, การทำงานเป็นทีม, ความสำเร็จของโครงการรว่ มลงทุนระหว่างภาครฐั และเอกชน Abstract The objectives of this research are to study found that: 1) To study impacts of transformational leadership and organizational trust upon Teamwork in the PPP project scheme. 2) To study impacts of organizational trust and transformational leadership and teamwork on PPP project success. 3) To study relationships of teamwork and PPP project success. The quantitative research used the sample. Including public and private sectors are Project Supervisor the owner of a consulting firm Agency representative From a joint investment project, the population, including the 70 joint venture projects, uses a specific selection method to collect data using 3 questionable experts that have a confidence value of 0.67 with an alpha coefficient of Cronbach 0.858 Data analysis by presenting structural model analysis. The results of the study the assumption that change leadership has a positive influence on the success of the project through teamwork as a medium. Reject the hypothesis of the relationship of teamwork and success of public-private investment projects. Path coefficient and significance level of coefficient at significance level 0.01. Hypotheses 1 and 5 will be rejected because P-value is greater than 0.01, while there are three accepted hypotheses which are hypotheses 2, 3 and 4) With suggestions If the sample selection is more diverse by examining other projects that may have better results and benefit the management and managers.
462 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.5 No.9 (September 2020) Keywords: Organizational Trust, Transformational Leadership, Teamwork, Public – Privat Partnership Projects บทนำ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา ได้ทำการสำรวจพบว่าโครงสร้าง พื้นฐานที่ไม่ดีทำให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจสูงขึ้นและสภาพความเป็นอยูท่ ี่แย่ลงทั่วโลก เป็นผล จากการใช้เงินประมาณ 3.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรักษา อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกไว้ให้อยู่ที่ 3.3% ดังนั้นรัฐบาลทั่วโลกจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยง และมีทางเลือกอื่น ๆ ในการหาแหล่งเงินทุนเพื่อจัดสรรในโครงสร้างพื้นฐานและโครงสร้าง พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับวันข้างหน้า แนวคิดการเป็นหุ้นส่วนสาธารณะกับเอกชน ซึ่งเรียกว่า โครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public – Private Partnership Projects : PPP) จงึ เกิดข้ึนและกลายเป็นเคร่ืองมือสำหรับการลงทุนในโครงสร้างพนื้ ฐาน ซ่งึ Harpen ระบุ ว่าโครงสร้างพื้นฐานเป็นรากฐานของการบริการ โดยพื้นฐานสิ่งอำนวยความสะดวกทำให้เกิด การเติบโต การพัฒนาของชุมชนสมัยใหม่ โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็นโครงสร้างพื้นฐาน 2 ประเภท คือ 1) โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกทางกายภาพ เช่น ถนน ทางรถไฟ ท่าเรือ สนามบิน อ่างเก็บน้ำ ที่มีท่อน้ำทิ้ง ท่อระบายน้ำ เขื่อนและระบบ ชลประทานการสื่อสาร โทรคมนาคม การผลิตกระแสไฟฟ้า การจำหน่ายไฟฟ้า และก๊าซหุงตม้ 1) โครงสร้างพื้นฐานทางสังคมจะครอบคลุมถึงที่อยู่อาศัยการศึกษา การพักผ่อนหย่อนใจ สิ่งอำนวยความสะดวก ในการสั่งซื้อที่สนับสนุนความต้องการของชุมชน ภายใต้กฎหมาย สำหรบั การมปี ฏสิ ัมพันธ์ทางสงั คมซึง่ จดั ทำโดยรัฐบาลหรอื ภาครัฐนั่นเอง (Harpen, G. W. E. B. V., 2002) สำหรับประเทศไทยนั้นรัฐบาลได้มองข้ามการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานเป็นจำนวนมาก ในการใช้ PPP เป็นกลยุทธ์หลักในการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศไทย รวมถึงการแก้ปัญหา ในการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น จากข้อมูลของ สำนักงาน คณะกรรมการนโยบายรัฐวสิ าหกิจ (สคร.) พบว่าแนวคิดของ PPP ได้รับการแนะนำในประเทศ ไทยมาแล้วเกือบ 20 ปี ปัจจุบันมีโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนประมาณ 35 โครงการ โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ 15 หน่วยงาน ตั้งแต่ระบบการขนส่งโลจิสติกส์สาธารณูปโภค การสื่อสารโทรคมนาคม ไปจนถึงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (The State Enterprise Policy Office, 2017) แมว้ า่ แนวความคิดของพรรคพลงั ประชารัฐ ไดเ้ กิดขน้ึ มาในประเทศไทยมาระยะ หนึ่งแลว้ ดเู หมอื นวา่ จะมคี วามก้าวหน้า แตก่ ็ไมป่ ระสบความสำเร็จในการนำไปใช้ ดงั นนั้ เพ่ือให้ PPP กลายเป็นกระบวนการที่เป็นจริงมากขึ้น รัฐบาลปัจจุบันได้มีการเปิดตัวแผนแม่บท PPP ใหม่และมีผลบงั คบั ใช้กับแผนยทุ ธศาสตรท์ ่ีชัดเจนสำหรับปี 2560 - 2565 ซึ่งมีเป้าหมายลงทนุ ประมาณ 1.41 ลา้ นล้านบาทรวมจำนวน 66 โครงการ (ดูรปู ท่ี 1)
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชิงพทุ ธ ปีท่ี 5 ฉบบั ท่ี 9 (กันยายน 2563) | 463 ตารางท่ี 1 ทอ่ ส่งโครงการ (66 โครงการ) มูลคา่ โดยประมาณของโครงการ เปอร์เซ็นต์ของ ภาคเอกชน โครงการ ลำคับ มูลคา่ รวมของ มลู ค่าของ 34.31 โครงการ ภาคเอกชน 79.79 46.71 ประเภทท่ี 6 พ้ืนทีท่ ี่ภาคเอกชนไดร้ บั อนุญาตใหเ้ ขา้ ร่วม (ไมเ่ ขา้ รว่ ม) - 1. การสร้างระบบขนสง่ ทางรถไฟ 8 607,023.10 208,258.35 51.00 50.00 2. ทางดว่ นในปริมณฑล 1 12,805.00 10,217.00 38.36 3. ท่าเรอื ขนส่งสนิ คา้ 7 132,155.61 61,118.48 95.95 28.86 4. ระบบรถไฟด่วน 2 233,584.20 - 63.97 5. เครือข่ายโทรคมนาคม 2 47,559.00 24,255.00 - 6. ระบบอนิ เทอร์เนต็ ความเรว็ สูง 1 20,000.00 10,000 68.52 - Total 21 1,053,126.91 313,848.83 79.75 ประเภทที่ 6 พื้นทท่ี ่ภี าคเอกชนไดร้ บั อนุญาตใหเ้ ขา้ ร่วม (ไมเ่ ขา้ รว่ ม) 94.75 82.42 1. ทางดว่ นในเมือง 6 364,640.00 2214,378.00 100.00 76.07 2. สรา้ งสถานีการกระจายและระบบโลจิสติกส์ 4 22,522.89 2,782.82 - 3. ระบบการจำหนา่ ยต๋วั รว่ ม (Joint ticket 1 937.85 600.00 100.00 system) - 91.55 4. การพฒั นาธรุ กิจและการจดั การพน้ื ทใ่ี น - - - 54.47 สนามบิน 5.การจดั การคณุ ภาพน้ำ 8 51,562.95 36,708.15 6. ระบบชลประทาน -- - 7. การจัดการของเสีย 3 9,896.00 7,892.00 8. สถาบนั การศึกษาของรัฐ 7 26,939.85 25,525.85 9. สถานบรกิ ารสาธารณสขุ 3 6,200.00 5,110.00 10. การพฒั นาทางการแพทยแ์ ละยา 3 195.00 195.00 11. การพฒั นาวทิ ยาศาสตรเ์ ทคโนโลยแี ละ 6 38,820.00 29,530.00 นวัตกรรม 12. การพัฒนาแพลตฟอร์มเศรษฐกิจดจิ ทิ ัล 2 - - 13. ห้องประชมุ ขนาดใหญแ่ ละหอ้ งประชมุ 4 2,732.72 2,732.72 14. การพัฒนาทอ่ี ย่อู าศยั สำหรบั กลุ่ม 1- - รวม 45 523,411.36 325,454.54 รวมทงั้ หมด 66 1,576,538.27 693,303.37 (both categories combined) ทมี่ า (The State Enterprise Policy Office, 2017) อยา่ งไรก็ตามมโี ครงการแบบ PPP จำนวนมากทงั้ ในประเทศท่ีพฒั นาแล้วและประเทศ กำลังพัฒนาซึ่งในที่สุดก็ล้มเหลว ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงนายกรัฐมนตรีที่เกิดข้ึน บ่อยครั้ง นำไปสู่การยกเลิกโครงการโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะใหม่ ๆ จำนวนมาก ซึ่งเดิม จัดซื้อภายใต้แนวทางโครงการแบบรวมศูนย์ เช่น โครงการรถไฟ เป็นต้น (Chan. A. P. C. & Cheung, E., 2014) นอกจากนี้ Tam, C. M. ยังชใ้ี หเ้ ห็นวา่ ความล้มเหลวของพรรคพลังประชา รัฐในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นผลมาจากการจัดการความเสี่ยงที่ไม่เพียงพอ ความไม่ไว้วางใจ
464 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.5 No.9 (September 2020) ระหว่างภาครัฐและเอกชน และความไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของค่าผ่านทางและการ เปลีย่ นแปลงนโยบาย (Tam, C. M., 1999) ในขณะทจี่ ากการศกึ ษาของ International Trade and Development Research Forum ระบุวา่ แมว้ ่า กฎหมายโครงการแบบรวมศูนย์ใหม่ มี วัตถุประสงค์เพื่อลดการทุจริตและเพื่อขจัดอุปสรรคที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องเผชิญในอดีต เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้ความสนใจกับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสององค์กรท่ีต้องทำงานร่วมกัน (International Trade and Development Research Forum, 2017) ปัจจัยภายในที่เป็น จุดแข็ง ซึ่งได้แก่ นโยบายการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน กระบวนทำงานและ ขั้นตอน ทีมผู้เชี่ยวชาญที่สนับสนุนในเชิงวิชาการและความตั้งใจของทีมผู้ปฏิบัติงาน สำหรับ จุดออ่ นได้แก่ การวิเคราะหค์ วามเป็นไปไดข้ องโครงการ การประสานงานกับผเู้ ชี่ยวชาญ ความรู้ ความเข้าใจของบุคลากรเกี่ยวกับแนวคิดและกระบวนการของ PPP โดยคำนึงถึงปัจจัย ความสำเร็จคือความชัดเจนและต่อเนื่องของนโยบายภาครัฐ (พรทิพย์ ศิริภานุมาศ และคณะ, 2562) เช่นเดียวกับวิธีท่ีผู้นำจากทั้งสองฝ่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ควรมีส่วนร่วมในสรา้ ง ความสำเรจ็ ของโครงการ แม้จะมีจำนวนการศึกษาทเี่ ก่ียวข้องกบั โครงการแบบรวมศูนย์ท่ัวโลก แต่มีการศึกษาเพียงไม่กี่งานวิจัยที่ประเมินความสำเร็จของโครงการแบบการลงทุนร่วมภาครัฐ และเอกชนในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในความสัมพันธ์หลายมิติที่การทำงานเป็นทมี จะ เป็นสื่อกลางทีช่ ่วยให้โครงการแบบรวมศูนย์ประสบความสำเร็จ ดังนั้นชอ่ งว่างทีย่ งั ไมไ่ ด้สำรวจ ในเชิงวิชาการในการทำความเข้าใจวิธีการบริหารในโครงการแบบการลงทุนร่วมภาครัฐและ เอกชน ที่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแนวโน้มการลงทุนทั่วโลกในปัจจุบันและเป็นที่ต้องการของทั้ง ภาครัฐและเอกชน นำไปสู่การศึกษาในครั้งน้ีเพื่อหาคำตอบให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป และจะเกิดประโยชนใ์ นเชิงวชิ าการทส่ี รา้ งทิศทางที่ถกู ต้องในการพฒั นาประเทศต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาผลกระทบของภาวะผู้นำที่เปลี่ยนแปลงและความเชื่อถือขององค์กรต่อ การทำงานเป็นทีมในโครงการ PPP 2. เพื่อศึกษาผลกระทบของความไว้วางใจขององค์กรและความเป็นผู้นำการ เปลี่ยนแปลงและการทำงานเปน็ ทมี ตอ่ ความสำเร็จของโครงการ PPP 3. เพื่อศกึ ษาความสัมพันธ์ของการทำงานเป็นทีมและความสำเรจ็ ของโครงการ PPP วิธดี ำเนนิ การวิจัย รปู แบบการวจิ ยั การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ คำถามในแบบสอบถามได้จากการทบทวน วรรณกรรมเกี่ยวที่ครอบคลุมกับความไว้วางใจขององค์กรภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การทำงานเป็นทีม และความสำเร็จของโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน
วารสารสังคมศาสตรแ์ ละมานุษยวิทยาเชงิ พทุ ธ ปีท่ี 5 ฉบบั ที่ 9 (กนั ยายน 2563) | 465 มีแบบสอบถามมีข้อคำถามจำนวน 67 ข้อคำถาม ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา ในการวิจัยครั้งนี้ใช้ แบบจำลองสมการโครงสร้าง (SEM) เพื่อทดสอบสมมติฐาน จากโครงการ PPP ทั้งหมดท่ี ดำเนินการในประเทศไทย 35 โครงการ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างจากพนักงานในระดับหัวหน้า โครงการ เจ้าของบริษัททป่ี รึกษา ตัวแทนของหน่วยงาน จากโครงการร่วมลงทุนจำนวน 70 คน ส่วนน้อยเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังนั้นกฎของ Thumb ตามข้อเสนอแนะของ Westland จึงไม่ สอดคลอ้ งกับการเกบ็ ข้อมูลน้ีในการคำนวณขนาดของกลมุ่ ตัวอยา่ ง (Wolf, E. J. et al., 2013) ซึ่งระบุว่าความต้องการขนาดตัวอย่างสำหรับ SEM ปกติสามารถอยู่ในช่วงตั้งแต่ 30 ถึง 460 รายสำหรับการวเิ คราะหข์ ้อมูลงานวิจัยนีอ้ ธบิ ายข้อมูลปฐมภูมทิ ีไ่ ด้จากการใช้สถิตเิ ชิงพรรณนา เช่นค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) จากนั้นทำการคำนวณสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของเพียร์สันเพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ สุดท้ายเพื่อทดสอบสมมติฐาน ทัง้ หมดของการวิจยั ครั้งน้ีได้ใช้ Partial Least Square SEM (PLS - SEM) ประชากรและกลมุ่ ตัวอย่าง ประชากรเป้าหมายและหน่วยวิเคราะห์ในการวิจัยครั้งนี้คือ คนไทยที่ทำงานใน โครงการท่ศี ึกษาหรือมีประสบการณ์ในการทำงานในโครงการ ทั้งภาครัฐและเอกชน เก็บข้อมูล ไปยังองค์กรภาครัฐและเอกชนที่จดทะเบียน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ตอบแบบสอบถามสามารถเข้าใจ คำถามทั้งหมดที่ระบุไว้ในแบบสำรวจอย่างชัดเจน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าเนื้อหาของการวัด (งานวิจัยนี้ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ) ได้รับการแปลอย่างถูกต้องและแม่นยำเป็นภาษาไทย แบบสอบถามได้รบั การพิสูจน์อักษรและย้อนหลังเปน็ ภาษาอังกฤษโดยนักเรยี นไทยหนึ่งคนท่ีได้ คะแนน IELTS 6.5 หรือสงู กวา่ เพ่อื ตรวจสอบความถูกต้องของเน้ือหา (Mandhachitara, R. & Poolthong Y., 2011) นอกจากนี้การวิจัยจะศึกษาเฉพาะความไว้วางใจขององค์กร ภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลง เป็นตัวแปรอิสระทีม่ ี การทำงานเป็นทีม เป็นตัวแปรไกลเ่ กล่ียทีม่ ีความสำเรจ็ ของโครงการเปน็ ตัวแปรตาม ขนาดตัวอยา่ งและวิธีการสุ่มตัวอย่างจำนวนประชากรท้ังหมด ในการวิจัยนี้ไม่สามารถ ระบุได้ ข้อมูลของโครงการ PPP ทั้งหมดที่มี 35 โครงการ งานวิจัยนี้รวบรวมข้อมูลจากภาครัฐ และเอกชน ดังนั้น กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 70 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจาก 35 โครงการ (จำนวนสองเท่าของโครงการทั้งหมด) โดยทั่วไปยอมรับได้คือ 10 เท่าต่อตัวแปรวิจัยในการ กำหนดขนาดของกลุ่มตวั อย่างที่เพียงพอจำนวนเลก็ นอ้ ย Nunnally และ Hair ได้แนะนำวา่ ตัว แปรควรคูณด้วย 10 เท่าของขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Nunnally, J. C, 1967) ; (Hair, J. F. et al., 2011) สำหรับการสร้างแบบจำลองสมการโครงสร้าง (SEM) ถูกเปดิ เผยชว่ งความต้องการขนาด ตัวอย่างจาก 30 ถึง 460 กลุ่มตัวอย่าง (Wolf, E. J. et al., 2013) ได้ส่งแบบสอบถามที่ส่งไป คาดว่าจะส่งคืนเพื่อให้สอดคล้องกับการสุ่ม การสุ่มตัวอย่างเครื่องมือวิจัยนั้นใช้วิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบไม่มีความน่าจะเป็น (a non - probability) ใช้การคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง
466 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.5 No.9 (September 2020) วิธีการนี้ช่วยให้ผู้วจิ ัยสามารถเข้าถึงกลุม่ ตัวอย่างเป้าหมายได้อย่างง่ายดาย วิธีการดังกล่าวเร็ว กว่าวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอื่น การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม โดยการใช้แบบสอบถาม โครงการ PPP ภาครัฐและเอกชนที่เป็นพนักงานในระดับหัวหน้าโครงการ เจ้าของบริษัทท่ี ปรกึ ษา ตัวแทนของหน่วยงาน จากโครงการร่วมลงทุนจำนวน 70 คน ใน 35 โครงการ การตรวจสอบแบบสอบถามแบบปลายปิด จะถูกใช้โดยอิงกับตัวเลือกที่หลากหลาย และมาตราส่วนการจัดอันดับ 7 จุด เครื่องมือที่ใช้ สำหรับการวัดความเป็นผู้นำการ เปลี่ยนแปลง สำหรับความไว้วางใจขององค์กร สำหรับการวัดประสิทธิผลของทีมและ สำหรับ ความสำเรจ็ ของโครงการ PPP แบบสอบถามแบง่ ออกเป็นสองส่วนหลักซึ่งประกอบด้วยคำถาม ทั้งหมด 67 ข้อ มีการทดสอบก่อนตอบแบบสอบถามกับผู้ตอบแบบสอบถาม 30 คนเพ่ือ ประเมินความชัดเจนและความเป็นจริงของ Cronbach โดยอัลฟ่าของ Cronbach ด้วยค่า ทง้ั หมดตอ้ งมากกว่าคา่ cutoff 0.7 (Hair, J. F. et al., 2010) การประเมินคุณภาพเครอ่ื งมือ เพื่อให้มั่นใจความถูกต้องของเนื้อหาของรายการทั้งหมดที่ระบุไว้ในแบบสอบถามซ่ึง ประกอบด้วย 4 ส่วน (ความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความเชือ่ ถือขององค์กร การทำงานเปน็ ทีมและความสำเร็จของโครงการ PPP) แบบสอบถามได้รับการประเมินเบื้องต้นโดยที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์ และได้รับตรวจสอบเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ในสาขาที่เกี่ยวข้อง ใน การศึกษานี้ใช้ดัชนีของความสอดคล้องของวัตถุประสงค์รายการหรือ IOC เพื่อทดสอบความ ถูกต้องของเนื้อหา คะแนน จะต้องมีค่าความสอดคล้องเท่ากับหรือสูงกว่า 0.50 (Parish, T. et al., 2010) ผลการตรวจสอบความถูกต้องของเน้ือหาโดยผู้เชี่ยวชาญแสดงให้เห็นว่าทุกรายการ มคี า่ IOC เฉลีย่ 0.708 การวเิ คราะหส์ หสัมพันธ์โดยใชส้ มั ประสิทธสิ์ หสมั พันธ์ของเพยี ร์สันพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและความไว้วางใจขององค์กรอยู่ในทิศทางเดียวกันโดยมีนัยสำคัญ ทางสถิติปานกลาง (r = 0.712) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการทำงานเป็นทีมมี ความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.684) เช่นเดียวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและความสำเร็จของโครงการ PPP (r = 0.406) และสุดท้ายความเชื่อมั่นขององค์กรและความสำเร็จของโครงการ PPP (r = 0.341) ผลการวิจยั พบวา่ ความสัมพันธ์ท่ีพบในการสร้างสอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้าน้ี ในการทบทวนวรรณกรรม ดงั ตารางที่ 2
วารสารสังคมศาสตรแ์ ละมานุษยวทิ ยาเชิงพุทธ ปีท่ี 5 ฉบับที่ 9 (กันยายน 2563) | 467 ตารางที่ 2 ความสมั พันธร์ ะหวา่ งโครงสรา้ งโดยใชส้ มั ประสทิ ธ์สิ หสัมพนั ธข์ องเพยี รส์ ัน โครงสร้าง Mean SD TL OT TW PS ภาวะผนู้ ำกาเปลี่ยนแปลง (TL) 5.226 0.788 1 ความนา่ เช่ือถือขององค์กร (OT) 5.582 0.759 0.712** 1 การทำงานเป็นทมี (TW) 5.446 0.699 0.684** 0.684** 1 0.406** 0.341** 0.543** 1 ความสำเรจ็ ของโครงการ (PS) 5.369 0.796 ความน่าเชื่อถือความสอดคล้องภายในคำนวณโดยความน่าเชื่อถือแบบรวมซึ่งควร มากกว่า 0.70 (Hair et al., 2011) มีการประเมินความถูกต้องในสองด้านความถูกต้องของ Convergenceและความถกู ต้องจำแนก (Hair, J. F. et al., 2011); (Choi, S. L. et al., 2016) ความถูกต้องตาม Convergence คำนวณจากค่าความแปรปรวนเฉลี่ยที่สกัด (AVE) ซึ่งควร มากกว่า 0.50 เพื่อแสดงความถูกต้องของ Convergence ที่เพียงพอ สามารถอธิบายเพิ่มเติม ได้ว่าตัวแปรแฝงสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวบ่งชีข้ องตัวแปรแฝงได้มากกว่าครึ่ง ผล แสดงให้เห็นว่าการก่อสร้างทั้งหมดมีความน่าเช่ือถือเฉลี่ย 0.708 แสดงความน่าเชื่อถือความ ม่นั คงภายใน บริษัท เชน่ เดยี วกับ AVE โครงสรา้ งทั้งหมดมคี ่า AVE มากกวา่ 0.50 ตารางที่ 3 ผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือความสอดคล้องภายในและ ความตรง convergent validity โครงสรา้ ง Reliability ค่าเฉลยี่ ความน่าเชอ่ื ถือขององค์กร 0.954 0.775 ความสำเรจ็ ของโครงการ 0.959 0.641 การทำงานเป็นทมี 0.942 0.619 การเปลยี่ นแปลง 0.947 0.644 เกณฑ์ของ Fornell-Larcker ความถูกต้องจำแนกถูกคำนวณโดยใช้เกณฑ์ Fornell-Larcker และตัวบ่งชี้การโหลด หรือการโหลดข้าม (Hair, J. F. et al., 2011) Fornell-Larcker Criterion คำนวณโดยสแควร์ รูทของ AVE ของแต่ละโครงสร้างแฝงซึ่งควรสูงกว่าค่าสหสัมพันธ์ของโครงสร้างแฝงนั้นและ โครงสร้างแฝงอื่น ๆ (Choi, S. L. et al., 2016) น้ำหนักตัวบ่งชี้คำนวณโดยการโหลดตัวบ่งชี้ หรือการโหลดรายการซึ่งควรจะสูงกว่าการโหลดตัวบ่งชี้ของตัวแปรแฝงอื่น ๆ (Hair, J. F. et al., 2011) เกณฑ์ทั้งสองแสดงให้เห็นว่าความถูกต้องจำแนกบ่งชี้ถึงความแตกต่างเชิงประจักษ์ ของสง่ิ ก่อสร้างหนงึ่ และอ่ืน ๆ ทส่ี อดคล้องกับ Hair, J. F. et al. (Hair, J. F. et al., 2014)
468 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.5 No.9 (September 2020) ตารางที่ 4 ผลลัพธข์ องการประเมนิ ความถูกต้องจำแนกโดยใชเ้ กณฑ์ของ Fornell - Larcker โครงสรา้ ง OT TL TW PS ความน่าเชื่อถือขององคก์ ร (OT) 0.881 การเปลย่ี นแปลงภาวะผูน้ ำ (TL) 0.593 0.802 การทำงานเป็นทมี (TW) 0.771 0.752 0.787 ความสำเร็จของโครงการ (PS) 0.452 0.694 0.446 0.801 การตรวจสอบความหลากหลายของโครงสร้างในแบบจำลองโครงสร้างพบว่า โครงสร้างภายนอกซึ่งคือการทำงานเป็นทีมและโครงสร้างภายนอกซึ่งเป็นความไว้วางใจของ องค์กรและความเป็นผนู้ ำในการทำธุรกรรมท้ังหมด มีปจั จยั เงินเฟ้อความแปรปรวน (VIF) น้อย กว่า 5 แสดงว่าไม่มีความหลากหลาย นั่นคือความไว้วางใจขององค์กรและภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลง ไม่ได้มีความสัมพันธ์สูง สำหรับโครงสร้างภายนอกประสิทธิภาพการบริการและ โครงสรา้ งภายนอก - องค์กรความเปน็ ผนู้ ำการเปลย่ี นแปลงและการทำงานเป็นทีมกม็ ี VIF น้อย กว่า 5 ซงึ่ หมายความว่าไม่มคี วามสมั พันธแ์ บบพหุและการสร้างไม่มคี วามสัมพนั ธก์ นั สูง ตารางที่ 5 ผลลัพธ์ของการตรวจสอบความสัมพันธ์แบบหลายจุดในโมเดลโครงสร้าง โดยใช้ VIF Construct PPP Project S. Teamwork ความนา่ เชอื่ ถอื ขององคก์ ร 2.464 1.543 การเปลีย่ นแปลง 2.307 1.543 การทำงานเป็นทมี 3.682 สมมตฐิ านการวจิ ยั จากผลลัพธ์หลังจากดำเนินการ PLS-SEM แสดงให้เห็นว่าสมมติฐานทั้งหมดในการ วิจยั นไี้ ด้รบั การปฏเิ สธหรือยอมรับดงั นี้ สมมติฐานที่ 1 ความไว้วางใจขององค์กรมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของ โครงการในเชงิ บวก สมมติฐานที่ 2 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความสำเร็จ ของโครงการ สมมติฐานที่ 3 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลต่อการทำงานเป็นทีมใน เชิงบวก สมมติฐานที่ 4 ความเชื่อถือขององค์กรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการทำงาน เป็นทีม
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชิงพุทธ ปีท่ี 5 ฉบบั ท่ี 9 (กันยายน 2563) | 469 สมมติฐานที่ 5 การทำงานเป็นทีมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสำเร็จของ โครงการ สมมติฐานที่ 6 ความไว้วางใจขององค์กรมีอิทธิพลในเชิงบวกต่อความสำเร็จ ของโครงการผ่านการทำงานเปน็ ทมี ในฐานะสื่อกลาง สมมตฐิ านท่ี 7 ภาวะผู้นำการเปลยี่ นแปลงมีอิทธิพลในเชิงบวกต่อความสำเร็จ ของโครงการผา่ นการทำงานเป็นทีมในฐานะส่อื กลาง ผลการวจิ ัย 1. ผลกระทบของภาวะผู้นำที่เปลี่ยนแปลงและความเชื่อถือขององค์กรต่อการทำงาน เป็นทีมในโครงการ PPP พบว่า ความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงการทำงานเป็นทีมและ ความสำเร็จของโครงการ PPP จากผลการวิจัยพบว่า บทบาทขงผู้นำโครงการและผู้จัดการมี ความสำคัญ ทั้งสองด้านขององค์กร (ภาครัฐและเอกชน) ควรเตรียมความพร้อมผู้นำของพวก เขาเริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนแรกจากกระบวนการสรรหาเพื่อการประเมินผลการปฏิบัติงาน 6 มิติ ของการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องคำนึงถึงผู้นำโครงการและผู้จัดการทุกคนเพื่อให้มั่นใจวา่ โครงการ PPP ประสบความสำเร็จและสร้างการทำงานเป็นทีมที่สมบรู ณ์แบบ 2. ผลกระทบของความไว้วางใจขององค์กรและความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและ การทำงานเป็นทีมต่อความสำเรจ็ ของโครงการ PPP พบว่า ความสำเร็จของโครงการ PPP นั้น เก่ยี วขอ้ งกบั การออกแบบการประเมินที่ถูกต้องและการเปรยี บเทียบตำแหน่งสำคัญในโครงการ เกี่ยวกับความสามารถในการเป็นผู้นำและการจัดการในช่วงเวลาที่ไม่แนน่ อน การส่งเสริมผู้นำ การเปลี่ยนแปลงจะช่วยให้องค์กรสามารถเอาชนะปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้และเปลี่ยนผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียที่ไม่สนับสนุนให้กลายเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของโครงการ PPP แม้ว่า ความสำเร็จของโครงการ PPP อาจไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการทำงานเป็นทีม แต่การทำงาน เป็นทีมที่มีประสิทธิภาพนั้นเป็นรากฐานที่แข็งแกรง่ สำหรบั ความร่วมมือในปัจจุบันและอนาคต ระหวา่ งผเู้ ขา้ รว่ มจากทั้งภาครฐั และเอกชน 3. ความสัมพันธ์ของการทำงานเป็นทีมและความสำเร็จของโครงการ PPP พบว่า โครงสร้างภายนอกซึ่งคือ การทำงานเป็นทีมและโครงสร้างภายนอกซึ่งเป็นความไว้วางใจของ องค์กรและความเป็นผู้นำในการทำธุรกรรมทั้งหมดมีปัจจัยเงินเฟ้อความแปรปรวน (VIF) น้อย กว่า 5 แสดงว่าไม่มีความหลากหลาย ความไว้วางใจขององค์กรและความเป็นผู้นำการ เปลี่ยนแปลงไม่ได้มีความสัมพันธ์สูง สำหรับโครงสร้างภายนอกประสิทธิภาพการบริการและ โครงสร้างภายนอกองค์กรความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการทำงานเป็นทีมก็มี VIF น้อย กว่า 5 ซึ่งหมายความว่าไม่มีความสัมพันธ์แบบพหุและการสร้างไม่มีความสัมพันธ์กันสูงจาก ผลลัพธ์หลังจากดำเนินการ PLS-SEM แสดงให้เห็นว่าสมมติฐานทั้งหมดในการวิจัยนี้ได้รบั การ ปฏเิ สธหรือยอมรับดังน้ี
470 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.5 No.9 (September 2020) สมมติฐานที่ 1 พบว่าความไว้วางใจขององค์กรมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของ โครงการในเชิงบวก ปฏเิ สธสมมตฐิ าน สมมติฐานที่ 2 พบว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลเชิงบวกต่อ ความสำเรจ็ ของโครงการ ยอมรับสมมตฐิ าน สมมติฐานที่ 3 พบว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลต่อการทำงานเป็น ทมี ในเชิงบวก ได้รบั การยอมรบั สมมติฐาน สมมติฐานที่ 4 พบว่าความเชื่อถือขององค์กรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการ ทำงานเปน็ ทีม ยอมรบั สมมตฐิ าน สมมติฐานท่ี 5 พบว่าการทำงานเปน็ ทีมมีความสัมพันธเ์ ชิงบวกกับความสำเร็จ ของโครงการ ปฏิเสธสมมติฐาน สมมติฐานที่ 6 พบว่าความไว้วางใจขององค์กรมีอิทธิพลในเชิงบวกต่อ ความสำเร็จของโครงการผา่ นการทำงานเปน็ ทีมในฐานะสอื่ กลาง ปฏเิ สธสมมติฐาน สมมติฐานที่ 7 พบว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลในเชิงบวกต่อ ความสำเร็จของโครงการผ่านการทำงานเป็นทีมในฐานะสอื่ กลาง ปฏิเสธสมมตฐิ าน ทดสอบสมมติฐาน การศกึ ษาคร้ังน้ีใช้สัมประสิทธเิ์ ส้นทางและความสำคญั ของสัมประสิทธ์ิเสน้ ทางท้ังค่า t และค่า p โดยใช้ bootstrapping (Hair et al., 2011) ให้ผลลัพธ์ โดยสรุปโดยใช้สัมประสิทธ์ิ เส้นทางและระดบั นยั สำคัญของสัมประสิทธิ์ท่ีระดับนัยสำคัญ 0.01 สมมตฐิ าน 1 และ 5 จะถูก ปฏิเสธเนื่องจากค่า P-value ซึ่งมากกว่า 0.01 ในขณะที่มีสาม 3 สมมติฐานที่ยอมรับซึ่งเป็น สมมตฐิ าน 2, 3 และ 4. ตารางที่ 6 สรปุ การทดสอบสมมตฐิ าน สมมติฐาน Path Path T- P-Value Results Coefficient Value β H1 O->P 0.238 1.304 0.192 ปฎเิ สธ H2 T->P 0.818 5.184 0.000*** ยอมรบั H3 O->W 0.500 3.424 0.001*** ยอมรบั H4 T->W 0.456 4.007 0.000*** ยอมรบั H5 W->P -0.352 1.472 0.141 ยอมรบั โมเดลโครงสรา้ ง สิ่งสำคัญที่จะแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์แบบหลายจุดในโมเดลโครงสร้าง โดยการ คำนวณค่าความแปรปรวนของเงนิ เฟ้อ (VIF) ค่าควรตำ่ กว่า 5 ซง่ึ แสดงวา่ ไม่มคี วามสัมพนั ธแ์ บบ หลายคา่ แสดงดังภาพข้างล่าง
วารสารสังคมศาสตรแ์ ละมานุษยวิทยาเชิงพุทธ ปีท่ี 5 ฉบับท่ี 9 (กนั ยายน 2563) | 471 ภาพที่ 1 โมเดลสมการโครงสร้างหลังจากดำเนนิ การ PLS อภปิ รายผล 1. ผลกระทบของภาวะผู้นำที่เปลี่ยนแปลงและความเชื่อถือขององค์กรต่อการทำงาน เป็นทีมในโครงการ PPP พบว่า ความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง การทำงานเป็นทีม และ ความสำเร็จของโครงการ PPP จากผลการวิจัยของสมมติฐานที่ 2 และสมมติฐานที่ 3 พบว่า บทบาทขงผู้นำโครงการและผจู้ ดั การมีความสำคัญ ท้งั สองดา้ นขององค์กร (ภาครัฐและเอกชน) ควรเตรียมความพร้อมผู้นำของพวกเขาเริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนแรก จากกระบวนการสรรหาเพื่อ การประเมินผลการปฏิบัติงาน 6 มิติของการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องคำนึงถึงผู้นำ โครงการและผจู้ ัดการทุกคนเพื่อให้มั่นใจว่าโครงการฯ ประสบความสำเร็จและสรา้ งการทำงาน เป็นทีมที่สมบูรณ์แบบการค้นพบของการศึกษาครั้งนี้สอดคล้องกับ Nicholas et al. จาก การศึกษาพบว่า \"การฝึกอบรมพนักงานที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ\" ในด้านความรู้ในการ ทำงานภายใต้โครงการฯ เป็นสิ่งจำเป็น ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่จากทั้งสองฝ่ายก่อนเริ่มทำงาน ในโครงการจะต้องเขา้ ร่วมหลักสูตรปฐมนิเทศทสี่ ่งเสริมความสัมพันธ์ท่ีดีระหวา่ งกัน นอกจากนี้ จะต้องมีช่องทางการสื่อสารที่มั่นคงสำหรับทั้งผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ มั่นใจว่าประสิทธิผลของทีมและสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นทีมนั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับ องค์กรทม่ี ีส่วนรว่ มในโครงการ PPP เพ่อื เลือกผนู้ ำโครงการและผู้จัดการท่มี ีทักษะการเป็นผู้นำ
472 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.5 No.9 (September 2020) การเปลี่ยนแปลง ในบริบทของไทยผู้นำมีบทบาทสำคญั ในการกำหนดและสร้างสภาพแวดล้อม ที่เหมาะสมที่สนับสนุนให้ทีมทำงานร่วมกัน นี่เป็นเรื่องจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจาก ลักษณะเฉพาะของพนักงานไทยที่ขาดวินัยและทักษะการวิเคราะห์ ความเป็นผู้นำที่มี ประสิทธภิ าพก่อให้เกิดการทำงานเป็นทมี ท่ีแขง็ แกร่งระหว่างหนว่ ยงานภาครัฐและเอกชนท่ีช่วย นำทางโครงการฯ ผ่านความไม่แน่นอนและความเสี่ยง ความสำเร็จ เป็นผลมาจากการทำงาน เป็นทีมที่มีประสิทธิภาพซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีทักษะสูง (Nicholas, C. et al., 2020) 2. ผลกระทบของความไว้วางใจขององค์กรและความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและ การทำงานเป็นทีมต่อความสำเร็จของโครงการ PPP พบว่า การทำงานเป็นทีมต่อความสำเร็จ ของโครงการ คุณลักษณะคือ ระยะเวลาของสัญญา มีความสำคัญต่อการดำเนินโครงการ ปกติ มีอายุ 20 - 35 ปี ภูมิหลังและโครงสร้างที่แตกตา่ งกันการจัดการที่ดี และการจัดการผู้มสี ่วนได้ เสียเป็นหัวใจหลักของการดำเนินโครงการ ดั่ง Amadi, C. N. et al ระบุว่า เพื่อช่วยเหลือ ผู้เชย่ี วชาญในอุตสาหกรรมทง้ั ภาครัฐและเอกชนเพื่อสง่ เสริมความสมั พันธ์ที่ดรี ะหวา่ งผู้มีส่วนได้ ส่วนเสยี ซงึ่ ในท่สี ดุ จะรักษาความสำเร็จของโครงการฯ ไดม้ ี 6 ข้นั ตอน ประกอบด้วย 1) กำหนด วัตถุประสงค์ของการจัดการผู้มีส่วนได้เสยี 2) ระบุผู้มีส่วนได้เสีย 3) กำหนดผลประโยชน์ของผู้ มีสว่ นได้เสยี ภายนอก 4) พัฒนากลยทุ ธก์ ารสอื่ สาร 5) กำหนดกลยุทธ์การสร้างขดี ความสามารถ และ 6) ประเมินกระบวนการจัดการผู้มีส่วนได้เสีย (Amadi, C. N. et al., 2019) การจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถนำมาพิจารณาตั้งแต่เริ่มแรกของโครงการฯ นอกเหนือจากภาครัฐและเอกชนในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หลักสำหรับความสำเร็จของ โครงการ การมีสว่ นรว่ มจากผู้มีส่วนไดส้ ว่ นเสยี ทงั้ หมดจะส่งเสริมความรสู้ ึกเปน็ เจา้ ของและการ อยู่ร่วมกันซึ่งส่งผลให้สถานการณ์ไม่เอื้ออำนวย นอกจากนี้การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย จะต้องตลอดระยะเวลาของสัญญา สิ่งนี้จะช่วยส่งเสริมความโปร่งใสของโครงการตลอดจนลด ความเป็นไปได้ของการต่อตา้ นจากสาธารณะ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกถูกระบุว่าเปน็ สาเหตุ หลักของการคัดค้านของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อโครงการ PPP (Rwelamila, P. et al., 2012) การสร้างความรว่ มมือระหว่างผู้มสี ว่ นได้สว่ นเสียทั้งภายในและภายนอกไดร้ บั การแนะนำท่ีเป็น ทางออกเพ่อื ลดความเปน็ สาธารณะ (Henjewele, C., 2012) 3. ความสมั พันธ์ของการทำงานเป็นทีมและความสำเรจ็ ของโครงการ PPP พบว่า PLS- SEM แสดงใหเ้ หน็ ความสัมพนั ธ์ของการทำงานเป็นทมี และความสำเรจ็ ของโครงการทำงานเป็น ทมี และโครงสรา้ งภายนอกซ่งึ เป็นความไวว้ างใจขององคก์ รและความเปน็ ผนู้ ำในการทำธุรกรรม ทั้งหมด ความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการทำงานเป็นทีมหมายความวา่ ไมม่ ีความสมั พันธ์ แบบพหุและการสร้างไมม่ ีความสมั พนั ธ์กนั สูง สมมติฐานทั้งหมดในการวิจัยนี้ได้รับการปฏิเสธหรือยอมรับดังนี้ สมมติฐานที่1,5,6 พบว่า ปฏิเสธสมมติฐาน ส่วนสมมติฐานที่ 2,3,4 ยอมรับสมมติฐานสำหรับโครงสร้างภายนอก
วารสารสังคมศาสตรแ์ ละมานุษยวทิ ยาเชิงพุทธ ปีท่ี 5 ฉบบั ที่ 9 (กนั ยายน 2563) | 473 ประสิทธภิ าพการบริการและโครงสร้างภายนอกองค์กรและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการ ทำงานเปน็ ทีมก็มี VIF น้อยกวา่ 5 ซงึ่ หมายความวา่ ไมม่ ีความสัมพันธ์แบบพหุและการสร้างไม่มี ความสัมพันธ์กันสูงจากผลลพั ธห์ ลังจากดำเนินการ PLS-SEM แสดงให้เหน็ ว่าสมมตฐิ านทง้ั หมด ในการวิจัยนี้ได้รับการปฏิเสธหรือยอมรับ ประเด็นภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง สอดคล้องกับ จุฑาทิพย์ สุจริตกุล ระบุว่าในส่วนของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผูบ้ ริหารองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับองค์กรสู่ยุคประเทศไทย 4.0 โดยเฉพาะการ กระตุ้นเชาวน์ปัญญามีความสัมพันธ์กับด้านมีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัยพบว่าอยู่ในระดับสงู ประเด็นคณุ ภาพการใหบ้ ริการ (จุฑาทิพย์ สจุ ริตกลุ , 2562) สอดคลอ้ งกบั ศศินภิ า ทวิ าลยั และ วศิน เหลี่ยมปรีชา ระบุว่าคุณภาพการบริการมีผลเชิงบวกต่อการใช้งานและความพงึ พอใจของ ผู้ใช้บริการ การใช้งานและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการมีผลเชิงบวกซึ่งกันและกัน (ศศินิภา ทวิ าลัย และวศิน เหล่ียมปรชี า, 2555) องคค์ วามร้ใู หม่ ความสัมพันธ์หลากหลายทิศทางระหว่างความไว้วางใจในองค์กร ภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลง การทำงานเป็นทีม และความสำเร็จของโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและ เอกชน :กรณีศึกษาจากประเทศไทย ค้นพบว่าความไว้วางใจในองค์กรและภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลงส่งผลในทางบวก กับการทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำการเปลีย่ นแปลงเป็นปัจจยั สำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการฯ ที่จะเกิดประโยชน์ใช้เป็นแนวทางในการกำหนด นโยบายของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในประเทศไทย ทั้งที่เป็นการลงทุนโดยภาครัฐเพียงฝั่ง เดียวหรือร่วมกับภาคเอกชนก็ตามจะทำให้เข้าใจในถึงปัจจัยสำคัญที่ส่ งผลต่อความสำเร็จของ โครงการฯ นำมากำหนดและปฏบิ ัตติ ่อไป สรุป/ขอ้ เสนอแนะ ภาวะผนู้ ำทเี่ ปล่ียนแปลงและความเชื่อถือขององค์กรต่อการทำงานเป็นทีมในโครงการ PPP พบว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงการทำงานเป็นทีมและความสำเร็จของโครงการ PPP (ภาครัฐและเอกชน) ควรเตรียมความพร้อมผู้นำของพวกเขาเริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนแรก ภาวะ ผู้นำที่มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดการทำงานเป็นทีมที่แข็งแกร่งระหว่างหน่วยงานภาครัฐและ เอกชนทช่ี ว่ ยนำทางโครงการฯ ผา่ นความไม่แน่นอนและความเสี่ยง ความสำเร็จ เปน็ ผลมาจาก การทำงานเปน็ ทมี ที่มีประสิทธิภาพซึง่ ไดร้ ับแรงบันดาลใจจากผ้นู ำการเปลย่ี นแปลงท่ีมีทักษะสูง ความไว้วางใจขององค์กรและภาวะผู้นำการเปล่ียนแปลงและการทำงานเปน็ ทีมต่อความสำเร็จ ของโครงการ PPP พบว่าความไว้วางใจขององค์กรและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการ ทำงานเป็นทีมต่อความสำเร็จของโครงการความสำเร็จของโครงการฯ นั้นเกีย่ วข้องการส่งเสริม ผู้นำการเปลยี่ นแปลงจะช่วยให้องค์กรสามารถเอาชนะปัจจยั ท่ีไมส่ ามารถควบคุมได้และเปล่ียน
474 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.5 No.9 (September 2020) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ไม่สนับสนุนให้กลายเป็นแรงขับเคล่ือนสำคัญของโครงการ ไม่เกี่ยวข้อง โดยตรงกับการทำงานเป็นทีม แต่การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพนั้นเป็นรากฐานที่ แข็งแกร่งสำหรับความร่วมมือในปัจจุบันและอนาคตระหวา่ งผู้เข้าร่วมจากท้ังภาครฐั และเอกชน ความสมั พันธข์ องการทำงานเปน็ ทีมและความสำเร็จของโครงการ PPP พบว่า PLS-SEM แสดง ให้เห็นความสัมพันธ์ของการทำงานเป็นทีมและความสำเร็จของโครงการทำงานเป็นทีมและ โครงสร้างภายนอกซึ่งเป็นความไว้วางใจขององค์กรและภาวะผู้นำในการทำธุรกรรมทั้งหมด ภาวะผู้นำการเปล่ียนแปลงและการทำงานเป็นทีมหมายความว่าไม่มีความสัมพันธแ์ บบพหุและ การสร้างไม่มีความสัมพันธก์ ันสงู ว่าสมมติฐานทัง้ หมดในการวิจัยดงั นี้สมมติฐานท้ังหมดในการ วิจัยนี้ได้รับการปฏิเสธหรือยอมรับดังนี้สมมติฐานท่ี1,5,6 พบว่าปฏิเสธสมมติฐาน ส่วน สมมติฐานที่ 2,3,4 ยอมรับสมมติฐาน ข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งต่อไป จากผลการศึกษาที่ กล่าวถึงข้างต้นนี่คือคำแนะนำสำหรับการวิจัยในครั้งต่อไป 1) กลุ่มตัวอย่างสามารถมีความ หลากหลายมากขึ้นโดยการจัดกลุ่มตามประเภทของโครงการที่เน้นโครงการ PPP เนื่องจากใน ประเทศไทยมีโครงการ PPP เพียง 35 โครงการ หากมกี ารตรวจสอบโครงการอ่ืน ๆ ท่อี าจมีผล ดีกว่าและเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารและผู้จัดการ 2) การใช้ข้อมูลระยะยาวซึ่งได้รับในกลุ่ม ตัวอย่างหากมีเวลานานในการรวบรวมข้อมูลนานขึ้น อาจให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ พัฒนาและการเปลี่ยนแปลงผลกระทบของภาวะผู้นำทางอิเล็กทรอนิกส์การเปลี่ยนแปลงและ การทำธุรกรรม ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพการบริการผ่านนวัตกรรมการจัดการในแต่ละช่วงเวลา ตัวอย่างเช่นข้อมูลอาจถูกรวบรวมจากปี 2562 ถึง ปัจจุบัน 3) ภาวะผู้นำประเภทอื่น นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงอาจได้รับการสำรวจเพิ่มเติมเพื่อดูว่าได้ส่งผลกระทบต่อประ สิทธิภาพของบริการผ่านนวัตกรรมการจัดการอย่างไร ตัวอย่าง ได้แก่ e-leadership กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ผู้นำธรุ กจิ เอกสารอา้ งองิ จุฑาทิพย์ สุจริตกุล. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในยุคประเทศไทย 4.0 กรณีศึกษา: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต. วารสารมหาจฬุ านาครทรรศน์, 6(10), 930 - 943. พรทิพย์ ศิริภานุมาศ และคณะ. (2562). บทเรียนความเป็นไปได้การให้เอกชนร่วมลงทุนด้าน สุขภาพของประเทศไทย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น, 26(1), 109 - 119. ศศินิภา ทิวาลัย และวศิน เหลี่ยมปรีชา. (2555). การวัดประสิทธิผลด้านการให้บริการของ ระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ออนไลน์ของธุรกิจโรงแรมโดยการใช้แบบจำลองของดี ลอนแอนด์แม็คคลีนและอีเมตริก. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั นเรศวร, 7(1), 89 - 95.
วารสารสังคมศาสตรแ์ ละมานุษยวิทยาเชงิ พทุ ธ ปีท่ี 5 ฉบบั ท่ี 9 (กนั ยายน 2563) | 475 Amadi, C. N. et al. (2019). Natural antidotes and management of metal toxicity. Retrieved March 2, 2020, from https://www.researchgate.net/publication /333027071_Natural_antidotes_and_management_of_metal_toxicity Chan. A. P. C. & Cheung, E. (2014). Public – private partnership in international construction Learning from case studies. Retrieved March 4, 2020, from from https://doi.org/10.4324/9780203736661 Choi, S. L. et al. (2016). Transformational Leadership, Empowerment, and Job Satisfaction: the Mediating Role of Employee Empowerment. Human Resources for Health, 14(73), 1-14. Hair, J. F. et al. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. (7th Ed.). United States of America: Pearson Prentice Hall. Hair, J. F. et al. (2011). PLS-SEM: Indeed a Silver Bullet. Journal of Marketing Theory and Practice, 19(2), 139 - 151. . (2014). Partial least squares structural equation modeling (PLS-SEM)L an emerging tool for business research. European Business Review, 26(2), 106 – 121. Harpen, G. W. E. B. V. (2002). Public Private Partnerships, the Advantages and Disadvantages Examined. Association for European Transport Report. Retrieved March 4, 2020, from http://trid.trb.org/view.aspx?id=803508 Henjewele, C. ( 2 0 1 2 ) . Analysis of factors affecting value for money in UK PFI projects. Journal of Financial Management of Property and Construction, 17(1), 9 - 28. International Trade and Development Research Forum. ( 2017) . Policy Brief on the Roles of Financial Institutions on Driving SGDs Goals. Retrieved March 4, 2020, fromhttps://sustainabledevelopment.un.org/content/documen ts/18041SDG7_Policy _Brief.pdf Mandhachitara, R. & Poolthong Y. (2011). A Model of Customer Responsibility and Corporate Social Responsibility. Journal of Service Marketing, 25(2), 122 - 133. Nicholas, C. et al. (2020). Critical Success Factors for Public-Private Partnership ( PPP) Infrastructure and Housing Projects in Kenya. Retrieved March 4, 2020, from https://www.researchgate.net/publication/339828560 Nunnally, J. C. (1967). Psychometric theory. New York: McGraw-Hill.
476 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.5 No.9 (September 2020) Parish, T. et al. (2010). Becoming Competitive Amateur Bodybuilders Identification of Contributors. Psychology of Men & Masculinity, 11(2), 152-159. Rwelamila, P. et al. (2012). Addressing the Missing Link in PPP Projects: What Constitutes the Public? Journal of Management in Engineering, 3 1 ( 5 ) , 1 - 28. Schweitzer, J. ( 2 0 1 4 ) . Leadership and Innovation Capability Development in Strategic Alliances. Leadership and Organization Development Journal, 35(5), 442 - 469. Tam, C. M. (1999). Build-operate-transfer model for infrastructure developments in Asia: reasons for successes and failures. International Journal of Management, 17(6), 377-382. The State Enterprise Policy Office. ( 2017) . Public Private Partnership ( PPP) in Thailand. Retrieved March 4, 2020, from htpp://www.sepo.go.th. Wolf, E. J. et al. (2013). Sample size requirements for structural equation models: an evaluation of power, bias, and solution propriety. Education and Psychology Measurement, 76(6), 913 – 934.
คำแนะนำสำหรับผเู้ ขียน 1. นโยบายการตพี มิ พ์ในวารสารสงั คมศาสตรแ์ ละมานุษยวทิ ยาเชิงพุทธ วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ เปน็ วารสารวชิ าการของวดั วังตะวันตก อำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่ บทความวิจัยและบทความวิชาการแก่นักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์และนักศึกษา ในมิติเพ่ือ สนับสนุนการศึกษา การสอน การวิจัยในมหาวิทยาลัยสงฆ์รวมถึงคณะสงฆ์ไทย โดยเน้น สาขาวิชาพุทธศาสนา บริหารการศึกษา การพัฒนาชุมชม การพัฒนาสังคม รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ภาษาศาสตร์ การศึกษาเชิงประยกุ ต์ รวมถงึ สหวทิ ยาการอ่ืน ๆ บทความที่ ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 ท่าน ในลักษณะ ปกปิดรายช่ือ (Double blind peer-reviewed) เปิดรับบทความเฉพาะภาษาไทย โดยรับ พิจารณาตพี ิมพ์ต้นฉบบั ของบุคคลท้งั ภายในและภายนอกวัด ผลงานทีส่ ง่ มาจะต้องไมเ่ คยตพี ิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพ่ือตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้อง ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร อย่าง เคร่งครัด รวมท้ังระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารทัศนะและข้อคิดเห็นท่ี ปรากฏในบทความวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความน้ัน มิใช่ความคิดของ คณะผู้จัดทำ และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ท้ังนี้กอง บรรณาธกิ ารไม่สงวนลขิ สิทธ์ิในการคัดลอก แต่ใหอ้ ้างอิงแสดงทม่ี า ทางวารสารกำหนดออก วารสารปลี ะ 12 ฉบบั (รายเดอื น) ดังตอ่ ไปน้ี ฉบับท่ี 1 เดือนมกราคม ฉบับท่ี 2 เดือนกมุ ภาพนั ธ์ ฉบับที่ 3 เดือนมีนาคม ฉบับท่ี 4 เดือนเมษายน ฉบบั ท่ี 5 เดอื นพฤษภาคม ฉบบั ท่ี 6 เดอื นมิถุนายน ฉบบั ที่ 7 เดือนกรกฎาคม ฉบับท่ี 8 เดือนสิงหาคม ฉบับที่ 9 เดอื นกนั ยายน ฉบบั ที่ 10 เดือนตลุ าคม ฉบับท่ี 11 เดอื นพฤศจิกายน ฉบับท่ี 12 เดือนธนั วาคม 2. ประเภทของผลงานทต่ี พี มิ พ์ในวารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 1) บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความท่ีนำเสนอการค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับพุทธศาสนา บริหารการศึกษา การพัฒนาชุมชม การพัฒนาสังคม รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ภาษาศาสตร์ การศึกษาเชิงประยุกต์ รวมถึงสหวิทยาการอื่น ๆ 2) บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือ เสนอแนวคดิ ใหม่
478 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.5 No.9 (September 2020) 3. รปู แบบของการจัดเตรียมตน้ ฉบบั 1) ต้นฉบับบทความต้องมีความยาว 8 - 12 หน้ากระดาษ A4 หรือ B5 (ไม่รวม เอกสารอ้างอิง) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว ใช้ตัวอักษรแบบ THSarabunPSK ต้ังค่า หน้ากระดาษโดยเว้นขอบบน ขอบซ้าย 1 น้ิว และขอบขวา ขอบล่าง 1 นิ้ว กำหนดระยะห่าง ระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1 และเว้นบรรทดั ระหว่างแต่ละย่อหน้า การนำเสนอรปู ภาพและตาราง ต้องนำเสนอรูปภาพและตารางที่มีความคมชัดพร้อมระบุหมายเลขกำกับรูปภาพไว้ด้านล่าง พมิ พ์เป็นตวั หนาเช่นตารางที่ 1 หรือ Table 1 และ ภาพที่ 1 หรอื Figure 1 รูปภาพทีน่ ำเสนอ ต้องมีรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วนและเข้าใจได้โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปอ่านท่ีเนื้อความอีก ระบุลำดับของรูปภาพทุกรูปให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับ โดยคำอธิบายต้องกระชับ และสอดคล้องกับรปู ภาพท่นี ำเสนอ 2) ช่ือเรอ่ื งต้องมีท้งั ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พมิ พ์ไว้ตรงกลางหนา้ แรก 3) ชื่อผู้เขียน ท้ังภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมระบชุ อ่ื สังกดั หรอื หนว่ ยงาน 4) มบี ทคัดย่อภาษาไทย จำนวนคำไม่เกนิ 300 คำตอ่ บทคัดยอ่ 5) กำหนดคำสำคญั (Keywords) 3-5 คำ ทั้งภาษาไทยและภาษาองั กฤษ 6) การเรียงหัวข้อ หัวข้อใหญ่สุด ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย หัวข้อย่อยเว้นห่างจาก หัวข้อใหญ่ 3-5 ตัวอักษร และหัวข้อย่อยขนาดเดียวกัน ต้องพิมพ์ให้ตรงกัน เม่ือข้ึนหัวข้อใหญ่ ให้เวน้ ระยะหา่ ง 1 บรรทดั 7) การใช้ตัวเลข คำย่อ และวงเล็บ ควรใช้ตัวเลขอารบิกท้ังหมด ใช้คำย่อท่ีเป็น สากล เท่าน้ัน (ระบุคำเต็มไว้ในคร้ังแรก) การวงเล็บภาษาอังกฤษ ควรใช้ดังน้ี (Student centred learning) บทความวจิ ยั ใหเ้ รียงลำดบั สาระ ดังน้ี 1) บทคัดย่อ (Abstract) เสนอวัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการวิจัยและ ผลการวิจยั โดยสรปุ สัน้ กะทัดรดั ไดใ้ จความ 2) บทนำ (Introduction) ระบุความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาใน การวจิ ยั และระบุวัตถปุ ระสงคข์ องการวจิ ัย 3) วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) ระบุแบบแผนการวิจัย การได้มาซ่ึงกลุ่มตัวอย่างและการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เคร่ืองมือท่ีใช้ในการวิจัย วิธีการ เก็บรวบรวมข้อมลู และการวเิ คราะหข์ ้อมลู 4) ผลการวิจัย (Results) เสนอผลท่ีพบตามวัตถุประสงคก์ ารวิจยั ตามลำดับ อยา่ งชัดเจน ควรเสนอในรูปตารางหรอื แผนภูมิ 5) อภิปรายผล (Discussion) เสนอเป็นความเรียง ชี้ให้เห็นถึงความ เช่ือมโยงของผลการวิจัยกับกรอบแนวคิด และงานวิจัยที่ผ่านมา ไม่ควรอภิปรายเป็นข้อ ๆ แต่ ชใ้ี ห้เห็นถงึ ความเช่ือมโยงของตวั แปรท่ศี ึกษาท้งั หมด
วารสารสังคมศาสตรแ์ ละมานุษยวทิ ยาเชงิ พทุ ธ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 9 (กนั ยายน 2563) | 479 6) องค์ความรู้ใหม่ (ถ้ามี) (Originality and Body of Knowledge) ระบุองค์ความรู้อันเป็นผลสัมฤทธิ์ท่ีได้จากการวิจัย สังเคราะห์ออกมาในรูปแบบโมเดล พร้อม คำอธิบายรูปแบบ/โครงสร้างของโมเดลอย่างกระชับ เขา้ ใจงา่ ย 7) สรุป (Conclusion) /ข้ อเสน อแ น ะ (Recommendation) ระบุ ข้อสรปุ ท่ีสำคัญและข้อเสนอแนะในการนำผลการวจิ ยั ไปใช้ และประเด็นสำหรบั การวิจยั ต่อไป 8) เอกสารอ้างอิง (References) ต้องเป็นรายการอ้างอิงที่มีปรากฏใน บทความเทา่ น้นั บทความวชิ าการ ใหเ้ รียงลำดับสาระ ดงั น้ี 1) บทคัดย่อ (Abstract) 2) บทนำ (Introduction) 3) เนือ้ เร่ือง (Content) แสดงสาระสำคญั ทต่ี ้องการนำเสนอตามสำดับ 4) สรปุ (Conclusion) 5) เอกสารอา้ งองิ (Reference) 4. ระบบการอ้างองิ และเอกสารอ้างองิ ทางวชิ าการ เอกสารท่ีนำมาใช้ในการอ้างอิงบทความ ควรมีที่มาจากแหล่งตีพิมพ์ท่ีชัดเจน และมี ความน่าเชื่อถือ สามารถสืบค้นได้ เชน่ หนังสือ วารสาร หรืองานวิจัย เป็นต้น ผู้เขียนบทความ จะต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการอ้างอิง เพื่อป้องกนั ความล่าชา้ ในการตพี ิมพ์บทความ เนื่องจากบทความท่ีมีการอ้างอิงไม่ถูกต้อง จะไม่ได้รับการส่งต่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา จนกวา่ การอ้างอิงเอกสารจะได้รบั การแก้ไขให้สมบรู ณ์ การอา้ งองิ ในเน้อื หาบทความ รูปแบบการอ้างอิงในเน้ือเรื่องและท้ายเล่มใช้วิธีการอ้างอิงระบบนาม – ปี ตาม รูปแบบของ American Psychological Association (APA) ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้ วงเล็บ เปิด-ปิด แล้วระบุช่ือ-นามสกุลของผู้เขียนและปีท่ีตีพิมพ์ กำกบั ท้ายเนื้อความท่ีได้อา้ งอิง โดยการกรอกข้อมูลอ้างอิงในฟังก์ชั่นการอ้างอิง ของโปรแกรม Microsoft Word 2010 เป็น ต้นไป เอกสารอ้างอิงท่ีใช้อ้างอิงในบทความ จะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุก รายการ โดยรปู แบบของเอกสารอ้างอิง มีดงั นี้ อา้ งอิงจากเอกสารภาษาไทย 1) พระไตรปิฎกและอรรถกถาให้อ้างช่ือคัมภีร์ /เล่มท่ี/ขอ้ ที่/เลขหน้า มาด้วย ตัวอย่าง เช่น “ดูกรภิกษุท้ังหลาย จักร 4 ประการน้ี เป็นเคร่ืองเป็นไปแก่มนุษย์และเทวดาผู้ประกอบ
480 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.5 No.9 (September 2020) เป็นเคร่ืองที่มนุษย์และเทวดาประกอบแล้ว ย่อมถึงความเป็นผู้ใหญ่และความไพบูลย์ในโภคะ ท้งั หลาย ต่อกาลไม่นานนกั ” (องฺ.จตกุ กฺ . 21/31/37) เป็นตน้ 2) ผู้แตง่ หน่ึงราย ให้อ้างชื่อผ้แู ตง่ แล้วตามด้วยเครือ่ งหมายจุลภาค (,) และตามดว้ ยปที ่ี พมิ พ์ เช่น (พระมหาสุทติ ย์ อาภากโร, 2560) 3) ผู้แต่งสองราย ให้อ้างชื่อของผู้แต่งท้ังสองรายโดยใช้คำว่า “และ” ในการเช่ือม ผเู้ ขยี นท้ังสองแล้วตามดว้ ยเคร่ืองหมายจุลภาค (,) และปีทพ่ี มิ พ์ เช่น (พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และเขมณัฏฐ์ อินทรสวุ รรณ, 2560) 4) ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 รายให้อ้างช่ือของผู้แต่งรายแรกแล้วเพิ่มคำว่า “และคณะ” แลว้ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และตามดว้ ยปีที่พิมพ์ เช่น (ศุศราภรณ์ แต่งต้ังลำและคณะ , 2560) 5) กรณีทีเ่ น้อื ความเป็นเรือ่ งเดียวกนั หรอื ผลการวจิ ยั เหมือนกัน แตม่ ีผู้อ้างอิงหลายคน ให้ใช้รายการอ้างองิ ที่ใกล้เคยี งปปี ัจจุบนั มากทีส่ ุด อ้างอิงจากเอกสารภาษาองั กฤษ 1) ถ้ามีผู้แต่งหน่ึงรายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่ง ตามด้วยเคร่ืองหมายจุลภาค (,) และ ปีที่พิมพ์ เชน่ (Kiarash Abbaszadeh, 2007), (Kiarash, A., 2007) 2) ถ้ามีผู้แต่งสองรายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งท้ังสองราย โดยใช้เคร่ืองหมายแอนด์ (&) ค่ันกลางระหว่างนามสกุลของผู้แต่งท้ังสอง แล้วตามด้วยเคร่ืองหมายจุลภาค (,) และปีที่ พิมพ์ เช่น (Paul Hersey & Ken Blanchard, 2010), (Hersey, P. & Blanchard, K. 2010) 3) ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 รายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งรายแรกตามด้วย et al. ตาม ด้วยเคร่ืองหมายจุลภาค (,) และปีท่ีพิมพ์ (Kiarash Abbaszadeh et al., 2007), (Kiarash, A. et al., 2007) เอกสารอ้างองิ ทา้ ยเลม่ (1) พระไตรปิฎก อรรถกถา รปู แบบ : ผู้แตง่ .//(ปที ีพ่ มิ พ์).//ชอื่ พระไตรปิฎกอรรถกถา.//สถานท่ีพมิ พ์:/สำนกั พิมพห์ รือโรงพิมพ.์ ตัวอย่าง : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย. กรงุ เทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย. (2) หนงั สือ รูปแบบ : ผู้แต่ง.//(ปที พี่ ิมพ)์ .//ช่ือหนงั สือ.//(ครง้ั ที่พิมพ์).//สถานทีพ่ ิมพ/์ :/สำนักพมิ พห์ รอื โรงพมิ พ์.
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชิงพุทธ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 9 (กนั ยายน 2563) | 481 ตัวอย่าง : พระมหาสุทติ ย์ อาภากโร. (2548). เครือข่าย : ธรรมชาติ ความรู้ และการจัดการ. (พิมพ์ครั้งท่ี 2). กรงุ เทพมหานคร: พิสษิ ฐ์ ไทย ออฟเซต. (3) บทความในหนังสอื รปู แบบ : ผู้แต่ง.//(ปีท่ีพิมพ์).//ช่ือบทความ.//ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ).//ชื่อเรื่อง/(เลขหน้าที่ อา้ ง).//สถานทพี่ ิมพ/์ : /สำนกั พมิ พห์ รือโรงพิมพ.์ ตัวอยา่ ง : พระสุกิจจ์ สุจิณฺโณ. (2559). การสร้างความคิดนามธรรมในวัฒนธรรมไทย ใน ปวิตร ว่องวีระ. ทฤษฎี และวิธีวิทยาของการวิจัยวัฒนธรรม. (หน้า112). กรุงเทพมหานคร: อมั รนิ ทร์. (4) บทความจากวารสาร รปู แบบ : ผู้แต่ง.//(ปีท่ีพิมพ์).//ชื่อบทความ.//ช่ือวารสาร.//ปีท่ี/(ฉบับท่ี), /เลขหน้าแรก ที่ตีพิมพ์-เลข หนา้ สดุ ท้ายทต่ี พี ิมพ.์ ตัวอย่าง : ธิติวุฒิ หมั่นมี. (2557). การวางแผนและการติดต่อประสานงานเชิงพุทธ. วารสาร มจร สังคมศาสตรป์ รทิ รรศน์, 3(1), 25-31. (5) บทความในสารานุกรม รูปแบบ : ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ช่ือบทความ.//ใน ช่ือสารานุกรม,/(เล่มท่ีอ้าง, หน้า เลขหน้าที่อ้าง). สถานทีพ่ มิ พ์: /สำนกั พมิ พ์หรือโรงพมิ พ.์ ตัวอย่าง : สนิทอาจพันธ์. (2537). หม้อคอควาย. ใน สารานุกรมของใช้พื้นบ้านไทยในอดีตเขต หัวเมือง ฝ่ายเหนือ, (หนา้ 274-275). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริน้ ติ้งแอนดพ์ ลบั ลิชชิง่ . (6) หนงั สอื พิมพ์ รูปแบบ : ผ้แู ตง่ .//(วนั ที่ เดอื น ปที ่พี ิมพ์).//ชอื่ บทความ.//ชอ่ื หนังสือพมิ พ์,/เลขหน้า. ตวั อย่าง : สชุ าติ เผอื กสกนธ.์ (9 มิถนุ ายน 2549). ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง. ผู้จดั การรายวัน, น.13.
482 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.5 No.9 (September 2020) (7) สารนพิ นธ์, วิทยานิพนธ์, ดษุ ฎนี พิ นธ์, รายงานการวจิ ัย รปู แบบ : ผูแ้ ต่ง.//(ปีทพ่ี ิมพ)์ .// ชอ่ื วทิ ยานิพนธ์.//ใน/ ระดบั วทิ ยานพิ นธ์ สาขา./ช่อื มหาวิทยาลัยทพี่ มิ พ์. ตัวอย่าง : สมบูรณ์ ตาสนธิ. (2560). กระบวนการและขั้นตอนบรรลุอริยสัจ 4 ของพระอริยบุคคล. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาจุฬาลง กรณราชวทิ ยาลยั . นายมนัส ภาคภูมิ. (2540). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเจ้าอาวาสในการพัฒนาวัดให้เป็น ศนู ย์กลางชมุ ชน. ใน รายงานการวิจัย. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (8) สมั ภาษณ์ รปู แบบ: ชอื่ ผทู้ ่ีได้รับการสัมภาษณ์.//(วนั เดือน ปี ท่สี ัมภาษณ)์ .//ชอ่ื เรอ่ื งทสี่ ัมภาษณ์.//(ชอื่ ผ้สู มั ภาษณ์) ตัวอยา่ ง : วรพล ไม้สน (พลังวัชร). (5 พ.ย. 2559). หลักการ วิธีการ เป้าหมาย ในการปรึกษาทาง โหราศาสตร์. (นางณฐณัช แกว้ ผลึก, ผู้สมั ภาษณ์) (9) ส่อื ออนไลน์ รปู แบบ : ผแู้ ต่ง.//(ปีทีเ่ ผยแพร่).// ช่อื เรื่อง.//เรยี กใช้เม่ือ/ จาก แหล่งที่มาของข้อมูล (URL) ตัวอยา่ ง : ทวศี ักด์ิ อุน่ จติ ติกุล. (2561). พระพทุ ธศาสนาเถรวาท จะสืบทอดดำรงอยู่อย่างไร? เรียกใชเ้ มือ่ 15 มกราคม 2562 จาก https://www.dailynews.co.th/article/666936 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2561). เล่ือนข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทท่ัวไป ระดับชำนาญงาน คำสัง่ สำนกั งานพระพุทธศาสนาแหง่ ชาติ ที่ 593/2562 . เรียกใช้ เม่อื 15 มกราคม 2562 จาก http://www.onab.go.th/category/news/คำส่งั - ประกาศ/
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชงิ พทุ ธ ปีท่ี 5 ฉบบั ท่ี 9 (กนั ยายน 2563) | 483 (10) ราชกิจจานุเบกษา รปู แบบ: ช่อื กฎหมาย.//(ปที ่ีพมิ พ์).//ชื่อเรือ่ ง(ถา้ ม)ี .//ราชกิจจานุเบกษา เล่มที/่ ตอนท่ี/หน้า/(วันเดือนปี). ตวั อยา่ ง: พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับท่ี 4). (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนท่ี 57 ก หน้า 49 (1 พฤษภาคม 2562). ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม. (2562). เร่ือง กำหนดประเภทและ ข น า ด ข อ ง โ ค ร ง ก า ร ห รื อ กิ จ ก า ร ซึ่ ง ต้ อ ง จั ด ท ำ ร า ย ง า น ก า ร วิ เค ร า ะ ห์ ผ ล ก ร ะ ท บ สิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงาน การวิเคราะห์ผลกระบทส่ิงแวดลอ้ ม. ราชกจิ จนุเบกษา เล่ม 129 ตอนพิเศษ 97 ง หน้า 1 (20 มิถุนายน 2555). ตัวอย่างเอกสารอา้ งองิ เอกสารอา้ งองิ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2535). พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฎกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพมิ พม์ หาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั . พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺ.โต). (2551). การแพทย์ยุคใหม่ในพุทธทัศน์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรงุ เทพมหานคร: สหธรรมิก. ธิติวุฒิ หมั่นมี. (2557). การวางแผนและการติดต่อประสานงานเชิงพุทธ. วารสาร มจร สงั คมศาสตร์ปริทรรศน์, 3(1), 25-31. สมบูรณ์ ตาสนธิ. (2560). กระบวนการและขั้นตอนบรรลุอริยสัจ 4 ของพระอริยบุคคล. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาจุฬาลงกรณ- ราชวทิ ยาลยั . พระศรีคัมภีรญาณ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ). (2555). การจัดการศาสนาและ วัฒนธรรมในอุษา อาคเนย์เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ. เรียกใช้เมื่อ 4 กันยายน 2556 จาก http://www.mcu. ac.th/site/artidecontent_desc.php?artide_id=1304&articlegroup_id=274 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับท่ี 4). (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนท่ี 57 ก หน้า 49 (1 พฤษภาคม 2562). Boo Elizabeth. (1990). Ecotourism: The Potentials and Pitfalls. Vol. 1 and 2. World Wildlife Fund. Washington, D.C.
484 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.5 No.9 (September 2020) Kiarash, A. (2007). Human Dignity in Islamic Bioethics. The Iranian Journal of Allergy, 6 (5), 25-28. Kiarash Abbaszadeh. (2 0 0 7 ). Human Dignity in Islamic Bioethics. The Iranian Journal of Allergy, 6 (5), 25-28. 5. หลกั เกณฑ์การส่งต้นฉบบั บทความเพือ่ ไดร้ บั การตีพิมพ์ การส่งในระบบ (Online Submission) สามารถส่งเข้าระบบออนไลน์ได้เว็บไซต์ ของ วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธได้ท่ี https://www.tci-thaijo.org/index. php/JSBA เม่ือส่งเขา้ ระบบสำเร็จให้แจ้งข้อมูลเพม่ิ เติมทาง Email : [email protected] 6. ข้นั ตอนการนำบทความลงตพี มิ พ์ลงในวารสารสงั คมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชิงพุทธ ต้นฉบับบทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์ เอ ก ส าร *.docx ข อ ง Microsoft Word Version 2010 ห รือ ม าก ก ว่า ห าก ต้ น ฉ บั บ ประกอบด้วยภาพ ตาราง หรือสมการ ให้ส่งแยกจากไฟล์เอกสาร ในรูปแบบไฟล์ภาพ สกุล *.PDF*.JPG*.GIF ห รือ *.bmp ความยาวของต้นฉบับ ต้องไม่เกิน 1 2 หน้า (ไม่รวม เอกสารอ้างอิง) กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบ้ืองต้น เกี่ยวกับความถูกต้องของ รูปแบบท่ัวไป ถ้าไม่ผ่านการพิจารณาจะส่งกลับไปแก้ไข ถ้าผ่านจะเข้าสู่การพิจารณาของ ผทู้ รงคุณวุฒิเมื่อผลการประเมินผา่ นหรือไมผ่ ่านหรือมีการแกไ้ ข จะแจ้งผลให้ผู้เขียนทราบ โดย การพิจารณาบทความเพอื่ ลงตีพมิ พ์ไดจ้ ะคำนงึ ถึงความหลากหลายและความเหมาะสม 7. สิทธิของบรรณาธกิ าร ในกรณีท่ีกองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจ ประเมินบทความมีความเห็นว่าควรแก้ไข กองบรรณาธิการจะส่งคืนเพื่อให้เจ้าของบทความ แก้ไข โดยจะยึดถือข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินเป็นเกณฑ์หลัก และหรือขอ สงวนสิทธ์ิท่จี ะพจิ ารณาไมต่ ีพิมพ์ ในกรณีทร่ี ายงานการวจิ ัย บทความทางวิชาการหรือบทความ วิจัยไม่ตรงกับแนวทางของวารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธหรือไม่ผ่านการ พิจารณาของกองบรรณาธิการหรือผู้เช่ียวชาญเม่ือบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ผู้เขียนจะได้รับ วารสาร ลง้ิ คฉ์ บับที่นำบทความลงตีพิมพ์ พรอ้ มกับหนังสือรบั รองการตีพมิ พบ์ ทความในวารสาร สังคมศาสตรแ์ ละมานษุ ยวิทยาเชิงพุทธ
วารสารสังคมศาสตรแ์ ละมานุษยวทิ ยาเชิงพทุ ธ ปีท่ี 5 ฉบบั ที่ 9 (กนั ยายน 2563) | 485 ตวั อยา่ งการเตรยี มตน้ ฉบบั บทความวิจยั ชื่อบทความ (ไทย) (20 pt) ชอื่ บทความ (อังกฤษ) (18 pt) ชื่อ-นามสกุลผู้เขยี น (ไทย) (14 pt) ชอื่ -นามสกลุ ผู้เขียน (อังกฤษ) (12 pt) หนว่ ยงานต้นสงั กัด (ไทย) (14 pt) หนว่ ยงานตน้ สงั กดั (อังกฤษ) (12 pt) E-mail: (12 pt) บทคดั ย่อ (18 pt) (300 คำ) (16 pt) วัตถุประสงค์ของการวิจัย ระบุประเภทของวิจัย ประชากรกลุ่มตัวอย่าง เคร่ืองมอื ที่ใช้ในการวิจัย การเก็บรวบรวมขอ้ มูล สถิติทใ่ี ช้ในการวเิ คราะห์ข้อมลู ผลการวจิ ัยทพ่ี บ (เลือกนำเสนอเฉพาะผลการวจิ ัยที่ มีความน่าสนใจมากที่สดุ ) คำสำคญั : 3-5 คำ Abstract (18 pt) (300 คำ) (16 pt) ให้ตรงตามบทคดั ย่อภาษาไทย Keywords: 3-5 words
486 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.5 No.9 (September 2020) บทนำ (18 pt) (ไม่ควรเกิน 4 ยอ่ หนา้ ) (16 pt) 1. กล่าวถึงความเป็นมาแล้วความสำคัญของปัญหา โดยกว้าง ๆ (อ้าง นโยบาย กฎหมาย หรอื แนวคิดทฤษฎมี ารองรับ) 2. กล่าวถึงสภาพปญั หาปจั จบุ นั ท่ีเกิดขึ้น (อ้างงานวจิ ยั หรอื ทฤษฎมี ารองรับ 3. กล่าวถงึ สภาพปญั หาของประชากรกล่มุ ตัวอยา่ งที่ตอ้ งการศึกษา 4.สรุปความเป็นมาท้ังหมดช้ีให้เห็นถึงความสำคัญของการวิจัยและประโยชน์ท่ีคาด ว่าจะไดร้ ับ วตั ถปุ ระสงคข์ องการวจิ ัย (16 pt) 1. (16 pt) 2. (16 pt) 3. (16 pt) วธิ ดี ำเนินการวจิ ัย (18 pt) (16 pt) ระบุรปู แบบของการวิจัย, ประชากรและกลมุ่ ตวั อย่าง, วธิ กี ารได้มาซ่ึง กลุ่มตัวอย่าง, การสร้างเครือ่ งมอื และตรวจสอบคุณภาพเครอื่ งมือ, การเกบ็ รวบรวมข้อมูล การวเิ คราะห์ขอ้ มลู
วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวทิ ยาเชิงพุทธ ปีที่ 5 ฉบบั ที่ 9 (กนั ยายน 2563) | 487 ผลการวิจัย (18 pt) (16 pt) ผลการวจิ ยั ตอ้ งตอบวัตถุประสงคท์ ุกข้อ ภาพท่ี 1 (ชื่อภาพ) (ถ้ามี)
488 | Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.5 No.9 (September 2020) ตารางที่ 1 (ชอื่ ตาราง) (ถา้ ม)ี อภปิ รายผล (18 pt) (16 pt) อภปิ รายผลการวจิ ยั ทพี่ บตามวตั ถปุ ระสงค์ ผลการวิจัยสอดคล้องหรือไม่ สอดคล้องกบั ผลการวจิ ยั ของใคร สามารถนำมาอภิปรายได้ทง้ั หมด
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354
- 355
- 356
- 357
- 358
- 359
- 360
- 361
- 362
- 363
- 364
- 365
- 366
- 367
- 368
- 369
- 370
- 371
- 372
- 373
- 374
- 375
- 376
- 377
- 378
- 379
- 380
- 381
- 382
- 383
- 384
- 385
- 386
- 387
- 388
- 389
- 390
- 391
- 392
- 393
- 394
- 395
- 396
- 397
- 398
- 399
- 400
- 401
- 402
- 403
- 404
- 405
- 406
- 407
- 408
- 409
- 410
- 411
- 412
- 413
- 414
- 415
- 416
- 417
- 418
- 419
- 420
- 421
- 422
- 423
- 424
- 425
- 426
- 427
- 428
- 429
- 430
- 431
- 432
- 433
- 434
- 435
- 436
- 437
- 438
- 439
- 440
- 441
- 442
- 443
- 444
- 445
- 446
- 447
- 448
- 449
- 450
- 451
- 452
- 453
- 454
- 455
- 456
- 457
- 458
- 459
- 460
- 461
- 462
- 463
- 464
- 465
- 466
- 467
- 468
- 469
- 470
- 471
- 472
- 473
- 474
- 475
- 476
- 477
- 478
- 479
- 480
- 481
- 482
- 483
- 484
- 485
- 486
- 487
- 488
- 489
- 490
- 491
- 492
- 493
- 494
- 495
- 496
- 497
- 498
- 499
- 500
- 501
- 502
- 503
- 504
- 505
- 506
- 1 - 50
- 51 - 100
- 101 - 150
- 151 - 200
- 201 - 250
- 251 - 300
- 301 - 350
- 351 - 400
- 401 - 450
- 451 - 500
- 501 - 506
Pages: