คมู่ ือแนวทางการดำเนนิ งานสำนกั งานสเี ขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office
คมู่ ือแนวทางการดำเนนิ งานสำนกั งานสเี ขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office
คมู่ ือแนวทางการดำเนนิ งานสำนกั งานสเี ขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office
คมู่ ือแนวทางการดำเนนิ งานสำนกั งานสเี ขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office
คมู่ ือแนวทางการดำเนนิ งานสำนกั งานสเี ขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office
คมู่ ือแนวทางการดำเนนิ งานสำนกั งานสเี ขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office
คมู่ อื แนวทางการดำเนนิ งานสำนกั งานสีเขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office คำนำ ยทุ ธศาสตรช์ าติ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580 และแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ ฉบบั ท่ี 12 พ.ศ. 2560 - 2564 กำหนดยุทธศาสตร์การเติบโตท่ีเป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อม และแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ ๒ (๒๕๖1 – ๒๕6๕) ได้กำหนดเปา้ หมายกรงุ เทพมหานคร เป็นมหานครปลอดภัย และเป็น มหานครสีเขียว สะดวกสบาย โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหามลพิษและพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับ สถานการณ์ท่ัวโลกเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาท่ีย่ังยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) กรุงเทพมหานครได้ตระหนักว่า สำนักงานเป็นสถานที่หน่ึงที่มีการรวมตัวเพ่ือทำ กิจกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดมลพิษและของเสียที่เป็นสาเหตุของปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซ่ึงต้องได้รับการ จัดการอย่างถูกต้องเพ่ือสร้างสภาพแวดล้อมท่ีดีในสถานท่ีทำงานและบุคลากรมีสุขภาวะท่ีดี นำไปสู่การจัดการ สง่ิ แวดล้อมทย่ี ง่ั ยนื ในภาพรวม สำนักสิง่ แวดลอ้ ม สำนักการแพทย์ สำนักอนามยั สำนักการศกึ ษา สำนักการโยธา และสำนักงาน ปลัดกรุงเทพมหานคร ประสานความร่วมมือจัดตั้งโครงการสำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานคร (Bangkok Green Office) เพ่ือส่งเสริมให้การบริหารจัดการในสำนักงานเป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อม มีความปลอดภัยในสถานท่ีทำงาน และบคุ ลากรกรุงเทพมหานครมีสุขอนามัยท่ีดี ซ่ึงครอบคลุมการใชท้ รพั ยากรและพลังงานอย่างรคู้ ุณคา่ การจัดการ ของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดซ้ือจัดจ้างสินค้าท่ีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ออกมาในปริมาณต่ำ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติงานตามหลักการยศาสตร์ การสร้าง กระบวนการสื่อสารให้เกิดความรู้ความเข้าใจ การพัฒนาศักยภาพและการมีส่วนร่วมของบุคลากรในหน่วยงาน เพื่อให้การดำเนินงานสำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานครในหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานครเป็นไปดว้ ยความ เรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ปลัดกรุงเทพมหานครจึงเห็นชอบเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว กรุงเทพมหานคร (Bangkok Green Office) เพื่อเป็นเกณฑ์กลางสำหรับหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานครนำไป ปฏิบตั ิใหเ้ ปน็ ไปตามหลักการเดียวกนั คู่มือแนวทางการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานคร (Bangkok Green office) จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานครให้มีประมิทธิภาพมาก ข้นึ และเป็นไปตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานคร ทุกหน่วยงานสามารถทำความเข้าใจและ นำไปปฏบิ ตั ิได้ทันที ซงึ่ จะเห็นผลลัพธท์ เี่ กิดข้ึนกบั หน่วยงานอย่างเป็นรูปธรรมได้ สำนักสง่ิ แวดลอ้ ม กรงุ เทพมหานคร ก
คมู่ ือแนวทางการดำเนนิ งานสำนกั งานสเี ขียวกรุงเทพมหานคร หนา้ Bangkok Green Office ก ข สารบญั 1 2 หวั ขอ้ 5 5 คำนำ 7 สารบัญ 8 คำจำกดั ความ บทนำ 10 หมวดที่ 1 การบรหิ ารจดั การสำนกั งานสเี ขยี ว 11 1.1 การกำหนดนโยบายด้านส่งิ แวดล้อม 11 1.2 การแต่งตั้งคณะกรรมการสำนกั งานสเี ขียวของหนว่ ยงาน และระบหุ น้าที่ความรับผิดชอบ 12 1.3 การระบุประเดน็ ปัญหาทรัพยากรและส่งิ แวดล้อม 13 เพอื่ นำไปประเมนิ ความเสย่ี ง และจัดทำแผนงานโครงการ 13 1.4 กฎหมายและขอ้ กำหนดอืน่ ๆ ทีเ่ ก่ยี วข้อง 1.5 การสรา้ งกระบวนการสื่อสารให้เกดิ การพัฒนา 14 1.6 การพฒั นาศกั ยภาพบคุ ลากรและการมีสว่ นรว่ มของบุคลากรในหนว่ ยงาน 14 1.7 การจดั เกบ็ เอกสารตามมาตรฐาน 5 ส 20 1.8 การจัดกจิ กรรมของสำนกั งานท่ีเป็นมติ รกับสิง่ แวดล้อม 23 1.9 การจัดซอ้ื จดั จ้างสินค้าท่เี ปน็ มติ รกับส่ิงแวดลอ้ ม (Green Procurement) 25 25 หมวดท่ี 2 การจดั การสง่ิ แวดลอ้ ม ๒.๑ การจัดการมลู ฝอย 26 2.2 การจดั การนำ้ เสีย 2.3 การใช้น้ำ 27 2.4 การใชพ้ ลังงาน 27 2.4.1 การกำหนดมาตรการประหยดั ไฟฟ้าที่เป็นรูปธรรม 28 และเกดิ การปฏิบตั ติ ามมาตรการทกี่ ำหนดรว่ มกันทงั้ หน่วยงาน 2.4.2 การกำหนดมาตรการประหยดั นำ้ มนั เชอ้ื เพลิงที่เป็นรูปธรรม 29 และเกิดการปฏิบัติตามมาตรการทก่ี ำหนดร่วมกันทั้งหน่วยงาน 29 2.5 การใช้ทรพั ยากรอนื่ ๆ 2.5.1 การกำหนดมาตรการประหยัดกระดาษที่เป็นรูปธรรม 32 และเกิดการปฏิบัติตามมาตรการท่ีกำหนดร่วมกันท้ังหน่วยงาน 34 2.5.2 การกำหนดมาตรการประหยัดหมึกพิมพ์ท่ีเป็นรูปธรรม และเกิดการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดร่วมกนั ทง้ั หน่วยงาน ๒.6 Carbon footprint 2.6.1 การคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานสู่บรรยากาศ 2.6.2 การกำหนดเปา้ หมาย และตัวชวี้ ดั ที่ชดั เจน ๒.7 Innovation : การพฒั นานวตั กรรม GREEN ข
คู่มอื แนวทางการดำเนินงานสำนักงานสเี ขียวกรุงเทพมหานคร หนา้ Bangkok Green Office 35 35 สารบญั 36 37 หวั ขอ้ 38 38 หมวดท่ี 3 การจดั การความปลอดภยั อาชวี อนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน 39 3.1 ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน 3.2 มาตรฐานการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ตามหลกั การยศาสตร์ 40 3.3 การจัดการแสงสวา่ งในสำนักงาน 3.4 การจดั การมลพิษทางอากาศ 40 ๓.4.๑ การควบคุมมลพษิ ทางอากาศในสำนกั งาน 40 3.4.2 การรณรงค์ไม่สูบบุหร่หี รือมกี ารกำหนดพน้ื ที่สบู บุหร่ที ่เี หมาะสม 40 และปฏิบัตติ ามกฎหมาย 41 3.4.3 การจดั การมลพษิ อากาศจากภายนอกสำนักงานทสี่ ่งผลตอ่ สำนักงาน 41 3.5 การควบคุมมลพษิ ทางเสียง 42 3.6 การจัดสถานที่ทำงานน่าอยู่ 42 3.6.1 การวางแผนจดั การความน่าอยขู่ องสำนกั งาน 42 3.6.2 การใช้สอยพื้นท่ีเปน็ ไปตามวตั ถปุ ระสงคท์ ่ีสำนักงานกำหนด 43 3.6.3 การดแู ลบำรุงรกั ษาพ้ืนที่ 43 3.6.4 การควบคุมสัตวพ์ าหะนำโรค 3.7 การเตรียมพรอ้ มตอ่ สภาวะฉุกเฉนิ ผ1 3.7.1 การอบรมฝึกซอ้ มดบั เพลงิ และอพยพหนไี ฟ ผ2 3.7.2 การจดั ทำและปรบั ปรุงแผนฉุกเฉิน ผ3 3.7.3 การจดั เตรียมอปุ กรณเ์ พื่อปอ้ งกันอัคคภี ยั ง ภาคผนวก เกณฑ์การประเมนิ สำนกั งานสีเขียวกรงุ เทพมหานคร (Bangkok Green Office) ตวั อยา่ งแบบฟอร์มการรายงานสำนกั งานสีเขยี ว แบบตรวจประเมนิ สำนักงานสีเขียวกรงุ เทพมหานคร (Bangkok Green Office) อา้ งองิ ค
ค่มู ือแนวทางการดำเนนิ งานสำนกั งานสเี ขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office คำจำกัดความ สำนักงาน หมายถึง สถานที่ทำงานที่มีการออกแบบและก่อสร้างของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ท้งั ภายในและภายนอกอาคาร ที่ผู้ทำงานหรือผู้ประกอบอาชีพใช้เป็นท่ีปฏิบัติงานด้านเอกสาร ด้านการจัดประชุม และการจัดนิทรรศการ รวมไปถึงพื้นที่ใช้ประโยชน์อื่นๆ ภายในสำนักงาน ได้แก่ พื้นที่รับประทานอาหาร พื้นที่ประกอบอาหาร ห้องน้ำ ลานจอดรถ พื้นที่รองรับของเสีย ระบบบำบัดของเสีย ซ่ึงต้องมีการกำหนดขอบเขตพื้นท่ี และกิจกรรมของสำนักงาน สำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานคร (Bangkok Green office) หมายถึง สำนักงานท่ีมีกิจกรรมต่างๆ ภายในสำนักงาน ท่ีมีการบริหารจัดการที่ส่งผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมน้อยท่ีสุด โดยการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างรู้คุณค่า มีแนวทางในการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงาน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาในปริมาณต่ำ รวมถึงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการมสี ่วนรว่ มของพนักงาน เพ่ือสุขอนามัยของบคุ ลากรกรงุ เทพมหานคร 1
คูม่ ือแนวทางการดำเนินงานสำนกั งานสเี ขยี วกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office บทนำ แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2556-2575) กำหนดเป้าหมายภายใน 20 ปี เพื่อให้กรุงเทพมหานครเป็นมหานครแห่งเอเชีย และในช่วง 10 ปีแรก กรุงเทพมหานครจะก้าวขึ้นสู่การเป็น มหานครท่ีมีความสะดวกสบาย ประหยัดและเป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อม อีกท้ังแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560 – 2564 กำหนดยุทธศาสตร์การเติบโตท่ีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพ่ือการพัฒนาที่ยั่งยืน และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580 กำหนดยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิต ท่เี ป็นมติ รกับสิง่ แวดล้อม กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการจัดทำเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานคร (Bangkok Green Office) เพ่ือให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครใช้เป็นแนวทางในการจัดการสำนักงาน ให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีโดยส่งเสริมให้สำนักงานมีการจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การจัดการคว ามปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึง่ การดำเนนิ การจะครอบคลุมทุกหน่วยงานในสังกัดกรงุ เทพมหานคร ทม่ี าและความสำคัญของการดำเนินงานสำนกั งานสีเขยี วกรุงเทพมหานคร (Bangkok Green Office) 1. ประธานคณะกรรมการการรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม ประจำสภากรุงเทพมหานคร เชิญสำนักสิ่งแวดล้อม สำนักการแพทย์ สำนักอนามัย และสำนักการศึกษา เข้าร่วมประชุมชี้แจงรายละเอียด และหารือแนวทางการส่งเสริมใหก้ รุงเทพมหานครเป็นสำนักงานปลอดมลพิษ (Green and Clean Office) เม่อื วันท่ี 6 ธันวาคม 2561 ซ่ึงมีนายชยาวุธ ศิริยุทธ์วัฒนา ประธานคณะกรรมการการรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม ประจำสภากรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุม ที่ประชุมมีมติมอบหมายให้มีการกำหนดเกณฑ์สำนักงานสีเขียว กรงุ เทพมหานคร เพ่ือเปน็ เกณฑ์กลางสำหรับหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครนำไปปฏิบัติ 2. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายจักกพันธ์ุ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครปฏิบัติ ราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) เห็นชอบในหลักการดำเนินโครงการสำนักงานปลอดมลพิษ (Green and Clean Office) ในกรุงเทพมหานคร โดยมอบสำนักสิ่งแวดล้อมประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน ท่ีเก่ียวข้องในการดำเนินการ และได้แต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานปลอดมลพิษ (Green and Clean Office) ตามแนวทางสำนักงานสีเขียว ตามคำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 1202/2562 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 โดยให้มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสำนักงานปลอดมลพิษ (Green and Clean Office) เพื่อจัดทำเกณฑ์การประเมิน สำนักงานปลอดมลพษิ (Green and Clean Office) ตามแนวทางสำนกั งานสีเขียว 3. คณะอนุกรรมการสำนักงานปลอดมลพิษ (Green and Clean Office) ตามแนวทางสำนักงานสีเขียว ได้มีมติเห็นชอบให้เปล่ียนช่ือจากเกณฑ์สำนักงานปลอดมลพิษ (Green and Clean Office) ตามแนวทาง สำนักงานสีเขียว เป็น “เกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานคร (Bangkok Green Office)” รวมท้ัง ได้ร่วมกันพิจารณากำหนดรายละเอียดจากการทบทวนเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวของหน่วยงาน ทเี่ กีย่ วข้อง ได้แก่ 3.1 เกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวของกรมส่งเสริมคุณภาพส่ิงแวดล้อม ประกอบด้วย 6 หมวด ได้แก่ 2
คมู่ อื แนวทางการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office หมวด ๑ นโยบายวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรงุ อยา่ งต่อเน่อื ง หมวด ๒ การส่อื สารและสร้างจติ สำนึก หมวด ๓ การใชท้ รพั ยากรและพลังงาน หมวด ๔ การจดั การของเสยี หมวด ๕ สภาพแวดลอ้ มและความปลอดภยั หมวด ๖ การจดั ซือ้ และจดั จา้ ง 3.2 การดำเนนิ งานท่สี ่งเสรมิ ให้กรงุ เทพมหานครเป็นสำนักงานปลอดมลพิษ (Green and Clean Office) การดำเนินงานท่ีส่งเสริมใหก้ รุงเทพมหานครเป็นสำนักงานปลอดมลพษิ (Green and Clean Office) มีหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครบางแห่งนำเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวของกรมส่งเสริมคุณภาพ ส่ิงแวดล้อม และเกณฑ์อ่นื ทเ่ี กยี่ วข้องมาปรับใชก้ บั หนว่ ยงาน ไดแ้ ก่ 1) สำนักส่ิงแวดล้อม ดำเนินงานโครงการสำนักงานสีเขียวมีสุขภาวะ (Green & Healthy Office) เป็นโครงการใหบ้ ริการที่ดีทีส่ ุดฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 กำหนดพ้ืนท่ีดำเนินงานในอาคารธานีนพรัตน์ ชั้น 9 – 12 (สำนักงานของสำนักสิ่งแวดล้อม) ซ่ึงได้นำเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวของกรมส่งเสริม คณุ ภาพสิ่งแวดลอ้ มมาปรบั ใช้ในการดำเนินงานโครงการ ส่งิ ทไ่ี ด้จากการดำเนินงาน - สำนักงานสะอาด ปลอดฝุน่ ละออง และมลพษิ ทางอากาศ มแี สงสว่างเพียงพอ - สำนักงานมสี ภาพแวดล้อมทดี่ ี เป็นระเบียบเรียบร้อย - บุคลากรมสี ขุ ภาพดี คณุ ภาพชวี ิตทดี่ ี - หนว่ ยงานในสงั กัดกรงุ เทพมหานคร ใชท้ รัพยากรอย่างคุม้ คา่ - บคุ ลากรมีวินยั มีความเข้าใจเรอ่ื งการจัดการสง่ิ แวดล้อม ส่ือสารแนะนำประชาชนร่วม ดูแลรักษาส่งิ แวดลอ้ ม 2) สำนักการแพทย์ ดำเนินงานโครงการ BANGKOK GREEN & CLEAN Office PLUS (BKKGC+) ซึ่งดำเนินงานร่วมกบั กรมอนามยั กระทรวงสาธารณสขุ ตั้งแตป่ ี 2561 โดยการดำเนินการจัดทำเกณฑ์ การประเมินโรงพยาบาล และเกณฑ์การประเมินสำนักงาน ได้นำเกณฑ์ต่างๆ ได้แก่ เกณฑ์การประเมินสำนักงาน สีเขียวของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และเกณฑ์ GREEN & CLEAN Hospital ของสถาบันพัฒนาสุขภาวะ เขตเมือง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข มาปรับเป็นเกณฑ์ Bangkok GREEN & CLEAN Hospital Plus (BKKGC+) เพื่อใหเ้ หมาะสมกับพ้ืนท่ใี นเขตเมือง 3) สำนักอนามยั ดำเนนิ งานโครงการ Clean and Green ของกรุงเทพมหานคร ซง่ึ เปน็ โครงการ ท่ีดำเนินงานต้ังแต่ปี 2555 เป็นต้นมา มีกลุ่มเป้าหมายเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ วัด มัสยิด โรงเรียน ตลาด ห้างสรรพสินค้า โรงแรม และสถานีบริการน้ำมันเช้ือเพลิง โดยมีเกณฑ์การประเมิน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความสะอาด ดา้ นความปลอดภยั ดา้ นสิ่งแวดล้อม ด้านการมีส่วนรว่ ม และดา้ นบริหารจดั การ ต้ังแต่ปี พ.ศ. 2562 – 2564 สำนักสิ่งแวดล้อมได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานในสังกัด กรุงเทพมหานคร ได้แก่ สำนักการแพทย์ สำนักอนามัย สำนักการศึกษา สำนักการโยธา และสำนักงานปลัด กรุงเทพมหานคร ร่วมเป็นคณะกรรมการฯ และคณะอนุกรรมการฯ ในการกำหนดเกณฑ์การประเมินสำนักงา น สีเขียวกรงุ เทพมหานคร (Bangkok Green Office) ซ่ึงได้มกี ารนำเกณฑ์การประเมนิ สำนักงานสเี ขียวตามโครงการ BANGKOK GREEN & CLEAN Office PLUS (BKKGC+) ของสำนักการแพทย์ และเกณฑ์การประเมินสำนักงาน สีเขียวของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพิ่มเติมกิจกรรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย มาปรบั ใชเ้ ป็นเกณฑ์การประเมนิ สำนกั งานสีเขยี วกรุงเทพมหานคร (Bangkok Green Office) อกี ด้วย 3
คู่มือแนวทางการดำเนินงานสำนักงานสีเขยี วกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office 4. คณะอนุกรรมการฯ ได้ดำเนินการจัดทำเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานคร (Bangkok Green Office) พร้อมทั้งนำเสนอต่อคณะกรรมการฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างเกณฑ์การประเมินฯ เรยี บรอ้ ยแลว้ ซึ่งมรี ายละเอียดการประเมนิ 3 หมวด 33 ตวั ช้ีวัด ประกอบดว้ ย หมวดที่ 1 การบริหารจดั การสำนกั งานสเี ขยี ว หมวดท่ี 2 การจัดการสง่ิ แวดลอ้ ม หมวดท่ี 3 การจัดการความปลอดภยั อาชวี อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 5. ปลัดกรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานคร (Bangkok Green Office) เพ่ือให้หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครดำเนินงานตามเกณฑ์การประเมินฯ โดยเร่ิม ดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 พร้อมทั้งมอบหมายให้สำนักสิ่งแวดล้อมจัดทำ “คู่มือการดำเนินงาน ตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานคร (Bangkok Green Office)” เพ่ือสนับสนุนการดำเนินงาน ตามเกณฑก์ ารประเมินฯ ของหนว่ ยงานในสงั กัดกรุงเทพมหานคร ขนั้ ตอนการดำเนนิ งานสำนกั งานสีเขยี วกรงุ เทพมหานคร 1. สำนักส่ิงแวดล้อมเวียนแจ้งและชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามเกณฑ์การประเมินสำนักงาน สีเขียวกรุงเทพมหานคร (Bangkok Green Office) ให้กับหนว่ ยงานในสังกัดกรงุ เทพมหานครทราบ 2. หน่วยงานดำเนินงานตามเกณฑ์การประเมินฯ (โดยมีคู่มือแนวทางการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว กรุงเทพมหานคร (Bangkok Green Office) เป็นแนวทางในการปฏิบัติ) ส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนในหน่วยงาน มสี ่วนร่วมในการดำเนินงานตามมาตรการ พรอ้ มทัง้ ตดิ ตามผลและรายงานผลในสว่ นทเ่ี ก่ียวข้อง 3. คณะกรรมการส่งเสริมการดำเนินงานตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานคร ติดตามการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานครของทุกหน่วยงานตามเกณฑ์การประเมินฯ รวมทั้งให้ คำปรึกษาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและพัฒนาเพ่ือการดำเนินงานอย่างตอ่ เน่อื ง 4. หน่วยงานดำเนินงานพร้อมทั้งรวบรวมขอ้ มูลทเี่ ก่ียวข้องเพื่อรายงานผลการดำเนินงานสำนกั งานสีเขยี ว กรุงเทพมหานครตามแบบรายงานทก่ี ำหนดตามเกณฑ์การประเมินฯ 5. คณะกรรมการส่งเสริมฯ ลงพ้ืนที่เพ่ือติดตาม ตรวจประเมิน และรวบรวมข้อมูลสรุปผลการตรวจ ประเมนิ ฯ จากทกุ หน่วยงาน 6. คณะกรรมการส่งเสริมฯ รวบรวมสรุปรายงานผลการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานคร ตอ่ ผ้บู ริหารกรุงเทพมหานคร ปลี ะ 1 ครั้ง ระดบั การจัดการสิ่งแวดลอ้ ม ตามเกณฑก์ ารประเมนิ สำนกั งานสีเขยี วกรุงเทพมหานคร (Bangkok Green Office) การจัดระดับการจัดการส่ิงแวดล้อม ตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานคร พจิ ารณาจากผลการประเมินตามเกณฑ์การประเมินฯ ดงั น้ี 1. ระดับทองแดง (ด)ี คะแนน รอ้ ยละ 60 – 79 2. ระดับเงนิ (ดีมาก) คะแนน ร้อยละ 80 – 89 3. ระดบั ทอง (ดเี ย่ยี ม) คะแนน ร้อยละ 90 ขึน้ ไป 4
คู่มอื แนวทางการดำเนินงานสำนกั งานสีเขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office หมวดที่ 1 การบรหิ ารจดั การสำนกั งานสีเขยี ว 1.1 การกำหนดนโยบายดา้ นส่งิ แวดลอ้ ม นโยบายการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่ถูกกำหนดขึ้นโดยผู้บริหารของหน่วยงาน เพื่อให้สำนักงานดำเนินการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนด ซึ่งนโยบายสิ่งแวดล้อมที่ดี จะต้องมีความชัดเจนและง่ายตอ่ การอธบิ ายให้บคุ ลากรในสำนกั งาน รวมถึงบุคคลภายนอกและผู้สนใจทว่ั ไป ข้นั ตอนการดำเนนิ งาน ขั้นตอนที่ 1 หน่วยงานกำหนดบริบทของหน่วยงานและขอบเขตการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยต้องมีแผนผัง ของสำนักงานทีช่ ดั เจน แบง่ เปน็ พ้นื ท่ีและกจิ กรรมภายในสำนักงานและภายนอกสำนักงาน ข้ันตอนท่ี 2 หนว่ ยงานกำหนดแผนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานครประจำปี โดยระบุการดำเนนิ งาน ครบถ้วนทุกหมวด มีการกำหนดเวลาหรือความถี่ของการดำเนินการของแต่ละหมวด และได้รับการอนุมัติ จากผบู้ ริหาร ขน้ั ตอนที่ 3 หน่วยงานกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว กรุงเทพมหานคร (Bangkok Green Office) ดงั นี้ 1) การปรบั ปรงุ ระบบการจัดการสงิ่ แวดล้อมอยา่ งตอ่ เน่ือง1 2) ควบคุม ป้องกัน ลดผลกระทบด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน มลพิษและของเสีย รวมไปถึง การจัดซ้อื จดั จา้ ง และบรกิ ารทีเ่ ป็นมติ รกับส่ิงแวดล้อม เพ่ือนำไปสู่การลดการปลอ่ ยก๊าซเรอื นกระจก 3) การปฏิบัติตามกฎหมาย และเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานคร (Bangkok Green Office) 4) การสร้างความรู้และความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมกับบุคลากรทั้งภายในและภายนอก รวมถงึ ผู้เก่ียวข้อง 5
คู่มอื แนวทางการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office รปู ท่ี 1.1 นโยบายสงิ่ แวดลอ้ ม สำนักสง่ิ แวดลอ้ ม กรงุ เทพมหานคร พ.ศ. 2563 ข้นั ตอนที่ 3 หน่วยงานเผยแพร่นโยบายส่ิงแวดล้อม โดยมีการประกาศช้ีแจง การประชุม และการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ ติดบอรด์ แจกจา่ ยเอกสารนโยบาย เผยแพรผ่ า่ นทางเว็บไซตห์ รือสงั คมออนไลน์ของสำนักงาน ขนั้ ตอนที่ 4 หน่วยงานทบทวนและปรับปรุงนโยบายสิ่งแวดล้อม อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ให้มีความทันสมัย และเหมาะสมกับบริบทหน่วยงาน แนวทางการบริหาร หรือกิจกรรมในสำนักงาน หากทบทวนแล้วไม่มีการเปลี่ยนแปลง ยังสามารถยดึ นโยบายสิง่ แวดลอ้ มแบบเดิมได้ คำอธิบาย 1. การปรับปรุงระบบการจัดการสงิ่ แวดลอ้ มอยา่ งต่อเนื่อง จะตอ้ งคำนงึ ถึงความเพียงพอของทรัพยากรในการดำเนนิ งาน การเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม และการติดตามผลการดำเนินงาน ด้านสงิ่ แวดลอ้ ม ขอ้ รอ้ งเรยี นด้านส่งิ แวดล้อม พร้อมท้งั แนวทางการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนา ข้อปฏิบัติให้ผา่ นเกณฑก์ ารประเมิน 1. กำหนดนโยบายสิง่ แวดลอ้ มให้ครอบคลมุ เนื้อหาใหเ้ ป็นไปตามเกณฑก์ ารประเมินฯ โดยไม่จำกดั จำนวนขอ้ 2. ประกาศนโยบายสิ่งแวดล้อมซ่ึงได้รับความเห็นชอบและมีการลงนามของผู้บริหาร โดยติดประกาศและ ประชาสัมพนั ธ์เพ่อื ใหบ้ คุ ลากรทุกคนในสำนกั งาน ตลอดจนประชาชนท่ีมารบั บรกิ ารได้รบั ทราบ 3. ประชุมชี้แจงให้บุคลากรรับทราบ โดยกำหนดวาระการประชุมของหน่วยงาน เพ่ือช้ีแจงรายละเอียดนโยบาย สิ่งแวดล้อม และปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายสิ่งแวดล้อมที่กำหนด รวมถึงหากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย จะต้องสือ่ สารใหมท่ ุกคร้ัง 6
คูม่ อื แนวทางการดำเนนิ งานสำนกั งานสีเขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office หลกั ฐานการตรวจประเมนิ 1. เอกสารบริบทของหน่วยงานและขอบเขตการจัดการส่งิ แวดล้อม 2. เอกสารแผนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานครประจำปี พร้อมการลงนามอนุมัติ ตามแบบฟอร์ม 1.1 (ตัวอยา่ งแบบฟอร์มดังภาคผนวก) 3. เอกสารนโยบายสิง่ แวดล้อม หรือนโยบายสำนักงานสีเขียวของสำนักงานทสี่ อดคลอ้ งกับเกณฑ์การประเมนิ ฯ 5. เอกสารนโยบายสิ่งแวดล้อมของสำนักงานที่มีหลักฐานการลงนามจากผู้บริหารสูงสุดหรือผู้มีอำนาจ รวมถงึ วันทปี่ ระกาศใช้นโยบายอย่างชดั เจน 1.2 การแตง่ ตั้งคณะกรรมการสำนกั งานสีเขียวของหนว่ ยงาน และระบุหน้าที่ความรับผดิ ชอบ การแต่งตั้งคณ ะกรรมการสำนักงานสีเขียวของหน่วยงาน เป็น การกำหน ดบทบ าท หน้าที่แล ะ ความรับผิดชอบของบุคลากรท่ีมีความสามารถตรงกับงานท่ีได้รับมอบหมายให้ได้รับการคัดเลือกเป็นคณะกรรมการ เพื่อให้เกิดประสิทธภิ าพในการทำงาน โดยบทบาทความรับผิดชอบของคณะกรรมการจะต้องส่ือสารให้บุคลากรทุกคน ได้รบั ทราบท่ัวถงึ กนั ข้นั ตอนการดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 1 หนว่ ยงานคัดเลือกบุคลากรเพอ่ื แตง่ ตั้งเป็นคณะกรรมการสำนักงานสเี ขยี ว ประกอบดว้ ย 2 สว่ น คือ สว่ นท่ี 1 ประธานคณะกรรรมการ มอี ำนาจหนา้ ทหี่ ลกั ในการบรหิ ารงานสำนักงานสีเขยี ว ส่วนที่ 2 คณะกรรมการสำนักงานสีเขยี ว โดยสว่ นใหญเ่ ปน็ หวั หนา้ งานหรือผู้แทนของหน่วยงาน ขน้ั ตอนท่ี 2 ผู้บริหารแตง่ ตั้งคณะกรรมการสำนกั งานสีเขียวของหนว่ ยงาน โดยมแี นวทางการดำเนนิ งานดงั นี้ 1) แต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียวอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามอนุมัติ โดยคณะกรรมการฯ จะต้องครอบคลุมทกุ หมวดและบคุ ลากรหรือผแู้ ทนจากทุกฝา่ ยในหน่วยงาน 2) กำหนดอำนาจ บทบาท หน้าทรี่ บั ผดิ ชอบของคณะกรรมการฯ อยา่ งชัดเจน ขน้ั ตอนที่ 3 คณะกรรมการฯ ดำเนนิ การสอ่ื สารเพ่อื ให้บคุ ลากรทุกคนในสำนักงานไดร้ ับทราบทว่ั ถึงกัน ขั้นตอนท่ี 4 คณะกรรมการฯ ของหน่วยงานจัดประชุม อย่างน้อย 1-3 ครั้งต่อปี และมีการจัดทำรายงาน การประชมุ ทกุ คร้ัง ขอ้ ปฏิบตั ิใหผ้ า่ นเกณฑก์ ารประเมิน 1. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ โดยกำหนดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรให้เป็นปัจจุบัน และสื่อสาร ให้รับทราบทั่วกันโดยนำคำส่ังแต่งต้ังคณะกรรมการฯ หรือโครงสร้างคณะกรรมการฯ ติดประกาศ เช่น บอร์ด ประชาสัมพนั ธ์ หรือเผยแพรผ่ า่ นช่องทางการส่อื สารต่างๆ 2. แต่งตั้งคณะกรรมการฯ ที่มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ และเพียงพอครอบคลุม การดำเนนิ งานในแตล่ ะด้าน หลักฐานการตรวจประเมิน คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียวของหน่วยงานตามแนวทางการดำเนินงานที่กำหนด พรอ้ มลงนามอนมุ ตั ิจากผูบ้ รหิ าร 7
คู่มอื แนวทางการดำเนนิ งานสำนกั งานสีเขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office 1.3 การระบปุ ระเดน็ ปญั หาทรพั ยากรและสิง่ แวดล้อม เพ่ือนำไปประเมนิ ความเส่ียง และจดั ทำแผนงานโครงการ ขัน้ ตอนการดำเนินงาน ข้นั ตอนที่ 1 การระบแุ ละประเมนิ ปัญหาดา้ นสิ่งแวดลอ้ ม เพ่อื จดั ลำดับความสำคญั ของปญั หามีแนวทางดังนี้ 1) กำหนดผู้รับผิดชอบในการรวบรวมกิจกรรมของสำนักงาน โดยมอบหมายคณะกรรมการ สำนกั งานสเี ขยี วจะต้องดำเนินการรว่ มกนั เพอื่ หารอื และสรปุ ขัน้ ตอนการทำงานของหนว่ ยงานตนเอง 2) รวบรวมกิจกรรมของสำนักงานให้ครบถ้วน โดยรวบรวมในแต่ละขั้นตอนของการทำงาน เพ่ือให้ทราบถึงลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม การใชท้ รัพยากรและพลังงานท่ีเกิดขึ้นในแต่ละกิจกรรมของการทำงาน และถ้าหน่วยงานมีกิจกรรมเพ่ิมเติม เช่น การก่อสร้างอาคาร การซ่อมแซมปรับปรุงอาคาร เป็นต้น จะต้องระบุ กจิ กรรมดงั กลา่ วด้วย 3) บ่งชี้ปัญหาส่ิงแวดล้อม การใช้ทรัพยากรและพลังงาน โดยวิเคราะห์ผังกระบวนการทำงาน (Process Flow Analysis) แสดงปจั จยั นำเขา้ 1 (Input) และปัจจัยนำออก2 (Output) 4) นำประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมท่ีได้จากการสำรวจและวิเคราะห์จากกิจกรรมต่างๆ มาระบุลงใน ตารางประเด็นปัญหาส่ิงแวดล้อม โดยผู้รับผิดชอบแต่ละหน่วยงานจะต้องทำการวิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อม ให้ชัดเจนว่า เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมทางตรง3 หรือปัญหาสิ่งแวดล้อมทางอ้อม4 ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น อยูใ่ นขอบเขตสภาวะปกติ5 สภาวะผิดปกต6ิ หรือสภาวะฉกุ เฉิน7 5) จัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ8 เพื่อจะได้ทราบถึงความสำคัญ ของประเดน็ ปญั หา โดยสามารถพิจารณาจากรระดับความรุนแรงของปัญหา แบ่งออกเปน็ 3 ระดบั ไดแ้ ก่ ระดับรุนแรงมาก ได้แก่ ปัญหาท่ีเกิดข้ึนไม่สามารถแก้ไขและควบคุมได้ และปัญหามีแนวโน้ม ทีจ่ ะเพม่ิ ตลอดเวลา สง่ ผลกระทบต่อสง่ิ แวดล้อมและมนษุ ย์อยา่ งมาก ระดบั ความรนุ แรงปานกลาง ได้แก่ ปัญหาท่ีเกดิ ขึ้นสามารถแก้ไขและควบคุมได้บางสว่ น สง่ ผลกระทบ ตอ่ ส่งิ แวดลอ้ มและมนุษยร์ ะดบั ปานกลาง ระดับความรุนแรงน้อย ได้แก่ ปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถควบคุมหรือแก้ไขได้ ส่งผลกระทบ ตอ่ สิง่ แวดลอ้ มและมนษุ ย์ในระดับตำ่ ขน้ั ตอนท่ี 2 ผู้รับผิดชอบวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยนำประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ มาศึกษาเพ่อื หาแนวทางการป้องกันและแก้ไขผลกระทบทเ่ี กิดข้นึ ข้ันตอนท่ี 3 ผู้รับผิดชอบจัดทำแผนงานหรือโครงการที่นำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเน่ือง ระบุชื่อผู้รับผิดชอบ แสดงไว้ในแผนงานหรือโครงการ โดยกิจกรรมในโครงการจะต้องมีความแตกต่างจากกิจกรรมและมาตรการ การใช้ทรัพยากรต่างๆ เช่น พลังงาน มูลฝอย และอื่นๆ ท่ีได้กำหนดในหมวดที่ 2 และ 3 หรือแนวทางเดิมที่เคยปฏิบัติ ในสำนกั งาน ข้ันตอนที่ 4 ผู้รับผิดชอบกำหนดองค์ประกอบของแผนงานหรือโครงการ ได้แก่ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด กระบวนการ งบประมาณ ผ้รู บั ผดิ ชอบโครงการ ภายในปีงบประมาณทร่ี บั การประเมิน 8
คูม่ ือแนวทางการดำเนินงานสำนักงานสเี ขยี วกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office รปู ท่ี 1.2 โครงการลด แยก แลกตน้ ไม้ สวนธนบรุ รี มย์ สำนกั สง่ิ แวดลอ้ ม กรุงเทพมหานคร ข้นั ตอนท่ี 5 ผรู้ ับผดิ ชอบเผยแพรข่ ้อมลู ใหบ้ คุ ลากรได้รับรู้เขา้ ใจ คำอธบิ าย 1. ปัจจยั นำเข้า (Input) หมายถงึ วัตถุดิบ ทรัพยากร พลังงาน เคร่ืองสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นตน้ 2. ปัจจัยนำออก (Output) หมายถึง ผลติ ภัณฑ์ ของเสีย ปัญหาสิ่งแวดล้อม (คณะกรรมการสำนักงานสเี ขียวหรือ ผู้รบั ผิดชอบควรลงสำรวจพื้นที่ของสำนักงาน เพื่อชว่ ยในการบง่ ชีป้ ญั หาสงิ่ แวดล้อมใหม้ ีความชดั เจนมากข้ึน) 3. ปญั หาส่งิ แวดล้อมทางตรง หมายถึง ปญั หาสิง่ แวดล้อมทีเ่ กิดจากการดำเนินการของบุคลากรของหน่วยงาน 4. ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางอ้อม หมายถึง ปัญหาสิ่งแวดล้อมท่ีเกิดจากบุคคลภายนอกหน่วยงาน เช่น ผู้รับเหมา ผรู้ ับจ้างชว่ ง ผู้เขา้ มาใชบ้ รกิ าร เป็นตน้ 5. ปญั หาสง่ิ แวดล้อมสภาวะปกติ หมายถงึ ปัญหาส่ิงแวดลอ้ มท่เี กิดเปน็ ประจำทุกคร้ังเมื่อทำกิจกรรมน้นั ๆ 6. ปัญหาสิ่งแวดล้อมสภาวะผิดปกติ หมายถึง ปัญหาส่ิงแวดล้อมท่ีเกิดเป็นคร้ังคราว เช่น สารเคมีหกรั่วไหล ปริมาณไม่มาก ท่อนำ้ แตก เป็นต้น 7. ปัญหาส่ิงแวดล้อมสภาวะฉุกเฉิน หมายถึง ปัญหาส่ิงแวดล้อมที่เกิดเป็นคร้ังคราวและมีความรุ่นแรงมากกว่า สภาวะผดิ ปกติ เช่น เพลิงไหม้ สารเคมหี กรว่ั ไหลปรมิ าณมาก ก๊าซพิษรว่ั ไหล เป็นต้น 8. ปัญหาส่งิ แวดลอ้ มทม่ี ีนยั สำคญั หมายถงึ ปัญหาสง่ิ แวดลอ้ มทมี่ ีระดบั ความรุนแรงปานกลางข้ึนไป ข้อปฏบิ ตั ใิ ห้ผ่านเกณฑ์การประเมิน 1. ระบแุ ละประเมินปัญหาดา้ นสงิ่ แวดลอ้ มใหส้ อดคล้องกบั ปญั หาทีเ่ กิดขึน้ จรงิ 2. หาแนวทางการปอ้ งกนั และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมท่ีมนี ัยสำคญั หรือความรนุ แรงระดบั ปานกลางข้นึ ไป 3. มีการส่ือสารปัญหาส่ิงแวดล้อม และแนวทางปฏิบัติตามแผนงานหรือโครงการ เพ่ือการจัดการปัญหา สงิ่ แวดลอ้ มใหบ้ ุคลากรในสำนักงานทราบ หลักฐานการตรวจประเมนิ 1. เอกสารการระบุและประเมินปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามแบบฟอร์ม 1.3 (1) - 1.3 (4) (ตัวอย่างแบบฟอร์ม ดงั ภาคผนวก) 2. เอกสารแผนงานหรอื โครงการที่มอี งคป์ ระกอบตามขั้นตอนท่ี 3 และ 4 ครบถว้ น 3. หลกั ฐานการเผยแพร่ขอ้ มลู ให้บุคลากรในสำนักงาน 9
คูม่ ือแนวทางการดำเนนิ งานสำนกั งานสเี ขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office 1.4 กฎหมายและขอ้ กำหนดอน่ื ๆ ทเ่ี ก่ยี วขอ้ ง การรวบรวมกฎหมายที่เก่ียวข้องด้านส่ิงแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน1 รวมถึงกฎหมายส่ิงแวดล้อมท้องถิ่น2 ด้วย ซ่ึงได้มาจากการค้นคว้าจากแหล่งท่ีมาของกฎหมาย ท่ีน่าเชื่อถือ เช่น หน่วยงานราชการ และเว็บไซต์ที่ รวบรวมกฎหมายโดยเฉพาะ เช่น www.pcd.go.th www.shawpat.or.th และ www.ratchakitcha.go.th เปน็ ต้น ขน้ั ตอนการดำเนนิ งาน ขน้ั ตอนที่ 1 หน่วยงานกำหนดผู้รับผิดชอบที่มีความเข้าใจในการรวบรวมกฎหมายที่เก่ียวข้องด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ขั้นตอนท่ี 2 ผรู้ ับผิดชอบจัดทำรายการกฎหมายที่ครอบคลุมปัญหาสิ่งแวดล้อมและบริบทของหน่วยงาน ขัน้ ตอนท่ี 3 ผรู้ บั ผิดชอบประเมินความสอดคลอ้ งของการดำเนินงานสำนักงานสีเขยี วกบั กฎหมาย พรอ้ มกบั แสดง หลักฐานการปฏิบัติตามกฎหมาย3 หากพบว่าไม่สอดคล้องกับกฎหมายจะต้องมีการดำเนินการแก้ไขเพ่ือให้ สอดคล้องตามกฎหมาย ขัน้ ตอนที่ 4 หน่วยงานมีการรวบรวมและทบทวนกฎหมายอยา่ งนอ้ ยปีละ 1 ครั้ง คำอธบิ าย 1. กฎหมายสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หมายถึง กฎหมาย ที่เก่ียวข้องกับปัญหาส่ิงแวดล้อมและความปลอดภัยของแต่ละสำนักงาน โดยจะต้องพิจารณาประเด็นจากบริบท ของหน่วยงาน เช่น กฎหมายควบคุมมลพิษทางน้ำ การจัดการมูลฝอย อัคคีภัย แสงสว่าง บุหร่ี พลังงาน และการดำเนินงาน ดา้ นความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นตน้ 2. กฎหมายสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น หมายถึง บทบัญญัติเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในท้องถิ่นที่หน่วยงานตั้งอยู่ ซง่ึ หน่วยงานในสงั กัดกรุงเทพมหานครจะต้องพิจารณาข้อบัญญตั กิ รงุ เทพมหานครทเ่ี กย่ี วข้อง 3. การปฏิบตั ติ ามกฎหมาย มดี ังน้ี 1) สอดคล้องกับกฎหมาย หมายถึง หน่วยงานมีการปฏิบัติตามท่ีกฎหมายได้กำหนดไว้ และจะต้อง อ้างอิงหลักฐานการปฏบิ ตั ิตามกฎหมายดว้ ยรปู ถา่ ย เอกสารการดำเนินงานทเ่ี กยี่ วขอ้ งกับกฎหมายแต่ละประเดน็ 2) ไม่สอดคล้องกับกฎหมาย หมายถึง สำนักงานไม่มีการปฏิบัติตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ หรอื ปฏบิ ตั ผิ ดิ กฎหมาย หรือละเมิดกฎหมาย 3) เพ่ือทราบ หมายถึง กฎหมายท่ีไม่ได้มีบทบงั คับใช้กับหน่วยงาน แต่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทาง ในการปฏิบตั ิได้ ข้อปฏิบตั ใิ หผ้ า่ นเกณฑก์ ารประเมนิ จัดทำทะเบียนกฎหมายและนำไปปฏิบัติ โดยต้องคำนึงถึงการส่ือสารให้บุคลากรภายในหน่วยงาน เข้าใจกฎหมายและข้อกำหนดอ่ืนๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การเวียนแจ้งเอกสารรายการกฎหมาย การติดบอร์ด ประชาสัมพนั ธ์ เปน็ ต้น หลกั ฐานการตรวจประเมนิ ทะเบียนกฎหมายซึ่งได้พิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องและแหล่งการสืบค้นกฎหมาย โดยอ้า งอิง จากเว็บไซต์ของสำนักสิ่งแวดล้อม และประเมินความสอดคล้องของกฎหมาย ตามแบบฟอร์ม 1.4 (ตัวอย่าง แบบฟอร์มดังภาคผนวก) 10
คูม่ อื แนวทางการดำเนนิ งานสำนกั งานสเี ขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office 1.5 การสรา้ งกระบวนการสอื่ สารใหเ้ กดิ การพัฒนา ข้ันตอนการดำเนินงาน ข้ันตอนท่ี 1 หน่วยงานประชาสัมพันธ์สือ่ สารสาธารณะ เพ่อื สร้างความเข้าใจในนโยบายการดำเนนิ งานสำนักงาน สีเขียวกรุงเทพมหานครให้บุคลากรทราบผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ อย่างน้อย 3 ช่องทาง เช่น เสียงตามสาย สอ่ื สังคมออนไลน์ บอร์ดประชาสัมพันธ์ แผน่ พับ ใบปลิว หนงั สือเวียน สารหนว่ ยงาน การจัดประชุมช้ีแจง เป็นต้น โดยกำหนดความถีใ่ นการสอื่ สารเปน็ ประจำทกุ 3 เดือน ข้นั ตอนท่ี 2 หน่วยงานจัดนทิ รรศการหรือกิจกรรมรณรงคส์ ำนกั งานสีเขียว อย่างนอ้ ย ปลี ะ 1 คร้งั ขอ้ ปฏิบัตใิ ห้ผา่ นเกณฑ์การประเมิน การสื่อสารในรูปแบบต่างๆ จะต้องเป็นไปตามหัวข้อท่ีสำคัญ เช่น นโยบายสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติ ตามกฎหมาย ความสะอาดและความเป็นระเบียบ เป้าหมาย มาตรการ และผลการดำเนินงานตามมาตรการ ในการจัดการทรัพยากร พลังงานและการจัดการมูลฝอย ปริมาณก๊าซเรือนกระจก สินค้าทเ่ี ป็นมติ รกับส่ิงแวดล้อม การดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยบุคลากรจะต้องเข้าใจ เนอ้ื หาท่สี อื่ สาร หลกั ฐานการตรวจประเมิน หลกั ฐานการสื่อสารผา่ นชอ่ งทางต่างๆ และการจัดนิทรรศการหรอื กจิ กรรมรณรงคส์ ำนักงานสเี ขียว 1.6 การพัฒนาศักยภาพบคุ ลากรและการมีส่วนรว่ มของบุคลากรในหน่วยงาน การอบรมแก่บุคลากรเพื่อให้ความรู้ สร้างความตระหนัก ปลูกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชวี อนามยั และสภาพแวดล้อมในท่ีทำงาน ขนั้ ตอนการดำเนนิ งาน ข้ันตอนที่ 1 หน่วยงานแต่งตั้งผู้รับผิดชอบด้านส่ิงแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในที่ทำงาน ประจำหนว่ ยงาน ขั้นตอนที่ 2 หน่วยงานจัดให้มีการอบรมผู้รับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในท่ีทำงานประจำหน่วยงาน ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมรายละเอียดการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว กรงุ เทพมหานคร รปู ท่ี 1.3 การอบรมดา้ นส่ิงแวดลอ้ ม โครงการสง่ เสรมิ เครอื ข่ายลดและคัดแยกมลู ฝอย เมอื่ วนั ท่ี 10 - 13 พฤศจกิ ายน 2563 ณ จงั หวดั พษิ ณโุ ลก ขั้นตอนที่ 3 ผ้รู บั ผิดชอบจดั การอบรมใหแ้ ก่บคุ ลากรอื่น1 ขั้นตอนที่ 4 ผู้รับผิดชอบมีการสร้างชุมชนนักปฏิบัติ2 ด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดลอ้ มในทที่ ำงาน เพอ่ื เป็นเวทีแลกเปลยี่ นเรยี นรู้3 (Knowledge Management หรือ KM) 11
คมู่ ือแนวทางการดำเนนิ งานสำนกั งานสีเขยี วกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office คำอธบิ าย 1. บุคลากรอื่น หมายถึง บุคลากรภายในหน่วยงานท่ีไม่ใช่ผู้รับผิดชอบงานด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ้ มในท่ที ำงานประจำหนว่ ยงาน 2. ชมุ ชนนักปฏิบัติ หมายถึง การรวมกลมุ่ ของผู้ปฏบิ ัติงานในหน่วยงาน เพ่ือมาแลกเปลี่ยนความรู้ แสดงความคิดเห็น แก้ปัญหาเร่ืองใดเร่ืองหนึง่ เพื่อพัฒนางานให้ดขี ้ึนกว่าเดมิ ไม่รวมถึงคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการหรอื คณะทำงาน ทไ่ี ดร้ ับการแต่งต้งั 3. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Management หรือ KM) หมายถึง การจัดการประชุมหรือกิจกรรม เป็นกิจจะลักษณะอย่างสม่ำเสมอ เพ่ือเปิดพ้ืนท่ีให้บุคลากรมีโอกาสพบปะพูดคุยกัน เป็นอีกวิธีหนึ่ง ซ่ึงสามารถกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันได้ ซึ่งอาจทำได้ในหลายลักษณะ เช่น การสัมมนา และการประชมุ ทางวิชาการ หลกั ฐานการตรวจประเมนิ หลักฐานการจดั อบรมและเวทแี ลกเปล่ยี นเรยี นรู้ (KM) 1.7 การจดั เกบ็ เอกสารตามมาตรฐาน 5 ส มรี ะบบ1 การจดั เก็บเอกสารท่ีเก่ียวขอ้ ง และบนั ทึกขอ้ มลู การดำเนนิ งานอยา่ งตอ่ เนื่องตามมาตรฐาน 5 ส2 ขั้นตอนการดำเนนิ งาน ขน้ั ตอนที่ 1 หน่วยงานมอบหมายผูร้ บั ผิดชอบจัดเกบ็ เอกสารท่เี กี่ยวขอ้ ง ขั้นตอนท่ี 2 ผ้รู ับผิดชอบจัดเก็บเอกสารท่ีเกี่ยวข้องและบันทึกข้อมูลการดำเนินงานอย่างต่อเน่ือง โดยจัดทำเป็นระบบ ตามมาตรฐาน 5 ส ข้ันตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบตรวจสอบการจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องและบันทึกข้อมูลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ให้เปน็ ปจั จบุ นั คำอธิบาย 1. ระบบ หมายถึง ระบบการจัดเก็บเอกสารตามมาตรฐาน 5 ส ของหน่วยงานและสามารถค้นหาได้ง่าย ภายในระยะเวลาทเ่ี หมาะสม (หยิบกง็ า่ ย หายก็รู้ ดกู ็งามตา) 2. 5 ส เป็นกระบวนการหนึ่งที่เป็นระบบมีแนวปฏิบัติ ที่เหมาะสมสามารถนำมาใช้เพื่อปรับปรุงแก้ไขงาน และรักษาสภาพแวดล้อมในสำนักงานให้ดีขึ้น ซึ่งนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงาน ได้อกี ทางหนง่ึ ดงั นี้ 1) สะสาง (Seiri หรือ เซริ) คือ การแยกให้ชัดระหว่างสิ่งของท่ีจำเป็นและไม่จำเป็นต่อการใช้งาน แบ่งออกเปน็ 2 ส่วน 2) สะดวก (Seiton หรือ เซตง) คือ การจัดวางของที่จำเป็นให้ง่ายต่อการใช้ ให้ทุกคนดูแล้วรู้ว่า เป็นอะไร อยู่ทใี่ ด 3) สะอาด (Seiso หรือ เซโซ) คือ การทำความสะอาด ปัดกวาด เช็ดถู ให้ดูงามตาและ สวยงาม เสรมิ สรา้ งบรรยากาศท่ีน่าอยู่ น่าอาศัย 4) สุขลักษณะ (Seiketsu หรือ เซเคทซึ) คือ การรักษาสภาพให้เปน็ ระเบียบเรียบร้อย สะอาด ดงู ามตา อยเู่ สมอ โดยการทำ ส1 ส2 และ ส3 อย่างต่อเนอ่ื ง 5) สร้างนิสัย (Shitsuke หรือ ซิทซึเคะ) คือ การฝึกอบรมบ่มนิสัยให้ปฏิบัติตามส่ิงท่ีได้กำหนดไว้ อยา่ งถูกต้อง 12
ค่มู ือแนวทางการดำเนินงานสำนกั งานสีเขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office หลกั ฐานการตรวจประเมิน หลกั ฐานการจดั เก็บเอกสารตามมาตรฐาน 5 ส เชน่ รูปถา่ ย การสำรวจพนื้ ที่ เปน็ ต้น 1.8 การจัดกจิ กรรมของสำนกั งานท่เี ปน็ มิตรกับส่ิงแวดลอ้ ม ขน้ั ตอนการดำเนนิ งาน ขั้นตอนที่ 1 หน่วยงานเชิญประชุมและประชาสัมพันธ์การประชุม และจัดนิทรรศการโดยใช้กระดาษ Recycle/Reuse หรอื สือ่ อเิ ลก็ ทรอนิกส์ เชน่ อเี มล ไลน์ และเฟซบ๊กุ เปน็ ต้น ขน้ั ตอนท่ี 2 หน่วยงานจัดเตรียมเอกสารประกอบการประชุมและนิทรรศการ โดยลดการใช้กระดาษหรือใช้เท่าท่ีจำเป็น และเปลย่ี นมาใช้กระดาษ Recycle/Reuse หรือส่ืออิเลก็ ทรอนิกส์ตา่ งๆ รปู ท่ี 1.4 การประชมุ สเี ขยี ว สำนักสง่ิ แวดลอ้ ม กรุงเทพมหานคร ขัน้ ตอนท่ี 3 หน่วยงานจัดเตรียมภาชนะบรรจุอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ไม่ใช้โฟม หรือพลาสตกิ ในการบรรจุอาหารและเครื่องด่ืม หรือจดั เตรยี มสถานท่ี โดยใช้อุปกรณ์ท่ีเป็นมติ รกบั สิ่งแวดล้อม เช่น ไมใ่ ช้โฟมหรอื พลาสตกิ ตกแตง่ สถานท่ี เปน็ ตน้ หลักฐานการตรวจประเมนิ หลักฐานการจัดประชุมและการจัดนิทรรศการของสำนักงานที่เป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อม เช่น รูปถ่าย การประชาสมั พันธ์ผา่ นส่ืออิเลก็ ทรอนกิ ส์ เอกสารประกอบการประชมุ เป็นตน้ 1.9 การจัดซื้อจดั จ้างสินคา้ ทีเ่ ป็นมติ รกบั ส่งิ แวดลอ้ ม (Green Procurement) ขนั้ ตอนการดำเนนิ งาน ข้นั ตอนที่ 1 หนว่ ยงานมอบหมายผรู้ บั ผิดชอบในการจัดซอ้ื วสั ดุอุปกรณ์สำนักงานและจัดจ้างท่ีเปน็ มติ รกับสงิ่ แวดล้อม ขัน้ ตอนท่ี 2 ผูร้ บั ผดิ ชอบจดั ทำบญั ชีรายชอ่ื ของสินค้าทเี่ ป็นมิตรกบั สิ่งแวดล้อม ขน้ั ตอนท่ี 3 หนว่ ยงานจดั ซ้ือวสั ดปุ กรณใ์ นสำนักงานที่เป็นมติ รกบั สง่ิ แวดลอ้ มอย่างน้อย 1 รายการ หลักฐานการตรวจประเมนิ เอกสารการจัดทำบัญชีรายช่ือของสินค้าที่เป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อม และการจัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตร กับส่ิงแวดลอ้ ม พรอ้ มกับแสดงชื่อผู้รบั ผดิ ชอบในการจัดซือ้ ตามแบบฟอรม์ 1.9 (ตวั อยา่ งแบบฟอร์มดงั ภาคผนวก) 13
คมู่ อื แนวทางการดำเนินงานสำนกั งานสเี ขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office หมวดท่ี 2 การจดั การสง่ิ แวดลอ้ ม ๒.๑ การจดั การมูลฝอย การบริหารจัดการมูลฝอยทุกประเภท ถูกสุขลักษณะ ได้แก่ มูลฝอยทั่วไป1 มูลฝอยรีไซเคิล2 มูลฝอยอินทรีย์3 และมลู ฝอยที่เปน็ พษิ หรืออนั ตราย4 รปู ที่ 2.1 มลู ฝอย 4 ประเภท ไดแ้ ก่ มลู ฝอยท่ัวไป มลู ฝอยรไี ซเคลิ มลู ฝอยอินทรยี ์ และมลู ฝอยอนั ตราย ของเสีย คือ ส่ิงท่ีเป็นเศษวัสดุ ส่ิงที่ปลอ่ ยออกมา หรือสารท่ไี ม่ต้องการอื่นๆ รวมถึงวัสดุ หรือของเสีย ท่ีปนเป้ือน การจัดการของเสีย คือ การดำเนินการเพ่อื ควบคมุ สง่ิ ท่ีเป็นเศษวัสดุ หรือสิ่งทีป่ ล่อยออกมา รวมถึงวัสดุ ของเสียท่ีปนเปอ้ื น หรือสารที่ไม่ต้องการอื่นๆ ที่ได้มาจากกระบวนการดำเนินการภายในสำนักงาน เช่น เศษอาหาร เศษกระดาษ ตลับหมึกพิมพ์ท่ีใช้แล้ว บรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว เป็นต้น สำนักงานจะต้องแยกของเสียหรือมูลฝอย เหล่าน้ันไดอ้ ย่างมีประสิทธิภาพ 14
คมู่ ือแนวทางการดำเนนิ งานสำนักงานสเี ขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office สาเหตทุ ่ที ำใหเ้ กดิ ปัญหามูลฝอย 1) การไม่คัดแยกมูลฝอยก่อนทิ้งทำให้เกิดการปนเป้ือนและไม่สามารถแยกวัสดุกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือใช้ไดแ้ ตค่ ณุ ภาพตำ่ 2) การรณรงคป์ ระชาสมั พนั ธ์และการสร้างความตระหนักให้ผู้คัดแยกมูลฝอยไม่เพยี งพอและไม่ต่อเน่ือง 3) บุคลากรทุกคน รวมไปถึงผูบ้ ริหารระดับสงู หรือเจ้าของกิจการยงั ไมใ่ ห้ความรว่ มมือในการคัดแยก มลู ฝอยอย่างเต็มที่ 4) การดำเนินการขาดความต่อเนื่อง เนื่องจากขาดบุคลากรหลักที่รับผิดชอบในการประสานงาน ภายในสำนกั งาน 5) กฎระเบียบไม่มีความเด็ดขาดในการบังคับให้กระทำและไม่กระทำ หรือไม่มีผลตอบแทน เมอ่ื มีการปฏบิ ตั ิได้ถูกตอ้ ง ผลกระทบของมูลฝอย 1) เป็นแหลง่ เพาะพนั ธุ์ของเชื้อโรคและแมลงนำโรคต่างๆ 2) ทำให้เกิดกลน่ิ เหม็นและก่อให้เกดิ ความรำคาญ 3) เป็นแหล่งน้ำเนา่ เสีย 4) ส่งผลกระทบตอ่ สภาพรา่ งกายของมนษุ ย์ 5) สง่ ผลกระทบต่อทัศนยี ภาพเสือ่ มโทรม การป้องกันและควบคุมปริมาณมลู ฝอยตงั้ แต่ต้นทาง การปรับเปล่ียนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน โดยยึดหลักการ 3R ได้แก่ การลดการใช้5 (Reduce) การใช้ซ้ำ6 (Reuse) และการแปรรูปนำกลับมาใช้ใหม่7 (Recycle) รวมถึงส่งเสริมการคัดแยกและใช้ประโยชน์มูลฝอย ในทุกสำนักงานเพื่อลดปริมาณมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด (Source reduction) นอกจากน้ียังสามารถลดค่าใช้จ่าย ในการจัดการของเสียในสำนักงานตั้งแต่การคัดแยก เก็บรวบรวม ขนส่ง ตลอดจนลดการนำมูลฝอยไปกำจัด โดยการฝงั กลบในขัน้ สดุ ท้าย ลดปัญหาสิง่ แวดล้อมและเป็นการใช้ทรพั ยากรธรรมชาติอยา่ งรู้คณุ ค่า ขัน้ ตอนการดำเนนิ งาน การคัดแยกมูลฝอยจัดให้มีข้ึนเพื่อใช้เป็นวิธีการในการกำหนดขั้นตอนควบคุมการจัดการมูลฝอยท่ัวไป มูลฝอยรีไซเคิล มูลฝอยอินทรีย์ และมูลฝอยท่ีเป็นพิษหรืออันตราย ตั้งแต่การแยกประเภท การจัดเก็บ การขนส่ง และการกำจัดอย่างถูกต้องเหมาะสม รวมไปถึงการนำกลับมาใช้ใหม่ ให้สอดคล้องกับกฎหมายในการกำจัด ส่ิงปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว และเกิดผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมน้อยที่สุด ซ่ึงวิธีการจะมีขอบเขตครอบคลุมถึง การจดั การมูลฝอยทกุ ประเภทท่ีเกิดจากกิจกรรมต่างๆ ภายในสำนกั งาน ขั้นตอนท่ี 1 การใหค้ วามรใู้ นการจัดการมลู ฝอย ให้ความรู้แก่บุคลากรทุกคนในการคัดแยกมูลฝอยอย่างถูกต้อง โดยเริ่มตั้งแต่ความสำคัญของ การจัดการมูลฝอย แนวทางการลดปริมาณการเกิดมูลฝอย ความหมายของมูลฝอยแต่ละประเภท การกำจัดมูลฝอย แต่ละประเภท การนำมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ และจะต้องมีการรณรงค์ส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนลดปริมาณมูลฝอย แต่ละประเภทอย่างต่อเนื่อง เช่น การนำวัสดุใช้แล้วมาเวียนใช้ หรือนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ การปรับเปล่ียน วัสดุอุปกรณ์ในสำนกั งานหรือการใชว้ สั ดุทดแทน เป็นต้น 15
ค่มู อื แนวทางการดำเนนิ งานสำนกั งานสีเขยี วกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office ขน้ั ตอนที่ 2 การสำรวจประเภทและปริมาณมลู ฝอย และพฤติกรรมการทิ้งมลู ฝอย ดำเนินการสำรวจประเภทและปริมาณมูลฝอยที่เกดิ ขึน้ ในแตล่ ะพื้นทแ่ี ละกิจกรรมตา่ งๆ ในสำนกั งาน เพื่อวางแผนในการจัดการมูลฝอยได้อย่างเหมาะสม ได้แก่ การกำหนดจำนวนถังมูลฝอย จุดวางถังมลู ฝอยประเภทต่างๆ รปู ที่ 2.2 การสำรวจประเภทและปริมาณมลู ฝอย ศาลาวา่ การกรงุ เทพมหานคร 1 ขน้ั ตอนท่ี 3 การจัดวางถงั รองรบั มลู ฝอยและการคดั แยกมลู ฝอย หลังจากทราบถึงประเภท ปริมาณมูลฝอย และพฤติกรรมการทิ้งมูลฝอยของบุคลากร ผู้รับผิดชอบ จะต้องดำเนินการแยกประเภทของมูลฝอย พร้อมทั้งติดป้ายบ่งชี้ประเภทมูลฝอยให้ชัดเจนที่ถังมูลฝอย และนำมาวาง ในจุดที่กำหนด ถังรองรับมูลฝอยทุกใบควรจะต้องวางในพ้ืนที่ท่ีสะดวกต่อการทิ้ง มีฝาปิด นอกจากนี้ยังต้องมีการ เตรียมพ้ืนที่รองรับมูลฝอย ซ่ึงสามารถรองรับมูลฝอยท้ังหมดก่อนการนำไปกำจัดอย่างเพียงพอ และแบ่งออกเป็น สดั ส่วนที่ชดั เจน เพื่อรองรบั มูลฝอยประเภทต่างๆ ทไี่ ด้ถกู คดั แยกมาแลว้ รปู ท่ี 2.3 การจดั วางวางถงั มลู ฝอยแตล่ ะประเภทในสำนักงาน รปู ท่ี 2.4 พน้ื ทร่ี องรบั มลู ฝอย ศาลาวา่ การกรงุ เทพมหานคร 2 16
ค่มู อื แนวทางการดำเนนิ งานสำนกั งานสีเขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบความถกู ต้องของการคดั แยกมูลฝอย กำหนดผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบการทิ้งมูลฝอยของบุคลากร ความถี่ในการตรวจสอบประมาณ สัปดาห์ละ 1 คร้ัง หรือตามความเหมาะสมของหน่วยงาน หากพบว่ามีการทิ้งมูลฝอยผิดประเภทจะต้องมีการกำหนด มาตรการในการจัดการเพื่อป้องกันการทิ้งมูลฝอยผิดซ้ำ นอกจากนี้ผู้รับผิดชอบจะต้องตรวจสอบถึงการนำวัสดุใช้แล้ว มาเวียนใช้ หรอื นำกลบั มาใช้ประโยชนใ์ หม่ หรือการปรับเปลีย่ นวัสดุอปุ กรณ์ในสำนักงานหรือการใชว้ สั ดุทดแทน ขั้นตอนที่ 5 การกำจดั มูลฝอย เมื่อบุคลากรทราบถึงวิธีการจัดการมูลฝอยของสำนักงานในแต่ละประเภทแล้ว จะทำให้สามารถลด ปริมาณมูลฝอยท่ีจะนำไปฝังกลบให้เหลือน้อยท่ีสุด นอกจากน้ียังต้องตรวจสอบเส้นทางการส่งมูลฝอยของสำนักงาน ไปกำจัดให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันไม่ให้เกิดการลักลอบท้ิงมูลฝอยและเกิดการร่ัวไหล ของสารปนเปือ้ นจากมูลฝอยสสู่ งิ่ แวดล้อมได้ รปู ท่ี 2.5 เสน้ ทางมลู ฝอยในพ้ืนท่ีกรงุ เทพมหานคร ขั้นตอนที่ 6 การบันทึกปรมิ าณมลู ฝอยเปน็ ประจำทุกเดอื น 1) บันทึกปริมาณมูลฝอยรายเดือน (กิโลกรัมต่อเดือน) โดยบันทึกปริมาณมูลฝอยให้ครบถ้วน ตามทสี่ ำนักงานได้แบ่งประเภทไว้ 2) คำนวณร้อยละการนำมูลฝอยกลับมาใชใ้ หม่ ซ่ึงมีการคำนวณดงั น้ี ร้อยละของปริมาณมลู ฝอยท่นี ำกลบั มาใช้ใหม่ = ปรมิ าณมูลฝอยท่ีนำกลับมาใช้ใหม่ x 100 ปรมิ าณมลู ฝอยสะสมทเ่ี กดิ ข้นึ ท้งั หมด 17
คูม่ อื แนวทางการดำเนินงานสำนกั งานสเี ขยี วกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office คำอธบิ าย 1. มูลฝอยท่ัวไป หมายถึง ของเหลือใช้ที่เกิดจากห้องทำงาน ห้องรับประทานอาหาร เป็นต้น มูลฝอยประเภทน้ี เป็นมูลฝอยท่ีไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม แต่หากมีปริมาณมากและไม่ได้รับการจัดการอย่างสม่ำเสมอ จะส่งผลให้ เกิดอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้เช่นกัน ตัวอย่างมูลฝอยประเภทนี้ เช่น เศษภาชนะที่ใช้ในการบรรจุอาหาร มลู ฝอยจากอุปกรณ์สำนักงาน เป็นตน้ รปู ท่ี 2.6 มลู ฝอยทวั่ ไปในสำนกั งาน 2. มูลฝอยรีไซเคิล หมายถึง มูลฝอยที่สามารถนำไปสู่กระบวนการแปรรูปเพื่อออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือเป็นมูลฝอยที่ขายได้สามารถสร้างรายได้ให้แก่สำนักงาน ตัวอย่างมูลฝอยประเภทนี้ เช่น กระดาษ ขวดพลาสติก ขวดแก้ว เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีมูลฝอยอีกประเภทหนึ่งท่ีสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เลย โดยไม่ต้องผ่าน กระบวนการแปรรูป เรียกวา่ การนำกลบั มาใช่ใหม่ (Reuse) รปู ที่ 2.7 มลู ฝอยรไี ซเคลิ ในสำนกั งาน 3. มูลฝอยอินทรีย์ หมายถึง มูลฝอยที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ มูลฝอยประเภทน้ีท่ีพบมากในสำนักงาน หอ้ งรับประทานอาหาร เชน่ เศษอาหาร เป็นต้น การลด (Reduce) ตงั้ แต่ต้นทางเปน็ วธิ ีการท่ีดีที่สุด แต่ในข้ันตอน การประกอบอาหารอาจทำให้เกดิ มลู ฝอยประเภทน้ีได้จงึ ต้องหาวธิ ีการจดั การอย่างเหมาะสม รปู ท่ี 2.8 มลู ฝอยอนิ ทรยี ์ในสำนักงาน 18
คู่มอื แนวทางการดำเนินงานสำนักงานสเี ขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office 4. มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตราย หมายถึง มูลฝอยท่ีมีองค์ประกอบของสารเคมีหรือโลหะหนักปนเป้ือน ซึ่งมูลฝอย ประเภทนี้ท่ีเกิดในสำนักงาน เช่น ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ มูลฝอยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตลับหมึก น้ำยาลบคำผิด เปน็ ต้น รปู ที่ 2.9 มลู ฝอยอนั ตรายในสำนกั งาน 5. การลด (Reduce) คือ การลดการบริโภค อุปโภคทรัพยากรต่างๆ เพื่อให้เกิดเป็นของเสียน้อยที่สุด และถือว่า เป็นจุดเริ่มต้นของการลดปริมาณของเสีย แต่วิธีนี้จะต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือความเคยชิน รวมไปถงึ ตอ้ งใช้หลักการการปรบั เปล่ียนวัสดุอปุ กรณ์การใชง้ าน หรือการหาสิง่ อ่นื มาทำแทน เช่น 1) ใช้แก้วน้ำหรือภาชนะใส่อาหารส่วนตัว ลดการเกิดมูลฝอยจากแก้วกระดาษ แก้วพลาสติก หรือ ขวดน้ำดื่มทเี่ ปน็ พลาสตกิ 2) ใช้ถงุ ผา้ หรอื ตะกร้าลดการใช้ถงุ พลาสตกิ หรือไม่รับถุงพลาสติกเมือ่ ซื้อของ 3) ใช้ผ้าเช็ดมือแทนกระดาษทชิ ชู 4) สื่อสารผ่านส่ืออิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้กระดาษ เครื่องพิมพ์เอกสารแบบเติมหมึก เพ่ือลดการเกิด มลู ฝอยอนั ตรายจากตลับหมกึ 5) ใช้แบตเตอร่ีแบบประจไุ ฟฟ้าใหมไ่ ด้ (Rechargeable batteries) เพ่ือลดมูลฝอยและลดพิษโลหะ ที่เกิดจากมลู ฝอยอนั ตราย ใช้แบตเตอรท่ี ี่หลกี เลยี่ งการผลิตดว้ ยโลหะพษิ เป็นตน้ 6. การนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) คือ การนำของท่ีใช้แล้วกลับมาใช้ซ้ำจนไม่สามารถใช้ได้ ซ่ึงสามารถช่วยลดการเกิด มลู ฝอยได้เท่ากับจำนวนครั้งท่ีนำมาใช้ซ้ำ หรือแทนท่ีด้วยผลิตภัณฑ์อ่ืน กิจกรรมในสำนักงานที่สามารถนำวัสดุท่ีใช้แล้ว กลับมาใช้ซ้ำได้ เช่น 1) ใชก้ ระดาษสำเนาทง้ั 2 หน้า 2) ใชซ้ ้ำในส่วนหน้าทว่ี า่ งของซองเอกสารท่ผี า่ นการใช้งานแลว้ หรอื ใช้ซองเดมิ นน้ั สง่ กลบั 3) นำขวดพลาสตกิ มาใชใ้ นรูปแบบอนื่ ๆ 4) การนำกระดาษใชแ้ ล้วในสว่ นทีว่ ่างมาทำเป็นกระดาษโนต้ 7. การแปรรูปนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) คือ การนำของที่ใช้แล้วไปแปรรูปหรือผ่านกระบวนการบางอย่าง เพื่อทำเปน็ สงิ่ ของท่ีสามารถนำกลบั มาใช้ใหมไ่ ด้อกี ครัง้ เพือ่ ลดการนำทรพั ยากรธรรมชาตมิ าผลิตของใหม่ เช่น 1) รไี ซเคิลเศษกระดาษกลบั มาใชเ้ ป็นกล่องหรือถุงกระดาษ 2) หลอมแก้วหรือพลาสติกมาใชใ้ หม่เปน็ ขวด ภาชนะใส่ของ หรือเครอื่ งใชอ้ น่ื ๆ 3) หลอมฝากระปอ๋ งน้ำอัดลมกลับมาใช้ใหม่ หรอื นำมาบริจาคเพือ่ ทำขาเทียมให้กบั คนพิการได้ 19
คมู่ อื แนวทางการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office รปู ที่ 2.10 โครงการ “แยกขวด ชว่ ยหมอ” ณ ศาลาวา่ การกรงุ เทพมหานคร ดนิ แดง ขอ้ ปฏิบัตใิ หผ้ ่านเกณฑ์การประเมนิ 1. มีการจัดการนำวัสดุที่ใช้แล้วบางชนิดนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) หรือมีการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่สามารถลด การเกิดมูลฝอยได้ 2. มกี ารคัดแยกมลู ฝอยตามความเหมาะสมของหน่วยงาน และมีการทงิ้ มลู ฝอยถูกต้อง 3. มีป้ายบง่ ชป้ี ระเภทมูลฝอยอยา่ งถกู ต้องและชดั เจนทุกถังมูลฝอย 4. ถังมูลฝอยและจุดพักมูลฝอยจะตอ้ งอยู่ในพนื้ ทีท่ มี่ ีอากาศถ่ายเท อยู่ในรม่ และเปน็ สัดส่วน 5. มูลฝอยแตล่ ะประเภทจะต้องมีการส่งกำจดั อยา่ งถูกต้อง 6. มปี า้ ยรณรงค์เกี่ยวกบั การจดั การมลู ฝอย 7. บนั ทกึ ปรมิ าณมลู ฝอยเป็นประจำทกุ เดอื น หลกั ฐานการตรวจประเมนิ 1. หลักฐานการปฏิบัตติ ามข้นั ตอนการดำเนินงาน 6 ขอ้ ทก่ี ำหนด เชน่ รปู ถ่าย 2. บันทึกปริมาณมูลฝอยนำไปใชป้ ระโยชน์ โดยมีข้อมูลแต่ละเดือนครบถ้วนและคำนวณร้อยละของปรมิ าณมลู ฝอย ที่นำกลับมาใชใ้ หมต่ ามแบบฟอรม์ 2.1 (ตวั อย่างแบบฟอร์มดงั ภาคผนวก) 3. การสำรวจพ้นื ท่ี เช่น การตรวจสอบพื้นที่วางถังมลู ฝอย ปา้ ยรณรงค์เกย่ี วกับการจดั การมูลฝอย เปน็ ต้น 2.2 การจดั การน้ำเสยี ปัญหาน้ำเสียภายในสำนักงานส่วนใหญ่มีความคล้ายคลงึ กับของเสียจากบา้ นเรอื นท่วั ไปหรือการดำรงชวี ิต ของมนุษย์ที่ประกอบด้วยน้ำเสียที่เกิดจากการซักล้างทำความสะอาด การประกอบอาหาร และสิ่งปฏิกูล ซง่ึ มีการปนเปื้อนของสารอินทรีย์ และก็อาจจะมีเชื้อโรคที่อาจแพร่กระจายออกสู่สิ่งแวดล้อมได้ เน่ืองจากบางสำนักงาน มีบุคลากรจำนวนมาก ดงั น้ันนำ้ เสยี เหลา่ น้ีจะตอ้ งผา่ นการบำบดั กอ่ นปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก ลกั ษณะของน้ำเสีย น้ำเสียจากอาคารมีการปนเปื้อนสารอินทรยี ์ และอาจมีสารอันตราย เช่น จลุ ินทรยี ์ท่ีก่อโรค สารเคมี ฆ่าเช้ือโรค เปน็ ตน้ ซงึ่ มอี งค์ประกอบตา่ งๆ ดงั นี้ สารอินทรีย์ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เช่น ส่ิงปฏิกูล เศษอาหาร น้ำยาทำความสะอาด เป็นต้น สารอินทรีย์ในน้ำเสียมีทั้งที่อยู่ในรูปสารแขวนลอยและสารละลาย ซึ่งสามารถถูกย่อยสลายได้ โดยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ทำให้เกิดสภาพขาดออกซิเจนและเกิดสภาพเน่าเสียได้ ปริมาณของสารอินทรีย์ นิยมวัดด้วยค่าบีโอดี (Biological Oxygen Demand หรือ BOD) เม่ือค่าบีโอดีในน้ำสูง แสดงว่ามีสารอินทรีย์ ปะปนอยมู่ าก และสภาพเหม็นเนา่ จะเกิดขน้ึ ได้งา่ ย 20
คมู่ ือแนวทางการดำเนินงานสำนักงานสเี ขยี วกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office สารอนินทรีย์ ได้แก่ แร่ธาตุต่างๆ ท่ีอาจไม่ทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย แต่อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น คลอรีน เปน็ ต้น จุลินทรีย์ น้ำเสียจากสำนักงานจะมีจุลินทรีย์เป็นจำนวนมาก จุลินทรีย์เหล่านี้จะใช้ออกซิเจน ในการดำรงชวี ติ สามารถลดระดับของออกซิเจนละลายน้ำทำให้เกิดสภาพน้ำเน่าเหม็น นอกจากนจ้ี ลุ นิ ทรีย์บางชนิด อาจเปน็ เชื้อโรคท่เี ป็นอันตรายตอ่ มนษุ ย์ ผลกระทบของน้ำเสยี จากสำนกั งาน 1) เปน็ แหลง่ เพาะพนั ธขุ์ องสตั วน์ ำโรคตา่ งๆ และแพรร่ ะบาดของเชือ้ โรค 2) ทำใหเ้ กิดเหตรุ ำคาญ เช่น กล่นิ เหมน็ เน่า เป็นตน้ 3) ทำให้เกิดการสูญเสียทัศนียภาพ เกิดภาพที่ไม่น่าดู เช่น สภาพน้ำมีสีดำ มีมูลฝอยและส่ิงปฏิกูล ลอยน้ำ เป็นต้น ขน้ั ตอนการดำเนนิ งาน แนวทางในการควบคุมน้ำเสียจากกิจกรรมต่างๆ ในสำนักงานมีหลายประเภท เริ่มตั้งแต่การควบคุม ทแี่ หล่งกำเนดิ และควบคมุ ทปี่ ลายทางกอ่ นปล่อยออกสสู่ งิ่ แวดลอ้ มภายนอก สามารถอธบิ ายไดด้ ังนี้ ขน้ั ตอนที่ 1 ผูร้ บั ผดิ ชอบศกึ ษาองค์ประกอบและปรมิ าณของน้ำเสยี พิจารณาองค์ประกอบของน้ำเสยี ซง่ึ น้ำเสียส่วนใหญ่ทีเ่ กดิ ขึน้ จะมคี ราบน้ำมันและไขมัน เศษมูลฝอย เศษอาหารปนเปอื้ น จากนนั้ คาดการณป์ ริมาณน้ำทิ้งท่ีเกดิ ขึ้นเพ่ือจัดหาขนาดของถังดักไขมันสำเร็จรปู ขัน้ ตอนที่ 2 ผู้รบั ผดิ ชอบหาแนวทางการจดั การน้ำเสยี 1) การลดปรมิ าณน้ำมัน ไขมัน มูลฝอยและเศษอาหารจากแหล่งกำเนดิ - ลดการใชน้ ้ำมันในการปรงุ อาหาร - กวาดเศษอาหารออกจากภาชนะกอ่ นนำไปลา้ ง - แยกนำ้ มนั ใช้แลว้ ใส่ภาชนะเพ่ือนำไปกำจัด - ไม่เทนำ้ มนั ใชแ้ ล้วลงน้ำท้งิ หรือท่อระบายน้ำ - รวบรวมภาชนะที่จะต้องลา้ งให้มีปรมิ าณมาก เพอ่ื ลดจำนวนครง้ั ทลี่ ้าง 2) การกำจดั น้ำมนั ไขมัน มลู ฝอยและเศษอาหารโดยใชบ้ อ่ ดักไขมัน บ่อดักไขมัน เป็นอุปกรณ์สำหรับแยกไขมันไม่ให้ไหลปนไปกับน้ำทิ้งช่วยรักษาสภาพน้ำในขั้นต้น ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือท่อระบายน้ำทิ้ง การจัดการน้ำมันและไขมันโดยใช้บ่อดักไขมันเป็นวิธีการ ทเี่ หมาะสมและมปี ระสิทธิภาพในการบำบัดนำ้ เสยี ท่ีปนเป้ือนน้ำมันและไขมัน รปู ที่ 2.11 หลกั การทำงานของบอ่ ดักไขมนั (ทม่ี า: สพุ จน์ เพชรศกั ดวิ์ งศ์, 2561) 21
คู่มือแนวทางการดำเนนิ งานสำนกั งานสีเขยี วกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office หลักการทำงานของบ่อดกั ไขมนั 1. น้ำเสยี จะผ่านเข้ามาทตี่ ะแกรงดักเศษอาหาร ซึ่งทำหน้าทแี่ ยกเศษอาหารทป่ี ะปนมากบั น้ำเสีย 2. น้ำเสียจากขน้ั ตอนแรกจะไหลผ่านมายังสว่ นดักไขมัน โดยไขมนั ทีแ่ ยกตวั ออกจากน้ำเสยี จะลอยขึ้นเป็นช้ันเหนือน้ำ 3. น้ำเสยี ทอ่ี ยู่ใต้ชน้ั ไขมันจะไหลเขา้ สู่ถังบำบดั ขนั้ ต่อไป กอ่ นปลอ่ ยออกส่ทู อ่ ระบายนำ้ สาธารณะ ตวั อย่างบ่อดกั ไขมนั ในสำนักงาน 1. บ่อดักไขมันสำเร็จรูป ทำจากไฟเบอร์กลาส มีน้ำหนักเบา สะดวกในการเคลื่อนย้ายและติดตั้งประกอบด้วย ตะแกรงดักเศษอาหาร และส่วนแยกไขมัน บ่อดักไขมันสำเร็จรูปเหมาะสมกับบ้านเรือน และร้านอาหารทั่วไป เพราะสะดวกในการตดิ ตง้ั แตต่ อ้ งคำนึงถงึ ปริมาตรของบอ่ ดักไขมันและระยะเวลาเก็บกักที่เหมาะสม รปู ที่ 2.12 บอ่ ดกั ไขมนั สำเรจ็ รปู (ทมี่ า: กรมควบคมุ มลพษิ ) 2. บ่อดักไขมันอย่างง่าย เป็นบ่อดักไขมันแบบภูมิปัญญาชาวบ้านท่ีสามารถประดิษฐ์ใช้ได้เอง โดยใช้วัสดุที่หาง่าย ในท้องถิ่นตัวอย่างบ่อดักไขมันอย่างง่าย บ่อดักไขมันแบบนำถังน้ำมาประยุกต์ใช้เป็นบ่อดักไขมันอย่างง่าย และประหยัด สามารถใช้ได้กับบ้านเรือนและอาคารโดยมีส่วนประกอบ คือ ถังน้ำพลาสติกที่มีขายทั่วไป ในท้องตลาด ท่อ PVC พร้อมข้อต่อสามทาง เจาะรูถังน้ำพลาสติกแล้วต่อท่อ PVC ทาด้วยกาวพลาสติก แบบใช้ความร้อนละลาย โดยให้ท่อเข้าอยู่สูงกว่าท่อออก นำตะกร้าพลาสตกิ ท่ีเป็นตะแกรงมาแขวนไว้ท่ีทางน้ำเข้า เพือ่ ดักมูลฝอยและเศษอาหาร ส่วนท่อน้ำออกนน้ั ให้ต่อท่อในถังให้ลกึ ลงไปถงึ กน้ ถัง รปู ที่ 2.13 บอ่ ดกั ไขมนั อยา่ งงา่ ย (ทมี่ า: กรมควบคมุ มลพษิ ) การดูแลรักษาบอ่ ดกั ไขมัน 1. ตอ้ งติดตะแกรงดักมูลฝอยและหมน่ั โกยเศษมูลฝอยที่ดักกรองไว้หนา้ ตะแกรงออกอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยทุกวนั 2. หมั่นตักไขมันออกจากบ่อดักไขมันอย่างน้อยทุกสัปดาห์ โดยใส่ภาชนะท่ีปิดมิดชิดและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปกำจัด หรอื นำไปแปรรปู เป็นผลิตภณั ฑ์ตา่ งๆ 3. ลา้ งถังดักไขมนั อย่างสมำ่ เสมออย่างน้อยทุก 6 เดือน 22
คู่มอื แนวทางการดำเนนิ งานสำนักงานสเี ขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office 4. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดชีวภาพ หรือเป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อม เช่น น้ำจุลินทรีย์ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ติดฉลากเขียวหรือมีข้อความบ่งชี้ว่า “ผลติ ภณั ฑ์ทเี่ ปน็ มิตรกบั สิ่งแวดลอ้ ม” ผลิตภัณฑจ์ ากธรรมชาติแทนสารเคมีที่เป็นอันตราย เป็นต้น หมายเหตุ: ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อมสามารถจัดหาร่วมกับหมวด 1 ข้อ 1.9 มีการจัดซอ้ื จัดจา้ งสินค้าทีเ่ ปน็ มติ รกับสงิ่ แวดลอ้ ม (Green Procurement) 5. กำหนดมาตรการประหยัดทรัพยากรน้ำภายในสำนักงาน มาตรการประหยัดน้ำไม่เพียงแต่สามารถช่วยควบคุมปริมาณการใช้น้ำ แต่ยังสามารถลดปริมาณน้ำเสีย ท่เี กิดขนึ้ จากกิจกรรมต่างๆ เช่น การลา้ งภาชนะ การชำระล้างทำความสะอาด เป็นตน้ ขอ้ ปฏบิ ตั ิให้ผา่ นเกณฑ์การประเมิน 1. มกี ารบำบัดนำ้ เสียครบทกุ จุดที่ปล่อยน้ำเสียและมีการดแู ลทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ 2. มกี ารกำจัดเศษมูลฝอย เศษอาหาร คราบน้ำมนั และส่งิ สกปรกต่างๆ อยา่ งเหมาะสม 3. ตรวจสอบ ปรับปรงุ ซอ่ มแซมระบบบำบัดนำ้ เสียให้สามารถใชง้ านและมปี ระสิทธภิ าพอย่เู สมอ 4. ตรวจสอบการรว่ั ไหลของน้ำเสียอยา่ งสม่ำเสมอเพ่ือป้องกนั การปนเป้ือนของน้ำเสียไปยังแหลง่ อน่ื ๆ 5. ตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งตามที่กฎหมายกำหนด (หากมีพื้นที่ของอาคารมากกว่า 5,000 ตารางเมตร ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง จากอาคารบางประเภทและบางขนาด 2548 กำหนด) หลกั ฐานการตรวจประเมนิ 1. การกำหนดผรู้ ับผิดชอบดแู ลการจดั การนำ้ เสยี 2. รายละเอยี ดขน้ั ตอนการบำบดั น้ำเสยี 3. ผังระบบบำบัดน้ำเสีย ท่ีแสดงจุดปล่อยน้ำเสีย 4. ผลการตรวจสอบคณุ ภาพน้ำทิ้ง 5. มาตรการดแู ลระบบบำบดั น้ำเสยี หรือบอ่ ดักไขมนั หมายเหตุ: หากหน่วยงานใดไม่มีผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำท้ิง ให้ดำเนินการตามข้อปฏิบัติให้ผ่าน เกณฑ์การประเมนิ ในข้อ 1. - 4. 2.3 การใชน้ ำ้ ขน้ั ตอนการดำเนนิ งาน การใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพและถูกต้องเหมาะสมน้ันจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน ท้ังน้ี หน่วยงานจะต้องควบคุมหน่วยงานภายนอกท่ีเข้ามาใช้พ้ืนท่ีให้ปฏิบตั ิตามมาตรการของหน่วยงานด้วย นอกจากนี้ การถ่ายทอดและสร้างจิตสำนึกเปน็ ส่ิงจำเปน็ ในการอนรุ ักษแ์ ละประหยัดน้ำ สามารถดำเนินการได้ดังน้ี ขน้ั ตอนท่ี 1 ผู้รับผิดชอบสรา้ งองค์ความร้ดู ้านการประหยดั น้ำ ดำเนินการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ ผลกระทบของการขาดแคลนทรัพยากรน้ำ รวมไปถึงแนวทางการอนุรกั ษท์ รัพยากร โดยวธิ ีการต่างๆ เช่น การอบรม การประชาสมั พันธ์ การส่ือสารตามพ้ืนท่ี ใช้น้ำภายในหน่วยงาน การประกาศเสียงตามสาย เป็นต้น ทั้งนี้ทางผู้รับผิดชอบจะต้องพิจารณาถึงแนวทาง ท่เี หมาะสมทีส่ ดุ ในการถ่ายทอดความรู้ เพื่อใหเ้ กดิ ประสทิ ธิภาพ 23
ค่มู อื แนวทางการดำเนนิ งานสำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office ขั้นตอนท่ี 2 ผรู้ ับผิดชอบกำหนดมาตรการประหยัดนำ้ และสอ่ื สารให้บคุ ลากรรับทราบ กำหนดมาตรการประหยดั น้ำ โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ และจะต้องประยุกต์ใหเ้ ข้ากับหน่วยงานดว้ ย รปู ที่ 2.14 การตดิ ตง้ั อปุ กรณ์เพอื่ ปอ้ งกนั การสญู เสยี นำ้ ขน้ั ตอนท่ี 3 ผูร้ บั ผิดชอบเกบ็ ขอ้ มูลการใชน้ ้ำประปา และรายงานผล เก็บข้อมูลการใช้น้ำประปาประจำเดือน (ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน) และจัดทำสรุปผลรวมของการใช้ นำ้ ประปาของสำนักงานในแต่ละเดอื น เพอ่ื เปรยี บเทยี บผลจากการใช้น้ำประปากบั เปา้ หมาย รวมไปถึงสรุปสาเหตุ ท่ีนำไปสู่การบรรลุเพอ่ื การปรบั ปรงุ อย่างต่อเนื่อง กรณีไม่บรรลุเป้าหมายจะต้องวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแกไ้ ข ขอ้ ปฏบิ ัติให้ผา่ นเกณฑ์การประเมนิ 1. มีการกำหนดมาตรการประหยัดน้ำเหมาะสมกับหน่วยงาน 2. ตดิ ปา้ ยรณรงคก์ ารประหยดั การใชน้ ้ำ 3. ประชาสัมพนั ธ์เพื่อให้ความรู้แก่บคุ ลากร 4. รายงานสรุปการใช้น้ำประจำเดือน แสดงข้อมูลปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วย และข้อมูลปริมาณการใช้น้ำเทียบ กับเป้าหมาย กรณีไม่บรรลุเปา้ หมาย จะต้องวิเคราะหส์ าเหตแุ ละแนวทางแก้ไข 5. บคุ ลากรทุกคนจะต้องมีความตระหนักด้านการใช้น้ำ 6. หน่วยงานจะต้องควบคุมหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาใช้พื้นที่ให้ปฏิบัติตามมาตรการของหน่วยงานด้วย (แจ้งแนวทางปฏิบตั ใิ ห้แกห่ น่วยงานภายนอกที่เขา้ ใช้พนื้ ท่ี พร้อมมกี ารลงนามรบั ทราบแนวทางดงั กล่าว) หลักฐานการตรวจประเมนิ 1. มาตรการประหยดั นำ้ ท่ีเหมาะสมกับหนว่ ยงาน 2. หลักฐานการปฏิบัติตามมาตรการ เชน่ รูปถ่าย 3. บนั ทึกปรมิ าณการใชน้ ้ำทุกเดือน ตามแบบฟอร์ม 2.3 (ตัวอยา่ งแบบฟอร์มดังภาคผนวก) 4. การสำรวจพ้ืนท่ีเพอ่ื ดกู ารร่วั ไหล และปรบั ปรุงอุปกรณ์ 5. การสมั ภาษณ์และสังเกตพฤตกิ รรมของบุคลากร 24
คู่มือแนวทางการดำเนินงานสำนกั งานสีเขยี วกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office 2.4 การใช้พลงั งาน 2.4.1 การกำหนดมาตรการประหยัดไฟฟ้าที่เป็นรูปธรรม และเกิดการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดร่วมกันทงั้ หน่วยงาน ข้นั ตอนการดำเนินงาน การประหยัดไฟฟ้าให้เป็นรูปธรรม และถูกต้องเหมาะสมน้ันจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเปน็ การใช้เครื่องปรบั อากาศ แสงสว่าง เครื่องมือและอุปกรณ์ในสำนักงาน ทั้งน้ี หน่วยงานจะต้องควบคุม หน่วยงานภายนอกทเ่ี ข้ามาใช้พ้ืนท่ีให้ปฏิบัติตามมาตรการของหน่วยงานดว้ ย นอกจากนี้การถ่ายทอดและสร้างจิตสำนึก เป็นส่งิ จำเป็นในการอนรุ ักษ์และประหยัดพลังงาน สามารถดำเนนิ การไดด้ งั นี้ ขัน้ ตอนที่ 1 ผู้รับผิดชอบสรา้ งองคค์ วามรดู้ า้ นการประหยดั ไฟฟ้า ดำเนินการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า ผลกระทบของการขาดแคลนพลังงาน รวมไปถึง แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากร โดยวิธีการต่างๆ เช่น การอบรม การประชาสัมพันธ์ การส่ือสารตามพื้นท่ีใช้ไฟฟ้า ภายในหน่วยงาน การประกาศเสียงตามสาย เป็นต้น ทั้งนี้ผู้รบั ผิดชอบจะตอ้ งพจิ ารณาถึงแนวทางท่ีเหมาะสมท่ีสุด ในการถ่ายทอดความรู้ เพ่อื ใหเ้ กดิ ประสิทธิภาพ ขน้ั ตอนที่ 2 ผู้รับผิดชอบกำหนดมาตรการประหยดั ไฟฟ้า และสอื่ สารให้บคุ ลากรรับทราบ กำหนดมาตรการประหยัดการใช้เคร่ืองใช้ไฟฟ้าหลักท่ีมีในสำนักงานและใช้เป็นประจำ เช่น เครอ่ื งปรบั อากาศ คอมพิวเตอร์ หลอดไฟ เครอ่ื งถา่ ยเอกสาร เปน็ ตน้ รปู ที่ 2.15 การปดิ ไฟ เครอื่ งปรบั อากาศ คอมพวิ เตอร์ เมอ่ื ไมใ่ ชง้ านหรอื พักกลางวนั ข้นั ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบเกบ็ ข้อมูลการใช้พลังงาน และรายงานผล เก็บข้อมูลการใช้ไฟฟ้าประจำเดือน (กิโลวัตต์ต่อเดือน) และจัดทำสรุปผลรวมของการใช้ไฟฟ้า ของสำนกั งานในแตล่ ะเดือน เพือ่ เปรียบเทียบผลจากการใช้ไฟฟ้ากับเปา้ หมาย รวมไปถึงสรปุ สาเหตุท่ีนำไปสู่การบรรลุ เพอ่ื การปรับปรงุ อย่างต่อเน่ือง กรณีไมบ่ รรลุเป้าหมายจะต้องวิเคราะหส์ าเหตุและแนวทางแก้ไข ผลของการใชไ้ ฟฟ้าจะต้องรายงานให้กบั ผูท้ ่ีเก่ยี วขอ้ งรับทราบโดยเฉพาะอยา่ งย่ิงผู้บริหาร นอกจากนี้ จะต้องมีการสื่อสารให้บุคคลากรทุกคนได้รับทราบถึงผลการประหยัดอย่างสม่ำเสมอ เพ่ือกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือ กนั ในการประหยดั พลงั งานอย่างตอ่ เน่ือง 25
คมู่ อื แนวทางการดำเนนิ งานสำนกั งานสีเขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office ขอ้ ปฏิบัติให้ผ่านเกณฑ์การประเมิน 1. มีการกำหนดมาตรการประหยดั ไฟฟ้าเหมาะสมกบั หน่วยงาน 2. ติดป้ายรณรงคก์ ารประหยัดไฟฟา้ 3. ประชาสมั พันธเ์ พ่ือให้ความรแู้ ก่บคุ ลากรเรื่องการประหยัดไฟฟา้ 4. รายงานสรุปการใช้ไฟฟา้ ประจำเดือน แสดงข้อมูลปริมาณการใชไ้ ฟฟ้าต่อหนว่ ย และข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้า เทยี บกับเปา้ หมาย 5. บคุ ลากรทกุ คนจะตอ้ งมีความตระหนกั ดา้ นการใช้ไฟฟ้า 6. หน่วยงานจะต้องควบคุมหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาใช้พื้นที่ให้ปฏิบัติตามมาตรการของหน่วยงานด้วย (แจ้งแนวทางปฏิบตั ิใหแ้ กห่ น่วยงานภายนอกทเ่ี ขา้ ใชพ้ ืน้ ที่ พร้อมมกี ารลงนามรบั ทราบแนวทางดงั กล่าว) หลกั ฐานการตรวจประเมนิ 1. มาตรการประหยัดไฟฟ้าท่ีเหมาะสมกบั บรบิ ทของสำนักงาน 2. หลกั ฐานการปฏิบัตติ ามมาตรการ เช่น รูปถ่าย 3. บันทึกปรมิ าณการใชไ้ ฟฟา้ ทกุ เดือน ตามแบบฟอร์ม 2.4.1 (ตัวอย่างแบบฟอร์มดงั ภาคผนวก) 4. การสำรวจพื้นท่ี เช่น การตรวจสอบพื้นท่ีปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า การจัดตำแหน่งของการต้ัง เครื่องใชไ้ ฟฟ้าใหเ้ หมาะสม เป็นตน้ 5. การสมั ภาษณ์และสังเกตพฤตกิ รรมของบุคลากร 2.4.2 การกำหนดมาตรการประหยัดน้ำมันเช้ือเพลิงท่ีเป็นรูปธรรม และเกิดการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนด รว่ มกันท้งั หนว่ ยงาน ข้นั ตอนการดำเนนิ งาน ข้ันตอนท่ี 1 ผรู้ บั ผิดชอบสำรวจประเภทนำ้ มนั เชื้อเพลิงท่ีใช้ในหนว่ ยงาน สำรวจข้อมูลและกิจกรรมต่างๆ ในสำนักงาน ถึงประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงใช้ในหน่วยงานท้ังหมด เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล เป็นต้น เพื่อวางแผนในการจัดการอย่างเหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำรายงาน ปรมิ าณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขัน้ ตอนท่ี 2 ผู้รับผดิ ชอบกำหนดมาตรการประหยดั น้ำมันเช้อื เพลงิ และส่อื สารให้บุคลากรรบั ทราบ กำหนดมาตรการหรอื แนวทางการติดต่อส่ือสาร รวมไปถึงการเดินทางและการขนส่ง เพ่ือให้เกิดผลกระทบ กับส่ิงแวดล้อมน้อยที่สุด นอกจากนี้ ต้องดำเนินการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับ การใช้พลังงานเชื้อเพลิง ผลกระทบของการขาดแคลนพลังงาน รวมไปถึงแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากร โดยวิธีการต่างๆ เช่น การอบรม การประชาสัมพันธ์ การส่ือสารตามพื้นที่ใช้ไฟฟ้าภายในหน่วยงาน การประกาศเสียงตามสาย เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้รับผิดชอบจะต้องพิจารณาถึงแนวทางที่เหมาะสมท่ีสุดในการถ่ายทอดความรู้ เพ่ือให้เกิดประสทิ ธภิ าพ จอดรถ กรุณาดบั เครอ่ื งยนต์ รปู ที่ 2.16 ปา้ ยรณรงคด์ บั เครอื่ งยนตท์ นั ที เมอื่ จอดรถยนต์ 26
คู่มอื แนวทางการดำเนินงานสำนักงานสีเขยี วกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office ขั้นตอนที่ 3 ผู้รับผดิ ชอบเกบ็ ขอ้ มลู การใชน้ ้ำมนั เช้ือเพลิง และรายงานผล เก็บข้อมูลการใช้น้ำมันเช้ือเพลิงประจำเดือน (ลิตรต่อเดือน) และจัดทำสรุปผลรวมของการใช้น้ำมัน เช้ือเพลงิ ของสำนกั งานในแต่ละเดอื น เพื่อเปรียบเทยี บผลจากการใช้น้ำมันเชอื้ เพลิงกับเป้าหมาย รวมไปถึงสรุปสาเหตุ ทีน่ ำไปสกู่ ารบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง กรณีไม่บรรลเุ ป้าหมายจะต้องวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข ข้อปฏบิ ัติใหผ้ ่านเกณฑ์การประเมิน 1. สื่อสารผา่ นเทคโนโลยี หรอื สอ่ื สารผา่ นทางส่อื อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ 2. มกี ารวางแผนการเดนิ ทางก่อนการนำยานพาหนะของบรษิ ทั ออกเดนิ ทาง 3. รับ - สง่ พนักงานโดยรถของบริษทั 4. รณรงคใ์ ห้บคุ ลากรทีพ่ กั ใกล้สำนักงานเดินหรอื ใชจ้ ักรยานเดนิ ทางมาทำงาน 5. รายงานสรุปการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงประจำเดือน แสดงข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเช้ือเพลิงต่อหน่วย และข้อมูล ปรมิ าณการใช้น้ำมนั เช้ือเพลิงเทียบกับเป้าหมาย หลกั ฐานการตรวจประเมิน 1. มาตรการประหยดั น้ำมันเชื้อเพลงิ ทเ่ี หมาะสมกบั สำนกั งาน 2. หลักฐานการปฏิบัตติ ามมาตรการ เชน่ รปู ถ่าย 3. บนั ทกึ ปริมาณการใช้นำ้ มันเช้ือเพลิงทกุ เดอื น ตามแบบฟอร์ม 2.4.2 (ตัวอยา่ งแบบฟอรม์ ดังภาคผนวก) 2.5 การใชท้ รัพยากรอน่ื ๆ 2.5.1 การกำหนดมาตรการประหยัดกระดาษที่เป็นรูปธรรม และเกิดการปฏิบัติตามมาตรการทก่ี ำหนด รว่ มกนั ทงั้ หนว่ ยงาน ขนั้ ตอนการดำเนนิ งาน ขน้ั ตอนท่ี 1 ผรู้ ับผิดชอบสร้างองคค์ วามร้ดู า้ นการประหยดั กระดาษ ดำเนินการทำบอร์ดประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้กระดาษอย่างรู้คุณค่า พร้อมกับติดป้าย สอ่ื สารตามจุดการใช้ใหท้ ั่วถึง ขน้ั ตอนที่ 2 ผูร้ บั ผดิ ชอบกำหนดมาตรการประหยดั กระดาษ และสื่อสารให้หนว่ ยงานรับทราบ กำหนดมาตรการประหยัดการใช้ทรัพยากรที่มีในสำนักงานและใช้เป็นประจำ เช่น กระดาษ หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน และวัสดุอปุ กรณ์สำนักงาน เป็นตน้ รปู ที่ 2.17 การตงั้ จดุ แยกกระดาษทใี่ ชแ้ ลว้ 1 หนา้ เพอ่ื นำไปใชป้ ระโยชน์ 27
คูม่ อื แนวทางการดำเนนิ งานสำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office ขนั้ ตอนท่ี 3 ผู้รับผิดชอบเกบ็ ข้อมลู การใช้กระดาษ และรายงานผล เก็บข้อมูลการใช้กระดาษประจำเดือน (กิโลกรัมต่อเดือน) และจัดทำสรุปผลรวมของการใช้กระดาษ ของสำนักงานในแต่ละเดอื น เพอ่ื เปรียบเทยี บผลจากการใช้กระดาษกบั เป้าหมาย รวมไปถงึ สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง กรณีไม่บรรลุเป้าหมายจะต้องวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแกไ้ ข ข้อปฏิบตั ิใหผ้ า่ นเกณฑก์ ารประเมิน 1. ตดิ ปา้ ยรณรงค์ในบริเวณใชง้ าน 2. กำหนดมาตรการประหยดั กระดาษอย่างเหมาะสมภายในสำนักงาน 3. ประชาสมั พันธ์เพ่ือให้ความรู้แก่บคุ ลากร 4. รายงานสรุปการใช้กระดาษประจำเดือน ข้อมูลการใช้กระดาษต่อหน่วย และข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษ เทยี บกบั เปา้ หมาย 5. บคุ ลากรทกุ คนจะต้องมีความตระหนักดา้ นการใช้กระดาษ หลักฐานการตรวจประเมนิ 1. มาตรการประหยดั กระดาษทเี่ หมาะสมกบั บรบิ ทของสำนกั งาน 2. หลักฐานการปฏิบัตติ ามมาตรการ เชน่ รปู ถา่ ย 3. บนั ทึกปริมาณการใช้กระดาษทุกเดือน ตามแบบฟอรม์ 2.5 (ตัวอยา่ งแบบฟอรม์ ดงั ภาคผนวก) 4. การสัมภาษณ์และสงั เกตพฤตกิ รรมของบคุ ลากร 2.5.2 การกำหนดมาตรการประหยัดหมึกพิมพ์ที่เป็นรูปธรรม และเกิดการปฏิบัติตามมาตรการ ท่ีกำหนด ร่วมกันทั้งหน่วยงาน ข้นั ตอนการดำเนนิ งาน ขนั้ ตอนท่ี 1 ผรู้ บั ผดิ ชอบสรา้ งองค์ความรูด้ ้านการประหยัดทรัพยากรอนื่ ๆ ดำเนินการทำบอรด์ ประชาสัมพันธใ์ ห้ความรู้เก่ียวกบั การใช้ทรพั ยากรอื่นๆ อย่างรู้คณุ ค่า เช่น การใช้ หมึกพิมพ์ การใช้อุปกรณ์เครื่องเขียน วัสดุอุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น พร้อมกับติดป้ายส่ือสารตามจุดการใช้ ทรพั ยากรดังกลา่ วใหท้ ัว่ ถงึ ขน้ั ตอนท่ี 2 ผรู้ บั ผดิ ชอบกำหนดมาตรการประหยดั และส่อื สารให้หนว่ ยงานรับทราบ กำหนดมาตรการประหยัดการใช้ทรัพยากรท่ีมีในสำนักงานและใช้เป็นประจำ เช่น กระดาษ หมึกพิมพ์ อปุ กรณ์เครื่องเขียน และวัสดุอุปกรณส์ ำนักงาน เปน็ ตน้ รปู ที่ 2.18 การใชอ้ ปุ กรณส์ ำนักงานรว่ มกัน 28
คมู่ ือแนวทางการดำเนินงานสำนกั งานสีเขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office ขอ้ ปฏบิ ตั ใิ หผ้ า่ นเกณฑก์ ารประเมนิ 1. ตดิ ป้ายรณรงคใ์ นบรเิ วณใช้งาน 2. กำหนดมาตรการประหยัดการใช้ทรัพยากรอื่นๆ ได้แก่ หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เคร่ืองเขียน วัสดุอุปกรณ์สำนักงาน อยา่ งเหมาะสมภายในสำนักงาน 3. จดั วางเครื่องพิมพ์ (Printer) อุปกรณ์เครื่องเขียน และวัสดุอุปกรณ์ในพื้นที่ส่วนกลาง แทนการจัดวางประจำแต่ละ โตะ๊ ทำงาน เพอ่ื ลดการใช้ทรัพยากร และเพ่มิ ความเปน็ ระเบียบเรียบรอ้ ยในสำนกั งาน 4. ประชาสมั พนั ธเ์ พอ่ื ให้ความรแู้ ก่บคุ ลากร 5. บุคลากรทุกคนจะต้องมีความตระหนักด้านการใช้ทรัพยากรอื่นๆ หลักฐานการตรวจประเมนิ 1. มาตรการประหยดั หมึกพมิ พ์ อุปกรณ์ เครอ่ื งเขยี น และวสั ดุอปุ กรณ์ทเ่ี หมาะสมกบั สำนักงาน 2. หลักฐานการปฏิบัตติ ามมาตรการ เช่น รูปถา่ ย 3. การสำรวจพนื้ ทีจ่ ดั วางเคร่อื งพมิ พ์ (Printer) อปุ กรณเ์ คร่อื งเขียน และวัสดุอปุ กรณ์ในพ้ืนทีส่ ่วนกลาง 4. การสมั ภาษณ์และสงั เกตพฤตกิ รรมของบคุ ลากร ๒.6 Carbon footprint 2.6.1 การคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานสู่บรรยากาศ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases: GHGs) จากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งการใช้พลังงาน การเกษตรกรรม การพัฒนาและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง การตัดไม้ทำลายป่า รวมท้ังการทำลายทรพั ยากรธรรมชาติและส่งิ แวดล้อมในรปู แบบอ่นื ๆ ล้วนเป็นสาเหตสุ ำคัญของการเกดิ ภาวะโลกร้อน ซ่ึงส่งผลกระทบต่อวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ และนับวันปัญหาดังกล่าวก็ยิ่งทวีความรุนแรง มากขึ้น การดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงเป็นหน้าที่ของผู้เก่ียวข้องทุกภาคส่วน (คณะกรรมการเทคนิคด้านคาร์บอนฟุตพร้ินต์ของผลิตภัณฑ์, 2552) การหาความสัมพันธ์ของปริมาณการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกกับการใช้พลังงาน นำมาซึง่ ผลลัพธท์ ่ชี ัดแจ้งถึงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Sayam et al., 2012) ดังน้ันการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงเป็นวิธีการหนึ่งในการบ่งบอกข้อมูลการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกของหน่วยงาน ซึ่งจะเป็นแนวทางนำไปสู่การบริหารการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อลดการ ปล่อยกา๊ ซเรอื นกระจกได้อย่างมปี ระสทิ ธิภาพทั้งในระดบั หน่วยงานไปถงึ ระดับประเทศได้ การคำนวณปริมาณการปล่อยและการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas emission and removals) เปน็ อกี วธิ กี ารหน่งึ ที่ใช้บง่ ชผ้ี ลกระทบดา้ นส่ิงแวดลอ้ มท่ีเกดิ ขึ้นจากกจิ กรรมการดำเนนิ งานตา่ งๆ ของหนว่ ยงาน โดยแบ่งกิจกรรมท่ีมีการปล่อยและการดดู กลบั ก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนนิ งานของหนว่ ยงานไว้ 3 ประเภท ไดแ้ ก่ ประเภทท่ี 1 การปล่อยและการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางตรง ได้แก่ ก๊าซเรือนกระจกท่ีเกิดข้ึน โดยตรงจากกิจกรรมต่างๆ ภายในสำนกั งาน ดงั นี้ 1) การเผาไหม้ที่อยู่กับที่ เช่น การผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองภายในหน่วยงาน การเผาไหม้ ของเชือ้ เพลิงทีใ่ ช้ในการหุงตม้ ภายในหนว่ ยงาน เปน็ ต้น 2) กระบวนการ เช่น กระบวนการอันเน่ืองมาจากปฏิกิริยาเคมีภายในกระบวนการผลิต 3) การเผาไหม้ท่ีมีการเคลื่อนที่ เช่น การเผาไหม้ของเช้ือเพลิงจากกิจกรรมการขนส่ง ยานพาหนะทห่ี น่วยงานเปน็ เจ้าของ หรอื เช่าเหมามา แต่หนว่ ยงานรบั ผดิ ชอบคา่ ใช้จา่ ยน้ำมันเช้อื เพลิง 4) การรั่วไหลและอื่นๆ (Fugitive Emissions) เช่น ก๊าซมีเทนท่ีเกิดขึ้นจากกระบวนการ บำบัดนำ้ เสียและหลุมฝงั กลบ การใชป้ ยุ๋ หรอื สารเคมเี พื่อการซกั ล้างหรอื ทำความสะอาด 29
คมู่ ือแนวทางการดำเนนิ งานสำนกั งานสีเขยี วกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office 5) การเผาไหมช้ วี มวล ประเภทท่ี 2 การปล่อยและการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน ได้แก่ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้า ความร้อน หรือไอน้ำท่ีถูกนำเข้าจากภายนอกเพ่ือใช้งานภายใน หน่วยงาน พลังงานไฟฟ้า ส่วนใหญ่ใช้เช้ือเพลิงฟอสซิลมาเป็นวัตถุดิบในการผลติ ดังน้ันการใช้ไฟฟ้าในหน่วยงานไมเ่ ป็น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ณ ตำแหน่งที่หน่วยงานต้ังอยู่ แต่เป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ณ แหล่งที่ผลิต กระแสไฟฟา้ ประเภทท่ี 3 การปล่อยและการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ ได้แก่ ปริมาณการปล่อย กา๊ ซเรือนกระจกที่เกดิ ขึ้นจากกจิ กรรมต่างๆ นอกเหนือจากที่ระบุในประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 ซ่ึงหน่วยงาน สามารถวัดหรือประเมินเพื่อการรายงานผลเพิ่มเติมได้ โดยไม่ถือเป็นข้อบังคับ เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากกิจกรรมการใช้น้ำประปาภายในหน่วยงาน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากวัสดุสำนักงานที่มีการใช้ภายใน หน่วยงาน เชน่ กระดาษ เปน็ ตน้ ตวั อยา่ งการแยกประเภทของกิจกรรมในสำนักงาน ประเภทท่ี 1 การเดินทางท่ีเกิดขึ้นจากพาหนะท่ีเป็นกรรมสิทธ์ิของสำนักงานในรูปของการใช้ เชอ้ื เพลิง ปรมิ าณการปลอ่ ยกา๊ ซเรือนกระจกท่เี กิดขึ้นจากกระบวนการบำบัดนำ้ เสียของสำนักงาน (ถ้าม)ี ประเภทที่ 2 กา๊ ซเรอื นกระจกทเ่ี กิดขึ้นจากการนำเข้าของพลังงานต่างๆ เชน่ การซื้อไฟฟา้ เปน็ ต้น ประเภทท่ี 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม ได้แก่ ปริมาณการใช้น้ำประปา การใช้กระดาษ ภายในสำนักงาน ปรมิ าณมลู ฝอยท่เี กิดขึ้นภายในสำนักงาน ปริมาณสารเคมที ใ่ี ชใ้ นห้องปฏิบัติการ เป็นตน้ ข้ันตอนการดำเนนิ งาน การควบคุมก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานท่ีปล่อยออกสู่ช้ันบรรยากาศ จะต้องดำเนินการควบคุม การใชท้ รพั ยากรและพลังงานใหเ้ กิดประสิทธภิ าพมากที่สุด ลดการปล่อยของเสยี ที่เกดิ จากกจิ กรรมตา่ งๆ (แนวทาง การควบคุมสามารถศึกษาได้จากหมวดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง) จากน้ันนำข้อมูลมาคำนวณเพื่อเปรียบเทียบปริมาณ การปล่อยกา๊ ซเรอื นกระจก ซึ่งสำนักงานจะต้องรวบรวมข้อมูลกิจกรรมต่างๆ ทุกเดือน เพื่อนำมาคำนวณปริมาณ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละเดือน และสรุปเปรียบเทียบแต่ละเดือน เพ่ือจะได้ทราบแนวโน้มของการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกต่อไป โดยข้ันตอนตอ่ ไปนี้ จะอธบิ ายเพียงข้ันตอนการคำนวณและเปรียบเทียบปริมาณการปล่อย กา๊ ซเรอื นกระจก ขนั้ ตอนท่ี 1 ผูร้ บั ผิดชอบเกบ็ ขอ้ มลู กจิ กรรมการปลอ่ ยก๊าซเรอื นกระจก เก็บข้อมูลจากกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สอดคลอ้ งกับวิธกี ารคำนวณ และข้อมูลท้ังหมด จะต้องได้รับการบันทึกไว้ในรูปแบบที่เหมาะสม เพ่ือสามารถนำมาวิเคราะห์และสอบกลับได้ ซึ่งข้อมูลท่ีจะต้อง รวบรวมมดี งั น้ี 1) ปริมาณการใชไ้ ฟฟ้า 2) ปรมิ าณการใช้น้ำมนั เช้อื เพลงิ 3) ปริมาณการใชน้ ้ำประปา 4) ปรมิ าณการใชก้ ระดาษ 5) ปรมิ าณการเกิดของเสีย (ฝงั กลบ) ขัน้ ตอนที่ 2 ผรู้ ับผิดชอบคำนวณปริมาณการปลอ่ ยกา๊ ซเรือนกระจก คำนวณปรมิ าณการปล่อยกา๊ ซเรือนกระจก โดยการคูณดว้ ยค่าแฟกเตอรก์ ารปลอ่ ย (Emission Factor: EF) ซง่ึ จำเป็นอย่างยง่ิ ที่ต้องมีวิธีการคำนวณท่ีถูกต้อง ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยเฉพาะคา่ แฟกเตอร์การปล่อย 30
คู่มอื แนวทางการดำเนนิ งานสำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office ที่นิยมนำมาใช้เป็นหลักสากล เช่น ค่าแฟกเตอร์การปล่อยอ้างอิงตามแนวทางของ The Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) หรือจากฐานข้อมลู ระดบั ชาติของแตล่ ะประเทศ เป็นตน้ หมายเหตุ: สามารถเขา้ ไปดคู ่า EF ไดท้ ี่ http://www.bangkok.go.th/environmentbma หรือ http://www.tgo.or.th การคำนวณโดยใชส้ ูตร Activity Data x Emissions Factors การปลดปลอ่ ย = ข้อมลู กจิ กรรม x คา่ แฟกเตอรก์ ารปล่อย Emission = Activity Data (AD) x Emission Factor (EF) ขนั้ ตอนที่ 3 ผรู้ บั ผิดชอบวิเคราะห์ และรายงานผลปรมิ าณการปลอ่ ยก๊าซเรือนกระจก คำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นรายเดือน และคิดเทียบเป็นต่อจำนวนบุคลากร เพื่อทำการเปรียบเทียบแนวโน้มของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หลังจากที่ได้มีมาตรการในการอนุรักษ์ ทรัพยากรและพลังงาน รวมไปถึงการลดปริมาณของเสีย หากผลการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกมีแนวโน้ม สูงขึ้นจะต้องดำเนนิ การหาสาเหตุ แนวทางการแก้ไข เพอื่ ควบคุมปรมิ าณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใหอ้ ยใู่ นระดับ ทห่ี น่วยงานตง้ั เปา้ หมายไว้ นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดเป็นโครงการดา้ นส่งิ แวดลอ้ มไดเ้ ชน่ กัน แนวโน้มของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะต้องรายงานให้กับผู้บริหารได้รับทราบ เช่น ผู้บริหารระดับสูง หัวหน้ากลุ่มงาน เป็นต้น นอกจากนี้จะต้องมีการสื่อสารให้บุคลากรทุกคนรับทราบด้วย เพ่ือเป็นการกระตุ้น ให้บคุ ลากรตระหนักถึงความสำคัญ และร่วมมอื กันในการลดปริมาณการปล่อยกา๊ ซเรือนกระจก ขอ้ ปฏบิ ัติให้ผ่านเกณฑก์ ารประเมิน 1. สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องความสำคัญของก๊าซเรือนกระจก และแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใหก้ ับบุคลากรทุกคน 2. ผรู้ ับผดิ ชอบจะตอ้ งสามารถอธบิ ายการคำนวณปริมาณการกา๊ ซเรือนกระจกได้ 3. บันทึกข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นรายเดือน ตามแบบฟอร์ม 2.6.1 (ตัวอย่างแบบฟอร์ม ดงั ภาคผนวก) 4. ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจะต้องมีแนวโน้มลดลง หากไม่ลดลงจะต้องอธิบายสาเหตุ และแนวทางแก้ไข อยา่ งสมเหตุสมผล 5. จะต้องมกี ารสือ่ สารแนวโนม้ การปล่อยกา๊ ซเรือนกระจกให้บุคลากรรบั ทราบอยา่ งตอ่ เน่ือง หลักฐานการตรวจประเมิน 1. เอกสารการรวบรวมค่า Emission Factor (EF) ทเ่ี ปน็ ปจั จุบัน 2. บนั ทึกปริมาณการปลอ่ ยก๊าซเรือนกระจก ตามแบบฟอรม์ 2.6.1 (ตวั อยา่ งแบบฟอรม์ ดงั ภาคผนวก) 31
คมู่ ือแนวทางการดำเนนิ งานสำนักงานสีเขยี วกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office 2.6.2 การกำหนดเปา้ หมาย และตวั ชีว้ ดั ทีช่ ัดเจน ข้ันตอนการดำเนินงาน ข้ันตอนท่ี 1 หนว่ ยงานกำหนดเปา้ หมายดา้ นสง่ิ แวดล้อม ผู้บริหารจะต้องมีจุดมุ่งหมายอย่างชัดเจนถึงประเด็นท่ีจะต้องควบคุม ซึ่งประเด็นน้ันอาจจะส่งผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการส้ินเปลืองทรัพยากร การเกิดมลพิษ หรือส่งผลต่อต้นทุนการทำงาน รวมไปถึง ส่งเสริมเพื่อให้เกิดศักยภาพที่ดีขึ้นในการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยจะต้องกำหนดตัวเลขเป้าหมายที่ชัดเจน เพ่ือนำไปสู่การวัดผลความสำเร็จ ผู้บริหารจะต้องกำหนดเป้าหมายและตัวช้ีวัดการใช้ทรัพยากร การใช้พลังงาน ปริมาณของเสีย และปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพ่ือนำไปสู่การวัดผลความสำเร็จของการจัดการ ส่งิ แวดล้อม 6 ด้าน ดังน้ี 1) การใช้ไฟฟา้ 2) การใชน้ ้ำมันเชือ้ เพลงิ 3) การใช้น้ำประปา 4) การใช้กระดาษ 5) การเกดิ ของเสีย 6) การปลอ่ ยก๊าซเรอื นกระจก รปู ที่ 2.19 เปา้ หมายดา้ นสง่ิ แวดลอ้ ม สวนสมเดจ็ พระนางเจา้ สริ กิ ติ ฯิ์ สำนกั สง่ิ แวดลอ้ ม กรงุ เทพมหานคร ผู้บริหารจะต้องรู้ศักยภาพของหน่วยงาน เช่น วัฒนธรรมหน่วยงาน ความเพียงพอของคณะทำงาน ความสามารถของบุคลากร เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ในขณะนั้น ก่อนที่จะกำหนดเป้าหมาย ส่ิงแวดล้อมให้กับหน่วยงาน และท่ีสำคัญไม่ควรกำหนดเป้าหมายโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ซึ่งจะส่งผล ใหร้ ะบบการจดั การส่ิงแวดล้อมไมไ่ ด้รับการพัฒนาไปในทางท่ีถกู ต้องและเหมาะสม 32
คูม่ อื แนวทางการดำเนนิ งานสำนักงานสีเขยี วกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office ข้ันตอนท่ี 2 ผู้รบั ผดิ ชอบวเิ คราะห์ และรายงานผลปริมาณการใช้ทรพั ยากร และปริมาณของเสยี ประจำปี ผู้รับผิดชอบเปรียบเทียบการจัดการส่ิงแวดล้อมกับเป้าหมายที่กำหนด โดยครอบคลุมทั้งด้านไฟฟ้า น้ำมันเช้ือเพลิง น้ำประปา กระดาษ ของเสีย และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และรายงานผลต่อผู้บริหารเพื่อใช้ ทบทวนเปา้ หมายด้านสิ่งแวดล้อมในแต่ละปี การเปรียบเทยี บเป้าหมายแบง่ เปน็ 2 กรณี ได้แก่ 1) กรณีบรรลุเป้าหมาย ให้สรปุ สาเหตุที่นำไปส่กู ารบรรลุ เพื่อการปรับปรงุ อยา่ งต่อเนื่อง 2) กรณีไมบ่ รรลเุ ปา้ หมาย ให้ดำเนนิ การดังนี้ - วเิ คราะห์สาเหตใุ นกรณีทไี่ ม่บรรลเุ ป้าหมาย - หาแนวทางการแก้ไขในกรณีท่ไี มบ่ รรลเุ ปา้ หมาย - ตดิ ตามผลหลังแก้ไข ข้ันตอนท่ี 3 ผู้บริหารทบทวนเปา้ หมายสง่ิ แวดล้อม ผู้บริหารจะต้องทบทวนเป้าหมายด้านส่ิงแวดล้อมอีกคร้ัง เพ่ือนำไปสู่การปรับปรุงการจัดการ ส่ิงแวดล้อมให้ดีย่ิงขึ้นอย่างต่อเน่ือง ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาหน่วยงานจะสามารถจัดการปัญหาส่ิงแวดล้อมต่างๆ บรรลุ เป้าหมายได้แล้วน้ัน แตก่ ็ไม่ได้หมายความว่าในรอบถัดไปผบู้ รหิ ารจะกำหนดเป้าหมายให้สงู ขึ้นอีก เพยี งเพ่ืออยากให้ การจัดการส่ิงแวดล้อมดีขึ้นกว่าเดิม โดยไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ท่ีเปลี่ยนแปลงไป ดังน้ันเป้าหมาย ท่ีกำหนดต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในขณะนั้นๆ ว่ามีตัวแปรอะไรบ้างท่ีเป็นอุปสรรคและโอกาส ทจี่ ะนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนด เพราะในบางสถานการณ์อาจมีผลอย่างมากต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อให้บรรลุ เป้าหมายทีก่ ำหนด ข้อปฏิบัตใิ หผ้ า่ นเกณฑก์ ารประเมิน 1. มกี ารกำหนดเป้าหมายและแผนงานสง่ิ แวดลอ้ มอย่างชดั เจน 2. ดำเนินการตามมาตรการต่างๆ ที่กำหนด ภายใต้นโยบายด้านส่ิงแวดล้อมของหน่วยงานโดยต้องได้รับความร่วมมือ จากบุคลากรทุกคน เพอ่ื ม่งุ หวงั ให้บรรลเุ ป้าหมายการปลอ่ ยก๊าซเรือนกระจกของหน่วยงาน 4. กรณบี รรลเุ ป้าหมาย ให้สรปุ สาเหตทุ ่ีนำไปสกู่ ารบรรลุ หากไม่บรรลุเปา้ หมายจะตอ้ งอธิบายสาเหตุและแนวทางแก้ไข อยา่ งสมเหตุสมผล หลกั ฐานการตรวจประเมนิ 1. เอกสารกำหนดเปา้ หมายด้านส่ิงแวดลอ้ ม พร้อมการลงนามอนุมตั ิ 2. เอกสารสรปุ ผลการดำเนินการกรณีบรรลเุ ป้าหมายและไมบ่ รรลเุ ป้าหมาย 33
คู่มือแนวทางการดำเนนิ งานสำนักงานสีเขยี วกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office ๒.7 Innovation: การพฒั นานวัตกรรม GREEN ขนั้ ตอนการดำเนินงาน นวัตกรรม Green หมายถงึ การทำส่ิงต่างๆ ดา้ นส่ิงแวดลอ้ มดว้ ยวธิ ีใหมๆ่ เช่น การเปล่ยี นแปลงทางความคิด กระบวนการทำงานหรือเทคโนโลยีด้านส่ิงแวดล้อม เพ่ือนำไปสู่การพัฒนาต่อยอด การส่งเสริมและพัฒนาให้เกิด นวัตกรรม GREEN หรือโครงการท่ีนำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเกิดการแลกเปลยี่ นเรยี นรูก้ บั เครอื ข่าย หนว่ ยงานอนื่ มแี นวทางดังน้ี ขัน้ ตอนที่ 1 หน่วยงานต้องจัดทำแผนการดำเนินโครงการหรือนวัตกรรมท่ีชัดเจน โดยมีการกำหนดเป้าหมาย และความถีใ่ นการติดตามผลทสี่ ามารถติดตามความกา้ วหนา้ ของโครงการได้ ขั้นตอนท่ี 2 บุคลากรทุกคนให้ความร่วมมือดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้อย่างต่อเน่ือง เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย ของโครงการ ขน้ั ตอนท่ี 3 ผู้รับผิดชอบสรุปผลการดำเนินโครงการ โดยแบ่งเปน็ 2 กรณี ได้แก่ 1) กรณีบรรลุเป้าหมาย ให้สรุปสาเหตทุ ่ีนำไปส่กู ารบรรลุ เพอื่ การปรับปรงุ อย่างตอ่ เนื่อง 2) กรณีไม่บรรลเุ ปา้ หมาย ให้ดำเนนิ การดังนี้ - วเิ คราะห์สาเหตุในกรณที ไ่ี ม่บรรลุเปา้ หมาย - หาแนวทางการแกไ้ ขในกรณีทไ่ี ม่บรรลเุ ป้าหมาย ขน้ั ตอนท่ี 4 ผู้รับผิดชอบกำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนหลังจากบรรลุ เป้าหมายท่ีกำหนด หลกั ฐานการตรวจประเมิน 1. แผนการดำเนนิ โครงการหรือนวตั กรรม 2. หลักฐานการดำเนนิ การตามแผนท่ีกำหนด เช่น รูปถา่ ย 3. หลักฐานการตดิ ตามและประเมินผลโครงการหรอื นวัตกรรม 4. เอกสารการวเิ คราะห์การบรรลุเป้าหมายของโครงการ 5. แนวทางการดำเนนิ งานเพ่ือใหเ้ กิดความตอ่ เน่ืองและย่ังยืน 34
คมู่ อื แนวทางการดำเนินงานสำนกั งานสเี ขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office หมวดท่ี 3 การจดั การความปลอดภยั อาชวี อนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน 3.1 ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ขั้นตอนการดำเนนิ งาน ข้ันตอนท่ี 1 ผู้รับผิดชอบทบทวน ค้นหาปัญหา (identify) ว่าในงานมีส่ิงใดบ้าง ท่ีมีผลต่อสุขอนามัยและเส่ียงต่อ การเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานของผู้ปฏิบัตงิ าน ข้นั ตอนท่ี 2 ผู้รับผิดชอบประเมินระดับอันตราย (Evaluation) ที่อาจเกิดขึ้นว่ามีผลต่อสุขภาพและเสี่ยงต่อ การเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานของผู้ปฏิบัตงิ านหรือไม่ และมากนอ้ ยเพียงใด ขน้ั ตอนท่ี 3 ผู้รับผิดชอบดำเนินการควบคุมและป้องกันอันตราย (Control) โดยการใช้มาตรการ วิธีการท่ีเหมาะสม และมีประสิทธิภาพในการควบคุมอันตรายดงั กล่าว ขั้นตอนท่ี 4 ผู้รับผิดชอบประเมินผลความสำเร็จการดำเนินงาน/การบรรลุเป้าหมาย พร้อมรายงานผู้บริหาร เพื่อเป็นหลักฐานการประเมินแบบแสดงวิธีการหรือข้ันตอนการจัดทำข้อปฏิบัติว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เชน่ งานคอมพวิ เตอร์ เป็นต้น 35
คมู่ อื แนวทางการดำเนินงานสำนกั งานสีเขยี วกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office ตวั อยา่ ง สิง่ คกุ คาม/ความเส่ยี ง/ มาตรการทมี่ อี ยแู่ ล้ว/ มาตรการเพิม่ เติม ขอ้ ปฏบิ ัติแนวทาง อนั ตรายทค่ี าดว่าอาจจะเกดิ ข้ึน ดำเนนิ การอยแู่ ล้ว (SSOP) การดำเนินงาน ขัน้ ตอน การทำงาน 1. การสมั ผสั ส่ิงสกปรกหรือเช้อื โรคท่ตี ดิ มา 1. จัดสถานท่ีทำงานให้ 1. จดั โครงการ 1. ขอ้ ปฏบิ ตั ิ แนวทาง กบั อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เชน่ แปน้ พิมพ์ เหมาะสมและหมั่นทำ อบรมการจดั การ การทำงานวา่ ด้วย การ เมา้ ส์ เปน็ ตน้ ความสะอาดสถานท่ี ความเสย่ี งดา้ นการย ความปลอดภยั ปฏิบัติงาน 2. การปฏบิ ัตงิ านโดยมีการเคลือ่ นไหว ทำงาน และอุปกรณ์ ศาสตร์ อาชีวอนามยั และ พมิ พ์ดว้ ย ส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างจำกดั และ คอมพิวเตอร์ใหส้ ะอาด (คอมพิวเตอร)์ สภาพแวดล้อมใน คอมพิวเตอร์ ทำงานในลักษณะเดิมซ้ำๆ รวมถึง อยูเ่ สมอ 2. มีช่วงเวลาพกั ทกุ การทำงาน ระยะเวลาในการทำงานที่ตอ่ เนือ่ งไม่หยดุ 2. ใช้ท่าทางการทำงาน 2 ชั่วโมง เพ่อื ผอ่ น ด้านการยศาสตร์ เร่ือง พัก สง่ ผลให้เกดิ ปญั หาความลา้ ของ ใหถ้ กู ตอ้ งเหมาะสม คลายความเมือ่ ยลา้ งานคอมพิวเตอร์ กลา้ มเนือ้ และอาการปวดเม่อื ย บริเวณท่ี 3. ประชาสมั พันธ์ให้ และออกกำลังกาย 2. คูม่ ือการปฏบิ ตั ิงาน พบปัญหาได้บอ่ ย คือ สายตา กล้ามเนือ้ คอ ความรู้เก่ียวกับ ยดื เหยยี ดคลาย โดยใช้เครอ่ื งคอมพิวเตอร์ ไหล่ แขนและหลัง การยศาสตรด์ า้ น กลา้ มเนอื้ และเร่ืองท่ีเก่ียวข้อง 3. การเพ่งมองคอมพิวเตอร์เป็น คอมพิวเตอร์ เวลานาน หลกั ฐานการประเมนิ 1. เอกสารการประเมินผลกระทบด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามแบบฟอร์ม 3.1 (1) - 3.1 (2) (ตวั อยา่ งแบบฟอร์มดังภาคผนวก) 2. หลักฐานการเผยแพร่ขอ้ มลู ใหบ้ ุคลากรในสำนกั งาน 3. หลกั ฐานการปฏิบัติตามมาตรการ เชน่ รปู ถา่ ย 3.2 มาตรฐานการปฏบิ ตั งิ านคอมพวิ เตอร์ตามหลกั การยศาสตร์ การยศาสตร์ (Ergonomics) หมายถึง สหวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของมนุษย์ ในระบบงานต่างๆ โดยมีองค์ประกอบร่วม คือ สภาพแวดล้อมในบริเวณงาน อุปกรณ์และเครื่องมือในการปฏิบัติงาน และงานที่กำลังปฏิบัติ การประยุกต์ใช้การยศาสตร์อย่างถูกต้องจะช่วยให้การออกแบบ สร้าง และปรับปรุง ระบบงานมคี วามเหมาะสมสำหรบั การปฏบิ ัติงานของมนุษย์มากท่สี ุด การปฏิบัติงานด้านคอมพิวเตอร์ มีการจัดสถานีงาน1 (Workstation) ตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน คอมพิวเตอรต์ ามหลักการยศาสตร์ ดงั น้ี ๑) เครือ่ งคอมพวิ เตอร์แบบตง้ั โตะ๊ หรือเคร่อื งคอมพิวเตอรแ์ บบพกพา และอปุ กรณป์ ระกอบ ๒) โตะ๊ สำหรับวางอปุ กรณ์ ๓) เก้าอี้สำหรบั นั่งปฏิบัตงิ าน ๔) ทา่ ทางในการนง่ั ปฏบิ ตั งิ าน ข้ันตอนการดำเนนิ งาน ขัน้ ตอนที่ 1 ผู้รับผิดชอบศึกษาข้อมูลมาตรฐานการปฏิบัติงานฯ และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากร ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง (อ้างอิงจากมาตรฐานการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics standard on working with Computer), ส ถ าบั น ค ว าม ป ล อ ด ภั ย อ าชี วอ น ามั ย แ ล ะ สภาพแวดลอ้ มในการทำงาน (องคก์ รมหาชน) : สสปท.) 36
คมู่ อื แนวทางการดำเนินงานสำนกั งานสเี ขยี วกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office รปู ที่ 3.1 ทา่ น่งั การปฏบิ ตั งิ านกบั คอมพวิ เตอรต์ ง้ั โตะ๊ ตามหลกั การยศาสตร์ ขน้ั ตอนท่ี 2 ผู้รับผดิ ชอบสำรวจจำนวนสถานีงาน และพฤติกรรมการปฏบิ ตั งิ านคอมพวิ เตอร์ของบุคลากรทกุ คน ขน้ั ตอนที่ 3 หน่วยงานประเมินการปฏิบัติในสำนักงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานฯ ในเบื้องต้น โดยครอบคลุมถึง การจดั สภาพแวดล้อมในบริเวณงาน อุปกรณ์และเครอ่ื งมือในการปฏบิ ัตงิ าน และงานท่กี ำลงั ปฏบิ ตั ิ ขนั้ ตอนที่ 4 ผรู้ บั ผิดชอบบนั ทึกการปฏบิ ัติงานคอมพิวเตอร์ตามหลักการยศาสตร์เปน็ ประจำทุกปี 1) บันทกึ จำนวนสถานงี านท้ังหมดในสำนักงาน 2) คำนวณร้อยละของสถานีงานท่ีมีการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ตามหลักการยศาสตร์ ซ่ึงมีการคำนวณ ดังนี้ ร้อยละ = จำนวนสถานีงานท่ีผา่ นเกณฑ์การประเมนิ × 100 จำนวนสถานีงานท้ังหมด คำอธิบาย 1. สถานีงาน (Workstation) หมายถึง สถานที่ในสำนักงานท่ีบุคลากรใช้เวลาส่วนใหญ่ประจำเพ่ือปฏิบัติงาน คอมพวิ เตอร์ หลกั ฐานการประเมนิ 1. บันทึกข้อมูลการคำนวณร้อยละของสถานีงานที่มีการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ตามหลักการยศาสตร์ ตามแบบฟอรม์ 3.2 (ตัวอยา่ งแบบฟอรม์ ดังภาคผนวก) 2. หลกั ฐานการดำเนินงานตามมาตรฐานการปฏบิ ตั งิ านฯ เช่น รูปถ่าย 3.3 การจดั การแสงสว่างในสำนกั งาน การจดั การแสงสว่างในสำนักงานให้ไดม้ าตรฐานที่กำหนด ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว ขั้นตอนการดำเนนิ งาน ขน้ั ตอนที่ 1 ผู้รับผิดชอบสำรวจ ค้นหา และสอบถามสภาพปัญหาแสงสว่างในการทำงาน หรือจัดทำ แบบสอบถามบุคลากรที่เกี่ยวกับปัญหาแสงสวา่ งในการทำงาน เช่น สภาพหลอดไฟเก่าชำรุด มีลักษณะการจัดแสงสว่าง ในที่ทำงานนอ้ ยหรือมากเกินไป เป็นตน้ ขั้นตอนที่ 2 ผู้รบั ผิดชอบจดั ทำแผนงานหรือกิจกรรมในการสง่ เสริมหรือแก้ไขปญั หาแสงสว่างในสำนักงาน 37
คู่มือแนวทางการดำเนนิ งานสำนักงานสเี ขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office ขน้ั ตอนท่ี 3 ผู้รับผิดชอบตรวจประเมินความเข้มแสงสว่างให้เป็นไปตามค่ามาตรฐาน หรือจัดทำแบบตรวจประเมิน ความเขม้ แสงสว่างดว้ ยตนเองใหก้ ับบคุ ลากรตรวจประเมนิ ในเบ้ืองตน้ รปู ที่ 3.2 ตรวจวดั ความเข้มแสงสวา่ งในสำนกั งาน สำนกั อนามยั กรงุ เทพมหานคร ขั้นตอนท่ี 4 หน่วยงานดำเนินการปรับปรุงและจัดการแสงสว่างในสำนักงานให้เป็นไปตามค่ามาตรฐานความเข้ม แสงสว่าง หลักฐานการประเมนิ 1. แบบสำรวจหลอดไฟทช่ี ำรุดหรอื มีแสงสวา่ งนอ้ ยหรือมากเกินไป 2. แผนงานหรอื กจิ กรรมทเ่ี กย่ี วกบั การจัดการแสงสวา่ งในสำนกั งาน 3. เอกสารการตรวจประเมินความเขม้ แสงสวา่ ง ตามแบบฟอร์ม 3.3 (ตวั อย่างแบบฟอรม์ ดังภาคผนวก) 4. การสำรวจพ้นื ที่และรปู ถ่ายการปรบั ปรงุ แสงสวา่ งในสำนักงาน 3.4 การจัดการมลพษิ ทางอากาศ ภาวะมลพิษทางอากาศภายในอาคาร (Indoor Air Pollution) หมายถึง ภาวะท่ีอากาศภายในสำนักงาน มีส่ิงเจือปนอยู่มากและระยะเวลาท่ีนานพอท่ีทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์หรือต่อสิ่งแวดล้อม บริเวณน้ันๆ หน่วยงานจะต้องมีการจัดการสภาพอากาศภายในสำนักงานให้มีสภาพอากาศที่ดี ถ่ายเทได้สะดวก เพ่ือให้บุคลากรอยใู่ นสภาพแวดลอ้ มเหมาะสม เกิดความสะดวกสบายในการทำงานและมีสขุ ภาพอนามัยท่ีดี ๓.4.๑ การควบคุมมลพิษทางอากาศในสำนกั งาน ขนั้ ตอนการดำเนินงาน ขัน้ ตอนท่ี 1 หน่วยงานจะต้องมีแผนและมาตรการใน การดูแลรักษาอุปกรณ์ เคร่ืองใช้ไฟฟ้า ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์ (Printer) และพรมปูพื้นห้อง (ขึ้นอยู่กับสำนักงาน) พรอ้ มกำหนดหนา้ ทีค่ วามรบั ผิดชอบตามแผนการดแู ลรักษา ข้ันตอนที่ 2 บคุ ลากรทกุ คนปฏิบัติตามแผนและมาตรการในการดแู ลรักษาอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทก่ี ำหนด 38
คูม่ อื แนวทางการดำเนินงานสำนกั งานสีเขยี วกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office ข้นั ตอนที่ 3 หน่วยงานจะต้องจัดวางเคร่ืองพิมพ์ (Printer) เคร่ืองถ่ายเอกสาร ให้ห่างไกลผู้ปฏิบัติงาน เพ่ือหลีกเลี่ยง การรับสัมผสั สารอนั ตรายจากอปุ กรณ์โดยตรง รปู ท่ี 3.3 การจดั วางเครอื่ งพมิ พ์ (Printer) ในสำนกั งาน ขัน้ ตอนท่ี 4 หน่วยงานต้องมีการจัดการและควบคุมควันไอเสียรถยนต์บริเวณสำนักงาน เช่น ติดป้ายดับ เคร่อื งยนต์ เป็นตน้ ข้นั ตอนที่ 5 หนว่ ยงานสื่อสารหรอื แจ้งให้ทราบถึงการเกิดมลพษิ ทางอากาศจากกจิ กรรมต่างๆ เพื่อการเตรยี มความพร้อม และระวงั การไดร้ ับอันตรายต่อสุขภาพและส่งิ แวดล้อม หลกั ฐานการตรวจประเมนิ 1. แผนและมาตรการในการดูแลรกั ษาเคร่ืองปรับอากาศ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์ (Printer) พรมปูพ้ืนห้อง (ขึ้นอยู่กบั สำนกั งาน) และกำหนดหนา้ ทค่ี วามรบั ผดิ ชอบตามแผนการดแู ลรักษา 2. หลกั ฐานการปฏบิ ัตติ ามแผนและมาตรการควบคมุ มลพษิ ทางอากาศในสำนักงานอยา่ งเครง่ ครดั เช่น รปู ถ่าย 3. เอกสารหรือรปู ถา่ ยเป็นหลกั ฐานประกอบการสื่อสาร และจดั ทำปา้ ยรณรงค์ภายในสำนักงาน 3.4.2 การรณรงค์ไมส่ บู บุหร่หี รอื มกี ารกำหนดพืน้ ที่สูบบุหรี่ทีเ่ หมาะสม และปฏบิ ตั ติ ามกฎหมาย ขั้นตอนการดำเนนิ งาน ข้นั ตอนท่ี 1 หน่วยงานตอ้ งจัดใหม้ ีการรณรงค์ไมส่ บู บุหรี่ หรอื จำกดั พ้ืนท่สี ูบบหุ ร่ีให้ชัดเจน โดยดำเนนิ การดังนี้ 1) รณรงคส์ รา้ งความรู้ความเข้าใจ เชน่ ภยั อนั ตรายของการสบู บุหรี่ วิธีการเลิกบหุ ร่ี เป็นตน้ 2) ติดสญั ลกั ษณ์เขตปลอดบุหรไี่ วใ้ ห้เหน็ โดยชดั เจน 3) ตดิ สญั ลักษณ์เขตสบู บหุ รี่ ในกรณที ี่สามารถจัดเขตสูบบหุ รเี่ ปน็ การเฉพาะได้ 4) จัดพื้นที่เขตสูบบุหร่ี ซึ่งจะต้องไม่อยู่ในบริเวณที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชน ที่อยู่บริเวณข้างเคยี ง ไม่อยู่ในบริเวณทางเข้า – ออกของสถานที่ท่ีให้มกี ารคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหร่ี มพี ้ืนที่ เป็นสัดส่วนชัดเจน โดยคำนึงถึงการระบายอากาศที่เหมาะสม และไม่อยู่ในบริเวณท่ีเปิดเผยอันเป็นที่เห็นได้ชัด แกผ่ ้มู าใช้สถานทน่ี ัน้ ข้ันตอนที่ 2 ผู้รับผดิ ชอบตรวจสอบวา่ ไมพ่ บการสบู บหุ รี่ หรอื ก้นบหุ รนี่ อกพน้ื ทสี่ บู บุหร่ี หลกั ฐานการตรวจประเมนิ 1. หลกั ฐานการรณรงคไ์ มส่ ูบบุหรหี่ รือมกี ารกำหนดพ้นื ทีส่ ูบบุหรท่ี ีเ่ หมาะสม เชน่ การสำรวจพืน้ ที่ รปู ถ่าย 2. การสำรวจพน้ื ทว่ี า่ ไมพ่ บการสบู บหุ รี่ หรอื กน้ บหุ รี่นอกเขตสูบบหุ ร่ี 39
คมู่ อื แนวทางการดำเนนิ งานสำนกั งานสีเขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office 3.4.3 การจัดการมลพิษอากาศจากภายนอกสำนกั งานท่สี ่งผลต่อสำนกั งาน ข้นั ตอนการดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 1 หนว่ ยงานกำหนดมาตรการรองรบั เพ่ือจดั การมลพษิ ทางอากาศที่มาจากภายนอกสำนกั งาน ขน้ั ตอนที่ 2 บุคลากรทุกคนปฏิบัติตามมาตรการท่ีได้กำหนด ถ้าพบว่ามีมลพิษทางอากาศท่ีมาจากภายนอก สำนกั งาน หลักฐานการตรวจประเมิน 1. มาตรการจัดการมลพษิ อากาศจากภายนอกสำนกั งานท่ีสง่ ผลต่อสำนักงาน 2. หลกั ฐานการดำเนินงานตามมาตรการท่ีกำหนด เช่น รูปถ่าย 3.5 การควบคุมมลพิษทางเสียง การควบคมุ มลพิษทางเสียง หมายถึง สภาพแวดลอ้ มทม่ี เี สยี งดังเกนิ ค่ามาตรฐานที่กรมควบคุมมลพษิ กำหนด อันก่อให้เกิดความรำคาญ สร้างความรบกวน ทำให้เกิดความเครียดท้ังทางร่างกายและจิตใจ ทำให้ตกใจ และอาจถึงขั้น เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยได้ เช่น เสียงที่ดังมากหรือเสียงที่ดังยาวต่อเนื่องจากอุปกรณ์หรือเครื่องมือ ทกี่ ่อใหเ้ กิดเสยี งดังท้ังภายในและภายนอกสำนักงาน ขน้ั ตอนการดำเนนิ งาน ข้ันตอนท่ี 1 หน่วยงานต้องมกี ารควบคุมมลพษิ ทางเสียงภายในสำนักงาน 1) กำหนดมาตรการรองรบั เพ่อื จัดการเสียงดงั ท่มี าจากภายในสำนักงาน 2) ปฏบิ ัติตามมาตรการทไี่ ด้กำหนดในขอ้ 1) ถา้ พบว่ามีเสยี งดงั ที่มาจากภายในสำนกั งาน ขน้ั ตอนท่ี 2 หน่วยงานต้องมีการจดั การเสยี งดงั จากภายนอกท่สี ง่ ผลต่อสำนักงาน 1) กำหนดมาตรการรองรบั เพ่ือจดั การเสียงดงั ทมี่ าจากภายนอกสำนกั งาน 2) ปฏิบัตติ ามมาตรการท่ไี ดก้ ำหนดในขอ้ ๑) ถ้าพบวา่ มีเสยี งดงั ท่ีมาจากภายนอกสำนักงาน หมายเหตุ: หากมีแหล่งกำเนิดเสียงในพื้นท่ีปฏิบัติงาน เช่น เคร่ืองจักรหรือการก่อสร้าง จะต้องมี มาตรการควบคมุ เสียงดงั หลกั ฐานการตรวจประเมนิ 1. มาตรการควบคมุ มลพิษทางเสยี งภายในสำนักงานและภายนอกทีส่ ง่ ผลต่อสำนกั งาน 2. หลกั ฐานการดำเนนิ การตามมาตรการท่ีกำหนด เช่น รปู ถ่าย 3.6 การจดั สถานทีท่ ำงานนา่ อยู่ 3.6.1 การวางแผนจดั การความนา่ อย่ขู องสำนกั งาน ขั้นตอนการดำเนนิ งาน ข้ันตอนที่ 1 หน่วยงานจดั ทำแผนผังของสำนกั งานทั้งในตัวอาคารและนอกอาคาร โดยจะตอ้ งกำหนดพื้นที่ใช้งาน อย่างชัดเจน เช่น พ้ืนที่พักผ่อนหย่อนใจ พ้ืนที่สีเขียว พ้ืนที่ส่วนรวม และพื้นท่ีทำงาน เป็นต้น และส่ือสารให้บุคลากร รับทราบดว้ ยป้ายหรือวิธกี ารอ่นื ๆ ท่ีเหมาะสม ขน้ั ตอนที่ 2 หน่วยงานกำหนดหนา้ ทค่ี วามรบั ผดิ ชอบของผ้รู บั ผิดชอบอย่างเหมาะสมในแต่ละพื้นท่ี ขั้นตอนที่ 3 หน่วยงานกำหนดเวลาที่แน่นอนในการดูแลรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ในแต่ละพื้นท่ี 40
คู่มือแนวทางการดำเนินงานสำนกั งานสีเขียวกรุงเทพมหานคร Bangkok Green Office ขนั้ ตอนที่ 4 หน่วยงานกำหนดแผนงานการเพ่ิมพ้ืนท่ีสีเขียว และคงรักษาไว้ของสำนักงาน รวมไปถึงมีการปฏิบัติจริง ตามแผนงาน และมขี อ้ มลู จำนวนพ้ืนท่ีสีเขยี วเดมิ และที่เพิ่มขน้ึ อยา่ งชัดเจน หลกั ฐานการตรวจประเมิน 1. แผนผงั ของสำนักงานทีบ่ ่งช้ีพืน้ ท่ีใช้สอยอย่างชดั เจน 2. แผนประจำปีในการดูแลพ้ืนที่ของสำนักงาน ซึ่งต้องมีผู้รับผิดชอบ กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ระยะเวลา ตามแบบฟอร์ม 3.6.1 (ตวั อย่างแบบฟอร์มดังภาคผนวก) และแผนงานการเพมิ่ พื้นท่สี เี ขยี ว 3. หลักฐานการปฏิบัติตามแผนทก่ี ำหนด เช่น การสำรวจพนื้ ท่ีเพือ่ ดูการบ่งชกี้ ารใช้ประโยชน์ รูปถ่าย เปน็ ตน้ 3.6.2 การใช้สอยพื้นท่ีเป็นไปตามวตั ถุประสงค์ทส่ี ำนักงานกำหนด การใช้สอยพ้ืนท่ีเป็นไปตามวัตถุประสงค์ หมายถึง พื้นท่ีที่หน่วยงานกำหนดขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ ดา้ นใดดา้ นหน่งึ และได้มีการใชพ้ นื้ ทด่ี ังกล่าวตามท่ีไดก้ ำหนดจรงิ โดยไม่มสี ง่ิ อน่ื มาเกีย่ วขอ้ ง ขน้ั ตอนการดำเนนิ งาน ปฏบิ ัติตามข้ันตอนการดำเนินงานในข้อ 3.6.1 หลกั ฐานการตรวจประเมิน การสำรวจพน้ื ทต่ี ามทีก่ ำหนดวัตถปุ ระสงค์การใช้สอย หมายเหตุ: หากสำนักงานมีพื้นที่จำกัด อาจมีการจดั เก็บหรอื ใช้พ้ืนที่รว่ มกัน ดังน้ันหากไมม่ ีการแยกพ้ืนที่ ได้อย่างชดั เจน สามารถแบ่งสัดส่วนการใชง้ านและจัดเก็บของภายในพืน้ ท่นี ัน้ ได้ ท้ังนีข้ ึ้นอย่กู ับดลุ พินจิ ของผู้ตรวจประเมิน ในการสุ่มตรวจสอบพนื้ ทใ่ี ชส้ อยที่ถกู แบ่งทง้ั หมดวา่ ตอ้ งมกี ารใชป้ ระโยชนต์ ามวัตถปุ ระสงคท์ ่ีได้กำหนดขนึ้ 3.6.3 การดูแลบำรงุ รักษาพน้ื ท่ี การดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ต่าง ๆ เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่ส่วนกลาง และ พืน้ ทที่ ำงาน เป็นต้น รปู ท่ี 3.4 การดแู ลบำรงุ รกั ษาพน้ื ทสี่ เี ขยี ว ขั้นตอนการดำเนนิ งาน ปฏิบัติตามขัน้ ตอนการดำเนนิ งานในข้อ 3.6.1 หลกั ฐานการตรวจประเมนิ การสำรวจพ้นื ท่ี โดยพน้ื ที่เหลา่ นั้นจะตอ้ งมคี วามสะอาดและเปน็ ระเบียบ พืน้ ทส่ี เี ขียวได้รบั การดแู ล หมายเหตุ: พื้นท่ีสีเขียว สามารถประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสำนักงาน เช่น การทำสวนแนวด่ิงกรณีที่ไม่มี พนื้ ที่สำหรับปลูกต้นไมจ้ ากพนื้ ดิน การปลกู ไม้กระถางบริเวณด้านนอกสำนกั งานหรือระเบียบทางเดนิ 41
Search