Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ

โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ

Description: โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ อาหารสำหรับผู้สูงอายุ

Keywords: โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ

Search

Read the Text Version

โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ จัดทำโดย นางสาวคัมภีร์พรรณ ช่วยวงศ์ญาติ



คำนำ E-Book เรื่อง \"โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ\" ฉบัับนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนรายวิชา โภชนาการสำหรับ ผู้สูงอายุ วิทยาลัยสารพัดช่างอุดรธานี ซึ่งมีเนื้อหาตรงตามหลักสูตรอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษา พุทธศักราช 2562 ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า E-Book ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนทุกคน ที่กำลังศึกษาในเรื่อง \"โภชนาการ สำหรับผู้สูงอายุ\" และจะสามารถช่วยให้นักเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ตามหลักสูตรอาชีวศึกษา นางสาวคัมภีร์พรรณ ช่วยวงศ์ญาติ ผู้จัดทำ



สารบัญ 1 ความหมาย หน้า 1 2 อาหารหลัก 5 หมู่ หน้า 2 3 ความต้องการพลังงานและสารอาหาร ในผู้สูงอายุ 1. พลังงาน หน้า 3 2. โปรตีน หน้า3 3. ไขมัน หน้า4 4. คาร์โบไฮเดรต หน้า4 5. วิตามิน หน้า4 4 อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง หน้า 5 5 แบบฝึกหัด 6 ตัวอย่างเมนูอาหารสำหรับผู้สูงอายุ หน้า 7-8 หน้า 6 7 บรรณานุกรม หน้า 9



ความหมาย มนุษย์ที่มีอายุอยู่ในช่วงปลายของชีวิต นิยามของผู้สูงอายุ แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่ามองผ่านความรู้สาขาใด เช่น ทางชีววิทยา ประชากรศาสตร์ การจ้าง งาน และทางสังคมวิทยา เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ตามกฎหมายกำหนดไว้ ว่าผู้สูงอายุคือบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในขณะที่ ประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่จะมีสัดส่วนผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งประเทศสูงกว่าประเทศกำลัง พัฒนา ผู้สูงอายุ

อาหารหลัก 5 หมู่ อาหารหลักหมู่ที่ 1 อาหารหลักหมู่ที่ 2 เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ข้าวกล้อง ข้าว แป้ง ให้สารอาหารประเภท เผือกมัน น้ำตาล ให้ โปรตีน สารอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรต อาหารหลักหมู่ที่ 3 อาหารหลักหมู่ที่ 4 พืชผักต่าง ๆ ผลไม้ต่าง ๆ ให้สารอาหาร ให้สารอาหาร ประเภท เกลือแร่ ประเภทวิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ อาหารหลักหมู่ที่ 5 ไขมัน ให้สารอาหาร ประเภทไขมัน

ความต้องการพลังงานและสารอาหาร ในผู้สูงอายุ 1.พลังงาน ความต้องการพลังงานของวัยผู้สูงอายุจะลดลง เนื่องจากการทำงานของอวัยวะ ต่าง ๆ เช่น หัวใจ ตับ ปอด ฯลฯ การทำงานของกล้ามเนื้อลดน้อยลง และกิจกรรมในการ ใช้แรงงานหนักต่าง ๆ ก็น้อยลง ดังนั้นความต้องการพลังงานของผู้สูงอายุจะลดลง ร้อย ละ 20-30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการพลังงานที่ได้รับใน 1 วัน ของ กลุ่มอายุ 20-30 ปี กล่าวคือ ผู้สูงอายุชายและหญิง อายุ 60 ปีขึ้นไป ต้องการพลังงาน เฉลี่ยประมาณ 1,600 กิโลแคลอรี 2. โปรตีน สารอาหารโปรตีน จำเป็นในการซ่อมแซม ส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ตั้งแต่ผิวหนัง กล้ามเนื้อ เลือด กระดูก ตลอดจนเนื้อเยื่อต่าง ๆ ผู้สูงอายุต้องการโปรตีน ประมาณ 0.88 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน แหล่งโปรตีนคุณภาพดี ได้แก่ อาหารจำพวกเนื้อ ไข่ นม และถั่วเมล็ดแห้ง

ความต้องการพลังงานและสารอาหาร ในผู้สูงอายุ (ต่อ) 3. ไขมัน เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง เป็นตัวนำ วิตามินที่ละลายในไขมันให้ใช้ประโยชน์ได้ใน ร่างกาย และยังช่วยให้อาหารมีรสอร่อยและ ทำให้รู้สึกอิ่ม ผู้สูงอายุมีความต้องหารพลังงาน ลดลง จึงควรลดการบริโภคไขมันลงด้วย คือไม่ ควรเกินร้อยละ 25-30 เปอร์เซ็นต์ ของ ปริมาณพลังงานทั้งหมด ที่ได้รับต่อวัน 4. คาร์โบไฮเดรต เรามักจะได้รับพลังงานส่วนมาก จากคาร์โบไฮเดรต เป็นอาหารที่ประกอบได้ง่าย และกินง่าย เคี้ยวง่าย แต่ผู้สูงอายุควรลดการกิน อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต โดยเฉพาะน้ำตาล ต่างๆ เพื่อเป็นการลดปริมาณพลังงานผู้สูงอายุได้ รับคาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 55 % ของปริมาณ พลังงานทั้งหมดต่อวัน 5. วิตามิน ช่วยให้ร่างกายทำงานได้ตาม ปกติ ผู้สูงอายุมีความต้องวิตามินเท่ากับ วัยหนุ่มสาว แต่เนื่องจากผู้สูงอายุมีปัญหา เรื่องฟัน จึงได้รับวิตามินบางตัวไม่เพียง พอ

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง อาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว เช่น หมูสามชั้น คอหมูย่าง เนื้อไก่ติดหนัง อาหารที่มีรสจัด โดยเฉพาะเค็มจัดและหวานจัด อาหารที่มีปริมาณเกลือสูงทำให้เพิ่มความเสี่ยง ต่อการเป็นโรคไตและความดันโลหิตสูง อาหาร ที่หวานจัดจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบา หวาน

ตัวอย่างเมนูอาหารสำหรับผู้สูงอายุ มื้อเช้า มื้อเที่ยง ข้าวต้มปลา ข้าวกล้อง กล้วยสุก แกงจืดมะระยัดไส้หมู น้ำเต้าหู้ ผัดบวบใส่ไข่ มะละกอสุก มื้อเย็น ข้าวกล้อง น้ำพริกกะปิ + ปลาทูนึ่ง ผักนึ่ง ส้มเขียวหวาน

แบบฝึกหัด คำชี้แจง ให้นักเรียนทำกิจกรรมการจัดรายการอาหารโดยจัดกิจกรรมดังต่อไปนี้ จัดรายการอาหาร ใน 7 วันให้ได้ปริมาณพลังงานที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ โดยที่มีสารอาหาร ครบถ้วน วันที่ 1 มื้อเช้า .............................................................................................................................................. มื้อเที่ยง............................................................................................................................................ มื้อเย็น.............................................................................................................................................. วันที่ 2 มื้อเช้า .............................................................................................................................................. มื้อเที่ยง............................................................................................................................................ มื้อเย็น.............................................................................................................................................. วันที่ 3 มื้อเช้า .............................................................................................................................................. มื้อเที่ยง............................................................................................................................................ มื้อเย็น..............................................................................................................................................

แบบฝึกหัด (ต่อ) วันที่ 4 มื้อเช้า .............................................................................................................................................. มื้อเที่ยง............................................................................................................................................ มื้อเย็น.............................................................................................................................................. วันที่ 5 มื้อเช้า .............................................................................................................................................. มื้อเที่ยง............................................................................................................................................ มื้อเย็น.............................................................................................................................................. วันที่ 6 มื้อเช้า .............................................................................................................................................. มื้อเที่ยง............................................................................................................................................ มื้อเย็น.............................................................................................................................................. วันที่ 7 มื้อเช้า .............................................................................................................................................. มื้อเที่ยง............................................................................................................................................ มื้อเย็น..............................................................................................................................................

บรรณานุกรม สุนีย์ สหัสโพธิ์ และคณะ. (2565). โภชนาการพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬา. วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. (2560). การจัดการภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ (NUTRITIONAL MANAGEMENT IN THE ELDERLY). กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬา.

ประวัติผู้จัดทำ ชื่อ : นางสาวคัมภีร์พรรณ ช่วยวงศ์ญาติ ชื่อเล่น : แอมมี่ ตำแหน่ง : ครูผู้ช่วย (ครูประจำแผนกวิชาอาหารและโภชนาการ) หัวหน้างานวิทยบริการและห้องสมุด ผู้ช่วยหัวหน้างานบุคลากร ผู้ช่วยหัวหน้างานหลักสูตร สถานที่ทำงาน : วิทยาลัยสารพัดช่างอุดรธานี สังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา อีเมลล์ : [email protected]




Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook