Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 4. นายวิทยา ภิญโญฤทธิ์

4. นายวิทยา ภิญโญฤทธิ์

Published by ELECTRONIC CHANNEL, 2022-05-06 01:59:10

Description: 4. นายวิทยา ภิญโญฤทธิ์

Search

Read the Text Version

คำนำ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๑๔ (๔) และ มาตรา ๘๐ บัญญัติให้มีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง บาง ตำแหน่งและบางวิทยฐานะ เพ่อื เพ่มิ พนู ความรู้ ทักษะ เจตคตทิ ่ดี ี คุณธรรม จรยิ ธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพท่ี เหมาะสม ในอันที่จะทำให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและความก้าวหน้าแก่ราชการ ก.ค.ศ.ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหนง่ รองผอู้ าํ นวยการสถานศกึ ษา สังกดั สำนักงานคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา ตามหนังสอื สำนกั งาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ ๐๒๐๖.๗/ว๘ ลงวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๓ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยความร่วมมือกับ สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนา สำนักพัฒนา สมรรถนะ ครูและบุคลากรอาชีวศึกษา จึงได้ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อํานวยการสถานศึกษาตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนด เหมาะสมกับตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ซึ่งผู้จัดทำ รายงานฉบบั นไ้ี ดเ้ ขา้ รบั การฝึกประสบการณ์ในสถานศกึ ษาตน้ แบบแหง่ ที่ ๑ ณ วิทยาลัยการอาชพี นครไทย อำเภอ นครไทย จ.พษิ ณโุ ลก และสถานศกึ ษาตน้ แบบแหง่ ที่ ๒ ณ วิทยาลัยอาชวี ศึกษาพษิ ณุโลก อ.เมืองพิษณโุ ลก จ.พิษณโุ ลก การฝึกประสบการณ์ในสถานศึกษาครั้งน้ีข้าพเจ้าขอขอบพระคุณผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพนครไทย และวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก พร้อมด้วยคณะผูบ้ ริหาร ครูและบคุ ลากรของสถานศกึ ษาเป็นอย่างสูงท่ีกรุณา ไดใ้ ห้ขอ้ มูลและถ่ายทอดประสบการณ์การเป็นผู้บริหารทพี่ ึงประสงค์ในยุคไทยแลนด์ ๔.๐ ใหส้ อดคล้องกับยุคชีวิต วิถีอนาคต (Next Normal) และสง่ ผลใหผ้ ู้ท่ีจะเข้าสตู่ ำแหนง่ รองผู้อำนวยการสถานศึกษาอาชวี ศึกษาเป็นผู้บริหาร ทม่ี ีอุดมการณ์ มีวสิ ยั ทศั น์ บุคลิกภาพ และมีความสามารถท่ีเหมาะสมต่อการเปน็ ผู้บริหารสถานศึกษาขององค์กร และสามารถเปน็ นกั บรหิ ารสถานศกึ ษาใหเ้ กดิ ประสทิ ธภิ าพ และเป็นประโยชนต์ อ่ ประเทศชาติต่อไป วิทยา ภิญโญฤทธิ์ ผจู้ ัดทำ

สารบญั หนา้ หัวข้อเรอื่ ง 1 ๑. วเิ คราะหบ์ รบิ ทของสถานศึกษา วิทยาลัยการอาชีพนครไทย 1 1 ๑.๑ ขอ้ มลู พ้ืนฐานสถานศกึ ษา ๒ ๑.๒ ข้อมลู ค่านิยม วัฒนธรรมทอ้ งถ่นิ ๓ ๑.๓ วิเคราะหบ์ ริบทสถานศึกษา จดุ เด่น , จดุ ด้อย ๓ ๑.๔ กลยุทธใ์ นการขับเคล่อื น Future Skill ของสถานศกึ ษา ๔ ๑.๕ การสร้างความเขม้ แข็งของระบบความรว่ มมือกับสถานประกอบการ ๑.๖ ระบบการบรหิ ารจดั การสู่คุณภาพ ๖ ๑.๗ การขบั เคลื่อนระบบงานวชิ าการ ๖ ๒. วเิ คราะหบ์ ริบทของสถานศึกษา วทิ ยาลยั อาชวี ศึกษาพษิ ณุโลก ๖ ๒.๑ ข้อมูลพนื้ ฐานสถานศึกษา ๗ ๒.๒ ข้อมูลค่านยิ ม วฒั นธรรมท้องถิน่ ๘ ๒.๓ วเิ คราะห์บรบิ ทสถานศึกษา จดุ เด่น , จดุ ดอ้ ย ๙ ๒.๔ กลยุทธใ์ นการขับเคล่อื น Future Skill ของสถานศึกษา ๑๐ ๒.๕ การสรา้ งความเข้มแข็งของระบบความร่วมมือกบั สถานประกอบการ ๒.๖ ระบบการบริหารจดั การส่คู ุณภาพ ๒.๗ การขับเคล่อื นระบบงานวิชาการ ภาคผนวก ภาคผนวก ก ภาพกจิ กรรมระหว่างฝกึ ประสบการณ์ในสถานศกึ ษาแหง่ ที่ ๑ ภาคผนวก ข ภาพกิจกรรมระหวา่ งฝึกประสบการณ์ในสถานศึกษาแหง่ ท่ี ๒

๑ วเิ คราะห์บรบิ ทของสถานศกึ ษา วิทยาลยั การอาชีพนครไทย ๑.๑ ขอ้ มูลพนื้ ฐานสถานศึกษา วทิ ยาลัยการอาชีพนครไทย สงั กัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศกึ ษา กระทรวงศกึ ษาธิการ เดิมช่ือ วิทยาลัยการอาชีพนครไทย สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดตั้งตาม โครงการจดั ต้งั วทิ ยาลัยการอาชพี ระดับอำเภอ ของกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศกึ ษาธกิ าร สภาตำบลเนินเพิ่มได้มอบที่ดินสาธารณะประโยชน์บ้านโนนหนองใหญ่ซำยาง หมู่ที่ 3 ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ประมาณ 205 ไร่ 1 งาน 75 ตารางวา ให้แก่ กรมอาชีวศึกษา เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 สำหรับเป็นที่จัดตั้งวิทยาลัยการอาชพี นครไทย ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้อนมุ ัตใิ นหลักการให้ กรมอาชวี ศกึ ษา ใช้ท่ีดนิ ดงั กล่าว สำหรับสรา้ งวิทยาลยั การอาชพี นครไทยได้ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทยท่ี มท 0718/12580 ลงวันท่ี 4 สิงหาคม 2540 โดยนายสุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการวิทยาลัยการ อาชพี นครไทยไดเ้ รมิ่ เปดิ ดำเนินการเรียนการสอนครง้ั แรกต้งั แตภ่ าคเรียนท่ี 1 ปีการศกึ ษา 2541 เป็นตน้ มาจนถงึ ปัจจบุ นั ปรชั ญา ลำ้ เลศิ วิชาการ ชำนาญวิชาชพี เรง่ รบี ตรงเวลา พัฒนาสังคมไทย อัตลักษณ์ มใี จบรกิ าร เอกลักษณ์ พัฒนาอาชพี สู่สงั คม วิสัยทัศน์ (Vision) มุ่งมัน่ จัดการอาชีวศึกษา พัฒนาเทคโนโลยี สร้างคนดี ส่สู งั คมตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทต่ี ั้งสถานศึกษา เลขที่ 179 หมู่ 3 ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 65120 โทร : 055-363095 แฟกซ์ : 055-363207 ๑.๒ ขอ้ มลู ค่านยิ ม วฒั นธรรมท้องถิ่น การแตง่ กายทกุ วันศุกรผ์ ้บู ริหาร ครแู ละบคุ ลากรทางการศึกษา นักเรียนนกั ศึกษาจะมีการแตง่ กายด้วยชุด ผ้าเมือง ผา้ ไหม ผ้าทอ เพ่ือเปน็ การอนุรักษว์ ฒั นธรรมประเพณกี ารแต่งกายของท้องถนิ่ นกั เรียนชายก็จะแต่งกาย ชดุ หม้อฮ่อม นักเรยี นหญิงก็จะแตง่ กายใส่ชุดผา้ ถุง ซง่ึ จะเป็นแบบเดียวกนั ทง้ั หมด ๑.๓ วเิ คราะห์บริบทสถานศกึ ษา จุดเด่น , จดุ ด้อย จุดเดน่ สถานศกึ ษาได้มีการวางแผนการดําเนนิ งานคุณภาพการศกึ ษาของสถานศึกษาตามมาตรฐานการ อาชีวศึกษา พ.ศ. 2561 พบว่า วิทยาลัยการอาชีพนครไทย มีความพร้อมด้านการจัดการเรียนการสอน อาชีวศึกษา มีจำนวนครูที่มีคุณวุฒิการศึกษา เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนและส่งเสริม สนับสนุนให้ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบทางวิชาการ วิชาชีพ และด้านคุณธรรม จัดการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงโดยมีช่องทางการศึกษาที่ทันสมัย มีการนําระบบ ข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการบริหารสถานศึกษา เช่น ระบบ RMS, E-Office เป็น ช่องทางในการให้บริการข้อมูล, ติดต่อสื่อสาร กับหน่วยงานภายนอก วิทยาลัยการอาชีพนครไทย จัด สภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ อาคารสถานที่ ห้องเรยี น หอ้ งปฏิบัติการ ศนู ย์วิทยบรกิ าร จัดสอ่ื แหลง่ เรียนรู้ เทคโนโลยี สารสนเทศ ระบบอินเทอร์เนต็ อยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ

๒ จดุ ท่ีควรพัฒนา 1. จัดการระบบดแู ลผ้เู รยี นและผู้สำเรจ็ การศึกษาอย่างเปน็ ระบบเพือ่ ลดปญั หาการออกกลางคนั และเพิม่ ปรมิ าณผสู้ ำเรจ็ การศึกษา 2. จัดอบรม ส่งเสริม สนับสนุน ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ด้านวิชาการ วิชาชีพ และ พฒั นาตนเองตามแผนพัฒนาตนเอง (ID Plan) 3. สนบั สนนุ ให้ผูเ้ รยี นจดั ทำผลงาน ด้านนวัตกรรม ส่ิงประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวจิ ยั ทกุ ระดับชั้น 4. อบรมการจดั ทำหลักสตู รฐานสมรรถนะอย่างเป็นระบบ 5. จัดให้มีหอ้ งเรียนเฉพาะทางใหค้ รบทุกสาขาวชิ า ๑.๔ กลยุทธ์ในการขบั เคล่ือน Future Skill ของสถานศกึ ษา - ศูนยบ์ ่มเพาะผปู้ ระกอบการอาชวี ศกึ ษาในสถานศกึ ษา การวางแผน (Plan) งานส่งเสริมผลผลิตการค้าและประกอบธุรกิจ ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ ดำเนินการเขียนโครงการเข้าแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ เพื่อสอดคล้องกับมาตรฐานการ อาชีวศึกษาของสถานศึกษาในมาตรฐานที่ ๔ การสร้างผู้ประกอบการอาชีวศึกษา โดยสถานศึกษาวางแผนจัด กิจกรรมการพัฒนาทักษะพื้นฐานของนักเรียน นักศึกษา ให้มีความรู้ทางด้านการจัดการธุรกิจอย่างแท้จริง ตลอดจนการพัฒนาทักษะในการคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative thinking) ด้วยการสร้างชิ้นงานสิ่งประดิษฐ์ หรือ นวัตกรรมใหม่ตามสาขาวิชา และนํามาต่อยอดในเชิงพานิชย์ รวมไปถึงการสร้างเครือข่ายใน การพัฒนา ผปู้ ระกอบการใหม่ให้สามารถสร้างช่องทางการเข้าถึงแหล่งทุนและองค์ความรธู้ รุ กิจ เพื่อเพม่ิ ช่องทางอาชีพให้แก่ ผ้เู รียนใหส้ ามารถประกอบธรุ กจิ ได้ วิธีการลงมือทำ (Do) ด้านการสร้างผู้ประกอบการสถานศึกษาจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการ อาชีวศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพมีการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการอาชีวศึกษา โดยมุ่งให้องค์ ความรู้ดา้ นธรุ กจิ แกน่ กั เรียนนกั ศึกษา สามารถประกอบธุรกิจของตนเอง หรอื พัฒนาต่อยอดจากธรุ กจิ เดิมโดยการ จัดฝึกอบรมการทำแพลตฟอร์มออนไลน์ในการฝึก Future skill สำหรับจัดจำหน่ายผลิตภัณฑท์ ี่มีวางขายภายใน ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาของสถานศึกษา ด้านการพัฒนาทักษะการดำเนินธุรกิจโดยใช้ส่ือ อิเล็กทรอนิกส์ สถานศึกษาส่งเสริมสนับสนุนในการพัฒนาทักษะการดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E- Commerce) เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา สามารถดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือโดยมี แพลตฟอรม์ ออนไลน์เป็นปัจจัยสนับสนุน เพอื่ ใหบ้ รรลุเป้าหมายทางธุรกิจท่ีได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อ การดำเน ิน ธุรกิจใน ปัจจุ บัน แ ละ อน า คต โดย ผู้ ปฏิ บัต ิด ำเน ิน ก ารจั ดจ ำหน ่ าย ผล ิตภ ัณฑ ์ของ ศูน ย์ บ ่มเ พ า ะ ผู้ประกอบการอาชีวศึกษาโดยส่งสินค้าตามออเดอร์ทีไ่ ด้รับข้อมูลการสัง่ เขา้ มาผ่านแพลตฟอร์มและดำเนินการส่ง สินค้าผา่ นระบบขนส่งเอกชนและทางไปรษณีย์ไปถึงผรู้ บั ปลายทาง การตรวจขั้นตอน (Check) สถานศึกษามีการสรุปรายงานการดำเนินงานของทุกธุรกิจที่ตั้งขึ้นภายใน สถานศึกษาทีเ่ ขา้ ร่วมโครงการศูนย์บม่ เพาะผปู้ ระกอบการอาชวี ศกึ ษาผ่านแพลตฟอรม์ ออนไลนเ์ ปน็ ประจำทุกภาค เรียนโดยสรปุ ข้อมูลส่งใหก้ บั งานสง่ เสริมผลผลิตการคา้ และประกอบธรุ กจิ ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือเพื่อจะได้ ตรวจสอบขอ้ มลู การรายงานผลการดำเนินงานของทกุ ธุรกิจทเ่ี กดิ ขึน้ ภายในสถานศกึ ษา สรุปผลท่ไี ดร้ ับ (Act) งานส่งเสริมผลผลิตการค้าและประกอบธรุ กิจ ฝ่ายแผนงานและความรว่ มมือนำผล จากการตรวจสอบรายงานผลมาเปรียบเทียบการขายสินค้าของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาระหว่าง รปู แบบการทำธรุ กจิ ขายสินคา้ แบบเดิมกับรูปแบบการทำธุรกิจขายสินค้าผ่านแพลตฟอรม์ ออนไลน์ จะพบวา่ มยี อด การขายสินคา้ ที่แตกต่างกนั โดยทกี่ ารทำธุรกิจขายสินค้าผ่านแพลตฟอรม์ ออนไลน์มยี อดขายทีเ่ พิ่มสูงขึ้นอย่างเห็น ได้ชัดและจะนำผลจากการตรวจสอบรายงานไปพฒั นาปรับปรุงในครงั้ ตอ่ ไป

๓ ๑.๕ การสร้างความเข้มแข็งของระบบความรว่ มมอื กับสถานประกอบการ การวางแผน (Plan) งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ฝ่ายวิชาการ จัดทำโครงการเพิ่มระดับความพึงพอใจ ของสถานประกอบการหน่วยงานชุมชนที่มีต่อนักเรียนนักศึกษาฝึกงาน และงานความร่วมมือ ฝ่ายแผนงานและ ความร่วมมือ จัดทำโครงการลงนามความร่วมมือกับสถานประกอบการ เสนอเข้าแผนปฏิบัติราชการประจำปี งบประมาณ ๒๕๖๕ และจัดทำคำสง่ั แตง่ ตง้ั คณะกรรมการดำเนินงาน วิธกี ารลงมอื ทำ (Do) งานอาชีวศึกษาระบบทวภิ าคีและงานความรว่ มมอื ดำเนนิ การทำบนั ทึกข้อความขอ อนมุ ัตดิ ำเนินโครงการตามแผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปีงบประมาณ โดยมีข้ันตอนในการดำเนินงานดงั นี้ ๑. ให้ครูผู้รับผิดชอบการฝึกงานและฝึกอาชีพของนักเรียนนักศึกษาแต่ละแผนก ออกไปสำรวจสถาน ประกอบการในพ้นื ที่และเปน็ สถานประกอบการทม่ี คี วามพร้อมในการรบั นกั เรียนนกั ศกึ ษาเขา้ ฝกึ งานและฝึกอาชีพ และจัดสง่ รายช่ือสถานประกอบการมายงั งานอาชีวศกึ ษาระบบทวิภาคแี ละงานความรว่ มมอื ๒. งานความร่วมมือจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU กับสถานประกอบการโดยมีการลงนามใน บันทึกขอ้ ตกลงความร่วมมือระหว่างผูอ้ ำนวยการสถานศกึ ษากบั สถานประกอบการเพอ่ื ร่วมกันจัดการฝึกงานและฝึก อาชีพของนกั เรยี นนกั ศึกษา ๓. งานอาชีวศกึ ษาระบบทวภิ าคีดำเนินการทำหนังสือส่งตัวนกั เรียนนักศึกษาเข้าฝกึ งานและฝกึ อาชีพ ๔. มีการประชุมทีมงานคณะกรรมการตามคำสั่งของสถานศึกษาเพื่อมอบหมายภารกิจในการกำกับดูแล ติดตามออกนิเทศการฝกึ งานและฝึกอาชพี ของนักเรียนนกั ศึกษา ๕. ครูนิเทศและครฝู ึกในสถานประกอบการร่วมกันแกป้ ญั หาทเ่ี กดิ ข้ึนในการฝึกงานและฝึกอาชีพ การตรวจขั้นตอน (Check) งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ดำเนนิ การกรอกขอ้ มูลของสถานประกอบการที่มี นักเรียนนักศึกษาไปฝึกงานและฝึกอาชีพลงในระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องระบบความร่วมมือของสำนักงาน คณะกรรมการการอาชวี ศึกษา โดยดำเนนิ การกรอกขอ้ มูลเข้าระบบทุกปีการศกึ ษาทำให้ทราบวา่ มีสถานประกอบการ ท่สี รา้ งความเขม้ แขง็ ของระบบความร่วมมือในการจดั การศึกษากับสถานศึกษาจำนวนเท่าไร สรุปผลที่ได้รับ (Act) งานความร่วมมือดำเนินการสรุปจำนวนสถานประกอบการที่ร่วมลงนามบันทึก ข้อตกลงความร่วมมือกับสถานศึกษาและดำเนินการศึกษาความตอ้ งการของสถานประกอบการเพมิ่ เตมิ ในการร่วม จดั การฝกึ งานและฝึกอาชีพของนกั เรียนนักศึกษาและจัดทำแบบสอบถามความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มี ต่อนักเรียนนักศึกษาฝึกงานและฝึกอาชีพ เพื่อนำผลจากแบบสอบถามมาปรับปรุงพัฒนาแก้ไขในส่วนที่เป็น ข้อเสนอแนะในครง้ั ตอ่ ไป ๑.๖ ระบบการบริหารจัดการสูค่ ณุ ภาพ คณุ ภาพของสถานศึกษาทเ่ี ป็นแบบอย่างท่ีดี (Best Practice) - สถานศกึ ษารางวัลพระราชทาน ขนาดเล็ก ประจำปกี ารศึกษา 2555 และ ปีการศกึ ษา 25๖๐ การวางแผน (Plan) งานประกนั คุณภาพการศกึ ษา ฝ่ายแผนงานและความร่วมมอื ดำเนินการดงั น้ี ๑. เขียนโครงการเตรยี มความพรอ้ มเพื่อรองรับการประเมินสถานศกึ ษารางวัลพระราชทาน และโครงการ สร้างความตระหนักในการพัฒนาสถานศึกษามุ่งสู่คุณภาพ โดยในรายละเอียดของโครงการจะแยกเป็นกิจกรรม ต่างๆ เช่น ด้านงานวชิ าการ ดา้ นการจัดกจิ กรรม ด้านงานอาคารสถานที่ ดา้ นปัจจัยสนับสนุน ๒. ดำเนินการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อรับผิดชอบในแต่ละด้านและประเด็น พิจารณาเพอ่ื ดำเนินการเกบ็ ข้อมูลยอ้ นหลัง ๒ ปีการศกึ ษากบั อกี ๑ ภาคเรยี น เพ่ือจัดทำรายละเอียดของข้อมูลใส่ ในแฟ้มและหาหลักฐานมาประกอบในการประเมิน ๓. มีการวางแผนในการทำงานเพื่อประเมินสถานศึกษารางวัลพระราชทานล่วงหน้า ๑ ปีการศึกษา เพ่ือ มองย้อนกลับไปดูค่าคะแนนทจี่ ะต้องรายงานผลเพือ่ รบั การประเมนิ มาเปรยี บเทยี บกัน

๔ ๔. จัดทำปฏิทินในการติดตามงานในการเก็บข้อมูลโดยมอบหมายให้รองผู้อำนวยการในแต่ละฝ่ายดูแล ผู้รับผดิ ชอบในการเก็บขอ้ มลู ในแตล่ ะด้าน ๕. วางแผนการจัดซอ้ื วัสดุที่จะต้องใช้ในการรองรบั การประเมินสถานศึกษารางวัลพระราชทาน วิธกี ารลงมือทำ (Do) คณะกรรมการทีไ่ ดร้ บั คำสง่ั แตง่ ตง้ั ทกุ ฝา่ ยมวี ิธกี ารดำเนินงานดังน้ี ๑. เริ่มเก็บข้อมูลในแต่ละประเด็นของผู้รับผิดชอบโดยมีงานประกันคุณภาพการศึกษา ทำหน้าที่เป็น ศูนยก์ ลางของขอ้ มลู Common Data Set โดยเช่ือมโยงขอ้ มลู ทีส่ อดคล้องกบั SAR ของสถานศกึ ษา ๒. มีการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี และมีการสรุปรายงานผลเมื่อเสร็จสิ้นการ ดำเนินโครงการเพือ่ จะตอ้ งใชเ้ ป็นข้อมูลประกอบในการใสแ่ ฟม้ ในแต่ละด้านและสอดรบั กับประเดน็ พิจารณา ๓. ใช้แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ.๒๕๖๔ โดย จัดเป็นเอกสารจำนวน ๒๔ แฟ้ม และดำเนินการกรอกข้อมูลลงในระบบ e-SAR ซึ่งเป็นเว็ปไซค์ระบบฐานข้อมลู การประกนั คณุ ภาพจากส่วนกลางโดยงานประกันคุณภาพจะเป็นผู้กรอกขอ้ มูลลงในระบบ ๔. เมื่อกรอกขอ้ มูลลงในระบบ e-SAR แล้วโปรแกรมก็จะทำการประมวลผลวเิ คราะห์ขอ้ มูลและรายงาน ผลของ SAR ออกมาและนำข้อมูลมาจัดกลุ่มเพ่ือนำไปตอบในประเด็นการประเมินในแต่ละด้านของการประเมิน สถานศกึ ษารางวลั พระราชทานและต้องมกี ารจัดทำหลกั ฐานเพ่มิ เติมทเ่ี ปน็ ข้อมูลจะนำมาใช้สนับสนุนในหัวข้อของ ประเด็นการพิจารณาในแต่ละดา้ น ๕. มีการพัฒนาปรับปรุงภูมิทศั นข์ องสถานศึกษาทุกส่วนท่ีเกย่ี วขอ้ งกบั การประเมนิ และดำเนินโครงการท่ี บรรจไุ ว้อย่ใู นแผนปฏิบตั ิราชการประจำปีเพอ่ื ให้สอดรบั กบั การประเมนิ ในคร้งั น้ี การตรวจขั้นตอน (Check) งานประกันคุณภาพการศึกษา มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองการ ประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อดูคา่ คะแนนและมีการเก็บขอ้ มูลเป็นระยะตามแผนปฏิทินการติดตามงาน และดำเนินการกำกับติดตามข้อมูลในแต่ละประเด็นพิจารณาของแต่ละด้านที่ยังมีข้อมูลไม่ครบถ้วน และงาน วางแผนงบประมาณจะตดิ ตามการสรุปรายงานผลในการดำเนินโครงการที่อยู่ในแผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปีในทุก สิ้นปีงบประมาณ ก่อนที่จะถึงขั้นตอนสุดท้ายงานประกันคุณภาพตั้งคณะกรรมการเพื่อคัดกรองตรวจดูข้อมูล ภายในแฟม้ ว่าครบถว้ นสมบรู ณห์ รือไม่ สรปุ ผลท่ไี ด้รบั (Act) รบั การประเมินสถานศกึ ษารางวัลพระราชทานในระดับอาชีวศกึ ษาจังหวัดและใน ระดบั ภาค ถ้าพบว่าผลคะแนนในการประเมนิ สถานศึกษารางวัลพระราชทานในระดับอาชีวศึกษาจงั หวัดยังไม่เป็น ที่น่าพอใจก็จะมอบหมายให้ผู้ที่รับผิดชอบในแต่ละด้านแต่ละแฟ้มนำข้อมูลข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการมา เขียนสรุปรายงานเพอื่ ดำเนนิ การหาข้อมลู มาสนบั สนนุ เพ่ิมเติมและรองรับการประเมินสถานศกึ ษาพระราชทานใน ระดบั ภาคต่อไป ๑.๗ การขับเคล่ือนระบบงานวชิ าการ - การจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีเต็มรูปแบบ (๑๐๐%) ทุกสาขาวิชาในระดับประกาศนียบัตร วิชาชพี ชั้นสงู (ปวส.) การวางแผน (Plan) ผู้บริหารสถานศึกษาให้นโยบายการจัดการศึกษาในระบบทวิภาคี โดยมอบหมายให้ ฝา่ ยวิชาการ โดยหวั หน้างานอาชวี ศึกษาระบบทวิภาคี ดำเนนิ การจัดทำคำสง่ั แต่งต้ังคณะกรรมการจดั การศึกษาใน ระบบทวิภาคีประกอบด้วยหัวหน้าแผนกทุกคนมาเป็นคณะกรรมการดำเนินงานและมีการจัดประชุม คณะกรรมการทุกคนในการวางแผนจัดการศึกษาระบบทวิภาคี โดยจัดในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพช้นั สูง (ปวส.) ทุกสาขาวิชาโดยใหแ้ ผนกดำเนนิ การจัดทำโครงสร้างของหลักสูตร โครงสรา้ งรายวิชา แผนการเรียนตลอด หลกั สตู รและติดตอ่ หาสถานประกอบการเพอื่ รองรบั การฝึกอาชพี ของนักศึกษา

๕ วธิ ีการลงมือทำ (Do) จดั การศกึ ษาในระบบทวิภาคีโดยให้นักศึกษาเรียนในสถานศึกษา ๑ ปีการศึกษา และ ให้นักศึกษาออกฝึกอาชีพในสถานประกอบการ โดยก่อนออกฝึกอาชีพ หัวหน้าแผนกฯ ร่วมกับหัวหน้างาน อาชีวศึกษาระบบทวภิ าคแี ละหัวหน้างานความร่วมมือจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสถานประกอบการท่ี นักศึกษาจะไปฝึกอาชีพและจดั ทำสัญญาฝกึ อาชพี พร้อมสง่ ตัวนกั ศึกษาเขา้ ทำการฝึกอาชพี ในสถานประกอบการ ๑ ปีการศึกษา โดยครูฝึกในสถานประกอบการร่วมกับครูผู้สอนร่วมกันจัดทำแผนการฝึกอาชีพตามที่กำหนดใน แผนการเรยี นตลอดหลกั สูตรและพฒั นาเนอ้ื หาการสอนในรายวชิ าและนิเทศตดิ ตามการฝกึ อาชีพของนกั ศึกษา การตรวจข้ันตอน (Check) สถานศึกษามกี ารประเมินมาตรฐานการฝกึ อาชพี ตามขอ้ ตกลงระหว่างสถาน ประกอบการและสถานศึกษา โดยครูผู้สอนและครูฝึกร่วมกันประเมนิ ผลการเรียนในแต่ละรายวิชาตามหลักสูตร และส่งผลการประเมินมายังสถานศึกษาเพื่ออนุมัติผลการเรียนในแต่ละภาคเรียน หากมีการปฏิบัติงานที่เกิดขนึ้ จากการฝึกอาชีพที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ก็จะให้นักศึกษาดำเนินการซ่อมตามสมรรถนะที่ไม่ผ่านถึงจ ะสำเร็จ การศึกษาตามหลักสตู ร สรปุ ผลทไ่ี ด้รับ (Act) เม่ือนักศึกษาจบการศึกษาตามหลกั สูตรแล้วจะได้รบั วุฒิบัตรการศึกษาในระบบทวิ ภาคีโดยลงนามร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย คือ สถานประกอบการและสถานศึกษา พร้อมเริ่มการทำงานในสถาน ประกอบการตามขอ้ ตกลงเม่อื สำเร็จการศกึ ษาแล้ว อีกส่วนหน่ึงกจ็ ะเขา้ สรู่ ะบบของการทำงานในโลกอาชพี ปจั จุบัน โดยสถานศึกษาจะมกี ารติดตามภาวะการมงี านทำของผูเ้ รียนเมอื่ สำเร็จการศกึ ษาแล้วทุกคน และนำผลจากการจัด การศึกษาในระบบทวภิ าคขี องแตล่ ะสาขาวชิ าไปปรบั ปรงุ ใหด้ ขี ้นึ ในปกี ารศึกษาถดั ไป - การจัดการเรยี นรหู้ ้องเรยี นอาชีพในโรงเรียนมัธยม การวางแผน (Plan) ผู้บริหารสถานศึกษารับนโยบายมาจากศึกษาธิการจังหวัดซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบตาม นโยบายของรัฐบาลในการดูแลการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนอาชีพโดยจะมีการดำเนินการ 2 รูปแบบคือ รูปแบบที่ 1.การจัดหลักสูตรอาชีพระยะสั้น เพื่อให้เดก็ เรียนรู้แล้วสามารถทำได้ หรือเป็นอาชีพได้ 2.การจัดการ เรียนการสอนอาชพี ที่จดั เป็นหนว่ ยการเรยี น โดยกำหนดให้เรียนในวชิ าพ้ืนฐานหรือวิชาเลือก ซง่ึ ผู้เรยี นสามารถนับ และเก็บหน่วยกิตตั้งแต่มัธยม โดยจัดการเรียนการสอนในรายวิชา งานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ๑-๒ มี การเก็บรายวิชาเป็นหลักสูตรระยะสั้น โดยจัดครูผู้สอนประจำวิชาเข้าไปสอนในโรงเรียนและจัดเตรียมวัสดุฝึก เครื่องมือที่ใช้ในการสอนและได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลง MOU ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและ ผู้อำนวยการโรงเรียนทรี่ ว่ มจัดการศึกษา วิธีการลงมือทำ (Do) จัดตารางเรียนตารางสอนของครูผู้สอนและผู้เรียนโดยสอนในชั่วโมงรายวิชาของกลุ่ม สาระการเรียนรกู้ ารงานอาชพี สัปดาห์ละ ๒ ชัว่ โมง มีท้งั ภาคทฤษฎแี ละภาคปฏบิ ัตโิ ดยบรู ณาการการใช้วัสดุฝึกใน การเรียนการสอนจากของสถานศึกษาแบ่งไปใช้ในโรงเรยี นส่วนหนึ่งเนือ่ งจากได้รับงบประมาณสนับสนนุ การจัด การศกึ ษาจากสำนักงานศึกษาธกิ ารจังหวัดไม่เพยี งพอและครผู ู้สอนตอ้ งใชพ้ าหนะในการเดินทางไปทำการสอนใน แต่ละสัปดาห์และเกิดปัญหาในสถานการณ์ของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ จำเป็นต้องมีการปรับรูปแบบ การเรยี นการสอนเปน็ แบบออนไลน์ การตรวจขั้นตอน (Check) สถานศึกษามีการประเมินรายวิชาที่จัดการเรียนการสอนเป็นรูปแบบของ หลกั สูตรวชิ าชพี ระยะส้นั คือ มผี ลผ่าน/ไมผ่ ่าน เพอ่ื นำผลการประเมินไปออกใบประกาศให้กับผ้ผู ่านการเรียนตาม หลักสูตรและได้ส่งผลคะแนนเก็บที่เป็นคะแนนดิบไปให้โรงเรียนที่ร่วมกันจัดการศึกษาเพื่อจะได้ประเมิ นผลการ เรยี นในสว่ นวิชาของกลุม่ สาระการเรียนร้กู ารงานอาชีพในภาคเรยี นนัน้ สรุปผลที่ได้รับ (Act) เมื่อจัดการเรียนการสอนเสร็จสิ้นในภาคเรียนนั้นแล้วก็ทำการตรวจสอบผลการ ดำเนนิ งานวา่ ผเู้ รียนมีผลสัมฤทธ์ิในการเรยี นอยูใ่ นระดบั ใดและส่งผลใหผ้ ู้เรียนเกดิ ความสนใจในการเรียนสายอาชีพ อยู่หรือไม่ ผลกระทบจากการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์โควิด-๑๙ ซึ่งทำให้เกดิ การสอนทไี่ ม่เต็มประสิทธภิ าพจงึ ตอ้ งมกี ารปรบั ปรงุ วางแผนจดั การศึกษาให้ดีข้ึนในปกี ารศึกษาถดั ไป

๖ วิเคราะหบ์ ริบทของสถานศกึ ษา วทิ ยาลัยอาชีวศึกษาพษิ ณโุ ลก ๒.๑ ขอ้ มลู พนื้ ฐานสถานศกึ ษา ปรัชญา ทกั ษะนำ คณุ ธรรมเด่น เน้นเทคโนโลยี มีจิตบริการ อัตลักษณ์ เปน็ นกั ปฏิบัตมิ ืออาชีพ เอกลกั ษณ์ บรกิ ารดี ฝีมอื เดน่ เนน้ ความประณีต วสิ ยั ทัศน์ “ผลติ และพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาใหม้ ีคณุ ภาพและมาตรฐานสู่ประชาคมอาเซยี น” ท่ตี ้งั เลขท่ี 60 ถนนวังจันทน์ ตำบลในเมอื ง อำเภอเมือง จังหวดั พิษณุโลก โทรศัพท์ 055-258570 โทรสาร 055-251346 e-mail [email protected] Website : www.plvc.ac.th การจดั การศกึ ษา จัดการศึกษา 3 ระดบั คือ ปวช. ปวส. และปรญิ ญาตรี ๒.๒ ข้อมูลค่านิยม วฒั นธรรมท้องถิน่ วทิ ยาลยั อาชวี ศึกษาพษิ ณุโลก ตัง้ อยูใ่ นแหล่งชมุ ชน บริเวณด้านหน้าเป็นสถานทพ่ี ักผอ่ นและสถานที่ออก กำลงั กายของประชาชน ตลอดจนมสี ถานทร่ี าชการที่ใกล้เคียง คอื ศาลจังหวัดพิษณุโลก สำนกั งานสรรพากรเขต 6 และมหาวทิ ยาลยั ราชภัฏพิบูลสงคราม ประชาชนส่วนใหญป่ ระกอบอาชพี การเกษตร โดยเฉพาะพชื ไร่ ได้แก่ การ ปลกู ข้าวโพด มันสำปะหลัง และถว่ั เหลือง การทำนามที ้ังนาปีและนาปรงั ทงั้ นาดำ นาหวา่ น นาหว่านน้ำตม ๒.๓ วิเคราะหบ์ ริบทของสถานศึกษา กรณสี ถานศึกษามีจุดเดน่ ในการนำไปส่กู ารปฏบิ ัติ วิทยาลัยอาชวี ศึกษาพิษณโุ ลก มคี วามสำเร็จในการ ดำเนินการตามนโยบายสำคัญของหน่วยงานต้นสงั กดั หรอื หนว่ ยงานทกี่ ำกับดแู ลสถานศกึ ษา ประกอบด้วยประเดน็ การประเมิน ดังนี้ ด้านหลักสูตรอาชีวศึกษา เป็นสถานศึกษาใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะที่สอดคล้องกับความ ต้องการของผู้เรียน ชมุ ชน สถานประกอบการ ตลาดแรงงาน มีการปรบั ปรุงรายวิชาเดมิ หรอื กำหนดรายวิชาใหม่ หรือกลุ่มวิชาเพิ่มเติมให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความต้องการของตลาดแรงงาน โดยความ ร่วมมอื กับสถานประกอบการหรอื หน่วยงานที่เก่ียวข้อง ด้านการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา เป็นสถานศึกษามี ครูทีม่ ีคุณวุฒกิ ารศึกษาและมีจำนวนตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้รบั การพัฒนาอย่างเป็นระบบต่อเนอ่ื ง เพือ่ เป็นผู้พร้อม ทงั้ ด้านคณุ ธรรม จรยิ ธรรมและความเขม้ แขง็ ทางวชิ าการและวิชาชีพ จัดการเรยี นการสอนทีเ่ นน้ ผู้เรยี นเป็นสำคัญ ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนทั้งวัยเรียนและวัยทำงาน ตามหลักสูตร มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละ ระดับการศึกษา ตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนของแต่ละ หลกั สตู ร สง่ เสริม สนับสนุน กำกับ ดูแลให้ครจู ัดการเรยี นการสอนรายวิชาให้ถกู ต้อง ครบถ้วน สมบรู ณ์ ด้านการ บริหารจัดการ เป็นสถานศึกษาบริหารจัดการบุคลากร สภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ อาคารสถานที่ ห้องเรียน หอ้ งปฏิบัตกิ าร โรงฝกึ งาน ศูนยว์ ทิ ยบริการ สือ่ แหลง่ เรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ ครภุ ัณฑ์ และงบประมาณของ สถานศกึ ษาทมี่ ีอยอู่ ยา่ งเต็มศกั ยภาพและมีประสทิ ธภิ าพ และ ด้านการนำนโยบายสกู่ ารปฏิบัติ เป็นสถานศึกษาท่ี มีความสำเร็จในการดำเนินการบรหิ ารจัดการสถานศกึ ษา ตามนโยบายสำคัญที่หน่วยงานตน้ สงั กัดหรอื หนว่ ยงานที่ กำกบั ดูแลสถานศกึ ษามอบหมาย โดยความรว่ มมอื ของผูบ้ ริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษาและผเู้ รียน รวมทัง้ การ ชว่ ยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนจากผปู้ กครอง ชมุ ชน สถานประกอบการและหนว่ ยงานทเี่ กี่ยวข้องในพื้นท่ี จุดเดน่ 1) วิทยาลัยฯ มีการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (V-NET) ผลการ แข่งขนั ทกั ษะวิชาชพี ผเู้ รยี นมคี ุณลกั ษณะที่พงึ ประสงค์ การมงี านทำและศกึ ษาต่อของผู้สำเรจ็ การศกึ ษา

๗ 2) วิทยาลัยฯ มีการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ หรือปรับปรุงรายวิชา หรือปรับปรุงรายวิชาเดิมหรือ กำหนดรายวิชาเพิ่มเติมอย่างเปน็ ระบบ คุณภาพและการจดั ทำของแผนการจัดการเรียนรู้สกู่ ารปฏบิ ัติท่เี น้นผู้เรียน เป็นสำคัญและนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการชั้นเรียน การพัฒนาตนเองและพัฒนา วิชาชีพ การบริหารจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน มีระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการใช้งานด้าน สารสนเทศภายในสถานศกึ ษา และมกี ารจัดการอาชีวศกึ ษาระบบทวิภาคี ๓) วิทยาลัยฯ มีการพัฒนาการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ด้านความร่วมมือในการสร้างสังคมด้านการ บรหิ ารสถานศกึ ษาแบบมีสว่ นรว่ ม และด้านการบริการชมุ ชนและจิตอาสา ๔) วิทยาลยั ฯ มกี ารพฒั นาการสรา้ ง Smart Young Businessman ในดา้ นการสรา้ งและการส่งเสริมการ สรา้ งผ้ปู ระกอบการภายในและภายนอกสถานศึกษา มีการจัดรายวชิ าเพอ่ื พัฒนาทกั ษะดา้ นเทคโนโลยีทางธรุ กิจแก่ ผู้เรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ รายวิชาด้านเทคโนโลยีทาง ธรุ กจิ และดา้ นพฒั นาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะ ME3S ผลการทดสอบวัดระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษของ ผู้เรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยสะสมของผู้เรียน มีการประเมินคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ และผเู้ รยี นไดร้ ับรางวัลจากการประกวดแขง่ ขันภายนอกสถานศึกษา กรณีสถานศึกษามีจุดด้อยในการนำไปสู่การปฏิบัติ ให้ผู้เข้ารับการพัฒนาศึกษาปัจจัยความท้าทาย (Challenge) ที่ควรพฒั นา สรุปแนวคิดนวัตกรรมในการนำไปประยกุ ต์ใช้ และจากการศกึ ษาเห็นว่า จดุ ด้อยท่ีควร พัฒนา และการจัดหานวตั กรรมนำมาประยกุ ต์ใช้ในแต่ละด้าน มีดงั น้ี ๑) การเสริมสร้างสมรรถนะในการเป็นผู้ประกอบการหรอื การประกอบอาชพี อิสระให้กับผู้เรียน แนวคิดท่ี จะนำมาพัฒนา คือ จัดทำโครงการเสริมสร้างสมรรถนะในการเป็นผู้ประกอบการหรือการประกอบอาชีพอิสระ ใหก้ บั ผเู้ รยี นทกุ สาขาวิชาชพี อยา่ งจริงและต่อเนอ่ื ง ๒) แหลง่ เรียนรู้และศนู ยว์ ทิ ยบรกิ าร แนวคิดที่จะนำมาพฒั นา คอื จดั ทำห้องเรยี นเฉพาะทางทกุ สาขาวิชา ทจ่ี ัดการเรยี นการสอน ๓) การระดมทรพั ยากรเพ่อื การจดั การเรียนการสอน และ ผลงานของผู้เรยี นด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรือ งานวิจัย แนวคิดที่จะนำมาพัฒนา คือ กำหนดให้ทุกสาขางานจัดหาครูพิเศษ ครูภูมิปัญญา ท้องถิ่น ครูผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิในสถานประกอบการ ทั้งในประเทศและหรือต่างประเทศร่วมพัฒนาผู้เรียน และพัฒนาความรูค้ วามสามารถของครวู ิชาชพี ด้านนวัตกรรม ส่งิ ประดษิ ฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจยั ๒.๔ กลยทุ ธ์ในการขับเคลือ่ น Future Skill ของสถานศึกษา การวางแผน (Plan) วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก เป็นสถานศึกษาขนาดใหญ่ ในการจัดการผลิต กำลังคนอาชีวศึกษาระดับ ปวช. , ระดับ ปวส. และระดับปริญญาตรีสายปฏิบัติการ หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ต่อเนื่อง) โดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือและใช้ ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อเพิ่มศักยภาพให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิชาชีพและฝึกอบรมวิชาชีพของชุมชน พัฒนาระบบ บรหิ ารจัดการแบบมสี ่วนร่วม มีการปรบั ประยกุ ต์หลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาวิชาชีพท่ีมีความทันสมัยมาก ขึ้นตรงกับการเปลี่ยนแปลงของกลุม่ ภาคอุตสาหกรรม S-Curve และ New-Curve ในปีการศกึ ษา ๒๕๖๔ ได้เปิด สอนในหลักสตู ร ปวช. และ ปวส. ม.๖ ไดแ้ ก่ สาขาวชิ าการจดั การโลจิสตกิ ส์และซัพพลายเซน และเน้นการพัฒนา ทักษะภาษาองั กฤษเพือ่ การส่ือสารมาตรฐาน CEFR วิธีการลงมือทำ (Do) สถานศึกษามีการยกระดับการจัดการอาชีวศึกษาระดับสถานศึกษาและระดับ ห้องเรียนส่งเสรมิ คุณภาพและสร้างความเข้มแขง็ ในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการจัดการศกึ ษา ดังน้ี

๘ ๑) การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ และการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะสู่การปฏิบัติที่ เน้นผเู้ รียนเปน็ สำคัญ ๒) คุณภาพการจัดการเรียนการสอนโดยจัดโครงการนิเทศการสอนด้วยกระบวนการลงพืน้ ที่ปฏบิ ัติงาน จริงโดยการนเิ ทศครูผสู้ อนในห้องเรยี นและการนิเทศตดิ ตามผา่ นระบบออนไลน์ ๓) โครงการจัดหาวิทยากรผู้เชี่ยวชาญผู้มีประสบการณ์ทางวิชาชีพและด้านวิชาชีพที่เกี่ยวข้องและจัด การศกึ ษาให้เปน็ รปู แบบระบบทวภิ าคีอย่างมีคณุ ภาพ ๔) การพัฒนาทกั ษะภาษาองั กฤษเพ่ือการสื่อสารมาตรฐาน CEFR การตรวจขนั้ ตอน (Check) ตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะส่กู ารปฏบิ ัติ ให้ตรงกับความ ต้องการของสถานประกอบการโดยร่วมมือกับสถานประกอบการจัดดำเนินการกำหนดสมรรถนะและคำอธิบาย รายวิชาให้สอดคล้อง การนิเทศติดตามการเรียนการสอนด้วยกระบวนการลงพ้ืนทีป่ ฏบิ ัติงานของผู้เรยี นจริง การ ตอบรับ ความคดิ เห็นในการประชุมสมั มนาระหว่างสถานประกอบการ ความพึงพอใจในการฝึกประสบการวิชาชีพ ของผู้เรียนจากสถานประกอบการ และผลการพัฒนาทกั ษะภาษาองั กฤษเพอื่ การสือ่ สารมาตรฐาน CEFR สรุปผลที่ได้รับ (Act) ผลการนิเทศติดตามการเรียนการสอนด้วยกระบวนการลงพื้นที่ปฏิบัติงานของ ผู้เรยี นจรงิ การตอบรับ ผลการประชมุ สมั มนาระหว่างสถานประกอบการ ผลการฝกึ ประสบการวิชาชีพของผเู้ รียน จากสถานประกอบการ และการเกดิ ทักษะภาษาองั กฤษเพอื่ การสอื่ สารมาตรฐาน CEFR ๒.๕ การสรา้ งความเข้มแขง็ ของระบบความรว่ มมอื กับสถานประกอบการ สถานศกึ ษามกี ารสร้างความรว่ มมือกับบุคคล ชุมชน องค์กรต่าง ๆ ทง้ั ในประเทศและต่างประเทศในการ จัดการศึกษา การจัดทรัพยากรทางการศึกษา กระบวนการเรียนรู้ การบริการทางวิชาการและวิชาชีพ โดยใช้ เทคโนโลยที เี่ หมาะสม เพ่ือพัฒนาผูเ้ รยี นและคนในชุมชนส่สู งั คมแห่งการเรยี นรู้ การวางแผน (Plan) 1) สถานศึกษามเี ครือข่ายความร่วมมือกับสถานประกอบการทัง้ ภาครัฐและเอกชน เพ่ือพฒั นาศักยภาพ ครฝู ึกในสถานประกอบการ และนกั เรียน นกั ศึกษาทัง้ ระดับ ปวช. และระดับ ปวส. 2) สถานศึกษามีการจัดการเรียนการสอน จัดทำหลักสูตรร่วมกับสถานประกอบการทั้งภาครัฐและ เอกชน สามารถผลติ ผ้เู รียนท่ีมที ักษะออกสู่ตลาดแรงงานภาคอตุ สาหกรรมกลมุ่ S-Curve และ New-Curve 3) สถานศึกษาร่วมกับสถานประกอบการท้ังภาครัฐและเอกชน ร่วมมือกันจัดทำหลักสูตรการเรียนการ สอนให้สอดคล้องกับนโยบายของ สอศ. แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2561-2574 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแหง่ ชาติ ฉบบั ท่ี 12 4) สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับนโยบายของ สอศ. แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2561-2574 และแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแหง่ ชาติ ฉบับที่ 12 วิธีการลงมือทำ (Do) สร้างความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน จากการสำรวจความต้องการผู้เรียนเข้า รว่ มการฝกึ ประสบการณ์ โดยงานความร่วมมือท่ขี อความอนุเคราะห์กับสถานประกอบการทง้ั ในเขตอำเภอ ภายใน จังหวัด และต่างจังหวัด หรอื การแนะนำจากหน่วยงานราชการทเี่ กย่ี วขอ้ งกับการศกึ ษา โดยมลี ำดบั ขน้ั ดงั นี้ ๑) ดำเนินการประชุมนักเรียน นักศึกษาในการตัดสินใจเลือกฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามสถาน ประกอบการท่ีวิทยาลัยได้จัดหาไว้ให้ และลงช่อื ความประสงค์การเขา้ รบั การฝกึ ประสบการณ์วชิ าชีพ ๒) จดั ทำหนงั สือส่งรายช่ือเขา้ สู่สถานประกอบให้ไดท้ ราบจำนวนนักเรียน นกั ศึกษา และจดั ทำคำสง่ั แต่งต้ัง ครูนิเทศ ผูด้ ูแล ควบคุมการฝึกประสบการณจ์ ากสถานประกอบการ ๓) จัดกจิ กรรมปฐมนิเทศกำกับการปฏิบัติตนระหวา่ งการฝึกประสบการณ์ของนักเรียน นกั ศกึ ษา รายงาน ผ้ปู กครองและขออนญุ าตผู้ปกครองเพ่อื การสง่ ตัวนกั เรยี น นักศกึ ษาเข้าฝึกประสบการณ์

๙ ๔) จัดหายานพาหนะการเดินทางไปยังสถานประกอบการต่างจังหวัด ติดตามดูแลนักเรียน นักศึกษา ระหวา่ งการฝกึ ประสบการณ์เป็นระยะตลอดการฝกึ ประสบการณ์จนถึงรับนักเรียน นักศึกษากลับสวู่ ทิ ยาลยั ๕) สร้างองค์ความรู้ระหว่างครูฝึกในสถานประกอบการกับครสู าขาวิชา ในการแลกเปล่ียนความรูร้ ะหว่าง สถานศกึ ษาและสถานประกอบการ เพอ่ื การสร้างวธิ ีการสอนได้ตรงกบั ความตอ้ งการของสถานประกอบการ การตรวจขั้นตอน (Check) จัดทำผลการสำรวจจำนวนสถานประกอบการ การลงนามความร่วมมือของ สถานประกอบการ ตรวจสอบคุณสมบัติ วุฒิการศึกษาของครูฝึกประจำสถานประกอบการ ติดตามความพร้อม ด้านอุปกรณ์ เครื่องมือการปฏิบัติงาน ความทันสมัยที่จะทำให้นักเรียน นักศึกษาได้รับการเรียนรู้ของเครื่องมอื อุปกรณ์การผลิต การออกนิเทศ ติดตามการพฒั นาตนเองตามสาขาวิชาชีพของผู้เรียน และศึกษาเทคโนโลยีใหม่ที่ สถานประกอบการไดน้ ำมาใช้ เพ่ือนำมาพฒั นาปรบั วิธีการสอนใหผ้ ้เู รียนในรนุ่ ต่อไป สรุปผลที่ได้รับ (Act) ผลจากการร่วมมือกันจัดดำเนินการสร้างหลักสูตรให้เกิดความทันสมัย เท่าทัน เทคโนโลยี ร่วมกบั ชุมชน สถานประกอบการ ผลจากการผลิตผเู้ รียนทมี่ ีทักษะออกส่ตู ลาดแรงงาน ๒.๖ ระบบการบรหิ ารจดั การสคู่ ณุ ภาพ สถานศึกษาสง่ เสรมิ สนับสนนุ ใหม้ ีการจดั ทำนวัตกรรม ส่งิ ประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ งานวิจยั โดยผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียน หรือร่วมกับบุคคล ชุมชน องค์กรต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตาม วัตถปุ ระสงค์ และเผยแพรส่ ่สู าธารณชน การวางแผน (Plan) สรา้ งและพฒั นาองคค์ วามรใู้ ห้ก้าวทันเทคโนโลยี 1) สถานศกึ ษามรี ะบบบรหิ ารทรัพยากรมนษุ ย์ใหก้ ้าวทนั เทคโนโลยีสมัยใหม่ มีการจดั นำระบบเทคโนโลยี สารสนเทศตา่ ง ๆ มาใชใ้ นงานเกีย่ วกับดา้ นการจดั การเรยี นและด้านระบบงานอื่น ๆ ได้อยา่ งตอ่ เน่ือง 2) งานวิจัยพัฒนานวัตกรรมและสิง่ ประดษิ ฐเ์ ปน็ ท่ยี อมรบั ในวงวชิ าการและชมุ ชน สถานศกึ ษาสรา้ ง ความร่วมมือกับสถานประกอบการ ร้านค้า โดยการนำเอาสิ่งประดิษฐ์ไปเผยแพร่กับชุมชนและได้รับการจด ทะเบยี น อนุสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ จากกองสิทธบิ ตั ร กรมทรพั ย์สนิ ทางปัญญา ๓) การพัฒนาครู และบุคลากรทุกคนให้เกิดความเข้าใจในความสำคัญต่อการคงอยู่ของสถานศึกษา กระบวนการพฒั นาศกั ยภาพของตนเองให้สอดคลอ้ งกบั การศกึ ษายุคเทคโนโลยสี มัยใหม่ ๔) จัดโครงการพฒั นาหลักสูตรฐานสมรรถนะร่วมกับร่วมกับสถานประกอบการ ส่งเสริมสนบั สนุนครูเข้า รบั การพัฒนาตนเองและพฒั นาวชิ าชพี ๕) จัดส่งเสริมการจัดทำหอ้ งเรยี นเฉพาะทางทกุ สาขาวิชา และสง่ เสรมิ การพฒั นาและการประกวดแข่งขัน นวัตกรรม งานสรา้ งสรรค์ และงานวจิ ัย ทกุ ประเภทวิชาอย่างตอ่ เน่ือง วิธีการลงมือทำ (Do) การส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูมีการพัฒนาตนด้านวิชาชีพ ด้วยการเข้ารับการ อบรมการจัดสร้างและพัฒนาส่ือการจัดการเรยี นรู้ และการเข้าร่วมฝกึ ประสบการณ์ในสถานประกอบการ รวมถึง ความต้องการในการเรียนรู้ด้านวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้นของชุมชน และร่วมมือกันวางแผนปรับกลยุทธ์วิธีการ จัดการเรียนการสอนโดยมีการตั้งเป้าหมาย คือ คุณภาพของผู้เรียน และการลดการออกกลางคันของผูเ้ รยี นตาม นโยบายของ สอศ. จัดดำเนินการศึกษาแนวทางการปฏิบัติตนให้ประสบความสำเร็จได้รับการยกย่องและได้รับ รางวัลต่าง ๆ มากมายท้งั กบั ตนเองและรางวลั ท่เี กิดข้ึนกบั ผ้เู รยี น การตรวจขั้นตอน (Check) การส่งผลการพัฒนาตนเองทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการพัฒนาตนเอง การ ส่งผลการตอบรับการเรยี นรูข้ องชุมชนและผู้เรยี นหลังผา่ นการเรยี นหรือฝึกอบรม เพอื่ ประเมินผลความพงึ พอใจกับ รายวิชา การสรปุ ผลการตดิ ตามแก้ไขผู้เรียนที่มีพฤติกรรมไมพ่ งึ ประสงค์ใหผ้ ้ปู กครองและสถานศึกษาได้ทราบ

๑๐ สรุปผลที่ได้รับ (Act) ผลจากการพัฒนาตนเองของครู จากการสร้างหรือพัฒนาสื่อการเรียนการสอน และจากการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียน ผลสมั ฤทธิ์ทางการเรยี นของผู้เรียน และผลการลดจำนวนการออก กลางคนั ได้ตามนโยบายของสำนกั งานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและกระทรวงศึกษาธกิ าร ๒.๗ การขับเคลื่อนระบบงานวิชาการ สถานศึกษามีการสร้างผูป้ ระกอบการ พัฒนาทักษะเทคโนโลยที างธุรกจิ แก่ผเู้ รยี น และพัฒนาผู้เรยี นให้มี คุณลักษณะ ME3S และมกี ารส่งเสรมิ สนบั สนนุ และพัฒนาขดี ความสามารถผเู้ รียนในสถานศึกษาให้ประกอบธรุ กจิ ของตนเอง หรือ พัฒนาต่อยอดธุรกิจเดิม ด้านการพัฒนาทักษะเทคโนโลยีทางธรุ กิจแกผ่ ู้เรียน สถานศึกษามีการ พัฒนาทักษะผู้เรียนด้านการพฒั นาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E–Commerce เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การ ดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากต่อการประกอบอาชีพในโลกปัจจุบันและ อนาคต และด้านพัฒนาผูเ้ รียนให้มคี ุณลกั ษณะ ME3S สถานศึกษามีการพฒั นาผเู้ รยี นให้มคี ณุ ลักษณะ ดังน้ี คุณธรรม (M : Moral) ภาษาองั กฤษดี (E : English) บคุ ลิกภาพดี (S1 : Smart) ทกั ษะด/ี ความรดู้ ี (S2 : Skillful) และ ขยนั อดทน (S3 : Sedulous) การวางแผน (Plan) จดั ทำแผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะท่เี น้นผู้เรียนเปน็ สำคญั การจดั การเรียน การสอนโดยจัดโครงการนิเทศการสอน การจัดหาวิทยากรผู้เชี่ยวชาญผู้มีประสบการณ์ทางวิชาชีพ การจัดการ ศกึ ษาระบบทวภิ าคีอย่างมีคุณภาพ และการบรหิ ารจัดการช้นั เรียนโดยใช้แอพพลิเคชัน่ การเรยี นการสอน และการ จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนให้กับครูผู้สอน และจัดทำโครงการทดสอบ มาตรฐานวิชาชีพ โครงการติวสอบ V-NET และ โครงการเสริมสร้างสมรรถนะในการเป็นผู้ประกอบการหรือการ ประกอบอาชพี อิสระแกผ่ ู้เรยี น รวมทั้งดำเนินการเพิ่มปริมาณผ้เู รียนในระบบทวภิ าคีใหม้ ากข้ึน วิธีการลงมอื ทำ (Do) ๑. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะสู่การปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนการ สอนโดยจดั โครงการนเิ ทศการสอนด้วยการเข้านเิ ทศการสอนของครใู นห้องเรยี นอยา่ งสม่ำเสมอ ๒. จัดหาวทิ ยากรผ้เู ชีย่ วชาญผมู้ ีประสบการณ์ทางวชิ าชีพ และจดั ดำเนินการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีให้ ไดค้ รบทุกสาขาวิชาอย่างมีคุณภาพ ๓. จดั การบริหารจัดการในชั้นเรียนโดยใช้แอพพลิเคชัน่ สำหรับการเรียนการสอน และจดั ระบบเทคโนโลยี สารสนเทศมาใชเ้ ก่ียวกับการจดั การเรยี นการสอนให้กบั ครูผู้สอน ๔. จัดทำโครงการทดสอบมาตรฐานวิชาชีพ จัดติวความรู้ก่อนเข้ารับการสอบ V-NET และการส่งเสริม สรา้ งสมรรถนะในการเปน็ ผู้ประกอบการหรอื การประกอบอาชีพอิสระแก่ผ้เู รียน วธิ ีการลงมือทำ (Do) การส่งผลการพัฒนาตนเองของครูผู้สอน การจัดดำเนินการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ให้ได้ครบทุกสาขาวิชาอย่างมคี ุณภาพ การบริหารจัดการชัน้ เรียนโดยใช้แอพพลิเคชั่นการเรียนการสอน และการ นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนให้กับครูผู้สอน การจัดทำโครงการทดสอบ มาตรฐานวิชาชีพ การจัดติว V-NET และจัดส่งเสริมสร้างสมรรถนะในการเป็นผู้ประกอบการหรือการประกอบ อาชีพอิสระให้แก่ผู้เรียน สรปุ ผลท่ีไดร้ บั (Act) ผลการพัฒนาตนเองของครูผู้สอน ผลการจัดดำเนินการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ใหไ้ ด้ครบทุกสาขาวิชาอย่างมีคุณภาพ ผลการบริหารจัดการช้นั เรยี นโดยใช้แอพพลเิ คชั่นการเรยี นการสอน และผล การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เกยี่ วกับการจดั การเรียนการสอนใหก้ ับครูผู้สอน ผลการทดสอบมาตรฐาน วชิ าชีพ และผลการสอบ V-NET ผา่ นเกณฑ์ และผลการเปน็ ผปู้ ระกอบการหรอื การประกอบอาชีพอิสระของผูเ้ รยี น

ภาคผนวก ก ภาพกจิ กรรมระหวา่ งฝกึ ประสบการณ์ในสถานศกึ ษาแหง่ ท่ี ๑ วิทยาลยั การอาชพี นครไทย อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ระหวา่ งวันที่ ๒๕ - ๒๙ เมษายน ๒๕๖๕





ภาคผนวก ข ภาพกจิ กรรมระหวา่ งฝึกประสบการณ์ในสถานศึกษาแหง่ ที่ ๒ วิทยาลยั อาชวี ศึกษาพษิ ณโุ ลก อ.เมือง จ.พษิ ณโุ ลก ระหวา่ งวันที่ ๒ - ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๕






Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook