Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับจิตรกรรมไทย

ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับจิตรกรรมไทย

Published by parpichaya.u, 2021-12-12 06:05:08

Description: ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับจิตรกรรมไทย

Search

Read the Text Version

ความสัมพันธ์ระหว่าง วรรณคดีกับจิตรกรรมไทย

ความหมาย จิตรกรรมไทย หมายถึง ภาพเขียนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แม้ว่าจะ มีการนำเทคนิคหรืออิทธิพลจากศิลปะของชาติอื่น แต่ก็มีทั้งหลายอย่าง ที่ถูกตัดทอนหรือแต่งเติมขึ้นมาใหม่จนได้เอกลักษณ์เฉพาะตัว ส่วนมาก เป็นภาพสองมิติ การจัดวางภาพมักวางสิ่งที่อยู่ใกล้ไว้ส่วนล่างของภาพ สิ่งที่อยู่ไกลอยู่ส่วนบนของภาพ มีการใช้สีแบบเอกรงค์ คือ ใช้หลายสี แต่จะมีสีหนึ่งที่เด่นชัดออกมาจากภาพอย่างชัดเจน นอกจากนี้ เอกลักษณ์ที่ทำให้สังเกตได้ชัดอีกอย่างนึงได้แก่การใช้ลายไทยในการ วาดภาพ

ประเภทของงานจิตรกรรม 1.จิตรกรรมในสมัยอยุธยา ส่วนใหญ่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะแบบลพบุรี สุโขทัย และลังกาในระยะแรก มักใช้สีขาว ดำ แดง มีการปิดทองบนภาพ ช่วงหลังๆมีการ นิยมวาดเกี่ยวกับไตรภูมิและภาพพุทธประวัติ มีการใช้สีหลากหลายมากขึ้น เป็นจิตรกรรมที่เห็นเอกลักษณ์ความเป็นไทยมากที่สุด 2.จิตรกรรมร่วมสมัย เป็นการวาดภาพจิตรกรรม ที่ยังคงลายเส้นความเป็นไทยแต่มีการเพิ่มราย ละเอียดบางส่วนให้มีความร่วมสมัยมากขึ้น เช่นการใส่ภาพที่เป็นเหตุการ์ณหรือ บุคคลกำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ทำให้คนหันมาสนใจจิตรกรรมไทยมากขึ้น

ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีและจิตรกรรมไทย ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีและจิตรกรรมไทย จะเห็นได้ชัดจาก การนำเรื่องราวของวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ ไปวาดเป็นภาพ จิตรกรรมฝาผนังของวัดพระแก้ว รวมถึงการทำภาพประกอบในหนังสือ วรรณคดีต่างๆ เช่น การทำปกหนังสือ หรือแม้กระทั่งภาพวาดที่ช่วยให้ ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวของตัวละครได้มากขึ้นอีกด้วย อีกสิ่งหนึ่งที่เห็น ได้ชัดคือโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ที่มีการใช้โคลงในการบรรยาย ภาพจิตรกรรม

การสืบสาน อนุรักษ์ และเผยแพร่ จิตรกรรมและวรรณคดี สามารถอนุรักษ์ได้ด้วยการนำมาปรับปรุงให้ เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น แต่ต้องไม่ทิ้งรากฐานเดิมของทั้งสองอย่างนี้ไป เช่นการคงลายเส้นไทยเดิมไว้ แต่สร้างเรื่องราวเข้ามาใหม่ให้น่าสนใจ มากยิ่งขึ้น

จัดทำโดย ปพิชญา เอื้อประสิทธิเดช ม.4/6 เลขที่ 23/24(ใหม่) Thanks for reading!


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook