Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 5. บทที่ 1

5. บทที่ 1

Published by tipsin38, 2020-07-18 23:15:00

Description: 5. บทที่ 1

Search

Read the Text Version

1 บทท่ี 1 บทนำ ควำมเป็นมำและควำมสำคญั ของปัญหำ ภาษาไทยเปน็ เอกลกั ษณ์ของชาติ เป็นสมบัตทิ างวัฒนธรรมอนั กอ่ ใหเ้ กดิ ความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเคร่ืองมือในการติดต่อ สื่อสารเพื่อ สร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ทาให้สามารถประกอบกิจธุระ การงาน และดารงชีวิต ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข ใช้เป็นเคร่ืองมือในการแสวงหาความรู้ประสบการณ์ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และ สร้างสรรค์ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ตลอดจนนาไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความม่ันคงทางเศรษฐกิจ นอกจากน้ียังเป็นสื่อแสดงให้เห็น ถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี สุนทรียภาพ เป็นสมบัติอันล้าค่าควรแก่ การเรียนรู้ อนุรักษ์ และสืบสานให้คงอยู่คูช่ าตไิ ทยตลอดไป (กระทรวงศึกษาธกิ าร, 2551, หน้า 37) การใช้ภาษาในการสื่อสารเป็นสิ่งจาเป็นสาหรับมนุษย์ทุกคนในโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็น ยุคโลกาภิวัฒน์ ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่การเรียนรู้ก็เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเวลา ทุกสถานท่ี และ ต้องค้นคว้าอยู่ตลอดเวลาเพื่อจะได้เป็นคนท่ีทันโลก ทันเหตุการณ์ ทันสมัย เนื่องจากเป็นการสื่อสาร ไร้พรมแดน เป็นโลกแห่งการเรียนร้ดู ้วยตนเอง ช่วยเสริมสรา้ งความรใู้ ห้มคี วามเจริญงอกงามทางด้าน สติปัญญา นามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดาเนินชีวิต การสื่อสารในยุคน้ีจึงต้องใช้ภาษา ในการติดต่อส่ือสารมากขึ้น จึงมีความจาเป็นท่ีเราต้องพัฒนาทักษะในด้านการอ่าน การเขียน การใช้คาได้ถูกต้องตรงตามความหมาย และความต้องการ เพื่อพัฒนาตนเองให้มีองค์ความรู้เพ่ิมข้ึน ในทุก ๆ ด้าน ดังน้ันเราจึงมีความจาเป็นที่จะต้องพัฒนาทักษะในด้านการอ่าน และการเขียน ภาษาไทยให้ดีขน้ึ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในกิจการทุกด้านของภาษาไทย และ ทรงห่วงใยในความผันแปรของภาษาไทย ดังพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 ตอนหน่ึงว่า “ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่าได้มีการใช้คา ออกจะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนือง ๆ ท้ังออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็น สิ่งอันประเสรฐิ อย่แู ลว้ เป็นมรดกอันมคี า่ ตกทอดมาถึงเราทกุ คนจงึ มีหนา้ ที่จะต้องรกั ษาไว.้ ..” ต่อมาพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรางวัลแก่ผู้ออกเสียงภาษาไทยได้ ถกู ตอ้ งและชัดเจน และพระราชทานพระราชดารัสตอนหนึง่ ว่า “......ในด้านการใชถ้ อ้ ยคา หรอื คิดคา

2 ขึ้นใหม่ ขอให้พยายามนึกถึงคาเก่า ๆ ในภาษาไทยไว้บ้าง คาเก่า ๆ ท่ีมีอยู่แล้วขอพยายามรักษาไว้ และใช้ใหถ้ ูก คาท่ีคดิ ขึ้นใหมข่ อให้ช่วยคิดให้ดี และอย่าคิดใหม่อย่าให้ฟมุ่ เฟือย...”(วรรณี โสมประยูร, 2553, หน้า 28) จากพระราชดารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่ีทรงแสดงความกังวลห่วงใยการใช้ ภาษาไทยที่ไม่ถูกต้องของคนไทย มีพระราชประสงค์ให้คนไทยรักษาภาษาไทยและใช้ภาษาไทย ไดอ้ ยา่ งถูกต้อง คนไทยทุกคนตอ้ งช่วยกนั ดารงรักษาไวใ้ ห้อยูม่ ั่นคงตลอดไป รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 43 จึงได้กาหนดให้บุคคลมี สิทธิเสรีภาพเสมอกัน ในการได้รับการศึกษาขั้นพ้ืนฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีท่ีรัฐจัดให้ อย่างท่ัวถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาอบรมของรัฐต้องคานึงถึงการมี ส่วนร่วมขององค์กรต่าง ๆ ท้ังองค์กรปกครองท้องถ่ินและเอกชน และแนวทางการจัดการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแหง่ ชาติ พทุ ธศักราช 2542 มาตรา 23 (4) ได้เน้นความสาคัญท้งั ความรู้ คุณภาพความรู้ ทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นด้านการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง มาตรา 24 (3) เนน้ การจดั กระบวนการเรียนรูโ้ ดยจัดกจิ กรรมให้ผ้เู รยี นไดเ้ รียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้คิดเป็นทาเป็น รักการอ่าน การเขียน และเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเน่ือง (จนิ ตนา ปาระม,ี 2548, หนา้ 1) ด้วยความสาคัญ ดังกล่าว และเพื่อให้ประเทศชาติมีความเจริญ ก้าวหน้าทันต่อ การเปล่ียนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ ทั้งของนานาประเทศ ประเทศไทยจึงต้องมีการปฏิรูปการศึกษา มีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา ของชาติในทศวรรษท่ีสอง เพื่อพัฒนาศักยภาพของคนไทยให้ทัดเทียมอารยประเทศในแถบเอเชีย และประเทศเพ่ือนบ้าน หลักสูตรการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 จึงกาหนดสาระและ มาตรฐานการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยให้ผู้เรียนใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารใน การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เพ่ือนาไปใช้ในชีวิตจริงโดยการใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และ ความคิด เพ่ือที่จะนาไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหาการดาเนินชีวิต ใช้กระบวนการเขียนอย่างมี ประสิทธิภาพ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลัก ภาษาไทย เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและ นามาประยุกตใ์ ชใ้ นชวี ิตจรงิ (กระทรวงศึกษาธกิ าร, 2551, หน้า 2-3) วิชาภาษาไทยเป็นวิชาอยู่ในกลุ่มวิชาทักษะท่ีต้องเรียนรู้ทั้งทฤษฎี และอาศัยการฝึกฝน ในการเรียนรู้ภาษาไทยให้บรรลุตามเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพนั้นผู้สอนต้องจัดประสบการณ์ให้ ผู้เรียนพัฒนาทักษะทั้ง 4 คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนให้สัมพันธ์กัน โดยเฉพาะ การอ่านซึ่งเป็นทักษะพ้ืนฐานสาคัญในการแสวงหาความรู้ หน่วยงานทางการศึกษา และสถานศึกษา ทุกระดับ ได้ให้ความสาคัญต่อการพัฒนานักเรียนให้มีความสามารถทางการอ่าน และได้พยายาม

3 ส่งเสริมพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนมาเป็นเวลานาน แต่ความสามารถทางการอ่าน และนิสัย รักการอ่านของผู้เรียนยังไม่เกิดข้ึน ไม่เป็นท่ีน่าพึงพอใจ ผลการวิจัยเก่ียวกับผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน ของผู้เรียนในระดับต่าง ๆ นักเรียนหย่อนทักษะการอ่านมาก ท้ังการอ่านทาความเข้าใจ และนิสัย รกั การอ่าน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553, หน้า 1) จากการศึกษาปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทยในปัจจุบัน พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนภาษาไทยต่า การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษายังไม่บรรลุจุดประสงค์ของหลักสูตรมากนัก โดยเฉพาะ สาระท่ี 1 การอ่านจับใจความ และสาระท่ี 2 การเขียนสรุปความในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6 นักเรียนสอบคะแนนได้ต่ากว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ และ ต่ากว่าเกณฑ์ทที่ างโรงเรียนกาหนดไว้ ในฐานะท่ีผู้วิจัยได้ปฏิบัติหน้าที่การสอนนักเรียนโรงเรียนทุ่งตาพลวิทยาในระดับช้ัน ประถมศึกษาปีที่ 6 มาเป็นระยะเวลา 2 ปี การจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยที่ผ่านมายังไม่ ประสบผลสาเร็จเท่าที่ควร ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาภาษาไทยต่า คะแนนเฉลี่ยในปีการศึกษา 2555 เฉล่ียร้อยละ 70.35 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในปีการศึกษา 2555 เฉลี่ยร้อยละ 58.65 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของโรงเรียนทุ่งตาพลวิทยาอยู่ในเกณฑ์ระดับท่ีไม่น่าพอใจ ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนรู้ไม่เป็นไปตามตัวช้ีวัด และจุดประสงค์การเรียนรู้ (ฝ่ายทะเบียนและวัดผล โรงเรียนทงุ่ ตาพลวิทยา, 2556, หน้า 6) สาเหตุหน่ึงสืบเน่ืองมาจากผู้เรียนบางส่วนมีปัญหาด้านการอ่าน และการเขียนภาษาไทย ผเู้ รียนไม่สามารถจับใจความเรอ่ื งที่อ่านได้ และเขียนสรุปความได้ ส่งผลให้ตอบคาถามจากเร่อื งท่ีอา่ น ไม่ได้ เนื่องจากผู้เรียนมีพื้นฐานทางภาษาไทยค่อนข้างอ่อน ไม่เห็นความสาคัญของภาษาไทย และ คุณค่าของภาษาไทย นักเรียนมีความชอบและเห็นความสาคัญของวิชาอื่นมากกว่าวิชาภาษาไทย ส่วนใหญ่คิดว่าภาษาไทยน้ันเป็นภาษาของตนเองทุกคนเรียนรู้เองได้ จึงขาดการศึกษาเรียนรู้อย่าง จริงจัง โดยเฉพาะการอ่านจับใจความ และการเขียนสรุปความ นักเรียนจะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ยาก ครู ที่สอนเน้นการสอนแบบบรรยาย ไม่มีสื่อการสอนทาให้นักเรียนขาดความสนใจ ส่งผลให้นักเรียนมี ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนต่า ครูผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนวิธีการถ่ายทอดความรู้แบบใหม่อยู่เสมอ เพื่อให้ทันต่อการเปล่ียนแปลงของสังคม จึงจะดึงดูดความสนใจผู้เรียนได้ดี ทาให้การเรียนการสอน ประสบผลสาเรจ็ ตามจุดประสงคข์ องหลกั สูตร (ฝ่ายวิชาการ โรงเรยี นทุ่งตาพลวิทยา, 2556, หนา้ 9) จากการศึกษาเก่ียวกับนวัตกรรมที่ใช้พัฒนาการใช้บทเรียนสาเร็จรูปพบว่า กิตต์นิษฐ์นิชา สาครพานิช (2552: บทคัดย่อ) ได้ทาการวิจัยเรื่อง การพัฒนาและการใช้บทเรียนสาเร็จรูป เร่ือง โครงสร้างทางสังคมและสังคมไทย สาหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนระยองวิทยาคม พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ทีร่ ะดับ .01

4 สาหรับการศึกษางานวิจัยมีผู้วิจัยเก่ียวกับการสอนแบบสืบสวนสอบสวน โดยใช้เกม คณิตศาสตร์ สามารถทาให้นักเรียนมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนสูงข้ึน ซ่ึงสอดคล้องกับงานวิจัย ของ พิริยพงศ์ เตชะศิริยืนยง (2552, บทคัดย่อ) ได้ทาการวิจัยเร่ือง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 4 ท่ีได้รับการสอนแบบสืบสวนสอบสวนโดยใช้เกม คณิตศาสตรเ์ ร่ืองการให้เหตุผล พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธ์หิ ลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิตทิ ่รี ะดับ .01 เกย่ี วกับการศึกษาผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี นและความพึงพอใจ พบว่า จันทิมา เมยประโคน (2555, หน้า 100) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจในการเรียนวิชาศิลปะ เร่ือง การสร้างสรรค์จากเศษวัสดุของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT หลงั เรยี นสูงกวา่ ก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถติ ทิ ร่ี ะดับ .05 จากความสาคัญและปัญหาของการอ่านและการเขียนดังกล่าว มีผู้สนใจทาการศึกษา เกี่ยวกับการอ่านหลายท่าน เช่น ศุภิสรา ประเสริฐ (2554 : บทคัดย่อ) ได้ทาการวิจัยด้วยการใช้ แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 1/7 โรงเรียนพญาแลวิทยา ภาคเรียนท่ี 2 ปกี ารศึกษา 2554 มีความสามารถในการอา่ นจบั ใจความดขี ้ึน รอ้ ยละ 90.85, งานวจิ ัย ของวราภรณ์ วิศุภกาญจน์ (2550 : บทคัดย่อ) พบว่า ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาภาษาไทยสูงกว่า กอ่ นการใชช้ ุดฝึกทักษะอย่างมนี ัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ กนษิ ฐา ดาโสม (2554 : บทคดั ย่อ) ได้ศึกษาผลสัมฤทธ์ิการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 1 โรงเรียนบ้านสาโรง จังหวัด ขอนแก่น โดยใช้สารขา่ วเปน็ สื่อ หลงั เรยี นสงู กวา่ ก่อนเรียนอย่างมีนยั สาคัญทางสถติ ิท่รี ะดับ .05 จากปัญหาและเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีความสนใจท่ีจะวจิ ัยเร่ืองการอ่านจบั ใจความและ การเขียนสรปุ ความ ชั้นประถมศกึ ษาปีที่ 6 เพ่อื จะตรวจสอบแบบฝึกดังกล่าวดว้ ยการหาประสิทธภิ าพ ว่าได้ตามเกณฑ์หรือไม่ พร้อมทั้งเปรียบเทียบทักษะการอ่าน และการเขียนว่าเพ่ิมขึ้นหรือไม่อย่างใด ตลอดจนศึกษาถึงความพึงพอใจของนักเรียนวา่ อยู่ในระดับใดอันจะเป็นแนวทางพัฒนา และแก้ปญั หา ทเ่ี กิดขน้ึ กับกระบวนการเรยี นการสอนเรื่อง การอ่านจับใจความและการเขยี นสรปุ ความ ในภาษาไทย ท่ีไม่ประสบผลสาเร็จ และบรรลุตามจุดมุ่งหมายทางการเรียน ตลอดจนเพ่ือเป็นแนวทางในการจัด กิจกรรมการเรียนการสอน และเป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษาให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูงข้นึ เกดิ ประสบการณ์ ร้จู ักแสวงหาความรดู้ ้วยตนเองต่อไป วัตถปุ ระสงค์ในกำรวจิ ัย 1. เพอ่ื พฒั นาแบบฝึกทักษะการอา่ นจับใจความและการเขียนสรุปความ ชั้นประถมศึกษา ปที ี่ 6 2. เพื่อหาประสทิ ธภิ าพของแบบฝกึ ทกั ษะการอา่ นจับใจความและการเขยี นสรปุ ความ ชน้ั ประถมศึกษาปที ่ี 6 3. เพอ่ื เปรยี บเทยี บทกั ษะการอ่านจับใจความ ก่อนและหลงั เรียนด้วยแบบฝึก 4. เพอ่ื เปรียบเทยี บทักษะการเขียนสรุปความ ก่อนและหลังเรียนดว้ ยแบบฝกึ

5 5. เพอ่ื ศึกษาความพึงพอใจของนักเรยี นท่มี ีตอ่ แบบฝกึ ทักษะการอา่ นจบั ใจความและ การเขยี นสรุปความ ชน้ั ประถมศกึ ษาปที ี่ 6 ควำมสำคญั ของกำรวิจยั 1. ให้นักเรียนสามารถอ่านจับใจความ และเขียนสรุปความได้อย่างถูกต้อง นาไปใช้ ประโยชน์ในการเรยี นวิชาอนื่ รวมท้งั ประยกุ ตใ์ ช้ในชีวิตประจาวันได้ 2. ครสู ามารถนาแบบฝึกทักษะการอา่ นจบั ใจความและการเขยี นสรปุ ความ ชน้ั ประถมศกึ ษาปีที่ 6 ไปสอนได้ 3. เปน็ แนวทางในการพัฒนาการอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความของนักเรียน ในชน้ั อนื่ ๆ ได้ กรอบแนวคิดกำรวิจัย จากการศึกษาผลการวจิ ยั พบว่า การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอา่ นจับใจความและ การเขยี นสรปุ ความ ชั้นประถมศึกษาปที ี่ 6 สามารถพฒั นาทกั ษะการอา่ นจับใจความ และทกั ษะ การเขยี นสรปุ ความได้ จะทาให้นักเรียนมีผลสมั ฤทธ์ิทางการเรยี นสงู ข้นึ ได้ (รังสรรค์ กลิ่นแกว้ , 2550, หนา้ 5, อารินธร ตลบั ทอง, 2553, หนา้ 6) ดงั นน้ั ผู้วจิ ยั จงึ นามากาหนดการวิจัยในครั้งนี้ ดังภาพ ท่ี 1.1 กาหนดการวจิ ยั ในครัง้ น้ี ดังภาพท่ี 1.1 ตวั แปรต้น ตวั แปรตาม แบบฝกึ ทักษะ 1. ประสทิ ธภิ าพของแบบฝึก การอ่านจบั ใจความ 2. ทกั ษะการอ่านจับใจความ และการเขียนสรุปความ 3. ทักษะการเขียนสรุปความ ชนั้ ประถมศึกษาปที ี่ 6 4. ความพงึ พอใจ ภาพที่ 1.1 กรอบแนวคดิ การวิจยั ขอบเขตกำรวจิ ัย ประชำกรและกลุ่มตวั อยำ่ ง ประชำกร คือ นักเรยี นชั้นประถมศึกษาปที ่ี 6 โรงเรยี นท่งุ ตาพลวทิ ยา ปีการศึกษา 2557 จานวน 8 คน กลมุ่ ตวั อยำ่ ง ศกึ ษาจากประชากร

6 ตัวแปร ตวั แปรต้น คือ แบบฝึก ตัวแปรตำม คือ ประสิทธิภาพ ทักษะการอ่านจบั ใจความ ทกั ษะการเขียนสรปุ ความ และความพึงพอใจ สมมุติฐำนได้แก่ 1. ประสิทธิภาพของแบบฝกึ = 80/80 2. หลงั จากเรียนด้วยแบบฝึกนักเรียนมีทักษะการอา่ นจบั ใจความสูงกว่าก่อนเรียน 3. หลงั จากเรียนดว้ ยแบบฝึกนักเรียนมีทักษะการเขียนสรุปความสงู กว่าก่อนเรยี น ขอ้ จำกัดในกำรวิจยั การวิจัยคร้ังนไี้ มส่ ามารถใช้แบบวิจัยที่มี 2 กลุม่ เพอื่ จะเปรียบเทยี บผลใหช้ ดั เจนได้ เนื่องจากสอนนักเรยี นเพียงห้องเดยี ว และต้องการใหน้ ักเรียนทุกคนได้เรียนดว้ ยแบบฝกึ ทักษะ การอ่านจับใจความและการเขยี นสรุปความ ชั้นประถมศึกษาปที ่ี 6 นิยำมศพั ทเ์ ฉพำะ 1. แบบฝึกทกั ษะกำรอ่ำนจับใจควำม หมายถงึ แบบฝึกที่ผวู้ จิ ัยสร้างขน้ึ เพ่ือการฝึกทักษะ การอา่ นจับใจความ วชิ าภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2. แบบฝกึ ทกั ษะกำรเขียนสรุปควำม หมายถึง แบบฝึกที่ผวู้ ิจยั สรา้ งขึน้ เพื่อการฝกึ ทกั ษะ การเขียนสรปุ ความ วชิ าภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6 2.1 เกณฑ์ 80 ตวั แรก หมายถงึ ร้อยละของคะแนนเฉล่ียแบบทดสอบกอ่ นเรียน ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจบั ใจความและการเขียนสรปุ ความ วิชาภาษาไทยของนกั เรียน ช้นั ประถมศึกษาปที ี่ 6 2.2 เกณฑ์ 80 ตัวหลัง หมายถึงร้อยละของคะแนนเฉล่ียหลังเรียนของนักเรียน ทงั้ หมดทสี่ ามารถทาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรยี นทไี่ ด้คะแนนเฉลีย่ รอ้ ยละ 80 ขน้ึ ไป 3. ทกั ษะกำรอ่ำนจบั ใจควำม หมายถึง ความสามารถในการอา่ นภาษาไทย เพื่อจบั สาระสาคญั ในเรื่องที่อ่านของนกั เรยี นชั้นประถมศึกษาปที ่ี 6 วดั ไดจ้ ากการทาแบบทดสอบ กอ่ นเรียน และหลังเรยี น หลงั จากการใช้แบบฝึกทกั ษะการอ่านจบั ใจความและการเขียนสรุปความ ช้ัน ประถมศกึ ษาปที ี่ 6 ด้วยแบบทดสอบปรนัย ชนดิ 4 ตัวเลือก จานวน 30 ขอ้

7 4. ทักษะกำรเขียนสรปุ ควำม หมายถงึ ความสามารถในการเขียนสรปุ สาระสาคญั ในเรื่องที่อา่ นของนักเรยี นชัน้ ประถมศึกษาปีท่ี 6 วดั ได้จากการทาแบบทดสอบก่อนเรยี น และ หลังเรียน หลังจากการใชแ้ บบฝึกทกั ษะการอ่านจับใจความและการเขยี นสรุปความ ช้ันประถมศึกษา ปที ี่ 6 ดว้ ยแบบทดสอบอัตนยั จานวน 10 ขอ้ 5. ควำมพงึ พอใจ หมายถึง ความคิดเหน็ ของนกั เรยี นท่ีมีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึก ทักษะการอ่านจบั ใจความและการเขียนสรุปความ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เก่ยี วกบั เนื้อหา ภาษา ภาพ ซึ่งวดั ได้จากแบบวัดความพึงพอใจทมี่ ลี ักษณะเปน็ แบบมาตราสว่ นประมาณคา่ 5 ระดับ จานวน 10 ขอ้ ทผี่ ู้วจิ ัยสรา้ งขน้ึ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook