41 หมวด 4 การวดั การวิเคราะห์ และการจดั การความรู้ (Measurement Analysis and Knowledge Management) โรงเรียนนนาบอนเป็นองค์กรที่มีระบบการบริหารการจัดการที่มีคุณภาพ มีระบบการวัดวิเคราะห์ผลการ ดำเนินการ และการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ รวมถึงการนำข้อมูลสารสนเทศมาปรับใช้เพื่อเป็นแนวทางในการ ดำเนินงานให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) เป้าประสงค์ (Goals) และกลยุทธ์ (Strategy) ของ โรงเรียน และเป็นข้อมูลสนบั สนนุ การตดั สนิ ใจในการกำหนดนโยบาย ปรับปรงุ พัฒนาโรงเรียนตอ่ ไป 4.1 การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนนิ การของโรงเรยี น (Measurement, Analysis, and Improvement of Organization Performance) ก. การวัดผลการดำเนินการ (PERFORMANCE MEASUREMENT) (1) ตัววดั ผลการดำเนินการ (PERFORMANCE MEASURE) โรงเรยี นไดก้ ำหนดแนวทางหรือตัววัดผลการดำเนินการของโรงเรียน โดยคำนึงถงึ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของการดำเนินงานในเชิงระบบ ท้ังกระบวนการและผลลัพธท์ ่สี อดคล้องกับวตั ถปุ ระสงค์ตามตัวชี้วัด ตามแผนปฏิบัติงาน และสอดคล้องกบั ทศิ ทางการจดั การศึกษาของโรงเรียนนาบอน ดงั นี้ 1.1 โรงเรียนมีคณะกรรมการนิเทศ ติดตามการปฏิบัติงานของบุคลากร ตามแผนปฏิบัติงานรายบุคคล มกี ารประชมุ บุคลากรอยา่ งนอ้ ยเดือนละ 1 ครัง้ และนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพือ่ วางแผน ปรับปรุงพัฒนากลุ่มงานต่าง ๆ 1.2 กลุ่มแผนงานและงบประมาณ มีคณะกรรมการตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินงบประมาณอย่างเป็นระบบ เพือ่ ให้ดำเนนิ ไปตามแผนปฏิบัตกิ ารและรายงานผลการตรวจสอบเดอื นละ 1 ครง้ั มีคณะกรรมการตรวจรับการจดั ซือ้ จัด จ้าง คณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปี ตลอดจนมีการประชุมคณะกรรมการบริหารกลุ่มงาน และรายงานต่อ ผ้บู รหิ ารอยา่ งต่อเนื่อง 1.3 กลุ่มบริหารงานวิชาการ มีคณะกรรมการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อหาจุดเด่นและ จุดด้อยอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มีการติดตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเป็นรายบุคคล ตลอดจนมีการ ประชมุ คณะกรรมการบรหิ ารกลมุ่ งาน และรายงานต่อผู้บรหิ ารอยา่ งต่อเน่อื ง 1.4 กลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน มีการติดตาม ดูแล ความประพฤติของนักเรียนเป็นรายบุคคล มี คณะกรรมการระดบั ช้ันเรียน มกี ารจดั ตง้ั เครือขา่ ยผู้ปกครอง ตลอดจนมีการประชมุ คณะกรรมการบริหารกลุ่มงาน และ รายงานต่อผ้บู ริหารอยา่ งต่อเนื่อง 1.5 กลุ่มบริหารงานทั่วไป มีคณะกรรมการรับผิดชอบประจำอาคารเรียน อาคารประกอบ และบริเวณ ต่าง ๆ ในโรงเรยี น มีระเบียบการใช้ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารเรียน มีคณะกรรมการกำกับดแู ลความสะอาดและ ความปลอดภัยในโรงเรยี น ตลอดจนมีการประชมุ คณะกรรมการบริหารกลมุ่ งาน และรายงานตอ่ ผบู้ ริหารอย่างตอ่ เนอ่ื ง 1.6 กลุ่มบริหารงานบุคคล มคี ณะกรรมการรับผดิ ชอบตลอดจนมกี ารประชมุ คณะกรรมการบริหารกลมุ่ งาน และ รายงานตอ่ ผู้บริหารอยา่ งต่อเนือ่ ง
42 (2) ขอ้ มลู เชงิ เปรียบเทยี บ (Comparative Data) โรงเรียนมีวิธีการเลือกและใช้ข้อมูลและสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบที่สำคัญโดยการบริหารจัดการใช้ข้อมูล สารสนเทศเป็นฐาน โดยมีการนำข้อมูลเชิงเปรยี บเทียบ มาใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจ ทั้งในระดับโรงเรียน ระดับ จังหวัด ระดับภาค ระดับประเทศ ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพการศึกษาตามผลสำเร็จ โดยมี ข้อมูลและสารสนเทศเป็นตัวชีว้ ัดที่สำคัญ ซึ่งผู้บริหารได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่แต่ละฝ่ายเป็นผู้เกบ็ รวบรวมข้อมูล เช่น กล่มุ บรหิ ารงานวิชาการ และงานสนบั สนนุ ต่าง ๆ เช่น กล่มุ บรหิ ารงานทัว่ ไป กลุ่มบริหารงานงบประมาณและบคุ คล โดย มีเจ้าหน้าที่จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและเป็นปัจจุบัน เพื่อสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ เมื่อต้องการพิจารณาทบทวนการประเมินและปรับปรุงผลการดำเนินการ ตามแผนปฏิบัติการประจำปีของ โรงเรยี น (3) ข้อมูลนักเรยี นและผู้มีส่วนไดส้ ว่ นเสีย (STUDENT and STAKEHOLDER Data) โรงเรียนมีวธิ ีการใช้ข้อมลู และสารสนเทศจากเสียงของนักเรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยการเก็บรวบรวมข้อมลู ความตอ้ งการ ความพึงพอใจ ขอ้ เสนอแนะ ขอ้ รอ้ งเรียนของนกั เรียน และผู้มสี ่วนไดส้ ่วนเสยี อาทิ ผปู้ กครอง องค์กรทั้ง ภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการโรงเรียน แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาวางแผนพัฒนาคุณภาพโรงเรียน ดงั น้ี 3.1 การจัดระบบข้อมูลและสารสนเทศไว้ในเว็บไซต์ของโรงเรียนนาบอน เพื่อให้บุคลากรสามารถสืบค้นได้ โดยสะดวกและมกี ารปรับปรุงแก้ไขขอ้ มลู ใหถ้ กู ตอ้ งและเปน็ ปัจจบุ ัน โดยมีเจา้ หนา้ ที่ผรู้ บั ผดิ ชอบดูแลระบบโดยตรง 3.2 นักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถเข้าถึงขอ้ มลู สารสนเทศไดอ้ ย่างรวดเร็ว 3.3 การติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็น ทางการ เพื่อรับทราบประเด็นปัญหาและมุมมองของนักเรียนและผู้มีส่วนไดส้ ่วนเสยี เพื่อจะได้นำมาทบทวน วิเคราะห์ ปรับปรุง แผนกลยทุ ธ์ และกำหนดแผนปฏิบัติการประจำปีให้การดำเนนิ งานสอดคลอ้ งกับการเปลี่ยนแปลงส่งิ แวดล้อมท้ัง ภายในและภายนอกโรงเรียน (4) ความคล่องตวั ของการวดั ผล (Measurement Agility) โรงเรยี นมีวธิ กี ารใหค้ วามมนั่ ใจว่าระบบการวดั ผลของโรงเรียนสามรถตอบสนองความเปล่ียนแปลงที่เกดิ ขึ้นอย่าง รวดเร็ว ดงั นี้ 4.1 วางแผนดำเนินการโดยการแต่งตัง้ เจ้าหนา้ ที่ผู้รับผิดชอบดแู ลเวบ็ ไซต์ของโรงเรียน 4.2 ดำเนินการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศของกลุ่มบริหารงานวิชาการ กลุ่มบริหารงานงบประมาณและบุคคล กลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียนและชุมชนสัมพันธ์ และกลุ่มบริหารงานทั่วไป โดยทุกกลุ่มงานจะดำเนิน การรวบรวมข้อมูลของแต่ละกลมุ่ งานให้ถูกตอ้ ง ครบถว้ น และเปน็ ปัจจบุ นั 4.3 ติดตาม และวิเคราะห์ผลการใช้ข้อมูลสารสนเทศของบุคลากร หากพบประเด็นที่เป็นปัญหาอุปสรรค ผู้รับผิดชอบจะประชุมร่วมกันเพื่อปรึกษาหารือแก้ไขปัญหาในทันที เพื่อให้บุคลากรมีความคล่องตัวในการนำข้อมูล สารสนเทศไปใชอ้ ย่างมีประสทิ ธภิ าพ
43 4.4 นำผลการดำเนินงานมาวางแผนเพื่อกำหนดกลยุทธ์ ปรับแผนปฏิบัติราช และแนวทางการปฏิบัติงานในปี ถดั ไป ข. การวิเคราะห์และทบทวนผลการดำเนนิ การ (PERFORMANCE ANALYSIS and Review) โรงเรียนมีวิธีการทบทวนผลการดำเนินการและขีดความสามารถของโรงเรียน โดยการรวบรวมข้อมูล ผลการดำเนินการทุกระดับตามโครงสร้างบริหารโรงเรียน และร่วมกันทบทวนงานตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ร่วมกัน เพอื่ ประเมนิ ความสำเร็จของโรงเรียนในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของโรงเรยี นทงั้ ดา้ นการแข่งขัน ความมั่นคงทางการ เงินและความก้าวหน้า โดยโรงเรียนนำเครื่องมือวัดความสำเร็จการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติงาน ประจำปี คือ ผลการประเมินภายนอกจากสมศ. รายงานประจำปีของสถานศึกษา (SAR) รายงานประเมินตนเองของ บุคลากร (PSAR) โดยกำหนดเป้าหมายความสำเร็จตามตวั ช้ีวัดและดัชนีตวั ชีว้ ดั (KPI) ของโรงเรยี นนาบอน โดยผู้บริหาร ระดบั สูงใชก้ ารประชุมบุคลากรร่วมกนั วเิ คราะห์เพ่อื บริหารความเสย่ี งภายใต้การประเมนิ ผลได้ผลเสยี อยา่ งรอบดา้ น นำผลการวิเคราะห์ ทบทวน เสนอต่อที่ประชุมของบุคลากรโรงเรียนเพื่อกำหนดทิศทางการรายงานผล ของ บุคลากรเพ่ือบรรลุความสำเร็จตามตัวช้วี ัด ดชั นีชีว้ ัดของแตล่ ะกล่มุ งาน ซง่ึ เปน็ ตัวตอบโจทย์ตวั ชีว้ ัดและดัชนชี ี้วัด (KPI) โดยรวมของโรงเรียนตามแผนปฏิบัติงานประจำปี ซึง่ บุคลากรต้องเพ่ิมศกั ยภาพของตนเองตามแผนการพัฒนาบุคลากร ของโรงเรียน โดยวิธีการศึกษาอบรมพัฒนาตนเอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงาน กับโรงเรียนที่ประสบ ผลสำเร็จในดา้ นต่าง ๆ ในการเพ่ิมขดี ความสามารถ ศกั ยภาพเพื่อจะได้กำหนดยุทธศาสตร์ ทศิ ทางการดำเนินงานตาม แผนปฏิบัติงานประจำปีให้ได้บรรลเุ ป้าหมาย (KPI) ของโรงเรียน ค. การปรับปรุงผลการดำเนนิ การ (PERFORMANCE Improvement) โรงเรียนมีการวิเคราะห์ผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติงาน และนำผลการวิเคราะห์มาใช้ในปรับปรุง ผลการดำเนนิ การ ดังน้ี (1) การแลกเปลีย่ นเรียนรู้และวิธปี ฏิบตั ิท่เี ปน็ เลศิ (Best Practices) โรงเรียนมีวิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และวิธีปฏิบัตทิ ี่เป็นเลิศ ทั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกันและระหว่างกลุ่ม สาระการเรียนรู้ โรงเรียนจัดกิจกรรมวันวิชาการเพื่อแสดงผลงานของนักเรียนและครู คณะครูนำเสนอวิธีปฏิบัติท่ีเปน็ เลิศ (Best Practices) งานมหกรรมวิชาการมัธยมศึกษา ระดับเขตพื้นที่ งานศิลปหัตถกรรมนักเรยี น ระดับภาค และ งานศลิ ปหตั ถกรรมนกั เรยี นระดับชาติ นอกจากนี้คณะครูไดเ้ ขา้ ร่วมอบรม สมั มนา เพิม่ เติมความรู้ ประสบการณ์ อย่าง ต่อเนื่องโดยวิทยากรทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน เพื่อทบทวนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงาน ตลอดจนจัด กจิ กรรมศกึ ษาดงู านแลกเปลยี่ นเรยี นรู้กบั โรงเรียนท่ปี ระสบผลสำเร็จในด้านตา่ ง ๆ เพ่อื นำมาปรบั ใช้ในการปฏิบัติส่วนอ่ืน ๆ ของโรงเรียน (2) ผลการดำเนินการในอนาคต (Future PERFORMANCE) โรงเรียนมีวิธีการคาดการณ์ผลการดำเนินการในอนาคต โดยการนำผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมาเป็น ข้อมูลพื้นฐานประกอบการพิจารณา เพื่อกำหนดเป้าหมายเชิงเปรียบเทียบ เช่น ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3และ
44 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผลการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา โดยเปรียบเทียบในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นอกจากนยี้ ังไดน้ ำผลการนเิ ทศ กำกบั ติดตาม ตามเกณฑ์การประเมินผลการปฏบิ ตั งิ าน ตามนโยบาย กลยุทธจ์ ดุ เนน้ ของ สำนักงานเขตพ้ืนท่กี ารศกึ ษามธั ยมศึกษานครศรธี รรมราช ไปเปรยี บเทียบกับโรงเรียนขนาดใหญ่ทบี่ รบิ ทใกล้เคียงกนั เพื่อ กำหนดเป้าหมายของการดำเนินการในปตี ่อไป (3) การปรับปรงุ อย่างต่อเนอื่ งและนวตั กรรม (Continuous Improvement and INNOVATION) โรงเรียนมีวิธีการนำผลการทบทวนผลการดำเนินการไปใช้จัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่ต้องนำไปปรับปรงุ อย่างต่อเนื่องและสร้างนวัตกรรม โดยการนำผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมาเป็นข้อมูลพื้นฐาน วิเคราะห์จุดเด่น วิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน และจุดที่ควรพัฒนา แล้วนำไปกำหนดเป็นโครงการ พันธกิจที่เร่งด่วนตามลำดับ ความสำคญั ของปัญหา ปรบั ปรงุ ตัวชีว้ ดั ให้สอดคล้องกบั วิสยั ทัศน์ เป้าหมาย ทง้ั นี้ โรงเรียนได้แต่งต้งั คณะกรรมการนิเทศ ดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และรับการนิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศกึ ษาจาก สำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรธี รรมราช และ องค์กรภายนอก เพื่อนำข้อมูล จุดเด่น จุดด้อย มาทบทวนเรียงลำดับความสำคัญสู่การสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการ ทำงานใหม้ ีประสิทธิภาพและประสทิ ธิผลและสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกนั 4.2 การจัดการความรู้ สารสนเทศ และเทคโนโลยสี ารสนเทศ (Knowledge Management, Information and Information Technology) ก. ความรู้ขององค์กร (Organization Knowledge) (1) การจดั การความรู้ (Knowledge Management) เนือ่ งจากโรงเรียนนาบอนมวี ธิ ีการจัดการความรขู้ องโรงเรียน ดงั นี้ 1.1 การจัดทำแหลง่ เรียนรสู้ ำหรับนักเรียนและผู้สนใจสามารถศึกษาหาความรู้ในระบบออนไลน์ไดจ้ ากเว็บไซต์ ของโรงเรยี น http://www.nbs.ac.th 1.2 การถ่ายทอดความรูร้ ะหวา่ งโรงเรียนกบั นกั เรยี นและผ้มู สี ว่ นไดส้ ว่ นไดส้ ่วนเสยี ผ่านช่องทาง ดงั น้ี - เวบ็ ไซต์ของโรงเรยี น เว็บไซต์ของโรงเรียน http://www.nbs.ac.th - ชอ่ ง YouTube ของโรงเรียน 1.3 การรวบรวมและถ่ายทอดความรู้ดำเนินการอย่างรวดเร็วและถูกต้อง ผ่านระบบสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ของโรงเรียน 1.4 การรวบรวมและถา่ ยทอดความรู้ท่ีเกย่ี วข้องไปใช้ในการสร้างนวัตกรรมและกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ดว้ ยวธิ ีการตา่ ง ๆ เชน่ เวบ็ ไซต์ สือ่ สงั คมออนไลน์ เป็นตน้ (2) การเรยี นรู้ระดบั องค์กร (Organization LEARNING) โรงเรียนมีวิธกี ารใช้องคค์ วามรู้และทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อให้การเรียนรู้เขา้ ถึงและนำไปใช้ในวิถีการปฏบิ ตั ิงาน ของโรงเรียน โดยการจัดการประชุม อบรม สัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ร่วมกันทั้งบุคลากรภายใน
45 โรงเรียนและผู้เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อสรุปมาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติงานของกลุ่มบริหารงานต่าง ๆ ให้เป็นไปในทิศทาง เดียวกัน ข. ขอ้ มลู สารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ (Data, Information and Information Technology) (1) คณุ ภาพของข้อมลู และสารสนเทศ (Data and Information Quality) โรงเรียนมีวิธีการดูแลระบบสารสนเทศและความรู้ขององค์กรให้มีความแม่นยำ ถูกต้อง คงสภาพ เชื่อถือได้ และเป็นปัจจบุ ัน โดยการแตง่ ตั้ง คณะกรรมการแผนงานและสารสนเทศในการรวบรวมข้อมูลจัดทำเปน็ สารสนเทศของ โรงเรียน ตรวจสอบข้อมูล จดั เกบ็ ขอ้ มลู ตามลกั ษณะของข้อมลู นน้ั ๆ เชน่ ข้อมลู นกั เรียนรายบคุ คลและสารสนเทศอ่ืน ๆ ลงระบบ DATA MENAGEMENT CENTER, ข้อมูลบุคลากรลงในระบบ EMIS เป็นต้น แล้วรายงานต่อคณะกรรมการ การศึกษาขน้ั พื้นฐานรบั รองขอ้ มูล ซ่งึ ถือเป็นการตรวจสอบความถกู ตอ้ ง ในการจดั ทำข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ของโรงเรียน จะแตง่ ต้งั คณะกรรมการในการดำเนนิ งานเปน็ ฝา่ ย ๆ เพื่อให้ การรวบรวมข้อมูล ตลอดจนการกำกับติดตามและตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้อง แม่นยำ และเป็นปจั จุบัน (2) ความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศ (Data and Information Security) โรงเรียนมีวิธีการทำให้มั่นใจว่าข้อมูลและสารสนเทศมีความปลอดภัย โดยจัดให้มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถและความเช่ียวชาญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำหนา้ ท่ีดแู ล บำรงุ รักษา แกไ้ ขปัญหาระบบเครือข่าย ของโรงเรียน ระบบเครือข่ายของ สพฐ. โดยมีการกำหนดโครงสร้างงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่าย มอบหมายภาระงานอย่างชัดเจน โรงเรียนให้การสนบั สนุนเพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยสี ารสนเทศในองค์กรอย่างเต็มที่ โดยการจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ Software และ Hardware ทม่ี คี วามจำเปน็ เหมาะสมทันสมัย เพือ่ อำนวยความสะดวกแก่ บคุ ลากร และสร้างความเชอ่ื มั่น ระบบความปลอดภัย ดงั น้ี 2.1 การสร้างความปลอดภัยให้กบั ระบบการปฏบิ ัติการ เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยการตั้งค่าให้ระบบปฏิบัติการ มีการปรับปรุง ระบบปฏบิ ตั กิ ารให้ทันสมัยอยู่เสมอ (Patch Update) เปดิ ใชง้ านไฟล์วอลล์ (Firewall) 2.2 การจดั ใหม้ ีเคร่ืองแม่ข่ายอย่างเพียงพอ เพอื่ ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล สำรองขอ้ มลู (Backup) มีระบบป้องกัน ไวรัสทถี่ กู ตอ้ งตามลิขสทิ ธิ์ มกี ำหนดมาตรการควบคุมที่มคี วามถกู ตอ้ ง 2.3 การจัดให้มีห้องแม่ข่าย (Server Room) ที่ปรับอุณหภูมิเหมาะแก่ hardware ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเปน็ การชว่ ยบำรุงรกั ษาอุปกรณต์ ่าง ๆ 2.4 การกำหนดมาตรการต่าง ๆ ในการรักษาความปลอดภยั ได้แก่ การสร้างความปลอดภยั ซึง่ อาจสร้างความ เสียหายแก่ระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ หา้ มบุคคลผทู้ ไ่ี มเ่ ก่ยี วขอ้ งเขา้ มาในบรเิ วณ ซึ่งอาจสร้างความเสยี หาย แก่ระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ ห้ามบุคคลที่ไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปในห้องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย หรอื หอ้ งทมี่ ีความสำคญั ตา่ ง ๆ การเขา้ ใชง้ านเครอื่ งคอมพิวเตอร์แมข่ า่ ย และอปุ กรณ์ของเจ้าหน้าทจี่ ะตอ้ งทำการใส่บัญชี ผูใ้ ช้ (Username) และ / หรือรหสั ผ่าน (Password) มรี ะบบกลอ้ งวงจรปดิ เป็นต้น
46 2.5 การป้องกันการบุกรุกและภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นการสร้างความปลอดภัยให้กับระบบ สารสนเทศและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น ผู้ดูแลระบบ Proxy, Server จะต้องมีการกำหนดค่า (Configuration) เพ่ือ กลัน่ กรองขอ้ มูลท่ีผ่านมาทางเว็บไซต์ ใหม้ ีความปลอดภัยต่อระบบสารสนเทศและเครือขา่ ยคอมพวิ เตอร์ เปน็ ตน้ 2.6 การพัฒนานโยบายการใช้งานระบบสารสนเทศและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้การใช้งานระบบ สารสนเทศและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทาง คอมพิวเตอร์ 2.7 การสร้างความตระหนักให้กับผู้ใช้งานระบบสารสนเทศและเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล โดยการจัดให้มีการอบรมการใช้งานแก่บุคลากร เมื่อมีซอฟแวร์หรือระบบใหม่ ๆ เช่น มีการจดั สรรพ้ืนที่บนเครื่องแม่ข่ายเพื่อใหค้ รไู ดพ้ ฒั นาระบบ E-learning DLIT นการจัดกจิ กรรมการเรียนการสอน ออนไลน์ โดยอบรมการใช้งานระบบ Google classroom DLIT, การใช้งานระบบ Authentication ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ แสดงตัวตนในการเขา้ ใช้อนิ เตอรเ์ นต็ ตาม พ.ร.บ. ว่าดว้ ยการกระทำความผดิ ทางคอมพวิ เตอร์ พ.ศ. 2550 เปน็ ต้น (3) ความพรอ้ มใชง้ านของข้อมูล และสารสนเทศ (Data and Information Availability) โรงเรียนมวี ธิ กี ารใหค้ วามมัน่ ใจวา่ ขอ้ มูลและสารสนเทศมีความพร้อมใช้งาน โดยการวางแผนเตรียมความพร้อม ทั้งด้านบุคลากร ภาระงาน ทรัพยากรและอื่น ๆ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีงานแผนงาน สารสนเทศเป็นแกนหลัก มีงานเทคโนโลยสี ารสนเทศและเครือข่ายทำหนา้ ที่สนบั สนนุ ดแู ลในเรื่องของ ฮารด์ แวร์ ซอฟแวร์ ทต่ี ้องการ เช่น การเตรยี มความพร้อมในเรอื่ งระบบจดั เก็บข้อมูล การกระจายสัญญาณเครอื ขา่ ย wifi WLAN หรือ LAN ให้ทั่วถึงทุกตำแหน่งของโรงเรียน การพัฒนาระบบหรอื จัดหาระบบที่ต้องการและติดตัง้ ให้พร้อมใช้ งาน เป็นต้น หลังจากนั้นจึงจัดเก็บข้อมูลเข้าระบบสารสนเทศต่างๆ ของโรงเรียน เช่น ระบบ SMIS, OBEC, DATA MENAGEMENT CENTER เปน็ ตน้ เพื่อสะดวกพรอ้ มใช้งานและทันเวลา (4) คุณลกั ษณะของฮารด์ แวร์ และซอฟแวร์ (Hardware and Software Properties) โรงเรยี นมีวธิ ีสร้างความเชือ่ ถือ ปลอดภยั และสะดวกในการใช้งานฮารด์ แวรแ์ ละซอฟแวร์ โดยการสำรวจความ ต้องการของครู นักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จากนั้นจึงจัดซื้อจัดหาฮาร์ดแวร์และ ซอฟตแ์ วร์ตามระเบียบพัสดุ เพ่อื ใหเ้ ปน็ ไปตามมาตรฐานท่ีหน่วยงานกำหนด มีการเชิญวิทยากร เจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้ จำหน่ายหรือผู้เชี่ยวชาญมาอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรผู้เกี่ยวข้องในการจัดเก็บและรักษาข้อมูล เพื่อให้มั่นใจว่า ฮารด์ แวรแ์ ละซอฟแวรม์ ีความน่าเชอ่ื ถอื ปลอดภยั และมีความพร้อมใช้งาน (5) ความพรอ้ มใชง้ านในภาวะฉกุ เฉนิ (Emergency Availability) โรงเรียนมีวิธีการเพื่อเพิ่มความมั่นใจว่า ข้อมูลสารสนเทศรวมถึงระบบฮาร์ดแวรแ์ ละซอฟแวร์มีสภาพพร้อมใช้ งานอยา่ งต่อเน่ืองแมใ้ นภาวะฉกุ เฉิน ดงั น้ี 5.1 ระบบอินเทอร์เน็ตของโรงเรียน มีการติดตั้งเครือแม่ข่ายสำหรับเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต ระบบ อนิ เทอรเ์ นต็ ความเรว็ สงู โดยเช่าใช้บริการสญั ญาณจาก CAT Corporate Service โดยแบง่ ใชส้ ัญญานอินเตอร์เนต็ 3 วง แยกสัญญาณทใ่ี ชใ้ นการจดั การเรยี นการสอน การบรหิ ารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพ่อื ใหเ้ กิดเสถียรภาพการใช้งาน
47 5.2 การป้องกันและแก้ไขปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้อง ซึ่งอาจสร้างความเสียหายแก่ระบบสารสนเทศ และระบบคอมพิวเตอร์ จึงจัดซ้ือ และเปิดใช้งานเครื่องสำรองไฟฟ้าและปรับแรงดันไฟฟา้ อตั โนมัติ (UPS) ตลอดเวลาท่ี เปดิ ใชง้ านเครอ่ื งคอมพวิ เตอรแ์ มข่ า่ ยและเครือ่ งคอมพิวเตอรส์ ว่ นบุคคล 5.3 การจัดให้มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการดูแลข้อมูลสารสนเทศรวมถึงดูแล รักษาฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ วัสดอุ ุปกรณแ์ ละทำหนา้ ที่เตรียมพรอ้ มในการใช้งานไดอ้ ย่างตอ่ เนือ่ งแม้กรณีฉกุ เฉนิ
48 หมวด 5 บคุ ลากร (Workforce) โรงเรียนมีการจัดระบบงานภายในเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงานให้บรรลุผลตามวิสัยทัศน์ พันธกิจและ เป้าหมายของโรงเรียน โดยจัดโครงสร้างการบริหารงานโรงเรียน ออกเป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่มบริหารงานวิชาการ กลุ่ม บริหารงานบุคคล กลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน กลุ่มบริหารงานแผนงานและงบประมาณ และกลุ่มบริหารงานทั่วไป โดยผู้นำระดับสงู ไดม้ อบอำนาจการบงั คับบญั ชาและอำนาจการบริหารงานกล่มุ ตา่ งๆ ได้แก่ หัวหน้ากลุม่ บรหิ าร ลงมาถึง หัวหน้ากลมุ่ สาระการเรยี นรู้และหัวหนา้ งานในการปฏิบัตงิ านในแต่ละกล่มุ การปฏิบัติงานตามสายงาน ซึ่งมีการกำหนด บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและมาตรฐานการปฏิบัติงานของทุกกลุ่ม เพื่อใช้เป็นเป้าหมายสำคัญของการทำงานให้ บรรลุผล 5.1 สภาพแวดล้อมของบคุ ลากร (Workforce Environment) ก. ขีดความสามารถและอตั รากำลังบุคลากร (WORKFORCE CAPABILITY and CAPACITY) สรปุ เปน็ แผนภาพที่ 5.1 ดงั นี้ สำรวจความตอ้ งการ/ขดี ความสามารถและวเิ คราะห์ P ทบทวนปรับปรุง A D จดั ทำแผน/วิเคราะห์ พัฒนา อัตรากำลัง C ประเมินผล แผนภาพท่ี 5.1 ขดี ความสามารถและอัตรากำลงั บคุ ลากร
49 (1) ขดี ความสามารถและอตั รากำลงั (CAPABILITY and CAPACITY) โรงเรียนดำเนินการดา้ นขดี ความสามารถและอัตรากำลงั มีการปฏิบตั ิ ดงั น้ี 1. สำรวจความตอ้ งการอัตรากำลัง/ดา้ นขดี ความสามารถ คอื ความรแู้ ละทกั ษะ (วิชาเอก/วิชาโท) ความถนัด/ความเชี่ยวชาญ ความสามารถ ประสบการณ์ของบุคลากร เพื่อพิจารณาให้ปฏิบัติงานตามโครงสร้างการ บริหารของโรงเรียน กำหนดภาระงานและอัตรากำลัง เพื่อให้บุคลากรได้ทำงานในกลุ่มงานที่ตนเองถนัด ซึ่งก่อให้เกิด ความตัง้ ใจในการทำงานและส่งผลให้งานประสบความสำเรจ็ 2. จัดทำแผนอตั รากำลังระยะเวลา 3 ปี โดยวิเคราะหแ์ นวโนม้ การเคล่ือนไหวจากขอ้ มลู สารสนเทศ บุคลากร แนวโน้มการขอย้าย การเกษียณอายุราชการแต่ละปี เพื่อกำหนดตำแหน่งและจำนวนบุคลากรที่ ต้องการตามคุณสมบัติ ทกั ษะ สมรรถนะ โดยพิจารณาร่วมกนั 3. นำผลการสำรวจมาวเิ คราะหอ์ ตั รากำลงั เพ่ือวางแผนการบริหารงาน กำหนดให้ครูผู้สอนได้ สอนตรงกับวุฒิการศึกษา กลุ่มสนับสนุนการสอน พิจารณาจากภาระงานที่ตรงกับความสามารถของบุคลากรที่มีอยู่ แตง่ ต้งั คณะทำงานตามกลุม่ สาระการเรียนรู้ และกลุม่ งาน โดยให้แต่ละกล่มุ ประชมุ และจดั ทำคมู่ อื ปฏบิ ัตงิ าน 4. กำหนดการประเมินขดี ความสามารถ ทกั ษะ สมรรถนะของบุคลากร โดยประเมินภาคเรยี นละ 1 ครั้ง จัดระบบการประเมินผลการปฏิบัตงิ านของบุคลากร โดยมอบหมายให้หวั หน้ากลุ่มสาระการเรียนรู/้ หัวหน้างาน เป็นผู้ประเมินผล โดยใช้แบบประเมินประสิทธิภาพประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครู และรายงานผลการ ประเมินตนเองเป็นรายบุคคล 5. นำผลการประเมินขดี ความสามารถ ทกั ษะสมรรถนะมาทบทวนปรับปรงุ พัฒนา จัดทำเป็น แผนพัฒนาตนเองเปน็ รายบุคคล (ID PLAN) เปน็ แผนพัฒนาความสามารถ ทกั ษะและสมรรถนะ เพื่อให้บคุ ลากรมีความ เชี่ยวชาญ (2) บคุ ลากรใหม่ (New WORKFORCE Members) โรงเรียนมีวิธสี รรหา ว่าจา้ ง บรรจุ และรกั ษาบุคลากรใหมไ่ ว้โดยดำเนินการ ดงั นี้ 1. โรงเรียนวางแผน วิเคราะห์อตั รากำลังโดยใช้ข้อมลู สารสนเทศบุคลากรมาวางแผนสรรหา บุคลากรใหม่ให้ทันและเพียงพอต่อความต้องการเมื่อมีตำแหน่งว่าง เช่น บุคลากรเกษียณอายุราชการ บุคลากรย้ายไป ดำรงตำแหนง่ ที่หน่วยงานอ่ืน โดยวางแผนรว่ มกับกลมุ่ สาระการเรียนรแู้ ละกลุ่มงาน 2. นำผลการวางแผน วิเคราะหอ์ ตั รากำลงั มากำหนดคุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถ ตามความ ต้องการแต่ละตำแหน่ง โดยกลุม่ สาระการเรียนรู้พิจารณาจากการเพิ่ม/ลดของบุคลากร และคาบสอนเฉลี่ยในส่วนของ กลุ่มงานต่างๆ พิจารณาจากภาระงาน และนำผลการวเิ คราะหม์ าประเมินจัดอตั รากำลังให้เหมาะสมในกรณีการรับย้าย หรอื บรรจขุ า้ ราชการครู จะดำเนนิ การ ดังนี้ 2.1 การรบั ย้ายบุคลากรแทนตำแหนง่ ทวี่ า่ งลง จะดำเนนิ การโดยผ่านความเห็นชอบจากมติท่ี ประชมุ ของคณะกรรมการสถานศึกษาข้นั พืน้ ฐานโรงเรยี นนาบอน
50 2.2 การบรรจุบุคลากร โรงเรียนได้ประชมุ คณะกรรมการบริหารโรงเรียน ซึง่ ประกอบดว้ ย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหนา้ กลมุ่ สาระการเรียนรู้ หัวหนา้ งานนโยบายและแผน หัวหน้างาน บคุ ลากร เพ่ือวิเคราะห์ความตอ้ งการและความจำเปน็ ของฝ่าย/กลุ่มสาระการเรียนรู้/งานต่างๆ เสนอผ่านความเห็นชอบ จากมติที่ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนนาบอน และเสนอความต้องการด้านอัตรากำลัง ไปยัง สำนกั งานเขตพ้ืนที่การศกึ ษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช เพ่อื ดำเนนิ การรับย้ายหรอื บรรจุบุคลากรใหม่ 3. กรณที ี่ไมไ่ ด้รบั การจดั สรรอตั รากำลงั ให้กบั โรงเรียนเพ่ือบรรจขุ ้าราชการครู จะพจิ ารณาจ้างครู อัตราจ้าง โดยยึดแผนอัตรากำลังที่วางไว้แล้ว การสรรหา ว่าจ้างครูอัตราจ้าง ใช้ระบบการสรรหา เพื่อการคัดเลือก บุคลากรเข้ามาทำงานได้เหมาะสมกับตำแหน่ง ท้ังด้านความรู้ ความสามารถ และทกั ษะ ตามคณุ สมบัติที่กำหนดให้ตรง กบั ความตอ้ งการและลกั ษณะงาน โดยมีข้ันตอนการสรรหา ดงั น้ี 3.1 ประกาศรบั สมคั รบคุ ลากรตามสาขาวชิ าทตี่ ้องการ ทางเว็บไซตข์ องสำนักงานเขตพ้ืนที่ การศึกษามัธยมศกึ ษานครศรธี รรมราช และทางเวบ็ ไซต์ของโรงเรยี นนาบอน 3.2 แต่งตง้ั คณะกรรมการรบั สมคั รและกรรมการตรวจสอบเอกสารการสมัคร 3.3 แต่งต้งั คณะกรรมการดำเนินการออกข้อสอบ คณะกรรมการดำเนินการจดั สอบแข่งขนั และคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ 3.4 กำหนดเครอ่ื งมือ คัดเลือก โดยการทดสอบขอ้ เขยี นและสอบสมั ภาษณ์ เพ่ือคัดเลอื ก บุคลากร ปฏิบัตติ ามกระบวนการขั้นตอนการสรรหาบุคลากรด้วยความยตุ ิธรรม 3.5 ประกาศผลการสอบแขง่ ขันทางเว็บไซตข์ องโรงเรียนนาบอน 3.6 ดำเนินการจดั ทำสัญญาจา้ งเปน็ ลายลกั ษณอ์ ักษร บรรจุเข้าสตู่ ำแหนง่ 4. เมือ่ มีบคุ ลากรใหม่มาเพิม่ ขน้ึ โรงเรียนมกี ระบวนการรักษาบุคลากรใหม่ โดยจดั ให้มีการ ปฐมนิเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่และวัฒนธรรมองค์กร มีระบบพี่เลี้ยงคอยสอนงานและเปิดโอกาสให้ บุคลากรใหม่ได้เรียนรู้งานเพิ่มเติม การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่พิเศษ พิจารณาจากความรู้ ความสามารถและ ประสบการณ์ บุคลากรมีอิสระในเชิงความคิดและสามารถตัดสินใจงานได้เองโดยคำนึงถึงขอบเขตที่เหมาะสม จัด สวัสดิการเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิต โดยเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศท่ีดีในการทำงานให้บุคลากรมี ความพึงพอใจ ใช้เทคโนโลยที ี่ทันสมัยเพ่ืออำนวยความสะดวกในการปฏิบัตงิ าน มีสวัสดิการบ้านพัก และสวัสดิการการ ประกันอุบัติเหตุ มีการส่งเสรมิ /พฒั นา/สรา้ งขวญั กำลังใจให้บุคลากรได้รับการพฒั นาโดยการเข้ารับการอบรม ศึกษาดู งาน ศึกษาต่อ การเลื่อนหรือมีวิทยฐานะสูงขึ้น และจัดกิจกรรมกีฬา สังสรรค์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าง ผู้บริหารกับบุคลากร และระหว่างบคุ ลากรด้วยกันเอง เป็นการเสริมสร้างความผกู พันของบุคลากรให้เกิดความรักความ ผูกพันฉันท์พน่ี อ้ ง มีความเออื้ อาทรตอ่ กนั เน้นการทำงานร่วมกันเป็นทีม
51 (3) ความสำเร็จในงาน (WORK Accomplishment) โรงเรียนมวี ธิ ีการในการจดั รปู แบบการทำงานและบรหิ ารบคุ ลากรเพอื่ ความสำเร็จในงาน ดังน้ี 1. จัดโครงสร้างการบริหารงานชัดเจน เหมาะสมกบั งาน 2. แตง่ ตง้ั ผ้รู ับผดิ ชอบแต่ละตำแหน่งตามความรู้ ความสามารถอยา่ งเหมาะสม 3. จัดทำนโยบาย กลยทุ ธข์ องโรงเรียน เพ่อื เป็นกรอบสำหรบั วางแผนการบริหาร 4. จัดทำแผนปฏิบัตกิ าร คูม่ ือการปฏิบัตงิ านของแต่ละกลุ่มงาน กลมุ่ สาระการเรียนรู้ 5. จดั การบรหิ ารและควบคุมคุณภาพการดำเนนิ งานอยา่ งเปน็ ระบบ โดยใชร้ ูปแบบการบรหิ าร 3 ระบบ คือ ระบบบริหารคุณภาพ ระบบบริหารวิชาการ และระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการบริหารงานแบบมี สว่ นรว่ ม มีการจัดวางบุคลากรให้เหมาะสมกับคุณวุฒิ การศกึ ษา ความรคู้ วามสามารถในดา้ นตา่ งๆ ให้เหมาะสมกบั ภาระ งานทไี่ ดร้ ับมอบหมาย 6. ใช้วงจรคุณภาพ PDCA เป็นเครื่องมือในการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินและรายงานผลการ ดำเนินงานอย่างเป็นระบบ โดยกำหนดผูร้ ับผิดชอบ ช่วงระยะเวลาชัดเจน มกี ารจัดทำรายงานและขยายผลให้ผู้เก่ียวข้อ ทราบ เพื่อตรวจสอบว่าดำเนินงานไปตามแผน และบรรลุเป้าหมาย นอกจากนั้นยังมีระบบนเิ ทศติดตามผลการทำงาน โดยมีการประชมุ ผู้นำระดับสูง ประชุมคณะกรรมการบรหิ ารท้ัง 5 กลุ่มงาน ประชุมคณะกรรมการกลุ่มสาระการเรยี นรู้ ทกุ สัปดาห์ และประชุมครูประจำเดอื นทกุ เดอื น เพอ่ื ตดิ ตาม สรุปผล ทบทวนและพัฒนาการปฏิบตั ิงานของโรงเรียน เป็น แนวทางการปฏิบัติงานทีจ่ ะนำไปสผู่ ลการดำเนินงานท่บี รรลุผลสำเร็จ 7. นำขอ้ มูลมาใช้ปรบั ปรุงโครงสรา้ งการบริหารให้เหมาะสมกับบริบทท่ีเปลย่ี นแปลงไป (4) การจดั การการเปลย่ี นแปลงดา้ นบุคลากร (WORKFPRCE Change Management) โรงเรียนมีวธิ ีการในการเตรียมบคุ ลากรให้พรอ้ มรับตอ่ การเปลี่ยนแปลงความต้องการด้าน ขีดความสามารถและอตั รากำลงั บคุ ลากร ได้ดำเนนิ การดังนี้ 1. วางแผนพัฒนาบคุ ลากรประจำปี เตรียมบุคลากรให้พรอ้ มกบั การเปล่ียนแปลง สง่ เสริม สนับสนนุ ให้บคุ ลากรเข้าร่มประชมุ สัมมนาทางวชิ าการ/การฝึกอบรมเชิงปฏบิ ัติการ/ศกึ ษาดูงาน ตามบทบาทหนา้ ที่ ตาม สายงานของแต่ละคน เพื่อเป็นการเพ่ิมพนู ความรู้ ประสบการณ์ใหม่ๆ ให้นำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้และเป็น การสร้างโอกาสความกา้ วหน้าในการทำงาน เป็นการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรให้เพิ่มข้ึน ซึ่งเมื่อไดร้ ับความรู้ใหม่ๆ จะมีการรายงานผลและความรู้ที่ได้รับมาขยายผลต่อเพื่อนร่วมงานในที่ประชุมคณะกรรมการกลุ่มบริหารวิชาการ ท่ี ประชมุ คณะกรรมการกลุ่มสาระการเรยี น เตรยี มรบั ความเปลี่ยนแปลงในอนาคต 2. การจัดเตรียมการและบริหารในช่วงที่มีการเพ่ิม/ลด จำนวนบุคลากรอยู่เสมอ โดยการแบง่ ภาระงานให้ เหมาะสมกับสมรรถนะและจำนวนบุคลากร ซึ่งจะมีการประเมินภาระงานทุกภาคเรียน หากช่วงไหนมีการเพิ่มหรือลด บุคลากร โรงเรยี นและบุคลากรทุกคนกพ็ รอ้ มทีจ่ ะปรับเพ่อื ให้การทำงานของโรงเรียนราบรืน่ ในสว่ นของการจดั การเรียน การสอนนั้น หากมีการเพิ่มหรือลดจำนวนบุคลากรได้มอบหมายให้กลุ่มบริหารวิชาการดูแลเรื่องคาบสอนให้เหมาะสม และมกี ารจัดสอนแทน ใชแ้ ผนการเรียนจดั การเรียนรทู้ ่ีทำไวไ้ ดเ้ รียนรู้ต่อและลดผลกระทบที่เกดิ ข้ึน
52 3. การเปล่ียนแปลงจากการเกษียณอายุราชการ จะสำรวจและรวบรวมรายชื่อครูทจ่ี ะ เกษียณอายุราชการไว้ลว่ งหน้า เพื่อให้บุคลากรท่ีจะเกษียณอายุราชการถา่ ยโอนความรูง้ านดา้ นการสอนและงานพิเศษ อื่นๆให้แก่บุคลากรที่มีจะมาปฏิบัติงานต่อ โดยแต่งตั้งครูที่จะเกษียณอายุราชการเป็นที่ปรึกษาของงานที่ต้องถ่ายโอน ความรู้ และมีการจัดเก็บข้อมูลบุคลากรเป็นแฟ้มประวัติ รวมทั้งข้อมูลของบุคลากรที่ลาออกหรือเกษียณอายุราชการ เพื่อให้สามารถตดิ ต่อส่อื สาร ขอคำปรึกษาแนะนำได้ในบางกรณี เพื่อใหส้ ามารถทำงานไดอ้ ยา่ งต่อเน่อื งและทำหน้าที่แทน ไดอ้ ย่างสมบรู ณ์ ข. บรรยากาศการทำงานของบคุ ลากร (WORKFPRCE Climate) (1) สภาพแวดล้อมของการทำงาน (Workplace Environment) โรงเรยี นนาบอน ดำเนินการจดั สภาพแวดล้อมในการทำงานโดยผนู้ ำระดับสูงให้ความสำคัญและมีบทบาท สำคัญย่งิ ในการบรหิ ารจดั การท่ีเอ้อื ต่อการปฏิบัติงาน มีรูปแบบการดำเนนิ การ สรุปเป็นแผนภาพที่ 5.2 ดงั น้ี -สภาพแวดล้อมด้านอาคารสถานที่ -แตง่ ตง้ั คณะกรรมการอาคารสถานที่ สำรวจสภาพแวดล้อม/ -สภาพแวดลอ้ มดา้ นความปลอดภยั -แต่งต้ังคณะกรรมการงานสงิ่ แวดลอ้ ม กำหนดนโยบาย/ใช้ และสุขภาพอนามยั -แตง่ ต้ังคณะกรรมการงานอนามัย หลกั การมีส่วนร่วม -สภาพแวดลอ้ มด้านการบรหิ ารจัดการ ความพึงพอใจ/ความ ปรบั ปรงุ สภาพแวดลอ้ ม/ ตรวจสอบอาคารสถานท/ี่ ดูแลอาคารสถานที/่ ม่นั ใจดา้ นสุขภาพอนามัย วางแผนพัฒนา ความปลอดภยั /อปุ กรณ์ สภาพแวดล้อม/อุปกรณ์/ ความปลอดภยั พ้นื ฐาน/ความสะดวกสบาย สุขภาพอนามยั แผนภาพท่ี 5.2 รปู แบบการดำเนินการดา้ นสภาพแวดลอ้ มของการทำงาน โรงเรียนดำเนนิ การตามรปู แบบการจัดสภาพแวดลอ้ มของการทำงาน ดงั น้ี 1. แต่งต้ังคณะกรรมการดแู ลอาคารสถานทส่ี ภาพแวดลอ้ มโดยรอบของโรงเรยี น โดยงานอาคาร สถานที่ กลมุ่ บรหิ ารทว่ั ไป 2. แต่งตั้งคณะกรรมการดแู ลเกีย่ วกับสุขภาพอนามัย สุขภาพของบุคลการ โดยงานอนามยั โรงเรียน 3. สำรวจสภาพแวดล้อมนำมากำหนดนโยบายและวางแผนการปอ้ งกันภัย ให้เป็นมาตรฐานรวดเร็ว และทนั ตอ่ เหตุการณ์ เชอ่ื มโยงแผนงานและมาตรการด้านความปลอดภัย ด้านสุขภาพและดา้ นสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ใหส้ อดคล้องกบั ขอ้ กำหนดและระเบียบต่างๆ ตามบรบิ ทท่เี หมาะสมของโรงเรียน 4. ดำเนินงานภายใต้งบประจำตามโครงสร้างการบรหิ ารและแผนปฏบิ ตั กิ ารประจำปี
53 5. กำกับ ตดิ ตาม รายงานผลตามขน้ั ตอน ประเมนิ ความพงึ พอใจของบคุ ลากรต่อความม่นั ใจปลอดภยั ดา้ นสขุ ภาพอนามัยและสวัสดิภาพในการทำงาน 6. นำขอ้ มลู ท่ีไดม้ าวางแผนเพื่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมในปีการศกึ ษาต่อไป โรงเรียนจดั สภาพแวดลอ้ ม แบ่งออกเปน็ 3 กลุ่ม ดงั นี้ 1. สภาพแวดลอ้ มด้านอาคารสถานที่ ชว่ ยเสรมิ สรา้ งบรรยากาศทดี่ ใี นการทำงานใหแ้ ก่บุคลากร มกี าร กำหนดแผนงานเพื่อปรับปรุงอาคารสถานที่อยา่ งต่อเนื่อง มีความพร้อมในการปฏิบัติงานและการให้บริการอยู่เสมอ มี การปรับภูมิทัศน์ให้สวยงาม ออกแบบวางผังอาคารได้อย่างเป็นระบบ มองเห็นได้ชัดเจนเป็นระเบียบ จัดแบ่งความ รับผิดชอบดูแลอาคาร ทำให้สะดวกต่อการเข้าใช้งานได้อย่างเหมาะสม มีการส่งเสริมการใช้อาคารสถานที่และ ห้องปฏิบตั ิการต่างๆ ให้เปน็ ประโยชน์และคุม้ คา่ การสรา้ งบรรยากาศทรี่ ม่ รื่น เพือ่ กระตุน้ ให้เกดิ ความกระตือรอื รน้ ในการ ปฏิบัติงาน จดั ห้องแหลง่ เรยี นรูน้ อกห้องเรียนและภายในห้องเรียนสนบั สนุนวัสดแุ ละอุปกรณก์ ารสอน การจัดป้ายนิเทศ ห้องสมุด อาคารหอประชุม ห้องพยาบาล โรงอาหารถูกสุขลักษณะ มีการจัดระเบียบห้องสำนักงานต่างๆ อย่างเป็น สดั ส่วน มีอุปกรณ์ที่จำเป็นเพอื่ อำนวยความสะดวก มรี ะบบสญั ญาณอนิ เทอรเ์ นต็ วางระบบการจราจร และจัดทำทางเท้า ที่ปลอดภัย บำรุงรกั ษาอาคารสถานที่ให้พร้อมใชง้ าน มีแสงสว่างเพียงพอ อากาศถ่ายเทไดส้ ะดวก เส้นทางเดินและทาง สัญจรในอาคารข้ึนลงด้านขวา สง่ ผลใหเ้ กิดความรู้สึกปลอดภัยต่อการใชง้ าน มคี วามกระตอื รือร้นในการทำงานให้สำเร็จ ตามเป้าหมายของโรงเรยี น 2. สภาพแวดล้อมดา้ นความปลอดภยั สขุ ภาพอนามัย โรงเรียนนาบอนให้ความสำคัญและสนับสนนุ ให้ ครูและบคุ ลากรได้ทำงานตามบทบาทหน้าที่ของโครงสร้างองค์กร ดูแลด้านสวัสดิภาพและสุขภาพอนามยั ที่ดี การตรวจ สุขภาพประจำปี การทำประกันอบุ ัติเหต จัดบริการห้องพยาบาลด้านความปลอดภัยและการป้องกันภัยในสถานศึกษา จัดเวรยามรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง ครูชายปฏิบัติหน้าที่เวรกลางคืน ครูหญิงปฏิบัติหน้าที่เวรกลางวันใน วนั หยุดราชการ ตดิ ต้งั อุปกรณ์ดับเพลิงป้องกันอัคคภี ัย ตดิ ต้งั กลอ้ งวงจรปิดประจำอาคารต่างๆ มีการให้ความรู้เก่ียวกับ ความปลอดภยั ในการใชอ้ าคารสถานที่ เพอื่ ปอ้ งกนั การเกิดภยั ในสถานศึกษา 3. สภาพแวดลอ้ มด้านการบริหารจัดการ นโยบายการบรหิ ารจัดการโดยใช้การมสี ว่ นรว่ มของบุคลากร ทุกคน นำข้อมูลจากการสำรวจสภาพปัจจุบันมากำหนดเป็นนโยบายในการแก้ปัญหา และพัฒนางานของโรงเรียน กำหนดบทบาทและแนวปฏิบัติของบุคลากรในสถานศึกษา โดยการมอบหมายงานหรือการสั่งการเป็นไปตามสายการ บังคับบัญชาอยา่ งชัดเจนตามโครงสร้างองค์กร เหมาะสมกับความสามารถ ติดตามดูแล ช่วยเหลือและยกย่องชมเชย มี การสร้างขวัญกำลงั ใจและเปิดโอกาสให้ได้ใชค้ วามรคู้ วามสามารถของแต่ละคนอยา่ งเต็มท่ี มกี ารจดั งบประมาณสนับสนุน และอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมต่างๆ อยา่ งสม่ำเสมอ รวมถงึ การจัดสวสั ดกิ ารและการจัดการด้านต่างๆ (2) นโยบายและสทิ ธิประโยชน์ (WORKFPRCE Benefits and Policies) โรงเรียนนาบอน มุ่งสร้างขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากร โดยกำหนดการให้บริการและสิทธิประโยชน์ของ บคุ ลากรเปน็ ไปตามกฎระเบียบของทางราชการ และแนวนโยบายการอำนวยความสะดวกโดยให้ความเสมอภาค ศึกษา
54 ขอ้ มลู บุคลากรในโรงเรียน ดำเนนิ การมอบหมายและแตง่ ต้งั ฝ่ายอำนวยการโดยงานบุคลากร และงานการเงนิ รับผิดชอบ ด้านสวัสดกิ ารของขา้ ราชการและบคุ ลากร โดยกำหนดเป็นนโยบาย 3 ด้าน ดังนี้ 1. นโยบายด้านสทิ ธิประโยชนใ์ หแ้ ก่บคุ ลากร เชน่ การเบิกค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิ ค่าการศึกษา บุตร สวัสดิการคู่สมรสและบุตรตามสิทธิ การเบกิ ค่าใชจ้ ่ายในการเดินทางไปราชการ การรับเงนิ เดือนและเงินวิทยฐานะ การขอรับเคร่ืองราชอิสริยาภรณ์ การประกันสังคมสำหรบั เจ้าหนา้ ที่ประจำสำนักงานและครูอัตราจ้าง 2. นโยบายด้านจัดบริการสง่ิ อำนวยความสะดวกพนื้ ฐาน อุปกรณ์ท่จี ำเป็นสำหรบั สำนักงาน เช่น เคร่อื งคอมพิวเตอร์ เครื่องถา่ ยเอกสาร โทรศัพท์ โทรสาร อุปกรณ์การเรยี นการสอนประจำหอ้ งเรยี น บริการผลิตเอกสาร ประกอบการสอน การบริการเครือ่ งปรับอากาศ ตดิ ตัง้ สญั ญาณอินเทอร์เน็ต 3. นโยบายด้านสวัสดิการและความปลอดภยั ประสานงานให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีและการทำ ประกันอุบัตเิ หตุ สง่ เสรมิ พัฒนาบคุ ลากร การศกึ ษาดูงาน การสนบั สนุนครูในการศกึ ษาต่อในระดับท่ีสูงข้ึน มอบเสื้อทีม สญั ลกั ษณโ์ รงเรยี น จดั บรกิ ารหอ้ งอาหารสำหรับครู การมอบของขวญั ช่อดอกไมแ้ สดงความยินดใี นวันสำคัญต่างๆ การ มอบกระเช้าเยี่ยมไข้ญาติของบุคลากร จัดบ้านพักครู การร่วมงานฌาปนกิจบุคคลในครอบครัว ประเมินความพึงพอใจ อยา่ งสมำ่ เสมอ และพัฒนาปรับปรุงระบบการบรกิ าร สิทธิประโยชนต์ ่างๆ ให้ดขี ึ้น 5.2 ความผูกพนั ของบคุ ลากร (WORKFPRCE Engagement) ก. ความผกู พนั และผลการปฏบิ ัติงานของบคุ ลากร (WORKFPRCE ENGAGEMENT and PERFORMANCE) (1) วฒั นธรรมองค์กร (Organization Culture) วัฒนธรรมของโรงเรยี นนาบอน คอื บุคลากรโรงเรยี นนาบอน รกั สามัคคี มศี รัทธาในสถาบัน มงุ่ มั่นพัฒนา การศึกษา ก้าวสู่มาตรฐานสากล ผู้บริหารและบคุ ลากร เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัตงิ าน มีการเสริมสรา้ งวัฒนธรรม องค์กรที่มีลกั ษณะเปิดกว้างทางการสอื่ สาร มกี ระบวนการพัฒนา เกิดผลการดำเนนิ การทีด่ แี ละบคุ ลากรมีความผูกพันต่อ โรงเรียน อยกู่ ันอย่างพน่ี ้อง มีความเคารพรักใคร่ สามคั คี เคารพผ้อู าวโุ ส จงึ เปน็ ปจั จัยเกอ้ื หนุนท่กี ่อให้เกดิ ความผูกพันต่อ โรงเรียน สง่ ผลต่อพฤตกิ รรมการทำงาน โดยมีการเสรมิ สรา้ งวัฒนธรรมองค์กร ดงั น้ี 1. ระดมความคิดจากบคุ ลากรเพอ่ื กำหนดวัฒนธรรมองคก์ ร 2. แตง่ ตง้ั คณะทำงานจัดทำคู่มือการปฏิบตั งิ านและดำเนินการตามแผนงาน 3. ประเมนิ ความพงึ พอใจตอ่ การปฏบิ ตั งิ านตามแนววัฒนธรรมองค์กรและสรุปผลการปฏบิ ัติงาน 4. ปรบั ปรงุ และพฒั นาการปฏบิ ตั ิงาน ทำให้โรงเรียนมัน่ ใจว่าวัฒนธรรมองคก์ รไดใ้ ช้ ประโยชน์จากความหลากหลายของความคิด บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมองค์กรอย่างแท้จริง สรุปเป็น ภาพประกอบที่ 5.3 ดงั นี้
ประเมนิ ผล ปรับปรุง กำหนดวฒั นธรรมองค์กร 55 พฒั นา วัฒนธรรมองคก์ ร การนำวัฒนธรรมองค์กรสู่ การปฏิบตั งิ าน ประเมนิ ความพงึ พอใจ ภาพประกอบท่ี 5.3 การพฒั นาวัฒนธรรมองคก์ ร (2) ปัจจัยขบั เคลอื่ นความผกู พัน (Drivers of ENGAGEMENT) โรงเรียนนาบอน ได้ดำเนินการตามวธิ ีการสร้างความผูกพันและผลการปฏิบัติงานของบคุ ลากรโดยการ สร้างความผูกพนั ผ่านโครงการและกิจกรรม การทำงานร่วมกันด้วยความสามัคคี และโรงเรยี นไดจ้ ดั กิจกรรมสัมมนาเพื่อ เปิดกว้างในการรบั ความคิดเห็นของบุคลากร เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาองค์กร มีการนเิ ทศจากหัวหน้ากลุ่มงาน ให้ ขวัญและกำลังใจแก่บคุ ลากรอย่างสม่ำเสมอ ส่งเสริมการทำงานเป็นทมี และเรยี นร้วู ัฒนธรรมองคก์ ร สง่ เสริมพฒั นาครูให้ มีความรู้ความสามารถ และปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู ตลอดจนโรงเรียนได้เชิญบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ โรงเรียน เช่น ผปู้ กครอง ศิษย์เก่า ชุมชนในท้องถนิ่ ให้มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โดยมกี ารทบทวนความเหมาะสม และ ความต้องการตามทีโ่ รงเรยี นไดก้ ำหนดไวใ้ นวิสยั ทัศนแ์ ละพันธกิจของโรงเรียน (3) การประเมินความผูกพัน (Assessment of ENGAGEMENT) โรงเรียนนาบอน มีวิธีการประเมินความผูกพันของบุคลากร เกิดความรัก สามัคคี มีความศรัทธาใน สถาบนั ผกู พนั กับโรงเรียน เคารพความอาวโุ ส รว่ มแรงรว่ มใจเป็นหนง่ึ เดียว จากการเป็นแบบอย่างของผนู้ ำระดับสูง ให้ ความสำคัญด้วยความเสมอภาคแก่บุคลากรอย่างเท่าเทียมกนั ไม่มีการรอ้ งทุกข์ ไม่มีการขาดงานและทางโรงเรียนได้มี การประเมินความผูกพันอย่างไม่เป็นทางการ โดยใช้การสังเกตและไต่ถามสารทุกข์ ความเป็นอยู่ ทั้งยามพบปะในเวลา งาน และการสอื่ สารทางช่องทางอ่ืน เชน่ โทรศพั ท์ ไลน์ เฟซบกุ๊ เพือ่ จะได้สอบถาม รับทราบขา่ วคราวความเป็นไปซึ่งกัน และกนั ของบคุ ลากร ใช้การเยยี่ มเยียนกนั ฉันทม์ ติ ร เช่น เจบ็ ปว่ ย คลอดบตุ ร ได้รบั อุบัติเหตุ
56 (4) การจดั การผลการปฏบิ ัตงิ าน (FERFORMANCE Management) โรงเรียนนาบอน มีระบบการจัดผลการปฏิบัติงานของบุคลากรให้บรรลุเป้าประสงค์ของโรงเรียน โดย กำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน หลักเกณฑ์ระเบียบข้อบังคับการปฏิบัติราชการมาพิจารณาให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ เป้าหมายและตัวชี้วัด แต่งตั้งกรรมการที่มีสว่ นเกีย่ วข้องในการประเมินผลการปฏิบัติงาน การบริหารค่าตอบแทน การ เลื่อนเงินเดอื น เพิ่มค่าจ้าง ใช้การประเมินตามสายงาน ตามสายบังคับบญั ชา ตามโครงสร้างองค์กร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อใน การประเมินผลการปฏิบัติงาน ได้แก่ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มบริหารงาน 5 กลุ่ม หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ หัวหน้างาน มีการกำหนดเกณฑ์ให้คะแนน วิธีการ ขั้นตอน พิจารณาค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับปริมาณงานและ คุณภาพของบุคลากร เมื่อได้สรุปผลคะแนนการประเมินแล้ว ก็จะแจ้งให้บุคลากรทราบอย่างทั่วถึง โดยการใช้แบบ ประเมินผลการปฏิบัติงาน เน้นหลักการทำงานมุ่งความโปร่งใสตรวจสอบได้ การยกย่องชมเชย ยกย่องเชิดชูเกียรติครู ดเี ด่น ครูผู้ทำผลงานดเี ดน่ ทุกระดบั การใหร้ างวลั และสงิ่ จูงใจในการปฏิบตั งิ านสำหรบั ผู้ทมี่ ีผลงานดีเดน่ มอบเกียรติบัตร มอบรางวัลกลุ่มสาระที่มุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาจนมีผลคะแนนเฉลี่ยการทดสอบระดับชาติ O-NET มีพัฒนาการสูงขนึ้ ระบบการดแู ลช่วยเหลอื นักเรยี น ครูท่ีปรึกษาเยยี่ มบา้ นนักเรยี น ข. การพัฒนาบุคลากรและผู้นำ (WORKFORCE and Leader Development) (1) ระบบการเรยี นรู้และการพัฒนา (Learning and Development System) 1.1. พิจารณาถึงสมรรถนะหลักขององค์กร ความท้าทายเชิงกลยุทธ์และการบรรลุผลสำเร็จของ แผนปฏบิ ตั กิ ารทั้งในระยะสน้ั และระยะยาวของโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติตามค่านิยมและวัฒนธรรมองคก์ รอย่างเคร่งครัด ผู้บริหารและ ครมู คี ุณภาพตามมาตรฐานสากล บนพืน้ ฐานของความเปน็ ไทย เปน็ ผู้นำทางวิชาการ เป็นผู้ทุ่มเท เสยี สละ เพือ่ ทำงานให้ สำเร็จ ส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิชาการ (ด้านภาษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและความถนัดเฉพาะทาง) เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีคุณธรรมและคา่ นิยมท่ีพงึ ประสงค์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีกระบวนการ จัดทำแผนการพัฒนาบุคลากรเพื่อจัดโครงการอบรมสัมมนาและศึกษาดูงานให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้ พฒั นาตนเอง ส่งผลใหก้ ารปฏบิ ตั ิงานบรรลผุ ลสำเร็จตามเปา้ หมายและงานมีคณุ ภาพมากขึ้น 1.2 สนับสนุนการปรับปรุงผลการดำเนินการและการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียน ตลอดจนการสร้าง นวัตกรรม โรงเรียนได้สำรวจข้อมูลการบริหารจัดการศึกษาด้วยระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อนำมา วิเคราะห์ปัญหาในการสร้างแนวทางแกไ้ ขใหน้ ักเรียนมีคณุ ลักษณะอันพงึ ประสงค์ สนับสนุนการจัดการเรียนรู้พฒั นาครู และบคุ ลากรทางการศึกษาในโรงเรยี นทุกคนใหม้ ีทักษะวิชาชพี สามารถาจัดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการ จัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดการเรียนรู้ให้เข้ากับศตวรรษที่ 21 มีการใช้เทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ สร้างสรรค์นวัตกรรมใหมๆ่ เพ่อื ดึงศกั ยภาพผูเ้ รยี นออกมา
57 1.3 สนบั สนนุ จรยิ ธรรมและปฏบิ ัตงิ านอยา่ งมีจรยิ ธรรม โรงเรียนได้ดำเนินการวางแผนและร่วมกันสร้างกฎระเบียบ ข้อบังคับ การปฏิบัติตนตาม จรรยาบรรณวิชาชีพครู การมีวินัยในตนเอง มีความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส ตั้งมั่นในความยุติธรรม และมีคณุ ธรรมจรยิ ธรรม ยึดหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอนั มพี ระมหากษัตรยิ ์ทรงเป็นประมุข โดยกำหนดให้ ครูแต่งกายให้เรียบร้อยเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน ปฏิบัติงานตรงต่อเวลา แบ่งปันน้ำใจช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน ปฏิบัติงานตามระบบข้นั ตอนทถ่ี กู ตอ้ ง ยุตธิ รรม ไม่เลือกปฏิบัติ สง่ เสริมให้นกั เรียนมคี วามประพฤตทิ ่ีดี ไม่ขัดต่อศีลธรรม มีการใชส้ ทิ ธใิ นการเลือกตั้งประธานนักเรยี น 1.4 ปรับปรุงการมุ่งเนน้ นักเรียนและผ้มู สี ่วนไดส้ ว่ นเสีย ดงั น้ี 1) นกั เรียน ครู วางแผนกระบวนการเรียนการสอน จดั กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เสริมสร้าง ประสบการณ์จริงให้นักเรียนได้เรียนรู้ นักเรียนมีส่วนร่วมในการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง วัดและประเมินผลการ เรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อจะได้ทราบถึงความถนัดและความแตกต่างระหวา่ งบคุ คล ติดตามผลการเรียนของ นกั เรียน เพอื่ ใหน้ ักเรยี นไดจ้ บการศึกษาตามหลักสตู รและตามระยะเวลา 2) ผู้ปกครอง ทางโรงเรียนวางแผนและกำหนดให้มีการประชุมผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับ ทราบข้อมูลกิจกรรมของโรงเรียน เชิญผู้ปกครองมาร่วมประชุมชี้แจง รับทราบผลการเรียน ปัญหาของนักเรียนและ ร่วมกันแสดงความคิดเห็น เพื่อดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีความประพฤติดีขึ้น ประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วม ประชมุ 3) ชุมชน ทางโรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัด การศึกษา เชิญประชุมและร่วมเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาให้มีศักยภาพสูงขึ้น รายงานผลการดำเนินงานให้ บุคคลทั่วไปทราบถึงกระบวนการปฏิบัตกิ ิจกรรมต่างๆ ประเมินผลการตอบสนองความพึงพอใจจากชุมชน และทบทวน แก้ไขปญั หาทีอ่ าจเกดิ ขึน้ จากสภาพแวดลอ้ มของชุมชน เพื่อพฒั นากระบวนการจัดการศึกษาให้ดขี ึน้ 1.5 ทำใหม้ ่ันใจถงึ การถา่ ยโอนความรูจ้ ากบุคลากรทีล่ าออกหรือเกษียณอายุราชการ โรงเรียนได้ดำเนินการวางแผนบุคคลเข้ารับการถ่ายโอนความรู้จากบุคลากรที่ลาออกหรือ เกษียณอายุราชการ โดยคัดเลือกจากผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่ง ให้คำปรึกษาชี้แนะ รวมไปถึงการศึกษา เอกสารการปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อได้รับทราบถึงระบบขั้นตอนการปฏิบัติงานที่นำไ ปสู่การบรรลุผลสำเร็จ นอกจากนม้ี ีขอ้ มลู ระบบสารสนเทศของบุคลากรท่ลี าออกหรือเกษยี ณอายุราชการ ไดแ้ ก่ ท่อี ยู่ปัจจุบนั ท่ีสามารถติดต่อไป เบอร์โทรศัพท์บุคคลติดต่อกรณีฉุกเฉนิ เป็นต้น เพื่อความสะดวกในการสอบถามงานและข้อมูลย้อนหลังในรอบปีที่ผา่ น มา เพ่ือให้งานมีความต่อเนื่องและสำเรจ็ ลุล่วงไปด้วยดี 1.6 ทำใหม้ นั่ ใจว่ามีการผลกั ดนั ให้ใช้ความรแู้ ละทักษะใหมใ่ นการปฏิบตั ิงาน โรงเรยี นพจิ ารณาคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้และทกั ษะในการปฏบิ ัติงานท่ีก้าวทนั ตอ่ เทคโนโลยี มี ความกระตอื รือรน้ ในการคน้ คว้าหาความรแู้ ละรับผิดชอบต่อหน้าที่ สง่ เสริมบคุ ลากรให้ไดร้ ับการศกึ ษาต่อ อบรมพัฒนา ตนเองทั้งในด้านการจดั การเรียนการสอนและการปฏิบัตงิ านตามสายงาน
58 (2) ประสทิ ธผิ ลของการเรยี นรแู้ ละการพฒั นา (LEARNING and Development EFFECTIVENESS) โรงเรยี นนาบอน มีกระบวนการส่งเสรมิ ให้บุคลากรไดร้ ับการพฒั นาตนเอง โดยการอบรมเพิ่มพูนความรู้ ในดา้ นการปฏบิ ัตงิ าน เพิม่ ทักษะและกระบวนการตัดสินใจแก้ไขปญั หาได้อย่างถกู ตอ้ ง มีกิจกรรมสง่ เสรมิ ทักษะด้านการ สอ่ื สารจากครูต่างชาติ ด้วยวิธกี ารจัดโครงการอบรมสัมมนา โดยใหบ้ ุคลากรทุกท่านเข้าร่วมอบรมสัมมนาอย่างน้อยภาค เรียนละ 1 ครั้งและจัดโครงการศึกษาดูงาน โดยให้บุคลากรได้เรียนรู้วิธีการปฏิบัติงานและมีประสบการณ์ตรงจาก หนว่ ยงานอืน่ นำมาพฒั นาระบบการปฏบิ ตั งิ านให้มีประสิทธภิ าเพิ่มขน้ึ รวมถงึ ใหโ้ อกาสแสดงความสามารถ ความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในการจดั การศึกษา ส่งผลให้การบริหารการศกึ ษาสามารถพฒั นาได้อยา่ งตอ่ เนื่อง อีกทั้งบคุ ลากรมีความ พึงพอใจต่อวัฒนธรรมภายในองค์กร แสดงถึงความรักและความผูกพันช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน ตั้งใจทำงานเต็ม ความสามารถและทำงานเป็นทีม ทำใหก้ ารปฏบิ ัติหน้าที่บรรลุผลสำเร็จเกิดประสิทธิผล (3) ความกา้ วหนา้ ในวชิ าชพี (Career Progression) โรงเรียนนาบอน มีกระบวนการพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพของบุคลากรด้านการปฏิบัติงาน โดย สำรวจข้อมูลข้าราชการครูเกษียณอายุราชการหรือการย้าย เพื่อมาวางแผนพัฒนา เตรียมการเข้าสู่ตำแหน่งงานใน อนาคต ด้วยระบบสารสนเทศงานบุคลากร เช่น ตำแหน่งผบู้ ริหาร หัวหนา้ กลุม่ สาระการเรียนรู้ หวั หนา้ งาน รองหัวหน้า งานหรือเลขานุการของงานต่างๆ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาบุคลากรเข้ารับตำแหนง่ ใหม่ พิจารณาจากบุคลากร โดยดูจากคุณสมบตั ิ คุณวฒุ ิ ความรูค้ วามสามารถ ประสบการณแ์ ละทกั ษะในการทำงานที่เหมาะสมกับตำแหนง่ มพี ่เี ล้ยี ง คอยสอนงานและเตรียมเอกสารการปฏิบัติงานไว้รองรับให้บุคลากรใหม่ได้ศึกษาหาความรู้ถึงวิธีการและขั้นตอนการ ปฏิบตั ิท่เี ปน็ ระบบ มกี ารพฒั นาบุคลากรใหม่ด้วยการสง่ ไปอบรมเพม่ิ พนู ความรู้ ทง้ั ด้านการจดั การเรยี นการสอนและการ ปฏบิ ัตงิ านตามสายงาน ส่งผลให้การประเมนิ ผลการปฏิบัตงิ านไดร้ บั การชน่ื ชม มขี วญั และกำลงั ใจ รวมไปถงึ การพิจารณา เลื่อนเงินเดอื น
59 หมวด 6 การปฏบิ ตั ิการ (Operations) 6.1 กระบวนการทำงาน (Work Process) ก. การออกแบบหลกั สูตรและกระบวนการ (Product and Process Design ) (1) ขอ้ กำหนดของหลกั สูตรและกระบวนการ (Product and Process Requirement) โรงเรียน ได้พัฒนาและออกแบบหลักสูตรให้มีความเป็นสากล สอดคล้องกับความต้องการของผูเ้ รียน ชุมชน โดยสำรวจความ ต้องการของนักเรยี นและผู้มสี ว่ นไดส้ ว่ นเสีย รับฟงั เสยี งนกั เรยี น ผมู้ ีสว่ นไดส้ ว่ นเสีย ผสู้ ่งมอบคู่ความร่วมมือ วเิ คราะห์ ข้อมูลความต้องการความคาดหวัง เพื่อจัดทำข้อกำหนดที่สำคัญของหลักสูตรและกระบวนการทำงาน โดยกำหนด กระบวนการ ดงั ตารางที่ 6.1 ตารางที่ 6.1 กระบวนการจัดทำข้อกำหนดของหลกั สตู รและกระบวนการทำงาน กระบวนการ วัตถปุ ระสงค์ ตัววัด / ตัวช้วี ดั เป้าหมาย 1. เพอ่ื ให้โรงเรียน 1. โรงเรยี นมี 1.ม.ตน้ จัด มีหลกั สตู รและ หลกั สูตรและ 1 แผนการ แผนการเรียนที่ แผนการเรยี นท่ี เรียน สอดคลอ้ งกับความ สอดคลอ้ งกับความ 2.ม.ปลาย ตอ้ งการของ ตอ้ งการของ จัด 3 นกั เรียนและผูม้ ี นักเรยี นและผู้มี แผนการเรยี น สว่ นไดส้ ว่ นเสีย ส่วนไดส้ ่วนเสีย 2. เพ่อื ใหค้ รู 2. ร้อยละของครทู ี่ ร้อยละ 80 ปฏิบตั ิการสอนตาม ปฏบิ ัติการสอนตาม กระบวนการจัดการ กระบวนการจัดการ เรยี นรู้ เรียนรูร้ ะดับดขี น้ึ ไป 3. เพ่อื ให้ครูที่ 3. ร้อยละของครทู ่ี รอ้ ยละ 80 ปรกึ ษาปฏิบตั งิ าน ปรกึ ษาปฏบิ ัติงาน ตามกระบวนการ ตามกระบวนการ ดูแลชว่ ยเหลอื ดแู ลช่วยเหลือ นักเรยี น นักเรยี นระดับดขี น้ึ ไป
60 กระบวนการ วตั ถุประสงค์ ตัววดั / ตวั ชว้ี ดั เปา้ หมาย 4. เพื่อให้ครู 4. รอ้ ยละของครทู ่ี ร้อยละ 80 ปฏิบัติการสอนตาม ปฏบิ ัติการสอนตาม กระบวนการจดั กระบวนการจดั กจิ กรรมพฒั นา กิจกรรมพฒั นา ผู้เรยี น ผเู้ รียนระดับดีขน้ึ ไป กระบวนการจดั ทำขอ้ กำหนดของหลักสูตรและกระบวนการทำงาน โรงเรียนได้ดำเนนิ การ ดงั นี้ 1) วิเคราะห์ความตอ้ งการของนกั เรียนและผ้มู ีส่วนไดส้ ่วนเสีย โดยประเมนิ ผลการใชห้ ลักสูตร ประชุม คณะกรรมการบริหารหลักสูตร วางแผนการปรบั หลักสตู ร ขอ้ กำหนดของหลกั สูตรและกระบวนการทำงานที่สำคญั ที่ จะทำใหก้ ารใชห้ ลักสูตรบรรลตุ ามเป้าหมายตามมาตรฐานการเรยี นร้แู ละตวั ชีว้ ัด เสนอแผนการปรับปรงุ หลักสูตรตอ่ คณะกรรมการบรหิ ารโรงเรยี น คณะกรรมการสถานศึกษาขนั้ พน้ื ฐาน และรบั ฟังความคิดเหน็ ของนกั เรยี น ผูป้ กครอง ผา่ นเครอื ข่ายผปู้ กครอง 2) จดั ทำข้อกำหนดที่สำคัญของหลักสูตรกระบวนการทำงานที่สำคญั คอื การจัดการเรียนรู้ กอ่ นสอน ระหวา่ งสอน และหลังสอน 3) ออกแบบโครงสรา้ งหลักสูตรองิ มาตรฐานตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้นั พน้ื ฐาน พ.ศ. 2551 (ปรับปรงุ พ.ศ. 2560) และกำหนดแผนการเรียนตามความต้องการและความสนใจของนกั เรียน 4) ออกแบบกระบวนการทำงานทีส่ ำคัญที่ทำให้หลกั สตู รบรรลุมาตรฐานและตวั ชวี้ ัด กำหนดกระบวนการ การทำงานการจดั การเรยี นรู้ การดูแลช่วยเหลอื นักเรียนและการจัดกจิ กรรมพฒั นาผเู้ รยี น โดยจัดทำคมู่ อื บรหิ าร คุณภาพระบบการจัดการเรียนรสู้ ำหรับครูผู้สอน คู่มือบรหิ ารคณุ ภาพระบบดแู ลช่วยเหลือนกั เรยี นสำหรบั ครูที่ปรกึ ษา และคมู่ ือบรหิ ารคุณภาพระบบการจดั กจิ กรรมพฒั นาผู้เรียน สำหรับครูที่ปรกึ ษากิจกรรม เพือ่ ใชเ้ ป็นแนวทางในการ ปฏบิ ัติงานอยา่ งเป็นระบบและตอ่ เนอ่ื ง 5) ครปู ฏิบัติตามกระบวนการทำงานทสี่ ำคัญ 3 ระบบหลัก เมื่อสน้ิ ภาคเรยี นมกี ารประเมนิ ประสิทธิภาพของ ครผู ู้สอนทุกคนทุกกล่มุ สาระซึง่ ครไู ดป้ ฏบิ ตั หิ นา้ ที่สอนตามกระบวนการทำงานหรือไมม่ ากน้อยเพียงใด มีปญั หาอย่างไร แลกเปล่ียนเรยี นรเู้ พ่ือปรับปรุง แก้ไข และพฒั นากระบวนการทำงานให้มปี ระสทิ ธิภาพมากข้นึ 6) รายงานผลการปฏบิ ตั ิตามกระบวนการทำงาน จดั ลำดบั ประสิทธภิ าพการปฏบิ ัตงิ านจำแนกตามกล่มุ สาระ การเรียนรู้ เพื่อรายงานผอู้ ำนวยการนำไปใชเ้ ปน็ ขอ้ มลู ในการพจิ ารณาความดีความชอบและปรับปรงุ ประสทิ ธภิ าพการ ทำงาน โดยมีข้อกำหนดของกระบวนการทำงานทสี่ ำคญั ของ 3 ระบบหลกั ดังน้ี
61 ตารางท่ี 6.2 ขอ้ กำหนดของกระบวนการทำงานทีส่ ำคญั ของ 3 ระบบ หลกั กระบวนการทำงาน ข้อกำหนดของกระบวนการทำงานทส่ี ำคญั 1.ระบบการจดั การเรยี นรู้ 1) วิเคราะหห์ ลักสูตรและคำอธิบายรายวชิ า 2) วเิ คราะห์ผู้เรียน 2. ระบบการดูแลชว่ ยเหลอื 3) ออกแบบการเรียนรทู้ ีห่ ลากหลาย มีคุณภาพเหมาะสมกับศกั ยภาพของผู้เรียน นกั เรียน 4) จัดกิจกรรมการเรียนรแู้ ละการใช้ส่อื ทห่ี ลากหลาย 5) ประเมนิ ผลการเรยี นรูแ้ ต่ละหน่วย / มาตรฐานการเรยี นรู้ / ตวั ช้ีวัด 3. ระบบการจดั กิจกรรม 6) บนั ทึกหลงั สอน พฒั นาผเู้ รียน 7) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 8) สรปุ รายงานการสอน 9) วจิ ัยเพือ่ พฒั นาคณุ ภาพการเรียนรู้ 1) การศกึ ษานักเรยี นเปน็ รายบุคคล 2) การเยย่ี มบ้านนกั เรียน 3) การคัดกรองนักเรียน 4) การจัดกิจกรรมส่งเสริม ชว่ ยเหลือ ป้องกัน แกป้ ญั หา หรอื ส่งต่อ 5) วดั วเิ คราะห์ และจดั การความรู้ 6) รายงานผลการดูแลชว่ ยเหลือนักเรยี น 1) ศกึ ษามาตรฐานและตวั ช้ีวัดของหลักสตู รกิจกรรมพฒั นาผู้เรียน 2) วิเคราะห์ผูเ้ รียนและความตอ้ งการของนักเรียน โดยให้นกั เรยี นเลือกกจิ กรรม ตามความถนดั และสนใจ 3) ชแี้ จงแนวทางในการเลอื กกิจกรรมพฒั นาผเู้ รียน 4) นักเรียนเลือกกิจกรรมและจัดใหม้ ีครทู ป่ี รึกษา 5) นักเรยี นและครรู ่วมกันวางแผนการจดั กิจกรรม 6) นักเรยี นและครดู ำเนนิ การจัดกจิ กรรมตามแผน 7) วดั วิเคราะห์ และจัดการความรู้ 8) รายงานผลการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรยี น 2) แนวคิดในการออกแบบ ( Design Concept ) โรงเรยี นใช้วิธีการออกแบบ กระบวนการในการทำงาน โดย ยึด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ และอัตลักษณ์ของโรงเรียนเป็นข้อกำหนดที่สำคัญในการออกแบบ กระบวนการทำงานโดยใช้แนวคิดเชิงระบบและวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อให้ครูได้มีมาตรฐานในการปฏิบัติงานทั้ง 3 ระบบหลัก ได้แก่ ระบบการเรียนรู้ ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และระบบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนได้แต่งตั้ง
62 คณะทำงานในการจัดทำคู่มอื การปฏบิ ัตงิ าน โดยฝา่ ยบริหารงานวิชาการ จดั ทำคมู่ อื ระบบการเรียนรู้ คมู่ ือระบบกิจกรรม พัฒนาผู้เรียน และฝ่ายบริหารกิจการนกั เรยี น จัดทำคู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ดำเนินงานโดยแต่ละฝ่ายแตง่ ตง้ั คณะทำงานร่วมกันศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ประชุมวางแผน วางระบบการดำเนินงาน ออกแบบคู่มือ แบบฟอร์มในการติดตามและการปฏิบัติงาน รวบรวมสรุปนำเสนอต่อผู้บริหารเพื่ออนุมัติประกาศใช้ใน โรงเรียน เพือ่ เป็นมาตรฐานและแนวปฏิบัติร่วมกัน เพอ่ื ให้การบรหิ ารงานเกดิ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการ ดำเนินงานขับเคลื่อน ระบบงานทั้ง 3 ระบบข้างต้น บุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนจะทำงานเชื่อมโยงกันทุกระบบ ตาม โครงสรา้ งการบรหิ ารงานของโรงเรยี น โดยกระจายอำนาจการบรหิ ารไปยังกลุม่ งาน กลุม่ สาระการเรียนรแู้ ละงานต่าง ๆ ใหม้ ีสว่ นร่วม ในการบรหิ ารจดั การ เพื่อให้เกิดการพัฒนาโดยตรงกบั งานน้นั ๆ ตลอดจนทราบปญั หาอปุ สรรคของทุกฝ่าย พร้อมที่จะแก้ปัญหาได้ทันที เพื่อพัฒนางาน และสร้างคุณภาพนักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม สมรรถนะหลัก และกลยุทธข์ องโดยใช้กระบวนการเชิงระบบดงั น้ี Input Process Output ( ระบบสนบั สนุน ) ( ระบบหลกั ) ( ผลลพั ธ์ ) 1) ระบบการนำองคก์ ร 1) ระบบการจัดการเรียนรู้ 1) บรรลุมาตรฐาน 2) ระบบการบรหิ ารเชงิ กลยุทธ์ 2) ระบบการดูแลช่วยเหลือ การศึกษาชาติ 3) ระบบรบั ฟงั เสยี งผ้เู รียนและผูม้ ี นักเรียน 2) ผลสอบ O - NET ส่วนไดส้ ่วนเสยี 3) ระบบกิจกรรมพัฒนา 3) ผลลัพธ์ หมวดที่ 7 4) ระบบการบริหารงานบคุ คล 5) ระบบปฏิบัตกิ าร ผเู้ รยี น 6) ระบบการวัด การวิเคราะหแ์ ละ การจัดการความรู้ แผนภาพที่ 6.1 กระบวนการเชงิ ระบบ ข. การจดั การกระบวนการ ( Process Management ) (1) การนำกระบวนการไปปฏบิ ตั ิ ( Process Implementation ) กระบวนการนำระบบไปปฏิบตั ิ โรงเรียนได้ดำเนินการดังนี้ การนำระบบงานไปปฏิบัตใิ นสถานศึกษา มี 3 ระบบหลัก คือ ระบบการเรียนรู้ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระบบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และ 6 ระบบงาน สนบั สนนุ คือ ระบบการนำองค์กร ระบบการบรหิ ารเชงิ กลยุทธ์ ระบบการรบั ฟังเสยี งผเู้ รยี นและผมู้ ีส่วนไดส้ ว่ นเสีย ระบบ การบรหิ ารงานบคุ คล ระบบปฏบิ ัตกิ าร ระบบการวดั การวเิ คราะห์และการจดั การความรู้
63 1. ระบบการจดั การเรยี นรู้ เป็นระบบหลักในการจัดการเรียนการสอน เพอ่ื ใหเ้ กดิ ประสิทธภิ าพและผู้ท่ีมีส่วน ได้สว่ นเสียมคี วามพงึ พอใจสูงสดุ โดนมอบหมายกลุ่มบริหารงานวชิ าการดำเนนิ การ ครปู ฏิบัตงิ านดงั น้ี 1) การวิเคราะหห์ ลกั สูตรและคำอธบิ ายรายวิชา โดยการวเิ คราะห์มาตรฐานการเรียนรู้สาระแกนกลาง (KPA) ตัวชวี้ ัด สาระท้องถนิ่ เขียนคำอธิบายรายวิชา วเิ คราะหภ์ าระงาน/ช้นิ งาน/กิจกรรมตามมาตรฐานการเรียนรู้และ ตัวชวี้ ัด วิเคราะหส์ ัดสว่ นการสอนและวดั ผลประเมินการเรียนรู้ 2) วเิ คราะหผ์ เู้ รียน โดยครผู ู้สอนศึกษาข้อมูลจากผลการเรียนในภาคเรยี น/ปกี ารศึกษาท่ีผ่านมา (ปพ.5/ ปพ.6) หรือทดสอบความรพู้ ้ืนฐาน ศึกษาผเู้ รียนรายบุคคลจากแบบวิเคราะห์ผู้เรียน จัดกลุ่มเป็นกลุม่ เก่ง ออ่ น ปานกลาง เพ่อื ออกแบบการเรียนร้ไู ดเ้ หมาะสมกบั ศักยภาพของผเู้ รียน 3) ออกแบบการเรียนรู้ท่ีหลากหลายและมีคุณภาพโดยครูผู้สอนวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรยี นรู้ของแตล่ ะหน่วย และออกแบบการเรยี นรู้ให้สอดคล้องกบั สภาพของผู้เรียน จัดทำแผนจัดการเรยี นรู้แต่ละ หน่วย ออกแบบเครื่องมอื วัด และเครอ่ื งมือประเมินผลการเรยี นรทู้ ห่ี ลากหลายตามสภาพจริง 4) จัดกิจกรรมการเรียนรู้และการใช้สื่อที่หลากหลาย โดยครูจัดการเรียนการสอนตามตารางสอนนำ แผนไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ ใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย บันทึกผลการจัดการเรียนรู้ การใช้สื่อตามแผน การจัดการ เรียนรู้ และนำกระบวนการคิด กระบวนการวจิ ยั ไปใชใ้ นการพัฒนาผเู้ รียน 5) ประเมินผลแต่ละหนว่ ย ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู/้ ตวั ชี้วัด โดยครูผูส้ อนสรา้ งเครอ่ื งมือวัด ครอบคลมุ KPA ทกุ หนว่ ยการเรยี นรู้ และแจง้ ผลการวดั ประเมนิ ผลให้นักเรียนทราบหากไมผ่ ่านในตวั ชวี้ ัดใดผู้สอนจะต้อง ซ่อมเสริมและวัดประเมนิ ผลใหมจ่ นกว่าผ่านเกณฑก์ ารประเมนิ 6) บันทึกหลังสอน ครูบันทึกผลการวัดและประเมินผลในแบบบันทึกคะแนน และบันทึกผลหลัง แผนการจดั การเรียนรู้ เพอ่ื เป็นข้อมลู ในการพฒั นาคณุ ภาพการเรยี นการสอนและคุณภาพผ้เู รียนตอ่ ไป 7) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยประชุมครูแต่ละกลุม่ สาระ นำเอาปัญหา ข้องเสนอแนะ ในการจัดการเรยี น การสอนจากครูในกลุ่มสาระเดียวกันหรือต่างกลุ่มสาระ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นิเทศให้ความช่วยเหลือ และสำรวจ ข้อบกพร่องของตนเองเพอ่ื ทำแผนพฒั นาตนเอง (ID-Plan) 8) วัด วิเคราะห์ และประเมินผลรวม สอบวัดผลปลายภาค แจ้งผลการสอบให้นกั เรียนและผู้ปกครอง ทราบ ให้นักเรียนท่ีไดผ้ ลการเรยี นต่ำกว่า 1 เรียนซอ่ มเสริม / สอบแก้ตัวได้ 2 ครั้ง ครูบันทึกผลการเรียนในแบบบันทึก คะแนนโดยใชโ้ ปรแกรม SGS 9) รายงานการสอนและรายงานวิจัยเพ่ือพฒั นาการเรียนรู้ วิเคราะห์คะแนนผู้เรียนรายบุคคล สรุปผล การเรียนของนักเรียนรายบุคคล ดำเนินการสอนซ่อมเสริมและสอบแก้ตัวให้นักเรียนที่ไม่ผ่าน รายงานผลการวิจัยเพื่อ พฒั นาการเรยี นรู้
64 2. ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรยี น ไดด้ ำเนินการปฏิบัติ ดังนี้ 1) การศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคลจากกิจกรรมโฮมรูม รายงานผลการเรียน การสังเกต การสัมภาษณ์ 2) การเยี่ยมบ้านนกั เรียนทุกปีการศึกษา 3) การคดั กรองนักเรยี นจากการรจู้ ักนกั เรยี นเปน็ รายบุคคล และแบง่ นักเรยี นออกเป็น 3 กลุ่ม คอื กลุ่ม ปกติ กลุ่มเสย่ี ง และกลมุ่ มีปัญหา ที่ต้องได้รับการดแู ลเป็นพเิ ศษ 4) การจัดกจิ กรรมส่งเสริม เช่น สง่ เสริมความเป็นเลศิ ทางวชิ าการ ความเปน็ เลศิ ดา้ นกฬี า ศลิ ปะ ดนตรี การช่วยเหลือนักเรียน เช่น นักเรียนที่มีปัญหาด้านการเรียน ด้านครอบครัว ด้านเศรษฐกจิ ด้านพฤติกรรม การป้องกัน แก้ปัญหา เช่น การป้องกันปัญหายาเสพติด ตรวจค้นยาเสพติด สิ่งผิดกฎหมายก่อนเข้าโรงเรียน การตรวจคัดกรอง สุขภาพในช่องปาก การให้ความรู้สร้างภมู ิคุ้มกันเกี่ยวกบั ปัญหาวัยรุ่นและส่งต่อนักเรียนที่ต้องได้รับการช่วยเหลือให้ผ้ทู ี่ เกย่ี วขอ้ งทงั้ ภายในและหนว่ ยงานอกภายนอกโรงเรยี น 5) วัด วเิ คราะห์และจดั การความรู้ สรปุ ประเดน็ ปญั หาและวธิ ีการแกไ้ ขแลกเปลี่ยนภายในหนว่ ยงาน 6) รายงานผลการดแู ลชว่ ยเหลือนักเรยี นทกุ ปีการศกึ ษา 3. ระบบกจิ กรรมพัฒนาผเู้ รียน ไดด้ ำเนินการปฏิบตั ิ ดงั น้ี 1) ศกึ ษามาตรฐานและตวั ชีว้ ดั ของหลกั สตู ร กิจกรรมพัฒนาผเู้ รยี น 2) วิเคราะหผ์ เู้ รียนและความต้องการของนกั เรียนโดยให้นักเรียนเลือกกจิ กรรมตามความถนัดและสนใจ 3) ชี้แจงแนวทางในการเลือกกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน (กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี นักศึกษาวิชาทหาร) และกิจกรรมเพื่อสังคมและ สาธารณประโยชน์ 4) จดั ให้มีครูท่ีปรกึ ษากิจกรรม 5) นกั เรยี นและครรู ว่ มวางแผนการจดั กจิ กรรม 6) นักเรียนและครูดำเนนิ การจดั กจิ กรรมตามแผน 7) วัด วเิ คราะหแ์ ละจดั การความรู้ 8) รายงานผลการจดั กิจกรรมพัฒนาผู้เรยี น (2) กระบวนการสนับสนุน (Support Process) ประกอบด้วยระบบสนับสนุน 6 ระบบ คือ ระบบการนำ องค์กร ระบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ ระบบการรับฟังเสียงผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ระบบการบริหารงานบุคคล ระบบปฏิบตั ิการ ระบบการวดั การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ โดยมขี ้อกำหนดกระบวนการทส่ี ำคัญคือ (3) การปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการ (Product and PROCESS) มีการปรับปรุงหลักสูตรและ กระบวนการทำงาน โดยการนำผลการประเมนิ การปฏบิ ัติงานและการสอบถามความพงึ พอใจของ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน มาสรุปผลเป็นข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ในการพิจารณาขัน้ ตอนการปฏบิ ัติงานและกระบวนการทำงาน ด้วย
65 การใช้ผลลัพธ์เป็นฐานในการปรับปรงุ กระบวนการทำงาน ที่จะทำให้เกิดการพฒั นาอยา่ งแท้จริง จากนั้นมกี ารรายงาน ผลการปฏิบตั ิงานใหค้ รู นักเรยี น ผปู้ กครองและชุมชนรับทราบ ทางช่องทางการสือ่ สารต่าง ๆ ของโรงเรยี นต่อไป ค. การจดั การนวัตกรรม (INNOVATION Management) โรงเรียนไดจ้ ัดการนวัตกรรม เพ่อื นำมาใช้ในการบรหิ ารจดั การศึกษา ดังนี้ 1. การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการศึกษา ผู้บริหารนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ การตัดสินใจที่ดีจะต้องรวดเร็ว ถูกต้อง และไม่ผิดพลาดและการ ตัดสินใจที่รวดเร็วและไม่ผิดพลาดนั้นจำเป็นตอ้ งมีขอ้ มูลสารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน สามารถสืบค้นได้จากทกุ ท่ีผ่านระบบ ออนไลน์ ดังนั้น ระบบสารสนเทศที่ผู้บริหารนำมาใช้ช่วยในการพิจารณาตัดสินใจ ได้แก่ EIS, DMC และระบบ สารสนเทศของหนว่ ยงานตน้ สังกดั เปน็ ตน้ 2. การนำนวตั กรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการศึกษาในปัจจุบนั ผู้บริหารหน่วยงานทาง การศกึ ษานำนวตั กรรมและเทคโนโลยสี ารสนเทศมาใชใ้ นการจัดการศกึ ษาเป็นประโยชนต์ อ่ การเรยี นรู้หลายอยา่ ง เช่น 2.1 อนิ เทอร์เนต็ เพื่อใช้ศึกษาค้นควา้ หาขอ้ มูล ขา่ วสารตา่ ง ๆ 2.2 จดหมายอเิ ล็กทรอนกิ ส์ (E-mail) เพื่อใชร้ ับส่งขา่ วสารตา่ ง ๆ 2.3 การจดั ทำ Web site ของสถานศึกษาเพือ่ การเผยแพร่ข่าวสารประชาสมั พนั ธ์ระหวา่ งสถานศกึ ษา และกบั บุคคลทั่วไป 2.4 การใชโ้ ปรแกรม ตรวจขอ้ สอบและการวิเคราะห์ข้อมูล ซ่ึงจะเปน็ ประโยชนต์ อ่ การทำวจิ ยั 2.5 การทำ Power Point เพ่อื ใช้ในการเรยี นการสอนและเพ่ือนำเสนอผลงานตา่ ง ๆ 2.6 ระบบออนไลน์ต่าง ๆ เชน่ Google Education และ Microsoft Team เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ ดว้ ยตนเองจากบทเรยี นสำเร็จรปู ออนไลน์ และ Youtube เปน็ การเรียนทางไกลท่ีผู้เรียนสามารถโต้ตอบกบั ผู้สอนไดโ้ ดย อาศยั เครือข่ายอินเทอรเ์ นต็ 6.2 ประสิทธิภาพของการปฏบิ ตั งิ าน ก. ประสทิ ธิภาพและประสทิ ธิผลของกระบวนการ กระบวนการทำงานที่สำคัญของโรงเรียนที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีการวิเคราะห์ให้ สัมพันธ์กับระบบงานของโรงเรียนเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการปฏิบัติงานประจำวันของกระบวนการเหล่านี้จะเป็นไป ตามข้อกำหนดหรือตัวชี้วัด ผลการดำเนินการที่สำคัญที่ใช้ในการควบคุมและปรับปรุงกระบวนการทำงานต่าง ๆ มีรายละเอยี ดต่อไปนี้ 1. วางแผนจัดทำแผนกลยทุ ธ์และกำหนดแผนปฏิบตั ิงานประจำปี 2. กำหนดตัวชว้ี ดั ของงานฝา่ ยตา่ ง ๆ เพอื่ เปน็ ข้อมูลในการติดตาม ตรวจสอบ 3. ประชุมชแี้ จงผลสรปุ ของการจัดทำแผนปฏบิ ัติงานใหบ้ คุ ลากรไดร้ บั ทราบ 4. บคุ ลากรนำไปกำหนดไวใ้ นรายงานประเมนิ ตนเอง (PSAR) ของตนเอง รวม 2 ครงั้ ต่อปี ID Plan และรายงานผลตามรอบการประเมิน
66 5. แจ้งผลการประเมนิ ให้บุคลากรรบั ทราบ เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขการดำเนนิ งานในรอบถดั ไป 6. สรุปผลการดำเนินงานของโรงเรียนตามรอบปีงบประมาณ 7. มกี ารประชมุ เพื่อทบทวนและแจง้ ผลการดำเนินงาน 8. ประชุมทบทวน ข้อเสนอแนะ ความพงึ พอใจของผู้รบั บริการ เพอ่ื กำหนดทศิ ทางการพฒั นา การดำเนนิ งานของโรงเรียน ในรอบปีถัดไป 9. ประชุมรว่ มกันเพอ่ื ประเมนิ ผลการดำเนินงานในโครงการต่างๆ เพอ่ื ลดตน้ ทุน ลดการทำงานล่าช้า และลดข้อผดิ พลาดซ่งึ เกิดจากการดำเนนิ งาน และร่วมกันเสนอแนะเพอื่ ทำไปปรบั ปรุงแกไ้ ขในถดั ไป 10. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรยี นรู้ด้วยกจิ กรรม PLC กบั หน่วยงานอ่ืนเพอื่ นำมาเป็นแนวทางในการ ปรับปรุงแก้ไขงาน 11. ปรับปรุงเว็บไซต์ของโรงเรยี นใหท้ นั สมัยและมีข้อมลู สารสนเทศทีจ่ ำเป็นและเพียงพอตอ่ ความ ตอ้ งการของผู้ใช้บรกิ าร โรงเรยี นได้กำหนดตัวช้ีวดั ผลการดำเนินการท่สี ำคัญและตัววัดในกระบวนการเพอ่ื ใชใ้ นการควบคุมและปรบั ปรุง กระบวนการทำงานตา่ ง ๆ ดงั นี้ 1. กำหนดตวั ช้ีวดั ของการดำเนินงาน โดยแบ่งตามกลุ่มงานและรายบุคคล 2. ประชุมช้แี จงตวั ชว้ี ดั ของกลุ่มงานใหบ้ ุคลากรรบั ทราบ 3. มกี ารพัฒนาระบบอินเทอรเ์ นต็ มาใชใ้ นระบบงานรบั – ส่งเอกสาร รูปแบบออนไลน์ 4. มกี ารเชือ่ มโยงเครือข่ายอินเทอรเ์ น็ตของโรงเรียนใหม้ ีความเสถยี รเพืออำนวยความสะดวกในการปฏบิ ตั งิ าน ข. การจดั การห่วงโซ่อปุ ทาน โรงเรียนให้ความสำคัญกับการจัดการส่งมอบเพื่อให้มีความมั่นใจว่าผู้ส่งมอบจะช่วยยกระดับผล การดำเนินงานของโรงเรียน และเพื่อให้สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน โดยผู้ส่งมอบ หลกั ของโรงเรยี นคือ ผ้ปู กครองนักเรียน ผ้ใู หบ้ รกิ ารรถรับสง่ นกั เรียน ผู้จำหนา่ ยอาหาร เจา้ หน้าท่ีรักษาความปลอดภัย เจ้าหน้าที่รักษาความสะอาด สถานประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำหน้าที่ส่งมอบผลผลิต และเมื่อรับ นักเรียนเขา้ มาในโรงเรียนแล้วภาระหรือกระบวนการหลักของโรงเรียนทีต่ ้องดำเนินการเพือ่ ให้นักเรียนมีคุณภาพ และ สามารถสง่ มอบต่อไปยงั สถาบนั ในระดบั อาชวี ศึกษาและอุดมศึกษา สถานประกอบการและหน่วยงานท่ีเก่ียวข้อง อย่างมี คุณภาพ โดยโรงเรยี นพฒั นาระบบการส่งมอบ ดงั น้ี 1. ผู้บริหารและบุคลากรร่วมกันกำหนดปัจจัยหลักในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน ใหม้ คี ณุ ภาพไปยงั นักเรยี น หรือผู้เกี่ยวข้อง โดยให้ความสำคญั กบั นกั เรยี น และพัฒนา กำกับ ด้านต่าง ๆ เชน่ - มรี ะบบติดตาม ดูแลชว่ ยเหลอื นักเรียน - มกี ารตดิ ตามผลการเรยี นของนักเรียนอย่างตอ่ เน่ือง เพอื่ การแก้ปัญหาได้ทนั ทว่ งที - มีกจิ กรรมสง่ เสรมิ ศักยภาพนักเรียนทุก ๆ ด้านตามความสามารถและความถนัดของนกั เรียน - สง่ เสริมความสามารถ การอา่ น คิด วิเคราะห์ เขียนใน 2 ภาษา
67 - มแี ผนการพฒั นายกระดบั ผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียน - มีการตดิ ตามการศกึ ษาตอ่ ของนักเรียน - มีหลกั สตู รทส่ี ง่ เสริมความสามารถและสอดคล้องกับความต้องการของนักเรยี นและเพอ่ื การมงี านทำ รวมถึงด้านการเกษตร 2. มีการประชุมเพือ่ วางแผนการดำเนนิ งานในรอบปีและกระจายงานไปยงั บคุ ลากรฝ่ายต่าง ๆ โดยกำหนดผู้รับผิดชอบงานไว้ชัดเจน 3. รว่ มกันคิดหาวธิ ีการพัฒนาคุณภาพนักเรียน โดยการนำผลการดำเนนิ งานในรอบการประเมินและ รอบปที ี่ ผ่านมาของโรงเรยี น มาเปรยี บเทยี บ เช่น ผลการประเมินระดับชาติ (O - NET) ผลสมั ฤทธ์ิทางการเรยี น ฯลฯ 4. จัดกิจกรรมแลกเปลีย่ นเรียนรกู้ บั โรงเรียนทอี่ ยใู่ นสหวทิ ยาเขตเดยี วกันเพือ่ ศึกษาหาแนวทาง วางแผน ปรับปรงุ การพัฒนาคณุ ภาพการศึกษา การเพมิ่ จุดขายให้ผรู้ บั บรกิ ารสนใจ 5. คัดเลือกคู่เปรยี บเทียบอย่างเป็นทางการ เพือ่ นำมาวเิ คราะหแ์ ละพฒั นาการดำเนินงาน 6. นำผลการดำเนินงานมาทบทวนเป็นระยะ สรุป และมีการรายงานผลการดำเนนิ งาน 7. วางแผนปรับปรงุ การดำเนินงานทมี่ ีปัญหาเรง่ ดว่ นเพ่อื ปรับใหส้ อดคลอ้ งและทนั กบั การเปล่ยี นแปลง ค. การเตรยี มความพร้อมดา้ นความปลอดภัยและภาวะฉุกเฉนิ (1) ความปลอดภัย การจัดบริการความปลอดภยั ในโรงเรียน มกี ารบรหิ ารจดั การ ดังนี้ 1.1 การสำรวจความปลอดภัยในโรงเรียนจะช่วยลดความสูญเสียทรัพย์สนิ และส่งเสริมความปลอดภัย ทำให้สมาชิกทุกคน ในโรงเรียนจะต้องร่วมมือกัน และมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการดูแล เอาใจใส่ สังเกต ตรวจตรา เพ่ือ ความปลอดภยั ซ่ึงในการสำรวจความปลอดภัยในโรงเรียนนน้ั ประกอบดว้ ย การสำรวจดา้ นสง่ิ แวดลอ้ ม การสำรวจด้าน บริการความปลอดภัย อาจกระทำได้โดยการสังเกตพฤติกรรม การตรวจสอบคามปลอดภัย ความสะดวก ความเป็น ระเบียบเรียนร้อย การตรวจตราสอดส่องการนำวัตถุ หรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายเข้ามาในโรงเรียน โดยการ สังเกตหรือการสอบถามโดยใชแ้ บบสอบถาม 1.2 การรายงานอุบัติเหตุในโรงเรียน เพื่อทราบข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุ และหาแนวทางแก้ไขปัญหา อุบัติเหตุได้ โดยถือเป็นความรับผิดชอบของทุกคนในโรงเรียน รายงานทันทีหรือไม่เกิน 24 ชั่วโมง บันทึกลงในแบบ รายงานอุบัติเหตุ รายงานด้านสุขภาพของนกั เรียน จัดรวบรวมรายงานเปน็ แบบรายเดือนหรือรายภาคเรียน และเก็บไว้ท่ี คณะกรรมการความปลอดภัยประจำโรงเรยี น จดั ทำสรุปรายงานและแจง้ ใหน้ กั เรียนทุกคนทราบ 1.3 การแนะแนวทักษะชีวิตในการให้คำแนะนำหรือให้คำปรึกษาทางด้านความปลอดภัย เพื่อให้ นกั เรยี นมีความรู้ รจู้ กั ระมัดระวงั เรอ่ื งอุบัตเิ หตุ ปฏบิ ตั ติ นได้อยา่ งปลอดภยั และมีวินยั ท่ดี ีในการป้องกันอุบัติเหตุ ซ่ึงจะ ช่วยป้องกัน และลดปัญหา อุบัติเหตุลงได้ โดยทั่วไป ผู้แนะแนว ได้แก่ ครูที่ปรึกษา ครูผู้สอนสุขศกึ ษา หรือหนว่ ยงาน ภายนอกทเี่ กย่ี วข้อง
68 1.4 การจดั บริการเครอื่ งอำนวยความสะดวก โดยเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ท่ีทางโรงเรยี น จดั บริการใหท้ ุกคนในโรงเรียนต้องมคี วามปลอดภัย ได้แก่ บรกิ ารนำ้ ด่ืม นำ้ ใช้ การจัดทำทางระบายน้ำ การจดั ระบบ ไฟฟา้ ท่ปี ลอดภัย 1.7 การบรกิ ารความปลอดภัยในการเดินทางไป-กลับโรงเรยี น ควรพิจารณา คอื การจดั บริการเรอื่ ง การเดินทางไป-กลับโรงเรยี น สามารถดำเนินการไดด้ ังน้ี จดั ทำเส้นทางการเดนิ ทางท่ปี ลอดภัยท่ีสุดและบริเวณการรบั สง่ นักเรยี นในชว่ งเช้าและเย็น 1.8 การจดั บริการฝกึ ซอ้ มเพื่อความปลอดภยั ฝึกซอ้ มการหนีไฟ การฝกึ ปฏิบัตเิ พ่อื ความปลอดภยั เม่ือเกดิ เหตภุ ัยธรรมชาติ 1.9 การบริการปฐมพยาบาล เมื่อเกิดอุบัติเหตุและอันตรายในโรงเรียน ควรมีการให้ความช่วยเหลือ เบื้องต้น กอ่ นการนำส่งแพทย์ หรือโรงพยาบาล ดังน้นั โรงเรยี นควรจัดบริการการปฐมพยาบาล โดยจัดใหม้ ีห้องพยาบาล และครูประจำห้องพยาบาล มอี ุปกรณ์การปฐมพยาบาล และยาชนดิ ต่าง ๆ พรอ้ มใหบ้ รกิ ารทุกเม่อื มรี ะเบยี บการใช้ห้อง พยาบาลแจง้ ให้นกั เรยี นและทกุ คนทราบอยา่ งชัดเจน (2) การเตรียมความพรอ้ มต่อภาวะฉกุ เฉิน เพื่อให้มั่นใจว่าโรงเรียนมีการเตรียมพร้อมต่อภัยพิบัติหรือภาวะฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้น โรงเรียนมีระบบการ เตรียมความพรอ้ ม การเตรยี มความพร้อมต่อภาวะฉุกเฉินและเหตุการณ์ต่าง ๆ เชน่ เพลงิ ไหม้ นำ้ ท่วม แผ่นดนิ ไหว การ จลาจล ไฟฟ้าดับ เคมีหกรั่วไหล แก๊สรั่ว การขู่ลอบวางระเบิด การวางเพลิง การก่อการร้าย การบุกรุกด้วยคนร้ายที่มี อาวุธและเดก็ หาย โรงเรียนมีระบบการบรหิ ารจัดการองค์การในสภาวะวิกฤต/เหตุการณ์ฉุกเฉิน/สถานการณ์ ภัยพิบัติ โดยท่ัวไป ประกอบไปดว้ ย 2.1 แนวทางปฏิบตั ิ โรงเรยี นไดก้ ำหนดแนวทางปฏิบัตใิ นภาวะฉกุ เฉิน รองรบั กรณีการเกดิ สภาวะวกิ ฤตหรือ เหตกุ ารณ์ฉกุ เฉิน บริเวณภายในโรงเรยี น โดยดำเนินการดงั น้ี 2.1.1 วางแผนการรบั สถานการณ์ 2.1.2 จดั สรรงบประมาณ 2.1.3 จดั หาวัสดุอุปกรณใ์ ห้พร้อม 2.1.4 การเตรียมบุคลากรและนกั เรียน 2.1.5 การซกั ซอ้ มแผนเผชญิ เหตุอย่างน้อยภาคเรยี นละ 1 ครัง้ 2.2 การบริหารเหตุการณฉ์ กุ เฉนิ ดำเนนิ การดงั นี้ 2.2.1 การแนะนำ 2.2.2 การแบ่งหนา้ ท่ีและความรับผิดชอบ 2.2.3 การเตรียมความพร้อม 2.2.4 การตอบโต้และแกป้ ัญหาตอ่ สถานการณ์ฉุกเฉินทันทอี ย่างเปน็ ระบบ 2.2.5 การฟน้ื ฟกู ลบั สู่สภาพเดิม
69 หมวดที่ 7 ผลลพั ธ์ (RESULTS) 7.1 ผลลพั ธด์ า้ นหลักสตู รและกระบวนการ (Product and Process RESULTS) ผลการดำเนินการที่สำคัญด้านหลักสูตร โรงเรียนได้นำเสนอประสิทธิผลและประสิทธิภาพของกระบวนการ รวมถึงผลลพั ธข์ องกระบวนการตา่ ง ๆ ทตี่ อบสนองโดยตรงตอ่ ผูเ้ รยี นและที่มีผลต่อการปฏบิ ัติงาน ดังน้ี ก. หลกั สตู รและกระบวนการจดั การเรียนการสอน (STUDEN Focused Product and PROCESS Result) โรงเรียนมีการจัดหลักสูตรที่หลากหลายเทียบเคียงกับหลักสูตรมาตรฐานสากล จัดกระบวนการการสอนโดย เน้นผู้เรยี นเปน็ สำคัญเพ่ือตอบสนองต่อความถนดั และตรงตามความตอ้ งการของผูเ้ รียนและมีการสง่ เสริมความเป็นเลิศ มี การจดั การเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้า การสรา้ งองค์ความรู้ การสื่อสารและการนำเสนอ มีกิจกรรมสร้างสรรค์และ บรกิ ารสังคม มุง่ พฒั นาให้ผเู้ รยี นเป็นคนดี มคี ณุ ธรรม มคี ณุ ลักษณะอนั พึงประสงค์ โดยใชร้ ะบบการบริหารจัดการโดย ใชเ้ ทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Management) เปน็ กระบวนการ 1. ผลสัมฤทธิท์ างการเรยี นของนกั เรยี นทไ่ี ด้ระดบั 3 ขนึ้ ไป จำแนกตามกลมุ่ สาระการเรยี นรู้ แผนภูมิที่ 7.1 แสดงรอ้ ยละของนกั เรียนท่ีมีผลการเรยี นระดับ 3 ข้นึ ไปจำแนกตามกลมุ่ สาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2562 – 2564 90 80 70 60 50 40 30 20 10 0 วทิ ยาศาสตร์ สุขศึกษาและ ภาษาตา่ งประเ ฯ พลศกึ ษา ทศ ภาษาไทย คณติ ศาสตร์ สงั คมศึกษา ฯ ศลิ ปะ การงานอาชีพ 2562 44.05 15.25 43.78 50.3 64.8 62.8 49.65 36.41 2563 44.31 16.27 43.84 64.5 84.45 62.33 71.48 50.31 2564 50.97 39.74 52.59 59.65 83.03 51.09 52.92 58.25
70 2. ผลการทดสอบระดับชาตขิ นั้ พื้นฐาน (O - NET) ชัน้ มัธยมศึกษาปที ่ี 3 และช้นั มธั ยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศกึ ษา 2562 – 2564 แผนภมู ทิ ี่ 7.2 ผลการทดสอบระดับชาติขนั้ พ้นื ฐาน (O - NET) ช้ันมัธยมศึกษาปที ่ี 3 ปีการศกึ ษา 2562 – 2564 เปรียบเทยี บกบั โรงเรียนค่เู ทียบ 37 36 35 34 33 32 31 2562 2563 2564 รร.นาบอน 34.26 33.24 32.86 รร.ทงุ่ ใหญ่วทิ ยาคม 36.3 36.26 33.45 แผนภมู ิ 7.3 ผลการทดสอบระดบั ชาติข้นั พ้ืนฐาน (O - NET) ชนั้ มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 6 ปกี ารศกึ ษา 2562 – 2564 เปรียบเทยี บกับโรงเรยี นคูเ่ ทยี บ 32 31 30 29 28 27 26 25 2562 2563 2564 รร.นาบอน 27.53 30.36 31.16 รร.ทงุ่ ใหญว่ ิทยาคม 29.48 31.55 29.4
71 3. ผลสมั ฤทธด์ิ ้านคณุ ลกั ษณะอันพึงประสงค์ของนักเรยี นท่ีไดร้ ะดบั ดแี ละดเี ยย่ี ม ปีการศึกษา 2562 – 2564 ปกี ารศึกษา รอ้ ยละของนกั เรยี นตามระดบั คุณภาพ ดีเยีย่ ม ดี รวม 2562 60.35 29.82 90.17 2563 61.82 29.50 90.32 2564 60.69 31.59 92.28 4. ผลการประเมนิ กจิ กรรมพัฒนาผเู้ รยี นปีการศึกษา 2562 -2564 นกั เรยี นผ่านเกณฑ์รอ้ ยละ 100 5. ผลการประเมินสมรรถนะสำคญั ของผู้เรยี น ปกี ารศึกษา 2562 – 2564 นกั เรยี นผ่านเกณฑร์ อ้ ยละ 100 แผนภมู ิที่ 7.4 จำนวนรายการในการแขง่ ขนั ศิลปหัตถกรรมนักเรยี นระดับสำนกั งานเขตพืน้ ท่ีการศกึ ษา สพม.12 (นครศรีธรรมราช , พัทลุง) ปีการศกึ ษา 2562 – 2564 250 รร.นานอน รร.ทงุ ใหญว่ ิทยาคม 50 107 200 35 39 24 34 150 153 230 100 50 0 เหรยี ญทอง เหรยี ญเงนิ เหรยี ญทองแดง รายการแข่งขนั ทั้งหมด * ปีการศึกษา 2563 – 2564 ไมม่ กี ารแขง่ ขันเนอ่ื งสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโควดิ – 19
72 แผนภมู ิท่ี 7.5 จำนวนรายการในการแข่งขนั ศิลปหตั ถกรรมนกั เรยี นระดับภาค และระดบั ชาติ ปีการศกึ ษา 2562 – 2564 30 รร.นานอน รร.ทุงใหญว่ ิทยาคม 25 2 16 20 1 5 15 0 3 10 4 24 5 0 ทอง เงิน ทองแดง รายการแขง่ ขนั ท้ังหมด * ปีการศึกษา 2563 – 2564 ไม่มกี ารแข่งขันเนื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด – 19 7. ร้อยละของนักเรยี นที่สามารถตง้ั คำถาม ตั้งสมมุติฐาน และศึกษาค้นคว้าอยา่ งอิสระ ดว้ ยตนเองเพอ่ื หา คำตอบและสรปุ องค์ความร้ไู ด้ พิจารณาไดจ้ ากผลสัมฤทธท์ิ างการเรยี นรายวิชาการศกึ ษาค้นควา้ และการสรา้ งองค์ ความรู้ (IS1) ปกี ารศึกษา 2562 – 2564 รายวชิ า ปกี ารศึกษา 2562 ปีการศึกษา 2563 ปีการศึกษา 2564 IS1 จำนวน (คน) จำนวน (คน) จำนวน (คน) ทั้งหมด ผ่าน ร้อยละ ท้ังหมด ผ่าน ร้อยละ ท้งั หมด ผา่ น รอ้ ยละ 284 284 98.95 284 281 98.94 320 311 97.19
73 8. รอ้ ยละของนกั เรยี นทส่ี ามารถสือ่ สาร เขียน และนำเสนอ ผลการศึกษาโดยใช้ส่ือที่เหมาะสม มีการอ้างองิ แหลง่ ท่เี ช่ือถอื ได้ พิจารณาได้จากผลสมั ฤทธิท์ างการเรยี นรายวิชาการส่ือสารและนำเสนอ (IS2) ปีการศึกษา 2562 – 2564 รายวิชา ปกี ารศกึ ษา 2562 ปกี ารศกึ ษา 2563 ปกี ารศึกษา 2564 IS2 จำนวน (คน) จำนวน (คน) จำนวน (คน) ทงั้ หมด ผา่ น ร้อยละ ท้ังหมด ผ่าน รอ้ ยละ ทงั้ หมด ผ่าน ร้อยละ 277 274 98.92 273 273 100 314 306 97.45 9. จำนวนนักเรยี นทีจ่ บหลักสูตรชัน้ มธั ยมศึกษาตินต้นและตอนปลายตามกำหนดเวลา ระดบั ชน้ั ปกี ารศึกษา 2562 ปีการศกึ ษา 2563 ปีการศกึ ษา 2564 ทงั้ หมด จบ รอ้ ยละ ทัง้ หมด จบ รอ้ ยละ ทงั้ หมด จบ รอ้ ยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ชั้นมัธยมศกึ ษาปีที่ 6 หลักสูตร หลกั สูตร หลกั สตู ร 134 134 100 146 146 100 155 155 100 รวม 118 118 100 112 112 100 113 113 100 252 252 100 258 258 100 268 268 100 10. จำนวนนักเรยี นทีศ่ ึกษาต่อในระดับมหาวทิ ยาลยั หรอื สถาบันอุดมศึกษา ปีการศกึ ษา 2562 2563 2564 จำนวนนักเรียนท้งั หมด 118 112 113 จำนวนนักเรียนท่ศี ึกษาตอ่ 114 102 109 232 214 222 รวม ข. ผลลัพธ์ดา้ นประสิทธิผลของกระบวนการทำงาน (Work Process Effectiveness Results) 1. ประสทิ ธิผลและประสทิ ธิภาพของกระบวนการ (Process Effectiveness and Efficiency) โรงเรียนใช้ระบบกสนบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Management) เปน็ กระบวนการในการดำเนนิ งานให้มีประสทิ ธิภาพเกิดประสิทธิผลและประหยัด มีการปรับปรุงและ
74 พัฒนาการปฏิบัติงานสู่ความเป็นเลิศ ควบคุมทั้งผู้เรียนแลบุคลากรทางการศึกษาอีกทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม ดำเนินการตามระบบวงจรคุณภาพ PDCA มีประสิทธิผลของกระบวนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน ดังน้ี 1.1 การประเมินคณุ ภาพสถานศึกษา 1.1.1 การประเมินคณุ ภาพภายนอกรอบสี่ (สมศ.) เมือ่ วนั ท่ี 26-28 พฤศจกิ ายน พ.ศ.2562 ดา้ นการบริหารจดั การและการจัดการเรียนการสอนที่เนน้ ผู้เรียนเป็นสำคญั ดงั นี้ สรุปการประเมินดา้ นที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีระดบั คณุ ภาพ ดีมาก สรุปการประเมินดา้ นที่ 3 การจดั ประสบการณท์ ี่เน้นเดก็ เป็นสำคญั มีระดบั คุณภาพ ดี 1.1.2 การประเมนิ คุณภาพภายในดา้ นคณุ ภาพผ้เู รียนและการจัดการศึกษา ปีการศึกษา 2562 – 2564 ตาราง 7.1 ผลการประเมินคณุ ภาพภายในดา้ นคุณภาพผู้เรยี นและการจดั การศกึ ษา ปีการศกึ ษา 2562 – 2564 มาตรฐาน ปีการศกึ ษา 2562 ปกี ารศึกษา 2563 ปีการศึกษา 2564 มาตรฐานท่ี 1 คุณภาพของผเู้ รยี น ดีเลิศ ดี ดี มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบรหิ ารจดั การศึกษา ดีเลิศ ดี ดเี ลศิ 1.2 โรงเรียนนาบอนผ่านการพฒั นาและประเมินการบริหารจดั การด้วยระบบคุณภาพระดับ SCQA เมอ่ื วนั ที่ 28 กันยายน 2562 1.3 รางวลั เหรียญทองชนะเลิศประเภทสถานศึกษาดีเดน่ นวัตกรรมดา้ นการบรหิ ารจดั การระดบั มัธยมศึกษาสถานศึกษาขนาดกลาง ในงานมหกรรมมัธยมศกึ ษาครงั้ ท่ี 29 ปีการศึกษา 2562 เมอ่ื วันที่ 5 กนั ยายน 2562 1.4 โรงเรยี นตน้ แบบ ลดเวลาเรยี น เพ่มิ เวลารู้ : Active Learning ระดบั สำนกั งานเขตพ้ืนที่ การศึกษามัธยมศกึ ษา เขต 12 เมื่อวันท่ี 5 สิงหาคม พ.ศ. 2562 จากสำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ 1.5 รางวลั เหรียญทอง 2 เหรียญ เหรยี ญเงิน 1 เหรยี ญ จากการประกวดขับขานประสานเสยี ง ม.4 - ม.6 การประกวดขบั ขานประสานสยี ง ม.1 - ม.3 และ การแข่งขนั กจิ กรรมสภานักเรียน ม.1 - ม.6 1.6 โรงเรยี นรางวลั เหรยี ญทอง รองชนะเลศิ อนั ดบั ที่ 2 ประเภทสถานศึกษาดเี ดน่ ดา้ นการบริหาร จัดการ สถานศึกษาขนาดกลาง จากสำนักงานเขตพื้นทีก่ ารศึกษามัธยมศกึ ษาเขต 12 เม่อื วนั ที่ 30 ตุลาคม 2563
75 1.7 โรงเรียนนาบอนได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดคลิป VDO สื่อการเรียนรู้ หัวข้อ “ COVID-19 กับการอนุรกั ษส์ ่ิงแวดลอ้ ม ” จากสำนกั งานเขตพ้นื ทกี่ ารศึกษามธั ยมศกึ ษาเขต 12 เมื่อวนั ที่ 27 กนั ยายน 2563 1.8 รางวัลครูผู้จดั การเรียนการสอนออนไลนใ์ นสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโรคติดเช้อื ไวรัสโคโรนา 2019 ภายใต้แนวคิด “สอนดี เห็นผล คนชื่นชม” ประเภทครูผู้สอนมัธยมศึกษาตอนปลายระดับเขตพื้นที่การศึกษา นครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2564 จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 30 ธนั วาคม พ.ศ. 2564 จำนวน 6 รางวลั 1.9 รางวัลครูผู้จัดการเรยี นการสอนออนไลน์ในสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคตดิ เชือ้ ไวรัสโคโรนา 2019 ภายใต้แนวคิด “สอนดี เห็นผล คนชื่นชม” ประเภทครูผู้สอนมัธยมศึกษาตอนปลายระดับเขตพื้นที่การศึกษา นครศรีธรรมราช ปกี ารศึกษา 2564 แบบคลิปส้ัน 5 นาที เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564 จำนวน 2 รางวัล 1.10 รางวัลครผู ูส้ อนยอดเย่ียม“ครูผูม้ ีจิตวิญญาณความเป็นครู”ปีการศึกษา 2564 จากสำนักงานเขต พ้ืนท่กี ารศกึ ษามัธยมศึกษานครศรธี รรมราช เมอ่ื วนั ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2565 จำนวน 3 รางวัล 2. การเตรียมพรอ้ มตอ่ สภาวะฉกุ เฉิน (Emergency Preparedness) โรงเรียนมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงและกำหนดแผนเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉินที่ทันท่วงทีเพื่อสร้างความ ปลอดภัยให้กับโรงเรียนและนักเรียนทุกคน ในโรงเรียนอยา่ งเป็นระบบ ถือเปน็ การลดความเสยี่ ง ท่ีจะเกิดความเสียหาย ต่อโรงเรยี นโดยได้ดำเนินการเชงิ รกุ ซง่ึ ให้ความสำคัญกับการป้องกันและปราบปราม เชน่ การอบรมให้ความรู้เกย่ี วกบั ภัย พิบตั ิตา่ งๆ มกี ารวางระบบรกั ษาความปลอดภัย โดยใช้เครอื่ งมือท่ที นั สมัย เช่นการติดต้ังระบบกล้องวงจรปดิ การจัดการ ระบบสารสนเทศเก่ยี วกับนักเรยี นผู้ปกครองและหนว่ ยงานที่เกีย่ วข้อง เช่น สถานตี ำรวจโรงพยาบาลและหน่วยงานของ ภาครัฐและเอกชนต่างๆ จากผลการดำเนินการดังกล่าวทำให้โรงเรียนมีความพร้อมในการรับมือเหตุฉุกเฉิน ซึ่งทำให้ นกั เรยี นบคุ ลากรและผู้มสี ว่ นได้ส่วนเสยี เชอ่ื มั่นต่อการดำเนินการของโรงเรียนพิจารณาไดจ้ ากความพึงพอใจของนักเรียน ผปู้ กครองชุมชนท่ีมตี อ่ การบริการและการดำเนนิ งานของโรงเรียน ค. ผลลัพธด์ ้านการจัดการหว่ งโซ่อุปทาน (Supply – Chain Management RESULTS) โรงเรียนมีการจัดห่วงโซ่อุปทานและกำหนดกระบวนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยให้ความสำคัญของ กระบวนการอย่างตอ่ เน่อื งและเปน็ ระบบ ใหค้ วามสำคญั ในการคดั เลอื กผสู้ ่งมอบที่มีคุณสมบตั ิ เพยี งพอ ในการขบั เคลื่อน กระบวนการต่างๆของโรงเรียนและมีการวัดประเมินผลอย่างต่อเนื่องด้วยการประเมิน ด้วยวงจรคุณภาพ PDCA เพ่ือ ประสทิ ธิภาพของ โรงเรยี น โดยมผี ลปรากฏดังนี้
76 ตารางท่ี 7.2 จำนวนนักเรยี นทจ่ี บหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนตน และไดศ้ กึ ษาต่อตามความถนดั ของนักเรียนปีการศึกษา 2562 -2564 ปีการศกึ ษา จำนวนนักเรียน ร้อยละ ศกึ ษาตอ่ จบหลกั สตู ร รอ้ ยละ นักเรียนทั้งหมด จบหลักสตู ร 100 135 ทำงาน 100 2562 100 146 - 100 2563 134 134 100 155 - 100 2564 146 146 100 435 - 100 รวม 155 155 - 435 435 ตารางที่ 7.3 จำนวนนักเรียนทจี่ บหลกั สูตรมธั ยมศกึ ษาตอนปลายและได้ศึกษาต่อตามความถนัดของนกั เรยี นปี การศกึ ษา 2562 – 2564 ปกี ารศกึ ษา จำนวนนกั เรียน รอ้ ยละ ศกึ ษาต่อ จบหลกั สตู ร รอ้ ยละ นกั เรียนทง้ั หมด จบหลักสูตร 100 115 ทำงาน 100 2562 100 107 3 100 2563 118 118 100 110 5 100 2564 112 112 100 332 3 100 รวม 113 113 11 343 343 7.2 ผลลพั ธด์ ้านนกั เรียนและผู้มีสว่ นไดส้ ว่ นเสีย (STUDENT and Stakeholder-Focused Results) ก. ผลลัพธ์ดา้ นนักเรียนและผูม้ ีสว่ นไดส้ ว่ นเสยี (STUDENT and Stakeholder -Focused RESULTS) (1) ความพงึ พอใจของนักเรียนและผู้มสี ว่ นไดส้ ่วนเสีย (STUDENT Satisfaction) นกั เรยี นและผปู้ กครองมคี วามพงึ พอใจทจ่ี ะเลือกโรงเรียนนาบอนเปน็ สถานศกึ ษา นกั เรียนและผูม้ สี ่วนได้สว่ น เสียมคี วามพงึ พอใจต่อการบรหิ ารจัดการของโรงเรียนนาบอน 3 ปี ย้อนหลงั ดงั น้ี ตารางที่ 7.4 แสดงความพึงพอใจของนักเรียนและผู้มสี ่วนไดส้ ว่ นเสีย ความพงึ พอใจ ผลความสำเรจ็ ปี2562 ป2ี 563 ป2ี 564 1. ด้านวชิ าการ 4.23 4.50 4.67 2. ด้านกจิ การนกั เรยี น 4.50 4.62 4.71
77 ความพงึ พอใจ ผลความสำเร็จ ปี2562 ปี2563 ปี2564 3. ดา้ นบคุ ลากร 4.20 4.32 4.45 4. ดา้ นอาคารสถานที่และสภาพแวดลอ้ ม 4.50 4.63 4.72 5. ด้านความสัมพนั ธร์ ะหวา่ งโรงเรียนกับชุมชน 4.60 4.70 4.82 4.41 4.55 4.67 ค่าเฉล่ยี 4.9 2. ด้านกจิ การ 3. ด้านบุคลากร 4. ด้านอาคารสถานท่ี 5. ด้านความสมั พันธ์ 4.8 นักเรียน และสภาพแวดลอ้ ม ระหว่างโรงเรียนกบั 4.7 4.2 4.6 4.5 4.32 ชุมชน 4.5 4.62 4.45 4.4 4.71 4.5 4.6 4.3 4.2 4.63 4.7 4.1 4.72 4.82 4 3.9 3.8 1. ดา้ นวิชาการ 2562 4.23 2563 4.5 2564 4.67 แผนภมู ิที่ 7.6 แสดงความพึงพอใจของนกั เรยี นและผมู้ สี ว่ นไดส้ ว่ นเสีย จากตารางที่ 7.18 และ แผนภูมิที่ 7.18 แสดงความพึงพอใจของนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทีมีต่อ การบริหารจัดการของโรงเรียน 3 ปี ย้อนหลัง ปีการศึกษา 2562 โดยในภาพมีความพึงพอใจอยู่ในระดบั ดีมาก ค่าเฉลี่ย 4.41 ปกี ารศกึ ษา 2563 โดยในภาพมคี วามพึงพอใจอยูใ่ นระดับดมี าก คา่ เฉลยี่ 4.55 และปกี ารศกึ ษา 2564 โดยในภาพ มีความพงึ พอใจอยู่ในระดบั ดีมาก ค่าเฉล่ีย 4.67 (2) ความผูกพนั ของนักเรียนและผู้มีสว่ นไดส้ ว่ นเสีย (STUDENT Satisfaction) ตารางที่ 7.5 แสดงการเปรียบเทยี บจำนวนศษิ ยเ์ กา่ ในระดับชนั มัธยมศึกษาปที ่ี 6 ทก่ี ลับเข้ามาแนะแนวใหก้ ับร่นุ นอ้ ง ปีการศึกษา 2562 2563 2564 ร้อยละ 12.48 15.65 17.80
78 20 15 10 5 0 คา่ ร้อยละ 2562 2563 2564 แผนภูมทิ ี่ 7.7 แสดงจำนวนศษิ ย์เก่าทก่ี ลบั มาแนะแนวการศกึ ษาใหก้ บั รุ่นนอ้ ง จากตารางท่ี 7.5 และแผนภูมิที่ 7.7 พบว่าจำนวนศษิ ย์เกา่ ท่ีกลับมาแนะแนวการศึกษาใหก้ ับรนุ่ นอ้ ง มจี ำนวนเพม่ิ มากขนึ้ ทกุ ปี แสดงให้เห็นความผกู พันของศิษย์เกา่ ตารางที่ 7.6 แสดงการเปรยี บเทียบการเข้าร่วมประชุมผูป้ กครอง ปกี ารศกึ ษา 2562 - 2564 ปกี ารศึกษา 2562 ปกี ารศึกษา 2563 ปกี ารศึกษา 2564 จำนวน ผ้ปู กครอง รอ้ ยละ จำนวน ผู้ปกครอง รอ้ ยละ จำนวน ผูป้ กครอง ร้อยละ นักเรยี น นกั เรยี น นักเรียน ทั้งหมด ทั้งหมด ทง้ั หมด 881 790 89.67 832 812 97.59 942 924 98.09 1000 950 900 850 800 750 700 2562 2563 2564 จานวนนักเรียน จานวนผู้ปกครอง แผนภมู ิท่ี 7.8 แสดงร้อยละของผู้ปกครองเข้าร่วมประชมุ ผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2562 - 2564
79 จากตารางที่ 7.6 และแผนภูมิที่ 7.8 แสดงเปรียบเทียบการเข้าร่วมประชุมผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2562 - 2564 พบว่า มผี ู้ปกครองเข้ารว่ มประชมุ เพิม่ ขึ้น จากปี 2564 มีผูป้ กครองเขา้ ร่วมประชุม เพมิ่ ขึ้นจากปี 2562 และปีการศกึ ษา 2563 ซ่งึ จะเหน็ วา่ ผูป้ กครองใหค้ วามร่วมมอื ในการเขา้ รว่ มประชุมเพ่ิมข้ึนอย่างตอ่ เนื่อง 7.3 ผลลัพธด์ ้านบุคลากร (Workforce – Focused Results) ก. ผลลัพธ์ดา้ นบุคลากร (Workforce – Focused Results) (1) ขีดความสามารถและอัตรากำลังบคุ ลากร (Workforce Capability and Capacity) โรงเรียนมีการประเมินอัตรากำลังโดยการจัดทำข้อมูลสารสนเทศบุคลากรแยกตามเพศ วุฒิการศึกษา วิทยฐานะ กำหนดให้ครูผู้สอนทุกคนได้สอนตรงตามวุฒิการศึกษาของตนเองและตามความถนัดมีการประเมินผลการ ปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากร เพื่อให้ทราบระดับขีดความสามารถของบุคลากร มีการวิเคราะห์กรอบ อัตรากำลัง ดำเนินการสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถตรงตามสายงาน การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายเพื่อให้ได้ บุคลากรทม่ี คี ุณภาพและเหมาะสม มคี วามรู้ ความสามารถ ผลปรากฏดงั ตารางท่ี 7.7 ตารางที่ 7.7 แสดงจำนวนครูท่ีสอนตรงตามวชิ าเอก ปีการศึกษา 2562 – 2564 ปกี ารศกึ ษา ครทู งั้ หมด สอนตรงตามวชิ าเอก คดิ เปน็ ร้อยละ 2562 46 46 100 2563 46 46 100 2564 43 43 100 จากตารางที่ 7.7 พบว่าครสู อนตรงตามวชิ าเอก คิดเปน็ ร้อยละ 100 แสดงใหเ้ ห็นวา่ ครมู ีทักษะสามารถถ่ายทอด ความรแู้ ละประสบการณแ์ ก่ผู้เรยี นได้ดี ทำใหเ้ กดิ ประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน ตารางที่ 7.8 ผลการประเมินประสิทธภิ าพและประสิทธผิ ลการปฏิบตั ิงานของข้าราชการครแู ละบุคลากร ทางการศึกษา ปกี ารศกึ ษา 2562 – 2564 รอ้ ยละของครูตามระดบั คณุ ภาพ ปีการศกึ ษา ดเี ด่น เปน็ ทยี่ อมรบั ได้ ครง้ั ที่ 1 ครงั้ ท่ี 2 คร้ังที่ 1 ครงั้ ท่ี 2 2562 20.83 27.27 79.17 72.73 2563 36.96 100 63.04 - 2564 100 100 - -
80 จากตารางที่ 7.8 พบว่าปีการศกึ ษา 2562 – 2564 ครูมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบตั ิงาน ระดับ ดีเดน่ เพ่มิ ขึน้ ทกุ รอบการประเมิน ตารางที่ 7.9 อัตราสว่ นจำนวนครูตอ่ จำนวนนักเรยี นปีการศึกษา 2562 – 2564 ปีการศึกษา จำนวนครู จำนวนนักเรียน ครู : นกั เรยี น 1 : 19 2562 46 881 1 : 19 1 : 22 2563 46 892 2564 43 942 จากตารางที่ 7.9 พบว่าอัตราส่วนจำนวนครตู ่อจำนวนนกั เรียนใกล้เคียงกับเกณฑ์ ก.ค.ศ. กำหนดคือ 1 : 20 สะทอ้ นให้เหน็ วา่ บคุ ลากรขององค์กรมปี ระสทิ ธภิ าพในการดูแลนักเรยี นไดเ้ ตม็ ความสามารถ มกี ารจ้างบคุ ลากรจำนวน 5 คน ปฏิบัติงานในตำแหน่งต่าง ๆ เพื่อลดภาระงานของครู ได้แก่ ครูสอนภาษาจีน ครูสอนสังคมศึกษา ครูสอนพลศกึ ษา ครูบรรณารักษ์ ครูสอนคอมพิวเตอร์ เจ้าหน้าที่ธุรการและครูชาวต่างชาติ จำนวน 2 คน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ จดั การเรียนรู้ (2) บรรยากาศการทำงาน (Workforce Climate) โรงเรียนมีบรรยากาศในการทำงานที่ดี จัดบรรยากาศภายในโรงเรียนให้ร่มรื่น สวยงาม สะอาด ห้องเรยี นมเี คร่ืองรับโทรทัศน์ทุกห้องเรยี น ห้องทำงานมสี ง่ิ อำนวยความสะดวก ส่ือเทคโนโลยีต่าง ๆ ท่ีสามารถเช่ือมต่อ กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งระบบ LAN และระบบ WIFI มีห้องสุขาที่ถูกสุขลักษณะ มีโครงการโรงเรียนปลอดขยะ มีการทำประกันอุบัติเหตุคุ้มครองตลอด 24 ชั่วโมง แก่บุคลากรทุกคน โรงเรียนได้มีการแต่งตั้งเวรยามรักษาความ ปลอดภัยและมีการเตรียมความพร้อมต่อภัยพิบัติและภาวะฉุกเฉินที่ดี เมื่อพิจารณาในช่วงปีการศึกษา 2562 – 2564 โรงเรียนไม่มีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติของบุคลากรและไม่มีบุคลากรที่เจ็บป่วยเนื่องจากสภาพการทำงานใน โรงเรยี น (3) การทำใหบ้ คุ ลากรมคี วามผกู พัน (Workforce Engagement) โรงเรียนมีการจดั กิจกรรมเพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมองค์กรในวนั รับบุคลากรใหม่ การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน เชน่ กิจกรรมวันครู กิจกรรมเลี้ยงสงั สรรค์ กจิ กรรมมทุ ิตาจิตเกษียณอายรุ าชการ กจิ กรรมประชุมผปู้ กครอง ให้ผู้ปกครองไดพ้ บปะกบั ครทู ีป่ รกึ ษาของบุตรหลาน กิจกรรมวันสำคัญของชาติ ศาสนาและพระมหากษัตรยิ ์ การจัดทัศน ศึกษาการศึกษาดงู าน ตลอดถึงกจิ กรรมต่างๆ ของเพือ่ นร่วมงาน ดังตารางท่ี 7.10
81 ตารางที่ 7.10 ผลการประเมนิ ความคิดเหน็ ตอ่ การสรา้ งความผูกพันของบุคลากรในโรงเรียน ประเดน็ การประเมนิ ค่าเฉลยี่ ระดบั ความคดิ เห็น 1. ดา้ นงานในความรับผิดชอบ 3.86 มาก 2. ดา้ นสภาพแวดล้อมในการทำงาน 3.93 มาก 3. ดา้ นผ้นู ำและวฒั นธรรมในองค์กร 3.87 มาก 4. ด้านโอกาสและความกา้ วหนา้ ในอาชีพ 4.02 มาก 5. ดา้ นไมตรจี ิตต่อครอบครัวของบคุ ลากร 4.10 มาก 3.96 มาก รวม จากตารางที่ 7.10 แสดงผลการประเมินความผูกพันของบุคลากรอย่างเป็นทางการ ปีการศึกษา 2564 ซ่ึง ประเมินความผูกพัน 5 ด้าน ไดแ้ ก่ ดา้ นงานในความรบั ผดิ ชอบ ดา้ นสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านผนู้ ำและวัฒนธรรม ในองคก์ ร ด้านโอกาสและความก้าวหน้าในอาชีพ และด้านไมตรีจติ ตอ่ ครอบครัวของบุคลากร พบวา่ มีความพึงพอใจอยู่ ในระดับมาก คา่ เฉลี่ย 3.96 (4) การพฒั นาบคุ ลากร (WORKFORCE Development) โรงเรียนมีระบบการพัฒนาบุคลากรโดยเน้นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนการสอนและ สนบั สนุนใหบ้ คุ ลากรท่ีมคี วามชำนาญงาน และมีประสบการณถ์ ่ายทอดสูผ่ เู้ รยี นได้ จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรที่สอดคล้อง กับแผนกลยุทธแ์ ละแผนปฏิบัติการประจำปี โดยครอบคลุมการพัฒนาบคุ ลากรทุกระดับและมุ่งให้บุคลากรทุกคนได้รบั การพัฒนาความรแู้ ละทักษะตามตำแหนง่ งาน โรงเรยี นมีการพฒั นาครูอยา่ งต่อเนื่อง สง่ เสรมิ ให้บุคลากรเข้ารับการอบรม เพ่ือเพิ่มพนู ความรู้ ความสามารถ ใหเ้ ปน็ ประโยชนต์ ่อการปฏิบตั ิงานให้มปี ระสิทธภิ าพสงู สุด ผลปรากฏดงั น้ี 1. จำนวนครูบุคลากรเข้ารับการอบรมสมั มนาเพ่ือพัฒนาตนเองอย่างตอ่ เนื่อง ดังตารางท่ี 7.11 ตารางท่ี 7.11 แสดงจำนวนบุคลากรที่เขา้ รับการอบรมสัมมนา ปกี ารศึกษา 2562-2564 กลุ่มสาระการเรยี นรู้ จำนวนครูและจำนวนชัว่ โมงทเ่ี ข้ารับการอบรมสมั มนา /ปีการศึกษา คณติ ศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ 2562 2563 2564 ภาษาไทย จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน ครู ชั่วโมง ครู ชว่ั โมง ครู ช่ัวโมง 7 144 7 266 7 386 7 277 8 305 8 551 5 116 5 152 5 256
กล่มุ สาระการเรยี นรู้ 82 สงั คมศกึ ษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวนครแู ละจำนวนชว่ั โมงท่เี ข้ารับการอบรมสัมมนา ภาษาตา่ งประเทศ /ปกี ารศกึ ษา สุขศกึ ษาและพลศกึ ษา การงานอาชีพและเทคโนโลยี 2562 2563 2564 ศลิ ปะ จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน แนะแนว ครู ช่วั โมง ครู ชว่ั โมง ครู ชว่ั โมง 5 88 7 176 7 256 5 48 5 112 5 186 3 20 3 32 3 60 4 120 4 174 3 278 3 48 3 82 4 205 1 8 1 16 1 20 จากตารางที่ 7.12 พบว่าครทู กุ กลุ่มสาระการเรยี นรู้ได้เขา้ รบั การอบรมสมั มนาเพ่ือพฒั นาตนเองอยา่ งต่อเนอ่ื งและเพ่มิ มากข้ึนทุกปี ตารางที่ 7.12 แสดงรอ้ ยละของครูทผี่ ลิตสือ่ และนวตั กรรมการเรียนรู้ ประเภทตา่ งๆ ปกี ารศึกษา 2562-2564 ประเภทสือ่ การเรียนรู้ ปีการศกึ ษา 2562 2563 2564 แผนการสอน 100 100 100 เอกสารประกอบการสอน 100 100 100 Power point 62.56 74.34 87.31 วจิ ยั ในชน้ั เรยี น 60.11 64.15 77.42 จากตารางท่ี 7.12 พบว่าครูมีแผนการจัดการเรียนร้ทู กุ คน มกี ารจดั ทำเอกสารประกอบการสอนทุกคน จดั ทำ power point เพิ่มข้ึน เน่ืองจากได้รับจัดสรรงบประมาณในการจดั ซ้อื เครอื่ งรบั โทรทัศน์ และครมู ีงานวจิ ยั ในช้นั เรยี น เพ่ิมขน้ึ 2. จำนวนครทู ี่ไดร้ บั รางวัลต่างๆ ปกี ารศกึ ษา 2562-2564 มดี งั น้ี ผ้ปู ฏิบัติหนา้ ท่รี องผูอ้ ำนวยการดีเด่น ดา้ นนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพือ่ การเรยี นการสอน ทม่ี ี ผลงานประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ระดับชาติ รางวัลเหรียญทอง ชนะเลิศประเภทรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ดีเด่น กลุ่มบริหารงานวิชาการ ระดับมัธยมศึกษา สถานศึกษาขนาดกลาง รางวัลเหรียญเงิน รองชนะเลิศอันดับ 2 ครูผู้สอนดีเด่นวิชาสังคมศึกษา ม.ปลาย ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี รางวัลเหรียญทองชนะเลิศ ครูผู้สอนดีเด่น กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ม.ต้น ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี รางวัลเหรียญทองชนะเลิศครูผู้สอนดีเด่นกิจกรรมพัฒนา
83 ผู้เรียน ม.ปลาย ด้านบริหารจัดการชั้นเรียน รางวัลเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับ 1 ครูผู้สอนดีเด่นกิจกรรมพัฒนา ผู้เรียน ม.ปลาย ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี รางวัลเหรียญทองชนะเลิศครูผูส้ อนดีเด่นวิชาดนตรีสากล ม.ปลาย ด้าน วชิ าการ รางวลั เหรยี ญเงินชนะเลศิ ครผู สู้ อนดเี ด่นวชิ าภาษาองั กฤษ ม.ตน้ ด้านบริหารจดั การช้นั เรียน รางวัลเหรียญเงิน ชนะเลศิ ครูผ้สู อนดเี ดน่ วิชาภาษาจนี ด้านวชิ าการ สถานศึกษาขนาดกลาง ผู้ปฏิบัตงิ านและมผี ลงานดเี ดน่ รางวลั เหรยี ญ ทองชนะเลิศ ครูผฝู้ ึกสอนนกั เรยี นการแขง่ ขนั กิจกรรมการประกวดขับขานประสานเสยี ง งานมหกรรมวิชาการคร้ังที่ 29 ระดับชั้น ม.1-ม.3 และ ระดับชั้น ม.4-ม.6 เหรียญทอง ครูผู้ฝึกสอนนักเรียนการแข่งขันกิจกรรมการประกวดขับขาน ประสานเสียง งานศิลปหตั ถกรรมระดบั ชาติ คร้ังที่ 69 ระดบั ช้ันม.1-ม.3 และระดบั ชน้ั ม.4-ม.6 รางวลั ครผู ู้จัดการเรียน การสอนออนไลน์สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชือ้ ไวรัสโคโรนา 2019 ภายใต้แนวคิด “สอนดี เห็นผล คนช่ืน ชม” รางวัลประเภทครูสอนชั้นมธั ยมศกึ ษาตอนต้น และประเภทครูสอนชั้นมัธยมศกึ ษาตอนปลาย และรางวัลครผู ู้สอน ยอดเยยี่ ม “ครผู มู้ จี ติ วญิ ญาณความเป็นคร”ู 7.4 ผลลัพธ์ดา้ นการนำองค์กรและการกำกับดแู ลองคก์ ร (Leadership and Governance Results) ก. ผลลพั ธด์ า้ นการนำองคก์ ร การกำกับดแู ลองคก์ ร และความรบั ผดิ ชอบตอ่ สังคม (Leadership, Governance and Societal Responsibility RESULTS) (1) การนำองค์กร (Leadership) เปดิ โอกาสใหบ้ ุคลากร นกั เรียน และผมู้ ีสว่ นไดส้ ว่ นเสยี ทกุ กลุ่มมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสยั ทัศน์ และพนั ธกิจ ของโรงเรียน ทำใหว้ ิสยั ทัศน์ได้รบั การยอมรบั และเป็นตัวกำหนดทิศทางการดำเนนิ งานของโรงเรียน ขอ้ มูลการนำองค์กร สกู่ ารปฏิบัตเิ พอ่ื บรรลวุ ิสัยทศั น์ของโรงเรยี น ตารางท่ี 7.13 ขอ้ มูลการนำองค์กรส่กู ารปฏิบตั เิ พื่อบรรลวุ สิ ยั ทศั นข์ องโรงเรียน ตัวชีว้ ัด ปกี ารศึกษา 2562 2563 2564 1. คา่ ร้อยละ ของงาน/โครงการท่ตี อบสนองต่อการบรรลวุ สิ ยั ทัศน์ ของโรงเรียน 100 100 100 2. จำนวนครงั้ ทีม่ ีการประชมุ /ส่อื สาร เพือ่ ถา่ ยทอด วิสยั ทัศน์ และพนั ธกิจ 10 12 15 จากตารางท่ี 7.13 พบว่า ร้อยละการนำองค์กรสู่การปฏบิ ตั เิ พื่อบรรลุวสิ ัยทศั น์ของโรงเรยี นเพิม่ ข้ึนทกุ ปีใน ระยะเวลา 3 ปี (2562 – 2564 ) และปกี ารศึกษาถัดไปมีแนวโน้มว่าเพม่ิ ขึ้น (2) การกำกบั ดูแลองคก์ ร (GOVERNANCE) โรงเรียนมีการดำเนินการด้านการกำกับดแู ลองคก์ รโดยอา้ งองิ ผล การตรวจสอบภายในองค์กรและการตรวจสอบจากภายนอกองค์กร ดงั นี้ 2.1 การตรวจสอบภายใน
84 - การนิเทศภายใน โรงเรยี น ได้ดำเนินการนเิ ทศภายใน และกำกบั ตดิ ตาม โดยมีการแตง่ ต้งั คณะกรรมการนเิ ทศภายใน ประกอบด้วย หัวหน้ากลุ่มบริหารงาน หวั หนา้ กลมุ่ สาระการเรียนรแู้ ละหวั หน้างานต่าง ๆ ภาคเรยี นละ 1 คร้ัง และนำผลการนเิ ทศภายในมาปรบั ปรงุ แก้ไขตามขอ้ เสนอแนะ - การประกนั คณุ ภาพการศึกษา โรงเรียนได้ดำเนนิ งานประกันคุณภาพภายในสถานศกึ ษาตาม กฎกระทรวงศึกษาธกิ าร ว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์และวิธกี ารประกันคณุ ภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ครบทงั้ 3 มาตรฐาน ดังนี้ - มาตรฐานที่ ๑ คณุ ภาพของผ้เู รยี น - มาตรฐานท่ี ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ - มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรยี นการสอนทเ่ี นน้ ผู้เรยี นเปน็ สำคัญ - การควบคุมภายใน โรงเรยี นได้ดำเนนิ การบริหารความเสีย่ งโดยมอบนโยบายใหท้ ุกกลุม่ บรหิ ารงาน พิจารณาดำเนินตรวจสอบความเสย่ี งทุกปี และเขียนโครงการใหส้ อดคลอ้ ง ภาคเรยี นละ 1 ครงั้ - การตรวจสอบงานการเงินและพัสดุ ฝ่ายบริหารมีการกำกับติดตามและตรวจสอบให้เป็นไปตาม ระเบยี บ ข้อบงั คบั และกฎหมายที่เก่ียวข้องกบั งานการเงิน การบญั ชีและการพัสดุอย่างเครง่ ครดั เพ่ือให้เกิดประโยชน์ แกท่ างราชการอยา่ งสูงสดุ ภาคเรยี นละ 1 คร้งั 2.2 การตรวจสอบภายนอก โรงเรียนได้รับการนิเทศ กำกับติดตามและประเมินผล การปฏิบัติงานตาม นโยบายของกระทรวงศึกษาการและการปฏิบัติงานตามนโยบาย กลยุทธ์ จุดเน้นและตัวชี้วัดของสำนักงานเขตพื้นท่ี การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษารอบที่สาม (พ.ศ. 2554) จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาองค์การมหาชน (สมศ.)และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาการ ปฏบิ ัติงานให้มีคณุ ภาพและประสทิ ธภิ าพย่งิ ขนึ้ ตารางท่ี 7.14 แสดงผลการประเมินคณุ ภาพภายนอกของสถานศกึ ษา ระดับการศกึ ษาขั้นพนื้ ฐานรอบ 4 การศกึ ษาขนั้ พ้นื ฐาน ผลการประเมิน มาตรฐานท่ี ๑ คณุ ภาพของผู้เรียน ดีมาก มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจดั การ ดีมาก มาตรฐานท่ี ๓ กระบวนการจดั การเรียนการสอนทีเ่ น้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดี จากตารางที่ 7.14 พบว่า ผลการประเมนิ คุณภาพภายนอกของสถานศกึ ษา ระดับการศกึ ษาขน้ั พ้นื ฐานของโรงเรียน รบั รองโดยสำนักงานรบั รองมาตรฐานและประเมนิ คณุ ภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) มีผลการประเมนิ อย่ใู นระดับดี มากจำนวน 2 มาตรฐาน และผลการประเมินอย่ใู นระดบั ดี จำนวน 1 มาตรฐาน
85 (3) กฎหมายและกฎระเบยี บขอ้ บังคับ (Law and Regulation) ด้านการปฏิบัติตามหรือปฏิบัติได้เหนือกว่าข้อกำหนดด้านกฎหมายกฎระเบียบ ข้อบังคับ พิจารณาได้จาก บุคลากรปฏบิ ัติตามพระราชบัญญัตริ ะเบยี บขา้ ราชการครแู ละบุคลากรทางการศกึ ษา 2547 และทแี่ ก้ไขเพ่มิ เติม ระเบียบ ครุ ุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณครู ระเบยี บของโรงเรียน มาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน ปรากฏขอ้ มูล ดังนี้ ตารางที่ 7.15 แสดงการปฏบิ ตั ติ ามกฎหมายขอ้ บังคับ ตวั ชว้ี ัด ผลการปฏบิ ตั ิ 1. การตรวจสอบจากหนว่ ยสอบภายใน สพม.12 ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564 2. การตรวจสอบระบบควบคุมภายใน 3. การประเมินระบบประกนั คณุ ภาพภายใน เปน็ ไปตามระเบยี บ เป็นไปตามระเบยี บ เปน็ ไปตามระเบยี บ 4. ขอ้ ร้องเรยี นทางวนิ ัย ไม่มคี วามเสี่ยง ไม่มคี วามเสย่ี ง ไม่มีความเสีย่ ง ดีมาก ดีมาก ดีมาก ไมม่ ี ไมม่ ี ไมม่ ี จากตารางที่ 7.15 พบว่า ครูโรงเรยี นนาบอนปฏิบัติตามกฎหมายขอ้ บงั คับทุกตวั ชี้วัดไดเ้ ปน็ อย่างดี ปกี ารศึกษา 2562 – 2564 ครูโรงเรยี นนาบอนไมม่ ีข้อรอ้ งเรยี นทางวินยั (4) จรยิ ธรรม (Ethics) โรงเรียนมุ่งเน้นให้ผู้บริหารและบุคลากรปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความรู้ความสามารถโดยส่งเสริมให้ประพฤติ ปฏบิ ตั ิอย่างมีคุณธรรมและจรยิ ธรรม ส่งผลให้เกิดผลดีต่อการปฏิบตั ิงานและเป็นผลดีต่อองค์กร ดังจะเห็นได้ว่าในช่วงปี พ.ศ.2562 - 2564 ไม่มบี คุ ลากรท่ีถกู ดำเนินการทางวินัย การดำเนนิ การของโรงเรียนไมม่ ผี ลกระทบตอ่ สงั คม (5) สงั คม (Society) โรงเรยี นมกี ารให้บรกิ ารแก่ชมุ ชนใหด้ ้านต่าง ๆ ดงั น้ี 5.1 การให้บริการในด้านวิชาการแก่ชมุ ชนโดยให้ความอนุเคราะหบ์ คุ ลากรท่ีมคี วามที่มคี วามรู้ ความเช่ยี วชาญ ในทกั ษะดา้ นต่าง ๆ เป็นวทิ ยากรในการฝึกอบรมใหค้ วามรูแ้ กช่ ุมชนอยา่ งต่อเน่ือง ตารางที่ 7.16 แสดงข้อมลู การเป็นวทิ ยากรภายนอกของผบู้ ริหารและบคุ ลากรโรงเรยี น ปกี ารศกึ ษา จำนวน (ครั้ง) 2562 20 2563 5 (สถานการณโ์ ควดิ -19) 2564 7 (สถานการณโ์ ควดิ -19) จากตาราง 7.16 พบวา่ ขอ้ มูลการเปน็ วิทยากรภายนอกของผู้บริหารและบุคลากรโรงเรียนระหว่างปี 2562 พบวา่ การใหบ้ รกิ ารแก่ชมุ ชนในดา้ นการเป็นวทิ ยากรภายนอกของผูบ้ ริหารและบคุ ลากรมกี ารใหบ้ ริการเพม่ิ ขนึ้ อย่างตอ่ เนอื่ งทกุ ปี
86 5.2 ด้านอาคารสถานท่ี โรงเรยี นมกี ารให้บริการด้านอาคารสถานท่ีแก่ชมุ ชนโดยใหค้ วามอนุเคราะหห์ อ้ งประชมุ และหอ้ งโสต ฯ อาคารหอประชมุ เพื่อให้บรกิ ารแกช่ มุ ชนอยา่ งต่อเนือ่ ง 5.3 ดา้ นกจิ กรรมชุมชน โรงเรยี นมกี ารใหบ้ ริการดา้ นกจิ กรรมชุมชน โดยให้ความรว่ มมือในการเข้ารว่ มกจิ กรรม ต่าง ๆ อาทิ วันเฉลิมพระชนพรรษ 5 ธนั วาคม วนั เฉลิมพระชนพรรษ 12 สิงหาคม วนั สำคญั ทางศาสนาต่าง ๆ งานปใี หม่ และประเพณตี ่าง ๆ สรุปภาพรวมความรับผิดชอบต่อสังคม โรงเรียนตระหนักถึงความสำคัญต่อการให้บริการแก่ชุมชนในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย ด้านวิชาการ ด้านอาคารสถานที่ ด้านกิจกรรมชุมชนและด้านสิ่งแวดล้อม โดยให้ความอนุเคราะห์และ ใหบ้ รกิ ารแก่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง สรุปข้อมูลการให้บริการแก่ชุมชนในด้านต่าง ๆ ของโรงเรียน ระหว่างปี 2562 - 2564 พบว่า การให้บริการแก่ ชุมชนในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย ด้านวิชาการ ด้านอาคารสถานที่ และด้านกิจกรรมชุมชนมีการให้บริการแก่ชุมชน เพม่ิ ขึ้นทกุ ดา้ นทกุ ปี ข. ผลลพั ธ์ด้านการนำกลยทุ ธไ์ ปปฏิบัติ (Strategy Implementation RESULTS) โรงเรยี นได้จัดทำแผนกลยทุ ธ์เพือ่ กำหนดทิศทางในการดำเนนิ งานและนำแผนกลยุทธ์สแู่ ผนปฏิบตั กิ าร มีการกำกับ ติดตาม ใหด้ ำเนนิ งานเปน็ ไปตามแผนปฏบิ ัตกิ าร ปรากฏผล ดงั น้ี ตารางที่ 7.17 แสดงการดำเนนิ งานและนำแผนกลยทุ ธ์สูแ่ ผนปฏบิ ัติการ ตวั ชว้ี ัด ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564 การนำแผนกลยุทธส์ กู่ ารปฏิบัติ 100 100 100 แผนปฏบิ ัตกิ ารสู่การปฏิบัติ 100 100 100 จากตารางที่ 7.17 พบว่า แผนปฏิบตั กิ ารดำเนินการได้สอดคล้องกบั แผนกลยทุ ธ์ทุกโครงการและแตล่ ะโครงการ เป็นไปตามแผนที่กำหนด รอ้ ยละ 100 ทกุ ปี 7.5 ผลลพั ธด์ ้านการเงนิ และตลาด (Financial and Market Results) ก. ผลการดำเนินการดา้ นการเงนิ และตลาด(Financial and Market Results) (1) ผลการดำเนนิ การดา้ นการเงิน (Financial Performance) โรงเรียนดำเนินงานด้านงบประมาณ โดยมีงบประมาณเพียงพอและสนองต่อแผนปฏิบัติการประจำปี ได้รับงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนจาก สพฐ เงินจากการเช่าการบริการและสถานที่ของโรงเรียน รวมทั้งมีการระดม ทรัพยากรจากผู้ปกครอง ในส่วนของรายจ่ายที่ไม่สามารถเบิกจ่ายตามระเบียบฯ ได้ การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของ โรงเรียนเป็นไปตามแผนปฏิบัติการประจำปี โดยยึดหลักประหยัดและประโยชน์สูงสุดต่อโรงเรียน ฝ่ายบริหารให้ คำปรึกษา กำกับ ติดตามและตรวจสอบให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับและกฎหมายท่ีเกี่ยวกับการเงิน การบัญชีและ พัสดุอยา่ งเครง่ ครดั โรงเรียนใชจ้ า่ ยเงินเปน็ ไปตามแผนปฏิบตั ิการและคุ้มค่ากบั การลงทุน ดังตารางท่ี7.18
87 ตารางที่ 7.18 แสดงการใช้งบประมาณในการดำเนินการและผลสำเร็จในการดำเนินการ ปี การศกึ ษา 2562- 2564 ปี งบประมาณ งบประมาณที่ งบประมาณที่ ร้อยละของ ร้อยละของ รอ้ ยละของ ไดร้ ับการจัดสรร ใชไ้ ป งบประมาณที่ โครงการที่ นกั เรยี นท่ีจบ ประสบ การศึกษา ใช้ ความสำเร็จ 100.00 2562 6,018,681.00 5,325,541.31 88.48 88.48 100.00 2563 5,934,157.00 4,492,292.51 75.70 75.70 100.00 2564 7,505,945.00 6,643,254.97 88.51 88.51 จากตารางที่ 7.18 พบว่านักเรียนการใช้งบประมาณในการดำเนินการและผลสำเร็จในการดำเนินการ ปี การศึกษา 2562 คิดเป็นร้อยละ 88.48 ปี การศึกษา 2563 คิดเป็นร้อยละ 75.70 ปี การศึกษา 2564 คิดเป็น ร้อยละ 88.51 และนักเรียนสามารถเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น แสดงให้เห็นว่าโรงเรียนใช้จ่าย เงินเป็นไปตาม แผนปฏิบัติการยดึ หลักประหยัดและคมุ้ คา่ กับการลงทุน (2) ผลลัพธ์การดำเนนิ การดา้ นตลาด (Marketplace Performance) โรงเรียนเป็นโรงเรียนที่นักเรียนและผู้ปกครองให้ ความสนใจในลำดับต้นๆ ซึ่งในแต่ละปี การศึกษามีจำนวน นกั เรยี นมาสมคั รเรียนชนั้ มธั ยมศึกษาปี ท่ี 1 ประเภทห้องเรียนทั่วไป ในปี การศึกษา2563 มากกวา่ ปี การศึกษา 2562 ตามภาพที่ 7.6 แผนภูมิแสดงจำนวนนักเรียนที่สมัครเข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ห้องเรียนทั่วไป ปี การศึกษา 2562-2564 และ จำนวนนักเรียนมาสมัครเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ในปี การศึกษา 2563 มากกว่า ปี การศึกษา 2562 ตามตารางท่ี 7.19 ตารางที่ 7.19 การเปรยี บเทยี บจำนวนนักเรยี นชน้ั มัธยมศึกษาปี ท่ี 3 (เดมิ ) ที่ศกึ ษาตอ่ ระดบั ชั้นมธั ยมศึกษาปี ท่ี 4 ปี การศกึ ษา 2562-2564 ปกี ารศกึ ษา 2562 2563 2564 จำนวนนกั เรยี นชั้นมัธยมศกึ ษาปี ที่ 3 (เดิม) 134 146 155 จำนวนนกั เรยี นศกึ ษาต่อระดบั ชัน้ มธั ยมศกึ ษาปี ท่ี 4 125 132 145
88 “เอกสารชดุ นี้ ใชเ้ ปน็ กรณีศกึ ษาเทา่ น้นั ไมส่ ามารถจะคดั ลอกไปใชใ้ นสถานศกึ ษาอนื่ ๆ ได้”
Search