Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore จริยธรรมและกฎหมายคอมพิวเตอร์

จริยธรรมและกฎหมายคอมพิวเตอร์

Published by ophiya16p, 2022-02-23 03:28:49

Description: flipbook (undefined description)

Search

Read the Text Version

1 . จงอธิบายความหมายของลิขสิทธิ์ สิทธิแต่ผู้เดียวในการกระทําการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นจากสติปัญญา ความรู้ ความสามารถ และ ด้วยความวิริยะอุตสาหะของตนโดยไม่ได้ ลอกเลียนแบบงานของผู้อื่น โดยผู้สร้างสรรค์ จะได้รับความคุ้มครองทันทีโดย ไม่ ต้องจดทะเบียน สิทธิแต่ผู้เดียวในการกระทําการใด ๆ 2 . เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิในงานของตนอย่างไรบ้าง 1. สิทธิในการทําซ้ํา 2. สิทธิในการดัดแปลง 3. สิทธิในการเผยแพร่ต่อสาธารณชน 4. ให้เช่าต้นฉบับหรือสําเนางาน 5. ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์ 6. อนุญาตให้ผู้อื่นนํางานนั้นไปทําซ้ํา ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือ ใช้เช่าต้นฉบับหรือสําเนางาน 3 . สิทธิในการทําซ้ําหมายความว่าอย่างไร หมายถึง มีสิทธิในการคัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใด ได้แก่ การทําสําเนา ทําแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพจากต้นฉบับ สําเนา หรือจากการ โฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสําคัญทั้งหมดหรือบางส่วน หากเป็น โปรแกรม คอมพิวเตอร์ หมายถึง การคัดลอกหรือทําสําเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อ บันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธีการ ใด ที่ไม่เป็นการสร้างงานใม่ขึ้นมา 5. สิทธิในการดัดแปลง หมายความว่าอย่างไร หมายถึง การทําซ้ําโดยเปลี่ยนรูปแบบใหม่ ปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือจําลอง งานต้นฉบับในส่วนที่เป็นสาระ สําคัญไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วน 6. จงอธิบายรายละเอียดของงานวรรณกรรม งานนิพนธ์ที่ทําขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ คําปราศรัย สุนทรพจน์ ปาฐการเทศนา รวมถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย

7. งานศิลปกรรมมีอะไรบ้าง 1. งานจิตรกรรม เป็นงานสร้างสรรค์รูปทรงที่ประกอบกันด้วยเส้น แสง สี หรือสิ่ง อื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ หลายอย่างรวมกันลงบนนวัสดุอย่างเดียวหรือหลาย อย่าง 2. งานประติมากรรม เป็นงานที่สร้างสรรค์รูปทรงที่เกี่ยวกับปริมาตรที่สัมผัสและ จับต้องได้ 3. งานภาพพิมพ์ เป็นงานสร้างสรรค์ภาพด้วยวิธีการพิมพ์ และหมายรวมถึง แม่พิมพ์หรือแบบพิมพ์ที่ใช้ในการ พิมพ์ด้วย 4. งานสถาปัตยกรรม เป็นงานออกแบบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง งานออกแบบ ตกแต่งภายในหรือภายนอกตลอด จนบริเวณของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือ การสร้างสรรค์หุ่นจําลองของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง 5. งานภาพถ่าย เป็นงานสร้างสรรค์ภาพที่เกิดจากการใช้เครื่องมือบันทึกภาพโดย ให้แสงผ่านเล็นซ์ไปยังฟิล์ม หรือกระจก และล้างด้วยน้ํายาซึ่งมีสูตรเฉพาะ หรือ ด้วยกรรมวิธีใด ๆ อันทําให้เกิดภาพขึ้น หรือการบันทึกภาพโดย เครื่องมือหรือ วิธีการอย่างอื่น 6. งานภาพประกอบ แผนที่ โครงสร้าง ภาพร่าง หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสาม มิติอันเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์ 7. งานศิลปะประยุกต์ เป็นงานที่นําเอางานตั้งแต่ 1-6 อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ หลายอย่างรวมกันไปใช้ประโยชน์ อย่างอื่นที่นอกเหนือจากการชื่นชมคุณค่าของ ตัวงาน เช่น นําไปใช้สอย นําไปตกแต่งวัสดุหรือเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เพื่อ ประโยชน์ทางการค้า 8. งานที่ไม่มีลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง 1. ข่าวประจําวัน ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นข่าวสาร ไม่ใช่งานในแผนก วรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือ ศิลปะ 2. รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย 3. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คําสั่ง คําชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่น ใดของรัฐหรือของท้องถิ่น 4. คําพิพากษา คําสั่ง คําวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ 5. คําแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่ 1-4 ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือ หน่วยงานอื่นใดของรัฐ หรือของ ท้องถิ่นจัดทําขึ้น

9. จงบอกอายุของการคุ้มครองลิขสิทธิ์ของบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล 1. บุคคลธรรมดา กําหนดไว้ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และ ต่อไปอีกเป็นเวลา ปีนับจากผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ ความตาย 50 2. นิติบุคคล กําหนดอายุการคุ้มครองไว้ ปี 50 3. กรณีเป็นผู้สร้างสรรค์ร่วม กําหนดไว้ตลอดอายุของผู้ สร้างสรรค์ร่วม และมีอายุต่ออีก ปีนับจากผู้สร้างสรรค์ 50 ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย 10. จงอธิบายรายละเอียดของบทลงโทษตามกฎหมาย ลิขสิทธิ์ 1. ผู้ที่รู้อยู่แล้ว หรือควรรู้ว่าสิ่งที่กระทําเป็นการละเมิด ลิขสิทธิ์ หากเป็นการกระทําโดยไม่แสวงหากําไร ปรับ ตั้งแต่ 10,000 - 100,000 บาท หากเป็นการกระทําเพื่อการค้า จําคุกตั้งแต่ เดือน ถึง ปี หรือปรับตั้งแต่ 3 2 50,000 - 400,000 บาท 2. หรือวัตถุใด ๆ ตามที่คณะกรรมการ หรือ คณะอนุกรรมการสั่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน เดือน 3 หรือปรับ ไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ 3. ค่าปรับที่ได้ชําระตามคําพิพากษา ให้จ่ายแก่เจ้าของ ลิขสิทธิ์เป็นจํานวนกึ่งหนึ่ง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 กฎหมายสิทธิบัตร สาระสําคัญ การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์จะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถและความ พยายาม อีกทั้งยังต้องใช้เวลาและ ค่าใช้จ่าย ผู้สร้างสรรค์ต้องทุ่มเททั้งกําลังกาย และกําลังใจ กว่าจะได้ชิ้นงานที่ต้องการ ดังนั้นงานที่ได้มาควรเป็นสิทธิเฉพาะ ของ ผู้สร้างสรรค์ และควรได้รับความคุ้มครองเพื่อมิให้ผู้อื่นนําไปแสวงหาประโยชน์ สาระการเรียนรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับสิทธิบัตร 2. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ 3. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ 4. อนุสิทธิบัตร 5. ผู้ทรงสิทธิบัตร 6. บทกําหนดโทษ สมรรถนะประจําหน่วย แสดงความรู้เกี่ยวกับกฎหมายสิทธิบัตร จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายความรู้เกี่ยวกับสิทธิบัตรได้ 2. อธิบายความรู้เกี่ยวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ 3. อธิบายความรู้เกี่ยวกับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ 4. อธิบายความรู้เกี่ยวกับอนุสิทธิบัตรได้ 5. อธิบายความรู้เกี่ยวกับผู้ทรงสิทธิบัตรได้ 6. อธิบายความรู้เกี่ยวกับบทกําหนดโทษได้

ความรู้เกี่ยวกับสิทธิบัตร ความหมายของสิทธิบัตร สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสําคัญที่ออก เพื่อให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์ เรารออกแบบผลิตภัณฑ์ทเป็น ี่ การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ หรือเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์ สูงขึ้น สามารถประยุกต์ทางอุตสาหกรรมได้ สิทธิบัตรอยู่ในรูปของ หนังสือสําคัญ การจะได้รับสิทธิบัตรหรือไม่นั้น ผ่านการพิจารณา - หลักเกณฑ์ตามกฎหมาย เหตุผลในการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตร 1. เป็นการให้ความคุ้มครองสิทธิอันชอบธรรมผู้ประดิษฐ์ ที่ได้ใช้ สติปัญญาและความพยายาม รวมทั้งใช้เวลาและค่าใช้จ่ายเพื่อให้ ได้มาซึ่งสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์ 2. เป็นการให้รางวัลตอบแทนแก่ผู้ประดิษฐ์ที่ได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ ทําให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ มีความสะดวกสบาย มีความปลอดภัย จึงควรให้รางวัลเป็นการตอบแทน และยังเป็นการให้ ความคุ้มครอง ป้องกันไม่ให้ผู้อื่นมาแสวงหาผลประโยชน์จากงานประดิษฐ์ดวย ้ 3. เพื่อจงใจให้มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ เนื่องจากการประดิษฐ ์ จะต้องมีการลงทุนด้านค่าใช้จ่าย และยังต้องใช้เวลา รวมถึง สติปัญญาของมนุษย์ ซึ่งจัดว่าผู้ประดิษฐ์จะต้องใช้ทั้งเงิน เวลา และ ความสามารถอย่างมาก รัฐจึงต้องให้ความคุ้มครอง เพื่อนักประดิษฐ์ จะได้มีกําลังใจ ในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ต่อไป 4. เพื่อกระตุ้นให้มีการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการประดิษฐ์ คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งความคุ้มครองนี้ ได้มีการกําหนดให้เปิดเผย รายละเอียดนี้ด้วย 5. เพื่อจูงใจให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการลงทุนจาก ต่างประเทศ การจัดระบบให้มี การคุ้มครองสิทธิบัตร ทําให้ต่างชาติ มีความเชื่อมั่นในการเข้ามาลงทุนในประเทศมากขึ้น

ประเภทของสิทธิบัตร สิทธิบัตร เป็นรูปแบบการให้ความคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายใน ลักษณะ ที่เป็นเอกสาร แบ่งออกเป็น ประเภท ได้แก่ สิทธิบัตรการ 3 ประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ และอนุสิทธิบัตร 1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากผลงาน สร้างสรรค์จากการประดิษฐ์ ที่มีลักษณะของการแก้ปัญหาทาง เทคนิคที่ไม่สามารถคิดขึ้นโดยง่าย มีระยะเวลาในการคุ้มครอง ปี 20 • การประดิษฐ์ ( Invention) หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับ ลักษณะองค์ประกอบ โครงสร้างหรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้ง กรรมวิธีในการผลิต การรักษา หรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภณฑ์ ั ให้ดีขึ้น หรือทําให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม 2. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง สิทธิที่รัฐออกให้เพื่อ คุ้มครองการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามกฎหมายกําหนด เป็นพิเศษ โดยให้สิทธิที่จะผลิตสินค้า และจําหน่ายแต่เพียงผู้เดียว ภายใน ช่วงระยะเวลาหนึ่ง 1 • การออกแบบผลิตภัณฑ์ ( Product Design) หมายถึง ความคิด สร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลตภณฑ์ที่ ิ ั แตกต่าง ไปจากเดิม เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยังไม่มีใช้แพร่หลายใน ประเทศ หรือ ยังไม่เปิดเผยสาระสําคัญหรือรายละเอียดในเอกสาร หรือสิ่งพิมพ์ ก่อนวันขอรับสิทธิบัตร หรือไม่คล้ายกับแบบ ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว 3. อนุสิทธิบัตร เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากผลงาน สร้างสรรค์ จากการประดิษฐ์คิดค้นที่ไม่มีความซับซ้อน มีการใช้ เทคโนโลยีไม่สูงมากนัก หรือเป็นการประดิษฐ์ที่มีการคิดค้นเพียง เล็กน้อย แต่ต้องเป็นการประดิษฐ์ใหม่ และสามารถประยุกต์ใช้ทาง อุตสาหกรรมได้และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น มีระยะเวลาในการ คุ้มครอง ปี 10

สิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากการสร้าง ที่มี ลักษณะของการแก้ปัญหาทางเทคนิคที่ไม่สามารถคิดขึ้นโดยง่าย เมื่อได้สร้าง งานขึ้นมาผู้สร้างสรรค์ควรขอรับความคุ้มครองโดยการขอรับสิทธิบัตร คุณสมบัติของผู้ขอรับสิทธิบัตร ตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา มีดังนี้ 14 1. มีสัญชาติไทย หรือเป็นนิติบุคคลที่มีสํานักงานใหญ่อยู่ในประเทศไทย 2. มีสัญชาติของประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนสัญญาหรือความตกลงระหวาง ่ ประเทศเกี่ยวกับการคุ้มครอง สิทธิบัตรซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ 3. มีสัญชาติของประเทศที่ยินยอมให้บุคคลสัญชาติไทยขอรับสิทธิบตรได้ ั 4. มีภูมิลําเนาอยู่ในประเทศไทย 5. อยู่ในระหว่างการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมในประเทศไทยหรือ ประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย กรณีที่สิ่งประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรมีผู้ร่วมทําการประดิษฐ์หลายคน ทุก คนมีสิทธิในการขอรับสิทธิ บัตรร่วมกัน หากผู้ประดิษฐ์คนใดคนหนึ่งไม่ยอม ร่วมขอรับสิทธิบัตร ติดต่อไม่ได้ หรือไม่มีสิทธิในการขอรับ สิทธิบัตร ขาด ( คุณสมบัติของผู้ขอรับสิทธิบัตร ผู้ประดิษฐ์คนอื่นสามารถขอรับสิทธิบัตรใน ) นามของตนเองได้ ผู้มีสิทธิขอรับสิทธิบัตรก่อน กรณีที่บุคคลหลายคนต่างทําการประดิษฐ์ อย่างเดียวกันโดยไม่ได้ร่วมกัน การยื่นขอสิทธิบัตรมีความสําคัญมาก เนื่องจาก ผู้ที่ยื่นสิทธิบัตรก่อนย่อมมีสิทธิรับสิทธิบัตร แม้ว่าข้อเท็จจริง ผู้ได้รับสิทธิบัตร จะได้ทําการประดิษฐ์สิ่งนั้นหลังคนอื่นก็ตาม และไม่ว่าจะเป็นไปโดยบังเอิญ หรือไม่ก็ตาม เพราะการออกสิทธิบัตรในสิ่งประดิษฐ์นั้น ๆ รัฐจะออกสิทธิบัตร ให้ได้เพียง ฉบับเท่านั้น เพราะถือว่าเป็น ผู้เปิดเผยสาระสําคัญของการ 1 ประดิษฐ์ก่อนสร้างประโยชน์แก่สังคมก่อน กรณีมีการยื่นขอรับสิทธิบัตรในการประดิษฐ์อย่างเดียวกัน ในวันเดียวกัน ให้ผู้ขอทําความตกลงกัน หากตกลงไม่ได้ให้นําคดีไปสู่ศาลภายในกําหนด ให้ ถือว่าบุคคลเหล่านั้นทิ้งคําขอรับสิทธิบัตร

การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ การประดิษฐ์ เป็นการคิดค้นหรือการทําขึ้น อันเป็นผลให้ ได้มา ซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ หรือการกระทําใด ๆ ที่ทําให้ดขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์ ี หรือกรรมวิธีการประดิษฐ์ เน้นเรื่องการใช้ความคิด เนื่องจากสิทธิบัตรให้ความคุ้มครอง ความคิด แบ่งออกเป็น ลักษณะ ดังน 2 ี้ 1. ผลิตภัณฑ์ เป็นสิ่งที่มนุษย์ผลิตขึ้น เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ ซึ่งมนุษย์คิดขึ้นมา ไม่ได้ เกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติ 2. กรรมวิธี คือ วิธีการ กระบวนการ หรือกรรมวิธีในการประดิษฐ์ การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ มีดังนี้ 1 เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เป็นการประดิษฐ์ที่ไม่เคยมีมาก่อนดังนี้ 1.1 ไม่เป็นงานหรือการประดิษฐ์ ที่มีใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวัน ขอรับสิทธิบัตร 1.2 ไม่เป็นงานหรือการประดิษฐ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสําคัญแก่ สาธารณชนแล้ว 1.3 ไม่เป็นงานหรือการประดิษฐ์ที่ได้รับสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรแล้ว ไม่ว่าในหรือ นอก ราชอาณาจักรก่อนขอวันรับสิทธิบัตร 1.4 ไม่เป็นงานหรือการประดิษฐ์ที่มีผู้ขอรับสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรไว้แล้วนอก ราชอาณาจักร เป็นเวลาเกิน เดือน ก่อนวันขอรับสิทธิบัตรแต่ยังไม่ได้รับอนุญาต 18 1.5 ไม่เป็นงานหรือการประดิษฐ์ที่มีผู้ขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรไว้แล้ว ไม่ว่าใน หรือ นอกราชอาณาจักร และได้ประกาศโฆษณาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตรใน ราชอาณาจักร 2 เป็นงานประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์สูงขึ้น เป็นการกระดิษฐ์ที่ไม่เป็นที่ประจักษ ์ โดยง่าย แก่บุคคลที่มีความชํานาญในระดับสามัญสําหรับงานประเภทนั้น 3. เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถนํามาใช้ทางอุตสาหกรรมได้ เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถ นําไปใช้ ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรม เกษตรกรรม และพาณิช ยกรรม การได้รับสิทธิบัตร มีรายละเอียด ดังน ี้ 1. การได้รับสิทธิบัตรของผู้ประดิษฐ์ ผู้ประดิษฐ์เป็นผู้มีสิทธิขอรับสิทธิบัตร และมีสิทธิที่จะ ได้รับ การระบุชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ในสิทธิบัตร สิทธิขอรับสิทธิบัตรสามารถโอนและรับ มรดกกันได้ การโอนสิทธิ ขอรับสิทธิบัตร ต้องทําเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับ โอน 2. การได้รับสิทธิบัตรของนายจ้าง กรณีการประดิษฐ์ตามสัญญาจ้างของนายจ้าง หรือเป็น การทํางาน ตามสัญญาจ้าง ผู้ทรงสิทธิบัตรในการประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนตามสัญญาจ้างคือ นายจ้าง เว้นแต่มีการตกลงกัน ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้สิทธิบัตรเป็นของลูกจ้าง กรณีผู้ประดิษฐ์เป็นข้าราชการ พนักงานองค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ให้ถือว่ามี สิทธิได้รับ เงินบําเหน็จพิเศษนอกจากเงินเดือน เว้นมีระเบียบของทางราชการ องค์การ ของรัฐกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น

การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้ มีดังนี้ 1. จุลชีพและส่วนประกอบสวนเดสวนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัด เงากสัตว์หรือพืช 2. กฏเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3. ระบบข้อมูลสําหรับการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ 4. วิธีการวินิจฉัย บําบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์ 5. การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดี อนามัยหรือสวัสดิภาพ ของประชาชน คําขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ รายการในคําขอรับสิทธิบัตร ให้มีรายการดังนี้ 1. ชื่อแสดงถึงการประดิษฐ์ 2. ลักษณะและความมุ่งหมายของการประดิษฐ์ 3. รายละเอียดการประดิษฐ์ที่มีข้อความสมบูรณ์ รัดกุม คือต้องเปิดเผยถึงลักษณะ ของการประดิษฐ์ที่คิดค้นได้ ให้ครบถ้วน ดังนี้ 3.1 รายละเอียดนั้นต้องชัดแจ้งพอที่จะทําให้ผู้มีความชํานาญในระดับสามัญ สามารถ ที่จะอ่านรายละเอียดแล้วนําข้อมูลนั้นไปใช้ได้ 3.2 ระบุวิธีในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุดที่ผู้ประดิษฐ์จะพึงทราบได้ กล่าวคือผู้ขอรับ สิทธิบัตรจะต้องระบุวิธีการในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุด เนื่องจากการทําสิ่งประดิษฐ์อาจ ทําได้ หลายวิธี และแต่ละวิธีจะต้องมีความแตกต่างกันออกไป 4. ข้อถือสิทธิ คือส่วนที่ผู้ขอรับสิทธิบัตรจะแสดงถึงเจตนาหรือความประสงค์ ที่จะ กําหนดถึงลักษณะ และของเขตของสิ่งที่ต้องการได้รับสิทธิบัตรแต่เพียงผู้เดียว เป็น การอธิบายถึงลักษณะของสิ่งที่ได้คิดค้นขึ้นมา และต้องการได้รับความคุ้มครอง • ข้อถือสิทธิเป็นสิ่งที่ผู้ขอรับสิทธิบัตรต้องเขียนให้ชัดแจ้งที่สุดในสิ่งที่ตนต้องการ ได้รับความคุ้มครอง • การเขียนข้อถือสิทธิควรแสดง แยกแยะ ให้เห็นถึงองค์ประกอบ ของการประดิษฐ์ นั้นอย่างชัดแจ้ง • ข้อถือสิทธิถือเป็นสิ่งสําคัญเนื่องจากการพิจารณาว่ามีผู้กระทําละเมิด ต่อสิทธิบัตร ของผู้ประดิษฐ์หรือไม่ ต้องพิจารณาจากข้อถือสิทธิ

5. รายการตามที่กําหนดโดยกระทรวง ผู้ขอรับสิทธิบัตรอาจขอแก้ไขเพิ่มเติม ขอรับสิทธิบัตรได้ตาม หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กําหนดโดย กฎกระทรวง

สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ แบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง รูปร่างของผลิตภัณฑ์ภายนอกหรือองค์ประกอบ ของลวดลายหรือ ผลิตภัณฑ์อันมีลักษณะพิเศษสําหรับผลิตภัณฑซึ่ง ์ สามารถใช้เป็นแบบสําหรับอุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้ ตัวอย่างของแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น การออกแบบรูปทรง เครื่องใช้ต่าง ๆ การออกแบบสี ลวดลายบนเครื่องใช้ การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ และเป็นการออกแบบ ผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมและหัตถกรรมเท่านั้น สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่มีอายุคุ้มครอง ปี นับแต่ วัน 10 ขอรับสิทธิบัตรในราชอาณาจักร ผู้ที่ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้อง ไป ขอรับสิทธิบัตรไว้ด้วย จึงจะเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรการออกแบบอันจะทําให้ มี สิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้การออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือขายผลิตภัณฑ์ที่ ใช้แบบ ผลิตภัณฑ์นั้นได้ การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ มีดังนี้ 1. แบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักร ก่อนวันขอรับสิทธิบัตร 2. แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพสาระสําคัญ หรือรายละเอียดใน เอกสารหรือสิ่งพิมพ์ได้เผยแพร่อยู่แล้ว ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อน วันขอรับสิทธิบัตร 3. แบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว ใช้กันอย่างแพร่หลาย หรือได้มีการเปิดสาระสําคัญแล้ว 4. ผลิตภัณฑ์ที่เคยประกาศโฆษณามาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตร

การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้ มีดังนี้ 1. ผลิตภัณฑ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน เช่น เครื่อง การโจรกรรมบ้าน เครื่องสูบยาบ้า 2. ผลิตภัณฑ์ที่กําหนดในราชกฤษฎีกา คําขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ รายการในคําขอรับ สิทธิบัตร มีดังนี้ 1. ภาพแสดงผลิตภัณฑ์ 2. ข้อความระบุผลิตภัณฑ์ที่จะใช้กับแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับ สิทธิบัตร 3. ข้อถือสิทธิโดยแจ้งชัด กล่าวคือมีการระบุถึงลักษณะ ขอบเขต ของการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ต้องการคุ้มครอง และการออกแบบ แบ่งเป็น การออกแบบรูปร่าง ลักษณะ หรือออกแบบ รูปทรงของ ผลิตภัณฑ์ 4. รายการอื่นตามที่กระทรวงกําหนด

อนุสิทธิบัตร ลักษณะของอนุสิทธิบัตรเป็นหนังสือสําคัญที่ออกให้เพื่อ คุ้มครองการประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ ที่สามาร ประยุกต์ทางอุตสาหกรรม ได้ มีอายุ ปี 6 กฎหมายกําหนดการขอรับอนุสิทธิบัตร ดังนี้ 1. บุคคลใดจะขอรับอนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรสําหรับการประดิษฐ์ อย่างเดียวกันไม่ได้ 2. ผู้ขอรับอนสิทธิบัตรมีสิทธิขอเปลี่ยนแปลงประเภทของสิทธิที่จะ ขอรับจากอนุสิทธิบัตร เป็นสิทธิบัตร หรือจากสิทธิบัตรเปนอนุ ็ สิทธิบัตรได้ก่อนการจดทะเบียนการประดิษฐ์ และออกอนุสิทธบัตร ิ 3. ภายใน ปี นับจากวันโฆษณาการจดทะเบียนการประดิษฐ์ และ 1 ออกอนสิทธิบัตร บุคคลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอาจขอให้ตรวจสอบว่า การประดิษฐ์ที่ได้รับอนุสิทธิบัตร มีลักษณะตามที่ได้รับอนุญาต หรือไม่ อายุของอนุสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตรมีอายุ ปี นับแต่วันขอรับ 6 อนุสิทธิบัตรในราชอาณาจักร ในกรณีที่มีการดําเนินคดีทางศาล มิให้ นับระยะเวลาในการดําเนินคดีดังกล่าวเป็นอายุของ อนุสิทธิบตร ผู้ ั ทรงอนุสิทธิบัตร สามารถขอต่ออนุสิทธิบัตรได้ คราวมีกําหนด 2 คราวละ ปี โดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ภายใน วันก่อนวันสิ้นอายเมื่อ 2 90 ได้ยื่นคําขอต่ออายุแล้วถือว่าอนุสิทธิบัตรนั้น ยังคงจดทะเบียนอย ู่ จนกว่าเจ้าหน้าที่จะมีคําสั่งเป็นอยางอื่น ่

ผู้ทรงสิทธิบัตร สิทธิบัตร ได้แก่ บุคคล ผู้ทรงสิทธิบัตร หมายถึง เจ้าของสิทธิบัตรหรือผู้ที่ได้รับจดชื่อลงในทะเบียน สิทธิบัตร ได้แก่ บุคคล เหล่านี้ 1. ผู้ประดิษฐ์ 2. ผู้รับโอนสิทธิบัตร 3. นายจ้างของผู้ประดิษฐ์ 4. ส่วนราชการสําหรับราชการ สิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตร มีดังนี้ 1. กรณีสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ ผู้ทรงสิทธิบัตรมีสิทธิในการผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขายห นําเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร 8 2. กรณีสิทธิบัตรกรรมวิธี ผู้ทรงสิทธิบัตรมีสิทธิในการใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตร ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิต โดยใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตร 3. ผู้ทรงสิทธิบัตรมีสิทธิใช้คําว่า สิทธิบัตรไทย หรือ สบท หรือตัวอักษร “ ” “ . ” ต่างประเทศที่มีความหมาย เดียวกันให้ปรากฏที่ผลิตภัณฑ์หรือในการโฆษณา 4. ผู้ทรงสิทธิบัตรมีสิทธิอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิของตนตามสิทธิบัตร หรือโอน สิทธิบัตรของตน ให้ผู้อื่น ข้อยกเว้นการละเมิดสิทธิบัตร มีดังนี้ 1. เป็นการกระทําเพื่อประโยชน์ด้านการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และวิจัย โดยการ กระทําดังกล่าว จะต้องไม่ขัดต่อประโยชน์ตามปกติของผู้ทรงสิทธิบัตร และ จะต้องไม่ทําให้ผู้ทรงสิทธิบัตรเสื่อมเสีย ผลประโยชน์อันชอบธรรม 2. เป็นการผลิตของผู้ผลิต หรือใช้กรรมวิธีซึ่งไม่รู้ หรือไม่มีเหตุอันควรรู้ถึงการจด ทะเบียนนั้น 3. การใช้ยา ขาย หรือมีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่ง ผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร โดยผู้ทรงสิทธิบัตรอนุญาตหรือยินยอมให้ผลิตหรือขาย ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว การชําระค่าธรรมเนียมรายปี ผู้ทรงสิทธิบัตรต้องชําระค่าธรรมเนียมรายปี เริ่มตั้งแต่ปีที่ ของอายุ สิทธิบัตร หากไม่ชําระภายในระยะเวลาที่กําหนด 5 จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่ม หรือถูกเพิกถอนสิทธิบัตร

การเพิกถอนสิทธิบัตร สิทธิบัตรถูกเพิกถอนได้ กรณีดังนี้ 1 สิทธิบัตรได้ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และกรณีที่มีผู้ฟ้อง ให้ถอน เช่น สิ่งประดิษฐ์นั้นกฎหมาย แครอง สิ่งนั้นไม่ใช ่ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ผู้ขอสิทธิบัตรมีคุณสมบัติไม่เหมาะสม 2. อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา อาจขอให้คณะกรรมการ สิทธิบัตร สั่งเพิกถอนสิทธิบัตรได้ในกรณี 2.1 ผู้ทรงสิทธิบัตรซึ่งขอใช้สิทธิบัตร ไม่ใช้สิทธิภายในเวลา 2 ปี นับแต่ได้รับอนุญาต 2.2 ผู้ทรงสิทธิบัตรได้อนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิบัตรของตน โดยไม่ถูกต้องตามกระบวนการที่แจ้งไว้ในพระราชบัญญัติ ( ตามมาตรา 41) ตัวอย่างกรณีการละเมิดสิทธิบัตร ตัวอย่างของการละเมิดสิทธิบัตร การออกแบบ ผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันมีอยู่เป็นจํานวนมาก โดยเฉพาะ สินค้า ประเภทเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า ที่มีตรายี่ห้อที่ได้รับความนิยม หรือมีราคาแพง จึงมีผู้ผลิตสินค้า ดังกล่าวเลียนแบบและ จําหน่ายในราคาที่ถูกกว่า เช่น กระเป๋าถือ กระเป๋าสตางค์ เข็ม ขัด ยี่ห้อ หลุยส์วิตตอง ชาแนล เฮอร์เมส นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์อีกจํานวนมาก เช่น เครื่องสําอาง ครีมบํารุงผิว อาหารเสริมโทรศัพท์มือถือ นาฬิกา ซึ่งปรากฏให้เห็นในภาพข่าวอยู่เป็นประจํา

บทกําหนดโทษ บทกําหนดโทษ มีดังนี้ 1. เจ้าพนักงานผู้ใดเปิดเผยรายละเอียดของการประดิษฐ์ หรือเปิดเผยรายละเอียดของการประดิษฐ์ ที่อธิบดีสั่งให้ ปกปิดสาระสําคัญเพราะเกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ ระวางโทษจําคุกไม่เกิน ปี หรือ ปรับไม่เกิน 2 200,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ 2. ผู้ใดซึ่งรู้อยู่ว่าการประดิษฐ์นั้นได้มีผู้ยื่นขอรับสิทธิบัตรไว้ แล้ว เปิดเผยรายละเอียดการประดิษฐ์ ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน เดือน หรือปรับไม่เกิน 6 20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ 3. ผู้ใดใช้คําว่า สิทธิบัตรไทย หรือ อนุสิทธิบตรไทย “ ” “ ั ” โดยไม่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกิน ปี หรือ 1 ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ 4. ผู้ใดละเมิดสิทธิบัตรของผู้อื่น ระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ 5. ผู้ใดยื่นขอสิทธิบัตรโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ต้อง ระวางโทษจําคุกไม่เกิน เดือน หรือปรับ ไม่เกิน 6 5,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ใบงานที่ 8.1 ขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล ยกตัวอย่างสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับสิทธิบัตร ชนิด บันทึกลง 5 ในที่ว่างด้านล่าง ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ........................................................................................................................ สิ่งที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ........................................................................................................................

ใบงานที่ 8.2 ขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลสิ่งประดิษฐ์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มท มหาราช บรม 40 นาถบพิตร ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร พร้อมแสดงความคิดเห็นวาส ประชาชนชาวไทยได้รับ ประโยชน์อย่างไร บันทึกลงในที่ว่างด้านล่าง ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................... สิ่งที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่อยที่ ตอนที่ จงเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียง 1 ข้อเดียว 1 สิทธิบัตรเป็นหนังสือสําคัญออกเพื่อ คุ้มครองสิ่งใด ก วรรณกรรม . ข ท่ารํา . ค สิ่งประดิษฐ์ . ง สิ่งพิมพ์ . 2 ข้อใดเป็นเหตุผลที่ต้องให้ความคุ้มครอง สิทธิบัตร ก เพื่อให้สิ่งที่คุ้มครองมีค่ามากขึ้น ข เพื่อเป็นการให้รางวัลตอบแทนผู้ประดิษฐ์ . ค เพื่อทําให้ผู้ประดิษฐ์มีชื่อเสียง . ง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สิ่งที่คิดค้นขึ้น . 3 ข้อใดเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ ก ทรงสุดานําผลิตภัณฑ์ที่ซื้อมาไปขายต่อ ค ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยผู้ประดิษฐ์รายใหม่ . ข ทรงสมัยซื้อเสื้อที่ออกแบบโดยนักออกแบบง ผลิตภัณฑ์ที่นํามาสร้างมูลค่าใหม่ . ที่มีชื่อเสียง ค สายสมรเปิดร้านขายผลิตภัณฑ์ประเภท . เสื้อผ้าที่ตัดเย็บเอง ง สายสุนีย์สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ขึ้นโดยมาเอง . โดยผลิตภัณฑ์นั้นยังไม่เคยมีแพร่หลาย 4 ข้อใดเป็นลักษณะของสิทธิบัตร ก หนังสือสําคัญ . ข โล่รางวัล . ค เหรียญรางวัล . ง รูปแบบใดก็ได้ . 5 ผู้ขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์ต้องมีคุณสมบัติ ตามข้อใด ก อายุเกิน ปี . 18 ข มีภูมิลําเนาในกรุงเทพมหานคร . ค มีสัญชาติไทย . ง มีความสามารถ . 6 ข้อใดต่อไปนี้นอกจากผลิตภัณฑ์แล้ว ยัง สามารถขอรับสิทธิบัตรได้ ก กรรมวิธี . ข วัตถุดิบ . ค สถานที่ผลิต . ง บรรจุภัณฑ์ . 7. ข้อใดหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมา ใหม่ ก ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาไม่เกิน เดือน . 1 ข ผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่เคยมีแพร่หลาย . . . 8 ข้อใดกล่าวถูกเกี่ยวกับสิทธิบัตร ก ไม่สามารถโอนกันทางมรดกได้ . ข ไม่สามารถครอบครองได้นาน . ค สามารถโอนกันทางมรดกได้ . ง สามารถแลกเปลี่ยนเปนเงินได้ . ็

9 ศรัณญเป็นนายจ้างจ้างให้สมรศรี ง ผู้ที่คิดจะขอสิทธิบัตร ประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา ผลิตภัณฑ์ใหม่นั้นเป็นสิทธิของบุคคล ใด ก นายจ้าง . ข ลูกจ้าง . ค ผู้ที่นําไปจดสิทธิบัตรก่อน . ง ให้เป็นคําสั่งศาล . 10 สิ่งใดไม่สามารถขอรับสิทธิบัตรได้ ก เครื่องปอกกระเทียมที่แตกต่างจาก . เดิม ข สัตว์ พืช ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ . ค กระเป๋าหนังที่ออกแบบขึ้นมาใหม่ . ง เครื่องบดกาแฟที่มีประสิทธิภาพ คุณสมบัติไม่เหมาะสมสามารถเพิก . แตกต่างจากของเดิมที่มีอยู่ 11 อนุสิทธิบัตรให้ความคุ้มครอง สิ่งประดิษฐ์ข้อใด ก สิ่งประดิษฐ์ที่มีการคิดค้นไม่ . ซับซ้อน ข สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง . ค สิ่งประดิษฐ์ที่ผลิตโดยชาวต่างชาติ . ง สิ่งประดิษฐ์ใดก็ได้ . 12 ข้อใดหมายถึงผู้ทรงสิทธิบัตร ก ผู้ที่ดําเนินการเรื่องสิทธิบัตร . ข ผู้ที่ได้รับจดชื่อในทะเบียนสิทธิบัตร . ค ผู้ที่เสียค่าใช้จ่ายในการดําเนินการ . ขอจดสิทธิบัตร . 13 ผู้ใดสามารถเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรได้ ก ผู้ประดิษฐ์ . ข ผู้รับโอนสิทธิบัตร . ค นายจ้างของผู้ประดิษฐ์ . ง เป็นได้ทุกข้อ . 14 ข้อใดกล่าวถูกเกี่ยวกับการเพิก ถอนสิทธิบัตร ก สิทธิบัตรเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเพิก . ถอนได้ ข ส่วนราชการมีสิทธิยึดสิทธิบัตรจาก . ผู้ทรงสิทธิได้ตลอดเวลา ค หากพบว่าผู้ทรงสิทธิบัตรมี . ถอนสิทธิบัตรได้ ง ไม่มีกฎหมายกําหนดเกี่ยวกับการ . เพิกถอนสิทธิบัตร 15 ผู้ที่ใช้คําว่า สิทธิบัตรไทย หรือ “ ” “ อนุสิทธิบัตรไทย โดยไม่ได้รับ ” อนุญาตต้องได้รับโทษตามข้อใด ก จําคุกไม่เกิน ปี หรือปรับไม่เกิน . 1 200,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ข จําคุกไม่เกิน ปี หรือปรับไม่เกิน . 2 200,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ค จําคุกไม่เกิน ปี หรือปรับไม่เกิน . 3 200,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ง ว่ากล่าวตักเตือนจากเจ้าหน้าที่ . และให้ยกเลิกการกระทํานั้น

ตอนที่ จงตอบคําถามต่อไปนี้ 2 1. จงอธิบายความหมายของสิทธิบัตร ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ ......................................................................................................................................................... 2. จงอธิบายประเภทของสิทธิบัตร ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ .......................................................................................................................................................... 3. จงอธิบายรายละเอียดของสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ .......................................................................................................................................................... 4. จงอธิบายรายละเอียดของสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ ์ ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ .......................................................................................................................................................... 5. จงอธิบายรายละเอียดของอนุสิทธิบัตร ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ ..........................................................................................................................................................

6. การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตร ต้องมีลักษณะอย่างไร ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................... 7. จงบอกสิ่งประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้ ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................... 8. จงบอกความหมายของแบบผลิตภัณฑ์ ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................... 9. จงอธิบายอายุของอนุสิทธิบัตร ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................... 10. จงอธิบายรายละเอียดของผู้ทรงสิทธิบัตร ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................

เฉลยหน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ตอนที่ จงเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียง 1 ข้อเดียว 1. สิทธิบัตรเป็นหนังสือสําคัญออกเพื่อ คุ้มครองสิ่งใด ค สิ่งประดิษฐ์ . 2. ข้อใดเป็นเหตุผลที่ต้องให้ความคุ้มครอง สิทธิบัตร ข เพื่อเป็นการให้รางวัลตอบแทนผู้ . ประดิษฐ์ 3. ข้อใดเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ ง สายสุนีย์สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ขึ้นโดยมา . เองโดยผลิตภัณฑ์นั้นยังไม่เคยมีแพร่หลาย 4. ข้อใดเป็นลักษณะของสิทธิบัตร ก หนังสือสําคัญ . 5. ผู้ขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์ต้องมี คุณสมบัติตามข้อใด ค มีสัญชาติไทย . 6. นอกจากผลิตภัณฑ์แล้ว สิ่งใดที่สามารถ ขอรับสิทธิบัตรได้ ก กรรมวิธี . 7. ข้อใดหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมา ใหม่ ข ผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่เคยมีแพร่หลาย . 8. เกี่ยวกับสิทธิบัตรข้อใดกล่าวถูก ค สามารถโอนกันทางมรดกได้ . 9. ศรัณญเป็นนายจ้าง จ้างให้สมรศรี ประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา ผลิตภัณฑ์ ใหม่นั้นเป็นสิทธิของใคร ก นายจ้าง . 10. สิ่งใดไม่สามารถของรับสิทธิบัตรได้ ข สัตว์ พืช ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ . 11. อนุสิทธิบัตรให้ความคุ้มครอง สิ่งประดิษฐ์ข้อใด ก สิ่งประดิษฐ์ที่มีการคิดค้นไม่ซับซ้อน . 12. ข้อใดหมายถึงผู้ทรงสิทธิบัตร ข ผู้ที่ได้รับจดชื่อในทะเบียนสิทธิบัตร . 13. ผู้ใดสามารถเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรได้ ง เป็นได้ทุกข้อ , 14. เกี่ยวกับการเพิกถอนสิทธิบัตรข้อใด กล่าวถูก ค หากพบว่าผู้ทรงสิทธิบัตรมีคุณสมบัติไม่ . เหมาะสมสามารถเพิกถอนสิทธิบัตรได้ 15. ผู้ที่ใช้คําว่า สิทธิบัตรไทย หรือ อนุ “ ” “ สิทธิบัตรไทย โดยไม่ได้รับอนุญาตต้อง ” ได้รับโทษตามข้อใด ก จําคุกไม่เกิน ปี หรือปรับไม่เกิน . 1 200,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ตอนที่ จงตอบคําถามต่อไปนี้ 2 1. จงอธิบายความหมายของสิทธิบัตร หนังสือสําคัญที่ออกเพื่อให้ความคุ้มครอง การประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ หรือเป็นการ ประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์สูงขึ้นและ สามารถประยุกต์ทางอุตสาหกรรมได้ สิทธิบัตรอยู่ในรูปของ หนังสือสําคัญ การจะ ได้รับสิทธิบัตรหรือไม่นั้น จะต้องผ่านการ พิจารณาหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย 2. จงอธิบายประเภทของสิทธิบัตร สิทธิบัตร เป็นรูปแบบการให้ความคุ้มครอง สิทธิตามกฎหมายในลักษณะที่เป็นเอกสาร แบ่งออกเป็น ประเภท ได้แก่ สิทธิบัตร 3 การประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ และอนุสิทธิบัตร

3. จงอธิบายรายละเอียดของสิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากผลงานสร้างสรรค์จากการประดิษฐ์ที่ มีลักษณะของการ แก้ปัญหาทางเทคนิคที่ไม่สามารถคิดขึ้นโดยง่าย มีระยะเวลาในการคุ้มครอง 20 ปี 4. จงอธิบายรายละเอียดของสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง สิทธิที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตาม กฎหมายกําหนดเป็นพิเศษ โดยให้สิทธิที่จะผลิตสินค้า และ จําหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียว ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง 5. จงอธิบายรายละเอียดของอนุสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากผลงานสร้างสรรค์จากการประดิษฐคิดค้นที่ไม่มี ์ ความซับซ้อน มีการ ใช้เทคโนโลยีไม่สูงมากนัก หรือเป็นการประดิษฐ์ที่มีการคิดค้นเพียง เล็กน้อย แต่ต้องเป็นการประดิษฐ์ใหม่และสามารถ ประยุกต์ใช้ทางอุตสาหกรรมได้และมี ประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น 6. การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตร ต้องมีลักษณะอย่างไร การประดิษฐ์ ที่เป็นการคิดค้นหรือการทําขึ้น อันเป็นผลให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใด ขึ้นใหม่ หรือการกระ ทําใด ๆ ที่ทําให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีการประดิษฐ์เน้นเรื่องการ ใช้ความคิด 7. จงบอกสิ่งประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้ 1. จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ พืชหรือสาร สกัดจากสัตว์หรือพืช 2. กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ 3. ระบบข้อมูลสําหรับการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ 4. วิธีการวินิจฉัย บําบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์ 5. การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดี อนามัยหรือสวัสดิภาพของ ประชาชน

8. จงบอกความหมายของแบบผลิตภัณฑ์ รูปร่างของผลิตภัณฑ์ภายนอกหรือองค์ประกอบของลวดลายหรือสีของผลิตภัณฑ์อันมี ลักษณะพิเศษสําหรับ ผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสําหรับอุตสาหกรรมรวมทั้ง หัตถกรรมได้ 9. จงอธิบายอายุของอนุสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตรมีอายุ ปี นับแต่วันขอรับอนุสิทธิบัตรในราชอาณาจักร ในกรณีที่มีการ 6 ดําเนินคดีทางศาล มิให้นับนับ ระยะเวลาในการดําเนินคดีดังกล่าวเป็นอายุของอนุ สิทธิบัตร ผู้ทรงอนุสิทธิบัตร สามารถขอต่ออนุสิทธิบัตรได้ คราว มีกําหนดคราวละ 2 2 ปี รวมเป็น ปี 10 10. จงอธิบายรายละเอียดของผู้ทรงสิทธิบัตร ผู้ทรงสิทธิบัตร หมายถึง เจ้าของสิทธิบัตร หรือผู้ที่ได้รับจดชื่อลงในทะเบียนสิทธิบัตร ได้แก่บุคคลเหล่านี้ ผู้ประดิษฐ์ ผู้รับโอนสิทธิบัตร นายจ้างของผู้ประดิษฐ์ 1. 2. 3. 4. ส่วนราชการสําหรับข้าราชการ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook