Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ภาษาไทย-เอกสาร-9-สถาบัน-สวส.

ภาษาไทย-เอกสาร-9-สถาบัน-สวส.

Published by Nathapatsorn Krokklang, 2021-02-18 04:48:45

Description: ภาษาไทย-เอกสาร-9-สถาบัน-สวส.

Search

Read the Text Version

สถาบันวิจยั สังคม จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั Chulalongkorn University Social Research Institute จากจุดเร่มิ ตน้ สูป่ ัจจุบนั สถาบันวิจัยสังคม ถือเป็นสถาบันวิจัยทางสังคมศาสตร์แห่งแรกๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และใน วงการสังคมศาสตร์ของประเทศไทย สถาบันเร่ิมก่อต้ังในคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2510 และต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นสถาบันอิสระ สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามพระราช กฤษฎีกาจัดต้ังสถาบัน เมื่อวันท่ี 22 เมษายน พ.ศ. 2517 โดยวัตถุประสงค์หลัก คือ การดาเนินการวิจัยเพ่ือ ตอบสนองความตอ้ งการของประเทศในการพฒั นาโดยเนน้ งานวจิ ัยทางสังคมเปน็ พื้นฐาน งานวิจัยของสถาบันวิจัยสังคม ในยุคแรกๆ มุ่งตอบสนองการพัฒนาประเทศต้ังแต่แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3 และการแสวงหาทางเลือกการพัฒนา และยังมงุ่ ตอบโจทยส์ ังคมในหลาย ลกั ษณะ เชน่ การริเริม่ สารวจความคิดของประชาชนผา่ น “จฬุ าโพล” การก่อต้ังโครงการอาสาสมัครเพ่อื สังคม (คอส.) ซ่ึงต่อมาได้พัฒนาเป็น มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) และกลายเป็นส่วนหน่ึงของการสร้างความ เป็นสถาบันให้องค์กรในภาคประชาสังคม นอกจากน้ันก็เป็นสถานท่ีก่อเกิดและบ่มเพาะกลุ่มศึกษา เศรษฐศาสตร์การเมือง โครงการศึกษาทางเลือกการพัฒนา และสมาคมวิจัยเชิงคุณภาพ ซ่ึงสมาคมฯ เป็น แหล่งเผยแพร่ความรู้และมีกิจกรรมอบรมเก่ียวกับการวิจัยเชิงคุณภาพต่อเน่ืองอยู่หลายปี ตั้งแต่งานวิจัยเชิง คุณภาพยังไม่เป็นท่ีรู้จักและแพร่หลาย จนกระทั่งมีนักวิชาการสังคมศาสตร์หันมาใชว้ ิธวี ิจัยเชงิ คุณภาพเพ่ิมขนึ้ เร่ือยๆ สถาบันวิจัยสังคม ยังเป็นแหล่งศึกษาวิจัยสงั คมศาสตร์ในพ้ืนท่ีชนบท ผ่านโครงการอยุธยาศึกษา และ ต่อมาขยายเป็นเชียงใหม่ศึกษา ขอนแก่นศึกษา ฯลฯ งานศึกษาชนบททาให้สถาบันวิจัยสังคม ได้ร่วมเป็นต้น กาเนิดแนวคิดและแนวปฏิบัติใหม่ๆ เช่น แนวคิดป่าชุมชน แนวคิดภูมิปัญญาท้องถ่ิน ฯลฯ ในระยะต่อมา นอกจากจะมงี านเกี่ยวกบั พนื้ ท่ีชนบทและเกษตรกรรมแล้วยังมงี านเก่ียวกับกลุ่มชนพนื้ เมือง แรงงานนอกระบบ คนจนเมือง กลมุ่ ผดู้ ้อยอานาจในสงั คม ฯลฯ ในช่วงทศวรรษ 2550 เปน็ ตน้ มา สถาบันวจิ ยั สังคม ใหค้ วามสาคญั ต่อโจทย์วิจัยด้านการลดความเหล่อื มล้าและสร้างความเป็นธรรมทางสังคม และการเปล่ียนผ่านของสังคมไปสู่ การพัฒนาอยา่ งยง่ั ยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) 1 |สถาบนั วิจยั สงั คม

แผนภาพที่ 1 แสดงพัฒนาการของงานในสถาบนั วิจัยสงั คม วิสัยทศั น์ สถาบันวิจัยสังคม มุ่งสร้างองค์ความรู้จากงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ เป็นศูนย์ข้อมูลท่ีสังคมอ้างอิงได้ ในปญั หาสังคมร่วมสมยั และนาความร้มู าใชใ้ นการเสนอแนวทางพฒั นาสงั คมทเี่ ป็นธรรมและยัง่ ยืน พันธกิจ มุ่งแสวงหาความรู้และความเข้าใจในกระบวนการทางสังคม ท้ังด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา วฒั นธรรมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนผลกระทบทีเ่ กิดจากการเปลีย่ นแปลงดังกลา่ ว สรา้ งองค์ความรู้ และเปน็ แหล่งเรียนรทู้ างการวิจัยสงั คมศาสตร์ ส่งเสรมิ ให้นักวจิ ัยมคี วามเปน็ เลศิ ดา้ นงานวจิ ยั ผลติ งานวชิ าการ และงานเชิงนโยบาย มีงานติดตามพลวัตการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและร่วมพลังภาคีการขับเคลื่อนทางสังคม โดยการเปดิ พ้ืนท่กี ารถกเถียงเพื่อสรา้ งทางเลอื กในการพัฒนาและทางเลือกเชิงนโยบาย 2 |สถาบันวจิ ยั สังคม

แผนภาพที่ แสดงภารกจิ 4 ประการของสถาบนั วิจยั สงั คม ภารกิจหลักของสถาบันวิจยั สังคม 1. สร้างองค์ความรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางการวิจัยสังคมศาสตร์ ส่งเสริมและผลักดันงานวิจัยเพ่ือ สร้างและทบทวนความรู้ และก้าวสู่การพัฒนาปัญญา/วิชาการ จัดหาแนวทางเผยแพร่ผลักดันงานวิจัยไปสู่ กล่มุ เปา้ หมายทีห่ ลากหลายให้เหมาะสม อย่างต่อเนื่องและเปน็ ระบบ 2. ดูแลบ่มเพาะ ส่งเสริมให้บุคลากรมีความรักและเห็นคุณประโยชน์ในงานวิจัย รวมท้ังได้รับการ สนับสนุนในการพัฒนาทักษะและคุณธรรมทางวิชาการ ซึ่งจะนาไปสู่ความเป็นเลิศด้านงานวิจัย ส่งเสริมการ ผลิตงานวชิ าการ การเผยแพรผ่ ลงานวจิ ยั งานเชงิ นโยบาย และความรเู้ พือ่ สาธารณะ 3. เสาะแสวงการประยุกต์ มีงานติดตามพลวัตการเปล่ียนแปลงทางสังคมและร่วมพลังภาคีการ ขับเคลื่อนทางสังคม มีการนาผลงานวิจัยไปสร้างคุณค่าแก่สังคม ค้นหาหนทางประยุกต์งานวิจัยให้เป็น ประโยชนแ์ กช่ มุ ชนและสงั คม 4. รุกร่วมภาคี สร้างเครือข่ายพันธมิตรเชิงรุกในการทาวิจัยร่วมกับองค์กรอ่ืนทั้งภายในและภายนอก ท้ังภาครัฐ ชุมชน วิชาการ ภาคส่ือมวลชน เอกชน และนโยบาย มีการทางานแบบเครือข่าย เปิดพื้นที่การ ถกเถียงเพื่อสร้างทางเลือกในการพัฒนาและทางเลือกเชิงนโยบาย เพื่อท่ีจะนาไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนา สังคมอย่างย่ังยนื 3 |สถาบันวิจยั สงั คม

กลุ่มวิจัย หน่วยปฏบิ ตั ิการวิจยั (RU) 1. ชุมชนและสิง่ แวดลอ้ ม 1. ชนพน้ื เมอื งและทางเลอื กการพฒั นา 2. พลวัตวัฒนธรรมและชาติพนั ธ์ุ 2. ความมน่ั คงของมนษุ ยแ์ ละความเทา่ เทียม 3. ความม่นั คงของมนุษยก์ ับการพฒั นา 3. สังคมชาวนาร่วมสมัย 4. สทิ ธแิ ละความเป็นธรรมทางสงั คม กลุ่มวจิ ัยและหนว่ ยปฏิบตั กิ ารวิจัย สถาบันวิจัยสังคมได้แบง่ งานและความเช่ยี วชาญออกเปน็ 4 กลมุ่ วิจัย โดยมีรายละเอียดดงั นี้ 1. กลมุ่ วิจัยชมุ ชนและสงิ่ แวดล้อม กลุ่มงานวิจัยชุมชนและสิ่งแวดล้อมมุ่งการวิจัยเก่ียวกับจัดการทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม การมีส่วนร่วมของชุมชน การวิจัยชุมชน การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การวิจัยเชิงปริมาณทาง สังคมศาสตร์ การประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม การจัดการองค์กร รวมถึงการจัดการความรู้ และเทคโนโลยกี ารศึกษาการวิจัย 2. กล่มุ วิจัยพลวตั วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ กลุ่มวิจัยพลวัตวัฒนธรรมและชาติพันธ์ุ มีจุดมุ่งหมายศึกษาวิจัยเก่ียวกับการเปล่ียนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม การปรับตัวและการเปล่ียนผ่านของผู้คน/ชุมชนสู่สังคมสมัยใหม่ ความเป็นชาติพันธ์ุในสังคมร่วม สมัย และทางเลือกการพัฒนาในบริบทของวัฒนธรรม ภายใต้กลุม่ วจิ ัยนี้ มี “หน่วยปฏบิ ัตกิ ารวิจยั ชนพน้ื เมือง และทางเลือกการพัฒนา” ท่ีได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย 3. กลุ่มวิจยั ความมน่ั คงของมนษุ ย์กบั การพัฒนา กลุ่มวิจัยความมั่นคงของมนุษย์ดับการพัฒนามุ่งศึกษาสถานการณ์ความไม่มั่นคงของมนุษย์เน่ืองจาก สภาพความเปล่ียนแปลงของสังคม และผลจากการพัฒนาจากอดีตจนถึงปัจจุบันในทุกกลุ่มประชากร โดย อาศัยความรู้แบบสหสาขาวิชาเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และแนวทางการสร้างข้อเสนอแนะเ ชิงนโยบายต่อการ สรา้ งความมั่นคงของมนษุ ย์ 4. กลมุ่ วิจยั สิทธิและความเป็นธรรมทางสังคม กลุ่มวิจัยสิทธิและความเป็นธรรมทางสังคม มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิจัยสถานการณ์เรื่องสิทธิและ ความเป็นธรรมทางสังคมของคนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมไทย โดยเฉพาะกลุ่มผู้เปราะบาง ผู้มีรายได้น้อย ผู้ด้อยโอกาส และแรงงานนอกระบบ โดยครอบคลุมถึงมิติด้านชีวิตความเป็นอยู่ ความมั่นคงในอาชีพและ รายได้ ความม่นั คงในที่อยู่อาศยั สขุ ภาพและความปลอดภัยในการทางาน และความเส่ียงต่างๆ 4 |สถาบันวจิ ยั สังคม

นอกจากกลุ่มวิจัยแล้ว ยังมีการก่อตั้งหน่วยปฏิบัติการวิจัย (Research Unit หรือ RU) ท่ีได้รับการ สนับสนุนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3 หน่วยฯ เพ่ือพัฒนาความเช่ียวชาญด้านสังคมศาสตร์ในเชิงลึก ดังต่อไปนี้ 1. หนว่ ยปฏิบตั กิ ารวจิ ัยชนพ้นื เมอื งและทางเลือกการพัฒนา ภารกิจของหน่วยฯ คือ “ศึกษาวิจัย ให้ข้อมูลความรู้ นาสู่นโยบาย สร้างเครือข่ายความร่วมมือ” หน่วยฯ มุ่งท่ีจะดาเนินงานศึกษาวิจัย รวมทั้งงานปฏิบัติการเกี่ยวกับชนพ้ืนเมือง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ เร่ืองทางเลือกการพัฒนา ผลักดันกระบวนการนโยบายท่ีเอ้ือต่อการคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรม และสร้าง เครือขา่ ยความรว่ มมอื ในงานที่เก่ียวกับชนพ้นื เมืองท่เี น้นการสรา้ งความรู้ความเขา้ ใจและส่งเสริมใหส้ าธารณชน ตระหนกั ในคณุ ค่าของวิถีชนพ้นื เมอื งและความหลากหลายของวัฒนธรรมในสงั คมไทย 2. หน่วยปฏบิ ัตกิ ารวิจัยสงั คมชาวนาร่วมสมัย จัดต้ังขึ้นโดยมีพันธกิจในการสร้างองค์ความรู้เชื่อมโยงกับนโยบายและการปฏิบัติการในระดับพื้นท่ี เพ่ือเสริมพลังการปรับโครงสร้างสังคมชาวนาอย่างย่ังยืน รวมถึงการสร้างเครือข่ายงานวิจัยในระดับชาติและ อาเซียน ภายใต้วัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) การพัฒนางานวิจัยพื้นฐานและประยุกต์ ทั้งจากฐานข้อมูลท่ี มี องค์ความรู้จากท้องถิ่น และสารวจองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อเช่ือมโยงกับการเปล่ียนแปลงโครงสร้างสังคมและ การปรับตัวของชาวนาปัจจุบัน 2) ปฏิบัติการเชื่อมโยงการวิจัยสู่การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายอย่าง ยงั่ ยนื รวมถงึ ติดตามและรายงานผลท่เี กดิ ขึน้ จากนโยบายของรัฐเก่ยี วกบั ชาวนาอยา่ งต่อเนอ่ื ง 3. หนว่ ยปฏิบัติการวิจัยความมนั่ คงของมนุษย์และความเท่าเทยี ม เป็นการรวมตัวกันของนักวิจัยกลุ่มหน่ึงภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากสถาบันวิจัยสังคม สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม สานักวิชาทรัพยากรการเกษตร ร่วมกับเครือข่ายนักวิจัยภายนอก โดยศูนย์วิชาการเพื่อสังคมเป็นธรรม เพ่ือบูรณาการงานวิจัยด้านความมั่นคงของมนุษย์และความเท่าเ ทียม ผ่าน 4 กลุ่มประเด็น ได้แก่ 1) กลุ่มประชากรชายขอบ 2) เกษตรและทรัพยากร 3) สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว และการจัดการภยั พิบตั ิ 4) ศาสนา สารเสพตดิ โดยมเี ปา้ หมายเพอ่ื สง่ เสริมความมน่ั คงของมนุษย์และความเท่า เทียม บนพ้ืนฐานของการสร้างองค์ความรู้ การสื่อสารสู่ความตระหนักรู้ และเปิดพ้ืนท่ีทางปัญญาร่วมกันของ ทกุ ภาคส่วน นอกจากกลุ่มวิจัย 4 กลุ่ม และหน่วยปฏิบัติการวิจัย 3 หน่วยแล้ว ยังมีการเตรียมการจัดตั้ง RU “หน่วยปฏิบัติการวิจัยการขับเคลื่อน BCG สู่การพัฒนาอย่างย่ังยืน” และ STAR: Special Task Force for Activating Research คือ “กลุ่มขับเคล่ือนการวิจัยนวัตกรรมทางสังคมท่ีท่ัวถึงสาหรับเศรษฐกิจนอก ระบบ” สถาบันวิจัยสังคมทางานวิจัยประเด็นท่ีเป็นสถานการณ์เร่งด่วน เช่น สถานการณ์และผลกระทบด้าน สังคมและวัฒนธรรมในระหว่างและหลังการระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมท้ังประเด็นการยกระดับสุขภาวะ และคณุ ภาพชีวิตในสถานที่ทางาน และกลมุ่ ประชากรเฉพาะ 5 |สถาบันวจิ ยั สังคม

ทศิ ทางวจิ ยั ของสถาบนั วจิ ัยสงั คม- เสน้ ทางตอ่ จากนไ้ี ป สถาบันวิจัยสังคม ได้กาหนดยุทธศาสตร์การวิจัยเพื่อพัฒนาให้เป็นองค์กรวิจยั ทางสังคมของประเทศ โดยไดก้ าหนดแผนงานจานวน 5 แผนงาน คอื แผนสง่ เสริมการวิจัยเพอ่ื ความเป็นเลิศ แผนสง่ เสรมิ การวจิ ยั เพ่ือ แกป้ ัญหาสังคม แผนส่งเสรมิ ความเขม้ แข็งของกลุ่มวจิ ัย และแผนส่งเสริมการวิจัยสหศาสตร์และพฒั นาบัณฑิต สหสาขาที่มีคุณภาพ และสามารถตอบสนองความต้องการของสังคม แผนบริการวิชาการเพื่อพันธกิจสัมพันธ์ กับสงั คม แผนภาพที่ 2 ยทุ ธศาสตรว์ จิ ัยของสถาบนั วิจยั สังคม จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย นอกจากแผนงานดังกล่าวแล้ว สถาบันวิจัยสังคม ยังมุ่งขับเคล่ือนงานวิจัยที่เป็นนวัตกรรมทางสังคม และนวัตกรรมเชิงนโยบายเพ่ือสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) อีกด้วย โดยก่อนท่ีสหประชาชาติจะกาหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ย่ังยืน สถาบันวิจัยสังคม ยังได้มีส่วนศึกษาวิจัยเพื่อรวบรวมความคิดเห็นจากกลุ่มประชากรชายขอบในประเทศไทย เรื่อง “วาระการ พัฒนาหลังปี พ.ศ. 2558” ซึ่งข้อสรุปหลักคือการเอาคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา การมุ่งเป้าความเสมอภาค ทางสังคม การเปิดฐานคิดร่วมทางนโยบาย และการสร้างการพัฒนาท่ีย่ังยืนท่ีประสานความรู้ท้องถ่ินกับ ธรรมชาติให้สมดุลกัน 6 |สถาบนั วิจยั สงั คม

งานดา้ นวิชาการและเผยแพรแ่ ละงานดา้ นการเรียนการอสน สถาบันวิจยั สังคมเผยแพร่งานวิชาการผา่ นชอ่ งทางต่างๆ ท่ีสาคญั คือการผลิตวารสารวจิ ยั สังคมตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2520 ถึงปัจจุบัน เพื่อเผยแพร่ความรู้ในรูปของบทความจากผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์หรือบทความ วิชาการด้านสังคมศาสตร์ การพัฒนาสังคม การวิจัยทางสังคม ฯลฯ ในปัจจุบันวารสารวิจัยสังคมกาหนด ออกเป็นประจาปีละ 2 ฉบับ สาหรับงานด้านการเรียนการสอน สถาบันวิจัยสังคมร่วมกับคณะและ สถาบันวิจัยอ่ืนๆ ในการร่วมจัดการเรียนการสอน 2 หลักสูตร คือหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์ และสังคม (สหสาขาวิชา) และหลักสูตรสหสาขานานาชาติ มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาส่ิงแวดล้อม การพัฒนา และความย่งั ยนื ผลงานเดน่ ของสถาบันวิจยั สงั คม นักวิจยั สถาบันวจิ ยั สงั คม ไดร้ ับรางวลั ระดบั ชาติ อาจารย์ ดร.นฤมล อรุโณทยั อาจารยป์ ระจากลมุ่ วิจัยพลวัตวฒั นธรรมและชาตพิ ันธ์ุ สถาบนั วิจยั สังคม ได้รบั รางวัลนกั วิจยั ดเี ด่นแห่งชาติ ประจาปี 2559 สาขาสงั คมวิทยา จากสานักงาน คณะกรรมการวจิ ยั แหง่ ชาติ (วช.) นักวิจัยประจาสถาบันวิจัยสังคม คือ ดร.นฤมล อรุโณทัย ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจาปี พ.ศ. 2559 โดยมีผลงานวิจัยด้านมานุษยวิทยาทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาวเล/ชนพื้นเมืองทางทะเล จากการศึกษาวิถีชีวิต ปรัชญาชีวิต ภูมิปัญญา รูปแบบการทามาหากินลักษณะของสังคมวัฒนธรรมท่ีมีความ เฉพาะ จนกระท่ังกลุ่มชาวเลเปน็ ทรี่ ู้จักและได้รบั การผนวกอยู่ในนโยบายรฐั ท่ีเก่ียวข้อง เช่น มตคิ ณะรฐั มนตรี เมื่อปี 2553 เพือ่ ฟน้ื ฟวู ิถีชีวิตชาวเล และเกดิ ความพยายามทีจ่ ะปกป้องคุ้มครองวิถวี ัฒนธรรมของชนพื้นเมือง และกลมุ่ ชาตพิ นั ธ์อุ ื่นๆ ด้วย การศึกษาวิจัยส่งผลนอกเหนือจากในแง่วิชาการและนโยบาย เพราะได้กระตุ้นให้เกิดเครือข่ายการ ทางานเร่ืองกลุ่มชาติพันธ์ุโดยความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา ภาคชุมชน ภาคองค์กรมหาชน ภาคส่ือมวลชน และภาคนโยบาย นับว่าเป็นงานวิจัยที่ส่งผลกระทบเชิงกวา้ งและลึก ทาให้เกิดเครือข่ายความ ร่วมมือทางานในประเด็นทถี่ ูกละเลย โดยเฉพาะในมติ ิทางวฒั นธรรม 7 |สถาบนั วจิ ยั สงั คม

ผลงานวิจยั ท่ีนาไปใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบายหรอื เชิงปฏิบตั กิ าร 1) โครงการแนวทางการขับเคล่ือนชุมชนสู่การเป็นชุมชนคาร์บอนต่า ภายใต้โครงการการเตรียมการ ชุมชนอัจฉริยะ เพ่ือการปรับตัวต่อการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ (กลุ่มวิจัยชุมชนและ ส่ิงแวดล้อม สนับสนุนโดยกองทนุ รชั ดาภเิ ษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั 2559) งานวิจัยน้ีศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสาเร็จของการริเร่ิมกระบวนการพันธกิจสัมพันธ์ของชุมชน (Community Engagement Initiative) และเสนอแนะแนวทางในการขับเคลื่อนกรุงเทพมหานครสู่การเป็น มหานครคาร์บอนต่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสาเร็จมากท่ีสุด ได้แก่ การให้นัยสาคัญต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ และการมีสว่ นร่วมของชุมชน ขอ้ เสนอแนะแบง่ เป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรก มีมาตรการสง่ เสริมใหป้ ระชาชนให้ความสาคัญและสร้าง ความรู้สกึ ต้องรบั ผดิ ชอบที่ต้องตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสร้างความผูกพัน การรวม เป็นหน่ึงและความไว้เนื้อเชื่อใจกันในชุมชน อันเป็นพลังบวกที่สาคัญ ส่วนในระยะถัดไป เน้นพัฒนากลไก สนับสนนุ ใหเ้ กิดการริเรม่ิ กระบวนการท้ังในทางโครงสร้างเชงิ สถาบนั และสนับสนนุ ทรัพยากรที่จาเป็น 2) โครงการศกึ ษาวิจัยการทอ่ งเทย่ี ววิถีเกษตร ชุมชน “ลานตากฟา้ -คลองโยง” จงั หวัดนครปฐม (กลุ่มวิจัย พลวัตวฒั นธรรมและชาตพิ ันธ์ุ สนับสนุนโดยสานักงานกองทุนสนบั สนุนการวิจัย 2561-2562) โครงการน้ีมงุ่ ร้ือฟืน้ คุณคา่ และค้นหาองค์ความรู้และจุดเด่นของวิถเี กษตรกรรมของชมุ ชนลานตากฟ้า- คลองโยง สง่ เสริมการรวมกลมุ่ และการส่ือความหมายเพื่อพัฒนาชุมชนเปน็ แหล่งเรยี นรแู้ ละแหลง่ ทอ่ งเทีย่ วเชิง สรา้ งสรรคว์ ิถีเกษตรกรรมบนฐานทรพั ยากรทอ้ งถนิ่ ที่มีการบรหิ ารจัดการโดยชุมชนเปน็ หลกั ผลที่ได้จากโครงการน้ี นอกจากจะได้ร้ือฟ้ืนประเพณีกินข้าวใหม่หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวให้กลับมาแล้ว ยังได้ผลิตคู่มือเส้นทางการท่องเท่ียวและจุดสนใจซ่ึงจะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ชุมชนได้ตรวจสอบและค้นหาข้อมูล เพิ่มเติมต่อไป นอกจากน้ีก็ยังมีผลผลิตท่ีเป็นแผนที่ และโปรแกรมการท่องเท่ียว มีการอบรมกลุ่มยุว มคั คเุ ทศกท์ ี่เป็นบุตรหลานของเกษตรกร และมีการพฒั นาหลักสูตรท้องถ่ินเร่ืองวิถีข้าว/วิถีเกษตรกรรม ท่เี ป็น การบรู ณาการการเรยี นการสอนระหวา่ งชมุ ชนทอ้ งถน่ิ กับโรงเรียน 8 |สถาบันวิจัยสงั คม

3) โครงการศึกษาผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19 ที่มีต่อแรงงานนอกระบบกลุ่มต่าง ๆ ในประเทศ ไทย (กลุม่ วจิ ยั สทิ ธิและความเปน็ ธรรมทางสังคม สนับสนุนโดยเงินกองทุนสถาบันวิจัยสังคม 2563) โครงการน้ีตดิ ตามสถานการณ์ มาตรการ ผลกระทบ และการปรบั ตวั ของแรงงานนอกระบบกลุ่มต่างๆ ต้ังแตม่ ีการระบาดของโควิด-19 และศึกษามาตรการต่างๆ ทีม่ ีต่อแรงงานนอกระบบในพน้ื ทเี่ มือง เช่น กลมุ่ หาบ เร่แผงลอยในกรุงเทพมหานคร ซึง่ กอ่ นโควิด-19 กไ็ ด้รับผลกระทบจากการนโยบายการจดั ระเบียบทางเท้า และ ขาดความมั่นคงในอาชพี กลุม่ ผขู้ บั รถจักรยานยนต์รับจ้าง ซง่ึ บางสว่ นใชเ้ วลาในการทางานเพมิ่ ข้นึ เข้าสู่ระบบ แพล็ตฟอรม์ บริการรบั สง่ อาหารแต่กลบั ไม่ไดร้ บั การคุ้มครองทางกฏหมาย ลกู จ้างงานนวด ลกู จ้างเสรมิ สวย เมอื่ มีการใหห้ ยดุ การประกอบกิจการทาให้กลมุ่ แรงงานดังกลา่ วขาดรายได้ลงทันที ย่งิ กลมุ่ แรงงานนอกระบบทเ่ี ปน็ ผู้พกิ าร ผู้สูงอายุ ฯลฯ ก็ยิ่งไดร้ ับผลกระทบมากขนึ้ งานวิจัยเรื่องนี้ทาร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านแรงงานนอกระบบและผู้ด้อยโอกาส องค์กรทางานด้านแรงงานและการพัฒนาที่อยู่อาศัยของคนจนเมือง และเครือข่ายองค์กรอาชีพแรงงานนอก ระบบเช่น มูลนิธิเพ่ือการพัฒนาแรงงานและอาชีพ เครือข่ายสลัมส่ีภาค กลุ่มแรงงานนอกระบบในเมือง สมาพันธ์แรงงานนอกระบบ และเครือข่ายอาชีพแรงงานนอกระบบ เป็นต้น เพื่อร่วมขับเคล่ือนสังคมให้กลุ่ม ชายขอบเหล่านี้มีพน้ื ที่ทางสิทธิและการดารงชพี ท่ีมีความเป็นธรรมท่มี ากข้นึ 4) โครงการวจิ ัยเชงิ ปฏิบตั กิ ารเพอ่ื ฟื้นฟูวถิ ีชีวิตชาวเล (หนว่ ยปฏบิ ตั ิการวิจัยชนพน้ื เมอื งและทางเลือกการ พฒั นา สนบั สนุนโดยศูนยม์ านษุ ยวทิ ยาสริ นิ ธร (องค์การมหาชน) 2557-2563) โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนรายปีต่อเนื่อง จาก ทาให้สามารถจะขยายงานเก็บข้อมูลและทางานวิจัยเชิงปฏิบัติการได้ในหลายชุมชน งานส่วนใหญ่เป็น การเก็บข้อมูลประวัติชุมชนและส่งเสริมความตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรมผ่านกิจกรรมท่ีเกี่ยวกับการ ท่องเท่ียว เช่น การทาประวัติและจุดสนใจชุมชน การพัฒนาโปรแกรม “ชาวเลพาเท่ียว” การทดลองนาเทยี่ ว การอบรมยุวมัคคุเทศก์ ฯลฯ ซ่ึงนอกจากเป็นการฟื้นฟูวิถีชีวิตแล้ว ยังสร้างความภูมิใจในมรดกวัฒนธรรมท่ี เช่ือมโยงกับระบบนิเวศชายฝ่ังทะเล และเน้นย้าหลักการพัฒนาอย่างย่ังยืนโดยเฉพาะอย่างย่ิงในช่วงเวลา ปัจจุบันที่ชุมชนกาลงั เผชญิ กับกระแสการเปลยี่ นแปลงจากปัจจัยภายในและภายนอก 9 |สถาบนั วิจัยสังคม

5) โครงการพัฒนากระบวนกรและความรู้บนฐานปฏิบัติการสู่ความเป็นธรรมทางสุขภาพ (หน่วย ปฏิบัติการวิจัยความม่ันคงของมนุษย์และความเท่าเทียม สนับสนุนโดยสานักงานกองทุนสนับสนุนการ สรา้ งเสริมสุขภาพ 2561-2562) ความมุ่งหวังของโครงการเชิงปฏิบัติการช้ินน้ีต้องการอธิบาย เผยแพร่ และสร้างความเข้าใจร่วมเร่ือง ความเป็นธรรมทางสุขภาพผ่านกรอบคิดเร่ืองความเป็นธรรมทางสังคม (Social Justice) และปัจจัยสังคม กาหนดสุขภาพ (Social Determinant of health: SDH) ให้กลับกลุ่มคนที่ทางานด้านสุขภาพ คนทางาน ด้านสังคมและคนท่ัวไป เพ่ือนาไปสู่การสร้างสังความท่ีเป็นธรรม โครงการดาเนินการผ่านการสร้าง องค์ความรู้ พัฒนากระบวนการเรียนรู้ ทดสอบกระบวนการเรียนรู้ และส่งออกความรู้ผ่านการอบรม (workshop & Training) และสุดท้ายสร้างวิทยากรกระบวนการ (Facilitator) เพ่ือเป็นตัวคูณในการสร้าง ความเขา้ ใจที่มากข้นึ โครงการพัฒนากระบวนกรฯ นอกจากสามารถพัฒนาเป็นหลักสูตรการอบรมวิทยากร และหลักสูตร อบรมความเป็นธรรมทางสังคมและความเป็นธรรมทางสุขภาพสาหรบั คนกลมุ่ ต่างๆ แลว้ ยังพัฒนาเปน็ รายวิชา ระดบั บัณฑติ ศกึ ษาในหลักสูตรพัฒนามนษุ ยแ์ ละสงั คม ช่อื ความเปน็ ธรรมทางสงั คมและความม่ันคงของมนุษย์ (Social Justice and Human Security) 6) การศึกษาวิจัยเพ่ือลดความเหลื่อมล้าและสร้างความเป็นธรรมทางสังคม (สนับสนุนโดยหลายแหลง่ ทนุ 2557-ปัจจบุ นั ) การวิจัยเพ่ือลดความเหล่ือมล้าและสร้างความเป็นธรรมทางสังคม ถือเป็นหัวข้อการศึกษาวิจัยหลักที่ สถาบันวิจัยสังคมดาเนินการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง จากหลายแห่งทุน จุดเร่ิมต้นจากโครงการสร้างความเป็น ธรรมทางสังคมด้านสุขภาวะ ซึ่งสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้การสนับสนุน ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา และต่อมาสถาบันได้รับการสนับสนุนจากสานกั งานกองทุนสนับสนุนการวจิ ัย (สกว.) หรือสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมิวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ในปัจจุบัน ให้ดาเนินการวิจัย 10 |สถาบันวิจัยสังคม

เร่ืองยุทธศาสตร์การวิจัยเพ่ือลดความเหลื่อมล้าและสร้างความเป็นธรรม ซึ่งดาเนินการมาเป็นระยะเวลา 3 ปี ต่อเนื่อง โครงการวิจัยเพ่ือลดความเหลื่อมล้าและสร้างความเป็นธรรม มีลักษณะร่วมกันตรงท่ีเป็นชุด โครงการวิจัย มีการวิจัยข้ามภาคส่วน (intersectoral research) มีการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (multi-stakeholder) หลายฝ่าย การวิจัยเชื่อมโยงกับปฏิบัติการทางสังคม และขบวนการเคล่ือนไหวในภาค ประชาสังคมที่มีอยู่แล้ว และเชื่อมโยงปัญหาความเหล่ือมล้าในสังคมปัจจุบันกับการศึกษาวิจัยและการ ขบั เคลือ่ นนโยบาย จุดเด่นสาคัญของงานวิจัยชุดน้ีคือมีการสื่อสารความรู้กับสาธารณะผ่านสื่อต่างๆ ภายใต้โครงการ ขับเคลื่อนความรู้และส่ือสารสังคมเพื่อลดความเหล่ือมล้าและสร้างความเป็นธรรมทางสังคม ที่ได้รับการ สนับสนุนจาก สกสว. รวมไปถึงความพยายามในการสรา้ งเสริมศักยภาพและเครือข่ายนักวิชาการ/นักวจิ ัยเพ่อื ลดความเหล่อื มลา้ ทางสังคมดว้ ย ตัวอย่างการจัดเวทสี ่อื สารสาธารณะเพ่ือลดความเหลอ่ื มลา้ และสร้างความเป็นธรรมทางสังคม การประชมุ วชิ าการขับเคลอ่ื นประเด็นสาคญั ทางสังคม 1. งานประชุมสถานการณ์และนโยบาย เรอ่ื ง “ชมุ ชนพ้ืนเมืองกบั อีกทางเลอื งทางรอดของสังคม” หน่วยปฎิบัติการวิจัยชนพื้นเมืองและทางเลือกการพัฒนา ร่วมกับ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย ฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ได้จัดเสวนาในชุดชุมชนพ้ืนเมือง ซ่ึงการเสวนาครั้งแรก (เมษายน 2562) เป็นเร่ือง “สถานการณ์และนโยบายเรื่องชุมชนพ้ืนเมือง กรณีชาวไอนุของญ่ีปุ่น และชาวมอแกนของไทย” เพื่อให้เกิด การแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้เก่ียวกับสถานการณ์ นโยบาย และแนวทางส่งเสริมวิถีวัฒนธรรม วิธีคิด และ บทเรียนจากชุมชนพื้นเมือง ย้อนคิดบทเรียนจากการทางานกับชุมชนพ้ืนเมือง และการใช้สถานการณ์ชม พ้ืนเมืองเพอ่ื การเรียนรรู้ ว่ มกนั ของสังคม 11 |สถาบันวิจยั สงั คม

2. งานเวทเี สวนาวชิ าการ “ข้าวใหม่ ข้าวพ้ืนบ้าน ในสถานการณ์วิกฤตขา้ วและชาวนาไทย” สถาบันวิจัยสังคม ร่วมกับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส มูลนิธิเกษตรกรรมย่ังยืน สถาบันพัฒนาองค์กร ชุมชน (องค์การมหาชน) และองค์กรภาคีเครือข่ายต่างๆ จัดเวทีเสวนา “ข้าวใหม่ ข้าวพื้นบ้านในสถานการณ์ วิกฤติข้าวและชาวนาไทย” (ธันวาคม 2562) เพื่อแลกเปล่ียนองค์ความรู้ เรื่องการอนุรักษ์สายพันธุ์ข้าว ประวัติศาสตร์ ความสมั พันธต์ อ่ สงั คม และสนุ ทรยี ในการรบั รสทต่ี ่างกันตามความหลากหลายของสายพนั ธุข์ ้าว 3. งานเวทีสอื่ สารสาธารณะเพื่อคนไร้บา้ น \"Human of Street: เราลว้ นเปราะบางกลางเมืองใหญ\"่ แ ผ น ง า น พั ฒ น า อ ง ค์ ค ว า ม รู้ แ ล ะ ป ร ะ ส า น ยุ ท ธ ศ า ส ต ร์ เ พื่ อ ก า ร ส ร้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า ว ะ ค น ไร้ บ้ า น ภายใตส้ ถาบันวจิ ัยสังคม ร่วมกับภาคีเครือขา่ ยได้จดั งานสื่อสารสาธารณะ ณ หอศิลปวัฒนธรรมเพ่ือสร้างความ เข้าใจและตระหนักต่อประเด็นปัญหาคนไรบ้ ้านทีเ่ ชื่อมโยงกบั ความเป็นเมืองและความเปราะบางทางสงั คม ซง่ึ จะเป็นพื้นฐานในการสร้างการมีส่วนร่วมในการยกระดบั คุณภาพชวี ติ คนไรบ้ ้าน 12 |สถาบันวิจัยสังคม


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook