Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore แนวคิดและหลักการดูแลสุขภาพครอบครัว

แนวคิดและหลักการดูแลสุขภาพครอบครัว

Published by Atiti Watthanachaikiet, 2021-11-25 14:56:40

Description: Community Nursing 2

Search

Read the Text Version

การพยาบาลอนามัยครอบครัว Community Nursing 2

ความหมาย ประเภท บทบาทหน้าที่ของ ครอบครัว ความหมายของครอบครัว หมายถึง การที่บุคคลอยู่ร่วมกัน โดยมีความสัมพันธ์ กันทางสายเลือด การรับเป็นบุตรบุญธรรม หรือการ แต่งงาน” ด้านชีววิทยา “ครอบครัว หมายถึง การที่บุคคลมี ความเกี่ยวข้องกันทางพันธุกรรม” ด้านสังคมวิทยา “ครอบครัว หมายถึง กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ร่วมกัน” ครอบครัว คือ กลุ่มคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่อาศัยอยู่ร่วมกัน หรืออาจไม่ได้อาศัยอยู่ร่วมกันแต่คนเหล่านั้นมีความ คิดว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว และมีการก่อตั้งขึ้น เป็นครอบครัว มีความกี่ยวข้องในการดําเนินชีวิตของกัน และกัน มีเป้ าหมายการดําเนินชีวิตร่วมกัน มีการพึ่งพิง กันทางสังคม เศรษฐกิจ และมีการติดต่อสื่อสาร

ประเภทของครอบครัว 1) ครอบครัวในอดีต เป็ นการอยู่รวมกันของบุคคลที่มีความ สัมพันธ์กันทางสายโลหิตหรือทางการสมรส ได้แก่ บิดา มารดา บุตร รวมถึงเครือญาติที่ อาศัยอยู่ร่วมกัน จำแนกได้ดังนี้ - ครอบครัวเดี่ยว (Nuclear family) หมายถึง ครอบครัวที่ประกอบด้วยสามี ภรรยา และบุตร - ครอบครัวขยาย (Extended family) หมายถึง ครอบครัวที่ร ะกอบด้วย เครือญาติอาศัยอยู่ร่วมกัน

2) ครอบครัวปัจจุบัน ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความ เจริญก้าวหน้ าทางเทคโนโลยี ได้แก่ ครอบครัว เลี้ยงเดี่ยว ที่มีเฉพาะบิดาหรือมารดาที่เลี้ยงบุตร ตามลําพัง ครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัว เพียงคนเดียว

หน้าที่ของครอบครัว (Family functions) 1. การผลิตสมาชิกใหม่ (Reproductive function) ครอบครัวมีหน้ าที่ในการสร้างหรือผลิต สมาชิกใหม่ให้กับสังคม 2. การให้ความรักความเอาใจใส่ (Affective function) เป็นการตอบสนองความต้องการด้าน จิตใจของสมาชิกในครอบครัวเพื่อให้มีสุขภาพจิตดี มีบุคลิกภาพที่มั่นคง

3. การอบรมเลี้ยงดู(Socialization function) หมายถึงกระบวนการพัฒนาแบบแผนพฤติกรรมที่ ต่อเนื่องตลอดชีวิตของสมาชิก เพื่อปลูกฝังส่งเสริม นิสัยที่ดีงาม 4. การเผชิญปั ญหาของครอบครัว (Family coping function) เป็นหน้ าที่ที่สมาชิกในครอบครัวทุกคนต้อง ปฏิบัติเพื่อคงไว้ซึ่งความสมดุลภายในครอบครัว ครอบครัวจะถูกรบกวนจากสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและ ภายนอกตลอดเวลา 4.1 การเผชิญปัญหาภายในครอบครัว คือการที่ ครอบครัวพยายามช่วยเหลือตนเอง มีการปรับ พฤติกรรมเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้ เช่น การผ่อนคลายสถานการณ์โดยใช้อารมณ์ขัน 4.2 การเผชิญปัญหาภายนอกครอบครัว คือ การที่ครอบครัวใช้แหล่งประโยชน์จาก ภายนอกใน เช่น การหาข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เพื่ อประกอบการพิจารณาแก้ปั ญหา

5. การดูแลทางด้านเศรษฐกิจ (Economic function) เป็นหน้ าที่ที่จําเป็น ทุกครอบครัวต้องปฏิบัติเพราะ ครอบครัวต้องมีการจัดหารายได้ที่จะนํ ามาจับจ่าย ใช้สอย 6. การดูแลสุขภาพครอบครัว (Health care function) สมาชิกครอบครัวมีหน้ าที่หลักในการดูแล สุขภาพ การป้ องกันโรค ช่วยเหลือสมาชิกใน ครอบครัวในยามที่เจ็บป่ วย 7. การจัดหาสิ่งจําเป็ นพื้นฐานทางกายภาพสําห รับสมาชิก (Provision of physical necessities) ได้แก่ ปัจจัยสี่ คือ อาหารเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย

แผนภูมิครอบครัว/ผังเครือญาติ(Genogram) และแผนผังนิเวศครอบครัว (Ecomap) 1) แผนภูมิครอบครัว (Genogram) แสดงให้เห็นภาพความซับซ้อนของรูปแบบครอบครัว ในช่วงเวลาที่สำคัญ มักจะเขียนความสัมพันธ์สมาชิก มากกว่า 3 รุ่นขึ้นไป แผนภูมิจะแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ เช่น การเกิด การตาย การ สมรส หารหย่าร้าง การเจ็บป่วย

แผนผังนิเวศครอบครัว / แผนที่ระบบนิเวศ (Ecomap) แสดงความเกี่ยวข้องระหว่างครอบครัวและระบบ อื่นๆ ในสิ่งแวดล้อมด้านนิเวศวิทยา แสดงตามคำ บอกเล่าของสมาชิกในครอบครัว แผนผังนิเวศ ครอบรัวเป็นการวิเคราะห์เครือข่ายครอบครัว เป็น ระบบนิเวศน์หนึ่ งที่รักษาสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อม ภายนอกและภายในครอบครัว บางครั้งต้องเป็น ระบบเปิ ดเพื่ อรับการช่วยเหลือจากสิ่งแวดล้อม ภายนอก

แนวคิด ความหมาย และหลัก สําคัญการพยาบาลครอบครัว แนวคิดการพยาบาลครอบครัว เป็นการดูแลผู้รับ บริการอย่างมีคุณภาพภายใต้สิ่งแวดล้อมของผู้รับ บริการบนแนวคิดของแรงจูงใจ วัฒนธรรม การมี ส่วนร่วมของผู้รับบริการและครอบครัวโดยมี พยาบาลเป็ นผู้อํานวยความสะดวกผ่านวิธีการให้ ความรู้และการพิทักษ์สิทธิ์เพื่อให้ผู้รับบริการมีความ รู้ความเข้าใจ ความหมายการพยาบาล ครอบครัวและพยาบาลครอบครัว การพยาบาลครอบครัว หมายถึง การพยาบาลที่ให้ กับครอบครัวและสมาชิกครอบครัว ทั้งในภาวะ สุขภาพดีและเจ็บป่วย เพื่อส่งเสริมสุขภาพและลด ความทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่ วยของครอบครัว และสมาชิกครอบครัว ช่วยให้สมาชิกและครอบครัว ปรับเข้าสู่ภาวะสมดุลและปฏิบัติบทบาทหน้ าที่ ครอบครัวได้อย่างเหมาะสม และคงไว้ซึ่งความมี ศักดิ์ศรีของครอบครัว

พยาบาลครอบครัว พยาบาลครอบครัว หมายถึง พยาบาลวิชาชีพที่ให้การดูแลองค์รวมที่ มุ่งให้สมาชิกและครอบครัวสามารถจัดการดูแลส่ง เสริมสุขภาพในทุกภาวะสุขภาพ และเผชิญความเจ็บ ป่วยหรือภาวะวิกฤตได้ และเน้ นการทํางานร่วมกัน กับผู้ป่ วยและครอบครัว

หลักสําคัญการพยาบาลครอบครัว 1. การพยาบาลครอบครัวต้องคํานึงถึงประสบการณ์การ ป่วยของครอบครัวทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต 2. การพยาบาลครอบครัวต้องให้ความสําคัญกับ สัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในครอบครัว 3. การพยาบาลครอบครัวครอบคลุมทั้งสมาชิกที่เจ็บป่วย และแข็งแรง 4. พยาบาลครอบครัวต้องสื่อสาร ให้ข้อมูลแก่สมาชิกใน ครอบครัวอย่างครอบคลุม ไม่เบี่ยงเบนข้อมูล 5. การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลสุขภาพเป็น สิ่งสําคัญในการพยาบาลครอบครัว 6. การเสริมสร้างพลังอํานาจให้สมาชิกในครอบครัวมี ความสําคัญต่อสมาชิกที่ป่วย เน้ นการเสริมสร้างพลังอํา นาจครอบครัวให้เป็นเป้ าหมายหลักของการพยาบาล ครอบครัว 7. การพยาบาลครอบครัวต้องคํานึงถึงวัฒนธรรมของ ชุมชนและของครอบครัว พยาบาลครอบครัวที่มี วัฒนธรรม ความเชื่อ ค่านิยม และการปฏิบัติในการดูแล สุขภาพที่แตกต่างกัน 8. การพัฒนาการประสานงานระหว่างครอบครัว พยาบาล และทีมสุขภาพเป็ นสิ่งสําคัญสําหรับการ พยาบาลครอบครัว ทําให้ครอบครัวเกิดผลลัพธ์การ ดูแลที่ดีเกิดประสบการณ์ด้านบวก

บทบาทพยาบาลครอบครัว 1. ผู้ให้การดูแลสุขภาพ (Health care provider) เป็ นผู้จัดและให้การดูแลรักษาพยาบาลที่บ้านแก่ผู้ ป่วยทั้งที่เจ็บป่วยเล็กน้ อยและผู้ที่อยู่ในระยะพักฟื้ น หลังจากได้รับการรักษาในโรงพยาบาล 2. ผู้ค้นหาผู้ป่ วย (Case finder) เป็นการค้นหาผู้ เจ็บป่วย ผู้ที่มีปัญหาหรือต้องการบริการสุขภาพ 3. ผู้ให้ความรู้ด้านสุขภาพ (health educator เป็นการสอน ให้คําแนะนํา และให้สุขศึกษาแก่ ผู้รับบริการ 4. ผู้ให้คําปรึกษา (Counselor) ผู้ป่วยและ ครอบครัวมักมีปัญหาด้านอื่น เช่น ปัญหา ด้านเศรษฐกิจ 5. ผู้ร่วมงาน (Collaborator) เป็นการปฏิบัติงานโดย การตัดสินใจร่วมกับผู้อื่นและสมาชิกในครอบครัว ใน ทุกขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล

6. ผู้ประสานงาน (Coordinator) เพื่อช่วยให้ผู้ป่วย และครอบครัวได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่ อง พยาบาลชุมชนจะต้องทําหน้ าที่เป็นคนกลางระหว่าง ผู้ป่วย ครอบครัว ทีมสหสาขาวิชาชีพ และหน่วยงานอื่น ๆ 7. ผู้จัดการดูแล (Care Manager) โดยการ วางแผน กําหนดทิศทาง ติดตาม ควบคุม กํา กับการจัดการดูแลสุขภาพบุคคล 8. ผู้รักษาประโยชน์หรือพิทักษ์สิทธิ์ของผู้รับ บริการ (Client advocate) ทั้งสิทธิที่พึงมีทั้งใน ระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน เช่น สนับสนุนให้ ผู้พิการได้รับสิทธิผู้พิการ สิทธิสวัสดิการทางสังคม

9. ผู้นํา/ผู้นําการเปลี่ยนแปลง (leader/change agent) เป็นผู้ริเริ่ม โน้ มน้ าวให้มีการตัดสินใจกํา หนดเป้ าหมายแนวทางให้บรรลุเป้ าหมายเพื่อ ปรับปรุงการดูแลสุขภาพ ครอบครัว 10. ผู้วิจัยและนวตกร (researcher/innovator) ทําวิจัยหรือร่วมวิจัยเพื่อค้นคว้าหาความรู้ใหม่มา ปรับปรุงการดูแลสุขภาพครอบครัว

แนวทางที่ใช้ในการพยาบาลครอบครัว การดูแลครอบครัวในฐานะครอบครัวเป็ น บริบท (Family as context) จะเน้ นให้การดูแล สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวที่เป็ นผู้เจ็บป่ วยหรือ มีปั ญหาสุขภาพก่อนให้การดูแลครอบครัวทั้งหมด การดูแลครอบครัวในฐานะครอบครัวเป็ น ผู้รับบริการ (Family as client) จะเน้ น ครอบครัวในภาพรวมเป็ นหน่วยของการดูแล มากกว่าให้ความสําคัญกับการดูแลสุขภาพของ สมาชิกแต่ละคน

การดูแลครอบครัวในฐานะครอบครัวเป็ นระบบ (Family as a system) เน้ นที่ครอบครัวเป็นผู้รับบริการ ดูแลทั้งสมาชิกแต่ละคนและครอบครัวในภาพรวมไปพร้อม ๆ กัน การดูแลครอบครัวในฐานะองค์ประกอบของ สังคม/เป็ นหน่วยหนึ่งของสังคม (Family as acomponent of society) ครอบครัวเป็นหน่วยพื้น ฐานของหน่วยอื่น ๆ ทําให้มีการรับ แลกเปลี่ยน หรือ ให้บริการ การที่ครอบครัวเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม ทํา ให้สังคมมีบทบาทในการกําหนดสภาพครอบครัว การ ปลี่ยนแปลงของสังคมจะมีผลต่อการดําเนินชีวิตของ ครอบครัว

การพยาบาลครอบครัวโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 1. การให้บริการดูแลและการรักษาพยาบาลตัวอย่างต่อ เนื่องในสถานที่ที่ผู้ป่วยมีความคุ้นเคย ซึ่งมักจะเป็น บ้านของผู้ป่ วยหรือครอบครัว 2. ผู้ป่วยและครอบครัวเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง กับ การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพของผู้ป่ วย 3. ปฏิบัติการพยาบาลองค์การดูแลผู้ป่วยให้เป็นไปตาม แผนการรักษาที่มีประสิทธิผล (effectivetreatment) มากกว่าการใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่มีความซับ ซ้อนและยุ่งยาก เป้ าหมายของการพยาบาลครอบครัวโดยใช้ ชุมชนเป็นฐาน คือ การช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการ ดูแลและรักษาพยาบาลอย่างเต็มศักยภาพใน บ้านของผู้ป่ วยเอง

องค์ประกอบสําคัญของปฏิบัติการพยาบาล ครอบครัวที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน 1. การดูแลตนเอง (Self-care) การดูแลรักษาที่บ้าน ผู้ป่ วยและครอบครัวเป็ นผู้รับผิดชอบการดูแลผู้ป่ วย โดยตรง 2. การดูแลด้านป้ องกัน (Preventive care) การ พยาบาลที่ใช้ชุมชนเป็นฐานจะเน้ นการป้ องกันระดับ ทุติยภูมิและตติยภูมิเป็ นหลัก 3. การดูแลและให้การพยาบาลอย่างต่อเนื่อง (Continuity care) การให้การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อ เนื่อง เนื่องจากจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลตาม แผนการรักษา เป็นการช่วยฟื้ นฟูสุขภาพของผู้ป่วย ให้กลับสู่ภาวะปกติหรือใกล้เคียงปกติ 4. การประสานความร่วมมือ (Collaboration) พยาบาลมีบทบาทสําคัญในการเป็นสื่อกลาง เชื่อม โยงและประสานการดูแลผู้ป่ วยกับทีมสหสาขาเพื่ อ ให้การดูแลเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่ วย


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook