Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ระบบบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิและความจำเป็นพื้นฐานด้านสุขภาพของประชาชน

ระบบบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิและความจำเป็นพื้นฐานด้านสุขภาพของประชาชน

Published by Atiti Watthanachaikiet, 2021-11-27 06:51:02

Description: Community Nursing 2

Search

Read the Text Version

ระบบบริการสุขภาพ ในระดับปฐมภูมิ Community Nursing 2

แนวคิดและหลักการของระบบ บริการสุขภาพปฐมภูมิ บริการสุขภาพปฐมภูมิ เน้นบริการด่านหน้าที่ทำหน้าที่คัด กรองผู้ป่วยเพื่อส่งต่อไปรักษาในระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ เป็นหน่วยที่อยู่ใกล้ชุมชนมากที่สุดและเข้าถึงได้ง่ายที่สุด ใช้ ชุมชนเป็นฐาน (Community based) ในการดุแล สุขภาพองค์รวม (Holistic care การบริการพยาบาลในระดับปฐมภูมิ เน้นการจัดบริการใน ชุมชนเพื่อดูแลสุขภาพของประชาชนที่เบ็ดเสร็จ (Comprehensive care) เป็นการดูแลสุขภาพทุกมิติ เป็นองค์รวม ทั้งด้านร่างกายจิตใจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาลและ ฟื้ นฟูสุขภาพ ในคนทุกลุ่มวัย

ลักษณะที่สำคัญของบริการปฐมภูมิ 1.ให้บริการด้านสุขภาพที่ผสมผสานทั้งด้านการส่ง เสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาและฟื้ นฟูสุขภาพ 2.เป็นด่านแรกที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย 3.เน้นให้บริการเชิงรุกเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ 4.ร่วมดูแลสุขภาพกับประชาชนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อน ป่วยขณะป่วย และช่วงฟื้ นฟูสภาพ จนกระทั่งเสียชีวิต 5.ทำหน้าที่ประสานกับหน่วยบริการอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานพยาบาลเฉพาะด้านต่างๆ หน่วยงาน สังคมสงเคราะห์

บริการสุขภาพปฐมภูมิที่พึงประสงค์ ยุติธรรม เท่าเทียม เข้าถึงได้ (Equity - Accessibility) เนื้อหาเล็กน้อย 2.มีคุณภาพ (Quality) ทั้งด้านการแพทย์และการดูแล แบบองค์รวม 3.มีประสิทธิภาพ (Efficiency) ใช้ทรัพยาการให้คุ้มค่า 4.โปร่งใส ตรวจสอบได้(Social Accountability) บริหารจัดการด้วยหลักธรรมมาภิบาล 5.ตอบสนองความต้องการของประชาชน (Responsiveness)

โครงสร้างระบบบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ การจัดเครือข่ายบริการปฐมภูมิโดยให้หน่วยบริการปฐมภูมิเป็น หน่วยบริการประจํา (Autonomous Contracting Unit for Primary Care: CUP) หมายถึง หน่วยบริการปฐมภูมิที่มีศักยภาพ ผ่านเกณฑ์ขึ้น ทะเบียนเป็นหน่วยบริการประจํา ระบบสุขภาพระดับอําเภอ (District Health System : DHS) อยู่ภายใต้การกํากับของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตระดับอําเภอ เป้าหมายที่สําคัญคือ การทําให้ระบบบริการปฐมภูมิมีความ เข้มแข็งโดยมีนักบริบาลสุขภาพ (Caregiver) และผู้จัดการ สุขภาพ (Case Manager) ให้บริการสุขภาพและสังคมอย่าง พอเพียง

ระบบสุขภาพระดับอําเภอ 1.เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพ ตนเองได้มากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถพึ่งตนเองได้ 2.สถานะสุขภาพของประชาชนในอําเภ อดีขึ้น สามารถจัดการปัญหาสุขภาพ ได้ด้วยตนเอง ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล 3. เกิดเ ครือข่ายความร่วมมือในการ จัดการสุขภาพที่เข็มแข็ง มีพลังในการ ขับเคลื่อนการสร้างสุขภาวะ ในอําเภอและพร้อมรับมือกับการ เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น 4. มีบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ ผู้รับบริการมีความพึง พอใจ ผู้ให้บริการมีความสุขในการ ทํางาน

หลักการดําเนินงานระบบสุขภาพระดับอําเภอ 1.การทํางานร่วมกันในระดับอําเภอ (Unity District Health Team) ของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.การมีส่วนร่วมของเครือข่ายและชุมชน (Community participation) เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนใน ระดับอําเภอในทุกขั้นตอน 3. การทํางานจนเกิดคุณค่า ทั้งกับผู้รับบริการและผู้ให้ บริการเอง (Appreciation and Quality) เป็นคุณค่าที่ เกิดขึ้นทั้งฝ่ายผู้ให้บริการและผู้รับบริการ

หน่วยบริการปฐมภูมิ(Primary Care Unit) การบริการปฐมภูมิ (Primary Care) หมายถึงการบริการ ระดับแรกที่อยู่ใกล้ชิดชุมชนมากที่สุด โดยดูแลสุขภาพ ประชาชน ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชมชนอย่างใกล้ ชิด โดยดูแลตั้งแต่ก่อนป่วย ไปจนถึงการดูแลเบื้องต้น เพื่อให้ เกิดชุมชนเข้มแข็ง สําหรับหน่วยบริการปฐมภูมิหรือ Primary Care Unit หมาย ถึง หน่วยบริการที่มีองค์ประกอบทั้งทางด้านสถานที่ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ ระบบการทํางาน และการจัดบริการทั้งในและนอกสถานที่

หน่วยบริการปฐมภูมิในโรงพยาบาลตาม เกณฑ์ 4 หมวด ๑. หมวด 1 ศักยภาพในการจัดระบบบริการให้ประชาชนเข้าถึง a)อยู่ในพื้นที่ที่สะดวกต่อการเข้ารับบริการและเดินทางเฉ ลี่ยนไม่เกิน 30 นาที b) ให้บริการสาธารณสุขแก่ผู้มีสิทธิในพื้นที่รับผิดชอบได้ไม่เกิน 10,000 คน : 1 หน่วยบริกา รปฐมภูมิ c) เปิดให้บริการสาธารณสุขแก่ผู้มีสิทธิ์ในพื้นที่รับผิดชอบ ทุกวัน และรวมเวลา ให้บริการแล้วไม่น้อยกว่า 56 ชั่วโมง/ สัปดาห์

๒. หมวด 2 จัดบริการระดับปฐมภูมิได้ครบถ้วน ครอบคลุม ประเภท และขอบเขตของบริการสาธารณสุข a) บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วยตามหลัก เวชศาสตร์ครอบครัว เวชศาสตร์ชุมชน ได้อย่างครบถ้วน b) บริการตรวจวินิจฉัยโรคและรักษาพยาบาล ตามหลักเวชศาสตร์ครอบครัว ได้อย่างเป็นองค์รวม c) บริการเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมาย การติดตามดูแลผู้ป่วย ผู้สูงอายุ และคน พิการรวมถึงการดูแลระยะสุดท้ายของ ชีวิตที่บ้าน d) บริการทันตกรรม อย่างเป็นองค์รวม e) อาจมีบริการเภสัชกรรมปฐมภูมิบริการกายภาพบําบัด บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่มีระบบประกันคุณภาพโดย วิชาชีพ และ หรือมีระบบส่งต่อไปยังสถานบริการอื่นที่ผ่าน การรับรองระบบคุณภาพ

๓. หมวด 3 บุคลากร a) มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวหรือแพทย์ที่มีสมรรถนะด้าน เวชศาสตร์ครอบครัว อย่างน้อย 1 คนต่อผู้มีสิทธิ์ในพื้นที่รับผิด ชอบไม่เกิน 10,000 คน b) พยาบาลวิชาชีพ หรือพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป/พยาบาล เวชศาสตร์ครอบครัว ปฏิบัติงานประจํา อย่างน้อย 1 คน ต่อ ผู้มี สิทธิ์ UC ที่ลงทะเบียน ไม่เกิน 5,000 คน โดยต้องเป็น พยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป หรือทั่วไป/พยาบาลเวชศาสตร์ครอบครัว อย่างน้อย 1 คน c) บุคลากรด้านสาธารณสุข ปฏิบัติงานประจํา จํานวน 3 คน ต่อ ผู้มีสิทธิ์ UC ที่ลงทะเบียนไม่เกิน 5,000 คน d) ทันตแพทย์ให้บริการทันตกรรม สร้างเสริม ป้องกัน การรักษา และฟื้ นฟูตลอดจนให้คําปรึกษา ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

๔. หมวด 4 การบริหารจัดการ a) มีผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในหน่วยงาน คณะกรรมการบริหารจัดการ โดยมีผู้แทนองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นและผู้รับบริการร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ b) มีแผนงาน ที่สอดคล้องกับแผนงานของหน่วยบริการประจํา สํานักงาน และ สอดคล้องกับสภาวะสุขภาพของผู้มีสิทธิ c) มีระบบการจัดการเรื่องร้องเรียน การรับฟังความคิดเห็น เพื่อปรับปรุงระบบ บริการหรือการบริหารจัดการ d) มีระบบการติดต่อสื่อสาร ที่สามารถขอรับคําปรึกษาจาก หน่วยบริการประจํา

ทีมหมอครอบครัว ทีมหมอครอบครัว หมายถึง ทีมที่ประกอบด้วยสหวิชาชีพทั้งด้านการ แพทย์และการสาธารณสุข ทั้งในหน่วยบริการใกล้บ้านและในโรง พยาบาล รวมถึง อสม. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ภาค ประชาชน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพของประชาชน เพื่อดูแลปัญหาด้านกาย ครอบคลุมทั้ง รักษา ส่งเสริมป้องกัน และ ดูแลด้านจิตใจ สังคม บรรเทาทุกข์พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชน อย่างใกล้ชิดเข้าถึงและเข้าใจ หมอครอบครัว หมายถึง บุคลากรสาธารณสุขที่สําเร็จการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรขึ้นไปที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับด้าน สาธารณสุขในพื้นที่ที่รับผิดชอบของ รพ.สต. / ศสม / ท้องถิ่น และหน่วยบริการปฐมภูมิทุกสังกัด

องค์ประกอบทีมหมอครอบครัว หรือ “๓ หมอ” ระดับอําเภอ แพทย์และสหวิชาชีพ เช่น แพทย์เวชศาสตร์/ แพทย์เฉพาะทาง /แพทย์ทั่วไป / ทันตแพทย์/ เภสัชกร / พยาบาลเวชปฏิบัติ/ พยาบาล วิชาชีพ / นักกายภาพบําบัด / นักสังคมสงเคราะห์/ นักสุขภาพจิตในโรงพยาบาล และทีมจากสาธารณสุขอําเภอ

ระดับตําบล บุคลากรในหน่วยบริการปฐมภูมิ(โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตําบล/ศูนย์แพทย์ชุมชน/ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง/ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล/คลินิกชุมชนอบอุ่น) ได้แก่ พยาบาลเวชปฏิบัติพยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอื่น ๆ

ระดับชุมชน ภาคประชาชนในพื้นที่นั้น เช่น อสม. องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น กํานันผู้ใหญ่บ้าน จิตอาสา นักบริบาล แกนนํา ครอบครัว มีทําหน้าที่ช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวในการ ดูแลตนเองหรือให้การบริบาล ทําหน้าที่ประดุจญาติมิตร

บทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการดําเนินงานระบบ สุขภาพระดับอําเภอ 1. บทบาทของพยาบาลวิชาชีพในฐานะทีมระดับอําเภอ 1.1 มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับอําเภอ 1.2 ประสานงานช่วยเหลือ สนับสนุนกับทีมระดับตําบล 1.3 บริหารจัดการธนาคารอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการทํางานใน พื้นที่ 1.4 เป็นผู้จัดทําแผนการจําหน่ายผู้ป่วยจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน (Discharge plan)

2. บทบาทของพยาบาลวิชาชีพในฐานะ Case manager ระดับตําบล 2.1 จัดการข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้องทุกครอบครัวใน ความรับผิดชอบ 2.2 ช่วยเหลือ สนับสนุนหมอครอบครัวในความรับผิดชอบและ ติดตามประเมินผลในครอบครัวที่มีผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง 2.3 ประสานทีมสนับสนุนระดับตําบล เพื่อสนับสนุนหมอครอบครัว ในเขตรับผิดชอบ 2.4 ประสานทีมสหวิชาชีพจากทีมระดับอําเภอเข้าดูแลร่วมกับทีมระ ดับตําบล 2.5 ประสานการให้คําปรึกษาส่งต่อกับทีมระดับอําเภอ

3. บทบาทของพยาบาลวิชาชีพในฐานะหมอครอบครัว 3.1 ด้านการดูแลความเจ็บป่วยในครอบครัว 3.2 สนับสนุนพลังอํานาจครอบครัว ทําการสอน/การฝึก/การเป็นพี่ เลี้ยงในการปฏิบัติการดูแลครอบครัว 3.3 ให้คําปรึกษา/แนะนําด้านสุขภาพแก่ครอบครัวที่รับผิดชอบ 3.4 มีการประสานและปฏิบัติงานแบบเป็นหุ้นส่วนบนพื้นฐานการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาทักษะ 3.5 การพิทักษ์สิทธิ์ครอบครัวในความรับผิดชอบ ประสานผ่าน ประชาชนโดยตรง 3.6 ทําหน้าที่ประสานงานการส่งต่อและติดตามภายหลังจนปัญหา ด้านนั้น ๆยุติลง

ความจําเป็นพื้นฐานด้านสุขภาพของประชาชน ข้อมูลความจําเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) คือ ข้อมูลในระดับครัวเรือนที่แสดงถึงสภาพความจํา เป็นพื้นฐานของคนในครัวเรือนในด้านต่าง ๆ เกี่ยว กับคุณภาพชีวิตที่ได้กําหนดมาตรฐานขั้นต่ําเอาไว้ ข้อมูลความจําเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นข้อมูลที่แสดงถึงลักษณะของสังคมไทยที่พึงประสงค์ ตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ําของเครื่องชี้วัดว่า อย่างน้อย คนไทยควรจะมีระดับความเป็นอยู่ไม่ต่ํากว่าระดับไหนใน ช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ

หลักการของข้อมูลความจําเป็นพื้นฐาน 1. ใช้เครื่องชี้วัดความจําเป็นพื้นฐานเป็นเครื่องมือของ กระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน 2. ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยผ่านกระบวน การความจําเป็นพื้นฐาน นับตั้งแต่การกําหนดปัญหาความ ต้องการที่แท้จริงของชุมชน 3. ใช้ข้อมูลความจําเป็นพื้นฐานเป็นแนวทางในการคัดเลือก โครงการ กิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่แท้จริง ของหมู่บ้าน/ชุมชน วัตถุประสงค์ของข้อมูลความจําเป็นพื้นฐาน เพื่อให้ประชาชนสามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง และครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างน้อยผ่านเกณฑ์ความจํา เป็นพื้นฐาน โดยมีเครื่องชี้วัดความจําเป็นพื้นฐานเป็นเครื่องมือ

แนวคิดและความเป็นมาของข้อมูลความจําเป็นพื้นฐาน ปี 2525 แนวความคิดเกิดขึ้นครั้งแรก สํานักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ข้อสรุปว่า \"การมี คุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยจะต้องผ่านเกณฑ์ความจําเป็นพื้นฐาน ทุกตัวชี้วัด” ปี 2528 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและอนุมัติให้มีการดําเนินการ โครงการปีรณรงค์คุณภาพชีวิตและประกาศให้เป็น \"ปีรณรงค์คุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติ (ปรช.)\" ปี 2531 คณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ (กชช.) มีมติให้สํา นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มอบโครงการปีรณรงค์ให้กระทรวงมหาดไทยภายใต้ชื่องานว่า \"งานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท (พชช.)\" ปี 2533 กระทรวงมหาดไทย ดําเนินการจัดเก็บข้อมูลความจํา เป็นพื้นฐานเป็นประจําทุกปี และมีการปรับปรุงเครื่องชี้วัด ทุก 5 ปี ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ปี 2555 อยู่ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559) มีเครื่องชี้วัด 5 หมวด 30 ตัวชี้วัด ปี 2560 อยู่ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ ที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) มีเครื่องชี้วัด 5 หมวด 31 ตัวชี้วัด

การกําหนดเครื่องชี้วัดความจําเป็นพื้นฐาน ทุก ๆ 5 ปี คณะกรรมการอํานวยการฯ (พชช.) จะแต่งตั้งและ มอบหมายให้คณะทํางานปรับปรุงเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตของ ประชาชน ได้ปรับปรุง หรือพัฒนาเครื่องชี้วัดความจําเป็นพื้น ฐานให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ กําหนดขึ้นใหม่ ประโยชน์ของข้อมูลความจําเป็นพื้นฐาน 1. ประชาชน จะได้ทราบข้อมูลสถานการณ์คุณภาพชีวิต ของตนเอง และครัวเรือน และสามารถปรับปรุงคุณภาพ ชีวิตให้ดีขึ้นได้ด้วยตนเอง 2. ประชาชน สามารถเข้าถึงและได้รับสวัสดิการด้านต่าง ๆ จากรัฐ โดยเฉพาะการช่วยเหลือสนับสนุนจากภาครัฐอย่างทัน ท่วงที 3. ชุมชน โดยคณะกรรมการหมู่บ้าน องค์กร หรือกลุ่มภายใน หมู่บ้าน/ชุมชน จะได้ทราบและมีข้อมูลสถานการณ์คุณภาพชีวิต ของประชาชน

4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จะได้ ทราบและมีข้อมูลสถานการณ์คุณภาพชีวิตของประชาชน ครัวเรือน ชุมชน ตําบล อําเภอ จังหวัด ตลอดจนภาพรวมใน ระดับประเทศ 5. ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน กลุ่ม องค์กร หรือสถาบันที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่มเป้า หมายตามสภาพปัญหาได้อย่างทั่วถึง 6. ภาคเอกชน สามารถนําข้อมูลในภาพรวมระดับหมู่บ้าน/ ชุมชนขึ้นไป ไปใช้ในการตัดสินใจ และวางแผนทางธุรกิจ

เครื่องชี้วัดข้อมูลความจําเป็นพื้นฐาน ช่วงแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) หมวดที่ 1: สุขภาพ มี 7 ตัวชี้วัด หมวดที่ 2 สภาพแวดล้อม มี 7 ตัวชี้วัด

หมวดที่ 3 การศึกษา มี 5 ตัวชี้วัด หมวดที่ 4 การมีงานทําและรายได้ มี 4 ตัวชี้วัด

หมวดที่ 5 ค่านิยม มี 8 ตัวชี้วัด