Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore กระตุ้นพัฒนาการ-3

กระตุ้นพัฒนาการ-3

Published by autchara6343, 2021-12-23 15:44:19

Description: กระตุ้นพัฒนาการ-3

Search

Read the Text Version

การกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ พัฒนาการของทารกในครรภ์ เป็นกระบวนการเจริญเติบโตและ พัฒนาการของทารกในครรภ์เริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งคลอดซึ่ง การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ต้องอาศัยการทำงานของรก เยื่อหุ้ม เด็กสายสะดือและน้ำคร่ำ เป็นองค์ประกอบสำคัญช่วยในการเจริญเติบโต ซึ่งการกระตุ้นพัฒนาการของทารกในครรภ์เป็นการกระตุ้นการทำงาน ของระบบประสาทการได้ยิน การรับความรู้สึกการเคลื่อนไหว และการ มองเห็นของลูกให้มีประสิทธิภาพสูงสุด การกระตุ้นด้วยวิธีการต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้เซลล์สมองของทารกพัฒนาจนถึงขีดความสามารถ สูงสุดมีผลต่อการพัฒนาความฉลาดทางสติปัญญา อารมณ์และสังคม ของทารก ต่อไป

การกระตุ้นระบบประสาท 4 ระบบ 1. ระบบประสาทการได้ยิน 2. ระบบประสาทรับความรู้สึก 3. ระบบประสาทการเคลื่อนไหว 4. ระบบประสาทการมองเห็น

1.การพัฒนาระบบประสาทการได้ยิน (Auditory stimulation) ทารกในครรภ์สามารถได้ยินเสียงเมื่ออายุได้ 18 สัปดาห์ (4 เดือน ครึ่ง)เนื่องจากประบบประสาทการได้ยินเริ่มสมบูรณ์เสียงที่ทารกได้ยินขณะอยู่ ในครรภ์เป็นเสียงที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น เสียงการเต้นของหัวใจมารดา เสียงการเคลื่อนไหวของกระแสโลหิต ฯลฯ เสียงเหล่านี้มีผลต่อการพัฒนา ระบบประสาทการได้ยินของทารก โดยเฉพาะเสียงการเต้นหัวใจของมารดา มีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการทารก แนวทางการส่งเสริมพัฒนาการของทารก ได้แก่ ใช้เสียงของมารดาเล่านิทานให้ทารกฟัง ร้องเพลง หรืออาจฟังเสียงดนตรีได้แก่ เพลงโมสาร์ท

วิธีการปฎิบัติ 1.เปิดเพลงบรรเลงที่มีจังหวะช้าๆ 2.ให้หญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ฟั งไปพร้อมกัน โดยเปิดเพลงวันละครั้ง ครั้งละ 10 -15 นาที ประโยชน์ พบว่าทารกมีพัฒนาการด้านการได้ยินเร็วกว่าปกติมีสติปั ญญาสูงและ ทำให้ทารกมีอารมณ์แจ่มใสร่าเริง เพลงโมสาร์ท

2.การพัฒนาระบบประสาทการรับความรู้สึก (Tactile stimulation) การสัมผัสเริ่มทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ (5 เดือน)ทารกเริ่มมีขนอ่อนขึ้น มีการสร้างชั้น ไขมันใต้ผิวหนัง ผิวของทารกในครรภ์จะมีไขสีขาวเคลือบไว้โดยลูกน้อยสามารถรับสัมผัสจากคุณแม่ ได้ตลอดเวลา โดยแบ่งเป็น 4 อย่าง แนวทางการส่งเสริม 1.การลูบหน้าท้อง การลูบสัมผัสโดยเอามือลูบสัมผัสวนไปรอบๆโดยลูบผ่านทางหน้าท้อง ถ้าอยู่นอกบ้าน หรือที่ทำงานหากมีเวลาสามารถลูบสัมผัสทารกได้โดยการสัมผัสผ่านเสื้อผ้าได้ ประโยชน์ ช่วยให้ทารกรู้สึกอบอุ่นมั่นคงและเคยชินกับการสัมผัสและสงบอารมณ์

วิธีการลูบหน้าท้อง 1.สัมผัสทั้งตัวของลูกเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ให้คุณแม่สอบถามจากแพทย์ว่าตำแหน่งของทารกในครรภ์อยู่ตรง ตำแหน่งไหนจะได้ลูบท้องได้ถูกจุด 2.ให้คุณแม่ลูบตั้งแต่ศีรษะของทารกไปจนถึงเท้า โดยการลูบท้อง แบบสัมผัสทั้งตัวของลูกไม่ควรทำผ่านเสื้อผ้า 3.ควรสัมผัสบนผิวท้องโดยตรง ถ้ามีออยหรือครีมให้คุณแม่ถูมือ ก่อนแล้วสัมผัสลงท้องเบาๆ การลูบท้อง

วิธีการลูบหน้าท้อง 4.ลูบลักษณะวงกลมหรือลูบบนลงล่าง หรือล่างขึ้นบนก็ได้ 5.ลูบเป็นเวลาเดิมๆทุกวัน การลูบท้องในแต่ละวันหากคุณพ่อคุณแม่ ทำบ่อยๆในเวลาเดิมลูกในท้องจะได้เคยชิน การลูบท้อง

2.การพัฒนาระบบประสาทการรับความรู้สึก (Tactile stimulation) 2.สัมผัสน้ำอุ่นน้ำเย็น (เริ่ม 6 เดือน) ประโยชน์ วิธีการปฎิบัติ พัฒนาเซลล์ประสาท ส่วนรับความรู้สึกร้อนหนาว 1.ใช้ขวดพลาสติกมีฝาปิดกลมหรือแบนก็ได้ขนาด 240 ml และปรับสภาพให้ทารกเคยชิน กับความเย็นทีละน้อย 2.ใส่น้ำธรรมดา 3.ใช้ส่วนของก้นขวดที่เป็นส่วนแคบวางก่อนประมาณ 2 นาที 4.ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายก่อนคลอดให้ปรับเพิ่มความเย็นพร้อม กับเพิ่มเวลาการวางเป็น 3-5 นาทีและยกขวดวางลงบริเวณ ส่วนหลังของทารก

2.การพัฒนาระบบประสาทการรับความรู้สึก (Tactile stimulation) 3. ตบหน้าท้องเบา ๆ (เริ่มตั้งแต่ 7 เดือน) วิธีการปฎิบัติ มารดารู้สึกลูกดิ้นให้เอามือตบหน้าท้องเบา ๆ เป็นจังหวะ 2 ครั้ง ประโยชน์ เพื่อฝึกไหวพริบเสริมสร้างการเรียนรู้และปรับตัวตอบสนองต่อสิ่ง แวดล้อมภายนอก

2.การพัฒนาระบบประสาทการรับความรู้สึก (Tactile stimulation) 3. ตบหน้าท้องเบา ๆ เมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์ (8 เดือน) วิธีการปฎิบัติ เปลี่ยนวิธีการโดยการเอามือตบลงบริเวณ ก้นทารกเบาๆ เป็นจังหวะบางครั้งทารกอาจตอบสนองกลับโดยการเตะตอบ ประโยชน์ เพื่อฝึกการปรับตัวในการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวส่ง ผลให้ประสาทรับความรู้สึกของทารกจะมีการพัฒนาได้ดียิ่งขึ้น

2.การพัฒนาระบบประสาทการรับความรู้สึก (Tactile stimulation) 4.ฉีดน้ำบริเวณหน้าท้อง อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ (7 เดือน) วิธีการปฎิบัติ อยู่ในห้องที่เงียบมีเสียงเพลงเบา ๆ เปิดฝักบัวแล้วฉีดน้ำลงบริเวณหน้าท้อง ทารกจะคุ้นเคยกับสายน้ำที่กระทบ อาจใช้ครีมบำรุงผิวทาบริเวณหน้าท้องก่อนทำ ประโยชน์ เพื่อพัฒนาเซลล์ประสาทรับความรู้สึกและเซลล์ประสาทส่วนการเคลื่อนไหว

3.การพัฒนาระบบประสาทการเคลื่อนไหว การพัฒนาระบบประสาทด้านการเคลื่อนไหว ในขณะที่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ เซลล์ประสาทภายในสมองของทารกกำลังพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นเีซ้ ลจละ์ชป่วรยะสพัาฒทนคาวเบซคลุมล์กปารระเสคาลืท่อกนาไรหทวรขงอตังวกแล้ลาะมกเนาื้รอ เคซึ่ลงื่อกนารไหเริว่มใกห้รทะำตงุ้านนพัอฒย่านงาเกป็านรรใะนบช่บวง ทำให้ทารกเกิดการเรียนรู้มีไหวพริบและสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมรอบๆตัว เองได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

3.การพัฒนาระบบประสาทการเคลื่อนไหว แนวทางการส่งเสริม การนั่งเก้าอี้โยกเริ่มปฏิบัติเมื่ออายุครรภ์ 20 สัปดาห์ (5 เดือน) โดยนั่งเก้าอี้โยกหน้าหลังอาจเปิดเพลงไปด้วย จนกระทั่งถึงอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ใช้วิธีนั่งเก้าอี้หมุนซ้ายขวา เพื่อพัฒนาการทรงตัวและเคลื่อนไหวอย่าง เป็นระบบ ถ้าไม่มีเก้าอี้โยกสามารถใช้ชิงช้าแทนได้ ประโยชน์ การพัฒนาระบบประสาทการเคลื่อนไหวเพื่อเป็นการพัฒนาเซลล์ประสาท การทรงตัวและพัฒนาการเจริญเติบโตของร่างกาย วิธิการโยกเก้าอี้

4. การพัฒนาระบบประสาทการมองเห็น (visualizing stimulation) การพัฒนาระบบประสาทการมองเห็น จะสามารถทำได้เมื่ออายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ ซึ่ง โดยปกติแล้วสัปดาห์ที่ 29 ทารกจะสามารถลืมตาได้ หลังอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ทารกในครรภ์จะมีพัฒนาการของสมองอย่างสมบูรณ์ การมองเห็นจะใกล้เคียงกับทารกแรก เกิด ดังนั้นการพัฒนาระบบประสาทการมองเห็นในช่วงนี้จะช่วยพัฒนาเซลล์ประสาทส่วนรับ การมองเห็นของทารกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงจะช่วยสร้างความสนใจ ความอยากรู้ อยากเห็นให้กับทารก ทำให้ทารกเกิดสติปัญญาสมาธิที่ดี

4. การพัฒนาระบบประสาทการมองเห็น (visualizing stimulation) แนวทางการส่งเสริม การเคลื่อนไฟฉายจากซ้ายไปขวาเมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 28-32 สัปดาห์ (7-8 เดือน ) ควรทำเมื่อตอนลูกดิ้นเพราะจะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีขณะปฏิบัติควรอยู่ในห้องมืดให้มี แต่ แสงไฟฉายซึ่งจะทำให้เห็นแสงไฟได้ดีขึ้นควรทำสม่ำเสมอจนกระทั่งคลอด ประโยชน์ เพื่อช่วยพัฒนาเซลล์ประสาทส่วนรับการมองเห็นของทารกให้มีประสิทธิภาพและช่วย ส่งเสริมกล้ามเนื้อตาและกล้ามเนื้อบริเวณคอของทารกให้มีการพัฒนาและมีความแข็งแรง มากขึ้น วิธีการส่องไฟ

ดังนั้น การกระตุ้นพัฒนาการของทารกในครรภ์ จะช่วยส่งเสริม พัฒนาการทารกทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติ ปัญญา ทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่นมั่นคง เลี้ยงง่าย และเป็นการสร้าง ความผูกพัน ระหว่างบิดามารดาและทารกในครรภ์เกิด สัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว เมื่อทารกเติบโตจะช่วยให้มีความเชื่อ มั่นในตนเองและผู้อื่น สามารถพึ่งพาตนเอง และช่วยเหลือผู้อื่นได้

อ้างอิง ขนิษฐา จรัสวิศัษฎ์กุล และทัศพร ชูศักดิ์.(2561).ผลการนวดสัมผัสทารกโดยมารดาที่มีต่อการ เจริญเติบโตของทารกและความผูกพันระหว่างมารดาและทารกของทารกที่มีภาวะป่วยโรงพยาบาล สวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์.วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยลงกรณ์ในพระบรม ราชูปถัมภ์,13(1),76-84. พิชฏา อังคะนาวิน. (2559). การส่งเสริมสมองเพื่อพัฒนาการของทารกในครรภ์. วารสาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาลัยศิลปกร,3(6),162-170. สุพร แก้วศิริวรรณ.(2556).การพยายาบาลในระยะตั้งครรภ์.(พิมพ์ครั้งที่1).กรุงเทพฯ:วี.พริ้นท์. Phudthai salmon.(ม.ป.ป.)การกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยในครรภ์.สืบค้น 11 ธันวาคม 2564,จาก https://www.thonburihospital.com

จัดทำโดย นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยบรมราชชนนี แพร่


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook