Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หนังสืออ่านเพิ่มเติม "เครื่องหมายจราจรบริเวณทางโค้ง"

หนังสืออ่านเพิ่มเติม "เครื่องหมายจราจรบริเวณทางโค้ง"

Published by Kritsana Mathong, 2021-04-26 06:02:31

Description: หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด “รณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน” เรื่อง เครื่องหมายจราจรบริเวณทางโค้ง

Search

Read the Text Version

หนังสอื อา่ นเพม่ิ เติมชุด “รณรงคป์ อ้ งกนั และลดอบุ ตั ิเหตทุ างถนน” เคร่อื งหมายจราจร บรเิ วณทางโค้ง โรงเรยี นดงเจริญพทิ ยาคม อาเภอดงเจรญิ จงั หวดั พิจติ ร สานักงานเขตพน้ื ทก่ี ารศึกษามธั ยมศกึ ษาพจิ ติ ร สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พน้ื ฐาน กระทรวงศึกษาธกิ าร



หนงั สอื อ่านเพม่ิ เตมิ ชดุ “รณรงคป์ อ้ งกันและลดอุบัตเิ หตุทางถนน” เคร่อื งหมายจราจร บริเวณทางโค้ง โรงเรียนดงเจริญพทิ ยาคม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพจิ ิตร สำนกั งานเขตพืน้ ทก่ี ารศึกษามัธยมศกึ ษาพิจิตร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้นื ฐาน กระทรวงศึกษาธกิ าร



คำนำ ปจั จุบันน้ี ปัญหาท่ีสำคัญของประเทศไทยทจ่ี ะต้องแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง นนั่ ก็คือ “ปัญหาอุบัติเหตุ ทางถนน” ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล และสาเหตุของอุบัติเหตุทางถนน ในประเทศไทย เกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งในด้านผู้ขับขี่ที่ขาดความรู้และฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการจราจร ทางบก ขาดจิตสำนึกที่ดีในการใช้รถใช้ถนน ด้านยาพาหนะที่ไม่สมบูรณ์ครบถ้วน ขาดการตรวจสภาพและ บำรุงรักษา ด้านสภาพแวดล้อมที่ไม่เอือ้ อำนวยต่อการสัญจร เช่น สภาพอากาศเลวร้าย ทัศนวิสัยการมองเหน็ ไม่ชัดเจน สภาพถนนชำรุด เป็นหลุมเป็นบ่อ สภาพถนนไม่ปลอดภัยตามหลักวิศวกรรม เป็นต้น ซึ่งรัฐบาล ก็ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาอุบัติเหตุทางถนน ทั้งในช่วงระยะเวลาปกติ รวมถึงช่วงวันหยุดยาว และชว่ งเทศกาลท่ีมปี รมิ าณจราจรสงู ข้ึน เพื่อลดอบุ ัติเหตุบนทอ้ งถนนอยา่ งแท้จริง โรงเรียนดงเจริญพิทยาคม เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันโรงเรียนดงเจริญพิทยาคม ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับจังหวัดพิจิตร ในโครงการสานพลังสร้างมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนน จังหวัดพิจิตร ปี 2562-2563 เม่ือวนั ที่ 23 กนั ยายน 2562 ณ โรงแรมมีพรสวรรค์ แกรนด์ โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โดยมีวัตถุประสงค์หลกั เพื่อให้ความรู้และปลูกจิตสำนึกในการขับขี่อย่างมีวินยั และถูกกฎจราจร อยา่ งมุ่งเนน้ ให้เกดิ ความปลอดภัยและลดอุบตั เิ หตุบนทอ้ งถนน การที่จะทำให้ผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะ สามารถสัญจรบนท้องถนนได้อย่างปลอดภัยและกฎจราจร สิ่งสำคัญที่นอกเหนือจากทักษะการขับขี่ในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในสถานการณ์ปกติ และสถานการณ์ฉุกเฉิน นั่นคือ การที่ผู้ขับขี่มีความรู้และเข้าใจในกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก และมีความรู้ความเข้าใจ ในเครื่องหมายและสัญญาณจราจรที่ปรากฏบนทางหลวง ดังนั้น ในที่ประชุมคณะทำงานโครงการสานพลัง สร้างมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนน โรงเรียนดงเจริญพิทยาคม ร่วมกับคณะสภานักเรียน โรงเรียนดงเจริญพิทยาคม เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 ต่างให้ความเห็นชอบในการรณรงค์ป้องกัน และลดอุบัติเหตุทางถนน ที่ประชุมจึงมีมติให้คณะทำงานโครงการสานพลังสร้างมาตรการองค์กรเพื่อความ ปลอดภัยทางถนน โรงเรียนดงเจริญพิทยาคม เป็นผู้ผลิตสื่อการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ สือ่ อิเล็กทรอนิกส์ ส่ือสงั คมออนไลน์ และระบบสอื่ สารมวลชน หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติมชุด “รณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน” จะมีประโยชน์ตอ่ นักเรยี น ผู้ปกครอง ผู้ใช้รถใช้ถนน และผู้ที่สนใจไม่มากก็น้อย หากมีข้อผดิ พลาดประการใด กราบขออภยั มา ณ ทนี่ ี้ จักขอบคณุ ย่ิง คณะทำงานโครงการสานพลังสรา้ งมาตรการองค์กรเพ่ือความปลอดภัยทางถนน โรงเรียนดงเจรญิ พิทยาคม

สารบัญ บทท่ี 1 บททว่ั ไป............................................................................................................................................. 1 1.1 หลักการท่ัวไป ................................................................................................................................ 1 1.2 เน้อื หา............................................................................................................................................ 1 1.3 หลกั การปฏิบตั ิโดยทั่วไป ................................................................................................................ 1 บทที่ 2 ป้ายบงั คบั .......................................................................................................................................... 3 2.1 ป้ายหา้ มแซง (บ.4)......................................................................................................................... 3 2.2 ปา้ ยจำกดั ความเร็ว (บ.32) ............................................................................................................. 3 2.3 ป้ายสดุ เขตบังคับ (บ.55) ................................................................................................................ 4 2.4 ปา้ ยบงั คบั ข้อความ “ลดความเรว็ ”................................................................................................. 4 บทท่ี 3 ปา้ ยเตือน ........................................................................................................................................... 5 3.1 ปา้ ยเตือนทางโค้ง (ต.1 และ ต.2) ................................................................................................... 5 3.2 ป้ายเตือนทางโค้งรศั มีแคบ (ต.3 และ ต.4) ..................................................................................... 5 3.3 ป้ายเตอื นทางโคง้ กลบั (ต.5 และ ต.6)............................................................................................ 6 3.4 ป้ายเตอื นทางโคง้ กลบั รัศมีแคบ (ต.7 และ ต.8).............................................................................. 6 3.5 ป้ายเตือนทางคดเคีย้ ว (ต.9 และ ต.10).......................................................................................... 7 3.6 ปา้ ยเตือนทางข้ึนลาดชนั (ต.33) ..................................................................................................... 7 3.7 ป้ายเตอื นทางลงลาดชนั (ต.34)...................................................................................................... 8 3.8 ปา้ ยเตอื นทางลืน่ (ต.38)................................................................................................................. 8 3.8 ปา้ ยเตือนเขตหา้ มแซง (ต.61)......................................................................................................... 8 3.9 ปา้ ยเตอื นแนวทาง (ต.63 และ ต.66).............................................................................................. 9 3.10 ป้ายเครอ่ื งหมายลกู ศรขนาดใหญ่ (ต.65 และ ต.68) ....................................................................... 9 3.11 ปา้ ยเตอื นใช้เกยี ร์ตำ่ (ตส.4)............................................................................................................ 9 3.12 ป้ายเตือนเสริมความเร็ว (ตส.16).................................................................................................. 10 3.13 ป้ายเตือนท่ีแสดงข้อความหรือสญั ลักษณ์ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน............................................... 10 เอกสารอ้างองิ ............................................................................................................................................... 11 ภาคผนวก การติดตั้งปา้ ยจราจรบรเิ วณทางโคง้ ในรูปแบบต่าง ๆ................................................................... 12

-1- บทที่ 1 บททั่วไป 1.1 หลักการทว่ั ไป การติดตั้งเครื่องหมายจราจรบริเวณทางโค้ง เป็นการช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ทางโค้งของ ผู้ขับขี่ เนื่องจากการออกแบบทางโค้งในบางพื้นที่ มีข้อจำกัดทางด้านภูมิประเทศ ทำให้การออกแบบรัศมีโค้ง ไม่สามารถที่จะรองรับกับความเร็วออกแบบที่ต่อเนื่องมาจากถนนเส้นทางตรงได้ จึงจำเป็นที่จะต้องให้ผู้ขับข่ี ท่จี ะเข้าสู่ทางโคง้ เหล่าน้ันได้ทราบถงึ ลักษณะของทางโค้งข้างหน้า และใช้ความเรว็ ทเ่ี หมาะสมกับทางโค้งนั้น ๆ โดยการแจ้งเตือนผู้ขับขี่ผ่านทางป้ายจราจร เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง และอุปกรณ์อำนวยความปลอดภยั โดยพิจารณาการติดตั้งจากประเภทของทางโค้ง ความเร็วออกแบบ ระยะการมองเห็นเพื่อหยุดรถ และระยะ การมองเหน็ เพือ่ แซงขน้ึ หนา้ เปน็ ต้น 1.2 เน้ือหา ในหนังสือเล่มน้ี จะกลา่ วถงึ ป้ายจราจรทใี่ ช้ควบคุมการบริเวณทางโคง้ ซ่ึงประกอบไปดว้ ย 1) บทที่ 1 บททว่ั ไป 2) บทที่ 2 ปา้ ยบงั คับ 3) บทที่ 3 ปา้ ยเตอื น 4) ภาคผนวก การตดิ ตง้ั ปา้ ยจราจรบรเิ วณทางโค้งในรูปแบบต่าง ๆ สำหรับเครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง และอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ จากหนังสืออ่านเพิ่มเติมชุด “รณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน” เรื่อง “เส้นสาย...เครื่องหมายบนผิว จราจร” และ “อุปกรณ์จราจรบนทางหลวงเพอ่ื ความปลอดภัย” 1.3 หลักการปฏบิ ัติโดยทัว่ ไป ในการติดตั้งป้ายจราจรจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการพิจารณาการติดตั้ง ป้ายจราจร เช่น ปริมาณจราจรการมองเหน็ และระยะเวลาทีเ่ หมาะสมในการตัดสินใจ เป็นต้น หลกั การปฏบิ ตั ิโดยทวั่ ไปสำหรบั การตดิ ต้ังปา้ ยจราจรบริเวณทางโคง้ มดี ังตอ่ ไปน้ี 1) ต้องพิจารณาถึงความจำเป็นในการใช้ป้ายจราจร ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบทาง และไม่ควร หวงั ผลการใชป้ า้ ยจราจรเพ่ือแกไ้ ขความบกพร่องของการออกแบบทาง 2) ต้องติดตั้งป้ายจราจรที่จำเป็นตามจุดที่เหมาะสมและถูกต้องตามมาตรฐานให้เรียบร้อยทุกแห่ง กอ่ นที่จะเปดิ การจราจร 3) ป้ายจราจรจะต้องสอดคล้องกับสภาพการจราจรบนทางหลวง ฉะนั้น ให้ติดตั้งป้ายจราจรเพิ่มเตมิ หรอื รอ้ื ถอนป้ายจราจรออกทันที เม่อื สภาพทางหลวงเปลี่ยนแปลงไป

-2- 4) การติดตั้งป้ายจราจรจะต้องคำนึงถึงมาตรฐานการออกแบบป้าย การติดตั้งป้ายจราจร ตลอดจน ความสม่ำเสมอในการใชป้ ้ายจราจร เมื่อสภาพการจราจรและประเภททางหลวงแบบเดียวกัน จะใชป้ า้ ยจราจร แบบเดยี วกนั ในการติดต้ัง 5) ไม่ควรติดตั้งป้ายจราจรประเภทป้ายบังคับและป้ายเตือนเกินความจำเป็น เพราะแทนที่จะเป็น ผลดีขน้ึ กลับทำให้ผใู้ ช้ทางหลวงขาดความสนใจป้ายจราจร 6) ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในคู่มือการติดตั้งป้ายจราจรบริเวณทางโค้ง ให้พจิ ารณาเลอื กทางปฏิบตั ิไดเ้ หมาะสมเฉพาะราย สำหรับมาตรฐานการติดตั้ง รูปร่าง ลักษณะ และสีของป้ายจราจร สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก หนงั สอื อ่านเพม่ิ เติมชดุ “รณรงค์ป้องกนั และลดอบุ ัติเหตุทางถนน” เรือ่ ง “ร้เู ฟ่อื งเรื่องป้ายจราจร”

-3- บทท่ี 2 ป้ายบงั คับ 2.1 ปา้ ยห้ามแซง (บ.4) ปา้ ยหา้ มแซง (บ.4) ป้ายห้ามแซง ใช้ติดตั้งบริเวณทางโค้งประกอบเส้นทึบห้ามแซง หรือในกรณีที่ผู้ขับขี่ยวดยานไม่ สามารถมองเห็นเส้นทึบห้ามแซงได้ไม่ชัดเจน หากการติดตั้งปา้ ยห้ามแซงยังไม่สามารถท่ีจะทำให้ผู้ขับข่ปี ฏิบัติ ตามได้ ให้พิจารณาตดิ ต้ังปา้ ยเขตห้ามแซง (ต.61) บริเวณทางด้านขวามอื ของทางหลวงดว้ ย 2.2 ปา้ ยจำกัดความเรว็ (บ.32) ปา้ ยจำกัดความเรว็ (บ.32) ป้ายจำกัดความเร็ว ใช้ติดตั้งบริเวณทางโค้งเพื่อจำกัดมิให้ยวดยานต่าง ๆ วิ่งด้วยความเร็วเกินกว่าที่ ความเร็วที่เหมาะสม ซึ่งจะติดตั้งในกรณีที่ต้องจำกัดความเร็วต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ตัวเลขแสดง จำนวนกิโลเมตรต่อชั่วโมง อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงส่วนประกอบทางด้าน วิศวกรรม หลักเกณฑใ์ นการกำหนดตวั เลขความเรว็ บนป้าย ให้พจิ ารณาตามปัจจัยต่าง ๆ ดังน้ี 1) ลกั ษณะทางกายภาพของทางหลวง 2) ความเร็วสำคัญของยวดยานทผ่ี า่ นบริเวณน้ัน 3) ลักษณะการใชป้ ระโยชนท์ ี่ดนิ อาคาร กิจกรรมบรเิ วณพื้นทสี่ องขา้ งทาง 4) ความเรว็ ทป่ี ลอดภยั ที่ทางโค้ง หรือตำแหน่งท่อี นั ตราย 5) การจอดรถและการข้ามทางของคนเดนิ เทา้ 6) รายงานอุบตั เิ หตุในระยะ 12 เดอื น

-4- ให้ติดตั้งปา้ ยจำกัดความเรว็ ก่อนถึงจุดที่ต้องจำกัดความเร็วนั้น ๆ ตามระยะทางท่ีกำหนดในคู่มือและ มาตรฐานปา้ ยจราจร การใชป้ ้ายจำกดั ความเร็วร่วมกับป้ายหา้ มแซง ควรพจิ ารณาใหใ้ ชเ้ สน้ ทบึ ห้ามแซงประกอบด้วย 2.3 ป้ายสดุ เขตบงั คบั (บ.55) ปา้ ยสุดเขตบังคับ (บ.55) ป้ายสุดเขตบงั คับ ใช้ติดตั้งบริเวณจุดสิน้ สุดทางโค้ง หลังจากที่ผู้ขับข่ียวดยานออกจากทางโค้ง เพื่อใช้ แสดงจดุ สิ้นสดุ การบงั คบั ห้ามแซง และจดุ สน้ิ สุดการบังคบั ความเรว็ ในทางโคง้ เพ่อื ใหผ้ ขู้ ับขี่สามารถใช้ความเร็ว ปกติบนถนนเสน้ ทางตรง 2.4 ป้ายบังคบั ข้อความ “ลดความเร็ว” ปา้ ยบงั คับข้อความ “ลดความเรว็ ” ป้ายลดความเร็ว หมายความวา่ ให้รถทุกชนดิ ลดความเรว็ เม่ือขับรถผ่านป้ายนี้ ใช้ติดต้ังบริเวณทางโค้ง เพอื่ ใหย้ วดยานต่าง ๆ ลดความเร็วลงเมอ่ื เขา้ ทางโคง้ ในบางกรณี ปา้ ยลดความเรว็ อาจใช้ตดิ ตง้ั เป็นแบบปา้ ยเตือนชนิดข้อความก็ได้

-5- บทที่ 3 ป้ายเตือน การติดตั้งป้ายเตือน จะต้องติดตั้งล่วงหน้าก่อนถึงจุดอันตราย หรือจุดที่ต้องการเตือนเป็นระยะทาง ตามที่กำหนดในคมู่ ือและมาตรฐานปา้ ยจราจร สำหรับการตดิ ต้งั ปา้ ยเตือนบนทางหลวงทีไ่ ดอ้ อกแบบเป็นพิเศษ ให้ใชค้ วามเร็วสงู ใหต้ ดิ ต้งั ล่วงหน้าไม่น้อยกวา่ 450 ม. ระยะการเตอื นลว่ งหนา้ อาจจะหาได้จากข้อมูล 2 ข้อมลู หลกั คอื ความเร็วสำคัญและสภาพซ่ึงต้องการ จะเตือน ซึ่งจะทำให้ทราบเวลาที่เพียงพอสำหรับผู้ขับขี่ในการทำความเข้าใจและปฏิบัติตามความหมายของ ป้ายนั้น ๆ 3.1 ปา้ ยเตอื นทางโค้ง (ต.1 และ ต.2) ปา้ ยเตอื นทางโค้ง (ต.1 และ ต.2) ปา้ ยเตอื นทางโค้ง แสดงดว้ ยเครื่องหมายลูกศรโคง้ (ซา้ ยหรอื ขวา) ใชส้ ำหรบั ทางโคง้ เด่ียวและใช้ติดตั้ง เมื่อผลการตรวจสอบสภาพและลักษณะของทางโค้งตอนนั้น ทางด้านวิศวกรรมแสดงให้เห็นว่าความเร็วท่ี เหมาะสมบนทางโคง้ อยรู่ ะหว่าง 50 ถึง 90 กโิ ลเมตรตอ่ ชั่วโมง (โดยทว่ั ไปรศั มโี คง้ อย่รู ะหวา่ ง 100-320 ม.) 3.2 ปา้ ยเตอื นทางโคง้ รัศมีแคบ (ต.3 และ ต.4) ป้ายเตอื นทางโคง้ รศั มแี คบ (ต.3 และ ต.4) ป้ายเตือนทางโค้งรัศมีแคบ แสดงด้วยเครื่องหมายลูกศรหักเป็นมุมฉาก (ซ้ายหรือขวา) ใช้สำหรับทาง โค้งเดี่ยวและใช้ติดตั้งเมื่อผลการตรวจสอบสภาพและลักษณะของทางโค้งตอนนั้น ทางด้านวิศวกรรมแสดงให้ เห็นวา่ ความเร็วทเ่ี หมาะสมบนทางโคง้ ไม่เกิน 50 กโิ ลเมตรต่อชั่วโมง (โดยทว่ั ไปรศั มโี ค้งไมเ่ กนิ 100 ม.)

-6- 3.3 ปา้ ยเตือนทางโค้งกลบั (ต.5 และ ต.6) ป้ายเตือนทางโคง้ กลบั (ต.5 และ ต.6) ปา้ ยเตือนทางโค้งกลบั แสดงด้วยเครื่องหมายลูกศรโคง้ 2 ครง้ั กลบั ทศิ ทางกนั ใช้สำหรับทางโค้งกลับ (Reverse Curves) ซึ่งประกอบด้วยโค้ง 2 โค้งติดต่อกัน เลี้ยวไปคนละทาง โดยมีระยะทางตรงต่อระหว่างโค้ง ทั้งสองน้อยกว่า 200 เมตร และโค้งทั้งสองนั้นได้รับการตรวจสอบและลักษณะของทางด้านวิศวกรรมแล้ว แสดงใหเ้ หน็ วา่ ความเร็วทเี่ หมาะสมบนทางโค้งอยู่ระหว่าง 50 ถงึ 90 กโิ ลเมตรต่อชวั่ โมง (โดยทวั่ ไปรัศมีโค้งอยู่ ระหวา่ ง 100-320 ม.) ถา้ โค้งแรกมที ิศทางไปทางซา้ ยใหใ้ ชป้ ้ายเตอื น (ต.5) และถ้าโค้งแรกมที ิศทางไปทางขวาใหใ้ ช้ปา้ ยเตือน (ต.6) 3.4 ป้ายเตือนทางโคง้ กลับรัศมีแคบ (ต.7 และ ต.8) ปา้ ยเตอื นทางโคง้ กลบั รศั มีแคบ (ต.7 และ ต.8) ป้ายเตือนทางโค้งกลับรัศมีแคบ แสดงด้วยเครื่องหมายลูกศรหักเป็นมุมฉาก 2 ครั้ง กลับทิศทางกัน ใช้สำหรับทางโค้งกลับซึ่งประกอบด้วยโค้ง 2 โค้งติดต่อกัน เลี้ยวไปคนละทาง โดยมีระยะทางตรงต่อระหว่าง โค้งทั้งสองน้อยกว่า 200 เมตร และโค้งทั้งสองนั้นได้รับการตรวจสอบและลักษณะของทางด้านวิศวกรรมแลว้ แสดงให้เห็นว่าความเร็วทีเ่ หมาะสมบนทางโคง้ ไมเ่ กิน 50 กโิ ลเมตรต่อช่ัวโมง (โดยทว่ั ไปรัศมโี ค้งไม่เกนิ 100 ม.) ถา้ โคง้ แรกมที ศิ ทางไปทางซ้ายให้ใชป้ ้ายเตือน (ต.7) และถ้าโคง้ แรกมที ิศทางไปทางขวาใหใ้ ชป้ ้ายเตือน (ต.8) ในกรณีที่ต้องการเพิ่มการป้องกันอันตราย ให้ติดตั้งเครื่องหมายลูกศรขนาดใหญ่ (ต.65 หรือ ต.68) หรือป้ายเตอื นแนวทาง (ต.63 หรอื ต.66) ทางดา้ นนอกของโคง้ นัน้ ดว้ ย

-7- 3.5 ป้ายเตอื นทางคดเคีย้ ว (ต.9 และ ต.10) ป้ายเตอื นทางคดเคยี้ ว (ต.9 และ ต.10) ป้ายเตือนทางคดเคี้ยว แสดงด้วยเครื่องหมายลูกศรคดไปคดมากลับทิศทางกัน 4 ครั้ง ใช้สำหรับทาง โค้งกลับต่อเนื่องกันตั้งแต่ 3 โค้งขึ้นไป ซึ่งมีทิศทางสลับกันโดยมีระยะทางตรงต่อระหว่างแต่ละทางโคง้ ไม่เกนิ 200 ม. ถา้ โคง้ แรกมที ิศทางไปทางซา้ ยใหใ้ ช้ปา้ ยเตอื น (ต.9) และถ้าโคง้ แรกมีทศิ ทางไปทางขวาใหใ้ ชป้ ้ายเตือน (ต.10) ในกรณีที่ต้องการเพิ่มการป้องกันอันตราย โดยเฉพาะโค้งตอนใด หรือโค้งใดโค้งหนึ่งที่พิจารณาว่า อันตรายมากเป็นพิเศษ ให้ติดตั้งป้ายเครื่องหมายลูกศรขนาดใหญ่ (ต.65 หรือ ต.68) หรือป้ายเตือนแนวทาง (ต.63 หรือ ต.66) ทางดา้ นนอกของโคง้ นั้นดว้ ย 3.6 ปา้ ยเตือนทางขึน้ ลาดชัน (ต.33) ปา้ ยเตือนทางขึน้ ลาดชัน (ต.33) ป้ายเตือนทางขึ้นลาดชัน ใช้เพื่อเตือนผู้ขับขี่ยวดยานให้ทราบล่วงหน้าว่าทางข้างหน้าเป็นทางขึ้นทาง ลาดชันต้ังแตร่ อ้ ยละ 15 ขึ้นไป หรอื บนทางลาดชันเกนิ ร้อยละ 10 ท่มี ีระยะทางไมน่ ้อยกวา่ 1 กิโลเมตร

-8- 3.7 ปา้ ยเตือนทางลงลาดชนั (ต.34) ป้ายเตอื นทางลงลาดชัน (ต.34) ป้ายเตือนทางลงลาดชัน ใช้เพื่อเตือนผู้ขับขี่ยวดยานให้ทราบล่วงหน้าว่าทางข้างหน้าเป็นทางลง ลาดชนั ต้ังแตร่ ้อยละ 6 ขนึ้ ไปเปน็ ระยะทางยาว 3.8 ป้ายเตือนทางล่นื (ต.38) ป้ายเตือนทางล่ืน (ต.38) ป้ายเตือนทางลื่น ใช้ติดตั้งเพื่อเตือนผู้ขับขี่ยวดยานให้ระมัดระวัง โดยที่ทางตอนนั้นจะลื่นเมื่อผิวทาง เปยี ก โดยเฉพาะบรเิ วณทางโคง้ อันตราย การใช้ปา้ ยนีค้ วรจะกระทำใหน้ ้อยทสี่ ุด และเมอ่ื ไดท้ ำการแก้ไขสภาพ ผิวทางของทางตอนน้ันแล้ว ใหร้ ือ้ ถอนป้ายนี้ออกทันที 3.8 ป้ายเตอื นเขตหา้ มแซง (ต.61) ป้ายเตือนเขตห้ามแซง (ต.61) ป้ายเตือนเขตห้ามแซง เป็นป้ายจราจรที่จะต้องใช้ร่วมกับเส้นทึบห้ามแซง หรือป้ายบังคับห้ามแซง ในกรณที ่ีการใชป้ ้ายบังคบั ห้ามแซง หรอื เส้นทบึ ห้ามแซงไม่เพียงพอต่อความปลอดภัย เชน่ บริเวณท่ีมีอุบัติเหตุ เน่ืองจากการแซงบอ่ ยครงั้

-9- 3.9 ป้ายเตือนแนวทาง (ต.63 และ ต.66) ป้ายเตอื นแนวทาง (ต.63 และ ต.66) ปา้ ยเตอื นแนวทาง เปน็ ปา้ ยซึ่งใช้เสรมิ เคร่ืองหมายนำทางทีบ่ ริเวณทางโค้ง และใช้แทนเครือ่ งหมายนำ ทาง หรือแทนป้ายเครื่องหมายลูกศรขนาดใหญ่ ในกรณีที่ติดตั้งลูกศรขนาดใหญ่ในตำแหน่งที่เหมาะสมไม่ได้ หรอื บริเวณท่ีจำเปน็ ท่ตี อ้ งตดิ ต้งั ป้ายเตือนหลาย ๆ ปา้ ยต่อเนือ่ งกัน ในกรณที ม่ี รี าวกันอันตราย หรอื หลกั กันโค้ง ให้ตดิ ต้งั ท่ดี า้ นหลงั ในแนวเดียวกนั 3.10 ปา้ ยเครื่องหมายลูกศรขนาดใหญ่ (ต.65 และ ต.68) ป้ายเครอื่ งหมายลูกศรขนาดใหญ่ (ต.65 และ ต.68) ป้ายเครื่องหมายลูกศรขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งในกรณีที่ต้องการเพิ่มการป้องกันอันตราย โดยเฉพาะโค้ง ตอนใด หรือโคง้ ใดโคง้ หนงึ่ ทพ่ี จิ ารณาวา่ อนั ตรายมากเป็นพิเศษ 3.11 ป้ายเตอื นใชเ้ กียรต์ ำ่ (ตส.4) ปา้ ยเตือนใช้เกียร์ต่ำ (ตส.4) ป้ายเตือนใช้เกียร์ต่ำ ใช้เตือนให้ผู้ขับขี่ยวดยานทราบว่า ทางข้างหน้าเป็นทางลงลาดชันที่มี อนั ตรายมาก ผ้ขู บั ขยี่ วดยานควรใช้เกียร์ตำ่ ในการลงทางลาดชนั นั้น ในกรณีที่มีชาวต่างชาติจำนวนมากใช้เส้นทางดังกล่าว ให้พิจารณาเพิ่มข้อความภาษาอังกฤษ “USE LOW GEAR” ใตข้ ้อความภาษาไทยดว้ ย การตดิ ต้ังปา้ ยเตอื นใช้เกยี ร์ตำ่ ใหต้ ดิ ตง้ั ใตป้ า้ ยเตือนทางลงลาดชนั (ต.34)

- 10 - 3.12 ป้ายเตอื นเสรมิ ความเรว็ (ตส.16) ปา้ ยเตือนเสริมความเรว็ (ตส.16) ป้ายเตือนเสรมิ ความเร็ว ใช้ตดิ ตง้ั ในกรณที ี่ความเรว็ ท่ีเหมาะสมบนทางโค้งน้อยกวา่ ความเร็วสำคัญบน ทางตรงเกิน 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือในกรณีที่ทางโค้งข้างเป็นทางโค้งที่มีรัศมีแคบ หรือทางโค้งอันตราย เปน็ ต้น 3.13 ป้ายเตอื นท่ีแสดงข้อความหรอื สัญลกั ษณ์ หรอื ท้งั สองอย่างรวมกนั ตวั อย่างป้ายเตือนทแ่ี สดงขอ้ ความหรือสัญลักษณ์ หรือทั้งสองอยา่ งรวมกนั ป้ายเตือนแสดงด้วยข้อความ หรือสัญลักษณ์ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน มีลักษณะเป็นป้ายสี่เหลี่ยม พื้นสีเหลือง เส้นขอบป้าย ข้อความ และสัญลักษณ์สีดำ ใช้ติดตั้งเดี่ยว หรือติดตั้งประกอบป้ายเตือนให้ผู้ขับข่ี ปฏิบัตติ าม หรือเพ่มิ ความระมัดระวงั เพื่อป้องกนั อนั ตราย หรอื อบุ ัตเิ หตุ

- 11 - เอกสารอ้างองิ 1. คู่มอื เล่มที่ 1 คูม่ อื มาตรฐานปา้ ยจราจร (มนี าคม 2561) กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม 2. คู่มือเล่มที่ 2 คู่มือมาตรฐานการออกแบบและติดตั้งป้ายจราจร (มีนาคม 2561) กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม 3. คู่มือเครื่องหมายควบคุมการจราจร ภาค 1 ป้ายจราจร พ.ศ. 2531 (พฤษภาคม 2547) กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม 4. มาตรฐานการปอ้ งกันอบุ ตั ิภัยทางถนน กรมส่งเสริมการปกครองทอ้ งถ่ิน กระทรวงมหาดไทย 5. คู่มือเครื่องหมายจราจรฉบับสมบูรณ์ เล่มที่ 3 คู่มือการใช้เครื่องหมายจราจรบริเวณทางโค้ง พ.ศ. 2547 สำนกั งานนโยบายและแผนการขนสง่ และจราจร กระทรวงคมนาคม 6. เอกสารการเรียนรู้ด้วยตนเองเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยด้านการจราจรและขนส่ง เล่มที่ 3 เอกสารการเรียนรูด้ ว้ ยตนเองเก่ียวกับเคร่ืองหมายจราจรบริเวณทางโค้ง สำนักงานนโยบายและแผนการขนสง่ และจราจร กระทรวงคมนาคม 7. คู่มือการใช้อุปกรณ์ควบคุมการจราจร ฉบับปี พ.ศ.2554 คู่มือการใช้อุปกรณ์ควบคุมการจราจร บรเิ วณทางโค้ง กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม 8. คู่มือการใช้อุปกรณ์ควบคุมการจราจร ฉบับปี พ.ศ.2554 คู่มือและมาตรฐานป้ายจราจร กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม

- 12 - ภาคผนวก การติดตงั้ ปา้ ยจราจรบริเวณทางโค้งในรปู แบบตา่ ง ๆ

- 13 - การติดต้งั ป้ายจราจรบรเิ วณทางโคง้ รศั มีกวา้ งนอกเขตเมอื ง

- 14 - การติดต้งั ป้ายจราจรบรเิ วณทางโคง้ รศั มีแคบนอกเขตเมอื ง

- 15 - การติดตงั้ ปา้ ยจราจรบรเิ วณทางโคง้ กลับนอกเขตเมอื ง

- 16 - การติดต้งั ป้ายจราจรบริเวณทางโค้งกลบั รศั มแี คบนอกเขตเมอื ง

- 17 - การติดต้งั ป้ายจราจรบรเิ วณทางโคง้ ข้นึ เนินนอกเขตเมอื ง

- 18 - การตดิ ต้ังปา้ ยจราจรบรเิ วณทางโคง้ หกั ศอก

- 19 - การติดต้งั ป้ายจราจรบรเิ วณทางโคง้ รศั มีกวา้ งในเขตเมอื ง

- 20 - การติดตงั้ ปา้ ยจราจรบรเิ วณทางโคง้ รศั มแี คบในเขตเมอื ง

- 21 - การติดต้งั ปา้ ยจราจรบริเวณทางโคง้ กลบั รศั มกี วา้ งในเขตเมอื ง

- 22 - การติดตง้ั ป้ายจราจรบรเิ วณทางโคง้ ในเขตเมอื ง ท่ที ัศนวิสัยไมด่ ี



โรงเรยี นดงเจริญพทิ ยาคม อาเภอดงเจริญ จงั หวดั พจิ ติ ร สานกั งานเขตพนื้ ทีก่ ารศึกษามัธยมศึกษาพจิ ติ ร สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน กระทรวงศกึ ษาธกิ าร https://www.dong.ac.th https://www.facebook.com/DongcharoenPittayakom 056-619646