Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หนังสืออ่านเพิ่มเติม "หมวกนิรภัยและเข็มขัดนิรภัย"

หนังสืออ่านเพิ่มเติม "หมวกนิรภัยและเข็มขัดนิรภัย"

Published by Kritsana Mathong, 2020-06-24 10:03:48

Description: หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด “รณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน” เรื่อง หมวกนิรภัยและเข็มขัดนิรภัย

Search

Read the Text Version

หนงั สอื อา่ นเพ่มิ เตมิ ชดุ “รณรงคป์ ้องกันและลดอุบัตเิ หตุทางถนน” หมวกนริ ภัย และเขม็ ขัดนริ ภัย HELMET SEAT BELT โรงเรยี นดงเจริญพิทยาคม อ.ดงเจริญ จ.พิจิตร สานกั งานเขตพื้นทกี่ ารศึกษามธั ยมศึกษาเขต 41 สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พืน้ ฐาน กระทรวงศกึ ษาธิการ



หนงั สืออา่ นเพมิ่ เตมิ ชุด “รณรงค์ป้องกันและลดอุบตั เิ หตุทางถนน” หมวกนิรภัยและเข็มขดั นิรภยั โรงเรยี นดงเจริญพิทยาคม อำเภอดงเจรญิ จงั หวัดพิจติ ร สำนกั งานเขตพ้ืนทก่ี ารศกึ ษามธั ยมศึกษาเขต 41 สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พน้ื ฐาน กระทรวงศกึ ษาธกิ าร

คำนำ ปัจจบุ นั น้ี ปัญหาที่สำคัญของประเทศไทยทจี่ ะต้องแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง นน่ั ก็คือ “ปัญหาอุบัติเหตุ ทางถนน” ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล และสาเหตุของอุบัติเหตุทางถนน ในประเทศไทย เกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งในด้านผู้ขับขี่ที่ขาดความรู้และฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการจราจร ทางบก ขาดจิตสำนึกที่ดีในการใช้รถใช้ถนน ด้านยาพาหนะที่ไม่สมบูรณ์ครบถ้วน ขาดการตรวจสภาพและ บำรุงรักษา ด้านสภาพแวดล้อมที่ไม่เอือ้ อำนวยต่อการสัญจร เช่น สภาพอากาศเลวร้าย ทัศนวิสัยการมองเหน็ ไม่ชัดเจน สภาพถนนชำรุด เป็นหลุมเป็นบ่อ สภาพถนนไม่ปลอดภยั ตามหลักวิศวกรรม เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลก็ได้ ให้ความสำคญั กับปัญหาอบุ ตั ิเหตุทางถนน ทั้งในช่วงระยะเวลาปกติ รวมถงึ ชว่ งวันหยดุ ยาวและชว่ งเทศกาลที่มี ปริมาณจราจรสงู ข้นึ เพื่อลดอุบตั ิเหตบุ นท้องถนนอย่างแทจ้ ริง โรงเรียนดงเจริญพิทยาคม เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ประจำอำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันโรงเรียนดงเจริญพิทยาคม ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับจังหวัดพิจิตร ในโครงการสานพลังสร้างมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนน จังหวัดพิจิตร ปี 2562-2563 เมอ่ื วนั ท่ี 23 กันยายน 2562 ณ โรงแรมมพี รสวรรค์ แกรนด์ โฮเทล แอนด์ รสี อรท์ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โดยมีวัตถุประสงค์หลกั เพื่อให้ความรู้และปลูกจิตสำนึกในการขับขี่อย่างมีวินัยและถูกกฎจราจร อยา่ งม่งุ เนน้ ให้เกิดความปลอดภยั และลดอบุ ตั เิ หตบุ นทอ้ งถนน การที่จะทำให้ผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะ สามารถสัญจรบนท้องถนนได้อย่างปลอดภัยและกฎจราจร สิ่งสำคัญที่นอกเหนือจากทักษะการขับขี่ในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในสถานการณ์ปกติ และสถานการณ์ฉุกเฉิน นั่นคือ การที่ผู้ขับขี่มีความรู้และเข้าใจในกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก และมีความรู้ความเข้าใจใน เครื่องหมายและสัญญาณจราจรที่ปรากฏบนทางหลวง ดังนั้น ในที่ประชุมคณะทำงานโครงการสานพลัง สร้างมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนน โรงเรียนดงเจริญพิทยาคม ร่วมกับคณะสภานักเรียน โรงเรียนดงเจริญพิทยาคม เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 ต่างให้ความเห็นชอบในการรณรงค์ป้องกัน และลดอุบัติเหตุทางถนน ที่ประชุมจึงมีมติให้คณะทำงานโครงการสานพลังสร้างมาตรการองค์กร เพื่อความปลอดภัยทางถนน โรงเรียนดงเจริญพิทยาคม เป็นผู้ผลิตสื่อการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเลก็ ทรอนกิ ส์ สอื่ สงั คมออนไลน์ และระบบสอื่ สารมวลชน หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติมชุด “รณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน” จะมีประโยชน์ต่อนกั เรยี น ผู้ปกครอง ผู้ใช้รถใช้ถนน และผู้ที่สนใจไม่มากก็น้อย หากมีข้อผิดพลาดประการใด กราบขออภัยมา ณ ท่นี ้ี จกั ขอบคุณยง่ิ คณะทำงานโครงการสานพลงั สร้างมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภยั ทางถนน โรงเรียนดงเจรญิ พทิ ยาคม

สารบญั บทที่ 1 หมวกนริ ภัย........................................................................................................................................ 1 1.1 บทนำ................................................................................................................................................. 1 1.2 ความหมายของหมวกนิรภัย ............................................................................................................... 1 1.3 ประเภทของหมวกนิรภยั .................................................................................................................... 2 1.4 การเลือกใชห้ มวกนิรภัย...................................................................................................................... 2 1.5 ผู้ใหญค่ วรสวมหมวกนิรภยั ใหเ้ ดก็ ....................................................................................................... 3 1.6 10 ความเชอื่ ผิด ๆ เกี่ยวกับการไม่สวมหมวกนิรภัย ............................................................................ 3 บทที่ 2 เข็มขดั นริ ภยั ....................................................................................................................................... 4 2.1 ความหมายของเข็มขดั นริ ภยั .............................................................................................................. 4 2.2 ชนดิ ของเข็มขดั นริ ภยั ......................................................................................................................... 4 2.3 เข็มขัดนริ ภยั ชว่ ยชีวติ ไดอ้ ยา่ งไร.......................................................................................................... 4 2.4 การคาดเขม็ ขัดนิรภัยสำหรบั สตรีมคี รรภ์ ............................................................................................ 5 2.5 ทนี่ งั่ สำหรับเด็ก .................................................................................................................................. 6 อา้ งอิง............................................................................................................................................................. 7

-1- บทที่ 1 หมวกนริ ภัย 1.1 บทนำ สมัชชาสหประชาชาติประกาศให้ปี 2554-2563 เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน โดยมเี ปา้ หมายลดอตั ราการเสียชีวติ จากอุบัตเิ หตทุ างถนนลงใหไ้ ดค้ รึง่ หนึง่ ในระยะเวลาทกี่ ำหนด ในทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน (พ.ศ. 2554-2563) ประเทศไทยมีเป้าหมายลดอัตราการ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลงให้เหลือต่ำกว่า 10 คน ต่อประชากร 100,000 คน เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความ ร่วมมือกันจากทุกฝา่ ย ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนทั่วประเทศปีละกว่า 10,000 คน โดยรถจักรยานยนต์เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดถึงปีละกว่า 5 หมื่นคัน สาเหตุสำคัญคือผู้ขับขี่ขาดจิตสำนึก ความปลอดภัย ขับรถด้วยความคึกคะนองและไม่สวมหมวกนิรภัย ซึ่งเมื่อเกิดอุบัติเหตุศีรษะที่ไม่มีสิ่งป้องกัน จะถูกกระทบกระเทอื นอย่างรุนแรงจนเสียชีวิตหรือพิการ 1.2 ความหมายของหมวกนิรภยั หมวกนิรภัย หรือ “หมวกกันน็อก” เป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ป้องกันการบาดเจ็บของ ศีรษะเมื่อมีการกระแทก ซึ่งสามารถลดการเสียชีวิตจากอุบตั ิเหตุทางถนนได้ร้อยละ 29 และลดการบาดเจ็บท่ี ศีรษะลงได้ร้อยละ 40 ผู้โดยสารที่ไม่สวมหมวกนิรภัยมีความเสี่ยงที่จะบาดเจ็บหรือเสียชีวิตสูงกว่าผู้ที่สวม หมวกนริ ภัยประมาณ 3 เท่า โดยผู้ซอ้ นท้ายมีความเสย่ี งทจ่ี ะบาดเจ็บมากกวา่ ผ้ขู ับข่ีถงึ 2.5 เทา่

-2- 1.3 ประเภทของหมวกนิรภยั 1. หมวกนิรภัยแบบปิดเต็มหน้า เป็นหมวกเต็มใบเปิดช่อง ตรงหน้า ตำแหน่งตาเท่านั้น มีส่วนป้องกันปากและคางด้านหน้า สามารถป้องกันศีรษะจากการกระทบ กระเทือนได้อย่างมี ประสิทธภิ าพทส่ี ดุ แตร่ าคาค่อนขา้ งสูง 2. หมวกนิรภัยแบบเต็มศีรษะ เป็นรูปทรงกลมปิดด้านข้าง และด้านหลังเสมอแนวขากรรไกรและต้นคอด้านหลัง ด้านหน้าเปิด เหนือคิ้วลงมาถึงปลายคางและมีสายรัดคาง สามารถป้องกันแรง กระแทกได้ท้ังศรี ษะและราคาไมส่ ูงนกั จึงไดร้ บั ความนยิ มสงู 3. หมวกนิรภัยแบบครึ่งศีรษะ เป็นรูปครึ่งทรงกลมปิด ด้านข้างและด้านหลังเสมอหู คลุมได้ครึ่งศีรษะ มีสายรัดคาง หมวก ชนิดนส้ี ามารถปอ้ งกนั ไดเ้ ฉพาะศีรษะส่วนบนเท่านนั้ 1.4 การเลือกใช้หมวกนริ ภยั หมวกนิรภัยที่มีคุณภาพจะต้องมีวัสดุรองภายในหมวกที่มี ความแข็งแรง เหนียว ทนทาน เพื่อลดแรงกระแทกที่ส่งผ่านตัวหมวกสู่ศีรษะ ดังนั้น การสวมหมวกนิรภัยทุก ครั้งจะต้องมีวัสดุรองภายในที่มีความแข็งแรงทนต่อแรงกระแทกได้ดี ซึ่งการเลือกใช้หมวกนิรภัยควรพิจารณา ดงั น้ี 1. ควรใช้หมวกนิรภยั ทม่ี ีเครื่องหมายรบั รองมาตรฐานผลิตภณั ฑ์อตุ สาหกรรม (มอก.) 2. เลือกขนาดของหมวกให้พอดีกับขนาดของศีรษะ โดยทดลองสวมหมวกนิรภัย คาดสายรัดคางให้ แน่น และทดลองผลักหมวกไปทางด้านหน้าและด้านหลัง ถ้าหมวกเลื่อนขึ้นไปจนถึงกลางศีรษะหรือมากกว่า นนั้ ควรเปลยี่ นขนาดของหมวกใหมใ่ ห้พอดี 3. เลือกหมวกนิรภัยที่มีสีสันสดใส เพื่อช่วยให้คนขับรถคันอื่นมองเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะเวลา กลางคนื

-3- 4. ควรเปลย่ี นหมวกนิรภัยใหมท่ ุก ๆ 3-5 ปี เนื่องจากมีการเสอื่ มอายุการใช้งาน หรอื หมวกที่เคยได้รับ การกระแทกมาแลว้ กค็ วรเปลี่ยนใหมเ่ ชน่ กนั รหู้ รือไม่ พระราชบัญญตั ิจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ท่ีมกี ารแกไ้ ขเพิ่มเตมิ กำหนดผ้ขู ับขร่ี ถจักรยานยนต์ และผู้โดยสารต้องสวมหมวกนิรภัย เพ่ือป้องกันอันตรายในการขับขี่และหากฝ่าฝืน จะมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท หากผ้ขู ับข่ีให้ผู้โดยสาร (ซอ้ นท้าย) โดยไมส่ วมหมวกนิรภยั ผู้ขบั ข่ีจะต้องถูกปรับเป็น 2 เท่าของโทษท่ี กำหนด 1.5 ผู้ใหญค่ วรสวมหมวกนิรภยั ให้เด็ก 1. ทุกครั้งที่นำเดก็ โดยสารรถจักรยานยนต์ ผู้ปกครองควรสวม หมวกนิรภัยให้เดก็ จนเป็นนสิ ัย 2. ไม่ลอ้ เลยี นเวลาเดก็ สวมหมวกนิรภัย เพราะจะทำให้เด็กเขิน อายและไม่อยากใส่ 3. ควรให้เด็กสวมหมวกนิรภัยที่มีขนาดพอดีกับศีรษะของเด็ก หากขนาดศรี ษะเดก็ เพ่มิ ข้ึน ใหเ้ ปล่ยี นหมวกใหม่ 4. เลือกหมวกนิรภัยที่มีสีสันสดใสหรือลวดลายการ์ตูนเพื่อ ดึงดูดเด็กใหส้ วมใส่ได้ง่ายข้นึ 1.6 10 ความเชื่อผดิ ๆ เกี่ยวกบั การไมส่ วมหมวกนริ ภยั 1. “ขี่มอเตอร์ไซค์ใกล้ๆ แค่นี้ไม่ต้องสวมหมวก 6. “ไมม่ ที ่เี กบ็ ...พกลำบาก...กลัวหาย” นิรภยั ก็ได”้ 7. “ไม่มดี ่านตรวจ ไม่ต้องสวมก็ได”้ 2. “ไมไ่ ด้ข่อี อกถนนใหญ่ หมวกไม่ต้องใสก่ ็ได”้ 8. “ไมม่ ีหมวก...ก็ไมใ่ ส่” 3. “เร่งรีบแบบน้ี เดย๋ี วค่อยสวมทหี ลงั ” 9. “ยงั ไงกไ็ มเ่ กิดอบุ ัติเหตอุ ยแู่ ล้ว...” 4. “ร้อนอดึ อดั ...สวมแลว้ ไม่สบาย...สกปรก” 10. “คนขยี่ ังไม่สวม...คนซ้อนไมต่ ้องสวมก็ได้” 5. “กลัวผมเสียทรง...”

-4- บทท่ี 2 เข็มขดั นริ ภัย 2.1 ความหมายของเข็มขัดนริ ภัย เข็มขัดนิรภัย เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดความรุนแรงจากการกระแทกเม่ือ รถเกิดอุบัติเหตุ โดยจะช่วยป้องกันร่างกายส่วนบนของผู้ขับรถและผู้โดยสาร ไม่ให้ถูกเหวี่ยงไปข้างหน้า ป้องกันไม่ให้ศีรษะกับหน้าอกถูกกระแทกและตัวคน หลุดออกนอกรถซงึ่ จะมโี อกาสเสยี ชวี ิตได้มากกว่า หากเกิดการชนทางด้านหลัง รถยนต์จะถูกกระแทกไปด้านหน้าอย่าง รุนแรง รา่ งกายจะกระแทกกับพนักพิงก่อนแล้วจึงสะบดั ไปดา้ นหน้า หน้าอกจะ ถูกกระแทกอย่างรุนแรง ซึ่งอาจทำให้กระดูกซี่โครงหัก มีเลือดออกในเยื่อหุ้ม ปอดหรือเยื่อหุ้มหัวใจ แขนอาจหักเพราะแรงกระแทกขากระทบกับใต้แผง คอนโซลจนเกดิ การฟกช้ำหรอื กระดกู แตกหัก 2.2 ชนดิ ของเข็มขดั นริ ภยั 1. แบบรัดหน้าตักและรั้งพาดไหล่ (Three-point belt) หรือแบบ 3 จุด เป็นเข็มขัดนิรภัยที่มีสายคาดรั้งพาดไหล่ผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารจากด้านบนลงมา ด้านลา่ ง โดยสายอีกส่วนจะพาดรดั หน้าตักเพือ่ ยดึ ขาและลำตัวไว้กับเบาะทีน่ ั่ง 2. แบบรัดหน้าตัก (Lap belt) หรือแบบ 2 จุด เป็นเข็มขัดนิรภัยที่มีสาย คาดรัดหน้าตักผู้โดยสารเท่านั้น มักติดตั้งอยู่ ณ ที่นั่งตอน 2 หรือที่นั่งตรงกลาง ระหว่างผูข้ ับข่ีกับผู้โดยสารตอนหนา้ 2.3 เข็มขดั นิรภยั ช่วยชีวติ ได้อยา่ งไร เข็มขัดนิรภัยจะยึดรั้งร่างกายไว้กับเบาะตลอดเวลา ทำให้ไม่เกิดการสะบัดของร่างกายอย่างรุนแรง ยิ่งกระชับมากก็ยิ่งปลอดภัยมาก ในระยะหลังมีการปรบั ปรุงให้การทำงานของเข็มขัดนิรภัยดีขึ้นและควบคู่กับ เบาะทอ่ี อกแบบมาอยา่ งดีอัตราเสีย่ งกย็ ิ่งลดต่ำลงไปอีก เขม็ ขดั นิรภยั จะมีประสทิ ธิภาพท่ีสุด จะต้องประกอบด้วยปจั จัยอ่นื ไดแ้ ก่

-5- 1. พนักพิงศีรษะต้องอยู่ในระดับสูงพอเหมาะ จะ รองรับศีรษะได้อย่างมั่นคง ไม่ควรปรับไว้ที่ระดับต้นคอหรือ ถอดออกเดด็ ขาด 2. สายเข็มขัดนิรภัยต้องกระชับตัวพอดี ถ้าดึงให้ หลวมเพื่อให้สบายตัว เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะไม่สามารถรั้ง รา่ งกายได้ 3. ควรเป็นเข็มขัดนิรภัยแบบรัดหน้าตักและรั้งพาด ไหล่ (แบบ 3 จุด) ส่วนแบบรัดหน้าตัก (แบบ 2 จุด) ยังไม่มี ประสิทธิภาพเพยี งพอ 2.4 การคาดเขม็ ขดั นริ ภยั สำหรับสตรีมคี รรภ์ การคาดเข็มขดั นิรภัยสำหรบั สตรีมีครรภ์ที่ถกู ตอ้ ง ต้องใหส้ ายเข็มขัดนิรภยั พาดบรเิ วณเอวต่ำกว่าหน้า ท้องลงมา โดยพาดผ่านหน้าข้อต่อสะโพกทั้งสองข้าง ห้ามคาดสูงกว่าหน้าท้องที่ยื่นออกมาเด็ดขาด ส่วนสาย พาดไหล่พาดทบั ค่อนไปทางเหนือหน้าท้อง วธิ ีนีจ้ ะกระจายแรงกระแทกที่เกิดจากการกระชากกลับของเข็มขัด นิรภยั ไปตามลำตัวของแม่ได้ และที่สำคญั หากนัง่ ในรถยนต์ที่มีถุงลมนิรภัยต้องกะระยะห่างให้ดีเพ่ือไม่ให้ถุงลม นริ ภยั พุ่งมากระแทกหนา้ ท้องได้

-6- 2.5 ทน่ี ่งั สำหรับเดก็ ที่นั่งสำหรับเด็กจะตอ้ งแยกไปตามอายุเด็ก การโดยสารรถยนต์อุปกรณ์ป้องกันได้ออกแบบมาสำหรับ ผู้ใหญ่ไม่สามารถป้องกันอันตรายที่เกิดกับเด็กที่มีรูปร่างเล็กกว่าผู้ใหญ่ได้ และอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่เด็ก ดว้ ย เด็กแรกเกดิ -10 ปี จะตอ้ งน่งั เบาะหลงั เสมอ และนงั่ บนทีน่ ง่ั ที่ออกแบบมาสำหรบั เดก็ โดยเฉพาะ ที่น่ังสำหรับเดก็ ได้แบ่งเปน็ 4 ประเภท ดังน้ี 1. เปลเด็กอ่อนสำหรับรถยนต์ (Infant car bed) เหมาะสำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือมี น้ำหนกั แรกคลอดตำ่ กวา่ 2.5 กิโลกรัม ควรจัดศีรษะเด็กให้หนั ไปทางตอนกลางของรถยนตเ์ สมอ 2. ทีน่ ัง่ เดก็ ชนิดนง่ั หนั ไปทางหลงั รถ (Rear-facing infant seat) ต้องวางไว้ทเ่ี บาะหลังและให้เด็ก นั่งหันไปทางหลังรถเสมอ เหมาะสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักไม่เกิน 9 กิโลกรัม และมีส่วนสูงประมาณ 75 เซนตเิ มตร คือต้ังแต่แรกเกดิ ถึงประมาณ 1 ปี 3. ทนี่ ั่งเด็กท่ีหันไปทางหนา้ รถ (Forward-facing child seat) ต้องวางไว้ท่เี บาะหลังและให้เด็กนั่ง หันไปทางหน้ารถ เหมาะกับเด็กที่มีน้ำหนักตัว 9-18 กิโลกรัม และมีส่วนสูง 75-110 เซนติเมตร หรืออายุ ประมาณ1-5 ขวบ ที่นั่งประเภทนี้อาจออกแบบให้ใช้ได้ทั้งในแบบที่หันไปทางหน้ารถและหลังรถ โดยผู้ใช้ สามารถปรับตดิ ต้ังได้ตามความเหมาะสม 4. ที่นั่งเสริม (Booster seat) เป็นที่นั่งสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักตัวประมาณ 18-27 กิโลกรัม หรือ มากกว่าน้ีและสูงประมาณ 110-135 เซนติเมตร อายุประมาณ 5-10 ขวบ ที่นั่งประเภทนี้จะช่วยให้เด็กคาด เขม็ ขัดนิรภยั ของรถยนตไ์ ดพ้ อดีตัวยงิ่ ขึ้น คำเตือน ไม่ควรอุ้มทารกหรือเด็กไว้ในอ้อมแขนขณะนั่งรถยนต์ ในกรณีที่รถชนกันน้ำหนักของเดก็ จะ กลายเป็นแรงมหาศาลที่ไม่สามารถโอบอุ้มไว้ได้ จะหลุดลอยไปกระทบกับสิ่งกีดขวาง ทำให้บาดเจ็บหรือ เสยี ชวี ิตได้

-7- อ้างองิ เอกสารอา้ งอิง 1. เอกสารแผ่นพับความรู้เรื่อง “เข็ดขัดนิรภัย คาดไว้เพื่อตัวคุณเอง” โดยส่วนส่งเสริมความปลอดภัย สำนกั สวสั ดภิ าพการขนสง่ ทางบก กรมการขนส่งทางบก 2. เอกสารแผ่นพับความรู้เรื่อง “รถจักรยานยนต์กับหมวกนิรภัย” โดยส่วนส่งเสริมความปลอดภัย สำนักสวสั ดิภาพการขนสง่ ทางบก กรมการขนส่งทางบก 3. เอกสารแผ่นพับความรู้เรื่อง “หมวกนิรภยั ปกป้องปลอดภัย” โดยกรมปอ้ งกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย 4. หนังสือคมู่ อื ฉบบั การ์ตนู ชุด “หมวกนิรภยั ปกป้องปลอดภัย” โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย 5. หนังสือคู่มือฉบับการ์ตูน ชุด “คู่มือความปลอดภัยบนท้องถนน” โดยกรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภยั กระทรวงมหาดไทย ชาวพจิ ติ รรว่ มใจ ขบั ข่ีปลอดภยั มวี ินัยจราจร ผลงานการประพันธ์คำขวญั ของ นายกฤษณะ ม้าทอง นักเรยี นชัน้ มัธยมศึกษาปีท่ี 4 โรงเรียนดงเจรญิ พิทยาคม อำเภอดงเจรญิ จงั หวัดพจิ ติ ร ซง่ึ ไดร้ ับรางวัลรองชนะเลิศอนั ดับ 3 จากจงั หวดั พิจิตร เมือ่ วนั ท่ี 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562




Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook