Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Mental Health

Mental Health

Published by rally.nai47, 2021-12-26 14:14:03

Description: Mental Health

Search

Read the Text Version

MenสtุaขภlาพHจิตealth Written by นายภูรี นัยเรืองรุ่ง ม. 6/12 เลขที่ 16



Cสoาnรtบeัญnts Topic Pages หัวข้อ หน้า Depression โรคซึมเศร้า.........................................1 - Causes of Depression สาเหตุของโรคซึมเศร้า...........................................3 - Depressive Symptoms อาการซึมเศร้า......................................................6 Schizophrenia โรคจิตเภท...................................11 - Causes of Schizophrenia สาเหตุของโรคจิตเภท..........................................12 - Schizophrenia Symptoms อาการของโรคจิตเภท..........................................13 - โรคจิตเภท มีการดูแลรักษาอย่างไร.....................18 - หลักทั่วไปในการดูแลผู้ป่วย.................................19 References อ้างอิง..............................................20

Depโรrคeซsึมsเiศoรn้า โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางอารมณ์ชนิด หนึ่ง ซึ่งผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอารมณ์ซึมเศร้า อย่างรุนแรง โดยไม่มีสาเหตุอารมณ์ซึม เศร้าอาจเริ่มต้นจากน้อยๆ ไปหามาก ผู้ ป่วยอาจมีอารมณ์ไม่แจ่มใส หดหู่ เศร้า หมอง มีทุกข์ จนถึงเบื่อหน่าย ท้อแท้ เบื่อ ชีวิต คิดว่าตนเองไร้ค่า คิดอยากตาย และ อาจจะฆ่าตัวตายได้ ผู้ป่วยจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยได้แก่ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง ผอมลง เซื่องซึม นอนไม่หลับ ขาดสมาธิ ความจำเสื่อม เหนื่อยง่าย เพลีย ไม่มีแรง เบื่องาน หรือเบื่อกิจกรรมที่เคยทำแล้ว สนุก ความรู้สึกทางเพศจะลดลงจนหมดไป การเบื่อสังคมอาจแสดงออกด้วยการเก็บ ตัว แยกตัว เซื่องซึม ขาดความมั่นใจใน ตนเอง เครียดง่าย กังวลง่าย มองโลกใน แง่ร้าย ไม่เห็นทางแก้ไขปัญหา 1

โรคซึมเศร้าที่มีอาการรุนแรงมาก อาจ เกิดอาการโรคจิตร่วมด้วย เช่น มีอาการ หลงผิด หรือหูแว่ว โรคนี้มักเกิดในวัย ผู้ใหญ่ตอนต้น จนถึงวัยกลางคน เกิดได้ ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องมีความเครียดเป็น สาเหตุ เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีอันตรายเนื่องจาก ผู้ป่วยอาจฆ่าตัวตายได้ อย่างไรก็ตามโรค ซึมเศร้าเป็นโรคที่รักษาได้ผลดีมาก การใช้ ยาร่วมกับจิตบำบัด จะช่วยให้ผู้ป่วยส่วน ใหญ่หายเป็นปกติเหมือนเดิม เมื่อหายแล้ว แพทย์จะให้รับประทานยาป้องกันต่ออีก ประมาณ 6-12 เดือน ไม่ควรหยุดยาเอง เด็ดขาด เพราะอาจทำให้มีอาการอีกได้ง่าย 2

CausสeาsเหตoุfขอDงโรeคpซึมrเeศsรs้าion 1. โรคซึมเศร้ามีสาเหตุมาจากปัจจัยรวมๆ ทางด้านจิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อม และชีวภาพ 2. โรคซึมเศร้ามักเกิดตามหลังความผิด หรือการสูญเสียจากพราก เช่น บุคคลที่รัก ตายจาก คนรักตีจาก ความกดดันด้านสังคม การเรียน การงาน หรือการเงิน สภาพชีวิตที่ โดดเดี่ยวว้าเหว่ ขาดความรักความอบอุ่น เป็นต้น 3. โรคซึมเศร้ามิได้เกิดจากสภาพจิตใจที่ เปราะบาง อ่อนแอ อย่างที่เข้าใจกันผิดๆ หาก แต่มีหลักฐานจากการวิจัยมาตลอด 20 ปีนี้ว่า การเปลี่ยนแปลงของสมดุลย์ของสารเคมี ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมอง มีผลต่อ อารมณ์ซึมเศร้าของคน โดยเฉพาะสารซีโรโท นิน นอร์เอปิเนฟรีน และโดปามีน 3

4. หากมีประวัติการเจ็บป่วยโรคนี้ในญาติ ก็เพิ่มการป่วยโรคนี้กับสมาชิกอื่นในบ้าน แต่ ก็มิได้หมายความว่า จะเป็นกันทุกคน ปัจจัยที่ กระตุ้นให้คนที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ มีโอกาส เกิดอาการก็คือ ความเครียด แต่ทั้งนี้คนที่ ไม่มีญาติเคยป่วยก็อาจเกิดเป็นโรคนี้ได้ มัก พบว่าผู้ป่วยโรคนี้จะมีความผิดปกติของระดับ สารเคมี ที่เซลล์สมองสร้างขึ้นเพื่อรักษาสม ดุลย์ของอารมณ์ 5. สภาพจิตใจที่เกิดจากการเลี้ยงดูก็เป็น ปัจจัยที่เสี่ยงอีกประการหนึ่ง ต่อการเกิดโรค ซึมเศร้าเช่นกัน คนที่ขาดความภูมิใจในตนเอง มองตนเอง และโลกที่เขาอยู่ในแง่ลบตลอด เวลา หรือเครียดง่าย เมื่อเจอกับมรสุมชีวิต ล้วนทำให้เขาเหล่านั้นมีโอกาสป่วยง่ายขึ้น 4

6. หากชีวิตพบกับการสูญเสียครั้งใหญ่ ต้องเจ็บป่วยเรื้อรัง ความสัมพันธ์กับคนใกล้ ชิดไม่ราบรื่น หรือต้องมีการเปลี่ยนแปลงใน ทางที่ไม่ปรารถนา ก็อาจกระตุ้นให้โรคซึมเศร้า กำเริบได้ 7. สาเหตุที่จะกระตุ้นการเกิดโรคซึมเศร้าที่ พบบ่อยก็คือ การมีทั้งความเสี่ยงทาง พันธุกรรม ทางสภาพจิตใจ ประจวบกับการ เผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย ร่วมกันทั้ง 3 ปัจจัย 5

DeอpาrกeาsรsซiึvมeเศSร้าymptoms 1. ภาวะอารมณ์ซึมเศร้าจากการปรับตัว ไม่ได้กับปัญหาที่มากระทบ เป็นภาวะที่เกิด จากการปรับตัวไม่ได้กับปัญหาต่างๆ ที่เข้า มากระทบ เช่น ย้ายบ้าน ตกงาน เกษียน เป็นต้น โดยจะพบอาการซึมเศร้าร่วมด้วย ได้ แต่มักจะไม่รุนแรง ถ้ามีคนมาพูดคุย ปลอบใจก็จะดีขึ้นบ้าง อาจมีเบื่ออาหารแต่ เป็นไม่มาก ยังพอนอนได้ เมื่อเวลาผ่านไป ค่อยๆ ปรับตัวได้กับสถานการณ์ที่เปลี่ยน ไป ภาวะอารมณ์ซึมเศร้าที่มีก็จะทุเลาลง 6

2. ผู้ป่วยอาจเป็นประเภทที่มีอาการ 2 ขั้ว หรือขั้วเดียว ประเภทมีอาการสองขั้ว มีอาการ แกว่งระหว่างขั้วหนึ่งที่มีอาการเฟื่ อง กับอีกขั้ว ตรงข้ามที่มีอาการแฟบ หรือซึมเศร้า ช่วงเฟื่ อง สมองจะตื่นตัวคิดอะไรว่องไว อาจถึงขั้นอัจฉริยะ พูดเร็ว ทำเร็ว รุกรานผู้อื่น ใช้เงินมากอย่างไม่เสียดาย เจ้าตัวจะมีความสุข แล้วทำให้ผู้อื่นมีความทุกข์ เป็นอยู่พักหนึ่ง อาการจะแกว่งไปทางตรงข้ามคือแฟบ มีอาการซึมเศร้า กลัว วิตกกังวล ทำอะไรไม่ได้ ตัดสินใจไม่ได้ ของที่เคยทำได้ง่ายๆ ก็กลัวไม่ กล้าทำ รู้สึกตัวเองมีความผิดเกินเหตุ กลัวใน เรื่องต่างๆ อย่างควบคุมไม่ได้ กินอาหารไม่ลง นอนไม่หลับ มีความคิดวนเวียนอยู่ในเรื่องโทษ ตัวเอง และวิตกกังวลอย่างแสนสาหัส วนๆ ซ้ำซากอยู่อย่างนั้น อย่างไม่สามารถหลุด ออกไปได้ ความทุกข์ท่วมท้นอย่างน่าสงสาร 7

3. ในโรคอารมณ์แปรปรวน ผู้ป่วยจะ มีอาการเหมือนกับโรคซึมเศร้าอยู่ช่วง หนึ่ง และมีอยู่บางช่วงที่มีอาการออกมา ในลักษณะตรงกันข้ามกับอาการซึมเศร้า เช่น อารมณ์ดีเบิกบานมากผิดปกติ พูด มาก ขยันมาก เชื่อมั่นตัวเองมากกว่า ปกติ ใช้เงินเปลือง เป็นต้น ซึ่งทางการ แพทย์เรียกระยะนี้ว่า ระยะแมเนีย ผู้ที่ เป็นโรคอารมณ์แปรปรวนบางครั้งจะมี อาการของโรคซึมเศร้า บางครั้งก็มี อาการของภาวะแมเนีย 8

4. พบบ่อยว่าผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะ มีอาการวิตกกังวล ห่วงโน่นห่วงนี่ ซึ่งเป็น อาการหลักของโรควิตกกังวล ที่ต่างกันคือ ในโรควิตกกังวลนั้น จะมีอาการหายใจไม่ อิ่ม ใจสั่น สะดุ้ง ตกใจง่าย ร่วมด้วย อาการเบื่ออาหารถึงมีก็เป็นไม่ มาก น้ำหนักไม่ลดลงมากเหมือนผู้ป่วยโรค ซึมเศร้า และโรคซึมเศร้านั้นนอกจาก อาการวิตกกังวลแล้วก็จะพบอาการซึม เศร้า ท้อแท้ เบื่อหน่ายชีวิต ร่วมด้วยโดยที่ อาการอารมณ์เศร้านี้จะเห็นเด่นชัดกว่า อาการวิตกกังวล 9

“โรคซึมเศร้า” สามารถรักษาให้หายได้ ควรรีบมา พบแพทย์ ก่อนสายเกินไป • เบื่อทำอะไรก็ไม่เพลิดเพลิน • ไม่สบายใจ ซึมเศร้า หรือท้อแท้ • หลับยาก หรือหลับๆ ตื่นๆ หรือหลับมากไป • เหนื่อยง่าย หรือไม่ค่อยมีแรง • เบื่ออาหาร หรือกินมากเกินไป • รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง-คิดว่าตัวเองล้มเหลว หรือเป็น คนทำให้ตัวเองหรือคนรอบข้างผิดหวัง • สมาธิไม่ดีเวลาทำอะไร เช่น ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรือทำงานที่ต้องใช้ความตั้งใจ • พุดหรือทำอะไรช้าจนคนอื่นมองเห็น หรือกระสับ กระส่ายจนไม่อยู่นิ่งเหมือนเคย • คิดทำร้ายตนเอง หรือคิดว่าถ้าตายๆไปคงดี หากมีอาการ 5 ใน 9 ข้อ ต้องมาพบแพทย์ • รักษาด้วยยาต้านซึมเศร้า • รักษาด้วยจิตบำบัด • รักษาด้วยวิธีอื่นๆ และการปรับพฤติกรรม โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลสุขภาพ หรือโทร.1719 10

Scโhรiคzจิoตpเภhrทenia โรคจิตเภท (Schizophrenia) คือ กลุ่มอาการของโรคที่มีความผิด ปกติของความคิด ทำให้ผู้ป่วยมี ความคิดและการรับรู้ไม่ตรงกับความ เป็นจริง ทำให้มีผลเสียต่อการดำเนิน ชีวิตประจำวัน เช่น การดูแลตัวเอง การใช้ชีวิตในสังคม ส่วนใหญ่ผู้ป่วย จะเริ่มเป็นเมื่ออายุประมาณ 14-16 ปี หรือช่วงปลายวัยรุ่น โรคนี้พบได้ ประมาณร้อยละ 1 ของประชากร 11

CaสuาsเeหsตุoขfอSงโcรhiคzจoิpตเhภreทnia เชื่อว่ามีสาเหตุมาจากทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ ดังนี้ ด้านร่างกาย ทางพันธุกรรม ยิ่งมีความใกล้ชิดทาง สายเลือดกับผู้ป่วยมากยิ่งมีโอกาสสูง จาก ความผิดปกติของสมอง โดยสารเคมีใน สมองมีความผิดปกติและจากโครงสร้าง ของสมองบางส่วนที่มีความผิดปกติเล็ก น้อย ด้านจิตใจ จากความเครียดในชีวิตประจำวัน เป็น ตัวกระตุ้นให้เกิดความเจ็บป่วย การใช้ อารมณ์กับผู้ป่วย การตำหนิ มีท่าทีที่ไม่เป็น มิตรหรือจู้จี้ยุ่งเกี่ยวกับผู้ป่วยมากไปก็มีผล ต่อการกำเริบของโรคได้ 12

SchอiาzกopารhขrอenงiโaรคSจิตyเภmทptoms อาการเริ่มต้น อาจเกิดในแบบเฉียบพลันทันที หรือเกิด แบบค่อยเป็นค่อยไปก็ได้ ในกรณีที่อาการเริ่ม ต้นเป็นแบบค่อย เป็นค่อยไป จะมีอาการเริ่มต้น อย่างช้าๆ อาจมีอาการสับสน มีความรู้สึก แปลกๆ ไม่อยู่ในความเป็นจริง อาการ จะค่อยๆ มากขึ้น ทำให้ครอบครัวและคนรอบข้างรู้สึกว่าผู้ ป่วยเปลี่ยนไปจากบุคลิกภาพเดิม อาทิเช่น แยกตัว ไม่อยากสุงสิงกับใครมีอาการ ระแวงคนอื่น มีปัญหาการนอนหลับ ไม่สามารถ รับผิดชอบหน้าที่การงาน การเรียน ได้เหมือน ปกติ ค่อยๆ หมดความสนใจ สิ่งต่างๆ รอบตัว รวมถึง การดูแลสุขภาพอนามัยส่วนตัว อาการเหล่านี้ เป็นอาการเริ่มต้นที่ช่วยเตือนว่า อาจจะมีการเริ่มต้นของโรคจิตเภทแล้ว สิ่งที่สำคัญที่ควรทำ คือ การปรึกษาแพทย์เพื่อ รับการบำบัดรักษาแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยให้การ รักษาได้ผลดีกว่าการปล่อยไว้นานจนเป็นการ เจ็บป่วยเรื้อรัง 13

ลักษณะอาการแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มอาการที่เพิ่มมากกว่าคนปกติ ทั่วไป ได้แก่ อาการหลงเชื่อผิด เป็นความเชื่อของผู้ป่วยที่ผิดไปจาก ความเป็นจริง เช่น คิดว่าคนอื่นจะมาทำร้าย ระแวงว่าตนจะถูกวางยาพิษ คิดว่าตนส่ง กระแสจิตได้ ความคิดผิดปกติ ผู้ป่วยคิดแบบมีเหตุผลอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้ ทำให้คุยกับคนอื่นไม่เข้าใจ ผู้ป่วยมัก พูดไม่เป็นเรื่องราว พูดไม่ต่อเนื่อง เปลี่ยน เรื่องพูดโดยไม่มีเหตุผล 14

ประสาทหลอน โดยผู้ป่วยคิดว่ามีบางสิ่งเกิดขึ้น ทั้งๆ ที่ ความจริงไม่มีสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้น เช่น ได้ยินเสียงคนมาพูดด้วยทั้งๆ ที่ไม่มีใคร พูดด้วย (หูแว่ว) มองเห็นวิญญาณ (เห็น ภาพหลอน) มีพฤติกรรมผิดปกติ โดยมักเกี่ยวข้องกับความคิดและความ เชื่อที่ผิดปกติ เช่น ทำร้ายคนอื่น อยู่ในท่า แปลกๆ ซ้ำๆ หัวเราะหรือร้องไห้สลับกัน เป็นพักๆ 15

2. กลุ่มอาการที่ขาดหรือบกพร่องไปจาก คนปกติทั่วไป ได้แก่ เก็บตัว ซึม ไม่อยากพบปะผู้คน แยกตัว เอง ไม่ดูแลตัวเอง ไม่สนใจเรื่องการแต่งกาย กลางคืนไม่นอน ไม่มีความคิดริเริ่ม เฉื่อยชาลง ไม่ทำงาน นั่งเฉยๆ ได้ทั้งวัน ผลการเรียนหรือการ ทำงานตกต่ำ พูดน้อย ใช้เวลานานกว่าจะตอบ พูดจา ไม่รู้เรื่อง เนื้อความไม่ปะติดปะต่อกัน การแสดงออกทางอารมณ์ลดลงมาก ไร้ อารมณ์ มักมีสีหน้าเฉยเมย ไม่มีอาการ ยินดียินร้าย 16

ในระยะอาการกำเริบ อาการส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอาการที่ เพิ่มมากกว่าคนปกติทั่วไป ส่วนกลุ่มอาการที่ขาดหรือบกพร่องไป จากคนปกติทั่วไปมักพบในระยะหลังโรค หากท่านหรือผู้ใกล้ชิดมีอาการดังกล่าว ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษา 17

โรคจิตเภท มีการดูแลรักษาอย่างไร การรักษาด้วยยา เพื่อควบคุมอาการ และลดการกำเริบซ้ำของโรค การฟื้ นฟูสภาพจิตใจ โดยฝึกการเข้า สังคมและให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย การทำจิตบำบัด โดยผู้เชี่ยวชาญพูด คุยกับผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจ ตนเองและปัญหาของตนเองมาก ขึ้น ครอบครัวบำบัด โดยแพทย์เป็นผู้ให้ ความรู้ในเรื่องโรคและสิ่งที่ญาติควร ปฏิบัติต่อผู้ป่วย กลุ่มบำบัด เป็นการ จัดกิจกรรมกลุ่มระหว่างผุ้ป่วย เพื่อ ให้ผู้ป่วยมีเพื่อนคอยสนับสนุนให้ กำลังใจซึ่งกันและกัน 18

หลักทั่วไปในการดูแลผู้ป่วย ข้อควรทำ เข้าใจผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยไม่ได้ตั้งใจสร้าง ความรำคาญเดือดร้อน จึงควรให้อภัยไม่ ถือโทษผู้ป่วย ไม่ควรโต้เถียงกับ ผู้ป่วย เกี่ยวกับอาการทางจิต แต่ควรแสดงความ เห็นใจในความทุกข์ที่ผู้ป่วยได้รับจากอาการ ทางจิต รวมทั้งเสนอความ ช่วยเหลือด้วย ความอดทน กระตุ้น แต่ไม่บังคับ ความเครียดมีส่วน ทำให้โรคจิตเภทกำเริบได้ จึงไม่ควรมุ่งหวัง หรือผลักดันผู้ป่วยมากเกินไป แต่การปล่อย ปละละเลยก็ทำให้อาการแย่ลงได้เช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือ กระตุ้นแต่ไม่บังคับ เช่น กระตุ้นให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเอง ช่วย ทำงานบ้านอย่างง่ายๆ โดยไม่ใช้การบังคับ และควรหลีกเลี่ยงการตำหนิติเตียนผู้ป่วย โดยไม่จำเป็น ดูแลผู้ป่วย การดูแลผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ จึงควรให้ความดูแลผู้ป่วยเรื่องการกินยาให้ ครบ รวมทั้งการดูแลที่เหมาะสมต่อไป 19

Refeอr้าeงnอิcงes คนรอบข้างคุณมีภาวะ.. โรคซึมเศร้าหรือ ไม่? (bangkokpattayahospital.com) https://www.bangkokpattayahospi tal.com/th/healthcare- services/mental-health-center- th/mental-articles-th/item/898- depression-th.html โรคจิตเภท คืออะไร (manarom.com) https://www.manarom.com/blog/schi zophrenia.html 20


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook