Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore พรบ.ทรมาน 65

พรบ.ทรมาน 65

Published by rlpd.the66institut, 2023-07-17 04:34:51

Description: พรบ.ทรมาน 65

Search

Read the Text Version

เล่ม ๑๓๙ ตอนท่ี ๖๖ ก หน้า ๔๓ ๒๕ ตลุ าคม ๒๕๖๕ ราชกจิ จานุเบกษา พระราชบญั ญัติ ป้องกนั และปราบปราม การทรมานและการกระทาให้บคุ คลสญู หาย พ.ศ. ๒๕๖๕ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธบิ ดีศรสี นิ ทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจา้ อยู่หวั ใหไ้ ว้ ณ วนั ท่ี ๒๔ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เปน็ ปที ่ี ๗ ในรชั กาลปจั จบุ ัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยท่ีเป็นการสมควรมีกฎหมายวา่ ดว้ ยการป้องกนั และปราบปรามการทรมานและการกระทาให้ บุคคลสญู หาย พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเก่ียวกับการจากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซ่ึงมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทาได้ โดยอาศัยอานาจตามบทบญั ญัติแหง่ กฎหมาย เหตุผลและความจาเปน็ ในการจากัดสิทธิและเสรีภาพของบคุ คลตามพระราชบัญญัตินี้ เพ่ือให้ ความคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการทรมานและการกระทาให้บุคคลสูญหายซ่งึ กระทาโดยเจา้ หน้าทีข่ องรฐั ตลอดจนเพ่ิมประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกัน ปราบปราม และเยียวยาผู้เสียหาย จากการกระทาในลักษณะดังกล่าว ซึ่งการตราพระราชบัญญัติน้ีสอดคล้องกับเง่ือนไขท่ีบัญญัติ ไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแลว้

เล่ม ๑๓๙ ตอนท่ี ๖๖ ก หน้า ๔๔ ๒๕ ตลุ าคม ๒๕๖๕ ราชกิจจานเุ บกษา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติข้ึนไว้โดยคาแนะนาและยินยอม ของรฐั สภา ดังต่อไปน้ี มาตรา ๑ พระราชบญั ญัติน้เี รยี กว่า “พระราชบัญญตั ิปอ้ งกนั และปราบปรามการทรมาน และการกระทาใหบ้ คุ คลสูญหาย พ.ศ. ๒๕๖๕” มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเม่ือพ้นกาหนดหนึ่งร้อยย่ีสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเปน็ ตน้ ไป มาตรา ๓ ในพระราชบญั ญัตินี้ “ผู้เสียหาย” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือจิตใจ จากการทรมาน การกระทาที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ายีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือการกระทาให้ บุคคลสญู หาย และใหห้ มายความรวมถงึ สามี ภริยา ผู้บพุ การี ผู้สืบสนั ดาน ผู้ซงึ่ อย่กู ินกนั ฉันสามภี รยิ า ซงึ่ มิได้จดทะเบียนสมรส ผอู้ ปุ การะและผูอ้ ยใู่ นอุปการะของผู้ถกู กระทาใหส้ ญู หาย “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า บุคคลซึ่งใช้อานาจรัฐหรือได้รับมอบอานาจ หรือได้รับ การแต่งต้ัง อนุญาต สนับสนุน หรือยอมรับโดยตรงหรือโดยปริยาย จากผู้มีอานาจรัฐให้ดาเนินการ ตามกฎหมาย “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและ การกระทาใหบ้ ุคคลสูญหาย “ควบคุมตัว” หมายความว่า การจับ คุมตัว ขัง กักตัว กักขัง หรือกระทาด้วยประการอนื่ ใด ในทานองเดยี วกันอนั เปน็ การจากดั เสรีภาพในร่างกายของบุคคล มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพระราชบญั ญตั ิน้ี หมวด ๑ บทท่ัวไป มาตรา ๕ ผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทาด้วยประการใดให้ผู้อ่ืนเกิดความเจ็บปวดหรือ ความทกุ ขท์ รมานอย่างร้ายแรงแกร่ า่ งกายหรอื จิตใจ เพอื่ วตั ถุประสงคอ์ ยา่ งหน่งึ อยา่ งใด ดังต่อไปน้ี (๑) ใหไ้ ดม้ าซึ่งข้อมูลหรอื คารับสารภาพจากผ้ถู ูกกระทาหรือบุคคลทส่ี าม (๒) ลงโทษผู้ถูกกระทาเพราะเหตุอันเกิดจากการกระทาหรือสงสัยว่ากระทาของผู้นั้นหรือ บคุ คลท่สี าม

เล่ม ๑๓๙ ตอนที่ ๖๖ ก หน้า ๔๕ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๕ ราชกิจจานุเบกษา (๓) ขม่ ข่หู รือขูเ่ ข็ญผถู้ กู กระทาหรือบุคคลทสี่ าม (๔) เลือกปฏิบัตไิ มว่ า่ รปู แบบใด ผนู้ นั้ กระทาความผิดฐานกระทาทรมาน มาตรา ๖ ผู้ใดเปน็ เจ้าหนา้ ที่ของรฐั ลงโทษหรอื กระทาดว้ ยประการใดที่โหดรา้ ย ไร้มนษุ ยธรรม หรือย่ายีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นถูกลดทอนคุณค่าหรือละเมิดสิทธิข้ันพื้นฐาน ความเป็นมนุษย์ หรือเกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานแก่ร่างกายหรือจิตใจที่มิใช่การกระทา ความผิดตามมาตรา ๕ ผู้นั้นกระทาความผิดฐานกระทาการที่โหดรา้ ย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ายศี กั ด์ศิ รี ความเปน็ มนุษย์ การกระทาตามวรรคหน่ึง ไม่รวมถงึ อันตรายอนั เปน็ ผลปกตหิ รือสบื เนื่องจากการลงโทษทั้งปวง ทช่ี อบด้วยกฎหมาย มาตรา ๗ ผู้ใดเป็นเจ้าหน้าท่ีของรฐั ควบคุมตัว หรือลักพาบุคคลใด โดยเจ้าหนา้ ท่ีของรฐั ปฏิเสธว่ามิไดก้ ระทาการดังกล่าว หรือปกปิดชะตากรรมหรอื สถานท่ีปรากฏตวั ของบุคคลน้นั ซ่งึ ส่งผลให้ บคุ คลน้นั ไม่ไดร้ บั การคุ้มครองตามกฎหมาย ผนู้ ้นั กระทาความผิดฐานกระทาใหบ้ คุ คลสูญหาย การกระทาความผิดตามวรรคหนึ่งให้ถือเป็นความผิดต่อเนื่องจนกว่าจะทราบชะตากรรม ของบุคคลนั้น มาตรา ๘ ผู้ใดกระทาความผดิ ฐานกระทาทรมานตามมาตรา ๕ ความผดิ ฐานกระทาการ ท่ีโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ายีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามมาตรา ๖ หรือความผิดฐานกระทาให้ บุคคลสูญหายตามมาตรา ๗ นอกราชอาณาจักร ต้องรับโทษในราชอาณาจักรตามที่กาหนดไว้ ในพระราชบัญญัติน้ี โดยให้นาความในมาตรา ๑๐ แห่งประมวลกฎหมายอาญา มาใช้บังคับด้วย โดยอนุโลม มาตรา ๙ การกระทาความผดิ ฐานกระทาทรมานตามมาตรา ๕ และการกระทาความผิด ฐานกระทาให้บคุ คลสูญหายตามมาตรา ๗ มใิ หถ้ ือว่าเปน็ ความผดิ ทมี่ ลี กั ษณะทางการเมืองตามกฎหมาย ว่าดว้ ยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน และความผดิ ทางการเมืองตามกฎหมายวา่ ด้วยความรว่ มมอื ระหวา่ งประเทศ ในเรื่องทางอาญา มาตรา ๑๐ ในคดีความผิดฐานกระทาให้บุคคลสูญหายตามมาตรา ๗ ให้ดาเนินการ สืบสวนจนกว่าจะพบบุคคลซึ่งถูกกระทาให้สูญหายหรือปรากฏหลักฐานอันน่าเชื่อว่าบุคคลนั้น ถึงแกค่ วามตายและทราบรายละเอียดของการกระทาความผดิ และรู้ตวั ผกู้ ระทาความผิด

เล่ม ๑๓๙ ตอนท่ี ๖๖ ก หน้า ๔๖ ๒๕ ตลุ าคม ๒๕๖๕ ราชกจิ จานเุ บกษา มาตรา ๑๑ ในคดีความผิดฐานกระทาทรมานตามมาตรา ๕ หรือความผิดฐานกระทาการ ท่ีโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ายีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามมาตรา ๖ ซึ่งผู้เสียหายไม่อยู่ในฐานะ ท่ีจะร้องทุกข์หรือกล่าวโทษด้วยตนเองได้ หรือความผิดฐานกระทาให้บุคคลสูญหายตามมาตรา ๗ ให้สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภริยาซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรส ผู้อุปการะ และผู้อยู่ในอุปการะของผู้ถูกกระทาทรมาน ผู้ถูกกระทาการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ายีศกั ดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ หรือผู้ถูกกระทาให้สูญหายตามพระราชบัญญัติน้ี แล้วแต่กรณี เป็นผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธพี จิ ารณาความอาญาด้วย มาตรา ๑๒ พฤติการณ์พิเศษใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาวะสงครามหรือภัยคุกคามท่ีจะเกิด สงคราม ความไม่ม่ันคงทางการเมืองภายในประเทศ หรือสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะอ่ืนใด ไม่อาจ นามาอา้ งเพ่ือใหก้ ารกระทาความผิดตามพระราชบัญญตั นิ เี้ ปน็ การกระทาทช่ี อบดว้ ยกฎหมาย มาตรา ๑๓ ห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าท่ีของรัฐขับไล่ ส่งกลับ หรือส่งบุคคล เป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปยังอีกรัฐหนึ่ง หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลนั้น จะไปตกอยู่ในอันตรายท่ีจะถกู กระทาทรมาน ถูกกระทาการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ายีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือ ถกู กระทาให้สญู หาย หมวด ๒ คณะกรรมการปอ้ งกนั และปราบปราม การทรมานและการกระทาให้บคุ คลสญู หาย มาตรา ๑๔ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทาให้บคุ คลสูญหาย” ประกอบดว้ ย (๑) รฐั มนตรวี ่าการกระทรวงยตุ ธิ รรม เป็นประธานกรรมการ (๒) ปลัดกระทรวงยตุ ธิ รรม เป็นรองประธานกรรมการ (๓) กรรมการโดยตาแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ นายกสภาทนายความ และประธานสภาการสอื่ มวลชนแหง่ ชาติ (๔) กรรมการซง่ึ คณะรัฐมนตรีแต่งตัง้ จานวนหกคน ดังต่อไปนี้

เล่ม ๑๓๙ ตอนที่ ๖๖ ก หน้า ๔๗ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๕ ราชกจิ จานุเบกษา (ก) ผู้มีความรู้ ความเช่ียวชาญ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านสิทธิมนุษยชน จานวนสองคน ด้านกฎหมาย และด้านนิตวิ ทิ ยาศาสตร์ ด้านละหนึง่ คน (ข) แพทย์ทางนติ เิ วชศาสตร์จานวนหนง่ึ คน และแพทยท์ างจติ เวชศาสตร์จานวนหนึ่งคน ใหอ้ ธบิ ดกี รมคมุ้ ครองสิทธิและเสรภี าพเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้อธบิ ดีกรมค้มุ ครอง สิทธิและเสรีภาพแต่งตั้งข้าราชการของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพจานวนไม่เกินสองคนเป็น ผชู้ ว่ ยเลขานกุ าร มาตรา ๑๕ กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๔) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดงั ต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) ไม่เป็นบคุ คลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจรติ (๓) ไม่เป็นคนไรค้ วามสามารถหรือคนเสมือนไรค้ วามสามารถ (๔) ไม่เป็นผูด้ ารงตาแหน่งทางการเมอื ง สมาชกิ สภาทอ้ งถนิ่ ผ้บู ริหารท้องถนิ่ หรอื กรรมการ หรอื ผู้ดารงตาแหนง่ บรหิ ารในพรรคการเมอื ง (๕) ไม่เปน็ ผอู้ ยรู่ ะหวา่ งถูกสงั่ ให้พักราชการหรือถูกสงั่ ใหอ้ อกจากราชการไว้กอ่ น (๖) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรฐั วสิ าหกจิ เพราะกระทาผิดวินยั (๗) ไม่เคยได้รบั โทษจาคกุ โดยคาพพิ ากษาถึงท่สี ุดใหจ้ าคกุ รวมท้งั คาพพิ ากษาถงึ ท่สี ดุ ใหจ้ าคกุ แต่ให้รอการลงโทษหรือรอการกาหนดโทษ เว้นแต่เป็นโทษสาหรับความผิดที่ได้กระทาโดยประมาท ความผดิ ลหุโทษ หรอื ความผดิ ฐานหม่นิ ประมาท (๘) ไม่เคยต้องคาพิพากษาหรือคาสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ารวย ผิดปกตหิ รือมที รัพยส์ นิ เพมิ่ ข้นึ ผดิ ปกติ มาตรา ๑๖ กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๔) มวี าระการดารงตาแหน่งคราวละส่ีปี เมื่อครบกาหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิไดม้ ีการแต่งตงั้ กรรมการขึน้ ใหม่ ให้กรรมการ ซึ่งพ้นจากตาแหน่งตามวาระน้ันอยู่ในตาแหน่ง เพ่ือปฏิบัติหน้าท่ีต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับ แต่งตง้ั ใหมเ่ ข้ารบั หน้าท่ี กรรมการซ่ึงพ้นจากตาแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดารงตาแหน่งติดต่อกัน เกินสองวาระไม่ได้

เล่ม ๑๓๙ ตอนท่ี ๖๖ ก หน้า ๔๘ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๕ ราชกิจจานเุ บกษา มาตรา ๑๗ นอกจากการพ้นจากตาแหน่งตามวาระ กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๔) พ้นจากตาแหนง่ เม่อื (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะรัฐมนตรีให้ออก เพราะบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าท่ี มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรอื หย่อนความสามารถ (๔) ขาดคณุ สมบตั ิหรอื มีลักษณะต้องหา้ มตามมาตรา ๑๕ มาตรา ๑๘ ในกรณที ี่กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๔) พน้ จากตาแหน่งก่อนวาระ ให้แตง่ ตงั้ กรรมการแทนตาแหน่งท่ีว่างภายในหกสิบวัน เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงเก้ าสิบวัน จะไม่แต่งต้ังกรรมการแทนก็ได้ และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตาแหน่งท่ีว่างนั้นอยู่ในตาแหน่งเท่ากับวาระ ที่เหลืออยู่ของกรรมการซง่ึ ได้แต่งตั้งไว้แล้ว ในกรณีที่กรรมการตามมาตรา ๑๔ (๔) พ้นจากตาแหน่งก่อนวาระให้คณะกรรมการ ประกอบด้วยกรรมการทัง้ หมดทมี่ อี ยู่จนกว่าจะมีการแตง่ ต้งั กรรมการตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๑๙ คณะกรรมการมีหน้าทแ่ี ละอานาจ ดังต่อไปน้ี (๑) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีหรือหน่วยงานของรัฐให้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือมาตรการอืน่ ท่จี าเปน็ ตามพระราชบญั ญตั นิ ี้ (๒) กาหนดนโยบาย แผนงาน และมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการทรมาน การกระทาหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ายีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการกระทา ใหบ้ ุคคลสญู หาย (๓) กาหนดนโยบายและมาตรการฟื้นฟูและเยียวยาด้านร่างกายและจิตใจแก่ผู้เสียหาย อย่างครอบคลมุ โดยคานึงถึงการทาให้กลบั สู่สภาพเดมิ เท่าทีจ่ ะเป็นไปได้ (๔) กาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการช่วยเหลือและเยียวยาผู้เสียหายด้านการเงินและจิตใจ รวมถึงการฟน้ื ฟรู ะยะยาวทางการแพทย์ใหแ้ กผ่ เู้ สยี หาย โดยได้รับความเหน็ ชอบจากกระทรวงการคลงั (๕) กาหนดมาตรการป้องกันการกระทาความผิดซ้าและการปกปิดการควบคุมตัวบุคคล รวมทัง้ มาตรการค้มุ ครองผแู้ จง้ ขอ้ มูลการกระทาความผดิ ตามพระราชบัญญัตนิ ี้

เล่ม ๑๓๙ ตอนท่ี ๖๖ ก หน้า ๔๙ ๒๕ ตลุ าคม ๒๕๖๕ ราชกิจจานุเบกษา (๖) ตรวจสอบขอ้ มูลและขอ้ เท็จจรงิ เก่ียวกับการทรมาน การกระทาทีโ่ หดรา้ ย ไรม้ นษุ ยธรรม หรือย่ายีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือการกระทาให้บุคคลสูญหายตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งรับ และตดิ ตามตรวจสอบข้อรอ้ งเรยี น (๗) พิจารณารายงานสถานการณ์เก่ียวกับการทรมาน การกระทาท่ีโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ายีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการกระทาให้บุคคลสูญหาย และรายงานผลการดาเนินการ ประจาปี เสนอตอ่ คณะรฐั มนตรี เพ่ือเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒสิ ภา และเผยแพร่ใหป้ ระชาชน ทราบเป็นการท่ัวไป (๘) แต่งต้งั ทีป่ รกึ ษาหรอื อนุกรรมการเพอ่ื ปฏิบัตงิ านตามทีค่ ณะกรรมการมอบหมาย (๙) วางระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น โดยไดร้ บั ความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง (๑๐) วางระเบยี บอ่ืนเพ่อื ปฏิบตั กิ ารตามพระราชบัญญตั นิ ้ี มาตรา ๒๐ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าก่ึงหนึ่ง ของจานวนกรรมการทง้ั หมดจึงจะเปน็ องค์ประชุม ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในท่ีประชุม ถ้ารองประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจ ปฏบิ ัติหน้าทไ่ี ด้ ให้ทป่ี ระชมุ เลือกกรรมการคนหนึง่ เปน็ ประธานในทปี่ ระชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งใน การลงคะแนน ถา้ คะแนนเสยี งเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชมุ ออกเสียงเพ่ิมข้ึนอีกเสยี งหน่ึงเป็นเสียงช้ขี าด มาตรา ๒๑ ให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพรับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ และให้มีหน้าท่ีและอานาจ ดงั ต่อไปน้ี (๑) ประสานงานและร่วมมือกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชนที่เก่ียวข้อง ในการสืบหา ติดตาม และชว่ ยเหลือผเู้ สียหาย (๒) สนับสนุนให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชนท่ีเก่ียวข้อง มีส่วนร่วม ในการป้องกันและปราบปรามการทรมาน การกระทาหรือการลงโทษท่ีโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือ ยา่ ยศี ักดิ์ศรีความเป็นมนษุ ย์ และการกระทาให้บคุ คลสญู หาย

เล่ม ๑๓๙ ตอนที่ ๖๖ ก หน้า ๕๐ ๒๕ ตลุ าคม ๒๕๖๕ ราชกิจจานุเบกษา (๓) ศึกษา วิจัย และเผยแพร่ความรู้เก่ียวกับการทรมาน การกระทาหรือการลงโทษ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ายีศักด์ิศรีความเป็นมนุษย์ และการกระทาให้บุคคลสูญหาย รวมทั้ง ให้ความร้แู ละฝกึ อบรมแกป่ ระชาชนและเจา้ หน้าทข่ี องรฐั (๔) รวบรวมข้อมลู สถิติคดี และจัดทารายงานสถานการณ์เกยี่ วกับการทรมาน การกระทา ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ายีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการกระทาให้บุคคลสูญหาย และรายงานผลการดาเนินงานประจาปี พรอ้ มท้งั แนวทางการปอ้ งกนั และปราบปรามการกระทาความผดิ ตามพระราชบญั ญตั นิ ้ี เพอ่ื เสนอต่อคณะกรรมการพจิ ารณา (๕) ปฏิบตั ิการอ่นื ตามทีค่ ณะกรรมการหรือคณะอนกุ รรมการมอบหมาย หมวด ๓ การป้องกนั การทรมานและการกระทาให้บคุ คลสญู หาย มาตรา ๒๒ ในการควบคุมตัว เจ้าหน้าท่ีของรัฐผู้รับผิดชอบต้องบันทึกภาพและเสียง อย่างต่อเนื่องในขณะจับและควบคุมจนกระทั่งส่งตัวให้พนักงานสอบสวนหรือปล่อยตัวบุคคลดังกลา่ วไป เว้นแต่มีเหตสุ ุดวสิ ัยทไ่ี มส่ ามารถกระทาได้ ก็ใหบ้ ันทึกเหตนุ ้นั เปน็ หลกั ฐานไวใ้ นบนั ทึกการควบคมุ ตัว การควบคุมตัวตามวรรคหน่ึง ให้เจ้าหน้าท่ีของรัฐผู้รับผิดชอบแจ้งพนักงานอัยการและ นายอาเภอในท้องท่ีที่มีการควบคุมตัวโดยทันที สาหรับในกรุงเทพมหานครให้แจ้งพนักงานอัยการและ ผู้อานวยการสานักการสอบสวนและนติ ิการ กรมการปกครอง หากผู้รบั แจง้ เหน็ วา่ มีเหตอุ ันควรสงสัยวา่ จะมีการทรมาน การกระทาที่โหดรา้ ย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ายีศักดศ์ิ รีความเป็นมนุษย์หรือการกระทา ให้บคุ คลสูญหาย ใหผ้ รู้ บั แจง้ ดาเนนิ การตามมาตรา ๒๖ ตอ่ ไป มาตรา ๒๓ ในการควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบต้องบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูก ควบคมุ ตวั โดยอย่างน้อยตอ้ งมรี ายละเอยี ด ดังต่อไปนี้ (๑) ขอ้ มลู อตั ลกั ษณเ์ กยี่ วกับผ้ถู กู ควบคมุ ตวั เชน่ ชือ่ นามสกุล หรือตาหนิรูปพรรณ (๒) วัน เวลา และสถานท่ีของการถูกควบคุมตัว และข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ทาการควบคุมตัว ในกรณีท่ีมีการย้ายสถานที่ดังกล่าว จะต้องระบุถึงสถานท่ีปลายทางท่ีรับตัว ผูถ้ ูกควบคุมตวั รวมทั้งเจา้ หน้าทขี่ องรัฐผรู้ บั ผิดชอบการย้ายน้ัน (๓) คาสง่ั ทใ่ี หม้ กี ารควบคมุ ตัว และเหตุแห่งการออกคาส่งั นั้น (๔) เจา้ หนา้ ท่ีของรัฐผู้ออกคาสั่งให้ควบคมุ ตัว

เล่ม ๑๓๙ ตอนท่ี ๖๖ ก หน้า ๕๑ ๒๕ ตลุ าคม ๒๕๖๕ ราชกจิ จานุเบกษา (๕) วนั เวลา และสถานท่ขี องการปลอ่ ยตวั ผถู้ กู ควบคมุ ตวั และผมู้ ารับตัวผ้ถู กู ควบคมุ ตัว (๖) ข้อมูลเก่ียวกับสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ถูกควบคุมตัว ก่อนถูกควบคุมตัว และ ก่อนการปล่อยตัว ในกรณีท่ีผู้ถูกควบคุมตัวถึงแก่ความตายระหวา่ งการควบคุมตัว จะต้องระบุถึงสาเหตุ แหง่ การตายและสถานท่เี กบ็ ศพ (๗) ข้อมูลอ่ืน ๆ ท่ีคณะกรรมการกาหนดเพ่ือป้องกันการทรมาน การกระทาที่โหดร้าย ไรม้ นุษยธรรม หรือยา่ ยีศกั ด์ศิ รคี วามเปน็ มนษุ ย์ หรือการกระทาใหบ้ คุ คลสญู หาย มาตรา ๒๔ เพ่ือประโยชน์ของผู้ถูกควบคุมตัว ผู้มีส่วนได้เสียโดยชอบด้วยกฎหมายใน การเข้าถึงข้อมูลของผู้ถูกควบคุมตัว เช่น ญาติ ผู้แทนหรือทนายความ หรือคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ มีสิทธิร้องขอต่อเจ้าหน้าท่ี ของรฐั ผรู้ บั ผดิ ชอบให้เปดิ เผยขอ้ มลู เก่ยี วกบั ผูถ้ ูกควบคมุ ตัวตามมาตรา ๒๓ หากเจา้ หนา้ ท่ีของรฐั ปฏิเสธที่จะเปดิ เผยข้อมูลเกยี่ วกับผ้ถู กู ควบคมุ ตัว ผู้รอ้ งขอมีสทิ ธิย่ืนคารอ้ ง ต่อศาลที่ตนเองมีภูมิลาเนา ศาลอาญาหรือศาลจังหวัดแห่งท้องท่ีที่เชื่อว่ามีการทรมาน การกระทา ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ายีศักด์ิศรีความเป็นมนุษย์ หรือพบเห็นผู้ถูกกระทาให้สูญหาย คร้งั สุดทา้ ย แลว้ แตก่ รณี เพื่อใหศ้ าลส่งั เปดิ เผยขอ้ มลู ดงั กล่าวได้ ศาลมีอานาจสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐตามวรรคหนึ่งเปิดเผยข้อมูลเก่ียวกับผู้ถูกควบคุมตัว ตามมาตรา ๒๓ ให้แก่ผู้ร้องขอได้ ในกรณีที่ศาลมีคาส่ังไม่เปิดเผยข้อมูล ผู้ร้องขออาจอุทธรณ์ไปยัง ศาลอุทธรณ์ คาสัง่ ศาลอุทธรณ์ให้เป็นทส่ี ดุ มาตรา ๒๕ เจา้ หนา้ ที่ของรฐั ผู้รบั ผิดชอบหรอื ศาลอาจไมเ่ ปดิ เผยขอ้ มูลเก่ยี วกับผถู้ กู ควบคุมตัว ตามมาตรา ๒๓ หากผู้น้ันอยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายโดยเป็นผู้อยู่ในอานาจศาล และ การเปิดเผยดังกล่าวอาจละเมิดต่อความเป็นส่วนตัวหรือก่อให้เกิดผลร้ายต่อบุคคล หรือเป็นอุปสรรค ตอ่ การสบื สวนสอบสวนคดีอาญา มาตรา ๒๖ เม่อื มีการอา้ งวา่ บุคคลใดถกู กระทาทรมาน ถูกกระทาการท่โี หดรา้ ย ไรม้ นุษยธรรม หรือย่ายีศักดิศ์ รคี วามเปน็ มนุษย์ หรือถูกกระทาให้สญู หาย บุคคลดังต่อไปนมี้ ีสิทธยิ ่ืนคาร้องต่อศาลทอ้ งท่ี ที่มอี านาจพิจารณาคดีอาญาเพอ่ื ให้มีคาสัง่ ยุติการกระทาเช่นนนั้ ทันที (๑) ผู้เสยี หายหรือผูม้ ีสว่ นได้เสยี ตามมาตรา ๒๔ (๒) พนักงานอยั การ

เล่ม ๑๓๙ ตอนท่ี ๖๖ ก หน้า ๕๒ ๒๕ ตลุ าคม ๒๕๖๕ ราชกจิ จานเุ บกษา (๓) ผู้อานวยการสานักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง หรือนายอาเภอ ตามมาตรา ๒๒ หรือพนักงานฝ่ายปกครองซ่งึ ไดร้ ับมอบหมายจากผู้อานวยการสานักการสอบสวนและ นิตกิ าร กรมการปกครอง หรือนายอาเภอ (๔) พนักงานสอบสวนหรอื พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ (๕) คณะกรรมการ คณะอนกุ รรมการ หรือเจา้ หน้าทซ่ี ง่ึ ได้รบั มอบหมายจากคณะกรรมการ (๖) บุคคลอ่ืนใดเพือ่ ประโยชนข์ องผู้เสยี หาย เมื่อได้รับคาร้องตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลไต่สวนฝ่ายเดียวโดยพลัน โดยให้ศาลมีอานาจเรียก เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลใดมาให้ถ้อยคาหรือให้ส่งเอกสารหรือวัตถุอ่ืนใดประกอบการไต่สวนหรือ สง่ั ให้เจ้าหนา้ ทข่ี องรฐั นาตัวผู้ถกู ควบคุมตวั มาศาลดว้ ยก็ได้ มาตรา ๒๗ เพ่ือประโยชน์ในการยุติการกระทาที่อ้างตามมาตรา ๒๖ และเยียวยา ความเสียหายเบื้องตน้ ศาลอาจมคี าส่ัง ดงั ตอ่ ไปนี้ (๑) ให้ยุติการทรมาน หรอื การกระทาที่โหดรา้ ย ไร้มนษุ ยธรรม หรือยา่ ยีศกั ดิ์ศรคี วามเป็นมนษุ ย์ (๒) ให้เปลย่ี นสถานที่ควบคุมตวั (๓) ใหผ้ ู้ถกู ควบคมุ ตวั ไดพ้ บญาติ ทนายความ หรอื บคุ คลอน่ื ซึ่งไวว้ างใจเปน็ การส่วนตัว (๔) ให้มีการรักษาพยาบาล และการประเมินโดยแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ และแพทย์ ทางจิตเวชศาสตร์ที่รับรองโดยแพทยสภา รวมท้ังให้มีการจัดทาบันทึกทางการแพทย์ ตลอดจน การฟ้ืนฟูรา่ งกายและจติ ใจ (๕) ใหเ้ ปิดเผยเอกสารบันทึกหรือข้อมูลอนื่ ใด (๖) กาหนดมาตรการอ่ืนใดที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์ในการยุติการทรมานการกระทา ที่โหดรา้ ย ไรม้ นุษยธรรม หรอื ยา่ ยศี ักดิ์ศรีความเปน็ มนษุ ย์ หรือการกระทาให้บคุ คลสูญหายหรือเยียวยา ความเสยี หายเบ้ืองต้นใหแ้ ก่ผู้เสยี หาย กรณีท่ีศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุจาเป็นในการควบคุมตัวต่อไป ให้ศาลสั่งปล่อยตัว ผถู้ ูกควบคุมตัวไปทนั ที คาส่ังศาลตามวรรคหน่งึ ใหเ้ ปน็ ทีส่ ุด มาตรา ๒๘ ในกรณีท่ีผู้ถูกควบคุมตัวถึงแก่ความตาย ให้เจ้าหน้าท่ีของรัฐผู้รับผิดชอบแจ้ง คณะกรรมการทราบเพื่อให้มีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทรมาน ในระหว่างควบคมุ ตัวโดยพลนั

เล่ม ๑๓๙ ตอนที่ ๖๖ ก หน้า ๕๓ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๕ ราชกจิ จานเุ บกษา มาตรา ๒๙ ผู้ใดพบเห็นหรือทราบการทรมาน การกระทาท่ีโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือ ย่ายีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือการกระทาให้บุคคลสูญหาย ให้แจ้งพนักงานฝ่ายปกครอง พนักงานอยั การ พนกั งานสอบสวน คณะกรรมการ หรือคณะอนกุ รรมการที่ได้รับมอบหมายโดยไม่ชักช้า ผู้แจ้งตามวรรคหนึ่ง ถ้าได้กระทาโดยสุจริตไมต่ ้องรับผิดท้ังทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวนิ ัย แม้ภายหลงั ปรากฏวา่ ไมม่ ีการกระทาความผิดตามทแี่ จง้ หมวด ๔ การดาเนนิ คดี มาตรา ๓๐ อายุความสาหรับความผิดตามมาตรา ๗ มิให้เร่ิมนับจนกว่าจะทราบชะตากรรม ของผูถ้ ูกกระทาให้สูญหาย มาตรา ๓๑ ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอ่ืนนอกจากพนักงานสอบสวนตามประมวล กฎหมายวิธพี ิจารณาความอาญาแล้ว ใหพ้ นกั งานฝา่ ยปกครองชน้ั ผูใ้ หญ่ พนักงานฝ่ายปกครองตาแหน่ง ตั้งแต่ปลัดอาเภอหรือเทียบเท่าข้ึนไปในสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พนักงานสอบสวน คดีพิเศษ และพนักงานอัยการ เป็นพนักงานสอบสวนมีอานาจสอบสวนและรับผิดชอบตามประมวล กฎหมายวิธพี จิ ารณาความอาญา และดาเนินคดคี วามผิดตามพระราชบัญญัตินี้และความผิดอ่ืนที่เกยี่ วพนั กัน ในกรณีท่ีพนักงานสอบสวนคดีพิเศษทาการสอบสวนคดีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้คดีใด ใหค้ ดีน้ันเป็นคดีพเิ ศษตามกฎหมายวา่ ด้วยการสอบสวนคดพี ิเศษ กรณีการสอบสวนโดยหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่พนักงานอัยการ ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ แจ้งเหตุแหง่ คดใี ห้พนกั งานอัยการทราบ เพอื่ เข้าตรวจสอบหรือกากบั การสอบสวนทนั ที ในกรณไี มแ่ นว่ า่ พนักงานสอบสวนท้องทใี่ ดหรือหนว่ ยงานใด เป็นพนักงานสอบสวนผ้รู บั ผิดชอบ ใหอ้ ยั การสงู สุดหรือผทู้ าการแทนเปน็ ผู้ชี้ขาด ในกรณีที่ผู้กระทาความผิดตามพระราชบัญญัตนิ ี้เป็นเจ้าพนักงานของรัฐตามกฎหมายประกอบ รัฐธรรมนูญวา่ ดว้ ยการป้องกนั และปราบปรามการทจุ ริต และอยู่ในหน้าที่และอานาจของคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดาเนินคดีต่อไป ตามพระราชบญั ญัตนิ ี้ และแจ้งใหค้ ณะกรรมการปอ้ งกันและปราบปรามการทจุ ริตแห่งชาติทราบ มาตรา ๓๒ ให้หน่วยงานท่ีมีอานาจสืบสวนสอบสวนในคดีความผิดตามพระราชบัญญัติน้ี รายงานให้ผู้เสียหายทราบถึงผลความคืบหน้าข องคดีอย่างต่อเนื่องและให้คณะกรรมการ

เล่ม ๑๓๙ ตอนที่ ๖๖ ก หน้า ๕๔ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๕ ราชกจิ จานุเบกษา คณะอนุกรรมการ หรือเจ้าหน้าท่ีซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการมีหน้าท่ีและอานาจติดตามผล ความคืบหน้าของคดีและดาเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัย ชดเชย เยยี วยา และฟ้ืนฟูความเสยี หายทางรา่ งกายและจิตใจ ให้คาปรกึ ษาแนะนาดา้ นกฎหมาย และสนบั สนนุ ช่วยเหลือดา้ นการดาเนนิ คดี โดยการมีสว่ นร่วมจากผเู้ สยี หาย มาตรา ๓๓ เพ่ือประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้เสียหาย ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงาน อัยการแจง้ ใหผ้ ู้เสียหายทราบในโอกาสแรกถึงสิทธิที่จะเรยี กคา่ สินไหมทดแทนอันเน่ืองมาจากการกระทา ความผิดตามพระราชบัญญตั นิ ้ี และสิทธิทจี่ ะได้รับความชว่ ยเหลอื ทางกฎหมาย ในกรณีท่ีผู้เสียหายมีสิทธิและประสงค์ที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ใหพ้ นักงานอัยการเรียกค่าสนิ ไหมทดแทนแทนผู้เสยี หายดว้ ย มาตรา ๓๔ ให้ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นศาลที่มีเขตอานาจเหนือคดี ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และให้รวมถึงคดีซึ่งผู้กระทาความผิดตามพระราชบัญญัติน้ีเป็นบุคคล ซึง่ อยู่ในอานาจศาลทหารในขณะกระทาความผดิ ดว้ ย หมวด ๕ บทกาหนดโทษ มาตรา ๓๕ ผู้กระทาความผิดฐานกระทาทรมานตามมาตรา ๕ ต้องระวางโทษจาคุก ต้งั แต่ห้าปถี ึงสบิ หา้ ปี และปรบั ต้ังแต่หนง่ึ แสนบาทถงึ สามแสนบาท ถ้าการกระทาความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทารับอันตรายสาหัส ผู้กระทา ต้องระวางโทษจาคกุ ตัง้ แตส่ ิบปถี ึงย่ีสิบห้าปี และปรบั ตงั้ แต่สองแสนบาทถึงหา้ แสนบาท ถ้าการกระทาความผดิ ตามวรรคหน่ึงเป็นเหตใุ ห้ผ้ถู กู กระทาถึงแกค่ วามตาย ผู้กระทาตอ้ งระวางโทษ จาคุกตั้งแตส่ บิ หา้ ปีถึงสามสิบปี หรอื จาคุกตลอดชีวติ และปรับตง้ั แต่สามแสนบาทถึงหน่งึ ลา้ นบาท มาตรา ๓๖ ผู้กระทาความผิดฐานกระทาการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ายีศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ตามมาตรา ๖ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหม่ืนบาท หรือ ทง้ั จาท้งั ปรับ มาตรา ๓๗ ผู้กระทาความผิดฐานกระทาให้บุคคลสูญหายตามมาตรา ๗ ต้องระวางโทษ จาคุกต้งั แต่ห้าปถี ึงสบิ หา้ ปี และปรบั ต้งั แต่หน่งึ แสนบาทถงึ สามแสนบาท

เล่ม ๑๓๙ ตอนท่ี ๖๖ ก หน้า ๕๕ ๒๕ ตลุ าคม ๒๕๖๕ ราชกจิ จานเุ บกษา ถ้าการกระทาความผิดตามวรรคหน่ึงเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทารับอันตรายสาหัส ผู้กระทา ตอ้ งระวางโทษจาคกุ ตัง้ แต่สบิ ปถี ึงย่ีสิบหา้ ปี และปรับตัง้ แตส่ องแสนบาทถงึ หา้ แสนบาท ถ้าการกระทาความผดิ ตามวรรคหนึง่ เป็นเหตใุ หผ้ ู้ถูกกระทาถงึ แกค่ วามตาย ผู้กระทาตอ้ งระวางโทษ จาคุกตั้งแต่สิบห้าปีถงึ สามสบิ ปี หรือจาคกุ ตลอดชวี ติ และปรับตง้ั แต่สามแสนบาทถึงหนง่ึ ลา้ นบาท มาตรา ๓๘ ถ้าการกระทาความผิดตามมาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๓๖ เป็นการกระทาแก่ บุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปี หญิงมีครรภ์ ผู้พิการทางร่างกายหรือจิตใจ หรือผู้ซ่ึงพึ่งตนเองมิได้เพราะอายุ หรอื ความป่วยเจ็บ ผกู้ ระทาตอ้ งระวางโทษหนักกวา่ ทบี่ ญั ญตั ไิ ว้ในมาตรานั้นกึ่งหนง่ึ ถ้าการกระทาความผิดตามมาตรา ๓๗ เป็นการกระทาแก่บุคคลตามวรรคหนึ่ง ผู้กระทา ตอ้ งระวางโทษหนักกว่าทีบ่ ัญญัตไิ วใ้ นมาตรานน้ั กึ่งหนง่ึ มาตรา ๓๙ ผู้ใดสมคบเพ่ือกระทาความผิดตามมาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ หรอื มาตรา ๓๘ ตอ้ งระวางโทษหนง่ึ ในสามของโทษทกี่ าหนดไว้สาหรับความผดิ นั้น ถ้าได้มีการกระทาความผิดเพราะเหตุท่ีได้มีการสมคบกันตามวรรคหนึ่ง ผู้สมคบกันนั้น ต้องระวางโทษตามที่กาหนดไว้สาหรบั ความผดิ นน้ั ในกรณีท่ีความผิดได้กระทาถึงข้ันลงมือกระทาความผิด แต่เน่ืองจากการเข้าขัดขวาง ของผู้สมคบทาให้การกระทาน้ันกระทาไปไม่ตลอดหรือกระทาไปตลอดแล้วแต่การกระทานั้นไม่บรรลุผล ศาลจะลงโทษผ้สู มคบทกี่ ระทาการขัดขวางนนั้ นอ้ ยกว่าทกี่ ฎหมายกาหนดเพยี งใดก็ได้ มาตรา ๔๐ ผู้สนับสนุนในการกระทาความผิดตามมาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ หรือมาตรา ๓๘ ตอ้ งระวางโทษเชน่ เดียวกับตวั การในความผดิ นัน้ มาตรา ๔๑ ถ้าผู้กระทาความผิดตามมาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ วรรคสอง มาตรา ๓๙ หรือมาตรา ๔๐ ช่วยให้มีการค้นพบผู้ถูกกระทาให้สูญหายก่อนศาลช้ันต้นพิพากษา โดยผู้น้ันมิได้รับ อันตรายสาหสั หรอื ตกอยู่ในภาวะอนั ใกล้จะเป็นอันตรายตอ่ ชวี ติ หรอื ใหข้ อ้ มูลทส่ี าคญั และเปน็ ประโยชน์ ในการดาเนินคดี ศาลจะลงโทษผู้กระทาความผดิ นอ้ ยกว่าทก่ี ฎหมายกาหนดเพียงใดกไ็ ด้ มาตรา ๔๒ ผู้บงั คบั บัญชาผู้ใดทราบว่าผู้ใต้บงั คบั บัญชาซง่ึ อย่ภู ายใตก้ ารบงั คบั บญั ชาของตน จะกระทาหรือได้กระทาความผิดตามมาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ หรือมาตรา ๓๘ และ ไม่ดาเนินการท่ีจาเป็นและเหมาะสม เพื่อป้องกันหรือระงับการกระทาความผิด หรือไม่ดาเนินการหรอื ส่งเร่ืองให้ดาเนินการสอบสวนและดาเนินคดีตามกฎหมาย ต้องระวางโทษกึ่งหนึ่งของโทษท่ีกาหนดไว้ สาหรบั ความผิดนน้ั

เล่ม ๑๓๙ ตอนที่ ๖๖ ก หน้า ๕๖ ๒๕ ตลุ าคม ๒๕๖๕ ราชกจิ จานเุ บกษา ผู้บังคับบัญชาตามวรรคหน่ึงจะต้องเป็นผู้ซ่ึงมหี นา้ ท่ีรับผิดชอบและมอี านาจควบคุมการกระทา ซึ่งเก่ียวข้องกับความผิดฐานกระทาทรมาน ความผิดฐานกระทาการท่ีโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือ ย่ายศี กั ดิศ์ รคี วามเปน็ มนุษย์ หรอื ความผดิ ฐานกระทาใหบ้ คุ คลสญู หาย บทเฉพาะกาล มาตรา ๔๓ ให้นาความในมาตรา ๑๐ มาใช้บังคบั แก่การกระทาใหบ้ คุ คลสูญหายก่อนวนั ท่ี พระราชบญั ญตั ิน้ีใชบ้ งั คบั โดยอนุโลม ผรู้ บั สนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จนั ทรโ์ อชา นายกรฐั มนตรี

เล่ม ๑๓๙ ตอนท่ี ๖๖ ก หน้า ๕๗ ๒๕ ตลุ าคม ๒๕๖๕ ราชกิจจานเุ บกษา หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยท่ีการทรมานและการกระทาให้ บุคคลสูญหายซึ่งกระทาโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงที่ไม่อาจกระทาได้ ไม่ว่าในสถานการณ์ใด ๆ ดังนั้น เพ่ือยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย รวมท้ัง การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย สมควรกาหนดฐานความผิด มาตรการป้องกันและปราบปราม และมาตรการเยียวยาผู้เสยี หาย ตลอดจนมาตรการอ่ืนที่เกย่ี วข้องใหส้ อดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประติบัติหรือการลงโทษอ่ืนที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือท่ีย่ายีศักด์ิศรี และอนุสัญญาระหว่าง ประเทศว่าดว้ ยการค้มุ ครองบุคคลทุกคนจากการบังคบั ให้หายสาบสูญ จึงจาเป็นต้องตราพระราชบัญญัตนิ ้ี


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook