Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สงครามโลกครั้งที่1 นางสาว ชญาภัค แก้วสนธิ 6-5 เลขที่1

สงครามโลกครั้งที่1 นางสาว ชญาภัค แก้วสนธิ 6-5 เลขที่1

Published by mhai6112546, 2021-09-10 03:23:20

Description: สงครามโลกครั้งที่1 นางสาว ชญาภัค แก้วสนธิ 6-5 เลขที่1

Search

Read the Text Version

สงครามโลกครั้งที่1 สงครามโลกครั้งที่1คือ? สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศครั้งแรกที่ขยายขอบเขต กว้างขวางมากกว่าสงครามครั้งใดๆ ที่เคยเกิดขึ้นบนโลกช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 เนื่องจากสงครามครั้งนี้เป็นความขัดแย้งที่ประเทศมหาอำนาจของโลก อย่างอังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมนี เข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรงเมื่อสงครามอุบัติ ขึ้นในปี 1914 ต่อมาในปี 1915 ประเทศอิตาลีได้เข้าร่วมสงคราม หลังจากนั้น อีก 2 ปี ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมสงครามในปี 1917 นอกจากนี้ยังมี ประเทศในทวีปต่างๆ ถูกดึงเข้าร่วมเป็นพันธมิตรในสงครามด้วย โดยสงคราม ใหญ่หรือมหาสงครามครั้งนี้ถือเป็นการเริ่มต้นของการทำสงครามที่รัฐที่ เกี่ยวข้องมีการใช้ทรัพยากรและอาวุธที่ตนเองมีทุกอย่างโดยไม่มีข้อจำกัดเพื่อ ทำลายรัฐศัตรู หรือที่นักวิชาการด้านการทหาร เรียกสงครามโลกครั้งที่ 1 ด้วย ศัพท์ทางวิชาการว่า สงครามครั้งนี้เป็น “สงครามเบ็ดเสร็จ” สาเหตุของส งคราม 1) ความหวาดระแวงและไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ระหว่างกลุ่มประเทศพันธมิตรสามฝ่าย หรือกลุ่มไตรภาคี (Triple Alliance : เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และประเทศอิตาลี) กับ กลุ่มประเทศพันธมิตรสองฝ่าย (Dual Alliance : ประเทศฝรั่งเศสและประเทศรัสเซีย)

ความหวาดระแวงระหว่างกลุ่มประเทศทั้งสองฝ่ายนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากสงครามระหว่าง ฝรั่งเศสและปรัสเซีย (ชื่อเดิมของ เยอรมนี ก่อนรวมแว่นแคว้นต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นประเทศ เยอรมนี เมือปี 1871) ทำให้ประเทศเยอรมนีมีนโยบายชัดเจนที่จะโดดเดี่ยวฝรั่งเศสเพื่อไม่ให้ ฝรั่งเศสสามารถฟื้นตัวทางการเมือง-การทหาร จนขึ้นมาเป็นภัยต่อเยอรมนีได้เช่นเดียวกัน ใน การนี้เยอรมนีได้สร้างระบบพันธมิตรกับบรรดาประเทศในยุโรป ยกเว้นฝรั่งเศส ดังปรากฏว่าใน ปี 1873 บิสมาร์ค อัครเสนาบดี ผู้มีอำนาจสูงสุดรองจากกษัตริย์ไกเซอร์ วิลเลียมที่ 2 ของ เยอรมนี ได้จัดตั้งสันนิบาตสามจักรพรรดิ (League of the three Emperors) อันประกอบ ด้วย จักรพรรดิแห่งเยอรมนี จักรพรรดิแห่งรัสเซีย และจักรพรรดิแห่งออสเตรีย-ฮังการี ขึ้นโดย มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านการปฏิวัติในประเทศต่างๆ และการขยายตัวของระบอบสังคมนิยม ตลอดจนเพื่อเป็นหลักประกันในการกีดกันฝรั่งเศสให้อยู่โดดเดี่ยว แต่ในความเป็นจริงแล้ว สันนิบาตสามจักรพรรดิต่างไม่มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน อีกทั้งรัสเซียและออสเตรีย-ฮังการี ยังมีความคลางแคลงกันเนื่องจากในช่วงสงครามไครเมีย (Crimean War ค.ศ. 1854-1856) รัสเซียได้ขยายอำนาจเข้าไปในดินแดนที่เป็นของตุรกี อังกฤษ และฝรั่งเศส จึงเข้าร่วมเป็น พันธมิตรกับตุรกีเพื่อต่อต้านรัสเซีย โดยอังกฤษและฝรั่งเศสพยายามโน้มน้าวให้ออสเตรีย- ฮังการี ซึ่งเป็นพันธมิตรสำคัญของรัสเซีย หันมาเข้ากับฝ่ายตน ขณะที่รัสเซียก็คาดหวังว่า ออสเตรีย-ฮังการีจะสนับสนุนตนเอง แต่ออสเตรีย-ฮังการี ประกาศตัวเป็นกลาง ทำให้ทั้ง อังกฤษ-ฝรั่งเศส และรัสเซียต่างผิดหวังกับท่าทีของออสเตรีย-ฮังการี (โดยเฉพาะรัสเซีย) เมื่อสง ครามไครเมียยุติลงด้วยความพ่ายแพ้ของรัสเซีย ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับออสเตรีย- ฮังการี จึงมีความคลางแคลงกัน ไม่ได้สนิทสนมแนบแน่น ประกอบกับความสัมพันธ์ระหว่าง รัสเซียกับเยอรมนี ก็มีปัญหากระทบกระทั่งกันในช่วงปัญหาตะวันออก อันเป็นผลจากการที่ ชนชาติส่วนน้อยในคาบสมุทรบอลข่าน พยายามแยกตัวออกจากการปกครองของจักรพรรดิออ ตโตมันหรือตุรกี ซึ่งเกิดขึ้นตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยทั้งรัสเซียและเยอรมนีต่างเข้าไปมี ส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้ความคลางแคลงใจกันระหว่างเยอรมนีกับรัสเซีย ประกอบกับเหตุที่เยอรมันไม่ต้องการให้รัสเซียเติบโตขึ้นมาเป็นภัยต่อเยอรมนี ในที่สุดแล้ว เยอรมนีได้ร่วมกับออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี (ในเวลาต่อมาเรียกว่า “ระบบพันธมิตรหรือ ระบบไตรภาคี”) ขณะที่รัสเซียเองก็เลือกที่จะร่วมมือกับฝรั่งเศส (ในเวลาต่อมาเรียกว่า “ระบบ พันธมิตรสองฝ่าย”)

‘ข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงให้ว่า การเมืองของยุโรป ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19-ช่วงต้น ศตวรรษที่ 20 อยู่ในสภาวะที่อึมครึมมีเชื้อไฟให้แก่เหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งจะ ปะทุขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20’ 2) ปัญหาเชื้อชาติและการเมืองในคาบสมุทรบอลข่าน คาบสมุทรบอลข่านเป็นที่อยู่ของคนหลายเชื้อชาติ โดยปัญหาเชื้อชาติได้ขยายตัวมากขึ้น เมื่อประเทศใหญ่ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงได้เข้ามามีบทบาทในการหนุนหลังกลุ่มชนต่างๆ ในแถบคาบสมุทรบอลข่าน เช่น รัสเซียเข้ามาสนับสนุนกลุ่มชนชาติที่มีเชื้อสายสลาฟ (Slave) เนื่องจากการสนับสนุนดังกล่าวเป็นหนทางที่ทำให้รัสเซียสามารถขยายอิทธิพล เข้าไปในคาบสมุทรบอลข่านได้ หรือเซอร์เบีย ซึ่งเป็นประเทศของชนชาติสลาฟ ได้มี แนวคิดที่จะรวมชนชาติสลาฟไว้ด้วยกันโดยได้จัดตั้ง ขบวนการรวมชนชาติสลาฟ (Pan- Slave Movement) ขึ้น แต่ความต้องการของรัสเซียและของเซอร์เบีย ไม่สามารถบรรลุตามเป้าหมายได้ เนื่องจากออสเตรีย-ฮังการี ได้รวมเอาบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เข้าไว้ในราชอาณาจักร ของตน การผนวกดินแดนดังกล่าวทำให้มหาอำนาจในยุโรปมีการแบ่งฝ่ายอย่างชัดเจนขึ้น โดยออสเตรีย-ฮังการี (ได้รับความสนับสนุนจากเยอรมนี) มีปัญหากับเซอร์เบีย (ได้รับความ สนับสนุนจากรัสเซีย) ขณะที่รัสเซีย (ซึ่งไม่ลงรอยกับออสเตรีย-ฮังการี) ได้รับความ สนับสนุนจากอังกฤษและฝรั่ง

3) เหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์มกุฏราชกุมารของออสเตรีย ในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 กัฟริโล ปรินชิบ นักศึกษาชาวเซิร์บ ได้ลอบปลงพระชนม์อาร์ชดุ๊กฟราน ซิล เฟอร์ดินันด์ มกุฏราชกุมารแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี พร้อมทั้งดัชเชสแห่งโฮเฮนแบร์กซ์ พระ ชายาของอาร์ชดยุค เฟอร์ดินันท์ โดยมือสังหารทำไปเพื่อเป็นการแก้แค้นที่ออสเตรีย-ฮังการี เข้ายึดครอง บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา และขัดขวางการรวมชาวสลาฟของเซอร์เบีย การสิ้นพระชนม์ของอาร์ชดุ๊กฟรานซิล เฟอร์ดินันด์ ทำให้ออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งต้องการปราบปราม การเคลื่อนไหวของพวกสลาฟในเซอร์เซีย ใช้เรื่องนี้อ้างเป็นสาเหตุเพื่อลงโทษเซอร์เบีย ซึ่งถูกสงสัยว่าอยู่ เบื้องหลังการลอบสังหารมงกุฏราชกุมารของออสเตรีย-ฮังการี โดยเรื่องนี้กลายเป็นชนวนสำคัญที่ทำให้ เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น เนื่องจากในวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ออสเตรีย-ฮังการี ได้ยื่นคำขาด แก่เซอร์เบียให้ตอบเรื่องการลอบปลงพระชนม์ มกุฏราชกุมารของออสเตรีย-ฮังการี และปัญหา ขบวนการต่อต้านออสเตรีย-ฮังการี ในเซอร์เบีย ภายใน 48 ชั่วโมง แต่เซอร์เบียไม่ตอบรับคำขอของ ออสเตรีย-ฮังการี และมีการระดมทหาร ในวันที่ 25 กรกฎาคม ศกเดียวกัน ในการนี้รัสเซียได้แสดงท่าที สนับสนุนเซอร์เบียอย่างเต็มที่ ต่อมาในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ออสเตรีย-ฮังการี ได้ประกาศ สงครามกับเซอร์เบีย การประกาศสงครามกับเซอร์เบียของออสเตรีย-ฮังการี ถือเป็นจุดเริ่มต้นอย่างแท้จริงของ สงครามโลกครั้งที่ 1 เนื่องจากประเทศที่เป็นพันธมิตรของทั้ง 2 ฝ่ายต่างเข้าร่วมตามข้อตกลงของระบบ พันธมิตรที่ได้ทำไว้ นอกจากนี้ยังมีประเทศที่ไม่ได้ทำสนธิสัญญาเป็นพันธมิตรของประเทศคู่สงครามอย่าง เป็นทางการเข้าร่วมสงครามด้วย โดยรัสเซียซึ่งไม่ได้ทำสนธิสัญญาเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการกับเซ อร์เบีย แต่ก็คอยสนับสนุนเซอร์เบียในการเผชิญหน้ากับออสเตรีย-ฮังการี ประกาศสงครามกับเซอร์เบีย ขณะที่เยอรมนีซึ่งเป็นพันธมิตรของออสเตรีย – ฮังการี ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงสนธิสัญญากลุ่มไตรภาคีที่ กำหนดให้เยอรมนี อิตาลี ออสเตรีย-ฮังการี ช่วยเหลือประเทศคู่สัญญา หากประเทศใดประเทศหนึ่งถูก ฝรั่งเศสหรือรัสเซียรุกราน ดังนั้นเยอรมนีจึงประกาศสงครามกับรัสเซียตามด้วยฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อ เยอรมนีรุกรานเบลเยียมในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1914 อังกฤษก็ได้กระโดดเข้าสู่สงครามด้วย

สยามกับสงครามโลกครั้งที่ 1 ช่วงเวลาที่สงครามโลกครั้งที่ 1 อุบัติขึ้นและดำเนินไปนั้น ตรงกับช่วงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว : พระมหากษัตริย์องค์ที่ 6 ของราชวงศ์ จักรีของสยามอันเป็นช่วงที่สถานการณ์ทางการเมืองภายในของสยาม ไม่ราบรื่น เท่าไรนัก ทั้งจากเหตุการณ์กบฏ_ร.ศ._130 (พ.ศ. 2454) และปัญหาความขัดแย้ง ทางความคิดเห็นภายในราชวงศ์ ที่เกิดขึ้นในช่วงต้นรัชสมัย ดังนั้นรัฐบาลสยามจึง เห็นว่า การเข้าร่วมสงครามโลกไม่ว่าจะร่วมกับฝ่ายใดจะส่งผลกระทบต่อความ มั่นคงทางการเมืองภายในของรัฐบาลอย่างมาก รัฐบาลสยามจึงตัดสินใจออก ประกาศความเป็นกลางในสงคราม อย่างไรก็ตามหลังจากที่ประกาศความเป็นก ลาง รัฐบาลสยามก็ประสบปัญหาจากการที่ชาวเยอรมันและชาวออสเตรีย-ฮังการี ที่พำนักอยู่ในประเทศอาณานิคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของชาติฝ่าย สัมพันธมิตรได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศสยาม อีกทั้งประเทศคู่สงครามทั้ง ฝ่ายไตรภาคี (เยอรมัน ออสเตรีย-ฮังการี อิตาลี) และฝ่ายสัมพันธมิตรต่างเข้ามา ปฏิบัติงานโฆษณาชวนเชื่อ และการจารกรรม โดยใช้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการ ปฏิบัติงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่ผู้นำทางการเมืองระดับสูงจำนวนหนึ่ง ของสยามมีท่าทีโน้มเอียงไปในทางเห็นอกเห็นใจ และเข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตรขัด กับที่รัฐบาลได้ประกาศว่าจะเป็นกลางในสงครามครั้งนี้

ผลของสง คราม 1. ด้านสังคม สงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายล้านคน ผู้บาดเจ็บ และทุพพลภาพจำนวนมาก หลายคนเป็น โรคจิตที่เกิดจากการกลัวภัยสงคราม อีกทั้งเกิดปัญหาชนพลัดถิ่น 2. ด้านการเมือง ประเทศมหาอำนาจเดิม ได้แก่เยอรมนี ออสเตรีย – ฮังการี และตุรกี เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต้องทำสนธิสัญญาสันติภาพที่ประเทศผู้ชนะร่าง ขึ้น 5 ฉบับ คือสนธิสัญญาแวร์ซายส์ทำกับเยอรมนี สนธิสัญญาแซงต์แยร์แมง ทำกับออสเตรีย สนธิสัญญาเนยยี ทำกับบัลแกเรีย สนธิสัญญาตริอานองทำกับ ฮังการี และสนธิสัญญาแซฟส์ทำกับตุรกี(ต่อมาเกิดการปฏิวัติในตุรกีจึงมีการทำ สนธิสัญญาใหม่เรียกว่า “สนธิสัญญาโลซานน์”) และยุโรปโดยรวมอ่อนแอลง 3. ด้านเศรษฐกิจ สงครามครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายอย่างมหาศาลในการผลิตอาวุธใหม่ ที่มีอำนาจทำลายล้างสูงกว่าการทำสงครามในอดีต เช่น รถถัง เรือดำน้ำ แก๊สพิษ ระเบิดเป็นต้นเพื่อหวังชัยชนะหลังสงครามสิ้นสุดฝ่ายแพ้ต้องจ่ายค่าปฏิกรรม สงคราม ส่วนฝ่ายชนะรับผิดชอบเลี้ยงดูผู้ประสบภัยและบูรณะประเทศ จนทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก

ผลกระทบจาก สงคราม 1. ความพ่ายแพ้ของมหาอำนาจกลางและความหายนะของมนุษยชาติทำให้ ประเทศต่าง ๆ มีแนวคิดร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาระหว่างประเทศ ด้วยสันติวิธีโดย การก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติขึ้น 2. เกิดประเทศเอกราชใหม่ ๆ เช่น ลิทัวเนีย แลตเวีย เอสโทเนีย การประสานประโยชน์หลังสงคราม สงครามโลกครั้งที่ 1 นำความสูญเสียมาให้ทั้งผู้แพ้และผู้ชนะในด้านทรัพย์สิน และชีวิต ทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาสืบเนื่องหลังสงคราม ในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง หากไม่หาหนทางขจัดหรือป้องกันสงครามครั้งใหม่ก็จะต้อง เกิดขึ้นมาอีก ประเทศทั้งหลายต่างก็ตระหนักในปัญหานี้และพยายามหาช่องทางที่ จะไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาได้เป็นผู้นำแนวความคิด ที่จะสร้างองค์การ ระหว่างประเทศ เพื่อแก้ไขข้อพิพาทหรือความขัดแย้งโดยสันติ มากขึ้นด้วย ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ ฝ่ายสัมพันธมิตร ชนะ ฝ่ายมหาอำนาจกลาง เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ล่มสลายไปถึง 4 จักรวรรดิอันได้แก่ 1. จักรวรรดิรัสเซีย (ราชวงศ์โรมานอฟถูกสังหารทั้งราชวงศ์ ที่เมืองเยคาเตรินบูร์ก) 2. จักรวรรดิเยอรมัน 3. จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี 4. จักรวรรดิออตโตมัน

สนธิสัญญาแวร์ซาย 1.ฝ่ายมหาอำนาจกลางต้องเสียค่าปฏิกรรมสงครามเป็นจำนวนเงิน 5,000 ล้านดอลลาร์ 2. ห้ามเยอรมนีมีทหารประจำการเกิน 100,000 คน 3. ฝ่ายมหาอำนาจกลางต้องถอนทหารออกจากชายแดนทั่วประเทศ 4. เยอรมันต้องส่งมอบถ่านหินให้ฝรั่งเศสฟรี เป็นเวลา 10 ปี -END-


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook