Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ธัมโมวาท

ธัมโมวาท

Description: ธัมโมวาท
โดย พระภาวนาเขมคุณ วิ. (พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี)
วัดมเหยงคณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา

Keywords: ธัมโมวาท,พระภาวนาเขมคุณ วิ.,พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี,วัดมเหยงคณ์

Search

Read the Text Version

ธั ม โ ม ว า ท พระภาวนาเขมคณุ ว.ิ (สรุ ศักด์ิ เขมรงั ส)ี ๗๐จัดพิมพ์เพ่ือถวายเป็นอาจริยบูชากตญั ญกู ตเวทติ า เนื่องในวาระครบรอบ ปี อายุวัฒนมงคล ทา่ นเจา้ คณุ พระภาวนาเขมคณุ ว.ิ (สรุ ศกั ด์ิ เขมรงั ส)ี เจา้ อาวาสวดั มเหยงคณ์ อ�ำ เภอหันตรา จงั หวดั พระนครศรอี ยุธยา



ค�ำ อนโุ มทนา ตามท่ีมูลนิธิธรรมสภา บันลือธรรม โดย คุณสุทธิรักษ์ สุขธรรม ประธานกรรมการ มาปรารภปรารถนาจะจัดพิมพ์ หนงั สอื ธรรมบรรยาย ทอี่ าตมาไดแ้ สดงไว้ เพอื่ ถวายใหแ้ จกเปน็ ธรรมทาน เพอื่ เปน็ การเผยแผส่ ง่ เสรมิ การศกึ ษาพระธรรมค�ำ สงั่ สอน ขององคส์ มเด็จพระสมั มาสมั พทุ ธเจา้ จึงอนุญาตให้จดั พิมพ์ได้ ตามความประสงค์ โดยเสนอบทธรรมท่ีเผยแผ่ทางเฟซบุ๊ค แฟนเพจ “วดั มเหยงคณ์ ธัมโมวาท” ท่คี ณะศษิ ยไ์ ด้คดั สรร เฉพาะในส่วนใจความสำ�คัญ จัดทำ�เป็นไฟล์ข้อมูลไว้เรียบร้อย แลว้ น้นั ในโอกาสน้ี จงึ ขออนโุ มทนาบญุ กบั คณุ สทุ ธริ กั ษ์ สขุ ธรรม มูลนธิ ธิ รรมสภา บนั ลอื ธรรม ท่ไี ด้มีศรทั ธา เสยี สละทรพั ย์ รับ เปน็ เจา้ ภาพในการจดั พมิ พห์ นงั สอื “ธมั โมวาท” ในครงั้ น้ี และ

ขออนุโมทนาบุญกับคณะศิษย์ท่ีมีจิตเสียสละเป็นธุระในการ ผลติ สอื่ ธรรมทางเฟซบคุ๊ แฟนเพจ “วดั มเหยงคณ์ ธมั โมวาท” ซ่ึงประกอบด้วย คุณรัชฎา ชเวงเกียรติ คุณพิมลซาต์ ชูโต คณุ จติ ตเิ ศรษฐ์ ยวดยง่ิ ยง คณุ เบญจพร แจม่ เจรญิ คณุ ปทั มาวดี วรนมิ มาน และ คุณจฑุ าทพิ ย์ หริ ญั ญสัมฤทธ์ิ ดว้ ยมหากศุ ลแหง่ ธรรมทานของท่านเจา้ ภาพ และทา่ น ผมู้ สี ่วนร่วมในการจดั พมิ พห์ นังสือ “ธัมโมวาท” ในครั้งนี้ ได้ ส่ังสมปัญญาบารมีเพ่ือชัยชนะชำ�ระกิเลส ตัดเหตุแห่งความ ทุกข์ เข้าถึงบรมสุข คือนิพพาน เทอญ พระภาวนาเขมคณุ

คำ�นำ� หนงั สอื “ธมั โมวาท” เปน็ ธรรมะเครอ่ื งดำ�เนินของท่านเจ้าคุณ พระภาวนาเขมคณุ ว.ิ (สรุ ศกั ด์ิ เขมรงั ส)ี ทา่ นไดป้ รารภธรรมะส�ำ หรบั การด�ำ รงชวี ติ ประจ�ำ วนั โดยมนี ยั ส�ำ คญั ในเรอ่ื งการเจรญิ สตแิ ละระลกึ ร้ใู นอารมณ์ทีก่ �ำ ลังกระทบ และปฏบิ ตั เิ พ่ือความดบั ทกุ ข์ เขา้ ถึงความ บรสิ ทุ ธิ์คอื หมดจดจากกิเลส นัน่ คือสภาพจิตของผรู้ โู้ ดยแท้ หนงั สือ “ธมั โมวาท” ของ ท่านเจ้าคุณ พระภาวนาเขมคณุ วิ. (สุรศักดิ์ เขมรังสี) เล่มน้ี คณะศิษยานุศิษย์และกัลยาณมิตรได้ จัดพิมพ์เพื่อถวายเป็นอาจริยบูชา และแสดงความกตัญญูกตเวทิตา เนื่องในวาระครบรอบ ๗๐ ปี อายวุ ัฒนมงคล ทา่ นเจ้าคณุ พระภาวนา เขมคณุ ว.ิ (สรุ ศกั ด์ิ เขมรงั ส)ี เจา้ อาวาสวดั มเหยงคณ์ อ�ำ เภอหนั ตรา จังหวดั พระนครศรีอยุธยา คณะศิษยานุศิษย์และกัลยาณมิตร ขอกราบนมัสการในความ เมตตาของ ท่านเจ้าคุณพระภาวนาเขมคุณ วิ. (สุรศักด์ิ เขมรังสี) เจา้ อาวาสวัดมเหยงคณ์ อำ�เภอหันตรา จังหวัดพระนครศรอี ยธุ ยา ท่ี ได้เมตตาอนุญาตใหม้ ลู นธิ ธิ รรมสภา บนั ลอื ธรรม และกัลยาณมิตรจดั พิมพห์ นังสอื “ธมั โมวาท” เพื่อถวายให้พระเดชพระคณุ หลวงพอ่ ฯ แจกเปน็ ธรรมบรรณาการแก่พทุ ธศาสนกิ ชนท้ังหลาย มลู นิธิ ธรรมสภา บนั ลือธรรม คณะศษิ ยานุศษิ ย์และกลั ยาณมิตร ผู้จดั พมิ พ์



ธมั โมวาท พระภาวนาเขมคุณ ว.ิ (หลวงพ่อสรุ ศกั ดิ์ เขมรงั สี)

ผู้ปฏิบตั ิกจ็ ะตอ้ งคอยสังเกตทจ่ี ะวางใจเป็นกลาง ไมต่ กไปข้างยินดยี ินร้าย ไมต่ กไปข้างทะยานอยาก ไมต่ กไปในขา้ งเพง่ เล็ง บงั คบั จดจอ้ ง กดข่ม เราวดั ผลจากความทุกขก์ ็ได้ ความเครง่ ตงึ เครง่ เครียด ถา้ มนั เคร่งตึง แสดงว่าไมเ่ ปน็ กลางแล้ว

ถา้ เป็นกลาง มันต้องเบา ตอ้ งนมุ่ นวล เรียกว่า ความทุกข์ก็เป็นสเกลวัดให้ได้ ถ้าทำ�แล้วแน่นตึง เครียด ปวดหัว อย่างนี้ต้องปรับปรุงแก้ไขแล้ว แสดงว่าวางใจไม่ถูก ไมเ่ ปน็ กลาง ส่วนมากจะไปอย่างน้นั เพราะปถุ ุชนเรา มคี วามเคยชิน ดว้ ยตณั หา คอื ความทะยานอยาก ทำ�อะไรก็ทำ�ด้วยความทะยานอยาก จะเอาให้ได้อย่างเดียว ใจร้อน จะเอาให้ไดอ้ ยา่ งใจ ยิ่งใจรอ้ น ก็ยง่ิ ร้อนใจ ยิง่ จะเอา ก็ย่งิ หนัก ย่ิงผลัก ก็ไม่พ้น ย่ิงอยาก ก็ย่ิงยาก ยิ่งยุ่ง...กลายเป็นการเจริญ ความอยาก ไม่ใช่ละความอยาก วนั ท่ี ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ธั ม โ ม ว า ท ๑

๔ ๒ ธั ม โ ม ว า ท

การรู้จิต รู้ใจ ก็ต้องฝึก เช่น เราฝึกรู้คู่กับกาย คู่กับอารมณ์ บางท่านจะให้ระลึกรู้จิตโดยตรงเฉพาะจิต..ดูไม่ออก แต่ให้มาคู่กับ อารมณ์ มาคูก่ ับกาย..กจ็ ะดอู อก เชน่ วา่ เวลาเคล่ือนไหวร่างกาย กม็ ี การระลกึ รคู้ วามเคลอื่ นไหวและรใู้ จทรี่ บั รู้ อาศยั สงั เกตความเคลอื่ นไหว แล้วกไ็ ปรู้ใจทร่ี บั รู้ ให้เห็นว่า มคี วามต่างกันระหวา่ งกายท่ีเคล่ือนไหว กับใจที่รับรู้ ดูใจรบั ร้อู ย่างเดียว..มนั ดไู มอ่ อก กด็ เู คลือ่ นไหวกบั ร้ใู จทรี่ บั รู้ เรยี กว่า มขี ้อตา่ งกัน ความเคลื่อนไหวกบั ใจทร่ี ู้มนั ต่างกัน อาศัยสิ่งหนึง่ เพื่อไปรู้สิ่งหนึ่ง อยา่ งเวลาเดนิ กายเคลอื่ นไหว สงั เกตใจผรู้ ไู้ ปดว้ ย เวลานง่ั อยู่ ระลกึ รวู้ า่ ..กายท่นี ่ังอยู่กบั ใจทรี่ ู้ หรือวา่ ค่กู ับลมหายใจกไ็ ด้ ลมหายใจ เขา้ ออกอยา่ งหนงึ่ ใจทร่ี ลู้ มหายใจอยา่ งหนง่ึ สงั เกตไดว้ า่ มลี มหายใจ กับมใี จท่เี ปน็ ผรู้ ู้ ใจทก่ี �ำ ลังรู้ลมหายใจนนั้ ไม่ใชล่ มหายใจ ลมหายใจ นั้นถกู รู้ จิตเปน็ ผรู้ ้ลู มหายใจ มนั ตอ้ งระลึกขณะนัน้ เลยจากขณะนน้ั มนั ก็ไมม่ ี ขณะท่ีกำ�ลังเจริญสติกำ�หนดรู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออก กเ็ กิดสงั เกตใจผรู้ ู้ขึ้นมา ในขณะน้ัน ชั่วขณะหนงึ่ ขณะส้ัน ๆ รู้สึกได้ นิดหนงึ่ รูล้ มบา้ ง รู้ใจผรู้ บู้ ้าง ร้กู ายท่นี ง่ั บ้าง รใู้ จท่รี ูบ้ ้าง หรือว่าทอ้ ง มนั กระเพือ่ ม ๆ มนั ไหว ๆ ทรวงอกมันกระเพ่อื ม มันไหว ๆ กส็ งั เกต ใจผู้รขู้ ึน้ มาอกี ก็จะรูส้ กึ ว่า.. ธั ม โ ม ว า ท ๓

ความกระเพือ่ ม ๆ กอ็ ยา่ งหนง่ึ จติ ผรู้ ู้ผ้ดู ู ก็เปน็ อีกสภาพธรรม หนง่ึ หรือแมแ้ ต่เอาไปคูก่ ับการมอง เวลามองเลง็ แลอยู่ ลืมตามอง เลง็ แลอยู่ ก็จะรูส้ กึ วา่ มนั มกี ารมองอยู่ ไม่ใช่ไปใส่ใจเฉพาะรูป ใสใ่ จถงึ การมอง ใสใ่ จถงึ จติ ทกี่ �ำ ลงั รู้ รสู้ กึ ไดว้ า่ ก�ำ ลงั มกี ารมอง ดอู ยู่ หรอื ว่ารสู้ ึกได้วา่ ก�ำ ลังไดย้ นิ ๆ อยู่ รู้ รสู้ กึ ว่ากำ�ลงั ได้ยนิ สภาพ ได้ยินมันเกิดท่ีหู รู้ได้ยิน มันเกิดท่ีหทัยวัตถุ มันคนละจิตกัน จิตที่มี ลักษณะเป็นสภาพได้ยิน กับจิตที่มีสติ เข้าไปรู้สภาพได้ยิน..มันคน ละจิตกัน เวลาที่เกิดการได้ยิน แลว้ มีสติระลึกรู้ แสดงวา่ มันตอ้ งม.ี . ๑. สภาพได้ยิน ๒. มีจติ ท่ีมีสติไปร้สู ภาพไดย้ ิน เป็นนามด้วยกัน คนละอย่าง ถ้าว่าโดยภาษาปริยัติ สภาพ ได้ยิน เรียกว่า โสตวิญญาณ เป็นธรรมชาติท่ีได้ยินเสียง ส่วนที่ไปรู้ สภาพไดย้ นิ เปน็ มโนวิญญาณ เกิดที่หทยั วตั ถุ เกิดทางใจ ไดย้ นิ ..เกดิ ทางหู รไู้ ดย้ นิ ..เกดิ ทางใจ เพราะฉะนนั้ ถา้ สตมิ กี ารระลกึ รสู้ ภาพรดู้ ว้ ย ถ้ามีสติระลึกรู้สภาพได้ยินบ้าง ระลึกรู้ สภาพรู้ท่ีกำ�ลังรู้ได้ยินบ้าง มันจึงเกิดปัญญา เห็นความเป็นคนละอย่างกัน เห็นได้ยินอย่างหนึ่ง สภาพรู้ กเ็ ปน็ อกี อยา่ งหนง่ึ จะแยกสภาวะระหวา่ งสภาพได้ยินกบั ใจ ทรี่ บั รสู้ ภาพไดย้ นิ ใจทไี่ ปรสู้ ภาพไดย้ นิ เรยี กวา่ เปน็ ใจทม่ี สี ตหิ รอื เปน็ จติ ที่มสี ติสมั ปชัญญะ เรียกตามภาษางา่ ย ๆ ว่า จิตผู้รู้ แล้วมนั กด็ ับ ไปทันที หัดสงั เกต เอามาคกู่ ัน วนั ที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ๔ ธั ม โ ม ว า ท

ระลกึ รอู้ ารมณ์ กบั ผ้รู ู้อารมณใ์ นขณะที่กำ�ลังปรากฏ รสู้ ิง่ หนง่ึ ทก่ี �ำ ลังปรากฏให้รู้ รู้ส่ิงหน่งึ ท่เี ปน็ ผรู้ ้อู ารมณ์ สง่ิ หน่ึงถกู รู้ สงิ่ หน่งึ เป็น ฝ่ายรู้ มันก็จะมีอย่างน้ี สิ่งหนึ่งปรากฏ..เพียงให้รู้ สิ่งหน่ึง..เป็นฝ่าย เขา้ ไปรู้ สังเกตทงั้ สองฝา่ ย ฝ่ายหนง่ึ ถกู รู้ ฝา่ ยหนงึ่ เป็นสภาพรู้ ส่วนมากเราสังเกตแต่ฝา่ ยถูกรู้ ฝ่ายผรู้ ้ไู มค่ ่อยสงั เกต..ก็มนั อยูท่ ี่ตัว ธั ม โ ม ว า ท ๕

เหมือนกับว่าเจ้าของบ้าน ต้องรู้ตัวเจ้าของบ้าน รู้แขกด้วย รูก้ ารรบั แขกด้วย รู้เจา้ ของบ้านด้วยทก่ี �ำ ลงั รบั แขก ไมใ่ ช่รู้แต่แขก คอื รอู้ ารมณ์ ก็เหมอื นรูแ้ ขกต่าง ๆ รผู้ ้รู ู้อารมณ์ กเ็ รยี กวา่ รูเ้ จ้าของบา้ น ทก่ี �ำ ลังรบั แขกอยู่ ก�ำ ลงั รสู้ กึ ต่อแขก รไู้ ปท�ำ ไม? อารมณ์ กับ ผ้รู ูอ้ ารมณ?์ ก็เพ่ือที่จะให้เห็นความจริงตามความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลาย เหลา่ นว้ี า่ สงิ่ ทงั้ หลายเหลา่ น้ี มสี ภาพทเ่ี ปลย่ี นแปลง มสี ภาพทห่ี มดไป ดบั ไป มสี ภาพทบ่ี งั คบั ไมไ่ ด้ ไมใ่ ชต่ วั เรา ไมใ่ ชต่ วั ตนของเรา เปน็ สภาพ ธรรมแต่ละอย่าง แต่ละส่ิงท่ีเกิดข้ึน และหมดไปดับไป ตามเหตุตาม ปัจจัย เพือ่ ความหน่าย คลายก�ำ หนดั เพอ่ื สละออก สละคนื เพ่อื หมด ความยดึ ถอื ยึดม่นั ในส่งิ ทง้ั หลายเหล่านี้ ทจี่ ะเป็นไปเพอื่ ความบริสทุ ธิ์ ของจิตใจ เม่ือจิตใจบริสุทธ์ิ ก็ไม่มีความเศร้าหมอง ไม่มีทุกข์ ก็คือ ปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ เข้าถึงความดับทุกข์ ความดับทุกข์ จะมีได้ กต็ อ้ งบริสุทธิ์ จติ เข้าถึงความบรสิ ทุ ธ์ิ คือ หมดจดจากกเิ ลส น่นั กค็ ือ ท�ำ ลายกิเลสหมดสิน้ วนั ท่ี ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ๖ ธั ม โ ม ว า ท

เราต้องฝึกสังเกตใจทเี่ ป็นผรู้ ู้ ผ้ดู ู คกู่ ับเวทนา คู่กับกาย คู่กบั ความเคลือ่ นไหว ค่กู ับลมหายใจกไ็ ด้ คกู่ บั การไดย้ ินเสยี ง คูก่ ับการ เหน็ คกู่ ับการรู้กลิน่ ร้รู ส คกู่ บั การยืน การเดิน การนง่ั การนอน กไ็ ด้ ใหเ้ ห็นว่ายืน กับ รู้ยนื ..คนละอย่าง เดิน กับ ร้เู ดิน..คนละอย่าง นอน กบั รูน้ อน กายก็นอนอยู่..คนละอยา่ ง แตใ่ จ..เปน็ ผรู้ ู้ ผดู้ ู เดนิ ก็ กายก็เดนิ อยู่ แต่ใจเป็นสภาพอกี อย่าง ..ใจเป็นผูร้ ผู้ ู้ดู ธั ม โ ม ว า ท ๗

สังเกตให้เห็นว่า มีจิตมีใจท่ีรู้ท่ีดูอยู่ ที่รู้สึก สภาพของจิตใจ กจ็ ะมที ั้งเปน็ สภาพรู้ รู้อยู่ กบั สภาพทร่ี ้สู ึก รู้สึกอยู่ รูส้ ึกก็อาจจะร้สู กึ สงบ รู้สึกอิ่มเอิบใจ รู้สึกสุขใจ รู้สึกปลอดโปร่งโล่งใจ อันนี้เรียกว่า.. เป็นอาการ เป็นความรู้สึก ทป่ี ระกอบอยูก่ ับจิตใจทีร่ ู้ แตล่ กั ษณะ ของสภาพรู้ ไมใ่ ช่เปน็ ความรู้สกึ มันเป็นการรบั รู้อารมณ์ เหมอื นท่ี เคยอุปมาว่า จติ เหมือนเจ้าของบา้ น เจา้ ของบ้านออกรบั แขก การรับแขก กับ ความรสู้ ึกตอ่ แขก มนั ไมเ่ หมือนกัน..แต่กอ็ ยู่ด้วยกัน เจ้าของบ้านเดนิ ออกไปรับแขก ออกไปดแู ขก กลบั ไปมคี วาม ร้สู กึ ต่อแขก ชอบแขก เกลยี ดแขก ชงั แขก กับรบั แขก..มันไม่ใชอ่ ยา่ ง เดียวกัน อาจรบั แขกดว้ ยความเฉย ๆ ดว้ ยความโกรธเกลียด อาจจะ รับแขกด้วยความชอบใจ..เหมือนจิตท่ีรู้อารมณ์ การรับรู้อารมณ์ กับ ความรู้สึกต่ออารมณ์..คนละอย่างกัน แต่อยู่ด้วยกัน รับอารมณ์ด้วย ความรู้สกึ เฉย ๆ บ้าง ความร้สู ึกชอบบา้ ง ความร้สู กึ หงดุ หงิดบา้ ง รบั อารมณด์ ว้ ยความรสู้ กึ สงบใจบา้ ง อม่ิ เอบิ ใจบา้ ง กจ็ ะตอ้ งมกี ารระลกึ รู้ ท้งั ในแง่การรบั รู้อารมณ์ และการระลึกทั้งในแงข่ องความร้สู กึ ทม่ี ี ตอ่ อารมณ์ต่าง ๆ เหล่านน้ั การศึกษาพิจารณา เพื่อให้รู้แจ่มแจ้งในจิตใจ เพ่ือให้เห็น เทา่ ทนั ตอ่ จติ ใจวา่ เปน็ สภาพธรรมตา่ งกนั แลว้ กเ็ ปลย่ี นแปลง หมดไป เกดิ ข้นึ หมดไป ดับไป บงั คบั ไม่ได้ ไม่ใช่ตวั ตน วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ๘ ธั ม โ ม ว า ท

การระลกึ รจู้ ติ ใจผรู้ ู้ จงึ อปุ มาเหมอื นวา่ เปน็ เจา้ ของบา้ นทอ่ี อก รับแขก รู้แขก หรอื ว่าอปุ มาเหมอื นกบั เจา้ ของบ้านเดนิ หาแขก หาคน หาเท่าไรก็ไม่เจอ สมมตวิ ่า คนในบา้ นนี้ เขาออกจากบ้านไปหมด เดิน หาอยู่ก็ไม่มีใครสักคน มันว่างเปล่า มองไปแล้วก็ว่าง เดินหาคนแต่ ไม่เจอคน เจอแต่ว่างเปลา่ ถามวา่ ขณะนั้นมคี นอยไู่ หม ? ..มันก็มคี น มเี จา้ ของบา้ นเดนิ หาอยู่ ทำ�อยา่ งไรจะรู้สึกว่า เจา้ ของบา้ นกเ็ ป็นผูห้ นึ่งท่ีเปน็ คน ? ก็ตอ้ งร้มู าท่ีตัวเองบ้าง ไมใ่ ช่ไปมองหาคนอนื่ คนอนื่ เขาออกไปหมดแลว้ เดนิ หาอยู่ ถ้าจะรูจ้ ักตัวเองกร็ ูม้ า ท่ตี วั หาน่ันแหละ รสู้ กึ ไดก้ �ำ ลังหาอยู่ เหมอื นผู้ปฏิบตั ิกำ�ลังก�ำ หนดไป ทกุ อยา่ งมันว่างเปลา่ ไปหมด ไมม่ ีอะไรเลย สภาวะไมม่ เี ลย ..ก็มใี จผู้รูอ้ ยู่ มีใจทก่ี �ำ ลังหาอยู่ กำ�ลังมองหา ก�ำ ลงั เอะใจ ใหร้ ู้สกึ เข้ามาท่ีสภาพนนั้ กจ็ ะเจอ ใจผู้รู้ อันน้ีอุปมาให้ฟัง หรือว่าเจ้าของบ้านมองออกไปนอกบ้าน ทอ้ งฟา้ วา่ งเปลา่ ไมม่ อี ะไรเลย มแี ตท่ อ้ งฟา้ วา่ งเปลา่ ถามวา่ มกี ารมอง อยู่ไหม ? ก็มีการมองอยู่ที่เป็นสภาพปรากฏอยู่ จะว่าไม่มีอะไรได้ อยา่ งไร ก็มีคนมอง มผี มู้ องอยู่ แต่ถา้ ใสใ่ จเฉพาะอารมณ์ ก็รูส้ กึ ว่าว่าง ไม่มีอะไร แต่ถ้าใส่ใจมาฝ่ายผู้รู้ มันก็จะเจอว่ามีสภาพรู้อยู่ ไม่ใช่ว่าง ทง้ั หมด มรี ู้หาย รู้หมดไป ร้ดู บั ไป ร้เู กิดขึน้ หมดไป ไมเ่ ท่ียง เปน็ ทกุ ข์ ไมใ่ ชต่ วั ตน ฉะนนั้ ระหวา่ งทเี่ จา้ ของบา้ นมองทอ้ งฟา้ จะใหร้ ตู้ วั เองท�ำ อย่างไร ? จะใสใ่ จทีไ่ หน ? ธั ม โ ม ว า ท ๙

ต้องใส่ใจเข้ามาหาตัว อย่าใส่ใจออกไปก็ไม่เจอ เหมือนจิตใจ ต้องใส่ใจเข้ามารู้สึกที่ใจ..จึงเจอใจ ถ้าใส่ใจออกไป ๆ ก็มีแต่ว่าง ๆ มันกไ็ มเ่ จอใจ น่กี ็เปน็ ข้ออปุ มาให้ฟงั อกี อยา่ ง สำ�หรบั เพื่อเป็นเทคนิค ในการทจ่ี ะคล�ำ หาจิตใจผู้ร้ใู หเ้ จอ วนั ท่ี ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ๑๐ ธั ม โ ม ว า ท

ส�ำ หรบั ญาติโยมผู้ใฝธ่ รรมทกุ ทา่ น ท่เี ราได้มาบวช มาปฏิบตั ิ ธรรม มาขวนขวาย ประพฤติปฏิบัติ ถือว่าเราได้มาสะสมเหตุปัจจัย ของความดบั ทกุ ขใ์ หแ้ กต่ นเอง ถา้ เราไมอ่ บรม ไมส่ ะสมสตแิ ละปญั ญา ไม่พัฒนาชีวิตจิตใจตนเอง เราก็ไม่สามารถจะออกจากสังสารวัฏ ไม่สามารถจะออกจากทุกข์ได้ จะตอ้ งจมอยใู่ นสังสารวฏั คอื การ เวยี นวา่ ยตายเกดิ ในภพภมู ติ า่ ง ๆ บางคราวเกิดเป็นสัตว์นรก ทุกข์ทรมาน บางคราวเกิดเป็น เปรต เกดิ เป็นอสรุ กาย บางชาตเิ ปน็ สตั ว์ดริ จั ฉาน บางชาติเป็นมนษุ ย์ บางชาติเปน็ เทวดา บางชาตเิ ป็นพรหม ..วนเวยี นอยู่อยา่ งน้ี เกิดมาแตล่ ะครั้ง ก็ต้องหล่ังนา้ํ ตาจากการตอ้ งพลัดพรากจาก บุคคล และส่ิงอันเป็นท่ีรักบ้าง จากการผิดหวัง ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ สิ่งนั้นบ้าง จากการประสบกับส่ิงไม่พึงปรารถนาบ้าง ก็เกิดความ เศร้าโศก ความพไิ รร�ำ พนั ความทกุ ข์กายทกุ ข์ใจ ความคบั แคน้ ใจ กองทกุ ขจ์ ากการเกดิ ขน้ึ มาแลว้ กม็ แี ก่ มเี จบ็ มตี าย นาํ้ ตาถา้ รวมไวไ้ ด้ จะมากกว่านา้ํ ในมหาสมทุ ร ชีวิตของเราเป็นทุกขอ์ ยา่ งนี้ ฉะนั้น ถา้ เรายงั ไมป่ ฏบิ ตั ใิ หเ้ กิดวิชชา ใหเ้ กิดปญั ญา ปล่อยให้ อวชิ ชาบงั ปลอ่ ยใหต้ ณั หาประกอบไว้ เรากต็ อ้ งทอ่ งเทย่ี วทกุ ขท์ รมาน อย่างนีเ้ ร่ือยไป เพราะเรายงั มอี วิชชา มีตัณหาอยู่ อวิชชาเป็นสง่ิ ท่บี งั สภาพตามความเป็นจริงไว้ ท�ำ ให้ไมร่ ้จู กั ทุกข์ ธั ม โ ม ว า ท ๑๑

อะไรคอื ทกุ ข์..ก็ไม่รูจ้ ัก อะไรเปน็ เหตุใหเ้ กิดทกุ ข.์ .ก็ไมร่ จู้ กั ความดบั ทุกข์..ก็ไมร่ ู้จัก ข้อปฏบิ ัติใหถ้ ึงความดับทกุ ข.์ .ก็ไมร่ จู้ ัก เมื่อเรามีอวิชชาอย่างนี้ ตัณหา คือ ความอยาก ก็ประกอบ ไวไ้ ด้แก่ ความอยากในกาม ความอยากมี อยากเป็น ความอยากไม่มี ไมเ่ ป็นประกอบสตั วใ์ หท้ อ่ งเทย่ี ว ทกุ ขย์ ากล�ำ บากอยู่ มคี วามเห็นผิด ยึดมั่นถือมั่น สำ�คัญมั่นหมายว่าเป็นตัวเป็นตน เราหลงยึดอยู่อย่างนี้ วันท่ี ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ๑๒ ธั ม โ ม ว า ท

กำ�หนดเราดเู ขา ก็หดั ดูเราดว้ ย อุปมาอารมณ์ตา่ ง ๆ เหมือน เป็นเขา ผรู้ ูอ้ ารมณเ์ หมอื นเป็นเรา ผ้ปู ฏิบัติจะรูส้ กึ อยวู่ ่า มีเราก�ำ ลงั รู้ มเี ราก�ำ ลังดู มีเรากำ�ลงั สงบ เรยี กวา่ .. อุปาทาน มันยดึ จิตใจไวเ้ ปน็ เรา เพราะฉะนั้น ก็หัดดูไปท่ีเรานั่นแหละ ดูเขาแล้ว ก็ดูเราบ้าง อย่าดูแต่เขา ถ้าดูเขามันก็หลงเขา ลืมเรา ดูเขาก็หัดดูเรา ดูไปท่ีรู้สึก วา่ เปน็ เรา ถา้ หาใจผรู้ ไู้ มเ่ จอ ลองวดั ดซู วิ า่ ..รสู้ กึ วา่ มเี ราอยไู่ หม ถา้ รสู้ กึ ว่าใจทรี่ ู้ คอื เรา ..ก็ดไู ปทนี่ น่ั ดไู ปที่รู้สกึ วา่ ..เปน็ เรานัน่ แหละ มันร้สู กึ วา่ มเี รากำ�ลงั ปฏบิ ัติ มเี รากำ�ลงั ภาวนา มเี รากำ�ลงั ระลกึ รู้..ก็ดูไปท่เี รา เม่ือระลึกรู้ไปท่ีว่า เป็นเราหนักเข้า เจอใจผู้รู้หมดไป ดับไป จะกลบั รสู้ กึ วา่ มนั กไ็ มใ่ ชเ่ ราเหมอื นกนั กว็ า่ งเปลา่ จากตวั เรา วา่ งเปลา่ จากความเป็นตัวเรา เกิดปัญญาเห็นจริงขึ้นมา ตอนแรกรู้สึกเป็นเรา เพราะอปุ าทานมนั ยดึ ไว้ กย็ อ้ นเกลด็ ยอ้ นรอยอปุ าทาน ยดึ วา่ เปน็ เรา ก็ดูไปท่ีเรา ดไู ปกเ็ ลย.. อ้าว! มนั ก็ไม่ใช่เรา น่ีกเ็ ปน็ เทคนคิ เปน็ อุบาย สำ�หรบั ผปู้ ฏิบัตทิ ห่ี าใจผรู้ ้ไู ม่เจอ ถา้ รสู้ กึ เป็นเรา ..กด็ ูไปท่เี รา ธั ม โ ม ว า ท ๑๓

เพราะว่ามีความจำ�เป็นท่ีจะต้อง รู้จิตรู้ใจให้ถูก ดังที่กล่าว เบ้ืองต้นแล้วว่า จะมีปัญหาต่าง ๆ เข้ามา คือ อาการทางกายท่ีเกิด จากปีติ เราจะแก้ไขโดยดูใจผู้รู้ ดูใจให้เป็น หรือว่าปัญหาที่เกิดนิมิต ก็จำ�เป็นต้องดูใจ หรือปัญหาที่มันว่างไปหมด ก็ต้องดูจิตดูใจอีก ถึง ภาคบังคับ น่ังไปแล้วมันนิ่ง มันว่าง มันไม่มีอะไร ก็ต้องดูจิตใจผู้รู้ ผดู้ ู ใหเ้ ป็น ไม่อย่างน้นั กต็ ่อยอดไม่ได้ ไดแ้ ตน่ ิง่ ว่างอยูอ่ ยา่ งนนั้ การปฏิบัติก็ต้องฝึกหัด ซึ่งในความย่อลงมา มีแค่อารมณ์กับ ผู้รู้เท่านน้ั ปฏิบัติอยู่แคน่ ้ี ดอู ารมณ์กับผู้รู้อารมณ์ ถ้ารูส้ กึ ว่า ธรรมะมี มากมายเยอะแยะไปหมด เอาแคส่ องอยา่ งนก้ี ไ็ ด้ เอาแคร่ ะลกึ รอู้ ารมณ์ กับผู้รอู้ ารมณ์ท่กี ำ�ลังปรากฏใหเ้ ป็นปัจจบุ ัน..ท�ำ แคน่ ี้ แคน่ ีก้ ็สามารถ จะเห็นความจริง ทิ้งตวั ตน พน้ บ่วงภยั วนั ท่ี ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ๑๔ ธั ม โ ม ว า ท

สงิ่ ทจ่ี ะท�ำ ลายกเิ ลส กค็ อื ตอ้ งมปี ญั ญา ปญั ญาทร่ี แู้ จง้ เหน็ จรงิ จะท�ำ ลายกเิ ลส จะประหารกเิ ลส ปญั ญาทร่ี แู้ จง้ เหน็ จรงิ จะเกดิ ขน้ึ มา ลอย ๆ ไม่ได้ คิดเอาก็ไม่ได้ นกึ เอากไ็ มไ่ ด้ ต้องอาศัยการภาวนา ก็คอื ต้องเจริญสติ เจรญิ สติ ก็ต้องเจริญให้ถกู ตอ้ ง ธั ม โ ม ว า ท ๑๕

เจริญทถ่ี กู ต้อง กค็ ือ ระลึกใหม้ นั ตรงตอ่ สภาพธรรมทป่ี รากฏ ตรงต่อรูป ต่อนาม ที่กำ�ลังปรากฏ ซึ่งเป็นสภาพที่เป็นจริง จะไปดูท่ี ของปลอม ไปดูแต่ช่ือ ภาษา ความหมาย รูปร่าง ก็กลายเป็นไปแต่ ตามสมมติ กร็ ู้ไปตามสมมติ เพราะฉะน้ัน จ�ำ เปน็ ท่จี ะตอ้ งใส่ใจระลกึ ให้ตรงตอ่ สภาวะที่เปน็ รปู เปน็ นาม หรอื เปน็ ปรมตั ถ์ ทก่ี �ำ ลังปรากฏ แล้วก็ตอ้ งวางใจใหถ้ ูกด้วย คอื ไมใ่ ช่เอาแตค่ ้นหา เพ่งหา ค้นหา จอ้ งจบั มนั กจ็ ะตงึ มนั กจ็ ะแนน่ มนั กจ็ ะเครยี ด มนั กจ็ ะไมเ่ บา ไมโ่ ปรง่ ก็เลยกลายเป็นเครื่องมือที่หนัก จับสภาวะอะไรละเอยี ดไม่ได้ แตถ่ า้ รจู้ กั วางใจ รสู้ กั แตว่ า่ รู้ รลู้ ะ รปู้ ลอ่ ย รวู้ าง ไมเ่ พง่ ไมเ่ ผลอ ไมย่ ินดไี ม่ยินร้าย เคร่อื งไม้เครื่องมือ มนั ก็เบา คอื สติสัมปชญั ญะ มันก็เบา พอมันเบาก็จับสภาวะรายละเอียดได้ ทำ�ให้เห็นรูปนาม เกดิ ดับ เปน็ อนิจจงั ทกุ ขัง อนัตตา วนั ท่ี ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ๑๖ ธั ม โ ม ว า ท

อารมณ์ต่าง ๆ เปรยี บเหมือนแขก บา้ นหลังน้ี มีประตอู ยู่ ธรรมดาประตูกจ็ ะเป็นที่ผา่ นเขา้ ออกของคนในบา้ น เรือนชวี ิตนี้ มี ประตกู ป่ี ระตู ? ท่จี ิตจะผ่านออกไปรับอารมณต์ า่ ง ๆ มี ๖ ประตู คือ ตา หู จมูก ลิน้ กาย ใจ จติ ไปทาง ใจไดห้ รือ ? ..ได.้ . ปดิ ตา ปดิ หู ปิดจมกู ปิดปาก จติ ยังไปไดไ้ หม ? ..ลอดคิดไปเรือ่ งโนน้ เรือ่ งนีไ้ ด.้ . ธั ม โ ม ว า ท ๑๗

ใจกเ็ ปน็ ประตหู นงึ่ เมอื่ มแี ขกมา เจา้ ของบา้ นกอ็ อกไปรบั แขก เวลาท่ีไปรับแขก กจ็ ะตอ้ งมี ๑. แขก ๒. เจ้าของบา้ น จะต้องมีสองฝ่าย เวลาออกไปรับแขก ฝ่ายหน่งึ เป็นแขก ฝ่าย หนงึ่ เปน็ เจ้าของบ้าน จิตก็เหมอื นกัน เวลาออกไปรับรู้อารมณ์ กจ็ ะมี ๑. อารมณ์ ๒. ผ้รู อู้ ารมณ์ มีอารมณ์ กับ มีผู้รู้อารมณ์ ..คู่กัน เพราะฉะน้ัน จะฝึกการ เจริญสติให้รู้ทั้งแขก รู้ทั้งเจ้าของบ้านได้ไหม? รู้ท้ังอารมณ์ รู้ท้ังผู้รู้ อารมณ์ ให้เจ้าของบ้านรู้แขกด้วย รู้ตัวเองด้วยว่า กำ�ลังรับแขก รู้ ตวั เองวา่ รสู้ กึ ตอ่ แขก รบั แขก กบั รสู้ กึ ตอ่ แขก เหมอื นกนั ไหม ? ชอบ ไมช่ อบ รับแขกเปน็ อยา่ งไร ? ..มันกอ็ อกไปรบั ออกไปรบั รู้ ออกไปดู ยงั ไมไ่ ด้บอกว่าชอบไมช่ อบ มนั แคอ่ อกไปรบั รู้ จิตนี้ก็เหมือนกัน ระหว่างรู้สึกต่ออารมณ์ กับรับรู้อารมณ์ เหมือนกันไหม ? รู้สึกต่ออารมณ์..ก็เหมือนเจ้าของบ้านรู้สึกต่อแขก ชอบ ไม่ชอบ จิตก็เหมือนกัน..ชอบ ไม่ชอบ รับอารมณ์ ก็เป็นเพียง ออกไปดูแขก ออกไปรับแขก อยู่ในคนเดียวกนั ไหม ? ..อยใู่ นคนเดียว จติ ก็เหมือนกนั ๑๘ ธั ม โ ม ว า ท

รบั อารมณ์ กบั ร้สู กึ ต่ออารมณ์ กอ็ ยู่ในจิตเดียวกัน แตม่ ันคนละแง่กนั เราจะฝกึ ใหร้ ู้ไดท้ ง้ั ร้สู กึ ต่ออารมณแ์ ละรู้อารมณ์ เหมอื นกันไหม รสู้ กึ ต่ออารมณ์ กับ รู้อารมณ์ ? จิตมคี วามรสู้ ึกตอ่ อารมณ์ เชน่ ชอบ ไม่ชอบ ร้อู ารมณ์เปน็ อย่างไร ? ..ก็แค่ไปรับรู้ วันท่ี ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ธั ม โ ม ว า ท ๑๙

นิพพาน คอื ความสน้ิ จากตณั หา ถ้าเราไปเจริญตัณหา พอกพูนตัณหา ก็สวนทางกับนิพพาน เพราะฉะน้ัน ละความทะยานอยากปลดปลงลงวาง ละความทะยาน อยากลง ปลงได้ ใจมันก็เบา โปร่ง โล่งขึ้นมา เพราะฉะน้ัน อย่าทำ� ดว้ ยความทะยานอยาก ตอ้ งเปน็ ผู้ตรง รู้สึกว่ามนั ตึง เครง่ ตึง ก็แสดง ว่าจดจ้อง บังคับ ทะยานอยาก ก็ปรับผ่อน คลี่คลาย สอนใจตัวเอง ให้ปลอ่ ยใหว้ าง สกั แตว่ า่ ไมว่ า่ อะไร ไม่เอาอะไร ไม่จงใจจัดแจง ปลอ่ ยสภาวะเขาแสดงของเขาเอง อย่าไปจัดตัวละคร ดูละครแล้วไปจัดตัวละครไม่ได้ ก็ไม่รู้ว่า ละครมันจะเล่นอย่างไร ถ้าเราไปจัดฉากใหม่ ตัวโกงไม่เอา จะเอา พระเอกนางเอก การปฏิบตั เิ หมือนกัน เรามักจะไปจดั อยา่ งนไ้ี มเ่ อา จะเอาอย่างน้นั จะเอาสงบ ฟงุ้ ไมเ่ อา จะเอาสงบ ปวดไมเ่ อา จะเอา หายปวด เรียกว่า เราไปจัดฉากละครใหม่ กเ็ ลยไมเ่ ห็นความจริงของละครโรงนน้ั ไม่เห็นความจริงของสังขาร เพราะเราไปจัดอยู่ ต้องทำ� หน้าที่สักว่าเป็นผู้ดู ละครเขาจะเล่นบทบาทอย่างไร ก็แล้วแต่เขา ดูไป ดูเขา ดูเรา ดูละครย้อนดตู ัวผดู้ ลู ะครดว้ ย ๒๐ ธั ม โ ม ว า ท

รกั ษาผ้ดู ลู ะครใหว้ างเฉย ใหป้ ล่อยวาง เรียกว่า รู้อารมณ์ และรู้ผู้รู้อารมณ์ด้วย จึงเข้าใจความเป็น จริง ทกุ สิ่งเปน็ เชน่ น้นั เอง เปน็ เชน่ นนั้ เปน็ ไฉน ? ก็คอื เป็นไปตามเหตตุ ามปัจจัย เพราะ มเี หตมุ ปี จั จยั ประกอบ รปู นามเหลา่ นก้ี เ็ กดิ ขนึ้ หมดเหตปุ จั จยั กด็ บั ไป เราจะไปฝนื ขืนธรรมชาตไิ มไ่ ด้ เขา้ ใจแจ่มแจง้ ที่สดุ กต็ ้องยอมรบั ยอมลงปลงได้ ยอมเป็นกเ็ ย็นได้ เมือ่ วางมนั กว็ ่าง ไมว่ างกว็ ุน่ วาย ปฏบิ ตั ิธรรมไม่ปล่อยไม่วางก็วุน่ วาย เพราะฉะน้ัน ปฏบิ ัติตอ้ งวาง วางอย่างผู้รู้ ไม่ใช่วางทิ้ง ไม่ใช่ทิ้งขว้าง วิปัสสนาก็ยังต้องรู้ รู้อย่างปล่อยวาง ก็คือ รู้แบบไม่จัดแจง ไม่อยาก ไม่ทะยานอยาก แตก่ ็ยังร้อู ยู่ รู้ละ สละวาง ว่างสบาย วนั ที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ธั ม โ ม ว า ท ๒๑

แแกผ่เไ้ มขตคตแาวกไไ้ามข่ใมคชว่เโรากามแโรผกธเ่รฉธพดดาว้ะ้วยวยกาจากราแาแผตรเ่ ม่ตแต้อผตงแาเ่ ผมด่ ว้ตยตใจา แผเ่ มตตคาอื ทไมำใจใ่ แชผ่เ่ครวาามแรผัก เ่คฉวาพมปาระารวถานาจดาี ต่อแสตัตว่ต์ทัง้อ้ หงลาแยผด่ ้วยใจ คือ ทำ�ใจแผค่ วามรัก คตว้อางฝมกึ ปหรัดาใจรถนาดตี ่อสัตว์ท้งั หลาย ๒๔ ๒๒ ธั ม โ ม ว า ท

ต้องฝกึ หัดใจ “ขอใหม้ คี วามสุขเถดิ ขอให้สตั ว์ท้ังหลาย จงมีความสขุ เถิด อย่าได้มีเวรต่อกนั เลย จงมีความสขุ ความสขุ เถิด อยา่ ไดเ้ บียดเบยี นแกก่ นั และกนั เลย จงมคี วามสขุ ความสุขเถิด อย่าได้ทุกขก์ าย ทุกขใ์ จเลย ขอจงมีความสุขกาย สขุ ใจ รักษาตนใหพ้ น้ จากทกุ ข์ภยั ทง้ั สนิ้ เทอญ ” ค�ำ บรกิ รรมเปน็ ตวั น�ำ ใหจ้ ติ แผป่ รารถนาดอี อกไป ท�ำ ครง้ั เดยี ว สองคร้ัง..มันยังไม่เมตตา แต่พอแผ่ไปมาก ๆ เข้า เป็นสิบ เป็นร้อย เป็นพันคร้งั จิตกก็ ลับมเี มตตา ความโกรธก็หายไป หรอื ว่า เราร้วู ่าความโกรธ คอยจะเกิดขึ้นไดง้ ่าย เวลาเจอ อารมณ์ไม่ดี เห็นภาพคนน้ันทำ�ไม่ดี ฟังเสียงคนน้ันไม่ดี เรากำ�ลัง น่ังสมาธิ ทำ�ไมมาคุย ทำ�เสียงดัง โกรธขึ้นมา เรารู้ว่าจิตมันคอยจะ โกรธงา่ ย พออะไรที่ไม่ถกู ใจ มันโกรธ เรากเ็ จรญิ เมตตาไว้เสยี ตอนท่ี ยงั ไมโ่ กรธ ตอนที่ใจยงั ปกติ เจรญิ เมตตาเรื่อย ๆ แผ่เมตตาอยเู่ รือ่ ย ๆ ..เปน็ กรรมฐานบทหน่งึ เปน็ สมถกรรมฐาน ทท่ี �ำ ใหจ้ ิตใจสงบ พอจิตไมโ่ กรธ ก็สงบ ธั ม โ ม ว า ท ๒๓

แม้ว่าเราจะมาเจริญทางวิปัสสนาเป็นหลักก็ตาม แต่เราก็ สามารถเอาการแผ่เมตตามาสลบั ใช้ได้ เพราะวา่ ถ้าจติ มเี มตตา จิตใจ จะดีงาม จะมคี วามสุข แชม่ ชนื่ เบิกบานจติ ใจ รสู้ ึกมคี วามสขุ เพราะ วา่ จติ มเี มตตา แตเ่ ราตอ้ งแผอ่ ยเู่ รอื่ ย ๆ เดนิ ไปไหนกแ็ ผ่ ไปไหนกแ็ ผไ่ ว้ เร่ือย ๆ ใช้คำ�เดียว ประโยคเดียวกไ็ ด้ “ขอให้สัตวท์ งั้ หลายมีความสขุ เถดิ ” ทำ�ใจแผ่สบาย ๆ เมื่อจิตมีเมตตาเสียแล้ว ก็ไม่โกรธง่าย กระทบกระทั่งอะไร ก็ไม่โกรธ เหมือนร่างกายเราไม่มีบาดแผล ไม่มี อักเสบอย่ตู รงไหน กระทบกระทัง่ กระเทือนอะไรก็ไมเ่ จบ็ แต่ถา้ เรา มีบาดแผล มอี ะไรอักเสบอยู่ โดนอะไรกระทบนดิ หนอ่ ยไมไ่ ด้ ..เจบ็ มาก เหมือนใจเรา ถา้ ไม่มคี วามสขุ เหมอื นใจเราอกั เสบอยู่ ..มีทกุ ข์ อยู่ กระทบอะไรหน่อย ก็โกรธ เพราะใจเราไม่มีความสุข บางทีใคร พูดดกี ็โกรธ พูดไม่ดีกโ็ กรธ ท�ำ ไมด่ ีก็โกรธ ท�ำ ดกี ็โกรธ ใจหาเร่ืองโกรธ จนได้ ถ้าใจมันไม่ดีอยู่ ใจมนั ขนุ่ อยู่ ใจมนั ทุกขอ์ ยู่ เมอื่ เจรญิ เมตตา ใจมีความสุข ก็ไมโ่ กรธใครงา่ ย แกไ้ ขโทสะ ความโกรธ ด้วยการ แผเ่ มตตา เจริญเมตตา วนั ท่ี ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ๒๔ ธั ม โ ม ว า ท

นวิ รณท์ ่ี ๔ ก็คอื ถีนมทิ ธนิวรณ์ หดหู่ ท้อถอย ท้อแท้ พอใจทอ้ ..ก็จะถอย พอถอย ..กผ็ ลอยลงภวังค์ หลบั พอใจหลับ ..กายกส็ ัปหงก เราต้องทำ�อยา่ งไรเวลาทงี่ ่วงเกิดขึ้น ? ถา้ เปน็ การเจริญสตปิ ฏั ฐาน เจริญวปิ ัสสนา ..กร็ ะลกึ รคู้ วามงว่ ง ธั ม โ ม ว า ท ๒๕

อาการทง่ี ว่ ง มอี าการอย่างไร ? ..สมองมนึ ตอ้ื ตงึ ท่ีตาเปน็ อยา่ งไร ? ..จะลืมไม่ขึน้ เบลออยู่ ใจเป็นอย่างไร ? ..ดูท่ีใจเวลาง่วง ใจจะหรี่ลง ๆ แล้วก็หมด หลบั กจ็ ะขาดตอน ขาดความรบั รู้ เดย๋ี วก็ตนื่ มา ก็ร้อู ีก รู้จติ ดูอาการ ของจิตทเ่ี คล้ิมตัว แล้วกห็ ลับ มันก็จะสปาร์คขน้ึ มาได้ ดบู อ่ ย ๆ จิตจะ ถกู กระชากข้นึ มา สมองโปรง่ โลง่ ตนื่ สวา่ ง แต่ถ้ายงั ไม่พอ กเ็ พยี งแค่ รสู้ กึ ตกใจ หรอื วา่ สะดุง้ ใจ แล้วกล็ งไปใหม่อกี เรียกวา่ ยงั ชำ�ระไม่พอ ถา้ ดูไปเรื่อย ๆ มนั ช�ำ ระ จะหายงว่ ง ต่นื ร้ขู น้ึ มา แตถ่ ้าหากวา่ ก�ำ หนด ดูความง่วงแล้ว ก็ไม่ยอมตื่น ไม่ยอมรู้ตัวตื่นตัว กำ�หนดไปทีไร..ก็ถูก กินหมด ถูกความง่วงครอบงำ� เหมือนส่งทหารไปออกรบ ถูกจับตัว เป็นเชลยหมด กำ�หนดลงไป ดูลงไป ถูกจับกิน ถูกจับตัวหมด คือ หลับไปด้วยกัน สติหายไปไหนหมด ไม่รู้ ..เสรจ็ นวิ รณ์หมด เราก็ตอ้ งปรบั วิธใี หม่ อย่าไปทำ�แบบนนั้ ท�ำ จติ ใหด้ งิ่ ๆ ลงไป เขาจับตัวไปหมด เรากท็ �ำ หา่ ง ๆ ถอนใจข้นึ มา รู้เนอื้ รู้ตัวข้นึ รู้สกึ ตวั ขน้ึ มามากกวา่ เดมิ อยา่ ดง่ิ ลงไป อยา่ ไปเนน้ เรอ่ื งท�ำ สมาธิ เพราะก�ำ ลงั สตสิ ัมปชัญญะมนั ไมพ่ อ ถา้ เคลม้ิ ลงไป ดิง่ ลงไปหลับ เรากพ็ ยงุ ข้นึ มา ก่อน รเู้ นือ้ รู้ตวั รู้สึกตัว ยงั ไม่ต้องหว่ งสมาธิ เอาวา่ ร้สู ึกตัวใหไ้ ด้กอ่ น ใหม้ คี วามรู้เนือ้ ร้ตู วั ร้สู ึกตัว ตงั้ หลกั ใหไ้ ด้ พยงุ ใจขนึ้ มา เพียรมีสติสมั ปชัญญะมากกว่าเดิม ถา้ เอาไม่อยู่ก็ลืมตาเสยี แต่ลมื ตา กอ็ ย่าลืมตวั ๒๖ ธั ม โ ม ว า ท

ลืมตา ..กย็ ังเจริญสตอิ ยู่ ลืมตา ..ก็ยงั ร้สู กึ ตัวได้ ลมื ตา ..ก็ระลกึ รใู้ นตวั ในกายในใจ ลืมตาแลว้ ยงั จะหลบั ..กข็ ยับตัวชว่ ย ขยบั อะไรได้บ้าง ร่างกายน่งั อยูน่ ี้ ? ขยบั ศรี ษะ อยา่ งมสี ติ ช้า ๆ ขยบั แขนขึน้ ลง ขยบั มือ ขยับร่างกายให้เป็นตวั ช่วยในการร้สู กึ ใช้อิริยาบถย่อย เจริญสติในอิริยาบถย่อย ทำ�ให้ร่างกาย ช่วยจิตใจ ต้ังหลักไว้ได้ ถ้าอยู่ตามลำ�พัง ก็ลุกข้ึนเดินเสีย ลุกข้ึนเดินจงกรม กลับไปกลับมาให้มาก เดินดูแต่เท้า รู้สึกที่เท้าง่วงก็รู้สึกท้ังตัวเสีย ยกใจขึ้นมารู้เนื้อรู้ตัว เดินช้า แล้วง่วง..ก็เดินไวขึ้น จะไม่ยอมให้ น่ังหลบั สปั หงก ลกุ ข้นึ มา ไปล้างหนา้ ลา้ งตา เหลยี วดูทศิ ทัง้ หลาย ถ้าเป็นกลางคืนก็มองท้องฟ้า ดูดวงดาว หรือกลางวัน ก็มองต้นไม้ มองธรรมชาติชว่ ย เราจะไม่ยอมให้นง่ั หลบั สปั หงกอยู่ เด๋ยี วมนั ตดิ ติดแลว้ ไม่รตู้ ัวต้องเปล่ยี นอริ ยิ าบถ วันแรก ๆ เรา จะเจอนวิ รณ์ ความง่วงเหงา จนกวา่ จะ ๓ วนั ผา่ นไปถึงจะคลีค่ ลาย วนั ท่ี ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ธั ม โ ม ว า ท ๒๗

เคลอ่ื นไหวอย.ู่ .ก็รู้ หายใจเข้าออกอย.ู่ .ก็รู้ เย็นมากระทบ..ก็รู้ นไี่ ด้หนง่ึ หลังแล้ว รอู้ ย่.ู .กร็ ูส้ กึ ได้ว่ารอู้ ยู่ เล่ือนชัน้ มาบ้านทีส่ อง ๒๘ ธั ม โ ม ว า ท

รอู้ ยู่..ก็รสู้ ึกว่ารอู้ ยู่ ปล่อยวางอย่ดู ้วย พจิ ารณาเหน็ ความจรงิ ในน้ันอยู่ด้วย ได้เห็นแจ้งความจริงทุกส่ิงเป็นเช่นน้ันเอง ตถตา เป็น เช่นน้ันเอง เป็นเช่นนั้น...เป็นไฉน ?...ก็เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ของเขา เพราะฉะนนั้ ความเปลี่ยนแปลงท�ำ ไมจึงไม่เท่ียง ก็ฝากไป พจิ ารณา วนั ท่ี ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ธั ม โ ม ว า ท ๒๙

นวิ รณ์ ก็คอื เครือ่ งก้นั ความดี คอยจะมากน้ั ขวาง ขดั ขวาง ซง่ึ เปน็ อกุศลธรรม เปน็ ธรรมฝ่ายไม่ดี มีโทษ ให้ผลเป็นความทกุ ข์ มอี ยู่ ๕ ประการด้วยกนั ประการหนึง่ ก็คอื กามฉันทนวิ รณ์ เกดิ ความใคร่ เกดิ ความ กำ�หนดั ยนิ ดี ไปในกามคณุ อารมณ์ จติ ใจเลอื่ นไหลไปในกามท้ังหลาย โดยอำ�นาจความเพลินติดก็ทำ�ให้จิตใจมีความเร่าร้อน ไม่สงบ ซ่ึงใน ทางการปฏบิ ตั ิ เม่ือเกิดนิวรณ์ ก็ให้ก�ำ หนดรู้ เจริญสติเขา้ ไปหยัง่ รู้ กามฉนั ทะ ท่ีเกดิ ขน้ึ ภายในจติ ใจ ใหม้ ีสตสิ ัมปชัญญะ ก�ำ หนดดวู ่า ขณะน้ี กามฉนั ทะเกิดข้นึ ณ ภายในจติ ใจ เขาเกดิ ขนึ้ มาไดอ้ ยา่ งไร ? มอี ะไรเปน็ เหตเุ ปน็ ปจั จยั ใหเ้ กดิ ขน้ึ ? มาจากความดำ�ริ มาจากความคิด จิตคิดนึกปรุงแต่งไปในแง่ของ อารมณ์อันน่าใคร่น่าปรารถนา นึกถึงเรื่องเก่า ๆ ที่ผ่านมาก็ตาม ซึ่ง จะเป็นมโนภาพ จะเป็นบุคคล อันเป็นเพศตรงกันข้ามก็ตาม เม่ือจิต คิดไปนึกไปถึงอารมณ์เหล่านี้ ด้วยความเพลิน โดยไม่มีสติรู้เท่าทัน ไม่ยับยั้งแก้ไข จิตใจเล่ือนไหลไป กามฉันทนิวรณ์.. ก็จะเกิดข้ึน กามทัง้ หลายมาจากความดำ�ริ เมือ่ เกิดความดำ�ริ คดิ ไป กเ็ กิดขนึ้ เพราะฉะนัน้ เมอื่ ละเหตุปจั จยั คือไมค่ ิดไม่นึกไมป่ รงุ แต่งตาม เมือ่ ความคิด ความนึก ความปรุงแต่ง..หมดไป ด้วยสติสัมปชัญญะที่รู้ เทา่ ทัน รจู้ กั หักหา้ มใจ รู้จักแก้ไขความคิด ไมส่ ืบต่อ กามฉันทนิวรณ์ ซงึ่ เปน็ ผลเกดิ จากความนกึ คดิ กห็ ายไป สลายไป ดว้ ยสตทิ ร่ี ะลกึ รเู้ ทา่ ทนั ๓๐ ธั ม โ ม ว า ท

เม่ือกามฉันทะ ถูกละออกไปได้ ก็รู้อยู่ว่า กามฉันทะถูกชำ�ระ ออกไปดว้ ยเหตุอนั ใด จะดว้ ยสติที่ระลกึ รู้เท่าทนั ต่อความคิดความนึก ความปรงุ แตง่ ระลกึ รเู้ ทา่ ทนั ตอ่ กามฉนั ทนวิ รณท์ เ่ี กดิ ขน้ึ ในจติ ใจ ความ คิดหายไป นิวรณห์ ายไป ก็ใหร้ ้เู ท่าทันตอ่ สง่ิ ท้งั หลายเหลา่ น้ี หรือว่า การแก้ไขกามฉันทนิวรณ์ด้วยกรรมฐานบทอื่น เช่น พจิ ารณาอาการ ๓๒ เป็นของปฏกิ ูล พจิ ารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอน็ กระดูก หัวใจ ตบั ปอด ไส้ใหญ่ ไสน้ อ้ ย อุจจาระ ปัสสาวะ เลือด นา้ํ เหลอื ง นํ้าตา น้ําลาย ร่างกายน้เี ปน็ ของปฏิกูล เป็นของ ไม่สะอาด เราจะเหน็ วา่ เสอ้ื ผา้ ท่ซี ักมาสะอาดดี พอมาสวมใส่ มาถกู กบั กายอนั เนา่ อย่เู ป็นนจิ เส้ือผา้ กก็ ลายเป็นของสกปรกไป แสดงวา่ รา่ งกายนมี้ ันสกปรก มันก็ซึมไหลออกมาทางรขู ุมขน ทำ�ให้เสื้อผ้าพลอยสกปรกไป มันไหลออกมา ทางตาบ้าง ทางหู ทาง จมูก ทางปาก ทางทวารหนัก ทวารเบา เป็นขี้ตา เป็นขี้หู เป็นขี้มูก เป็นเสลด น้ําลาย เป็นอุจจาระ ปัสสาวะ ภายในเป็นของปฏิกูล เรา พิจารณาอยา่ งนไี้ ปมาก ๆ กามฉนั ทะกถ็ กู ระงบั ไปได้ หรือการพิจารณาถึงความเป็นอสุภะ ร่างกายเป็นอสุภะ เป็นของไม่สวยไม่งาม พิจารณาโดยความเป็นซากศพ จากการที่เคย เห็นศพจริง ๆ มาแล้ว แล้วก็มานึกพิจารณา ศพข้ึนอืดขึ้นพอง มี หมู่หนอนชอนไช ศพท่ีกระจัดกระจาย เรานึกข้ึนมาให้เห็นหรือได้ ประสบการณ์จรงิ ธั ม โ ม ว า ท ๓๑

กน็ อ้ มเขา้ มาสตู่ นเองวา่ รา่ งกายนก้ี ห็ นคี วามเปน็ อยา่ งนไ้ี มพ่ น้ เมอ่ื พจิ ารณาอย่างนม้ี าก ๆ กามฉันทนิวรณ์ กถ็ ูกระงับไป ก็ร้ดู ว้ ยวา่ ระงับได้ด้วยวิธีอย่างน้ี เจริญสติระลึกรู้ได้ เกิดข้ึนในจิตใจรู้เท่าทัน ชำ�ระออกไปไดอ้ ยา่ งไร ก็รู้เท่าทัน วันท่ี ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ๓๒ ธั ม โ ม ว า ท

นิวรณ์ประการท่ีสอง ก็คือ พยาปาทนิวรณ์ ความพยาบาท อาฆาตแค้น ความโกรธ ขัดเคืองใจ เกิดข้ึนมาในจิตใจ โกรธข้ึนมา ก็ให้กำ�หนดรู้ว่า ขณะน้ี ความโกรธเกิดข้ึนในจิตใจแล้ว ให้กำ�หนดรู้ เทา่ ทนั อยู่ เขาเกิดข้ึนมาไดอ้ ย่างไร ? มอี ะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจยั ท�ำ ให้ เกิดขน้ึ ? เพราะวา่ มีความคดิ ไปในแง่ท่ไี ม่ดวี า่ คนน้นั ทำ�ไมด่ กี ับเรา อย่างน้ัน มันพูดไมด่ กี ับเรา มนั ทำ�ไมด่ ีกบั เราไว้ โกงเรา แกลง้ เรา ทำ�รา้ ยเรา ไมซ่ อื่ ต่อเรา..กโ็ กรธแคน้ ความคดิ แบบนี้ ท�ำ ให้เกิดความ โกรธ หรอื วา่ เขาทำ�ไมด่ ีกับคนของเรา ญาติของเรา เพอื่ นของเรา มิตรของเรา..ก็โกรธแทนด้วย หรือไปทำ�ดีกับคนท่ีเราไม่ชอบ เขาไป ท�ำ ดกี ับคนทเี่ ปน็ ศตั รูกับเรา ..โกรธเขาอีก นก่ี ็คอื อโยนโิ สมนสิการ ความคดิ ทไี่ มถ่ กู ตอ้ ง คิดไปแบบน้ีทำ�ใหโ้ กรธ บางทีเรื่องราวมันผ่านมาแล้ว ก็ไปนึกถึงอีก มาน่ังกรรมฐาน นง่ั ไปน่งั มา เผลอไปคิดถึงเรอ่ื งเกา่ ๆ คนนั้นมันท�ำ ไมด่ ี คนนั้นมนั เป็นอย่างน้ัน คนนี้ไม่ดี โกรธข้ึนมา เราก็รู้สาเหตุของมันมาอย่างน้ี มันมาจากความคิดไปในทางไมด่ ี แลว้ กเ็ ป็นเรือ่ งผ่านมาแลว้ บา้ ง ยงั ไม่เกดิ ขน้ึ บ้าง ความโกรธเกดิ ขนึ้ มา กร็ วู้ า่ ความโกรธ มาจากความคิด ในทางที่ไม่ดี เราจะไมค่ ดิ แบบนอี้ ีก จะแก้ไขไดอ้ ย่างไร ? การมีสตริ ะลึกรเู้ ท่าทนั ตอ่ ความโกรธทเี่ กิดข้ึน อยา่ งวางเฉย อยา่ งปลอ่ ยวาง อยา่ งสกั แตว่ ่า..เขาก็ดบั ไป ธั ม โ ม ว า ท ๓๓

พอจะคิดนึกปรุงแต่งในทางไม่ดี รู้เท่าทันความคิด ความคิด ดบั ไป เดยี๋ วมนั คดิ อกี ปรงุ แตง่ อกี ..รเู้ ทา่ ทนั ความคดิ ความนกึ ปรงุ แตง่ มันก็ดับไป คอยรู้เท่าทันต่อความคิด ท่ีจะคิดไปในทางไม่ถูกต้อง ในทางไมด่ ี ความโกรธทมี่ อี ยเู่ ดมิ กถ็ กู ช�ำ ระไปดว้ ยสตทิ ร่ี เู้ ทา่ ทนั อยา่ ง ปล่อยวางวางเฉย ความโกรธใหม่ก็เกิดข้ึนไม่ได้ เพราะว่า รู้เท่าทัน ตอ่ ความคิดนึกปรงุ แต่ง ไมป่ ล่อยให้จิต คิดไปในเร่ืองไมด่ ี บางทกี เ็ ป็นประสบการณ์ ในปจั จบุ ันน้ี อยา่ งวนั น้ี ทเ่ี รามา เขา้ ปฏิบตั ิ กเ็ จออารมณ์ทไี่ มถ่ กู ใจ ทำ�ไมคนนนั้ แยง่ ทเ่ี รา ท�ำ ไมคนนน้ั มันพูดอย่างน้ัน ก็เลยโกรธอีก คิดแบบนี้โกรธ ก็รู้เท่าทันเสีย มีสติ ..โกรธหนอ โกรธหนอ วางเฉย วางเฉยเปน็ อย่างดี ความโกรธก็ หายไป ก็รวู้ า่ .. แกไ้ ขได้ดว้ ยการที่มสี ตริ ูเ้ ท่าทนั วันท่ี ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ๓๔ ธั ม โ ม ว า ท

อกี ขอ้ หนง่ึ กค็ อื วจิ กิ จิ ฉานวิ รณ์ ความสงสยั ลงั เลใจ กก็ วนอยู่ ถ้าไปนั่งแล้ว เอ๊ะ จะอย่างน้ัน อย่างนี้ไหม หรืออย่างน้ันดี ..มันก็ ไปไหนไม่ได้ เจอทางสองแพร่ง เอ๊ะ จะไปซ้าย ไปขวา หน้า หลัง... กไ็ มไ่ ด้ไปอยู่อยา่ งน้นั ให้กำ�หนดรวู้ ่า...ความสงสัยเกดิ ข้ึนแลว้ ไม่ตอ้ ง ไปคอยหาคำ�ตอบ ถงึ แมย้ ังไม่มีคำ�ตอบ ก็กำ�หนดรู้ เมื่อความสงสยั ถกู ก�ำ หนดรู้ มนั กจ็ ะดบั ไป ถ้าสงสัยเกิดขึ้นมาอีก...ก็กำ�หนดสงสัยหนอ สงสัยก็ดับไป ไม่อย่างน้ันมันก็กวนอยู่ การกำ�หนดรู้นิวรณ์ ก็เท่ากับเอานิวรณ์เป็น กรรมฐานเป็นท่ีตั้งของสติ เป็นการเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน กลายเป็นเอามาเป็นประโยชน์เสียอีก นิวรณ์เป็นอกุศลธรรม เป็น นามธรรม แต่ละข้อนี้ เม่ือมันเกิดขึ้น เจริญสติกำ�หนดรู้ก็กลายเป็น กรรมฐาน เป็นท่ีตั้งของสติ จึงกลายเป็นการเจริญธัมมานุปัสสนา- สติปัฏฐาน ก็แนะไว้ว่ามันจะเกิดข้ึนต่าง ๆ เหล่าน้ี ก็ให้พยายาม แก้ไขไป วนั ท่ี ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ธั ม โ ม ว า ท ๓๕

ใช้การคิดในทางที่ถูก ก็เป็นเร่ืองธรรมดา ที่คนน้ันทำ�ไม่ดี คนโน้นท�ำ ไมด่ ี หันมาดูตัวเรา เราก็ยงั ท�ำ ไมด่ ีได้เหมอื นกัน ไมใ่ ชม่ ีแต่ เขาทำ� เราก็ยังท�ำ ไมด่ ีตั้งหลาย ๆ อยา่ ง เขาอบรมมาอยา่ งนัน้ เขาคิด อย่างนน้ั เขาก็ตอ้ งท�ำ อยา่ งนั้น ถา้ เราไปเป็นแบบเขา เรากต็ ้องท�ำ แบบเขาอยดู่ .ี .ก็ใหอ้ ภัยได้ พิจารณาถึงความที่เป็นกฎแห่งกรรม ที่เราถูกกระทำ�ไม่ดี ต่าง ๆ เป็นเร่ืองวิบากกรรมของเราเอง เรามีกรรมไว้อย่างนั้น เคย โกงเขาไว้ เคยแกลง้ เขาไว้ เคยใสร่ า้ ยเขาไว้ เคยท�ำ เสยี งดังใส่เขาไว้ เคยทำ�ไมด่ ีไว้ในอดตี ถงึ เวลากรรมให้ผลมันกต็ อ้ งรับผลกรรม แล้ว ๓๖ ธั ม โ ม ว า ท

เราจะไปโกรธใคร ในเม่อื เป็นผลการกระทำ�ของเราเอง คิดเรื่องกฎ แหง่ กรรมแลว้ ..กไ็ มเ่ ป็นไร ถอื วา่ ใชห้ น้ี ปลดหน้ีกนั ที เหมอื นเรากูห้ น้ี ยืมสินมา ถึงเวลาเขาทวง เราใช้คืนไป เราควรจะโกรธเขา หรือเรา ควรจะเบาใจ ได้ใช้หน้ีปลดหน้ีไป ควรจะเบาใจใช่ไหม ? การคิด อย่างนี้ ก็ทำ�ให้แก้ความโกรธได้ แล้วก็เป็นความจริงอย่างน้ัน ถ้าเรา ไมม่ บี าปกรรมไว้แบบนั้น กจ็ ะไม่เจอเหตกุ ารณ์ทีไ่ ม่ดีแบบน้นั เลย วันท่ี ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ธั ม โ ม ว า ท ๓๗

บางทีความโกรธ มาจากที่จิตเราไม่สงบ ทำ�กรรมฐานแล้ว อยากจะได้สงบ อยากจะได้สมาธิ พอไม่ได้ข้ึนมาก็โกรธ โกรธตัวเอง โกรธใจ โกรธการปฏบิ ตั ิ อนั นคี้ วามโกรธ มาจากอะไร ? ..มาจากตณั หา ความอยาก เพราะความอยาก ท่อี ยากจะได้สมาธิ อยากจะให้มันนง่ิ อยากจะให้ได้สติดี อยากจะให้มีสมาธิ ..พอไม่ได้ ก็จะโกรธ ก็จะ ขดั เคืองใจว่นุ วาย เมื่อรู้อยา่ งน้กี ็อยา่ ไปอยาก อยา่ ไปอยากได้ อยากดี อยากมี อยากเป็น อยากสงบ ท�ำ ไปเร่ือย ๆ สงบกไ็ ด้ ไม่สงบกไ็ ด้ ถ้ามนั ไมส่ งบ ฉนั กด็ คู วามไมส่ งบ ถา้ มนั สงบ ฉันก็ดูความสงบ เหมอื นเราขบั รถไป เราจะเลอื กแตท่ างเรยี บ ๆ นน้ั ไมไ่ ด้ อยา่ ง ท่ีเรานั่งรถ มีถนนเรียบมาตลอดไหม ? ถ้าเราเลือกแต่เรียบ ๆ ก็มา ไม่ถงึ แน่ ถงึ ขรขุ ระฉนั ลงแลว้ ฉันไมไ่ ป..มันไม่ได้ การปฏบิ ัติก็เหมือน กัน จะต้องเจอขรุขระ ไม่ใช่เจอแต่ความนิ่ง ความสงบ จะต้องเจอ ความไม่สงบ เราจะยอมรับว่า จะปฏิบัติกับความไม่สงบให้เป็น จะ ปฏิบัตกิ บั เวลาทีจ่ ิตคดิ มันฟุ้งใหเ้ ป็น ปฏิบตั กิ บั รา่ งกาย มันทุกข์ มัน ปวด มนั เจบ็ ให้เป็นเหมอื นเราจะต้อง ฝกึ ขบั รถในท่ขี รขุ ระใหเ้ ป็น ชีวิตน้ี..ไม่มอี ารมณอ์ ะไรทีด่ ตี ลอดเวลา ตอ้ งเจออารมณ์ดีบา้ ง ไม่ดีบ้าง ปฏบิ ตั ิกรรมฐาน..ก็เจอ ๓๘ ธั ม โ ม ว า ท

ถ้าเราไปเลือกแต่สงบ ๆ แล้ว พอเจอที่มันไม่สงบ เจอฟุ้ง เจอคิด เราก็จะโกรธขัดเคืองใจ แต่เมื่อรู้จักยอมรับว่า เราจะปฏิบัติ ทกุ อยา่ ง ทกุ อารมณ์ เมอ่ื จติ มนั ไมส่ งบ ฟงุ้ กก็ �ำ หนดดจู ติ ทไี่ มส่ งบ ทฟ่ี งุ้ อย่างวางเฉย อย่างไม่วา่ อะไร ท่จี ะฝกึ หดั ดู เพราะเปน็ นวิ รณ์ขอ้ หนึ่ง วันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ธั ม โ ม ว า ท ๓๙

เป็นผถู้ ูกความทุกขห์ ยัง่ เอาแลว้ เป็นผถู้ กู ความทุกข์ครอบงำ� เป็นผ้มู คี วามทุกข์เป็นเบอื้ งหนา้ แลว้ ยงั มตี อ่ ไปไหม ? ความเกดิ แก่ เจบ็ ตาย ทำ�ไฉน ? การท�ำ ที่สุดแห่งกองทกุ ข์ทง้ั ส้นิ นี้ ..จะพงึ ปรากฏชดั แกเ่ ราได้ สวดมนต์ ทำ�วัตรกนั อยทู่ ุกเช้า บน่ เพอ้ ร�ำ พนั อยนู่ ี่ ท�ำ ไฉน การทำ�ท่ีสุดแห่งกองทุกข์ท้ังสิ้นน้ี จะพึงปรากฏชัดแก่เราได้ ต้องทำ� อย่างไร ? ปฏิบตั ิตามค�ำ ส่ังสอนของพระผู้มพี ระภาคเจา้ ถา้ เป็นพระ เป็นสมณะ เป็นอย่างไร ? เป็นผู้ออกจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องกับเรือน แล้ว ปฏิบัติอยู่ตามคำ�สั่งสอน โยมยังเก่ียวข้องกับเรือนอยู่ ก็ปฏิบัติ ตามกำ�ลังสติปัญญาขอให้การปฏิบัติทั้งหลายของเราน้ัน จงเป็นไป เพอื่ การทำ�ท่ีสุดแห่งกองทกุ ข์ทงั้ ส้ินน้ี เทอญ วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ๔๐ ธั ม โ ม ว า ท

พระพทุ ธเจ้าสอนปญั จวคั คยี ์ กจ็ ะถามไปเรือ่ ย ๆ จนหลุดพน้ ได้ รูป เทย่ี งหรอื ไม่เทย่ี ง ? ..ไม่เท่ียงพระพุทธเจ้าขา้ สิง่ ใดไม่เที่ยง ส่ิงน้นั เป็นสขุ หรอื เปน็ ทุกข์เล่า ? ..เป็นทุกข์ สิ่งใดไม่เท่ียง ส่ิงน้ันเป็นทุกข์ มีความแปรผัน เป็นธรรมดา ควรหรอื ที่เธอจะยดึ ถือวา่ ..นัน่ เปน็ ของเรา เราเป็นนนั่ น่ันเป็นตัวตนของเรา ธั ม โ ม ว า ท ๔๑


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook