Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจำวัน (พระภาวนาเขมคุณ วิ.)

วิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจำวัน (พระภาวนาเขมคุณ วิ.)

Description: วิปัสสนาในชีวิตประจำวัน
โดย พระภาวนาเขมคุณ วิ. (พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี)
วัดมเหยงคณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา

ในวันหนึ่ง ๆ ที่เรามีชีวิตอยู่
ถ้าเราขาดสติที่จะรู้เท่าทัน เรียกว่าเราประมาท
ประมาทเพราะว่าปล่อยให้กิเลสท่วมทับจิตใจตัวเอง

ผู้ประมาทจึงชื่อว่าผู้ที่ตายแล้ว
ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย
เพราะว่าคนตายเจริญสติไม่ได้
ไม่มีโอกาสเจริญกุศล เจริญสติ รู้เท่าทัน

คนมีชีวิตอยู่ ถ้าประมาท ก็เท่ากับคนตายเหมือนกัน

Keywords: วิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจำวัน,วัดมเหยงคณ์,พระภาวนาเขมคุณ,กรรมฐาน

Search

Read the Text Version

วปิ สั สนากรรมฐาน ในชีวิตประจําวนั เขมรังสี ภกิ ขุ

กวรปิ รัสมสฐนาาน ในชวี ติ ประจำ� วัน เขมรงั สี ภกิ ขุ

กวรปิ รสั มสฐนาาน ใ น ชี วิ ต ป ร ะ จํ า วั น เขมรังส ี ภิกขุ พมิ พค์ รั้งท ี่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ จ�ำนวนพมิ พ์ ๖,๐๐๐ เล่ม จดั พิมพโ์ ดย วดั มเหยงคณ ์ ตำ� บลหนั ตรา อ�ำเภอพระนครศรอี ยธุ ยา จังหวัดพระนครศรอี ยุธยา ๑๓๐๐๐ โทรศัพท์ : ๐๓๕-๘๘๑-๖๐๑-๒, ๐๘๒-๒๓๓-๓๘๔๘ โทรสาร : ๐๓๕-๘๘๑-๖๐๓ www.mahaeyong.org  www.watmaheyong.org ออกแบบ / จดั ท�ำรูปเล่ม / พิสูจน์อกั ษร  คณะศิษยช์ มรมกัลยาณธรรม พมิ พท์ ี่ แคนนา กราฟฟคิ โทรศัพท ์ ๐๘๖-๓๑๔-๓๖๕๑





“ในวนั หนึง่ ๆ ทีเ่ รามชี ีวติ อยู่ ถา้ เราขาดสติทจ่ี ะรเู้ ทา่ ทนั เรยี กวา่ เราประมาท  ประมาทเพราะวา่ ปล่อยให้กเิ ลส ทว่ มทับจติ ใจตวั เอง  ผ้ปู ระมาทจงึ ชือ่ ว่าผทู้ ีต่ ายแลว้

นะมตั ถ ุ รตั ตะนะตะยสั สะ ขอถวายความ  นอบนอ้ มแดพ่ ระรตั นตรยั  ขอความผาสกุ  ความ  เจริญในธรรม  จงมีแก่ญาติสัมมาปฏิบัติธรรม  ทงั้ หลาย ต่อไปน้ีก็พึงตั้งใจฟังธรรมะ  พร้อมกับการ  เจริญสติ  เราสามารถเจริญสติ  ระลึกรู้สภาพ  6 วิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจําวัน

ธรรมไปพร้อมกับการฟังธรรมได้  ซึ่งก็เป็นการ  ฝึกหัดปฏิบัติการเจริญสติปัฏฐานหรือการเจริญ  วิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจ�ำวันของเรา  อันเป็นชีวิตจริงส่วนใหญ่  เพราะเราไม่ได้มาอยู่  ในลักษณะเก็บตัวเก็บอารมณ์อย่างนี้ตลอด  ไป  ชีวิตเราส่วนใหญ่ยังต้องอยู่กับภาระ  ธุระ  การงาน  มีงานที่ต้องท�ำ  ต้องรับผิดชอบใน  ครอบครัวและในสังคม  ผู้เป็นฆราวาสมีธุระ  มาก มกี จิ มาก ฉะนน้ั  การทจี่ ะปลกี ตวั มาแตล่ ะ  คร้ังก็เป็นโอกาสที่แสนยาก  แล้วก็มีเวลาน้อย  ถ้าเทียบดู...ปีหนึ่งมี  ๓๖๕  วัน  เรามาเก็บตัว  ปฏิบัติ  ๘  คืน  ๙  วัน  นอกนั้นเราก็เป็นไปกับ  ทางโลก เป็นไปกับการงานตา่ งๆ 7เขมรังสี ภิกขุ

ถา้ เรามชี วี ติ การงานทปี่ ลอ่ ยปละละเลย  ไมไ่ ดเ้ จรญิ กรรมฐานไปดว้ ย แตล่ ะวนั ๆ จติ ใจ  ของเรากจ็ ะสะสมกเิ ลสไวม้ ากมาย เวลาทเี่ หน็   รูปแต่ละครั้ง  ถ้าไม่มีสติแล้วกิเลสก็จะเกิด  เจอ  รูปสวยก็เกิดความยินดีพอใจ  เป็นโลภมูลจิต  เจอรูปไม่สวย  รู้สึกไม่พอใจ  ก็เป็นโทสมูลจิต  อีก  หรือเจอรูปแล้วก็หลงใหลเล่ือนลอย  ไม่รู้  เท่าทัน  ก็เป็นโมหมูลจิต  อีก หรือเราฟังเสียง  ได้ยินเสียงไพเราะ  ขาดสติ  โลภมูลจิตก็เกิดขึ้น  ความพอใจความติดใจเป็นโลภะ  ได้ยินเสียง  ไม่ไพเราะ  เสียงหนวกหู  เสียงด่า  ก็เกิดโทส-  มูลจิต  หรือไม่รู้เท่าทันก็เป็นโมหมูลจิต  หลงไป  ในอารมณน์ น้ั  เวลาไดก้ ลนิ่ หอม ไดล้ ม้ิ รสอรอ่ ย  ไดส้ มั ผสั ถกู ตอ้ งทางกายเยน็ สบายนมุ่ นวล ไดร้ บั   8 วิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจําวัน

อารมณท์ างใจทดี่  ี จติ กจ็ ะเกดิ โลภะ ความพอใจ  ความติดใจในอารมณ์นั้น  ถ้าเจอกลิ่นเหม็น  รส  ไม่อร่อย  สัมผัสไม่ดี  ร้อนเกินไป  หนาวเกินไป  แขง็ เกนิ ไป ใหป้ วด ใหเ้ จบ็  ใหไ้ มส่ บาย จติ กม็ กั   จะเป็นโทสะ  เกิดความไม่พอใจ  เป็นโทสมูลจิต  อีก  หรือมีอารมณ์มากระทบแล้วไม่รู้เท่าทัน  หลงใหลเล่อื นลอย ก็เป็นโมหมูลจติ อีก แล้ววันหน่ึงๆ  เราเห็นกี่ครั้ง  ได้ยินกี่คร้ัง  ได้ดมกลิ่น  ได้ล้ิมรส  ได้สัมผัสถูกต้อง  รับรู้เรื่อง  ราวก่ีครั้ง  นับไม่ถ้วน  ฉะนั้น  ปริมาณของกิเลส  ท่ีเกิดข้ึนแต่ละวันๆ  ก็มีมาก  เดี๋ยวก็เป็นโลภะ  เดี๋ยวก็เป็นโทสะ  เดี๋ยวก็เป็นโมหะ  บางทีก็ม ี มานะ  (ความถือตัว)  เข้ามาอีก  บางทีก็มีความ  9เขมรังสี ภิกขุ

อจิ ฉารษิ ยาเขา้ มาอกี  บางคราวกต็ ระหนหี่ วงแหน  บางครั้งก็หงุดหงิดร�ำคาญ  บางคราวก็ท้อแท ้ ทอ้ ถอย สงสยั  บางครง้ั บางคราวกไ็ มล่ ะอายตอ่   บาป  ไม่เกรงกลัวต่อบาป  แล้วก็มีความยึดม่ัน  ถอื ม่ัน เป็นตวั เป็นตน เปน็ เราเป็นเขา ถ้าชีวิตที่เป็นไปแต่ละวันขาดสติสัมป-  ชญั ญะ กจ็ ะสะสมเอากเิ ลสไวม้ าก หมกั ดองอย่ ู ในขันธสันดาน  กลายเป็นอาสวะ  เป็นเครื่อง  หมักดอง  ติดเป็นนิสัยไป  ถ้าสะสมกิเลสสาย  โลภะไว้มาก  ก็ไปเป็นคนราคจริต  สะสมกิเลส  ประเภทโทสะไว้มาก  ก็ไปเป็นคนโทสจริต  ขี้โกรธ  สะสมโมหะไว้มาก  ก็ไปเป็นคนโมหจริต  ขห้ี ลง สะสมวติ กกงั วล คดิ มาก เรอื่ งอะไรนดิ ๆ  10 วิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจําวัน

หน่อยๆ  ก็คิดมาก  ก็กลายเป็นคนวิตกจริต  น่ ี ก็เพราะวา่ สะสมเขา้ ไวเ้ อง ฉะนนั้   ในวันหนงึ่ ๆ  ที่เรามีชีวิตอยู่  ถ้าเราขาดสติท่ีจะรู้เท่าทัน  เรยี กวา่ เราประมาท ประมาทเพราะวา่ ปลอ่ ย  ใหก้ ิเลสทว่ มทบั จิตใจตวั เอง ผู้ประมาทจงึ ช่ือ  วา่ ผทู้ ต่ี ายแลว้  ความประมาทเปน็ ทางแหง่ ความ  ตาย เพราะวา่ คนตายเจรญิ สตไิ มไ่ ด ้ ไมม่ โี อกาส  เจรญิ กศุ ล เจรญิ สต ิ รเู้ ทา่ ทนั  คนมชี วี ติ อย ู่ ถา้   ประมาท กเ็ ทา่ กบั คนตายเหมอื นกนั  คอื ไมไ่ ด ้ เจรญิ สต ิ ผไู้ มป่ ระมาทชอ่ื วา่ เปน็ ผไู้ มต่ าย ความ  ไมป่ ระมาทเปน็ ทางแหง่ ความไมต่ าย คนทส่ี ะสม  สตไิ วเ้ สมอๆ มสี ต ิ มปี ญั ญา รเู้ ทา่ รทู้ นั ตอ่ ความ  เป็นจรงิ  กจ็ ะทำ� ชีวิตใหเ้ ขา้ ถึงอมตธรรม 11เขมรังสี ภิกขุ

“อมตธรรม” แปลว่า ธรรมทไ่ี ม่ตาย คอื   นพิ พาน นพิ พานไมม่ กี ารตายเพราะไมม่ กี ารเกดิ   ไม่ต้องมีรูปมีนามไปอุบัติบังเกิด  จึงไม่ต้องมี  รูป-นามท่ีจะต้องตาย  ฉะน้ัน  ผู้ท่ีเจริญสต ิ ฝกึ ฝนสตปิ ฏั ฐาน ชอ่ื วา่ เปน็ ผไู้ มป่ ระมาท เปน็   ผเู้ ดนิ เขา้ สทู่ างแหง่ อมตะ คอื  ทางแหง่ ความ  ไมต่ าย ชวี ติ ในรอบ ๑ ป ี เรามาทำ� ความด ี เจรญิ   สติปัฏฐาน ๗ คืนบ้าง หรอื  ๘ คนื  ๙ วันบา้ ง  ถ้านอกน้ันปล่อยไปตามเรื่องตามราว  ไว้คอย  ปีหน้ามาเก็บตัวอีก  ๘  คืน  ๙  วัน  นอกนั้นก ็ ปล่อยไปตามเร่ือง  แล้วมันจะทันกันได้อย่างไร  เพราะเวลาท่ีสะสมกิเลสต้ัง  ๓๕๐  กว่าวัน  แต ่ เวลาทจี่ ะมาละกเิ ลสมเี พยี ง ๗ คนื  หรอื  ๘ คนื   ๙  วัน  มันไม่ทันกัน  เหมือนคนที่ใส่เส้ือผ้าท้ังปี  12 วิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจําวัน

แลว้ ไมไ่ ดซ้ กั เลย ใสแ่ ลว้ กใ็ สอ่ กี  เปอ้ื นทกุ วนั  เกบ็   มาซกั  ๙ วนั  แลว้ กป็ ลอ่ ยเปอ้ื นอกี  ๓๐๐ กวา่ วนั   มันก็ซักกนั ไมไ่ หวเพราะเป้อื นมาก พอจะมาซัก  พอจะจางๆ หนอ่ ยกห็ มดเวลา ไปเปอ้ื นใหมอ่ กี   มันก็เลยไม่ทันกัน  ฉะน้ัน  เราจะต้องคอยซัก  อยเู่ รอื่ ยๆ ดกี วา่  ใสไ่ ปซกั ไปเรอ่ื ยๆ ขดั เกลา ถา้   เป็นอย่างนี้  พอถึงเวลาจะมาซักจริงๆ  มันก็จะ  สะอาดไดง้ า่ ย เพราะวา่ ซกั ฟอกอยเู่ สมอๆ การ  ปฏบิ ตั เิ จรญิ สตเิ ปน็ การซกั ฟอกจติ ใจอยเู่ สมอๆ จากการมาอบรมหลายวนั  เราคงพอเขา้ ใจ  แลว้ วา่  การเจรญิ สตหิ รือเจรญิ วิปสั สนา เขาท�ำ  กันอย่างไร  อะไรเป็นตัวเจริญ  คือ  สติ  สัมป-  ชัญญะ  และความเพียรต้องเป็นผู้เจริญ  หรือ  13เขมรังสี ภิกขุ

องคม์ รรค สมั มาสต ิ สมั มาวายามะ สมั มาสมาธิ  สัมมาทิฏฐิ  พูดย่อๆ  ก็คือ  การเจริญสติสัมป-  ชัญญะ  ต้องท�ำให้เจริญเกิดขึ้น  แล้วจะต้อง  เจริญสติระลึกรู้อะไรจึงจะเข้าถึงวิปัสสนา  เราก ็ รู้แล้วว่า  สติจะต้องระลึกรู้สภาวธรรมท่ีก�ำลัง  ปรากฏ “สภาวธรรม”  ก็คือ  สภาพธรรมท่ีมีอยู ่ เปน็ อยจู่ รงิ ๆ จะเรยี กวา่  “ปรมตั ถธรรม” กไ็ ด ้ สติระลึกรู้ปรมัตถธรรม  หรือจะแยกออกมาว่า  ปรมตั ถธรรม กค็ อื  จติ  เจตสกิ  รปู  ทปี่ รากฏอย่ ู ส่วนนิพพานก็เป็นปรมัตถ์เหมือนกัน  แต่เรายัง  ไปไม่ถึง  ยังไม่ได้  ก็มีแต่จิต  มีแต่เจตสิก  มีแต่  รปู  ทตี่ อ้ งกำ� หนดร ู้ จติ เปน็ ปรมตั ถ ์ เจตสกิ ตา่ งๆ  14 วิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจําวัน



เป็นปรมัตถ์  รูปต่างๆ  ก็เป็นปรมัตถ์  “ปรมัตถ์”  ก็คือสภาพที่มีจริง  ธรรมชาติท่ีเป็นจริง  ฉะน้ัน  จะเรียกว่าสติระลึกรู้ธรรมชาติก็ได้  การเจริญ  วปิ สั สนาคอื การระลกึ รธู้ รรมชาต ิ สง่ิ ทเ่ี ปน็ เอง  เปน็ จรงิ  พจิ ารณาระลกึ รธู้ รรมชาตติ ามความ  เปน็ จรงิ  หรอื เรยี กวา่ ระลกึ รรู้ ปู ธรรม-นามธรรม  กไ็ ด ้ กค็ อื ปรมตั ถธรรมนน่ั เอง ปรมตั ถส์ ว่ นหนงึ่   เรียกว่า  “รูป”  ปรมัตถ์ส่วนหนึ่งเรียกว่า  “นาม”  หรอื จะเรยี กว่าระลกึ ร้ขู นั ธ ์ ๕ กไ็ ด้ ธรรมชาติที่เป็นกลุ่มเป็นก้อน  รูป-นาม  น่ันแหละ  ขยายออกมาก็เป็นขันธ์  ๕  รูปก็เป็น  รูปขันธ์  นามก็ได้  ๔  ขันธ์  คือ  เวทนา...ความ  รู้สึกเสวยอารมณ์สุข  ทุกข์  เฉยๆ  เป็นเวทนา  16 วิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจําวัน

ขันธ์,  สัญญา...ความจ�ำได้หมายรู้  เป็นสัญญา  ขนั ธ,์  เจตสกิ อน่ื ๆ เชน่  วติ ก วจิ ารณ ์ วจิ ยั  สงสยั   พอใจ  ไม่พอใจ  เป็นต้น  เป็นสังขารขันธ์,  วิญญาณ...ธาตุรู้รับรู้อารมณ์  ก็เป็นวิญญาณ  ขันธ์  หรือเรียกว่าจิตท้ังหมดเป็นวิญญาณขันธ ์ ฉะนน้ั  นามหรอื นามธรรม กค็ อื  เวทนา สญั ญา  สังขาร  วิญญาณ  รูปก็คือรูปขันธ์  ตา  หู  จมูก  ลน้ิ  กาย เปน็ รปู ตา่ งๆ ส ี เสยี ง กลนิ่  รส โผฏ-  ฐพั พะ เป็นรูปตา่ งๆ ก็คือธรรมชาตนิ น่ั เอง ชีวิตจริงก็คือธรรมชาติ  ธรรมชาติก็คือ  ส่ิงท่ีปฏิเสธความเป็นสัตว์  เป็นบุคคล  ไม่ใช ่ สัตว์  ไม่ใช่บุคคล  ไม่ใช่หญิง  ไม่ใช่ชาย  ไม่ใช ่ เราใช่เขา  ความยึดว่าเป็นเราเป็นเขา  เป็นสัตว์  17เขมรังสี ภิกขุ

เป็นบุคคล  เป็นความหลงผิดยึดผิดอยู่  เพราะ  ไม่รู้ตามความเป็นจริงก็หลงเอา  หลงยึดเป็นตัว  เป็นตน  แต่ในความเป็นจริงแล้ว  ชีวิตนี้ไม่ใช ่ ตวั ตน ไมใ่ ชต่ วั เราของเรา สกั แตว่ า่ เปน็ ธรรม-  ชาติต่างๆ  ท่ีประกอบข้ึน  เกิดขึ้น  เป็นเหตุ  เป็นปัจจัยกันอยู่  จะเรียกว่า  “ธาตุ”  ก็ได้  คือ  ธรรมชาตทิ ีท่ รงไว้ซงึ่ ลกั ษณะของตนๆ ผู้ปฏิบัติอย่างเราก็เข้าใจแล้วว่า  วิปัสสนา  ก็คือสติ  เจริญสติระลึกรู้ต่อสภาวธรรมต่างๆ  ทกี่ ำ� ลงั ปรากฏ เชน่  การระลกึ รสู้ ภาพเหน็  สภาพ  ได้ยินเสียง  สภาพรู้กล่ิน  สภาพรู้รส  สภาพรู้สึก  โผฏฐัพพะ  รู้สึกเย็น  รู้สึกร้อน  รู้สึกอ่อน  รู้สึก  แขง็  รสู้ กึ หยอ่ น รสู้ กึ ตงึ  สภาพคดิ นกึ  สภาพรสู้ กึ   18 วิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจําวัน

ทางใจ  พอใจบ้าง  ไม่พอใจบ้าง  สงบบ้าง  ไม่  สงบบ้าง  ขุ่นมัว  ผ่องใส  สภาพใจท่ีเป็นสภาพรู ้ เราฟงั มาแลว้  เรากเ็ ขา้ ใจ และเมอ่ื เราฝกึ ปฏบิ ตั ิ  เรากไ็ ด้ไปท�ำความรจู้ ักแล้ววา่  ออ๋ ...สภาวะทาง  กายที่มีความรู้สึกเย็น-ร้อน-ตึง-หย่อน-ไหว  ได้  เจอแล้ว  เป็นอย่างน้ีๆ  เวทนา...ความสบาย  ความไมส่ บายกเ็ จอ จิตใจก็เจอ ความคิดความ  นึก  ความรู้สึกต่างๆ  ธรรมารมณ์  ได้รู้จักแล้ว  ได้ไปท�ำความรู้จักอยู่เร่ือยๆ  เจอเขาอยู่เรื่อยๆ  ต่อไปก็จะรู้แจ้งว่า  อ๋อ...สิ่งเหล่าน้ีไม่เที่ยงจริง  มันเปล่ียนแปลงจริงๆ  เห็นแล้วก็เปล่ียนแปลง  ไดย้ นิ กเ็ ปลย่ี นแปลง รกู้ ลน่ิ  รรู้ ส รสู้ มั ผสั  คดิ นกึ   รู้สึกอะไร  ทั้งหมดเปลี่ยนแปลง  แล้วก็เปล่ียน  ทนั ท ี เปลยี่ นไปทนั ท ี มคี วามเกดิ  มคี วามดบั  มี  19เขมรังสี ภิกขุ

ลกั ษณะตงั้ อยใู่ นสภาพเดมิ ไมไ่ ด ้ เรยี กวา่  “ทกุ ข”์   เราได้เข้าไปเห็นจริงๆ  ว่ามันเกิดแล้วมันก็ดับ  จรงิ ๆ เกดิ แลว้ กด็ บั ไปจรงิ ๆ การเกดิ ขน้ึ แลว้ ดบั   ไป เปน็ สิ่งที่บังคบั ไม่ได้จรงิ ๆ ก็เห็นอนตั ตา การระลึกรู้ธรรมชาติให้เห็นตามความ  เป็นจริงอย่างนี้  เรียกว่าเป็นการเจริญวิปัสสนา  กรรมฐาน  ถ้าเราระลึกได้ตรงต่อสภาวะปรมัตถ  ธรรมที่ก�ำลังปรากฏ  ก็เรียกว่าเราเดินสายตรง  ไม่อ้อม  ดูตรงๆ  ต่อสภาวะท่ีเกิดข้ึน  แต่ถ้าเดิน  ตรงไม่ได้ เราก็ต้องอ้อมไปกอ่ น ปูพ้ืนฐาน เอา  สมมตบิ ญั ญตั  ิ เอารปู แบบเขา้ มาใช ้ แตก่ อ็ ยา่ ไป  ตดิ อยกู่ บั รปู แบบ อยา่ ไปตดิ อยกู่ บั สมมต ิ เพยี ง  เอาเป็นฐาน  เอาเป็นสะพานเช่ือมเข้ามาสู่  20 วิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจําวัน

ปรมัตถธรรม เข้ามาส่สู ภาวธรรม เราตอ้ งสรปุ และประเมนิ ตวั เอง เราปฏบิ ตั  ิ มา เราฟงั มาแลว้  เรารเู้ รอ่ื งเขา้ ใจไหม เขา้ ใจไหม  ว่าจะเจริญสติ  เจริญวิปัสสนา  ระลึกรู้สภาวะ  ปรมตั ถ์เปน็ อยา่ งไร ถา้ เขา้ ใจกถ็ อื วา่ เรามสี มั มา  ทิฏฐิ  มีความเห็นชอบ  ได้รู้จักสภาวะรูป-นาม  รู้จักองค์ธรรมของทุกขสัจจะ  และนอกจากน้ี  ก็ยังต้องมีการวางใจให้ถูกประกอบกัน  วางใจ  เป็นกลาง  อันน้ีเป็นส่ิงที่ต้องค�ำนึงถึงที่จะมา  ประกอบการปฏิบัติให้ถูกต้อง  ไม่ใช่ว่าเพียง  ระลึกรูต้ รงปรมัตถธรรมแลว้ จะไดด้ เี สมอไป มัน  อยู่ที่การวางท่าทีท่ีถูกต้องด้วย  ถ้าเราวางท่าที  ของการระลึกรู้ไม่เป็นกลาง  เอาแต่จะดูให้ได ้ 21เขมรังสี ภิกขุ

เอาให้ทัน  เอาให้เห็น  เอาให้ชัด  มันก็เป็น  ผลเสียตามมา  จะเกิดความตึง  ความเกร็ง  ความเคร่งเครียด  แล้วก็บังสภาวะด้วย  มันต้อง  มีความพอดี  วางท่าทีของการระลึกรู้อย่าง  พอเหมาะพอดี  ความพอดีจะอยู่ในลักษณะ  ที่ไม่บังคับ  ไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย  ไม่ว่าอะไร  ไม่เอาอะไร  จะเรียกว่า  “สักแต่ว่า”  ก็แล้วแต่  เห็น...สักแต่ว่าเห็น  ได้ยิน...สักแต่ว่าได้ยิน  รู้...  สักแต่ว่ารู้  ทราบ...สักแต่ว่าทราบ  หรือจะเรียก  วา่  “ปลอ่ ยวาง” ปลอ่ ยวางกค็ อื ไมว่ า่ อะไร มสี ต ิ เขา้ ไปรสู้ ภาวธรรมอนั ใด สภาวธรรมอนั นนั้ จะดี  จะไม่ดี  จะเป็นอย่างไร ก็ไม่ว่าอะไร ท�ำหน้าท ี่ เพียงผู้รู้ผู้ดู  ไม่ไปจัดแจง  ไม่ไปขัดขืน  ไม่ไปฝืน  สภาวะ มีร้มู ีละผสมกลมกลืนกนั ไป 22 วิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจําวัน

นอกจากน ้ี เรายงั ตอ้ งพจิ ารณาสภาพธรรม  ทป่ี รากฏ อนั นเ้ี ปน็ ตวั สมั ปชญั ญะ เปน็ ตวั ธมั ม-  วจิ ยะ (คอื  การสอดสอ่ งพจิ ารณาในธรรม) เปน็   ตัวปัญญา  จะต้องปลูกสร้างไปพร้อมกับการ  มีสติ  สติเป็นตัวไปจับสภาวะที่ก�ำลังปรากฏ  ต้องจับอย่างพอดี  แค่ระลึกรู้  ตัวปัญญาจะ  ท�ำงานในการพิจารณาสภาวธรรมน้ัน  คือ  เข้าไปสังเกตว่าสภาวธรรมนั้นมีลักษณะ  อยา่ งไร ความเยน็ กม็ ลี กั ษณะอยา่ งหนงึ่  ความ  ไหวก็อย่างหนึ่ง  แข็งก็อย่างหนึ่ง  สบายก็อย่าง  หน่ึง  ได้ยินเสียงก็อย่างหนึ่ง  คิดนึกก็อย่างหน่ึง  พอใจกอ็ ยา่ งหนง่ึ  ไมพ่ อใจกอ็ ยา่ งหนง่ึ  มลี กั ษณะ  ไมเ่ หมอื นกนั  เขาเรยี กวา่  พจิ ารณาวเิ สสลกั ษณะ  หมายถึงลักษณะพิเศษ  คือ  ลักษณะประจ�ำตัว  23เขมรังสี ภิกขุ

ของสภาวธรรมแตล่ ะอยา่ งๆ มนั มสี ภาวะประจำ�   ตัวไม่เหมือนกัน  ดินมีลักษณะแข็ง-อ่อน  ไฟก็  ร้อน-เย็น  ลมก็ตึง-หย่อน-ไหว  ความโลภก็มี  ลักษณะอย่างหน่ึง  ความโกรธก็มีลักษณะอย่าง  หน่ึง  ความหลงก็มีลักษณะอย่างหน่ึง  สติก็ม ี ลกั ษณะอยา่ งหนงึ่  (คอื การระลกึ ได)้  ความเพยี ร  ก็มีลักษณะอย่างหนึ่ง  ความท้อแท้ท้อถอยก็มี  ลักษณะอย่างหน่ึง  เราจะต้องเข้าไปพิจารณา  ลกั ษณะของสภาวะทม่ี ตี า่ งๆ กนั  ทก่ี ายกม็ ตี า่ งๆ  เย็นบ้าง  ร้อนบ้าง  ตึง-หย่อน-ไหว  ปวดเมื่อย  สบาย-ไม่สบาย  มีสี  มีเสียง  มีได้ยิน  มีเห็น  ม ี กลน่ิ  มรี กู้ ลนิ่  มนั คนละอยา่ งกนั ทงั้ นนั้  ความคดิ   นึกคิด  สติระลึก  เกิดความรู้สึกพอใจ...สังเกต  ไมพ่ อใจ...สงั เกต สงบก็อยา่ งหนึง่   24 วิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจําวัน

เม่ือระลึกถึงลักษณะที่เรียกว่า  วิเสส-  ลกั ษณะ ลกั ษณะของสภาวธรรม เหน็ มนั ตา่ งๆ  กนั  ทส่ี ดุ กจ็ ะเขา้ ไปเหน็ สามญั ลกั ษณะ ลกั ษณะ  เสมอกนั  คอื ไมว่ า่ จะรปู หรอื นามอนั ไหน กเ็ ปน็   อนจิ จงั  ทกุ ขงั  อนตั ตา ทงั้ นนั้  คอื เปลยี่ นแปลง  ท้ังนั้น  รูปแต่ละรูปมีการเปลี่ยนแปลง  นาม  แต่ละนามก็เปลี่ยนแปลง  เรียกว่าเป็นอนิจจัง  ทกุ ขงั  อนตั ตาทง้ั นน้ั  เมอื่ เปลยี่ นแปลงกเ็ กดิ ดบั   การเกดิ ดบั กบ็ งั คบั ไมไ่ ด ้ การทบ่ี งั คบั ไมไ่ ด ้ กค็ อื   มันเกิด  มันดับ  บังคับไม่ได้  มันเกิด  มันดับ  ก็คือ  มันไม่เที่ยงน่ันแหละ  มันก็อยู่ด้วยกัน  อนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา  นี้คือความเป็นจริงของ  ปรมตั ถห์ รอื ธรรมชาติ 25เขมรังสี ภิกขุ

เมอ่ื เหน็ อนจิ จงั  ทกุ ขงั  อนตั ตา กเ็ ทา่ กบั   ได้เห็นความไม่ใช่ตัวตน  เห็นว่าเป็นเพียง  แต่ธรรมชาติท่ีมีเกิด  มีดับ  มันเป็นของมัน  อย่างน้ัน  เป็นเช่นน้ันเอง  คือ  มีความเกิดขึ้น  เปน็ ธรรมดา มคี วามดบั ไปโดยธรรมดา ธรรมดา  อยา่ งไร เมอื่ เวลาเกดิ  มนั กเ็ กดิ เพราะเหตปุ จั จยั   ตวั เหตุตวั ปจั จยั ประกอบกนั  รปู -นามก็เกิด มนั   ก็เป็นธรรมดา เพราะเหตุปัจจัยทำ� ให้เกิด มันก็  เกิด  ไม่ได้มีผู้ใดมาดลบันดาลสร้างให้เกิด แล้ว  ก็ดับไปเป็นธรรมดา  ก็เพราะว่าเมื่อเหตุปัจจัย  หมด  มันก็ดับ  เหมือนแสงไฟ  เมื่อหมดน้�ำมัน  หมดไส้  มันก็ดับ  เปิดสวิทช์ขึ้นมา  มีไฟฟ้า  ข้ัวบวกข้ัวลบมาเจอกัน  ก็เกิดแสงสว่าง  มีส่ิง  ประกอบกันครบ  มีดวงไฟ  มีไฟฟ้า  ก็เกิดแสง  26 วิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจําวัน

สวา่ ง เมอ่ื ตดั สวทิ ชไ์ ฟ มนั จากกนั  มนั กต็ อ้ งดบั   ไป มนั เป็นธรรมดาของมันอย่างนัน้ ฉะนน้ั  สงั ขารชวี ติ ทไ่ี มเ่ ทย่ี ง เปลย่ี นแปลง  เปน็ ทกุ ข ์ ตงั้ อยสู่ ภาพเดมิ ไมไ่ ด ้ บงั คบั ไมไ่ ด ้ มนั   กเ็ ปน็ ธรรมดา เมอ่ื เหน็ ความเปน็ ธรรมดาอยา่ งน้ี  จิตก็ยอมรับ  ยอมรับว่ามันก็ต้องเป็นอย่างนี้  จะให้มันเป็นอย่างอ่ืนได้อย่างไร  สิ่งท่ีต้องเกิด  ต้องดับไปตามเหตุตามปัจจัย  จะไปฝืนให้มัน  เปน็ อยา่ งอน่ื กไ็ มไ่ ด ้ เมอ่ื มดี วงไฟ มสี วทิ ชไ์ ฟ ม ี ไฟฟ้ามาบวกกัน  ก็มีแสงสว่างขึ้นมา  จะให้มัน  ไม่สว่างได้อย่างไร  พอสวิทช์ตัดไป  ไฟมันขาด  จากกนั  มนั กต็ อ้ งมดื  จะไมใ่ หม้ นั มดื กไ็ มไ่ ด ้ มนั   ตอ้ งเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย 27เขมรังสี ภิกขุ



จิตที่รู้ตามเหตุตามปัจจัย  ยอมรับเหต ุ ปจั จยั  จะเปน็ จติ ทไี่ มท่ กุ ข ์ ทเี่ ราทกุ ขอ์ ยทู่ กุ วนั น ี้ เพราะเราไม่ยอมรับ  ไม่ยอมรับด้วยเหตุด้วย  ปัจจัยว่าจะต้องไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  บังคับไม่ได ้ เราจะบงั คบั ใหไ้ ด ้ จะใหค้ นนน้ั เปน็ อยา่ งนนั้  จะ  ให้คนน้ีเป็นอย่างนี้  จะเอาให้ได้  เราก็มีแต่โทษ  คนอื่นตลอด แล้วกท็ กุ ข์ ทุกขเ์ พราะอะไร ทกุ ข ์ เพราะไม่ได้ด่ังใจ  เราก็จะบ่นว่าท�ำไมอันนี้เป็น  อย่างนั้น  แต่ที่จริง...ทุกส่ิงทุกอย่างสมควรแก ่ เหตุท้ังน้ัน  เป็นไปตามเหตุปัจจัย  เราป่วยขึ้น  มามันก็สมควรแก่เหตุ  เพราะมันก็เป็นไปตาม  เหตุปัจจัย  โรคเกิดจากกรรม  เกิดจากจิต  เกิด  จากอุตุ  เกิดจากอาหาร  เหตุปัจจัยท�ำให้เกิด  มันก็เกิด  เราจะไปฝืน  ไปปรารถนาจะไม่ให้มัน  29เขมรังสี ภิกขุ

เกดิ กไ็ มไ่ ด ้ เพราะเหตปุ จั จยั ท�ำใหเ้ กดิ  มนั กต็ อ้ ง  เกดิ  ฉะนนั้  เมอื่ รซู้ งึ้ ในตนเองตามความเปน็ จรงิ   มนั ก็รู้เขา้ ใจทกุ สง่ิ ทุกอย่าง จติ มันกเ็ ลยต้องวาง เพราะฉะน้ัน  เราก็เข้าใจแล้วว่า  ในการ  ปฏิบัติเจริญวิปัสสนา  เราต้องก�ำหนดรู้สภาวะ  ปรมตั ถธรรม กำ� หนดรธู้ รรมชาตทิ ป่ี รากฏ คอ่ ย  ระลึกพิจารณาไปอย่างเหมาะสม  อย่างเป็น  กลาง ทีนเี้ มอ่ื เราใชช้ ีวติ แบบผคู้ รองเรอื น เรามี  อาชีพ  มีการงาน  เวลาเราท�ำงาน  เราท�ำอะไร  เราตอ้ งเปน็ ไปตามสมมต ิ ใชไ่ หม เราตอ้ งรเู้ รอ่ื ง  รรู้ าววา่ อะไรเปน็ อะไร เขาพดู มาหมายความวา่   อย่างไร  จิตต้องคิด  ต้องนึกถึงความหมายซ่ึง  เปน็ สมมต ิ ตอ้ งตคี วามหมายเวลาทเ่ี ราฟงั  เวลา  30 วิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจําวัน

ท่ีเราพูด  เวลาท่ีเราคิดวางแผน  ต้องมีมโนภาพ  ทำ� อยา่ งนน้ั  เกดิ อยา่ งนน้ั  เปน็ อยา่ งนน้ั  เทา่ กบั   ว่าในการท�ำการงาน  จิตจะต้องมีอารมณ์เป็น  สมมติ  ในขณะท่ีการเจริญวิปัสสนามีอารมณ ์ เป็นปรมตั ถ์ เปน็ สภาวะทป่ี รากฏ อยา่ งนแ้ี ลว้  เราจะกำ� หนดระลกึ รไู้ ดอ้ ยา่ งไร  ในการท�ำงาน  มันไม่ขัดขวางขัดแย้งกันหรือ  ทำ� งานตอ้ งมสี มมต ิ เจรญิ วปิ สั สนาตอ้ งรปู้ รมตั ถ์  รู้สภาวะ  แล้วไหนว่าเจริญกรรมฐานได้ในชีวิต  ประจ�ำวันหรือในการท�ำงาน  ในความเป็นจริง  ก็เจริญได้  สามารถจะเจริญสติรู้สภาวะปรมัตถ ์ ในขณะท�ำงานได้  เนื่องจากว่าจิตมีความเร็ว  ในการรบั อารมณ ์ เปลยี่ นอารมณไ์ ปตา่ งๆ เรา  31เขมรังสี ภิกขุ

จงึ สามารถแบง่ ใจระหวา่ งการรสู้ มมตบิ ญั ญตั  ิ กับการรู้ปรมัตถ์ได้  ต้องแบ่งกันไป  รู้ขณะ  หนง่ึ ๆ กไ็ ปรสู้ มมตบิ ญั ญตั ดิ ว้ ย ขณะหนงึ่ ๆ กร็ ้ ู ปรมัตถ์ด้วย  รู้บัญญัติบ้าง  ปรมัตถ์บ้าง  สลับๆ  กันไป  จะเป็นไปได้ไหมในขณะที่เราฟังๆ  อยู ่ รสู้ มมตบิ ญั ญตั อิ ย ู่ แลว้ พอมสี ตริ สู้ ภาวะปรมตั ถ ์ ในกายในใจแล้วก็กลับไปฟังไม่รู้เรื่องเลย  ขาด  ตอนไปหมด มนั เปน็ อยา่ งนนั้ หรอื เปลา่  หรอื วา่   เวลาท่ีเราพูดอยู่  เราต้องนึกในสมมติ  ในภาษา  ในเร่ืองราวที่จะพูด  พอเรามีสติรู้สภาวะในกาย  ใจตวั เอง เรากพ็ ดู ไมร่ เู้ รอื่ งเลย มนั เปน็ อยา่ งนนั้   หรือเปลา่  มันกไ็ มเ่ ปน็ อยา่ งน้นั  เราสามารถฟงั   รเู้ รอ่ื ง รคู้ วามหมาย มสี ตริ สู้ ภาวะในกายใจ แลว้   กก็ ลบั ไปรบั เรอ่ื งราวทฟี่ งั  กป็ ะตดิ ปะตอ่ เรอ่ื งราว  32 วิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจําวัน

ที่ฟังได้  มันกลับไปกลับมาระหว่างรู้สภาวะ  ปรมตั ถก์ บั รสู้ มมตบิ ญั ญตั  ิ กลบั ไปกลบั มาอยา่ ง  รวดเรว็ เพราะจติ มันเร็ว เหมือนอย่างท่ีเราฟังอยู่ขณะนี้  ในฐานะ  ที่เราใส่ใจรู้สภาวะเป็นแล้ว  เราลองระลึกดูซิว่า  ขณะนี้  ขณะที่ก�ำลังฟัง  ลองระลึกในกายใจ  ตวั เองไดไ้ หม เจอความรสู้ กึ ในกายไหม มเี มอื่ ย  มีตึง  มีปวด  มีชา  มีเย็นไหม  รู้สึกกายได้ไหม  รู้สึกใจได้ไหม  ใจขณะนี้รู้สึกเป็นอย่างไร  ก�ำลัง  ตง้ั ใจฟงั ...ใจเปน็ อยา่ งไร สบายใจหรอื ไมส่ บายใจ  ระลกึ ไดไ้ หม ขณะนกี้ ร็ ะลกึ ได ้ แลว้ ถามวา่ เมอ่ื ก้ ี ทรี่ ะลกึ ๆ มา ยงั ฟงั รเู้ รอื่ งไหม มนั กร็ เู้ รอ่ื ง แสดง  วา่ จติ มนั เรว็ มาก มนั กลบั ไปกลบั มาระหวา่ งการ  33เขมรังสี ภิกขุ

รสู้ ภาวะกบั การรสู้ มมต ิ มนั ท�ำงานอยา่ งรวดเรว็   ก็ปะติดปะต่อเร่ืองท่ีฟังได้  ถ้าเราปฏิบัติเป็น  ก็จะระลึกสภาวะกับรู้สมมติบัญญัติสลับไป  สลับมาได้  ปฏิบัติให้เป็น  ลองไปหัดดู  เวลา  เราพูด  เราจะพูดอย่างมีสติได้ไหม  สามารถจะ  ระลกึ รใู้ นตวั เอง รคู้ วามรสู้ กึ ตา่ งๆ ในกายไดไ้ หม  เวลาพูด  ปากก็ไหวๆ  ปากมีความเคลื่อนไหว  ตากก็ ระพรบิ  อวยั วะสว่ นอนื่ ๆ กท็ ำ� งาน ระบบ  การหายใจก็ยังหายใจ  ขาแขน  ความรู้สึกในตัว  สภาพจิตใจขณะท่ีเราพูดเป็นอย่างไร  เราพูด  ด้วยใจมีสมาธิหรือไม่มีสมาธิ  พูดด้วยจิตใจสงบ  ผ่องใสหรือจิตใจเร่าร้อน  ถ้าระลึกรู้อย่างน้ีแล้ว  เราก็ยังพูดไปได้  ก็สามารถจะพูดรู้เร่ืองรู้ราวได ้ แสดงว่าจิตมันเร็ว  มันกลับไปกลับมาระหว่าง  34 วิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจําวัน

การร้สู ภาวะในกายดว้ ย และพูดร้เู รือ่ งดว้ ย ในชีวิตจริง  เรามีการพูด  มีการฟัง  บาง  คราวเราก็มีการคิด  นั่งคิดนึก  วางแผน  ท�ำ  อย่างน้ันเร่ืองน้ัน  ในขณะท่ีก�ำลังคิดไปๆ  มีสติ  มารคู้ วามคดิ  รสู้ มองทเี่ คร่งตึง รู้กายรู้ใจได้ไหม  แล้วก็คิดต่อไป  มันคิดไปอีก ก็มีสติตามระลึกรู้  ระบบร่างกาย  ระบบจิตใจตัวเอง  แล้วก็ยังคิด  ต่อไปอีกได้  ฉะน้ัน ถ้ามีการระลึกรู้ควบคู่กับ  การคดิ  กจ็ ะมกี ารผอ่ นคลายเปน็ ระยะๆ จติ จะ  ผ่อนคลาย  จิตจะดีงามเป็นระยะๆ  ถ้าเผลอ  ตัว  คิดแล้วไม่มีสติ  จิตก็ชักวุ่นวาย  สมองชักตึง  ชักเครียด  แต่เมื่อเราเจริญสติเป็น  เราเจริญสติ  พรอ้ มกบั วางใจเปน็ กลาง เวลามสี ตอิ ยา่ งถกู ตอ้ ง  35เขมรังสี ภิกขุ

ทไี ร มนั กจ็ ะปรบั คลาย สมองคลาย ใจเบา คดิ   อกี  นกึ อกี  รอู้ กี  สตกิ จ็ ะคอยควบคมุ รกั ษาระบบ  ร่างกายให้คลี่คลายเป็นระยะๆ  รักษาจิตใจให ้ ไม่ร้อนไม่วุ่นวายเป็นระยะๆ  น่ีคือประโยชน์  นอกจากจะดำ� เนนิ ชวี ติ ไปดว้ ยความผอ่ นคลาย  คล่ีคลายจากความวุ่นวายเคร่งเครียดแล้ว  ยังมีโอกาสสะสมสติสัมปชัญญะไปทุกวันๆ  ดีไหมอย่างน้ี ตรงกันข้าม  ถ้าเราไม่เจริญสติ  เราสะสม  อะไร  สะสมกิเลสไปทุกวันๆ  เวลามีสติ  จิต  เป็นกุศล  กิเลสเข้าแทรกไม่ได้  หรือเข้าได้  น้อยลง  และได้สะสมสติสัมปชัญญะ  แต่เม่ือ  ไม่เจริญสติ  ก็เป็นการสะสมกิเลสเต็มที่  แล้ว  36 วิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจําวัน

เวลาคิดไปเรื่อยๆ  คิดมาก  วางแผนอะไรต่างๆ  ใจวุ่นวายไหม  สมองเครียดไหม  ก็เป็นทุกข์  ทุกข์ทางร่างกาย ทกุ ขท์ างจิตใจ ดไี มด่ กี ว็ ุ่นวาย  มาก  ฟุ้งซ่าน  เร่าร้อน  พอจะหยุดคิดก็ไม่ยอม  หยุดแล้ว  ตอนนี้มันคิดจนเคยชิน  เคยตัว  จะ  นอนกค็ ดิ มาก เหมอื นเครอ่ื งยนตท์ เ่ี มอ่ื ตดิ แลว้ ก ็ หยดุ ไมอ่ ย ู่ เพราะฉะนน้ั  ถา้ มสี ตกิ จ็ ะชว่ ยยบั ยงั้   แกไ้ ขได้ เวลาทเี่ ราฟงั เขาพดู  ถา้ เรามสี ตกิ บั เราไมม่ ี  สติ  มันต่างกันอย่างไร  ถ้าเรามีสติ  เราฟังก็จะ  ฟังด้วยดี  ฟังด้วยจิตใจท่ีดี  คอยระวังรักษาจิต  ถา้ จะโมโหหรอื โกรธในเรอ่ื งทเ่ี ขาพดู มา เรากจ็ ะ  รู้ทัน  เขาพูดไม่ดีมา  ใจก็รู้ทัน  มีสติรู้  ก็ควบคุม  37เขมรังสี ภิกขุ



รักษาจิตไว้ได้  หรืออีกอย่างหน่ึง  เม่ือฟังอย่าง  มีสติ  เราก็จะมีการรับค�ำท่ีเขาพูดได้ดี  จิตไม่  เลื่อนลอย  ถ้าไม่เจริญสติ  บางทีเราฟังไปด้วย  ใจเลื่อนลอย  เขาพูดก็พูดไป  แต่ใจเราไปคิดถึง  คนนนั้ คนน ี้ ลอยไปไหนๆ เรากฟ็ งั ไมค่ อ่ ยรเู้ รอ่ื ง  เวลาเราฟังเขาพูด  เวลาเราพูดให้เขาฟัง  ถ้า  เราเจริญสติ  มันจะรู้จักพอเหมาะพอดี  รู้จัก  ควรไม่ควร  ไม่เช่นน้ันเราจะพูดอย่างขาดสต ิ คนพูดอย่างขาดสติน้ันก็พูดไปเรื่อย  คนเขาจะ  ฟังหรือไม่ฟังก็พูดไป  บางทีเป็นเรื่องที่เขาไม ่ อยากฟังก็จะคุยไปไม่รู้ตัว  เพราะขาดสติ  คน  ทมี่ สี ตยิ อ่ มรตู้ วั เอง แลว้ กจ็ ะรจู้ กั สงั เกตคนอน่ื   วา่ เปน็ อยา่ งไร เราพดู อยา่ งนเ้ี ขาเปน็ ยงั ไง เขา  พูดอย่างนั้นเราเป็นยังไง  เป็นประโยชน์ในด้าน  39เขมรังสี ภิกขุ

ปฏสิ มั พนั ธ ์ ในการใชช้ วี ติ  ทำ� ใหเ้ ราฉลาด ทำ� ให ้ เราสุขุมรอบคอบในการพูด  ในการฟัง  ในการ  ด�ำเนินชวี ติ คนมสี ตทิ ำ� การงานอะไรกล็ ะเอยี ดรอบคอบ  เพราะฉะนั้น  จะเห็นว่าประโยชน์พลอยได้ก็มี  อยู่  ท�ำให้ปฏิบัติการงานได้ดี  ท�ำให้รักษาสภาพ  จิตใจตัวเองได้ดี  แต่ประโยชน์ท่ีส�ำคัญท่ีสุดก็  คือ  ได้สะสมเหตุปัจจัยของปัญญา  ของการ  ทจี่ ะรแู้ จง้  ของการทจ่ี ะละกเิ ลส เพราะฉะนนั้   เราตอ้ งเอาการเจรญิ สตปิ ฏั ฐาน เจรญิ วปิ สั สนา  กรรมฐาน  ไปแทรกอยู่ในวิถีชีวิตประจ�ำวัน  เรา  เดนิ ไปทำ� งาน เดนิ ไปไหนๆ แทนทเ่ี ราจะเดนิ ไป  ด้วยใจคิดเรื่องโน้นเร่ืองนี้  เราก็หัดเดินไปอย่าง  40 วิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจําวัน

มีสติ  หรือเวลาเราเดินเร็วๆ  มันก็รู้ความรู้สึก  เคล่ือนไหวๆ  ในตัวไปได้  เรารู้แบบรวมๆ  ไม่  ตอ้ งไปเนน้ ใหร้ ทู้ งั้ ตวั  รสู้ กึ กายสะเทอื นๆ ไหวๆ  ก็รู้ใจไปด้วย  กายก็ไหว...ใจก็รู้  ในชีวิตจริงเรา  จะมาเดินย่องช้าๆ  ก็ไม่ได้  เราต้องเดินปรกต ิ บางทีก็เดินเร็ว  เคล่ือนมือ  เคลื่อนเท้า  ในขณะ  น้ันให้มีสติใส่ใจรู้ตัวไปด้วย เวลาออกกำ� ลังกาย  เราบริหารกาย  แทนที่จะบริหารแต่กาย  เราก็  บริหารใจไปด้วย  กายเคลื่อนไปเคล่ือนมา  บิด  กายไปมา  ก็มีสติรู้ความรู้สึกในกาย  เจอความ  ตึง-หย่อน-ไหว  ก็ให้รู้สึก  แล้วก็เจอใจด้วย  ดูใจ  ตัวเองไปด้วย  ก็ได้ประโยชน์ทั้งการบริหารกาย  และบรหิ ารใจสะสมสติ 41เขมรังสี ภิกขุ

หรือแม้ในขณะท่ีวิ่งอยู่ก็ยังเจริญสติได ้ วิ่งไปเจอกายไหวๆ  เจอกายสะเทือน  อารมณ ์ ย่ิงแรงเด่นชัด  วิ่ง...กายสะเทือนมาก  ก็รู้กาย  สะเทือนไหวๆ  แล้วก็เจอใจไปด้วย  เจอกาย  ท่ีมันเหนื่อย  มันเหน่ือย  มันไหวๆ  เหนื่อย...  สะเทอื น...ใจเปน็ อยา่ งไร ฉะนน้ั  เราสามารถวงิ่   เจริญสติได้  เป็นการวิ่งการกุศลจริงๆ  แต่ท่ีเขา  วิ่งกัน  เรียกกันว่า  วิ่งการกุศล  บางทีก็ไม่เป็น  กุศลจริง  เราว่ิงมีสติแบบน้ีเราว่ิงเป็นกุศล  เพราะสตเิ ปน็ เจตสกิ ทป่ี ระกอบกบั มหากศุ ล-  จิต  แล้วยังเป็นกุศลวิวัฏฏคามินี  คือ  กุศล  ท่ีจะน�ำออกจากวัฏฏสงสารด้วย  ไม่ใช่กุศล  ธรรมดา  อย่างเราไปว่ิงเพื่อจะบริจาคเงินก็  เป็นกุศล  แต่เป็นกุศลท่ียังเป็นไปในวัฏฏสงสาร  42 วิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจําวัน

แต่ถ้าเราว่ิงอย่างมีสติ  เดินอย่างมีสติ  ก็เป็นว่ิง  การกุศล  เดินการกุศลแท้ๆ  เพราะว่าสติสัมป-  ชญั ญะทรี่ เู้ ทา่ ทนั ตอ่ สภาวะจะเปน็ เหตใุ หเ้ กดิ   ปัญญาตามมา  เป็นปัญญาท่ีรู้แจ้งเห็นจริง  หรอื เวลาเรานงั่ ไปในรถ นงั่ ไป...รถโยกไปโยกมา  ตวั เรากต็ ้องสะเทอื น กายสะเทอื น สภาวะกจ็ ะ  ชัด  มีแรงกระทบสัมผัส  สะเทือนๆ  ในอวัยวะ  ในกาย กร็ ะลกึ ไปได ้ แลว้ กร็ ใู้ จไปดว้ ย ใจเรา่ รอ้ น  หรือเปล่า  กลัวจะไปท�ำงานไม่ทัน  ใจร้อนก็รู้  รู้ทนั  รทู้ นั จิตใจตัวเอง มีเวลาไหนที่เจริญสติไม่ได้บ้าง  ไม่มีเลย  สามารถเจริญได้ทั้งหมด  สามารถรู้เนื้อรู้ตัว  รู ้ กายรู้ใจได้ตลอดเวลา  ในชีวิตประจ�ำวันของเรา  43เขมรังสี ภิกขุ

มีการกวาด  ถู  ท�ำอาหาร  ล้างหน้าแปรงฟัน  ฯลฯ กร็ ะลกึ ไป รตู้ วั ทว่ั พรอ้ มไป แตเ่ มอื่ ถงึ เวลา  ทเ่ี ราวางภาระในวนั หนง่ึ ๆ ซงึ่ เรากค็ วรจะมเี วลา  เป็นส่วนตัวของเราท่ีจะให้ประโยชน์กับตัวเรา  เองอย่างเต็มที่  เวลาท่ีเราอยู่เฉยๆ  อยู่นิ่งๆ  ถงึ ตอนนเ้ี รากท็ งิ้ สมมตไิ ปใหเ้ ตม็ ท ี่ ปลอ่ ยวาง  สมมต ิ รปู รา่ ง ความหมาย ชอ่ื  ภาษาออกไป  ระลึกรู้เฉพาะปรมัตถธรรมหรือสภาวธรรม  ที่ปรากฏในกายในใจ  พยายามรู้ปรมัตถ์ให ้ มากที่สุด  เพราะเวลาไปท�ำงาน  เราก็ต้องแบ่ง  จะรู้แต่ปรมัตถ์ล้วนๆ  ไม่ได้  ใครพูดอะไรมาก็  ก�ำหนดแต่  “ได้ยิน  ได้ยิน”  ดูใจแต่ไม่ตีความ  หมาย  อย่างน้ีมันก็ไม่รู้เรื่อง  ท�ำงานไม่ได้  หรือ  ขบั รถไป ดแู ตใ่ จ ดแู ตค่ วามรสู้ กึ  ไมต่ คี วามหมาย  44 วิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจําวัน

ไฟเขียวไฟแดง มนั กข็ ับรถไปไม่ได้ ฉะนั้น  เราต้องแบ่งให้เหมาะสม  เวลา  ท�ำงานเราก็แบ่งระหว่างบัญญัติกับปรมัตถ์  รู้  สมมติบัญญัติด้วย  รู้ปรมัตถ์ด้วย  ไม่ใช่ว่าเคย  สบายอยกู่ บั ปรมตั ถ ์ มนั สบาย ไมย่ อมรบั สมมต ิ พอไปใช้ชีวิตจริงก็จะดูแต่สภาวะปรมัตถ์  มัน  สบายด ี เลยไมร่ เู้ รอ่ื งวา่ เขาพดู อะไร อยา่ งนไ้ี มไ่ ด้  ถา้ จะเอาประโยชนด์ า้ นการงานดว้ ย เรากต็ อ้ ง  รู้สมมติ  แต่ก็ให้รู้ปรมัตถ์หรือสภาวะสลับไป  ด้วย  ก็จะได้ประโยชน์ทั้งทางโลกและทาง  ธรรม  แต่เวลาว่างจากกิจการงานต่างๆ  เราก็  วางเต็มท่ี  ปล่อยสมมติทั้งหมด  ไม่ต้องนึกถึง  สถานท่ี  ไม่ต้องนึกถึงสมมติอะไรท้ังหมด  ตัด  45เขมรังสี ภิกขุ

อดตี -อนาคต ก�ำหนดรูใ้ นตวั เองอย่างเต็มท่ี ฉะน้ัน  ในวันหน่ึงๆ  เราควรต้องมีเวลา  เป็นของตัวเองเพื่อจะปฏิบัติให้เต็มที่  อาจจะ  ปฏบิ ตั กิ อ่ นนอน หรอื ตน่ื นอนมาปฏบิ ตั  ิ หรอื ถา้   มเี วลากลางวนั กป็ ฏบิ ตั  ิ โยมทอี่ ยบู่ า้ นกเ็ อาบา้ น  เป็นส�ำนักกรรมฐาน  เดินจงกรม  นั่งภาวนา  จัดให้มีท่ีเดินจงกรม  เดินบ้าง  นั่งบ้าง  ท�ำให้  สม่�ำเสมอ  ก็จะเรียกได้ว่าเป็นผู้ไม่ประมาท  เป็นผู้ได้สะสมเหตุปัจจัยของสติปัญญาอยู ่ เสมอ  และเมื่อถึงคราวท่ีมีเวลาปลีกตัวมา  เก็บตัว  ก็จะสามารถพัฒนาต่อได้เลย  ไม่ต้อง  มาเรม่ิ ใหม ่ การเรม่ิ ใหมแ่ ตล่ ะครง้ั ...กวา่ จะเขา้ ท ี่ เขา้ ทางก็หมดเวลาไปอกี  แมค้ นทเ่ี คยทำ� ได้แลว้   46 วิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจําวัน

เคยฝกึ มาแลว้  เคยทำ� จติ ได ้ พอปลอ่ ยปละละเลย  มันก็จะตก  พอจะมาท�ำใหม่  กว่าจะเข้าท่ีก็  ใช้เวลาอีก  ย่ิงเคยท�ำได้แล้ว  พอมาท�ำใหม่  ไม ่ ระวังใจ  ปล่อยให้ความอยากน�ำหน้า  เคยได้  อย่างนั้น  เคยสงบ  เคยเบา  คราวนี้ท�ำไมไม่ได้  เหมือนเก่า  พยายามจะให้ได้  มันก็ยิ่งช้าใหญ่  ยงิ่ เนน่ิ ชา้  ตวั ความอยากมาทำ� ใหเ้ สยี การ เพราะ  ฉะนนั้  ในการปฏบิ ตั  ิ ตอ้ งระวงั รกั ษาใจ อยา่ ให้  ความอยากมานำ� หน้า มาบงการได้ ความอยากเป็นเหตุแห่งทุกข์  เป็นส่ิงที่  ต้องละ  ทุกข์...ให้ก�ำหนดรู้  ไม่ต้องไปละ  ส่ิงที ่ ตอ้ งละคอื สมทุ ยั  (เหตใุ หเ้ กดิ ) อนั ไดแ้ ก ่ ตณั หา  คอื ตวั อยาก กำ� หนดรทู้ กุ ข ์ ละสมทุ ยั  เจรญิ องค์  47เขมรังสี ภิกขุ

มรรค  เจริญสติสัมปชัญญะไป  ท่ีสุดก็จะเข้าไป  แจ้งนิโรธ  คือความดับทุกข์  นี่เป็นกิจท่ีควรท�ำ  คอื  กจิ ในอรยิ สจั จะท้ัง ๔ กิจข้อแรก  คือ  กิจในการก�ำหนดรู้ทุกข์  เรียกว่า  “ปริญญากิจ”  ปริญญาขั้นท่ี  ๑  คือ  ขน้ั รจู้ กั  เรยี กวา่  ญาตปรญิ ญา เรารจู้ กั หรอื ยงั ...  สภาวะ...รูป-นาม...ปรมัตถธรรม...ธรรมชาติที่  เป็นจริง  ถ้ารู้จักแล้วก็ถือว่าเรามีญาตปริญญา  เมอ่ื รจู้ กั แลว้ กไ็ ปเจอเขาอยเู่ รอ่ื ยๆ ไปร ู้ ไปดเู ขา  อยเู่ รอื่ ยๆ แลว้ กพ็ จิ ารณา เมอ่ื ไปรจู้ กั  ไปเจอเขา  พิจารณาสภาวธรรมเหล่าน้ันเพื่อให้เห็นตาม  ความเป็นจริงว่า  สภาวธรรมเหล่านั้นมีสภาพ  ธรรมต่างๆ  กัน  แล้วก็ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงๆ  48 วิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจําวัน

หมดไปดบั ไป บงั คบั ไมไ่ ด ้ อยา่ งนก้ี เ็ ปน็ ปรญิ ญา  ข้ันที่  ๒  คือ  ปริญญาข้ันพิจารณา  เรียกว่า  ตีรณปริญญา  จนท่ีสุดเราก็จะเข้าถึงปริญญา  ขนั้ ท ่ี ๓ เรยี กวา่  ปหานปรญิ ญา คอื  ปรญิ ญา  ข้นั ประหารกิเลสได้ เร่ิมต้นด้วย  ปริญญากิจ  คือ  กิจในการ  ก�ำหนดรู้ทุกข์  ถ้าได้ก�ำหนดรู้สภาพธรรมตาม  ความเปน็ จรงิ  มนั มโี อกาสจบกจิ  กจิ ทค่ี วรท�ำได้  ท�ำจบแล้ว  คือ  กิจในการก�ำหนดรู้ทุกข์ กจิ ในการละเหตแุ หง่ ทกุ ข ์ เรยี กวา่  ปหาน-  กิจ กิจในการท�ำนิพพานใหแ้ จ้ง เรียกวา่  สจั -  49เขมรังสี ภิกขุ