Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 1593157950_d_1

1593157950_d_1

Published by nattawut.a, 2020-07-01 03:38:16

Description: 1593157950_d_1

Search

Read the Text Version

แนวทางการส่งเสรมิ พัฒนาการเดก็ วัย 3 – 6 ป สําหรบั พ่อแม่ ผปู้ กครอง สํานักงานคณะกรรมการการศึ กษาขันพืนฐาน กระทรวงศึ กษาธกิ าร



สารบัญ 1 บทนำ หน้า 1 ธรรมชาติของเด็กวัย 3 – 6 ปี 2 แนวทางสง่ เสริมการจดั กจิ กรรมพัฒนาเดก็ วัย 3 – 6 ปี สำหรบั พ่อแม่ ผปู้ กครอง 3 กิจกรรมสำหรบั เด็กวยั 3 – 6 ปี 5 ในหนึ่งวนั ...ชวนลกู ทำกจิ กรรมอะไรดี 11 มาดูสิ...ลกู ทำได้ 12 ภาคผนวก 13 ภาคผนวก 1 ตัวอยา่ งกจิ กรรมชวนลูกเลน่ ทดลอง 15 ภาคผนวก 2 ตัวอยา่ งหนังสือนทิ าน E-Book 17 ภาคผนวก 3 ตวั อย่างสื่อและแหล่งข้อมูลส่งเสริมพัฒนาการเดก็ ปฐมวัย 19 20 ขอ้ มลู อ้างอิง คณะผู้จดั ทำ

1 บทนำ เดก็ วัย 3 – 6 ปี เป็นช่วงสำคัญท่ีร่างกายและสมองกำลงั เจริญเติบโต เด็กวัยน้ีมโี อกาสเรียนรู้จากการ ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ไดแ้ ก่ ตา หู จมูก ลนิ้ และการสัมผัส รวมทงั้ การเคลอื่ นไหว การเล่น การลงมอื กระทำ ได้สำรวจ ทดลอง ค้นพบด้วยตนเอง ได้มีโอกาสคิดแก้ปัญหา เลือก ตัดสินใจ พูดคุย คิดริเริ่มสร้างสรรค์ และอย่รู ว่ มกับผู้อน่ื อย่างมคี วามสขุ เดก็ วยั น้จี งึ ควรไดร้ บั การดแู ลดว้ ยความรกั ความเขา้ ใจ และความเอาใจใส่ เปน็ พเิ ศษ เพ่ือให้เด็กเกิดการพัฒนาท้ังทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซ่ึงพ่อแม่ ผู้ปกครองคือบุคคลสำคัญในการอบรมเล้ียงดูเด็กให้มีพฤติกรรมและพัฒนาการที่ดีได้ด้วยการส่งเสริม และ เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมท่ีเหมาะสมกับวัยโดยเฉพาะช่วงเวลาท่ีอยู่ร่วมกันท่ีบ้าน ประกอบกับ ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด-19 ที่แพร่ระบาดในหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินวิถีชีวิตจาก สภาวการณ์เดิมไปสู่ความปกติใหม่ หรือฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) รวมถึงระยะเวลาของการอยู่ ร่วมกันท่ีบ้านระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครองกับเด็กยาวนานขึ้น เม่ือเด็กอยู่บ้านนานข้ึนและใช้เวลาท้ังหมด อยู่กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง จึงเป็นโอกาสดีท่ีพ่อแม่ ผู้ปกครองจะได้ใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกับเด็กและ เข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอบรมเลี้ยงดูเด็กให้มีศักยภาพในการใช้ชีวิตในสังคม ดังน้ัน การให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง เพ่ือส่งเสริม สนับสนุนพัฒนาการเด็กวัย 3 – 6 ปีเป็น เร่ืองสำคัญและจำเป็น จึงเป็นที่มาของ “แนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัย 3 – 6 ปี สำหรับ พ่อแม่ ผู้ปกครอง” เล่มน้ี ซึ่งจะได้แนวทางการจัดกิจกรรมในแต่ละวันให้กับเด็กขณะอยู่ท่ีบ้าน เน้นกิจกรรมท่ีหลากหลาย ทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก เน้นการเล่น การให้เด็กลงมือทำจริงโดยเฉพาะการ เรียนรู้ผ่านการทำกิจวัตรประจำวัน พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถปรบั กจิ กรรมใหย้ ืดหยุน่ ได้ตามความสนใจของ เด็ก และตามความเหมาะสมกบั สภาพแวดลอ้ มของแต่ละบ้าน ส่งิ สำคญั คอื ไม่จำเป็นตอ้ งใหเ้ ด็กทำครบทกุ กิจกรรม อาจเปิดโอกาสให้เดก็ เลอื ก และลงมือทำบางกจิ กรรมดว้ ยตวั เอง โดยมพี อ่ แม่ ผูป้ กครองเปน็ ผู้ช่วยจัดหาอุปกรณ์ เตรยี มสถานทใี่ หเ้ หมาะสมและมคี วามปลอดภัย หรอื ในกรณีที่พอ่ แม่ ผปู้ กครองต้องการความชว่ ยเหลอื อาจประสาน ครเู พ่อื ขอใชส้ ่อื อปุ กรณจ์ ากทางโรงเรียนได้

เด็กวัย 3 - 4 ปี ธรรมชาตขิ อง เป็นวัยที่ช่างสงสัย ช่างถาม ช่างสำรวจ เดก็ วัย และช่างเลยี นแบบ ชอบเรยี นรสู้ ่ิงแวดลอ้ มรอบตวั จากประสบการณ์ตรงและทำอะไรซ้ำ ๆ ในสิ่งที่ชอบ เป็นวัยท่ีมีความ ตื่นเต้นกับสิ่งแปลกใหม่ และยังเอาแต่ใจตนเองบ้าง อยากทดลองทำส่ิงใหม ตัวอยา่ งธรรมชาตขิ องเด็กวยั น้ี ได้แก่ ชอบกระโดดโลดเต้น ช แจ่มใส ตัวอย่างธรรมช • สามารถดูแลตนเองผ่านกิจวัตรประจำวัน แต่อาจต้องมีผู้ใหญ่คอยช่วยเหลือบ้าง และช่วย • สามารถดแู ลตนเองผ ทำงานบ้านง่ายๆ ได้ เช่น เก็บของเล่นเข้าที่ รด มากขน้ึ เช่น กนิ ข้าว นำ้ ต้นไม้ เปน็ ตน้ • ใช้มือไดด้ ขี นึ้ สามาร • การทรงตัวดีขึ้น ทั้งการเดิน เดินหน้า ถอยหลัง ใช้กรรไกรตัดกระดา การว่ิง การปนี ป่าย และกระโดดข้ามส่ิงกดี ขวาง ขา และลำตวั รวมถงึ ท่ไี มส่ ูงมาก ทรงตวั วงิ่ ปีนป่ายได • ชอบการเลน่ ท่ีต้องใชม้ ือและนิ้ว กจิ กรรมท่ี • สนใจคำศัพทใ์ หม่ ๆ เ ชื่นชอบคือ วาดภาพระบายสี ปนั้ พิมพ์ เหตผุ ล เร่มิ เข้าใจการ จดั หมวดหมู่หรอื จับค • เริม่ เขา้ ใจคำบอกตำแหน่ง เช่น ขา้ งหนา้ เกย่ี วกบั ใคร ทำอะไร ขา้ งหลงั บน ลา่ ง และสามารถพดู เป็นประโยค • รูจ้ กั คดิ มีเหตมุ ผี ลมา • เรมิ่ เข้ากลุ่มและเล่นรว่ มกับผ้อู นื่ เร่มิ รจู้ กั ออกระหว่างเรอ่ื งจรงิ การแบง่ ปันและอดทนรอคอยได้นานขึน้ แสดงความมน่ั ใจและ รวมทง้ั เลน่ เปน็ กลมุ่ แบ่งปนั

งเด็กวยั 3 – 6 ปี 2 ย 4 - 5 ปี เดก็ วัย 5 - 6 ปี มเชื่อม่ันในตนเองและ เป็นวัยที่เริ่มเรียนรู้บทบาทของผู้ใหญ่โดย ม่ ๆ อยากรู้อยากเห็น ก า ร จ ิ น ต น า ก า ร แ ล ะ เ ล ่ น บ ท บ า ท ส ม ม ติ ชอบตะโกน หัวเราะ ร่าเริง เตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อม ชาติของเด็กวัยน้ี ได้แก่ รอบตัวและในโรงเรียน มีสมาธิจดจ่อในการทำ กิจกรรมนานขึ้น และเริ่มเข้าใจผู้อื่น ตัวอย่าง ผา่ นกจิ วตั รประจำวนั ได้ ธรรมชาติของเด็กวัยนี้ ไดแ้ ก่ ว ลา้ งหนา้ ล้างมือ เป็นต้น • สามารถดแู ลตนเองผา่ นกิจวตั รประจำวันไดด้ ี รถจบั ดินสอ พู่กันได้ ยิ่งขน้ึ าษ วาดรปู คนสว่ นหวั แขน • ทรงตวั วิง่ ปีนป่าย และโหนตัวไปมา ง สตั ว์ สงิ่ ของ และสามารถ ดด้ ีขนึ้ ได้คลอ่ งแคล่ว รูจ้ ักโยน เตะ และรบั ของ • เริม่ เขียน ลอกแบบรปู รา่ งตวั หนังสอื และ เรมิ่ โตแ้ ย้งและมกี ารใช้ รอ่านหนังสอื จากซ้ายไปขวา ตัวเลขได้ และแกไ้ ขปญั หาไดด้ ขี ้ึน เรมิ่ เขา้ ใจ คู่สิง่ ตา่ ง ๆ ได้ ถามและตอบ เรื่องเวลาวันในแต่ละสปั ดาห์ ทไี่ หน ทำไม ฯลฯ • จดจำและเลา่ เรือ่ งราวประกอบทา่ ทางได้ และ มีเหตผุ ลมากขึ้น รวมท้ังเร่มิ คิดค้นเกมทม่ี กี ฎ ากขน้ึ แตบ่ างครง้ั ยงั แยกไม่ กติกาง่าย ๆ และชกั ชวนเพ่ือนเล่นบทบาทสมมติ งกบั เร่ืองทีแ่ ตง่ ขน้ึ เริม่ ซึง่ เพื่อนเริ่มมบี ทบาทสำคญั เข้าใจการแบง่ ปัน ะตดั สนิ ใจด้วยตวั เอง และความยตุ ิธรรม รู้จกั การรอคอยและ

3 แนวทางสง่ เสรมิ การจดั กจิ กรรมพฒั นาเด็กวยั 3 – 6 ปี สำหรบั พอ่ แม่ ผปู้ กครอง • จัดกิจกรรมท่ีทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการ ลงมือทำจริงอย่างหลากหลาย ท่ีสำคัญสามารถปรับและยืดหยุ่น ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละบ้าน • จัดพื้นท่ีในบ้านให้เหมาะสมกับการทำกิจกรรม มีความปลอดภัยต่อเด็กและ ช่วยจัดหาอุปกรณ์ เช่น ดินสอ กระดาษ สีเทียน สีน้ำ ฯลฯ ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการทำ กิจวัตรประจำวัน เช่น เก็บที่นอน ล้างหน้า แปรงฟัน อาบน้ำ แต่งตัว ล้างมือ กินข้าว ฯลฯ อาจกำหนดช่วงเวลาให้เด็กทำ และทำต่อเน่ืองอย่างสม่ำเสมอ ซ่ึงในช่วงแรกอาจ คอยชว่ ยเหลือหรือทำกิจวัตรประจำวันพรอ้ มกันกบั เด็ก เมือ่ เด็กทำไดแ้ ล้วจงึ ใหเ้ ดก็ ลงมือทำเอง นอกจากนค้ี วรเปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรมท่เี หมาะสมเทา่ ท่ีเดก็ จะทำได้ ในการชว่ ยทำงานบ้าน งานครัว เชน่ กวาดบ้าน เก็บของเข้าที่ ปอกผลไม้ ล้างผักงา่ ย ๆ ฯลฯ งานสวน เช่น ปลูกผกั รดน้ำตน้ ไม้ เป็นตน้ • ทำกิจกรรมรว่ มกันกับเดก็ แตห่ ากไมม่ เี วลา ควรเปิดโอกาสใหเ้ ดก็ เรยี นรจู้ าก สิ่งของและผู้คนท่ีอย่รู อบตัว และให้เด็กได้เลน่ อิสระ อาจเปน็ ของเล่นหรอื ของใช้ ท่ีไมเ่ ป็นอนั ตราย หาได้งา่ ยในบา้ น และจากส่งิ แวดล้อมรอบตวั เชน่ ของจรงิ ตามธรรมชาติ (ใบไม้ ผลไม้ กอ้ นหิน ฯลฯ) จากสง่ิ ของเคร่ืองใช้ในชีวติ ประจำวัน (ชอ้ น จาน แกว้ นํา้ ฯลฯ) รวมท้ังให้เด็กไดเ้ ล่นออกกำลังกลางแจง้ หรอื ในรม่ เล่นนํา้ เลน่ ทราย โดยมีผ้ดู แู ลอย่างใกล้ชดิ นอกจากน้ีพอ่ แม่ ผูป้ กครองคอื ของเล่น ทดี่ ีท่สี ดุ สำหรับเด็ก อาจเล่นกับเดก็ โดยใชอ้ วัยวะบางสว่ นของร่างกาย (มอื แขน ขา หู ตา จมกู ผม ฯลฯ) นำมาประกอบการเล่นไดม้ ากมาย เช่น อมุ้ โอบกอด ขีห่ ลัง ขี่คอ เลน่ นิว้ มอื เปน็ ต้น

4 • ชวนเด็กพูดคุยสม่ำเสมอ กระตุ้นด้วยคำถาม เล่าเรื่องราว หรือ ชักชวนเด็กอ่านจากสิ่งของรอบตัว เช่น ป้ายร้านค้า กล่องนม กล่องสบู่ ฯลฯ รวมทั้งการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง โดยเฉพาะหนังสือนิทานที่มี เนอ้ื หาที่เหมาะสมกับเดก็ หรือเล่าเรอื่ งราวจากแผ่นภาพ • สง่ เสริมให้เด็กทำกิจกรรมศิลปะ เชน่ การระบายสแี ละวาดรปู อยา่ งอิสระ พับกระดาษ ป้ันแป้ง พมิ พ์ภาพ ฯลฯ และกจิ กรรมด้าน ดนตรี เชน่ การฟงั เพลง การรอ้ งเพลง การพูดคำกลอน คำคล้องจอง การแสดงท่าทางประกอบตามจนิ ตนาการ ฯลฯ กรณพี ่อแม่ ผูป้ กครองมคี วามพรอ้ มใหเ้ ดก็ เรียนรโู้ ดยใชส้ ือ่ เทคโนโลยี ไดแ้ ก่ โทรทศั น์ สมาร์ตโฟน แทบ็ เลต็ และคอมพิวเตอร์ ตอ้ งทำความเขา้ ใจและปฏิบัตติ ามคำแนะนำในการใช้ ส่ือเทคโนโลยีกับเดก็ วัย 3 – 6 ปี ดงั นี้ • พ่อแม่ ผ้ปู กครองเป็นตัวอย่างทด่ี ใี นการใชส้ ่อื เทคโนโลยี โดยใหเ้ วลาอยกู่ บั เดก็ อย่างเต็มที่ หากจำเป็นต้องใชค้ วรเลอื กใช้ส่ือท่ีมีปฏิสมั พันธ์และเหมาะสมกับเดก็ และใชเ้ พ่ือเปน็ ชอ่ งทาง ในการเรยี นรู้สง่ิ ใหม่ๆ เชน่ ช่วยเด็กคน้ หาข้อมูลทีเ่ ดก็ สนใจ คน้ หาเพลงสำหรับเด็ก คน้ หาหนงั สือนิทานอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ เปน็ ต้น • ใชส้ ือ่ เทคโนโลยีรว่ มกับเด็ก ไมค่ วรปล่อยให้เดก็ ใชห้ รืออยกู่ ับหน้าจอตามลำพัง การพดู คยุ และ มปี ฏสิ มั พนั ธ์กนั ระหวา่ งดโู ทรทศั น์ สมารต์ โฟน แทบ็ เล็ต และคอมพวิ เตอร์ จะช่วยใหเ้ ด็กเข้าใจส่ิงที่ ตัวเองกำลังดูอยู่ และเป็นโอกาสใหพ้ ่อแม่ ผ้ปู กครองได้ดูแลการใชส้ ่ือเทคโนโลยอี ย่างเหมาะสมของ เดก็ ดว้ ย • ไม่ควรให้เดก็ ใช้สอ่ื เทคโนโลยที กุ ประเภทนานเกนิ 1 ช่ัวโมงต่อวนั อาจกำหนดขอ้ ตกลงในการใช้ อปุ กรณด์ ังกล่าว แล้วชกั ชวนเด็กทำกิจกรรมทไ่ี ดใ้ ช้ประสาทสัมผัสท้งั 5 และกจิ กรรมท่ีเก่ยี วข้อง ต่อตวั เดก็ เช่น การเล่น การทำกจิ วัตรประจำวัน การช่วยทำงานบ้าน การอ่านหนังสอื รว่ มกัน การออกกำลังกาย การทำงานศิลปะ และงานประดิษฐ์ เป็นต้น • จัดมมุ การวางสื่อเทคโนโลยี เชน่ โทรทศั น์ คอมพวิ เตอร์ ไว้ในส่วนท่ที ุกคนเห็นไดง้ ่าย สะดวกในการใช้ร่วมกัน สามารถเป็นจุดรวมของสมาชิกในครอบครัว และในขณะที่เด็กใชส้ ื่อเทคโนโลยี พ่อแม่ ผู้ปกครองควรสังเกตการใช้ส่ือฯ ของเดก็ รวมท้งั ให้คำแนะนำและความช่วยเหลือเม่อื เด็กต้องการ

5 กิจกรรมสำหรบั เด็กวัย 3 – 6 ปี กิจกรรมที่นำเสนอไม่จำเปน็ ต้องทำทุกกจิ กรรมในหนึ่งวนั สามารถเลือกบางกจิ กรรม แล้วนำมาปรับให้เหมาะสมตามวิถีชีวติ ของแตล่ ะบ้าน และเหมาะสมกบั ความสามารถของเดก็ อาทิ ชวนลูกทำ (กจิ วัตรประจำวัน งานบ้าน งานครัว งานสวน) การชวนลกู ทำ (กจิ วตั รประจำวัน งานบ้าน งานครัว งานสวน) เป็นการปลกู ฝังคุณลักษณะนิสัยและ วินัยเบื้องต้น รวมทั้งการรู้จักดูแลรักษาสุขอนามัยด้วยตนเอง พ่อแม่ ผู้ปกครอง สามารถฝึกให้เด็กทำ กิจวตั รประจำวนั เป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอ เปดิ โอกาสให้เดก็ ทำดว้ ยตนเอง เช่น อาบนำ้ ล้างหน้า แปรงฟัน ลา้ งมือ ฝึกการขับถา่ ย แตง่ ตัว กนิ อาหารทมี่ ปี ระโยชน์ ด่ืมนม การนอน ฯลฯ นอกจากน้ีการให้เดก็ ช่วยทำงานบ้าน งานครวั งานสวน สามารถให้ทำได้ตามความเหมาะสม ของแต่ละบา้ นและวัยของเด็ก บางกจิ กรรมพ่อแม่ ผู้ปกครองอาจคอยช่วยเหลือบา้ ง ซง่ึ มีตวั อยา่ ง กจิ กรรม ดงั นี้ • ชว่ ยงานบา้ น เชน่ ช่วยเก็บของ หยิบของ เชด็ โตะ๊ เกา้ อี้ ถพู ื้น กวาดบ้าน ซกั ผ้า ทำความสะอาดของเล่น ฯลฯ • ช่วยงานครัว ให้เดก็ ไดล้ องทำต้งั แตข่ น้ั ตอนการชว่ ยเตรยี มวัตถดุ ิบ เช่น ช่วยล้างผกั ชว่ ยหยิบของ เป็นตน้ ขน้ั ตอนการลงมอื ทำ เช่น ตอกไข่ ผสมอาหาร ไปจนถงึ การชว่ ยเก็บล้าง โดยมีพอ่ แม่ ผู้ปกครองคอยชว่ ยเหลือหรอื ดแู ลไม่ใหเ้ กดิ อนั ตราย เป็นต้น • ชว่ ยงานสวน เช่น ปลกู ต้นไม้ ผกั สวนครัว เก็บผกั หรือชว่ ยรดน้ำตน้ ไม้ เปน็ ต้น

6 ชวนลูกสร้างสรรค์ (งานศิลปะ และ งานประดิษฐ์) ชวนลกู สร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ทำให้เดก็ เกดิ จินตนาการ และความคดิ สร้างสรรค์ ซึ่งพ่อแม่ ผปู้ กครองอาจช่วยจดั หาและเตรียมอุปกรณศ์ ิลปะให้เด็กตามความเหมาะสม เช่น กระดาษ ดินสอ สเี ทียน สไี ม้ สีน้ำ สีผสมอาหาร พกู่ ัน หรือแปรงระบายสี ฯลฯ และอุปกรณ์สำหรับงานประดษิ ฐ์ เช่น กาวหรือแป้งเปียก กรรไกร เชือก ฯลฯ สามารถใชว้ สั ดุรอบตัวท่หี าไดง้ ่ายจากของเหลือใช้ ภายในบ้าน หรอื วัสดุจากธรรมชาติรอบบ้านนำมาประกอบการจัดกิจกรรมนไ้ี ด้เช่นกนั และหลงั เสร็จกจิ กรรม พ่อแม่ ผูป้ กครอง ควรชวนเด็กพูดคุยเกย่ี วกบั ผลงานทที่ ำ ซ่งึ ตัวอย่างของ กจิ กรรมชวนลกู คิดสร้างสรรค์ ดังน้ี • ชวนลูกสร้างสรรค์งานศิลปะ ผ่านการวาด การพิมพ์ การป้ัน การพับ การปะติด เช่น - วาดรูปดว้ ยสีเทยี น ดินสอ สีน้ำ (สผี สมอาหาร) ตามจินตนาการ - ป้นั แปง้ โดว์ ดนิ นำ้ มนั หรอื ดินเหนยี ว เป็นรปู ตามความสนใจ - พมิ พภ์ าพดว้ ยสนี ้ำ โดยใช้วัสดุทห่ี าไดง้ า่ ยรอบตัว เช่น ผักสวนครัว ดอกไม้ ใบไม้ หรือ ใชน้ ้วิ มือพมิ พ์ต่อกนั เปน็ รูปตามจินตนาการ เปน็ ต้น - ฉีกหรือตัดกระดาษเป็นชิน้ เล็ก ๆ ปะต่อกนั เป็นรูปต่าง ๆ • ชวนลูกสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ จากวัสดุเหลือใช้รอบตัว เช่น หลอดดูดน้ำ ขวดน้ำพลาสติก แกนกระดาษชำระ กล่องกระดาษ ไม้หนีบผ้า ไม้ไอติม เศษกระดาษหรือเศษผ้าเหลือใช้ ฯลฯ หรือวัสดุจากธรรมชาติรอบบ้าน เช่น ใบไม้ ดอกไม้ เมล็ดพืช เป็นต้น

7 ชวนลูกเตน้ (ขยบั เคล่ือนไหวร่างกาย) ชวนลกู เต้น เป็นกจิ กรรมทเี่ ดก็ ไดข้ ยับเคลื่อนไหวร่างกาย เมอื่ เดก็ ได้ทำอยา่ งสมำ่ เสมอ จะชว่ ยกระตุน้ การเจรญิ เติบโต ทำให้ร่างกายแขง็ แรง อารมณด์ ี แจม่ ใส และมีความสุข สามารถจดั กจิ กรรมน้ีเขา้ ไปในชีวติ ประจำวนั ตามความเหมาะสมได้ เชน่ • ชวนเด็กขยับเคลือ่ นไหวร่างกายพน้ื ฐาน เชน่ การเดนิ การว่ิง กระโดด การเตน้ การชูไมช้ ูมอื เป็นตน้ • ชวนเดก็ เตน้ และร้องเพลง ทำท่าทางจนิ ตนาการตามเสียงเพลงหรือเสียงดนตรี อาจเป็นเพลงทเ่ี ด็กช่นื ชอบ หรอื บทร้องเลน่ ท่พี อ่ แม่ ผ้ปู กครองคนุ้ เคย • ชวนเด็กขยบั เคลื่อนไหวรา่ งกายประกอบเสียงเพลงหรอื เสยี งดนตรี เช่น สะบัดแขน โยกหัว สา่ ยเอว ยำ่ เทา้ โบกแขน ปรบมอื เป็นตน้ ท้ังน้พี อ่ แม่ ผู้ปกครอง อาจหา เศษผา้ รบิ บ้ิน มาใช้ประกอบการเตน้ ได้ • ชวนเด็กเล่นเคาะจังหวะประกอบเสียงเพลง โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องเคาะ เขยา่ ตี ท้งั นี้เนน้ ที่ความปลอดภยั ต่อเดก็

8 ชวนลูกเล่น (เล่นออกกำลังกลางแจ้งหรือในร่ม/เล่นนํ้า/เล่นทราย/เล่นตามจินตนาการ/เล่นอิสระ) ชวนลูกเล่น เป็นกิจกรรมสำคัญที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของเด็ก คือ ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เมื่อเด็กได้เล่นจะช่วยให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ทดลองผิดถูก คร้ังแล้วครง้ั เล่า รู้จักการแก้ปัญหา ช่วยสร้างจินตนาการและความคิดสรา้ งสรรค์ ซึ่งพ่อแม่ ผู้ปกครอง สามารถเป็นผู้สนับสนุนกิจกรรมนี้ ด้วยการช่วยเตรียมพื้นที่ วัสดุ อุปกรณ์ ตามความเหมาะสมและ เปิดโอกาสให้เด็กเปน็ ผเู้ ลือกเล่นอยา่ งหลากหลายตามความสนใจ ดังน้ี • เลน่ ออกกำลังกลางแจ้งหรือในรม่ เช่น ปน่ั จักรยานในบริเวณบ้าน โยนบอลหรือวัสดอุ ่ืน ลงตะกรา้ กลิ้ง โยน-รับลูกบอล เกมการเล่นออกกำลังตา่ ง ๆ ว่ิงเลน่ อิสระ และ เกมการละเลน่ ไทย เชน่ มอญซอ่ นผ้า รีรีขา้ วสาร เป็นตน้ • เลน่ น้ำ เลน่ ทราย อาจปรับได้ตามวสั ดใุ นบ้านเท่าทีม่ ี ดังน้ี - เลน่ น้ำโดยใชภ้ าชนะทม่ี ีอยู่ท่ีบ้าน อาจเป็น กะละมงั ถังนำ้ โดยดูแลเด็กอย่างใกลช้ ดิ วัสดอุ ุปกรณป์ ระกอบการเล่น เช่น ภาชนะสำหรับตวงน้ำหลายรปู แบบ สัตว์จำลอง ของเล่นหรือของใช้ท่ีสามารถเล่นในน้ำได้ หรือสายยางรดนำ้ ต้นไม้ เป็นตน้ - เล่นทราย อาจนำทรายทีส่ ะอาดมาใส่ในถงั วัสดอุ ปุ กรณ์ประกอบการเลน่ เช่น ขนั น้ำ ถว้ ยตวง ชอ้ นตัก แบบพิมพท์ ่เี ปน็ วัสดุเหลือใช้ กิ่งไม้ เปลอื กหอย กอ้ นหิน เป็นต้น • เล่นตามจินตนาการ / เล่นอิสระ ควรเปิดโอกาสให้เดก็ เลอื กเลน่ อยา่ งอิสระ ตามความคิด จินตนาการ เช่น แต่งตวั เลยี นแบบบคุ คลอาชีพตา่ ง ๆ หรอื เลน่ ของเล่นทมี่ ีอยู่ในบา้ น เชน่ เล่นขายของ ตกุ๊ ตา ทำครวั และต่อตวั ตอ่ ตอ่ บลอ็ ก เปน็ ต้น เมือ่ เลิกเล่นสอนใหเ้ ดก็ จดั เกบ็ ส่งิ ของเข้าท่ีทุกครั้ง

9 ชวนลูกเล่นทดลอง ชวนลกู เลน่ ทดลอง เปน็ กจิ กรรมท่ีเด็กได้เรียนรู้จากการลงมอื ทำ การสงั เกต ทดลอง คิดแก้ปญั หา และหาคำตอบของเรื่องราวหรอื ปรากฎการณ์ตา่ ง ๆ ได้ตามวยั จากการสังเกต สงิ่ รอบ ๆ ตัว ซึง่ แนวทางการจดั กิจกรรมนี้ พอ่ แม่ ผู้ปกครองสามารถชวนเดก็ สำรวจสงิ่ รอบตัว หรอื สอดแทรกกจิ กรรมนี้ได้ในขณะทำกจิ วตั รประจำวัน งานบา้ น งานครวั งานสวน หรือ กิจกรรมอืน่ ๆ ในวถิ ีชวี ติ ของครอบครวั ยกตัวอยา่ งเชน่ • ขณะชวนเด็กรดน้ำต้นไม้ ให้เด็กสังเกตการไหลของน้ำจากที่สูงสู่ที่ต่ำ และแรงดันทำให้น้ำ ไหลแรง โดยลองฉดี นำ้ ด้วยสายยางให้เดก็ ดู หรอื ใหเ้ ด็กทดลองฉีดนำ้ รดตน้ ไม้ด้วยตนเอง • ขณะกำลังล้างจาน ชักชวนเดก็ สังเกตการผสมกนั ระหว่างน้ำยาล้างจานกบั นำ้ เปลา่ แล้วถามเด็กว่าเกดิ อะไรข้ึนบ้าง • ขณะจะอาบนำ้ ชวนเด็กเลน่ ทดลองลอย - จม โดยใหเ้ ด็กหาวัสดุ ส่ิงของใกล้ตวั (ท่ีไมเ่ กิดความเสียหาย) มาทดลองลอย - จม เช่น แปรงสีฟัน หลอดยาสีฟัน ขนั น้ำ ขวดแชมพู ฟองน้ำถูตัว เป็นต้น ทง้ั นี้ พอ่ แม่ ผู้ปกครองอาจจดั สถานการณก์ ารทดลองจากสื่อใกลต้ ัว ตามโอกาสเหมาะสม เพื่อสง่ เสรมิ ความอยากรูอ้ ยากเหน็ ความมุง่ ม่นั จดจ่อ ในการหาคำตอบ การคิดแก้ปญั หา ดังตวั อยา่ งกจิ กรรมชวนลกู เล่นทดลอง ในภาคผนวก 1

10 ชวนลูกอ่าน (อ่านหนังสอื เลา่ นิทาน) ชวนลูกอา่ น เปน็ กจิ กรรมทสี่ ำคญั ท่ีชว่ ยสรา้ งความสัมพันธ์ที่ดี ระหวา่ งเด็กกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง เกิดความใกลช้ ิด ความผกู พันกนั มากขน้ึ และทำให้เดก็ ได้พัฒนาจนิ ตนาการ ความคดิ สร้างสรรค์ ได้ร้จู ักคำศัพทใ์ หม่ ๆ และไดร้ บั ประสบการณท์ างภาษาผ่านการอ่านหนังสอื การเลา่ นิทานจากพอ่ แม่ ผ้ปู กครอง ซง่ึ แนวทางการจดั กจิ กรรมชวนลกู อ่าน มดี งั นี้ • อ่านหนงั สือภาพ หนังสือนิทาน หรอื เล่านิทานใหเ้ ด็กฟังเทา่ ที่สามารถทำได้ อาจใชเ้ วลาเพียง วันละ10 – 15 นาที และควรทำอย่างสม่ำเสมอทุกวันจนเป็นกิจวตั รประจำวัน อาจเปน็ ชว่ งเวลากอ่ นเขา้ นอน หากไมม่ ีหนงั สือภาพ หนังสอื นทิ าน อาจเล่านทิ านจากเรอื่ งราวท่แี ต่ง ขนึ้ เอง หรอื ร้องเพลงกล่อมนอนท่ีพอ่ แม่ ผปู้ กครองคนุ้ เคย อีกทางเลือกหนงึ่ คือตดิ ต่อกบั ครผู ู้สอนท่ีโรงเรียนของเด็กเพอื่ ขอยมื มาอา่ นใหเ้ ดก็ ฟังท่ีบา้ น • เลือกหนังสือภาพ หนังสือนทิ านทเ่ี หมาะสมกบั ความสนใจตามวยั 3 – 6 ปี มีภาพเยอะกว่า ตวั หนงั สือใชภ้ าษาทีเ่ ข้าใจงา่ ย เรอ่ื งราวไม่ซบั ซอ้ น อาจเปน็ คำกลอน คำคลอ้ งจองท่ีเดก็ สามารถจดจำได้ง่าย • การเลา่ นิทานอาจใช้อุปกรณป์ ระกอบการเล่า จากส่ิงรอบตวั เดก็ เชน่ ตุ๊กตา หุ่นมอื ของเลน่ ผ้าผืนเล็ก ฯลฯ น้วิ มือและการเลน่ เงาจากมือ หรือการแสดงท่าทางประกอบการเล่าเรือ่ ง กส็ ามารถนำมาใช้ประกอบการเล่านทิ านได้ อาจใช้หนังสอื นิทานหรือภาพการต์ ูนจาก หนังสอื อนื่ ๆ ท่ีมอี ยูแ่ ลว้ และเหมาะสมกบั เด็กมาจดั กจิ กรรมได้ • อา่ นชอื่ เรอื่ ง ชื่อผแู้ ต่ง และผูว้ าดภาพประกอบกอ่ นอ่านเนอ้ื เรือ่ งเสมอ และหลังจาก อ่านหนังสอื หรอื เล่านทิ านจบ ควรใช้คำถามเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ เชน่ เกิดเหตกุ ารณ์อะไร มีใคร ทำอะไร อยา่ งไรชอบตัวละครอะไร และชอบเหตกุ ารณ์ใดบา้ ง เป็นตน้ หากมีเวลา อาจชวนเดก็ ทำกิจกรรมต่อเนื่องจากเนื้อเรอ่ื ง • เปิดโอกาสให้เดก็ เลอื กหนังสือนิทาน หรอื ให้เวลาเด็กอา่ นหนังสอื ถงึ แมเ้ ดก็ ยงั อา่ นไม่ออก เพราะเดก็ สามารถอ่านภาพในหนงั สือได้และได้ใช้สมาธิจดจอ่ กบั ตนเอง • พอ่ แม่ ผปู้ กครอง ทใี่ ช้สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต และคอมพวิ เตอร์ สามารถใช้หนังสือนทิ านใน รปู แบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E–book) เพื่ออ่านให้เดก็ ฟังได้ในภาคผนวก 2

11 ในหน่ึงวัน...ชวนลกู ทำกิจกรรมอะไรดี • พอ่ แม่ ผู้ปกครอง สามารถปรบั ตารางกิจกรรมใหย้ ืดหยนุ่ ช่วงเวลาได้ และปรับ ออกแบบกิจกรรม เพิ่มเตมิ ได้ตามสภาพการดำเนินชีวิตของครอบครัวและเหมาะสมกบั เดก็ • ให้ความสำคัญกบั กจิ กรรมชวนลูกทำ (กิจวตั รประจำวัน งานบ้าน งานครัว งานสวน) ชวนลกู เล่น และ ชวนลูกอ่านโดยกจิ กรรมอ่ืน ๆ ควรจดั ทกุ สปั ดาห์อย่างน้อยสัปดาหล์ ะ 1 – 3 ครั้ง • สามารถเลือกจดั กจิ กรรมใหเ้ หมาะสมตามวัยและความสนใจของเด็ก ได้แก่ เดก็ วยั 3 – 4 ปี อาจต้อง คอยชว่ ยเหลอื บ้าง เพราะเด็กจะมีความสนใจทำกจิ กรรมบางอยา่ งน้อยกวา่ เด็กวยั 4 – 5 ปี ท่ีเริ่มดแู ล ตนเองไดม้ ากข้นึ สำหรับเด็กวัย 5 – 6 ปี จะมสี มาธิยาวนานข้ึนและทำกจิ กรรมที่ซบั ซอ้ นได้มากขนึ้ ตนื่ นอน ชวนลกู ทำกจิ วัตรประจำวัน (เก็บทีน่ อน แปรงฟัน อาบนำ้ แต่งตวั ) รบั ประทานอาหารเช้า ชวนลกู ทำ (งานบา้ น งานครัว งานสวน) เช้า ชวนลกู สรา้ งสรรค์ (งานศิลปะ และ งานประดษิ ฐ์) ด่ืมนมหรือรบั ประทานอาหารวา่ ง ชวนลกู เล่น (เลน่ น้ำ เล่นทราย เลน่ ของเล่น) กลางวนั รับประทานอาหารกลางวัน นอนพักผอ่ น เกบ็ ทีน่ อน ล้างหน้า บ่าย ดมื่ นมหรือรับประทานอาหารวา่ ง ชวนลกู เต้น (ขยบั เคลื่อนไหวร่างกาย) เยน็ ชวนลกู เลน่ ทดลอง กลางคนื ชวนลูกเลน่ ออกกำลังกายกลางแจ้งหรือในรม่ (ก่อนนอน) รบั ประทานอาหารเยน็ ชวนลูกทำกจิ วตั รประจำวัน (อาบน้ำ แปรงฟัน แต่งตัว) ชวนลูกอา่ น (อ่านหนงั สือ เล่านทิ าน) ชวนลูกเข้านอน

12 มาดูสิ...ลกู ทำได้ • เมื่อเด็กทำกิจกรรมในแต่ละวันแล้ว พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถทำแบบสังเกตพฤติกรรมเด็กได้ตามความสะดวก หรือ อาจทำอยา่ งน้อยสปั ดาหล์ ะ 1 คร้ัง โดยใส่เคร่อื งหมาย ✓ แต่ละพฤตกิ รรมทเ่ี ดก็ ทำได้จริง • ประโยชนท์ ี่พอ่ แม่ ผปู้ กครองได้รับจากการทำแบบสังเกตพฤติกรรมเด็ก คือ ไดร้ ู้พัฒนาการเด็ก สามารถใช้ติดตาม และใชป้ ระสานงานเกย่ี วกับพัฒนาการเด็กร่วมกบั ครเู มื่อเดก็ ไปโรงเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมเด็กสำหรบั พ่อแม่ ผู้ปกครอง ช่ือ – สกลุ ด.ช./ด.ญ. …………..…………………………… วัน เดอื น ปี ทบี่ นั ทึก……...........…………………….. 1. การทำกิจวตั รประจำวนั ของเดก็ 1.1 การรบั ประทานอาหาร • อาหารเช้า  รับประทานอาหารได้เอง  รับประทานอาหารโดยมผี ู้ใหญช่ ่วย  ไมร่ ับประทานอาหาร • อาหารกลางวัน  รบั ประทานอาหารได้เอง  รบั ประทานอาหารโดยมีผใู้ หญ่ช่วย  ไมร่ บั ประทานอาหาร • อาหารเย็น  รับประทานอาหารได้เอง  รบั ประทานอาหารโดยมีผู้ใหญช่ ่วย  ไมร่ ับประทานอาหาร • อาหารว่าง ช่วงเชา้  รบั ประทาน  ไมร่ ับประทานอาหาร ช่วงบ่าย  รบั ประทาน  ไมร่ บั ประทานอาหาร • ด่ืมนม ช่วงเชา้  ดม่ื นม  ไมด่ ่มื ช่วงบา่ ย  ดม่ื นม  ไมด่ ื่ม 1.2 การดูแลตนเอง  การขบั ถา่ ย  การแปรงฟัน  การอาบน้ำ  การแตง่ กาย  การรบั ประทานอาหาร  การล้างมอื  อน่ื ๆ....................................................................................... 1.3 การนอนหลับพักผ่อน  นอนหลับช่วงกลางวัน ระยะเวลา.................ช่วั โมง  นอนหลับชว่ งกลางคืน ระยะเวลา................ช่วั โมง 2. พฤติกรรมท่เี ดก็ ทำได้  เล่นได้ด้วยตนเองอยา่ งอิสระ  รบั ฟงั และยอมรบั ขอ้ ตกลงรว่ มกนั  เลน่ ร่วมกับคนในบ้าน  แบ่งปันของให้กบั คนในบา้ น  ระบอุ ารมณ์ ความรสู้ ึกตา่ ง ๆ ได้ เชน่ ดีใจ เสียใจ โกรธ เศรา้ 3. การทำกจิ กรรมของเดก็  ชว่ ยงานบ้าน ระบุ..........................  ช่วยงานครัว ระบ.ุ ........................  ช่วยงานสวน ระบ.ุ ........................  ทำงานศิลปะ  ทำงานประดิษฐ์  เลน่ ออกกำลงั กลางแจง้ หรือในรม่  เลน่ ตามจินตนาการ  เล่นอสิ ระ  เลน่ นา้ํ  เลน่ ทราย  เล่นทดลอง  ฟัง - อ่านหนังสือนทิ าน ผูใ้ หข้ อ้ มลู ชื่อ- สกลุ …..........................ความสมั พันธ์กับเด็ก พ่อ  แม่  อ่นื ๆ โปรดระบ.ุ ..........................

13 ภาคผนวก 1 ตัวอยา่ งกิจกรรมชวนลกู เลน่ ทดลอง คำแนะนำการใช้ 1. พ่อแม่ ผู้ปกครองจัดเตรยี ม จดั หาวัสดุ อุปกรณ์ โดยสามารถดัดแปลงสื่อใกล้ตัวมาใชท้ ดแทนได้ และจัดเตรียมสถานที่ 2. ชกั ชวนเดก็ เล่นทดลองตามกจิ กรรมดงั ตวั อยา่ ง หรือกจิ กรรมทดลองอ่นื ๆ จากหนังสอื เล่นทดลอง สำหรับเดก็ หรือจากส่ือออนไลน์ 3. พอ่ แม่ ผปู้ กครองดคู ลิปจากสอื่ เทคโนโลยที ีม่ ี โดยสามารถใชค้ ิวอาร์โค้ด หรือลิงก์ทีป่ รากฏในข้อมูล เพ่ิมเติมประกอบการทดลอง แลว้ ทำความเข้าใจกจิ กรรม คำถามท่ีใช้ และวัสดุ อุปกรณ์ (ในคลิป) ลำดบั วิธีเลน่ วสั ดุ อุปกรณ์ ข้อมูลเพมิ่ เติมประกอบการทดลอง 1 กจิ กรรมสนกุ กับฟองสบู่ 1. หลอดกาแฟ https://youtu.be/vq27lsgKREo 1. เด็กเล่นทดลองใช้หลอดเปา่ สำลีให้ 2. สำลีกอ้ นเล็ก ๆ เคลื่อนท่ีไปหาผู้ปกครอง 3. ถว้ ย ชามใสน่ ้ำเปล่า (ทดสอบการเปา่ ลม) 4. ถ้วย ชามใส่น้ำฟองสบู่ 2. เด็กเลน่ ทดลองใชห้ ลอดเปา่ น้ำเปลา่ ในชาม น้ำยาล้างจาน และสังเกตสิ่งที่เกิดขนึ้ 3. เด็กเลน่ ทดลองใช้หลอดเป่าน้ำฟองสบู่ น้ำยาลา้ งจาน และสงั เกตสงิ่ ที่เกดิ ขึ้น 4. ขณะทำกิจกรรม ผู้ปกครองชักชวนลูก พดู คุย สงั เกตเกี่ยวกับสิ่งทพ่ี บเห็น 5. เดก็ เล่นเป่าฟองสบู่อิสระ 2 กิจกรรมนำ้ ทราย น้ำมนั 1. นำ้ มนั พชื https://youtu.be/X--b2hbLnng 1. เดก็ ตักน้ำใส่ภาชนะ เช่น ขวดนำ้ ประมาณ 2. ทราย ครึ่งขวด และตดั ทรายใส่เพม่ิ ประมาณ 3-4 3. นำ้ เปล่า ช้อน วางไว้สังเกตส่ิงทีเ่ กิดขนึ้ 4. ช้อนตกั (การจมของทราย) 5. ภาชนะท่มี ีลักษณะใส 2. เดก็ ตักน้ำมันพืชใส่เพมิ่ ลงไปประมาณ 3-4 และมฝี าปิด เช่น ขวด ช้อน ปิดฝาขวด เขย่าใหเ้ ข้ากันและ น้ำ กลอ่ งพลาสตกิ วางท้ิงไวส้ กั ครู่ สงั เกตส่งิ ทเ่ี กิดขน้ึ ขวดโหล เปน็ ต้น (การลอยของน้ำมัน)

ลำดบั วิธเี ลน่ วสั ดุ อุปกรณ์ 14 ขอ้ มูลเพม่ิ เติมประกอบการทดลอง 3. เด็กทดลองเขย่าขวดซำ้ อีก 2-3 ครง้ั https://youtu.be/HJCrA6oonCo สังเกตส่งิ ทเี่ กดิ ขึน้ https://youtu.be/SDzhziLa2z4 4. พูดคุยกบั เดก็ ขณะทำกจิ กรรมถึงสิง่ ทีเ่ ด็ก พบเหน็ 3 กจิ กรรมเรือสะเทนิ นำ้ สะเทินบกและจรวด 1. หลอดกาแฟ 1. เดก็ ตดั หลอดกาแฟขนาดสน้ั - ยาว ตา่ งกัน 2. หลอดงอ 2-3 อัน 3. ดินน้ำมนั 2. เดก็ ปนั้ ดินน้ำมันสวมปดิ ปลายหลอด ด้านใดดา้ นหนึง่ สมมตเิ ป็นจรวด 3. นำหลอดจรวดสวมใส่ทหี่ ลอดงอ (ดา้ นปลายหลอด) แล้วเป่าหลอดด้านงอให้ หลอดจรวดพุ่งออกไป 4. เด็กเลน่ เป่าจรวดสน้ั - ยาว สงั เกต ความแรงทีต่ ่างกนั 5. เดก็ เลน่ เป่าจรวดอสิ ระตามความสนใจ 4 กจิ กรรมตวั ทำละลาย 1. แกว้ พลาสติกใสใส่ 1. เดก็ ตกั เกลือปน่ ใส่แกว้ นำ้ เปล่าใบที่ 1 นำ้ เปลา่ 3 ใบ คนใหเ้ ข้ากันและสังเกตสิ่งท่ีเกิดขึน้ 2. เกลือปน่ (การละลายของเกลือ) 3. ทราย 2. เด็กตกั ทรายใส่แก้วน้ำเปล่าใบท่ี 2 สังเกต 4. กะละมงั รองนำ้ สง่ิ ทเ่ี กดิ ขน้ึ กันหกเลอะเทอะ 3. ชกั ชวนเดก็ หาส่งิ ของอืน่ ๆ ที่คาดเดาวา่ จะ ละลายนำ้ เลน่ ทดลองเพิ่มเติม เชน่ น้ำตาล ทราย ผงชูรส ฯลฯ ใสแ่ กว้ นำ้ ใบที่ 1 4. พูดคุยถึงสง่ิ ที่พบเหน็

15 ภาคผนวก 2 ตัวอย่างหนังสือนิทาน E-Book คำแนะนำการใช้ 1. เลือกใชส้ ่อื เทคโนโลยีที่มหี น้าจอขนาดใหญ่ เพื่อท่ีเด็กจะได้มองเห็นตัวหนงั สือและภาพชัดเจน เช่น คอมพิวเตอร์ แทบ็ เล็ต สมาร์ตทีวี เป็นต้น 2. อา่ นหรือเล่าครง้ั ละ 1 เรอ่ื ง เด็กจะไดไ้ ม่ใชส้ ายตาจอ้ งมองจอนานเกนิ ไป (ควรสลบั กบั การใช้หนังสือนทิ าน) 3. กรณนี ทิ านมกี จิ กรรมหรอื เนอ้ื หาความรู้เสนอแนะไว้ทา้ ยเล่ม พ่อแม่ ผู้ปกครองควรอ่านและอาจ นำไปใช้พัฒนาเดก็ ตามความเหมาะสม 4. สามารถดหู นังสือนิทานเพิ่มเติมได้ทเ่ี ว็บไซต์ https://www.happyreading.in.th/index.php ลำดับ หนังสือ QR Code เรื่องย่อ สาระสำคญั 1 ชือ่ เรอ่ื ง ฉกึ ฉัก ฉกึ ฉัก หนังสือนิทานภาพเหมาะสำหรับเด็กวัย - การเลน่ ผู้แตง่ : ตบุ๊ ปอง 2 ปีขึ้นไป เป็นนิทานท่ีมีคำคล้องจอง - จำแนกเสยี งและ ภาพ : โอม รชั เวทย์ เล่นสัมผัสคำ เน้ือหาเกี่ยวกับสัตว์ หลากหลายชนิด ที่ชักชวนกันมาขึ้นรถไฟ ชนิดของสัตว์ 2 ชื่อเรอ่ื ง ทุกม้ืออรอ่ ยจัง และส่งเสียงร้องทำนองคล้องจองอย่าง - สตี ามวัน ผู้แตง่ : อมั รา เรอื งศริ ิ สนุกสนาน ภาพ : ลำพู แสงลภ หนังสอื นทิ านภาพเหมาะสำหรบั เดก็ วัย 3 ปี - การรบั ประทาน ขึ้นไป เนือ้ เรื่องเกยี่ วกับอาหารประเภทตา่ ง ๆ อาหารทีม่ ีประโยชน์ รวมไปถึงสว่ นประกอบของอาหาร เพ่อื สรา้ ง - วนิ ยั เชิงบวก เสรมิ พฤตกิ รรมการกินผัก - กิจวตั รประจำวนั 3 ชื่อเร่ือง หนงั สอื อยากมีเพ่ือน หนังสือนิทานภาพสำหรับเด็กวัย 3 ปี - การอา่ น - เลา่ ผู้แตง่ : สุรอยยา สถิตานนท์ ขึ้นไป เป็นนิทานคำคล้องจอง เน้ือหา ภาพ : อาทิตย์ อมรชร เก่ียวกับหนังสือเล่มหนึ่งท่ีถูกสายลมพัด พาไปตามที่ต่าง ๆ เพ่ือเฝ้ารอให้คนมาพบ และเก็บไปอ่าน

16 ลำดับ หนังสอื QR Code เร่อื งย่อ สาระสำคัญ 4 ชื่อเรื่อง โอ้โฮ...ฮปิ โปตัวใหญ่ หนังสอื นิทานภาพเหมาะกบั เดก็ วัย 3 ปขี ึ้นไป - การรับประทาน ผแู้ ต่ง : พม่ี ู เป็นนทิ านคำคลอ้ งจองเนอื้ หาเกย่ี วกบั อาหาร ภาพ : พี่เต่าทอง การสง่ เสรมิ พฤติกรรมการบริโภคอาหารทีม่ ี คณุ ภาพ ซง่ึ เป็นปจั จยั สำคญั ตอ่ การ - มเี พลงประกอบ เจริญเตบิ โตของสมอง และร่างกาย สามารถใช้จดั ผา่ นฮปิ โป ตัวละครเอกของเร่ืองพรอ้ มเพลง กจิ กรรมการร้อง- ประกอบ เตน้ 5 ช่อื เรือ่ ง แปรงฟนั ด้วยกนั ไหมจ๊ะ หนังสือภาพสำหรบั เดก็ วยั 3 ปขี ึน้ ไป เปน็ - กจิ วตั รประจำวนั ผแู้ ตง่ : จนั ทร์เพ็ญ สินสอน เรื่องราวของเดก็ ชายท่เี กดิ ความสงสยั วา่ สตั ว์ (การแปรงฟนั ) ภาพ : ชาญศิลป์ กิตติโชตพิ าณชิ ย์ ตา่ ง ๆ ตอ้ งแปรงฟนั ไหม นอ้ งนอ้ ยตัวเล็ก ๆ - การดแู ละรักษา ทีย่ งั ไม่มฟี นั ต้องดูแลรักษาฟนั อยา่ งไร แล้ว ความสะอาด เด็ก ๆ จะมวี ิธดี ูแลรักษาฟันของตัวเอง อย่างไร 6 ชอ่ื เร่ือง นอนหลับสบายจัง หนังสอื นทิ านภาพเหมาะสำหรบั เด็กอายุ 2 ปี - การนอน ผ้แู ต่ง : ภมิ ลพรรณ อ่นุ แกว้ ขนึ้ ไป เรอ่ื งราวของหนนู อ้ ยทง่ี ่วงนอน - พฒั นาจิตใจ อารมณ์ ภาพ : วชริ าวรรณ ทับเสอื และ เดินไปทักทายต๊กุ ตาหมตี วั ใหญ่ หมาขนนุ่ม กฤษณะ กาญจนาภา เกา้ อ้ีโยก จนมาเจอคณุ แม่อา่ นนิทานใหฟ้ ัง จงึ นอนหลบั สบาย 7 ช่ือเรื่อง อเี ลง้ เคง้ โค้ง อยู่บ้าน... ในสถานการณโ์ รคระบาดของโควิด 19 - การดูแลรกั ษา ต้านโควิด ผู้แต่ง : ชวี ัน วิสาสะ หา่ นอีเล้งเค้งโค้ง และผองเพ่ือนชักชวนเด็ก ๆ สุขภาพอนามยั ภาพ : ชีวัน วิสาสะ ทำภารกจิ อยู่บ้าน ตา้ นโควดิ : หยุดเชือ้ เพ่ือ - ทักษะชีวติ ชาติ ไปพร้อม ๆ กับพ่อกับแม่ผู้ปกครอง - กิจกรรมศลิ ปะ พร้อมทั้งวิธีดูแลตวั เองจากสถานการณ์นี้ เพ่ือ ระบายสีตัวละคร แสดงพลังของเด็ก ๆ และส่งกำลังใจแก่ และฉากตา่ ง ๆ บคุ ลากรทางการแพทย์ ในเรื่อง

17 ภาคผนวก 3 ตัวอย่างส่อื และแหลง่ ขอ้ มูลส่งเสรมิ พฒั นาการเดก็ ปฐมวยั ลำดบั รายการ สาระสำคญั แหล่งท่ีมา 1 คมู่ อื เฝ้าระวังและส่งเสรมิ คู่มือทใ่ี ชส้ ำหรบั การตดิ ตามเฝ้าระวังและส่งเสริม สถาบันพัฒนาอนามยั เด็กแหง่ ชาติ พฒั นาการเดก็ ปฐมวัย พฒั นาการของเด็กปฐมวัยในแต่ละวยั วา่ วัยใด กรมอนามยั กระทรวงสาธารณสขุ Developmental มพี ฒั นาการอย่างไรโดยมวี ิธใี ห้พ่อแม่ ผู้ปกครอง http://nich.anamai.moph.go.t Surveillance and เฝา้ สังเกต ประเมินพัฒนาการเด็กว่าเดก็ สามารถทำ h/main.php?filename=DSPM6 Promotion Manual ไดห้ รือไม่ ถา้ ยังทำไมไ่ ด้จะมีวิธฝี กึ ทักษะให้เด็กมี 0_Book (DSPM) พัฒนาการสมวยั 2 การพัฒนาเดก็ ปฐมวัยอยา่ ง คมู่ ือการพัฒนาเดก็ ปฐมวัยอย่างเปน็ องค์รวมชว่ ยให้ http://preschool.or.th/doc เปน็ องคร์ วม ผู้ที่เกีย่ วข้องกับเด็กมแี นวทางในการพัฒนาเด็ก /holistic.pdf ไดถ้ ูกตอ้ ง เหมาะสม และสอดคลอ้ งกับพฒั นาการ และการทำงานของสมอง 3 คู่มือพ่อแม่ ค่มู อื เล่มเล็ก รวบรวมความรู้ทางการแพทย์และ แผนงานสรา้ งเสริมวฒั นธรรม \"ลกู รกั กับหนังสือเลม่ แรก\" ประโยชนข์ องการใชก้ ารอา่ นเพอ่ื พฒั นาสมองและ การอ่านบริหารงานโดย สมรรถนะเด็กปฐมวัย (0-6 ป)ี รวมถึงเทคนิคและ “มูลนิธิสร้างเสรมิ วฒั นธรรมการ แนวปฏบิ ตั กิ ารอ่านทถ่ี กู ต้องเพอ่ื การพัฒนาเด็ก อ่าน” ไดร้ บั ทนุ สนับสนุนจาก สสส. ใหด้ าวน์โหลดหนงั สือฟรี จากเว็บไซต์ https://www.happyreading.in.t h/index.php

18 ลำดับ รายการ สาระสำคัญ แหลง่ ท่ีมา http://preschool.or.th/doc 4 การใช้สื่อเทคโนโลยีสำหรบั ส่ือเทคโนโลยีมอี ิทธิพลตอ่ ชวี ิตของเด็กปฐมวัยอย่าง /technology.pdf เด็กปฐมวัย หลีกเลี่ยงไม่ได้ คูม่ ือน้ีเป็นแนวทางปฏิบัตสิ ำหรบั พอ่ แม่ ผปู้ กครอง ครู ในการใช้สอื่ เทคโนโลยีกบั เดก็ ปฐมวัยท่เี หมาะสมกบั วัยและเพ่ือสนบั สนนุ การ เรยี นรขู้ องเด็ก 5 เวบ็ ไซต์คณุ ลกู แอปพลเิ คชนั สำหรับมอื ถือและแท็บเลต็ ที่พฒั นาขึ้น www.khunlook.com เพอื่ ช่วยให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผปู้ กครองในการดแู ล ประเมนิ และติดตามการเจริญเตบิ โต พัฒนาการ และสุขภาพของเด็ก 6 ออกมาเลน่ เว็บไซต์ที่รวบรวมความรแู้ ละนำเสนอกจิ กรรม https://www.kidactiveplay. การเลน่ ที่เดก็ เป็นผู้รว่ มเลน่ ด้วยตนเอง ทำใหเ้ ด็ก com/index.php ไดร้ ับความสนกุ สนาน ไม่กำหนดรปู แบบกติกาท่ีเป็น ทางการ รวมทั้งการละเล่นพื้นบ้านดว้ ย 7 learning4kids เวบ็ ไซตท์ ่จี ัดหมวดหมู่การทำกิจกรรมเพื่อพฒั นา https://www.learning4kids.net/ เดก็ ปฐมวัยไว้หลากหลายรปู แบบที่ผ้ใู หญ่สามารถให้ เดก็ ทำไดท้ ่บี า้ น และสามารถเลอื กกิจกรรมให้ เหมาะสมกับวัยของเดก็ ได้ 8 คู่มอื หลักสตู รการศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงาน http://academic.obec.go.th ปฐมวัย พทุ ธศักราช 2560 คณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพื้นฐาน จดั ทำข้ึนเพื่อให้ /images/document/157231 สำหรับเดก็ อายุ สถานศึกษา สถานพัฒนาเดก็ ปฐมวยั และหนว่ ยงาน 7514_d_1.pdf 3 – 6 ปี ท่ีเกีย่ วข้องได้มคี วามรู้ความเข้าใจในการนำหลกั สตู ร การศึกษาปฐมวัย พุทธศกั ราช 2560 สู่การปฏิบัติ สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาให้เหมาะสมกบั สภาพทอ้ งถน่ิ บริบทความต้องการของสถานศึกษา .

19 ขอ้ มลู อ้างอิง กระทรวงสาธารณสขุ . (2561). คู่มอื เฝ้าระวงั และส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM). กรงุ เทพมหานคร: สำนักงานกจิ การโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะหท์ หารผา่ นศึก. ราชวทิ ยาลยั กมุ ารแพทย์แหง่ ประเทศไทย และสมาคมกุมารแพทยแ์ ห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). คู่มือสำหรับพ่อ แม่เพอ่ื เผยแพรค่ วามรู้ดา้ นการดแู ลและพัฒนาเดก็ ตอน เด็กวัยอนุบาล 3-6 ปี. กรงุ เทพมหานคร: ราชวทิ ยาลัยกมุ ารแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมกุมารแพทยแ์ ห่งประเทศไทย. สมาคมอนุบาลศึกษาแหง่ ประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี. (2560). การพฒั นาเดก็ อย่างเป็นองคร์ วม (พิมพค์ รั้งท1่ี ). กรุงเทพมหานคร: พลสั เพรส. สมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี. (2560). การใชส้ ือ่ เทคโนโลยีสำหรบั เดก็ ปฐมวัย (พิมพ์ครั้งท่1ี ). กรงุ เทพมหานคร: พลัสเพรส. สำนักวชิ าการและมาตรฐานการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คูม่ อื หลกั สูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเดก็ อายุ 3-6 ปี. กรุงเทพมหานคร: โรงพมิ พช์ มุ นมุ สหกรณ์การเกษตร แหง่ ประเทศไทย. สำนกั วิชาการและมาตรฐานการศกึ ษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพมิ พช์ ุมนุมสหกรณ์การเกษตรแหง่ ประเทศไทย. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงศึกษาธกิ าร. (2563). แผนปฏบิ ตั กิ ารดา้ นการจดั การศึกษา ปฐมวัยของกระทรวงศกึ ษาธิการ (พ.ศ. 2563 – 2565). อัดสำเนา. World Health Organization. (2019). WHO guidelines on physical activity, sedentary behaviour and sleep for children under 5 years of age. Retrieved June 1, 2020 from https://apps.who.int/iris/handle/10665/311664

20 คณะผู้จดั ทำ ท่ีปรกึ ษา เลขาธิการคณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพนื้ ฐาน นายอำนาจ วิชยานวุ ตั ิ รองเลขาธกิ ารคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน นางวฒั นาพร ระงบั ทุกข์ ผู้อำนวยการสำนกั วิชาการและมาตรฐานการศกึ ษา นางสาวรัตนา แสงบัวเผ่ือน คณะทำงาน ข้าราชการบำนาญ นางวาทนิ ี ธรี ะตระกูล ขา้ ราชการบำนาญ รองศาสตราจารย์ ดร.พชั รี ผลโยธิน ข้าราชการบำนาญ นางเอมอร รสเครือ ข้าราชการบำนาญ นางร่งุ รวี กนกวิบูลยศ์ รี ขา้ ราชการบำนาญ นางสาวแน่งนอ้ ย แจ้งศริ ิกลุ ผูอ้ ำนวยการโรงเรยี นเกษมพิทยา แผนกอนุบาล ดร.วรนาท รักสกลุ ไทย ประธานมูลนธิ สิ รา้ งเสรมิ วฒั นธรรมการอา่ น นางสาวสุดใจ พรหมเกดิ ศึกษานเิ ทศกช์ ำนาญการพเิ ศษ สพป.ปทุมธานี เขต 1 นางสุรัสวดี จันทรกลุ ศกึ ษานิเทศกช์ ำนาญการพเิ ศษ สพป.ประจวบคีรขี นั ธ์ เขต 1 นางหริณญา รุง่ แจ้ง ครูชำนาญการพเิ ศษ โรงเรียนบา้ นทุ่งมะขามเฒ่า นางสาวจีเรียง บุญสม สพป.กาญจนบุรี เขต 1 นางภาวิณี แสนทวีสขุ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา นางสาวกอบกุล สกุ ขะ สำนกั วิชาการและมาตรฐานการศกึ ษา นางกนั ยา แสนวงษ์ สำนักวชิ าการและมาตรฐานการศึกษา นางสาวกมลชนก ผา่ นสำแดง สำนกั วชิ าการและมาตรฐานการศกึ ษา นางสาวนันทพร ณ พัทลุง สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา นางสาวหทยา จำปี สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ภาพประกอบ นางสาวจิตรารตั น์ หลวงมูล


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook