Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์

โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์

Published by Guset User, 2021-11-12 05:32:42

Description: โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์

Search

Read the Text Version

โคลงสุภาษิตพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โคโลสฬงสสไุตภรยาาษงิค์ต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

คำนำ E-book เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาภาไทย (ท22102)ซึ่ง E-book เล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ เป็นโคลงสี่สุภาพซึ่งมีบทนำ ๑ บท เนื้อเรื่อง ๑๖ บท และสรุป ๑ บท ซึ่งในพระราช นิพนธ์นี้หมายถึงสิ่งที่ควรแสวงหาหรือควรละเว้นโดย โคลงแต่ละบท มีอยู่ ๓ สิ่ง มักมีหลักธรรมประจำใจเพื่อเป็นแนวทางใน การดำเนินชีวิตในด้านต่าง ๆ ดังนั้นเราควรที่จะศึกษา และปฏิบัติตามเพื่อขจัดความทุกข์ สร้างกุศล และเพิ่ม ความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตนเอง หวังว่า E-book เล่มนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับ ผู้อ่านไม่มากก็น้อยเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ในด้านใดด้านหนึ่ง ถ้ามีข้อผิดพลาดประการใดก็ ขออภัยมา ณ ที่นี่ด้วย นางสาวนริศรา ดารามัน ผู้จัดทำ

สารบัญ เรื่อง หน้า โสฬสไตรยางค์ หมายถึง ๑-๒ ประวัติความเป็นมา ๓-๕ โคลงสี่สุภาพ ๖ ลักษณะการประพันธ์ ๗-๘ จุดประสงค์การประพันธ์ ๙-๑๐ สาระสำคัญ ๑๑-๑๒ บทประพันธ์ ๑๓-๒๑ คุณค่าและข้อคิด ๒๒-๒๘ อ้างอิง ๒๙

๑. โสฬสไตรยางค์ โสฬสไตรยางค์ หมายถึง….

๒. โสฬสไตรยางค์ หมายถึง สุภาษิตที่จำแนกเนื้อความเป็น ๑๖ หมวด หมวดละ ๓ ข้อ รวมเป็น ๔๘ ข้อ

๓. ประวัติความเป็นมา ประวัติความเป็นมา โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์

๔. โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เดิมเป็นสุภาษิตภาษาอังกฤษจึง ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กวีในพระราชสำนัก แปลและประพันธ์เป็นโคลงภาษาไทย พระองค์ท่านได้ทรงตรวจ แก้และทรงพระราชนิพนธ์โคลงบทนำด้วย) โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ เช่นกัน (โดยทรงแปลมาจากโคลงเดิมที่เป็นภาษาอังกฤษ) โคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ เช่นกัน โดยทรงแปลมาจากนิทานกรีกฉบับภาษาอังกฤษ เพราะ สมัยนั้นคนไทยนิยมอ่านเรื่องที่แปลมาจากวรรณคดีตะวันตกกัน มาก โดยเฉพาะนิทานอีสป เพราะไม่ผูกติดกับขนบธรรมเนียม ประเพณี และค่านิยมของชาติใดชาติหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปลนิทานอีสปไว้ ทั้งหมด ๒๔ เรื่อง และทรงพระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิตประกอบนิทานร่วมกับกวีอีก ๓ ท่าน คือ กรมหลวง พิชิตปรีชากร พระยาศรีสุนทรโวหาร และ พระยาราชสัมภารากร ซึ่งรวมเรียกว่า“โคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ”

๕. เกิดจากการนำคำว่า โสฬส ซึ่งหมายถึง ๑๖ และไตรยางค์ ซึ่ง หมายถึง ๓ ส่วน มารวมเข้าด้วยกัน หมายถึง สิ่งที่ควรแสวงหาหรือ ควรละเว้น ซึ่งจะประกอบไปด้วยโคลง ๑๖ บท ในโคลงแต่ละบทจะมี สิ่งที่ควรแสวงหาและควรละเว้นอยู่อย่างละ ๓ สิ่ง ฉันทลักษณ์ที่ใช้ในการแต่งคือ โคลงสี่สุภาพ ประกอบไปด้วย บทนำ ๑ บท เนื้อเรื่อง ๑๖ บท และบทสรุปอีก ๑ บท โดยแต่เดิม ต้นฉบับของเนื้อเรื่องที่ใช้ในการแต่งโคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ นั้นเป็นภาษาอังกฤษ รัชกาลที่ ๕ ได้โปรดให้กวีในราชสำนักแปล ซึ่ง ก็คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร และพระองค์ได้ ทรงตรวจแก้ รวมถึงพระราชนิพนธ์โคลงบทนำเพิ่มเติม

๖. โคลงสี่สุภาพ โคลงสี่สุภาพเป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง ชนิดหนึ่งซึ่งมีปรากฏในวรรณคดีไทยมานาน แล้ว วรรณคดีไทยฉบับที่เก่าและมีชื่อเสียงมาก ฉบับหนึ่งคือ ‘ลิลิตพะลอ’มีโคลงสี่สุภาพบท หนึ่งถูกยกมาเป็นบทต้นแบบที่แต่งได้ถูกต้อง ตามลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพ คือนอกจาก จะมีบังคับสัมผัสตามที่ต่าง ๆ แล้ว ยังบังคับให้มี วรรณยุกต์เอกโทในบางตำแหน่งด้วย กล่าวคือ มีเอก ๗ แห่ง และโท ๔ แห่ง เรียกว่า เอกเจ็ดโทสี่

๗. ลักษณะการประพันธ์ ลักษณะการประพันธ์ โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์

๘. แผนผังโคลงสี่สุภาพ ความกล้า ความสุภาพ ความรักใคร่ ๏ ควรกล้ากล้ากล่าวถ้อย ทั้งหทัย แท้แฮ สุวภาพพจนกายใน จิตรพร้อม ความรักประจักษ์ใจ จริงแน่ นอนฤา สามสิ่งควรรักน้อม จิตรให้สนิทจริง ฯ

๙. จุดประสงค์การประพันธ์ จุดประสงค์การประพันธ์ โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์

๑๐. จุดประสงค์ในการแต่ง โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ มีจุดประสงค์ในการแต่ง เพื่อต้องการจะอธิบายสุภาษิตที่เกี่ยวกับนามธรรม ซึ่งเป็น เรื่องใกล้ตัวที่เกี่ยวข้องกับคนทุกคน ทุกฐานะ ทุกอาชีพ ได้ นำไปเป็นเครื่องโน้มนำให้ประพฤติชอบอย่างผู้มีสติและมี ความปลอดโปร่งในชีวิต เพื่อแนะนำสิ่งที่ควรปฏิบัติและสิ่ง ที่ควรละเว้น ๑๖ หมวด หมวดละ ๓ ข้อเพื่อให้ผู้ปฏิบัติมี ความเจริญในชีวิต

๑๑. สาระสำคัญของโคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ ๑.สามสิ่งควรรัก ได้แก่ ความกล้า ความสุภาพ และความรักใคร่ ๒. สามสิ่งควรชม ได้แก่ อำนาจปัญญา เกียรติยศ และมีมารยาทดี ๓. สามสิ่งควรเกลียด ได้แก่ ความดุร้าย ความหยิ่งกำเริบ และอกตัญญู ๔. สามสิ่งควรรังเกียจติเตียน ได้แก่ ชั่วเลวทราม มารยา และฤษยา ๕. สามสิ่งควรเคารพ ได้แก่ ศาสนา ยุติธรรม และสละประโยชน์ตนเอง ๖. สามสิ่งควรยินดี ได้แก่ การเป็นผู้มีความงาม มีความสัตย์ซื่อ และ ความ อิสระเสรี ๗. สามสิ่งควรปรารถนา ได้แก่ ความสุขสบาย การมีมิตรสหายที่ดี และมี ความสบายใจ ๘. สามสิ่งควรอ้อนวอนขอ ได้แก่ ความเชื่อถือ ความสงบ และจิตใจที่ไม่ ขุ่นหมอง

๑๒. สาระสำคัญของโคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ ๙. สามสิ่งควรนับถือ ได้แก่ การเป็นผู้มีปัญญา มีความฉลาด และมีความมั่นคง ไม่โลเล ๑๐. สามสิ่งควรจะชอบ ได้แก่ ความมีใจอารีสุจริต ใจดีไม่เคืองขุ่น และ มีความ สนุกเบิกบาน ๑๑. สามสิ่งควรสงสัย ได้แก่ คำยกยอ พวกปากไม่ตรงกับใจ และ พวกใจโลเล พูดกลับคำไปมา ๑๒. สามสิ่งควรละ ได้แก่ ความเกียจคร้าน การพูดจาไม่น่าเชื่อถือ และการใช้ คำเสียดสีผู้อื่น ๑๓. สามสิ่งควรจะกระทำให้มี ได้แก่ หนังสือดีเพื่อนที่ดี และ ความเป็นคน ใจเย็น ๑๔. สามสิ่งควรจะหวงแหนฤๅต่อสู้เพื่อรักษา ได้แก่ ชื่อเสียงเกียรติยศประเทศ ชาติบ้านเมือง และเพื่อนที่ดี ๑๕. สามสิ่งควรครองไว้ ได้แก่ กิริยาอาการ ความมักง่าย และคำพูด ๑๖. สามสิ่งควรจะเตรียมเผื่อ ได้แก่ ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ความแก่ชรา และ ความตาย

๑๓. บทประพันธ์ โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์

๑๔. สามสิ่งควรรัก ความกล้า, ความสุภาพ, ความรักใคร่ ๑. ควรกล้ากล้ากล่าวถ้อย ทั้งหทัย แท้แฮ สุวภาพพจนภายใน จิตพร้อม ความรักประจักษ์ใจ จริงแน่ นอนฤๅ สามสิ่งควรรักน้อม จิตให้สนิทจริง ฯ สามสิ่งควรชม อำนาจปัญญา, เกียรติยศ, มีมารยาทดี ๒. ปัญญาสติล้ำ เลิศญาณ อำนาจศักดิ์ศฤงคาร มั่งขั้ง มารยาทเรียบเสี่ยมสาร เสงี่ยมเงื่อน งามนอ สามสิ่งจักควรตั้ง แต่ซ้องสรรเสริญ ฯ

๑๕. สามสิ่งควรเกลียด ความดุร้าย, ความหยิ่งกำเริบ, อกตัญญู ๓. ใจบาปจิตหยาบร้าย ทารุณ กำเริบเอิบเกินสกุล หยิ่งก้อ อีกหนึ่งห่อนรู้คุณ ใครปลูก ฝังแฮ สามสิ่งควรเกลียดท้อ จิตแท้อย่าสมาน ฯ สิ่งควรรังเกียจติเตียน ชั่วเลวทราม, มารยา, ริษยา ๔. ใช่ชั่วชาติต่ำช้า ทรชน ทุจริตมารยาปน ปกไว้ หึงส์จิตคิดเกลียดคน ดีกว่า ตัวแฮ สามส่วนควรเกลียดใกล้ เกลียดซ้องสมาคม ฯ

๑๖. สามสิ่งควรเคารพ ศาสนา, ยุติธรรม, ความประพฤติเป็นประโยชน์ ทั่วไปไม่ เฉพาะตัวเอง ๕. ศาสนาสอนสั่งให้ ประพฤติดี หนึ่งยุติธรรมไป่มี เลือกผู้ ประพฤติเพื่อประโยชน์ศรี สวัสดิ์ทั่ว กันแฮ สามสิ่งควรรอบรู้ เคารพเรื้องเจริญคุณ สามสิ่งควรยินดี งาม, ตรงตรง, ไทยแก่ตน ๖. สรรพางค์โสภาคย์พร้อม ธัญลักษณ์ ภาษิตจิตประจักษ์ ซื่อพร้อม เป็นสุขโสตตนรัก การชอบ ธรรมนา สามสิ่งควรชักน้อม จิตให้ยินดี ฯ

๑๗. สามสิ่งควรปรารถนา ความสุขสบาย, มิตรสหายที่ดีดี, ใจสบายปรุโปร่ง ๗. สุขกายวายโรคร้อน รำคาญ มากเพื่อนผู้วานการ ชีพได้ จิตแผ้งผ่องสำราญ รมย์สุข เกษมแฮ สามสิ่งควรจักให้ รีบร้อนปรารถนา ฯ สามสิ่งควรอ้อนวอนขอ ความเชื่อถือ, ความสงบ, ใจบริสุทธิ์ ๘. ศรัทธาทำจิตหมั้น คงตรง สงบระงับดับประสงค์ สิ่งเศร้า จิตสะอาดปราศสิ่งพะวง วุ่นขุ่น หมองแฮ สามส่วนควรใฝ่เฝ้า แต่ตั้งอธิษฐาน ฯ

๑๘. สามสิ่งควรนับถือ ปัญญา, ฉลาด, มั่นคง ๙. ปัญญาตรองตริล้ำ ลึกหลาย ฉลาดยิ่งสิ่งแยบคาย คาดรู้ มั่นคงไม่คืนคลาย คลอนกลับ กลายแฮ สามสิ่งควรกอบกู้ กับผู้นับถือ ฯ สามสิ่งควรจะชอบ ใจอารีสุจริต, ใจดี, ความสนุกเบิกบานพร้อมเพรียง ๑๐. สุจริตจิตโอบอ้อม อารี ใจโปร่งปราศราคี ขุ่นข้อง สิ่งเกษมสุขเปรมปรี ดาพรั่ง พร้อมแฮ สามสิ่งสมควรต้อง ชอบต้องยินดี ฯ

๑๙. สามสิ่งควรสงสัย ยอ, หน้าเนื้อใจเสือ, กลับกลอก ๑๑. คำยอยกย่องเที้ยร ทุกประการ พักตร์จิตผิดกันประมาณ ยากรู้ เร็วรักผลักพลันขาน คำกลับ พลันฤๅ สามส่วนควรแล้วผู้ พะพ้องพึงแคลง ฯ สามสิ่งควรละ เกียจคร้าน, วาจาฟั่ นเฝือ, หยอกหยาบแลแสลงหรือขดคอ ๑๒. เกียจคร้านการท่านทั้ง การตน ก็ดี พูดมากเปล่าเปลืองปน ปดเหล้น คำแสลงเสียดแทงระคน คำหยาบ หยอกฤๅ สามสิ่งควรทิ้งเว้น ขาดสิ้นสันดาน ฯ

๒๐. สามสิ่งควรทำให้มี หนังสือดี, เพื่อนดี, ใจเย็นดี ๑๓. หนังสือสอนสั่งข้อ วิทยา เว้นบาปเสาะกัลยาณ์ มิตรไว้ หนึ่งขาดปราศโทษา คติห่อ ใจเฮย สามสิ่งควรมีให้ มากหยั้งยืนเจริญ ฯ สามสิ่งควรจะหวงแหนหรือต่อสู้เพื่อรักษา ชื่อเสียงยศศักดิ์, บ้านเมืองของตน, มิตรสหาย ๑๔. ความดีมีชื่อทั้ง ยศถา ศักดิ์เฮย ประเทศเกิดกุลพงศา อยู่ยั้ง คนรักร่วมอัธยา- ศัยสุข ทุกข์แฮ สามสิ่งควรสงวนไว้ ต่อสู้ผู้เบียน ฯ

๒๑. สามสิ่งควรต้องระวัง กิริยาที่เป็นในใจ, มักง่าย, วาจา ๑๕. อาการอันเกิดด้วย น้ำใจ แปรฤๅ ใจซึ่งรีบเร็วไว ก่อนรู้ วาจาจักพูดใน กิจสบ สรรพแฮ สามสิ่งจำทั่วผู้ พิทักษ์หมั้นครองระวัง ฯ สามสิ่งควรเตรียมรับ อนิจจัง, ชรา, มรณะ ๑๖. สิ่งใดในโลกล้วน เปลี่ยนแปลง หนึ่งชราหย่อนแรง เร่งร้น ความตายติดตามแสวง ทำชีพ ประลัยเฮย สามส่วนควรคิดค้น คติรู้เตรียมคอย ฯ

คุณค่าและข้อคิด ๒๒. คุณค่าและข้อคิด

๒๓. •คุณค่าด้านเนื้อหา คุณค่าด้านเนื้อหา เป็นการสั่งสอนการดำเนินชีวิตของมนุษย์โดยตรง ครอบคลุมชีวิตทั้งหมดให้รู้ว่าควรจะปฏิบัติอย่างไรจึง จะเกิดเป็นมงคลแก่ชีวิตและผู้ที่ประสบความสำเร็จใน ชีวิตมักจะใฝ่หาคติธรรมต่าง ๆ เป็นเครื่องเตือนใจ

๒๔. •คุณค่าด้านอารมณ์ คุณค่าด้านอารมณ์ ในโคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์แต่ละบทประพันธ์ สามารถแสดงข้อคิดออกมานำเสนอได้อย่างชัดเจนมี กลวิธีในการนำเสนอคือก่อนเริ่มแสดงสุภาษิตจะมีโคลง นำหนึ่งบทแล้วจึงแสดงสุภาษิตเป็นหมวด ๆ ไป

๒๕. •คุณค่าด้านคุณธรรม คุณค่าด้านคุณธรรม โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์เป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการ ประพฤติตนที่ครอบคลุมตั้งแต่ตัวเราเอง มิตรสหาย ชาติ บ้าน เมือง และสัจธรรมชีวิต ซึ่งควรต้องแสวงหาสิ่งที่ดีมา เช่น แสวงหาความกล้า ความสุภาพ ปัญญา เกียรติยศ มารยาทและ ควรละเว้นในสิ่งที่ไม่ดีเช่น ความริษยา ความเกียจคร้าน การพูด ปด การพูดคำหยาบนอกจากนี้ยังได้สอนให้มนุษย์เราควรเตรียม ใจให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เป็นสัจธรรมชีวิตคือ ความไม่แน่นอนความชรา และความตาย

๒๖. •คุณค่าด้านวรรณศิลป์ •การใช้ถ้อยคำตรงไปตรงมา ทำให้เข้าใจง่าย •ยกตัวอย่าง เช่น อารี ขุ่นข้อง สุจริตจิตโอบอ้อม ดาพรั่ง พร้อมแฮ ใจโปร่งกราฟศรี ชอบต้องยินดี สิ่งเกษมสุขเปรมปรี สามสิ่งสมควรต้อง

๒๗. •ข้อคิดที่ได้รับ 1.ไม่ควรประมาทในการดำเนินชีวิต ทุกสิ่งในโลกนี้มี การเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ 2.เราไม่ควรประพฤติปฏิบัติตนในทางที่ไม่ดี เช่น ดุร้าย หยิ่ง เกียจคร้าน และอกตัญญู 3.ความสุภาพ ความรัก การมีมารยาทดี มีจิตใจ โอบอ้อมอารี ทำให้เป็นผู้อ่อนโยน มีความสุข อารมณ์เบิกบาน ผู้อื่นย่อมต้องการอยู่ใกล้

๒๘. •ข้อคิดที่ได้รับ 4. การใช้คำพูดที่สุภาพ จริงใจ มีมารยาทจะทำให้ได้รับ ความรัก และชื่นชมจากผู้อื่น 5. การประพฤติปฏิบัติในสิ่งดี และละเว้นสิ่งที่ควรเกลียด จะนำไปสู่ความสุข ความเจริญในชีวิต 6. บุคคลใดชื่อว่าบัณฑิตควรชอบและชื่นชมความกล้า ความสุภาพ ปัญญา เกียรติยศ และมารยาท 7. มนุษย์ควรเตรียมใจให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เป็นสัจธรรมของชีวิต

๒๙. •อ้างอิง https://sites.google.com/site/thaigood2/6 http://www.homelittlegirl.com/index.php? topic=7245

ผู้จัดทำ นางสาวนริศรา ดารามัน รหัสนักศึกษา ๖๒๐๖๕๑๐๑๑๘ คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook