Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วิชาการจัดสารสนเทศ (1)

วิชาการจัดสารสนเทศ (1)

Published by librarywc1234, 2022-09-01 06:17:22

Description: วิชาการจัดสารสนเทศ (1)

Search

Read the Text Version

วิชาการจัดสารสนเทศ ครูพิมพ์ขวัญ ก้องสุวรรณคีรี แบบฝึกทักษะการใช้หนังสือบันเทิงคดี รายวิชาการจัดการสารสนเทศ ม.3 โรงเรียนวิเชียรมาตุ

แบบฝึกทักษะการใช้หนังสือบันเทิงคดี รายวิชาการจัดการสารสนเทศ ม.3 ใบความรู้ บันเทิงคดี คืองานเขียนที่มุ่งให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่านเป็นสำคัญ ผู้เขียนจะผูกเป็น เรื่องราวมีตัวละคร ฉาก และเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อมุ่งประเทืองอารมณ์แก่ผู้อ่าน บางเรื่อง อาจแฝงความรู้และคุณค่าทางจริยธรรมไว้ด้วย บันเทิงคดีอาจแบ่งเป็นประเภทย่อยๆ ได้ ดังนี้ 1. เรื่องสั้น เป็นเรื่องเล่าขนาดสั้นแต่งเป็นร้อยแก้ว มีตัวละครน้อย มีเหตุการณ์เพียงหนึ่ง หรือสองเหตุการณ์ 2. นวนิยาย เป็นเรื่องเล่าขนาดยาวแต่งเป็นร้อยแก้ว มีตัวละครหลายตัว และมีการกล่าว ถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวละครนั้นๆ โดยใช้บทสนทนา ฉาก บรรยากาศ เป็นองค์ ประกอบสำคัญ เช่น 3.บทละคร แบ่งเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ บทละครพูดและบทละครรำ เป็นบทที่ แต่งขึ้น สำหรับให้ตัวละครเจรจากันตามบทบาทในเรื่อง มีทั้งที่เป็นร้อยกรอง และร้อยแก้ว

ใบความรู้ แบบฝึกทักษะการใช้หนังสือบันเทิงคดี รายวิชาการจัดการสารสนเทศ ม.3 เรื่องสั้น เรื่ องสั้น มีลักษณะคล้ายนิทานคือ เนื้ อเรื่ องและตัวละครสมมุติขึ้น แต่การ ดำเนินเรื่ องไม่เหมือนกัน เรื่ องสั้นกล่าวถึงนิสัย กิริยาอาการ และคำพูดตัวละคร ละเอียดชัดแจ้งกว่านิทานและเป็นไปตามปกติวิสัยที่อาจเกิดได้จริง ส่วนนิทานอาจ กล่าวถึงเรื่ องที่พ้นวิสัยหรืออิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ก็ได้ เรื่ องสั้นมีลักษณะคล้ายนิทาน อย่างสั้นเป็นอันมาก แต่อย่างไรก็ดี เรื่ องสั้นมีลักษณะสำคัญของตนเองโดยเอกเทศ องค์ประกอบของเรื่องสั้น เรื่องสั้นมีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้ ๑. เค้าเรื่อง เน้นจุดประสงค์จุดใดจุดหนึ่งเพียงอย่างเดียว ๒. ตัวละคร ควรมีน้อยที่สุด มีเฉพาะตัวที่สำคัญเท่านั้น ตัวประกอบไม่มีเลยก็ได้ ๓. บทเจรจา รวบรัด ดำเนินไปสู่จุดประสงค์โดยเร็วที่สุด ๔. ฉาก มีเฉพาะเท่าที่จำเป็นแก่เหตุการณ์และช่วงเวลาที่เกิดขึ้น ๕. การดำเนินเรื่ อง มีการผูกปมเพื่ อสร้างความคาดคะเนขึ้นในใจของผู้อ่าน การดำเนินเรื่ องเพื่ อคลี่คลายปมนั้นเป็นไปทีละน้อยจนถึงจุดสุดยอด ซึ่งเป็นตอน ไขปมทั้งหมดและเป็นตอนสำคัญของเรื่ อง ตัวอย่างเรื่องสั้น ได้แก่ เรื่อง เศรษฐศาสตร์ในห้องแถว ของ หยก บูรพา เรื่อง ศิลปินเอก ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และเรื่อง นิดๆ หน่อยๆ ของ ดอกไม้สด

แบบฝึกทักษะการใช้หนังสือบันเทิงคดี รายวิชาการจัดการสารสนเทศ ม.3 ใบความรู้ ลักษณะของเรื่องสั้น ๑. ในการเปิดเรื่องของเรื่องสั้นจะต้องกำหนดเหตุการณ์เพียงอย่างเดียว ๒. มีตัวละครที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในท้องเรื่องเพียงตัวเดียวเท่านั้น ๓. โครงเรื่องต้องประกอบด้วย “ปม” หรือข้อความที่ทำให้ผู้อ่านฉงน และ อยากจะรู้ แล้วดำเนินเรื่องพาให้ผู้อ่านสนใจขึ้นทุกทีจนถึงจุดสุดยอดของเรื่อง ซึ่งเรียกกันว่า “ไคลแมกซ์” (Climax) ๔. เรื่องสั้น มีความกระชับและรัดกุม ใช้คำน้อยแต่ได้ความมาก ๕. ต้องให้ความรู้สึกโดยเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อผู้อ่านจบแล้ว ควรจะ ได้รับรสหรืออารมณ์สะเทือนใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ความรู้สึกยินดี ตื่นเต้น สยดสยอง

แบบฝึกทักษะการใช้หนังสือบันเทิงคดี รายวิชาการจัดการสารสนเทศ ม.3 ใบความรู้ นวนิยาย คือ วรรณกรรมร้อยแก้วที่แต่งขึ้นโดยมีความยาวพอประมาณ โดยโครงเรื่องและตัวละครได้จำลองจากชีวิตจริง องค์ประกอบของนวนิยาย สิ่งสำคัญของนวนิยายที่จะต้องมี ๖ ประการ ดังนี้ คือ ๑) โครงเรื่อง (Plot) คือ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเรื่อง ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องเป็นเหตุผลต่อกัน โดยมีความขัด แย้งที่ก่อให้เกิดการต่อสู้ทำให้เรื่องดำเนินไปอย่างน่าสนใจและติดตาม โครงเรื่องของนวนิยายมี ๒ ชนิด คือ โครงเรื่องใหญ่ (main plot) คือ แนวที่ผู้ประพันธ์ ต้องการให้เรื่องดำเนินไป ต้องมีการผูกปมเรื่องให้ซับซ้อนและคลี่คลายเงื่อนปมเหล่านี้ในตอน จบ และโครงเรื่องย่อย (sub plot) คือ เรื่องที่แทรกอยู่ในโครงเรื่องใหญ่มีความสำคัญน้อยกว่า แต่เป็นส่วนที่เพิ่มความสนุกสนาน แก่เนื้อเรื่อง ฉะนั้นในนวนิยายเรื่องหนึ่งอาจมีโครงเรื่องย่อยได้หลายโครงเรื่อง ๒) ตัวละคร (Character) คือ ผู้ทำให้เกิดเหตุการณ์ในเรื่อง หรือเป็นผู้แสดง พฤติกรรมต่าง ๆ ในเรื่อง ตัวละครนี้นับ เป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งของนวนิยาย เพราะถ้าไม่มีตัวละครแล้ว เรื่องราวต่าง ๆ ในนวนิยายก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ ตัวละคร ของนวนิยาย มี ๒ ประเภท คือ ตัวละครเอก (the major character) คือตัวละครซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดำเนินเรื่องโดย ตลอด หรือ เป็นศูนย์กลางของเรื่อง และ ตัวละครประกอบหรือตัวละครย่อย (the minor character) คือตัวละครซึ่งมีบทบาท ในฐานะเป็นส่วนประกอบของการดำเนินเรื่องเท่านั้น แต่ก็ต้องมีส่วนช่วยเสริมเนื้อเรื่องและตัวละครสำคัญให้เด่นขึ้นด้วย ๓) บทสนทนา (Dialogue) คือ การสนทนาโต้ตอบระหว่างตัวละครในนวนิยาย เป็นส่วนที่ทำให้นวนิยายมีลักษณะ คล้ายความจริงมากที่สุด บทสนทนาที่ดีต้องเหมาะสมกับบุคลิกภาพของตัวละคร ต้องสอดคล้องกับบรรยากาศในเรื่องและที่ สำคัญต้องมีลักษณะสมจริง คือ มีคำพูดที่เหมือนกับบุคคลในชีวิตจริงใช้พูดจากัน ๔) ฉาก (Setting) คือ เวลาและสถานที่รวมทั้งสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่ช่วยบอกให้ผู้อ่านรู้ว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อใด ที่ไหน ที่นั้นมีลักษณะอย่างไร นวนิยายโดยทั่วไปจะสร้างฉากให้เป็นส่วนประกอบของเรื่อง เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจใน เหตุการณ์และเวลาที่ทำหนดไว้ในเนื้อเรื่อง หรือช่วยกำหนดบุคลิกลักษณะของตัวละคร ช่วยสื่อความคิดของผู้แต่ง หรือช่วยให้ เรื่องดำเนินไป ๕) ความคิดเห็นของผู้แต่ง (Point of View) คือ ความคิดเห็น ทัศนะ หรือปรัชญา ของผู้เขียน ซึ่งสอดแทรกอยู่ใน พฤติกรรมของตัวละคร หรือ คำพูดของตัวละคร ในการเสนอความคิดเห็นหรือแนวคิดนี้ ผู้แต่งจะไม่เสนอออกมาโดยตรง มักจะ สอดแทรกซ่อนเร้นอยู่ในพฤติกรรมของตัวละคร ๖) ทำนองแต่ง (Style) คือแบบแผนและลักษณะท่วงทำนองในการแต่ง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของผู้ประพันธ์ เช่น การเลือกใช้คำ ท่วงทำนองโวหาร และน้ำเสียงของผู้แต่ง (แต่งแบบแสดงอารมณ์ขัน อ่อนโยน ล้อเลียน ) เป็นต้น

แบบฝึกทักษะการใช้หนังสือบันเทิงคดี รายวิชาการจัดการสารสนเทศ ม.3 ใบความรู้ แบ่งออกเป็น 12 ประเภท คือ 1. นวนิยายรัก เรื่องเกี่ยวกับความรักระหว่างชายหญิง 2. นวนิยายชีวิตครอบครัว เนื้อเรื่องมักจะเป็นปัญหาต่าง ๆ ในครอบครัวแล้วปัญหานั้น ส่งผลมายังพฤติกรรมของบุคคล เช่น เนื้อคู่ นิจ หนึ่งในร้อย 3. นวนิยายสะท้อสภาพสังคม มีเรื่องราวเกี่ยวกับสังคม ส่วนใดส่วนหนึ่งในสมัยหนึ่ง มีลักษณะของนวนิยายสมจริงด้วย เช่น ละครแห่งชีวิต (ม.จ.อากาศ ดำเกิง) 4. นวนิยายโลดโผน เป็นนวนิยยายที่มีเนื้อเรื่องตื่นเต้น ดำเนินเรื่องรวดเร็ว เช่น เหยี่ยวราตรี (ส.เนาวราช) 5. นวนิยายสืบสวนสอบสวน มีลักษณะเช่นเเดียวกันนวนิยายโลดโผน แต่เน้นหนักด้านสืบสวนสอบสวนคดีต่าง ๆ เช่น เล็บครุฑ (ส.เนาราช) 6. นวนิยายผจญภัย มีเรื่องราวเกี่ยวกับการผจญภัย เช่น ลูกไพร ส่องไพร 7. นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ คือ นวนิยายที่ใช้ฉากและตัวละครที่เป็นจริง ใช้ความจริง หรือเหตุการณ์ตอนใดตอนหนึ่งใน ประวัติศาสตร์เป็นโครงเรื่อง แต่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เช่น บางระจัน (ไม้เมืองเดิม) 8. นวนิยายวิทยาศาสตร์ แต่งขึ้น โดยอาศัยเค้าความจริงทางวิทยาศาสตร์ และผู้เขียนต้องใช้จินตนาการประกอบด้วย เช่น ศัตรูที่มองไม่เห็นตัว สู่อวกาศ โดย จันตรี ศิริบุญรอด 9. นวนิยายอิงพุทธศาสนา มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับศาสนาพุทธ หรือ อาศัยหลักฐานในพุทธศาสนาเป็นโครงเรื่อง เช่น กามนิต แปลโดย เสถียร โกเศศ และนาคะประทีป 10. นวนิยายตลก เขียนขึ้นเพื่อให้ความสนุกเพลิดเพลิน แก่ผู้อ่าน หัสนิยายมักเป็นเรื่องสั้น เช่น พลนิกร กิมหวงน ของ ป. อินทรปาลิต 11. นวนิยายการเมืองเป็นนวนิยายเกี่ยวกับการเมือง การปกครองตลอดจนปัญหาสังคม เป็นนวนิยายที่หนักเกินไปสำหรับเด็ก แต่บางเรื่องเด็กก็ชอบ เช่น ไผ่แดง ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช 12. นวนิยายแนวจิตวิทยา เป็น นวนิยายที่เขียนขึ้นโดยอาศัยหลักจิตวิเคราะห์

แบบฝึกทักษะการใช้หนังสือบันเทิงคดี รายวิชาการจัดการสารสนเทศ ม.3 ใบความรู้ วรรณกรรมสำหรับเยาวชน หมายถึง หนังสือที่เขียนขึ้นเป็นพิเศษสำหรับเด็ก เขียนให้เด็กโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดๆ ก็ตาม และรวมถึงหนังสือที่เขียนขึ้นสำหรับผู้ใหญ่ที่เด็กชอบด้วย ไม่เพียงแต่อ่านแล้วได้รับความรื่นรมย์เท่านั้น แต่ต้องมี คุณภาพทางด้านเนื้อหาและได้มาตรฐานทางศิลปะ เหมาะกับระดับความสามารถในการอ่านและความเข้าใจของ เด็กในแต่ละวัย ประเภทของวรรณกรรมเยาวชน -นิทานภาพ : เหมาะกับเด็กวัยเล็ก มีแนวคิดแค่ 1 หรือ 2 เท่านั้น -บทเพลงกล่อมเด็ก : ทำให้เด็กคุ้นเคยก่อนไปอ่านบทกวีที่ยากยิ่งขึ้น -นิทานพื้นบ้าน : การประสบความสำเร็จ การต่อสู้เพื่อมีชีวิตอยู่ ไม่มีความก้าวร้าว ความดีชนะความชั่ว -นิทาน , ตำนาน , มหากาพย์ : เป็นมรดกทางวรรณกรรมที่เด็กควรรู้ เรียนรู้ถึงความกล้า สัจจะธรรมของชีวิต ความสนุกสนาน -แฟนตาซี : วรรณกรรมที่ดึงดูดใจเด็กได้มากที่สุด รวมไปถึงเรื่องโรแมนติก -หนังสือขำขัน , ตลก : ให้เด็กได้คลายความเครียด -บทกวีสำหรับเด็ก : ทำให้เด็กชื่นชมในภาษา เข้าใจภาษาเป็นอย่างดี -หนังสือเกี่ยวกับสัตว์ : ให้ความสนุกสนาน ความอยากปกป้องรักษาสัตว์ให้กับเด็ก เรียนรู้ถึงความเมตตากรุณา -นวนิยายเรื่องจริง : เรื่องต่างๆ ที่เห็นได้ในชีวิตจริง รู้จักโลกมากยิ่งขึ้น (เพื่อน , ความรักของพ่อแม่ , ความ ต้องการการยอมรับ , ครอบครัว , การเหยียดสีผิว) -นวนิยายผจญภัย : เด่นที่การกระทำ ปริศนา อันตราย ความเครียด ลึกลับ ผ่านอุปสรรคต่างๆด้วยการกระทำที่ ไม่ธรรมดา -นวนิยายประวัติศาสตร์ : เรียนรู้ประวัติศาสตร์ได้โดยที่เด็กไม่เบื่อ -ชีวประวัติ : เรียนรู้เรื่องราวในอดีต ความกล้า การดำเนินชีวิตที่ดี ความภาคภูมิใจ -สารคดี : ตอบสนองความต้องการและความอยากรู้ของเด็ก

แบบฝึกทักษะการใช้หนังสือบันเทิงคดี รายวิชาการจัดการสารสนเทศ ม.3 หนั งสือเล่มโปรด ตัวละคร ฉาก/สถานที่ ชื่อเรื่อง....................... เหตุการณ์ เหตุการณ์ที่ 1 เหตุการณ์ที่ 2 เหตุการณ์ที่ 3 ผลสุดท้าย

แบบฝึกทักษะการใช้หนังสือบันเทิงคดี รายวิชาการจัดการสารสนเทศ ม.3 Mind mapping ให้นักเรียนทำแผนผังความคิดในหัวข้อ \"หนังสือบันเทิงคดี\"

แบบฝึกทักษะการใช้หนังสือบันเทิงคดี รายวิชาการจัดการสารสนเทศ ม.3 เกมจับคู่รู้คุณค่า ให้นักเรียนสแกนคิวอาร์โค้ด ลงชื่อเข้าร่วมในเกม จับกลุ่มเนื้อหาให้ตรงกับหัวข้อ มารู้จักบันเทิงคดีกันเถอะ ให้นักเรียนสแกนคิวอาร์โค้ด ลงชื่อและเข้าทำแบบทดสอบเรื่อง\"หนังสือบันเทิงคดี\"

รายวิชาการจัดการสารสนเทศ ม.3 ครูพิมพ์ขวัญ ก้องสุวรรณคีรี โรงเรียนวิเชียรมาตุ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook