Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เด็กสมาธิสั้น คู่มือสำหรับคุณครู

เด็กสมาธิสั้น คู่มือสำหรับคุณครู

Published by ส่งเสริม โคราช4, 2020-10-21 06:37:25

Description: เด็กสมาธิสั้น คู่มือสำหรับคุณครู

Search

Read the Text Version

เดก็ สมาธสิ ั้น คู่มือส�ำ หรับครู

ชื่อหนงั สือ : เด็กสมาธิสัน้ คู่มอื ส�ำ หรบั ครู จัดพิมพ์โดย : สถาบนั สุขภาพจิตเด็กและวัยรนุ่ ราชนครินทร์ พมิ พค์ รั้งท่ี 1 : สงิ หาคม 2555 จ�ำ นวน 1,000 เล่ม พมิ พ์คร้ังท่ี 2 : มถิ ุนายน 2556 จ�ำ นวน 5,000 เล่ม (ฉบับปรบั ปรงุ ) พิมพ์ครง้ั ท่ี 3 : ธนั วาคม 2556 จ�ำ นวน 2,000 เล่ม (ฉบบั ปรับปรุง) พมิ พ์ครั้งที่ 4 : ธนั วาคม 2557 จ�ำ นวน 2,000 เล่ม (ฉบบั ปรบั ปรงุ ) พิมพค์ ร้งั ที่ 5 : มนี าคม 2558 จำ�นวน 3,000 เล่ม (ฉบับปรับปรงุ ) พิมพ์ครง้ั ท่ี 6 : สงิ หาคม 2560 จ�ำ นวน 500 เลม่ พมิ พ์ที่ : บรษิ ทั บียอนด์ พับลิสชงิ่ จ�ำ กัด ได้รบั อนุญาตให้จดั พิมพจ์ ากสถาบนั ราชานุกูล 2 เด็กสมาธสิ ้นั คูม่ อื ส�ำ หรับครู

คำ�น�ำ โรคสมาธสิ น้ั นน้ั แทจ้ รงิ แลว้ ไดร้ บั การบรรยายไวใ้ นวารสารทางการแพทย์ อย่างเป็นทางการมากว่า 100 ปีแล้ว เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีลักษณะ อยู่ไม่น่ิง มีปัญหาในการคงสมาธิ และมักพบว่ามีปัญหาในการควบคุม ตนเองและเกิดปัญหาพฤติกรรมต่างๆ ให้ผู้คนรอบข้างปวดศีรษะได้บ่อยๆ ในปจั จบุ นั ทง้ั ในวงการแพทยแ์ ละวงการการศกึ ษาไดใ้ หค้ วามสนใจโรคสมาธสิ น้ั อย่างจริงจัง ทำ�ให้มีการศึกษาวิจัยและรวบรวมประสบการณ์ท่ีเก่ียวข้องกับ เดก็ สมาธสิ น้ั จนเกดิ ความรเู้ กย่ี วกบั วธิ กี ารดแู ลรกั ษาและชว่ ยเหลอื เดก็ สมาธสิ น้ั อยา่ งมากมาย คู่มือเล่มนี้เป็นการรวบรวมความรู้ทั้งจากตำ�ราและจากข้อมูลท่ีได้ จากการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างผู้ปกครอง ครูและ ครูการศึกษาพิเศษท่ีมีประสบการณ์กับเด็กสมาธิสั้น โดยรวบรวมลักษณะ อาการทพี่ บไดบ้ อ่ ย ปญั หาพฤตกิ รรมรวมถงึ แนวทางการดแู ลแกไ้ ขปญั หาตา่ งๆ ที่ง่ายต่อการปฏิบัติจริง และคู่มือเล่มน้ีน่าจะเป็นตัวช่วยที่ดีในการช่วยคุณครู ในการดแู ลเดก็ สมาธสิ ้ันตอ่ ไป คณะผูจ้ ดั ท�ำ เด็กสมาธิสั้น คมู่ อื สำ�หรับครู 3

สารบัญ มาท�ำ ความรจู้ กั กับโรคสมาธสิ ัน้ 7 ข้อสังเกตเดก็ สมาธิสนั้ แตล่ ะชว่ งวยั 11 โรคนพี้ บได้บ่อยแค่ไหน 15 เพราะอะไรจึงเปน็ โรคสมาธิส้นั 16 ปญั หาพฤตกิ รรมท่พี บร่วม 17 แพทย์ตรวจอย่างไรถงึ บอกได้ว่าเด็กเปน็ โรคสมาธสิ ั้น 18 หลากหลายคำ�ถามเกี่ยวกบั โรคสมาธิส้ัน 19 การชว่ ยเหลือเดก็ ท่เี ปน็ โรคสมาธสิ ั้น 23 การช่วยเหลือเด็กสมาธสิ นั้ ในโรงเรยี น 25 - การชว่ ยเหลือด้านการเรยี น 26 - การพฒั นาทกั ษะทางสงั คม 33 - การปรับพฤตกิ รรม 34 4 เดก็ สมาธสิ น้ั คมู่ อื ส�ำ หรับครู

สารบัญ ปญั หาพฤติกรรมท่ีพบบ่อยในโรงเรียน 38 แนวทางการตดิ ตามพฤติกรรมเด็กสมาธิส้นั ในชัน้ เรียน 42 เอกสารอ้างอิง 45 เด็กสมาธสิ น้ั คมู่ อื สำ�หรบั ครู 5

เดก็ สมาธิสั้น คมู่ ือสำ�หรบั ครู 6 เด็กสมาธิส้นั ค่มู อื ส�ำ หรบั ครู

เดก็ สมาธสิ ้นั มาท�ำ ความรู้จักกบั โรคสมาธสิ ้นั โรคสมาธสิ ้นั เป็นกลุม่ ความผิดปกตขิ องพฤตกิ รรม ประกอบด้วย o ขาดสมาธิ o ซน อย่ไู มน่ ง่ิ o หนุ หนั พลันแลน่ ขาดการยับย้ังใจตนเอง โดยแสดงอาการอย่างต่อเน่ืองยาวนาน จนทำ�ให้เกิดผลกระทบ ต่อการใช้ชีวิตประจำ�วันและการเรียน ซึ่งเป็นพฤติกรรมท่ีไม่เหมาะสมกับ อายุและระดับพัฒนาการ โดยท่ีความผิดปกติดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนอายุ 7 ปี อาการตอ้ งเปน็ มาตลอดตอ่ เนอ่ื งไมต่ ่ํากว่า 6 เดอื น เดก็ สมาธิสน้ั คู่มือส�ำ หรับครู 7

อาการของโรคสมาธิส้ันน้ันแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มอาการใหญ่ คือ กลมุ่ อาการขาดสมาธิ และกลมุ่ อาการซน/หนุ หนั พลันแล่น กลุ่มอาการขาดสมาธิ • ไม่สามารถจดจำ�รายละเอียดของงานท่ีทำ�ได้ หรือทำ�ผิด เนื่องจาก ขาดความรอบคอบ • ไม่มีสมาธิในการทำ�งาน หรือการเล่น • ไม่สนใจฟงั ค�ำ พูดของผอู้ ่นื และดูเหมอื นไมฟ่ ังเวลาพดู ด้วย • ไม่ปฏบิ ัติตามค�ำ สัง่ และทำ�งานไม่เสร็จหรือผิดพลาด • ไม่สามารถรวบรวมการท�ำ งานให้เป็นระเบยี บ • หลกี เล่ียง ไม่ชอบ หรือลงั เลที่จะทำ�งานซึง่ ตอ้ งใชค้ วามคดิ • ปลอ่ ยปละละเลยสง่ิ ของทจ่ี ำ�เปน็ ส�ำ หรบั การท�ำ งาน ท�ำ ของใชส้ ว่ นตวั หรือของจ�ำ เปน็ สำ�หรบั งานหรือการเรยี นหายอยู่บอ่ ยๆ • วอกแวกงา่ ย เสยี สมาธิ แมม้ ีเสยี งรบกวนเพยี งเล็กน้อย • ลืมกจิ วตั รที่ทำ�เป็นประจำ� 8 เดก็ สมาธิสนั้ คูม่ ือสำ�หรับครู

กล่มุ อาการซน / หนุ หนั พลันแลน่ • ยุกยกิ อยไู่ มส่ ขุ ไมส่ ามารถอยู่นิง่ ๆ ได้ มือ และเท้าขยับไปมา • ในสถานทที่ ีเ่ ด็กจ�ำ เป็นตอ้ งนั่งเฉยๆ จะลุกจากที่นั่งไปมา • มักวิ่งไปมา หรือปีนป่ายในสถานท่ีท่ีไม่ควรทำ� ถ้าผู้ป่วยเป็นวัยรุ่น จะมีความรสู้ กึ กระวนกระวายใจ • ไมส่ ามารถเลน่ หรอื พักผอ่ นเงียบๆได้ • ตอ้ งเคลือ่ นไหวตลอดเวลาเหมอื นตดิ เครือ่ งยนต์ • พดู มาก • พูดสวนทันทีกอ่ นผ้ถู ามจะพูดจบ • รอคอยตามระเบียบไมไ่ ด้ • ขัดจังหวะ ก้าวร้าวผู้อื่น หรือสอดแทรกเวลาผู้อ่ืนกำ�ลังคุยกัน หรือแยง่ เพ่ือนเล่น เด็กสมาธิสน้ั คมู่ ือส�ำ หรับครู 9

10 เดก็ สมาธสิ ้นั ค่มู อื สำ�หรบั ครู

ข้อสงั เกต เด็กสมาธสิ นั้ แต่ละชว่ งวยั คุณครจู ะสังเกตเด็กสมาธิสั้นได้อย่างไรบา้ ง วยั อนบุ าล เด็กมักมีประวัติในช่วงขวบปีแรกว่ามีลักษณะเล้ียงยาก เช่น กินยาก นอนยาก รอ้ งกวนมาก มีอารมณ์หงดุ หงดิ แต่เด็กจะมพี ัฒนาการคอ่ นข้างเรว็ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งไข่ คลาน ยนื เดิน หรอื ว่ิง เม่ือเริ่มเดนิ ก็จะซนอยไู่ มน่ ่งิ วิ่งหรือปีนป่ายไม่หยุด เมื่อเข้าอนุบาลคุณครูมักจะเห็นว่าเด็กยุกยิกอยู่ไม่นิ่ง ลุกจากเก้าอี้ เดินออกนอกห้อง ปีนป่าย ค้นร้ือสิ่งของ พลังงานมาก ไมน่ อนกลางวัน เล่นกับเพ่อื นแรงๆ กะแรงไม่ถกู เดก็ สมาธสิ นั้ คู่มือส�ำ หรบั ครู 11

12 เดก็ สมาธสิ ้นั ค่มู อื สำ�หรบั ครู

วยั ประถมศกึ ษา เมื่อเข้าวัยเรียน จะสังเกตได้ว่าเด็กมีสมาธิสั้น วอกแวกง่าย ไมส่ ามารถนงั่ ท�ำ งานหรอื ท�ำ การบา้ นไดจ้ นเสรจ็ ท�ำ ใหม้ ปี ญั หาการเรยี นตามมา การควบคุมตนเองของเด็กไม่ค่อยดี อาจมีพฤติกรรมก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย ทนตอ่ ความคบั ขอ้ งใจไมค่ อ่ ยได้ ท�ำ ใหเ้ กดิ ปญั หากบั เพอื่ นๆ เมอ่ื อยใู่ นหอ้ งเรยี น ก็ไม่สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนเพื่อนคนอื่นๆ มักจะรบกวนช้ันเรียน ไม่ค่อยให้ ความร่วมมือในการปฏิบตั ติ ามกฎเกณฑ์ของหอ้ งเรยี น วยั มธั ยมศึกษา เม่ือย่างเข้าวัยรุ่น อาการซนอยู่ไม่นิ่งในเด็กบางคนอาจลดลง แตค่ วามไมม่ สี มาธแิ ละขาดความยบั ยง้ั ชง่ั ใจของเดก็ จะยงั คงอยู่ ปญั หาการเรยี น จะหนักข้ึน เพราะอาการขาดสมาธิที่ไม่ได้รับ การแก้ไขอย่างถูกต้อง ด้วยลักษณะท่ีชอบ ความตื่นเต้นท้าทาย เบื่อง่าย ประกอบกับ ความล้มเหลวตั้งแต่เล็กและความรู้สึกว่าตนเอง ไม่ดี เด็กอาจจะเกิดพฤติกรรมเกเร รวมกลุ่ม กบั เพอ่ื นทม่ี พี ฤตกิ รรมคลา้ ยกนั ชกั ชวนกนั ท�ำ เรอื่ ง ฝ่าฝนื กฎของโรงเรยี นจนอาจเลยเถดิ ไปถงึ การใช้ สารเสพติดได้ เด็กสมาธสิ ัน้ คู่มือสำ�หรับครู 13

14 เดก็ สมาธสิ ้นั ค่มู อื สำ�หรบั ครู

โรคน้ีพบไดบ้ อ่ ยแค่ไหน การสำ�รวจในประเทศไทย พบว่ามีความชุกประมาณร้อยละ 5 โดย พบในกลมุ่ เดก็ นกั เรยี นชาย มากกว่ากล่มุ เด็กนักเรียนหญงิ ในหอ้ งเรียนทีม่ เี ดก็ ประมาณ 50 คน จะมีเด็กสมาธิสั้น 2 - 3 คน เด็กสมาธิส้ัน ค่มู อื สำ�หรบั ครู 15

เพราะอะไรจงึ เปน็ โรคสมาธิส้นั โรคสมาธสิ ั้นอาจมสี าเหตมุ าจากองค์ประกอบตอ่ ไปนี้ o พันธุกรรม โรคน้ีมีการถ่ายทอดทางยีน สังเกตได้ในครอบครัว ของเด็กสมาธิส้ัน อาจมีพ่ี หรือน้อง หรือญาติของเด็กมีอาการ สมาธิสั้นด้วย o สารเคมีในสมองหลงั่ ผิดปกติ เช่น โดปามนี เซโรโทนิน o การได้รับบาดเจ็บอาจเกิดต้ังแต่เด็กอยู่ในครรภ์หรือหลังคลอด เช่น ขาดออกซเิ จน อุบตั ิทางสมอง o โรคสมองอกั เสบ o การได้รบั สารพษิ o มารดาดม่ื สรุ า สูบบหุ ร่ีขณะต้ังครรภ์ สาเหตุดังกล่าวส่งผลให้มีการทำ�งานของสมองส่วนหน้าที่ทำ�หน้าที่ ในการควบคุมพฤติกรรมทำ�งานได้ไม่เต็มท่ี เนื่องจากสารเคมีในสมอง หลั่งผิดปกติ เชน่ สารโดปามีน เซโรโตนนิ ปัจจุบันเช่ือว่าโรคสมาธิสั้นเป็นความผิดปกติของสมอง ไม่ได้ เกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของพ่อแม่ หรือการเล้ียงดูเด็กผิดวิธี (แต่การเลี้ยงดูท่ีผิดวิธีจะทำ�ใหอ้ าการของโรครุนแรงขึ้น) 16 เดก็ สมาธิสน้ั คู่มือส�ำ หรบั ครู

ปัญหาพฤติกรรมท่ีพบร่วม โรคสมาธสิ น้ั เกดิ จากความบกพรอ่ งในการทำ�งานของสมอง จงึ สามารถ พบร่วมกบั ความบกพรอ่ งในความสามารถอ่นื ร่วมดว้ ยกับโรค เชน่ • ความบกพร่องในทกั ษะการเรียน ถือเป็นความบกพรอ่ ง ทางการเรยี นรู้ทพ่ี บได้บ่อยในเดก็ วยั เรียน เด็กทีเ่ ป็นโรคสมาธสิ ั้นจะพบภาวะน้ี รว่ มดว้ ยรอ้ ยละ 20 - 30 เดก็ จะมีลกั ษณะ อา่ นหนงั สือ เขยี นหนังสอื คำ�นวณไมไ่ ด้ หรอื ทำ�ไดบ้ ้างแตแ่ ตกตา่ งจากเด็กอนื่ 2 ชัน้ เรียน ทงั้ ทฉี่ ลาดเท่ากัน • การพดู และการส่ือความส่ือความหมาย มกั มปี ระวัตพิ ดู ชา้ ในวัยเด็ก เมอ่ื โตขนึ้ จะพูดมาก และพดู เรว็ แตจ่ ะมคี วามเขา้ ใจในสง่ิ ทคี่ นอน่ื พดู ดว้ ยตาํ่ กวา่ คนอน่ื • ใช้มือไม่คล่อง เด็กกลุ่มหน่ึงจะใช้มืองุ่มง่าม สับสนซ้ายขวา เขยี นหนังสอื ช้า โย้เย้ ท�ำ งานไมท่ ัน • ปสั สาวะรดท่นี อนหรืออ้นั ปัสสาวะไม่ค่อยได้ • ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ เด็กท่ีเป็นโรคสมาธิสั้นจะด้ือ ไม่เช่ือฟัง ชอบเถียง ก้าวร้าว โกรธเร็ว หลายคนไม่ทำ�ตาม กฎเกณฑข์ องโรงเรยี น • โรคกระตุก อาจมีการกระตุกของกล้ามเน้ือ บริเวณค้ิว แก้ม มมุ ปาก คาง คอ บางคนมีเสยี งในล�ำ คอ เดก็ สมาธิสัน้ คู่มือสำ�หรับครู 17

แพทยต์ รวจอยา่ งไรถึงบอกไดว้ ่า เดก็ เปน็ โรคสมาธิส้นั แพทย์จะตรวจประเมินอย่างละเอียดเพ่ือให้แน่ใจว่าเด็กเป็น โรคสมาธิส้ัน ได้แก่ การซักประวัติ การตรวจร่างกาย (ตรวจหู ตรวจสายตา) ใช้แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก การตรวจทางจิตวิทยา (ตรวจเชาวน์ปัญญา ตรวจวดั ความสามารถดา้ นการเรยี น) และสงั เกตพฤตกิ รรมเดก็ ปจั จบุ นั ยงั ไมม่ ี การตรวจเลอื ดเอก็ ซเรยส์ มอง หรอื การตรวจคลนื่ สมองเพอื่ วนิ จิ ฉยั โรคสมาธสิ น้ั 18 เด็กสมาธสิ น้ั ค่มู อื สำ�หรับครู

หลากหลายค�ำ ถามเกยี่ วกับ โรคสมาธิสนั้ สมาธิสั้น….สนั้ อย่างไรจงึ เรยี กวา่ ผิดปกติ ? อาการขาดสมาธิ ซน อยู่ไม่น่ิง หุนหันพลันแล่น สามารถพบได้ใน คนปกตทิ ว่ั ไป แตส่ �ำ หรบั เดก็ สมาธสิ น้ั นน้ั อาการตอ้ งเปน็ ตลอดเวลา ทกุ สถานที่ ทุกบุคคล จนทำ�ให้เสียหายต่อการเรียน เช่น เรียนไม่ทันเพื่อน ผลการเรียน ตกต่ํา นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันคนอื่น คนใกล้เคียงรู้สึก ร�ำ คาญไมอ่ ยากทำ�งานด้วย เด็กแค่เบ่ือง่ายเวลาทำ�งาน ไม่เห็นซน จะเรียกว่าสมาธิสั้น ไดอ้ ย่างไร ? เป็นไปได้ค่ะ เพราะเด็กบางคนจะมีอาการสมาธิส้ันเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ซนหรือวู่วาม ซึ่งพบได้ในเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง มักทำ�ให้ผู้ใหญ่ มองข้ามไป ถูกวนิ ิจฉยั ได้ช้าและไมไ่ ดร้ บั ความชว่ ยเหลือเทา่ ท่ีควร เดก็ สมาธิสน้ั คู่มอื ส�ำ หรบั ครู 19

บอกวา่ เด็กเปน็ โรคสมาธิส้ัน แล้วท�ำ ไมเดก็ ดทู วี หี รือเลน่ เกม นานเป็นช่ัวโมงๆ ? สมาธิสามารถถูกกระตุ้นได้จากส่ิงเร้าที่น่าสนใจ เช่น โทรทัศน์ หรือเกมคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีภาพและเสียงประกอบเป็นตัวเร้า ความสนใจ ไม่น่าเบ่ือ ดังน้ันเด็กสมาธิสั้นจึงสามารถมีสมาธิจดจ่อกับโทรทัศน์และ เกมคอมพิวเตอร์ได้นานๆ โทรทัศน์และเกมคอมพิวเตอร์จึงเป็นตัวกระตุ้น ความสนใจไดเ้ ปน็ อยา่ งดี การจะพิจารณาว่าเด็กสามารถจดจ่อต่อเนื่องมีสมาธิดีหรือไม่ ควรสังเกต เม่ือเด็กทำ�งานที่ไม่ชอบและงานเป็นงานท่ีน่าเบื่อ (สำ�หรับเด็ก) เชน่ การท�ำ การบ้าน การทบทวนบทเรียน การทำ�งานที่ไดร้ ับมอบหมาย 20 เดก็ สมาธิสน้ั ค่มู ือส�ำ หรับครู

จะเกดิ อะไรไหม…ถา้ ไมร่ กั ษา ? o ในวัยประถมศึกษากลุ่มที่มีสมาธิสั้นอย่างเดียว ไม่มีอาการซน หุนหันพลันแล่น ส่วนหน่ึงจะไม่เกิดอะไร นอกจากผลการเรียน ตํ่ากว่าความสามารถ จะพบอารมณ์ซึมเศร้า มองตัวเองไม่ดี ขาดความมั่นใจในความสามารถของตนเอง o วยั ประถมศกึ ษากลุ่มท่สี มาธสิ น้ั ซน วู่วาม ไมเ่ ชื่อฟังและตอ่ ตา้ น จะพบความหงุดหงิด กังวล เครียด อารมณ์เสียง่าย เบ่ือหน่าย การเรยี น ขาดแรงจงู ใจในการเรยี น มองไมเ่ หน็ คณุ คา่ ภายในตวั เอง พอ่ แมก่ ไ็ มพ่ อใจในผลการเรยี น เขา้ กบั เพอื่ นไดย้ าก พบพฤตกิ รรม ทีย่ ังเปน็ เดก็ ตํา่ กว่าอายุ ดือ้ ตอ่ ตา้ นค�ำ ส่งั จนทำ�ความผดิ รนุ แรงได้ เช่น โกหก ขโมย ไม่ยอมทำ�ตามกฎ ท�ำ ตวั เปน็ นักเลง o เมื่อเข้าวัยรุ่น เด็กมักไปรวมกลุ่มกับเด็กที่เรียนไม่เก่ง พฤติกรรม ต่อต้าน ก้าวร้าว โกหก ขโมย หนีเรียนยิ่งเห็นได้ชัดขึ้น หลายรายเร่ิมใช้ยาเสพติด ในด้านการเรียนท่ีตกต่ําลงมาก เกิดเป็นความเบื่อหน่ายต่อการเรียน และออกจากโรงเรียน กอ่ นวัยอนั ควร เด็กสมาธิส้นั คู่มือสำ�หรับครู 21

22 เด็กสมาธสิ ั้น คู่มือสำ�หรบั ครู

การชว่ ยเหลอื เดก็ ที่เป็นโรคสมาธสิ ั้น การช่วยเหลือเด็กท่ีเป็นโรคสมาธิสั้น อย่างมีประสิทธิภาพน้ันต้องมีการช่วยเหลือ หลายดา้ น จากหลายฝา่ ย ทง้ั แพทย์ ครู และพอ่ แม่ การชว่ ยเหลอื ประกอบดว้ ย • การชว่ ยเหลือด้านจติ ใจ แพทย์จะให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อขจัดความเข้าใจผิดต่างๆ ของพอ่ แมโ่ ดยเฉพาะความเขา้ ใจผดิ ทคี่ ดิ วา่ เดก็ ดอื้ หรอื เกยี จครา้ น และเพ่ือให้เด็กเข้าใจว่าปัญหาที่ตนเองมีน้ันไม่ได้เกิดจากการท่ี ตนเองเป็นคนไมด่ ี • การปรับเปลย่ี นพฤติกรรม จะช่วยให้เด็กมีสมาธิ มีความอดทน ควบคุมตนเองได้ดีข้ึน การปรับพฤติกรรมน้ันหากคุณครูและพ่อแม่ปฏิบัติเป็นไปใน แนวทางเดียวกันพฤติกรรมของเด็กจะปรับเปล่ียนไปในทาง ท่ดี ขี ้นึ ได้ • การชว่ ยเหลือด้านการศกึ ษา เดก็ สมาธสิ น้ั ควรไดร้ บั การจดั การเรยี นการสอนใหเ้ หมาะลกั ษณะ การเรยี นรู้สำ�หรับเด็ก • การรกั ษาดว้ ยยา เดก็ บางคนอาจตอ้ งรกั ษาดว้ ยยา ซงึ่ ยาจะไปกระตนุ้ ใหส้ ารเคมใี น สมองทช่ี อ่ื โดปามนี หลงั่ ออกมามากขน้ึ ท�ำ ใหเ้ ดก็ นง่ิ ขน้ึ และมสี มาธิ มากข้ึน เดก็ สมาธสิ ั้น คมู่ อื สำ�หรับครู 23

24 เด็กสมาธสิ ั้น คู่มือสำ�หรบั ครู

การช่วยเหลือ เดก็ สมาธสิ ้นั ในโรงเรียน การชว่ ยเหลือเด็กสมาธสิ ัน้ ในโรงเรยี นน้นั คณุ ครู สามารถช่วยเหลือไดต้ ามแนวทางดงั ตอ่ ไปน้ี 1. การเรียน : เพิม่ ความสามารถในด้านการเรียน เพื่อช่วยให้เด็กสมาธิส้ันประสบผลสำ�เร็จด้านการเรียน (ตามศักยภาพ) และ เกิดความภาคภมู ิใจในตนเอง 2. สังคม : เพิ่มทักษะทางสังคมท่ีจำ�เป็นต่อการปรับตัวอยู่ร่วมกับ ผอู้ ืน่ ของเด็กสมาธสิ ้นั 3. พฤติกรรม : ลดพฤตกิ รรมปญั หาทร่ี บกวนการเรยี นรู้ อันเป็นผล จากอาการของโรคสมาธิส้นั เดก็ สมาธิสนั้ ค่มู ือสำ�หรับครู 25

1. การช่วยเหลอื ด้านการเรยี น เด็กสมาธิส้ันควบคุมตนเอง จัดระเบียบให้ตนเองได้น้อยหรือ ไม่ได้เหมือนกับเด็กทั่วไป คุณครูควรช่วยจัดระเบียบการเรียนไม่ให้ซับซ้อน ซึง่ สามารถท�ำ ได้ดังนี้ 1.1 การจดั กจิ กรรมประจำ�วนั 1.1.1 กิจกรรมในแตล่ ะวนั ต้องมลี กั ษณะคงท่ี มีตารางเรยี นแนน่ อน 1.1.2 บอกเด็กล่วงหน้า และเตือนความจำ�ทุกคร้ังก่อนมีการ เปลี่ยนแปลง เช่น เตือนก่อนหมดช่ัวโมงเรียน 5 นาที เม่ือหมดชั่วโมงเรียนเตือนเด็กอีกคร้ังเพ่ือเตรียมตัวเรียน ช่วั โมงต่อไป 1.1.3 ทำ�ป้าย ข้อความ สัญลักษณ์ เพ่ือช่วยเตือนความจำ�เด็ก ในการท�ำ กจิ กรรมตา่ งๆ เชน่ ใหเ้ ดก็ เขยี นชอื่ วนั ทตี่ อ้ งใชห้ นงั สอื หรือสมดุ ลงบนปก เพอ่ื จัดตารางเรยี นให้สะดวก 1.2 การจัดสง่ิ แวดล้อมให้เหมาะสมกับการเรยี นรขู้ องเด็ก 1.2.1 การจดั ห้องเรียน • ชน้ั เรยี นทเ่ี หมาะสมกบั เดก็ ควรมขี นาดเลก็ ทม่ี เี ดก็ ไมม่ ากเกนิ ไป เชน่ มีประมาณ 20 คน • สร้างกฎระเบียบท่ีชัดเจน และมีความสม่ําเสมอ คงเส้นคงวา ในการรักษากฎ ทบทวนข้อตกลงบ่อยๆ เช่น ไม่ส่งเสียงดัง ในห้องเรยี น สง่ การบ้านเป็นท่ี เปน็ ต้น • จัดหาท่ีวางของห้องเรียนในตำ�แหน่งเดิม เพ่ือให้เด็กจำ�ง่าย วางใหเ้ ปน็ ทีเ่ ปน็ ทาง 26 เด็กสมาธิสั้น คมู่ ือส�ำ หรับครู

• หลกี เลยี่ งการตกแตง่ หอ้ งเรยี นดว้ ยสสี นั สวยหรู เพราะจะท�ำ ให้ เด็กสนใจส่งิ เรา้ น้นั มากกว่าสนใจการสอนของครู • จดั โตะ๊ เรียนให้เป็นระเบียบ • ใหม้ สี งิ่ ของบนโต๊ะเรียนของเดก็ ให้น้อยทสี่ ดุ 1.2.2 การจัดทีน่ ง่ั • จัดให้นั่งข้างหน้า หรือแถวกลาง เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้ครู เพื่อจะไดด้ ูแลไดอ้ ยา่ งใกลช้ ดิ • ไม่อย่ใู กลป้ ระตูหรือหนา้ ตา่ งทมี่ องเห็นขา้ งนอกหอ้ งเรยี น • ไมใ่ หเ้ พอ่ื นทซ่ี กุ ซนนง่ั อยใู่ กลๆ้ จดั ใหม้ เี ดก็ เรยี บรอ้ ยนง่ั ขนาบขา้ ง เดก็ สมาธิสน้ั คู่มือส�ำ หรับครู 27

1.3 จัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับความสามารถและ ช่วงความสนใจของเด็ก 1.3.1 การเตรยี มการสอน • เตรียมเอกสารทม่ี ีตวั อักษรขนาดใหญ่ อา่ นง่าย พมิ พด์ ว้ ยสีเขม้ มชี ่องไฟกวา้ ง • งานท่ีให้ทำ�ต้องเหมาะสมกับความสนใจและความสามารถ ของเด็ก เด็กในห้องอาจทำ�งานทีละ 20 ข้อ แต่เด็กสมาธิส้ัน อาจให้ทำ�งานทีละ 5 ข้อ เม่ือทำ�เสร็จ 5 ข้อ ก็ให้เด็ก เปลี่ยนอิรยิ าบถ • การเปลี่ยนอิริยาบถเป็นการปลดปล่อยพลังงานในทาง สร้างสรรค์ ช่วยลดความเบื่อของเด็ก ทำ�ให้เรียนได้นานข้ึน เชน่ ชว่ ยครเู ดนิ แจกสมดุ ใหเ้ พอ่ื นในหอ้ ง ชว่ ยลบกระดาน เปน็ ตน้ • เลอื กกจิ กรรมการเรยี นการสอนทตี่ อ้ งใชป้ ระสาทรบั รหู้ ลายดา้ น ทงั้ ดา้ นการฟัง การใชส้ ายตาหรือการลงมอื ปฏิบัติ • ใช้สื่อเปน็ รูปภาพประกอบ เพอ่ื ใหเ้ ดก็ จับประเด็นได้ง่าย 1.3.2 ระหว่างการสอน • เขียนงานทเี่ ด็กตอ้ งทำ�ในช้นั เรียนให้ชัดเจนบนกระดาน (กระดานขาวดกี วา่ กระดานดำ�) อยา่ เขยี นจนแนน่ เตม็ กระดาน • พยายามสง่ั งานดว้ ยวาจาใหน้ อ้ ยทสี่ ดุ หากตอ้ งสง่ั งานดว้ ยวาจา ให้เด็กทบทวนค�ำ ส่ัง • ตรวจสมดุ งานของเดก็ เพอื่ ให้แนใ่ จว่าเด็กจดงานได้ครบถว้ น • ใหเ้ ดก็ ท�ำ งานตามเวลาทก่ี �ำ หนดให้ เมอ่ื ครบเวลาทก่ี �ำ หนดแลว้ งานยังไม่เสรจ็ คณุ ครตู ้องตรวจงาน • ใช้การสอนแบบตวั ต่อตวั เพ่ือควบคุมใหเ้ ดก็ มสี มาธิ 28 เด็กสมาธิส้ัน คูม่ ือสำ�หรบั ครู

• ยืดหยุ่นการเรียนการสอนให้เข้ากับความพร้อมของเด็ก โดยเฉพาะในรายวิชาหลักหรือวิชาท่ียาก เช่นคณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เป็นตน้ • ฝึกให้เด็กตรวจสอบทบทวนผลงาน การจดบนั ทกึ • ช่วยให้เด็กสนใจบทเรียน โดยใช้สีระบายคำ�สำ�คัญ ข้อความ สำ�คัญ วงรอบหรอื ตีกรอบข้อความสำ�คญั ที่ครเู นน้ • ใช้วิธีเตือนหรือเรียกให้เด็กกลับมาสนใจบทเรียน โดยไม่ทำ�ให้ เด็กเสียหน้า เชน่ เคาะท่ีโตะ๊ เดก็ หรือแตะไหลเ่ ดก็ เบาๆ • ให้คำ�ชมเชย หรือรางวัลเล็กๆ น้อยๆ เม่ือเด็กปฏิบัติตัวดี หรือท�ำ สิง่ ท่เี ปน็ ประโยชน์ • สนบั สนนุ จุดเดน่ หรอื ข้อดใี นตวั เด็กใหแ้ สดงออกมา เพอื่ ใหเ้ ด็ก เกิดความภาคภูมใิ จในตนเอง • หลกี เลยี่ งการใช้วาจาต�ำ หนิ ประจาน ประณามที่จะท�ำ ใหเ้ ดก็ รูส้ ึกอับอาย และไม่ลงโทษเดก็ รนุ แรง เช่น การตี • ใชว้ ธิ กี ารตดั คะแนน งดเวลาพกั ท�ำ เวร หรอื อยตู่ อ่ หลงั เลกิ เรยี น (เพ่ือทำ�งานท่คี า้ งอย่ใู หเ้ สร็จ) เมอื่ เด็กทำ�ความผิด 1.3.3 การมอบหมายงาน • ควรพูดช้าๆ ชัดเจน กระชับ ครอบคลุม ไม่ใช้ค�ำ สั่งคลุมเครือ ประชดประชัน บ่น ตำ�หนิติเตียนจนเด็กแยกไม่ถูกว่าครู ใหท้ ำ�อะไร • ใหเ้ ดก็ พดู ทบทวนทคี่ รสู ง่ั หรอื อธบิ ายกอ่ นลงมอื ท�ำ เพอื่ ใหแ้ นใ่ จ วา่ เข้าใจในสิง่ ท่คี รูพดู • ในกรณีที่เด็กมีสมาธิสั้นมาก ควรแบ่งงานออกเป็นขั้นตอน ย่อยๆ ให้เด็กทำ�ทีละข้ัน ไม่มุ่งเน้นคุณภาพของงานเป็นหลัก แตพ่ ยายามเน้นในเรอ่ื งความรับผดิ ชอบท�ำ งานให้เสร็จ เดก็ สมาธสิ ้ัน คู่มือสำ�หรบั ครู 29

1.4 การชว่ ยเหลอื ด้านทักษะเฉพาะในการเรยี น 1.4.1 ทักษะในการอ่านหนังสือ คุณครูอาจเลือกหนังสือที่เด็กชอบ มาให้เด็กอ่านเสริม โดยหนังสือที่อ่านไม่จำ�เป็นต้องเป็น หนังสือเรียน อาจเป็นหนังสือผจญภัย หนังสือสอบสวน หนงั สอื ชวี ติ สตั ว์ ชวี ประวตั ิ ประวตั ศิ าสตร์ หรอื วทิ ยาศาสตรก์ ไ็ ด้ จากนนั้ ควรพูดคุยถึงสิ่งทีอ่ ่านใหเ้ ลา่ เรื่อง หรือให้สรุป 1.4.2 ทักษะการเขยี นหนงั สือ การฝึกให้เขยี นหนงั สอื บอ่ ยๆ จะท�ำ ให้ สายตาและมือทำ�งาน ประสานกันได้ดีขึ้น เช่น ฝึกให้เขียน สิ่งท่ีอยู่ในชีวิตประจำ�วัน เขียนบรรยายความรู้สึกต่อพ่อแม่ เขยี นแผนทีค่ าดวา่ จะทำ�ในชว่ งปิดภาคเรียน 1.4.3 ทักษะการฟงั และจบั ประเด็น ฝกึ เด็กใหส้ รปุ สิ่งท่ไี ดย้ นิ ได้เหน็ ไดล้ องท�ำ ตาม จะเปน็ รากฐานท่ีดีในการช่วยฝึกสมาธิ 30 เด็กสมาธสิ นั้ ค่มู ือสำ�หรับครู

1.4.4 ทักษะในการวางแผนทำ�งาน คุณครูควรฝึกเด็กให้เรียงลำ�ดับ งานสำ�คัญ กอ่ น-หลัง ต้งั สมาธกิ ับงานและลงมือท�ำ 1.4.5 การทำ�การบ้าน • จัดแบ่งการบ้านออกเป็นส่วนๆ เพ่ือให้เด็กสามารถลงมือทำ� จนสำ�เร็จได้ในช่วงเวลาส้ันๆ เม่ือเด็กทำ�งานเสร็จเองบ่อยๆ จะทำ�ให้เด็กอารมณ์ดี พอใจในตนเอง สถานการณ์เช่นน้ี จะท�ำ ให้เด็กมคี วามพยายามในการท�ำ งานเพิ่มขน้ึ • เรียงลำ�ดบั ขอ้ ทีง่ ่ายไวข้ อ้ แรกๆ เพือ่ ให้เดก็ เริ่มท�ำ จากงานทง่ี ่าย แล้วเสร็จเร็ว ไปสู่งานท่ีซับซ้อนยุ่งยากหรือมีปัญหาท่ีต้องใช้ เวลาแก้นานขึ้น • ใหเ้ ด็กเริ่มท�ำ งานท่ีมคี วามเรง่ ดว่ น ทตี่ อ้ งส่งก่อน • มอบหมายการบ้านให้ฝึกอ่านหนังสือและทบทวนบทเรียนจน ตดิ เป็นนิสัย 1.4.6 เทคนคิ ในการเรียน • สอนให้เด็กใช้เทคนิคช่วยจำ� เช่น การใช้แถบปากกาสี การขดี เสน้ ใตข้ อ้ ความทสี่ �ำ คญั การยอ่ ประเดน็ ส�ำ คญั การจดสตู ร หรือค�ำ ยากๆในสมดุ บนั ทกึ • การหัดคดิ เลขกลบั ไปกลับมา • ฝึกสอนเทคนิคในการทำ�ข้อสอบ เช่น ข้อสอบที่จับเวลา หรือ มเี วลาทำ�จ�ำ กัด ข้อที่ทำ�ไม่ไดใ้ ห้ข้ามไปกอ่ น อยา่ ลืมวงหน้าข้อ เพอื่ กลบั มาท�ำ ซ้ํา หรือเพ่อื ไมใ่ หว้ งสลับขอ้ เปน็ ตน้ เด็กสมาธิส้ัน คมู่ อื สำ�หรับครู 31

1.5 ช่วยเดก็ จัดการเก่ียวกบั เวลา เด็กสมาธิสั้นรู้เก่ียวกับเวลาว่าต้องท�ำ สิ่งใดบ้าง แต่ปัญหาของเด็กคือ “แบ่งเวลาไม่เป็น” การตั้งเวลาและการเตือนจึงเป็นส่ิงที่จำ�เป็นสำ�หรับเด็ก อย่าคาดหวังให้เดก็ รู้จกั เวลาเอง สิ่งท่ีคุณครสู ามารถชว่ ยได้คือ 1.5.1 เตือนให้เด็กตรงต่อเวลา โดยส่งสัญญาณเตือนเมื่อใกล้ถึง เวลานัด หรือเวลาต้องสง่ งาน และบอกเดก็ อีกครั้งเมอื่ ถงึ เวลา สง่ งาน 1.5.2 ชว่ ยเดก็ จดั ท�ำ กำ�หนดเวลาหรอื ปฏิทินงาน ทำ�ลงกระดาษตดิ ไว้ ที่โต๊ะเรียน กระเป๋า และหน้าสมุดของเด็ก 1.5.3 ใชน้ าฬกิ าเตอื น โดยอาจใชน้ าฬกิ าระบบสน่ั สะเทอื น เพอ่ื ปอ้ งกนั การรบกวนเด็กอ่นื 1.5.4 ให้แรงเสริมทางบวก เช่น คำ�ชม การสะสมดาวเพื่อแลก ของรางวัล เป็นตน้ เม่อื เด็กส่งงานตามเวลา 32 เด็กสมาธิส้ัน คู่มือส�ำ หรับครู

2. การพัฒนาทกั ษะทางสังคม ช่วยเด็กสมาธสิ นั้ ให้มีเพื่อน เด็กสมาธิสั้นจำ�นวนมากมีปัญหากับเพ่ือน ชอบกล่ันแกล้งหรือ แหยเ่ พอื่ น บางคนอาจมีลักษณะกา้ วร้าว ทัง้ น้ีเพราะเดก็ สมาธิส้ันจะมอี ารมณ์ เสียง่าย และไม่คิดก่อนท่ีจะทำ� บางรายอาจเรียกร้องความสนใจแบบไม่ค่อย เหมาะสม เช่น ทำ�เป็นตวั ตลกให้คนอ่นื แหยเ่ ลน่ เป็นตน้ อีกท้ังเดก็ ยังมปี ัญหา การแปลวธิ ีการสื่อสารท่ไี มใ่ ช่ค�ำ พูด ทำ�ใหเ้ ดก็ ไม่สามารถรบั รูอ้ ารมณ์ของผอู้ ่ืน จากการได้เหน็ เฉพาะสีหนา้ ทา่ ทาง และแววตาของคนที่ตนสมั พนั ธ์ดว้ ย ทั้งหมดนี้ทำ�ให้เด็กไม่สามารถรักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนไว้ได้ นานพอ เด็กอาจตอบโต้เพื่อนแบบก้าวร้าวเมื่อถูกย่ัว ความไม่มีสมาธิ ไม่รู้ เวลาท�ำ ใหเ้ ดก็ ปฏบิ ตั ติ ามกฎเกณฑห์ รอื กตกิ าตา่ งๆ ไมไ่ ด้ การเลน่ กบั เพอื่ นจงึ มี ปญั หาและไม่มใี ครอยากเล่นดว้ ย การฝกึ ทกั ษะทางสงั คมจะช่วยใหเ้ ด็กเขา้ กับ เพอื่ นไดด้ ีข้ึน รูจ้ กั ทำ�งานร่วมกบั ผู้อน่ื ซ่งึ คณุ ครสู ามารถชว่ ยเหลอื เดก็ ได้ดังน้ี 2.1 ค้นหาว่าปัญหาการเข้าสังคมกับเพื่อนอยู่ที่ไหน โดยอาศัย การสังเกต การเล่นของเด็ก ทักษะต่างๆ ที่เด็กใช้เวลา เข้ากลุม่ กับเพอ่ื น ไดแ้ ก่ • ทักษะในการสื่อสาร การเริ่มต้นเล่นด้วยการรับฟังกติกา การซักถามข้อสงสยั การสรา้ งคำ�ถามที่เหมาะสม การชช้ี วนให้ เพ่ือนๆ เล่นตาม คำ�พูด และส�ำ เนียงท่ีใชพ้ ดู • ความสามารถในการเล่น ควรสังเกตว่าเด็กเล่นในสิ่งที่เพื่อนๆ เลน่ ไดจ้ รงิ หรอื ไม่ ในกฬี าตา่ งๆ เชน่ หมากรกุ หมากฮอส ปงิ ปอง บาสเกตบอล ฟุตบอล เปน็ ตน้ • ทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ความสามารถเล่นตามเพื่อนหรือ นำ�เพื่อนได้ รู้จักเอ้ือเฟื้อ รู้จักขอโทษ ขอบใจ และการแสดง นา้ํ ใจ เคารพในกตกิ า เขา้ ใจความรสู้ กึ ของคนอน่ื ไวตอ่ ความรสู้ กึ ของคนรอบข้าง เด็กสมาธสิ น้ั คู่มอื สำ�หรับครู 33

2.2 จัดโอกาสและหาแบบฝกึ หดั ให้เดก็ ได้ฝกึ ฝนทักษะ ควรหากิจกรรมให้เดก็ ได้ทำ�เป็นคหู่ รอื เปน็ กลุม่ โดยกจิ กรรมเหล่านน้ั ต้องมีระเบียบกฎเกณฑ์ และข้ันตอนทช่ี ัดเจน โดยครชู ่วยควบคุม 2.3 แบบอยา่ งทดี่ ี ครสู ามารถเปน็ แบบอยา่ งทด่ี ใี นการตดิ ตอ่ สมั พนั ธก์ บั ผอู้ น่ื ทง้ั การแสดง ท่าทาง คำ�พูด การฟัง การให้ความช่วยเหลือผู้อื่น การแบ่งปัน การขอ ความช่วยเหลือ การกล่าวค�ำ ขอโทษ หรอื ขอบคณุ 2.4 จัดเพ่อื นชว่ ยดแู ลเดก็ สมาธสิ นั้ ครูควรจัดเพ่ือนท่ีเด็กสนิทหรือเพื่อนที่อาสาช่วยดูแล คอยเตือน เมื่อเด็กไม่มีสมาธิช่วยสอนการบ้านโดยอาจจัดเป็นคู่ หรือจัดเป็นกลุ่ม เพ่ือนร่วมดูแลเหล่าน้ีควรเป็นคนท่ีเด็กชอบพอ เข้าอกเข้าใจกันและทำ�อะไร ด้วยกันได้ ทั้งน้ีครูควรช่วยติดตามปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดกับเพื่อนผู้ช่วยดูแล เดก็ ได้ 3. การปรบั พฤตกิ รรม ก่อนที่จะกล่าวถึงการปรับพฤติกรรม คุณครูควรหาทางป้องกันไม่ให้ ปญั หาเกิดข้นึ ซึง่ ทำ�ไดด้ ังนี้ • บอกเดก็ ให้ชดั เจนวา่ เราต้องการให้ท�ำ อะไร • สอนให้เด็กทราบว่าพฤติกรรมใดเป็นท่ีต้องการ พฤติกรรมใด ไม่เป็นทตี่ ้องการ • กำ�หนดกจิ วตั รประจำ�วันให้เปน็ ขัน้ ตอน • ปฏบิ ัตกิ ับเดก็ อย่างคงเส้นคงวา สมํ่าเสมอ • ปฏิบัตติ นใหเ้ ป็นแบบอยา่ งแก่เด็ก • ปฏบิ ตั ิกับเดก็ ด้วยความยตุ ิธรรม 34 เดก็ สมาธสิ ้ัน คมู่ ือสำ�หรบั ครู

• เขา้ ใจปญั หา ความตอ้ งการ และความสามารถของเด็ก • ใชค้ วามอดทนกับปญั หาพฤติกรรมของเด็ก • บางคร้งั ต้องยืดหยุ่นบา้ ง • คอยใหค้ �ำ แนะน�ำ ชว่ ยเหลอื เดก็ เมือ่ จ�ำ เป็น ตอ่ ไปน้เี ปน็ เทคนิคการปรบั พฤติกรรม 3.1 การกำ�หนดกฎระเบียบหรือคำ�ส่ัง คุณครูกำ�หนดข้อปฏิบัติ ท ี่งา่ ยๆ สั้นๆ เชน่ • เตรียมพร้อมที่จะเรียนหนังสือ • ทำ�ตามที่ครูสง่ั • ตาจอ้ งท่ีหน้ากระดาษ ไม่มองไปทางอ่นื • เอามอื วางไว้แนบล�ำ ตวั • ทำ�งานเงยี บๆ • ทำ�งานใหส้ ะอาด เรยี บร้อย 3.2 การใหแ้ รงเสรมิ ทางบวก คณุ ครคู วรเปลย่ี นจากการ “จบั ผดิ ” มาเป็น “จบั ถูก” • ช่ืนชมเมือ่ เดก็ มพี ฤตกิ รรมทพี่ ึงประสงค์ “ครูชอบมากทีห่ นยู กมือขึ้น ก่อนถามครู” “ดีมากท่ีหนยู ืนเขา้ แถวเงยี บๆ ไม่คยุ กนั ” • ให้สทิ ธพิ เิ ศษเมือ่ เดก็ มีพฤตกิ รรมทดี่ ี เชน่ มอบใหค้ วบคุมแถว ใหเ้ กบ็ สมุดงานจากเพอ่ื นนักเรยี น • รางวัลไม่จำ�เป็นต้องเป็นรางวัลช้ินใหญ่ อาจเป็นคำ�ชมเชย รางวัลเล็กๆ น้อยๆ • ตวั อยา่ งแรงเสรมิ เชน่ ใหเ้ ลน่ เกมทชี่ อบ ใหเ้ วลาในการฟงั เพลง โดยใชห้ ูฟงั ใหเ้ ลน่ ดนิ น้าํ มนั ตัดกระดาษ ใหเ้ ลือกการบ้านเอง ให้กลบั บ้านเร็วข้ึน เดก็ สมาธสิ ัน้ คูม่ อื สำ�หรับครู 35

3.3 การสะสมเบ้ียรางวัล • การสะสมคปู องทเี่ ขยี นมลู คา่ ไว้ เม่อื ครบมลู คา่ ท่ีก�ำ หนดไวก้ ใ็ ห้ เลอื กท�ำ กจิ กรรมทช่ี อบได้ 1 อย่าง • หากเด็กมีพฤติกรรมท่ีดี คุณครูอาจนำ�ลูกแก้วมาใส่โถใสไว้ เมอ่ื โถเตม็ กจ็ ัดงานเลี้ยงเลก็ ๆ ในหอ้ งเรียน 3.4 การใช้บตั รสี เพอื่ ควบคุมพฤตกิ รรมเด็กทง้ั หอ้ งเรยี น • คณุ ครตู ดิ แผน่ ปา้ ยไวห้ นา้ หอ้ งเรยี น บนแผน่ ปา้ ยจะมชี อ่ื ของเดก็ พร้อมบัตรสี • เรมิ่ เรยี นตอนเช้าทุกคนจะมีปา้ ยมชี มพู • หากเด็กมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมก็ให้บัตรสีเขียวแต่ไม่มี การลงโทษ • หากยังมีพฤติกรรมท่ีไม่เหมาะสมเด็กจะให้บัตรสีเหลือง พร้อมกับงดการเขา้ ร่วมกจิ กรรม 5 นาที • หากยังมพี ฤตกิ รรมท่ีไมเ่ หมาะสมอีกให้งดการเข้าร่วมกิจกรรม 10 นาที แลว้ เปลย่ี นบตั รเปน็ สแี ดง หมายความวา่ ตอ้ งรายงาน ผ้อู ำ�นวยการ หรอื แจ้งผ้ปู กครอง 3.5 การใช้บตั รตัวเลข • เปน็ บัตรขนาดเทา่ ฝา่ มอื มตี วั เลข 1-5 5 หมายถึง ประพฤติตัวดีมาก เปน็ เดก็ ดขี องครู 4 หมายถงึ วันน้ปี ระพฤตดิ ี 3 หมายถึง พอใช้ ไม่สรา้ งปัญหา 2 หมายถงึ วันนีค้ ่อนข้างมีปัญหา ไม่เปน็ เด็กดีเท่าทคี่ วร จ�ำ เปน็ ตอ้ งปรับปรงุ ตนเอง 1 หมายถงึ วนั นแ้ี ยม่ าก ไมน่ า่ รกั เลย คราวหนา้ ตอ้ งแกต้ วั ใหม่ • ใหเ้ ด็กถือบตั รนี้กลับบ้านด้วย 36 เดก็ สมาธิสนั้ คูม่ ือสำ�หรับครู

3.6 การทำ�สญั ญา ในสัญญาควรประกอบด้วย 2 สว่ นใหญ่ๆ คือ • สัญญาว่าจะท�ำ พฤติกรรมท่ีไม่เหมาะสม เช่น มาโรงเรียนสาย ไมส่ ่งงาน คยุ กันในหอ้ งเรยี น เปน็ ต้น • สัญญาในทางที่ดีทเี่ หมาะสม เชน่ ตง้ั ใจเรยี น ควบคมุ อารมณ์ ตนเอง ตั้งใจฟังครูสอน ส่งงานตามกำ�หนดเวลา นั่งเรียน อย่างเรยี บรอ้ ย พูดจาไพเราะ คณุ ครคู วรก�ำ หนดรางวลั ทเี่ ดก็ จะไดร้ บั เชน่ ไดเ้ ลน่ คอมพวิ เตอร์ ตามลำ�พงั นาน 10 นาที แต่ถ้าไม่ปฏบิ ตั จิ ะไมไ่ ด้ไปทศั นศกึ ษา กับเพอ่ื น 3.7 การฝกึ หายใจ เปน็ วธิ ที จี่ ะสามารถชว่ ยผอ่ นคลายความเครยี ด ใหแ้ กเ่ ด็กได้ • ฝึกให้เด็กหายใจอย่างถูกต้อง ให้นั่งในท่าท่ีสบาย หายใจเข้า ให้ทอ้ งพอง หายใจออกใหท้ อ้ งแฟบ มสี ตอิ ยกู่ ับลมหายใจ 3.8 ทำ�กิจกรรมฝึกสมาธิ เช่น ถือของที่แตกง่ายไปส่งให้ผู้อ่ืน ถือขันน้ําที่มีน้ําปร่ิมโดยไม่ให้หก แสดงท่าว่ายนํ้าในอากาศ แสดงอาการลอยตัวเมอ่ื อย่นู อกโลก 3.9 การใช้ดนตรี อาจใช้ดนตรีประกอบกิจกรรมก่อนเรียน หรือ หลงั เลกิ เรยี น เชน่ “ถา้ ได้ยนิ เสียงรวั กลองใหท้ กุ คนวงิ่ ประจ�ำ ที”่ “ถา้ ไดย้ นิ เสียงบรรเลงเพลงจบ ใหท้ กุ คนคอ่ ยๆ เดิน ย่องเบาๆ เข้าที่นั่งตนเอง” เด็กสมาธิสั้น คมู่ อื สำ�หรับครู 37

ปญั หาพฤตกิ รรมทพ่ี บบอ่ ยใน โรงเรยี น พนม เกตุมาน (2551) ได้ให้รายละเอียดแนวทางการจัดการปัญหา พฤติกรรมเด็กสมาธสิ ัน้ ทีพ่ บบ่อยไว้ดงั น้ี ด้ือ คือพฤติกรรมหลีกเลี่ยง หลบเล่ียงไม่ทำ�ตามคำ�ส่ัง หรือทำ�ผิด ไปจากข้อตกลงที่ทำ�ไว้ล่วงหน้า อาการดื้อของเด็กสมาธิส้ันเป็นพฤติกรรม ที่พบได้บ่อย เดก็ จะดื้อจากหลายสาเหตุ คอื 1. เดก็ ไม่ตั้งใจจะฟังค�ำ สง่ั ไม่ใส่ใจ เมื่อสัง่ แลว้ ลืม หรอื ท�ำ ไมค่ รบ 2. เดก็ ไมค่ อ่ ยอยากท�ำ ตามค�ำ สง่ั เนอ่ื งจากตดิ เลน่ หรอื ก�ำ ลงั ท�ำ อะไร เพลินๆ สนุกๆ 3. เดก็ อาจหงุดหงิด หรือโกรธไม่พอใจในเรือ่ งอืน่ เมื่อสั่งให้ทำ�อะไร กไ็ ม่อยากทำ� จึงอาจใชก้ ารด้อื ไมร่ ว่ มมือ ไม่ทำ�ตาม เป็นการตอบโต้ เด็กดื้ออาจจะแสดงออกด้ือตรงๆ ตอบโต้คำ�ส่ังทันที หรือดื้อเงียบ คือปากว่าจะทำ� แต่ขอผัดผ่อนไปก่อน แล้วในที่สุดก็ไม่ทำ� (ด้วยเจตนาหรือ ลืมจรงิ ๆ) 38 เด็กสมาธิส้ัน คูม่ อื สำ�หรับครู

การปอ้ งกนั ครูควรใช้คำ�ส่ังที่ได้ผล เวลาส่ังควรแน่ใจว่าเด็กสนใจในคำ�ส่ังน้ัน ควรให้เด็กหยุดเล่นหรือหยุดพฤติกรรมใดๆ ท่ีกำ�ลังทำ�อยู่เสียก่อน ส่ังส้ันๆ ชัดเจน อย่าใช้หลายคำ�ส่ังพร้อมๆ กัน ให้เด็กทวนคำ�ส่ัง แล้วเร่ิมปฏิบัติ ทันที อย่าให้เด็กหลบเลี่ยง พร้อมกับชมเม่ือเด็กทำ�ได้ ในกรณีท่ีคำ�สั่งนั้น ไมไ่ ดผ้ ล คณุ ครตู อ้ งคอยก�ำ กบั ใหท้ �ำ สมา่ํ เสมอในระยะเวลาแรกๆ กอ่ น ไมค่ วรสงั่ หรือตกลงกนั ในกจิ กรรมท่ีครไู ม่มเี วลาคอยกำ�กับใหท้ �ำ ในระยะแรกๆ แกลง้ เพอ่ื น เนื่องจากเด็กมักจะซน ควบคุมตัวเองลำ�บาก ทำ�ให้อาจไปละเมิด เดก็ อน่ื ได้ แตเ่ ดก็ มกั ไมค่ อ่ ยยอมรบั วา่ ตนเองเปน็ ผเู้ รมิ่ ตน้ ละเมดิ คนอน่ื กอ่ น เชน่ ล้อเลียน แหย่ แกล้ง ทำ�ให้คนอ่ืนไม่พอใจ จนมีการตอบโต้กันไปมา แต่เม่ือ ใหเ้ ด็กสรุปเอง เขาจะบอกว่าโดนแกลง้ ก่อน ท้งั ๆ ทก่ี ่อนหนา้ น้ีเขาอาจจะเป็น ผูเ้ รมิ่ ตน้ กอ่ นก็ได้ บางทกี ารตอบโตน้ ้ันเกดิ เปน็ วงจนหาจดุ เรม่ิ ต้นจริงๆ ไม่ได้ เมื่อเด็กมาฟ้องครูว่าตนเองถูกรังแก ครูต้องทำ�ใจให้เป็นกลาง อย่าเพง่ิ เชอ่ื เดก็ ทันที ควรสอบถามใหช้ ดั เจนก่อนว่า เหตุการณท์ ่เี กิดข้นึ จริงๆ เป็นอยา่ งไร ยกตัวอยา่ ง เช่น “ลองเลา่ เหตกุ ารณ์ทเ่ี กดิ ขึ้นอย่างละเอยี ดซ”ิ “ ตอนนน้ั หนูท�ำ อะไรอย่”ู “ก่อนหนา้ น้นั หนูทำ�อะไร” “มีอะไรท่ที �ำ ให้เขาไมพ่ อใจหนูอย่กู อ่ น” “ก่อนหนา้ หนทู ำ�อะไรใหเ้ ขาไม่พอใจบา้ งไหม” “อะไรท�ำ ใหเ้ ขามาทำ�เชน่ น้กี บั หนู” “หนูคงโกรธท่ีเขาท�ำ เช่นน้นั ” “แล้วหนตู อบโต้ไปอยา่ งไร” เดก็ สมาธสิ ัน้ คู่มอื สำ�หรับครู 39

“หนูคิดว่าเขาจะคดิ อย่างไร รู้สกึ อยา่ งไร” “หนคู ดิ วา่ เรอ่ื งมนั น่าจะจบลงแค่นี้หรอื เปลา่ ” “เพ่ือนเขาอาจเจ็บแค้น มาหาเร่ืองในวนั หลงั ไดห้ รือไม”่ “หนคู ิดวา่ จะหาทางออกอย่างไรดี ที่จะไดผ้ ลดใี นระยะยาว” สิ่งท่ีครูควรจะสอนเด็กคือ วีธีการแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่นุ่มนวล หาทางออกสำ�หรับแก้ปัญหาหลายๆ แบบให้เด็กเลือกใช้ โดยไม่ไปตำ�หนิเด็ก ตรงๆ กอ่ น กา้ วร้าว เด็กท่ีถูกเพื่อนยั่วบ่อยๆ หากไม่ได้ฝึกควบคุมตนเอง อาจทำ�ให้เด็ก ตอบสนองต่อเพ่ือนด้วยวิธีก้าวร้าวรุนแรงได้ การลงโทษด้วยวิธีรุนแรง เช่น ตีหรือประจานให้เสียหน้า อาจช่วยหยุดพฤติกรรมได้ในระยะส้ันๆ แต่ไม่ช่วย แก้ไขปญั หาพฤติกรรมของเด็กในระยะยาว ส่ิงที่ครูสามารถช่วยเด็กได้ คือ • ฝกึ ใหเ้ ด็กระบายอารมณ์ และจดั การอารมณ์ตนเองอย่างสม่าํ เสมอ ดังทกี่ ล่าวมาขา้ งตน้ • เมื่อเกิดสถานการณ์ ครูต้องเข้าไปไกล่เกลี่ย แยกเด็กซึ่งเป็นคู่กรณี ออกจากกัน แต่ถ้าเด็กมีพฤติกรรมอาละวาด ในเด็กเล็กครูอาจใช้ วธิ ี “กอด” เดก็ ไว้ สว่ นในเด็กโต อาจให้ครูผชู้ ายตัวโตๆ อยา่ งน้อย 2-3 คน ช่วยลอ็ คตัวเดก็ ไว้ และพาเด็กไปอยูท่ สี่ งบพร้อมบอกเดก็ วา่ “หนโู กรธไดแ้ ตท่ ำ�รา้ ยคนอนื่ ไมไ่ ด”้ จากนน้ั พดู คยุ ใหเ้ ดก็ ระบาย ความรสู้ กึ และใช้วธิ พี ดู คุยสอบถามเชน่ เดยี วกบั กรณแี กล้งเพื่อน • ช่วยให้เด็กคิดหาทางออกในหลากหลายวิธี และปรับความเข้าใจ ซง่ึ กนั และกัน ในสถานการณท์ ีท่ ัง้ คมู่ อี ารมณ์สงบดแี ลว้ • สอนให้เด็กรู้จัดสังเกตอารมณ์ของตนเองและผู้อ่ืน รวมถึงหาวิธี หลกี เลยี่ งและสอ่ื สารความต้องการอยา่ งเหมาะสม 40 เด็กสมาธสิ นั้ คู่มอื ส�ำ หรบั ครู

• ใหเ้ ดก็ พยายามหลกี เลย่ี งสถานการณ์ ซง่ึ เปน็ ตวั กระตนุ้ ใหโ้ กรธ • คิดทบทวนดูว่าเร่ืองอะไรท่ีมีผลกระทบต่ออารมณ์มากท่ีสุด โดยสังเกตว่าร่างกายส่งสัญญาณเตือนอย่างไรเมื่อมีอารมณ์ เปล่ียนแปลงจากเรื่องท่ีเข้ามารบกวน เช่น หายใจเร็ว ใจส่ัน หนา้ แดง ฯลฯ และรีบออกจากทีเ่ กิดเหตุ ไมพ่ ูดตอ่ ลอ้ ตอ่ เถยี ง ในขณะท่อี ีกฝ่ายกำ�ลังมีอารมณโ์ กรธ • ใหเ้ ดก็ บอกตวั เองวา่ ตอ้ งควบคมุ อารมณโ์ กรธกอ่ นทอี่ ารมณโ์ กรธ จะควบคุมเรา • นกึ ถึงสิง่ ดีๆในชีวิต เพ่ือใหอ้ ารมณ์ผ่อนคลายลง • ขอบคุณตัวเองท่ีสามารถเอาชนะอารมณ์โกรธได้ ในการสอน ให้เด็กรู้จักสังเกตอารมณ์ของผู้อื่น ครูอาจให้เด็กทั้งห้องเรียน รู้อารมณ์ร่วมกัน โดยแสดงสถานการณ์สมมติ ขออาสาสมัคร แสดงสีหน้าท่าทางถึงภาวะอารมณ์ต่างๆ ให้เด็กคนอื่นๆ ช่วยกันทาย รวมถึงอาจให้เด็กแลกเปล่ียนว่าถ้าเพ่ือนอยู่ใน อารมณ์โกรธพวกเขาควรทำ�อย่างไร ให้เด็กช่วยกันคิดวิธี และแสดงท่าทางตอบสนองเวลาท่ีเพ่ือนมีอารมณ์โกรธ ก็จะ ช่วยให้เด็กเรียนรู้จักวีธีสังเกตและตอบสนองอารมณ์ผู้อื่น อยา่ งสนุกสนาน เดก็ สมาธสิ นั้ คูม่ ือส�ำ หรับครู 41

แนวทางการติดตาม พฤติกรรมเดก็ สมาธิสัน้ ในช้นั เรยี น ครูควรใช้แบบประเมนิ พฤติกรรม สงั เกตและบันทกึ การเปล่ียนแปลง ของเด็กทุกสัปดาห์ และหาโอกาสพูดคุยกับเด็กถึงการเปล่ียนแปลงของเขา เปน็ ระยะวา่ เดก็ สามารถพฒั นาอะไรขน้ึ บา้ ง โดยพยายามพดู ถงึ ความกา้ วหนา้ ในทางทด่ี แี ละตามดว้ ยสง่ิ ทเ่ี ด็กควรแกไ้ ขเพอ่ื ให้เด็กเกดิ ความรู้สึกที่ดี 42 เดก็ สมาธิส้นั คมู่ ือส�ำ หรบั ครู

ตวั อย่างสมุดบนั ทึกพฤติกรรมเปน็ ช่วงสัปดาห์ (ชาญวิทย์ พรนภดล,2545) พฤติกรรมเด็ก แยล่ ง ไม่เปลีย่ นแปลง ดขี ้นึ ดขี น้ึ มาก มสี มาธิ สามารถจดจอ่ กับการงานที่ทำ� นั่งติดท่ี พดู จาเหมาะสม มีปฏสิ ัมพนั ธ์ทด่ี ี กบั เพือ่ นและครู ประโยชนข์ องสมดุ บนั ทกึ พฤตกิ รรมส�ำ หรบั เดก็ สมาธสิ น้ั นนั้ จะชว่ ยให้ ข้อมูลแพทย์ในการตดิ ตามการรกั ษาและอาการของเดก็ ทีโ่ รงเรยี น ครูสามารถ เหน็ ความเปล่ียนแปลงพฤตกิ รรมของเด็กชัดเจนยิ่งข้นึ และยังเปน็ ขอ้ มลู สำ�คัญ ในการสือ่ สารกับผู้ปกครอง รวมถงึ ใชส้ ่งตอ่ ขอ้ มูลระหว่างครูดว้ ยกนั ไดอ้ กี ดว้ ย อยา่ 10 ประการ ฝากไว้ส�ำ หรบั คณุ ครูผ้ดู ูแลเดก็ สมาธสิ นั้ (อุมาพร ตรงั สมบัติ, 2544) 1. อยา่ เขา้ ใจวา่ เดก็ เปน็ เดก็ ขเ้ี กยี จ บางอาการเดก็ เปน็ อยนู่ อกเหนอื การควบคมุ 2. อย่าลงโทษเด็กเพราะเห็นว่าเด็กแกล้งไม่ทำ�งาน เน่ืองจาก ความสามารถของเดก็ ยังไมค่ งเสน้ คงวา สิ่งทเี่ ด็กทำ�ไดใ้ นคร้ังก่อนอาจท�ำ ไมไ่ ด้ ในครงั้ น้ี เด็กสมาธิส้นั ค่มู ือส�ำ หรับครู 43

3. อย่าฟังครูคนอื่นที่วิพากษ์วิจารณ์เด็กในทางลบ ความจริงเด็ก อาจไม่เลวร้ายอย่างครอู ่นื ๆ พูดกไ็ ด้ 4. อย่าฟังครูประจำ�ช้ันคนเดิม (เกี่ยวกับทัศนคติทางลบ) ลองประเมนิ เดก็ ดว้ ยตนเอง และหาเทคนคิ ในการจดั การพฤตกิ รรมใหเ้ หมาะสม 5. อยา่ ลงโทษเด็กด้วยอารมณ์ 6. อย่าลืมผู้ปกครอง ตกลงกับผู้ปกครองเก่ียวกับการสอนและ รายงานความก้าวหน้าให้ผูป้ กครองทราบสมํ่าเสมอ 7. อย่าทำ�งานคนเดียว ขอความช่วยเหลือจากครูอื่นในการช่วย สังเกตพฤตกิ รรมเดก็ และเสนอแนวทางในการสอน 8. อยา่ ลมื ปรับพฤติกรรม ควบคู่กับการเรียนการสอน 9. อย่าเน้นผลสอบจนเกินไป ควรมองพัฒนาการเด็กทด่ี ีข้นึ 10. อย่าเลิกล้มความต้ังใจง่ายๆ หากวันน้ีคุณครูไม่ช่วยแล้วใครจะ ช่วยเหลอื เด็ก 44 เดก็ สมาธสิ ั้น ค่มู ือส�ำ หรบั ครู

เอกสารอา้ งองิ ชาญวิทย์ พรนภดล. (2545).โรคซน-สมาธิสั้น (Attention-Deficit/ Hyperactivity Disorder-ADHD) ใน วินัดดา ปิยะศิลป์และ พนม เกตุมาน . ตำ�ราจิตเวชเด็กและวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร : บรษิ ทั บยี อนด์ เอน็ เทอรไ์ พรซ.์ ชาญวิทย์ พรนภดล และพนม เกตุมาน. (2550). โรคสมาธิส้ัน (Attention Deficit Hyperactivity Disorder). ค้นเม่อื วันท่ี 18 สงิ หาคม 2553 จาก, http://www.psyclin.co.th/myweb1.htm นงพนา ล้ิมสุวรรณ. (2542). โรคสมาธิส้ัน Attention-Deficit/ Hyperactivity Disorders. กรงุ เทพมหานคร: โรงพมิ พม์ หาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร.์ ผดุง อารยะวิญญู. (2544). วิธีสอนเด็กสมาธิสั้น. กรุงเทพมหานคร: บริษทั รำ�ไทย เพรส จ�ำ กัด. พนม เกตุมาน. (2548). สุขใจกับเด็กสมาธิส้ัน คู่มือคุณพ่อคุณแม่ และครสู �ำ หรบั การฝกึ เดก็ . กรงุ เทพมหานคร: บรษิ ทั คลั เลอร์ ฮารโ์ มน่ี จำ�กดั . วมิ ลรตั น์ วนั เพญ็ และคณะ. (2553). แนวทางการดแู ลชว่ ยเหลอื เดก็ สมาธสิ น้ั ในโรงเรยี น. กรงุ เทพฯ: สถาบนั สขุ ภาพจติ เดก็ และวยั รนุ่ ราชนครนิ ทร์ อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2544). สร้างสมาธิให้ลูกคุณ. กรุงเทพมหานคร: ซันต้าการพิมพ์. เดก็ สมาธสิ ้นั คู่มือส�ำ หรบั ครู 45

คณะผู้จดั ทำ� ทป่ี รึกษา ผอู้ ำ�นวยการสถาบนั ราชานุกลู พญ.พรรณพิมล วปิ ุลากร คณะทำ�งาน นักจติ วิทยาเชยี่ วชาญ 1. นางวนดิ า ชนินทยุทธวงศ ์ นายแพทย์ชำ�นาญการพิเศษ 2. พญ.ชดาพมิ พ์ เผา่ สวัสดิ ์ นกั วชิ าการศกึ ษาพเิ ศษช�ำ นาญการ 3. นางสาวสจุ ิตรา สุขเกษม นักวิชาการศกึ ษาพิเศษชำ�นาญการ 4. นางรุจีรตั น์ จันทรเนตร นักจิตวทิ ยาคลินกิ ปฏบิ ัติการ 5. นางสาวปราณี ตะ๊ วโิ ล ผูจ้ ัดการ/ผ้ปู ระสานงานโครงการ 6. นางสาวยุวนา ไขว้พันธ์ 46 เด็กสมาธสิ ้นั คู่มอื ส�ำ หรบั ครู

......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... เดก็ สมาธสิ ้ัน คมู่ ือสำ�หรบั ครู 47

......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... ......................................................................................................................... 48 เด็กสมาธสิ ั้น ค่มู อื ส�ำ หรบั ครู


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook