คู่มือการปฏิบัติ พิธีสวดพระอภิธรรมศพ วิชา หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม จัดทำโดย ครู จุรีพร ทวนทอง วิทยาลัยเทคนิคชุมพร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566
สารบัญ หน้า 1 คำนำ 2 การปฏิบัติศาสนพิธี 3 การเตรียมการ 4 5 การเตรียมสถานที่ 6 การเตรียมอุปกรณ์ 7 การเตรียมบุคลากร การปฏิบัติงานบุญพิธี การปฎิบัติพิธีสวดพระอภิธรรมศพ ภาคผนวก
คํานํา ศาสนพิธี ถือเป็น แบบแผนสําคัญที่ต้องปฎิบัติให้ถูกต้องเพื่อรักษา ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ที่มีมาแต่โบราณกาลให้สืบทอดต่อไป จําเป็น ต้องมีคู่มือสําหรับใช้เป็นแนวทางในการปฎิบัติ งานศาสนพิธีต่าง ๆ เพื่อให้การ ปฎบัติพิธีสามารถ ดําเนินไปด้วยความรวดเร็ว ราบรื่น เรียบร้อย และถูกต้อง เหมาะสมเพื่อสีบสาน วัฒนธรรมของชาติ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจ หลักในการทํานุบํารุงรักษา ส่งเสริม สืบทอด และให้การอุปถัมภ์คุ้มครองกิจการ ด้านพระพุทธศาสนา เห็นถึงความสําคัญของศาสนพิธีซึ่งมีอยู่ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ จึงได้จัดทําคู่มือการปฎิบัติพิธี สวดพระอภิธรรมศพออกมาเพื่อให้นักเรียนที่เรียน รายวิชาหน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ได้ศึกษาคู่มือตามหลักการที่ถูกต้องและ สามารนําไปปฎิบัติได้อย่างถูกต้องเพื่อไปประยุกต์ใช้ในชวิติประจําวันและจะช่วย แก่ปัญหาการขาดบุคลากรที่มีความรุ้ความเชี่ยวชาญในท้องถิ่นเริ่มหายไปครูผุ้ สอนจึงเห็นถึง ความสําคัญของการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ในปัจุบันและ หวังว่า คู่มือการปฏิบัติพิธีสวดพระอภิธรรม จะกลายเป็นแนวปฎิบัติในทาง เดียวกัน
คู่มือการปฏิบัติ พิธีสวดพระอภิธรรมศพ ศาสนพิธี เป็นพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งถือปฏิบัติเป็นแบบอย่างเป็น ธรรมเนียมสืบต่อกันมาเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามเป็นแบบ เดียวกัน เหตุให้เกดศาสนพิธีนี้คือความนิยมทำ บุญของ พุทธศาสนิกชนซึ่ง ไม่ว่าจะปรารภเหตุอะไรกัน ก็มักจะให้ตรงและครบตามหลักวิธีการทำบุญ ในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง แนะแนวไว้ ๓ หลัก คือ ๑) ทาน การบรจิาควัตถุสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ๒) ศีล การรักษากายวาจาให้สงบเรียบร้อย ๓) ภาวนา การยกระดับจิตให้สูงขึ้นด้วยการอบรมให้สงบนิ่งและให้ เกิดปัญญา
คู่มือการปฎิบัติ พิธีสวดพระอภิธรรม หมวดของศาสนพิธี ศาสนพิธีสามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ หมวดใหญ่ ๆ ดังนี้ี ๑) กุศลพิธี เป็นพิธีเกี่ยวกับการอบรมความดีงามทาง พระพุทธศาสนาเฉพาะ บุคคล เช่น การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ การเวียนเทียนในวันสําคัญทาง พระพุทธศาสนา และการรักษาศีลประเภทต่างๆ เป็นต้น ๒) บุญพิธี เป็นพิธีทําบุญเนื่อง ด้วยประเพณีในครอบครัวซึ่งเป็นประเพณีที่ เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของคนทั่วไปมี ๒ ประเภท คือ ๑ พิธีต่าง ๆ ทําบุญในงานมงคล ได้แก่การทําบุญในโอกาสต่าง ๆ ๒ พิธีทําบุญในงานอวมงคล เช่น บุญหน้าศพ เป็นต้น ๓ ทานพิธี เป็นพิธีถวายทานต่างๆ เช่นการถวายทานเครื่องนุ่งห่ม ยารักษา โรค เป็นต้น ๔) ปกิณกะพิธี เป็นพิธีเบ็ดเตล็ด ได้แก่การอาราธนาศีล การประเคนของพระ เป็นต้น
การเตรียมการ เมื่อมีการปรึษาหารือและมีข้อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วในการจัด พิธีเนื่องในโอกาส ต่าง ๆ นั้น ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ในการเป็น ผูัดำเนินกิจกรรมจะต้องมาเตรียมการ ดังนี้ การเตรียมสถานที่ การเตรียมอุปกรณ์ การเตรียมบุคลากร
การเตรียมสถานที่ การเตรียมสถานที่ กิจกรรมแรก ที่ผู้ดําเนินกิจกรรมควรคํานึง ถึง คือ การเตรียมสถานที่ ควรคํานึงถึงความ เหมาะสมของสถานที่ งานที่จะจัดเป็นงานพิธีใด งานมงคล หรืองานอวมงคล สถานที่นั้นมี ความ เหมาะสมกการจัดพิธีหรือไม่เพียงใด ซึ่งจะได้มีการวางแผนใน การจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับสถานที่ โดยมีหลัก การพิจารณา ดังนี้ ๑) ความเหมาะสมของสถานที่ในการจัดพิธี ๒) มีความก้วางขวาง เพียงพอกับการรองรับผู้ร่วมพิธี ๓) สะอาด สะดวก ปลอดภัย ๔) ไม่มีเสียงรบกวน
การเตรียมอุปกรณ์ การเตรียมอุปกรณ์ เป็นสิ่งจําเป็นของพิธีต่าง ๆ ซึ่งผู้ทํา หนดที่ศาสนพิธีกรควรมีความรู้ ความ เข้าใจเกี่ยวกับพิธีการหรือ พิธีกรรมต่างๆ เช่น วัตถุประสงค์ของการจัดศาสนพิธีเป็นงานมงคล งานอวมงคลหรือการ จัดงานมงคลและงานอวมงคลพร้อมกัน ซึ่งแต่ละงานจะต้องใช้ อุปกรณ์ในการประกอบพิธีแตกต่างกัน เช่น งานมงคลงานวางศิลา ฤกษ์เป็นต้น การเตรียมอุปกรณ์หลักที่ใช้ในงานศาสนพิธี ๑) โต๊ะหมู่บูชา พระพุทธรูป แท่นกราบ ๒) แจกันดอกไม้หรือพานพุ่ม ๓) กระถางธูป เชิงเทียน ๔) ธูป เทียน บูชาพระ ๕) เทียนชนวน ๖) กี่กรวดน้ำ ๗) สําลีกรรไกร เชื้อชนวน (น้ำมันเบนซินผสมก เทียนขี้ผึ้งแท้) ๘) ใบปวารณา และจตุปจัยไทยธรรม ๙) เครื่องขยายเสียงพร้อมอุปกรณ์ ๑๐) เครื่องรรองพระสงฆเช่น นํ้าร้อน น้ำเย็นอาสนสงฆ์ หรือพรม นั่ง เสื่อ หมอนพิงกระดาษเช็ดมือ กระโถน เป็นต้น
พิธีสวดพระอภิธรรม ๑) ภูษาโยง (ถ้าศพมีฐานดรศักดิ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป ต้อง เตรียมผ้าขาว กว้างประมาณ ๑๐ หรือ ๑๒ นิ้ว ยาวเสมอกับแถวพระสงฆ์ จำนวน ๑ ผืน เรียกว่า ( “ผรองโยง”) แถบทอง หรือสายโยง สายโยง สำหรับ โยงมา จากหีบหรือโกศศพ ๒) เครืองทองน้อย ๑-๒ ที่ (ตั้งหน้าหีบศพ) ๓) ตู้พระอภิธรรม พร้อมโต๊ะตั้งตู้พระอภิธรรม ๔) ผ้าไตร หรือผ้าสำหรับ ทอดบังสุกุลบูชาพระธรรม) ๕) เครื่องกระบะบูชาพระอภิธรรม (ในกรณีไม่มีครื่องกระบะบูชาให้ใช้ เชิงเทียน ๑ คู่แจกันดอกไม้ ๑ คู่ และกระถางธูป ๑ กระถาง ตั้งหน้าตู้พระอภิธรรม แทนเพื่อจุด บูชาพระธรรม)
ขั้นตอนของงานบําเพ็ญกุศล “พิธีสวดพระอภิธรรม” การจัดงานบําเพญ็ กุศล” หรือ “พิธีสวดอภิธรรม” นั้นถือว่าเป็นพิธีกรรม อย่างหนึ่งที่มีจุดประสงค์เพื่อให้เจ้าภาพ ครอบครัวและเครือญาติได้ ทําบุญ อุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้เสียชวีติ อีกทั้งยังเป็นการแสดงออกถึงความ เคารพ นับถือและความกตัญูกตเวที ต่อผู้ล่วงลับด้วย เรื่องราวเกี่ยวกับพิธีสวดอภิธรรมศพและขั้น ตอนการปฏิบัติของพิธิ ีนี้ ตามประเพณีไทยแล้ว ก่อนที่จะทําการฌาปนกจิ ศพก็จะมีการจัดงานบําเพ็ญ กุศลหรือ “พิธีสวดอภิธรรม” ซึ่งพิธีนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สวดหน้าศพ” และนิยมจัด ขึ้นตั้งแต่วันตั้งศพเป็นวันแรกและสวดประจําทุกคืน ส่วนมาก จะนิยมสวด 1 คืน, 3 คืน , 5 คืน หรือ 7 คืน แต่ในบางกรณีอาจมีการสวดพระ อภิธรรมศพจนครบ 100 วัน หรือจนกว่า จะถึงวันฌาปนกิจศพนั่นเองส่วน สาเหตุที่พุทธศาสนิกชนชาวไทย นําเอาคัมภีรพระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องกับ พิธีนี้ก็คือ ก่อนเริ่มพิธีสวดอภิธรรมศพ เจ้าภาพจะต้องเตรียมเครื่องไทยธรรมพร้อมผ้า สบง เพื่อถวาย แด่พระสงฆ์ และผ้าบังสุกุลที่จะทําบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ ล่วงลับ ซึ่งในปัจจุบันทางวัด หรือ ฌาปนสถานมีบริการจัดหาให้ นอกจากนั้นยังมี ปัจจัยถวายพระ 4 รูป ตามแต่ศรัทธา และอาหารว่างเลี้ยงแขกผู้ร่วมงาน ที่มาฟังสวดทุกคืนเจ้าภาพนมินต์พระสงฆ์สวดอภิธรรม 4 รูป มาสวด 4 จบ ส่วนมากจะนยิมสวดตั้งแต่เวลา 19.00 น. สําหรับแขกผู้ร่วมงานเมื่อเข้ามาใน ศาลาที่ตั้งศพแล้วควรกราบพระก่อนด้วย เบญจางคประดิษฐ์ จากนั้นจึงจุด ธูป 1 ดอก เพื่อไหว้เคารพตามความเหมาะสม
ลําดับขั้นตอนการปฏิบัติของพิธีสวดพระอภิธรรมศพ ประธานในพิธี คณะเจ้าภาพและแขกผู้มาร่วมงานเข้าสู่บริเวณพิธี เมื่อคณะสงฆ์ได้เดินทางมาถึง พีธีกรบอกรายนามคณะผู้เป็นเจ้าภาพในคืนนี้ ว่ามีกี่คณะ แต่ละคณะเป็นใครบ้าง พิธีกรกล่าว - นมัสการพระคุณเจ้าวัด .................................................... พิธีกรกล่าว - เรียนเชิญ ประธานในพิธีคนที่ ๑ จุดธูป เทียน บูชาพระรัตนตรัย (โต๊ะหมู่บูชา) เชิญ ประธานคนที่ ๒ จุดเทียนที่ตู้พระธรรม พิธีกรกล่าว - เรียนเชิญ ลูกหลานตัวแทนเจ้าภาพ จุด ธูปบูชาเคารพศพ พิธีกรกล่าว - เรียนเชิญพิธีกรทางศาสนาในการประกอบพิธีกรรมทาง ศาสนา......................... พิธีกรทางศาสนากล่าว - กราบนมัสการพระคุณเจ้า ขอให้แขกผู้มีเกียรติทุก ท่าน สงบ กาย วาจา ใจ ลําดับต่อไปรวมกับบูชาพระรัตนตรัยพร้อม ๆ พิธีกร สวดรับศีล (บทอาราธนาศีล ) มะยัง ภัณ เต พิธีกร สวด (บทอาราธนาธรรม) พรหมา จะโลกาธิปะติ พิธีกรสงฆ์ - สวด (ตังนะโม ๓ จบ) สวดพระอภิธรรม 7 พระคำภีร์จนจบ พิธีกรทางศาสนา - วางลาดภูษาโยง (ด้ายสายสนิธ์) พระสงฆ์ สวดบังสกุล พิธีกรรมทางศาสนา - แจ้งรายนามผู้ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม ผู้มีรายนามนําเครื่องถวายจตุปัจจัยไทยธรรม ถวาย พระสงฆ์ที่ธรรมมาส พิธีกรสงฆ์ - สวดให้พร (ติโรกุฑฑะกัณฑะ) ประธานในพิธีกรวดนํ้าพร้อมกัน พิธีกร - สวดลาพระพระสงฆ์ (บทอาระหัง สัมมา) แขกในงานกล่าวลา พระสงฆ์พร้อมกัน พิธีกร - กล่าวนมัสการพระคุณเจ้ามาประกอบพิธีกรรมสวดพระอภิธรรมศพ ตลอดงานเป็นเวลา 7 วัน
ภาคผนวก
บทสวด อาราธนาศีล 5 มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ทุติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ตะติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ บทสวด อาราธนาธรรม พรหมา จะ โลกาธิปะติ สะหัมปะติ กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ สันธีตะ สัตตาป ปะรักชักขะ ชาติกา เทเสตุ ธัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง ท้าวสหัมบดีแห่ง โลก ได้ประคองอัญชลีทูลวิงวอนพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐว่า สัตว์ผู้มีธุลีใน ดวงตาน้อย มีอยู่ในโลกนี้ ขอพระคุณเจ้าโปรดแสดงธรรม อนุเคราะห์ด้วย เถิด อาราธนาพระปริตร
บทสวด อาราธนาพระปริตร ปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะทุกขะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะภะยะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะโรคะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง บทส วด กรวดน้ำ อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อุปัชฌายา คุณุตตะรา อาจะริยูปะการา จะ มาตา ปิตา จะ ญาตะกา ปิยา มะมัง สุริโย จันทิมา ราชา คุณะวันตา นะราปิ จะพรัหมมะ มาราจะ อินทา จะ ทุโลกะปาลา จะ เทวะตา ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ มัชฌัตตา เวริกาปิ จะสัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ปุญญานิ ปะกะตานิ เมสุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตังอิมินา ปุญญะกัมเมนะ อิมินา อุททิเสนะ จะ ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ ตัณหุ ปาทานะเฉทะนังเย สันตาเน หินา ธัมมา ยาวะ นิพพานะโต มะมัง
Search
Read the Text Version
- 1 - 15
Pages: