ผู้จัดทำ นาย ฐิติโชติ ศรีมงคล ชั้น ปวส.1/4 เลขที่ 22 รหัสนักเรียนนักศึกษา 1888 6 วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์
START 1.การจัดเก็บสินค้าเเละองค์ประกอบของสินค้า 2.คลังสินค้า 3.ระบบการจัดการคลังสินค้า 4.รูปเเบบการจัดเก็บสินค้า 5.การขนส่ง 6.โลจิสติกส์ 7.ปัญหาของระบบโลจิสติกส์ 8.การลดต้นทุนเเละการเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์ 9.การวางเเผนการขนส่ง
1.การจัดเก็บสินค้า คลังสินค้า (Warehouse) คือสถานที่สำหรับวาง จัดเก็บ พัก กระจายสินค้าคงคลัง คลัง สินค้ามีชื่อเรียกได้ต่างกันออกไป อาทิ ศูนย์กระจายสินค้า ศูนย์จำหน่ายสินค้า และโกดัง ฯลฯ คำว่าคลังสินค้าจึงเป็นคำที่มีความหมายรวมๆ ส่วนจะเรียกว่าอะไร ก็ขึ้นอยู่กับฟังก์ชัน ของคลังสินค้าแต่ละประเภท คลังสินค้าที่รับสินค้าเข้ามาทำการคัดแยก แล้วกระจายออกไป เรียกว่า ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) และกระบวนการ ดังกล่าว เรียกว่า Cross Docking คลังสินค้า (Warehouse) ยังหมายถึง สถานที่ที่ใช้ในการเก็บรักษา สินค้าให้อยู่ในสภาพและคุณภาพที่พร้อมจะส่งมอบให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่ร้องขอ โดยอาจเรียกเป็นชื่ออื่น ๆ เช่น คลังสินค้า(Warehouse) , โกดัง (Godown) , ที่เก็บของ (Storage) , ที่เก็บสินค้า (Whaft) , คลังพัสดุ (Depot) , ฉางเก็บสินค้า (Silo) , แท็งก์ เก็บของเหลว (Liquid Tank) , คลังทัณฑ์บน (Bonded Warehouse) ซึ่งไม่ว่าจะเรียก ว่าอะไร คลังสินค้าก็จะทำหน้าที่เหมือนกัน คือ เป็นสถานที่เก็บรักษาสินค้าหรือวัตถุดิบหรือ สิ่งของต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนในกิจกรรมต่าง ๆของกระบวนการ Supply Chain
2.คลังสินค้า คลังสินค้า โรงเก็บสินค้า หรือ โกดัง[1] คืออาคารทางพาณิชย์ที่ใช้สำหรับเก็บสินค้า เพื่อรอการขนส่ง คลังสินค้าถูกใช้โดยผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้ค้าส่ง ธุรกิจขนส่ง ศุลกากร ฯลฯ คลังสินค้ามักจะเป็นอาคารธรรมดาหลังใหญ่และกว้างตั้งอยู่ในเขต อุตสาหกรรมในตัวเมือง ภายในอาคารมีทางลาดเอียงสำหรับขนถ่ายสินค้าขึ้นหรือลง รถ หรือบางครั้งคลังสินค้าใช้รับถ่ายสินค้ามาจากสถานีรถไฟ สนามบิน หรือท่าเรือ โดยตรง และมักจะมีเครนหรือฟอร์กลิฟต์เพื่อเคลื่อนย้ายสินค้าที่วางอยู่บนแท่นวาง สินค้า (pallet) ขนาดมาตรฐาน ISO สินค้าที่เก็บอาจเป็นชนิดใดก็ได้เช่น วัตถุดิบ วัสดุบรรจุภัณฑ์ ชิ้นส่วนอะไหล่ ส่วนประกอบต่าง ๆ หรือสินค้าสำเร็จรูปเกี่ยวกับเกษตรกรรม อุตสาหกรรม หรือพาณิชยกรรม มีระบบการ บริหารจัดการสินค้าคงคลังเพื่อระบุตัวสินค้า เพื่อจำแนกหมวดหมู่ และเพื่อให้ทราบว่ามีสินค้า เท่าใด รับเข้าและส่งออกปริมาณเท่าใดในแต่ละช่วงเวลา
3.ระบบการจัดการคลังสินค้า ระบบจัดการคลังสินค้า หรือ Warehouse Management System คือ ซอฟต์แวร์หรือระบบที่ช่วยควบคุมและจัดการคลัง (Warehouse) ทั้งหมดทุก กระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งต่างจาก “ระบบจัดการสินค้าคงคลัง” (Inventory Management) ที่จะจัดการเฉพาะเรื่องสต็อกสินค้าเท่านั้น ในบทความนี้มาทำความรู้จักกับระบบการจัดการคลังสินค้า ที่เรียกย่อๆ ว่า “WMS” ซึ่งประกอบด้วยระบบต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันเป็นฟันเฟืองในการจัดการคลังตั้งแต่การ รับสินค้าเข้า การขนส่ง ไปจนกระทั่งการเคลื่อนย้ายคลัง รวมถึงระบบต่างๆ ที่ร่วมกัน ทำงานอยู่
4.รูปเเบบการจัดเก็บสินค้า 6 รูปแบบการจัดเก็บสินค้า บริการจัดเก็บสินค้าเป็นบริการหนึ่งของ Ktn Stock shipping ที่จะช่วยให้เราจัดเก็บสินค้าง่ายขึ้น และ สะดวกสบาย เรามีบริการคลังสินค้าไว้ให้กับลูกค้าทุกท่านเพื่อป้องกัน การขาดมือของสินค้าได้ วันนี้เรามี 6 รูปแบบการจัดเก็บสินค้ามาฝาก กัน 1.การจัดเก็บสินค้าโดยไร้รูปแบบ (Informal System) เป็นการจัดเก็บสินค้าที่ไม่มีการจดบันทึกตำแหน่งการจัดเก็บสินค้าเข้าไว้ในระบบ และสินค้า ของเราทุกชนิดสามารถจัดเก็บสินค้าไว้ตำแหน่งใดก็ได้ในคลังสินค้า ซึ่งการจัดเก็บสินค้ารูป แบบนี้เหมาะสำหรับคลังสินค้าที่มีขนาดเล็ก 2. การจัดเก็บสินค้าโดยกำหนดตำแหน่งตายตัว (Fixed Location System) เป็นการจัดเก็บสินค้าที่มีการระบุตำแหน่งจัดเก็บสินค้าแบบตายตัว ซึ่งการจัดเก็บสินค้ารูป แบบนี้เหมาะสำหรับคลังสินค้าที่มีขนาดเล็ก หรือมีพนักงานไม่มากนัก .
4.รูปเเบบการจัดเก็บสินค้า 3. สินค้าโดยจัดเรียงตามรหัสสินค้า (Part Number System) เป็นการจัดเก็บสินค้าโดยใช้รหัสสินค้า มีการกำหนดตำแหน่งตายตัว การเก็บแบบใช้รหัสสินค้า จะมีลำดับการจัดเก็บสินค้าเรียงกัน เช่น รหัสสินค้าหมายเลข A123 ซึ่งการจัดเก็บสินค้ารูป แบบนี้จะทำให้พนักงานรู้ตำแหน่งของสินค้าได้ง่ายยิ่งขึ้น . 4. การจัดเก็บสินค้าตามประเภทของสินค้า (Commodity System) เป็นการจัดเก็บสินค้าตามประเภทของสินค้า โดยมีการจัดตำแหน่งการวางคล้ายกับร้านค้าปลีก หรือตาม Supermarket ทั่วไปที่มีการจัดวางสินค้าในกลุ่มเดียวกัน หรือประเภทเดียวกันไว้ ซึ่งการจัดเก็บสินค้า รูปแบบนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บสินค้ามากขึ้น และง่ายต่อพนักงาน
4.รูปเเบบการจัดเก็บสินค้า 5. การจัดเก็บสินค้าที่ไม่ได้กำหนดตำแหน่งตายตัว (Random Location System) เป็นการจัดเก็บสินค้าที่ไม่ได้มีการกำหนดตำแหน่งตายตัว ทำให้สินค้าแต่ละชนิดสามารถเก็บไว้ในตำแหน่งใดก็ได้ ในคลังสินค้า แต่ในรูปแบบการจัดเก็บสินค้านี้จำเป็นต้องมีระบบสารสนเทศในการจัดเก็บ และติดตามข้อมูลของ สินค้าเข้ามาช่วยว่าอยู่ในตำแหน่งใด โดยจะต้องมีการปรับปรุงข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการจัดเก็บสินค้ารูปแบบ นี้เป็นการใช้พื้นที่คลังสินค้าได้อย่างคุ้มค่า และเป็นระบบเหมาะสำหรับคลังสินค้าทุกขนาด 6. การจัดเก็บสินค้าแบบผสม (Combination System) เป็นการจัดเก็บสินค้าแบบผสมผสาน โดยตำแหน่งในการจัดเก็บสินค้านั้นจะมีการพิจารณาจาก เงื่อนไข หรือข้อจำกัดของสินค้า ชนิดนั้น ๆ เช่น หากสินค้านั้นเป็นวัตถุอันตราย หรือมีสารเคมี ต่าง ๆ เราควรจัดแยกออกจากสินค้าประเภทอาหาร และเครื่องดื่ม
5.การขนส่ง การขนส่งคืออะไร? การขนส่ง (Transportation) คือ การเคลื่อนย้ายคน (People), สินค้า (Goods) หรือ บริการ (Services) จากตำแหน่งสถานที่หนึ่งไปยังอีกตำแหน่งสถานที่หนึ่ง โดยใช้โครงสร้างพื้นฐาน, ยานพาหนะ และ วิธีดำเนินการที่แตกต่างกันออกไป การขนส่งมีกี่ประเภท? ในปัจจุบันการขนส่งสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลักๆ
5.กา รขนส่ง การขนส่งทางบก จำแนกเป็น 2 รูปแบบ… 1. การขนส่งทางรถยนต์ (Motor Transportation) หรือ รถบรรทุก (Truck Transportation) ที่ในปัจจุบันเป็นที่นิยมอย่างมาก เหมาะสำหรับสินค้าขนาดกลางไปถึงขนาดใหญ่ สะดวก รวดเร็ว ขนส่ง สินค้าได้ตลอดเวลาตามความต้องการ และการขนส่งทางรถยนต์อีกรูปแบบคือ การขนส่งโดยใช้ จักรยานยนต์ (Motorcycle) ที่จะเหมาะกับสินค้าขนาดเล็ก-กลาง ในระยะการขนส่งสั้น ๆ เท่านั้น 2. การขนส่งทางรถไฟ (Railroads) เป็นเส้นทางการขนส่งที่สำคัญอีกทางหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมเป็น อย่างมากในยุคสมัยก่อน หรือยุคบุกเบิกการขนส่งเลยก็ว่าได้ แม้ในปัจจุบันจะได้รับความนิยมลดน้อย ลงก็ตาม เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักและปริมาณมาก ในระยะทางไกล มีอัตราค่าบริการไม่ แพงมากนัก และขนส่งสินค้าได้จำนวนมากหลายชนิด
5.การขนส่ง การขนส่งทางน้ำ การขนส่งโดยใช้เส้นทางลำเลียงสินค้าผ่าน แม่น้ำ, ลำคลอง, ทะเล ส่วนใหญ่ใช้สำหรับการ ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเหมาะสมกับสินค้าที่มีขนาดใหญ่ ขนส่งได้ปริมาณมากเป็น สินค้าที่ยากแก่การเสียหาย เช่น หิน ทราย ข้าว เป็นต้น ซึ่งอัตราค่าขนส่งจะถูกกว่าเมื่อเทียบ กับการขนส่งทางอื่นๆ อีกทั้งยังขนส่งได้ในปริมาณที่เยอะ และสามารถส่งในระยะไกลๆได้ แต่ อาจใช้ระยะเวลาการขนส่งที่ไม่แน่นอน
5.การขนส่ง การขนส่งทางอากาศ การขนส่งทางอากาศเป็นรูปแบบที่เหมาะกับการขนส่งระหว่างประเทศ หรือการขนส่งที่ ต้องการความรวดเร็วสูง สะดวกและปลอดภัย โดยส่วนใหญ่แล้วจะขนส่งสินค้าทาง ‘เครื่องบิน’ เหมาะกับการขนส่งสินค้ามูลค่าสูง ประเภทที่เปราะบางและอาจเกิดความเสีย หายง่าย ไม่เหมาะกับสินค้ามูลค่าต่ำ สินค้าที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากเกินไป ซึ่งการ ขนส่งทางอากาศจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการขนส่งประเภทอื่นๆ
5.การขนส่ง การขนส่งทางท่อ เป็นการขนส่งสินค้าประเภท ของเหลวและก๊าซ ผ่านสายเดิน ท่อ ที่ติดตั้งไว้ เช่น น้ำ ประปา น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งการขนส่งทางท่อจะแตกต่างกับการขนส่ง ประเภทอื่นตรงที่ อุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งไม่ต้องเคลื่อนที่ โดยเส้นทางขนส่งทางท่อ อาจจะอยู่บนดิน ใต้ดินหรือใต้น้ำ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ ทำให้กำหนดเวลาการ ขนส่งได้แน่นอนชัดเจน ประหยัดต้นทุน เวลาในการขนย้ายสินค้า และมีความ ปลอดภัยสูงจากการสูญหายหรือลักขโมย ใช้กำลังคนน้อย ซึ่งมีข้อเสียตรงที่ขนส่งได้ เฉพาะสินค้าที่เป็นของเหลวหรือก๊าซเท่านั้น และมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนครั้งแรกสูง มาก
5.การขนส่ง การขนส่งระบบคอนเทนเนอร์ การขนส่งที่จะบรรจุสินค้าลงใน ตู้ หรือ กล่องเหล็กขนาดใหญ่ แล้วทำการขนส่งโดย รถ บรรทุก รถไฟ หรือ เครื่องบิน ไปยังจุดหมายปลายทางโดยไม่มีการขนถ่ายสินค้าออกจากตู้ ระหว่างทำการขนส่งเที่ยวนั้น ซึ่งตู้คอนเทนเนอร์ทนทานต่อสภาพลมฟ้าอากาศ จึงสามารถ ป้องกันสินค้าชำรุดเสียหายได้เป็นอย่างดีนั่นเอง ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูล ความหมาย และ ประเภท ของการขนส่ง ที่เรานำมาฝากกัน ซึ่งใน ปัจจุบันการขนส่งมีความเจริญก้าวหน้าและมีการพัฒนาไปไกลมากยิ่งขึ้น มีวิธีการขนส่งโดย ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆควบคู่ไปด้วยมากมาย ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถเลือกวิธีการขนส่งได้ หลายวิธี ดังนั้นเราจึงควรศึกษาวิธีการแต่ละรูปแบบ และเทคโนโลยีที่เพิ่มประสิทธิภาพในการ ขนส่ง ให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง
6.โลจิสติกส์ โลจิสติกส์ (Logistics) หมายถึงระบบการจัดส่งสินค้า สิ่งของ หรือทรัพยากรใดก็ตามจากแต่ละ สถานที่ไปยังจุดหมาย รวมไปถึงการบริหารสินค้าคงคลัง การจัดการบรรจุหีบห่อ โดยมีจุดประสงค์ หลักคือการนำส่งของไปถึงมือผู้รับอย่างปลอดภัย เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีความสำคัญต่อ Supply Chain เป็นอย่างมาก เนื่องจากกระบวนการจัดส่ง สินค้านั้นต้องใช้เงินทุนจำนวนมหาศาล ผู้ประกอบการจำนวนมากจึงเลือกที่จะใช้บริการโลจิสติกส์ เพื่อเป็นสื่อกลางในการนำส่งสินค้าของตนไปยังลูกค้านั่นเอง
7.ปัญหาของระบบโลจิสติกส์ เพราะระบบโลจิสติกส์ประกอบไปด้วยหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น ผู้ผลิต, คลังสินค้า, รถขนส่ง รวมไป ถึงผู้บริโภคปลายทาง ปัญหามักที่ตามมาในการบริหารโลจิสติกส์คือความไม่ต่อเนื่องของการประสาน งานระหว่างแต่ละหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยอุปสรรคในการประสานงานนี้มักนำไปสู่ความไร้ ประสิทธิภาพและปัญหาหน้างานอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมา ผู้บริโภคปัจจุบันมักต้องการความสะดวก รวดเร็วในการรายงานสถานะของทุกๆ ขั้นตอนใน การสั่งซื้อสินค้า ความยืดหยุ่นในการสั่งสินค้าทั้งทาง online และ offline รวมไปถึงความ ยืดหยุ่นในการส่งสินค้าหรือเลือกรับสินค้า การขาดสื่อสารกับผู้บริโภคทำให้เกิดความไม่สะดวกและส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ได้
8.การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์ การที่เราสามารถลดต้นทุนในระบบโลจิสติกส์เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้การดำเนินงาน ของ ธุรกิจในด้านโลจิสติกส์ มีประสิทธิภาพสูงสุด ก็คือลดต้นทุนและการบริหารคลัง การจัดส่ง ให้ น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และการลดปริมาณสินค้าในคลังให้น้อยที่สุด “การลดปริมาณสินค้า คงคลังจะทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์ลดลง”
9.การวางเเผนการขนส่ง การวางแผนการขนส่ง (Transportation Planning) คือกระบวนการตัดสิน ใจที่เกี่ยวข้องกับระบบการขนส่งในอนาคต ซึ่งมักจะมุ่งเน้นในประเด็นที่เกี่ยวข้อง กับความต้องการการขนส่งในอนาคต ความสัมพันธ์ระหว่างระบบขนส่งและ โครงสร้างพื้นฐาน ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการใช้พื้นที่เศรษฐกิจ และการ ขนส่ง ทางเลือก สําหรับดำเนินการระบบขนส่ง
อ้างอิงจากเเหล่งข้อมูล 1. http://stockshipping.ktndevelop.com. 2. https://th.m.wikipedia.org/wiki 3. https://1stcraft.com/ 4. http://stockshipping.ktndevelop.com/ 5. https://www.cartrack.co.th/ 6. https://www.tot.co.th/ 7. https://www.mologtech.com/th// 8. http://www.nida-pro.com/index. 9. https://www.debut.in.th/
thank you������
Search
Read the Text Version
- 1 - 20
Pages: