กิจกรรมบูรณาการ บทที่ 2 การจัดเก็บสินค้าเเละการขนส่ง เสนอ อาจารย์วิรุฬห์ ทำทอง จัดทำโดย นาย ทัตเทพ เอกทัตร์ เลขที่ 21 ปวส.1/4 วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์
หัวข้อทั้งหมดมี 9 ข้อ ดังนี้ 1.การจัดเก็บสินค้าเเละองค์ประกอบของสินค้า 2.คลังสินค้า 3.ระบบการจัดการคลังสินค้า 4.รูปเเบบการจัดเก็บสินค้า 5.การขนส่ง 6.โลจิสติกส์ 7.ปัญหาของระบบโลจิสติกส์ 8.การลดต้นทุนเเละการเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์ 9.การวางเเผนการขนส่ง
การจัดเก็บสินค้าและองค์ประกอบของสินค้า การจัดเก็บสินค้าคงคลัง ประโยชน์และขั้นตอน ฉบับเข้าใจง่าย การจะทำธุรกิจทั้งทีคงไม่ใช่คิดแค่เรื่องว่าจะได้กำไรหรือขาดทุน แต่ยังมีอีกหลายๆ องค์ ประกอบที่จะทำให้กิจการของคุณเดินหน้าและเติบโต ซึ่งหนึ่งเรื่องที่ขาดไม่ได้คงจะเป็น เรื่องการจัดเก็บสินค้าคงคลัง แต่หลายคนคงยังสงสัยว่าสินค้าคงคลังคืออะไร แล้วจะมา ช่วยให้ธุรกิจเดินหน้าได้อย่างไร วันนี้เราลองไปหาคำตอบกันเลย สินค้าคงคลังคืออะไร ทำไมคุณถึงมีความสำคัญ? สินค้าคงคลังหมายถึงสินค้าหรือวัสดุต่างๆ ที่เก็บไว้รอการกระจาย ซึ่งอาจจะเก็บไว้เพื่อใช้ ประโยชน์ในการดำเนินงานการผลิตหรือการขายสู่ท้องตลาด
คลังสินค้า คลังสินค้า (Warehouse) คือ สถานที่ที่ใช้สำหรับการวาง เก็บ หรือพักสินค้าเพื่อรอการกระจายหรือการ ขนส่ง ในบางครั้งอาจมีการใช้คำเรียกอื่น ๆ เช่น โกดัง โรงเก็บสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วมักถูกใช้โดยผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้ค้าส่ง รวมไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขนส่งหรือ โลจิสติกส์ ซึ่งคลังสินค้านี้มักจะมีการออกแบบเฉพาะ กล่าวคือ เป็นอาคารชั้นเดียว มีพื้นที่โล่งกว้าง ในบางแห่งอาจมีระบบควบคุมอุณหภูมิ ระบบป้องกันน้ำท่วม หรือระบบอื่น ๆ เพื่อให้สามารถจัดเก็บ สินค้าโดยไม่ให้สินค้าเสื่อมสภาพหรือเสียหาย คลังสินค้าส่วนใหญ่ยังมีทางลาดเอียงสำหรับลำเลียง และขนถ่ายสินค้าขึ้นหรือลงรถ และมักตั้งอยู่ใกล้กับเขตอุตสาหกรรมหรือนิคมอุตสาหกรรมในเขต ชานเมืองและนอกเมือง สถานีรถไฟ สนามบิน หรือท่าเรือ ทั้งนี้ สินค้าที่นิยมจัดเก็บในคลังสินค้าอาจ เป็นสินค้าชนิดใดก็ได้ อาทิ ชิ้นส่วนอะไหล่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ วัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ สินค้าสำตเร็ จรูปต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม โดยจะมีระบบการบริหารจัดการ สินค้าคงคลังเพื่อระบุชนิดของสินค้า จำนวนคงเหลือ และจำแนกหมวดหมู่อย่างชัดเจน
ระบบการจัด การสินค้า คือ ระบบการจัดการข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับตัวสินค้า หรือ วัตถุดิบที่ใช้ใน กระบวนการผลิตสินค้า โดยอาศัยระบบ Barcode เข้ามาช่วยกำหนดตัวตนของสินค้า หรือ วัตถุดิบแต่ละตัว และนำข้อมูลตัวสินค้าหรือวัตถุดิบบันทึกข้อมูลในระบบเพื่อนำข้อมูลดัง กล่าวไปจัดการในรูปแบบต่างๆ ตามที่เราต้องการ โดยมีการกระทำอยู่ 3 กระบวนกหลัก คือ กระบวนการรับเข้ากระขวนการจัดเก็บ และกระบวนการจัดส่ง
รูปแบบการจัดเก็บสินค้า 6 รูปแบบการจัดเก็บสินค้า 1.การจัดเก็บสินค้าโดยไร้รูปแบบ (Informal System) เป็นการจัดเก็บสินค้าที่ไม่มีการจดบันทึกตำแหน่งการจัดเก็บสินค้าเข้าไว้ในระบบ และสินค้าของเราทุกชนิดสามารถจัดเก็บ สินค้าไว้ตำแหน่งใดก็ได้ในคลังสินค้า ซึ่งการจัดเก็บสินค้ารูปแบบนี้เหมาะสำหรับคลังสินค้าที่มีขนาดเล็ก 2.การจัดเก็บสินค้าโดยกำหนดตำแหน่งตายตัว (Fixed Location System) เป็นการจัดเก็บสินค้าที่มีการระบุตำแหน่งจัดเก็บสินค้าแบบตายตัว ซึ่งการจัดเก็บสินค้ารูปแบบนี้เหมาะสำหรับคลังสินค้าที่มี ขนาดเล็ก หรือมีพนักงานไม่มากนัก 3.การจัดเก็บสินค้าโดยจัดเรียงตามรหัสสินค้า (Part Number System) เป็นการจัดเก็บสินค้าโดยใช้รหัสสินค้า มีการกำหนดตำแหน่งตายตัว การเก็บแบบใช้รหัสสินค้าจะมีลำดับการจัดเก็บสินค้า เรียงกัน เช่น รหัสสินค้าหมายเลข A123 ซึ่งการจัดเก็บสินค้ารูปแบบนี้จะทำให้พนักงานรู้ตำแหน่งของสินค้าได้ง่ายยิ่งขึ้น
4.การจัดเก็บสินค้าตามประเภทของสินค้า (Commodity System) เป็นการจัดเก็บสินค้าตามประเภทของสินค้า โดยมีการจัดตำแหน่งการวางคล้ายกับร้านค้าปลีก หรือตาม Supermarket ทั่วไปที่มีการจัด วางสินค้าในกลุ่มเดียวกัน หรือประเภทเดียวกันไว้ ซึ่งการจัดเก็บสินค้ารูปแบบนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บสินค้ามากขึ้น และง่ายต่อพนักงาน 5.การจัดเก็บสินค้าที่ไม่ได้กำหนดตำแหน่งตายตัว (Random Location System) เป็นการจัดเก็บสินค้าที่ไม่ได้มีการกำหนดตำแหน่งตายตัว ทำให้สินค้าแต่ละชนิดสามารถเก็บไว้ในตำแหน่งใดก็ได้ในคลังสินค้า แต่ ในรูปแบบการจัดเก็บสินค้านี้จำเป็นต้องมีระบบสารสนเทศในการจัดเก็บ และติดตามข้อมูลของสินค้าเข้ามาช่วยว่าอยู่ในตำแหน่งใด โดยจะต้องมีการปรับปรุงข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการจัดเก็บสินค้ารูปแบบนี้เป็นการใช้พื้นที่คลังสินค้าได้อย่างคุ้มค่า และเป็นระบบ เหมาะสำหรับคลังสินค้าทุกขนาด 6.การจัดเก็บสินค้าแบบผสม (Combination System) เป็นการจัดเก็บสินค้าแบบผสมผสาน โดยตำแหน่งในการจัดเก็บสินค้านั้นจะมีการพิจารณาจากเงื่อนไข หรือข้อจำกัดของสินค้า ชนิด นั้น ๆ เช่น หากสินค้านั้นเป็นวัตถุอันตราย หรือมีสารเคมีต่าง ๆ เราควรจัดแยกออกจากสินค้าประเภทอาหาร และเครื่องดื่ม
การขนส่ง การขนส่ง (Transportation) คือ การเคลื่อนย้ายคน (People), สินค้า (Goods) หรือ บริการ (Services) จากตำแหน่งสถานที่หนึ่ง ไปยังอีกตำแหน่งสถานที่หนึ่ง โดยใช้โครงสร้างพื้นฐาน, ยาน พาหนะ และ วิธีดำเนินการที่แตกต่างกันออกไป
โลจิสติกส์ โลจิสติกส์ หรือ ลอจิสติกส์ (อังกฤษ: logistics) เป็นระบบการจัดการการส่งสินค้า ข้อมูล และทรัพยากรอย่างอื่นจากจุดต้นทางไปยังจุดบริโภคตามความต้องการของลูกค้า โลจิสติกส์เกี่ยวข้องกับการผสมผสานของ ข้อมูล การขนส่ง การบริหารวัสดุคงคลัง การ จัดการวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ โลจิสติกส์เป็นช่องทางหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานที่เพิ่ม มูลค่าของการใช้ประโยชน์ของเวลาและสถานที่
ปัญหาของระบบโลจิสติกส์ หากถามว่าโลจิสติกส์ (Logistic) คืออะไร? หลาย ๆ คนคงจะตอบว่า “การขนส่ง” ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ยังไม่ใช่ทั้งหมด เพราะการขนส่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของห่วงโซ่โลจิสติกส์ (Logistic) ซึ่งประกอบไปด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นน้ำไป จนถึงปลายน้ำ สิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้คือกระบวนการทั้งหมดที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การหาวัตถุดิบ การคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ การผลิต การบริหารคลังสินค้า การกระจายสินค้า รวมไปถึงการบริการลูกค้า ทุกขั้นตอนเหล่านี้ถือ เป็นต้นทุนในการบริหารกิจการทั้งสิ้น เพื่อให้คุณได้เข้าใจถึงปัญหาในการบริหารงานมากขึ้น เราได้สรุป 5 ประเด็นสำคัญที่ผู้ ประกอบการต้องทำความเข้าใจ เพื่อที่จะบริหารและจัดการโลจิสติกส์ (Logistic) ของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.ต้นทุนการผลิต 2.การจัดการคลังสินค้า 3.การกระจายสินค้า 4.การบริการลูกค้า
ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์ 5 กลยุทธ์ที่จะช่วยลดต้นทุนในการขนส่ง ต้นทุนการขนส่งนับเป็นต้นทุนที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งเพราะในปัจจุบันการขนส่งมีความสำคัญต่อธุรกิจเกือบทุกประเภท ทำให้ในหลาย ๆ ธุรกิจต้นทุนการผลิตมีผลกระทบต่อต้นทุนรวมของผลิตภัณฑ์และบริการ ต้นทุนของผู้ประกอบการขนส่งจะ มากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาค่าขนส่ง ดังนั้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องวางแผนกำหนด กลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนในการขนส่ง ดังต่อไปนี้ 1. กลยุทธ์การใช้พลังงานทางเลือก 2. กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งแบบใหม่ 3. กลยุทธ์ศูนย์กระจายสินค้า 4. กลยุทธ์การขนส่งสินค้าทั้งเที่ยวไปและกลับ 5. กลยุทธ์การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
การวางแผนการขนส่ง การวางแผนการขนส่ง (Transportation Planning) คือกระบวนการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับระบบ การขนส่งในอนาคต ซึ่งมักจะมุ่งเน้นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความต้องการการขนส่งในอนาคต ความสัมพันธ์ระหว่างระบบขนส่งและโครงสร้างพื้นฐาน ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการใช้พื้นที่ เศรษฐกิจ และการขนส่ง ทางเลือก สําหรับดำเนินการระบบขนส่ง ผลกระทบด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมเนื่องมาจากระบบขนส่ง และการลงทุนและการบริหารองค์กรเพื่อดำเนินการตาม แผนการขนส่ง เป็นต้น
อ้างอิง 1.https://www.amauditgroup.com/en/9-ข่าวสาร/32-การจัดเก็บสินค้าคงคลัง-ประโยชน์และขั้นตอน-ฉบับเข้าใจง่าย.html 2.https://industrial.frasersproperty.co.th/th/updates/blog/73/คลังสินค้าคืออะไร-ทำความรู้จักกับคลังสินค้าให้มากขึ้นก่อนเช่าคลังสินค้า 3.http://www.aio-ss.com/16691665/wms-warehouse-manager-ระบบจัดการคลังสินค้า 4.http://stockshipping.ktndevelop.com/2021/09/02/6-รูปแบบการจัดเก็บสินค้า/ 5.https://www.cartrack.co.th/blog/kaarkhnsng-khuue-aair-miikiiruupaebbaelamiiaebbaidbaang 6.https://th.m.wikipedia.org/wiki/โลจิสติกส์ 7.https://logistplus.co.th/ปัญหาของโลจิสติกส์-logistic-ที/ 8.https://www.smeone.info/posts/view/336 9.https://www.debut.in.th/files/2017/group2/planner.html
Search
Read the Text Version
- 1 - 14
Pages: