Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore แผนพัฒนาการศึกษาปี พ.ศ. 2561 – 2565 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564)

แผนพัฒนาการศึกษาปี พ.ศ. 2561 – 2565 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564)

Description: แผนพัฒนาการศึกษาปี พ.ศ. 2561 – 2565 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564)

Search

Read the Text Version

คำนำ สำนกั งานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาเชยี งราย เขต 3 จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาขน้ั พื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564) เพื่อเป็นทิศทางการบริหารจัดการตาม บริบทของเขตพื้นท่ีการศึกษา และเป็นแนวทางการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัด โดยมีสาระสำคัญ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ จุดเน้น โครงการและกิจกรรมท่ีตอบสนองและสอดคล้อง กับกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖1 – ๒๕80) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตรช์ าติ (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 - 2565) นโยบายรัฐบาล (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ) นโยบายและจุดเน้นของ กระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 และท่ีเพ่ิมเติม นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ข้นั พน้ื ฐาน และบรบิ ทตา่ ง ๆ ท่ีเก่ียวขอ้ งกับสำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาเชยี งราย เขต ๓ การดำเนนิ การตามแผนพัฒนาการศึกษาขน้ั พืน้ ฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564) จะบรรลุผลตามเป้าหมายท่ีกำหนดไว้ ต้องได้รับความร่วมมือจากกลุ่มท่ีเก่ียวข้อง และการสนับสนุนจากผู้มีส่วนร่วมผลักดันแผนสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล โดยเป้าหมายสูงสุดตามมิติการบริหารราชการ คือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและมุ่งเน้นให้ นักเรยี นได้รับโอกาสทางการศกึ ษาอย่างทั่วถงึ และมีคุณภาพอย่างเทา่ เทียมกนั สำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 หวังเป็นอย่างยิ่งว่าแผนพัฒนา การศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564) จะเป็นกรอบ ทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน เป็นประโยชน์ในการดำเนินงานของผู้ปฏิบัติ หน่วยงาน และ สถานศึกษาในสังกัดให้สามารถบริหารจัดการศึกษาข้ันพ้ืนฐานตามภารกิจได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน การศึกษาต่อไป สำนกั งานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ขอขอบคณุ ทุกท่านท่ีมีสว่ นเกี่ยวข้อง ในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาข้ันพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564) ไว้ ณ โอกาสนี้ สำนกั งานเขตพนื้ ที่การศึกษาประถมศกึ ษาเชยี งราย เขต ๓

สารบญั หน้า ส่วนที่ ๑ บทนำ ๑ - ความเป็นมาและความสำคัญ ๑ - วัตถุประสงค์ 2 - เป้าหมายรวมของการบริหารจัดการ ส่วนท่ี ๒ บริบททีเ่ ก่ียวข้องกับสำนักงานเขตพน้ื ที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 - รัฐธรรมนญู แห่งราชอาณาจักรไทย 4 - พระบรมราโชบายด้านการศึกษาในสมเด็จพระเจา้ อยู่หวั รัชกาลที่ 10 4 - ยทุ ธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙ ) 5 - แผนแมบ่ ทภายใตย้ ุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) 8 - แผนการปฏริ ปู ประเทศ 8 - แผนพฒั นาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) 9 - แผนการศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 12 - นโยบายและแผนระดบั ชาติวา่ ดว้ ยความมัน่ คงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 - 2565) 14 - นโยบายรัฐบาล (พลเอก ประยุทธ์ จนั ทรโ์ อชา นายกรัฐมนตรี) 15 - แผนปฏบิ ตั ิราชการระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 - 2565) ของกระทรวงศึกษาธกิ าร 18 - แผนปฏิบัติราชการรายปี (พ.ศ. 2564) ของกระทรวงศึกษาธิการ 18 - แผนปฏิบัตริ าชการะยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 - 2565) 18 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพนื้ ฐาน - แผนพฒั นาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2560 – 2564 19 - นโยบายและจุดเนน้ ของกระทรวงศกึ ษาธกิ าร ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 20 - นโยบายและจดุ เน้นของกระทรวงศึกษาธกิ าร ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ( เพมิ่ เตมิ ) 23 - นโยบายสำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพนื้ ฐาน ปงี บประมาณ พ.ศ.2564 – 2565 24 - ทศิ ทางการพฒั นาจงั หวัดเชียงราย 26 - ทิศทางการพฒั นาการศึกษาสำนกั งานศึกษาธิการจังหวดั เชียงราย 27

สว่ นท่ี ๓ สภาพแวดล้อมของสำนักงานเขตพืน้ ที่การศึกษาประถมศกึ ษาเชียงราย เขต 3 29 - สภาพแวดลอ้ มของสำนักงานเขตพืน้ ทกี่ ารศึกษาประถมศึกษาเชยี งราย เขต 3 30 - บุคลากรสังกัดสำนกั งานเขตพ้ืนทกี่ ารศึกษาประถมศึกษาเชยี งราย เขต 3 32 - ผลสมั ฤทธิท์ างการเรยี น 35 - ผลการวเิ คราะห์สภาพแวดล้อม 40 สว่ นท่ี 4 ทิศทางของแผนพัฒนาการศกึ ษาขัน้ พื้นฐาน 40 - วิสยั ทศั น์ 40 - พันธกจิ 41 - เปา้ หมาย 41 - วาระแหง่ การพัฒนาสำนักงานเขตพ้นื ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 41 - นโยบาย 42 - กลยทุ ธ์ 42 - ค่านยิ มองค์กร 43 - วัฒนธรรมองค์กร 45 - รูปแบบการบรหิ ารจดั การสรา้ งความเข้มแข็ง 6 ร MODEL - เป้าประสงค์เชงิ ยทุ ธศาสตร์ ตวั ชวี้ ดั และค่าเป้าหมาย

บทสรปุ สำหรับผู้บรหิ าร สำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564) โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือ กำหนดทิศทางการพัฒนาการศึกษาและกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาสู่การปฏิบัติ โดยทิศทางของแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 สรปุ ไดด้ ังนี้ วิสยั ทัศน์ “ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 เป็นองค์กรคุณภาพ มุ่งส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ” พนั ธกจิ ๑. จัดการศกึ ษาเพ่ือเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบนั หลักของชาติและการปกครองในระบอบ ประชาธปิ ไตยอันมีพระมหากษัตรยิ ์ทรงเป็นประมุข ๒. พฒั นาผู้เรียนใหม้ ีสมรรถนะและความสามารถในการแข่งขัน สู่ศตวรรษท่ี 21 ๓. พัฒนาศักยภาพผเู้ รียนให้มีทกั ษะพื้นฐานทางอาชีพเพอื่ การมีงานทำ ๔. สรา้ งโอกาสใหผ้ ูเ้ รียนทุกคนไดร้ ับบรกิ ารทางการศึกษาอย่างทวั่ ถึงและเทา่ เทยี ม ๕. จัดการศึกษาเพื่อพฒั นาคุณภาพชวี ิตที่เป็นมติ รกับสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง ๖. พฒั นาประสทิ ธิภาพระบบการบรหิ ารจดั การศกึ ษาโดยใช้เทคโนโลยสี ารสนเทศและการสรา้ ง เครอื ข่ายความร่วมมือจากทกุ ภาคส่วน 7. พฒั นาผบู้ รหิ าร ครู และบคุ ลากรทางการศึกษาสู่ความเปน็ มอื อาชีพ เป้าหมาย ๑. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสรา้ งความม่ันคงของสถาบนั หลักของชาติและการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอนั มีพระมหากษตั รยิ ท์ รงเป็นประมขุ ๒. พัฒนาผูเ้ รียนใหม้ ีสมรรถนะและความสามารถในการแข่งขนั สูศ่ ตวรรษท่ี 21 ๓. พฒั นาศกั ยภาพผ้เู รยี นให้มีทักษะพนื้ ฐานทางอาชพี เพ่ือการมีงานทำ ๔. สรา้ งโอกาสใหผ้ เู้ รียนทกุ คนได้รบั บรกิ ารทางการศกึ ษาอยา่ งทว่ั ถงึ และเทา่ เทียม ๕. จดั การศกึ ษาเพ่ือพัฒนาคุณภาพชีวติ ที่เป็นมิตรกบั สง่ิ แวดล้อม โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง ๖. พฒั นาประสทิ ธภิ าพระบบการบรหิ ารจัดการศกึ ษาโดยใชเ้ ทคโนโลยสี ารสนเทศและการสร้าง เครอื ข่ายความรว่ มมือจากทกุ ภาคส่วน 7. พัฒนาผูบ้ รหิ าร ครู และบุคลากรทางการศึกษาสู่ความเปน็ มอื อาชพี

วาระแห่งการพัฒนาสำนักงานเขตพนื้ ท่ีการศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 1. น้อมนำพระบรมราโชบายดา้ นการศึกษาของในหลวงรัชกาลท่ี 10 ลงส่กู ารปฏิบตั ิ 2. จดั การศึกษาโดยเน้นเรอ่ื งคณุ ภาพดา้ นวิชาการ ยกระดับผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ O-NET , NT 3. ใหโ้ รงเรยี นจัดทำสญั ลักษณส์ ถาบันหลกั ของชาตไิ ว้หนา้ ชนั้ เรยี น เหนอื กระดานทกุ หอ้ งเรียน 4. จัดการศกึ ษาโดยยึดนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธกิ าร และสำนักงาน คณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพ้นื ฐาน 5. ให้โรงเรยี นสอดแทรกคา่ นิยมหลักคนไทย 12 ประการในกจิ กรรมการจัดการเรยี นการสอนทุกวิชา 6. ครูตอ้ งไม่ท้งิ ห้องเรียน ไม่ท้งิ นกั เรยี น 7. บริหารจัดการศึกษาของโรงเรยี นเน้นการมีสว่ นรว่ ม 8. ทำงานโดยยดึ ถอื ระเบยี บแบบแผนของทางราชการ มคี วามถกู ตอ้ ง โปร่งใสตามหลกั ธรรมาภบิ าล นโยบาย นโยบายท่ี ๑ การจัดการศึกษาเพอื่ ความมัน่ คงของมนุษยแ์ ละของชาติ นโยบายท่ี ๒ การจัดการศึกษาเพือ่ เพ่ิมความสามารถในการแขง่ ขันของประเทศ นโยบายท่ี ๓ การพฒั นาและเสริมสร้างศกั ยภาพผเู้ รยี นสู่อาชพี และการมงี านทำ นโยบายที่ ๔ การสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการการศึกษาที่มีคุณภาพและลดความเหลื่อมล้ำ ทางการศกึ ษา นโยบายที่ ๕ การจัดการศึกษาเพ่อื พัฒนาคุณภาพชีวติ ท่ีเป็นมิตรกับส่งิ แวดล้อม นโยบายที่ ๖ การปรับสมดุลและพฒั นาระบบการบริหารจดั การศกึ ษา กลยทุ ธ์ กลยุทธ์ท่ี ๑ สง่ เสรมิ และพฒั นาผเู้ รยี นใหเ้ ป็นพลเมืองทด่ี ีของชาติ กลยุทธ์ท่ี ๒ พัฒนาผเู้ รยี นให้มคี วามสามารถในการแขง่ ขนั กลยทุ ธ์ท่ี ๓ ส่งเสริมและพัฒนาทกั ษะของผเู้ รยี นเพ่ือเชื่อมโยงส่อู าชีพและการมงี านทำ กลยุทธ์ที่ ๔ สรา้ งโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศกึ ษา กลยทุ ธ์ท่ี ๕ สง่ เสรมิ การจดั การศกึ ษาเพ่ือพฒั นาคุณภาพชีวติ ท่ีเปน็ มติ รกับส่งิ แวดลอ้ ม กลยทุ ธ์ที่ ๖ พัฒนาประสิทธิภาพระบบการบรหิ ารจัดการศึกษา

ค่านิยมองค์กร (Core Values) : 3Ps (Triple P) วัฒนธรรมองคก์ ร (Organization Culture) ม่งุ พัฒนางาน บริการด้วยหวั ใจ ก้าวไกลสู่องคก์ รคุณภาพ

รูปแบบการบรหิ ารจัดการสร้างความเข้มแข็ง 6 ร MODEL แนวทางในการจัดการที่ทนั สมยั เพือ่ รับมือกบั การเปลยี่ นแปลงภายใตก้ ารนำของ นายวเิ ศษ เชยกระรินทร์ ผอู้ ำนวยการสสำนกั งานเขตพนื้ ทก่ี ารศกึ ษาเชยี งราย เขต 3 ได้แก่ 1) ร่วมคิด (Thinking Participation) หมายถึง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมวางแผนการติดตาม การกำหนด ตัวชี้วัดในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขต พนื้ ทกี่ ารศกึ ษา 2) ร่วมปฏิบัติ (Implementing Participation) หมายถึง ให้ทุกภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัด การศึกษา มีส่วนร่วมในงานด้านวชิ าการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงาน ทั่วไป ภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและ นิเทศการศึกษาของเขตพ้ืนท่ีการศึกษา 3) ร่วมติดตาม นิเทศ (Supervision Participation) หมายถึง ให้ทุกภาคส่วนที่มสี ่วนได้ส่วนเสียในการ จัดการศึกษา คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา และ ศึกษานิเทศก์มีส่วนร่วมในการกำกับ นิเทศ และติดตาม ความก้าวหน้าตามแผนเป็นระยะ ๆ โดยสร้างเครือข่าย เป็นกลไกในการติดตามและนิเทศการศึกษา

4) ร่วมประเมินผล (Evaluation Participation) หมายถึง ให้ทุกภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการ จัดการศึกษา คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา มีส่วน รว่ มในการตดิ ตามและประเมินผลตามแผนปฏิบตั ิการท่ีกำหนดไว้ 5) ร่วมปรับปรุงและพัฒนา (Improve and develop Participation) หมายถึงให้ทุกภาคส่วนที่มีสว่ น ได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษา คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่ การศึกษา มีส่วนร่วมในการสรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานต่อต้นสังกัดในด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไป และนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนางานของ เขตพน้ื ที่การศึกษา 6) ร่วมชื่นชมความสำเร็จ (Praise of participation) ยกย่อง เชิดชูเกียรติสถานศึกษา ผู้เรียน ครูและ บุคลากรทางการศึกษาสู่ความเป็นมืออาชีพ และส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพของครูและบุคลากรทางการ ศกึ ษาทุกกล่มุ เป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งหมดนี้ คือแนวทางการดำเนินงานในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย และมุ่งมั่นในการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการที่ดี สร้างความเข้มแข็งด้วยการพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งการ เรียนรู้ มีการกระจายอำนาจ รวมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐานไปสู่เป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรมและให้สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการบริหารและการจัดการศึกษา ของสำนกั งานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ยทุ ธศาสตร์การจัดการศกึ ษาในเขตพฒั นาเศรษฐกิจพิเศษเชยี งรายของ สพป.เชยี งราย เขต 3 1. สร้างการรับรูอ้ ย่างรอบด้านแกผ่ ู้เก่ียวข้องในทุกระดับเน่ืองจากการรับรู้เก่ียวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษ ยงั อยู่ในวงจำกดั และรบั รูเ้ พียงผวิ เผนิ ไม่รถู้ ึงผลกระทบทจี่ ะเกดิ ขึ้นต่อตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติ 2. สร้างทัศนคติที่ดีในการอยู่ร่วมกันของสังคมพหุวัฒนธรรม เนื่องจากเขตเศรษฐกิจพิเศษจะมีการ เคลื่อนย้ายของประชากรต่างชาติ ต่างภาษา และต่างวัฒนธรรมเข้ามาเป็นจำนวนมาก การสร้างความเข้าใจ ยอมรบั และตระหนักในคณุ ค่าของวฒั นธรรมทต่ี า่ งกันให้สามารถอยรู่ ว่ มกันไดอ้ ยา่ งสนั ติ 3. พฒั นาทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารและเพ่ือการทำงาน ท้ังภาษาสากลและภาษาประเทศเพ่ือนบ้าน เชน่ ภาษาองั กฤษ ภาษาจีน ภาษาพมา่ ฯลฯ 4. พัฒนาทักษะอาชีพ สร้างเสริมคุณลักษณะพึงประสงค์ พัฒนาสมรรถนะเพื่อการแข่งขันใหส้ ามารถ มีงานทำและนำความรู้ไปใชป้ ระโยชน์ได้ ยุทธศาสตรก์ ารศึกษาโรงเรยี นในพน้ื ทโ่ี ครงการพัฒนาดอยตุง โครงการพัฒนาการศึกษาโรงเรียนในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจาก พระราชดำริ ระยะที่ 2 ม่งุ คุณภาพผู้เรยี นส่ศู ตวรรษท่ี 21 ปงี บประมาณ พ.ศ. 2558 - 2560 1. พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรูภ้ าษาไทยสำหรับเด็กทีไ่ ม่ใช้ภาษาแม่ในพืน้ ที่โครงการพัฒนาดอยตงุ (พืน้ ทีท่ รงงาน) อันเนอื่ งมาจากพระราชดำริ ตามแนวทางการจดั การเรียนร้แู บบมอนเตสซอรี่ 2. พัฒนาผู้เรียนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ Project Base Learning (PBL) โดยใช้ห้องเรียน ธรรมชาติบนดอยตุง 3. พัฒนาหลักสตู รและการจดั การเรียนการสอนท่มี งุ่ เนน้ ทักษะอาชพี ในระดบั มธั ยมศึกษา 4. สร้างความเข้มแขง็ ให้กบั ครูและบคุ ลากรทางการศกึ ษา

สว่ นที่ 1 บทนำ 1. ความเป็นมาและความสำคัญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จัดต้ังข้ึนตามบทบัญญัติ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2546 มาตรา 34 ที่บัญญัติให้จัดระเบียบบริหารราชการของเขตพื้นท่ีการศึกษา ประกอบด้วยสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา และสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และ กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดอำนาจหน้าท่ีของสำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษา ตามประกาศ กระทรวงศึกษาธิการ เร่ืองการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษา พ.ศ.2560 ประกอบด้วย (1) จัดทำนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการศึกษาของเขตพื้นท่ีการศึกษาให้ สอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐานการศึกษา แผนการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานและความ ตอ้ งการของทอ้ งถนิ่ (2) วิเคราะห์การจัดตั้งงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไปของสถานศึกษา และหน่วยงาน ในเขตพ้ืนท่ีการศึกษา และแจ้งการจดั สรรงบประมาณที่ได้รับให้หน่วยงานข้างต้นทราบ รวมทั้งกำกับ ตรวจสอบ ตดิ ตามการใช้จา่ ยงบประมาณของหน่วยงานดังกล่าว (3) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานศึกษาในเขตพ้ืนท่ี การศกึ ษา (4) กำกบั ดแู ล ตดิ ตาม และประเมินผลสถานศึกษาข้นั พน้ื ฐานในเขตพน้ื ที่การศึกษา (5) ศกึ ษา วเิ คราะห์ วิจยั และรวบรวมขอ้ มลู สารสนเทศด้านการศึกษาในเขตพื้นท่กี ารศึกษา (6) ประสานการระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากรบุคคล เพ่ือส่งเสริม สนบั สนุนการจดั การและพฒั นาการศกึ ษาในเขตพื้นท่กี ารศึกษา (7) จัดระบบการประกันคุณภาพการศกึ ษาและประเมนิ ผลสถานศึกษาในเขตพนื้ ทีก่ ารศึกษา (8) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน องค์กร ปกครองส่วนท้องถ่ิน รวมท้ังบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันอื่นทจี่ ัดรปู แบบที่หลากหลายในเขตพ้นื ทกี่ ารศึกษา (9) ดำเนินการและประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการศึกษาในเขต พน้ื ทีก่ ารศึกษา (10) ประสาน ส่งเสริม การดำเนินการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และ คณะทำงานด้านการศึกษา (11) ประสานการปฏิบัติราชการทั่วไปกับองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถ่นิ (12) ปฏิบัติงานรว่ มกับหรือสนับสนุนการปฏิบตั ิงานของหน่วยงานอ่ืนท่ีเก่ียวข้องหรอื ที่ ได้รับมอบหมาย

๒ ดังน้ัน เพื่อให้การปฏิบัติงานของสำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 สอดคลอ้ งกับการปฏิรูปการศึกษาทบี่ ัญญตั ิไวใ้ นรฐั ธรรมนูญแหง่ ราชอาณาจกั รไทย พ.ศ.2560 ในสว่ นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561 -2580) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579 นโยบายและจุดเน้นกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 และท่ีเพิ่มเติม และนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2564 ประกอบกับ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 ได้กำหนดให้ในวาระเริ่มแรกการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการเป็นแผนห้าปี ตามมาตรา 16 แห่งพระราชกฤษฎีกานี้ ให้จัดทำเป็นแผนสามปีโดยมีห้วงระยะเวลาต้ังแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2565 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพ่ือกำหนดทิศทางการพฒั นาการศึกษาสำนักงานเขตพ้ืนท่กี ารศึกษาประถมศึกษา เชยี งราย เขต 3 2.2 เพอ่ื กำหนดแนวทางการขบั เคล่ือนการพัฒนาการศึกษา 3. เป้าหมายรวมของการบรหิ ารจัดการ 1) ร่วมคิด (Thinking Participation) หมายถึง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมวางแผนการ ติดตาม การกำหนดตัวชี้วัดในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยมุ่งผลสัมฤทธ์ิของหน่วยงานและ สถานศึกษาในสังกดั สำนกั งานเขตพ้นื ท่กี ารศกึ ษา 2) รว่ มปฏิบัติ (Implementing Participation) หมายถงึ ให้ทุกภาคสว่ นที่มีส่วนไดส้ ว่ น เสียในการจัดการศึกษา มีส่วนร่วมในงานด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานท่ัวไป ภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา คณะกรรมการ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมนิ ผลและนิเทศการศกึ ษาของเขตพ้นื ทก่ี ารศึกษา 3) รว่ มติดตาม นิเทศ (Supervision Participation) หมายถึง ให้ทุกภาคส่วนท่ีมีส่วน ได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษา คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา ของเขตพื้นท่ีการศึกษา และศึกษานิเทศก์มีส่วนร่วมในการกำกับ นิเทศ และติดตาม ความก้าวหน้า ตามแผนเป็นระยะ ๆ โดยสร้างเครือขา่ ยเป็นกลไกในการติดตามและนเิ ทศการศึกษา 4) ร่วมประเมินผล (Evaluation Participation) หมายถึง ให้ทุกภาคส่วนที่มีส่วนได้ สว่ นเสยี ในการจัดการศึกษา คณะกรรมการตดิ ตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศกึ ษาของ เขตพืน้ ทกี่ ารศกึ ษา มีส่วนร่วมในการตดิ ตามและประเมนิ ผลตามแผนปฏิบัตกิ ารทก่ี ำหนดไว้ 5) ร่วมปรับปรุงและพัฒนา (Improve and develop Participation) หมายถึงให้ทุก ภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษา คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและ นิเทศการศึกษาของเขตพ้ืนท่ีการศึกษา มีส่วนร่วมในการสรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานต่อต้น สังกัดในด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานท่ัวไป และนำผลการประเมนิ มาปรบั ปรงุ และพัฒนางานของเขตพ้ืนท่ีการศกึ ษา 6) ร่วมชื่นชมความสำเร็จ (Praise of participation) ยกย่อง เชิดชูเกียรติสถานศึกษา ผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่ความเป็นมืออาชีพ และส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพของ ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกกลมุ่ เป้าหมายอยา่ งต่อเน่ือง

๓ ซึ่งท้ังหมดนี้ คือแนวทางการดำเนินงานในการขับเคล่ือนการบริหารจัดการศึกษาให้บรรลุ เปา้ หมาย และมงุ่ ม่นั ในการพฒั นากระบวนการบรหิ ารจัดการที่ดี สร้างความเขม้ แขง็ ดว้ ยการพัฒนาให้ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีการกระจายอำนาจ รวมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้ท่ีมีส่วนเก่ียวข้องได้มีส่วน ร่วมในการจัดการศึกษาข้ันพ้นื ฐานไปสู่เป้าหมายอย่างเปน็ รปู ธรรมและใหส้ ามารถเป็นแบบอย่างท่ดี ใี น การบรหิ ารและการจดั การศึกษาของสำนกั งานเขตพนื้ ท่ีการศึกษาประถมศึกษาเชยี งราย เขต 3

ส่วนที่ 2 บริบทท่ีเกย่ี วขอ้ งกับสำนักงานเขตพ้นื ทก่ี ารศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 การจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 3 พ.ศ. 2561 – 2565 ( ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564) ได้นำบริบทที่เกี่ยวข้องกับ ภารกิจการจัดการศึกษาและกฎหมาย นโยบายทเ่ี กี่ยวขอ้ งมากำหนดแนวทางการพฒั นาการศึกษาของ สำนักงานเขตพื้นทีก่ ารศกึ ษาประถมศึกษาเชยี งราย เขต 3 ดงั น้ี 1. รฐั ธรรมนญู แห่งราชอาณาจกั รไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีบทบัญญัติที่เก่ียวข้องกับการ จัดการศึกษาได้แก่มาตรา 54 ท่ีบัญญัติไว้ว่า “ รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็น เวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ” รัฐต้องดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาตามวรรคหน่ึง เพื่อพัฒนา ร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย โดยส่งเสริมและสนับสนุน ให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนเข้ามีส่วนรว่ มในการดำเนินการดว้ ย รฐั ต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความตอ้ งการในระบบต่าง ๆ รวมทั้ง ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน และภาคเอกชนในการจัดการศึกษาทุกระดับ โดยรัฐมีหน้าท่ีดำเนินการกำกับ ส่งเสริม และสนับสนุน ให้การจัดการศึกษาดังกล่าว มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษา แห่งชาติซึ่งอย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติเก่ียวกับการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ และการดำเนินการ และตรวจสอบการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการศึกษาแห่งชาติด้วย และการศึกษาท้ังปวงต้องมุ่ง พฒั นาผ้เู รียนใหเ้ ป็นคนดี มวี ินัย ภูมิใจในชาติ สามารถเชยี่ วชาญได้ตามความถนัดของตน และมีความ รบั ผดิ ชอบต่อครอบครวั ชุมชน สงั คม และประเทศชาติ 2. พระบรมราโชบายด้านการศึกษาในสมเด็จพระเจา้ อยหู่ ัว รัชกาลที่ 10 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต ๓ โดย นายวิเศษ เชยกระรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาเชียงราย เขต 3 ได้น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรสี ินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สูก่ ารปฏิบัติและ ปลุกจติ สำนึกความรกั ชาติ ศาสนาและเทิดทนู พระมหากษตั รยิ ์ ตลอดจนบริบทตา่ ง ๆ ท่เี ก่ียวข้องมาเช่อื มโยง กับอำนาจหนา้ ท่ขี องสำนักงานเขตพ้นื ท่กี ารศกึ ษาประถมศกึ ษาเชยี งราย เขต ๓ รายละเอียดสรุป ดงั นี้ “...การศึกษาคือความม่นั คงของประเทศ...การศึกษาต้องสร้างใหค้ นไทยมที ัศนคตทิ ี่ดีและ ถูกต้อง มีพนื้ ฐานชวี ติ ท่ีมนั่ คงเขม้ แขง็ มีอาชพี มงี านทำ และมคี วามเป็นพลเมืองดี มรี ะเบยี บวินัย...” 1. มีทศั นคตทิ ่ีถกู ต้องตอ่ บ้านเมอื ง 1.1 ความรู้ความเข้าใจตอ่ ชาตบิ ้านเมอื ง 1.2 ยดึ มัน่ ในศาสนา 1.3 มั่นคงในสถาบนั กษัตรยิ ์ 1.4 มคี วามเออื้ อาทรต่อครอบครัวและชมุ ชนของตน

๕ 2. มพี น้ื ฐานชวี ติ ที่มน่ั คง – มคี ุณธรรม 2.1 รูจ้ กั แยกแยะสิง่ ท่ีผดิ – ชอบ/ช่ัว – ดี 2.2 ปฏิบัติแตส่ ิง่ ทช่ี อบ ส่งิ ทด่ี ีงาม 2.3 ปฏเิ สธส่ิงทผี่ ิด ส่ิงทช่ี ่ัว 2.4 ชว่ ยกันสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง 3. มีงานทำ – มีอาชีพ 3.1 การเล้ียงดูลูกหลานในครอบครัวหรือการฝึกฝนอบรมในสถานศึกษาต้องมุ่งให้ เด็กและเยาวชนรกั งาน สู้งาน ทำจนงานสำเร็จ 3.2 การฝึกฝนอบรมทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตรต้องมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียน ทำงานเป็นและมงี านทำในทส่ี ดุ 3.3 ต้องสนับสนุนผู้สำเร็จหลักสูตร มีอาชีพ มีงานทำ จนสามารถเลี้ยงตนเองและ ครอบครวั 4. เป็นพลเมอื งทดี่ ี 4.1 การเปน็ พลเมืองดีเป็นหนา้ ที่ของทกุ คน 4.2 ครอบครัว – สถานศึกษาและสถานประกอบการต้องส่งเสริมให้ทุกคนมีโอกาส ทำหน้าทเี่ ป็นพลเมอื งดี 4.3 การเป็นพลเมืองดีคือ “เห็นอะไรท่ีจะทำเพ่ือบ้านเมืองได้ก็ต้องทำ” เช่น งานอาสาสมัคร งานบำเพ็ญประโยชน์ งานสาธารณสขุ ใหท้ ำด้วยความมนี ำ้ ใจ และความเอ้อื อาทร 3. ยทุ ธศาสตรช์ าติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. ๒๕๖1 – ๒๕80 ) เพ่ือให้ประเทศไทยสามารถยกระดับการพัฒนาให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ “ประเทศไทย มีความม่ันคง ม่ังค่ัง ย่ังยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง” และเป้าหมายการพัฒนาประเทศข้างต้น จึงจำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา ประเทศระยะยาวท่ีจะทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีภูมิคุ้มกันต่อการ เปล่ียนแปลงจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศในทุกมิติ ทุกรูปแบบ และทุกระดับ ภาค เกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการของประเทศได้รับการพัฒนายกระดับไปสู่การใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสร้างมูลค่าเพ่ิม และพัฒนากลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ใหม่ที่จะสร้างและเพ่ิมศักยภาพในการแข่งขันของประเทศเพื่อยกระดับฐานรายได้ของประชาชน ในภาพรวมและกระจายผลประโยชน์ไปสู่ภาคส่วนต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม คนไทยได้รับการพัฒนา ให้เป็นคนดี เก่ง มีวินัย คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม และมีศักยภาพในการคิดวิเคราะห์ สามารถ “รู้รับ ปรับใช้” เทคโนโลยีใหม่ได้อย่างต่อเน่ือง สามารถเข้าถึงบริการพ้ืนฐาน ระบบสวัสดิการ และ กระบวนการยุติธรรมได้อย่างเท่าเทยี มกัน โดยไมม่ ีใครถูกท้ิงไวข้ า้ งหลัง คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติได้ดำเนินการยกร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาประเทศในระยะ 20 ปี โดยกำหนดวิสยั ทศั น์ เป้าหมายและยุทธศาสตร์ ดงั นี้

๖ วิสัยทัศน์ “ ประเทศไทยมีความม่ันคง มั่งค่ัง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนา ตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง ” และเป็นคติพจนป์ ระจำชาติว่า “ มนั่ คง ม่งั คงั่ ยั่งยืน ” การพัฒนาประเทศในช่วงระยะเวลาของยุทธศาสตร์ชาติ จะมุ่งเน้นการสร้างสมดุล ระหว่างการพัฒนาความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และส่ิงแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในรูปแบบ “ ประชารัฐ ” โดยประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ โดยแต่ละยุทธศาสตร์มีเป้าหมายและ ประเด็นการพฒั นา ดงั นี้ 1. ยุทธศาสตรช์ าติด้านความม่ันคง มเี ปา้ หมายการพัฒนาทส่ี ำคัญคอื ประเทศชาติ ม่ันคง ประชาชนมีความสุข เน้นการบริหารจัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศให้มีความมั่นคง ปลอดภัย เอกราช อธิปไตย และมีความสงบเรียบร้อยในทุกระดับ ต้ังแต่ระดับชาติ สังคม ชุมชน มุ่งเน้นการพัฒนาคน เครื่องมือ เทคโนโลยีและระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ให้มีความพร้อมสามารถ รบั มือกับภัยคุกคาม และภัยพบิ ัตไิ ด้ทุกรูปแบบและทกุ ระดับความรุนแรง ควบคู่ไปกับการปอ้ งกันและ แก้ไขปัญหาด้านความม่ันคงที่มีอยู่ในปัจจุบันและท่ีอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ใช้กลไกการแก้ไขปัญหา แบบบูรณาการ ทั้งในส่วนราชการ ภาคเอกชน ประชาสังคม และองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงประเทศ เพื่อนบ้านและมิตรประเทศทั่วโลกบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล เพ่ือเอ้ืออำนวยประโยชน์ต่อการ ดำเนินการของยุทธศาสตร์ชาติด้านอื่น ๆ ให้สามารถขับเคลื่อนไปได้ตามทิศทางและเป้าหมายท่ี กำหนด 2. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมายการ พัฒนาที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติบนพ้ืนฐานแนวคิด 3 ประการ ไดแ้ ก่ (1) “ การต่อยอดอดีต ” โดยมองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิต และจุดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย รวมทั้งความได้เปรียบ เชิงเปรียบเทียบของประเทศในด้านอื่น ๆ นำมาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพือ่ ใหส้ อดรบั กับบรบิ ทของเศรษฐกจิ และสงั คมโลกสมยั ใหม่ (2) “ ปรับปัจจุบัน ” เพื่อปูทางสู่อนาคต ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ ประเทศในมิติต่าง ๆ ท้ังโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่ง โครงสรา้ งพ้ืนฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ ดจิ ิทลั และการปรบั สภาพแวดลอ้ มใหเ้ อ้อื ต่อการพัฒนาอตุ สาหกรรมและบรกิ ารอนาคต (3) “ สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต ” ด้วยการเพิ่มศักยภาพของผปู้ ระกอบการ พัฒนา คนรุ่นใหม่ รวมถึงปรับรูปแบบธุรกิจเพ่ือตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ผสมผสานกับ ยทุ ธศาสตรท์ รี่ องรบั อนาคตบนพน้ื ฐานของการต่อยอดอดตี และปรับปัจจุบัน พรอ้ มทัง้ การสง่ เสริมและ สนับสนุนจากภาครัฐ ให้ประเทศไทยสามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ ขยายโอกาสทาง การค้าและการลงทุนในเวทีโลกควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี รวมถึงการเพ่ิมข้ึน ของคนช้ันกลาง และลดความเหลือ่ มล้ำของคนในประเทศได้ในคราวเดียวกัน 3. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มเี ป้าหมายการพัฒนาท่สี ำคัญเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ โดยคนไทยมีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปญั ญา มีพฒั นาการท่ีดรี อบด้านและมสี ุขภาวะที่ดีในทุกชว่ งวัย มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์อดออม โอบอ้อมอารีมีวินัย รักษาศีลธรรมและ

๗ เป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะท่ีจำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะส่ือสาร ภาษาอังกฤษและภาษาท่ีสาม และอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกร ยุคใหม่ และอ่ืน ๆ โดยมีสมั มาชพี ตามความถนัดของตนเอง 4. ยุทธศาสตร์ชาติดา้ นการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสงั คม มีเป้าหมาย การพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับการดึงเอกพลังภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชน ท้องถ่ินมาร่วมขบั เคลอ่ื นโดยการสนับสนนุ การรวมตัวของประชาชนในการร่วมคิดร่วมทำเพ่ือส่วนรวม การกระจายอำนาจและความรับผิดชอบไปสู่กลไกบริหารราชการแผ่นดินในระดับท้องถ่ิน การ เสริมสร้างความเข้มแขง็ ของชุมชนในการจัดการตนเอง และการเตรียมความพร้อมของประชากรไทย ทงั้ ในมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อมให้เป็นประชากรท่มี ีคุณภาพ สามารถพึ่งตนเอง และทำประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชน และสังคมให้นานที่สุด โดยรัฐให้หลักประกันการเข้าถึงบริการ และสวัสดิการท่ีมคี ณุ ภาพอย่างเปน็ ธรรมและท่วั ถงึ 5. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณ ภาพชีวิตท่ีเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพ่ือนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ย่ังยืน ในทุกมิติ ท้ังด้านสังคม เศรษฐกิจ ส่ิงแวดล้อม ธรรมาภิบาล และความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือ ระหว่างกันทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างบูรณาการ ใช้พื้นที่เป็นตัวต้ังในการกำหนดกลยุทธ์ และแผนงาน และการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในแบบทางตรงให้มากที่สุดเท่าที่จะ เป็นไปได้ โดยเปน็ การดำเนินการบนพ้ืนฐานการเติบโตร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวติ โดยให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลท้ัง 3 ด้าน อันจะนำไปสู่ความย่ังยืนเพื่อคนรุ่น ต่อไปอย่างแทจ้ รงิ 6. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ มีเป้าหมายการพฒั นาที่สำคัญเพ่ือปรบั เปลี่ยนภาครัฐที่ยึดหลกั “ภาครัฐของประชาชน เพ่ือประชาชน และประโยชน์ส่วนรวม” โดยภาครัฐต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ แยกแยะบทบาท หน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าท่ีในการกำกับหรือในการให้บริการในระบบเศรษฐกิจที่ มีการแข่งขัน มีสมรรถนะสูง ยึดหลักธรรมาภิบาล ปรับวัฒนธรรมการทำงานให้มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ ส่วนรวม มีความทันสมัย และพร้อมท่ีจะปรับตัวให้ทันต่อการเปล่ียนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบการทำงานท่ีเป็นดิจิทัลเข้ามา ประยกุ ต์ใชอ้ ย่างคุ้มค่า และปฏิบัตงิ านเทียบไดก้ ับมาตรฐานสากล รวมท้ังมีลกั ษณะเปิดกวา้ งเช่ือมโยง ถึงกันและเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเพ่ือตอบสนองความต้องการของประชาชน ไดอ้ ย่างสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส โดยทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมกนั ปลกู ฝังค่านิยมความซ่อื สตั ย์ สุจริต ความมัธยัสถ์ และสร้างจิตสำนึกในการปฏิเสธไม่ยอมรับการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างสิ้นเชิง นอกจากน้ัน กฎหมายต้องมีความชัดเจน มีเพียงเท่าที่จำเป็น มีความทันสมัย มีความเป็นสากล มีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การลดความเหล่ือมล้ำและเอ้ือต่อการพัฒนา โดยกระบวนการยุติธรรม มีการบริหารที่มปี ระสทิ ธิภาพ เปน็ ธรรม ไม่เลือกปฏบิ ัติ และการอำนวยความยตุ ธิ รรมตามหลักนติ ิธรรม

๘ 4. แผนแม่บทภายใต้ยทุ ธศาสตรช์ าติ (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ เป็นแผนแม่บทที่จัดทำไว้เพื่อบรรลุเป้าหมาย ตามท่ีกำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ โดยจะมีผลผูกพันต่อหน่วยงานของรัฐท่ีเกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติ ให้เป็นไปตามน้ัน รวมทัง้ การจัดทำงบประมาณรายจา่ ยประจำปีงบประมาณจะต้องสอดคล้องกับแผน แม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งประเด็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 23 ประเด็น ประกอบด้วย 1) ความมั่นคง 2) การต่างประเทศ 3) การพัฒนาการเกษตร 4) อุตสาหกรรมและ บริการแห่งอนาคต 5) การท่องเที่ยว 6) การพัฒนาพื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ 7) โครงสร้าง พ้ืนฐานระบบโลจิสติกส์และดิจิทัล 8) ผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ 9) เขตเศรษฐกิจพเิ ศษ 10) การปรับเปล่ียนคา่ นิยมและวัฒนธรรม 11) การพัฒนาศักยภาพคนตลอด ช่วงชีวิต 12) การพัฒนาการเรียนรู้ 13) การสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะท่ีดี 14) ศักยภาพการกีฬา 15) พลงั ทางสังคม 16) เศรษฐกจิ ฐานราก 17) ความเสมอภาคและหลักประกนั ทางสังคม 18) การ เติบโตอย่างย่ังยืน 19) การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ 20) การบริการประชาชนและประสิทธิภาพ ภาครัฐ 21) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ 22) กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และ 23) การวจิ ยั และพัฒนานวตั กรรม 5. แผนการปฏริ ูปประเทศ แผนการปฏิรูปประเทศ จัดทำข้ึนเพื่อกำหนดกลไก วิธีการ และข้ันตอนการปฏิรูป ประเทศในด้านต่าง ๆ โดยการปฏิรูปประเทศต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามท่ีบัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญประกอบด้วย ประเทศชาติมีความสงบเรียบร้อย มีความสามัคคี สังคมมีความสงบสุข เป็นธรรม และมีโอกาสอันทัดเทียมกัน เพ่ือขจัดความเหล่ือมล้ำ มีคุณภาพชีวิตท่ีดี และมีส่วนร่วม ในการพฒั นาประเทศ ทั้งนี้ การปฏิรูปประเทศต้องสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับยุทธศาสตร์ชาติ ซง่ึ แผนการปฏิรูปประเทศประกอบด้วย 12 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเมือง 2) ดา้ นการบริหารราชการ แผ่น ดิน 3 ) ด้านกฎ ห มาย 4 ) ด้านกระบ วนการยุติธรรม 5 ) ด้านเศรษ ฐกิจ 6 ) ด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7) ด้านสาธารณสุข 8) ด้านส่ือสารมวลชนและเทคโนโลยี สารสนเทศ 9) ด้านสังคม 10) ด้านพลังงาน 11) ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและ ประพฤติมิชอบ 12) ด้านการศึกษา โดยแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษามีแผนงานเพื่อการ ปฏิรูป 5 เรื่อง ได้แก่ 1) การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัย 2) การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะเพื่อตอบสนองการเปล่ียนแปลง ในศตวรรษท่ี 21 3) การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีคุณภาพมาตรฐาน 4) การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีและระบบอ่ืน ๆ ที่เน้นการฝึกปฏิบัติ อย่างเต็มรูปแบบ นำไปสู่การจ้างงานและการสร้างงาน 5) การปฏิรูปบทบาทการวิจัยและระบบธรรมา ภิบาลของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยออกจากกับดักรายได้ปานกลาง อยา่ งย่งั ยนื

๙ 6. แผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คมแห่งชาติ ฉบบั ท่ี 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติได้จัดทำแผนพฒั นา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) สำหรับใช้เป็นแผนพัฒนาประเทศ ไทยในระยะ 5 ปี มีหลักการที่สำคญั ดงั นี้ 1) ยึด “ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ”เพื่อให้เกิดบูรณาการการพัฒนา ในทุกมิติอย่างสมเหตุสมผล มีความพอประมาณ และมีระบบภูมิคุ้มกันและการบริหารจัดการความ เสี่ยงที่ดี ซ่ึงเป็นเง่ือนไขท่ีจำเป็นสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาคน มีความเป็นคน ท่ีสมบรู ณ์ สังคมไทยเป็นสงั คมคุณภาพ มีที่ยืน และเปิดโอกาสให้กับทุกคนในสังคมได้ดำเนินชีวิตที่ดี มีความสุข และอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ 2) ยึด “ คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ” มุ่งสร้างคุณภาพชีวิต และสุขภาวะท่ีดี สำหรับคนไทย พัฒนาคนให้มีความเป็นคนท่ีสมบูรณ์ มีวินัย ใฝ่รู้ มีความรู้ มีทักษะ มีความคิด สร้างสรรค์ มีทัศนคตทิ ่ีดีรบั ผิดชอบต่อสังคม มีจริยธรรมและคุณธรรม พฒั นาคนทุกช่วงวยั และเตรียม ความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ รวมถึงการสร้างคนให้ใช้ประโยชน์และอยู่กับ ส่ิงแวดล้อมอย่างเกื้อกูล อนุรักษ์ ฟื้นฟูใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ และส่ิงแวดล้อมอย่ าง เหมาะสม 3) ยึด “ วิสัยทัศน์ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ” มาเป็นกรอบของ วิสัยทัศน์ประเทศไทยในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี 12 วิสัยทัศน์ “ ประเทศ ไทยมีความม่ันคง ม่ังคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ” หรอื เป็นคตพิ จนป์ ระจำชาติวา่ “ ม่นั คง มงั่ ค่ัง ยง่ั ยืน ” 4) ยึด “ เป้าหมายอนาคตประเทศไทย ปี 2579 ” ท่ีเป็นเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี มาเป็นกรอบในการกำหนดเป้าหมายท่ีจะบรรลุใน 5 ปีแรกและเป้าหมายในระดับยอ่ ย ลงมา ควบคกู่ บั กรอบเป้าหมายทีย่ ง่ั ยืน (SDGs) 5) ยึด “ หลักการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจท่ีลดความเหล่ือมล้ำและขับเคล่ือน การเจริญเตบิ โตจากการเพ่ิมผลติ ภาพการผลิตบนฐานของการใช้ภูมปิ ญั ญาและนวตั กรรม ” 6) ยึด “ หลักการนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจังใน 5 ปี ท่ตี ่อยอดไปส่ผู ลสมั ฤทธ์ิท่เี ปน็ เป้าหมายระยะยาว ” วัตถุประสงค์การพัฒนา ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ประกอบดว้ ย (1) เพ่ือวางรากฐานให้คนไทยเป็นคนมสี ุขภาวะและสุขภาพที่ดี ตลอดจนเป็นคนเก่ง ทีม่ ีทกั ษะ ความรู้ ความสามารถ และพฒั นาตนเองไดต้ ่อเนื่องตลอดชีวิต (2) เพ่ือให้คนไทยมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ผู้ด้อยโอกาสได้รับการ พฒั นาศกั ยภาพ รวมทัง้ ชุมชนมีความเข้มแข็งพ่ึงพาตนเองได้ (3) เพอื่ ให้เศรษฐกิจเข้มแข็ง แข่งขนั ได้ มเี สถียรภาพ และมีความยงั่ ยืน (4) เพอ่ื รักษาและฟื้นฟูทรพั ยากรธรรมชาติ (5) เพ่ือให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และมีการทำงาน เชงิ บรู ณาการ

๑๐ (6) เพื่อใหก้ ารกระจายความเจรญิ ไปสูภ่ ูมิภาค (7) เพ่ือผลักดันให้ประเทศไทยมีความเชื่อมโยงกับประเทศต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์ และมปี ระสทิ ธิภาพ เป้าหมายรวมการพัฒนา ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ประกอบด้วย (1) คนไทยมคี ณุ ลกั ษณะเปน็ คนไทยทีส่ มบรู ณ์ (2) ความเหลือ่ มลำ้ ทางดา้ นรายได้และความยากจนลดลง (3) ระบบเศรษฐกิจมคี วามเขม้ แขง็ และแข่งขนั ได้ (4) ทนุ ทางธรรมชาติและคณุ ภาพส่ิงแวดลอ้ มสามารถสนบั สนนุ การเตบิ โตที่เปน็ มติ ร กับสิ่งแวดล้อม (5) มีความม่ันคงในเอกราชและอธิปไตย และเพ่ิมความเช่ือม่ันของนานาชาติ ตอ่ ประเทศไทย (6) มีระบบบริหารจดั การภาครฐั ที่มีประสทิ ธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ กระจาย อำนาจและมีสว่ นร่วมจากประชาชน เปา้ หมายทีเ่ กย่ี วข้องกบั กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 3 เปา้ หมาย ดังน้ี 1. เป้าหมายท่ี 1 คนไทยมลี ักษณะเป็นคนไทยท่ีสมบูรณ์ มวี นิ ัย มที ศั นคติและ พฤติกรรมตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม มีความเป็นพลเมืองต่ืนรู้ มีความสามารถในการปรับตัวได้ อย่างรู้เท่าทันสถานการณ์ มีความรับผิดชอบและทำประโยชน์ต่อส่วนรวม มีสุขภาพกายและใจท่ีดี มคี วามเจรญิ งอกงามทางจติ วิญญาณ มีวถิ ชี ีวิตทพี่ อเพยี งและมคี วามเปน็ ไทย 2. เป้าหมายท่ี 2 ความเหล่ือมล้ำทางด้านรายได้และความยากจนลดลงเศรษฐกิจ ฐานรากมีความเข้มแข็ง ประชาชนทุกคนมีโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร การประกอบอาชีพ และ บรกิ ารทางสงั คมท่ีมคี ุณภาพอยา่ งท่ัวถงึ และเป็นธรรม 3. เป้าหมายที่ 6 มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย โปร่งใส ตรวจสอบไดก้ ระจายอำนาจและมีส่วนรว่ มจากประชาชน วตั ถปุ ระสงค์ 1. เพอื่ ใหค้ นไทยทกุ ชว่ งวยั มที กั ษะ ความรู้ ความสามารถ สามารถพัฒนาตนเอง ได้อย่างตอ่ เน่อื งตลอดชวี ติ 2. เพอื่ ใหร้ ะบบเศรษฐกิจมโี ครงสร้างทเี่ ขม้ แข็ง มเี สถยี รภาพ แข่งขนั ได้ย่ังยืน 3. เพ่อื รักษาทนุ ธรรมชาตแิ ละคณุ ภาพสง่ิ แวดลอ้ มสู่ความสมดลุ ของระบบนเิ วศ 4. เพื่อสร้างความม่ันคงภายในประเทศ ป้องกนั และลดผลกระทบจากภัยคุกคามข้ามชาติ 5. เพ่อื ใหก้ ารทำงานเชิงบรู ณาการในลกั ษณะเชอื่ มโยงระหว่างหนว่ ยงานทยี่ ดึ หน้าทีแ่ ละพ้ืนท่ที ำใหภ้ าครัฐมีประสทิ ธภิ าพและปราศจากคอร์รัปชั่น ยุทธศาสตร์แผนพฒั นาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบบั ที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ประกอบด้วย 10 ยุทธศาสตร์ ซ่ึงเกี่ยวข้องกับสำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต ๓ จำนวน 4 ยุทธศาสตร์ ดังน้ี

๑๑ ยุทธศาสตร์ท่ี 1 การเสริมสร้างและพฒั นาศักยภาพทุนมนษุ ย์ โดยมเี ปา้ หมาย 1) ให้คนไทยสว่ นใหญ่มีทัศนคติและพฤติกรรมตามบรรทัดฐานทดี่ ีของสงั คมเพิ่มข้นึ 2) คนไทยในสังคมไทยทุกช่วงวยั มที ักษะ ความรู้ และความสามารถเพ่ิมขึ้น 3) คนไทยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพสูงตามมาตรฐานสากล และสามารถ เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเน่ืองโดยการปรับเปล่ียนค่านิยมคนไทยให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย จิตสาธารณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ด้วยการส่งเสริมให้มีกิจกรรมการเรียนการสอนท้ังในและ นอกห้องเรียนที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ความมีระเบียบวินัย จิตสาธารณะ รวมทั้งเร่งสร้าง สภาพแวดล้อมภายในและโดยรอบสถานศึกษาให้ปลอดภัยจากอบายมุขอย่างจริงจัง พัฒนา ศักยภาพคนให้มีทักษะความรู้ และความสามารถในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า ด้วยการส่งเสริมให้ เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะทางสมองและทักษะทางสังคมที่เหมาะสม พัฒนาเด็กวัยเรียนและ วัยรุ่นให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะการทำงานและการ ใช้ชีวิตที่พร้อมเข้าสู่ตลาดงาน ส่งเสริมแรงงานให้มีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพที่เป็นไป ตามความต้องการของตลาดงาน พัฒนาศักยภาพของกลุ่มผู้สูงอายุวัยต้นให้สามารถเข้าสู่ ตลาดแรงงานเพิ่มข้ึน และยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นธรรมลดความเหล่ือมล้ำในสังคม โดยมี เป้าหมายเพื่อเพ่ิมโอกาสการเข้าถึงบริการพื้นฐานทางสังคมของภาครัฐ ด้วยการเพ่ิมโอกาสให้กับ กลุ่มเป้าหมายประชากรร้อยละ 40 ท่ีมีรายได้ต่ำสุดให้สามารถเข้าถึงบริการท่ีมีคุณภาพของรัฐและมี อาชีพ ท้ังในด้านการศึกษาในระดับที่สูงข้ึน การได้รับขยายการคุ้มครองทางสังคม (Social Protection) และสวัสดิการ (Welfare) ท่ีเหมาะสมอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม และการพัฒนาทักษะ ฝีมือเพ่ือประกอบอาชีพและยกระดับรายได้ โดยขยายโอกาสการเข้าถึงการศึกษาท่ีมีคุณภาพให้แก่เด็ก และเยาวชนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาอย่างต่อเน่ือง โดยไม่ถูกจำกัดศักยภาพจากสภาพครอบครัว พื้นท่ี และสภาพร่างกาย การดูแลนักเรียนยากจนท่ีอาศัยในพ้ืนท่ีห่างไกลท่ีครอบคลุมต้ังแต่การสร้าง รายได้ของครัวเรือน การสนับสนุนค่าเดินทางไปยังสถานศึกษา การให้ทุนการศึกษาต่อระดับสูงเพื่อ ป้องกันไม่ให้เด็กนักเรียนออกจากโรงเรียนกลางคัน รวมถึงสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพ่ือส่งเสริมการ เรยี นรู้ในพื้นทีห่ า่ งไกล 3. ยุทธศาสตร์ท่ี 5 การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศ สู่ความม่ังคั่งและย่ังยืน โดยมีเป้าหมายเพ่ือปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นสถาบัน หลักของประเทศ และประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีโอกาสในการศึกษาและการประกอบอาชีพที่สร้างรายได้เพิ่มข้ึน โดยการรักษาความม่ันคงภายใน เพือ่ ให้เกดิ ความสงบในสังคมและธำรงไว้ซ่ึงสถาบนั หลักของชาติ ด้วยการสรา้ งจิตสำนึกของคนในชาติ ให้มีความหวงแหน และธำรงรักษาสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยปลูกฝังและสร้างความ ตระหนักถึงความสำคัญ และป้องกันแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดย กระบวนการสันติสุข แนวทางสันติวิธี และกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในพ้ืนที่บนพื้นฐาน ความแตกต่างทางอัตลักษณ์และชาติพันธุ์ เพ่ือขจัดความขัดแย้งลดความรุนแรงตามแนวทาง “เข้าใจ เขา้ ถงึ พัฒนา”

๑๒ 4. ยุทธศาสตร์ท่ี 6 การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ และธรรมาภิบาลในสังคมไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อลดสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร และเพิ่ม ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการให้บริการของภาครัฐ การเพิ่มคะแนนดัชนีภาพลักษณ์ คอร์รัปชั่นให้อยู่สูงกว่าร้อยละ 50 เม่ือสิ้นสุดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงาน บทบาท ภารกิจและคุณภาพบุคลากร ภาครัฐ ให้มีความโปร่งใส ทันสมัย คล่องตัว มีขนาดท่ีเหมาะสม เกิดความคุ้มค่า สามารถให้บริการ ประชาชนในรูปแบบทางเลือกที่หลากหลายและมีคุณภาพ ข้าราชการมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และ ความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ องคก์ รมีสมรรถนะสูงและมีความทนั สมัย ราชการบริหารส่วนกลาง มีขนาดเล็กลง และราชการบริหารส่วนท้องถ่ินมีขนาดท่ีเหมาะสมกับพื้นท่ีรับผิดชอบและป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อให้สังคมไทยมีวินัย โปร่งใส และยุติธรรม รวมทั้งสร้าง ความเขม้ แขง็ เป็นภูมคิ ุ้มกันของสังคมไทยให้ครอบคลุมภาครฐั ภาคเอกชน และภาคประชาชน พรอ้ ม ทงั้ เพอื่ สร้างพลงั การขบั เคลือ่ นค่านยิ มต่อตา้ นการทุจริต 7. แผนการศกึ ษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้จัดทำ แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 เพ่ือใช้เป็นแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวสำหรับหน่วยงานที่เก่ียวข้องกับการศึกษาของประเทศ ได้นำไปใช้ เป็นกรอบและแนวทางการพัฒนาการศึกษาและเรียนรู้สำหรับพลเมืองทุกช่วงวัยต้ังแต่แรกเกิดจนตลอด ชีวิต โดยจุดมุ่งหมายท่ีสำคัญของแผนคือ การมุ่งเน้นการประกันโอกาสและความเสมอภาคทาง การศึกษาและการศึกษาเพื่อการมีงานทำและสร้างงานได้ภายใต้บริบทเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศและของโลกทข่ี ับเคล่ือนด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งความเป็นพลวัต เพ่อื ให้ ประเทศไทยสามารถก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ซ่ึงภายใต้ กรอบแผนการศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 ไดก้ ำหนดสาระสำคญั สำหรับบรรลเุ ปา้ หมายของ การพัฒนาการศึกษาใน 5 ประการ ได้แก่ การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา (Access) ความเท่าเทียม ทางการศึกษา (Equity) คุณภาพการศึกษา (Quality) ประสิทธิภาพ (Efficiency) และตอบโจทย์ บริบทท่เี ปลยี่ นแปลง (Relevancy) ในระยะ 15 ปขี า้ งหน้า ดังนี้ วิสัยทัศน์ : คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเปล่ียนแปลงของโลก ศตวรรษที่ 21 วัตถุประสงค์ 1. เพอื่ พฒั นาระบบและกระบวนการจัดการศกึ ษาท่มี ีคณุ ภาพและมีประสิทธิภาพ 2. เพ่ือพัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองดี มีคุณลักษณะ ทักษะและสมรรถนะ ที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และยทุ ธศาสตรช์ าติ 3. เพ่ือพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณธรรมจริยธรรม รู้จัก สามัคคี และร่วมมือผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างย่ังยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง

๑๓ 4. เพื่อนำประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และความเหล่ือมล้ำ ภายในประเทศลดลง แผนการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการศึกษาภายใต้ 6 ยุทธศาสตร์หลักที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพ่ือให้แผนการศึกษาแห่งชาติบร รลุ เปา้ หมายตามจุดมุง่ หมาย วิสยั ทศั น์ และแนวคิดการจัดการศึกษา ดงั น้ี ยุทธศาสตร์ท่ี 1 การจัดการศึกษาเพ่ือความม่ันคงของสังคมและประเทศชาติ มีเป้าหมายดังนี้ 1.1 คนทุกช่วงวยั มคี วามรักในสถาบันหลกั ของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอนั มพี ระมหากษัตรยิ ์ทรงเป็นประมุข 1.2 คนทุกช่วงวยั ในเขตพฒั นาพิเศษเฉพาะกจิ จังหวดั ชายแดนภาคใตแ้ ละพืน้ ท่ี พเิ ศษไดร้ ับการศกึ ษาและเรยี นรู้อยา่ งมีคุณภาพ 1.3 คนทุกชว่ งวยั ได้รับการศึกษา การดูแลและปอ้ งกันจากภยั คุกคามในชวี ติ รปู แบบใหม่ ยทุ ธศาสตร์ท่ี 2 การผลติ และพฒั นากำลังคน การวจิ ัย และนวตั กรรม เพอื่ สรา้ ง ขดี ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 2.1 กำลังคนมีทักษะที่สำคัญจำเป็นและมีสมรรถนะตรงตามความต้องการของ ตลาดงานและการพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คมของประเทศ 2.2 สถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่จัดการศึกษาผลิตบัณฑิตท่ีมีความเชี่ยวชาญ และเปน็ เลศิ เฉพาะด้าน 2.3 การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกจิ ยทุ ธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศกั ยภาพคนทุกข่วงวัยและการสร้างสงั คมแห่งการเรียนรู้ มเี ป้าหมายดงั น้ี 3.1 ผู้เรียนมที ักษะและคุณลักษณะพ้ืนฐานของพลเมืองไทย ทักษะและคุณลกั ษณะ ทจ่ี ำเปน็ ในศตวรรษที่ 21 3.2 คนทุกช่วงวัยมีทักษะ ความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะตามมาตรฐาน การศกึ ษาและมาตรฐานวชิ าชีพ และพัฒนาคุณภาพชวี ิตไดต้ ามศกั ยภาพ 3.3 สถานศึกษาทุกระดับการศึกษาสามรถจัดกิจกรรม/กระบวนการเรียนรู้ตาม หลักสูตรอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน 3.4 แหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียน นวัตกรรม และสื่อการเรียนรู้มีคุณภาพและ มาตรฐานและประชาชนสามารถเข้าถึงไดโ้ ดยไม่จำกดั เวลาและสถานท่ี 3.5 ระบบและกลไกการวัด การตดิ ตาม และประเมินผลมปี ระสทิ ธภิ าพ 3.6 ระบบการผลิตครู อาจารย์ และบคุ ลากรทางการศึกษา ได้มาตรฐานระดบั สากล 3.7 ครู อาจารย์ และบคุ ลากรทางการศึกษา ไดร้ ับการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐาน

๑๔ ยุทธศาสตร์ท่ี 4 การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา มีเป้าหมายดงั นี้ 4.1 ผเู้ รยี นทกุ คนไดร้ บั โอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาทม่ี ีคุณภาพ 4.2 การเพมิ่ โอกาสทางการศึกษาผา่ นเทคโนโลยีดจิ ิทัลเพือ่ การศึกษาสำหรับคนทกุ ช่วงวัย 4.3 ระบบข้อมูลรายบุคคลและสารสนเทศทางการศึกษาที่ครอบคลุม ถูกต้อง เป็นปจั จบุ ัน เพอื่ การวางแผนการบริหารจัดการศกึ ษา การติดตามประเมนิ และรายงานผล ยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ ส่งิ แวดลอ้ ม มเี ปา้ หมายดงั นี้ 5.1 คนทุกช่วงวัยมีจิตสำนึกรักส่ิงแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และนำแนวคิด ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งสกู่ ารปฏบิ ัติ 5.2 หลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ท่ีส่งเสริมคุณภาพชีวิตท่ีเป็นมิตรกับ ส่งิ แวดล้อม คณุ ธรรม จรยิ ธรรม และการนำแนวคดิ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียงสกู่ ารปฏิบัติ 5.3 การวิจัยเพ่ือพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการสร้างเสริมคุณภาพชีวิต ทเี่ ปน็ มติ รกับสงิ่ แวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบการบริหารจัดการศึกษา มีเป้าหมายดังน้ี 6.1 โครงสร้าง บทบาท และระบบการบริหารจัดการศึกษามีความคล่องตัวชัดเจน และสามารถตรวจสอบได้ 6.2 ระบบการบรหิ ารจัดการศึกษามีประสทิ ธภิ าพและประสิทธิผลส่งผลต่อคุณภาพ และมาตรฐานการศกึ ษา 6.3 ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาท่ีตอบสนองความต้องการ ของประชาชนและพื้นท่ี 6.4 กฎหมายและรปู แบบการบริหารจดั การทรพั ยากรทางการศกึ ษารองรับลักษณะ ทแี่ ตกต่างกนั ของผู้เรยี น สถานศกึ ษา และความตอ้ งการกำลงั แรงงานของประเทศ 6.5 ระบบบริหารงานบคุ คลของครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษามีความเป็น ธรรมสร้างขวญั กำลงั ใจ และส่งเสริมให้ปฏิบัตงิ านไดอ้ ยา่ งเตม็ ตามศักยภาพ 8. นโยบายและแผนระดบั ชาติว่าด้วยความม่ันคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 - 2565) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 - 2565) เป็นนโยบายและแผนหลักของชาติที่เป็นกรอบหรือทิศทางการดำเนินการป้องกัน แจ้งเตือน แก้ไข หรือระงับยับยั้งภัยคุกคามเพ่ือธำรงไว้ซึ่งความมั่นคงแห่งชาติ โดยกำหนดให้คณะรัฐมนตรีหรือ หน่วยงานของรัฐใช้เป็นกรอบแนวทางหรือดำเนินการตามอำนาจหน้าท่ีในการจัดทำแผนการบริหาร ราชการแผ่นดิน แผนนิติบัญญัติ การกำหนดยุทธศาสตร์หรือแผนด้านความม่ันคงเฉพาะเรื่องแผน เตรียมพรอ้ มแหง่ ชาติ แผนบรหิ ารวกิ ฤตการณ์ท่เี ก่ยี วข้องกับความมั่นคงแหง่ ชาติ หรือกำหนดแผนงาน หรอื โครงการที่เกี่ยวกบั นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแหง่ ชาติ หรอื การปฏบิ ัติราชการ อื่นใดให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ซ่ึงมีแผนระดับชาติ วา่ ดว้ ยความม่ันคงแห่งชาติ 19 แผน ได้แก่ 1) การเสริมสร้างความมนั่ คงของมนษุ ย์ 2) การขา่ วกรอง

๑๕ และการประเมินสถานการณ์ด้านความม่ันคง 3) การเสริมสร้างความม่ันคงของสถาบันหลักของชาติ ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 4) การพัฒนาระบบ การเตรียมความพรอ้ มแห่งชาติ 5) การพัฒนาศักยภาพการป้องกนั ประเทศ 6) การสร้างความสามัคคี ปรองดอง 7) การป้องกันและแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 8) การบริหาร จัดการผู้หลบหนีเข้าเมือง 9) การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ 10) การป้องกันและ ปราบปรามยาเสพติด11) การเสรมิ สรา้ งความมน่ั คงของชาติจากภยั ทุจริต 12) การรักษาความม่ันคง พ้ืนทช่ี ายแดน 13) การรกั ษาความม่ันคงทางทะเล 14) การป้องกันและแกป้ ัญหาภยั คกุ คามข้ามชาติ 15) การป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ 16) การรักษาดุลยภาพสภาวะแวดล้อม ระหว่างประเทศ 17) การรักษาความมั่นคงทางพลังงาน 18) การรักษาความม่ันคงด้านอาหารและ น้ำ 19) การรกั ษาความม่ันคงดา้ นทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดลอ้ ม 9. นโยบายรฐั บาล (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรฐั มนตร)ี นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายรัฐบาลต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เม่ือวันท่ี 12 กันยายน 2557 โดยได้กำหนดนโยบายไว้ 11 ด้าน เพ่ือให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย (ฉบับช่ัวคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 19 ท่ีระบุให้รัฐบาลมีหน้าท่ีในการ บริหารราชการแผ่นดิน ดำเนินการให้มีการปฏิรูปด้านต่าง ๆ และส่งเสริมความสามัคคีและความ สมานฉันท์ของประชาชนในชาติ โดยมีนโยบายท่ีเก่ียวข้องกับภารกิจสำนักงานคณะกรรมการ การศกึ ษาข้ันพืน้ ฐาน ดังนี้ น โยบายท่ี 1 การปกป้องและเชิดชูสถาบั น พ ระมหากษั ตริย์ สถาบัน พระมหากษัตริย์เป็นองค์ประกอบสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยรัฐบาล จึงถือเป็น หน้าที่สำคัญยิ่งยวดในอนั ที่จะเชิดชูสถาบันน้ีไว้ด้วยความจงรักภักดี และปกป้องรกั ษาพระบรมเดชานุ ภาพ เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจท่ีถูกต้องและเป็นจริงเก่ียวกับสถาบันพระมหากษัตริย์และพระราช กรณียกิจเพื่อประชาชน ท้ังจะสนับสนุนโครงการท้ังหลายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ส่งเสริมให้ เจ้าหน้าที่สถานศึกษาตลอดจนหน่วยงานทั้งหลายของรัฐเรียนรู้เข้าใจหลักการทรงงาน สามารถนำ หลักดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการและการพัฒนาตลอดจนเร่งขยายผลตามโครงการ และแบบอยา่ งทีท่ รงวางรากฐานไว้ให้แพร่หลาย นโยบายที่ 2 การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ โดยเร่งแก้ไข ปัญหาการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนำยุทธศาสตร์เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา มาใช้ ตามแนวทางกัลยาณมิตรแบบสันติวิธี ส่งเสริมการพูดคุยสันติวิธีกับผู้มีความคิดเห็นต่างจากรัฐ สร้าง ความเช่ือมั่นในกระบวนการยุติธรรมตามหลักนิติธรรม และหลักสิทธิมนุษยชนโดยไม่เลือกปฏิบัติ ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมท่ีสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นท่ีซง่ึ เป็นพหุ สังคม ขจัดการฉวยโอกาสก่อความรุนแรงแทรกซ้อนเพ่ือซ้ำเติมปัญหา ไม่ว่าจากผมู้ ีอิทธิพลในท้องถ่ิน หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองทั้งจะเพิ่มระดับปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ ที่อาจช่วยคลี่คลายปัญหาได้รวมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับนานาประเทศ เช่น การคุ้มครอง ดแู ลคนไทยและผลประโยชนข์ องคนไทยในต่างแดน การแลกเปล่ียนทางการศึกษา วัฒนธรรม การค้า การพฒั นาทรพั ยากรมนษุ ย์ และการเปิดโลกทัศน์ให้มลี ักษณะสากล เป็นตน้

๑๖ 2.1 ในระยะเรง่ ด่วน รฐั บาลให้ความสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมส่ปู ระชาคม การเมอื ง และความม่นั คงอาเซียนในกิจการ 5 ด้าน ได้แก่ การบริหารจดั การชายแดน การสร้างความ ม่ันคงทางทะเล การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การสร้างความไว้วางใจกับประเทศเพื่อนบ้าน และการเสริมสร้างศักยภาพในการปฏิบัติการทางทหารรว่ มกันของอาเซียน โดยเน้นความร่วมมือเพื่อ ป้องกัน แก้ไขข้อพิพาทต่าง ๆ และการแก้ไขปัญหาเส้นเขตแดนโดยใช้กลไก ท้ังระดับทวิภาคีและพหุ ภาคี ทั้งจะจัดระเบียบการพัฒนาตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการบริหารจัดการพ้ืนที่ ชายแดนทง้ั ทางบกและทางทะเล รองรบั การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพเิ ศษตามแนวชายแดน โดยใชร้ ะบบ เฝ้าตรวจท่ีมีเทคโนโลยีทันสมัย กำหนดให้ปัญหายาเสพติด การค้าอาวุธ การค้ามนษุ ย์ การกระทำอัน เป็นโจรสลัด การก่อการร้ายสากลและอาชญากรรมข้ามชาติเป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องได้รับการ ป้องกันและแก้ไขโดยการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด และจัดการปัญหาอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงต่อเน่ืองให้ เบ็ดเสร็จ เช่น ปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลการปรับปรุงระบบ การเข้าเมือง การจัดระเบียบ แรงงานตา่ งด้าว เปน็ ตน้ 2.2 เร่งแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนำ ยุทธศาสตร์เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนามาใช้ตามแนวทางกัลยาณมิตรแบบสันติวิธี ส่งเสริมการพูดคุย สนั ติวิธกี ับผู้มีความคดิ เหน็ ต่างจากรัฐ สร้างความเชอ่ื มนั่ ในกระบวนการยตุ ิธรรมตามหลกั นิติธรรมและ หลักสิทธิมนุษยชน โดยไม่เลือกปฏิบัติ ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมท่ีสอดคล้องกับความ ต้องการของประชาชนในพื้นท่ีซึ่งเป็นพหุสังคม ขจัดการฉวยโอกาส ก่อความรุนแรงแทรกซ้อน เพื่อซ้ำเติมปัญหาไม่ว่าจากผู้มีอิทธิพลในท้องถ่ินหรือเจ้าหน้าท่ี ฝ่ายบ้านเมือง ทั้งจะเพ่ิมระดับ ปฏสิ มั พนั ธก์ บั ตา่ งประเทศ และองคก์ ารระหวา่ งประเทศท่ีอาจชว่ ยคล่คี ลายปัญหาได้ นโยบายท่ี 4 การศกึ ษาและเรยี นรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศลิ ปะและวัฒนธรรม นโยบายท่ี 4.1 การปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ โดยให้ความสำคัญ ท้ังการศึกษาในระบบและการศึกษาทางเลือกไปพร้อมกัน เพื่อสร้างคุณภาพของคนไทยให้สามารถ เรียนรู้ พัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพ ประกอบอาชีพและดำรงชีวิตได้โดยมีความใฝ่รู้และทักษะ ที่เหมาะสม เป็นคนดีมีคุณธรรมสร้างเสริมคุณภาพการเรียนรู้ โดยเน้นการเรียนรู้เพ่ือสร้างสัมมาชีพ ในพ้ืนที่ ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนากำลังคนให้เป็นที่ต้องการเหมาะสมกับพื้นที่ ท้ังในด้าน การเกษตร อตุ สาหกรรม และธรุ กิจบรกิ าร นโยบายท่ี 4.2 ในระยะเฉพาะหน้า จะปรับเปลี่ยนการจัดสรร งบประมาณสนับสนุนการศึกษาให้สอดคล้องกับความจำเป็นของผู้เรียนและลักษณะพ้ืนท่ีของ สถานศึกษา และปรับปรุง และบูรณาการระบบการกู้ยืมเงินเพ่ือการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ เพ่ือเพิ่ม โอกาสแก่ผู้ยากจนหรือด้อยโอกาส จัดระบบการสนับสนุนให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปมีสิทธิเลือก รับบริการการศึกษา ทงั้ ในระบบโรงเรียนและนอกโรงเรียนโดยจะพิจารณาจัดให้มีคปู องการศึกษาเป็น แนวทางหนึ่ง นโยบายที่ 4.3 ให้องค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชน องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นและประชาชนท่ัวไปมีโอกาสร่วมจัดการศึกษาท่ีมีคุณภาพ ทั่วถึง และร่วมในการปฏิรูป การศึกษา การเรียนรู้กระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาสู่สถานศึกษา เขตพ้ืนท่ีการศึกษา และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามศักยภาพ และความพร้อม โดยให้สถานศึกษาสามารถเป็นนิติบุคคล และบรหิ ารจดั การไดอ้ ยา่ งอิสระ และคลอ่ งตัวข้นึ

๑๗ นโยบายที่ 4.4 พัฒนาคนทุกช่วงวัยโดยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้มีความรู้ และทักษะใหม่ที่สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายตามแนวโน้มการจ้างงาน ในอนาคตปรับกระบวนการเรียนรู้และหลักสูตรให้เชื่อมโยงกับภูมิสังคม โดยบูรณาการความรู้และ คุณธรรมเข้าด้วยกัน เพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียน ท้ังในด้านความรู้ ทักษะ การใฝ่เรียนรู้ การ แก้ปัญหา การรับฟังความเห็นผู้อื่น มีคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นพลเมืองดี โดยเน้นความ รว่ มมือระหวา่ งผูเ้ กยี่ วข้องทงั้ ในและนอกโรงเรียน นโยบายท่ี 4.6 พัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูท่ีมีคุณภาพและมีจิต วิญญาณของความเป็นครู เน้นครูผู้สอนให้มีวุฒิตรงตามวิชาท่ีสอน นำเทคโนโลยีสารสนเทศและ เครือ่ งมอื ทเี่ หมาะสมมาใช้ในการเรยี นการสอน เพ่ือเป็นเคร่ืองมือช่วยครหู รือเพ่ือการเรยี นรู้ด้วยตนเอง เช่น การเรียนทางไกล การเรียนโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น รวมท้ังปรับระบบการประเมิน สมรรถนะท่สี ะทอ้ นประสิทธิภาพการจัดการเรยี นการสอนและการพฒั นาคณุ ภาพผูเ้ รียนเปน็ สำคญั นโยบายที่ 8 การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพฒั นา และนวัตกรรม นโยบายท่ี 8.2 เร่งเสริมสร้างสังคมนวัตกรรม โดยส่งเสริมระบบการ เรียนการสอนที่เช่ือมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ การผลิต กำลังคนในสาขาที่ขาดแคลนการเชื่อมโยงระหว่างการเรียนรู้กับการทำงาน การให้บุคลากรด้านการ วิจัยของภาครัฐสามารถไปทำงานในภาคเอกชน และการให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม มีชอ่ งทางไดเ้ ทคโนโลยโี ดยความร่วมมอื จากหน่วยงานและสถานศึกษาภาครฐั นโยบายที่ 9 การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่าง การอนุรกั ษ์กบั การใช้ประโยชน์อย่างยง่ั ยนื นโยบายท่ี 9.5 เร่งรัดการควบคุมมลพิษทั้งทางอากาศ ขยะ และน้ำเสีย ท่ีเกิดจากการผลิตและบริโภค เพ่ือสร้างคุณภาพส่ิงแวดล้อมท่ีดีให้แก่ประชาชน โดยให้ความสำคัญ ในการเร่งรัดแก้ไขปัญหาการจัดการขยะเป็นลำดับแรก ส่งเสริมให้เกิดกลไกการคัดแยกขยะเพื่อนำ กลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุด เร่งกำจัดขยะมูลฝอยตกค้างสะสมในสถานท่ีกำจัดขยะในพ้ืนท่ีวิกฤติซึ่งจะ ใช้ท่ีดินของรัฐเป็นหลัก พ้ืนที่ใดที่สามารถจัดการขยะมูลฝอยโดยการแปรรูปเป็นพลังงานก็จะ สนับสนุนให้ดำเนินการ ส่วนขยะอุตสาหกรรมน้ัน จะวางระเบียบมาตรการการบริหารจัดการเป็น พิเศษ โดยกำหนดให้ท้ิงในบ่อขยะอุตสาหกรรมที่สร้างข้ึนอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน และให้แยกเป็น สดั ส่วนจากบ่อขยะชุมชน สำหรับขยะของเสียอันตราย ขยะอิเล็กทรอนิกส์ และขยะติดเชื้อจะพัฒนา ระบบกำกับติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังไม่ให้มีการลักลอบท้ิง รวมท้ังจัดการสารเคมีโดยลดความ เสี่ยงและอันตรายที่เกิดจากการร่ัวไหล และการเกิดอุบัติเหตุให้ความสำคัญในการจัดการ อย่างครบวงจร และใชม้ าตรการทางกฎหมายและการบงั คับใชก้ ฎหมายอยา่ งเดด็ ขาด นโยบายที่ 10 การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินท่ีมีธรรมาภิบาล และการ ปอ้ งกันปราบปรามการทุจรติ และประพฤตมิ ิชอบในภาครัฐ นโยบายที่ 10.5 ใชม้ าตรการทางกฎหมาย การปลูกฝังค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และจิตสำนกึ ในการรกั ษาศกั ด์ิศรีของความเป็นขา้ ราชการและความซือ่ สัตย์สุจริต ควบคกู่ ับ การบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ เพ่ือป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับอย่างเคร่งครัด ยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ

๑๘ ท่ีไม่จำเป็น สร้างภาระแก่ประชาชนเกินควร หรือเปิดช่องโอกาสการทุจริต เช่น ระเบียบการจัดซ้ือ จัดจ้าง การอนญุ าต อนุมตั ิ และการขอรบั บริการจากรฐั ซงึ่ มขี ้ันตอนยดื ยาว ใช้เวลานาน ซ้ำซอ้ น และ เสียคา่ ใชจ้ า่ ยทงั้ ของภาครฐั และประชาชน 10. แผนปฏิบัติราชการระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 - 2565) ของกระทรวงศึกษาธกิ าร กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 - 2565) ทส่ี อดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตรช์ าติ แผนการ ปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) นโยบายและ แผนระดับชาตวิ ่าด้วยความมัน่ คง เพื่อให้ทกุ สว่ นราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธกิ าร ใชเ้ ป็นกรอบแนวทาง ในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ซ่ึงมีสาระสำคัญ 5 เร่ือง ได้แก่ 1) การจัดการศึกษาเพื่อความม่ันคงของ สังคมและประเทศชาติ 2) การผลิตและพัฒนากำลงั คน การวจิ ัยและนวัตกรรมเพ่ือสร้างขีดความสามารถใน การแข่งขันของประเทศ 3) การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 4) การ สร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา และ 5) การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบ บรหิ ารจดั การศกึ ษา 11. แผนปฏบิ ตั ริ าชการรายปี (พ.ศ. 2564) ของกระทรวงศกึ ษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการรายปี (พ.ศ. 2564) ที่สอดคล้อง เช่ือมโยงกับแผนปฏิบัติราชการระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 - 2565) ซ่ึงมีสาระสำคัญ 5 เรื่อง ได้แก่ 1) การ จัดการศึกษาเพื่อความม่ันคงของสังคมและประเทศชาติ 2) การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัยและ นวตั กรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 3) การพัฒนาศักยภาพคน ทุกช่วงวัย และ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 4) การสร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา และ 5) การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา เช่นเดียวกับแผนปฏิบัติราชการระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 - 2565)ของกระทรวงศึกษาธกิ ารดังกลา่ ว 12. แผนปฏิบัติราชการะยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 - 2565) ของสำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขัน้ พ้ืนฐาน ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และ วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และท่ีแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2562 สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 - 2565) ที่สอดคล้องเช่ือมโยงกับยทุ ธศาสตรช์ าติ (พ.ศ. 2561-2580) แผนแมบ่ ทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการ ปฏิรูปประเทศแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) นโยบายและ แผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคง และแผนปฏิบัติราชการระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 - 2565) ของ กระทรวงศกึ ษาธกิ าร เพือ่ ให้ทกุ สว่ นราชการในสงั กัดกระทรวงศกึ ษาธิการ ใชเ้ ปน็ กรอบแนวทางในการจดั ทำ แผนปฏิบัติการ แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานและแผนอื่น ๆ ในปี พ.ศ. 2563 ถึง 2565 ซึ่งมี สาระสำคัญ 6 เร่ือง ได้แก่ 1) การจัดการศึกษาเพื่อความม่ันคงของสังคมและประเทศชาติ 2) การจัดการ ศึกษาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 3) การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากร มนุษย์ 4) การสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการการศึกษาที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานและลดความเหล่ือมล้ำ ทางการศึกษา 5) การจัดการศึกษาเพ่ือพัฒนาคุณภาพชีวิตท่ีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 6) การปรับ สมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา โดยมีเป้าหมาย ตัวช้ีวัด แนวทางการพัฒนา แผนงาน/ โครงการสำคัญในแผนปฏบิ ัติราชการแต่ละเร่ืองดงั กลา่ ว

๑๙ 13. แผนพฒั นาการศกึ ษาของกระทรวงศึกษาธกิ าร พ.ศ. 2560 – 2564 แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 - 2564 เป็นแผน ระยะ 5 ปี เป็นแผนกลยุทธ์ในการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นเคร่ืองมือในการกำกับ ทิศทางการปฏิบัติงานของกระทรวงศึกษาธิการ และส่วนราชการ/หน่วยงานในสังกัด ทั้งยังเป็น เครื่องมือให้ทุกส่วนราชการ/หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้นำไปใช้เป็นกรอบแนวทาง ในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ เพือ่ ขบั เคล่อื นใหบ้ รรลเุ ป้าหมายการศึกษาตอ่ ไป หลกั การสำคญั “ ยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ” มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตท่ีดีสำหรับคนไทย พัฒนาคนให้มี ความเป็นคนที่สมบูรณ์ มีวินัย ใฝ่รู้ มีความรู้ มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติท่ีดี รับผิดชอบ ตอ่ สังคม มีคณุ ธรรม และจริยธรรม วิสัยทัศน์ “ มุง่ พัฒนาผเู้ รยี นใหม้ ีความรคู้ ู่คณุ ธรรม มีคณุ ภาพชวี ติ ทด่ี ี มคี วามสุขในสงั คม ” ยุทธศาสตร์และเปา้ หมาย ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล ; มุ่งหวังให้คนไทยมีคุณธรรม จริยธรรม มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาประเทศในอนาคต ซึง่ ตอบสนองการพฒั นาดา้ นคุณภาพและดา้ นการตอบโจทยบ์ ริบทที่เปล่ียนแปลง ยุทธศาสตร์ที่ 2 ผลิต พัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ; มุ่งหวังให้มีการ ผลิตครูได้สอดคล้องกับความต้องการในการจัดการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท และมีสมรรถนะตาม มาตรฐานวิชาชีพ สามารถใช้ศักยภาพในการสอนได้อย่างเต็มท่ี ซ่ึงตอบสนองการพัฒนาในด้าน คุณภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 3 ผลิตและพัฒนากำลังคน รวมทั้งงานวิจัยท่ีสอดคล้องกับความต้องการ ของการพัฒนาประเทศ ; มุ่งหวังให้กำลังคนได้รับการผลิตและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการ แข่งขันของประเทศ มีองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม สนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ซง่ึ ตอบสนองการพัฒนาในดา้ นคุณภาพและดา้ นการตอบโจทย์บรบิ ททเ่ี ปล่ียนแปลง ยทุ ธศาสตร์ท่ี 4 ขยายโอกาสการเข้าถึงบรกิ ารทางการศึกษาและการเรยี นรู้อยา่ งต่อเนื่อง ตลอดชีวิต ; มุ่งหวังให้การบริการการศึกษาแก่ผู้เรียนทุกกลุ่มทุกวัยในระดับท่ีเหมาะสมกับสภาพ บริบทและสภาพพ้ืนที่ซ่ึงตอบสนองการพฒั นาในด้านการเข้าถึงการให้บริการและด้านความเทา่ เทียม ยุทธศาสตร์ท่ี 5 ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ; มุ่งหวังให้คน ไทยได้รับโอกาสในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งตอบสนองการ พฒั นาในด้านการเขา้ ถงึ การใหบ้ รกิ าร ด้านความเทา่ เทยี ม และดา้ นประสทิ ธิภาพ ยุทธศาสตร์ท่ี 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการ จัดการศึกษา ; มุ่งหวังให้มีการใช้ทรพั ยากรทั้งด้านงบประมาณและบุคลากรได้อย่างคุ้มคา่ ไม่เกิดการ สญู เปล่า และมคี วามคลอ่ งตวั ซง่ึ ตอบสนองการพฒั นาในด้านประสิทธิภาพ

๒๐ 14. นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ประกาศ ณ วนั ท่ี 27 ธันวาคม พ.ศ. 2562) กระทรวงศึกษาธกิ าร ได้ประกาศนโยบายและจดุ เน้นของประทรวงศกึ ษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เมือ่ วันท่ี 27 ธนั วาคม พ.ศ. 2562 เพ่อื ให้ทกุ สว่ นราชการในสงั กดั กระทรวงศึกษาธกิ าร ใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงาน ซ่ึงมีสาระสำคัญที่เก่ียวข้องกับสำนักงานคณะกรรมการ การศกึ ษาข้ันพื้นฐาน ดังน้ี นโยบายประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 ๑. ปรับร้ือและเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารจัดการ โดยมุ่งปฏิรูปองค์การเพื่อหลอมรวมภารกิจและ บุคลากร เช่น ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการต่างประเทศ ด้านเทคโนโลยี ด้านกฎหมาย ฯลฯ ท่ีสามารถลด การใช้ทรัพยากรทับซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพและความเป็นเอกภาพ รวมท้ังการนำเทคโนโลยี ดิจิทัลเข้ามาช่วย ทง้ั การบรหิ ารงานและการจัดการศึกษารองรบั ความเป็นรัฐบาลดิจทิ ลั ๒. ปรับร้ือและเปล่ียนแปลงระบบการบริหารทรัพยากร โดยมุ่งปฏิรูปกระบวนการวางแผนงาน/ โครงการแบบร่วมมือและบูรณาการท่ีสามารถตอบโจทย์ของสังคมและเป็นการพัฒนาที่ย่ังยืน รวมทั้ง กระบวนการจัดทำงบประมาณที่มีประสิทธิภาพและใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า ส่งผลให้ภาคส่วนต่าง ๆ ท้ังภาครัฐ ภาคเอกชน และนานาชาติ เชอ่ื มัน่ และรว่ มสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษามากยงิ่ ข้นึ ๓. ปรับรื้อและเปล่ียนแปลงระบบการบริหารจัดการและพัฒนากำลังคนของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมุ่งบริหารจัดการอัตรากำลังให้สอดคล้องกับการปฏิรูปองค์การ รวมทั้งพัฒนา สมรรถนะและความรู้ ความสามารถของบคุ ลากรภาครฐั ใหม้ ีความพร้อมในการปฏิบตั งิ านรองรับ ความเปน็ รัฐบาลดิจิทลั ๔. ปรับรื้อและเปล่ียนแปลงระบบการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ โดยมุ่งให้ครอบคลุม ถึงการจัด การศึกษาเพื่อคณุ วุฒิ และการเรียนรู้ตลอดชวี ติ ที่สามารถตอบสนองการเปลย่ี นแปลงในศตวรรษท่ี ๒๑ จุดเนน้ การจดั การศึกษาของกระทรวงศกึ ษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ๑. การพฒั นาและเสรมิ สร้างศกั ยภาพทรพั ยากรมนษุ ย์ ๑.๑ การจัดการศกึ ษาเพอื่ คณุ วฒุ ิ - จัดการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท โดยใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ รวมทั้งแนวทาง การจดั การเรียนรู้เชิงรกุ และการวัดประเมนิ ผลเพอื่ พฒั นาผเู้ รียนทสี่ อดคลอ้ งกบั มาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ - ส่งเสริมการพัฒนากรอบหลักสูตรระดับท้องถ่ินและหลักสูตรสถานศึกษาตามความ ตอ้ งการจำเปน็ ของกลุม่ เปา้ หมายและแตกตา่ งหลากหลายตามบรบิ ทของพน้ื ที่ - พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จากประสบการณ์จริงหรือจาก สถานการณ์ จำลองผ่านการลงมือปฏิบัติ ตลอดจนจัดการเรียนการสอนในเชิงแสดงความคิดเห็นเพ่ือ เปิดโลกทศั น์มุมมอง ร่วมกนั ของผเู้ รยี นและครใู หม้ ากขน้ึ - พัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้และทักษะชีวิต เพ่ือเป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิต และสร้างอาชีพ อาทิ การใชเ้ ทคโนโลยีดจิ ทิ ัล สขุ ภาวะและทัศนคตทิ ี่ดีต่อการดูแลสุขภาพ ๑.๒ การเรียนรตู้ ลอดชวี ิต - จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนทุกช่วงวัย เน้นส่งเสริมและยกระดับ ทักษะ ภาษาอังกฤษ (English for All)

๒๑ - ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับผู้ท่ีเข้าสู่สังคมสูงวัย อาทิ อาชีพที่ เหมาะสมรองรับสังคมสูงวัย หลักสูตรการพัฒนาคุณภาพชีวิต และหลักสูตรการดูแลผู้สูงวัย หลักสูตร BUDDY โดยเน้นการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน โรงเรียน และผู้เรียน หลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ เพือ่ สง่ เสรมิ ประชาสัมพนั ธส์ นิ คา้ ออนไลนร์ ะดบั ตำบล - ส่งเสริมโอกาสการเข้าถึงการศึกษาเพ่ือทักษะอาชีพและการมีงานทำในเขตพัฒนา พิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเขตพ้ืนที่พิเศษ (พ้ืนที่สูง พื้นที่ตามแนวตะเข็บ ชายแดน และพื้นท่ี \"เกาะแก่ง ชายฝ่ังทะเล ท้ังกลุ่มชนต่างเช้ือชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มชายขอบ และ แรงงานต่างด้าว) - พัฒนาครูให้มีทักษะ ความรู้ และความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ และภาษาอังกฤษ รวมท้ังการจัดการเรียนการสอนเพ่ือฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ อยา่ งเป็นระบบ และมเี หตผุ ลเปน็ ข้นั ตอน - พัฒนาครูอาชีวศึกษาที่มีความรู้และความสามารถในทางปฏิบัติ (Hands on Experience) เพอ่ื ให้มที ักษะและความเชย่ี วชาญทางวิชาการ โดยร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาชัน้ นำของประเทศจัดหลักสตู ร การพัฒนาแบบเข้มขน้ ระยะเวลาอยา่ งนอ้ ย ๑ ปี - พัฒนาสมรรถนะและความรู้ความสามารถของบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ ให้มี ความพร้อมในการปฏิบัติงานรองรับความเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีศูนย์ พัฒนา สมรรถนะบุคลากรระดบั จงั หวัดทว่ั ประเทศ ๒. การพัฒนาการศึกษาเพือ่ ความมัน่ คง - พฒั นาคณุ ภาพการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำยทุ ธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เขา้ ถึง พัฒนา” เปน็ หลกั ในการดำเนินการ - เฝ้าระวังภัยทุกรูปแบบท่ีเกิดขึ้นกับผู้เรียน ครู และสถานศึกษา โดยเฉพาะภัยจากยาเสพติด อาชญากรรมทางไซเบอร์ การคา้ มนษุ ย์ - ส่งเสริมให้ใช้ภาษาท้องถิ่นร่วมกับภาษาไทยเป็นส่ือการจัดการเรียนการสอนในพ้ืนท่ีที่ใช้ภาษา อย่างหลากหลาย เพือ่ วางรากฐานให้ผู้เรียนมีพัฒนาการดา้ นการคิดวเิ คราะห์ รวมทั้งมีทักษะการส่ือสารและใช้ ภาษาท่สี ามในการต่อยอดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธภิ าพ - ปลูกฝังผู้เรียนให้มีหลักคิดที่ถูกต้องด้านคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีความพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา โดยใช้กระบวนการลกู เสอื และยุวกาชาด 3. การสรา้ งความสามารถในการแข่งขนั - ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาผลิตกำลังแรงงานท่ีมีคุณภาพ ตามความเป็นเลิศ ของ แต่ละสถานศึกษาและตามบริบทของพื้นท่ี รวมท้ังสอดคล้องกับความต้องการของประเทศทั้งในปัจจุบัน และอนาคต - สนับสนุนให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ และจัดการเรียน การสอนด้วยเครื่องมือปฏิบัติท่ีทันสมัยและสอดคล้องกับเทคโนโลยี โดยเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการ วเิ คราะหข์ อ้ มูล (Data Analysis) และทักษะการสอื่ สารภาษาตา่ งประเทศ

๒๒ ๔. การสรา้ งโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา - พัฒนาแพลตฟอร์มดจิ ทิ ลั เพอ่ื การเรียนรู้ และใชด้ ิจิทัลเปน็ เครื่องมือการเรียนรู้ - ศึกษาและปรับปรุงอัตราเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายต่อหัวในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใหส้ อดคลอ้ งกบั สภาพเศรษฐกิจและบทบัญญตั ขิ องรัฐธรรมนญู - ระดมสรรพกำลังเพ่ือส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เพ่ือลด ความเหลื่อมล้ำทางการศกึ ษาใหส้ อดคล้องพระราชบัญญัติพืน้ ท่นี วัตกรรมการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ ๕. การจัดการศกึ ษาเพอ่ื สรา้ งเสรมิ คณุ ภาพชวี ติ ทีเ่ ป็นมติ รกับสง่ิ แวดลอ้ ม - เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรม ทพี่ ึงประสงคด์ า้ นสิ่งแวดล้อม - ส่งเสริมการพัฒนาส่ิงประดิษฐ์และนวัตกรรมท่ีเป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อม ให้สามารถเป็น อาชพี และสรา้ งรายได้ 6. การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบรหิ ารจดั การ - ปฏิรูปองค์การเพื่อลดความทับซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพและความเป็นเอกภาพของหน่วยงานที่มี ภารกิจใกลเ้ คียงกนั เชน่ ดา้ นประชาสัมพนั ธ์ ดา้ นต่างประเทศ ดา้ นเทคโนโลยี ดา้ นกฎหมาย เปน็ ตน้ - ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบท่ีเป็นอุปสรรคและข้อจำกัดในการดำเนินงาน โดยคำนึงถึง ประโยชน์ของผ้เู รียนและประชาชน ตลอดจนกระทรวงศึกษาธกิ ารโดยรวม - สนับสนุนกิจกรรมการป้องกนั และปราบปรามการทจุ รติ และประพฤติมชิ อบ - พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการศึกษา (Big Data) - พัฒนาระบบการบริหารจัดการและพัฒนากำลังคนของกระทรวงศึกษาธิการ ให้ สอดคลอ้ งกับการปฏริ ปู องคก์ าร - สนับสนุนให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคล เพื่อให้สามารถบริหารจัดการศึกษาท่ีมีคุณภาพ ได้อย่างอสิ ระและมีประสิทธิภาพ ภายใตก้ รอบแนวทางของกระทรวงศกึ ษาธิการ - จัดตง้ั หนว่ ยงานวางแผนทางการเงนิ (Financial Plan) ระดับจงั หวัด เพ่ือพฒั นาคุณภาพ ชวี ติ บคุ ลากรของกระทรวงศกึ ษาธกิ าร - ส่งเสริมโครงการ ๑ ตำบล ๑ โรงเรียนคุณภาพ โดยเน้นปรับสภาพแวดล้อมท้ังภายใน และภายนอกบริเวณโรงเรียนให้เอื้อต่อการเสริมสร้างคณุ ธรรม จรยิ ธรรม และจิตสาธารณะ การขับเคลือ่ นนโยบายและจดุ เนน้ สู่การปฏิบัติ ๑. ให้ส่วนราชการ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศกึ ษาธิการ นำนโยบายและจุดเน้นเป็นกรอบแนวทาง มาใช้ในการวางแผนและจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยคำนึงถึง มาตรการ ๔ ข้อ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ให้แนวทางในการบริหารงบประมาณ ไว้ ดังนี้ (๑) งดดูงานต่างประเทศ ๑ ปี ยกเว้นกรณีที่มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อกระทรวงศึกษาธิการ (๒) ลดการจัดอบรมสัมมนาท่ีมีขนาดใหญ่และใช้งบประมาณมาก(๓) ยกเลิกการจัด งาน Event และ (๔) ทบทวนงบประมาณทมี่ คี วามซำ้ ซ้อน ๒. ให้มีคณะกรรมการติดตาม ประเมินผล และรายงานการขับเคลื่อนนโยบายและจุดเน้นสู่ การปฏิบัติระดับพ้ืนท่ีโดยให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน สำนักงานศึกษาธิการ ภาค และสำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล สป. เป็นฝ่ายเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ ตามลำดับ โดยมีบทบาทภารกิจในการตรวจราชการ ติดตาม ประเมนิ ผลในระดับนโยบาย และจัดทำ

๒๓ รายงานเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และ ประเมินผลการจัด การศกึ ษาของกระทรวงศกึ ษาธิการทราบตามลำดับ ๓. กรณีมีปัญหาในเชิงพ้ืนท่ีหรือข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน ให้ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล และ ดำเนินการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ก่อน โดยใช้ภาคีเครือข่ายในการแก้ไขข้อขัดข้อง พร้อมท้ัง รายงานต่อคณะกรรมการติดตาม ฯ ข้างต้น ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการตามลำดับ อน่ึง สำหรับภารกิจของส่วนราชการหลักและหน่วยงานท่ีปฏิบัติในลักษณะงานในเชิงหน้าท่ี (Function) งานในเชิงยุทธศาสตร์ (Agenda) และงานในเชิงพ้ืนที่ (Area) ซ่ึงได้ดำเนินการอยู่ก่อน เมอ่ื รัฐบาลหรอื กระทรวงศึกษาธิการมนี โยบายสำคัญเพ่ิมเตมิ ในปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ นอกเหนือ จากที่กำหนดหากมีความสอดคล้องกับหลักการนโยบายและจุดเน้นข้างต้นให้ถือเป็นหน้าท่ีของส่ วน ราชการหลัก และหน่วยงาน ที่เก่ียวข้องต้องเร่งรัด กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ให้การดำเนินการ เกดิ ผลสำเรจ็ และมีประสิทธิภาพอยา่ งเป็นรปู ธรรมดว้ ยเช่นกนั 15. นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศกึ ษาธิการ ปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 ( เพ่ิมเตมิ ) (ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2563) “5. ดำเนินการปลดล็อก ปรับเปลี่ยน เปิดกว้าง ท่ีเป็นเง่ือนไขต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลตาม นโยบาย “ การศึกษายกกำลังสอง (Thailand Education Eco - System :TE2S) การศึกษาที่ เข้าใจ Supply และตอบโจทย์ Demand ” โดย - ปลดล็อก กฎหมาย ระเบียบ ขอ้ บังคับ ประกาศต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความรว่ มมือกันระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมให้สามารถดำเนินการท่ีเกี่ยวข้องกับการศึกษาได้อย่าง รวดเรว็ รวมถึงการบริหารการศกึ ษาของประเทศให้ครอบคลมุ ทุกพืน้ ที่ - ปรับเปลี่ยน หลักสูตรการเรียนการสอนท่ีมุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพ ให้ทันต่อการเปล่ียนแปลงของโลก ปรับเปล่ียนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาผ่านศูนย์ พัฒนาศักยภาพบุคคลเพ่ือความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) เพื่อให้ครู Up Skill และRe - Skill ของตนเองได้ตลอดเวลา ท้ังน้ี เพ่ือส่งต่อความรู้ไปยังผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง และคนที่มีคุณภาพ - เปิดกว้าง เสรีทางการศึกษาให้ภาคเอกชนท่ีมีคุณภาพเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา การศึกษาร่วมประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพ่ือความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) จากแพ ลตฟ อร์มดิจิทัล (Digital Education Excellence Platform : DEEP) ให้ครอบคลุมผู้เรียนท่ัวประเทศ ท้ังน้ี เพื่อนำไปสู่นักเรียนยกกำลังสอง ที่เน้นเรียนเพ่ือรู้ พัฒนาทักษะเพ่ือทำครูยกกำลังสองท่ีเน้นเพิ่มคนเก่งมาเป็นครู พัฒนาครูในระบบ ห้องเรียนยกกำลังสองท่ีเน้นเรียนที่บ้าน ถามที่โรงเรียน หลักสูตรยกกำลังสองที่เน้นลดเวลาเรียน เพ่ิม เวลารู้ ส่ือการเรียนรู้ยกกำลังสองที่เน้นเรียนผ่านสื่อผสมผสานผ่านช่องทางท่ีหลากหลาย ได้แก่ On - Site เรียนที่โรงเรียน Online เรียนออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มด้านการศึกษาเพ่ือความเป็นเลิศ (Digital Education Excellence Platform : DEEP) ที่ มี เน้ื อ ห าม าต รฐ าน จาก ผู้ ผ ลิ ต ที่ เป็ น ภาคเอกชน On - Air เรียนผ่านโทรทัศน์ DLTV มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมโดยเน้ือหา

๒๔ มาตรฐานจากผู้ผลิตท่ีเป็นภาคเอกชน และ On - Demand ซ่ึงสามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลาท่ีมี อนิ เทอรเ์ น็ตและอุปกรณ์เชื่อมต่อ โรงเรียนยกกำลังสองท่ีมุ่งเน้นคุณภาพในโรงเรียนระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐานเพ่ือความเป็น เลิศทางวิชาการเพ่ือความเป็นเลิศทางภูมิปัญญาท้องถ่ิน และวิสาหกิจชุมชนท่ีเน้นคุณภาพของ วิทยาลยั อาชีวศึกษาเพ่ือความเป็นเลิศและความเชี่ยวชาญท่ีสามารถตอบโจทย์ทกั ษะและความรู้ทีเ่ พ่ิม ความเช่ียวชาญในการปฏบิ ตั ิงาน - จุดเน้นประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 (เพ่ิมเติม) 1. พัฒนาครูทุกระดับให้มีทักษะ ความรู้ที่จำเป็น เพื่อทำหน้าที่วิทยากรมืออาชีพ (Train TheTrainer) และขยายผลการพัฒนาผ่านศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) 2. จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านเว็บไซต์ www.deep.go.th โดยปลดล็อกและเปิดกว้างให้ ภาคเอกชนสามารถเข้ามาพัฒนาเนื้อหา เพื่อให้ผู้เรียน ครู และผู้บริหารทางการศึกษามีทางเลือก ในการเรียนรู้ท่ีหลากหลาย และตลอดเวลาผ่านแพลตฟอร์มด้านการศึกษาเพ่ือความเป็นเลิศ (Digital Education Excellence Platform : DEEP) 3. ให้ผู้เรียน ครู ผู้บริหารทางการศึกษามีแผนพัฒนารายบุคคลผ่านแผนพัฒนารายบุคคล สคู่ วามเป็นเลิศ (Excellence Individual Development Plan : EIDP) 4. จดั ทำ “ คูม่ ือมาตรฐานโรงเรียน” เพ่อื กำหนดใหท้ ุกโรงเรียนต้องมีพืน้ ฐานทจ่ี ำเป็น 16. นโยบายการจดั การศกึ ษาของรัฐมนตรวี ่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวตรีนุช เทียนทอง) รูปแบบการทำงาน “TRUST” หมายถงึ “ความไว้วางใจ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้นำเสนอ รูปแบบการทำงาน “THRUST” ที่จะทำให้ ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ผู้เรียน และประชาชน กลับมาให้ความไว้วางใจในการทำงาน ของกระทรวงศึกษาธิการอีกคร้ัง T ยอ่ มาจาก Transparency (ความโปรง่ ใส) R ย่อมาจาก Responsibility (ความรับผิดชอบ) U ย่อมาจาก Unity (ความเปน็ อันหนงึ่ อนั เดียว) S ย่อมาจาก Student-Centricity (ผเู้ รยี นเป็นเปา้ หมายแห่งการพฒั นา) T ยอ่ มาจาก Technology (เทคโนโลย)ี รูปแบบการทำงาน “TRUST” คือการพัฒนาต่อยอดจากรูปแบบการทำงาน “MOE ONE TEAM” หรือ “การทำงานร่วมกันเป็นหน่ึงเดียวของกระทรวงศึกษาธิการ” ท่ีกระทรวงศึกษาธิการได้ ดำเนินการมาโดยตลอด ซ่ึง “TRUST” จะเข้ามาเป็นส่วนเสริมในเร่ืองความโปร่งใส ทั้งในเชิง กระบวนการทำงานและกระบวนการตรวจสอบจากภาคส่วนต่าง ๆ การสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานทุก คนดำเนนิ การตามภารกจิ ของตน ด้วยความรับผิดชอบต่อตัวเอง องค์กร ประชาชน และประเทศชาติ ให้ความสำคัญกับการ ประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน (Participation) ผ่านกลไกการรับฟังความคิดเห็นมา ประกอบการดำเนนิ งานตา่ ง ๆ ทเี่ ปน็ ประโยชนต์ อ่ การยกระดบั คุณภาพการศึกษา

๒๕ ท้ังนี้ กระทรวงศึกษาธิการเป็นพื้นที่ของทุกคน มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียว ระหว่างครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ผู้เรียน และประชาชน ซ่ึงมีเป้าหมายร่วมกัน คือ การมีผู้เรียนเป็น เป้าหมายแห่งการพัฒนา โดยการทำให้ผู้เรียนมีวิธีคิดและทักษะท่ีเป็นสากลสอดคล้องกับพลวัตใน ศตวรรษท่ี 21 ควบคู่ไปกับสำนึกและความเข้าใจในความเป็นไทย ผ่านการมีความพร้อมด้าน เทคโนโลยี ท้ังในเชิงโครงสร้าง (Infrastructure) คือ การเข้าถึงส่ิงจำเป็นและส่ิงอำนวยความสะดวก ด้านการศึกษาอย่างท่ัวถึง เพ่ือลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสในการศึกษา และในเชิงการเรียนรู้ (Learning) คือแหลง่ ขอ้ มูล แหลง่ เรียนรรู้ ูปแบบต่าง ๆ ท่ีทันสมยั และจะช่วยให้ผู้เรียนทกุ คนถงึ พรอ้ ม ซ่ึงคุณลักษณะอนั พึงประสงค์ทกุ ประการ เพื่อเป็นการตระหนักถึงความสำคัญของยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้าง ศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) ประเด็นการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต การสร้างสภาพแวดล้อมท่ีเอ้ือต่อการพัฒนาและ เสริมสร้างศักยภาพมนุษย์ การพัฒนาเด็กต้ังแต่ช่วงตั้งครรภ์จนถึงปฐมวัย การพัฒนาช่วงวัยเรียน/ วัยรุ่น การพัฒนาและยกระดับศักยภาพวัยแรงงาน รวมถึงการส่งเสริมศักยภาพวัยผู้สูงอายุ ประเด็น การพัฒนาการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษท่ี 21 และพหุปัญญาของมนุษย์ท่ี หลากหลาย และประเดน็ อื่นท่ีเกี่ยวข้อง 12 นโยบายการจดั การศกึ ษาของกระทรวงศึกษาธกิ าร รัฐมนตรวี า่ การกระทรวงศกึ ษาธกิ ารนำเสนอนโยบายการจัดการศึกษา 12 ข้อ ดงั น้ี ข้อ 1 การปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ให้ทันสมัย และทันการเปล่ียนแปลง ของโลกในศตวรรษที่ 21 โดยมงุ่ พัฒนาผู้เรียนทุกระดบั การศึกษาให้มีความรู้ ทักษะและคณุ ลักษณะ ท่เี หมาะสมกบั บริบทสังคมไทย ข้อ 2 การพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูและอาจารย์ในระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน และอาชีวศึกษา ให้มีสมรรถนะทางภาษาและดิจิทัล เพ่ือให้ครูและอาจารย์ใด้รับการพัฒนาให้มี สมรรถนะทั้งด้านการจัดการเรยี นรู้ ด้วยภาษาและดิจิทลั สามารถปรับวธิ ีการเรียนการสอนและการใช้ สื่อทันสมยั และมคี วามรบั ผดิ ชอบต่อผลลพั ธ์ทางการศกึ ษาที่เกดิ กบั ผ้เู รยี น ข้อ 3 การปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลฝานแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลแห่งชาติ (NDLP) และการส่งเสริมการฝึกทักษะดจิ ิทัลในชีวิตประจำวัน เพอื่ ให้มีหน่วยงานรับผิดชอบพัฒนา แพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลแห่งชาติ ท่ีสามารถนำไปใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัย และเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางผ่านระบบออนไลน์ และการนำฐานข้อมูลกลางทาง การศกึ ษามาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษา ข้อ 4 การพฒั นาประสทิ ธภิ าพการบรหิ ารและการจดั การศกึ ษา โดยการส่งเสริมสนบั สนุน สถานศึกษาให้มีความเป็นอิสระและคล่องตัว การกระจายอำนาจการบริหารและการจดั การศกึ ษา โดยใช้จังหวัดเป็นฐาน โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายการศึกษาแห่งชาติที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อ กำหนดให้มรี ะบบบรหิ ารและการจดั การ รวมถึงการจดั โครงสร้างหน่วยงานใหเ้ อ้อื ต่อการจัดการเรียน การสอนให้มีคุณภาพ สถานศึกษาให้มีความเป็นอิสระและคล่องตัว การบริหารและการจัดการศึกษา โดยใช้จงั หวัดเป็นฐาน มีระบบการบริหารงานบุคคลโดยยดึ หลกั ธรรมาภิบาล

๒๖ ข้อ 5 การปรับระบบการประเมินผลการศึกษาและการประกันคุณภาพ พร้อมจัดทดสอบ วัดความรู้ และทักษะที่จำเป็นในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาท้ังสายวิชาการและสายวิชาชีพ เพ่ือให้ระบบการประเมินผลการศึกษาทุกระดับและระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ได้รับการ ปรับปรุงให้ทนั สมยั ตอบสนองผลลัพธ์ทางการศึกษาได้อยา่ งเหมาะสม ข้อ 6 การจัดสรรและการกระจายทรัพยากรให้ท่ัวถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการระดม ทรัพยากรทางการศึกษาจากความร่วมมือทุกภาคส่วน เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษา มีความเป็นธรรมและสร้างโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพทัดเทียมกลุ่มอื่น ๆ กระจายทรพั ยากรทัง้ บุคลากรทางการศึกษา งบประมาณและส่อื เทคโนโลยีได้อยา่ งทว่ั ถงึ ข้อ 7 การนำกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) และกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (AQRF) สู่การปฏิบตั ิ เป็นการผลิตและการพฒั นากำลังคนเพ่ือการพัฒนาประเทศ โดยใช้กรอบคณุ วุฒแิ ห่งชาติ เช่ือมโยงระบบการศึกษาและการอาชีพ โดยใช้กลไกการเทยี บโอนประสบการณด์ ้วยธนาคารหน่วยกิต และการจดั ทำมาตรฐานอาชพี ในสาขาท่สี ามารถอา้ งอิงอาเซียนได้ ข้อ 8 การพัฒนาเด็กปฐมวัยให้ได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาเพ่ือพัฒนา ร่างกาย จิตใจวินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย เพ่ือเป็นการขับเคล่ือนแผนบูรณา การการพัฒนาเด็กปฐมวัย ตามพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวยั พ.ศ. 2562 สู่การปฏิบัติเป็น รูปธรรม โดยหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องนำไปเป็นกรอบในการจัดทำแผนปฏิบัติการเพ่ือพัฒนาเด็กปฐมวัย และมีการติดตามความก้าวหน้าเป็นระยะ ขอ้ 9 การศึกษาเพื่ออาชีพและสร้างขดี ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อให้ผู้ จบการศึกษาระดับปรญิ ญาและอาชีวศึกษามีอาชีพและรายได้ที่เหมาะสมกับการดำรงชพี และคุณภาพ ชีวิตทด่ี ีมสี ่วนชว่ ยเพิ่มขดี ความสามารถในการแขง่ ขนั ในเวทีโลกได้ ข้อ 10 การพลิกโฉมระบบการศึกษาไทยด้วยการนำนวตั กรรมและเทคโนโลยที ท่ี ันสมัยมา ใช้ในการจัดการศึกษาทุกระดับการศึกษา เพื่อให้สถาบันการศึกษาทุกแห่งนำนวัตกรรมและ เทคโนโลยีที่ทนั สมัยมาใชใ้ นการจดั การศกึ ษาผ่านระบบดจิ ทิ ัล ข้อ 11 การเพ่ิมโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาท่ีมีคุณภาพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทาง การศึกษา และผู้เรียนท่ีมีความต้องการจำเป็นพิเศษ เพ่ือเป็นการเพ่ิมโอกาสและการเข้าถึง การศกึ ษาที่มคี ณุ ภาพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา และผ้เู รียนท่ีมีความตอ้ งการจำเป็นพิเศษ ข้อ 12 การจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย โดยยึดหลักการเรียนรู้ ตลอดชีวิตและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพ่ือเพิ่มโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาท่ีมี คุณภาพของกลมุ่ ผู้ดอ้ ยโอกาสทางการศกึ ษาและผู้เรียนที่มีความต้องการจำเปน็ พิเศษ 7 วาระเร่งด่วน (Quick Win) ของกระทรวงศกึ ษาธกิ าร วาระท่ี 1 เร่ืองความปลอดภัยของผู้เรียน โดยจัดให้มีรูปแบบ วิธีการ หรือกระบวนการใน การดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพ่ือให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีความสุข และได้รับการ ปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยท้ังด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงการสร้างทักษะให้ผู้เรียนมี ความสามารถในการดแู ลตนเองจากภัยอันตรายต่าง ๆ ท่ามกลางสภาพแวดลอ้ มทางสังคม

๒๗ วาระท่ี 2 หลักสูตรฐานสมรรถนะ มุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้ท่ีหลากหลายโดยยึด ความสามารถของผเู้ รียนเปน็ หลัก และพฒั นาผ้เู รียนใหเ้ กิดสมรรถนะทีต่ ้องการ วาระท่ี 3 Big Data พัฒนาการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและไม่ซ้ำซ้อน เพื่อให้ได้ ข้อมูลภาพรวมการศึกษาของประเทศท่ีมีความครบถ้วน สมบูรณ์ ถูกต้องเป็นปัจจุบัน และสามารถ นำมาใชป้ ระโยชนไ์ ดอ้ ยา่ งแท้จริง วาระท่ี 4 ขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) สนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) ตามความ เลิศของแต่ละสถานศึกษาและตามบริบทของพื้นที่ สอดคล้องกับความต้องการของประปัจจุบันและ อนาคต ตลอดจนมกี ารจัดการเรยี นการสอนด้วยเคร่ืองมอื ท่ีทันสมยั สอดคลอ้ งกับเทคโนโลยีปัจจุบนั วาระท่ี 5 พัฒนาทักษะทางอาชีพ ส่งเสริมการจัดการศึกษาที่เน้นพัฒนาทักษะอาชีพของ ผู้เรียน เพ่ือพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างอาชีพและรายได้ที่เหมาะสม และเพิ่มขีดความสามารถในการ แขง่ ขันของประเทศ วาระท่ี 6 การศึกษาตลอดชีวิต การจัดเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนทุกช่วงวัยให้มี คุณภาพและมาตรฐาน ประซาชนในแต่ละช่วงวัยได้รับการศึกษาตามความต้องการอย่างมีมาตรฐาน เหมาะสมและเต็มตามศักยภาพต้ังแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา และพัฒนาหลักสูตรท่ีเหมาะสมเพ่ือเตรียม ความพร้อมในการเข้าสสู่ ังคมผู้สูงวัย วาระท่ี 7 การจัดการศึกษาสำหรับผู้ท่ีมีความต้องการจำเป็นพิเศษ ส่งเสริมการจัด การศึกษาให้ผู้ท่ีมีความต้องการจำเป็นพิเศษได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพสามารถดำรงชีวิตใน สังคมอย่างมีเกียรติ ศักด์ิศรีเท่าเทียมกับผู้อ่ืนในสังคม สามารถช่วยเหลือตนเองและมีส่วนร่วมในการ พัฒนาประเทศ 17. นโยบายสำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พ้ืนฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดนโยบาย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยยึดหลักของการพัฒนาท่ียั่งยืน และการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศในอนาคต และมุ่งสู่ Thailand 4.0 ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 และมีวิสัยทัศน์ พันธกจิ เป้าประสงคแ์ ละนโยบาย ดงั น้ี วิสยั ทศั น์ “สร้างคุณภาพทนุ มนษุ ย์ สสู่ ังคมอนาคตทีย่ งั่ ยนื ” พันธกจิ 1. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ และการปกครอง ในระบอบประชาธปิ ไตยอนั มีพระมหากษัตริยท์ รงเปน็ ประมุข 2. พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถและมีความเป็นเลิศทางวิชาการ เพ่ือสร้างขีด ความสามารถในการแข่งขัน 3. พัฒนาศักยภาพและคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตรและคุณลักษณะ ในศตวรรษที่ 21 4. สร้างโอกาส ความเสมอภาค ลดความเหล่ือมล้ำ ให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการทาง การศึกษาอย่างทั่วถึงและเทา่ เทียม

๒๘ 5. พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรการศึกษาให้เป็นมืออาชีพ มีสมรรถนะด้านภาษาและ การใช้เทคโนโลยีดจิ ทิ ัล 6. จัดการศึกษาเพ่ือพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยึดหลักปรัชญาของ เศรษฐกจิ พอเพียง และเปา้ หมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) 7. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาทุกระดับ และจัดการศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) เพอื่ พัฒนาม่งุ สู่ Thailand 4.0 นโยบาย 1. ดา้ นความปลอดภัย พัฒนาระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัยให้กับผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการ ศึกษาและสถานศึกษาจากภัยพิบัติและภัยคุกคามทุกรูปแบบ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ การมีสุขภาวะท่ีดี สามารถปรับตวั ตอ่ โรคอบุ ัติใหม่และโรคอบุ ัติซำ้ 2. ดา้ นโอกาส 2.1 สนับสนุนให้เด็กปฐมวัยได้เข้าเรียนทุกคน มีพัฒนาการที่ดี ท้ังทางร่างกาย จิตใจ วนิ ยั อารมณ์สังคม และสติปัญญา ให้สมกบั วยั 2.2 ดำเนินการให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมี คุณภาพตามมาตรฐาน วางรากฐานการศึกษาเพื่ออาชีพ สามารถวิเคราะห์ตนเองเพื่อการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพตรงตามศักยภาพ และความถนัดของตนเอง รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนท่ีมี ความสามารถพเิ ศษสู่ความเป็นเลศิ เพอื่ เพิ่มขดี ความสามารถในการแขง่ ขันของประเทศ 2.3 พฒั นาระบบดูแลช่วยเหลอื เดก็ และเยาวชนทีอ่ ย่ใู นการศึกษาข้นั พื้นฐานเพ่ือป้องกัน ไม่ให้ออกจากระบบการศึกษา รวมท้ังช่วยเหลือเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันให้ได้รับการศึกษา ข้ันพ้นื ฐานอยา่ งเทา่ เทยี มกัน 2.4 ส่งเสริมให้เด็กพิการและผู้ด้อยโอกาส ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ มที ักษะในการดำเนินชีวิต มพี ื้นฐานในการประกอบอาชีพ พึ่งตนเองได้อย่างมีศกั ด์ิศรคี วามเป็นมนุษย์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง 3. ด้านคณุ ภาพ 3.1 ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะการเรียนรู้และทักษะที่จำเป็น ของโลกในศตวรรษท่ี 21 อย่างครบถ้วน เป็นคนดี มีวินัย มีความรักในสถาบันหลักของชาติ ยึดม่ัน การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีทัศนคติท่ีถูกต้องต่อ บ้านเมือง 3.2 พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะและทักษะด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ การคิดข้ันสูง นวตั กรรม วทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยีดิจทิ ลั และภาษาต่างประเทศ เพอ่ื เพ่ิมขดี ความสามารถในการ แขง่ ขนั และการเลอื กศกึ ษาต่อเพ่ือการมงี านทำ 3.3 ปรับหลักสูตรเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะท่ีเน้นการพัฒนาสมรรถนะหลักท่ีจำเป็น ในแต่ละระดับ จัดกระบวนการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง รวมท้ังส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ท่ีสร้าง สมดุลทุกด้าน ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาพหุปัญญา พัฒนาระบบการวัดและประเมินผล ผู้เรียนทุกระดับ

๒๙ 3.4 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นครูยุคใหม่ มีศักยภาพในการจัดการ เรียนการสอนตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ มีทักษะในการปฏิบัติหน้าท่ีได้ดี มีความรู้ความสามารถใน การใช้เทคโนโลยดี ิจิทลั มกี ารพฒั นาตนเองทางวิชาชีพอย่างตอ่ เนื่องรวมทง้ั จิตวิญญาณความเป็นครู 4. ดา้ นประสทิ ธิภาพ 4.1 พัฒนาระบบบริหารจัดการโดยใช้พ้ืนที่เป็นฐาน มีนวัตกรรมเป็นกลไกหลักในการ ขับเคลอื่ นบนฐานข้อมูลสารสนเทศท่ถี ูกต้อง ทนั สมัย และการมสี ว่ นรว่ มของทุกภาคส่วน 4.2 พัฒนาโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง โรงเรียนคุณภาพของชุมชน โรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนทสี่ ามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ (Stand Alone) ให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืน สอดคล้อง กบั บรบิ ทของพืน้ ที่ 4.3 บริหารจัดการโรงเรยี นขยายโอกาสทางการศึกษา ที่มจี ำนวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีท่ี 1 – 3 น้อยกว่า 20 คน ให้ได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ สอดคล้องกับนโยบายโรงเรียน คุณภาพของชุมชน 4.4 ส่งเสริมการจัดการศึกษาท่ีมีคุณภาพในสถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะและ สถานศึกษาที่ตั้งในพืน้ ท่ลี กั ษณะพเิ ศษ 4.5 สนับสนุนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาให้เป็นต้นแบบการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา และการเพ่มิ ความคลอ่ งตวั ในการบรหิ ารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4.6 เพมิ่ ประสิทธภิ าพการนเิ ทศ ตดิ ตาม และประเมินผลการศกึ ษาขั้นพื้นฐาน กลยทุ ธห์ น่วยงาน 1. การจัดการศึกษาเพ่ือความมน่ั คงของสงั คมและประเทศชาติ 2. การจัดการศกึ ษาเพ่ือเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 3. การพฒั นาและเสริมสร้างศกั ยภาพทรัพยากรมนุษย์ 4. การสร้างโอกาสในการเข้าถึงบรกิ ารการศึกษาท่ีมคี ณุ ภาพ มีมาตรฐานและลดความเหลือ่ มล้ำ ทางการศึกษา 5. การจดั การศึกษาเพอื่ พฒั นาคณุ ภาพชีวติ ทีเ่ ป็นมติ รกบั สง่ิ แวดลอ้ ม 6. การปรบั สมดลุ และพัฒนาระบบการบริหารจดั การศึกษา 18. ทิศทางการพฒั นาจังหวัดเชยี งราย จงั หวดั ไดก้ ำหนดวสิ ัยทศั น์และจุดเนน้ การพฒั นา พ.ศ. 2563 ดังนี้ วสิ ยั ทัศน์ “ เชียงรายเมืองแหง่ ความสุข สะอาด ปลอดภัย น่ายล ” เปา้ หมายการพัฒนา 1. เพ่ือสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเน้นการเพ่ิมขีดความสามารถในการ แข่งขันด้านการค้า การลงทุน บริการโลจิสติกส์ การเกษตร การท่องเท่ียว และวัฒนธรรม เช่ือมโยง กลุ่มจงั หวดั กลุ่มอาเซียน +6 และ GMS 2. เพื่อยกระดบั คุณภาพชีวิตของประชาชนใหด้ ีขึ้น โดยการน้อมนำศาสตร์พระราชา เปน็ แนวทางหลกั ในการสรา้ งภมู คิ มุ้ กันในการสร้างคน สังคมทม่ี คี ุณภาพ

๓๐ 3. เพ่ือสร้างสมดุลของระบบนิเวศและการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ เพื่อให้ประชาชน มีความสขุ อยใู่ นสง่ิ แวดล้อมทดี่ ีและมีคุณภาพ 5. เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพ้ืนท่ีปกติ และ แนวชายแดน ประเด็นการพฒั นาจงั หวดั เชียงราย 1. ประเด็นการพฒั นาที่ 1 การสรา้ งมูลค่าเพ่ิมด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เชิงนิเวศ และ เชงิ สขุ ภาพโดยดำรงฐานวฒั นธรรมล้านนา 2. ประเดน็ การพัฒนาท่ี 2 การส่งเสริมการผลิตและพัฒนานวัตกรรม เพื่อยกระดับสินค้า เกษตรกรรมภายใต้แนวทางการพัฒนาทยี่ งั่ ยนื 3. ประเดน็ การพัฒนาท่ี 3 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ดำรงความ สมบูรณ์และยงั่ ยนื 4. ประเด็นการพัฒนาท่ี 4 การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการค้า การลงทุน และบริการ โลจสิ ติกส์ เชอ่ื มโยงกล่มุ จงั หวดั กลมุ่ อาเซียน+6 และ GMS 5. ประเดน็ การพัฒนาที่ 5 การรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการเสริมสรา้ งความเปน็ พลเมอื งเพื่อสรา้ งจติ สำนึกความรักสถาบนั หลักของชาติ 6. ประเดน็ การพฒั นาท่ี 6 การพัฒนาคุณภาพชีวิตและทรัพยากรมนุษย์เพ่ือให้ประชาชนอยู่ เยน็ เป็นสขุ 19. ทิศทางการพฒั นาการศกึ ษาสำนกั งานศกึ ษาธิการจังหวัดเชียงราย สำนกั งานศกึ ษาธิการจงั หวดั เชยี งราย ไดจ้ ดั ทำแผนพฒั นาการศึกษา (พ.ศ. 2563 – 2565 ) โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือกำหนดทิศทางการพัฒนาการศึกษาจังหวัดเชียงราย และกำหนดแนวทางการ ขบั เคลื่อนการพัฒนาการศกึ ษาจังหวัดเชียงรายไปสู่การปฏิบัติ โดยมีทิศทางของแผนพัฒนาการศึกษา จังหวัดเชียงราย ดังน้ี วิสัยทศั น์ “ เชียงรายเมืองแห่งคุณภาพการศึกษา พัฒนาสู่สากล บนพ้ืนฐานวัฒนธรรมล้านนา มวลประชาอยเู่ ย็นเปน็ สขุ ” พนั ธกจิ 1. จัดการศึกษาได้ตามมาตรฐานการศกึ ษาของแตล่ ะประเภทสถานศกึ ษา 2. จดั การศกึ ษาสอดคลอ้ งกับความตอ้ งการของผ้เู รียนเต็มศักยภาพของบุคคล 3. จัดการศกึ ษาให้ผ้เู รยี นมสี มรรถนะดา้ นภาษา 4. จัดการศึกษาอาชีพมสี มรรถนะสอดคล้องกบั ความต้องการของตลาดแรงงานในประเทศ เขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย และกลมุ่ อนุภูมภิ าคลมุ่ น้ำโขง (GMS) 5. สง่ เสริมการจดั การศึกษาให้สอดคลอ้ งกับวฒั นธรรม ประเพณลี ้านนา ภูมปิ ัญญาท้องถิน่ และอนุรักษส์ งิ่ แวดลอ้ ม 6. จดั การศกึ ษาภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง 7. ส่งเสริมสถาบันครอบครวั ใหเ้ ข้มแข็ง และยั่งยนื

๓๑ 8. สร้างผลงานวจิ ัยท่ีมีคุณค่า สนับสนุนการทำวิจยั อย่างเปน็ ระบบ และส่งเสรมิ การต่อยอด งานวจิ ยั สสู่ ังคมและเชงิ พาณิชย์ เป้าประสงคห์ ลกั 1. คนทุกช่วงวัยมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดม่ันการปกครองระบอบ ประชาธปิ ไตยอันมพี ระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมขุ 2. คนทกุ ช่วงวัยในเขตพ้ืนท่ีพเิ ศษไดร้ ับการศึกษาและเรียนรู้อย่างมคี ุณภาพ 3. ผู้เรียนที่จบการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละประเภทสถานศึกษา สามารถศกึ ษาตอ่ และประกอบอาชพี ตามความต้องการ 4. ผูเ้ รียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ตามความตอ้ งการอย่างต่อเนือ่ ง ตลอดชีวิตเต็มศักยภาพ ของบคุ คล 5. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาด้านภาษาท่ีมีคุณภาพเป็นไปตามเป้าหมาย เต็มศักยภาพของ บุคคล 6. ผู้เรียนได้รับการพัฒนา มีสมรรถนะตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานเขตพัฒนา เศรษฐกิจพเิ ศษเชยี งราย และตรงกบั ความต้องการกลุ่มอนุมิภาคลมุ่ นำ้ โขง (GMS) 7. ผู้เรียนมีทักษะชีวิต คุณภาพชีวิต สอดคล้องกับวัฒนธรรม ประเพณีล้านนา ภูมิปัญญา ท้องถน่ิ และอนุรักษส์ ่งิ แวดล้อม 8. ผ้เู รยี นนำปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียงไปเป็นหลักการในการดำรงชวี ติ ในสังคม 9. สถาบันครอบครัวมคี วามเข้มแข็งและย่ังยืน อย่ใู นสงั คมอยา่ งมีความสขุ 10.ภาคีเครอื ข่าย ชุมชนมสี ่วนรว่ มจดั การศึกษา 11.หน่วยงานการศึกษาและสถานศึกษาผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ และนำผลงานวิจัยไป ยกระดบั คุณภาพชีวติ ของคนในสงั คม และนำไปใชป้ ระโยชนเ์ ชงิ พาณิชย์ 12.ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองไทย และทักษะและคุณลักษณะที่ จำเป็นในศตวรรษท่ี 21 ประเดน็ ยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาการศึกษา (พ.ศ. 2563 – 2565 ) จังหวัดเชียงราย ได้กำหนดประเด็น ยุทธศาสตร์ 3 ประเดน็ ยทุ ธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ท่ี 1 การจัดการศึกษาเพื่อให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งความสุข สะอาด ปลอดภัย นา่ ยล โดยสอดคล้องกับศกั ยภาพ อตั ลักษณ์ และภมู ิสงั คมของจังหวัดเชียงรายที่แตกตา่ งกนั ยุทธศาสตร์ที่ 2 การจัดการศึกษาเพ่ือให้มีทักษะอาชีพท่ีสนองต่อเขตเศรษฐกิจพิเศษ การ ท่องเท่ียวและชายแดน โดยสอดคล้องกับศักยภาพ อัตลักษณ์ และภูมิสังคมของจังหวัดเชียงราย ทแี่ ตกตา่ งกนั ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการศึกษาเพื่อโอกาสและความเสมอภาคท่ีเท่าเทียม โดยสอดคล้องกับศกั ยภาพ อตั ลกั ษณ์ และภมู สิ งั คมของจังหวัดเชียงรายท่แี ตกตา่ งกัน

ส่วนที่ 3 สภาพแวดล้อม ของสำนักงานเขตพน้ื ท่ีการศกึ ษาประถมศึกษาเชยี งราย เขต 3 สภาพแวดลอ้ มสำนกั งานเขตพ้นื ที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 สำนกั งานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ไดแ้ บ่งส่วนราชการภายใน สำนักงานเขตพืน้ ท่ีการศึกษาตามประกาศกระทรวงศกึ ษาธกิ าร เรอื่ ง การแบง่ สว่ นราชการภายใน สำนักงานเขตพน้ื ที่การศึกษา พ.ศ. 2560 ประกาศ ณ วนั ท่ี 22 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2560 และ แกไ้ ขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ประกาศ ณ วนั ท่ี 28 สงิ หาคม พ.ศ. 2561 ดงั ตอ่ ไปนี้ 1. กลมุ่ อำนวยการ 2. กลุ่มนโยบายและแผน - กลมุ่ สง่ เสริมการศกึ ษาทางไกล เทคโนโลยสี ารสนเทศและการสื่อสาร 3. กลุ่มบริหารงานการเงนิ และสนิ ทรัพย์ 4. กลุ่มบรหิ ารงานบคุ คล - กล่มุ พัฒนาพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 5. กลมุ่ นเิ ทศ ตดิ ตาม และประเมินผลการจดั การศึกษา 6. กลุม่ ส่งเสริมการจัดการศึกษา 7. หนว่ ยตรวจสอบภายใน 8. กลุ่มกฎหมายและคดี

๓๓ บคุ ลากรสังกดั สำนกั งานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จำนวนขา้ ราชการครู บคุ ลากรทางการศึกษา และนักเรยี นสังกัดสำนกั งานเขตพืน้ ทก่ี ารศึก ประถมศกึ ษาเชียงราย เขต 3 ปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 ดงั ต่อไปน้ี ตารางที่ 1 จำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจำแนกตามวุฒิการศึกษา กรอบ จำนวนผปู้ ฏบิ ัติงาน ตำแหนง่ วา่ ง ส่วนราชการภายในสำนกั งาน อัตรากำลัง ป.ตรี ป.โท ป.เอก อน่ื รวม มีเงิน ไม่มีเงิน - ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพนื้ ทก่ี ารศกึ ษา ๆ - รองผอู้ ำนวยการสำนกั งานเขตพน้ื ที่การศึกษา 1. กลมุ่ อำนวยการ 1 - 1 - -1 - - 2. กล่มุ นโยบายและแผน 3 - 2 1 -3 - - - กลมุ่ สง่ เสรมิ การศึกษาทางไกล เทคโนโลยสี ารสนเทศและการส่อื สาร 7 2 3 - -51 - 3. กลมุ่ บรหิ ารงานบุคคล - กลุ่มพัฒนาครแู ละบคุ ลากรทางการศึกษา 7 3 4 - -71 - 4. กล่มุ สง่ เสริมการจัดการศกึ ษา 5. กลมุ่ นเิ ทศ ติดตาม และประเมนิ ผลการจดั - - - - -- - - การศกึ ษา - ศกึ ษานิเทศก์ 11 4 5 - - 9 2 - - บคุ ลากรทางการศกึ ษา 38 ค (2) 6. กลุม่ กฎหมายและคดี 8 3 3 - -61 1 7. กลุ่มบริหารงานการเงินและสนิ ทรัพย์ 8. หนว่ ยตรวจสอบภายใน 22 - 13 - - 1 7 2 รวมท้ังส้นิ 31 - -31 1 9. ลูกจา้ งประจำ 1 10. พนักงานอัตราจ้าง 2 2 - - -2 - - 11 5 4 - - 9 - 2 3 - 2 - -21 - 78 20 37 1 - 5 14 6 8 - 1 - - -1 - - - 20 - - 6 26 - - ที่มา : ข้อมูล ณ วันที่ 1 กนั ยายน 2563 ตารางที่ 2 จำนวนขา้ ราชการครแู ละบุคลากรทางการศกึ ษาในสถานศกึ ษา จำแนกตามสายงาน/อนั ดบั ที่ ช่อื สายงาน ช่ือตำแหนง่ ครู คศ.1 คศ.2 คศ.3 คศ.4 รวม ผชู้ ว่ ย 1 สายบรหิ าร ผูอ้ ำนวยการสถานศกึ ษา - - 22 113 1 136 รองผอู้ ำนวยการสถานศกึ ษา - - 13 - 4 2 สายการสอน ครู - 537 341 535 2 1,415 ครูผู้ชว่ ย 447 - - - - 447 รวม 447 537 364 651 3 2,002 ที่มา : ข้อมลู ณ วันที่ 1 กันยายน 2563

๓๔ ตารางท่ี 3 จำนวนนกั เรยี น จำแนกตามระดับชั้น จำนวนนกั เรยี นทง้ั หมด จำนวนนกั เรยี น ไมม่ สี ถานะทาง ช้นั เรยี น ชาย หญิง รวม ทะเบยี นราษฎร (นักเรียน G) เตรียมอนุบาล - - - อ.1 292 264 556 - อ.2 1,198 1,227 2,425 44 อ.3 1,528 1,406 2,934 272 3,018 2,897 5,915 392 รวมก่อนประถมศกึ ษา 1,998 1,787 3,785 708 ป.1 2,073 1,775 3,848 582 ป.2 1,940 1,829 3,769 627 ป.3 1,733 1,701 3,434 606 ป.4 1,623 1,648 3,271 505 ป.5 1,716 1,564 3,280 473 ป.6 11,083 10,304 21,387 468 1,155 1,026 2,181 3,261 รวมประถมศกึ ษา 968 996 1,964 307 ม.1 947 946 1,893 266 ม.2 3,070 2,968 6,038 211 ม.3 231 272 503 784 179 247 426 29 รวมมัธยมศกึ ษาตอนตน้ 174 232 406 14 ม.4 584 751 1,335 11 ม.5 17,755 16,920 34,675 54 ม.6 4,807 รวมมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมท้ังสิ้น ที่มา : ขอ้ มลู สารสนเทศทางการศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐาน ประจำปี พ.ศ. 2563 สพป.เชยี งราย เขต 3

๓๕ ตาราง 4 จำนวนสถานศึกษาจำแนกขนาดตามจำนวนนักเรียน ขนาด จำนวนนักเรียน จำนวนโรงเรยี น (อำเภอ) โรงเรยี น (ตามเกณฑ)์ แมจ่ นั เชยี ง แมส่ าย แม่ฟา้ ดอย รวม ร้อยละ เล็ก 1 – 120 คน แสน หลวง หลวง 58 41.73 22 13 7 7 9 70 50.36 7 5.04 กลาง 121 – 600 คน 17 10 19 20 4 4 2.88 139 100 ใหญ่ 601 – 1,500 คน - - 4 3 - ใหญพ่ เิ ศษ 1,501 คนขึ้นไป 1 1 1 1 - รวม 40 24 31 31 13 ท่ีมา : ขอ้ มลู สารสนเทศทางการศึกษาขัน้ พ้นื ฐาน ประจำปี พ.ศ. 2563 สพป.เชยี งราย เขต 3 ผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 3 ท่ีปรากฏในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติข้ันพ้ืนฐาน เช่น ความสามารถด้านการ อ่านของผู้เรียน (Reading Test : RT) การประเมินคุณภาพผู้เรียน (National Test : NT) และการ ทดสอบทางการศึกษาระดับชาติข้ันพ้ืนฐาน (Ordinary National Education Test : O-NET) สรุปได้ ดงั น้ี ตาราง 5 ผลการทดสอบความสามารถดา้ นการอ่านของผู้เรียน (Reading Test : RT) ชน้ั ประถมศึกษาปีที่ 1 ปกี ารศึกษา 256๒ ดา้ น เขตพื้นที่ คะแนนเฉลีย่ รอ้ ยละจำแนกตามสงั กดั ประเทศ 54.34 จงั หวดั ศึกษาธกิ ารภาค สงั กัด 68.5๐ ก า ร อ่ า น อ อ ก 65.95 72.81 เสยี ง 59.19 63.87 67.49 การอา่ นรู้เรอ่ื ง 67.3๐ 70.36 72.51 จากตารางพบว่า ผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ช้ันประถมศึกษาปีท่ี 1 ของสำนักงานเขตพน้ื ที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ปกี ารศึกษา 256๒ เปรยี บเทยี บกับทุก สงั กดั มีคะแนนเฉลยี่ รอ้ ยละทั้งสองด้านต่ำกวา่ จังหวดั ศึกษาธิการ สังกัด และประเทศ ตามลำดับ

๓๖ ด้าน ปกี ารศึกษา 256๑ ปกี ารศกึ ษา 256๒ ผลการเปรยี บเทียบ การอ่านออกเสียง 49.11 ๕๔.๓๒ + ๕.๒๑ การอา่ นรู้เรื่อง 59.65 ๖๕.๙๕ + ๖.๓๐ จากตารางพบวา่ ผลการทดสอบความสามารถดา้ นการอา่ นของผู้เรยี น (RT) ช้ันประถมศกึ ษาปที ่ี 1 ของสำนกั งานเขตพื้นทกี่ ารศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ปีการศึกษา 256๒ ด้านการอ่านออก เสียง ปีการศึกษา 256๒ มีคะแนนเฉลยี่ ร้อยละเพิ่มข้ึนจากปกี ารศึกษา 256๑ ผลตา่ งคิดเป็นร้อยละ ๕.๒๑ และด้านการอ่านรู้เร่ือง ปีการศึกษา 256๒ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 25๖๑ ผลตา่ งคิดเปน็ ร้อยละ ๖.๓๐ ตาราง 6 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (National Test : NT) ชัน้ ประถมศกึ ษาปีท่ี ๓ ปกี ารศึกษา 256๒ ดา้ น ระดับประเทศ ระดบั เขตพ้นื ที่ (+) สูงกว่า (-) ต่ำ กว่า คณิตศาสตร์ 44.94 38.29 ภาษาไทย 46.46 40.68 ระดับประเทศ - 6.65 - 5.87 จากตารางพบว่า ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 กับระดับประเทศ ในภาพรวมมี คะแนนเฉล่ียต่ำกว่าระดับชาติ และเมอ่ื พิจารณาเป็นรายดา้ น พบว่า ด้านคณิตศาสตร์ มคี ะแนนเฉล่ีย ตำ่ กวา่ ระดับประเทศมากทส่ี ดุ และรองลงมา คอื ความสามารถด้านภาษาไทย ตามลำดบั ด้าน ปีการศกึ ษา 2561 ปกี ารศึกษา 2562 ผลการ ระดับประเทศ ระดับเขตพน้ื ที่ ระดับประเทศ ระดับเขตพ้นื ที่ เปรียบเทยี บ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย 47.19 41.44 44.94 38.29 - 3.15 53.18 46.39 46.46 40.68 - 5.71 จากตารางพบว่า ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ช้ันประถมศึกษาปีท่ี 3 สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ปีการศึกษา 2561 กับปีการศึกษา 2562 พบว่า ปีการศึกษา 2561 มีคะแนนเฉล่ียลดลงจากปีการศึกษา 2562 ในทุกด้าน และเมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า ด้านภาษาไทยมีคะแนนเฉลี่ยลดลงจากปีท่ีผ่านมามากท่ีสุด และรองลงมา คอื ความสามารถดา้ นคณติ ศาสตร์ ตามลำดับ

๓๗ ตาราง 7 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติข้นั พน้ื ฐาน (Ordinary National Education Test : O-NET ) ชัน้ ประถมศึกษาปีท่ี 6, ชนั้ มธั ยมศึกษาปีที่ ๓ และ ๖ ปีการศึกษา 2562 ระดบั ชนั้ วชิ า ระดบั ประเทศ ระดับเขตพน้ื ท่ี (+) สงู กวา่ (-) ตำ่ กว่าระดบั ประเทศ ภาษาไทย 49.07 44.71 - 4.36 ป.6 ภาษาองั กฤษ 34.42 29.11 - 5.31 คณติ ศาสตร์ 32.90 28.70 - 4.20 วทิ ยาศาสตร์ 35.55 31.83 - 3.72 ภาษาไทย 55.14 50.92 - 4.22 ม.๓ ภาษาอังกฤษ 33.25 28.71 - 4.54 คณิตศาสตร์ 26.73 22.13 - 4.60 วิทยาศาสตร์ 30.07 28.81 - 1.26 ภาษาไทย 42.21 32.84 - 9.37 ภาษาอังกฤษ 29.20 22.48 - 6.72 ม.๖ คณติ ศาสตร์ 25.41 16.81 - 8.60 วิทยาศาสตร์ 29.20 24.59 - 4.61 สงั คมศึกษาฯ 35.70 30.75 - 4.95 จากตารางพบว่า ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพ้ืนฐาน (O-NET) ช้ันประถมศึกษา ปีท่ี 6, ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และ ๖ ปีการศึกษา 2562 สำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 3 กับระดับประเทศ พบว่า คะแนนเฉลี่ยร้อยละของทุกระดับชั้น และกลุ่มสาระการ เรียนรู้ตำ่ กว่าระดับประเทศ ปกี ารศึกษา 2561 ปีการศึกษา 2562 ผลการ เปรยี บเทยี บ ระดับชัน้ ดา้ น ระดบั ประเทศ ระดบั เขต ระดบั ประเทศ ระดบั เขต พน้ื ที่ พ้ืนท่ี ภาษาไทย 55.90 51.85 49.07 44.71 - 7.14 ป.๖ ภาษาอังกฤษ 39.24 32.91 34.42 29.11 - 3.80 คณติ ศาสตร์ 37.50 32.54 32.90 28.70 - 3.84 วิทยาศาสตร์ 39.93 37.48 35.55 31.83 - 5.65 ภาษาไทย 54.42 50.32 55.14 50.92 + 0.60 ม.๓ ภาษาองั กฤษ 29.45 26.20 33.25 28.71 + 2.51 คณิตศาสตร์ 30.04 25.86 26.73 22.13 - 3.73 วิทยาศาสตร์ 36.10 33.15 30.07 28.81 - 4.34 ภาษาไทย 39.28 34.74 42.21 32.84 - 1.90 ภาษาอังกฤษ 24.21 23.18 29.20 22.48 - 0.70 ม.๖ คณิตศาสตร์ 21.73 19.22 25.41 16.81 - 2.41 วิทยาศาสตร์ 26.90 25.17 29.20 24.59 - 0.58 สังคมศึกษาฯ 31.94 30.16 35.70 30.75 + 0.59

๓๘ จากตารางพบว่า ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพ้ืนฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษา ปีท่ี 6, ช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี ๓ และ ๖ สำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 คะแนนเฉล่ียร้อยละ ในปีการศึกษา 2562 เพิ่มข้ึนจากปีการศึกษา 2561 ได้แก่ ระดับช้ัน มัธยมศึกษาปีที่ ๓ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ กลุ่มสาระการเรยี นรู้สงั คมศกึ ษา ศาสนา และวัฒนธรรม คะแนนเฉล่ียร้อยละในปีการศึกษา 2562 ลดลงจากปีการศึกษา 2561 ได้แก่ ระดับชั้น ประถม ศึกษาปีที่ ๖ ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้, ระดับช้ันมัธยมศึกษาปีที่ ๓ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และระดับช้ันมัธยมศึกษาปีที่ ๖ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ผลการวเิ คราะห์สภาพแวดล้อม สำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ได้ดำเนินการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายนอก และสภาพแวดล้อมภายในองค์กร เพอ่ื กำหนดสถานภาพขององค์กรสำหรับ เป็นฐานข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษา ประถมศกึ ษาเชียงราย เขต 3 พ.ศ. 2564 - 2565 ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก และสภาพแวดล้อมภายในองค์กรสำนักงานเขต พ้นื ทก่ี ารศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ประกอบด้วย สภาพปจั จุบันปัญหาและความตอ้ งการพัฒนา ส ภ าพ ปั จ จุ บั น ปั ญ ห าแ ล ะ ค ว า ม ต้ อ งก า ร พั ฒ น า ข อ งส ำนั ก งาน เข ต พ้ื น ที่ ก า รศึ ก ษ า ประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ได้จากการศึกษา/วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสำนักงานเขตพื้นท่ี การศึกษาโดยมรี ายละเอยี ดการวิเคราะห์สรุปได้ ดังนี้ ผลการวเิ คราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ⚫ โอกาส (Opportunities) 1. ดา้ นสังคมและวัฒนธรรม ( S) 1.1 ประชากรส่วนหน่ึงเป็นชาวเขาเผ่าต่าง ๆ มีความหลากหลายทางชาติพันธ์ุ ประชากรหนาแน่น ประชากรในวัยเรียนเพิ่มมากข้ึน เป็นพ้ืนท่ีพิเศษได้รับการสนับสนุนจาก หน่วยงานภายนอก มีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลายสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรท้องถ่ินและ การจัดการเรียนการสอน 1.2 ด้านวัฒนธรรม มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม วัฒนธรรมล้านนาเป็น วัฒนธรรมที่ถือปฏิบัติกันมาช้านาน เช่น ประเพณีตานหาแม่ฟ้าหลวง ประเพณียี่เป็ง ประเพณี สงกรานต์ ประเพณีตานก๋วยสลาก เป็นสังคมเอ้ืออาทร ลดความขัดแย้ง ทำให้ประชาชนรักและเข้าใจ ในวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ มีความภาคภูมิใจในถ่ินกำเนิด ไม่ทอดทิ้งประเพณีอันดีงาม ส่งผลให้ ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนมีคุณธรรม โอบอ้อมอารี นอกจากนี้ยังมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วัฒนธรรมกบั ประเทศเพื่อนบ้านเนื่องจากเป็นชายแดนสามแผ่นดิน

๓๙ 2. ด้านเทคโนโลยี (T) เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ตลอดจนการรับสัญญาณโทรทัศน์จากในและ ต่างประเทศ ซ่ึงแพร่หลายเข้ามาในชุมชนทั้งในเมืองและชนบทที่เข้าถึงง่ายและค่าติดตั้งไม่แพงส่งผล ตอ่ การจดั การศึกษาทำให้เด็กรูจ้ กั แสวงหาความรู้ มคี วามทนั สมัย ทนั ตอ่ เหตุการณ์อกี ทง้ั การสนบั สนุน จากภาครัฐและเอกชนในดา้ นเทคโนโลยี วัสดุ อปุ กรณ์ บคุ ลากรและอาคารสถานท่ี 3. ด้านเศรษฐกจิ (E) ประชากรมีอาชีพทำการเกษตร เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง กระเทียมและชา ส่วนหนึ่งประกอบอาชีพทางการค้าขายและการท่องเที่ยว ประชากรบางพื้นท่ีมีรายได้สูง การระดม ทรัพยากรบางทส่ี ามารถดำเนนิ การได้มากในหลายพนื้ ที่ 4. ดา้ นการเมืองและกฎหมาย (P) เป็นปัจจัยท่ีเอ้ือต่อการดำเนินงานของสำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาเน่ืองจากรัฐบาล มี น โย บ า ย ป ฏิ รูป ก าร ศึกษ าที่ ชั ด เจ น มี กา รส นั บ ส นุ น ท รั พ ย า กร ทา งกา รศึ กษ าม าก ขึ้น มีก ฎ ห มา ย การศึกษาท่ีเอื้อต่อการพัฒนาการศึกษาสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการ สนบั สนนุ การจดั การศกึ ษา ⚫ อุปสรรค (Threats) 1. ด้านสงั คมและวัฒนธรรม 1.1 ที่ต้ังของสถานศึกษาส่วนหนึ่งอยู่บนพื้นที่สูงเกิดปัญหาด้านการสื่อสาร/ คมนาคม ความไม่สงบตามแนวชายแดน เด็กไร้รัฐ/ไร้สัญชาติ การใช้แรงงานเด็ก การค้า มนุษย์และการตั้งครรภ์ในวัยเรียน 1.2 ปัญหายาเสพติดแพร่หลาย ประชากรวัยเรียนถูกท้งิ ใหอ้ ยู่กบั ปูย่ ่าตายายขาดการ อบรม ขาดความอบอุ่น จึงหนั มาใชย้ าเสพตดิ เน่ืองจากหาซื้อได้ง่าย 1.3 การอพยพโยกย้ายของประชากรส่งผลต่อการวางแผนการจัดการศึกษา เช่น การเกณฑเ์ ดก็ และการรับนกั เรียน 1.4 ปัญหาด้านสาธารณสขุ สุขอนามยั โรคระบาดและโรคติดต่อ 1.5 ภาวะโลกร้อน ภัยธรรมชาติท่ีมีผลกระทบต่อสังคมในหลายๆ ประเทศ เช่นน้ำท่วม แผน่ ดินไหว ซ่งึ จำเปน็ ต้องให้เด็กได้เรยี นรเู้ พ่อื หาทางป้องกนั แก้ไขดว้ ย 1.6 วัฒนธรรมจากชาติตะวันตกที่แพร่หลายเข้ามาทั้งทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์ อนิ เทอร์เน็ต สง่ ผลใหป้ ระชาชนเลยี นแบบท้ังในด้านการแต่งกาย กิรยิ ามารยาท ความฟุง้ เฟ้อ 2. ดา้ นเทคโนโลยี เทคโนโลยีที่มีอยู่บางส่วนประสิทธิภาพต่ำ บางพื้นท่ีใช้อินเทอร์เน็ตผ่านระบบ จานดาวเทียมที่อาศัยสภาพภูมิประเทศทำให้บางครั้งไม่สามารถรับสัญญาณได้ นักเรียนบางคนไม่ใช้ เทคโนโลยีไปในทางการแสวงหาความรู้แต่ใช้ในการเลน่ เกมและค้นหาในเรือ่ งทไี่ มเ่ หมาะสม 3. ด้านเศรษฐกจิ 3.1 ผู้ปกครองนักเรียนส่วนหน่ึงยงั ยากจนไม่สามารถส่งบุตรหลานเรยี นต่อในระดับที่ สูงข้ึน แม้รัฐบาลจะมีนโยบายสนับสนุนค่าใช้จ่ายการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผลให้ผู้ปกครองบางคนต้อง ใหบ้ ตุ รหลาน ไปทำงานหาเล้ยี งครอบครัว ก่อใหเ้ กิดปญั หาเด็กตกหล่น และออกกลางคนั จำนวนมาก

๔๐ 3.2 การระดมทรัพยากรหลายพ้ืนที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากความยากจนของ ประชากรทำให้บางพื้นที่ไมส่ ามารถระดมทรัพยากรได้ 4. ด้านการเมอื งและกฎหมาย 4.1 นโยบายการจัดการศึกษาของรัฐบาลเปลี่ยนแปลงบ่อยและไม่ต่อเน่ือง ส่งผลกระทบต่อการวางแผนปฏิบัติงาน การออกกฎระเบียบหลักเกณฑ์ล่าช้าเป็นอุปสรรคต่อการ ปฏิบตั ิงาน สง่ ผลกระทบตอ่ การบริหารงานบุคคล/งบประมาณในเขตพ้นื ที่ 4.2 การบังคับใช้กฎหมายไม่จริงจัง (ร้านเกมส์ / การเกณฑ์เด็กเข้าเรียน/กฎหมาย เข้าเมอื ง) ส่งผลกระทบต่อการพฒั นาการศกึ ษา 4.3 การออกกฎหมายใหม่ ๆ ขาดการประชาพิจารณ์ ผลการวเิ คราะหส์ ภาพแวดล้อมภายใน ⚫ จุดแขง็ (Strengths) 1. ดา้ นโครงสรา้ งและนโยบาย (S1) 1.1 หน่วยงานมีโครงสร้างในการบริหารงานท่ีชัดเจน ส่งผลให้การแบ่งหน้าที่ความ รับผิดชอบตามภารกิจไมซ่ ำ้ ซ้อน นโยบายสอดคล้องกับต้นสังกดั 1.2 เขตพ้ืนท่ีการศึกษาบริหารงานโดยองค์คณะบุคคลเป็นการบริหารแบบมีสว่ นร่วม จากทกุ ภาคส่วน 1.3 มีนโยบายส่งเสริมสถานศึกษาให้บริการการศึกษาหลากหลายรูปแบบครอบคลุม ทกุ พื้นทสี่ ง่ ผลให้ประชากรมีทางเลือกและโอกาสในการเข้ารับการศึกษาและเขา้ ถงึ แหล่งเรยี นรู้ 2. ดา้ นผลผลติ และการใหบ้ ริการ (S2) 2.1 สถานศึกษาสามารถรับนักเรียนเข้าเรียนได้เกิน 100% และรัฐบาลมีนโยบาย สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งผลให้เด็ก ยากจน/ด้อยโอกาสไดร้ บั โอกาสทางการศึกษาอยา่ งทวั่ ถึง 2.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 มีรูปแบบการ ให้บริการการศึกษาที่หลากหลาย เช่น โรงเรียนในฝัน โรงเรียนในโครงการพ้ืนท่ีพิเศษดอยตุง โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ โรงเรียนดีศรีตำบล โรงเรียนร่วมพัฒนา โรงเรียนแม่เหล็ก โรงเรียนคุณภาพ ประจำตำบลศูนย์อาเซยี นศึกษา โรงเรยี นตน้ แบบเขตเศรษฐกิจพเิ ศษ เปน็ ตน้ 2.3 กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษานิเทศโดยใช้เทคนิค “นเิ ทศแบบบูรณาการ” 2.4 สถานศึกษาสามารถให้บริการห้องสมุด สนามกีฬา แหล่งเรียนรู้แก่ชุมชนและ หนว่ ยงานอื่น ส่งผลให้มคี วามสัมพันธท์ ีด่ รี ะหว่างชุมชนกบั สถานศึกษา 2.5 มีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของครู 3. ดา้ นบุคลากร (M1) 3.1 ครูและบุคลากรทางการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานและเป็นคนในพื้นที่ สามารถปฏิบัตงิ านไดอ้ ยา่ งเต็มกำลังความรคู้ วามสามารถ 3.2 ครูและบุคลากรทางการศึกษา ปฏิบัติงานตรงตามความรู้ความสามารถ ส่งผล ใหง้ านมีคณุ ภาพ และบรรลผุ ลตามเปา้ หมาย 3.3 ครูได้รับการพฒั นาให้มวี ิทยฐานะ

๔๑ 4. ดา้ นประสิทธภิ าพทางการเงิน (M2) 4.1 สำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศกึ ษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 และหน่วยงานใน สังกัดมแี ผนการบริหารงบประมาณและใชง้ บประมาณตามแผนและมีระบบการบริหารงานการเงนิ การ คลงั ภาครัฐแบบอิเลก็ ทรอนิกส์ หรอื ระบบ GFMIS 4.2 มีการตรวจติดตามการใชง้ บประมาณของหนว่ ยงานในสงั กัดอยา่ งสม่ำเสมอ 5. ดา้ นวสั ดุอปุ กรณ์ (M3) 5.1 หน่วยงานและสถานศึกษาไดร้ ับการสนับสนนุ งบประมาณและวัสดุอปุ กรณ์จาก ต้นสังกัดเพ่ิมข้ึน สามารถอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน ส่งผลให้หน่วยงานทางการศึกษามี งบประมาณและวัสดุอปุ กรณ์ในการบริหารจดั การในระดับหนึง่ 5.2 หน่วยงานและสถานศึกษามีแผนการบริหารงบประมาณที่สามารถบ่งบอกการ ใชก้ ารใชง้ บประมาณไดอ้ ย่างถกู ต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ 5.3 หน่วยงานและสถานศึกษานำส่ือเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการและการ จดั การเรยี นการสอน 5.4 หน่วยงานและสถานศึกษามีการประสานงานการใช้ทรพั ยากรร่วมกัน ส่งผลให้ ทกุ ภาคสว่ นมีสว่ นรว่ มในการจัดการศกึ ษาและประหยดั ทรพั ยากร 6. ด้านการบริหารจัดการ (M4) 6.1 หน่วยงานและสถานศึกษามีแผนเป็นเคร่ืองมือในการบริหารจัดการส่งผลให้มี ทิศทางในการดำเนินงานและมเี ปา้ หมายความสำเรจ็ ทชี่ ัดเจน 6.2 หน่วยงานและสถานศึกษามีการบริหารจัดการโดยมีองค์คณะบุคคล ส่งผลให้ การบริหารจัดการศกึ ษาเปน็ ไปตามหลกั ธรรมาภบิ าล 6.3 สถานศึกษาได้รับการกระจายอำนาจในการบริหารจัดการ ส่งผลให้มีอิสระและ คล่องตัวในการบรหิ ารจัดการ 6.4 สำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 มีการบริหารงาน ติดตามงาน (พุธเช้า ข่าว สพฐ.) การนิเทศแบบบูรณาการส่งผลให้การบริหารจัดการและการจัดการ เรยี นการสอนมคี ุณภาพย่ิงข้นึ 6.5 สถานศกึ ษามี / ใช้หลักสูตรแกนกลางและหลักสตู รท้องถ่ินส่งผลให้ครูมีทศิ ทางการ จดั การเรียนการสอนทเี่ ปน็ เอกภาพสอดคลอ้ งกับหลกั สูตรแกนกลางและความต้องการของท้องถิ่น ⚫ จดุ อ่อน (Weaknesses) 1. ด้านโครงสร้างและนโยบาย 1.1 โครงสร้างการบรหิ ารจดั การของสำนกั งานเขตพน้ื ที่การศึกษามีขนาดใหญ่ สายการบังคบั บัญชาหลายช้นั ส่งผลให้การขบั เคล่อื นการจดั การศึกษาเป็นไปไดช้ ้า 1.2 การกำหนดนโยบายในบางเร่ืองยังขาดการมสี ว่ นรว่ มจากผู้เกยี่ วขอ้ ง 1.3 นโยบายเรง่ ดว่ นปลายปีงบประมาณมผี ลใหก้ ารพฒั นาคุณภาพไม่ได้ผลตามเป้าหมาย 2. ดา้ นผลผลติ และการใหบ้ รกิ าร 2.1 ผลสมั ฤทธิท์ างการเรียนตำ่ กวา่ เปา้ หมายระดบั ประเทศ 2.2 อตั ราการเรยี นต่อในชว่ งช้ันที่ 4 ต่ำกวา่ เปา้ หมายระดบั ชาติ 2.3 ผู้เรียนมคี วามหลากหลายทางชาติพันธส์ ง่ ผลใหอ้ ตั ราการออกกลางคนั ยังคงมีระดบั สูง