Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทที่-7 การแพทย์ทางเลือก 95-107 ebook

บทที่-7 การแพทย์ทางเลือก 95-107 ebook

Published by surachat.s, 2021-03-23 01:39:14

Description: บทที่-7 การแพทย์ทางเลือก 95-107 ebook

Search

Read the Text Version

95 บทที่ 7 การแพทย์ทางเลอื ก (Alternative Medicine) เน้อื หา 1. บทนำ 2. ความหมายของการแพทยท์ างเลอื ก 3. หลักในการพิจารณาเลือกใช้การแพทย์ทางเลอื ก 4. ประเภทของการแพทย์ทางเลือก 5. การใช้การแพทย์ทางเลอื กในประเทศไทย 6. ตวั อยา่ งของการแพทย์ทางเลือก แนวคดิ ปจั จุบนั ปัญหาสขุ ภาพของประชาชน ได้เปล่ียนแปลงรปู แบบไปตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ ประชาชนเจ็บปว่ ยดว้ ยโรคไม่ตดิ ต่อมีแนวโน้มสงู ข้ึน เช่น โรคมะเรง็ โรคเบาหวาน โรคหวั ใจและหลอดเลอื ด รวมทง้ั ภาวะเครียด เปน็ ต้น การบำบดั รกั ษาโรคดงั กล่าวในปจั จุบัน มิใช่มีเพยี งวธิ กี ารเดียวทจ่ี ะทำให้อาการป่วย หายขาดหรือบรรเทา แต่ยงั มีทางเลือกหลากหลายทจ่ี ะทำใหบ้ รรลเุ ปา้ หมายดังกลา่ ว รวมทัง้ อาจตอบสนองความ พงึ พอใจของประชาชนได้ สำหรบั ในประเทศไทย การแพทยท์ างเลอื กได้กลายเปน็ ทางเลอื กใหม่ของประชาชน มากข้นึ โดยท่กี ารแพทย์ทางเลอื กคือการแพทย์ท่ีไม่ใชก่ ารแพทยแ์ ผนปจั จบุ ัน การแพทยแ์ ผนไทย และการแพทย์ พนื้ บา้ นไทย ดงั นั้นการแพทย์อืน่ ๆที่เหลือจงึ ถือเปน็ การแพทย์ทางเลอื กท้งั หมด วตั ถปุ ระสงค์ เมือ่ จบการเรียนการสอนในหัวข้อนแ้ี ล้ว นิสิตสามารถ 1. อธบิ ายความหมายของการแพทยท์ างเลอื กได้ 2. อธบิ ายหลักในการพิจารณาเลือกใชก้ ารแพทยท์ างเลอื กได้ 3. อธบิ ายประเภทของการแพทย์ทางเลอื กได้ กจิ กรรมระหวา่ งเรียน 1. การบรรยายและยกตวั อยา่ งประกอบ

96 2. กจิ กรรมการนำเสนองานกลุ่ม 3. การอภปิ รายซักถาม

97 1. บทนำ ปจั จบุ ันปัญหาสขุ ภาพของประชาชน ไดเ้ ปล่ียนแปลงรปู แบบไปตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม ทำให้มี ประชาชนเจบ็ ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อมีแนวโน้มสูงข้ึน เชน่ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหวั ใจและหลอดเลือด รวมทัง้ ภาวะเครียด เปน็ ต้น การบำบดั รกั ษาโรคดงั กล่าวในปจั จุบัน มใิ ช่มเี พยี งวธิ ีการเดยี วทีจ่ ะทำให้อาการปว่ ย หายขาดหรอื บรรเทา แต่ยงั มีทางเลอื กหลากหลายทจ่ี ะทำใหบ้ รรลเุ ปา้ หมายดังกล่าว รวมทั้งอาจตอบสนองความ พงึ พอใจของประชาชนได้ สขุ ภาพทางเลือก หรือ การแพทย์ทางเลอื ก (Alternative Health, Alternative medicine) เป็น รปู แบบวธิ ีการดูแลส่งเสริมสุขภาพที่มใิ ช่การแพทย์หลกั หรือวธิ ีการดแู ลรกั ษาสุขภาพตนเองหรือได้รับจากผ้อู น่ื นอกเหนือจากระบบวิธกี ารแพทย์แผนปจั จบุ นั การแพทย์แผนไทย และการแพทย์พืน้ บา้ นไทย โดยเทคนิคการ รักษาสว่ นใหญ่จะมลี ักษณะไม่กระทำต่อรา่ งกายอยา่ งรุนแรง (Non-invasive) หรอื ไมใ่ ชเ้ ภสัชภัณฑ์ท่ีมีสารเคมี (Non-pharmaceutical) ซ่ึงการแพทย์ทางเลอื กจะสามารถชว่ ยให้ผปู้ ว่ ยผอ่ นคลายความเครยี ด ลดความวติ ก กงั วล เสริมสรา้ งกำลังใจ จึงสามารถชว่ ยเสรมิ ประสิทธผิ ลของการรกั ษาได้ นอกจากนี้ยงั สามารถลดความทกุ ข์ ทรมานจากภาวะแทรกซ้อนหรอื ผลข้างเคียงของการรักษาด้วยวิธกี ารแพทย์แผนปัจจบุ ันบางประเภทได้ แม้วา่ การแพทยแ์ ผนปจั จุบัน ซ่ึงเป็นการแพทย์กระแสหลักของประเทศจะมีความกา้ วหน้าเป็นอย่างมาก มกี ารใชเ้ ทคโนโลยีทีท่ นั สมัย ยังพบวา่ ประชาชนและผูเ้ จ็บปว่ ยจำนวนหนึง่ หนั มาใช้การแพทยท์ างเลือกในการ ดูแลสุขภาพ และรกั ษาโรคหรืออาการเจ็บปว่ ยทีเ่ ป็นอยู่ ซึ่งมีแนวโนม้ การใชก้ ารแพทย์ทางเลือกสูงขึน้ เรอื่ ยๆ เป็น ปรากฏการณ์ทเี่ ป็นไปทั่วโลก จนรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ต้องหันมาให้ความสนใจ ประเทศสหรฐั อเมริกาได้ตัง้ หนว่ ยงานท่มี าดแู ลเรื่องน้ีภายใต้สถาบันสุขภาพแหง่ ชาติ (National Institute of Health) คือศูนย์การแพทย์ เสริมและการแพทยท์ างเลือกแหง่ ชาติ (National Center of Complementary and Alternative Medicine) ใน พ.ศ.2545 ประเทศไทยได้จดั ตั้งหน่วยงานทด่ี แู ลเร่ืองนีเ้ ชน่ กนั คอื กองการแพทย์ทางเลอื ก สงั กดั กรม พฒั นาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ภายหลงั ได้ยกฐานะเป็นสำนักการแพทยท์ างเลือก การแพทย์ ทางเลอื กที่นำมาส่งเสริม นอกจากจะคำนึงถงึ ประสิทธิผลของการรักษา ความปลอดภัยในการใช้ ความนา่ เชื่อถือ และความคุ้มค่าในการนำมาใช้แล้ว สง่ิ ทีส่ ำนกั การแพทย์ทางเลือกให้ความสำคัญเปน็ อย่างยิ่งอีกประการหนึ่งคือ ความเหมาะสมและความสามารถในการพึง่ ตนเองทั้งในระดับประเทศองคก์ รหรือหนว่ ยงานทีใ่ ห้บรกิ ารตลอดจน ชุมชน/ท้องถ่ินและประชาชน 2. ความหมายของการแพทย์ทางเลือก (Alternative Medicine)

98 สำนกั การแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทยท์ างเลอื ก กระทรวงสาธารณสขุ (2558) ให้ความหมายของการแพทยท์ างเลอื กว่า “ศาสตร์เพื่อการวนิ ิจฉัย รกั ษาและป้องกนั โรค นอกเหนือจาก ศาสตร์การแพทย์แผนปัจจบุ ัน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบา้ นไทย” Food and Drug Administration (2007) ใหค้ วามหมายของการแพทย์ทางเลือกวา่ “ศาสตร์เพื่อการ วนิ ิจฉยั การรักษาและการป้องกันโรคทน่ี อกเหนือจากศาสตรก์ ารแพทยแ์ ผนปจั จุบัน เป็นการปฏบิ ัตใิ ดๆที่ถูกหยิบ ยกว่ามผี ลในการรกั ษาโรคอะไรก็ตาม ท่ีไม่ไดต้ ้ังอยู่บนพน้ื ฐานของ“หลักฐาน”ท่ีมีการเก็บรวบรวม โดยใช้วธิ กี าร ทางวิทยาศาสตร์ ซ่ึงประกอบไปดว้ ยความหลากหลายของการดแู ลสุขภาพ ผลติ ภัณฑแ์ ละการบำบดั รักษาตา่ งๆ” 3. หลกั ในการพิจารณาเลือกใช้การแพทยท์ างเลือก สำนกั การแพทย์ทางเลอื ก กรมพัฒนาการแพทยแ์ ผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสขุ (2558) ไดใ้ ห้แนวทางในการพิจารณาเลือกใช้การแพทย์ทางเลอื กว่าควรคำนงึ ถึงหลัก 4 ประการ ดังน้ี (1) หลักการมีประสิทธผิ ล (Efficacy) การแพทยท์ างเลือกนัน้ จะต้องสามารถบรรเทาอาการเจบ็ ป่วย ของผู้ปว่ ยไดจ้ ริง (2) หลักความปลอดภัย (Safety) การแพทยท์ างเลือกนน้ั ผ้ปู ว่ ยจะต้องใชไ้ ดอ้ ยา่ งปลอดภัย โดยไมพ่ บ ภาวะแทรกซ้อนหรือสามารถป้องกันภาวะแทรกซอ้ นท่ีอาจเกดิ ข้ึนได้ (3) หลกั ความคุ้มคา่ (Cost - Benefit - Effectiveness) การแพทย์ทางเลือกนั้น จะต้องประหยัด ค่าใช้จา่ ย และคุ้มคา่ สมกบั ราคา ซ่งึ ขน้ึ กับฐานะของผปู้ ่วยแตล่ ะรายซง่ึ มีความแตกต่างกัน (4) หลักความมีเหตุผล (Rational) การแพทย์ทางเลือกนนั้ จะต้องสามารถอธบิ ายให้เข้าใจได้ถึง ทฤษฎหี รอื กลไกของการบำบัดรกั ษาโรค ตามปรชั ญาของการแพทย์ทางเลอื กในแตล่ ะสาขาได้ 4. ประเภทของการแพทย์ทางเลอื ก การแพทย์ทางเลือก สามารถแบง่ ตามหลกั เกณฑต์ ่างๆ ได้หลายประเภท ในท่ีน้แี บ่งได้ 3 ประเภทดังน้ี 4.1 แบ่งตามการใช้ประโยชน์ แบ่งเปน็ 2 กล่มุ ได้แก่ 4.1.1 Complementary Medicine (การแพทยส์ นับสนนุ ) คือ การแพทย์ทางเลือกท่ี นำไปใช้ร่วมกับการแพทย์แผนปจั จุบนั เช่น การใช้สมนุ ไพร การฝงั เข็ม การทำสมาธิ การนวด วารีบำบัด การเลอื ก บริโภคอาหาร (อาทิ อาหารมังสวริ ตั ิ อาหารเจ) ฯลฯ รว่ มกับการรักษาด้วยการแพทย์แผนปจั จุบนั 4.1.2 Alternative Medicine (การแพทย์ทางเลือก) คอื การแพทย์ทางเลอื กทีส่ ามารถ นำไปใช้ทดแทนการแพทยแ์ ผนปัจจบุ นั ได้ สว่ นมากนิยมใชใ้ นการป้องกันโรคมากกวา่ การรักษา

99 4.2 แบง่ ตามหน่วยงาน National Center of Complementary and Alternative Medicine (NCCAM) ของสหรัฐอเมรกิ า (2005) แบง่ เปน็ 5 กล่มุ ดังนี้ 4.2.1. Alternative Medical Systems คอื การแพทย์ทางเลือกที่มีวิธกี ารตรวจรกั ษาวนิ ิจฉัย และการบำบัดรักษาทีม่ หี ลากหลายวธิ กี าร ทงั้ ด้านการให้ยา การใช้เคร่ืองมอื มาชว่ ยในการบำบัดรักษาและ หตั ถการตา่ งๆ เชน่ การแพทยแ์ ผนโบราณของจีน (Traditional Chinese Medicine) การแพทย์แบบอายุรเวท ของอนิ เดยี เป็นตน้ 4.2.2 Biologically Based Therapies คอื วิธกี ารบำบดั รกั ษาโดยการใช้ สารชวี ภาพ สารเคมี ตา่ งๆ เชน่ สมนุ ไพร วติ ามิน อาหารสขุ ภาพ Chelation Therapy และ Ozone Therapy เปน็ ต้น 4.2.3 Mind-Body Interventions คือ วธิ ีการบำบัดรกั ษาแบบใช้กายและใจ เชน่ การใชส้ มาธิ บำบัด โยคะ และ ชก่ี ง เปน็ ต้น 4.2.4 Manipulative and Body-Based Methods คือ วิธกี ารบำบดั รักษาโดยการใช้ หัตถการ ตา่ งๆ เชน่ การนวด การดัด การจัดกระดูก Osteopathy และ Chiropractic เป็นตน้ 4.2.5 Energy Therapies คือวธิ ีการบำบัดรักษาทใ่ี ช้พลงั งานในการบำบัดรักษาท่สี ามารถวัดได้ และไมส่ ามารถวดั ไดใ้ นการบำบัดรกั ษา เช่น สวดมนต์บำบดั พลงั กายทิพย์ พลงั จักรวาล เรกิ และ โยเร เป็นต้น 4.3 แบง่ ตามศาสตรแ์ ขนงตา่ งๆ แบง่ เป็น 3 กลมุ่ ไดแ้ ก่ 4.3.1 ศาสตร์ของการปรับสมดุลของธาตุหรือสารชวี ภาพในร่างกาย เชน่ (1) สมุนไพร (2) วิตามนิ บำบัด (3) การลา้ งพิษ (4) อาหารสูตรต่างๆ เช่น อาหารเจ อาหารมังสวริ ตั ิ อาหารเฉพาะสูตรสำหรับผู้ปว่ ย 4.3.2 ศาสตร์ของการปรับสมดุลของโครงสรา้ งรา่ งกาย (กระดูกและกล้ามเนื้อ) เช่น (1) การนวด (2) การจัดกระดูก (3) วารบี ำบดั หรอื ธาราบำบัด (4) การออกกำลังกายแบบต่างๆ เช่น โยคะ ช่ีกง ไทเกก็ 4.3.3 ศาสตร์ของการปรบั สมดุลพลังในร่างกาย เช่น (1) การฝึกสมาธิ (2) การฝงั เข็ม (3) ดนตรีบำบดั

100 (4) สคุ นธบำบดั 5. การใชก้ ารแพทย์ทางเลือกในประเทศไทย ในประเทศไทยได้มีการนำศาสตรก์ ารแพทย์ทางเลือกรูปแบบต่างๆ ไปใชใ้ นกลมุ่ ผ้ปู ว่ ยเรื้อรังรว่ มกับ การแพทยแ์ ผนปัจจุบัน ที่ชัดเจนทส่ี ุด คือ กลมุ่ เพ่ือนมะเรง็ ได้มีการนำเอาการแพทย์ทางเลอื กในรูปแบบของ อาหารสุขภาพ การนงั่ สมาธิ และการใชห้ นิ บำบัด มาใชร้ ่วมกับการรักษาโดยแพทย์แผนปัจจบุ ันในการรกั ษา โรคมะเร็ง นอกจากนี้การเลือกใช้อาหารพรอ่ งแป้ง อาหารมังสวริ ัติ และสมุนไพร ร่วมกับการรักษาเบาหวานดว้ ย ยาแผนปัจจบุ ัน ทำให้การรักษาโรคเบาหวานได้ผลดกี วา่ วธิ ีการรกั ษาแบบเดิม นอกจากนม้ี ีการทำวจิ ยั เชงิ สำรวจในภาพกว้างของประชาชนเก่ียวกบั ศาสตร์การแพทยท์ างเลือกที่ได้รับ ความนิยมและถกู เลือกมาใชใ้ นสงั คมไทย ผลการศึกษามีดังนี้ 5.1 จากรายงานสุขภาพทางเลือกของสำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข (ตลุ าคม 2540) เป็นการ สำรวจในภาพกวา้ งของประชาชน โดยศึกษาจากหนว่ ยงานของกระทรวงสาธารณสขุ และหนว่ ยงานเอกชน ทม่ี ี บทบาทการดำเนินงานดา้ นการแพทยท์ างเลอื ก ถงึ เทคนิคเฉพาะของศาสตร์สุขภาพทางเลือกท่ีไดร้ บั ความนิยม และถูกเลอื กมาใชใ้ นกลุม่ เป้าหมาย ผลการศกึ ษาพบวา่ สุขภาพทางเลือกท่ีไดร้ ับความนิยมสงู สุด ได้แก่ การนวด กดจุด (Massage) รองลงมาคือ การทำสมาธิ (Meditation) และโยคะ (Yoga) 5.2 จากรายงานการวจิ ัยของ สมพร เตรยี มชยั ศรี และคณะ (2543) เร่อื ง การสำรวจขอ้ มูลและการดูแล สขุ ภาพทางเลือกในคนไทย พบว่า ศาสตรท์ ี่คนไทยรู้จกั ให้ความศรทั ธาและมีความนิยมใชจ้ ำนวน 25 ศาสตร์ ดงั น้ี สมุนไพร การนวด สมาธ/ิ โยคะ การนวดศรี ษะ รำมวยจีน/ไทเก็ก พลังรงั สีธรรม สมาธหิ มนุ ชีวจติ พลงั จักรวาล/โยเร การฝงั เขม็ การฟงั ดนตรี การสวดมนต/์ ภาวนา อบสมุนไพร การใช้เครอ่ื งหอม/ยาดม การใช้ วิตามิน/เกลอื แร่/อาหารปลอดสารพษิ ดม่ื น้ำผัก/ผลไม้ การสวนลา้ งพษิ การดูหมอ/รดนำมนต์ ศลิ ปะบำบัด การ ผอ่ นคลายแบบ Biofeedback การใชค้ าถา/เวทมนต์ การเพง่ โดยการใชแ้ สง สี เสยี ง การเขา้ ทรงนงั่ ทางใน การ ใช้เกา้ อแ้ี ม่เหลก็ ไฟฟ้า การใช้วิชาธรรมจกั ร 6. ตวั อย่างของการแพทย์ทางเลอื ก เนือ่ งจากการแพทย์ทางเลอื กมีมากมายในปจั จุบัน ในบทน้ีจึงได้คัดเลือกตวั อยา่ งของการแพทย์ทางเลอื ก ท่ีเปน็ ท่นี ยิ มมาอธิบาย มีรายละเอยี ดท่สี ำคญั โดยสรุปดังน้ี 6.1 สมนุ ไพร กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลอื ก กระทรวงสาธารณสขุ ได้ศึกษาวิจัยเก่ียวกบั สรรพคุณ ของสมนุ ไพรในการบำบัดและรกั ษาโรค รวมทั้งความคุ้มคา่ ในการใช้สมนุ ไพร นอกจากยาสมุนไพรจะมีพิษ

101 ข้างเคียงน้อยกวา่ ยาจากเภสัชเคมแี ลว้ ยังเปน็ ยาทส่ี ามารถผลิตจากวตั ถุดิบสมุนไพรท่ีมีอยู่ในประเทศ ชว่ ยลดการ นำเขา้ ยาจากต่างประเทศ และอาจชว่ ยประหยดั เงินตรา มใิ หร้ ว่ั ไหลออกนอกประเทศไดป้ ลี ะหลายพนั ล้านบาท หากคนไทยนิยมใชส้ มุนไพรกันมากขนึ้ กระทรวงสาธารณสขุ ไดผ้ ลักดันยาสมนุ ไพรให้เข้าสู่ระบบบริการสาธารณสขุ ของรฐั และเอกชนอยา่ งเปน็ ทางการ โดยประกาศบัญชียาจากสมนุ ไพรเป็นคร้ังแรกเมือ่ ปี พ.ศ. 2542 กอ่ นหนา้ นีย้ าสมุนไพรเปน็ ยาท่ีส่งั จา่ ย โดยผูป้ ระกอบการโรคศิลปะแพทย์แผนไทยเท่านั้น ปัจจบุ ันมกี ารปรับปรงุ กฎเกณฑ์เกย่ี วกบั การพจิ ารณายาจากสมุนไพร ให้มีความทันสมัย โดยกำหนด ระเบยี บปฏิบัติ ดงั นี้ 1. ยาแผนไทยประยกุ ต์ หมายถงึ ยาแผนไทยท่ีมกี ารพัฒนารูปแบบ สตู รตำรบั การผลิต หรือการใชท้ ่ี แตกต่างนอกเหนือจากยาแผนไทยตามหลักเกณฑท์ ่รี ับขน้ึ ทะเบียนเปน็ ตำรับยาแผนโบราณทั่วไป 2. ยาแผนเดมิ ประยุกต์ หมายถงึ ยาจากสมุนไพรทเี่ ปน็ ไปตามองค์ความรู้ด้ังเดิมนอกเหนือจากยาแผน ไทย เช่น ยาตามศาสตร์การแพทยแ์ ผนจีนทม่ี กี ารพฒั นาท่ีแตกตา่ งนอกเหนือจากยาท่เี ข้าตาม หลกั เกณฑ์ทเ่ี ป็น ตำรับยาแผนโบราณท่ัวไป 3. ยาที่เปน็ ตำรับยาสมุนไพรเด่ียว หมายถงึ ยาท่มี กี ารประยกุ ต์สมุนไพรเด่ยี วมาพัฒนาเปน็ ตำรับยา นอกเหนือจากท่ีมกี ารรบั ข้นึ เป็นยาแผนโบราณท่ัวไป 4. ยาจากสมุนไพรแผนปัจจุบัน หมายถงึ ยาท่ี มีการวเิ คราะห์ วจิ ัยครบวงจร โดยสามารถหาสารสำคญั ใน สมุนไพรได้ และมีข้อมลู การวิจัยทางคลนิ กิ สนับสนุน 6.1.1 การควบคุมคณุ ภาพมาตรฐานของยาสมุนไพร 1. ด้านวัตถุดบิ ตวั ยาจากพืชตอ้ งระบุช่ือวทิ ยาศาสตร์ ส่วนของพชื ท่ีใช้ ตัวยาจากสัตว์ระบุช่ือวทิ ยาศาสตรแ์ ละสว่ นที่ใช้ ตัวยาจากธาตวุ ตั ถุระบุชื่อวิทยาศาสตรแ์ ละองค์ประกอบหลักทางเคมี ตัวยาเปน็ สารสกัด ใหแ้ สดงชือ่ ตวั ทำละลาย และ อตั ราส่วนของตัวยาและสารสกดั ทไี่ ด้ เชน่ Sennae folium dry : 60% ethanol extract (8:1) 2. สูตรตำรับยา ให้แจง้ สูตรตำรับของผลติ ภัณฑ์ต่อหนว่ ยหรอื น้ำหนักรอ้ ยละแลว้ แต่กรณี (เอกสารจากโรงงานผู้ผลติ ) โดย ระบวุ ัตถดุ ิบที่เป็นส่วนประกอบแตล่ ะชนดิ พร้อมปริมาณทใี่ ชใ้ นสตู รตำรับ แยกตัวยาท่ีเปน็ ตัวยาสำคัญและ สว่ นประกอบท่ีไม่ใช่ตวั ยาสำคัญในสตู รตำรบั การแจง้ ปริมาณตัวยาสำคญั ใหแ้ จง้ เปน็ ปรมิ าณต่อหนว่ ย (unit

102 dose) ของผลติ ภณั ฑต์ ามความเหมาะสมโดยใชม้ าตราเมตริกแสดงน้ำหนกั หรือปรมิ าตร หรอื แจง้ เป็นร้อยละใน ผลติ ภณั ฑ์ หรือแจ้งเป็นชว่ ง (range) เทยี บเท่ากบั ปริมาณสารออกฤทธ์ิ (constituent of know therapeutic activity) หรอื สารเทยี บ ( marker) 6.1.2 บัญชียาหลกั แห่งชาติจากสมุนไพร ปัจจุบันบัญชียาหลักแหง่ ชาติจากสมุนไพร มีการปรับปรุงล่าสดุ โดยประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบ ยาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2559 และประกาศในราชกจิ จานเุ บกษา เม่ือวันที่ 19 กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. 2559 ซึ่งได้แบ่งกลุ่ม 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม 1 ยาแผนไทยหรอื ยาแผนโบราณ (จำนวน 50 รายการ) และกลมุ่ 2 ยาพฒั นาจากสมุนไพร (จำนวน 24 รายการ) ในท่นี ี้ขออธิบายรายละเอยี ดเฉพาะกลมุ่ 2 ยาพฒั นาจากสมนุ ไพร ซง่ึ ยาพัฒนาจากสมุนไพร จำนวน 24 รายการ แบ่งออกเปน็ ยาใชร้ กั ษา 8 กลุ่มอาการคอื 1. กลมุ่ ยารกั ษากลุ่มอาการของระบบทางเดนิ อาหาร 1.1 กลมุ่ ยาขับลม บรรเทาอาการทอ้ งอืดท้องเฟ้อ ได้แก่ 1.1.1 ยาขม้ินชนั (ยาเม็ด ยาแคปซูล) 1.1.2 ยาขงิ (ยาชง ยาแคปซูล) 1.2 กลมุ่ ยาบรรเทาอาการท้องผูก ได้แก่ 1.2.1 ยาชุมเห็ดเทศ (ยาชง ยาแคปซูล) 1.2.2 ยามะขามแขก (ยาชง ยาเมด็ ยาแคปซูล) 1.3 กลุ่มยาบรรเทาอาการทอ้ งเสยี ได้แก่ 1.3.1 ยากล้วย (ยาผงกลว้ ยน้ำว้าแก่จดั หรอื กล้วยหักมกุ แก่จัด) 1.3.2 ยาฟ้าทะลายโจร (ยาแคปซลู ยาเม็ด ยาลูกกลอน) 1.4 กลมุ่ ยารกั ษาแผลในกระเพาะอาหาร ได้แก่ 1.4.1 ยากล้วย (ยาผงกล้วยน้ำว้าแก่จดั หรือกล้วยหักมุกแก่จัด) 1.5 กลมุ่ ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจยี น ได้แก่ 1.5.1 ยาขิง (ยาชง ยาแคปซลู ) 2. กลมุ่ ยารักษากลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ บรรเทาอาการเจบ็ คอและบรรเทาอาการของโรคหวัด (common cold) เช่น เจบ็ คอ ปวดเมือ่ ย กล้ามเนอ้ื ได้แก่ ยาฟ้าทะลายโจร (ยาแคปซูล ยาเม็ด ยาลูกกลอน) 3. กลมุ่ ยารกั ษากลมุ่ อาการทางระบบผิวหนัง 3.1 ทาแกก้ ลากเกลื้อน โรคผวิ หนงั ทเี่ กดิ จากเชอ้ื รา น้ำกัดเทา้ ไดแ้ ก่ ยาทองพันชงั่ (ทิงเจอร์)

103 3.2 บรรเทาอาการผิวหนงั อกั เสบ อาการอกั เสบจากแมลง กดั ตอ่ ย ไดแ้ ก่ ยาพลู (ทิงเจอร์) 3.3 สมานแผล ได้แก่ ยาบัวบก (ยาครีม) 3.4 ทาแผลสด แผลเร้ือรงั ได้แก่ ยาเปลือกมังคดุ (ยาน้ำใส) 3.5 บรรเทาอาการของโรคเริม โรคงูสวัด ผดผ่นื ลมพษิ ได้แก่ ยาพญายอ (ยาทิงเจอร์ ยาครีม ยาโลชนั่ และยาข้ีผึง้ ) 3.6 รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ไดแ้ ก่ ยาวา่ นหางจระเข้ (ยาเจล) 3.7 กำจดั เหา ไดแ้ ก่ ยาเมล็ดน้อยหนา่ (ยาครีม) 4. กลมุ่ ยารักษากลุม่ อาการทางกล้ามเนอ้ื และกระดกู 4.1บรรเทาอาการปวดกลา้ มเนื้อ ลดการอักเสบของกลา้ มเนือ้ บรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่างและ อาการปวดจากข้อเขา่ เส่ือม ได้แก่ ยาเถาวลั ย์เปรียง (ยาแคปซลู ) 4.2 บรรเทาอาการปวดกลา้ มเนื้อ ลดการอกั เสบของกล้ามเนื้อ ไดแ้ ก่ ยาพรกิ (ยาเจล ยาครีม) 4.3 บรรเทาอาการบวม ฟกชำ้ เคล็ดยอก ไดแ้ ก่ ยาไพล (ยาครมี ยาน้ำมนั ) 5. กลมุ่ ยารักษากลมุ่ อาการทางระบบทางเดนิ ปัสสาวะ 5.1 ขบั ปสั สาวะ แก้ขัดเบา ได้แก่ ยากระเจีย๊ บแดง (ยาชง) 5.2 ขับปัสสาวะ แกข้ ัดเบา ขับนิว่ ขนาดเล็ก ได้แก่ ยาหญา้ หนวดแมว (ยาชง) 6. กลมุ่ ยาแกไ้ ข้ แก้ร้อนใน 6.1 แกไ้ ข้ แกร้ ้อนใน ชำ้ ใน ไดแ้ ก่ ยาบวั บก (ยาชง) 6.2 แกไ้ ข้ แกร้ ้อนใน เจริญอาหาร ได้แก่ ยามะระขนี้ ก (ยาชง ยาเมด็ ยาแคปซลู ) 6.3 ถอนพิษไข้ แกร้ ้อนใน ได้แก่ ยารางจืด (ยาแคปซลู ยาชง) 6.4 แก้ไข้ แก้ร้อนใน แก้นำ้ เหลอื งเสีย ได้แก่ ยาหญ้าปักก่งิ (ยาแคปซูล) 7. กลุ่มยาถอนพษิ เบื่อเมา ถอนพษิ เบื่อเมา ได้แก่ ยารางจืด (ยาชง) 8. กลุ่มยาลดความอยากบุหร่ี ลดความอยากบหุ รี่ ไดแ้ ก่ ยาหญ้าดอกขาว (ยาชง) 6.1.3 การเลอื กใชผ้ ลติ ภัณฑ์สมนุ ไพร ปัจจบุ ันความนิยมผลติ ภณั ฑ์สมุนไพรในปัจจุบนั มเี พ่มิ มากขึ้น และปัญหาการทผ่ี ู้บรโิ ภคถูกหลอกลวง จากผู้ผลติ และจำหน่วยผลติ ภัณฑ์สมนุ ไพรก็ตามมาเปน็ เงาตามตัว ทำให้ผ้บู ริโภคเกิดความเข้าใจผิดจงึ ไม่ได้ ก่อให้เกดิ ผลดีทางสุขภาพตามความเปน็ จรงิ นนั้ ผูบ้ ริโภคควรท่จี ะมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ สมนุ ไพรอย่างรู้จริง รู้ทัน รู้ตวั และรู้สทิ ธขิ องตนเอง ซง่ึ ปจั จัยที่มผี ลต่อการเลอื กใช้ผลติ ภัณฑส์ มุนไพร คือ

104 1. การโฆษณาเกินจริงหรือเป็นเทจ็ กรณเี ปน็ ยาแสดงสรรพคุณได้ในเร่อื งการรักษาอาการทว่ั ไป 2. การแสดงฉลาก เช่น ทะเบียนยา ผลติ ยาโดยผปู้ ระกอบโรคศลิ ปะ 3. รปู ลกั ษณะของผลิตภณั ฑ์ 4. ช่องทางการจำหน่าย โดยทั่วไปซ้ือจากร้านขายยา ยกเว้นยาสามญั ประจำบ้าน 5. การสง่ เสริมการขาย 6. ความรู้ความเข้าใจของผู้ซือ้ 7. กระแสความนิยม ความเช่ือ หรอื วัฒนธรรม ผลติ ภัณฑ์สมนุ ไพรทีร่ ู้จกั กนั แพรห่ ลายในปัจจุบันมี 3 รปู แบบ ดังน้ี อาหาร เครื่องสำอาง และยา มี รายละเอียดดังนี้ 1. ผลิตภณั ฑ์อาหาร ตามพระราชบญั ญัติ พ.ศ. 2522 แบ่งประเภทอาหารเป็น อาหารควบคุมเฉพาะ (ตอ้ งขึน้ ทะเบียน) อาหารกำหนดคณุ ภาพหรือมาตรฐาน อาหารทต่ี ้องมีฉลาก และอาหารทัว่ ไป ซง่ึ ประเภทของ ผลติ ภัณฑ์อาหารที่ควรรูจ้ กั มีดงั นี้ 1.1 ผลิตภัณฑ์ทไ่ี ม่ต้องมีเคร่ืองหมาย อย. แต่ต้องมีฉลาก เชน่ เมลด็ ธญั พชื ขา้ วกล้อง ถวั่ งา พริกแห้ง 1.2 ผลิตภณั ฑ์ที่ตอ้ งขออนญุ าต (ขอเครอ่ื งหมาย อย.) แต่ไม่ต้องสง่ ตวั อย่างตรวจวเิ คราะห์ เชน่ ผลไม้ตาก แหง้ ดอง แช่อ่ิมบรรจุภาชนะ เช่น กล้วยตาก มะมว่ งดอง 1.3 ผลติ ภณั ฑ์ที่ตอ้ งขออนุญาต (ขอเครื่องหมาย อย.) และต้องสง่ ตวั อยา่ งตรวจวเิ คราะห์ เชน่ เครอ่ื งดื่ม ชนิดน้ำและผงทที่ ำจากผกั ผลไม้ สมนุ ไพร เคร่ืองปรุงรส (ซอสพรกิ ซอสมะเขือเทศ) ผลิตภณั ฑด์ ังกล่าวข้างต้น กรณเี ข้าขา่ ยโรงงานต้องขออนญุ าตสถานที่ผลิตด้วย นอกจากผลิตภณั ฑ์อาหารดังกลา่ วมาแล้ว ยังมผี ลติ ภัณฑ์เสริมอาหารทน่ี ำสมุนไพรมาใชน้ อกเหนือจาก การเปน็ อาหาร คือสำหรับสง่ เสริมสุขภาพหรอื ลดความเสยี่ งจากการเกิดโรคหรอื ความเจ็บปว่ ย เชน่ ต้านอนมุ ูล อิสระ ชะลอความแก่ สง่ เสรมิ สุขภาพผู้ชาย ชว่ ยเสริมสรา้ งภูมิต้านทาน สมนุ ไพรเหล่านี้หากมกี ารแสดงสรรพคุณ ดังกลา่ วข้างต้นจะถูกจัดเปน็ ยา ไมส่ ามารถเปน็ อาหารตามกฎหมายอาหารได้ 2. ผลิตภณั ฑ์เครอ่ื งสำอาง ตามพระราชบัญญตั ิเคร่ืองสำอาง พ.ศ. 2535 แบ่งประเภทเครื่องสำอางเป็น 3 ประเภท ไดแ้ ก่ เคร่ืองสำอางควบคมุ พเิ ศษ เครอ่ื งสำอางควบคุม และเครื่องสำอางทัว่ ไป ดงั นี้ 2.1 เคร่ืองสำอางควบคุมพิเศษ ไดแ้ ก่ ยาสฟี นั ผสมฟลอู อไรด์ ผลิตภัณฑด์ ัดผม ย้อมผมชนิดถาวร แตง่ ผม ดำ ฟอกสผี ม ยดื ผม ทำใหข้ นรว่ ง เป็นตน้ ซ่งึ ตอ้ งขอข้นึ ทะเบยี นตำรับเคร่ืองสำอางควบคุมพเิ ศษ มีข้อความฉลาก ภาษาไทยต้องถูกต้องครบถว้ น ขอ้ ความบนฉลากมขี ้อความ “เคร่อื งสำอางควบคมุ พเิ ศษ” และมเี ลขทะเบียน เครื่องสำอางในกรอบเครอื่ งหมาย อย.

105 2.2 เครื่องสำอางควบคมุ ได้แก่ ผา้ อนามยั ผา้ เยน็ หรือกระดาษเยน็ แป้งฝุ่นโรยตัว แปง้ น้ำ มสี ารควบคุม ตามประกาศฯ ไดแ้ ก่ สารป้องกนั แสงแดด สารขจัดรังแค ซึ่งต้องแจ้งรายละเอยี ดก่อนผลิต/นำเข้าฯไม่น้อยกวา่ 15 วัน มขี ้อความฉลากภาษาไทยตอ้ งถูกต้องครบถ้วน และข้อความบนฉลาก มีข้อความ “เคร่อื งสำอางควบคุม” 2.3 เคร่อื งสำอางทั่วไป คอื เครอื่ งสำอางท่ไี มม่ ีส่วนผสมของสารควบคมุ พิเศษ และ สารควบคมุ เช่น แชมพูสระผมท่ไี ม่มี สารขจัดรังแคที่เป็นเครือ่ งสำอางควบคุม ครมี นวดผม นำ้ มนั ทาผวิ โฟมลา้ งหนา้ เป็นตน้ ตัวอย่างการแสดงสรรพคุณของเคร่ืองสำอาง เชน่ Aromatic Bath ถนอมผิว บำรุงผิว ปรับสภาพผิว ถนอมผวิ หน้า ถนอมเสน้ ผม และเลบ็ เป็นต้น 3. ผลติ ภณั ฑ์ยา ตามพระราชบัญญตั ยิ า พ.ศ. 2510 แก้ไขเพิ่มเติม 4 ฉบบั โดยมีฉบบั ที่สำคัญ คือ พระราชบัญญัติยา (ฉบบั ที่ 3) พ.ศ. 2522 และพระราชบญั ญตั ิยา (ฉบับท่ี 5) พ.ศ. 2530 การขอขน้ึ ทะเบยี น ตำรับยา ผู้รับอนุญาต ผลิตยาหรือผูร้ ับอนญุ าตนำสัง่ ฯยา ผใู้ ดประสงค์จะผลติ หรอื นำสัง่ ฯ ซ่ึงยาแผนปัจจุบนั หรอื ยาแผนโบราณต้องนำตำรบั ยานน้ั มาขอข้ึนทะเบียนต่อพนักงานเจา้ หนา้ ที่ และเม่ือไดร้ บั ใบสำคญั การข้ึนทะเบียน ตำรบั ยาแลว้ จงึ จะผลติ ยาหรือสัง่ ยาเขา้ มาในราชอาณาจักรได้ โดยการแจง้ รายละเอียดในการขอข้ึนทะเบียน ตำรับยา ตอ้ งมีรายละเอียดดงั น้ี (1) ชอ่ื ยา (2) ช่ือและวัตถุอันเป็นสว่ นประกอบของยา (3) ขนาดบรรจุ (4) วิธีวิเคราะห์ของยาแผนปัจจุบนั กรณใี ช้วิธีนอกตำรายาฯ ยกเว้นยาแผนโบราณไม่ตอ้ งแจ้งวิธี วเิ คราะหต์ วั ยาสำคัญ เนื่องจากกฎหมายไมไ่ ดก้ ำหนดไว้ (5) ฉลาก (6) เอกสารกบั ยา (7) รายการอ่นื ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ในปจั จุบนั มกี ารโฆษณาชวนเชอื่ มากมาย ซ่งึ ผลิตภัณฑ์ท่ีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ควบคมุ ดูแล คอื ยา อาหาร เครื่องมือแพทย์ ซง่ึ ต้องขออนุญาตโฆษณาตามกฎหมาย ผู้บริโภคตอ้ งมคี วามรู้ความ เข้าใจอย่างเพยี งพอ โดยไม่หลงเชอ่ื ตามคำโฆษณาทเี่ กนิ จริง ซงึ่ การโฆษณาขายยาทางวิทยกุ ระจายเสียง เครือ่ ง กระจายเสียง วทิ ยุโทรทศั น์ ทางฉายภาพ หรือภาพยนตร์หรือทางสง่ิ พมิ พ์ จะต้องได้รบั อนุมัตขิ อ้ ความ เสยี ง หรือ ภาพทใ่ี ช้ในการโฆษณาจากผู้อนญุ าตและ ปฏิบตั ติ ามเงื่อนไขทผ่ี ู้อนญุ าตกำหนด ดงั น้ี 1. ไมเ่ ปน็ การโออ้ วดสรรพคุณยา หรือวตั ถุอันเปน็ สว่ นประกอบของยาวา่ สามารถบำบัด บรรเทา รกั ษา หรือปอ้ งกนั โรคหรอื ความเจ็บป่วยไดอ้ ย่างศักดิส์ ิทธห์ิ รือหายขาด หรอื ใชถ้ อ้ ยคำอืน่ ใดทมี่ ีความหมายทำนอง เดียวกนั

106 2. ไม่แสดงสรรพคุณยาอันเป็นเทจ็ หรือเกินความจรงิ 3. ไมท่ ำให้เขา้ ใจว่ามีวัตถุใดเปน็ ตัวยา หรอื เป็นสว่ นประกอบของยา ซ่ึงความจรงิ ไมม่ วี ตั ถุหรือ สว่ นประกอบนนั้ ในยา หรอื มีแตไ่ มเ่ ท่าทีท่ ำให้เขา้ ใจ 4. ไม่ทำให้เข้าใจว่าเป็นยาทำใหแ้ ทง้ ลกู หรือยาขบั ระดูอยา่ งแรง 5. ไมท่ ำใหเ้ ข้าใจว่าเป็นยาบำรุงกามหรือยาคุมกำเนิด 6. ไม่แสดงสรรพคณุ ยาอนั ตราย หรือยาควบคุมพเิ ศษ 7. ไมม่ ีการรับรองหรือยกย่องสรรพคณุ ยาโดยบคุ คลอนื่ 8. ไม่แสดงสรรพคุณยาวา่ สามารถบำบัด บรรเทา รกั ษาหรือปอ้ งกนั โรค หรอื อาการของโรคทร่ี ฐั มนตรี ประกาศตามมาตรา 77 (โรคอันตรายเช่น วัณโรคปอด มะเรง็ สมอง ตบั ม้าม ไต หัวใจ) 6.1.4 ตัวอย่างสมุนไพรทม่ี ีการโฆษณาเกนิ ความจริง มีสมุนไพรบางชนดิ ท่ีถกู นำไปโฆษณาเกินจริงวา่ สามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้ทันทีทนั ใด เช่น ไต เบาหวาน มะเร็ง และอื่นๆ ซ่ึงถือเป็นการหลอกลวงประชาชน ซงึ่ สมุนไพรทีพ่ บวา่ มีการโฆษณาเกนิ จรงิ เชน่ แปะก๊วย (Ginkgo; Ginkgo biloba) โสมเกาหลี (Korean Ginseng; Panax ginseng) มะขามแขก (Senna; Cassia senna) แฮม้ ว่านชกั มดลูก ลูกยอ กระชายดำ กวาวเครือ สาหรา่ ยเกรยี วทอง เป็นตน้ ข้อแนะนำในการเลือกซ้ือหรือใช้ผลติ ภณั ฑ์สมนุ ไพร โดยตอ้ งสังเกตว่าเปน็ ผลติ ภณั ฑป์ ระเภทใด เชน่ ยา อาหาร เคร่ืองสำอาง มีชอื่ ผผู้ ลติ /จำหนา่ ย และท่ีอยชู่ ัดเจน ซงึ่ โดยทวั่ ไปมีข้อแนะนำดงั น้ี 1. ใชใ้ หถ้ กู ตน้ ถกู ส่วน ถูกขนาด ถกู อาการ 2. ไม่ควรใชม้ ากหรือถ่ีเกนิ ไป 3. อา่ นฉลากก่อนใช้ อา่ นใหล้ ะเอยี ดกอ่ นใช้ 4. เมื่อเริ่มใชค้ วรสงั เกตอาการ หากพบวา่ มีอาการผดิ ปกติเกดิ ขนึ้ ใหห้ ยดุ ใชย้ าแล้วปรึกษาแพทย์หรือ เภสชั กร 5. ควรระมดั ระวังในเร่ืองความสะอาดของสมนุ ไพร เช่น เชอื้ โรคปนเป้อื น 6. สงั เกตวา่ เสยี หรอื หมดอายุหรือไม่ 7. ปรกึ ษาผู้ทีม่ ีความรู้ในการให้คำแนะนำท่ถี ูกตอ้ ง 8. รู้สทิ ธขิ องผซู้ ้อื /ผูบ้ รโิ ภคเมื่อพบปัญหารอ้ งเรยี นไดท้ ่ี เบอรโ์ ทรศพั ท์ 1556 ดงั นั้น การเลอื กใช้สมนุ ไพรอย่างปลอดภัยและไม่ถูกหลอก นอกจากจะมกี ฎหมายมารองรบั เพื่อเปน็ การ คุ้มครองผ้บู รโิ ภคในระดบั หน่ึงแลว้ แตผ่ ูบ้ ริโภคเองยังมีสว่ นสำคญั ในการท่ีจะต้องดูแลคมุ้ ครองสทิ ธิของตนเอง

107 โดยตระหนกั ถงึ ความปลอดภยั ในการเลอื กผลติ ภัณฑท์ ่นี ำมาใช้เปน็ หลกั รวมท้งั ต้องแสวงหาความร้รู ับข้อมลู ตรวจสอบวา่ เปน็ ข้อมูลทีถ่ กู ต้องและน่าเช่อื ถืออยเู่ สมอ เพื่อสทิ ธปิ ระโยชนแ์ ละความปลอดภัยของผบู้ รโิ ภคน่นั เอง 6.2 วารีบำบัดหรือธาราบำบัด (Hydrotherapy) วารีบำบดั หรือธาราบำบดั คือ การนำคุณสมบตั ิของนำ้ มาใชใ้ นการบำบัดรักษาโรคหรืออาการผิดปกติ ตา่ งๆ โดยน้ำจะมีแรงลอยตวั ชว่ ยลดแรงกดต่อข้อต่อ และการเคลื่อนไหวชา้ ๆในทศิ ทางต่างๆน้ำจะเปน็ เสมือน แรงพยงุ ช่วยให้เคลื่อนไหวได้ง่ายขนึ้ ในขณะท่ีการเคลื่อนไหวในน้ำเร็วๆแรงๆนน้ั ส่งผลให้นำ้ กลายเป็นแรงต้าน เพม่ิ ความแข็งแรงของกลา้ มเน้อื น่นั เอง วารีบำบดั หรือธาราบำบัดเปน็ การใช้น้ำในการรักษาโรค บรรเทาอาการปวดทำใหผ้ ่อนคลายและรกั ษา สขุ ภาพทวั่ ไป การรักษาอาจใชน้ ำ้ ร้อน น้ำเย็น น้ำแข็ง หรือไอนำ้ รปู แบบอาจเปน็ การแชใ่ นอา่ งน้ำเย็น อ่างน้ำร้อน อ่างนั่ง (โดยอ่างนั่งให้มีความสูงระดับเอว) โดยส่วนมากจะปรับอุณหภูมทิ ่ีเหมาะสมต่อการรักษาอยู่ท่ี 33-35 องศาเซลเซยี ส มรี ะบบแรงดันน้ำพเิ ศษ (bubble jet and blower) มีอปุ กรณ์เพ่ือการออกกำลังกายที่ หลากหลาย และปรับระดับความลึกใหเ้ หมาะสมแก่ผู้ปว่ ยแตล่ ะประเภท ตวั อยา่ งของการใชว้ ารบี ำบัด เชน่ 6.2.1 อ่างนง่ั เหมาะสำหรับบรรเทาอาการริดสดี วงทวาร รอยแตกบริเวณเยอ่ื บุทวารหนกั 6.2.2 การอบไอน้ำ ช่วยรกั ษาอาการคัดจมูก และบรรเทาอาการปวดกลา้ มเน้ือ 6.2.3 การประคบน้ำเย็นหรอื นำ้ แข็ง ช่วยลดอาการบวม และบรรเทาอาการปวดกล้ามเน้อื 6.2.4 การลอยตวั ในสระน้ำ จะช่วยในการบริหารกลา้ มเนอื้ สำหรับผ้ปู ว่ ยท่ีมปี ัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง อนั เนอ่ื งมาจากโรคอมั พฤกษ์ หรืออมั พาต โรคทางระบบประสาทและกลา้ มเน้ือเฉยี บพลันและเรอ้ื รงั ตา่ งๆ ข้อห้ามในการรักษาดว้ ยธาราบำบดั มีดังน้ี คือ มีไข้สงู เป็นโรคผวิ หนังที่ตดิ ต่อได้ หรอื โรคตดิ เช้ือต่างๆ เชน่ หเู ป็นฝี ไข้หวดั ใหญ่ มีแผลเปดิ หรอื แผลตดิ เช้ือ เป็นความดันโลหิตสูงหรือตำ่ เกนิ ไปทไ่ี ม่สามารถควบคมุ ได้ ภาวะหวั ใจลม้ เหลว เป็นโรคระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะผู้ทมี่ ีการขยายตัวของทรวงอกน้อย ผู้ปว่ ยไม่สามารถ กลนั้ อจุ จาระหรือปสั สาวะได้ ผปู้ ่วยมปี ระจำเดือน ผ้เู ป็นเป็นโรคลมชัก และผทู้ แ่ี พค้ ลอรีน 6.3 การฝังเข็ม (Acupuncture) การฝงั เขม็ เปน็ การใช้เข็มปกั ลงไปตามจุดตา่ ง ๆบนร่างกาย ตามจุดสำคัญๆท่มี ีความสำคัญและสัมพันธ์กบั อวัยวะตา่ งๆในร่างกาย ในเอกสารตำราแพทยจ์ นี โบราณและในเอกสารอา้ งองิ ขององค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานวา่ จดุ ฝงั เขม็ บนรา่ งกายมนุษย์มีอยจู่ ำนวน 349 จุด บนเส้นลมปราณ (meridian) 12 เส้นหลกั และอีก 2 เสน้ รอง จำนวนเสน้ ลมปราณในร่างกายแต่ละข้าง (ขวา-ซา้ ย) มี 12 เส้น โดยแบง่ เปน็ ส่วนของแขน 6 เสน้ และ สว่ นของขาอีก 6 เส้น (สว่ นอีก 2 เสน้ รองจะอยูต่ รงกลางหลงั และตรงกลางหน้าท้อง) ในสว่ นของแขน 6 เส้น ก็ จะจบั คู่กันเองเปน็ 3 คู่ เชน่ เดียวกบั ขากจ็ ะจับคู่กันเองเปน็ 3 คู่ แต่ละเสน้ จะมชี ่อื เรียกและหน้าท่ีอยา่ งชดั เจน

108 การฝงั เขม็ จะกระต้นุ ใหเ้ กิดสัญญาณประสาท ส่งเขา้ ไปยังไขสันหลงั แลว้ ออกวกออกมา ทำให้กลา้ มเนื้อท่ี หดเกร็งเกิดการคลายตวั และหลอดเลอื ดที่หดตัวเกิดการขยายตัว สญั ญาณประสาทบางส่วนจะถูกส่งข้นึ ไปยงั สมองกระต้นุ ให้มกี ารหล่งั สารสื่อสัญญาณประสาท (เชน่ สารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) ซึ่งเป็นสารภายใน รา่ งกายมนุษยท์ ห่ี ลั่งออกมาเพ่ือชว่ ยบรรเทาความเจ็บปวด) แลว้ ส่งสญั ญาณประสาทกลับลงมา ตามไขสันหลัง และเส้นประสาท เพ่ือชว่ ยปรับการทำงานของอวัยวะระบบตา่ ง ๆ และระบบภมู ิคุ้มกนั ของร่างกายใหส้ มดลุ เป็น ปกติ การฝังเขม็ ไดผ้ ลดกี บั อาการปวดต่างๆ เช่น ปวดประจำเดอื นรนุ แรง อาการอ่อนแรง ปวดหวั ไมเกรน โรค เสน้ เลอื ดในสมองตีบ อัมพฤกษ์ อมั พาต อาการชาจากโรคเบาหวาน ความดนั และโรคภูมแิ พ้ 6.4 สุคนธบำบดั (Aromatherapy) สุคนธบำบดั หมายถงึ ศาสตรข์ องการใช้กลน่ิ หอมโดยเจาะจงจากนำ้ มันหอมระเหยจากพืช เพอ่ื ส่งเสรมิ ให้สขุ ภาพจิตและสุขภาพกายดีข้นึ การใช้ประโยชนข์ องน้ำมันหอมระเหยต่อร่างกายและจิตใจ ส่วนใหญ่มักจะทำ โดยการสดู ดมและการใช้ผา่ นผิวหนัง นำ้ มนั หอมระเหยเป็นผลิตผลจากการสกดั พืชสมนุ ไพรนานาชนิด ซึง่ อาจ สกัดมาจากส่วนใดสว่ นหนง่ึ ของพชื นนั้ ๆ เช่น สกัดมาจาก ผล ดอก ใบ เมล็ด เปลอื ก ก้าน ฯลฯ วิธีการสกัดท่ีนิยม ใชใ้ นปัจจุบนั คือ การกลนั่ ดว้ ยไอน้ำ และการใชส้ ารเคมีเป็นตวั ทำละลาย สุคนธบำบดั เปน็ การรวมศาสตร์และ ศิลป์ของกลน่ิ นำ้ มนั หอมระเหยและการนวดเข้าดว้ ยกนั จึงเปน็ การบำบดั โรค เพ่อื จดุ ประสงคใ์ หเ้ กิดความสมดุล ของร่างกาย-จติ ใจ-และอารมณ์ ตวั อยา่ งของนำ้ มนั หอมระเหยที่สามารถนำมาใชเ้ ป็นสคุ นธบำบัด มดี ังนี้ 1. น้ำมนั หอมระเหย-โรสแมร่ี มคี ณุ สมบัติ ช่วยขจัดแบคทีเรีย ทำให้สดช่นื แจม่ ใสช่วยใหม้ ีสมาธิและมี กำลังใจ ถ้าใชใ้ นการนวด จะให้ความอบอุ่นและกระตุ้นกล้ามเนื้อ 2. นำ้ มันหอมระเหย-ลาเวนเดอร์ มีคณุ สมบัติ ช่วยกำจดั แบคทีเรีย และช่วยกระตุ้นใหร้ า่ งกายขับเช้ือโรค ออกไป ทำให้สงบ และผ่อนคลาย ชว่ ยให้อารมณ์เกดิ ความสมดลุ ถ้าใชใ้ นการนวด จะช่วยใหน้ อนหลับสบายและ ผ่อนคลายกลา้ มเนอ้ื ท่ีทำงานหนัก 3. น้ำมันหอมระเหย-ยูคาลิปตสั มคี ุณสมบัติ ในการขจัดแบคทีเรีย ชว่ ยให้หายใจโล่ง ช่วยใหป้ ลอดโปร่ง และมีสมาธิ ถ้าใชน้ วด จะช่วยใหส้ ดชืน่ และฟนื้ ฟูสมรรถภาพของรา่ งกาย 4. นำ้ มนั หอมระเหย-มะนาว มีคุณสมบตั ิ ชว่ ยใหส้ ดชื่น แจ่มใส มีสมาธิ ถา้ ใชน้ วดจะทำใหร้ ะบบไหลเวยี น โลหิตดขี ึ้น จะช่วยให้รูส้ ึกร่าเรงิ และกระตือรอื รน้ 5. น้ำมนั หอมระเหย-มะกรดู มีคุณสมบตั ิ ชว่ ยดบั กลิ่นและใหค้ วามสดชืน่ และเสรมิ สรา้ งอารมณ์ใหม้ ี ทัศนะในทางบวกมากขนึ้ 6. น้ำมันหอมระเหย-ส้ม มคี ุณสมบตั ิ ชว่ ยให้การเผาผลาญพลังงาน ชว่ ยใหส้ ดช่นื ผอ่ นคลายความตึง เครยี ด

109 7. น้ำมันหอมระเหย-สะระแหน่ มีคณุ สมบตั ิ ช่วยลดอาการบวมน้ำ และช่วยกระต้นุ การไหลเวียนของ โลหติ ได้ดี บทสรุป การแพทย์ทางเลือก คอื ทางเลือกหรือวิถสี ุขภาพท่ีบุคคลใชเ้ พ่ือจดั การหรอื รักษาบำบัดตนเองใหห้ าย หรอื บรรเทาอาการของโรค ทำให้ร่างกายสมบรู ณแ์ ข็งแรงและจติ ใจมีความสุข ซึ่งความเหมาะสมของทางเลือก ตา่ ง ๆ ขน้ึ กบั ความชอบหรอื พงึ พอใจของแตล่ ะคน รวมท้งั ขอ้ จำกัดของทางเลือกน้ันและข้อจำกัดของบคุ คลด้วย ดังน้ันก่อนการใช้ต้องมีการพจิ ารณาความถกู ต้อง เหมาะสมและข้อจำกัด ก็จะทำให้การใชก้ ารแพทยท์ างเลือก หรอื วิถีสุขภาพทางเลือกมีคณุ ภาพและประสิทธิภาพต่อไป บรรณานุกรม กรมพฒั นาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสขุ . (2555). คู่มือดแู ลสขุ ภาพด้วย การแพทยแ์ ผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. นนทบรุ ี: กองทนุ ภูมปิ ญั ญาการแพทยแ์ ผนไทย กรมพัฒนาการแพทยแ์ ผนไทย และการแพทย์ทางเลอื ก กระทรวงสาธารณสขุ . กรมพฒั นาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสขุ . (2551). การดแู ลผปู้ ว่ ยโรคมะเร็ง ด้วยการแพทยผ์ สมผสาน. พิมพ์ครงั้ ท่ี 2. กรุงเทพมหานคร : บรษิ ัท สุขุมวิทย์มีเดีย มารเ์ กต็ ตง้ิ จำกดั .

110 กลุ่มงานสง่ เสรมิ ภูมิปัญญาการแพทย์ไทยและสมนุ ไพร สถาบนั การแพทยแ์ ผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์ แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสขุ . (2556). เอกสารแนะนำ มาตรฐาน โรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนนุ การแพทยแ์ ผนไทยและการแพทยผ์ สมผสาน (รพ.สส.พท.) กรงุ เทพฯ: องค์การทหารผา่ นศึก. ตวงพร กตญั ญุตานนท์. (2551). การแพทย์ทางเลือก (Alternative Medicine). วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉยี ว เฉลมิ พระเกียรติวิชาการ. 11 (22): 68-78. เทวัญ ธานีรตั น์. “การแพทยท์ างเลือกคอื อะไร”. กองการแพทย์ทางเลอื ก . http://www.dtam.moph.go.th/alternative. เข้าถงึ เมื่อ 8 กรกฎาคม, 2559. บญั ชียาหลกั แห่งชาติ พ.ศ. 2559, (2559, 12 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนพิเศษ 86ง, หน้า 201-249. ประสทิ ธ์ิ ศรที พิ ย์สโุ ข และ พนติ นาฏ คำนุ้ย. (2549). เลือกใช้ผลติ ภัณฑส์ มนุ ไพรอยา่ งไรไม่ถกู หลอก. กลมุ่ งานพัฒนาวชิ าการแพทย์แผนไทยและสมนุ ไพร สถาบันการแพทยแ์ ผนไทย. สพุ จน์ วงศ์ใหญ่ พิมพร ลลี าพรพสิ ิฐ และนภาลยั หาญสุนนั ทนนท.์ (2550). แนวทางการใชส้ คุ นธบำบัด. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ พรน้ิ ซ์ แอนด์ เทรนนิง่ . Food and Drug Administration. Complementary and Alternative Medicine Products and their Regulation. http://www.fda.gov/RegulatoryInformation/ Guidances/ucm144657.htm. Cited in July, 8, 2016. แบบฝึกหดั กลมุ่ เรียนที.่ ............ ชอ่ื สกลุ นสิ ิต...........................................................................................รหสั นิสิต............................................ 1. จงอธิบายหลกั ในการพิจารณาเลอื กใชก้ ารแพทยท์ างเลอื ก วา่ มกี ีป่ ระเดน็ อะไรบา้ ง พร้อมทัง้ ให้คน้ ควา้ หาข่าวสารจากแหลง่ ต่างๆ อยา่ งนอ้ ย 1 ขา่ ว กรณีผลเสยี จากการทผี่ ้ปู ่วยไม่ไดใ้ ชก้ ารแพทย์ทางเลอื กใน การรักษาโรคอยา่ งเหมาะสม ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………

111 2. ใหน้ ิสิตคน้ ข้อมูลข่าวสารเก่ยี วกับการใช้สมุนไพรอย่างไม่ถูกตอ้ ง เชน่ การซ้ือสมุนไพรจากแผงขายตาม ท้องตลาด การส่ังซ้ือออนไลน์ การใชผ้ ดิ วัตถปุ ระสงค์ ฯลฯ พรอ้ มทั้งวเิ คราะห์รายละเอยี ดผลเสียของ การกระทำน้นั ๆ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook