Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทที่ 1 แนวคิด P.1-15 ebook

บทที่ 1 แนวคิด P.1-15 ebook

Published by surachat.s, 2020-07-16 04:09:27

Description: บทที่ 1 แนวคิด P.1-15 ebook

Search

Read the Text Version

1 บทท่ี 1 ความหมายและความสำคญั ของสุขภาพ แนวคดิ สุขภาพ เปน็ เสมือนหนึ่งวิถีทาง หรือหนทางซ่ึงจะนำไปสคู่ วามสขุ และความสำเรจ็ ต่างๆ ประเทศท่ีมี พลเมืองมสี ุขภาพดี มสี ตปิ ญั ญา ตลอดจนมีคณุ ธรรม จริยธรรม ทเี่ ออ้ื อำนวยใหค้ นในสังคมสามารถในการ ประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงดูตนเองและครอบครวั ได้ จึงจะเห็นได้ว่าในการพัฒนาประเทศลำดับแรกจะต้องมกี าร พัฒนาคนหรือประชาชนในชาติซ่ึงถือว่าเป็นทรพั ยากรมนุษย์ทม่ี คี ณุ ค่าอย่างย่งิ เพือ่ ให้เป็นไปตามแผนพัฒนา สุขภาพแหง่ ชาติ ฉบับท่ี 11 (พ.ศ. 2555-2559) นอกจากนั้นยงั ขน้ึ อยู่กบั ปัจจัยท่มี ีอิทธิพลต่อสขุ ภาพทั้ง 3 องคป์ ระกอบ โดยจะมผี ลนำไปสภู่ าวะตา่ งๆ อาทิ ความยากจนขน้ แคน้ ภาวะโดดเดี่ยว โรคอว้ น ความสำ ส่อนทางเพศ การเสพติด โรคท่ีมนษุ ยท์ ำเอง และมลพษิ จากฝีมอื มนุษย์ จงึ จำเปน็ ทีจ่ ะต้องให้ความสนใจในการ ดูแลและการจดั การสขุ ภาพ เนือ้ หา 1. ความหมายและความสำคัญของสุขภาพ 1.1 ความหมายสขุ ภาพ (Health) 1.2 ความสำคัญของสุขภาพ 2. แนวคดิ ของการพฒั นาและสุขภาพกับการพัฒนาประเทศ 3. สถานการณ์ปัญหาสุขภาพและโรคภยั ไขเ้ จ็บ วัตถุประสงค์ เม่อื จบการเรยี นการสอนชั่วโมงนี้แลว้ นิสิตสามารถ 1. บอกความหมายและความสำคญั ของสุขภาพ 2. มีความรู้และเข้าใจแนวคิดของการพฒั นาและสขุ ภาพกบั การพฒั นาประเทศ 3. ระบสุ ถานการณป์ ัญหาสุขภาพและโรคภยั ไข้เจ็บในประเทศไทยได้ กิจกรรมระหว่างเรียน ระยะเวลารวม 1 ชั่วโมง 35 นาที แบ่งเปน็

2 1. แนะนำผเู้ รียนและช้แี จงรายละเอียดหัวข้อวชิ า แผนจดั กิจกรรม และข้อตกลงรว่ มกัน 5 นาที 2. บรรยาย 70 นาที 3. กจิ กรรมการอภิปรายประเด็น 10 นาที 4. ซกั ถาม 10 นาที

3 สว่ นของเนอ้ื หา 1. ความหมายและความสำคัญของสขุ ภาพ 1.1 ความหมายสุขภาพ (Health) สขุ ภาพ หมายถึง \"ภาวะท่ปี ราศจากโรคภยั ไขเ้ จ็บ” เช่น อาหารเพ่อื สขุ ภาพ การสูบบุหรี่เป็น อนั ตรายต่อสุขภาพ\" (พจนานุกรมฉบบั ราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542) สบื ค้น ออนไลน์http://rirs3.royin.go.th/word1/word-1-a0.asp สุขภาพ หมายถึง ภาวะแห่งความสมบรู ณข์ องรา่ งกาย จติ ใจ และการดำรงชวี ติ อย่ใู นสงั คม ด้วยดี ไมใ่ ช่เพยี งแตค่ วามปราศจากโรค หรอื ทุพพลภาพเทา่ นน้ั (Health is defined as a state complete physical, mental and social well-being and merely the absence of disease infirmity : World Health Organization - WHO (องคก์ ารอนามยั โลก) , 2491) จากคำจำกดั ความนี้ แสดงให้เห็นว่า ภาวะของความไม่มีโรคหรือไม่บกพร่องยงั ไม่ถือวา่ มสี ุขภาพ แต่สขุ ภาพมีความหมาย เชิงบวกท่ีเน้นความเปน็ อยทู่ ี่สมบูรณ์ทั้งทางรา่ งกาย จติ ใจ และสังคม นน่ั คือ ตอ้ งมี สุขภาพกาย สุขภาพจติ และสุขภาพทางสังคมครบทุกด้าน กอ่ น พ.ศ. 2500 เราใชค้ ำว่าสุขภาพนอ้ ยมาก เพราะขณะน้ันเราใชค้ ำวา่ “อนามยั ” เริ่มใช้ “สุขภาพ” แทน ในสมัยต่อมาก็เน่ืองจากคำวา่ อนามยั (อน+อามัย) ซ่งึ ตามรูปศัพท์ หมายถงึ \"ความไม่มโี รค\" ซ่ึงเม่อื เปรยี บเทียบแล้วเหน็ วา่ สุขภาพมีความหมายกวา้ งกว่าอนามัย เพราะสุขภาพเป็นความสขุ เป็น ความหมายเชงิ บวก ตรงข้ามกับอนามยั เป็นความทุกขซ์ ึง่ มีความหมายเชิงลบ แนวคดิ เกยี่ วกบั สขุ ภาพในอนาคตอาจจะปรบั เปล่ียนไปจากนี้ได้ จากในท่ปี ระชมุ สมัชชาองค์การ อนามยั โลก ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2541 ไดต้ กลงเติมคำวา่ “Spiritual Well-being” เขา้ ไปใน คำจำกดั ความของคำว่าสขุ ภาพ นิยามคำว่าสุขภาพแบบไทย ควรเพ่ิม “Intellectual Well-being”(สุขภาวะด้านปัญญาและการ รู้คิด) เข้าไปอีกด้วย โดยมีแนวความคดิ สุขภาพกค็ ือ สุขภาวะ หรอื Well-being ความสุข คือ ความเป็นอิสระ หรอื การหลุดพน้ จากความบบี ค้นั ดังนนั้ สขุ ภาพ คือ สุขภาวะหรือความเปน็ อสิ ระหลุดพ้นจากความบบี คน้ั ทาง กายทางจติ ทางสงั คม และทางปัญญา พระราชบญั ญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ให้ความหมายของคาํ วา่ “สุขภาพ” หมายถึง ภาวะ ของมนษุ ยท์ สี่ มบรู ณท์ งั้ ทางกาย ทางจติ ทางปัญญา และทางสงั คม เช่อื มโยงกันเปน็ องคร์ วมอย่างสมดุล ดงั นั้น สขุ ภาพ หมายถึง ภาวะของการดำรงชวี ิตทมี่ ีความสมบรู ณท์ ง้ั รา่ งกาย จติ ใจรวมทั้งการอยู่ รว่ มกันในสงั คมไดด้ ว้ ยดี อยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม และการใช้สตปิ ญั ญา สุขภาพจงึ มีความหมายที่เนน้ ความ เป็นอยทู่ ีส่ มบูรณ์ทั้งทางรา่ งกาย จิตใจ และสงั คม นน่ั คือ ต้องมสี ุขภาพกาย สขุ ภาพจติ และสุขภาพทางสงั คม

4 ครบทกุ ดา้ น และในทปี่ ระชุมสมัชชาองคก์ ารอนามยั โลก เมอื่ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2541 ไดต้ กลงเตมิ คำวา่ “Spiritual Well-being” หรอื สุขภาวะทางจติ วิญญาณเขา้ ไป ในคำจำกดั ความของสขุ ภาพเพ่ิมเติม อาจ กล่าวได้วา่ สุขภาพ หมายถงึ ภาวะของการดำรงชวี ติ ทีม่ ีความสมบรู ณ์ทั้งรา่ งกาย จิตใจ รวมทั้งการอย่รู ่วมกัน ในสงั คมไดด้ ้วยดี อยบู่ นพ้ืนฐานของคณุ ธรรม และการใช้สติปญั ญา ปจั จุบัน คำว่า สุขภาพ มิไดห้ มายความ เฉพาะสขุ ภาพกายและสขุ ภาพจิตเทา่ นัน้ แตย่ ังไดร้ วมถึงสุขภาพสังคม และสุขภาพจติ วิญญาณอีกดว้ ย จงึ สามารถสรปุ ไดว้ ่าในความหมายของ \"สขุ ภาพ\" ในปัจจบุ ัน มอี งคป์ ระกอบ 4 ส่วน ดว้ ยกันคอื 1. สขุ ภาพกาย (Physical Health) หมายถึง สภาพทดี่ ีของรา่ งกาย กล่าวคือ อวยั วะต่างๆอย่ใู นสภาพ ท่ีดี มคี วามแข็งแรงสมบรู ณ์ ปราศจากโรคภยั ไข้เจบ็ ร่างกายสามารถทำงานไดต้ ามปกติ และมคี วามสมั พันธ์กับ ทุกส่วนเป็นอย่างดี และก่อให้เกิดประสทิ ธิภาพทีด่ ใี นการทำงาน 2. สขุ ภาพจติ (Mental Health) หมายถึง สภาพของจติ ใจท่ีสามารถควบคมุ อารมณ์ได้ มจี ิตใจเบกิ บานแจ่มใส มใิ ห้เกดิ ความคับข้องใจหรือขัดแยง้ ในจิตใจ สามารถปรับตวั เข้ากับสังคมและสิง่ แวดลอ้ มได้อยา่ งมี ความสุข สามารถควบคุมอารมณ์ได้เหมาะสมกับสถานการณต์ ่าง ๆ ซึง่ ผู้มีสุขภาพจติ ดี ยอ่ มมีผลมาจาก สุขภาพกายดีด้วย ดงั ที่ John Lock ไดก้ ล่าวไวว้ า่ “A Sound mind is in a sound body” คือ “จติ ใจท่ี แจ่มใส ยอ่ มอยใู่ นร่างกายท่ีสมบรู ณ์” 3. สุขภาพสงั คม (Social Health) หมายถงึ บุคคลท่ีมีสภาวะทางกายและจิตใจท่สี ุขสมบรู ณ์ มสี ภาพ ของความเป็นอยู่หรอื การดำเนนิ ชวี ติ อยใู่ นสงั คมได้อย่างปกตสิ ขุ ไมท่ ำให้ผอู้ ่นื หรอื สังคมเดือดร้อน สามารถ ปฏิสมั พันธแ์ ละปรับตวั ให้อย่ใู นสงั คมไดเ้ ป็นอย่างดแี ละมีความสขุ 4. สขุ ภาพจิตวญิ ญาณ (Spiritual Health) หมายถงึ สภาวะท่ีดีของปญั ญาท่มี ีความร้ทู ัว่ รเู้ ท่าทนั และความเขา้ ใจอยา่ งแยกได้ในเหตผุ ลแห่งความดีความชั่ว ความมีประโยชนแ์ ละความมีโทษ ซึง่ นำไปสู่ความมี จิตอนั ดีงามและเอ้ือเฟื้อเผ่อื แผ่ ในองคป์ ระกอบสุขภาพท้ัง 4 ด้านนั้น แตล่ ะดา้ นยังมี 4 มิติ ดงั น้ี 1. การสง่ เสรมิ สขุ ภาพ เปน็ กลไกการสรา้ งความเข้มแข็งให้แกส่ ุขภาพกาย สุขภาพจติ สุขภาพสังคม และสุขภาพจิตวญิ ญาณ 2. การป้องกันโรค ได้แก่ มาตรการลดความเสีย่ งในการเกิดโรค รวมท้งั การสรา้ งภูมิคุ้มกัน เฉพาะโรค ดว้ ยวิธีการต่างๆ นานา เพอ่ื มใิ หเ้ กิดโรคกาย โรคจติ โรคสังคม และโรคจติ วิญญาณ 3. การรกั ษาโรค เมื่อเกิดโรคข้นึ แลว้ เราต้องเรง่ วนิ ิจฉยั โรควา่ เปน็ โรคอะไร แลว้ รีบให้การ รักษาดว้ ยวิธที ่ไี ด้ผลดีทสี่ ุดและปลอดภยั ทสี่ ดุ เทา่ ทม่ี นุษยจ์ ะรแู้ ละสามารถให้การบริการรักษาได้ เพื่อลดความ เสยี หายแก่สุขภาพ หรือแม้แต่เพ่อื ป้องกนั มใิ หเ้ สียชวี ติ

5 4. การฟ้ืนฟูสภาพ หลายโรคเมือ่ เปน็ แล้วก็อาจเกิดความเสียหายต่อการทำงานของระบบ อวัยวะหรอื ทำให้พิการ จงึ ต้องเร่มิ มาตรการฟ้นื ฟูให้กลับมามีสภาพใกล้เคยี งปกติทส่ี ุดเทา่ ทจี่ ะทำได้ ท้งั (1) การสง่ เสริมสุขภาพ และ (2) การปอ้ งกันโรคน้ี เราเรยี กรวมกนั ว่า \"การสรา้ งสุขภาพ\" เปน็ การทำก่อนเกิดโรค ส่วน (3) การรักษาโรค และ (4) การฟ้นื ฟสู ภาพนี้ เราเรียกรวมกันว่า \"การซอ่ ม สุขภาพ\" เป็นการทำหลงั จากเกดิ โรคแลว้ และเปน็ ท่เี ช่ือกนั วา่ \"การสรา้ งสขุ ภาพ\" มีประสิทธิผลดกี วา่ และเสีย ค่าใช้จา่ ยน้อยกวา่ \"การซ่อมสุขภาพ\" เนือ่ งจาก \"การสรา้ งสุขภาพ\" เป็นสงิ่ ท่ีประชาชนสามารถทำไดด้ ้วยตัวเอง ส่วน \"การซ่อมสขุ ภาพ\" ต้องอาศยั หน่วยงานด้านการแพทย์เป็นหลัก แมว้ ่าสขุ ภาพโดยองคร์ วมแลว้ จะเปน็ ภาวะของมนุษยท์ เี่ ชอื่ มโยงกันทัง้ ทางกาย ทางจติ ทาง ปัญญา และทางสงั คม แตใ่ นเร่อื งของสถติ สิ าขาสขุ ภาพนน้ั มขี อ้ จำกัดในการศึกษาทำใหใ้ นข้นั ต้นจะกล่าวถงึ เฉพาะสุขภาพทางกาย และสุขภาพทางจิตเทา่ น้นั 1.2 ความสำคัญของสุขภาพ สขุ ภาพเป็นส่ิงสำคัญและจำเปน็ ย่งิ ต่อความเจริญงอกงามและพัฒนาการทกุ ๆ ด้านในตัวบคุ คล สุขภาพเปน็ รากฐานท่สี ำคญั ของชีวิต โดยเร่ิมมาตัง้ แต่มีการปฏสิ นธใิ นครรภม์ ารดาวยั ทารก วัยผใู้ หญ่จนถึงวัย ชรา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจา้ ไดต้ รสั ไว้เป็นพระพุทธสภุ าษิตว่า “อโรคยา ปรมาลาภา” ซึง่ แปลวา่ “ความ ไม่มโี รคเปน็ ลาภอนั ประเสริฐ” พระพทุ ธภาษติ ขอ้ นี้ แมแ้ ต่ชาวอารยประเทศทางตะวนั ตกกย็ ังยอมรับนบั ถือกนั และเหน็ พ้องต้องกันวา่ “สุขภาพคือพรอันประเสริฐสุด (Health is the greatest blessing of all)” นอกจากน้ียงั มีสภุ าษติ ของชาวอาหรับโบราณกลา่ วไว้วา่ “คนท่ีมสี ุขภาพดคี ือคนทมี่ คี วามหวัง และคนท่ีมี ความหวงั คือคนทมี่ ีทุกส่ิงทุกอยา่ ง (He who has health has hope and he who has hope has everything)” ซ่งึ น่ันก็หมายความวา่ สุขภาพจะเปน็ เสมือนหนงึ่ วิถที างหรอื หนทางซงึ่ จะนำบุคคลไปสู่ความสุข และความสำเร็จต่างๆ นานาได้ ชีวิตเป็นส่ิงมคี ่าย่ิงกวา่ ทรัพยส์ ินใด ๆ ทุกคนย่อมรักษาและหวงแหนชีวิตของตนเอง ปรารถนาให้ ตนเองมีชวี ติ ที่อยเู่ ย็นเป็นสุข จงึ จำเปน็ ตอ้ งรักษาสขุ ภาพอนามยั ให้แข็งแรงสมบรู ณอ์ ย่เู สมอ การมีสขุ ภาพดี ปราศจากโรคภยั ไข้เจ็บหรอื การบาดเจบ็ จากอบุ ัติเหตตุ ่าง ๆ มีกลา้ มเน้ือทที่ ำงานได้ดี สามารถทำงานได้อยา่ งมี ประสิทธภิ าพ ร่างกายสามารถปรับตวั เข้ากับสิ่งแวดลอ้ มได้ดี ไม่มคี วามวติ กกังวล ไม่ถูกความเครยี ดมา รบกวน สามารถดำรงชวี ติ อยู่ในสังคมได้อย่างมคี วามสุข ยอ่ มเปน็ สิง่ ท่ปี รารถนาของมนุษยท์ กุ คน สุขภาพจึง เปรยี บเสมือนวถิ แี หง่ ชีวิต ท่ีจะนำไปสู่ความสขุ และความสำเร็จต่างๆ ในชีวิตได้ ประสทิ ธภิ าพในการทำงานของประชาชนในทุกสาขาอาชพี จะต้องอาศยั สุขภาพที่ดี แขง็ แรง สมบูรณ์เปน็ ปจั จัยสำคญั การพัฒนาประเทศจะดหี รือไม่ขึน้ อยกู่ บั สุขภาพท่ดี ีของคนในชาติเป็นสำคญั ประเทศ

6 ท่ีประชาชนมสี ขุ ภาพดี มสี ตปิ ัญญา มคี ุณธรรมและจรยิ ธรรม มีความสามารถในการประกอบอาชีพเพ่ือเล้ียง ตนเองและครอบครัวได้ ไมเ่ บียดเบยี นและทำร้ายซึ่งกนั และกัน ย่อมเกดิ ความสงบสุข และเมอ่ื บุคคลในชาติมี สขุ ภาพกายและจติ ดี มีมันสมองท่มี ีศกั ยภาพ ย่อมเปน็ ผู้ที่มคี วามสามารถเรยี นรู้ และสร้างสรรค์สง่ิ ตา่ ง ๆ ได้ดี ซ่ึงจะส่งผลตอ่ การพัฒนาทงั้ ด้านเศรษฐกิจและสงั คมของประเทศโดยรวม กรอบความคดิ เรื่องสุขภาพในปัจจุบันวางอยู่บนฐานทวี่ ่าด้วยเรื่อง สขุ ภาวะ (well-being) ทัง้ มติ ิ ทางกาย ทางใจ ทางสังคม และทางปญั ญา (จติ วิญญาณ) และท้ังมิตขิ องคน ครอบครวั ชมุ ชน และสงั คม ดงั นัน้ สุขภาพมผี ลกระทบมาจากหลายปัจจัย จงึ ต้องให้ความสำคญั กับองค์ความรู้ ทง้ั เรื่องของการดำเนินงาน ทางสาธารณสุข การจดั บริการสาธารณสุข และเรื่องตา่ งๆ ทป่ี รากฏในสังคม เพราะสิง่ เหลา่ นม้ี ผี ลกระทบต่อ สุขภาพทัง้ ทางตรง และทางอ้อม ท้ังด้านบวก และด้านลบ องค์ความรู้เพ่ือการพฒั นาสขุ ภาพและระบบสขุ ภาพ จึงไม่ใช่เรื่องของระบบการแพทย์เพียงอย่างเดียว แต่เปน็ เรื่องความร่วมมอื กันของสงั คม ที่จะมาร่วมสรา้ ง คา่ นยิ มที่ถูกต้องเกี่ยวกบั สุขภาพ สร้างสงิ่ แวดล้อมที่ปลอดภยั และเอ้อื ตอ่ การมสี ุขภาพดี รว่ มสร้างวัฒนธรรม ของการดำเนินชวี ิตท่ีไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อ่ืน และร่วมกันสรา้ งสงั คม ที่อยูร่ ว่ มกันอย่างมสี ันตสิ ุข 2. แนวคิดของการพัฒนาและสขุ ภาพกบั การพัฒนาประเทศ (จรี ะศักดิ์ เจริญพันธ,์ 2554) “สุขภาพมีความสำคัญกบั การพัฒนาประเทศอย่างไร” จากคำถามดงั กลา่ วพบว่า ประเทศทม่ี ี พลเมืองมสี ขุ ภาพดี มสี ติปัญญา ตลอดจนมีคณุ ธรรม จรยิ ธรรม ทเ่ี อื้ออำนวยใหค้ นในสังคมสามารถประกอบ อาชพี เพอื่ เพ่ือเล้ียงดูตนเองและครอบครวั ได้ ตลอดจนสามารถส่งเสรมิ สนบั สนนุ ให้บุคคลอน่ื ๆ ใหม้ คี วาม เจริญก้าวหน้าได้ ไม่เกิดการทำรา้ ยเบียดเบยี นซงึ่ กันและกัน ชมุ ชนและสงั คมนน้ั จะเกิดความสขุ ได้ ซ่ึงยอ่ มมี ผลตอบสนองให้แตล่ ะบุคคลในชุมชนนน้ั มีอิสรภาพสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อยา่ งราบรื่น สามารถทำให้ เกิดการพัฒนาประเทศได้ บุคคลทม่ี สี ุขภาพกายและจิตดี มีสมองที่มศี ักยภาพ ย่อมเป็นผู้ท่ีมคี วามสามารถใน การเรยี นรู้ จากประสบการณ์ชีวิตและการศึกษาเลา่ เรยี นทำให้เกดิ การคดิ อยา่ งมเี หตุผล ย่อมสง่ ผลให้เกิดการ คิดอย่างสร้างสรรค์ เอ้ืออำนวยต่อการฝึกทกั ษะดา้ นต่างๆ ทั้งดา้ นสขุ ภาพและท่ีเปน็ ประโยชน์ในการดำรงชีพ ในสังคมให้มีการเจรญิ ก้าวหน้า เม่ือสงั คมมคี วามสงบสขุ ประชาชนมีสุขภาพดี การพฒั นาประเทศในดา้ นต่างๆ ทำให้ประเทศมีการพฒั นาและมคี วามเจรญิ รงุ่ เรือง บุคคลทีส่ ขุ ภาพดี จะเป็นผทู้ ่ีไม่เจ็บป่วย สามารถทำกิจวตั ร ประจำวันของตนและครอบครวั ได้อยา่ งเปน็ ปกติ ประกอบอาชีพได้เต็มกำลงั ความสามารถ ร่างกายไมอ่ ยู่ใน สภาวะที่เสยี่ งต่อการเกิดโรคหรอื เจ็บปว่ ยได้งา่ ย ร่างกายที่ความตา้ นทานโรคสงู สามารถปรบั ตนเองทางด้าน ร่างกายและสภาวะด้านจติ ใจให้เขา้ กับสภาพแวดลอ้ มได้เป็นอย่างดี มีการร้จู ักป้องกันตนเองไม่ให้ประสบ อบุ ัตเิ หตแุ ละอุบัติภัยตา่ งๆ ทั้งรจู้ ักการสง่ เสริมสุขภาพให้กับตนเอง รวมถงึ การดูแล สง่ เสรมิ บำรุง รกั ษา สขุ ภาพรา่ งกายใหม้ ีการกินดี อยดู่ ี การมีทอี่ ยู่อาศยั ท่สี ะอาดมีอากาศถา่ ยเทสะดวก ไม่มีมลพษิ ต่างๆ ใน สง่ิ แวดลอ้ ม รูจ้ กั การรักษาอนามยั สว่ นบุคคล รักษาความสะอาดของร่างกาย การรับประทานอาหารท่ีมี

7 ประโยชน์จำนวนเพยี งพอ มกี ารออกกำลงั กายตามความเหมาะสม จงึ จะเหน็ ได้วา่ ในการพัฒนาประเทศลำดับ แรกจะต้องมีการพัฒนาคนหรือประชาชนในชาติซึ่งถอื วา่ เป็นทรพั ยากรมนุษย์ทมี่ ีคุณค่าอยา่ งยิ่ง จุดเรม่ิ ต้นของ การพัฒนาจึงม่งุ ไปท่ชี ุมชนจะต้องสร้างใหเ้ กิดศักยภาพเกิดชุมชนเข้มแข็งในการพัฒนาด้านความรู้ สขุ ภาพ และการมสี ว่ นรว่ มของชมุ ชน สขุ ภาพของคนในชุมชนยงั เชือ่ มโยงกับระบบอ่นื ๆ ของประเทศ ดังนี้ ก. ระบบการศึกษา คนที่มสี ขุ ภาพดี มคี วามสมบรู ณท์ ัง้ ทางด้านร่างและจิตใจย่อมมีโอกาสได้รบั การศึกษาทด่ี ี มกี ารพัฒนาตนเอง จะทำให้รู้จักรักษาดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ตลอดจนให้คำแนะนำ แก่คนอ่ืนๆ ในชมุ ชนท่ีอย่ใู กล้ชิด ทำใหม้ ีการสรา้ งสุขนิสัยที่ดี ข. ผลผลติ ทางด้านการเกษตร การทป่ี ระชาชนมสี ขุ ภาพดี ไมม่ โี รคภยั ไขเ้ จบ็ ทำใหก้ ารใช้แรงงานใน ภาคเกษตรกรรมดำเนินไปได้อยา่ งเต็มที่ และมีประสทิ ธภิ าพ ทำให้ไดผ้ ลผลิตมาก ค. ระบบเศรษฐกิจ เม่ือประชาชนมีสุขภาพดสี ามารถประกอบอาชีพได้อย่างเปน็ ปกติ มรี ายไดส้ ำหรบั ใช้จา่ ยในครอบครัว ครอบครวั ไม่เปน็ ภาระค่าใช้จ่ายในการรกั ษาพยาบาลทำให้ครอบครัวมั่นคง ประเทศชาติ ไม่ต้องเสยี ดุลการคา้ กบั ต่างประเทศ เพราะวา่ ไม่ต้องสง่ั ซ้ือยาและเวชภณั ฑ์เพื่อใช้ในการรักษาพยาบาลกบั ประชาชน ถ้าตรงกนั ขา้ มประชาชนมีสุขภาพไม่ดี ย่อมจะประสบปญั หาเก่ยี วกับการหารายไดเ้ ล้ียงครอบครวั ตอ้ งเปน็ ภาระของครอบครัว ญาติพ่ีน้อง ประเทศชาตอตอ้ งสญู เสยี งบประมาณในการรักษาพยาบาล ทำใหเ้ กิด การเสียดลุ การค้า เพราะวา่ ว่าและเวชภัณฑห์ ลายชนดิ ประเทศไทยตอ้ งนำเขา้ จากตา่ งประเทศ ง. ระบบบริการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขได้วางแผนในการแก้ไขปัญหาดา้ นสขุ ภาพอนามยั มาโดยตลอด ตั้งแต่แผนพัฒนาการสาธารณสุขฉบบั ท่ี 1–8 และแผนพัฒนาสุขภาพแหง่ ชาติ ฉบบั ที่ 10 ถึง ฉบับ ปจั จบุ นั มกี ารขยายสถานบริการในทุกระดบั ปรับเปล่ียนโครงสร้างของหนว่ ยงาน การเพ่ิมอัตรากำลังเจา้ หน้าที่ และด้านอ่ืนๆ อีกมากมาย และใช้งบประมาณในการดำเนนิ งานแต่ละปจี ำนวนมาก ถ้าหากการดำเนินงานท่ี ผา่ นมาบรรลตุ ามวตั ถุประสงค์ ประชาชนมกี ารดูแลตนเองด้านสุขภาพทด่ี ีจะทำให้มสี ุขภาพดแี ละเกดิ การ พงึ่ ตนเองดา้ นสขุ ภาพ การจัดบรกิ ารดา้ นสาธารณสุขอาจทบทวนภารกจิ การเปลีย่ นแปลงระบบบริการ รฐั อาจ เปลีย่ นแปลงเป็นเพยี งผใู้ ห้การสนบั สนนุ แนะนำ การใช้งบประมาณด้านสาธารณสขุ และสุขภาพจะลดลง ในการพัฒนาประเทศชาติตามแผนพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คมแหง่ ชาติฉบับปัจจบุ ันได้มี เปา้ หมายการพัฒนาวา่ สังคมมคี วามสุขอย่างยั่งยืน ภายใต้การพฒั นาอยา่ งสมดลุ ของทนุ ทางเศรษฐกจิ ทุนทาง สังคม และทนุ ทางทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดล้อม โดยเนน้ หลกั ทางสายกลาง ความสมดลุ และย่ังยืน ความพอประมาณอยา่ งมีเหตุผล การมีภูมคิ ุ้มกันและรู้เท่าทนั โลก ตลอดจนการเสริมสร้างคุณภาพคน ปรัชญานำทาง “เศรษฐกิจพอเพยี ง” ยดึ ทางสายกลาง มคี วามสมดุลพอดี รจู้ ักพอประมาณ การมเี หตผุ ล มีระบบภูมิคุ้มกนั รู้เทา่ ทัน โลกระบบสขุ ภาพพอเพยี ง มรี ากฐานทเ่ี ข้มเข็งจากการมีความพอเพียงทางสขุ ภาพในระดับครอบครวั และชมุ ชน

8 มคี วามรอบคอบและร้จู ักประมาณอย่างมีเหตุผลในดา้ นการเงินการคลงั เพ่ือสุขภาพในทุกระดับ มกี ารใช้ เทคโนโลยที ่เี หมาะสมและใช้อยา่ งรู้เท่าทันโดยเน้นภมู ิปัญญาไทยและการพึง่ ตนเอง มีบูรณาการดา้ นการ ส่งเสริมสขุ ภาพ ป้องกนั โรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟสู ภาพและค้มุ ครองผู้บรโิ ภค มีระบบภมู ิคุ้มกันท่ีให้ หลักประกนั และคุ้มครองสุขภาพ มีคุณธรรม จริยธรรมซือ่ ตรง ไมโ่ ลภมาก และรจู้ ักพอ เมอ่ื วเิ คราะห์ สงั เคราะหป์ ญั หาและแนวโนม้ ของระบบสุขภาพไทยทส่ี ัมพนั ธก์ บั การเปล่ียนแปลง ของปัจจยั แวดล้อมทเ่ี ปน็ ทุนทางเศรษฐกิจ สงั คม และทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อ สุขภาพ ทัง้ ในบริบทภายในประเทศและภายใต้กระแสโลกาภวิ ัตนท์ เ่ี ปลยี่ นแปลงไปอย่างรวดเรว็ และรอบด้าน อาทิ กระแสโลกาภิวัตน์ ทุนนิยมโลก การค้าเสรี แบบแผนการดำเนนิ ชีวติ และการบริโภค โครงสรา้ งประชากร และการเคล่อื นย้าย เทคโนโลยีข้อมลู ขา่ วสารการแพทยแ์ ละชวี ภาพ ระบาดวทิ ยาใหม่ ความรุนแรง ภยั พบิ ตั ิ และโรคอบุ ัติการณ์ใหมๆ่ การเปลี่ยนแปลงดา้ นการเมืองและการบรหิ ารของภาครฐั และการเปลีย่ นแปลงดา้ น ธรรมชาติและสง่ิ แวดลอ้ ม ดังภาพประกอบ 1

9 กระแสโลกาภวิ ฒั น์ ทนุ นยิ มโลก การคา้ เสรี แบบแผนการดำเนินชวี ิต ทนุ ด้านต่างๆ โครงสรา้ งประชากร และการบรโิ ภค ในสังคมไทย และการเคลอื่ นยา้ ย เทคโนโลยขี ้อมลู ข่าวสาร สุขภาวะ ระบาดวทิ ยาใหมค่ วามรนุ แรง การแพทยแ์ ละชีวภาพ ภยั พบิ ัติ และโรคอบุ ัติใหม่ การเปลยี่ นแปลงดา้ นการเมือง การเปลีย่ นแปลงด้านธรรมชาติ การบริหารของภาครัฐ และส่ิงแวดล้อม ภาพประกอบ 1 สขุ ภาพกบั การเปล่ยี นแปลงในสังคมไทย (ที่มา : สำนักนโยบายและแผน สำนกั งานปลัดกระทรวงสาธารณสขุ . 2550 : 7) ประเทศไทยจึงได้จัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติขึ้น ในปัจจบุ นั เป็นแผนพัฒนาสขุ ภาพ แห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) การจดั ทำแผนพฒั นาประเทศของไทยนบั ตง้ั แตแ่ ผนพัฒนาฯ ฉบบั ท่ี 1 จนถงึ ฉบบั ที่ 10 มี พฒั นาการมาอย่างตอ่ เนื่องภายใตส้ ถานการณ์ เง่อื นไข และการเปลีย่ นแปลงในมิติต่าง ๆ ทงั้ ภายในและ ภายนอกประเทศ แผนพัฒนาฯ ฉบบั ท่ี 8 (พ.ศ. 2540-2544) เป็นจุดเปลี่ยนสำคญั ของการวางแผนพัฒนา ประเทศท่ใี ห้ความสำคัญกับการมีส่วนรว่ มของทุกภาคสว่ นในสงั คม และมงุ่ ให้ “คนเป็นศูนยก์ ลางการพัฒนา” พรอ้ มทง้ั ปรับเปลย่ี นวธิ ีการพัฒนาเปน็ บูรณาการแบบองคร์ วมเพ่อื ให้เกิดการพฒั นาที่สมดลุ ตอ่ มาแผนพัฒนาฯ ฉบบั ท่ี 9 (พ.ศ. 2545-2549) ได้อญั เชญิ “ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญานำทางในการพฒั นา และบรหิ ารประเทศ ควบคู่ไปกบั กระบวนทศั น์การพัฒนาแบบบรู ณาการเปน็ องคร์ วมท่ีมี “คนเปน็ ศูนย์กลาง การพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนา ฯ ฉบบั ท่ี 8 สำหรับแผนพฒั นาฯ ฉบับท่ี 10 (พ.ศ. 2550-2554) ยงั คง นอ้ มนำ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง” มาเปน็ แนวทางปฏบิ ัติ และให้ความสำคัญกบั การพฒั นาทีย่ ดึ “คน เปน็ ศนู ย์กลางการพัฒนา” ต่อเนือ่ งจากแผนพฒั นา ฯ ฉบับท่ี 8-9 และการพัฒนาทส่ี มดุลท้ังคน สงั คม เศรษฐกจิ และส่ิงแวดล้อมโดยมกี ารเตรียม “ระบบภูมิคุ้มกัน” ด้วยการเสรมิ สร้างความเขม้ แข็งของทนุ ท่ีมีอยู่ ในประเทศและการบรหิ ารจดั การความเส่ยี งให้พร้อมรับผลกระทบจากการเปลีย่ นแปลงท้งั ภายนอกและ

10 ภายในประเทศเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ย่ังยนื และความอยู่เย็นเปน็ สุขของคนไทยทุกคนในระยะของแผนพฒั นา ฯ ฉบับที่ 10 สงั คมไทยไดน้ ้อมนำหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียงไปประยุกต์ใช้อยา่ งกว้างขวางทุกภาคส่วน ส่งผลให้ประเทศไทยเข้มแข็ง มีภูมคิ ุม้ กนั สงู ข้นึ ในหลายดา้ นและสามารถปรับตวั รบั กบั ภาวะวิกฤตเศรษฐกจิ โลก ไดอ้ ยา่ งมีประสิทธิภาพ คณุ ภาพชีวิตของคนไทยดีข้ึน มีหลักประกนั ความมน่ั คงทางเศรษฐกิจและสงั คมทีห่ ลากหลาย และความยากจนลดลง แตต่ ้องให้ความสำคัญตอ่ เนื่องกบั การพัฒนาคุณภาพคนและสงั คม การสรา้ งความ ปลอดภยั ในชวี ติ และทรัพยส์ นิ และความโปรง่ ใสในการบริหารจดั การภาครฐั รวมท้ังการสนบั สนนุ ใหเ้ กิดการ แขง่ ขนั ทเี่ ปน็ ธรรมและการกระจายผลประโยชนจ์ ากการพัฒนา เพ่ือลดความเหล่ือมลำ้ ในสังคมไทย การพัฒนา ในระยะแผนพฒั นา ฯ ฉบับท่ี 11 (พ.ศ. 2555-2559) ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่ สำคัญทงั้ ภายนอกและภายในประเทศทีป่ รบั เปลยี่ นเร็วและซับซ้อนมากย่ิงข้นึ เปน็ ท้ังโอกาสและความเสีย่ งต่อ การพฒั นาประเทศ โดยเฉพาะข้อผูกพนั ทจี่ ะเปน็ ประชาคมอาเซียนในปี 2558 จงึ จำเป็นต้องนำภูมิคุ้มกนั ที่มีอยู่ พร้อมท้ังเร่งสร้างภูมิคุม้ กนั ในประเทศให้เข้มแขง็ ขึน้ มาใชใ้ นการเตรยี มความพร้อมให้แก่คน สังคม และระบบ เศรษฐกิจของประเทศให้สามารถปรับตวั รองรบั ผลกระทบจากการเปลีย่ นแปลงได้อย่างเหมาะสม สามารถ พัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าตอ่ ไปเพ่ือประโยชนส์ ขุ ท่ยี ่ังยืนของสงั คมไทยตามปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง แผนพฒั นาสุขภาพแห่งชาติ ฉบบั ที่ 11 มีสาระสำคัญสรปุ ไดด้ งั นี้ 1. หลกั การ: ม่งุ พฒั นาภายใตห้ ลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง สรา้ งเอกภาพและธรรมาภบิ าล ในการอภบิ าลระบบสขุ ภาพ ให้ความสำคญั กับการสร้างกระบวนการการมสี ว่ นรว่ มของทุกภาคสว่ นในสงั คม ม่งุ เน้นการสรา้ งหลกั ประกนั และการจัดบรกิ ารที่ครอบคลุม เป็นธรรม เห็นคุณคา่ ของการสรา้ งความสมั พนั ธท์ ่ีดี ระหวา่ งผู้ใหแ้ ละผูร้ ับบรกิ าร 2. วสิ ัยทัศน:์ ประชาชนทุกคนมีสขุ ภาพดี รว่ มสรา้ งระบบสุขภาพพอเพยี ง เป็นธรรม นำสู่สงั คมสุข ภาวะ 3. พนั ธกิจ: พัฒนาระบบสุขภาพพอเพียงโดยยึดหลักธรรมาภิบาล สรา้ งภูมคิ มุ้ กนั ต่อภัยคุกคาม และสร้างเสรมิ การมสี ว่ นรว่ มของทกุ ภาคสว่ น รวมถงึ การใช้ภูมิปญั ญาไทย 4. เปา้ ประสงค์: 1) ประชาชน ชุมชน ทอ้ งถิ่น และภาคเี ครือขา่ ยมีศักยภาพ และสามารถสรา้ งเสริม สุขภาพ ปอ้ งกันโรค ลดการเจ็บปว่ ยจากโรคทีป่ ้องกันได้หรือโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ มกี ารใช้ภูมิ ปญั ญาไทยและมสี ่วนรว่ มจัดการปัญหาสขุ ภาพของตนเองและสงั คมได้

11 2) มรี ะบบเฝ้าระวังและเตือนภยั ที่ไวพอ ทนั การณ์ และสามารถจดั การปัญหาภัยคกุ คาม สุขภาพได้อยา่ งมีประสิทธภิ าพ 3) มีระบบสุขภาพเชงิ รุกทีม่ ีประสิทธภิ าพ มงุ่ เน้นการสง่ เสริมสุขภาพ ปอ้ งกนั ควบคุมโรค และการคุ้มครองผ้บู ริโภคดา้ นสขุ ภาพ 4) มีระบบบริการท่ีมีคณุ ภาพมาตรฐาน สามารถตอบสนองต่อความต้องการตามปัญหา สขุ ภาพ และมีความสมั พันธท์ ี่ดรี ะหวา่ งผู้ใหแ้ ละผ้รู บั บริการ 5) มรี ะบบบรหิ ารจัดการและการเงินการคลังดา้ นสุขภาพอยา่ งมีประสิทธิภาพและเปน็ เอกภาพ

12 5. ยทุ ธศาสตรก์ ารพัฒนาสุขภาพ กำหนดไว้ 5 ยุทธศาสตร์ ดงั นี้ ยุทธศาสตร์ท่ี 1 : เสรมิ สร้างความเข้มแขง็ ของภาคีสุขภาพในการสรา้ งสุขภาพ ตลอดจนการ พงึ่ พาตนเองด้านสุขภาพบนพ้ืนฐานภมู ปิ ัญญาไทย: ให้ความสำคญั กับการส่งเสรมิ บทบาทของประชาชน ชุมชน ทอ้ งถิน่ และภาคีเครอื ขา่ ยสขุ ภาพใหม้ ีศักยภาพ มีความเข้มแข็ง ในการสง่ เสรมิ สขุ ภาพ ป้องกนั โรค มวี ัฒนธรรม การดแู ลรักษาสขุ ภาพที่ดที ง้ั ในระดับบุคคล ครอบครวั และช่วยเหลือเก้ือกูลกันในสังคม มีจิตสำนึกและรว่ ม สรา้ งส่ิงแวดลอ้ มทต่ี ่อสขุ ภาพ มกี ระบวนการจัดการปัญหาสุขภาพชมุ ชน ท้องถ่ินของตนเอง โดยการมสี ่วนรว่ ม ของทุกฝา่ ยทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน นักวชิ าการ และภาคประชาสงั คม โดยใช้ข้อมลู ที่ครบถว้ น รอบด้าน การหา ทางออกรว่ มกันอย่างสมานฉันท์ ตลอดจนการพัฒนาความรว่ มมือระหว่างประเทศใหเ้ ข้มแขง็ ทง้ั ในระดบั โลก ภูมิภาคและชายแดน พัฒนาศักยภาพวิถีการดแู ลสขุ ภาพจากภูมปิ ญั ญาไทยให้มคี วามปลอดภัย มคี ณุ ภาพและ เปน็ ทีjยอมรับ พัฒนาระบบการเรยี นรู้ และการจัดการความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พนื้ บา้ น และ การแพทยท์ างเลือกใหม้ ีมาตรฐาน ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยที ี่เหมาะสมดา้ นการแพทยแ์ ผนไทยในการตรวจ และรักษาโรคให้มากขึน้ ตลอดจนสง่ เสรมิ การวิจยั และพัฒนาเพือ่ การพึ่งพาตนเองดา้ นสุขภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาระบบเฝ้าระวงั เตอื นภัย และการจดั การภยั พิบตั ิ อุบตั เิ หตแุ ละภัย สุขภาพ: ให้ความสำคัญกับการเตรียมพร้อมรับภยั พบิ ัติ เชน่ อทุ กภยั ดินโคลนถล่ม แผน่ ดินไหว สารพษิ สารเคมี การก่อการร้าย การจลาจล ฯลฯ การเกิดโรคระบาดต่างๆ ทัง้ ที่อบุ ัติใหมแ่ ละอุบัติซ้ำ สารกอ่ อนั ตราย ในสิ่งแวดลอ้ ม ในอาหาร สงิ่ แวดล้อมเปน็ พิษ อบุ ตั เิ หตุ ตลอดจนภยั สขุ ภาพอ่นื ๆ พฒั นาระบบการเฝา้ ระวัง เตือนภยั และการจดั การภัยพิบัติ ภยั สขุ ภาพ ตลอดจนการฟื้นฟสู ภาพภายหลงั การเกดิ ภัยพบิ ตั ิ อบุ ตั เิ หตุและ ภยั สขุ ภาพ ยุทธศาสตร์ท่ี 3 : มุ่งเนน้ การส่งเสรมิ สุขภาพ การป้องกัน ควบคุมโรค และคุม้ ครองผู้บริโภค ด้าน สุขภาพ เพื่อให้คนไทยแข็งแรงทงั้ ร่างกาย จติ ใจ สงั คม และปญั ญา: ใหค้ วามสำคัญกบั การพฒั นาระบบ สุขภาพเชงิ รุกโดยการส่งเสรมิ สุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรคและระบบการค้มุ ครองผบู้ รโิ ภคที มีประสทิ ธิผล เพ่ิมสดั ส่วนการลงทุนในดา้ นการสง่ เสริมสุขภาพและป้องกันโรคใหม้ ากข้ึนสรา้ งจิตสำนกึ ด้าน สุขภาพให้สังคมมีการต่ืนตวั ใหค้ วามสำคัญต่อสขุ ภาพ มีการสร้างนโยบายสาธารณะท่ีดีมีความปลอดภัยด้าน อาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ โภชนาการการประกอบอาชพี สร้างสิ่งแวดลอ้ มทเ่ี กอื้ กูลตอ่ สุขภาพ การพัฒนา ระบบการสง่ เสรมิ สุขภาพสำหรับประชาชนทกุ กลุ่มอายุ ส่งเสริมพัฒนาการเดก็ ไทย ทั้งรา่ งกาย จติ ใจ และ สติปัญญา พฒั นาระบบ การควบคมุ ป้องกนั การใช้สารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติด และเฝ้าระวังการแพร่ ระบาดของยาเสพตดิ ชนดิ ใหม่ พฒั นาและสง่ เสริมการใช้แนวปฏบิ ัตดิ ้านพฤติกรรมสขุ ภาพสำหรับประชาชน สร้างมาตรการทางสงั คมในการควบคุมพฤตกิ รรมเสี่ยงทางสุขภาพท่ีสำคัญ ส่งเสรมิ การออกกำลงั กายและการ มีสขุ ภาพจิตทดี ี

13 ยุทธศาสตรท์ ี่ 4 : เสริมสร้างระบบบรกิ ารสขุ ภาพใหม้ ีมาตรฐานในทกุ ระดับเพ่ือตอบสนองตอ่ ปญั หา สขุ ภาพในทุกกล่มุ เป้าหมาย และพฒั นาระบบส่งต่อทไี่ รร้ อยต่อ: ให้ความสาํ คัญกับการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานและการใหบ้ รกิ ารในทุกระดับให้ได้มาตรฐาน ประชาชนเขา้ ถงึ บริการได้อย่างมคี ุณภาพ ทั้งภาวะ ปรกตแิ ละฉกุ เฉิน มกี ารกระจายทรัพยากรสขุ ภาพทีเ่ หมาะสม โดยมบี คุ ลากรดา้ นการแพทยแ์ ละสาธารณสขุ ที เพียงพอในทุกระดบั มีการใชเ้ ทคโนโลยที างการแพทย์อยา่ งเหมาะสม พฒั นาความเชยี่ วชาญด้านการแพทย์ เฉพาะทางให้ครอบคลมุ พน้ื ที่ตามความจาํ เปน็ ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้สะดวก มคี ุณภาพ มาตรฐาน ท่ดี ีในทุกระดับ จดั บริการสขุ ภาพในกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ได้แก่ เดก็ สตรี ผสู้ งู อายุ คนพิการ คนชายขอบ พฒั นาการเขา้ ถึงบริการ ระบบบรกิ ารการแพทย์ฉกุ เฉนิ ให้ครอบคลุมมากขึ้น พฒั นาระบบส่งตอ่ โดยประชาชน ไม่ถูกปฏิเสธการสง่ ต่อและได้รบั การดูแลทด่ี ีระหว่างการสง่ ต่อ ใหค้ วามสาํ คญั กบั ความปลอดภัยของผปู้ ่วยใน การรบั บรกิ าร ขยายขดี ความสามารถในการบําบัดรกั ษา ยาเสพติด สรา้ งกลไกเพ่อื สร้างความสัมพันธ์ทีด่ ี และ การไกล่เกลี่ยลดความขัดแยง้ ระหว่างผูร้ ับบริการและผูใ้ หบ้ ริการเมอ่ื เกดิ ภาวะไม่พึงประสงค์ สนับสนนุ ให้เกดิ ความเข้าใจทีถ่ ูกต้องตรงกันระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนในเร่ืองกระบวนการรักษาสิทธิ ประโยชนแ์ ละความคาดหวัง เพื่อให้ผบู้ ริการสามารถปฏิบตั งิ านอยา่ งมคี วามสขุ และผรู้ ับบรกิ ารมีความพงึ พอใจ ยุทธศาสตร์ท่ี 5 : สรา้ งกลไกกลางระดับชาติในการดูแลระบบบริการสุขภาพ และพัฒนาระบบ บริหารจัดการทรัพยากรให้มีประสทิ ธิภาพ: ให้ความสำคัญกบั การสร้างกลไกการบริหารจดั การระบบสุขภาพให้ เกิดความเปน็ เอกภาพ มธี รรมาภิบาล จดั ตัง้ กรรมการนโยบายระบบบรกิ ารสุขภาพแหง่ ชาติ (National Health Service Delivery Board) เพ่ือวางระบบบริการของประเทศ สรา้ งความสมดุลระหวา่ งผ้ซู ือ้ และผใู้ ห้ บรกิ าร กำหนดทิศทางการเงินการคลังด้านสขุ ภาพของประเทศได้อย่างมปี ระสทิ ธภิ าพลดความเหล่ือมล้ำของ 3 กองทนุ (กองทุนสวัสดิการข้าราชการ กองทุนหลักประกันสขุ ภาพถว้ นหน้า และกองทุนประกนั สังคม) พฒั นาระบบการดแู ลสขุ ภาพแรงงานขา้ มชาติ บริหารจดั การทรพั ยากรใหม้ ีการกระจายอย่างเหมาะสม เรง่ ผลิตและพัฒนากำลงั คนดา้ นสุขภาพให้มีปริมาณเพยี งพอและมคี ุณภาพ มีการกระจายกำลังคนท่ีเหมาะสม เปน็ ธรรมและท่ัว ถงึ มีระบบขอ้ มลู สขุ ภาพ ท่แี มน่ ยำ ครบถว้ น ทนั เวลาสามารถใชป้ ระโยชนไ์ ด้ สร้างระบบงาน ใหส้ ามารถสร้างกำลงั ใจและแรงจงู ใจใหบ้ ุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสขุ มคี วามสุขและเหน็ คุณคา่ ของ การทำงาน ส่งเสริมให้ภาคเอกชนเขา้ มามสี ว่ นรว่ มในการบริการดา้ นสุขภาพ (Public Private Partnership : PPP) สร้างกลไกการบรู ณาการแผนงาน/โครงการ กจิ กรรมและการใชท้ รัพยากรร่วมกันระหว่างหนว่ ยงานดา้ น การแพทยแ์ ละสาธารณสขุ ท้ังภาครฐั และเอกชน รวมถึงองคก์ รต่างๆในระดับทอ้ งถิน่ สนับสนนุ การวจิ ัยดา้ น การแพทย์ และสาธารณสุขทเ่ี ป็นปญั หาทสี่ ำคญั ของประเทศ ตลอดจนการนำความร้มู าใช้ในการพัฒนางาน สรุปวา่ สขุ ภาพของคนในชาติเปน็ ส่งิ จำเป็นทร่ี ัฐต้องมกี ารวางแผนและจดั การใหค้ นในชาติทุก คนมีสภาวะสขุ ภาพที่สมบูรณ์ทัง้ ทางด้านร่างกายและจิตใจ เพ่อื ให้เกดิ การพัฒนาตนเอง ครอบครัว สงั คม และ

14 ประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าสบื ไป ทำให้เกิดทรัพยากรมนุษย์ทีม่ ีคุณค่าและสามารถไปพัฒนาประเทศสรา้ ง รายได้เข้าประเทศจำนวนมหาศาล ส่งผลให้ประเทศชาตเิ กิดการพฒั นาในดา้ นตา่ งๆ ทุกๆ ด้าน ประชาชนมี สุขภาพดี และสุขภาพดถี ว้ นหน้า บรรลุคณุ ภาพชีวิตที่ดี สง่ ผลใหส้ งั คมอย่เู ยน็ เป็นสุขรว่ มกัน สง่ ผลใหป้ ระชาชน ในชาตทิ ุกคน อยดู่ ี มสี ุข และอย่ใู นสงั คมอย่างมคี ุณคา่ ประเทศชาตมิ ีประชากรที่มคี ณุ ภาพเปน็ ทรัพยากร มนุษยท์ ม่ี ีคุณคา่ และประสิทธิภาพตอ่ ไป

15 3. สถานการณป์ ญั หาสุขภาพและโรคภยั ไขเ้ จ็บ การทบทวนสถานการณ์และแนวโน้มการพัฒนาสาขาสุขภาพได้ศึกษาจากรายงานแผนพัฒนา สุขภาพแหง่ ชาติในชว่ งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหง่ ชาติ ฉบับท่ี 11 (พ.ศ.2555-2559) กระทรวง สาธารณสุข มีรายละเอยี ดดังนี้ สถานะสขุ ภาพคนไทย 1) อายุคาดเฉล่ีย (Life Expectancy: LE) หมายถึง การคาดประมาณอายุโดยเฉล่ียของ ประชากรท่ีคาดว่าจะมีชวี ติ อย่ซู ึง่ อายุคาดเฉล่ียของคนไทยมีแนวโนม้ ยืนยาวขึ้น ผู้ชายจะมีอายุคาดเฉลย่ี 69.1 ปี ใน พ.ศ. 2553 เพิ่มเปน็ 71.1 ปี ใน พ.ศ. 2563 และผูห้ ญิงจะมีอายุคาดเฉลี่ย 75.7 ปี เพม่ิ เปน็ 77 ปี ตามลำดบั (รายงานการฉายภาพประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2548–2568, สถาบนั วิจัยประชากรและ สงั คม มหาวทิ ยาลยั มหิดล) สำหรับอายุคาดเฉลี่ยของการมีสขุ ภาพดี (Health Adjusted Life Expectancy: HALE) ซึง่ หมายถึง การคาดประมาณจาํ นวนปีโดยเฉลยี่ ของการมชี วี ติ อยู่ของประชากร โดยปรับค่ารว่ มกบั ระดบั สถานะสขุ ภาพในแต่ละชว่ งชีวติ ซ่ึงมกี ารให้น้ำหนกั ตั้งแต่ 0 ซ่ึงหมายถึง “การตาย” ไปจนถึง 1 ซ่ึง หมายถึง “สุขภาพสมบูรณ์ที่สุด”จํานวนปเี ฉลี่ยของการมีชวี ิตอยจู่ ะถูกปรับค่าใหล้ ดลง หากประชากรทกุ คน ไม่ได้มีสขุ ภาพที่สมบรู ณ์ทีส่ ุด ซึ่งผลการคาดประมาณจำนวนปโี ดยเฉลยี่ ของการมชี วี ิตอยู่ของประชากร มี แนวโน้มเพ่ิมข้นึ พ.ศ. 2545 ผชู้ ายเทา่ กบั 57.7 ปี เพ่ิมเปน็ 59 ปี ใน พ.ศ. 2552 และผู้หญิงกบั 62.4 ปี เพม่ิ เป็น 68 ปี ตามลำดบั (คณะทำงานการศึกษาภาระโลกและปจั จัยเส่ียง พ.ศ. 2547) อย่างไรก็ตาม ระยะห่าง ระหว่างปีทมี ีสขุ ภาพดี กบั อายคุ าดเฉลยี่ ยังมากอยู่ แสดงว่าอายยุ นื ยาวมคี วามเจบ็ ป่วย 2) การสูญเสียปสี ุขภาวะ โดยความหมายของปีสุขภาวะ คือ ปที ม่ี สี ุขภาพสมบรู ณ์มชี วี ติ ตามปกติ สว่ นปสี ุขภาวะทีส่ ูญเสียปรับด้วยความบกพร่องทางสุขภาพ หรอื Disability-adjust life years (DALYs) เป็นความสูญเสียท่เี กิดมาจากการตายก่อนวัยอนั ควรและความสญู เสียจากการเจบ็ ป่วยหรือพิการ ซ่ึง ผชู้ ายไทยสูญเสยี ปสี ขุ ภาวะสงู สดุ จากการติดสุรา อบุ ตั เิ หตจุ ราจร และโรคหลอดเลอื ดสมอง ซึง่ มีการ เปล่ยี นแปลงอนั ดบั แรกของการสญู เสยี ปสี ุขภาวะจากการติดเชอ้ื เอช ไอ วี /เอดส์ ใน พ.ศ. 2547 เปน็ การติด สรุ า ใน พ.ศ. 2552 สำหรับผูห้ ญิงไทยมีการสูญเสยี ปสี ุขภาวะสูงสดุ จากโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะซึมเศร้า ซง่ึ ตา่ งจาก พ.ศ. 2547 ที่มีการเปลี่ยนแปลงอนั ดบั ของการสูญเสียปสี ุขภาวะจากการติดเชื้อ เอช ไอ วี /เอดส์ เปน็ ภาวะซึมเศรา้ เป็นทนี่ ่าสังเกตวา่ การติดเชอ้ื เอช ไอ ว/ี เอดส์ ทเี คยเปน็ สาเหตหุ ลักของ การสูญเสยี ปีสขุ ภาวะกลบั มีอันดับลดลงทงั้ ในผู้ชายและผู้หญงิ โดยพบว่าสาเหตหุ ลักของการสูญเสียปสี ขุ ภาวะ ทั้งในผูช้ ายและผหู้ ญงิ ไทย มาจากโรคไม่ติดตอ่ และโรคเรื้อรัง 3) สาเหตกุ ารตาย จากการคาดประมาณแนวโน้มการตายด้วยโรคต่างๆ ของประชากรไทย ใน พ.ศ. 2537–2552 โดยใช้สาเหตกุ ารตายโดยตรงจากมรณบัตร พบวา่ ในอกี 10 ปีขา้ งหน้า (พ.ศ. 2562)

16 อบุ ัติเหตุจราจร มะเรง็ ตบั และหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตกุ ารตายท่ีพบสงู สุดในผ้ชู ายไทย ขณะทีเ่ บาหวาน หลอดเลือดสมอง และมะเรง็ ตบั เป็นสาเหตุการตายท่ีพบมากทีส่ ดุ ในผูห้ ญงิ ไทย จะเหน็ ได้วา่ โรคไมต่ ิดต่อ โดยเฉพาะกล่มุ โรคหวั ใจและหลอดเลอื ด มะเร็ง และเบาหวาน เป็นปญั หาสำคัญท่ีทำให้คนไทยเสยี ชวี ิตเพ่ิม ข้นึ ซ่ึงสอดคลอ้ งกบั สถานการณ์การเจ็บป่วยที่สำคัญของคนไทยท่ีพบว่าแนวโนม้ การเจบ็ ป่วยดว้ ยโรคเร้อื รังท่ี ปอ้ งกันได้ เพิ่มข้ึนมาตลอดใน 2 ทศวรรษทผี่ ่านมา 4) อตั ราการฆ่าตวั ตายมีแนวโนม้ ลดลง ตงั้ แต่ พ.ศ. 2544 จนถงึ พ.ศ. 2553 พบวา่ อัตราการ ฆา่ ตวั ตายในประเทศไทย จาก พ.ศ. 2544 มีอัตราการฆ่าตวั ตาย 7.68 ต่อประชากรแสนคน ลดลงอยา่ ง ต่อเนอ่ื งเป็นลำดบั จนถงึ พ.ศ. 2553 มอี ตั ราการฆ่าตวั ตาย 5.90 ตอ่ ประชากรแสนคน (โครงการช่วยเหลือผู้ที่ เสย่ี งตอ่ การฆา่ ตวั ตาย SUICIDETHAI.COM) อยา่ งไรกต็ ามยังพบว่า การฆ่าตัวตายเป็นปัญหามากในบางพน้ื ที่ เช่น ภาคเหนือตอนบน 5) โรคติดเชือ้ อุบัติใหม่ หรือ โรคตดิ เชือ้ อบุ ตั ิซำ้ (Emerging Infectious Diseases, EID) คอื โรคทเ่ี กิดจากสาเหตุการติดเช้ือโรคหรือโรคที่ตดิ ตอ่ กนั ได้ ทม่ี กี ารอุบตั ิเกิดเพ่ิมมากขึ้นในช่วงระยะเวลา 20 ปที ี่ผ่านมา และมีการคาดการณว์ า่ จะเปน็ ภยั คุกคามมากข้ึนแก่มนุษยชาติในอนาคตต่อไป โรคติดเชือ้ อบุ ตั ิใหมม่ ีแนวโน้มทวคี วามรุนแรงมากขน้ึ และมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกจิ และสขุ ภาพ ของประชาชนทั่วโลกอย่างมหาศาล (ปัญหาครง้ั หลงั สุดคือ การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพนั ธใุ์ หม่ H1N1 2009 ใน พ.ศ. 2552) ในสามทศวรรษท่ีผ่านมา โรคตดิ ตอ่ อุบตั ใิ หมท่ เ่ี กดิ ข้ึน สว่ นใหญร่ อ้ ยละ 75 เป็น โรคตดิ ตอ่ จากสตั วส์ ่คู น โดยเฉพาะอยา่ งย่ิงทเ่ี ก่ียวขอ้ งกับสัตวป์ ่าไมว่ า่ จะเป็นไขห้ วัดนกท่ีมีความเก่ยี วข้องกบั นก อพยพและนกป่าตามธรรมชาตแิ ละโรคซาร์สท่ีมาจากชะมด ปัจจุบันทวั่ โลกให้ความสนใจเกยี่ วกบั ความสัมพันธ์ ส่ิงมชี วี ติ ในระบบนเิ วศ (Ecological Health) ซ่ึง ประกอบดว้ ยความสมั พนั ธร์ ะหว่างสขุ ภาพของระบบนเิ วศ (Ecosystem Health) สขุ ภาพของมนุษย์ (Human Health) และสุขภาพของสัตว์ (Animal Health) เป็น การจัดการเชงิ บรู ณาการเกย่ี วกับความสัมพันธข์ องการเกดิ โรคในคน การเกดิ ในสัตวแ์ ละการเปลย่ี นแปลง สภาพสงิ่ แวดลอ้ ม ท่สี ามารถใช้อธบิ ายการเพิ่มขึ้นของจำนวนโรคอุบตั ใิ หม่ได้เป็นอย่างดี การจดั การกบั ปัญหา โรคตดิ เช้ืออบุ ตั ิใหม่จำเปน็ ต้องอาศัยความรว่ มมือของทุกภาคสว่ นทั้ง ภายในและระหวา่ งประเทศอย่าง กว้างขวาง บนพน้ื ฐานของการจดั ความรู้ และการพัฒนาเทคโนโลยีใหมๆ่ อาทเิ ช่น เทคโนโลยีในการตรวจ วินจิ ฉยั โรค วัคซนี ปอ้ งกันโรค ฯลฯ เพือ่ รบั มือกับความต้องการอย่างเรง่ ดว่ น ขณะเดยี วกนั ต้องมีการพฒั นา ระบบเฝา้ ระวงั ป้องกนั และควบคุมโรค โดยเน้นการมีส่วนรว่ มขององคก์ รปกครองท้องถ่ิน และภาคประชา สงั คมแทนทีจ่ ะดำเนินการโดยภาครฐั เปน็ หลักเหมือนอดีตทีผ่านมา นอกจากน้กี ารประชมุ สมัชชาสขุ ภาพ แห่งชาติ คร้งั ที 2 เม่ือเดือนธนั วาคม 2552 ยังมีมติเสนอให้คณะรฐั มนตรแี ตง่ ต้งั คณะกรรมการโรคติดต่ออุบตั ิ

17 ใหมแ่ ห่งชาตขิ ึ้นเพื่อจดั ทำแผนยุทธศาสตรเ์ พื่อการบริหารจัดการโรคตดิ ต่ออบุ ตั ิใหม่อย่างบรู ณาการให้แล้วเสร็จ ภายใน 1 ปี และจัดทำข้อเสนอการจัดต้ังกลไกระดบั ชาติเพื่อจัดการกบั ปัญหาดังกล่าวดว้ ย 6) สถานการณ์ความรนุ แรงของโรคไมต่ ดิ ตอ่ เรอ้ื รัง จากวิถีชีวติ ทเี่ ปลย่ี นแปลงไป อนั เป็นผลมา จากการเผชญิ กับกระแสโลกาภิวฒั น์ ระบบทุนนยิ มทใี่ ห้ความสำคญั กับการพัฒนาทางด้านวัตถุ ความเสอื่ มถอย และล่มสลายของสถาบนั ครอบครวั สถาบันทางสังคม การดำเนนิ ธุรกิจทขี าดความรับผิดชอบเกดิ ค่านยิ ม วฒั นธรรม วถิ กี ารดำเนนิ ชวี ิตทไ่ี ม่พอเพียงและขาดความสมดุล ขาดการใสใ่ จดูแลควบคุมป้องกนั ปัจจัยเสีย่ งท่ี ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ อยใู่ นสภาพแวดลอ้ มท่ีไมป่ ลอดภัย มีภยั คุกคามสุขภาพ และไม่เอื้อต่อการสรา้ ง สุขภาพดี โดยเฉพาะอยา่ งย่ิงพฤติกรรมเสี่ยงที่สำคญั จากการบริโภคหวาน มัน เค็ม มาก บรโิ ภคผกั และผลไม้ น้อย สูบบหุ รี่ ด่ืมสรุ า ขาดการออกกำลงั กาย เกิดความเครียดและไมส่ ามารถจัดการกับอารมณไ์ ด้เหมาะสม ทำ ให้มภี าวะนำ้ หนกั เกิน อ้วนลงพงุ ความดันโลหติ สูง ไขมนั คลอเรสเตอรอลในเลอื ดสูง น้ำตาลในเลอื ดสูง และ ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม ซ่ึงเปน็ ปัจจัยเส่ียงหลกั ที่สำคัญของโรคไม่ตดิ ต่อเรื้อรงั ทีส่ ามารถปอ้ งกนั ได้หรือโรควิถี ชีวิตทท่ี วคี วามรุนแรงแพรร่ ะบาดไปท่วั โลก ซ่ึงประเทศไทยก็กำลังเผชิญกบั ปัญหาที่วิกฤตเช่นกัน จากข้อมูลเชิง ประจักษ์พบคนไทยอายุ 15 ปขี ้นึ ไป พ.ศ. 2551–2552 มีความชกุ ภาวะน้ำหนกั เกินและอ้วน (BMI ≥ 25 กก./ ตร.ม.) รอ้ ยละ 24.7 (17.6 ล้านคน) อ้วนลงพงุ (รอบเอว ≥ 90 ซม. ในชาย และ ≥ 80 ซม. ในหญิง) รอ้ ยละ 32.1 (16.2 ล้านคน) ความชกุ ของโรคเบาหวาน ร้อยละ 6.9 โรคความดันโลหิตสูง 21.4 และภาวะไขมันใน เลือดสูง ร้อยละ 19.4 เกดิ การเจ็บปว่ ยจากโรคมะเรง็ หัวใจ หลอดเลือดสมอง เบาหวาน ความดนั โลหติ สูงเข้า รับการรกั ษาเปน็ ผ้ปู ่วยใน ในชว่ ง พ.ศ. 2548–2551 เพมิ่ ข้ึน 1.2–1.6 เทา่ เป็น 505, 684, 845 และ 1,149 ตอ่ แสนประชากร ตามลำดับ หากไมส่ ามารถสกัดกนั้ หรือหยุดยัง้ ปญั หาไดจ้ ะทำให้เกิดการเจบ็ ป่วย มี ภาวะแทรกซ้อน พิการ และเสยี ชีวิตกอ่ นวัยอันควร ส่งผลให้ภาระคา่ ใชจ้ า่ ยทางดา้ นสุขภาพและการสูญเสยี ทางเศรษฐกิจตามมาอย่างมหาศาล จงึ จำเป็นตอ้ งรวมพลังของทัง้ สังคมในการปรับเปลี่ยนวิถชี ีวิตท่ีพอเพยี งจาก การบรโิ ภคที่เหมาะสม การออกกำลังกายที่เพยี งพอ และการจดั การอารมณ์ไดเ้ หมาะสม ตามแนวปรชั ญา เศรษฐกจิ พอเพียงและสขุ ภาพพอเพยี งในการป้องกนั แก้ไขปัญหาทางด้านสุขภาพและผลกระทบจากโรควิถี ชีวิตและนำไปสกู่ ารสร้างสุขภาพดีวิถชี ีวิตไทยได้อยา่ งจรงิ จงั และยัง่ ยืน 7) การเสยี ชวี ติ จากอุบตั เิ หตุ อบุ ัติเหตุจาการจราจรนำความสญู เสยี ของสังคมไทยทั้งทาง เศรษฐกิจปลี ะ 106,994–115,932 ลา้ นบาท พิการสะสม 65,000 คน ในปี 2555-2557 มีจำนวนผูเ้ สียชีวติ จากอบุ ตั ิเหตุทางถนน จำนวน 14,059, 14,789 และ 15,045 คน ต่อปตี ามลำดับ โดยมีอตั ราตายด้วยอุบตั ิเหตุ การจราจรทางบกอยู่ในระดบั สูงเพมิ่ ขน้ึ จาก 21.88 ต่อประชากรแสนคน ในปี 2555 เพ่ิมเปน็ 22.89 และ 23.16 ในปี พ.ศ. 2556-2557 ต่อประชากรแสนคน รวมทั้งยังมผี ู้บาดเจบ็ ปีละ 9.5 แสน–1 ล้านคน สาเหตมุ า

18 จากเมาแล้วขบั เพ่มิ ขึน้ และผู้ขบั ขีร่ ถจักรยานยนต์นยิ มสวมหมวกนิรภัยลดลงทำให้เกดิ การบาดเจบ็ จากอุบัติเหตุ รถจกั รยานยนต์ 2 แสนคนต่อปี และได้รับอนั ตรายถึงชวี ิตเฉล่ียวันละ 18 คน(http://www.thaincd.com) 8) ปัญหาโรคเอดส์ โรคเอดสเ์ ป็นปัญหาสำคัญในระดบั โลก สถานการณโ์ รคเอดสล์ า่ สดุ ในปี 2557 ประเทศไทยมีจำนวนผตู้ ดิ เช้ือและผ้ปู ่วยเอดสป์ ระมาณ 1.2 ล้าน และคาดวา่ จะมจี ำนวนผ้ตู ิดเชอ้ื เพิ่มขน้ึ เปน็ ประมาณ 1.3 ล้านคนในปี 2573 (Estimated number of adults living with HIV, new HIV infections and cumulative HIV cases in Thailand 1985-2030) โดยมแี นวโนม้ แพรร่ ะบาดเพิ่มขึ้นใน กลุ่มชายรกั ชาย (2012 AIDS Epidemic Model for HIV Projection and Estimation (AEM) โดย สถานการณ์การแพรร่ ะบาดของเช้ือเอชไอวี ปี 58 ในพน้ื ท่ีกรุงเทพมหานคร พบว่ามีผู้ติดเชือ้ เอชไอวีที่มียังชีวติ อยจู่ ำนวน 60,109 คนผตู้ ิดเช้ือเอชไอวที เ่ี สยี ชีวติ ภายในปี 57 จำนวน 3,341 คน ผูต้ ิดเชื้อเอชไอวีที่ไดร้ ับยา ต้านไวรัสจำนวน 24,871 คนและผตู้ ดิ เช้อื เอชไอวีรายใหม่จำนวน 1,771คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชายมี เพศสมั พนั ธก์ บั ชายรอ้ ยละ 60 รองลงมากลุ่มภรรยาติดเชื้อจากสามรี ้อยละ15และกลุ่มผใู้ ชส้ ารเสพติดชนดิ ฉดี ร้อยละ 9ทั้งนี้ผตู้ ดิ เชอ้ื เอชไอวีรายใหมเ่ ปน็ กลมุ่ เยาวชนอายุน้อยกว่า25 ปีถึงร้อยละ 55 นอกจากปัญหาการ ควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคแลว้ ยังมีปญั หาการเข้าถงึ ยาต้านไวรสั ทม่ี ีราคาแพงทำใหต้ ้องเสีย คา่ ใช้จา่ ยโดยเฉพาะยาตา้ นไวรัสข้นั พน้ื ฐานและการรักษาโรคฉวยโอกาสตา่ งๆ ถงึ 85,000 บาท ตอ่ คนต่อปี หากเยาวชนตดิ เชอื้ เอดสต์ ัง้ แตอ่ ายุ 20 ปี รกั ษานานกว่า 20 ปี ทำใหเ้ สียคา่ ใชจ้ า่ ยราวคนละ 2 ล้านบาท และ ในกรณีเชอ้ื ด้อื ยาก็จะต้องจา่ ยเพมิ่ เป็นถึง 4 ลา้ นบาทต่อคน นับไดว้ า่ เป็นปัญหาท่รี นุ แรงและจะต้องได้รบั การ จัดการทดี่ จี ากหน่วยงานภาครัฐ 9) ปัญหาสขุ ภาพจติ การเปลีย่ นแปลงอยา่ งรวดเร็วของสงั คมไทย ทที่ ำให้การดำเนนิ ชีวิตเปน็ ไป อย่างเร่งรีบ ต้องแกง่ แย่งแข่งขนั รวมทง้ั โครงสรา้ งสังคมท่มี ีความเหลือ่ มลำ้ สงู ทำให้ปัญหาความเครียดและการ เสื่อมเสียในด้านสขุ ภาพจติ โดยมีผูต้ ิดสรุ าและมีปริมาณการดื่มสุราเพ่ิมขึน้ อย่างตอ่ เน่ือง คนไทยกวา่ 1.6 ลา้ น คนปว่ ยด้วยโรคอารมณ์แปรปรวน และอกี 8.4 ลา้ นคนปว่ ยด้วยโรควติ กกงั วล ปัญหาสขุ ภาพจติ เกี่ยวข้องกับ ปญั หาสัมพันธ์ในครอบครัว และ ปี พ.ศ. 2558 รมว.สาธารณสขุ (ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวนิ ) ใหข้ ้อมลู ในรอบ 3 ปที ่ผี ่านมา คนไทยเจ็บป่วยทางจิตเพมิ่ ขนึ้ ตวั เลขการเขา้ รักษาตวั ทางด้านจติ เวชเพิ่มสูงถึง 1.5 ล้านคน สว่ น ใหญ่เป็นผู้ปว่ ยโรคจติ ยังไม่รวมบางส่วนที่ไมย่ อมไปรับบรกิ ารการรักษา เพราะอายที่ต้องพบจิตแพทย์ และ กลัวว่าจะตอ้ งถกู ตราหนา้ ว่าเป็น “คนบา้ ” ปจั จยั หลกั ท่ีทำใหค้ นไทยมปี ัญหาด้านสุขภาพจติ มากที่สดุ คือ การ ด่ืมสรุ า ท่พี บสูงถงึ 9.3 ล้านคน หรือประมาณ 18% ของประชากรทงั้ ประเทศ รองลงมาคอื ภาวะตดิ บุหร่ี 14.9% หรอื 7.7 ล้านคน การใช้สารเสพติด 2.1 ลา้ นคน หรอื 4.1% ของประชากร ตามด้วยอาการในกลมุ่ โรค วติ กกงั วลอีกราว 1.6 ล้านคน หรือประมาณ 3.1% ของประชากรท้ังประเทศ (http://www.thairath.co.th/content/509151)

19 สรปุ วา่ จากปญั หาสขุ ภาพและโรคภัยไข้เจ็บของคนไทย ได้เปล่ยี นแปลงไปจากโรคติดตอ่ ท่เี ป็น ปญั หาสขุ ภาพทีร่ นุ แรงในอดีต มาเปน็ ปัญหาโรคไมต่ ดิ ต่อทำใหเ้ จบ็ ปว่ ยและเสยี ชวี ติ ในอันดับตน้ ๆ นอกจากน้ี ยงั พบโรคอุบัตกิ ารณ์ใหมๆ่ อีกหลายโรค และโรคทีเ่ กิดจากพฤติกรรมและแบบแผนการดำเนินชีวิตจะเป็น สาเหตสุ ำคญั ของการเจบ็ ปว่ ย นอกจากนย้ี ังพบปัญหาด้านโรคทางเพสสัมพนั ธ์ ปญั หาขาดการออกกกำลังกาย และปัญหาสุขภาพจิตทมี่ ีแนวโน้มสงู ข้ึน เอกสารอา้ งอิง จรี ะศักด์ิ เจริญพนั ธ์และคณะ. (2555). เอกสารประกอบการสอนวชิ า 0025 002 Health Care and Management. สำนักศึกษาทั่วไป มหาวทิ ยาลยั มหาสารคาม คณะอนุกรรมการสถิติสาขาสุขภาพและคณะทำงานสถิติสาขาสุขภาพ. (2557). แผนพฒั นาสถติ ิสาขาสุขภาพ ฉบับที่1พ.ศ. 2557-2558. สืบค้นออนไลน์ วนั ที่ 11 กรกฎาคม 2558 http://osthailand.nic.go.th/files/social_sector/SDP_health291057-new6.pdf กระทรวงสาธารณสขุ . สถติ สิ าธารณสุข พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายและยุทธศาสตร สำนกั งานปลดั กระทรวงสาธารณสุข , 2557. ราชบณั ฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบณั ฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ออนไลน์. สบื คน้ ออนไลน์ วนั ท่ี 11 กรกฎาคม 2558: http://rirs3.royin.go.th/word1/word-1-a0.asp

20 แบบฝกึ หัด บทที่ 1 (กจิ กรรมที่ 1) กลุ่มเรยี นที่................................. รายวิชา การดแู ลและการจัดการสุขภาพ รหัสวิชา 0025 002 ช่ือ-สกุล...........................................................................................รหัสนสิ ติ ......................................... 1. ใหน้ ิสิตบอกความหมายและความสำคัญของสุขภาพพอสังเขป ............................................................................................................................. ................................................. .............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................................. ............................................................................................................................. ................................................. .............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................................. 2. ใหน้ สิ ิตบอกแนวคดิ ของการพฒั นาและสุขภาพตามแผนพฒั นาสขุ ภาพแหง่ ชาติฉบับท่ี 11 พอเข้าใจ ............................................................................................................................. ................................................. ............................................................................................................................. ................................................. .............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................................. ............................................................................................................................. ................................................. .................................................................................................................................................................. ............ ...................................................................................................................... ........................................................ ............................................................................................................................. ................................................. 3. ระบุสถานการณ์ปญั หาสุขภาพและโรคภัยไขเ้ จ็บในประเทศไทย ไมน่ ้อยกวา่ 3 ปญั หาและเสนอแนะวธิ ีการ แก้ปัญหาดังกลา่ ว พอเข้าใจ ............................................................................................................................. ................................................. ............................................................................................................................. ................................................. .............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................................. ............................................................................................................................. .................................................

21 ............................................................................................................................. ................................................. .............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. .................................................


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook