Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทที่ 2 ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อสุขภาพ 16-27 ebook

บทที่ 2 ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อสุขภาพ 16-27 ebook

Published by surachat.s, 2020-07-16 04:12:08

Description: บทที่ 2 ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อสุขภาพ 16-27 ebook

Search

Read the Text Version

16 บทที่ 2 ปจั จัยทีม่ ีความสำคัญตอ่ สุขภาพ แนวคดิ สขุ ภาพเปน็ เรอื่ งท่สี ำคัญสำหรับบุคคล สขุ ภาพจะเน้นความสุขซึง่ มีความหมายทางบวก มผี ้ใู ห้ คำจำกัดความไว้มากมาย แต่ความหมายท่ีได้รับการยอมรับว่าครอบคลมุ และชัดเจนคือคำจำกัดความของ องค์การอนามยั โลก โดยได้ให้ความหมายของ สุขภาพคือ สภาวะของความสมบรู ณ์ของร่างกาย จิตใจ รวมท้งั การดำรงชวี ิตอยู่ในสงั คมด้วยดี มิไดห้ มายถงึ เพียงความปราศจากโรค หรอื ปราศจากความทุพพลภาพนัน้ สุขภาพเป็นสิทธิขน้ั พ้นื ฐานของมนษุ ยชน การปรับปรุงสง่ เสรมิ หรอื ดำรงสขุ ภาพกเ็ ปน็ หน้าท่แี ละความ รับผิดชอบของบคุ คลทีพ่ ึงมีต่อตนเอง การจะมภี าวะสขุ ภาพท่ีพงึ ปรารถนาน้ัน บุคคลจะต้องมีแนวคิดที่ ถูกต้องและเป็นระบบในเร่อื งสขุ ภาพ เนอื้ หา ปัจจัยทม่ี ีความสำคัญตอ่ สุขภาพ แบง่ เปน็ 3 ปจั จัย 1. ปจั จัยภายใน (Internal Factors) 1.1 พันธกุ รรม (Genetic) 1.2 เช้ือชาติ (Race) 1.3 อายุ (Age) 1.4 เพศ (Sex) 1.5 พฤติกรรมสุขภาพ (Health Behaviors) 1.6 สขุ ภาพจิต (Mental Health) 2. ปจั จยั ภายนอก (External Factors) 2.1 สภาพภมู ิศาสตรแ์ ละสภาพภูมอิ ากาศ 2.2 น้ำ 2.3 เสยี ง 2.4 สิ่งปฏกิ ูลและขยะมลู ฝอย 2.5 ระบบเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ 2.6 การเปล่ียนแปลงดา้ นประชากร 2.7 การศึกษา 2.8 การเปลี่ยนแปลงดา้ นเทคโนโลยีสารสนเทศ 3. ระบบบรกิ ารสุขภาพ (Health Service System)

17

18 วัตถปุ ระสงค์ 1. นิสิตสามารถอธบิ ายปจั จัยภายในท่มี คี วามสำคัญต่อสุขภาพ ไดแ้ ก่ พันธกุ รรม เช้ือชาติ อายุ เพศ พฤตกิ รรมสุขภาพ สขุ ภาพจิต ได้ถกู ต้อง 2. นิสิตสามารถอธิบายปัจจัยภายนอกที่มีความสำคัญต่อสุขภาพ ได้แก่ สภาพภูมิศาสตรแ์ ละสภาพ ภูมอิ ากาศ นำ้ เสียง ส่ิงปฏกิ ลู และขยะมูลฝอย ระบบเศรษฐกจิ และการประกอบอาชีพ การเปลี่ยนแปลงดา้ น ประชากร การศกึ ษา และการเปล่ียนแปลงดา้ นเทคโนโลยีสารสนเทศได้ถกู ต้อง 3. นิสิตสามารถอธิบายระบบบรกิ ารสขุ ภาพท่ีมคี วามสำคัญต่อสขุ ภาพได้ถูกต้อง กจิ กรรมระหวา่ งเรยี น 1. การบรรยาย 2. กิจกรรมการนำเสนอกลมุ่ 3. ให้นิสติ ซักถาม เนอ้ื หา ปจั จัยท่มี ีความสำคญั ตอ่ สุขภาพ แบ่งเป็น 3 ปัจจัย คือ 1. ปจั จยั ภายใน (Internal Factors) 2. ปัจจัยภายนอก (External Factors) 3. ระบบบริการสขุ ภาพ (Health Service System) 1. ปัจจัยภายใน (Internal Factors) เป็นปัจจัยด้านตัวบุคคล ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญ บุคคลมีความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพและ ส่งเสริมสุขภาพ การดูแลสุขภาพขึ้นอยู่กับทัศนคติ ความรู้ วิธีการปฏิบัติตัวของบุคคลซึ่งบุคคลภายนอกหรอื เทคโนโลยีต่างๆ ไม่สามารถปฏิบัติแทนได้ เป็นเพียงให้การสนับสนุน เกื้อกูลเท่านั้น ปัจจัยด้านตัวบุคคลที่ สำคัญไดแ้ ก่ 1.1 พนั ธกุ รรม (Genetic) 1.2 เช้อื ชาติ (Race) 1.3 อายุ (Age) 1.4 เพศ (Sex) 1.5 พฤตกิ รรมสขุ ภาพ (Health Behaviors) 1.6 สุขภาพจติ (Mental Health) 1.1 พนั ธกุ รรม (Genetic)

19 ปัจจัยด้านนี้ บุคคลไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ สิ่งที่สำคัญสำหรับปัจจัยด้านนี้ คือ ยีน (Gene) ซึ่งเป็น การถ่ายทอดพนั ธุกรรม ดว้ ยวิธีการสืบพนั ธ์ บิดา มารดา จะถ่ายทอดลักษณะทางพันธกุ รรมให้แก่ บุตร หลาน โดยลักษณะการถ่ายทอดนั้น จะกำหนดโครงสร้างของร่างกายมนุษย์ เช่น ความ สูง ต่ำ สีผิว (ขาว – ดำ) ลักษณะเส้นผม (สีดำ สีน้ำตาล ผมหยิก ผมตรง) ลักษณะสีของตา (ฟ้า น้ำตาล) ชนิดของหมู่เลือด (A, B, O, AB) และหม่เู ลอื ด Rh+, Rh- รวมถึงศักยภาพระดบั สติปัญญาทม่ี ผี ลต่อการเรยี นรู้ของแตล่ ะบุคคล นอกจากส่ิง ที่กล่าวมาแล้วนั้น การถ่ายทอดลักษณะที่ผิดปกติของยีน ก็ถ่ายทอดสู่ บุตร หลานเช่นกัน เช่น การ เจริญเติบโตของสมองช้ากว่าปกติ ศีรษะล้าน โรคเบาหวาน โรคหัวใจบางชนิด โรคเลือด โรคโลหิตจางชนิด Sickle cell anemia โรคธาลสั ซีเมีย โรคมะเร็งบางชนิด (ไพบลู ย์ โลส่ นุ ทร, 2552) 1.2 เชอ้ื ชาติ (Race) เป็นปัจจัยหนึ่งที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ทำให้มีโอกาสหรือแนวโน้มต่อการเจ็บป่วยบางชนิดได้ง่าย เช่น คนผิวดำจะมีความต้านทานต่อไข้มาเลเรีย ชนเชื้อชาติอเมริกันมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลอื ดหวั ใจได้ เป็นตน้ 1.3 อายุ (Age) กลุ่มอายุที่แตกต่างกัน จะมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหรือเกิดความเจ็บป่วยแตกต่างกัน เช่น สำหรับในวัยทารกและวัยเด็ก ในวัยนี้ร่างกายอยู่ในระยะกำลังเจริญเติบโต และพัฒนาการของอวัยวะต่างๆ จงึ มีความอ่อนแอและมีภูมิคุ้มกนั ต่ำ มีโอกาสเกิดโรคไดง้ า่ ย วยั นี้จึงเปน็ วยั ที่ตอ้ งไดร้ ับการเลี้ยงดูเอาใจใส่อย่าง ดี จงึ จะช่วยให้วัยนี้เจริญเตบิ โตตามวัย มสี ขุ ภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ บุคคลในวยั นีม้ ีความเส่ียง ต่อการเกิดโรค หลายชนิด ยกตัวอย่างเช่น โรคหัด (Measles) เกิดจากเชื้อ Virus มักพบในเด็กอายุ 2-14 ปี โรคคางทูม (Mumps) เกดิ จากเช้ือ Virus มกั พบในเดก็ อายุ 5-15 ปี สำหรับวัยรุ่น ระบบต่างๆ ภายในร่างกายของวัยรุ่นมีการเจริญอย่างสมบูรณ์ มีการสร้างฮอร์โมนใน ร่างกายเพิ่มมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและสรีระ บุคคลในวัยนี้มักไม่ค่อยเจ็บป่วยเพราะ ร่างกายมคี วามสมบรู ณแ์ ขง็ แรง มภี ูมิคุม้ กันในร่างกาย แตเ่ นื่องจากวยั นี้เปน็ วัยท่ีคึกคะนอง อยากรู้อยากลอง โรคหรอื ความเจ็บป่วยท่เี กดิ ขึ้นจึงมกั เกิดจากพฤตกิ รรมของตนเอง ยกตัวอย่างเช่น โรคติดเชือ้ ทางเพศสมั พันธ์ (Sexual Transmitted Disease): โรคซฟิ ลิ ิส หนองใน โรคเอดส์ โรคทีเ่ กิดจากการสบู บหุ ร่ี ด่ืมสรุ า เปน็ ตน้ สำหรับในวัยกลางคนหรือวัยผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง เช่น โรคเอส แอล อี (SLE: Systemic Lupus Erythrematosus) และเป็นโรคมะเร็ง เชน่ มะเร็งรังไข่ มะเร็งปาก มดลูก มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด และโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา เป็นต้น (พัชร นักบรรเลง, สุนีรัตน์ ภู่ เอยี่ ม และบงั อร สำลี, 2552) สำหรับในผสู้ ูงอายุ พบว่าเจบ็ ป่วยด้วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ประมาณรอ้ ยละ 50 เน่ืองจาก อายุที่เพิ่มขึ้น จะมีการสะสมของคลอลาเจนในหัวใจ และหัวใจมีความยึดหยุ่นลดลง ลิ้นหัวใจของผู้สูงอายุ มักจะแข็ง เพราะเสื่อม มีไขมัน แคลเซียมไปเกาะ ส่งเสริมให้เกิดภาวะความเจ็บป่วยได้ง่าย นอกจากการ เปลี่ยนแปลงของโครงสร้างและสรีรวิทยาของระบบไหลเวียนโลหิตที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติแล้วนั้น ในคน

20 สูงอายุยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือดได้อีก เช่น จาก การขาดฮอร์โมนในผู้สงู อายุหญิง โรคอ้วน นอกจากนี้แล้ว ผู้สงู อายุยงั พบความเส่ือมของความสามารถในการ รับรู้สิ่งแวดล้อม เช่น สายตา หู ความจำ ทำให้พบภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้ (ชัยวัฒน์ วามวรรัตน์ และ สมศักดิ์ ถน่ิ ขจี, 2548) 1.4 เพศ (Sex) โรคบางโรคมักเกิดกับเพศใดเพศหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น โรคที่พบบ่อยในเพศหญิง เช่น นิ่วในถุงน้ำดี โรคของต่อมไทรอยด์ โรคกระดูกพรุน โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ โรคมะเร็งเต้านม สำหรับโรคที่พบบ่อยใน ชาย ไดแ้ ก่ โรคกระเพาะอาหาร ไส้เลอ่ื น โรคทางเดนิ หายใจ โรคริดสีดวงทวาร โรคมะเรง็ ตับ 1.5 พฤตกิ รรมสขุ ภาพ (Health Behaviors) พฤติกรรมสุขภาพ หมายถึง การกระทำหรือการปฏิบัติของบุคคลที่มีผลต่อสุขภาพซึ่งเป็นผลมาจาก การเรียนรู้ของบุคคลเป็นสำคัญ โดยแสดงออกให้เห็นได้ในด้านของการกระทำ และการไม่กระทำ จากการ ทบทวนวรรณกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องและเอกสารอ้างอิงต่างๆ พบว่า พฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพ คือ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การออกกำลังกาย การดื่มสุราและการสูบบุหร่ี การขับถ่าย การนอนหลับพกั ผ่อน เป็นต้น 1.5.1 พฤตกิ รรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการรบั ประทานอาหาร นิสัยการรับประทานอาหารเป็นการถ่ายทอดทางวฒั นธรรม ซงึ่ แตกต่างกันไปตามลักษณะท้องถิ่น และความชอบของแตล่ ะคน พฤติกรรมการรับประทานมีผลกระทบต่อ สุขภาพมาก บางคนรับประทานอาหารจุบจบิ ชอบรบั ประทานอาหารประเภทขบเคี้ยว ชอบอมทอฟฟี่ ซึ่งจะ มีผลทำให้ฟนั ผุ บางคนไมช่ อบรบั ประทานอาหาร ประเภทผกั และผลไม้ ทำใหม้ ีกากอาหารน้อย ทำให้เสี่ยง ต่อการปว่ ยเปน็ มะเรง็ ลำไส้ อาหารท่ีไม่สะอาดทำให้ทอ้ งเสีย อาหารสกุ ๆ ดบิ ๆ เช่น ปลาดิบ กอ้ ย ปลา ทำให้ เปน็ โรคพยาธิ บางคนชอบอาหารทมี่ ไี ขมันสูง อาจทำใหเ้ ป็นโรคอว้ น หรือไขมนั อุดตันในเส้นเลือดเปน็ ตน้ บาง คนชอบหรือไมช่ อบอาหารบางประเภททำให้ได้อาหารไม่ครบถ้วน อาหารจงึ เป็นองค์ประกอบที่สำคญั ต่อ สุขภาพ การบริโภคอาหารโดยเฉพาะอยา่ งยิง่ อาหารที่ไมม่ ีประโยชน์ เช่น อาหารจานดว่ น ขนมกรบุ กรอบ หรอื อาหารกล่องทมี่ ีส่วนประกอบของไขมนั แปง้ เกลือโซเดียม สารปรุงรสอาหารเพอื่ เพิ่มรสชาติ ในปรมิ าณ ที่มากเกนิ ไป ส่งิ เหล่านน้ี อกจากจะไมม่ ีคณุ ค่าทางโภชนาการแลว้ ยังเปน็ สว่ นสำคัญท่ที ำให้เกดิ โรคตา่ งๆ ได้ อกี ดว้ ย การได้รับสารอาหารเพยี งพอ และร่างกายสามารถนำไปซ่อมแซมส่วนตา่ งๆของร่างกาย และบำรงุ รา่ งกายใหส้ มบูรณแ์ ข็งแรง เป็นตัวบ่งช้ไี ด้ถึงภาวะสุขภาพท่ีดี 1.5.2 การมีพฤติกรรมเสีย่ งทางเพศ พฤติกรรมเสีย่ งทางเพศ หรอื พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทางเพศ สามารถทำให้เกิดโรคติดต่อ ทางเพศสมั พันธ์มากมายหลายโรค ยกตวั อยา่ งการมพี ฤติกรรมทไี่ ม่ปลอดภัยทางเพศ คือ การไม่ใส่ถงุ ยาง อนามัยขณะมีเพศสัมพนั ธ์ การมคี ูน่ อนหลายคน การมีเพศสมั พันธ์ต้ังอายุนอ้ ยๆ มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ ชาย

21 รักชาย มีพฤติกรรมใช้บริการกับสตรขี ายบริการทางเพศ พฤตกิ รรมเหลา่ นีท้ ำใหเ้ กิดผลกระทบทางสุขภาพ คือทำใหเ้ กิดโรคติดต่อเชน่ โรคซิฟลิ ิส เรมิ หูดหงอนไก่ หนองใน เอดส์ หรือการเกดิ โรคไมต่ ิดตอ่ กไ็ ด้ เชน่ โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น หรือร่างกายไดร้ บั บาดเจบ็ จากการร่วมเพศ แบบวิตถารหรือรุนแรงถึงขนาด สูญเสยี ชีวติ จากการฆาตกรรม เพราะความรกั และความหึงหวงได้ 1.5.3. การด่ืมสุรา การสูบบุหรี่ และการใช้สารเสพติดเพอ่ื ลดความอว้ น การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคภัยต่างๆ ได้ เช่นการสูบบุหรี่ทำให้ เกิด โรคต่อไปนี้ เช่น โรคมะเร็งปอด โรคความดันโลหิตสูง โรคถุงลมปอดโป่งพอง โรคหลอดเลือดหัวใจแตก ตีบ ตัน สำหรับการดื่มสุราติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่อไปนี้ เช่น โรคหัวใจ โรคตับแข็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งตับ ผลที่ตามมาจากการเกิดความเจ็บป่วย มักเกิดความทรมานต่อร่างกาย และจิตใจ สนิ้ เปลืองค่าใชจ้ ่ายในการรักษาพยาบาล นอกจากการเกิดโรคตา่ งๆ แลว้ การด่มื สรุ าหรือเครื่องด่ืม ที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ มากๆ มักทำให้การทำงานของระบบประสาทและสมองลดลง เกิดการขาด สติได้ง่าย ขาดความยั้งคิด และเป็นผลให้เกิดอุบัติเหตุ และเกิดความพิการจากอุบัติได้ (สุพินดา แซ่เตียว, 2546 และ ดวงพงศ์ พงศ์สยาม, 2552) นอกจากนี้ในปัจจุบันวัยรุ่นยังมีพฤติกรรมใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักอย่างแพร่หลาย จาก การศึกษาทผ่ี ่านมาของ ปวีณา ยุกตานนท์ ไดท้ ำการศึกษาเร่ืองปัจจัยคัดสรรกบั พฤติกรรม การใช้ยาลดความ อว้ นของวยั ร่นุ หญิงตอนปลาย (ปวณี า ยุกตานนท์, 2549) อายุระหวา่ ง 18-21 ปี พบวา่ กลุ่ม ตัวอย่างร้อยละ 50 ที่เข้ารับบริการจากสถานลดนำ้ หนัก แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีพฤติกรรมการลดน้ำหนักโดยการใช้ ยา และจากขอ้ มลู กองควบคุมวัตถเุ สพติด (2553) พบว่ามกี ารจ่ายยาลดความอว้ นจากสถานพยาบาลเอกชน โดยจัดไว้เป็นชุดให้รับประทานเหมือนกันทุกวัน แต่ละ ชุดประกอบด้วยยาประมาณ 1-6 รายการ หนึ่งใน จำนวน 6 รายการนั้นมียา จากกลุ่มยากลุ่มแอมเฟตามีน (Amphetermine) โดยยา จะออกฤทธิ์กระตุ้น ประสาทสว่ นกลางและระบบประสาทซมิ พาเธติก ทำให้เกดิ อาการเบื่ออาหาร มีผลขา้ งเคยี งคือ เกิดอาการใจ สน่ั กระวนกระวาย นอนไม่หลบั 1.5.4 การขบั ถา่ ย ผู้ทีถ่ ่ายอจุ จาระไม่เปน็ เวลา ถา่ ยลำบาก อุจจาระมลี ักษณะแขง็ ต้องเบง่ ถา่ ยอุจจาระ มี โอกาสเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคริดสีดวงทวารสูงกว่าคนที่มีการขับถ่ายเป็นเวลาและถ่ายสะดวก พฤติกรรม การกลัน้ ปัสสาวะทำให้เกิดเปน็ โรคตดิ เชือ้ ของกระเพาะปัสสาวะไดง้ า่ ย 1.5.5 การนอนหลบั พักผอ่ น ผทู้ ีน่ อนพักผ่อนไม่เพยี งพอจะร้สู กึ ปวดศีรษะ ควบคมุ สตไิ ม่ได้ ไมส่ นใจ ส่งิ แวดล้อมปกติควร นอนพักประมาณ 6-8 ช่ัวโมงในเวลากลางคนื ผู้ทีไ่ ด้รบั การพักผ่อนไม่เพียงพอ จะไม่สามารถควบคมุ ตนเองให้ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ โดยเฉพาะหากต้องทำงานที่มีความเสี่ยง หรือต้องระวังอันตราย เช่น ทำงาน เกี่ยวกับเคร่อื งจักร หรอื ตอ้ งขบั รถประจำทาง ซ่ึงอาจเกดิ อบุ ตั ิเหตุได้ 1.6 สขุ ภาพจิต (Mental Health)

22 ร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กัน สภาพอะไรก็ตามที่กระทบกระเทือนทางด้านร่างกายก็จะ กระทบกระเทือนต่อจิตใจดว้ ย และสภาพอะไรก็ตามที่กระทบ กระเทอื นตอ่ จิตใจกจ็ ะมผี ลให้ร่างกายเจ็บป่วย ได้ นอกจากนี้องค์ประกอบทางจติ ยงั เปน็ ตวั กำหนดพฤติกรรมต่างๆ อกี ด้วย องคป์ ระกอบเหล่าน้ไี ดแ้ ก่ 1.6.1 อัตมโนทัศน์ (self-concept) เป็นผลรวมของความรู้สึกนกึ คิดและการรบั รทู้ ่ลี กึ ซงึ้ และซบั ซ้อน ที่บคุ คลมตี ่อตนเอง และมีอิทธิพลอย่างมากในการกำหนดพฤติกรรม คือการท่ีบคุ คลจะแสดงพฤติกรรม อย่างไรนัน้ ขนึ้ อยู่กบั ว่าบุคคลนน้ั รบั รู้เก่ยี วกับตนเองอยา่ งไร (กอบกุล พันธเ์ จริญวรกุล 2531: 77-106) อตั มโนทศั น์ มีความสำคญั ต่อสขุ ภาพอยา่ งย่ิง โดยเฉพาะอัตมโนทศั นด์ ้านรา่ งกาย (physical self) ถา้ บุคคลนน้ั มองวา่ ตนเป็นคนมีรปู ร่างหน้าตาตี เป็นคนสวย หรอื เป็นคนรูปหล่อ กจ็ ะมีอิทธิพลใหบ้ ุคคลนั้นพยายามบำรงุ สขุ ภาพและร่างกายของตนให้อยใู่ นสภาพดตี ่อไป อัตมโนทัศน์ด้านการยอมรับนับถือตนเอง (self-esteem) การยอมรับนับถือตนเองเป็นการรับรู้ เกี่ยวกับคุณค่าของตนเอง บุคคลจะประเมินคุณค่าของตนเองจากลักษณะที่ตนเป็นอยู่และเปรียบเทียบกับ ลักษณะท่ีตนอยากใหเ้ ป็น และระดับการยอมรับนบั ถอื ตนเองน้ีจะ 1.6.2 การรับรู้ (perception) การที่บคุ คลจะมีพฤติกรรมเช่นใดนัน้ ข้นึ อยู่กับการรับรู้ของตนตอ่ ส่งิ ต่างๆ การรับรู้เก่ยี วกับสุขภาพ คือ รบั รู้ว่าตนเองมสี ุขภาพเช่นไรก็จะมีอิทธิพลตอ่ พฤติกรรมท่คี นๆ นนั้ จะ กระทำ คนแตล่ ะคนมีการรับรู้เกยี่ วกบั สุขภาพแตกต่างกัน โดยเฉพาะถ้าฐานะทางเศรษฐกจิ ตา่ งกัน จะรับรู้ เกยี่ วกับอาการปว่ ยและตดั สินใจรบั การรกั ษาตา่ งกนั คนฐานะทางเศรษฐกิจดจี ะรับรู้เกี่ยวกับอาการปว่ ยเร็ว กว่า บางคนเม่ือรู้สกึ วา่ ครั่นเน้ือครน่ั ตัวหรอื ปวดเม่อื ยตามตัว จะรวู้ ่าตนกำลังไมส่ บาย ในขณะ ท่บี างคนเดิน ไมไ่ หว หรอื ทำงานไม่ไหว จงึ จะรบั รู้ว่าไม่สบาย ซึ่งการรับรเู้ หล่าน้ีจะเปน็ ตัวกำหนดพฤติกรรมทีป่ ฏิบตั ใิ นเวลา ต่อมา เชน่ เมื่อรบั รวู้ ่าปว่ ย จะหยดุ จากงานไปพบแพทยห์ รือรบั การรกั ษาตามความเชอ่ื ของตน ซงึ่ จะมีผลต่อ สขุ ภาพในเวลาต่อมา การรับรู้เก่ียวกบั สขุ ภาพของประชาชนทว่ั ไปจะแตกตา่ งกบั บุคคลากรทางการแพทย์ คือ ประชาชนท่ัวไปมักจะใช้อาการท่ปี รากฏเปน็ เกณฑ์ในการพิจารณาว่าปว่ ยหรอื ไม่ แต่แพทยจ์ ะใชก้ ารตรวจพบ ความผิดปกตเิ ป็นตัวบ่งช้ีการป่วยหรือเป็นโรค ดังนัน้ ประชาชนทไี่ ปให้แพทยต์ รวจบางรายแพทย์อาจตรวจไม่ พบ ความผดิ ปกติใดๆ และบอกวา่ คนๆ นนั้ ไม่ได้ปว่ ย ในขณะท่ีบางคนไมม่ ีอาการผิดปกติเลย เมอื่ ตรวจ ร่างกายอาจพบว่าเปน็ โรคบางอย่างได้ ดงั นนั้ การรับรเู้ ก่ียวกับสุขภาพที่จะมผี ลดีตอ่ สุขภาพ คือ การรับรวู้ ่า บางคนอาจป่วยเป็นโรคไดท้ ั้งทไี่ ม่มอี าการผิดปกติใดๆ การรบั รวู้ า่ การดแู ลสุขภาพให้แขง็ แรงและการปอ้ งกัน โรคเปน็ สง่ิ ทส่ี ำคัญกวา่ การรักษาเมื่อเจบ็ ปว่ ย และรบั รวู้ า่ สขุ ภาพเป็นสิ่งมีคา่ เหนือสิง่ อื่นใด 1.6.3 ความเชื่อ ปกติคนเรามักได้ความเชอ่ื มาจาก พ่อ แม่ ปู ย่า ตา ยาย หรอื ผู้ที่เราเคารพเช่อื ถือ จะยอมรบั ฟังโดยไม่ต้องพสิ ูจน์ ความเชอ่ื เหลา่ นี้เปน็ ส่วนหนงึ่ ของการดำเนนิ ชวี ิต ความเชื่อเมื่อเกิดข้นึ แล้ว มกั จะเปล่ียนแปลงยาก ความเชือ่ ดา้ นสขุ ภาพ (health belief) คือความเชือ่ เก่ียวกับสุขภาพทคี่ นแต่ละคนยดึ ถือว่าเป็น ความจริง ความเชื่อดังกล่าวอาจจะจรงิ หรือไม่จริงก็ได้ บุคคลจะปฏิบตั ติ ามความเชอื่ เหล่านี้อย่างเคร่งครดั ไม่ ว่าจะอยูใ่ นสถานการณเ์ ซน่ ใดกต็ าม และจะรู้สกึ ไม่พอใจถ้าใครไปบอกว่าสิ่งทีเ่ ขาเชอื่ นั้นเปน็ สิง่ ที่ไม่ถูกต้อง หรือแนะนำใหเ้ ขาเลิกปฏิบตั ติ ามความเชอ่ื หรือใหป้ ฏบิ ตั ใิ นสิ่งทีต่ รงข้ามกบั ความเชอื่ ความเชือ่ เกีย่ วกบั

23 สุขภาพในสงั คมไทยมีมากมาย การปฏิบตั ติ ามความเช่ือจะทำใหบ้ ุคคลมีความม่ันใจและรู้สกึ ปลอดภัย ถ้าต้อง ฝืนปฏิบตั ิในสิ่งทีข่ ัดกบั ความเชอื่ จะรสู้ ึกไม่ปลอดภยั เกรงว่าจะเป็นอนั ตราย ความเช่อื ที่พบได้ท่ัวๆ ไป เกี่ยวกับสุขภาพได้แก่ เชอื่ ว่าถ้ารบั ประทานไข่ขณะทีเ่ ปน็ แผล จะทำใหแ้ ผลนั้นเปน็ แผลเป็นที่น่าเกลียดเม่ือ หาย ถ้ารับประทานข้าวเหนียวจะทำให้แผลกลายเปน็ แผลเปื่อย หญิงตัง้ ครรภ์ ถ้ารบั ประทานเนือ้ สัตวช์ นดิ ใด จะทำให้ลกู มีพฤติกรรมเหมือนสัตวช์ นดิ นนั้ เช่ือวา่ การดมื่ เบียร์วันละ 12 แก้วจะชว่ ยปอ้ งกันการติดเชื้อของ ลำไส้ เชอื่ ว่าถา้ ดมื่ นำ้ มะพร้าวขณะมปี ระจำเดือน จะทำให้เลือดประจำเดือนหยุดไหลเป็นต้น ความเชอ่ื เหล่านี้ บางอย่างมผี ลกระทบต่อสุขภาพมาก แต่บางอยา่ งไม่มีผลเสียหายตอ่ สขุ ภาพ 1.6.4 คา่ นยิ ม คือการให้คุณค่าต่อส่ิงใดส่งิ หน่ึง ค่านิยมของบุคคลได้รับอิทธิพลมาจากสังคม บคุ คล พยายามแสดงออกถงึ คา่ นิยมของตนทกุ คร้งั ทม่ี ีโอกาส ค่านิยมของสงั คมใดสังคมหนึ่ง จะมอี ิทธิพลต่อการ ประพฤติปฏบิ ตั ขิ องบคุ คลในสังคมน้ันๆ อย่างมาก ค่านยิ มท่มี ผี ล กระทบต่อสุขภาพ เช่น ค่านิยมของการดื่ม เหลา้ สูบบุหร่ี ซง่ึ แสดงถึงความมฐี านะทางสังคมสูง คา่ นยิ มของการเทย่ี วโสเภณีวา่ แสดงถึงความเป็นชาย ชาตรี ค่านิยมท่ชี ่วยส่งเสริมสุขภาพ คือ คา่ นยิ มของความมีสุขภาพดี 2. ปจั จัยภายนอก (External Factors) 2.1 สภาพภมู ศิ าสตร์และสภาพภมู ิอากาศ 2.2 น้ำ 2.3 เสยี ง 2.4 สิ่งปฏิกูลและขยะมลู ฝอย 2.5 ระบบเศรษฐกจิ และการประกอบอาชีพ 2.6 การเปลย่ี นแปลงดา้ นประชากร 2.7 การศึกษา 2.8 การเปล่ยี นแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2.1 สภาพภมู ศิ าสตรแ์ ละสภาพภมู ิอากาศ ลักษณะภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดฤดูกาลแตกต่างกันและอุณหภูมิของแต่ละพื้นที่แตกต่าง กัน ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของบุคคลโดยตรง เช่น ประเทศไทย ตั้งอยู่บริเวณแถบศูนย์สูตร มีโรค เวชศาสตร์เขตร้อนนานาชนิดเกิดขึ้นกับประชาชน ไดแ้ ก่ โรคพยาธิต่างๆ ไข้มาลาเรยี ซ่ึงประเทศในเขตหนาว จะไม่พบกับปัญหาสุขภาพเหล่าน้ี นอกจากน้ีแล้วสภาพภูมิศาสตร์ ยังก่อให้เกิดภัยธรรมชาติต่างๆ เช่น น้ํา ทว่ ม แผ่นดินไหว พายุ การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ก็เป็นอกี สาเหตุหนึ่งท่ีทำให้การเจ็บปว่ ยแตกต่างกัน เช่น ฤดูหนาว ฤดูรอ้ น หากเปน็ ฤดหู นาว โรคท่พี บบอ่ ยคือ โรคภมู แิ พ้ เปน็ ตน้ สภาพภูมิอากาศมีความสำคัญทั้งอุณหภูมิที่ร้อนเกินไปหรือหนาวเย็นเกินไป ในกรณีที่อุณหภูมิสูง มากอาจเกิดความเจ็บป่วย เช่น ผดผื่น โรคลมแดด (heat syncope) หรือโรคทางเดินอาหาร เนื่องจาก อากาศร้อนทำให้อาหารเน่าเสียได้ง่าย ภาวะขาดน้ำ เป็นต้น สำหรับอุณหภูมิที่หนาวเย็นมากเกินไปก็เกิด

24 ปัญหากับสุขภาพได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก คนสูงอายุหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หอบ หืด เปน็ ตน้ เมือ่ บุคคลเผชญิ อาการหนาวเย็น (แสงโฉม ศิรพิ านชิ , 2555) มกั มอี าการแสดงดงั ตารางที่ 1 ตารางที่ 1 แสดงเกณฑ์ระดบั อุณหภมู ิร่างกาย เทยี บกับอาการและอาการแสดงของภาวะอุณหภูมริ ่างกายตำ่ ระดับ อณุ หภูมิ อาการและอาการแสดง ร่างกาย น้อย 37.2 – 36.1 ปกติ อาจเร่ิมสัน่ สะทา้ นเล็กน้อย 36.1 – 35.0 รสู้ ึกหนาวเยน็ มอื เริม่ ชา และเริ่มหนาวส่ันมากขึ้น ปานกลาง 35.0 -33.9 หนาวส่ัน กลา้ มเน้ือทํางานไม่ประสานกัน เคลื่อนไหวชา้ ลง สบั สนตืน่ เต้นลก็ นอ้ ย 33.9 – 32.2 หนาวสัน่ มากข้ึน พูดลาํ บาก ความจําเสอ่ื มเร่ิมเสอื่ ม เคลื่อนไหวช้าลง ไมส่ ามารถใช้ มอื ได้ เกดิ ภาวะซึมเซา ผวิ หนังซดี เยน็ รุนแรง 32.2 – 30.0 หยุดหนาวสนั่ ผวิ หนงั คล้ำ บวม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไมส่ ามารถเดินได้ สบั สนควบคุม ตัวเอง ไม่ได้ วติ กกงั วล 30.0 – 27.8 กล้ามเนอ้ื แขง็ มนึ งง ไมร่ ับรสู้ ่ิงตา่ ง ๆ อตั ราการเตน้ ของชีพจร และการหายใจลดลง และการ เต้นหัวใจชา้ ลง 27.8 -25.6 ไม่รูส้ กึ ตวั หมดสติ การเต้นของหวั ใจและการหายใจผิดปกติ ไม่สม่ำเสมอ คลำไม่พบ ชพี จร 25.6 – 23.9 ภาวะปอดบวมระบบหัวใจและหายใจลม้ เหลว และเสียชวี ิต ที่มา : Outdoor action Guide to Hypothermia and Cold weather injuries, 2005 2.2 นำ้ น้ำเปน็ ปัจจยั สำคญั ต่อส่งิ มชี ีวติ ทกุ ชนดิ โดยเฉพาะมนุษย์ต้องอาศัยนำ้ ในการดำรงชีพ หากนำ้ มึ คุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น มีสารเคมีเจอื ปน นำ้ เส่ือมคณุ ภาพจากสาเหตุอะไรก็ตามแต่ เชน่ การปลอ่ ย นำ้ เสียจากโรงงาน จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของบคุ คล เช่นเกดิ โรคทางเดินอาหาร อุจจาระรว่ ง อาหารเปน็ พิษ นอกจากนย้ี ังสามาถทำให้เกดิ โรคทางผวิ หนังได้อีกดว้ ย 2.3 เสียง ระดับเสียงที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของบุคคล ตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก คือ เสียงที่ดัง เกิน 85 dB(A): เดซิเบลเอ ส่วนใหญ่พบที่โรงงานอุตสาหกรรม ดังนั้นหากเสียงที่มนุษย์ได้ยินเกินกว่าเกณฑ์ มาตรฐานหรือเกิดมลพิษทางเสียง จะส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของมนุษย์ ได้แก่ อาการหูอื้อ หูหนวก แบบเฉียบพลัน ในกรณีที่เสียงมีความดังเป็นครั้งคราว ในเวลาสั้นๆ อาจทำให้ขาดสมาธิในการทำงาน เกิด ความเครียดได้ 2.4 ส่ิงปฏิกลู และขยะมูลฝอย

25 สิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยจากโรงพยาบาลหรือห้องปฏิบัตกิ ารต่างๆที่ใช้สารเคมี เป็นแหล่งกระจาย ของเชื้อโรคและสารเคมี สารพิษ ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของบุคคล นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ สตั วน์ ำโรคตา่ งๆ ได้แก่ แมลงวนั แมลงสาบ หนู เปน็ ต้น ซงึ่ สัตว์เหล่าน้ีเปน็ สัตวน์ ำโรคทั้งสิ้น เช่นโรคทางเดิน อาหาร นอกจากเกิดโรคแล้ว สง่ิ ปฏกิ ลู และขยะมูลฝอยยังเกดิ กล่ินเหม็นเนา่ สภาพแวดล้อมไมส่ วยงาม ส่งผล ต่อจิตใจได้ 2.5 ระบบเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ ในปจั จบุ ันระบบเศรษฐกิจภายในของประเทศไทยเป็นแบบผสม ซง่ึ หมายถึง ระบบเศรษฐกิจท่ีรัฐเข้า มามีส่วนในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายประการ แต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะเป็นของ เอกชน ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศ ต่าง ๆ ทั่วโลกนิยมใช้ในปจั จุบัน ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเป็นปัจจัยหน่ึงที่ส่งผล กระทบกับครัวเรือนโดยกำลังการบริโภคของครัวเรือนลดลงซึ่งเป็นผลจากรายได้ที่ลดลงจากการถูกเลิกจ้าง หรอื ถกู ลดช่ัวโมงการทำงาน และรายจา่ ยทเี่ พิ่มขนึ้ จากราคาสนิ ค้าที่เพม่ิ ขึ้น กำลังการบรโิ ภคท่ลี ดลงทำให้การ บริโภคสินค้าและบริการลดลง ก่อให้เกิดภาวะขาดสารอาหารได้ สภาพเศรษฐกิจและสังคมของตนเองหรือ สถานะการณร์ อบข้างอาจทำใหค้ รวั เรือนเกดิ ความเครียด ซึมเศร้า และเกิดปญั หาสุขภาพจติ การประกอบอาชีพที่มีความเส่ียงต่อการเกดิ ปัญหาสขุ ภาพเช่น เสียงดังจากเครือ่ งจกั ร ฝุ่นที่เกิดจาก กระบวนการผลิต ความร้อนที่เกิดจากการทำงานของเครื่องจักรต่างๆ เป็นต้น รวมทั้งลักษณะงานที่ซ้ำซาก ท่าทางการทำงานที่ผดิ ธรรมชาติ และอันตรายที่เกิดจาก เครื่องจักร สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการเจ็บป่วย และ สุขภาพอนามยั ระยะยาวแก่คนงานทงั้ สิ้น 2.6 การเปล่ียนแปลงดา้ นประชากร การเปลี่ยนแปลงทางประชากร ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างทางประชากร คือ ทำให้จำนวนและ สัดส่วนทางประชากรในกลุ่มอายุเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยทั่วไปโครงสร้างทางประชากรแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คอื วัยเดก็ (อายุ 0-14 ปี) วยั ทำงาน (อายุ 15-59 ป)ี วยั สงู อายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) จากการคาดการณ์สัดส่วน ประชากรในประเทศไทย พบว่าวัยทำงานจะเริ่มลดลง ก่อนปี พ.ศ.2563 และกลุ่มคนสูงอายุจะเพิ่มมากข้ึน จากการทก่ี ลุ่มบุคคลวัยทำงานลดลงน้ี ส่งผลให้เกิดความแปรปรวนและการเติบโตทางเศรษฐกิจเกิดปัญหาได้ และจากการที่ประชากรสูงอายุมีเพิ่มมากขึ้นจะส่งผลต่อระบบการดูแลสุขภาพของประเทศ เนื่องจากปัญหา สุขภาพของผู้สูงอายุคือโรคเรื้อรัง ได้แก่ มะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินหายใจ รวมทั้ง ความผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะต่างๆ เช่น การสูญเสียการมองเห็น การได้ยิน ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น ภาวะสมองเสื่อม รัฐบาลและหน่วยงานสาธารณสุขต้องมีกลยุทธ์และนโยบายทีเ่ ตรียมรับมือกับปญั หาท่ี จะเกิดข้นึ ในอนาคต 2.7 การศึกษา การศึกษามีความสำคัญของการดูแลสุขภาพจะชว่ ยให้บุคคลมีพฤติกรรมเกยี่ วกับสุขภาพต่างๆ อย่าง ถูกต้อง เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การป้องกันอุบัติเหตุ พฤติกรรมเหล่านี้จะติดตัวเป็น

26 ลกั ษณะนสิ ยั ท่ีกอ่ ให้เกดิ ผลดีต่อสขุ ภาพเม่ือเข้าส่วู ัยผูใ้ หญ่และผสู้ งู อายุต่อไป นอกจากการศึกษาทำให้บุคคลมี ความรู้ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคแล้ว ยังทำให้รู้ถึงสิทธิในการรักษา สามารถเข้าถึงระบบบริการ สขุ ภาพได้ 2.8 การเปล่ียนแปลงด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศนนั้ ไม่ได้เกิดปัญหาต่อสงั คมเฉพาะดา้ นภยั คุกคามทางสงั คมจากการเข้าถึงส่ือท่ี ไม่เหมาะสมอยา่ งง่ายเท่านั้น แต่ยงั ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทัง้ ดา้ นร่างกาย และด้านจิตใจ และด้านสังคมซ่ึง โดยส่วนใหญ่นั้น ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมักไม่รู้ตัวว่าเกิดปัญหาเหล่านั้นขึ้น ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต รวมทั้งโทรศัพท์มือถือประเภท smart phone หรือใช้ แท็ปเล็ต จึงควรระมัดระวังในการใช้ อุปกรณ์เหล่านี้อย่างเหมาะสม ถูกวิธี เพื่อป้องกันการเกิดผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ตาหรือระบบประสาท เกิด โรคที่เกิดจากท่านั่ง เช่น กลุ่มอาการปวดข้อต่างๆ หรือโรคที่เกิดจากเชื้อโรคที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์ เช่น โรค ภูมแิ พ้ เปน็ ตน้ ตัวอย่างผลกระทบต่อร่างกายมดี ังน้ี 8.1 ดวงตา กล้ามเนือ้ และระบบประสาท ทำให้เกิดอาการเมอื่ ยตา สายตาเส่ือม ปวดกล้ามเน้อื และ ปวดศรี ษะ คลนื่ ไส้ เป็นตน้ ถ้าอาการเปน็ มากยงั อาจกอ่ ให้เกิดปญั หาสายตาเสื่อมลง เน่ืองจากขณะใช้ คอมพิวเตอร์ดวงตาต้องจ้องมองหนา้ จอทมี่ ตี วั หนงั สอื หรือ ภาพกระพริบตลอดเวลา ทำให้กลไกตามธรรมชาติ ของการกระพรบิ ตาลดน้อยลงจนเราไม่สังเกต เปน็ เหตผุ ลสำคัญท่ีทำให้ตาแหง้ 8.2 กลุ่มอาการปวดข้อ (Carpal Tunnel Syndrome: CTS) กลุม่ อาการปวดข้อ ซึง่ มสี าเหตุเกดิ จากมกี ารกดทบั เส้นประสาท median nerve ท่บี ริเวณ ข้อมอื กล่มุ อาการน้ีสามารถพบได้ในผู้ทีใ่ ช้คอมพิวเตอรเ์ ปน็ เวลานานๆ ทำใหเ้ กิดอาการของโรคกระดูกข้อมือ เจ็บปวด ข้อกระดูกนิ้วมือเสื่อม และชา จากการกดแป้นพิมพ์ และการใช้เมาส์ต่อเนือ่ งเป็นเวลานาน การจับ เมาสโ์ ดยมขี ้อมือเปน็ จุดหมุน อาจเกิดพังผืดบรเิ วณข้อมือ หากปล่อยทง้ิ ไว้เป็นเวลานานจะทำใหเ้ กิดอาการชา จนไมส่ ามารถหยบิ ของได้ 8.3 โรคทีเ่ กิดจากการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยเกดิ จากเช้ือโรคทีม่ าจากมือและนว้ิ ของผใู้ ช้ โดยเฉพาะคีบอรด์ หนา้ จอคอมพิวเตอร์ จะพบเชื้อ แบคทเี รยี หรือไรฝุน่ ได้ อาจเกดิ การติดเช้ือในร่างกาย หรอื เกดิ โรคภมู ิแพ้จากไรฝนุ่ ได้ 8.4 กลมุ่ อาการทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness) มกั จะเกดิ กบั ผูท้ ่ีเล่นอนิ เทอรเ์ น็ต ท่ีทำใหก้ ลายเปน็ คนขเี้ บ่ือ หงดุ หงิดง่าย ใจร้อน เครียดงา่ ย เชน่ ทนรอเครื่องดาวน์โหลดนานๆ ไม่ได้ กระวนกระวาย หากมี อาการมากๆ กจ็ ะเขา้ ขา่ ยโรคประสาทได้ จึงควรปรบั เปล่ยี นลักษณะงานและพยายามควบคุมอารมณ์ตนเอง 8.5 ปญั หาปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ ปัญหาปวดหลัง เกดิ จากคยี ์บอรด์ และเมาส์ไม่อยู่ในระดับเดยี วกนั ถา้ อยูส่ ูงกว่าเวลาใชค้ ียบ์ อร์ดและเมาส์นาน ๆ ไหล่ จะค่อย ๆ ยกสงู ขึ้นโดยอัตโนมตั ิ เพื่อใหแ้ ขนและมือจะได้ทำงานถนัด การยกไหล่ข้ึนนาน ๆ กลา้ มเนื้อท่ียก ไหลจ่ ะล้า ปวดเม่ือยได้ ปวดต้ังแตไ่ หล่ บ่า ถงึ คอ ขณะนง่ั ทำคอมพิวเตอร์หากเกา้ อ้ีไม่สูงพอดีท่เี ทา้ สามารถ วางพ้นื ได้ กจ็ ะปวดเมื่อย

27 3. ระบบบริการสขุ ภาพ (Health Service System) ถอื เป็นปัจจัยกำหนดสขุ ภาพที่สำคัญด้วย การพฒั นาระบบบรกิ ารสขุ ภาพหรือระบบบริการ สาธารณสุข เพ่ือใหเ้ กิดความเทา่ เทยี ม และประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงระบบบรกิ ารสขุ ภาพทีไ่ ด้มาตรฐาน และมคี วามยั่งยืน องคป์ ระกอบของระบบบริการสุขภาพ ประกอบด้วย 3.1 การกระจายโครงสร้างพน้ื ฐานของระบบบรกิ ารสาธารณสขุ ทั้งภาครัฐและเอกชน มีการ กระจายมีการครอบคลุมมากขน้ึ และการสรา้ งหลักประกันด้านสขุ ภาพจะสง่ ผลให้ประชาชนมี สุขภาพดีขนึ้ ได้ 3.2 โครงสรา้ งองคก์ รการบรหิ ารงานสาธารณสุข ในการบรหิ ารการสาธารณสุขจะต้องปรบั องค์กรการทำงานใหเ้ ล็กลงเน้นกระจายอำนาจไปสู่หนว่ ยปฏบิ ัตจิ ะทำให้เกิดการปรบั กระบวนการทำงานให้ ตอบสนองต่อภาวะการมีสขุ ภาพดีของประชาชน 3.3 คุณภาพและประสทิ ธภิ าพในการบริการ มีแนวโน้มการแข่งขัน การพัฒนาคณุ ภาพ บรกิ าร และการพัฒนาคณุ ภาพมาตรฐานของสถานพยาบาลทกุ ประเภท ทุกระดบั เกดิ ขน้ึ แต่มีปัญหาการ กระจายทรัพยากรสาธารณสขุ ไม่ทัดเทยี มกันในภูมิภาคสง่ ผลให้ปญั หาสขุ ภาพอนามยั ของประชาชนในบาง พนื้ ทม่ี ีปัญหารุนแรง 3.4 ค่าใช้จา่ ยด้านสุขภาพ มีการใช้ทรพั ยากรอยา่ งสนิ้ เปลือง ทำให้ค่าใช้จา่ ยดา้ นการ รักษาพยาบาลในภาพรวมของสงั คมสูงขน้ึ 3.5 การมสี ว่ นร่วมของประชาชน การพ่ึงตนเองและการมีส่วนรว่ มในการรักษาพยาบาลของ ประชาชนในการดูแลสขุ ภาพตนเอง ครอบครัว และชมุ ชน โดยเน้นการสาธารณสขุ มลู ฐานยังทำไดผ้ ลดีอย่าง แท้จริงในบางพื้นทเี่ ท่านั้น และขาดความย่งั ยนื ในการพฒั นา ดังนั้นคุณภาพการบริการสุขภาพ การส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของบุคคล จำเป็นจะต้องมีการพัฒนา แบบองคร์ วม โดยบูรณาการการพฒั นาปัจจัยตา่ งๆ ท่ีมคี วามสมั พันธ์และมีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ ร่วมกับ ระบบบริการสาธารณสขุ โดยมุง่ เน้นให้คนมคี วามร้ใู นการสง่ เสริมสุขภาพ การปอ้ งกนั โรค การดแู ลตนเองและ ครอบครัว ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านจิตใจ คุณภาพการบริการสุขภาพ เป็นการจัดบริการสาธารณสุขใน รูปแบบต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและความต้องการของประชาชน ในเรื่องสุขภาพอนามัย เพื่อยกระดับสุขภาพ อนามยั ของคนในชาติให้อยู่บนรากฐานของการมีสขุ ภาพอนามัยท่ีดี โดยทัง้ ภาครัฐและเอกชนให้ความร่วมมือ กันจัดบริการสุขภาพให้ทั่วถึง แต่ในปัจุบันบุคลากรสาธารณสุขมีจำนวนจำกัด ตลอดจนเครื่องมือทางการ แพทย์ทมี่ คี ุณภาพกม็ ีจำกัดเฉพาะสถานบริการขนาดใหญ่ ทำใหบ้ ริการได้ไมท่ ่ัวถึง และประชาชนเข้าถึงสถาน บริการสาธารณสขุ ได้เพยี งเฉพาะกลุ่มบุคคลทีอ่ ยู่ในเมอื งใหญ่ เอกสารอ้างองิ ขา่ วสารกรมสขุ ภาพจิต ปีท่ี 18, ฉบับที่ 207 (เดือนมีนาคม 2554). http://www.dmh.go.th. (Accessed 25 เม.ย.54).

28 ค่มู ือวทิ ยากรสอนเร่ืองเครียด. ศูนย์สุขภาพจิตที่ 1 – 15 กรมสขุ ภาพจิต กระทรวงสาธารณสขุ . http://www.dmh.go.th/plan/FormRptDmh/dl.asp?id=108 (Accessed 25 เม.ย.54). จนิ ดา บุญช่วยเก้อื กูล. การดูแล รกั ษา และส่งเสริมสุขภาพ. ใน สชุ าติ โสมประยรู , สพุ ัฒน์ ธรี เวชเจรญิ ชัย, บรรณาธิการ. สขุ ภาพเพ่ือชีวติ . พิมพค์ ร้ังที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนกั พิมพม์ หาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์, 2548. ชยั วฒั น์ วามวรรตั น์ และ สมศกั ด์ิ ถน่ิ ขจี. ภาวะเสีย่ งทางสุขภาพและสวัสดกิ ารของบุคคลวยั ต่างๆ. ใน สชุ าติ โสมประยูร, สุพัฒน์ ธีรเวชเจรญิ ชัย, บรรณาธิการ. สุขภาพเพอ่ื ชวี ติ . พมิ พค์ รั้งท่ี 5. กรงุ เทพฯ : สำนักพิมพม์ หาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์, 2548. ดวงพงศ์ พงศ์สยาม. มานษุ ยวิทยาสุขภาพ. พมิ พ์ครั้งท่ี 1. กรุงเทพฯ : โอ เอส พรน้ิ ต้งิ เฮ้าส์, 2552. พัชร นักบรรเลง, สุนีรตั น์ ภเู่ อ่ียม, บงั อร สำล.ี ปจั จัยที่มีผลกระทบตอ่ สุขภาพ. ใน: เรณู สอนเครือ, บรรณาธกิ าร. แนวคดิ พื้นฐานและหลักการพยาบาล. พิมพ์ครง้ั ท่ี 9. กรงุ เทพฯ : ยุทธรินทร์ การ พมิ พ์ จำกัด, 2552. ไพบูลย์ โล่สุนทร. ระบาดวิทยา. พิมพค์ รั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : โรงพมิ พ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั ,2552. รายงานสรุปผลการสำรวจสุขภาพจิตของประชาชนในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ชว่ งเดอื น สิงหาคม 2550 – ก.พ. 2551. กรมสุขภาพจติ กระทรวงสาธารณสขุ . http://www.social.dmh.go.th. (Accessed 25 เม.ย.54). โรงพยาบาลจติ เวชนครสวรรค์ราชนครนิ ทร์ กรมสุขภาพจิต(กนั ยายน/2550). ความรู้สุขภาพจติ สำหรับ ประชาชน. http://www.nph.go.th/knowledge/sukapabjit/sukapabjit.html. (Accessed 25 เม.ย.54). สุพนิ ดา แซเ่ ตียว. การจัดการดา้ นสุขภาพอนามัย. พิมพค์ รง้ั ท่ี 1. ฉะเชงิ เทรา : โรงพิมพป์ ระสานมติ ร จำกดั , 2546. แสงโฉม ศริ ิพานชิ . การป้องกันและดูแลภาวะอณุ หภมู ริ ่างกายต่ำ (Hypothermia) ในชว่ งอากาศหนาว เยน็ . สํานักระบาดวิทยา กรมควบคมุ โรค รายงานการเฝาระวังทางระบาดวทิ ยาประจาํ สัปดาห ปท่ี 43 ฉบบั ท่ี 2: 20 มกราคม 2555. WHO in Hogarth 1978 : 236. กรมสขุ ภาพจิต กระทรวงสาธารณสขุ .http://www.social.dmh.go.th. (Accessed 25 เม.ย.54).

29

30 แบบฝกึ หดั กล่มุ เรียนที่............. ช่อื สกุลนิสติ ...........................................................................................รหสั นิสติ ............................................ กจิ กรรมที่ 1 จงอธิบายพร้อมยกตัวอยา่ งปัจจยั ภายใน ท่สี ง่ ผลต่อสภุ าพ ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… กิจกรรมที่ 2 จงอธิบายปจั จยั ภายนอกทส่ี ำคัญ ท่สี ง่ ผลต่อสุภาพ ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

31 ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook