Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สมรรถนะ_1567998310

สมรรถนะ_1567998310

Published by ปาริชาติ ปิติพัฒน์, 2019-10-19 23:21:39

Description: สมรรถนะ_1567998310

Search

Read the Text Version

การโค้ช เพือ่ เสริมสร้างสมรรถนะ ความรู้ สมรรถนะ ทักษะ คุณลักษณะ รองศาสตราจารย์ ดร.วชิ ัย วงษ์ใหญ่ รองศาสตราจารย์ ดร.มารตุ พฒั ผล บณั ฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรนี ครินทรวโิ รฒ

การโคช้ เพอ่ื เสรมิ สร้างสมรรถนะ รองศาสตราจารย์ ดร.วชิ ยั วงษ์ใหญ่ รองศาสตราจารย์ ดร.มารุต พัฒผล บณั ฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรนี ครนิ ทรวโิ รฒ

การโคช้ เพ่ือเสรมิ สรา้ งสมรรถนะ รองศาสตราจารย์ ดร.วชิ ัย วงษ์ใหญ่ รองศาสตราจารย์ ดร.มารตุ พฒั ผล พิมพเ์ ผยแพรอ่ อนไลน์ สิงหาคม 2562 แหลง่ เผยแพร่ ศนู ยผ์ ู้นานวัตกรรมหลกั สูตรและการเรียนรู้ www.curriculumandlearning.com พมิ พ์ที่ ศูนย์ผูน้ านวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้, กรงุ เทพมหานคร หนังสือเลม่ นีไ้ ม่มีลิขสทิ ธิ์ จดั พมิ พเ์ พอ่ื ส่งเสรมิ สงั คมแหง่ การเรยี นรแู้ ละการแบ่งปนั

คานา หนังสือ “การโค้ชเพ่ือเสริมสร้างสมรรถนะ” เล่มน้ี เขียนข้ึนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนาเสนอแนวคิด หลักการ และเทคนิค การโค้ชเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียน ซึ่งเป็นจุดเน้นของการ จัดการเรียนรู้ในยุคท่ีเทคโนโลยีมีสมรรถนะทางานแทนมนุษย์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ผู้เรียนที่มีสมรรถนะจะสามารถประกอบอาชีพได้อย่าง สรา้ งสรรค์ ห วั ง เ ป็ น อ ย่ า ง ย่ิ ง ว่ า ห นั ง สื อ เ ล่ ม น้ี จ ะ เ ป็ น ป ร ะ โ ย ช น์ ตอ่ ผูท้ ี่เกย่ี วขอ้ งได้มากพอสมควร รองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย วงษใ์ หญ่ รองศาสตราจารย์ ดร.มารุต พฒั ผล

สารบญั 1 1 1. บทนา 2 2. ความหมายของสมรรถนะ 4 3. ความสาคญั ของสมรรถนะ 6 4. แนวทางการโค้ชเพื่อเสรมิ สร้างสมรรถนะ 9 5. เทคนคิ การกระตุน้ สมรรถนะผ้เู รียน 11 6. ลกั ษณะช้ันเรียนทส่ี ่งเสริมสมรรถนะ 12 7. การประเมนิ เพอ่ื กระตนุ้ สมรรถนะ 13 8. บทสรปุ บรรณานุกรม

1 การโค้ชเพอื่ เสริมสร้างสมรรถนะ 1. บทนา สมรรถนะ (Competency) เป็นความสามารถของผู้เรียน ในการนาความรู้ ความเข้าใจ และคุณลักษณะท่ีมีอยู่มาใช้ปฏิบัติงาน ส่ิงใดส่ิงหนึ่งได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ที่กาหนดไว้ เป็นจุดเน้นของการจัดการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ ในทุกระดับ ท่ามกลางโลกยุคท่ีใช้เทคโนโลยีข้ันสูงทางานแทนมนุษย์ บทบาทครูผู้สอนต้องปรับเปล่ียนจากผู้ถ่ายทอดความรู้ มาเป็นผู้ชี้แนะ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือโค้ช (Coach) พัฒนาผู้เรียนให้มี สมรรถนะในดา้ นต่างๆ ที่จาเปน็ ต้องใชใ้ นการประกอบอาชีพในอนาคต 2. ความหมายของสมรรถนะ สมรรถนะ หมายถึง ความสามารถในการกระทาสง่ิ ใดสิ่งหน่ึง ได้อย่างถูกต้องตามเกณฑ์ที่กาหนดไว้ โดยใช้ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และคุณลักษณะต่างๆ ที่มีอยู่ในตนเอง เช่น สมรรถนะในการ สร้างสรรค์นวัตกรรม หมายถึง ความสามารถในการสร้างสรรค์

2 นวัตกรรม โดยใช้ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และคุณลักษณะต่างๆ จนได้นวัตกรรมท่ีเปน็ ไปตามเกณฑ์ทีก่ าหนด เป็นต้น 3. ความสาคัญของสมรรถนะ สมรรถนะมคี วามสาคญั ต่อผู้เรยี นในแง่ของการมีโอกาสในการ พัฒนาอาชีพในอนาคตของผู้เรียน กล่าวคือ ผู้เรียนที่มีสมรรถนะ จะมีโอกาสพัฒนาความก้าวหนา้ ในการประกอบอาชีพมากกว่าผู้เรียน ทีข่ าดสมรรถนะ ไม่วา่ จะเปน็ อาชีพใดๆ กต็ าม ผู้ เ รี ย น ที่ มี ส ม ร ร ถ น ะ จ ะ ส า ม า ร ถ น า ค ว า ม รู้ ใ น เ ชิ ง ท ฤ ษ ฎี ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติได้จริง ไม่ใช่แค่รู้แบบท่องจาได้ หรือ รูแ้ ต่ทาไม่ได้ อกี ทง้ั ผู้เรยี นท่มี ีสมรรถนะยงั มีความม่นั คงในการประกอบ อาชีพในระยะยาว สามารถสร้างสรรค์นวตั กรรมในอาชพี ได้ ตรงกันข้ามกับผู้เรียนท่ีขาดสมรรถนะซ่ึงมีหลายรูปแบบ เช่น มีความรู้แต่นาไปใช้ไม่ได้ หรือว่า มีความรู้แต่ขาดคุณลักษณะ ความอดทนมุ่งม่ัน หรืออาจจะไม่มีท้ังความรู้และคุณลักษณะท่ีเอื้อต่อ การปฏิบัติงาน เป็นต้น ส่ิงเหล่านี้ส่งผลทาให้ผู้เรียนขาดโอกาสในการ พฒั นาสมรรถนะของตนเองในระยะยาวเช่นกนั

3 ดังน้ันผู้สอนจึงควรมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะด้านต่างๆ โ ด ย ก า ร เ ปิ ด โ อ ก า ส ใ ห้ ผู้ เ รี ย น ไ ด้ ใ ช้ ค ว า ม รู้ ค ว า ม ส า ม า ร ถ แ ล ะ คุณลักษณะของตนเองในการลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยตนเอง เพ่มิ เตมิ จากการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งให้เกดิ ความรู้ความเข้าใจ แต่เพียงเท่านั้น ความสาคัญของสมรรถนะในแง่ของการประกอบอาชีพ ของผ้เู รียนสรปุ ได้ดงั แผนภาพตอ่ ไปน้ี ผเู้ รียนคนที่ 1 ไม่มีความรู้ ไม่มีสมรรถนะ ไมม่ ีทกั ษะ ไม่มีนวตั กรรมในอาชีพ ไมม่ คี ณุ ลกั ษณะ ผูเ้ รียนคนท่ี 2 มคี วามรู้ มีสมรรถนะ มีทกั ษะ มนี วตั กรรมในอาชพี มีคณุ ลกั ษณะ ภาพประกอบ 1 การมสี มรรถนะกับการประกอบอาชีพของผเู้ รยี น

4 4. แนวทางการโคช้ เพื่อเสรมิ สร้างสมรรถนะ ผู้สอนใช้การโค้ชให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาสมรรถนะด้านตา่ งๆ ได้ตามแนวทางตอ่ ไปน้ี 1. ชี้แนะให้ผู้เรียนเกิด Concept ในการเรียนรู้อย่าง ถูกต้องและชัดเจน (ศึกษารายละเอียดเพ่ิมเติมไดใ้ นหนังสือ “การโคช้ ท่ี เน้น Concept ของผ้เู ขยี น) 2. กระตุ้นให้ผู้เรียนเช่ือมโยง Concept หนึ่งกับ Concept อ่ืนๆ อย่างสม่าเสมอ เพ่ือให้ผู้เรียนต่อยอดองค์ความรู้ ไปส่กู ารปฏบิ ัติได้อยา่ งแม่นยา 3. ออกแบบหรือกาหนดสถานการณ์ให้ผู้เรียนนา Concept ที่ตนเองมีอยู่ไปปฏิบัติงานสิ่งใดสิ่งหน่ึงอย่างสอดคล้องกับ ความต้องการ ความสนใจ และความถนัด ซ่ึงเป็นสถานการณท์ ี่จะตอ้ ง ใช้ความรู้หรือ Concept ต่างๆ ตลอดจนทักษะ และคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ เช่น ความซ่ือสัตย์สุจริต ความมีวินัย เป็นต้น และ ระหว่างที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานหรือกิจกรรม ผู้สอนควรสังเกตและ ตรวจสอบสมรรถนะของผู้เรียน ว่าสามารถปฏิบัติได้จริงหรือไม่ (ศึกษา รายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ “การประเมินตามสภาพจริงอิง สมรรถนะ” ของผู้เขยี น)

5 4. สรุปผลการประเมินและให้ข้อมูลย้อนกลับอย่าง สร้างสรรค์แก่ผ้เู รยี นเป็นรายบุคคล โดยมุ่งสรุปใหท้ ราบวา่ ผ้เู รียนแต่ละ คนเกดิ สมรรถนะแลว้ หรอื ไม่อย่างไร สง่ิ ใดท่ผี เู้ รยี นทาได้ดี ส่งิ ใดทผ่ี เู้ รียน ยังทาไม่ได้ และมีเหตุปัจจัยใดที่ทาให้ผู้เรียนยังทาไม่ได้ จากน้ันนาผล การประเมินไปใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ต่อไป สรุปได้ดัง ภาพประกอบ 2 ชแ้ี นะใหเ้ กิด Concept กระต้นุ ใหเ้ ช่อื มโยง Concept ออกแบบสถานการณ์ลงมือปฏบิ ตั ิ ประเมินและใหข้ ้อมูลย้อนกลับ ภาพประกอบ 2 แนวทางการโค้ชเพอ่ื เสริมสรา้ งสมรรถนะ

6 5. เทคนคิ การกระตนุ้ สมรรถนะผู้เรยี น ผู้สอนสามารถใชเ้ ทคนิคการโคช้ เพื่อกระตุ้นสมรรถนะผู้เรียน ได้ดงั น้ี 1. อย่าทาตัวเป็นผู้เช่ียวชาญ เพราะจะทาให้ผู้เรียนคิด พึ่งพิงผู้สอน แทนการพ่ึงพาความสามารถของตนเอง และไม่คิดในสิ่งที่ แตกต่างจากความคิดของผู้สอน การทาตัวเป็นผู้เช่ียวชาญของผู้สอน จะส่งผลทาให้ผ้เู รียนไม่ใช้ความรคู้ วามสามารถของตนเอง และอาจะทา ใหข้ าดความเชอื่ ม่ันในความสามารถของตนเองในระยะยาว 2. อย่าขัดจังหวะโดยไม่จาเป็น เพราะการเรียนรู้เป็น กระบวนการท่ีอาศัยความต่อเนื่องของการคิดและการลงมือปฏิบัติ กิจกรรม หากผู้เรียนมีจิตใจจดจ่ออยู่กับการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ ผูส้ อนไมค่ วรขัดจงั หวะหรอื รบกวนสมาธขิ องผูเ้ รยี น 3. ใ ช้ พ ลั ง ค า ถ า ม ( power questions) เ พ่ื อ เปลี่ยนแปลงกระบวนการคิดและพฤติกรรมการเรียนรู้ หากพบว่า ผู้เรียนเกิดความรคู้ วามเขา้ ใจท่คี ลาดเคล่ือน (misconception) หรือ ขาดคุณลักษณะในการเรียนรู้ การใช้พลังคาถามจะกระตุ้นให้ผู้เรียนคิด และเกดิ การเปล่ียนแปลงพฤติกรรมดว้ ยความสมัครใจ

7 4. ช้ีแนะในส่ิงที่ถูกต้องและให้กาลังใจ หากพบว่า ผู้เรียนปฏิบัติงานหรือกิจกรรมไม่ถูกต้อง ให้ผู้สอนให้กาลังใจในความ มุ่งม่ันพยายามของผู้เรียนก่อน แล้วชี้แนะแนวทางการปฏิบัติท่ีถูกต้อง ต่อไป และผู้สอนต้องยึดหลักการว่า “ทาให้ดูเป็นตัวอย่างได้ แต่จะไม่ ทาแทน” เพราะการทาแทน เป็นการทาลายโอกาสการพัฒนา สมรรถนะของผู้เรียน 5. ช้ีแนะให้ผู้เรียนเกิดการรับรู้ความสามารถของตนเอง ว่าตนเองสามารถพัฒนาสมรรถนะได้ด้วยความสามารถของตนเอง ทา ให้ผู้เรียนรับรู้ความสามารถของตนเอง มี Growth mindset ต่อการ พัฒนาตนเอง 6. ชื่นชมในความมุ่งม่ันพยายาม แทนการยกย่อง ผลงานมากเกินไป เพราะความมุ่งม่ันพยายามเป็นแก่นสาระของการ เสรมิ สร้างสมรรถนะให้เกดิ กับผู้เรยี น

8 ชน่ื ชม อย่าทาตัว อย่าขดั จังหวะ ในความพยายาม เปน็ ผูเ้ ช่ยี วชาญ โดยไมจ่ าเปน็ กระตนุ้ เทคนคิ การกระตุ้น ใชค้ าถาม Growth mindset สมรรถนะผู้เรยี น กระตุ้นการคดิ ชี้แนะใหท้ า แต่ไม่ทาแทน ภาพประกอบ 3 เทคนคิ การกระตุน้ สมรรถนะของผ้เู รียน

9 6. ลกั ษณะชัน้ เรยี นท่ีสง่ เสริมสมรรถนะ ช้ันเรยี นทช่ี ว่ ยเสรมิ สร้างสมรรถนะของผเู้ รียนมลี ักษณะดงั น้ี 1. ผู้เรียนกาหนดเป้าหมายความสาเร็จทางการเรียนรู้ ของตนเอง และวางแผนการเรียนรู้ท่ีสอดคล้องกับ learning style ของตนเอง แทนการรับ order เปา้ หมายการเรียนร้จู ากผสู้ อน 2. ช้ันเรียนมีกิจกรรมที่หลากหลายในเวลาเดียวกัน คล้ายห้างสรรพสินค้าท่ีเราสามารถเลือกซ้ือสิ่งที่เราต้องการ สิ่งท่ีเรา ชอบ ทาให้ผเู้ รยี นมีแรงจูงใจในการปฏบิ ัตกิ ิจกรรม 3. กิจกรรมการเรียนรู้มีลักษณะบูรณาการ Concept ต่างๆ มากกว่ากิจกรรมการเรยี นรู้ที่ไมบ่ รู ณาการและแยกส่วน 4. กิจกรรมการเรียนรู้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนปฏิบัติ กจิ กรรมตามความสามารถของตนเองท่ีสามารถประสบความสาเร็จได้ ด้วยตนเอง

10 5. ผู้เรียนประเมินตนเอง (self-assessment) ด้วย เกณฑ์หรือมาตรฐานการประเมินท่ีชัดเจน และแปรผันได้ตามระดับ ความสามารถของผู้เรียน 6. ผู้สอนเป็นโค้ช ช้ีแนะ ให้คาแนะนา หรือทาตัวอย่าง ให้ดูก่อนแล้วให้ผู้เรียนปฏิบัติเอง เพ่ือช่วยกระตุ้นสมรรถนะ อยา่ งตอ่ เนือ่ ง ทาใหด้ ู ผูเ้ รยี นกาหนดเปา้ หมาย มีกิจกรรม แตไ่ มท่ าแทน การเรยี นรขู้ องตนเอง ทห่ี ลากหลาย ผู้เรยี น ลกั ษณะช้ันเรียน กจิ กรรม ประเมนิ ตนเอง ที่ส่งเสริมสมรรถนะ บรู ณาการ Concept ผูเ้ รียนใช้ความสามารถ ของตนเอง ภาพประกอบ 4 ลกั ษณะชั้นเรียนทส่ี ง่ เสริมสมรรถนะ

11 7. การประเมนิ เพอ่ื กระตุ้นสมรรถนะ จุดเน้นของการประเมินเพื่อกระตุ้นสมรรถนะ คือ การให้ ผู้เรียนประเมินตนเองและพัฒนาสมรรถนะของตนเอง ให้มี ความกา้ วหน้าอยา่ งต่อเนื่อง มแี นวทางการประเมนิ ตามขัน้ ตอนดังนี้ 1. อธิบาย ชี้แจง เกณฑ์การประเมิน หรือเกณฑ์การให้ คะแนน (Scoring rubrics) ให้กับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนศึกษาและทา ความเข้าใจระดับมาตรฐานการประเมินสมรรถนะ ก่อนที่จะให้ผู้เรียน ประเมนิ ตนเอง ซง่ึ ผูเ้ รียนจะเข้าใจวา่ เขาจะประเมนิ ตนเองอย่างไร 2. ให้ผู้เรียนประเมินตนเองโดยใช้เกณฑ์การประเมินหรือ เกณฑ์การให้คะแนนท่ีอธิบายและชี้แจงไปแล้ว โดยมีข้อตกลงว่า เป็นการประเมนิ เพื่อปรบั ปรุงและพัฒนา ไม่ใช่การประเมินเพอ่ื ตัดสิน 3. ผู้เรียนแลกเปลี่ยนผลการประเมินของตนเองกับเพื่อน และให้เพื่อนประเมินตนเอง (การประเมินโดยเพ่ือน) โดยใช้เกณฑ์ การประเมนิ หรอื เกณฑ์การให้คะแนนเดียวกนั

12 4. ผู้เรียนทบทวนผลการประเมินตนเอง และผลจาก การที่เพ่อื นประเมิน แลว้ สรปุ วา่ ตนเองต้องพัฒนาสมรรถนะในด้านใด เพ่ิมเตมิ และมแี นวทางการพัฒนาอย่างไร 5. ผู้สอนให้กาลังใจผู้เรียนและกระตุ้น Growth mindset ให้เกดิ กับผู้เรียน 8. บทสรุป การโค้ชที่เสริมสร้างสมรรถนะ เป็นจุดเน้นสาคัญของ การศึกษาในปัจจุบัน ผู้เรียนที่มีสมรรถนะจะมีโอกาสก้าวหน้าในการ ประกอบอาชีพและสร้างสรรค์นวัตกรรมในอาชีพได้ การเสริมสร้าง สมรรถนะของผู้เรียน ด้วยการโค้ชของผู้สอนเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้ ผู้เรียนเกิดการพัฒนาสมรรถนะและเกิด Growth mindset ในการ พัฒนาตนเองอย่างต่อเน่ือง และใช้การประเมินตนเองเป็นส่ิงกระตุ้น ให้ผู้เรียนมองเห็นพัฒนาการของสมรรถนะของตนเองและวางแผน พฒั นาตอ่ ไป

13 บรรณานกุ รม วชิ ยั วงษ์ใหญ่, และมารุต พฒั ผล. (2562). การโคช้ เพอ่ื พัฒนาศักยภาพ ผูเ้ รยี น. กรงุ เทพฯ: จรลั สนิทวงศ์การพิมพ.์ ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ฉบับ ราชบณั ฑติ ยสถาน. (พมิ พ์ครง้ั ที่ 1). กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ.์ Colby, R. (2017). Competency – based Education: A New Architecture for K-12 Schooling. MA: Harvard Education Press. Goodyear, T. (2016). Competency-Based Education and Assessment: The Excelsior Experience. NY: Excelsior College.

ผ้เู รยี นท่ีมสี มรรถนะ จะสามารถนาความรใู้ นเชงิ ทฤษฎี ไปประยกุ ต์ใช้ในการปฏิบัตไิ ดจ้ ริง


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook