รายงานผล การดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง เอกสาร ศน. ที่ 10/2564 กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2
100รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง คำนำ ผู้รายงานได้ดำเนินการโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ประจำปีงบประมาณ 2564 กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัย และพ่อแม่ผู้ปกครอง มีภารกิจในการอบรมปฏิบัติการพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครู ปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครองให้กับครู ปฐมวัยที่จัดประสบการณ์ในระดับชั้นปฐมวัยของสถาน ศึกษาในสังกัด ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM Meeting ในวันที่ 19 - 20 ตุลาคม 2564 เพื่อให้ครูปฐมวัย สร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง และสามารถนำไปใช้ในการจัด ประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ รายงานผลการอบรมปฏิบัติการโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษ ที่ 21 กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ เล่มนี้ จัดทำขึ้น เพื่อสรุปผล และข้อเสนอ แนะของผู้เข้ารับการฝึกอบรมปฏิบัติการครั้งนี้ รวมทั้งรวบรวมเอกสารประกอบการฝึกอบรม อันจะ เป็นประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้สนใจในการนำข้อมูลไปใช้ ประโยชน์ต่อไป ปาริชาติ ปิติพัฒน์ ผู้รายงาน
100รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง สารบัญ บทที่ 1 ความสำคัญ 1 หลักการและเหตุผล 1 วัตถุประสงค์ 4 ระยะเวลาและสถานที่ในการดำเนินกิจกรรม 4 เป้าหมาย 4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ 4 บทที่ 2 หลักการแนวคิดที่เกี่ยวข้อง 5 การพัฒนาครู 5 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 16 การสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ 32 บทที่ 3 วิธีการดำเนิน 39 กลุ่มเป้าหมาย 39 เครื่องมือที่ใช้ 39 การเก็บรวบรวมข้อมูล 39 การวิเคราะห์ข้อมูล 40 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 41 บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน 42 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 42 ขั้นตอนการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 42 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 43 บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ 51 สรุปผล 51 ข้อเสนอแนะ 51 ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ 52 บรรณานุกรม 53 ภาคผนวก 55 56 ภาคผนวก ก โครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย ฯ 62 ภาคผนวก ข คำสั่ง ที่ 247/2564 65 ภาคผนวก ค เครื่องมือที่ใช้ 69 ภาคผนวก ง ผลงานครู 74 ภาคผนวก จ ภาพกิจกรรม 80 คณะทำงาน
รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 1 บทที่ 1 ความสำคัญ หลักการและเหตุผล ครู เป็นบุคคลสำคัญในกระบวนการปฏิรู ปการศึกษาเพราะเป็นด่านหน้าและกลไกสำคัญในการพัฒนา คุณภาพผู้เรียน จากสภาพสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารที่ส่ง ถึงกันอย่างรวดเร็วส่งลต่อระบบการศึกษาอย่างหลีกเสี่ยงไม่ได้ การพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถระดับสูง สามารถพัฒนาผู้เรียนให้ผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ดังพระโฮวาทของสมเด็จพระเจ้า พี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ว่า \"ครูต้องหมั่นพัฒนาความรู้ ความคิดและ สั่งสมประสบการณ์เพื่อนำมาประยุกต์ให้สอดคล้องกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ภายใต้บริบทชองไทย และ เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาของประเทศนับว่า ผลงานที่ดีของครูจะส่งสะท้อนต่อความจริญก้าวหน้าความมีเสถียรภาพมั่นคง และความผาสุกของสถาบัน ครอบครัวสถาบันสังคมและประเทศชาติ\" (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2545) สอดคล้องกับ มัรฎียะฮ์ เตล็บ (2560, 1 - 2) ซึ่งได้กล่าวว่าครูจึงเป็นบุคคลที่มีความสำคัญทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จะถ่ายทอด ความรู้ความสามารถให้แก่ศิษย์ รวมทั้งพัฒนาศิษย์ให้เป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ซึ่งวงการศึกษาไทย ถือว่า ครูคือกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพการศึกษา ดังที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 มีนโยบายมุ่งเน้นแนวทางการพัฒนาโดยยืดคนเป็นศูนย์กลางเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้การ เปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่งเสริมการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และ สร้างสังคมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพอันก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต สอดคล้องกับนโยบายข้อ 4 ของรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ 2558 ที่ได้กำหนดให้มีการส่งเสริมและยกสถานะของครูซึ่งเป็น บุคลากรหลักในระบบการศึกษา ให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมให้วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงในสังคม เป็น บุคลากรที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม มีภูมิความรู้และทักษะในการ สื่อสารถ่ายทอดความรู้ที่เหมาะสม มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู ตลอดจนมีฐานะและคุณภาพชีวิตที่ดีสอดคล้องกับ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุบัน และสอดคล้องกับวิรัลญา โงกเขลา (2556 : 73) กล่าวว่า ครูยุคใหม่ จำเป็นต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถที่หลากหลาย ครูจะต้องรู้เป้าหมายของหลักสูตรและเป้าหมาย ของการจัดการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และความก้าวหน้าทางวิทยาการ และจะต้องสร้างกลยุทธ์ใหม่ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สามารถตอบสนองผู้เรียนให้ผู้เรียนมีศักยภาพใน การแข่งขันและร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในสังคมโลก คุณภาพของครูเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสร้างคุณภาพการศึกษา สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเป็น องค์กรวิชาชีพที่มีบทบาทในการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ได้กำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึง ประสงค์สำหรับผู้ที่จะประกอบวิชาชีพเพื่อให้เกิดคุณภาพในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วยมาตรฐานความรู้และ ประสบการณ์วิชาชีพ เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้ที่จะประกอบวิชาชีพ ทางการศึกษา มาตรฐานการปฏิบัติงานเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพให้เกิดผลเป็นไปตาม
รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเตรียมเด็กปฐมวัยสู่ศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 2 เป้าหมายที่กำหนดโดยมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิด ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ ทั้ง ความชำนาญเฉพาะด้านและความชำนาญตามลำดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรืออย่างน้อยต้องมี การพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนดว่ามีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญเพียงพอที่จะดำรงสถานภาพของการ ประกอบวิชาชีพต่อไป และมาตรฐานการปฏิบัติตน เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับการประพฤติตนของผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติเพื่อดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียง ฐานะ เกียรติ และศักดิ์ศรีของวิชาชีพ (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, 2548) สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทำให้ครู จำนวนมากยังไม่สามารถปรับตัวหรือพัฒนาตนเอง ได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น (ยนต์ ชุ่มจิต, 2544) มีเอกสารและงานวิจัยจำนวนมากนำเสนอปัญหาเกี่ยว กับการพัฒนาวิชาชีพของครู ข้อมูลจากสภาวะการศึกษาไทย ปี 2550/2551 พบว่า ครูในปัจจุบันไม่รักการอ่าน และการค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาตนเอง ทั้งในด้านความรู้และทักษะการสอน (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2551) สอดคล้องกับผลการวิจัยของ เยาวมาลย์ วิเศษ (2548) ที่ได้ทำการวิจัยเรื่องปัญหาและความต้องการ พัฒนาของครูปฐมวัย โรงเรียนในสังกัดคณะนักบวชในเขตอัครสังฆมณฑลกรุงเทพหานคร พบว่า การพัฒนา ตนเองที่ครูเลือกใช้น้อยที่สุดคือ วิธีการศึกษาด้วยตนเอง ได้แก่ การใช้บทเรียนสำเร็จรูป การอ่านหนังสือ การ ค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ต การพัฒนาเด็กในช่วงปฐมวัยถือเป็นการพัฒนาที่มีความสำคัญในการปูพื้นฐานด้านต่าง ๆ ของชีวิต เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่เด็กมีการพัฒนาทักษะการรับรู้ พัฒนาการด้านสมอง และระบบประสาทต่าง ๆ อย่าง รวดเร็ว อีกทั้งเป็นช่วงวัยที่พัฒนาการทางอารมณ์กำลังพัฒนา และสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่น ๆ ในสังคมได้ เด็ก จึงควรได้รับการพัฒนาด้านสติปัญญา บุคลิกภาพ ทักษะชีวิต รวมทั้งการปลูกฝังคุณลักษณะต่าง ๆ จากบุคคลที่ อยู่ใกล้ชิดตัวเด็ก โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูที่จะสามารถพัฒนาเด็กได้ตามเป้าหมายที่ กำหนดไว้ได้อย่างเต็มศักยภาพ ดังนั้นครูจึงถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำหรับเด็ก ปฐมวัย การพัฒนาครูถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในกระบวนการพัฒนาทางการศึกษา เพราะครูเป็นบุคคลที่ส่ง เสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเต็มตามศักยภาพ ท่านพุทธทาสภิกขุ (2543) ได้ให้ทัศนะบทบาทหน้าที่ ของครูไว้ว่า ครู คือผู้นำทางวิญญาณทั้งแก่บุคคลและสังคม เพราะฉะนั้นการพัฒนาคุณภาพครูให้มีประสิทธิภาพ มีทักษะในการจัดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองจะทำให้ครู สามารถนำความรู้ความสามารถมาใช้ในการพัฒนา ผู้เรียนเพื่อก้าวสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืนในระดับต่อไป โดยเฉพาะการพัฒนาครูในระดับปฐมวัยที่มุ่งเน้นให้ครูสามารถ ปฏิบัติงานในการจัดกิจกรรมให้เด็กอย่างเป็นองค์รวม เพื่อที่จะส่งเสริมให้เด็กได้เกิดความสามารถสูงสุดตาม พัฒนาการที่จะพัฒนาได้ การพัฒนาครูของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2556) เรื่อง บทวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนา ครูทั้งระบบและข้อเสนอแนะ แนวทางการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียน ได้ข้อต้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับสภาพ ปัจจุบันและปัญหาการพัฒนาครู ได้แก่ 1) ขาดกลไกในการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาครู ขาดการรวมพลังขับเคลื่อนให้ เป็นวิชาชีพชั้นสูง ไม่มีระบบการบริหารจัดการนิเทศติตตามผลที่จะช่วยในการพัฒนาครู ระบบการนิเทศช่วย เหลือครูยังมีความอ่อนแอ 2) หลักสูตรการพัฒนาครูไม่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของครู หลักสูตรพัฒนา ครูยังไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของห้องเรียน 3) วิธีการและสาระการพัฒนาครูยังใช้รูปแบบเดิม ๆ ไม่มี นวัตกรรมใหม่ ซึ่งไม่ตรงกับความต้องการของครู การพัฒนาครูมีระยะเวลาน้อยไม่เหมาะกับเนื้อหา ส่วนใหญ่ใช้ การบรรยายฝึกอบรมและพัฒนาในห้องประชุม ขาตการเชื่อมโยงกิจกรรมการสอนในห้องเรียน เน้นหลักการ/ ทฤษฎีมากกว่าการได้ลงมือปฏิบัติจึงทำให้ครูไม่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากการอบรมพัฒนาได้ 4) สถานที่
รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเตรียมเด็กปฐมวัยสู่ศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 3 จัดอบรมพัฒนาครูส่วนใหญ่เน้นการอบรมดามห้องประชุมในโรงแรมหรือในสถาบันอุตมศึกษา ซึ่งดึงครูออกจาก ห้องเรียนส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอน 5) ครูยังขาดแรงจูงใจในการศึกษาค้นคว้า หาความรู้ด้วย ตนเอง เพื่อพัฒนาตนเองทั้งด้านความรู้และทักษะด้านการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ดังนั้น จากปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ในข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่ารูปแบบการพัฒนาที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่ สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาศักยภาพของครูปฐมวัยได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนารูปแบบใน การส่งเสริมให้ครู ปฐมวัยมีคุณภาพได้เหมาะสมกับมาตรฐานทางวิชาชีพที่กำหนดไว้ ปัญหาด้านการปฏิบัติงานของครู ปฐมวัยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หนองบัวลำภู เขต 2 มีประเด็นปัญหาดังนี้ 1) ครูขาดความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ ขาดอุปกรณ์การสอนที่ มีคุณภาพ ครูไม่ให้ความสำคัญและไม่เข้าใจในธรรมชาติของเด็กทำให้บกพร่องในการดูแลและเอาไจใส่เต็ก และ ขาดมนุษยสัมพันธ์อันดีกับผู้ปกครองและชุมชน 2) ปัญหาการพัฒนาตนเองพบว่า ครูขาดความกระตือรือร้นใน การปรับปรุงตนเอง และไม่ได้รับการอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจในวิทยาการใหม่ ส่งผลให้ครูขาดทักษะในการ พัฒนาอาชีพและพัฒนาตนเอง จากความสำคัญและปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ซึ่งมีหน้าที่สนับสนุน ส่งเสริม ให้ครูปฐมวัยมีความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่มีคุณภาพมาก ขึ้น จึงได้การดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้าน การสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัย และพ่อแม่ ผู้ปกครอง
รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเตรียมเด็กปฐมวัยสู่ศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 4 วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อพัฒนาความสามารถในการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัย และพ่อแม่ ผู้ปกครอง 2.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการอบรมการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัย และพ่อแม่ ผู้ปกครอง 2.3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการอบรมพัฒนาด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัย และพ่อแม่ ผู้ปกครอง ระยะเวลาและสถานที่ในการดำเนินกิจกรรม 3.1 ระยะเวลา ระหว่างวันที่ 19 - 20 ตุลาคม 2564 รวมจำนวน 2 วัน 3.2 สถานที่ในการดำเนินกิจกรรม ห้องประชุมภูน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 เป้าหมาย 4.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ 4.1.1 ครูปฐมวัย จำนวน 85 คน ได้รับการพัฒนาด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครู ปฐมวัย และพ่อแม่ผู้ปกครอง 4.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ 4.2.1 ครูปฐมวัยสามารถสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัย และพ่อแม่ ผู้ปกครอง 4.2.2 ครูปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการรับการพัฒนาด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัย และพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผลที่คาดว่าจะได้รับ 5.1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ได้รูปแบบในการพัฒนาครูปฐมวัย เพื่อพัฒนาความสามารถในการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัย และพ่อแม่ ผู้ปกครอง 5.2 ครูปฐมวัยที่ได้รับการพัฒนาด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัย และพ่อแม่ ผู้ ปกครองสามารถสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัย และพ่อแม่ ผู้ปกครอง 5.3 ครูปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อรูปแบบในการอบรมพัฒนาด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับ ครูปฐมวัย และพ่อแม่ ผู้ปกครอง
รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 5 บทที่ 2 หลักการแนวคิด ที่เกี่ยวข้อง การรายงานโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครู ด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยได้ศึกษาหลักการแนวคิดที่ เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1. การพัฒนาครู 2. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 3. การสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ การพัฒนาครู 1. ความหมายของการพัฒนาครู นักวิชาการ ให้ความหมายของการพัฒนาครู ไว้ดังต่อไปนี้ กมลพร อ่วมเทิ้ง (2560 : 14) สรุปไว้ว่า การพัฒนาครูเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและ สร้างเสริมศักยภาพของบุคคลให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ของ บุคลากรให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ นารีรัตน์ รักวิจิตรกุล (2560 : 31) กล่าวว่า การพัฒนาวิชาชีพครูเป็นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของครู กิจกรรมพัฒนาวิชาชีพจึงต้องบูรณาการกับการทำงาน เพื่อให้ครูได้ปรับปรุงการสอนที่จะส่งผลต่อการพัฒนา ศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน ความสำเร็จของทุกรูปแบบ ทุกกิจกรรมของการพัฒนาวิชาชีพครู จำเป็นที่ครู ต้องมีพันธสัญญาต่อการเรียนรู้ที่กระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง การจัดสรรเวลา และได้รับการสนับสนุน ทรัพยากรต่าง ๆ จากผู้บริหาร เพื่อที่ครูจะสามารถนำสิ่งที่ตนได้เรียนรู้สู่การปฏิบัติ และได้รับข้อมูลย้อนกลับ จอมพงศ์ มงคลวานิช (2555 : 261-266) ให้ความหมายว่า การพัฒนาครู หมายถึง กระบวนการ เพิ่มพูนความรู้ความสามารถ ทัศนคติของบุคลากรในองค์การ เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลยิ่งขึ้น จิราวัฒน์ ทิพย์สมบัติ (2559 : 17) สรุปไว้ว่า เป็นกระบวนการที่นำมาฝึกฝนบุคลากร เปลี่ยนแปลงวิธี การทำงาน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ ทักษะ ทัศนคติ ค่านิยม เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ซึ่งนำเอาความรู้และแนวคิดที่ได้รับรู้ไปประยุกต์ใช้ วิศนี โจฉกาจ (2560 : 24) สรุปไว้ว่า การพัฒนาครูเป็นกระบวนการพัฒนาสมรรถะของบุคลากรให้ มีความรู้ความสามารถ มีทักษะและมีทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน ตอบสนองต่อความต้องการของบุคลากรอย่าง ต่อเนื่อง จันทนี ตันสกุล (2558 : 27) กล่าวว่า การพัฒนาครู คือ การดำเนินงานทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ในช่วงใวลาที่กำหนด ที่พยายามจะเสริมสร้างให้ครูมีความรู้ ความสามารถ มีทักษะและมีเจตคติที่ดีในการสอน การทำงาน รวมถึงการมีบุคลิกภาพ มีคุณธรรมของความเป็นครูที่ดี ตลอดจนมีจิตวิญญาณ ในการพัฒนา
รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 6 ก้องเกียรติ เทวสกุล (2560 : 30-31) สรุปไว้ว่าการพัฒนาครู หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการต่าง ๆ ที่เพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ และพัฒนาทักษะ ตลอดจนมีเจตคติที่ดีในการปฏิบัติงาน ช่วยให้ครูมีความรู้ ความสามารถและทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ สรุปว่า การพัฒนาครูเป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้ครูมีความรู้ความสามารถในการทำงาน มีทักษะ ในการปฏิบัติหน้าที่และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู มีคุณธรรม ตลอดทั้งมีจิตวิญญาณในการเป็นครูเพื่อให้ปฏิบัติ หน้าที่ ให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด 2. ความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาครู นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาครูไว้หลายประการ ดังนี้ ก้องเกียรติ เทวสกุล (2560 : 32) สรุปไว้ว่า การพัฒนาครูให้มีความรู้ ความสามารถ จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะครูเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสังคม และชาติบ้านเมือง ทั้งนี้ เพราะครูต้องรับหน้าที่ในการ พัฒนาบุคลากรในสังคมให้มีความรู้ ความเจริญงอกงาม กรมวิชาการ (2546 : 51 อ้างถึงใน สุดสวาท จำวงค์ลา, 2556 : 16-17) เสนอว่า การบริหารครูและ บุคลากรในสถานศึกษา เป็นภารกิจสำคัญที่มุ่งส่งเสริมให้สถานศึกษา สามารถปฏิบัติงาน เพื่อตอบสนองภารกิจ สถานศึกษา เพื่อดำเนินการด้านการบริหารงานบุคคลและบุคลากรทางการศึกษา เกิดความคล่องตัว อิสระภายใต้ กฎหมาย ระเบียบ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนา มี ความรู้ ความสามารถ มีขวัญกำลังใจ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ มีความมั่นคงก้าวหน้าในวิชาชีพ ซึ่งจะส่งผล ต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ ชวนคิด มะเสนะ (2559 : 9-10) ระบุว่า การพัฒนาทรัพยากรบุคลากรทางการศึกษามีเป้าหมายหลัก โดยมุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานตามที่องค์การต้องการในด้านต่างๆ อย่างน้อย 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านความรู้ (Knowedge) ซึ่งหมายถึง การพัฒนาให้มีความรู้ (Knowledge) เกิดการเรียน รู้ ทำความเข้าใจแล้ว จึงนำแนวคิดมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน 2) ด้านทักษะ (Skill) หมายถึง การพัฒนาให้มี ทักษะ ความชำนาญ เมื่อเรียนรู้และเข้าใจในข้อมูลแล้วต้องมีโอกาสนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประสบการณ์ด้วย ตนเอง ฝึกฝน และปฏิบัติบ่อย ๆ จนเกิดความชำนาญเพิ่มขึ้น และ 3) ด้านทัศนคติ (Atitude) หมายถึง การพัฒนา ให้มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ คิดเชิงบวก บุคลากรจะต้องได้รับการพัฒนาให้เกิด ทัศนคติที่ดีและถูกต้องในการทำงาน เช่น การพัฒนาจิตสำนึกและความเข้าใจในการทำงานเพื่อสาธารณะ การ ทำงานเป็นทีมและมีความสามัคคี (Team Work) เสริมสร้างความรู้สึกนึกคิดที่ถูกต้องในการทำงาน (Work Attitude) สร้างเสริมจิตสำนึกที่ถูกต้องในการให้บริการ (Service Mind) และทัศนคติในการพัฒนาตนเอง (Self- development) ให้มีความรู้ความสามารถหมาะสมต่อตำแหน่งหน้าที่ และตื่นตัวตลอดเวลาในการเรียนรู้เพื่อปรับ ตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง การปรับวิถีการทำงานเป็นแบบชีวิตดิจิตอล (Digital Life) รวมทั้งพัฒนาทางด้าน จิตใจ ควบคู่กันเพื่อ มุ่งสู่การพัฒนาเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ สรุปว่า การพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถ มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะครู เป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ซึ่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวดที่ 7 มาตร 52 กำหนดไว้ชัดเจนว่า ให้กระทรวงศึกษาธิการ ส่งเสริมให้มีระบบกระบวนการผลิต การ พัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง มีขวัญกำลังใจ ได้รับการยกย่อง เชิดชูเกียรติ มีความก้าวหน้าและมีความมั่นคงในวิชาชีพ ส่งผลต่อการพัฒนา คุณภาพผู้เรียนต่อไป
รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 7 3. กระบวนการพัฒนาครู มีนักวิชาการได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาครู ดังนี้ จอมพงศ์ มงคลวานิช (2555, 265-271) กล่าวว่า การพัฒนาครูเป็นสิ่งจำเป็นที่องค์การต้องดำเนิน การอย่างต่อเนื่อง กระบวนการพัฒนาครู มี 4 ขั้นตอน 1. การหาความจำเป็นในการพัฒนาครูหรือการสำรวจความต้องการพัฒนาครูเป็นการหาปัญหาของ องค์การที่ต้องแก้ไขโดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งสามารถทำได้โดยวิเคราะห์องค์การ วิเคราะห์งาน และ วิเคราะห์บุคลากร ดังนี้ 1.1 การวิเคราะห์องค์การ (Organization) ควรจะเริ่มจากการกำหนดวิสัยทัศน (vison) ในการ พัฒนาครูแล้วจึงประเมินความจำเป็น (Needs assessment) ในแต่ละด้านที่ต้องพัฒนาซึ่งได้แก่ ด้านความรู้ (Knowedge) ด้านทักษะ (Skill) และด้านคุณลักษณะที่จำเป็นของครู (Attibute) รวมถึงระดับที่จะต้องพัฒนาครู เพื่อไปให้ถึงวิสัยทัศนซึ่งอาจแบ่งเป็น ระดับเชี่ยวชาญ (Expert level) ระดับช่วยเหลือได้ (Supporting level) และระดับปฏิบัติได้ (Doing level) จากนั้นจะเป็นการวางแผนในการพัฒนาโดยการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลา สถานที่วิทยากรเอกสารเครื่องมืออุปกรณ์ งบประมาณ และวิธีการ ซึ่งมีหลายรูปแบบ ดังต่อไปนี้ 1.1.1 การปฐมนิเทศ (Orientation) คือการให้ข้อมูลกับครูที่เริ่มงานใหม่ เนื้อหาโดยทั่วไปจะ เกี่ยวกับขอมูลเบื้องต้นของโรงเรียน เช่น ประวัติของโรงเรียน รายนามผู้บริหาร รวมไปถึงโครงสร้างวิสัยทัศน์ และพันธกิจของโรงเรียน ฯลฯ 1.1.2 การบรรยาย (Lecture) เป็นการฝึกอบรมแบบการอธิบายเนื้อหาสาระโดยผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะเรื่อง การฝึกอบรมวิธีนี้โดยมากแล้ว เป็นการสื่อสารแบบทางเดียวจากวิทยากรสู่ผู้ฟัง แต่อาจเปิดโอกาสให้ ซักถามได้ตามความเหมาะสม 1.1.3 การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop training) เป็นการฝึกอบรมที่ใช้การบรรยาย สาระความรู้พร้อมกับการให้ครูได้ผลิตผลงาน หลังจากการบรรยายเสร็จสิ้น โดยอาจทำเพียงคนเดียว หรือทำร่วม กันเป็นคณะ 1.1.4 การระดมสมอง (Brainstorming) เป็นการกระตุ้นให้ครูแสดงความคิดเห็นในเรื่องใด เรื่องหนึ่งในองค์กรอย่างอิสระและสร้างสรรค์ (Creative) ในการพัฒนา ปรับปรุงแก้ไข หรือหาทางออกให้กับ ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยจะงดเว้นจากการวิพากษ์วิจารณ์จากผู้บังคับบัญชา หรือเพื่อนร่วมงาน คณะครูจึงไม่ ควรเกินสิบคน เพื่อให้สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างทั่วถึงแต่หากคณะครูมีจำนวนมากควรใช้วิธี แบ่งกลุ่มย่อยในการฝึกอบรม 1.1.5 การอภิปราย (Discussion) ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้คณะครูแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์ซึ่งกันและกันประกอบกับการวิเคราะห์ (Analysis) และสังเคราะห์ (Synthesis) ขอดีขอเสีย แล้วหาข้อสรุ ปหรือข้อเสนอแนะหรือทางออกใหกับประเด็นนั้ น 1.1.6 การฝึกอบรมแบบกรณีศึกษา (Case study) เป็นการนำประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นจริงจาก โรงเรียนอื่นมาเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคณะครูโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อหาจุดแข็ง (Strengh) และจุด อ่อน (Weakness) รวมถึงโอกาสพัฒนา (Opportunity) และอุปสรรค (Threat) ของโรงเรียนกรณีศึกษานั้น และ นำมาปรับใช้ในการป้องกันปัญหาและพัฒนาการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น การฝึกอบรมวิธีนี้เหมาะสำหรับฝึกทักษะการ คิดเชิงประยุกต์และบูรณาการ (Apply & Integration thinking) ซึ่งอาจใช้กรณีศึกษาเดียวโดยให้ครูศึกษาและ ปฏิบัติแบบเดี่ยว ซึ่งจะจัดสถานที่แบบบรรยายหรืออาจใช้การแบ่งกลุ่มย่อยแบบหนึ่งกลุ่มต่อหนึ่งกรณีศึกษาจาก นั้นแต่ละกลุ่มจะต้องส่งตัวแทนมานำเสนอหลังจากการศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 8 1.1.7 การสาธิต (Demonstration) ซึ่งเป็นการสร้างความเข้าใจด้วยการแสดงให้เห็นวิธีการ ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับเครื่องมืออุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนการสอน การจัดสถานที่ฝึกอบรมจึงควรให้คณะครูสามารถ มองเห็นการสาธิตได้อย่างชัดเจน 1.1.8 การศึกษาดูงาน (Observation) เป็นการไปพาคณะครูไปศึกษาดูงานในโรงเรียนอื่นที่ ดำเนินกิจการประเภทเดียวกันโดยมีผู้บรรยายประกอบประเด็นสำคัญของการฝึกอบรมวิธีนี้จะอยู่ที่การเลือก สถานที่โดยจะต้องเลือกสถานที่ที่มีความเหมาะสมกับการเพิ่มประสบการณ์ (Experience) ในการปฏิบัติงานของ คณะครู และเมื่อเสร็จสิ้นจากการศึกษาดูงานแลวควรให้คณะครูสรุปประสบการณ์ที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน นำประสบการณ์ที่ได้รับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และนำเสนอวิธีการนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน 1.1.9 การฝึกอบรมเพื่อสุขภาพ (Health training) คือ การที่โรงเรียนจัดให้มีสถานที่ออกกำลัง กายสำหรับครูและสนับสนุนใหมีการฝึกอบรม การออกกำลังกายอย่างถูกตองโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อให้ ครู มีสุขภาพที่แข็งแรงพร้อมต่อการปฏิบัติงานอยู่เสมอ 1.1.10 การฝึกสอน (Coaching) คือ การที่ผู้บังคับบัญชาจัดสถานการณ์และสภาพแวดล้อมให้ เสมือนจริงโดยมีกำหนดเวลาและสอนวิธีการปฏิบัติงานส่วนบุคคลอย่างเฉพาะเจาะจงการฝึกสอนมีจุดเน้นเพื่อฝึก ทักษะรวมถึงช่วยเหลือ ปรับปรุง แก้ไขและขัดเกลาจนครูสามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานที่กำหนดหรือเปลี่ยน แปลงไปในทางที่ดีขึ้น 1.1.11 ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring system) คือ การที่ผู้บังคับบัญชา หรือผู้มีประสบการณ์ ทำงานมากกว่าคอยให้คำแนะนำสนับสนุนช่วยเหลือและให้กำลังใจอย่างต่อเนื่องกับครู ที่มีประสบการณ์น้อยกว่า ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในแผนก หรือฝ่ายเดียวกัน ผู้มีประสบการณ์หรือผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ต่อ ครู อย่างต่อเนื่อง 1.1.12 การให้คำปรึกษา (Counseling) คือ การที่ผู้บังคับบัญชาคำปรึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานในปัจจุบันให้ดีขึ้น และมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น ในการปฏิบัติงานอีกด้วย เมื่อวางแผนเรียบร้อยแล้วจึงจัดเตรียมสถานที่ เอกสารเครื่องมืออุปกรณ์อาหารการ ประสานกับวิทยากรงบประมาณและรายละเอียดอื่น ๆ ที่ช่วยส่งเสริมให้การดำเนินการเป็นไปได้โดยสะดวกและ จะต้องพยายามดำเนินการและควบคุมให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของเวลาและ วัตถุประสงค์ของการพัฒนา เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้น จึงประเมินผลการดำเนินการพัฒนาในประเด็นเกี่ยวกับ ประสิทธิภาพของโครงการพัฒนา ซึ่งได้แก่ วิทยากร ระยะเวลา ค่าใช้จ่าย เอกสาร เครื่องมืออุปกรณ์ อาหาร อาคารสถานที่ ประโยชน์ที่ได้รับ เป็นต้น กมลพร อ่วมเพ็ง (2560 : 20) สรุปว่า กระบวนการพัฒนาครูมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครู 2) การวางแผนในการพัฒนาครู 3) การนำแผนพัฒนาครูไปปฏิบัติ 4) การประเมินผลการพัฒนาครู สรุปว่า การพัฒนาครู ต้องดำเนินการอย่างเป็นกระบวนการและขั้นตอน เริ่มจากกำหนดความ ต้องการจำเป็น แล้วประเมินความจำเป็นในแต่ละด้านที่ต้องพัฒนา ซึ่งได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้าน คุณลักษณะที่จำเป็นของครู รวมถึงระดับที่จะต้องพัฒนาครู จากนั้นวางแผนในการพัฒนาโดยการกำหนดกลุ่ม เป้าหมาย ระยะเวลา สถานที่ วิทยากร เอกสารเครื่องมือ อุปกรณ์ งบประมาณ และวิธีการ ซึ่งมีหลายรูปแบบ แล้วจึงนำแผนนั้ นไปพัฒนาครู และประเมินผลการพัฒนาครู ต่อไป
รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 9 4. แนวทางการพัฒนาครู แนวทางการพัฒนาครู ควรมีการเลือกกิจกรรมการพัฒนาให้เหมาะสม เพื่อเป็นแนวทางที่ดีที่สุด สำหรับการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถให้เกิดศักยภาพสูงสุด นักการศึกษาได้กล่าวถึงแนวทางการ พัฒนาครู ดังนี้ กระทรวงศึกษาธิการ (2562 : 18-20) ระบุไว้ว่า แนวทางการพัฒนาครูนั้น ควรพัฒนาครูให้มี มาตรฐานวิชาชีพ 3 ด้าน ได้แก่ 1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพของครูมาตรฐานความรู้ และประสบการณ์วิชาชีพครู หมายถึง ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพจะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะ ประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้โดยมาตรฐานความรู้ของครู จะต้อง มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าโดยมีความรู้ครอบคลุมทั้งภาษา และเทคโนโลยีสำหรับครูการพัฒนา หลักสูตรการจัดการเรียนรู้ จิตวิทยาสำหรับครูการวัดและการประเมินผลการศึกษาการบริหารจัดการใน ห้องเรียน การวิจัยทางการศึกษา นวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนทศทางการศึกษาและความเป็นตามความ เหมาะสมอยู่เสมอที่เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบและรับผิดชอบ 2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพให้เกิดผลเป็นไป ตามเป้าหมาย พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ โดยกำหนด ไว้ว่าผู้ประกอบวิชาชีพ จะต้องต่อใบอนุญาตทุก 5 ปี ซึ่งมีทั้งหมด 12 มาตรฐานดังนี้ มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้เรียน มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพสูงสุด มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผ่นการสอนใหสามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวร มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอยางที่ดีแก่ผู้เรียน มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอยางเต็มใจเปิดใจ มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอยางเต็มใจเปิดใจ มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนาตนเอง มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทุกสถานการณ์ 3. มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติตนของผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมี จรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางเพื่อดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียงเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ซึ่งได้แก่ การมีจรรยา บรรณต่อตนเอง คือการมีวินัยและพัฒนาตนเองอยู่เสมอการมีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ คือ ต้องรัก ซื่อสัตย์ และรับ ผิดชอบต่อหน้าที่การมีจรรยาบรรณต่อนักเรียนคือต้องส่งเสริมการเรียนรู้ช่วยเหลือสนับสนุนนักเรียนอย่างเป็น ธรรม รวมถึงการประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์อยู่เสมอ การมีจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ คือ มีความสามัคคีและช่วยเหลือเกื้อกูลกันอย่างมีคุณธรรมการมีจรรยาบรรณต่อสังคม คือการตระหนักถึงผล
10รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง ประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าส่วนตน นอกจากนี้จะต้องเสริมความเข้าใจให้กับครูเกี่ยวกับการศึกษาของ ประเทศไทยในอนาคตที่สถานศึกษาจะมีการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย มาตรฐาน และหลักสูตรที่เป็นไปในทาง เดียวกัน เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นความร่วมมือทั้งจากภายใน และภายนอกแบบไร้พรมแดน และมีความยืดหยุ่นในการดำเนินงานผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้งนี้เพื่อใหครูได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ นริศรา อินทรพานิชย์ (2557 : 26) กิจกรรมการพัฒนา มีการพัฒนาบุคลากรหลากหลายกิจกรรม ขึ้นอยู่กับว่าการจัดการพัฒนาจะเลือกใช้กิจกรรมใดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของบุคลากร บริบทของโรงเรียน ประเภทของงานวิจัยที่ต้องการพัฒนาและการนำไปใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการ จัดการศึกษาของสถานศึกษา จันทร์เพ็ญ บุษบา (2561 : 44) สรุปว่า กิจกรรมการพัฒนาบุคลากรนั้นมีหลากหลายกิจกรรม ขึ้นอยู่ กับว่าการพัฒนาจะเลือกกิจกรรมใดให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของบุคลากร บริบทของ โรงเรียน ประเภทของงานวิจัยของสถานศึกษาและหน่วยงานอื่นที่ต้องการพัฒนาที่ต้องการพัฒนาและการนำ ไป ให้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษา สรุปได้ว่า แนวทางการพัฒนาครูนั้นควรพัฒนาให้มีมาตรฐานวิชาชีพ 3 ด้าน คือ ด้านมาตรฐาน ความรู้และประสบการณ์วิชาชีพของครู ซึ่งจะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบ วิชาชีพ ด้านมาตรฐานการปฏิบัติงานจะต้องมีการพัฒนาตนเองอยูเสมอเพื่อให้เกิดความชำนาญในการประกอบ วิชาชีพ และด้านมาตรฐานการปฏิบัติตนมีจรรยาบรรณของวิชาชีพซึ่งเป็นแนวทางเพื่อดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียงเกียรติ และศักดิ์ศรีแหงวิชาชีพ แนวทางการพัฒนานั้นมีหลากหลาย การจัดการพัฒนานั้นควรเลือกใช้กิจกรรมพัฒนาที่ เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของบุคลากรบริบทของโรงเรียนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการ จัดการศึกษา 4.1 การอบรมเชิงปฏิบัติการ 4.1.1 ความหมายของการอบรมเชิงปฏิบัติการ ได้มีนักวิชาการการหลายท่านกล่าวถึงความหมายการอบรมเชิงปฏิบัติการไว้ดังนี้ สมพิศ หวังทรัพย์ทวี (2552 : 12) กล่าวว่า การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) คือการ อบรมในลักษณะเข้ม (Intensive Training Course) โดยจะเน้นผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ และ ทักษะในด้านวิชาการและด้านการปฏิบัติอย่างแท้จริง จินดารัตน์ แสงวงศ์ (2553 : 45) กล่าวว่า การอบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นการฝึกอบรมเป็นก ลุ่ม (ประมาณ 10-25 คน) จากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรม ได้พัฒนาความรู้ความ สามารถ ในการปฏิบัติงานให้ก้าวหน้าต่อไป ประเวช นรสาร (2553 : 20) กล่าวว่า การอบรมเชิงปฏิบัติการ หรือการฝึกอบรม เป็นการ เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความชำนาญให้กับบุคลากรในหน่วยงาน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ ตน อันจะทำให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน และมีความ เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานด้วย นิราพร โทสวนจิตร (2555 : 16) กล่าวว่า การอบรมเชิงปฏิบัติการ หมายถึง กระบวนการ ของการแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรในองค์กร เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้า หมายขององค์กรที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งประกอบด้วย บุคลากรในหน่วยงานหรือองค์กร วิทยากร เวลา สถานที่ เครื่อง มือและงบประมาณ
11รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง สรุปได้ว่า การอบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นวิธีการพัฒนาบุคลากรวิธีหนึ่ง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความ สามารถ ทักษะ ความชำนาญ และประสบการณ์ โดยผู้เข้ารับการอบรมได้ฝึกปฏิบัติจริงและสามารถนำความรู้ที่ ได้ มาใช้ปรับปรุงพัฒนางานของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 4.1.2 วัตถุประสงค์ของการอบรมเชิงปฏิบัติการ สมคิด บางโม (2551 : 18) ได้จำแนกวัตถุประสงค์ของการอบรมเชิงปฏิบัติการไว้ 4 ประการ ดังนี้ 1. เพื่อเพิ่มความรู้ (Knowledge) ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เข้า รับการฝึกอบรม สามารถนำความรู้ที่ได้นั้นไปปฏิบัติงานได้และสามารถนำแนวคิดใหม่ ๆ ที่ได้รับไปเผยแพร่และ ใช้การแก้ปัญหา เพิ่มพูนประสิทธิภาพในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น 2. เพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจ (Understand) เป็นลักษณะที่ต่อเนื่องจากความรู้ กล่าวคือ เมื่อ เข้าใจความรู้และหลักการแล้ว ก็สามารถตีความ ขยายความและสามารถเข้าใจได้ 3. เพื่อเพิ่มทักษะ (Skill) และประสบการณ์ในการทำงานเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความ สามารถ ความชำนาญและคล่องแคล่วในการปฏิบัติงานมิใช่เพื่อให้เกิดความรู้เพียงอย่างเดียว 4. เพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติ (Attitude) คือ ความรู้สึกที่ดี หรือไม่ดีต่อสิ่งต่าง ๆ การฝึก อบรมมุ่งให้เกิดความรู้ต่อองค์กร และให้มีจิตใจฝักใฝ่ต่องานด้วยความภาคภูมิใจ สรุปว่า การอบรมเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ เพิ่มพูน ความเข้าใจ เพิ่มทักษะ และเปลี่ยนแปลงทัศนคติ เพื่อพัฒนาตนเองให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ พัฒนาองค์กรหรือหน่วยงานของตนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น 4.1.3 วิธีการอบรมเชิงปฏิบัติการ วิธีการอบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นการสร้างขั้นตอน หรือกระบวนการเพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไปอย่างเป็นระบบ โดยมีนักการศึกษาได้กล่าวไว้ ดังนี้ ทองล้วน ธรรมสาร (2551 : 22-23) กล่าวถึงขั้นตอนในการดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1. ระยะก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการ 1.1 ขั้นวางแผน ผู้จัดอบรมจะต้องพิจารณาดูว่า มีปัญหาหรือขัดข้อง อะไรเกิดขึ้น มีความ จำเป็น ต้องการจัดฝึกอบรมด้านใด 1.1.1 เมื่อทราบความจำเป็นของการอบรมเชิงปฏิบัติการแล้วก็จะต้องกำหนด วัตถุประสงค์ กำหนดหลักสูตร และระยะเวลา 1.1.2 กำหนดบุคคลที่จะเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ 1.1.3 เนื้อหารายละเอียดของหลักสูตร เมื่อได้กำหนดแล้วผู้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ต้องแบ่งหลักสูตรออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นทฤษฎี ส่วนที่สองเป็นการปฏิบัติ 1.1.4 ผู้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการจะต้องคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการและ ต้องแจ้งให้ผู้ที่ได้รับคัดเลือกเตรียมตัวด้วย 1.1.5 เตรียมกลุ่มบ่อย เนื่องจากเมื่อผู้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการได้ข้อมูล ปัญหาข้อ ขัดข้องต่าง ๆ มาแล้ว ก็จะแยกปัญหาออกเป็นข้อ ๆ และแบ่งกลุ่มอบรมแยกตามหัวข้อเหล่านั้น
12รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 2. ระยะระหว่างการอบรมเชิงปฏิบัติการ 2.1 ชี้แจงขั้นตอนและวิธีการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ผู้เข้าอบรมรับทราบ 2.2 การบรรยายหรือการอภิปรายทางวิชาการโดยวิทยากรหรือผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อเป็นการ เสนอแนะหรือขี้แนวทางให้ทราบปัญหาข้อขัดข้องหรือแนวทางพิจารณาประเด็น 2.3 การอบรมกลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการได้ ใช้หลักวิชาการที่ได้รับมาประชุมแลกเปลี่ยนประเด็นความรู้หรือให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม หรือช่วยกันฝึกปฏิบัติงาน 2.4 จากการอบรมกลุ่มแล้ว กลุ่มจะนำผลการอบรมกลุ่มมารายงาน โดยกำหนดสภาพ ขอบเขตของปัญหา เรื่อง สาเหตุ และวิธีการแก้ปัญหาหรือแนวทางปฏิบัติ พร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่อที่ประชุมใหญ่ 2.5 ที่อบรมใหญ่พิจารณารายงานการอบรมกลุ่มย่อยเพื่อปรับปรุง แก้ไขหรือเพิ่มเติมอย่าง ใดอย่างหนึ่ง แล้วกลุ่มย่อยจะนำข้อมูลที่ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ไปเขียนรายงานให้สมบูรณ์ แล้วนำกลับมาเสนอ 2.6 ผู้เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการทุกคนจะต้องถือมติปฏิบัติและใช้เป็นแนวทางการแก้ปัญหาหรือ การปฏิบัติงานต่อไป 3. ระยะการอบรมเชิงปฏิบัติการหลังจากจบการอบรมเชิงปฏิบัติการแล้ว มีการประเมินผล และ ติดตามผล เพื่อพิจารณาดูว่าเมื่อจบหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการแล้ว ผู้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ สามารถแก้ไขปัญหา หรือปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จเพียงใด สรุปได้ว่า วิธีการอบรมเชิงปฏิบัติการเป็นการฝึกอบรมที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ โดย ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการ ระยะระหว่างการอบรมเชิงปฏิบัติการ และระยะหลัง การอบรมเชิงปฏิบัติการ จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ปฏิบัติจริง และนำประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 4.2 การนิเทศติดตาม เป็นการจัดกิจกรรมให้ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้นิเทศ เพื่อเชื่อมโยงวิธีการเรียนรู้ เนื้อหา ทักษะพื้นฐาน และนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการสังเกด การวางแผน การปฏิบัติจริง การวิเคราะห์ปรับปรุงแนวทาง จนเกิดผลตามความต้องการ 4.2.1 ความหมายการนิเทศติดตาม นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ นริศรา อุปกรณ์ศร (2552 : 33) ได้ให้ความหมายของการนิเทศว่า เป็นการปฏิบัติตามที่ กำหนดไว้ในแผนงานการนิเทศ โดยมีการเตรียมงานอย่างละเอียด รอบคอบ ร่วมกันระหว่างผู้ปฏิบัติงาน และ ปฏิบัติตามเวลาที่กำหนด ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ (2552 : 10-11) สรุปความหมายของการนิเทศว่า เป็นกระบวนการ ทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ผู้นิเทศ ผู้รับการนิเทศซึ่งการทำงานมีการกำหนดชั้นตอนที่ชัดเจน วรวรรณ ทองเหมือน (2552 : 11) สรุปความหมายการนิเทศว่า เป็นกระบวนการที่มีขั้นตอน ที่ชัดเจน มีการกำหนดเป้าหมาย แผนงาน โครงการ ไว้อย่างชัดเจน แก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล เปิดโอกาสให้ผู้ เกี่ยวข้องให้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน เสริมสร้างบรรยากาศแห่งการทำงานเพื่อความสำเร็จของงาน สรุปได้ว่า การนิเทศติดตามเป็นกระบวนการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้นิเทศ ผู้รับการนิเทศ และ ผู้ร่วมนิเทศ โดยมีการกำหนดเป้าหมาย แผนงาน โครงการ กำหนดระยะเวลา การปฏิบัติการ การเก็บข้อมูล การ ประชุม และการสะท้อนผลร่วมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในจัดการเรียนการสอน
13รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 4.2.2 หลักการนิเทศติดตาม มีนักวิชาการและนักการศึกษากล่าวถึงหลักการนิเทศติดตาม ไว้ดังนี้ ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ (2552 : 11) ได้เสนอหลักการสำคัญของการนิเทศการศึกษา ดังนี้ 1. การนิเทศการศึกษาเป็นกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ผู้นิเทศ และผู้รับ การนิทศ ลักษณะของกระบวนการมีความหมายครอบคลุมถึงการทำงานเป็นขั้นตอน (Steps) มีความต่อเนื่อง (Continuity) ไม่หยุดนิ่ง (Dynamic) และมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ (Interaction) ในหมู่ผู้ปฏิบัติงาน 2. การนิเทศการศึกษามีเป้าหมายอยู่ที่คุณภาพของนักเรียนโดยผ่านตัวกลางสำคัญคือครู และบุคลากรทางการศึกษา 3. การนิเทศการศึกษาเน้นบรรยากาศในการเป็นประชาธิปไตย มีส่วนร่วมความเป็นเหตุ เป็นผล มุ่งสร้างสรรค์แนวคิดเกิดเจตคติที่ดีต่อกัน มุ่งสร้างขวัญกำลังใจต่อการปฏิบัติงาน 4.2.3 ความสำคัญของการนิเทศติดตามผล นักวิชาการและนักการศึกษากล่าวถึงความสำคัญของการนิเทศติดตามไว้ดังนี้ เยาวพา เดชะคุปต์ (2552 : 86-87) ได้กล่าวถึง ความสำคัญของการนิเทศ ดังนี้ 1. ความสำคัญต่อระบบการศึกษา 1.1 การจัดการศึกษาสอดคล้องกับสภาพสังคมเมื่อสังคมเปลี่ยนแปลง การศึกษาก็ต้องมี การเปลี่ยนแปลงด้วย ต้องมีการแก้ไขหลักสูตรการศึกษาให้มีเนื้อหาสอดคล้อง เหมาะสมกับสภาพสังคมอยู่เสมอ 1.2 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีอย่างไม่หยุดยั้ง แนวคิดเรื่องการเรียนการสอนมีการ พัฒนา ตลอดจนมีการคิดค้นแนวทางใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ ผู้บริหารและผู้นิทศต้องมีความรอบคอบ รอบรู้ ในเรื่องเหล่านี้ เพื่อจะได้ช่วยเหลือ เผยแพร่แนวคิดใหม่ ๆ ให้ครูผู้สอนได้สอนอย่างมีประสิทธิภาพ 1.3 การนิเทศช่วยให้เกิดมาตรฐานการศึกษา เพราะเป็นระบบควบคุมและระบบการ ศึกษาและการเรียนการสอนในโรงเรียน เมื่อพบข้อบกพร่องก็มีการช่วยเหลือแนะนำ แก้ปัญหาหรืออุปสรรคต่าง ๆ จนได้มาตรฐานตามต้องการ 2. ความสำคัญต่อระบบโรงเรียน 2.1 การศึกษายังมีความไม่พร้อมในด้านบุคลากรสิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึง กระบวนการศึกษาทั้งหมด การนิเทศจะช่วยให้มีความพร้อมมากยิ่งขึ้น สิ่งที่ดีอยู่แล้ว การนิเทศจะช่วยพัฒนาขึ้น ให้ดีกว่าเดิมอยู่เสมอ 2.2 ครูผู้สอนยังขาดแคลนเทคนิคในการถ่ายทอดวิชาและการเป็นผู้นำ จึงต้องมีการ แนะนำช่วยเหลือด้วยการนิเทศ 2.3 การศึกษายังไม่พร้อมที่จะบริการและอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการ สอน จะต้องมีการนิเทศเพื่อทำให้การศึกษามีความพร้อมในเรื่องดังกล่าว 2.4 นักเรียนมีปัญหาในด้านการเรียน จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือแนะนำ 2.5 มีกิจกรรมหรือนวัตกรรมทางการศึกษาเกิดขึ้นอยู่เสมอ จำเป็นต้องมีหน่วยงาน ทางด้านนิเทศ คอยติดคมความก้าวหน้าดังกล่าว และนำเสนอหรือเผยแพร่แก่บุคลากรภายในโรงเรียน 2.6 มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรใหม่ ต้องเร่งรัดการดำเนินงานตามแนวหลักสูตรใหม่ ทำให้ต้องใช้การนิเทศเข้ามาช่วยในการชี้แจงทำความเข้าใจ ตลอดจนเสนอแนวทางในการดำเนินงานแก่บุคลากร ในโรงเรียนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรต่อไป
14รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 4.2.4 กระบวนการนิเทศติดตาม การนิเทศมาพร้อมกับการจัดการศึกษาอย่างมีระบบการนิเทศ ต้องอาศัยการคิดร่วมมือกัน ในการแก้ไขปัญหา ปรับปรุง การจัดสภาพการเรียนการสอนให้ดีขึ้น และสนับสนุนระบบบริหารจัดการศึกษา ให้ ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อยังประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังแนวทางต่อไปนี้ ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2546 : 20) ได้กล่าวว่า กระบวนการนิเทศมี 6 ขั้นตอน 1. การประเมินสภาพการทำงาน เป็นกระบวนการศึกษาถึงสภาพต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลเพื่อ เป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีขั้นตอนย่อย ดังนี้ 1.1 การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจะศึกษาถึงธรรมชาติ 1.2 การสังเกตเป็นการมองสิ่งรอบตัวด้วยความละเอียด 1.3 การทบทวนเป็นการตรวจสอบสิ่งรอบตัวอย่างตั้งใจ 1.4 การวัดพฤติกรรมการทำงาน 1.5 การเปรียบเทียบพฤติกรรมการทำงาน 2. การจัดลำดับความสำคัญของงาน เป็นกระบวนการกำหนดความสำคัญของงาน ตาม เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และกิจกรรมตามลำดับความสำคัญ ดังต่อไปนี้ 2.1 การกำหนดเป้าหมาย 2.2 การกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ 2.3 การกำหนดทางเลือกให้ 2.4 การจัดลำดับความสำคัญของงาน 3. การออกแบบวิธีการทำงาน เป็นกระบวนการวางแผนหรือกำหนดโครงการต่าง ๆ เพื่อ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วยงานต่อไปนี้ 3.1 การจัดสายงาน เป็นการจัดส่วนประกอบต่าง ๆ ของงานให้สัมพันธ์กัน 3.2 การหาวิธีการนำเอาทฤษฎี หรือหลักการไปสู่การปฏิบัติ 3.3 การเตรียมการต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะทำงาน 3.4 การจัดระบบการทำงาน 3.5 การกำหนดแผนในการทำงาน 4. การจัดสรรทรัพยากร เป็นกระบวนการกำหนดทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการทำงาน ประกอบด้วยงานต่อไปนี้ 4.1 การกำหนดทรัพยากร ที่ต้องใช้ความต้องการของหน่วยงานต่าง ๆ 4.2 การจัดสรรทรัพยากรให้หน่วยงานต่าง ๆ หรืออัตราเร่งในการทำงาน 4.3 การกำหนดทรัพยากรที่จำเป็นจะต้องใช้สำหรับความมุ่งหมายเฉพาะอย่าง 4.4 การมอบหมายบุคลากรให้ทำงานในแต่ละโครงการหรือแต่ละเป้าหมาย 5. การประสานงาน เป็นกระบนการที่เกี่ยวข้องกับงานเวลา วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวย ความสะดวกทุก ๆ อย่าง เพื่อให้การเปลี่ยนแปลง บรรลุผล ประกอบด้วยงานต่อไปนี้ 5.1 การประสานงานในฝ่ายต่าง ๆ ให้ดำเนินการไปด้วยความราบรื่น 5.2 สร้างความกลมกลืน และความพร้อมเพียงกัน 5.3 การปรับการทำงานในส่วนต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพให้มากที่สุด 5.4 การกำหนดเวลาในการทำงานในแต่ละช่วง 5.5 การสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้น
15รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 6. การอำนวยการ เป็นกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติเพื่อให้เกิดสภาพประกอบเหมาะสมที่ จะสามารถบรรลุผลแห่งการเปลี่ยนแปลงให้มากที่สุด ได้แก่งานต่อไปนี้ 6.1 การแต่งตั้งบุคลากร 6.2 การกำหนดแนวทาง 6.3 การกำหนดระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับเวลา ปริมาณ 6.4 การแนะนำการปฏิบัติงาน 6.5 การตัดสินใจเกี่ยวกับทางเลือกในการปฏิบัติงาน กรองทอง จิรเดซากุล (2550 : 11) ได้กำหนดกระบวนการนิเทศติดตามภายในโรงเรียน เป็น ขั้นตอน 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ผู้บริหารแต่งตั้งคณะทำงานเทศภายในโรงเรียน 1.2 ร่วมศึกษา วิเคราะห์ รายละเอียดต่าง ๆ ที่เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการปฏิรูปการเรียน รู้เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การทำงานร่วมกัน 1.3 ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือมีผู้มีส่วนร่วม เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การทำงาน ร่วมกัน 1.4 การจัดเตรียมความพร้อมด้านวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือสำหรับการนิเทศ 1.5 สร้างความรู้ ความเข้าใจให้ครู อาจารย์และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 2. ขั้นดำเนินการนิเทศติดตาม 2.1 การนิเทศติดตามเป็นกลุ่ม สามารถดำเนินการ 2.1.1 การประชุมชี้แจงให้ทราบถึงความเคลื่อนไหว 2.1.2 การอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเทคนิค 2.1.3 การประชุมเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูให้ก้าวหน้า 2.1.4 การร่วมสัมมนาลักษณะสมาคมเครือข่าย 2.1.5 การเยี่ยมสถานศึกษาครูต้นแบบแห่งอื่น ๆ 2.2 การนิเทศเป็นรายบุคคล สามารถทำได้หลายวิธี เช่น 2.2.1 การตรวจบันทึกการสอนเป็นการเตรียม 2.2.2 การเยี่ยมชั้นเรียน สร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้สอน 2.2.3 การสังเกตการสอน 2.2.4 การให้คำปรึกษา 3. ขั้นประเมินผล สรุปผล เป็นการประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานนิเทศติดตาม จากการ ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ตามกรอบการปฏิรู ปการเรียนรู้ที่ครู นำไปจัดประสบการณ์หรือกิจกรรม การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การประเมินผลอาจทำได้หลายวิธี เช่น การประเมินโครงการ การวิเคราะห์ การวิจัยเพื่อนำสรุ ปที่ได้ไปปรับปรุ งและพัฒนางานการนิเทศติดตามภายในโรงเรียนในโอกาสต่อไป
16รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 1. ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย การศึกษาปฐมวัย เป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปีบริบูรณ์ อย่างเป็นองค์รวม บนพื้นฐานการ อบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคนให้ เต็มตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรักความเอื้ออาทร และความเข้าใจ ของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2560 : 2) 2. วิสัยทัศน์ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มุ่งพัฒนาเด็กทุกคนให้ได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่องได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีความสุขและเหมาะสม ตามวัย มีทักษะชีวิต และปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนดี มีวินัย และสำนึกความเป็น ไทย โดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา พ่อแม่ ครอบครัว ชุมชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก (กระทรวงศึกษาธิการ. 2560 : 3) 3. หลักการ เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมพัฒนาการตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ตลอดจนได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเหมาะสม ด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็กกับผู้ สอน เด็กกับผู้เลี้ยงดูหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดู การพัฒนา และให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กมี โอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของพัฒนาการทุกด้านอย่างเป็นองค์รวมมีคุณภาพ และเต็มตามศักยภาพ โดย กำหนดหลักการ ดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2560 : 4) 1) ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกคน 2) ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึง ความแตกต่างระหว่างบุคคลและวิถีชีวิตของเด็ก ตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย 3) ยึดพัฒนาการและการพัฒนาเด็กโดยองค์รวม ผ่านการเล่นอย่างมีความหมายและมีกิจกรรมที่ หลากหลาย ได้ลงมือกระทำในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้เหมาะสมกับวัย และมีการพักผ่อนเพียงพอ 4) จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กมีทักษะชีวิต และสามารถปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง เป็นคนดี มีวินัย และมีความสุข 5) สร้างความรู้ ความเข้าใจ และประสานความร่วมมือในการพัฒนาเด็กระหว่างสถานศึกษากับพ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยร 4. จุดหมาย หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการตามวัยเต็มตามศักยภาพ และเมื่อมีความพร้อมในการ เรียนรู้ต่อไป จึงกำหนดจุดหมายเพื่อให้เกิดกับเด็กเมื่อเด็กจบการศึกษาระดับปฐมวัย ดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2560 : 26) 1) มีร่างกายเจริญเติบโตตามวัย แข็งแรง และมีสุขนิสัยที่ดี 2) มีสุขภาพจิตดี มีสุนทรียภาพ มีคุณธรรม จริยธรรมและจิตใจที่ดีงาม 3) มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีวินัย และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่าง มีความสุข 4) มีทักษะการคิด การใช้ภาษาสื่อสาร และการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย
17รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 5. มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ และสภาพที่พึงประสงค์ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 กำหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จำนวน 12 มาตรฐาน และตัวบ่งชี้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาเด็กที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับมาตรฐานคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ พร้อมทั้งกำหนดสภาพที่พึงประสงค์ซึ่งเป็นพฤติกรรมหรือความสามารถตามวัยที่คาดหวังให้เด็กเกิด บนพื้นฐานพัฒนาการตามวัยหรือความสามารถตามธรรมชาติในแต่ละระดับอายุเพื่อนำไปใช้ในการกำหนด สาระเรียนรู้ในการจัดประสบการณ์ กิจกรรมและประเมินพัฒนาการเด็ก โดยมีรายละเอียดของมาตรฐาน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ และสภาพที่พึงประสงค์ ดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2560 : 26 – 34) 1. พัฒนาการด้านร่างกาย มาตรฐานที่ 1 ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยเด็กมีสุขนิสัยที่ดี ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 มีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์
18รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง
19รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง
20รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง
21รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง
22รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง
23รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง
24รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง
25รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง
26รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง
27รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 6. สาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ใช้เป็นสื่อกลางในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ ทุกด้าน ให้เป็นไปตามจุดหมายของหลักสูตรที่กำหนด ประกอบด้วย ประสบการณ์สำคัญ และสาระที่ควรเรียนรู้ ดังนี้ ดังนี้ (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. 2560 : 35 – 41) 1. ประสบการณ์สำคัญ เป็นแนวทางสำหรับผู้สอนไปใช้ในการออกแบบการจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้ ลงมือ ปฏิบัติ และได้รับการส่งเสริมพัฒนาการครอบคลุมทุกด้าน ดังนี้ 1.1 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายเป็นการสนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาส พัฒนาการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก และการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อและระบบประสาท ในการ ทำกิจวัตรประจำวันหรือทำกิจกรรมต่างๆและสนับสนุนให้เด็กมีโอกาสดูแลสุขภาพและสุขอนามัย และการรักษา ความปลอดภัย ดังนี้ 1.1.1 การใช้กล้ามเนื้อใหญ่ 1.1.1.1 การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ 1.1.1.2 การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ 1.1.1.3 การเคลื่อนไหวพร้อมวัสดุอุปกรณ์ 1.1.1.4 การเคลื่อนไหวที่ใช้การประสานสัมพันธ์ของการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการขว้าง การจับ การโยน การเตะ 1.1.1.5 การเล่นเครื่องเล่นสนามอย่างอิสระ 1.1.2 การใช้กล้ามเนื้อเล็ก 1.1.2.1 การเล่นเครื่องเล่นสัมผัสและการสร้างจากแท่งไม้ บล็อก 1.1.2.2 การเขียนภาพและการเล่นกับสี 1.1.2.3 การปั้ น 1.1.2.4 การประดิษฐ์สิ่งต่างๆด้วย เศษวัสดุ 1.1.2.5 การหยิบจับการใช้กรรไกร การฉีก การตัด การปะและการร้อยวัสดุ 1.1.3 การรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตัว 1.1.3.1 การปฏิบัติตนตามสุขอนามัย สุขนิสัยที่ดีในกิจวัตรประจำวัน 1.1.4 การรักษาความปลอดภัย 1.1.4.1 การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยในกิจวัตรประจำวัน 1.1.4.2 การฟังนิทาน เรื่องราว เหตุการณ์ เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความปลอดภัย 1.1.4.3 การเล่นเครื่องเล่นอย่างปลอดภัย 1.1.4.4 การเล่นบทบาทสมมติเหตุการณ์ต่างๆ 1.1.5 การตระหนักรู้เกี่ยวกับร่างกายตนเอง 1.1.5.1 การเคลื่อนไหวเพื่อควบคุมตนเองไปในทิศทาง ระดับ และพื้นที่ 1.1.5.2 การเคลื่อนไหวข้ามสิ่งกีดขวาง
28รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 1.2 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจเป็นการสนับสนุน ให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกของตนเองที่เหมาะสมกับวัย ตระหนักถึงลักษณะพิเศษเฉพาะที่เป็น อัตลักษณ์ ความเป็นตัวของตัวเอง มีความสุข ร่าเริงแจ่มใส การเห็นอกเห็นใจผู้อื่นได้พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม สุนทรียภาพ ความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง และความเชื่อมั่นในตนเองขณะปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ 1.2.1 สุนทรียภาพ ดนตรี 1.2.1.1 การฟังเพลง การร้องเพลง และการแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบเสียงดนตรี 1.2.1.2 การเคลื่อนไหวตามเสียงเพลง/ดนตรี 1.2.1.3 การเล่นบทบาทสมมติ 1.2.1.4 การทำกิจกรรมศิลปะต่างๆ 1.2.1.5 การสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม 1.2.2 การเล่น 1.2.2.1 การเล่นอิสระ 1.2.2.2 การเล่นรายบุคคล กลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่ 1.2.2.3 การเล่นตามมุมประสบการณ์ 1.2.2.4 การเล่นนอกห้องเรียน 1.2.3 คุณธรรม จริยธรรม 1.2.3.1 การปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่นับถือ 1.2.3.2 การฟังนิทานเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม 1.2.3.3 การร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงจริยธรรม 1.2.4 การแสดงออกทางอารมณ์ 1.2.4.1 การสะท้อนความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น 1.2.4.2 การเล่นบทบาทสมมติ 1.2.4.3 การเคลื่อนไหวตามเสียงเพลง/ดนตรี 1.2.4.4 การร้องเพลง 1.2.4.5 การทำงานศิลปะ 1.2.5 การมีอัตลักษณ์เฉพาะตนและเชื่อว่าตนเองมีความสามารถ 1.2.5.1 การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆตามความสามารถของตนเอง 1.2.6 การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น 1.2.6.1 การแสดงความยินดีเมื่อผู้อื่นมีความสุข เห็นอกเห็นใจเมื่อผู้อื่นเศร้าหรือเสียใจ และการช่วยเหลือปลอบโยนเมื่อผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ 1.3 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาส ปฏิสัมพันธ์กับบุคลและสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัวจากการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ผ่านการเรียนรู้ ทางสังคม เช่น การเล่น การทำงานกับผู้อื่น การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่างๆ 1.3.1 การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน 1.3.1.1 การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวัน 1.3.1.2 การปฏิบัติตนตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
29รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 1.3.2 การดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1.3.2.1 การมีส่วนร่วมรับผิดชอบดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน 1.3.2.2 การทำงานศิลปะที่ใช้วัสดุหรือสิ่งของที่ใช้แล้วมาใช้ซ้ำหรือแปรรูปแล้วนำกลับ มาใช้ใหม่ 1.3.2.3 การเพาะปลูกและดูแลต้นไม้ 1.3.2.4 การเลี้ยงสัตว์ 1.3.2.5 การสนทนาข่าวและเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชีวิต ประจำวัน 1.3.3 การปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อาศัยและความเป็นไทย 1.3.3.1 การเล่นบทบาทสมมุติการปฏิบัติตนในความเป็นคนไทย 1.3.3.2 การปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อาศัยและประเพณีไทย 1.3.3.3 การประกอบอาหารไทย 1.3.3.4 การศึกษานอกสถานที่ 1.3.3.5 การละเล่นพื้นบ้านของไทย 1.3.4 การมีปฏิสัมพันธ์ มีวินัย มีสวนร่วม และบทบาทสมาชิกของสังคม 1.3.4.1 การร่วมกำหนดข้อตกลงของห้องเรียน 1.3.4.2 การปฏิบัติตนเป็นสมาชิที่ดีของห้องเรียน 1.3.4.3 การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ 1.3.4.4 การดูแลห้องเรียนร่วมกัน 1.3.4.5 การร่วมกิจกรรมวันสำคัญ 1.3.5 การเล่นแบบร่วมมือร่วมใจ 1.3.5.1 การร่วมสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 1.3.5.2 การเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น 1.3.5.3 การทำศิลปะแบบร่วมมือ 1.3.6 การแก้ปัญหาความขัดแย้ง 1.3.6.1 การมีส่วนร่วมในการเลือกวิธีการแก้ปัญหา 1.3.6.2 การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง 1.3.7 การยอมรับในความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล 1.3.7.1 การเล่นหรือ ทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มเพื่อน 1.4 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้รับรู้ เรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม บุคคลและสื่อต่างๆ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่หลาก หลาย เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กพัฒนาการใช้ภาษา จินตนาการความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา การคิดเชิงเหตุผล และการคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัวและมีความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
30รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 1.4.1 การใช้ภาษา 1.4.1.1 การฟังเสียงต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม 1.4.1.2 การฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำ 1.4.1.3 การฟังเพลง นิทาน คำคล้องจอง บทร้อยกรงหรือเรื่องราวต่างๆ 1.4.1.4 การแสดงความคิด ความรู้สึก และความต้องการ 1.4.1.5 การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง หรือพูดเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง 1.4.1.6 การพูดอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ 1.4.1.7 การพูดอย่างสร้างสรรค์ในการเล่น และการกระทำต่างๆ 1.4.1.8 การรอจังหวะที่เหมาะสมในการพูด 1.4.1.9 การพูดเรียงลำดับเพื่อใช้ในการสื่อสาร 1.4.1.10 การอ่านหนังสือภาพ นิทาน หลากหลายประเภท/รูปแบบ 1.4.1.11 การอ่านอิสระตามลำพัง การอ่านร่วมกัน การอ่านโดยมีผู้ชี้แนะ 1.4.1.12 การเห็นแบบอย่างของการอ่านที่ถูกต้อง 1.4.1.13 การสังเกตทิศทางการอ่านตัวอักษร คำ และข้อความ 1.4.1.14 การอ่านและชี้ข้อความ โดยกวาดสายตาตามบรรทัดจากซ้ายไปขวา จากบนลงล่าง 1.4.1.15 การสังเกตตัวอักษรในชื่อของตน หรือคำคุ้นเคย 1.4.1.16 การสังเกตตัวอักษรที่ประกอบเป็นคำผ่านการอ่านหรือเขียนของผู้ใหญ่ 1.4.1.17 การคาดเดาคำ วลี หรือประโยค ที่มีโครงสร้างซ้ำๆกัน จากนิทาน เพลง คำคล้องจอง 1.4.1.18 การเล่นเกมทางภาษา 1.4.1.19 การเห็นแบบอย่างของการเขียนที่ถูกต้อง 1.4.1.20 การเขียนร่วมกันตามโอกาส และการเขียนอิสระ 1.4.1.21 การเขียนคำที่มีความหมายกับตัวเด็ก/คำคุ้นเคย 1.4.1.22 การคิดสะกดคำและเขียนเพื่อสื่อความหมายด้วยตนเองอย่างอิสระ 1.4.2 การคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตุผล การตัดสินใจและแก้ปัญหา 1.4.2.1 การสังเกตลักษณะ ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลง และความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ โดยใช้ประสาทสัมผัสอย่างเหมาะสม 1.4.2.2 การสังเกตสิ่งต่างๆ และสถานที่จากมุมมองที่ต่างกัน 1.4.2.3 การบอกและแสดงตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่างๆด้วยการกระทำ ภาพวาด ภาพถ่าย และรูปภาพ 1.4.2.4 การเล่นกับสื่อต่างๆ ที่เป็นทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกระบอก กรวย 1.4.2.5 การคัดแยก การจัดกลุ่ม และการจำแนกสิ่งต่างๆตามลักษณะและรูปร่าง รูปทรง 1.4.2.6 การต่อของชิ้นเล็กเติมในชิ้นใหญ่ให้สมบูรณ์ และการแยกชิ้นส่วน 1.4.2.7 การทำซ้ำ การต่อเติม และการสร้างแบบรูป 1.4.2.8 การนับและแสดงจำนวนของสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวัน 1.4.2.9 การเปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวนของสิ่งต่างๆ 1.4.2.10 การรวมและการแยกสิ่งต่างๆ 1.4.2.11 การบอกและแสดงอันดับที่ของสิ่งต่างๆ
31รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 1.4.2.12 การชั่ง ตวง วัดสิ่งต่างๆโดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน 1.4.2.13 การจับคู่ การเปรียบเทียบ และการเรียงลำดับ สิ่งต่างๆ ตามลักษณะความ ยาว/ความสูงน้ำหนัก ปริมาตร 1.4.2.14 การบอกและเรียงลำดับกิจกรรมหรือเหตูการณ์ตามช่วงเวลา 1.4.2.15 การใช้ภาษาทางคณิตศาสตร์กับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน 1.4.2.16 การอธิบายเชื่อมโยงสาเหตุและผลที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์หรือการกระทำ 1.4.2.17 การคาดเดาหรือการคาดคะเนสิ่งที่อาจเกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล 1.4.2.18 การมีส่วนร่วมในการลงความเห็นจากข้อมูลอย่างมีเหตุผล 1.4.2.19 การตัดสินใจและมีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ปัญหา 1.4.3 จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ 1.4.3.1 การรับรู้ และแสดงความคิดความรู้สึกผ่านสื่อ วัสดุ ของเล่น และชิ้นงาน 1.4.3.2 การแสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านภาษา ท่าทาง การเคลื่อนไหว และศิลปะ 1.4.3.3 การสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยใช้รูปร่างรูปทรงจากวัสดุที่หลากหลาย 1.4.4 เจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ 1.4.4.1 การสำรวจสิ่งต่างๆ และแหล่งเรียนรู้รอบตัว 1.4.4.2 การตั้งคำถามในเรื่องที่สนใจ 1.4.4.3 การสืบเสาะหาความรู้เพื่อค้นหาคำตอบของข้อสงสัยต่างๆ 1.4.4.4 การมีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลและนำเสนอข้อมูลจากการสืบเสาะ หาความรู้ในรู ปแบบต่างๆและแผนภูมิอย่างง่าย 2. สาระที่ควรเรียนรู้ สาระที่ควรเรียนรู้ เป็นเรื่องราวรอบตัวเด็กที่นำมาเป็นสื่อกลางในการจัดกิจกรรมให้เด็กเกิดแนวคิด หลังจากนำสาระการเรียนรู้นั้น ๆ มาจัดประสบการณ์ให้เด็ก เพื่อให้บรรลุจัดหมายที่กำหนดไว้ทั้งนี้ ไม่เน้นการ ท่องจำเนื้อหา ครูสามารถกำหนดรายละเอียดขึ้นเองให้สอดคล้องกับวัย ความต้องการ และความสนใจของเด็ก โดยให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์สำคัญ ทั้งนี้ อาจยืดหยุ่นเนื้อหาได้โดยคำนึงถึงประสบการณ์และสิ่ง แวดล้อมในชีวิตจริงของเด็ก ดังนี้ 2.1 เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่างหน้าตา รู้จักอวัยวะต่างๆ วิธีระวัง รักษาร่างกายให้สะอาดและมีสุขภาพอนามัยที่ดี การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ การระมัดระวังความ ปลอดภัยของตนเองจากผู้อื่นและภัยใกล้ตัว รวมทั้งการปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างปลอดภัย การรู้จักความเป็นมาของ ตนเองและครอบครัว การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวและโรงเรียน การเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น การรู้จักแสดงความคิดเห็นของตนเองและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การกำกับตนเอง การเล่นและทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองตามลำพังหรือกับผู้อื่น การตระหนักรู้เกี่ยวกับตนเอง ความภาคภูมิใจในตนเอง การสะท้อนการรับรู้ อารมณ์และความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น การแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกอย่างเหมาะสม การแสดง มารยาทที่ดี การมีคุณธรรมจริยธรรม 2.2 เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน และบุคคลต่างๆ ที่เด็กต้องเกี่ยวข้องหรือใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน สถานที่สำคัญ วันสำคัญ อาชีพของคนในชุมชน ศาสนา แหล่งวัฒนาธรรมในชุมชน สัญลักษณ์สำคัญของชาติไทยและการปฏิบัติตาม วัฒนธรรมท้องถิ่นและความเป็นไทย หรือแหล่งเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นอื่นๆ
32รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 2.3 ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อ ลักษณะ ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลงและความ สัมพันธ์ของมนุษย์ สัตว์ พืช ตลอดจนการรู้จักเกี่ยวกับดิน น้ำ ท้องฟ้า สภาพอากาศ ภัยธรรมชาติ แรง และ พลังงานในชีวิตประจำวันที่แวดล้อมเด็ก รวมทั้งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการรักษาสาธารณสมบัติ 2.4 สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายในชีวิตประจำวัน ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้หนังสือและตัวหนังสือ รู้จักชื่อ ลักษณะ สี ผิวสัมผัส ขนาด รูปร่าง รูปทรง ปริมาตร น้ำหนัก จำนวน ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆรอบตัว เวลา เงิน ประโยชน์ การใช้ งาน และการเลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะ การคมนาคม เทคโนโลยีและการสื่อสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิต ประจำวันอย่างประหยัด ปลอดภัยและรักษาสิ่งแวดล้อม การสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ 1. เทคโนโลยีกับการพัฒนาสื่อสมัยใหม่ ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน (2556 : 4 - 5) ได้กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของระบบเทคโนโลยีการสื่ อสารทำให้สามารถแบ่งประเภทของสื่อออกได้เป็น 2 ประเภท คือ สื่อแบบดั้งเดิม (Traditional Media) และสื่อ ใหม่ (New Media) โดยสื่อดั้งเดิม (Traditional Media) หมายถึง สื่อที่ผู้ส่งสารทำหน้าที่ส่งสารไปยังผู้รับสารได้ ทางเดียว และที่ผู้รับสารไม่ติดต่อกลับทางตรงไปยังผู้ส่งสารได้ เช่น หนังสือพิมพ์ สื่อโทรเลข สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ และสื่อภาพยนตร์ ส่วนสื่อใหม่ (New Media) หรือชื่อเต็มว่า สื่อดิจิทัสสมัยใหม่ (New Digital Media/NDM) หมายถึง สื่อที่เอื้อให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารทำหน้าที่ส่งสารและรับสารได้พร้อมกันเป็นการสื่อสารสองทาง และสื่อ ยังทำหน้าที่ส่งสารได้หลายอย่างรวมกัน คือ ภาพ เสียง และข้อความไปพร้อมกัน โดยรวมเอาเทคโนโลยีของสื่อ ดั้งเดิมเข้ากับความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยี สัมพันธ์ ทำให้สื่อสามารถสื่อสารได้สองทางผ่านระบบเครือข่าย และมีศักยภาพเป็นสื่อแบบประสม (Multimedia) ปัจจุบันสื่อใหม่พัฒนาขึ้นหลากหลายที่เป็นที่รู้จักและนิยมกัน มากขึ้น โดยสื่อใหม่แต่ละประเภทมีความโดดเด่นและแตกต่างกันตามประโยชน์และวัตถุประสงค์ โดยสื่อใหม่มี ข้อดี ดังนี้ ช่วยลดต้นทุน เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการใช้ระบบอิเลคทรอนิกส์ ต้นทุนที่เกิดขึ้นจะมีเพียงต้นทุนในการ สร้างสรรค์ สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย และตรงกลุ่มเป้าหมาย สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ละเอียด ทำให้เจาะจงเพศอายุ ความสนใจได้ วัดผลได้ง่าย เนื่องจากความเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีการปฏิสัมพันธ์ สามารถ โต้ตอบกับสื่อใหม่ เช่น คลิกเพื่อดูข้อมูลตามรายการ การเล่นกับกราฟิกเกมบน Banner การขยับแผ่น AR Code เพื่อดูสินค้ารอบทิศทางไม่จำกัดพื้นที่และเวลา สามารถเข้าถึงสื่อใหม่ได้ทุกที่ ทุกเวลา ที่มีการเข้าถึงเครือข่าย ข้อมูล ให้ข้อมูลได้อย่างเต็มที่ ตอบสนองความต้องการของบุคคลได้หลายประเภทเผยแพร่ได้อย่างรวดเร็ว สื่อใหม่ สามารถช่วยลดทรัพยากรกระดาษ หรือแรงงานที่ใช้ในการจัดพิมพ์หรือสร้างสื่อแบบเดิม 2. เทคโนโลยีด้านสื่อปฏิสัมพันธ์ อติเทพ แจ้ดนาลาว (https://www.spu.ac.th/fac/sdm/th/content.php?cid=3405 สืบค้นวันที่ 25 พ.ย. 64) ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ส่งผลให้ทุกอย่างในโลกนี้สะดวกและง่ายต่อการตอบโจทย์ ในด้านการใช้งานมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในด้านการแพทย์ การศึกษา การคมนาคม เป็นต้น ในที่นี้ผมขอกล่าวถึง ด้านการสื่อสารในรูปแบบสื่อปฏิสัมพันธ์ (Interactive Media) ดังจะเห็นได้ว่านักออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์ได้ใช้ เทคโนโลยี ประยุกต์สื่อประเภทต่างๆ ที่ใช้ร่วมกันได้กับระบบคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างสื่อเหล่านี้ ได้แก่ เสียง วีดิทัศน์ กราฟฟิก ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวต่างๆ การนำสื่อเหล่านี้มาใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างผู้ใช้และ
33รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง ระบบโปรแกรมทำให้เกิดการโต้ตอบ (Interactive)ในรูปแบบต่างๆ กันได้ เช่น การมองเห็น การสัมผัส การได้ยิน การได้กลิ่น รวมถึงการสร้างอุปกรณ์เสริมในการสื่อสาร เป็นต้น ตัวอย่างเทคโนโลยีด้านสื่อฏิสัมพันธ์ (Interactive Media Technology) ดังต่อไปนี้ 1. Interactive Shadow โปรแกรมใช้ในการแสดงข้อมูลต่างๆ เช่นเป็น E-Book หรือนำเสนอในรูปแบบเกมส์ฉายภาพ ได้ทั้งบนผนังและบนพื้นเป็นซอฟท์แวร์ที่ใช้เซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหวของผู้เล่น เพื่อสั่งให้โปรแกรมทำงาน ตามที่ต้องการ 2. Multi-Touch Table โปรแกรมใช้ในการนำเสนอในรูปแบบเกมส์หรือ แสดงภาพถ่ายสวยๆเป็นซอฟท์แวร์ที่เล่นเกมส์ หรือแสดงภาพถ่ายเพียงใช้นิ้วสัมผัส สามารถลาก ย่อ ขยายภาพ และ รับรองการสัมผัสได้มากกว่า 1 จุด ซอฟท์แวร์ สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการรูปร่างขนาดกระทัดรัด ติดตั้งง่ายกล้องด้านนอกสามารถตกแต่งได้ตาม Theme งาน 3. Augmented Reality โปรแกรมใช้ในการนำเสนอGimmick ในการเล่นเกมส์ ผ่านบาร์โค้ด 3D, ทำการ์ดเชิญ, หรือใช้ ในงานแสดง Model สินค้าต่างๆเป็นซอฟท์แวร์ที่ใช้แสดงภาพ 3D Model บนจอภาพโดยเกิดจากการอ่านโค้ด บน Marker ด้วยกล้องเว็บแคม 4. Hologram Effect (Ghost Effect) โปรแกรมใช้ในการนำเสนอโลโก้ กราฟฟิค ภาพสินค้า รวมทั้งถ่ายทำตัวแสดงพร้อมเสียงพูดจาก ตัวแสดงได้เป็นเทคนิค Hologramที่ทำให้เกิดภาพเสมือนลอยอยู่กลางอากาศสามารถมองเห็นได้ด้านเดียว ทำให้ เห็นเป็น 3 มิติ โดยการจัดอุปกรณ์ประกอบฉาก การเลือกใช้เทคโนโลยี Interactive Mediaต้องเหมาะสมกับ จุดประสงค์ของการสื่อสาร และ เลือกใช้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับเรื่องราวที่ต้องการนำเสนอและการรับรู้หรือการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายให้ มากที่สุด 3. มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ สุจิรา มีทอง (https://www.gotoknow.org/posts/611736, สืบค้นเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564) กล่าวไว้ว่า มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์แสดงผล ในลักษณะผสมสื่อหลายชนิดเข้า ด้วยกัน โดยเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เห็น ได้เลือก และรับฟังข้อมูลข่าวสารผ่านจอคอมพิวเตอร์โดยข้อมูล และข่าวสารต่างๆ จะรวมรูปแบบของ ตัวอักษร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และ วีดีโอ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถ ตอบโต้ และมีปฎิสัมพันธ์กับสื่อโดยตรงได้ และเมื่อนำสื่อมัลติมีเดียมาใช้กับการศึกษาจึงนิยมเรียกว่าสื่อมัลติมีเดีย เพื่อการศึกษา คุณสมบัติหลัก 2 ประการ 1. การควบคุมการใช้งาน การควบคุมการใช้งานเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของระบบมัลติมีเดีย คือ ผู้ใช้ต้องสามารถควบคุม ระบบและขั้นตอนการนำเสนอได้ง่ายไม่ซับซ้อน
34รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 2. ความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ ความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ เป็นคุณสมบัติที่เพิ่มขึ้นมาพร้อมๆ กับพัฒนาการด้าน เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนรู้สามารถโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ โดยคอมพิวเตอร์จะนำ ข้อมูลจากผู้ใช้ไปประมวลผล เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการโต้ตอบหรือการประเมิน ซึ่งจะช่วยให้การเรียนรู้ด้วยตนเอง มีประสิทธิภาพและน่าสนใจขึ้น มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ เป็นมัลติมีเดียที่เน้นการให้ผู้ใช้เป็นผู้ควบคุมการนำเสนอ การเลือกเส้นทางเดิน (Navigation) การโต้ตอบ การให้ความรู้ และกิจกรรมที่มีในบทเรียน วัตถุประสงค์เพื่อการเรียนการสอน และการ ฝึกอบรมเป็นหลัก หรือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนทั้งในและนอกระบบโรงเรียน ใน การออกแบบโปรแกรม ผู้ออกแบบต้องนำความก้าวหน้า ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์บูรณาการเข้ากับแนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาการเรียนรู้เพื่อส่งทอดไปยังผู้เรียน โดยผู้เรียนสามารถควบคุมลำดับขั้นตอนการ เรียนรู้ เลือกเนื้อหาการเรียน กิจกรรมการเรียน ตรวจสอบความก้าวหน้า และทดสอบความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเมื่อ เปรียบเทียบกับการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติที่มีครู เป็นศูนย์กลางและเป็นผู้ควบคุมกิจกรรมการเรียนการ สอน จะเห็นได้ว่าการเรียนการสอนโดยใช้มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์มีจุดเด่นอยู่ที่การควบคุมกิจกรรมการเรียน การ ควบคุมเวลาเรียน และการได้มีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนซึ่งจะส่งผลดีต่อการเรียนเป็นรายบุคคล และสอดคล้องกับ ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ปัจจุบันการออกแบบมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ได้รับการพัฒนาบนระบบคอมพิวเตอร์เพียงระบบเดียว เนื่องจากความมีประสิทธิภาพที่เท่าเทียมกับการนำมาต่อพ่วงร่วมกับระบบฮาร์ดแวร์อื่นๆ ทำให้มีความสะดวก ในการใช้งานด้านการเรียนการสอนในชั้นเรียน หรือการเรียนการสอนแบบรายบุคคล ในวงการศึกษาทั่วไปเรียก สื่อประเภทนี้ว่า มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์เพื่อการเรียนการสอน (Interactive Multimedia Instruction หรือ IMI) 4. องค์ประกอบของสื่อมัลติมีเดีย สุจิรา มีทอง (https://www.gotoknow.org/posts/611736, สืบค้นเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564) ได้กล่าวไว้ว่า องค์ประกอบของสื่อมัลติมีเดีย มีดังต่อไปนี้
35รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 1. ข้อความ (Text) หมายถึง ตัวหนังสือและข้อความที่สามารถสร้างได้หลายรูปแบบหลายขนาด การ ออกแบบให้ข้อความเคลื่อนไหวให้สวยงาม แปลกตา และน่าสนใจได้ตามต้องการ อีกทั้งยังสร้างข้อความให้มีการ เชื่อมโยงกับคำสำคัญอื่นๆ ซึ่งอาจเน้นคำสำคัญเหล่านั้นด้วยสีหรือขีดเส้นใต้ ที่เรียกว่า ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) ซึ่งสามารถทำได้โดยการเน้นสีตัวอักษร (Heavy Index) เพื่อให้ผู้ใช้ทราบตำแหน่งที่จะเข้าสู่คำอธิบาย ข้อความ ภาพถ่าย ภาพวีดิทัศน์ หรือเสียงต่างๆ ได้ 2. ภาพกราฟิก (Graphic) หมายถึง ภาพถ่าย ภาพเขียน หรือนำเสนอในรูปไอคอน ภาพกราฟิก นับว่า เป็นสิ่งสำคัญในสื่อประสม เนื่องจากเป็นสิ่งดึงดูดสายตาและความสนใจของผู้ชม สามารถสร้างความคิด รวบยอดได้ดีกว่าการใช้ข้อความ และใช้เป็นจุดต่อประสานในการเชื่อมโยงหลายมิติได้อย่างน่าสนใจ ภาพกราฟิก ที่ใช้ในสื่อประสมนิยมใช้กันมาก 2 รูปแบบ คือ 2.1 ภาพกราฟิกแบบบิตแม็ป (Bitmap Graphic) หรือเรียกอีกอย่างว่า Raster Graphic เป็น กราฟิกที่สร้างขึ้นโดยใช้ตารางจุดภาพ (Grid of Pixels) ในการวาดกราฟิกแบบบิตแม็ป เป็นการสร้างกลุ่มของ จุดภาพแทนที่จะเป็นการวาดรูปทรงของวัตถุ เพื่อเป็นภาพขึ้นมา การแก้ไขหรือปรับแต่งภาพจึงเป็นการแก้ไขครั้ง ละจุดภาพได้เพื่อความละเอียดในการทำงาน ข้อดีของกราฟิกแบบนี้ คือ สามารถแสดงการไล่เฉดสีและเงาอย่าง ต่อเนื่อง เหมาะกับการตกแต่งภาพถ่ายและงานศิลป์ต่างๆ ภาพกราฟิกแบบนี้จะมีชื่อลงท้ายด้วย.gif, .tiff,.bmp 2.2 ภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์ (Vector Graphic) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Draw Graphic เป็นกราฟิกเส้นสมมติที่สร้างขึ้นจากรูปทรงโดยขึ้นอยู่กับสูตรคณิตศาสตร์ ภาพกราฟิกแบบนี้จะเป็นเส้นเรียบ นุ่มนวล และมีความคมชัดขยายใหญ่ขึ้น เหมาะกับงานประเภทที่ต้องการเปลี่ยนแปลงขนาดภาพ เช่น ภาพวาด ลายเส้น สร้างตัวอักษร และออกแบบตราสัญลักษณ์ ภาพกราฟิกแบบนี้จะมีชื่อลงท้ายด้วย.eps,.wmf,.pict 3. ภาพแอนิเมชัน (Animation) เป็นภาพกราฟิกเคลื่อนไหว โดยใช้โปรแกรมแอนิเมชัน (Animation Program) ในการสร้าง เราสามารถใช้ภาพที่วาดจากโปรแกรมวาดภาพ (Draw Programs) หรือภาพจาก Clip Art มาใช้ในการสร้างภาพเคลื่อนไหวได้โดยสะดวก โดยต้องเพิ่มขั้นตอนการเคลื่อนไหวทีละภาพด้วย แล้วใช้ สมรรถนะของโปรแกรมในการเรียงภาพเหล่านั้นให้ปรากฏเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวเพื่อใช้ในการนำเสนอ 4. ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ (Full-Motion Video) เป็นการนำเสนอภาพเคลื่อนไหวด้วยความเร็ว 30 ภาพต่อวินาทีด้วยความคมชัดสูง (หากให้ 15-24 ภาพต่อวินาทีจะเป็นภาพคมชัดต่ำ)รูปแบบภาพเคลื่อนไหว แบบวีดิทัศน์จะต้องถ่ายภาพก่อนด้วยกล้องวีดิทัศน์ แล้วจึงตัดต่อด้วยโปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหว เช่น Adobe Premiere และ Ulead Video Studio ไฟล์ภาพลักษณะนี้จะมีขนาดใหญ่มาก จึงต้องลดขนาดไฟล์ให้เล็กลงด้วย การใช้เทคนิคการบีบอัดภาพ (Compression) 5. เสียง (Sound) เสียงที่ใช้ในมัลติมีเดียไม่ว่าจะเป็นเสียงพูด เสียงเพลง หรือเสียงเอ็ฟเฟ็กต์ต่างๆ จะ ต้องจัดรูปแบบเฉพาะเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและใช้งานได้ โดยการบันทึกลงคอมพิวเตอร์และแปลง เสียงจากระบบแอนะล็อกให้เป็นดิจิทัล แต่เดิมรูปแบบเสียงที่นิยมใช้ มี 2รูปแบบ คือ เวฟ (WAV: Waveform) จะบันทึกเสียงจริงดังเช่นเสียงเพลงและเป็นไฟล์ขนาดใหญ่และ มิดี้ (MIDI: Musical Instrument Digital Interface) เป็นการสังเคราะห์เสียง เพื่อสร้างเสียงใหม่ขึ้นมา จึงทำให้มีขนาดเล็กกว่าไฟล์เวฟ แต่คุณภาพเสียง จะด้อยกว่า ปัจจุบันไฟล์เสียงที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นไฟล์ขนาดเล็กกว่ามากคือMP3 6. การปฏิสัมพันธ์ (Interactive) นับเป็นคุณสมบัติที่มีความโดดเด่นกว่าสื่ออื่นที่ผู้ใช้สามารถ โต้ตอบกับสื่อได้ด้วยตนเอง และเลือกที่จะเข้าสู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของการนำเสนอตามความพึงพอใจได้ ทั้งนี้ การ ปฏิสัมพันธ์สามารถเชื่อมต่อกับองค์ประกอบของมัลติมีเดียชนิดต่างๆ
36รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 5. บทบาทของสื่อมัลติมีเดีย สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง 1. สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล 2. สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง 1. เป็นลักษณะการสื่อสารแบบสองทาง สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล 2. ผู้รับข้อมูลใช้เรียนรู้ด้วยตนเอง หรือเรียน เป็นกลุ่มย่อย 2-3 คน 1. เป็นลักษณะการสื่อสารแบบทางเดียว 3. มีวัตถุประสงค์ทั่วไป และวัตถุประสงค์ 2. ผู้รับข้อมูลมักจะเป็นกลุ่มย่อย จนถึงกลุ่มใหญ่ เฉพาะโดยครอบคลุมทักษะความรู้ ความจำ 3. มีวัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อเน้นความรู้และทัศนคติ ความเข้าใจ และเจตคติ ส่วนจะเน้นอย่างใด มากน้อย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และโครงสร้าง 4. เน้นโครงสร้างและรูปแบบการให้ข้อมูลเป็น เนื้อหา เป็นการนำเสนอข้อมูลเพื่อประกอบ ขั้นตอน ไม่เน้นการตรวจสอบความรู้ของผู้รับ การตัดสินใจใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพ ข้อมูล 4. รูปแบบการสอนจะเน้นการออกแบบสอน 5. โปรแกรมส่วนมากจะควบคุมด้วยระบบ การมีปฏิสัมพันธ์ การตรวจสอบความรู้ โดย คอมพิวเตอร์ หรือผู้นำเสนอ ประยุกต์ทฤษฎีจิตวิทยาและทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นหลัก 5. โปรแกรมได้รับการออกแบบให้ผู้เรียน เป็นผู้ควบคุมกิจกรรมการเรียนทั้งหมด 6. การตรวจสอบประสิทธิภาพของสื่อ นับเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องกระทำ 6. คุณลักษณะสำคัญของสื่อมัลติมีเดีย คุณลักษณะสำคัญ 4 ประการของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองที่สมบูรณ์ ได้แก่ 1. Information (สารสนเทศ) หมายถึง เนื้อหาสาระ (content) ที่ได้รับการเรียบเรียงแล้วเป็นอย่างดี ซึ่งทำให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ โดยอาจจะนำเสนอเนื้อหา ในลักษณะทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ 2. Individualization (ความแตกต่างระหว่างบุคคล) การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งจากบุคลิกภาพ สติปัญญา ความสนใจ พื้นฐาน ความรู้ คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยผู้เรียนจะมีอิสระในการควบคุมการเรียนของตนเอง รวมทั้งการเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับตนเองได้ เช่น สามารถควบคุมเนื้อหา ควบคุมลำดับของการเรียน ควบคุม การฝึกปฏิบัติหรือการทดสอบเป็นต้น
37รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 3. Interaction (การมีปฏิสัมพันธ์) เนื่องจากผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หากได้มีการโต้ตอบหรือ ปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน ดังนั้น สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาที่ออกแบบมาเป็นอย่างดีจะเอื้ออำนวยให้เกิดการโต้ตอบ ระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอย่างต่อเนื่องและตลอดทั้งบทเรียนการอนุญาตให้ผู้เรียนเพียงแต่คลิ้ก เปลี่ยนหน้าจอไปเรื่อยๆทีละหน้า ไม่ถือว่าเป็นปฏิสัมพันธ์ที่เพียพอสำหรับการเรียนรู้ แต่ต้องมีการให้ผู้เรียนได้ใช้ เวลาในส่วนของการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์เพื่อให้ได้มาซึ่งกิจกรรมการเรียนนั้นๆ 4. Immediate Feedback (ผลป้อนกลับโดยทันที) การให้ผลป้อนกลับนี้เป็นสิ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนแตกต่างไปจากมัลติมีเดีย-ซีดีรอม ส่วนใหญ่ ซึ่งได้มีการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราวของสิ่งต่างๆ แต่ไม่ได้มีการประเมินความเข้าใจของผู้เรียน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของการทดสอบ แบบฝึกหัด หรือการตรวจสอบความเข้าใจในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง จึง ทำให้มัลติมีเดีย-ซีดีรอมเหล่านั้น ถูกจัดว่าเป็น มัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล (Presentation Media) ไม่ใช่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 7. ข้อดีของสื่อมัลติมีเดีย 1. ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจมากขึ้น และส่งผลให้ผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น 2. ส่วนใหญ่สื่อมัลติมีเดียจัดเก็บในรูปแบบของซีดีรอม ง่ายต่อการเก็บรักษาและสะดวกต่อการพกพา 3. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองความต้องการ เมื่อไหร่ เวลาไหนก็ได้ 4. ในปัจจุบันมีสื่อมัลติมีเดียเกิดขึ้นมากมาย ผู้เรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้ หรือสร้างใช้เองได้ง่าย 5. ผู้เรียนสามารถฝึกฝนแบบฝึกหัด หรือหาความรู้เพิ่มเติมจากสื่อได้ไม่จำกัด 6. เป็นการส่งเสริมสื่อมัลติมีเดียให้มีการพัฒนาเรื่อย ๆขึ้นไป 7. ช่วยแบ่งเบาหน้าที่ในการสอน ของผู้สอน และสื่อที่ใช้ทำให้เกิดภาพที่ชัดเจน 8. ข้อจำกัดของสื่อมัลติมีเดีย 1. โรงเรียนส่วนใหญ่ยังขาดทรัพยากรบุคคล ที่จะช่วยซ่อมบำรุงและดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ ขาดเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในโรงเรียนติดไวรัส หรือเสีย ดังนั้นอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ของผู้เรียน ส่งผลให้อาจใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ต่อผู้เรียนหลายคนจึงไม่ก่อประโยชน์อย่างใดต่อผู้เรียน 2. การใช้สื่อโดยอิสระหากผู้เรียนใช้อย่างอิสระ และใช้ไปในทางที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม อาจทำให้เกิด ปัญหาตามมา เช่น สื่อลามก อนาจาร ฯลฯ 3. เนื่องจากเป็นสื่อที่ใช้ได้ตามความถนัดและอิสระต่อผู้เรียน ดังนั้น หากผู้เรียนขาดความสนใจหรือ กระตือรือร้นที่จะขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติม ก็จะไม่ก่อประโยชน์ใด ๆ ต่อการเรียน 4. คอมพิวเตอร์เป็นสื่อค่อนข้างยุ่งยาก และซับซ้อนในการใช้งานหากผู้เรียนไม่ทำความเข้าใจ อาจเกิด ความเบื่อ
38รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 9. ข้อควรคำนึงของสื่อมัลติมีเดีย 1. ความคุ้มค่า 2. เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของสื่อ 3. เลือกใช้ให้สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ และจุดมุ่งหมาย 4. เลือกใช้ให้เหมาะกับกระบวนการเรียนการสอน 5. เลือกใช้ให้เหมาะกับขนาดของกลุ่มเป้าหมาย 6. เลือกให้เหมาะสมกับทรัพยากรที่ 7. เลือกใช้สื่อที่มีอยู่แล้วแทนการสร้างเอง 8. จรรยาบรรณเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
39รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน รายงานโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้าน การสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยมีรายละเอียดของวิธีการศึกษา ดังนี้ 1. กลุ่มเป้าหมาย 2. เครื่องมือที่ใช้ 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล 4. การวิเคราะห์ข้อมูล 5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1.กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายในการรายงานครั้งนี้ คือ ครูปฐมวัยที่สอนในระดับชั้นอนุบาล ของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 82 คน ที่เข้าร่วม โครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมี ปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 2.เครื่องมือที่ใช้ 1. แบบทดสอบก่อน - หลัง การอบรมพัฒนาด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและ พ่อแม่ผู้ปกครอง จำนวน 20 ข้อ 2. แบบประเมินความพึงพอใจในการอบรมพัฒนาด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัย และพ่อแม่ผู้ปกครอง 3. แบบประเมินชิ้นงาน 3.การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ผู้เข้ารับการอบรมทำการทดสอบด้วยแบบทดสอบก่อนการฝึกอบรมการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น โดยทำการทดสอบครูที่เข้ารับการฝึกอบรม ใช้เวลา ในการทดสอบ 20 นาที 2. ผู้รายงานเป็นวิทยากรอบรมฝึกปฏิบัติการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ โดยให้ผู้เข้ารับการอบรมฝึก ปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน โดยใช้เนื้อหาในการอบรมตามตารางที่กำหนด ระหว่างวันที่ 19 - 20 ตุลาคม 2564 3. ผู้เข้ารับการอบรมทำการทดสอบด้วยแบบทดสอบหลังการฝึกอบรมการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น โดยทำการทดสอบครูที่เข้ารับการฝึกอบรม ใช้เวลา ในการทดสอบ 20 นาที 4. ผู้เข้ารับการอบรมทำแบบประเมินความพึงพอใจในการอบรมพัฒนาด้านการสร้างสื่อแบบมี ปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง
40รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 4.การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ผู้รายงานใช้วิธีการวิเคราะห์ ดังนี้ 1. วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลัง การอบรมทำการทดสอบ ด้วยแบบทดสอบก่อนการฝึกอบรมการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยใช้ค่าแจกแจง t แบบ Dependent Samples 2. วิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจที่มีต่อการการอบรมทำการทดสอบด้วยแบบทดสอบก่อนการฝึก อบรมการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน โดยมีเกณฑ์การแปลผล ดังนี้ ค่าเฉลี่ย 4.01 – 5.00 ค่าระดับมากที่สุด อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.01 – 4.00 ค่าระดับมาก อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย 2.01 – 3.00 ค่าระดับปานกลาง อยู่ในระดับพึงพอใจปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.01 – 2.00 ค่าระดับน้อย อยู่ในระดับพึงพอใจน้อย ค่าเฉลี่ย 0.01 – 1.00 ค่าระดับน้อยที่สุด อยู่ในระดับพึงพอใจน้อยที่สุด 3. แบบประเมินคุณภาพสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ มีขั้นตอนในการสร้าง ดังนี้ ข้อมูลจากแบบประเมินชิ้นงาน เป็นข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามแบบ ของลิเคิร์ท (Likert) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ให้เลือกตอบและมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้ ระดับ 5 หมายถึง มีคุณภาพในระดับ ดีมาก ระดับ 4 หมายถึง มีคุณภาพในระดับ ดี ระดับ 3 หมายถึง มีคุณภาพในระดับ ปานกลาง ระดับ 2 หมายถึง มีคุณภาพในระดับ พอใช้ ระดับ 1 หมายถึง มีคุณภาพในระดับ ปรับปรุง โดยกำหนดเกณฑ์แปลความหมายไว้ดังนี้ ค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.51 - 5.00 หมายถึง มีคุณภาพในระดับ ดีมาก ค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.51 - 4.50 หมายถึง มีคุณภาพในระดับ ดี ค่าเฉลี่ยระหว่าง 2.51 - 3.50 หมายถึง มีคุณภาพในระดับ ปานกลาง ค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.51 - 2.50 หมายถึง มีคุณภาพในระดับ พอใช้ ค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.00 - 1.50 หมายถึง มีคุณภาพในระดับ ปรับปรุง
41รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 5.สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ผู้รายงานใช้สถิติในการวิเคราะห์ ดังนี้ 1. สถิติพื้นฐาน 1.1 ค่าเฉลี่ยใช้สูตร (บุญชม ศรีสะอาด, 2545 : 105) เมื่อ แทน คะแนนเฉลี่ย แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด N แทน จำนวนครูที่เข้าอบรมทั้งหมด 1.2 หาค่าร้อยละ (Percentage) โดยใช้สูตรดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2545 : 105) เมื่อ P แทน ร้อยละ F แทน ความถี่ที่ต้องการแปลงให้เป็นร้อยละ N แทน จำนวนความถี่ทั้งหมด 1.3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (บุญชม ศรีสะอาด, 2545 : 106) เมื่อ S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน X แทน คะแนนแต่ละคน แทน ผลรวมคะแนนแต่ละคนยกกำลังสอง N แทน จำนวนคะแนนในกลุ่ม 2. สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน 2.1 เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยก่อนและหลังอบรมด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัย และพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยใช้ค่าที (t – test แบบ Dependent samples) ตามสูตรดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2545 : 106) เมื่อ t แทน ค่าสถิติที่ใช้เปรียบเทียบกับค่าวิกฤตเพื่อทราบความมีนัยสำคัญ N แทน จำนวนกลุ่มเป้าหมาย แทน ผลรวมของผลต่างของคะแนนประเมินก่อนอบรมกับคะแนนทดสอบ หลังอบรม แทน ผลรวมของผลต่างระหว่างคะแนนประเมินก่อนอบรมกับหลังอบรม แต่ละตัวยกกำลังสอง แทน ผลรวมของผลต่างคะแนนประเมินก่อนอบรมกับหลังอบรมทั้งหมด ยกกำลังสอง
42รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน รายงานโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครู ด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง จะนำเสนอผลการดำเนินงาน ดังนี้ 1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 2. ขั้นตอนการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อความเข้าใจตรงกันในการแปลความหมายข้อมูล จึงกำหนดสัญลักษณ์ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ขั้นตอนการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล การรายงานโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครู ด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง มีผลการวิเคราะห์ข้อมูลเสนองาน ตามลำดับ ดังต่อไปนี้ ตอนที่ 1 ผลการทดสอบก่อนอบรม และหลังการอบรมโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็ก ปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตอนที่ 2 ผลการประเมินชิ้นงานของผู้เข้าอบรมโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัย ในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตอนที่ 3 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมต่อการอบรมโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อ แม่ ผู้ปกครอง
43รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้รายงานได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตามลำดับขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งมีรายละเอียด ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ตอนที่ 1 ผลการทดสอบก่อนอบรม และหลังการอบรมโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็ก ปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการอบรมด้วยแบบทดสอบก่อนและหลังการอบรมโครงการ พัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ ผู้ปกครอง ปรากฎผล ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการอบรมด้วยแบบทดสอบก่อนและหลังการอบรมโครงการ พัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อ แบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ ผู้ปกครอง ก่อนอบรม 82 9.05 1.51 12 5 หลังอบรม 82 16.32 2.64 20 28.47 12 *p<0.05 จากตารางที่ 1 เปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการอบรมโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็ก ปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ ผู้ปกครอง ก่อนการอบรมครูปฐมวัยมีทักษะด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.05 (M = 9.05, S.D. = 1.51) ส่วนหลังการอบรมครูปฐมวัยมีทักษะด้านการสร้าง สื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.32 (M = 16.32, S.D. = 2.64) สรุปได้ว่า หลังการอบรมครูปฐมวัยมีทักษะด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ ผู้ปกครองสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
44รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง ตอนที่ 2 ผลการประเมินชิ้นงานของผู้เข้าอบรมโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัย ในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ ผู้ ปกครอง ผลการประเมินชิ้นงานของผู้เข้าอบรมโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษ ที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ ผู้ปกครอง ทั้งหมด จำนวน 82 ชิ้นงาน ปรากฎผลดังนี้ ระดับปานกลาง (4) 4.9% ระดับดี (14) 17.1% ระดับดีมาก (64) 78% ผลการประเมินชิ้นงานของผู้เข้าอบรมโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษ ที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ ผู้ปกครอง พบว่า ผลงานอยู่ใระดับดีมาก จำนวน 64 ชิ้นงาน คิดเป็นร้อยละ 78 อยู่ในระดับดี จำนวน 14 ชิ้นงาน คิดเป็นร้อยละ 17.1 อยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 4 ชิ้นงาน คิดเป็นร้อยละ 4.9
45รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง ผลการประเมินชิ้นงานของผู้เข้าอบรมโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษ ที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ ผู้ปกครอง ทั้งหมด จำนวน 82 ชิ้นงาน เมื่อพิจารณาภาพรวม ปรากฎผลดังนี้ 1. ความสวยงาม/ความน่าสนใจ 2. ความเหมาะสมของสีอักษร (Color) มาก (8) ปานกลาง (4) ร้อยละ 4.88 มาก (12) ปานกลาง (5) ร้อยละ 6.10 ร้อยละ 9.76 ร้อยละ 14.63 มากที่สุด (70) ร้อยละ 79.27 ร้อยละ 85.37 มากที่สุด (65) 3. ความเหมาะสมของขนาดอักษร (Size) 4. ความเหมาะสมของแบบอักษร (Font) มาก (10) ปานกลาง (4) ร้อยละ 4.88 มาก (10) ปานกลาง (7) ร้อยละ 8.54 ร้อยละ 12.20 ร้อยละ 12.20 มากที่สุด (65) ร้อยละ 79.27 มากที่สุด (68) ร้อยละ 82.93 ร้อยละ 82.93
46รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง 5. ความคมชัดของข้อความ 6. องค์ประกอบมีความเหมาะสม มาก (8) มาก (13) ปานกลาง (5) ร้อยละ 6.10 ร้อยละ 9.76 ร้อยละ 15.85 มากที่สุด (74) มากที่สุด (64) ร้อยละ 90.24 ร้อยละ 78.05 7. สื่อมีความเข้าใจง่าย เหมาะกับเด็กปฐมวัย 8. มีความถูกต้อง ตรงตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มาก (7) มาก (10) ร้อยละ 8.54 ร้อยละ 12.20 มากที่สุด (75) มากที่สุด (69) ร้อยละ 91.46 ร้อยละ 84.15 9. สื่อสามารถนำไปให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย 10. ตรงตามความต้องการ/มีประโยชน์/น่าสนใจ ใช้ได้อย่างตรงตามวัตถุประสงค์ สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาก (17) ปานกลาง (3) ร้อยละ 3.66 มาก (16) ร้อยละ 20.73 ร้อยละ 19.51 มากที่สุด (62) มากที่สุด (66) ร้อยละ 75.61 ร้อยละ 80.49
47รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ผู้ปกครอง ตอนที่ 3 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมต่อการอบรมโครงการพัฒนาการศึกษา ปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครู ปฐมวัยและพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตารางที่ 2 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมต่อการอบรมโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็ก ปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัย และพ่อแม่ ผู้ปกครอง (ภาพรวม) ด้านการฝึกอบรม 4.43 0.75 มาก 1 ด้านวิทยากร 4.42 0.76 มาก 2 ด้านความรู้ความเข้าใจ 4.07 0.96 มาก 3 4.31 0.84 มาก จากตารางที่ 2 พบว่าผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมต่อการอบรมโครงการพัฒนา การศึกษาปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับ ครูปฐมวัย และพ่อแม่ ผู้ปกครอง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก( = 4.37 , S.D. = 0.60) และเมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านการฝึกอบรม ( = 4.42 , S.D. = 0.76) ด้านวิทยากร และด้านความรู้ความเข้าใจ ตามลำดับ โครงการพัฒนาการศึกษา ปฐมวัย เพื่อเด็กปฐมวัย ในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรม พัฒนาครู ด้านการสร้างสื่อ แบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับ ครู ปฐมวัยและพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมต่อการอบรมโครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย เพื่อ เด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 : กิจกรรมพัฒนาครูด้านการสร้างสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับครูปฐมวัยและพ่อแม่ ผู้ปกครอง (รายด้าน) เป็นดังนี้
Search