A HUMAN . . . N A T O M Y
บทที่1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกายวิภาค์ของมนุษย์ Introductionto human anatomy กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) ? กายวิภาคศาสตร์เป็นแขนงหนึ่งของวิชาชีววิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตว่าอยู่ ส่วนใดของร่างกายและส่วนต่างๆ เหล่านี้ติดต่อเกี่ยวข้องกันอย่างไร โดยมักทำการศึกษาร่วมกับ สาขาสรีรวิทยา (Physiology) ซึ่งเป็นวิชาที่ว่าด้วยหน้าที่การทำงานของส่วนหรืออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เมื่อรวมกันแล้วอวัยวะและระบบต่างๆ เหล่านี้ต้องทำงานประสานสัมพันธ์กัน เพื่อให้ ร่างกาย ดำรงชีวิตได้อย่างปกติ โดยทั้งสองสาขาวิชาจะแตกต่างกันที่กายวิภาคศาสตร์เน้นการ ศึกษาเกี่ยวกับโครงร่าง ส่วนสรีรวิทยาเน้นที่การศึกษาเกี่ยวกับการทำงานและหน้าที่ การจัดระบบในร่างกายมนุษย์ Organs Systems Cell Tissues Systems of the body (ระบบต่างๆในร่างกาย) Integumentary System or Dermatology : ระบบห่อหุ้มร่างกาย Skeleton system or Osteology : ระบบกระดูก Muscular system or Myology : ระบบกล้ามเนื้อ Nervous system or Neurology : ระบบประสาท Circulatory system or Angiology : ระบบไหลเวียน Digestive system : ระบบย่อย Respiratory system : ระบบหายใจ Urinary system or Urology : ระบบขับถ่ายปั สสาวะ Lymphatic system : ระบบน้ำเหลือง Endocrine system or Endocrinology : ระบบต่อมไร้ท่อ Reproductive system : ระบบสืบพันธุ์ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกายวิภาคของมนุษย์ | Introduction to human anatomy
Anatomical position ตำแหน่งในทางกายวิภาคศาสตร์ หมายถึง ท่ายืนตรง เท้าทั้งสองข้างขนาน ชิดกันหรือแยกออกจากกันเล็กน้อย ใบหน้ามอง ตรงไปข้างหน้า แขนทั้งสองเหยียดตรงชิดกับลำตัว มือแบออกทั้งสองข้าง หันฝ่ามือไป ทางด้านหน้า (นิ้วก้อยจดโคนขา นิ้วหัวแม่มือหันออกข้างนอก) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกายวิภาคของมนุษย์ | Introduction to human anatomy
General Body Plan แสดงการแข่งพื้นที่ของร่างกาย คำศัพท์ทางกายวิภาค Medial : เป็นคำประกอบให้ทราบว่า เป็นส่วนที่ใกล้กับเส้นผ่ากลางของร่างหรือของอวัยวะ ซึ่งเรียกว่า (Midian line) Transverse plane or Horizontal plane : แบ่งร่างกายออกเป็นส่วนบนและล่าง Frontal plane or Corona plane : แบ่งร่างกายออกเป็นด้านหน้าและหลัง Sagittal plane or Median plane : แบ่งร่างกายออกเป็นด้านซ้ายและขวา Anterior or Ventral : ด้านหน้าของลำตัว Posterior or Dorsal : ด้านหลังของลำตัว Superior or Cranial : ด้านบนของลำตัว Inferior or caudal : ด้านล่างของลำตัว Proximal : เป็นส่วนที่อยู่ใกล้กับลำตัวเช่น โคนขา โคนแขน ซึ่งอยู่ใกล้และติดต่อกับลำตัว Distal : เป็นส่วนที่อยู่ไกลจากลำตัวเช่นปลายมือ ปลายเท้า เป็นต้น Medial : อยู่ใกล้กับ Median plane Lateral : อยู่ไกลจาก Median plane ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกายวิภาคของมนุษย์ | Introduction to human anatomy
Deep : อยู่ลึกกว่าผิว , อยู่ไกล่าผิว Superficial : อยู่ใกล้ผิวหนัง External or Outer : อยู่ทางด้านนอก Internal or Inner : อยู่ทางด้านใน Central : อยู่ใกล้จุดศูนย์กลาง Parietal : เกี่ยวกับผนังด้านนอกของชีองในรางกาย Visceral : เกี่ยวกับเนื้อเยื่อดาดบนอวัยวะ Ipsilateral : อยู่ข้างเดียวกันของร่างกาย Contralateral : อยู่คนละข้างของร่างกาย Cavities of the body ช่องต่างๆของร่างกาย ภายในร่างกายของมนุษย์มีช่องต่างๆ สำหรับเป็นที่เก็บอวัยวะให้เป็นหมวดหมู่ ถ้าแบ่งร่างกาย ออกไปตามยาว Frontal หรือ Coronal plane จะพบว่าชองถูกแบ่งออกเป็น2ส่วน คือช่อง ส่วนหน้า (ventral cavity)และช่องส่วนหลัง (Dorsal cavity) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกายวิภาคของมนุษย์ | Introduction to human anatomy
Cavities of the body ช่องส่วนหน้า Ventral cavity or Anterior cavity : จะอยู่ด้านหน้าของกระดูกสันหลัง มี เนื้อที่กว้างและใหญ่กว่าช่องส่วนหลังเป็นช่องที่ไม่มีกระดูกล้อมอยู่ครบ - ช่องอก (Thoracic cavity) มีหลอดลม ปอด หลอดอาหาร หัวใจ และหลอดเลือด ใหญ่ๆ - ช่องท้อง (Abdominal cavity) มีกระเพาะอาหาร ตับ ถุงน้ำดี ตับอ่อน ม้าม ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไต และหลอดเลือด - ช่องท้องน้อยหรอช่องอุ้งเชิงกราน (Pelvic cavity) ช่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของช่องท้อง แต่อยู่ต่ำลงมา ช่องนี้มีกระดูกกั้นอยู่มากกว่าช่องท้อง ภายในมีส่วนของsigmoid colon กระเพาะปั สสาวะ ช่องทวารหนัง และอวัยวะสืบพันธุ์ ระหว่างช่องอกกับช่องท้องมีกะบังลม(Diaphragm)ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อแผ่นหนึ่งรูปโค้งขึ้นข้าง บนกั้นอยู่ระหว่างกลาง ช่องส่วนหลัง Dorsal cavity or Posterior cavity : ช่องนี้มีกระดูกล้อมอยู่โดยรอบ โดย เป็นช่องจากกระดูกกระโหลกศีรษะและกระดูกสันหลังแบ่งออกได้อีกคือ - ช่องที่อยู่ในกระโหลกศีรษะ (Cranial cavity) มีมันสมองบรรจุอยูู่ภายใน - ช่องที่อยู่ของไขสันหลัง (vertebral cavity or spinal cavity) ช่องนี้ติดกับ กะโหลกศีรษะ โดยมีไขสันหลังทอดอยู่ติดต่อมาจากมันสมอง ส่วนภายในกะดหลกศีรษะนอกจาก cranial cavity และยังมีช่องเล็กๆอีก3ช่อง คือ 1.ช่องเบ้าตา (Orbital) มีลูกตา ประสาทตา กล้ามเนื้อลูกตา และต่อมขัน้ำตา 2. ช่องจมูก (Nasal cavity) 3. ช่องปาก (Buccal cavity หรือ Mouth) มีลิ้นและฟั น ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกายวิภาคของมนุษย์ | Introduction to human anatomy
บทที่2 ระบบเซลล์ เนื้อเยื่อ และผิวหนัง Cell system. Tissues and Skin เซลล์ระดับโมเลกุลและกระบวนการแบ่งเซลล์ Type of cell : ชนิดของเซลล์ Prokaryotic Cell เป็นเซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสและไม่มีออร์แกเนลล์ชนิดที่มีเยื่อหุ้ม ได้แก่เซลล์แบคทีเรีย Eukaryotic Cell เป็นเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสและออร์แกเนลล์ต่างๆในไซโทพลาสซึมที่มี เยื่อหุ้ม โครงสร้างของเซลล์ เซลล์ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ 1.เยื่อหุ้มนิวเคลียส (Cell membrane/Plasma membrane) 2.ไซโทพลาสซึม(Cytoplasm) 3.นิวเคลียส (Nucleus) ระบบเซลล์ เนื้อเยื่อ และผิวหนัง | Cell system. Tissues and Skin
ส่วนประกอบและอวัยวะภายในเซลล์ Cytoplasm คือส่วนที่ล้อมนิวเคลียสอยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ออร์แกเนลล์ (Organelles) และ ไซโทซอล (Cytosol) ไซโทซอล (Cytosol) คือส่วนของไซโทพลาสซึมมีลักษณะเป็นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลวมีอยู่ ประมาณร้อยละ 50-60 ของปริมาตรเซลล์ทั้งหมด เซลล์ส่วนใหญ่มีปริมาตรของไซโทซอล ประมาณ 3 เท่าของปริมาตรนิวเคลียส ) เซลล์บางเซลล์มีการไหลของไซโทพลาสซึมไปรอบ ๆ เซลล์ เรียกว่า ไซโคลซิส (cyclosis) เป็นผลจากการหดและคลายของไมโครฟิลาเมนท์ บริเวณเอนโดพลาสซึม มีลักษณะค่อนข้างเหลวเป็นที่อยู่ของออร์แกเนลล์ต่าง ๆ นอกจากนี้ ในไซโทซอลยังอาจพบโครงสร้างอื่น ๆ เช่น ก้อนไขมัน เม็ดสีต่าง ๆ เป็นต้น ออร์แกเนลล์ (Organelles) คือโครงสร้างภายในเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะ มีขอบเขตและ มีโครงสร้างสัมพันธ์และหน้าที่แตกต่างกัน คล้ายกับอวัยวะต่างๆของร่างกาย
Cell membrane/Plasma membrane เยื่อหุ้มเซลล์ ( cell menbrane ) ประกอบด้วยฟอสโฟลิพิด และโปรตีน โดยฟอสโฟลิพิดจัด เรียงตัวเป็น 2 ชั้น (bilayer) หันส่วนที่ไม่ละลายน้ำเข้าหากันและหันส่วนละลายน้ำออกสู่สิ่ง แวดล้อม องค์ประกอบโปรตีนจะแทรกอยู่ในชั้น บน ส่วนกลาง หรือ ส่วนล่างของชั้นฟอสโฟลิ พิดประกอบด้วยฟอสโฟลิพิด และโปรตีน โดยฟอสโฟลิพิดจัดเรียงตัวเป็น 2 ชั้น (bilayer) หัน ส่วนที่ไม่ละลายน้ำเข้าหากันและหัน ส่วนละลายน้ำออกสู่สิ่งแวดล้อมองค์ประกอบโปรตีนจะ แทรกอยู่ในชั้นบน ส่วนกลาง หรือส่วนล่างของชั้นฟอสโฟลิพิด หน้าที่ 1.ห่อหุ้มของเเหลวและออร์แกเนลล์ส่วนใหญ่เอาไว้ 2.ควบคุมการผ่านเข้าออกของสารต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่เซลล์ และภายในเซลล์ออกสู่สิ่ง แวดล้อม 3.เป็นที่ยึดจับของสารโครงร่างเซลล์ (cytoskeletal) ทำให้เซลล์คงรูปอยู่ได้ 4.เป็นบริเวณรับ (receptor) ของสารบางชนิดไซโทสเกเลตัน ทำให้เกิดการประสานระหว่าง แม ทริกซ์นอกเซลล์ และไซโทพลาซึมภายในเซลล์ขึ้น
Endoplasmic reticulum (ER) มีลักษณะเป็นท่อแบนใหญ่ บางบริเวณโป่งออกเป็นถุง เรียงขนานและซ้อนกันเป็นชั้นๆ ภายในมีของเหลวบรรจุอยู่ และมีท่อเชื่อมเรียงต่อกันเป็นร่างแหอยู่ล้อมรอบนิวเคลียส และ เชื่อมกับเยื่อหุ้มนิวเคลียสที่ผิวนอกของเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม บางบริเวณมีไรโบไซมเกาะ ติดอยู่ทำให้มองเห็นดูคล้ายผิวขรุขระ เรียกว่า เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ บาง บริเวณไม่มีไรโซโซมเกาะติดอยู่ เรียกว่า เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมผิวแบบเรียบ ทั้งสองชนิด มีท่อเชื่อมต่อถึงกัน Rough endoplasmic reticulum(RER) พวกนี้มี Ribosome มาเกาะที่ผนังท่อทำให้มี ผิวขรุขระ และเป็นบริเวณไรโบโซมสังเคราะห์โปรตีน โดยโปรตีนที่ไรโบโซมสังเคราะห์จะ บรรจุอยู่ใน เวสิเติล และมีการลำเลี้ยงออกไปสู่นอกเซลล์หรือถูกส่งต่อไปยังกอลจิ คอมเพล็กซ์ หรือไปเป็นส่วนประกอบของ เอหุ้มเซลล์เป็นต้น เซลล์ที่มี REA มาก คือ เซลล์ ที่ผลิตโปรตีนสำหรับใช้นอกเซลล์ เช่น เซลล์ตับอ่อนที่ทำหน้าที่สร้างเอนไซม์ย่อยสารอาหาร ต่างๆ Smooth endoplasmic reticulum(SER ) พวกนี้ไม่มี Ribosome มาเกาะที่ผนังท่อ ทำให้มีผิวเรียบ ทำหน้าที่สังเคราะห์สารสเตรอยด์ เช่นออร์โมนเพศ ไตรกลีเซอไรด์ และ สารประกอบของคอเลสเทอรอล นอกจากนี้ SER ยังทำหน้าที่ในการกำจัดสารพิษและ ควบคุม การผ่านเข้าออกของแคลเซียมไอออนในกล้ามเนื้อยึดกระดูกและกล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์ที่มีSER มาก เช่น เซลล์สมอง ต่อมหมวกไต อัณฑะ และรังไข่
Mitochondria ไมโตคอนเดรียเป็นอวัยวะที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้อย่างรวดเร็วและสามารถแบ่ง ตัวได้ด้วยทำให้ประเมินขนาดและรูปร่างได้ยาก แต่โดยทั่วไปมักมีรูปร่างเป็นแท่งและมี ขนาดเฉลี่ยยาว 3-5 mm และกว้าง 0.5-1.0 mm และมีจำนวนตั้งแต่ 20-105 หน่วยต่อ เซลล์ ไมโตคอนเดรียประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น โดยที่เยื่อหุ้มชั้นนอก (Outer membrane) มีลักษณะหนากว่าเยื่อหุ้มชั้นใน (Inner membrane) เยื่อหุ้มทั้งสองชั้นแยกออกจากกัน โดยความกว้าง 60-100 Aํ เยื่อหุ้มชั้นในจะขดตัว (Invagination) เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวให้มาก ขึ้น การขดตัวทำให้เยื่อหุ้มชั้นในพับเป็นแท่งขึ้นมาเรียกว่าซิสตี (Cristae) ซึ่งปริมาณการขด ตัวนี้จะขึ้นอยู่กับกิจกรรมของไมโตคอนเดรีย ถ้ามีมากก็จะมีซิสตีมากไปด้วย ภายในไมโต คอนเดรียมีของเหลวเรียกว่า แมททริกซ์ (Matrix) ซึ่งประกอบด้วยโปรตีนและไขมัน ซึ่ง มีความหนาแน่นและเข้มข้นต่าง ๆ กันไป ภายในแมททริกซ์มีไรโบโซม (Ribosome) และ DNA อยู่ ไมโตคอนเดรียจึงสามารถสร้างโปรตีนได้เองที่เยื่อหุ้มชั้นในจะมีโปรตีนที่เกี่ยวข้อง กับการเคลื่อนที่ของอีเลคตรอนและกระบวนการ Oxidative Phosphorylation และมี โครงสร้างที่เรียกว่า Elementary particle ฝั งตัวอยู่ทำหน้าที่สร้าง ATPsynthase เพราะมีเอนไซม์ ATPase อยู่ภายใน
Golgi apparatus / Golgi complax / Golgi body อวัยวะชนิดนี้ประกอบด้วยหน่วยย่อยเรียกว่ากอลไจ บอดีส์ (Golgi Bodies) หรือดิ๊กตี โอโซมส์ (Dictyosomes) ซึ่งแต่ละหน่วยย่อยนี้เป็นถุงของเยื่อ เมมเบรนแบน ๆ เรียงซ้อน กันเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นเรียกว่า ซีสเตอนี่ (Cisternae) ซึ่งมักจะมี 4-8 ชั้น แต่ละชั้นจะมี ลักษณะคล้ายจานและมีเวสซิเคิล (Vesicle) อยู่ ปลายซีสเตอล่างสุดของดิ๊กตีโอโซมจะ เรียงขนานอยู่กับเอนโดพลาสมิค เรตติคิวลัม จึงเป็นที่คาดกันว่าซีสตีนี่แต่ละชั้นเกิดมาจาก เอนโดพลาสมิค เรตติคิวลัมและชั้นที่อยู่บนสุดจะมีอายุมากที่สุด ซึ่งในที่สุดจะกลายเป็น เวสซิเคิลจนหมด เวสซิเคิลของซีสเตอชั้นบนจะเคลื่อนไปรวมกับเยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้ม แวคคิวโอ สารประกอบที่เกิดในซีสเตอมีหลายชนิดเช่น สารประกอบคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน กอลไจ แอพพาราตัสจะเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรต เช่น การเจริญของผนัง เซลล์ โดยจะทำหน้าที่สร้างผนังเซลล์ในขณะที่มีการแบ่งเซลล์เกิดขึ้นหรือในขณะที่สร้าง ผนังเซลล์ชั้นที่สอง นอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับการเจริญของเยื่อหุ้มเซลล์ด้วย ในการสังเคราะห์ผนังเซลล์ใหม่เมื่อมีการแบ่งเซลล์แบบไมโตซิส (Mitosis) ซึ่งจะเกิด เซลล์เพลท (Cell plate) ขึ้นนั้น เมื่อโครโมโซมแยกออกจากกันแล้วจะมีเวสซิเคิลของกอล ไจ แอพพารากัสขนาดประมาณ 100 nm ซึ่งมีสารประกอบคาร์โบไฮเดรตภายในไปเรียง อยู่บริเวณที่จะเกิดเซลล์ และจากนั้นเวสซิเคิลจะปล่อยคาร์โบไฮเดรตออกมาตรงบริเวณนั้น กลายเป็นผนังเซลล์ใหม่ ส่วนเยื่อหุ้มเวสซิเคิลจะกลายเป็นเยื่อหุ้มของเซลล์ใหม่
Nucleus คือออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มพบในเซลล์ยูแคริโอต ภายในบรรจุสารพันธุกรรม (genetic material) ซึ่งจัดเรียงตัวเป็นดีเอ็นเอ (DNA) สายยาวรวมตัวกับโปรตีนหลาย ชนิด เช่น ฮิสโตน (histone) เป็นโครโมโซม (chromosome) ยีน (gene) ต่างๆ ภายใน โครโมโซมเหล่านี้ รวมเรียกว่า นิวเคลียส จีโนม (nucleards genome) หน้าที่ของ นิวเคลียสคือการคงสภาพการรวมตัวของยีนเหล่านี้และควบคุมการทำงานของเซลล์โดยการ ควบคุมการแสดงออกของยีน (gene expression) โครงสร้างหลักของนิวเคลียสคือ เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear envelope) ซึ่งเป็นเยื่อ สองชั้นที่หุ้มทั้งออร์แกเนลล์และทำหน้าที่แยกองค์ประกอบภายในออกจากไซโทพลาซึม (cytoplasm) อีกโครงสร้างหนึ่งคือ นิวเคลียร์ลามินา (nuclear lamina) ซึ่งเป็น โครงสร้างร่างแหภายในนิวเคลียส ทำหน้าที่เป็นโครงร่างค้ำจุน ให้ความแข็งแรงแก่ นิวเคลียส คล้ายไซโทสเกลเลตอน (cytoskeleton) ภายในเซลล์ เนื่องจากเยื่อหุ้ม นิวเคลียสมีลักษณะเป็นเยื่อเลือกผ่านที่โมเลกุลส่วนใหญ่ผ่านทะลุเข้าออกไม่ได้ ดังนั้นเยื่อ หุ้มนิวเคลียสจึงต้องมีนิวเคลียร์พอร์ (nuclear pore) หรือช่องที่จะให้สารเคลื่อนผ่านเยื่อ ช่องเหล่านี้ทะลุผ่านเยื่อทั้งสองของเยื่อหุ้มนิวเคลียสให้โมเลกุลขนาดเล็กและไอออน เคลื่อนที่เข้าออกนิวเคลียสได้ การเคลื่อนที่เข้าออกของสารโมเลกุลใหญ่ เช่น โปรตีน ต้องมี การควบคุมและต้องใช้โปรตีนช่วยขนส่งสาร (carrier proteins)
Microtubules ไมโครทิวบูลประกอบด้วยโปรตีนหน่วยย่อยคือโปรตีนทิวบูลิน (tubulin) ซึ่งมีหลาย ชนิดได้แก่ แอลฟา-ทิวบูลิน เบต้า-ทิวบูลิน และแกมมา-ทิวบูลิน เป็นต้น โดยแกมมา-ทิวบูลิ นนั้น จะทำหน้าที่เป็นฐานเพื่อให้แอลฟาและเบต้า-ทิวบูลินมาต่อเป็นสายยาวได้ ซึ่งเรียกจุด แรกในการสร้างนี้ว่า nucleation หลังจากนั้น แอลฟาและเบต้า-ทิวบูลินนั้นที่มีการจับกัน เป็นคู่ๆ(tubulin dimer หรือ heterodimer)จะเข้ามาจับต่อเป็นสายยาวต่อไป เรียกขั้น ตอนนี้ว่า elongation ซึ่งการต่อสายยาวนี้จะหยุดก็ต่อเมื่อเข้าสู่ระยะสมดุลของการสร้าง (steady stage) คืออัตราการสร้างไมโครทิวบูลที่ด้านหนึ่งกับอัตราการสลายไมโครทิวบูลที่ ปลายอีกด้านหนึ่งมีค่าเท่ากัน ซึ่งการสร้างและการสลายไมโครทิวบูลในลักษณะนี้เองที่ทำให้ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวเช่นอะมีบาสามารถสร้างเท้าเทียมที่ใช้ในการเคลื่อนที่ได้
Centriole เป็นออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มเซลล์ พบในเซลล์สัตว์และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวเป็นบริเวณ ที่ยึดเส้ยใยสปินเดิลช่วยในการเคลื่อนที่ของโครโมโซมและแยกโครมาทิดแต่ละคู่ออกจาก กันขณะเศลล์แบ่งตัว เซนทริโอล แต่ละอันประกอบด้วยหลอดเล็กๆ เรียกว่า ไมโครทิว บูล(Microtubule) เรียงตัวกันเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 3 หลอด มีทั้งหมด 9 กลุ่ม แต่ละกลุ่ม เชื่อมต่อกันเป็นแท่งทรงกระบอก โดยมีโปรตีนบางชนิดช่วยยึดระหว่างกลุ่มของไมโครทิว บูล บริเวณไซโทพลาซึมที่อยู่ล้อมรอบเซนทริโอลแต่ละคู่ เรียกว่า เซนโทร โซม(Centrosome)ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดเส้นใยสปินเดิล
Lysosome เป็นออร์แกเนลล์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโตคอนเดรีย มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.15-0.8 ไมครอน จึงไม่สามารถ มองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา พบเมื่อปี พ.ศ. 2495 โดย ดูจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน คล้ายถุงลม ซึ่ง ภายในมีเอนไซม์หลายชนิดทำหน้าที่เกี่ยว กับการย่อยสลาย เยื่อหุ้มเซลล์เป็นเยื่อชั้นเดียวซึ่งไม่ยอมให้เอนไซม์ต่าง ๆ ผ่านออก แต่ เป็นเยื่อที่สลายตัวหรือรั่วได้่ง่าย เมื่อเกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อหรือขณะที่มีการเจริญ เติบโต เยื่อหุ้มชั้นนี้มีความทนทานต่อ ปฏิกิริยาการย่อยของเอนไซม์ที่อยู่ภายในได้ เอนไซม์ที่ อยู่ในถุงของไลโซโซมนี้เชื่อกันว่าเกิดจากไรโบโซมที่อยู่บน ERE สร้าง เอนไซม์ขึ้นแล้วส่ง ผ่านไปยังกอลจิบอกดี และหลุดเป็นถุงออกมา
การลำเลียงเข้าออกของเซลล์ Cell Transportation การลำเลียงแบบไม่ใช้พลังงาน (passive transport) การแพร่ diffusion 1.การแพร่ธรรมดา (Simple Diffusion) คือการเคลื่อนที่ของสาร โดยไม่อาศัยตัวพาห รือตัวช่วยขนส่ง (Carrier) ใดๆ เช่น การแพร่ของผงด่างทับทิมในน้ำ จนทำให้น้ำมีสีม่วง แดงทั่วทั้งภาชนะ การได้กลิ่นผงแป้ง หรือการได้กลิ่นน้ำหอม เป็นต้น 2.การแพร่โดยอาศัยตัวพา (Facilitated Diffusion) ซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะในเซลล์ของสิ่ง มีชีวิตเท่านั้น คือการเคลื่อนที่ของสารบางชนิดที่ไม่สามารถแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ โดยตรง จึงต้องอาศัยโปรตีนตัวพา (Protein Carrier) ที่ฝั งอยู่บริเวณเยื่อหุ้มเซลล์ทำ หน้าที่รับส่งโมเลกุลของสารเข้า-ออก โดยมีทิศทางการเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความเข้ม ข้นสูงไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำ เช่น การลำเลียงสารที่เซลล์ตับและเซลล์บุผิว ลำไส้เล็ก หรือการเคลื่อนที่ของน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อ เป็นต้น
การออสโมซิส (Osmosis) การเคลื่อนที่ของสารละลายที่มีความเข้มข้นต่ำ(น้ำมาก)ไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้น ของสารละลายสูง(น้ำน้อย) โดยผ่านเยื่อเลือกผ่านจนกระทั่งถึงจุดสมดุลเมื่ออัตราการ เคลื่อนที่ของนํ้าผ่านเยื่อเลือกผ่านไปและกลับมีค่าเท่า ๆ กันซึ่งการออสโมซิสอาจถือได้ว่า เป็นการแพร่อย่างหนึ่ง การออสโมซิสจะมีผลทำให้รูปร่างของเซลล์เปลี่ยนแปลง ดังนี้ 1. Isotonic solution คือ ความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์และภายนอกเซลล์เท่า กัน ทำให้เซลล์มีรูปร่างปกติ 2. Hypertonic solution คือความเข้มข้นของสารละลายภายนอกสูงกว่าภายในเซลล์ น้ำในเซลล์จึงออสโมซิสออกจากเซลล์ เซลล์จะมีสภาพเหี่ยว เรียกกระบวนการแพร่ของนํ้า ออกมาจากไซโทพลาสซึมและมีผลทำให้เซลล์มีปริมาณเล็กลงนี้ว่า เอกโซสโมซิส (Exosmosis) หรือพลาสโมไลซิส (Plasmolysis) 3. Hypotonic solution คือความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์สูงกว่าภายนอก เซลล์ น้ำจึงออสโมซิสเข้ามาในเซลล์ทำให้เซลล์แตกหรือเซลล์เต่งในเซลล์พืช เรียก ปรากฏการณ์นี้ว่า เอนโดสโมซิส (Endosmosis) หรือพลาสมอบไทซิส (Plasmoptysis)
การแบ่งเซลล์ การแบ่งนิวเคลียส แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ 1.การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซีส ทำให้เรียกการแบ่งเซลล์นี้ว่า การแบ่งเซลล์แบบ ไมโทซีส 2.การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโอซีส ทำให้เรียกการแบ่งเซลล์นี้ว่า การแบ่งเซลล์แบบ ไมโอซีส การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (mitosis) เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มปริมาณเซลล์ภายในร่างกาย (somatic cell) ของสิ่งมีชีวิต โดย ในเซลล์ร่างกายจะมีจำนวนโครโมโซมอยู่ 2 ชุด (2n) หรือดิพลอยด์ (diploid) และเมื่อผ่าน กระบวนการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสจนสมบูรณ์แล้ว จะได้เซลล์ใหม่ 2 เซลล์ ที่มีโครโมโซม 2 ชุดเท่าเดิม และมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนเดิมทุกประการ ทำให้มีจำนวนเซลล์ใน ร่างกายเพิ่มมากขึ้น สิ่งมีชีวิตจึงเจริญเติบโตมากขึ้น ขั้นตอนการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส สามารถจำแนกได้เป็น 2 ขั้นตอนใหญ่ ดังนี้ 1.ระยะอินเตอร์เฟส (interphase) เป็นระยะเตรียมความพร้อมของเซลล์ในระยะนี้จะมี นิวเคลียสขนาดใหญ่ และเมื่อนำเซลล์มาย้อมสีแล้วมองผ่านกล้องจุลทรรศน์จะเห็นนิว คลีโอลัสภายในนิวเคลียสได้อย่างชัดเจน 2.ระยะการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (mitotic phase หรือ M phase) เป็นระยะที่มีการ แบ่งนิวเคลียส ใช้ระยะเวลาในการเกิดช่วงสั้น ๆ แล้วจะตามด้วยการแบ่งไซโทพลาซึม การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิส แบ่งได้เป็น 4 ระยะ คือ 3.ระยะโพรเฟส (prophase) เป็นระยะที่โครมาทินม้วนขดตัว จนสามารถมองเห็นแท่ง โครโมโซมอยู่เป็นคู่ยึดติดกันอยู่ที่เซนโทรเมียร์ (centromere) เยื่อหุ้มนิวเคลียสและ นิวคลีโอลัสหายไป 4.ระยะเทโลเฟส (telophase) เป็นระยะที่โครโมโซมในแต่ละขั้วของเซลล์มีการคลายตัว เป็นเส้นยาว เยื่อหุ้มนิวเคลียสและเยื่อหุ้มนิวคลีโอลัสเริ่มปรากฏให้เห็น
การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (meiosis) เป็นการแบ่งเซลล์ที่ทำให้เกิดการลดจำนวนโครโมโซมภายในนิวเคลียสลงเหลือเพียงชุด เดียว (n) เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ โดยเซลล์ที่ทำหน้าที่แบ่งเซลล์แบบไมโอ ซิสนี้ เรียกว่า โกแนด (gonad) ในเพศหญิงจะพบเซลล์ชนิดนี้ในรังไข่ ซึ่งทำหน้าที่สร้างไข่ (ovum) ส่วนในเพศชายจะพบเซลล์ชนิดนี้ในอัณฑะ (testis) ซึ่งทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ (sperm) กระบวนการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส จะมีการแบ่งเซลล์ต่อเนื่องกัน 2 รอบ เรียกการแบ่ง เซลล์รอบแรกว่า ไมโอซิส 1 และเรียกการแบ่งเซลล์รอบสองว่า ไมโอซิส 2 ซึ่งมีลักษณะ การแบ่งเซลล์ที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1.) ไมโอซิส 1 เป็นระยะแบ่งเซลล์ที่ทำให้ได้เป็นเซลล์ใหม่ 2 เซลล์ โดยแต่ละเซลล์จะมี จำนวนโครโมโซมเพียงครึ่งหนึ่งของเซลล์เดิม เรียกว่า แฮพลอยด์เซลล์ (n) โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1.อินเตอร์เฟส 1 เป็นระยะเตรียมความพร้อมของเซลล์ เช่นเดียวกันกับระยะอินเตอร์ เฟสในไมโทซิส 2.โพรเฟส 1 เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายประการ โดยเริ่มตั้งแต่สายโครมาทินหด ตัวพันกันหนาแน่นกลายเป็นแท่งโครโมโซม จากนั้นคู่โฮโมโลกัสโครโมโซมจะมาเข้าคู่ กัน โดยในระหว่างการเข้าคู่กันคู่โฮโมโลกัสโครโมโซมจะมีการเปลี่ยนแปลงชิ้นส่วน ของโครโมโซม ทำให้ลักษณะของสิ่งมีชีวิตบนโครโมโซมีการเปลี่ยนแปลง จึงเป็น สาเหตุของการแปรผันต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิต 3.เมทาเฟส 1 เป็นระยะที่คู่โฮโมโลกัสโครโมโซมมาเรียงตัวกันอยู่กลางเซลล์ จึงทำให้ เห็นเป็นแถวโครโมโซมเรียงตัว 2 แถว คู่กัน 4.แอนาเฟส 1 เป็นระยะที่คู่โฮโมโลกัสโครโมโซมถูกดึงให้แยกตัวจากกันไปยังขั้วตรง ข้ามของเซลล์ จึงเกิดเป็นโครโมโซมที่มีลักษณะเป็นแฮพลอยด์ 5.เทโลเฟส 1 เป็นระยะที่โครโมโซมถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มที่แต่ละขั้วของเซลล์ มีการสร้าง เยื่อหุ้มนิวเคลียสและการแบ่งแยกส่วนไซโทพลาซึมจนเกิดเป็นเซลล์ลูก 2 เซลล์ ซึ่งมี โครโมโซมแบบแฮพลอยด์ และโครโมโซมจะมีการคลายตัวออกก่อนที่จะเข้าสู่ระยะไม โอซิส 2
2) ไมโอซิส 2 เป็นการแบ่งเซลล์ที่ทำให้จำนวนเซลล์ใหม่เพิ่มขึ้นจาก 2 เซลล์ ไปเป็น 4 เซลล์ โดยจะยังคงจำนวนชุดโครโมโซมเดิมที่เป็นแฮพลอยด์ การแบ่งเซลล์ในขั้นตอนนี้ จะมีลักษณะคล้ายกับการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เว้นแต่ไม่มีการสังเคราะห์โครโมโซม ใหม่ ดังนี้ 1.โพรเฟส 2 เยื่อหุ้มนิวเคลียสสลายไปโครโมโซม หดสั้นมากขึ้น จนทำให้เห็นแท่ง โครโมโซมได้อย่างชัดเจน 2.เมทาเฟส 2 โครโมโซมมาเรียงตัวในแนวกลางของเซลล์ 3.แอนาเฟส 2 แท่งโครโมโซมถูกดึงแยกจากกันกลายเป็นแท่งเดียว ไปรวมกันอยู่ที่ แต่ละขั้วของเซลล์ 4.เทโลเฟส 2 โครโมโซมมารวมกันที่ขั้วเซลล์และมีการสร้างเยื่อหุ้มนิวเคลียสจนได้ 4 นิวเคลียสแต่ละนิวเคลียสมีโครโมโซมเป็นแฮพลอยด์ หลังจากนั้นจึงเกิดการแบ่งไซ โตพลาซึมได้เป็นเซลล์ใหม่ 4 เซลล์ โครโมโซมในนิวเคลียสจึงเริ่มคลายตัวกลับเป็น สายยาว
เซลล์เม็ดเลือด องค์ประกอบของเลือด ในร่างกายของคนเราประกอบไปด้วยเลือดประมาณ 5 ลิตร หรือ 7-8 เปอร์เซ็นต์ของน้ำ หนักตัว นั่นหมายถึง คนที่มีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม จะมีเลือดอยู่ 3-4 กิโลกรัม ส่วนประกอบของเลือด เลือดประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลว เราเรียกว่า น้ำเลือดหรือพลาสมา (Plasma) และ ของแข็ง ซึ่งเป็นส่วนของเซลล์เม็ดเลือดและเกล็ดเลือด 1. น้ำเลือดหรือพลาสมา (Plasma) ในเลือดประกอบไปด้วยน้ำเลือดหรือพลาสมา 55 เปอร์เซ็นต์ และใน 55 เปอร์เซ็นต์นี้ก็ ประกอบไปด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่เหลืออื่น ๆ เป็นโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ เอนไซม์ ฮอร์โมน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะถูกลำเลียงไปยังเซลล์และอวัยวะเป้าหมาย จากนั้นพลาสมาจะรับ ของเสียจากเซลล์ เช่น ยูเรีย เพื่อนำไปกำจัดออกนอกร่างกายต่อไป
2. เซลล์เม็ดเลือด 2.1 เซลล์เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cells, RBCs หรือ Erythrocytes) มีหน้าที่ขนส่ง ออกซิเจนจากปอดไปสู่เซลล์ต่าง ๆ และนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับมาที่ปอด เซลล์เม็ด เลือดแดงมีลักษณะกลมแบน แต่มีรอยบุ๋มตรงกลางเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการขนส่งออกซิเจน ไม่มี นิวเคลียสและไมโทคอนเดรีย ใช้พลังงานจากการหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Respiration) เส้นผ่านศูนย์กลางของเซลล์เม็ดเลือดแดงมีขนาด 7 ไมครอน หนา 2.2 ไมครอน ประกอบด้วย ฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบ ในเลือดจะมี เซลล์เม็ดเลือดแดงอยู่ 45 เปอร์เซ็นต์ของเลือดทั้งหมด โดยสร้างจากไขกระดูก และมีอายุ 120 วัน หลังจากนั้นจะถูกส่งไปทำลายที่ตับ ม้าม และไขกระดูก 2.2 เซลล์เม็ดเลือดขาว (White Blood Cells, WBCs หรือ Leucocytes) เซลล์เม็ดเลือดขาว มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 ไมครอน มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ มีอายุ 2-14 วัน ทำหน้าที่ ต่อสู้กับเชื้อโรคด้วยวิธีต่าง ๆ กัน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) เซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีแกรนูล (Granules) อยู่ในไซโตพลาซึม สร้างจากไขกระดูก - นิวโทรฟิล (Neutrophil) เป็นเซลล์ที่ย้อมแล้วจะเห็นเป็นสีเทา ๆ มีจำนวน 60-70 เปอร์เซ็นต์ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด ทำหน้าที่ต่อสู้กับแบคทีเรียและเชื้อรา โดยการกินและ ปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยสลายแบคทีเรียหรือที่เรียกว่า วิธีฟาโกไซโทซิส จากนั้นจะตายไป พร้อมกับแบคทีเรียและกลายสภาพเป็นหนอง - อีโอซิโนฟิล (Eosinophil) เป็นเซลล์ที่ย้อมติดสีชมพู มีหน้าที่ป้องกันการแพ้พิษ และต่อสู้กับ ปรสิตโดยวิธีฟาโกไซโทซิสเช่นเดียวกับนิวโทรฟิล - เบโซฟิล (Basophil) เป็นเซลล์ที่ย้อมติดสีน้ำเงิน มีหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคโดยการหลั่งสารฮิส ตามีน ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการอักเสบ
2) เซลล์เม็ดเลือดขาวประเภทที่ไม่มีแกรนูลอยู่ในไซโตพลาซึม สร้างจากม้าม ต่อมไทมัส และต่อมน้ำเหลือง - ลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) มี 2 ชนิดคือ T-cell เจริญและพัฒนาที่ต่อมไทมัส ป้องกันสิ่ง แปลกปลอมหรือเชื้อโรคโดยการเข้าปะทะโดยตรง และ B-cell เจริญและพัฒนาที่ไขกระดูก ป้องกันสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคโดยการสร้างแอนติบอดี้ขึ้นมาต่อต้าน - โมโนไซต์ (Monocyte) เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด รูปร่างของนิวเคลียสมี ลักษณะคล้ายไต กำจัดได้ทั้งแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส และปรสิต โดยวิธีฟาโกไซโทซิส 3. เกล็ดเลือดหรือเพลตเลต (Platelet) มาจากเศษของ Megakaryocytes ที่พบในไขกระดูก ไม่มีนิวเคลียส อายุของเกล็ดเลือด ประมาณ 5-9 วัน หลังจากนั้นจะถูกทำลายที่ตับและม้าม เกล็ดเลือดทำหน้าที่ช่วยให้เลือด แข็งตัว โดยการปล่อยสารทรอมโบพลาสตินซึ่งเป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งออกมา ทรอมโบพลาสติ นจะไปกระตุ้นโพรทรอมบินให้กลายเป็นทรอมบิน ทรอมบินกระตุ้นไฟบริโนเจนให้กลายเป็น ไฟบริน ซึ่งจะรวมตัวสานกันในลักษณะตาข่ายเพื่อปิดบาดแผลไว้
เนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อบุผิว (Epithelial tissue) เนื้อเยื่อบุ เป็นเนื้อเยื่อที่ปกคลุมผิวนอกร่างกายหรือผิวท่ออวัยวะภายใน มีหน้าที่รับความ รู้สึก เช่น ที่ผิวหนัง เกี่ยวกับการดูดซึม เช่น เยื่อบุผิวทางเดินอาหาร การสร้างสาร และ การหลั่งสาร เช่น ที่ต่อมน้ำลายและต่อมเหงื่อ เป็นต้น เซลล์เยื่อบุผิวแบ่งตามลักษณะรูปร่างออกเป็น3 แบบ คือ 1. squamous epitheliumเซลล์มีรูปร่างแบนบาง 2.cuboidal epitheliumเซลล์มีรูปร่างทรงกระบอกไม่สูงมาก หรือคล้ายลูกบาศก์ มองทาง ด้านข้างคล้ายลูกเต๋า แต่แท้จริงแล้วมีรูปร่างเป็นทรงแปดเหลี่ยม 3. columnar epitheliumเซลล์คล้ายทรงกระบอก หรือเสาเล็ก ๆ เมื่อมองทางด้านข้าง นิวเคลียสมักใกล้ฐานของเซลล์ ถ้ามีซีเลียที่ผิวหน้าด้านที่เป็นอิสระ ทำหน้าที่โบกพัดสารต่าง ๆ ไปทิศทางเดียว เรียกเป็น ciliated columnar epithelium เช่น ที่ทางเดินหายใจของคน
เซลล์เยื่อบุผิวแบ่งตามจำนวนชั้นของเซลล์ออกเป็น3 แบบ คือ 1. Simple ประกอบด้วยเซลล์เรียงตัวชั้นเดียว 2. Stratified ประกอบด้วยเซลล์เรียงตัวหลายชั้น มีเซลล์ชั้นล่างสุดชั้นเดียว ที่ติดอยู่กับ basal lamina การจำแนกประเภทให้อาศัยสังเกตรูปร่างลักษณะ เซลล์ที่อยู่ด้านบน เนื้อเยื่อนี้สามารถทนต่อแรงดึงหรือกดได้มากกว่า 3. Pseudostratified with cilia มักเป็น pseudostratified columnar epithelium ลักษณะเซลล์เรียงตัวเป็นชั้นเดียว แต่ตำแหน่งของนิวเคลียสซ้อน กันจนมองดูเหมือนกับว่าเซลล์มีหลายชั้น การระบุชนิดเซลล์นี้สามารถสังเกตได้ ว่ามีซีเลีย (เซลล์ที่เป็นซูโดสแตรทิฟายด์อาจจะมีซีเลีย แต่เซลล์ที่เป็นสแตรทิ ฟายด์จะไม่มีซีเลีย) เซลล์ที่มีขนจะแข็งแรงกว่าเซลล์ปกติประมาณ 10 เท่า หน้าที่ของเนื้อบุผิว 1. การป้องกัน (Protection) เช่น เนื้อบุผิวที่ปกคลุมร่างกาย เพื่อป้องกันเชื้อโรค การถูก เสียดสีทำลายและการสูญเสียน้ำออกจากร่างกาย 2. การดูดซึม (Absorption) เช่น เนื้อบุผิวที่บุลำไส้เล็ก ทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ หลอดเลือด 3. การหลั่งสาร(Secretion) เช่น ต่อมต่างๆที่ทำหน้าที่สร้างhormoneเพื่อควบคุมการ ทำงานของร่างกาย 4.การขับสาร(Excretion) เช่นการขนส่งแก๊ส CO2 ผ่านเยื่อบุผิวของถุงลมในปอดออกมา 5. การขนส่งหรือลำเลียง (Transportation) เช่น เนื้อเยื่อบุผิวที่ดัดแปลงไปทำหน้าที่เป็น ท่อ เช่น ท่อของต่อมเหงื่อ
เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue) เป็นเนื้อเยื่อที่พบแทรกอยู่ทั่วไปในร่างกาย ทำหน้าที่ ยึดเหนี่ยวหรือพยุงอวัยวะ ให้คงรูป อยู่ได้ลักษณะของเนื้อเยื่อชนิดนี้ คือตัวเซลล์และเส้นใย กระจายอยู่ ในสารระหว่างเซลล์ที่เรียกว่า เมทริกซ์ (matrix) ซึ่งเส้นใยที่พบ ได้แก่ - เส้นใยคอลลาเจน(collagen fiber) มีลักษณะเป็นเส้นเหนียวแข็งแรง อยู่รวมกัน เป็นมัดใหญ่ - เส้นใยอิลาสติก (elastic fiber) เป็นเส้นใยที่มีความยืดหยุ่นมาก แตกเป็นแขนง ย่อยส่งไปเชื่อมกับแขนงของเส้นอื่น - เส้นใยร่างแห(reticular fiber) มีลักษณะคล้ายเส้นใยคอลลาเจน แต่เป็นเส้น บางกว่ากระจายอยู่ทั่วไป เส้นใยชนิดนี้จะมองไม่เห็นถ้าย้อมด้วยสีย้อมเนื้อเยื่อทั่วไป ต้อง ย้อมด้วยสี silver stain เนื้อเยื่อเกี่ยวพันแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1. เนื้อเยื่อเกี่ยวพันสมบูรณ์ (connective tissue proper) 2. กระดูกอ่อน (cartilage) 3. กระดูกแข็ง(bone) 4. เลือด (blood) 1. เนื้อเยื่อเกี่ยวพันสมบูรณ์ (connective tissue proper) ลักษณะเมทริกซ์เป็นเส้นใยกระจายอยู่แตกต่างกัน ทำให้แบ่งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดนี้ เป็น 2 ประเภทคือ (1) เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดโปร่งบาง (loose connective tissue) เป็น เนื้อเยื่อมีเส้นใยเรียงตัว ไม่เป็นระเบียบ ชนิดที่พบมาก ได้แก่คอลลาเจนและ อิลาสติ ก สำหรับเส้นใยร่างแหพบเล็กน้อย เซลล์ที่พบในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ชนิดโปร่งบาง ได้แก่ - เซลล์ไฟโบรบลาสต์(fibroblast) - เซลล์แมโครฟาจ (macrophage) - เซลล์แมสต์ (mast cell) - เซลล์พลาสมา (plasma cell) - เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดแน่นทึบ (dense connective tissue) - เนื้อเยื่อไขมัน(adipose tissue) เซลล์ประเภทนี้พบอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชนิดต่างๆ
(2) เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดแน่นทึบ พบปริมาณเส้นใยมากอยู่ติดกันแน่นทึบ ทำให้ มีช่องว่าง ระหว่างเซลล์น้อยแบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ - ชนิดเกี่ยวพันทึบ พบตามเอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) และเอ็นยึด (ligament) ประกอบ ด้วยเส้นใย คอลลาเจนเรียงตัว หนาแน่นสีขาว - ชนิดยืดหยุ่น (elastic connectivetissue)พบที่ผนังหลอดเลือด กล่องเสียง หลอดลม และปอด ประกอบด้วยเส้นใยอิลาสติก สีเหลือง ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงและยืดหยุ่น ได้ดี - ชนิดร่างแห (reticularconnective tissue) ตัวเซลล์เป็นเซลล์ร่างแห (reticular cell) มีแขนง แยกออกไปติดต่อ กับเซลล์ข้างเคียง 2. กระดูกอ่อน (cartilage) พบอยู่ตามส่วนของโครงกระดูก โดยเฉพาะบริเวณที่กระดูกมีการเสียดสีกัน ประกอบด้วย เมทริกซ์ ซึ่งเป็นสารพวกมิว โคพอลิแซ็กคาไรด์ ชนิดคอนโดรมิวคอยด์ (condromucoid) มีลักษณะคล้าย วุ้นเซลล์กระดูกอ่อน เรียกว่า คอนโดรไซต์ (chondrocyte) มีรูปร่างกลมหรือ รูปไข่ อาจพบ 1-4 เซลล์ เรียงตัวอยู่ในช่องว่างที่เรียกว่า ลาคูนา (lacuna) กระดูกอ่อนสามารถพบได้ที่ใบหู ฝาปิดกล่องเสียง (epiglottis)กล่อง เสียง(trachea) กระดูกอ่อนกั้นระหว่าง กระดูกสันหลัง แต่ละข้อ (intervertebral disc) เป็นต้น
3. กระดูกแข็ง(bone) ประกอบด้วยเซลล์กระดูกที่เรียกว่า ออสทีโอไซต์ (osteocyte) อยู่ในช่องลาคูนา โดยเซลล์กระดูก จัดเรียงตัวเป็น วงรอบช่อง ฮาเวอร์เชียน (harversian canal) ที่มี เส้นเลือดนำอาหารมาเลี้ยงเซลล์กระดูกและเรียกลักษณะ การเรียงตัวของ เซลล์กระดูกนี้ว่า ระบบฮาร์เวอร์เชียน (harversian system) ช่องฮาร์เวอร์เชียนสามารถติดต่อกับ ช่องลาคู นาหรือระหว่าง ช่องลาคูนาด้วยกันเองโดยผ่านช่องเล็ก ๆ ที่เรียกว่า คานาลิคูไล (canaliculi) สารระหว่างเซลล์กระดูก ประกอบด้วยแคล เซียมและฟอสเฟตเป็นองค์ ประกอบสำคัญ 4. เลือด (blood) ประกอบด้วย น้ำเลือด (plasma) เซลล์เม็ดเลือด ซึ่งแบ่งเป็น - เซลล์เม็ดเลือดแดง (red blood cell or erythrocyte) เซลล์เม็ดเลือดแดง มี รงควัตถุฮีโมโกลบิน (hemoglobin)ทำหน้าที่ ลำเลียงออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ - เซลล์เม็ดเลือดขาว (white blood cell or leucocyte) เซลล์เม็ดเลือดขาวทำ หน้าที่ทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย มี 2 ประเภท คือ พวกที่มีเม็ดแกรนูล (granule) พิเศษในไซโทพลาสซึม (granulocyte) สามารถ ย้อมติดสี ได้ดี เซลล์เม็ดเลือดขาวในกลุ่มนี้ ได้แก่นิวโทรฟิล (neutrophil) เซลล์มี นิวเคลียส 2-6 พู โอซิโนฟิล (eosinophil) เซลล์มีนิวเคลียสไม่เกิน 3 พู และเบโซฟิล (basophil) เซลล์มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ แยกเป็นพูรูปตัวเอส (s) หรือรูปร่างไม่แน่นอน
พวกที่ไม่มีเม็ดแกรนูลในไซโทพลาสซึม (agranulocyte) ได่แก่ ลิมโฟไซต์ (lymphocyte) เซลล์มีนิวเคลียสกลมมี ขนาดใหญ่ ขนาดใกล้เคียงกับเซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์โมโนไซต์ (monocyt) นิวเคลียสมีขนาดใหญ่ รูปไต หรือรูปรี เกล็ดเลือด (thrombocyte) เกล็ดเลือด เป็นชิ้นส่วนของไซโทพลาซึม (cytoplasm) ของเซลล์ชนิด หนึ่ง ในไขกระดูกที่แตก ออกจากกัน เข้ามาอยู่ในกระแสเลือดไม่มีสี และไม่มีนิวเคลียส ทำหน้าที่เกี่ยวกับ การแข็งตัวของเลือด เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยสามารถหดตัวได้ เซลล์ กล้ามเนื้อ มีรูปร่างยาวมัก เรียกว่า ใยกล้ามเนื้อ (myofibril) แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ กล้ามเนื้อลาย (skeletal or striated muscle) เป็นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่อยู่ติดกับ กระดูก เช่น กล้ามเนื้อที่แขนขา จึงทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยตรง มี รูปร่างเป็นทรงกระบอก เรียงตัวขนานกัน มีลาย แต่ละเซลล์มี หลายนิวเคลียสการทำงาน ของกล้ามเนื้อนี้อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) พบที่อวัยวะภายใน เช่นที่ผนังของทางเดินอาหาร มดลูก เส้นเลือด และอวัยวะภายในอื่น ๆ เซลล์มีรูปร่างยาวหัวท้ายแหลมแต่ละเซลล์มี นิวเคลียส 1 อัน อยู่กลางเซลล์ ไม่มีลายตามขวาง กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) พบที่ผนังหัวใจ เซลล์มีลายคล้ายกล้ามเนื้อลาย พบนิวเคลียส 1-2 อัน อยู่กลางเซลล์ และเซลล์มีแขนงเชื่อมต่อกัน การทำงานของกล้ามเนื้อ นี้อยู่ภายนอกอำนาจจิตใจ
เนื้อเยื่อประสาท (neurous tissue) เนื้อเยื่อประสาท ประกอบด้วย 1. เซลล์ประสาท (neuron) ทำหน้าที่รับส่งกระแสประสาท 2. เซลล์เกี่ยวพันประสาท (neuroglia) มีหน้าที่สนับสนุนการทำงานของเซลล์ประสาท เช่นยึดเหนี่ยหรือค้ำจุนเซลล์ประสาท ซ่อมแซมบาดแผลที่เกิดขึ้นกับเซลล์ประสาท เป็นต้น เซลล์ประสาทแต่ละเซลล์ ประกอบด้วย ตัวเซลล์ ซึ่งอยู่ในชั้นสีเทา (grey matter) ของระบบประสาทไขสันหลังและระบบประสาท ส่วนกลาง เซลล์ประสาทมีลักษณะกลมขนาดใหญ่ มีนิวเคลียสอยู่ตรงกลาง แขนงประสาท แบ่งเป็น 2 พวก คือ – เดนไดรต์ (dendrite) ที่เป็นแขนงประสาทขนาดสั้นทำหน้าที่รับกระแสประสาท (impulse) เข้าสู่ตัวเซลล์ – แอกซอน(axon) เป็นแขนงประสาทลักษณะยาวไม่มีแขนงแตกออกใกล้กับตัวเซลล์ แอกซอน ทำหน้าที่นำ กระแสประสาทออกจากตัวเซลล์
ผิวหนัง ผิวหนังเป็นอวัยวะห่อหุ้มร่างกายภายนอกทั่วๆไป มีพื้นที่ทั่วร่างกายประมาณ 1.17- 1.95ตารางเมตร มีความหนาในบริเวณต่างๆไม่เท่ากัน บริเวณที่หนามากที่สุดได้แก่ฝ่ามือ และฝ่าเท้าผิวหนังมีต่อมเหงื่อและต่อมไขมันรวมอยู่ด้วย นอกจากนั้นผิวหนังสามารถบ่งบอก อายุของคนได้อีกด้วย หน้าที่ของผิวหนัง 1. ห่อหุ้มร่างกายและป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับอวัยวะภายใน 2. ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ช่วยทําให้ความร้อนในร่างกายคงที่อยู่เสมอโดยป้องกัน ไม่ให้ความร้อนเสียไปเมื่ออากาศหนาวและช่วยระบายความร้อนออกนอกร่างกายด้วยการ ขับเหงื่อเมื่ออากาศร้อน 3. ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายเช่น การขับเหงื่อ 4. รับความรู้สึกต่างๆ เนื่องจากมีประสาทรับความรู้สึกอยู่ที่ผิวหนัง เช่น ความร้อน ความเย็น การสัมผัส ความเจ็บปวดเป็นต้น โครงสร้างของ ผิวหนัง
ผิวหนังแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นนอกเป็นหนังกําพร้า ส่วนชั้นในเป็นหนังแท้ดังนี้ 1.หนังกําพร้า (Epidermis) เป็นชั้นนอกสุดของผิวหนัง มีลักษณะบางมาก ประมาณ 0.04-1.60 มิลลิเมตร หนังกําพร้า ไม่มีหลอดเลือดมาเลี้ยงแต่ได้รับสารอาหารและถ่ายเทของเสียโดยการแพร่ผ่านหนังแท้ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อบุผิวซ่อนกันอยู่ เซลล์ผิวหนังในชั้นนี้เรียงตัวกันเป็นชั้นๆ เซลล์ใหม่ถูก สร้างจากชั้นล่างสุดจะเคลื่อนตัวขึ้นสู่ชั้นบนเรื่อย ๆ ระหว่างที่เคลื่อนตัวขึ้นสู่ชั้นบน จะมีการ เปลี่ยนรูปร่างและองค์ประกอบ กลายเป็นเซลล์แบนที่ตายแล้วเรียงอัดกันแน่นในชั้นบนสุดใน ชั้นนี้ประกอบด้วยโปรตีนชนิดหนึ่ง ชื่อว่า เคราติน (Keratin)คล้ายคลึงกับที่พบในเล็บและ ผมทําหน้าที่เคลือบผิวหนัง เซลล์ชั้นนี้จะมีการหลุดลอกออกไปเองและถูกแทนที่โดยเซลล์ใหม่ จากชั้นล่างที่เคลื่อนตัวขึ้นมาแทนที่ส่วนชั้นล่างสุดจะพบเซลล์ที่มีหน้าที่ในการผลิตสี ผิว(Melanocyte) ซึ่งจะช่วยสร้างสารที่ทําให้เกิดสีผิวที่ผิวหนัง หนังกําพร้าแบ่งออกเป็นชั้น ต่างๆ ดังนี้ 1.1 Stratum corneum เป็นชั้นบนสุดเซลล์มีลักษณะแบน ไม่มีนิวเคลียส มีความหนาม มากที่สุดจะพบในผิวหนังหนา ๆ เท่านั้น 1.2 Stratum lucidum เป็นชั้นใส ๆ ประกอบด้วยชั้นของเซลล์บางๆ มองไม่เห็น ขอบเขตของเซลล์ปกติจะพบในผิวหนังชนิดหนาเท่านั้น 1.3 Stratum granulosum เป็นชั้นที่ค่อนข้างบาง ประกอบด้วยเซลล์รูปร่างค่อนข้าง แบนเรียงซ่อนกัน 2-3 ชั้น ขอบเขตของแต่ละเซลล์มองเห็นชัดเจน 1.4 Stratum spinosum ประกอบด้วยเซลล์รูปร่างหลายเหลี่ยม เรียงตัวกันประมาณ 8แถวเป็นชั้นที่ผลิตเซลล์ใหม่ออกมา 1.5 Stratum basale เป็นชั้นล่างสุดอยู่ชิดกับหนังแท้ ประกอบด้วยเซลล์รูปแท่งเรียง ตัวชั้นเดียว 2. หนังแท้(Dermis) เป็นชั้นของผิวหนังที่อยู่ใต้หนังกําพร้า มีความหนามากกว่าหนังกําพร้า ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ เกี่ยวพัน (Connective tissue) ทอดไปมาในทิศทางต่างๆ ทําให้ผิวหนังมีความเหนียวลด การกระแทกจากแรงดึงต่างๆ หนังแท้ยึดติดกับเยื่อฐาน (Basement membrane)ของ หนังกําพร้าอย่างแน่นหนา ในชั้นหนังแท้จะมีปลายประสาทรับความรู้สึก ต่อม เหงื่อ(Sweatgland) รากขน (Hair follicle) ต่อมไขมัน (Sebaceous gland)และหลอด เลือด(Blood vessel)หลอดเลือดในชั้นหนังแท้มีประโยชน์ในการให้อาหารมาเลี้ยงและขับ ของเสีย
หนังแท้แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ 2.1 พาพิลลารีเลเยอร์(Papillary layer) อยู่ชั้นบน อยู่ติดกับหนังกําพร้าเป็นชั้นที่นูนยื่น ขึ้นมาในชั้นหนังกําพร้าผิวหนังชั้นนี้จะมีหลอดเลือดฝอยและปลายเส้นประสาทหลอดเลือด ฝอยมีจํานวนมากเพื่อส่งอาหารไปเลี้ยงชั้นหนังกําพร้า ส่วนปลายประสาทจะเป็นประสาทรับ ความรู้สึกสัมผัส ความร้อน ความเย็น และความเจ็บปวด 2.2รีทิคิวลาร์เลเยอร์(Reticular layer) ชั้นนี้อยู่ที่ส่วนล่างของหนังแท้ และยึดติดกับ ชั้นใต้ผิวหนัง (Subcutaneous layer) ชั้นนี้ป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดเนื้อแน่นไม่เป็น ระเบียบ(Dense irregular connective tissue) มีความแข็งแรงยืดหยุ่น สามารถยืดออก ได้มากในชั้นนี้มีหลอดเลือด หลอดน้ําเหลือง ปลายประสาท กล้ามเนื้อเรียบของขน ต่อม เหงื่อ ท่อเหงื่อ ต่อมน้ํามันรากขน ขุมขน และเยื่อไขมัน เล็บ (Nail) เล็บเป็นอวัยวะที่เปลี่ยนแปลงมาจากหนังกําพร้า พบได้บริเวณปลายนิ้วของคนและสัตว์ เลี้ยงลูกด้วยนม ทําหน้าที่ป้องกันปลายนิ้วและช่วยในการหยิบจับ แกะเกาและข่วน เล็บมี ลักษณะแข็งและใสมองเห็นสีของเลือดใต้เล็บเป็นสีชมพู ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ 1.1 ปลายเล็บ (Free edge)คือ ส่วนที่ยื่นพ้นนิ้วออกไป 1.2 ตัวเล็บ (Nail plate)คือ ส่วนของปลายเล็บที่อยู่ปลายนิ้ว มีลักษณะเป็นแผนบางๆรูปตัว ยู(U) สีชมพูอ่อน ๆ 1.3 ฐานเล็บ (Nail bed)คือ ส่วนของผิวหนังที่อยู่ใต้เล็บ 1.4 รากเล็บ (Nail root)คือ ส่วนที่อยู่บริเวณโคนเล็บอยู่ใต้ผิวหนังซึ่งเล็บจะงอกออกมา จากรากเล็บ
บทที่3 ระบบสืบพันธุ์ Reproductive system อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง อวัยวะเพศภายนอก ( external genitalia) mone pubis เนินหัวเหน่าเป็นผิวหนังนูนอยู่บริเวณเหนือกระดูกหัวเหน่า ( pubic symphysis) เมื่อเข้าสู่วัยสาวจะมีขนงอกขึ้นที่บริเวณนี้ สำหรับในเพศหญิงแนวขนจะเรียง ตัวเป็นรูปสามเหลี่ยมมียอดชี้ลงมาทางด้านล่าง labiamajora แคมใหญ่เป็นผิวหนังที่ต่อมาจากทางด้านล่างของเนินหัวเหน่า มีลักษณะนูน แยกเป็น 2 กลีบลงไปบรรจบกันทางด้านหลังที่บริเวณฝีเย็บ labia minora แคมเล็กเป็นชั้นผิวหนังที่ยกตัวขึ้นเป็นกลีบเล็กๆ สีแดง 2 กลีบ ทางด้านใน ของแคมใหญ่ กลีบของแคมเล็กทางด้านหน้าจะแยกออกเป็น 2 แฉก แฉกด้านบนมาจรด กันกลายเป็นผิวหนังคลุม clitoris เรียกว่า ” prepuce of clitoris” แฉกด้านล่างจรด กันใต้clitoris เรียกว่า ” frenulum of clitoris “ ส่วนปลายหลังของแคมเล็กจะโอบ รอบรูเปิดของช่องคลอดและท่อปั สสาวะแล้วมาจรดกันด้านหลังเรียกว่า ” fourchette “ แคมเล็กไม่มีขนงอก
clitoris มีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ มีโครงสร้างเป็น erectile tissue เช่นกันมีหลอดเลือด และปลายประสาทรับความรู้สึกมาเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ดังนั้นหากเกิดการฉีกขาดที่บริเวณนี้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในขณะคลอดจะทำให้เจ็บ เสียเลือดมากและเย็บติดได้ยาก vestibule เป็นบริเวณที่อยู่ระหว่างแคมเล็กทั้งสองข้าง ตั้งแต่ clitoris ลงไปจนถึง fourchette บริเวณนี้มีรูเปิดของท่อต่างๆ ดังนี้ – รูเปิดของท่อปั สสาวะ ( urethral orifice) จะอยู่ถัดจาก clitoris ราว 1 ซม. – รูเปิดของช่องคลอด ( vaginal orifice) อยู่ถัดไปอีก มีเยื่อพรหมจารีย์ปิดอยู่ – รูเปิดของ Bartholin’s gland และ paraurethral gland อย่างละ 1 คู่ Bartholin’s gland (greater vestibular gland) เป็นต่อมเล็กๆ ขนาดเท่าเมล็ดถั่ว เขียวพบอยู่ 2 ข้างของรูเปิดของช่องคลอด จะให้ท่อออกมาเปิดที่บริเวณระหว่างเยื่อพรหม จารีย์กับแคมเล็ก ทำหน้าที่สร้างเมือกหล่อลื่นและมีฤทธิ์เป็นด่าง เพื่อลดความเป็นกรดใน ช่องคลอด hymen เยื่อพรหมจารีย์ เป็นเนื้อเยื่อที่ยื่นออกมาปิดรูเปิดของช่องคลอด ตรงกลางจะมีรู เปิดเล็กๆ เยื่อพรหมจารีย์นี้สามารถยืดหยุ่นได้ ในเด็กบางคนเยื่อพรหมจารีย์ไม่มีรูเปิดจึง ปิดช่องคลอดไว้หมด ทำให้เลือดประจำเดือนไม่สามารถไหลออกมาได้ เรียก” imperferated hymen “ perineum ฝีเย็บเป็นบริเวณรูปสี่เหลี่ย ( diamond-shape)โดยลากเส้นเชื่อมต่อจาก กระดูกหัวเหน่าไปยัง ischial tuberosity 2 ข้างและกระดูกก้นกบ แต่ถ้าลากเส้น ตรงเชื่อมต่อระหว่าง ischial tuberosity ทั้ง 2 ข้างจะแบ่งฝีเย็บออกเป็นบริเวณรูป สามเหลี่ยม 2 รูปคือด้านหน้าเรียก urogenital triangle เป็นที่ตั้งของอวัยวะเพศภายนอก ทั้งหมด และด้านหลังเรียกว่า ” anal triangle “จะพบรูเปิดของทวารหนักอยู่บริเวณที่อยู่ ระหว่างช่องคลอดกับทวารหนัก จะมีก้อนเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เหนียวและแข็งแรงอยู่ข้างใน เรียกว่า” perineal body “ ซึ่งมีความสำคัญเป็นจุดยึดเกาะของกล้ามเนื้อลายหลายมัด ที่ทำหน้าที่รองรับอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ภายในอุ้งเชิงกรานไม่ให้เคลื่อนออกมา ฝีเย็บมักจะฉีก ขาดขณะที่ทำการคลอด ถ้าหากไม่มีการเย็บซ่อม ก็อาจจะทำให้อวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน โดยเฉพาะมดลูกเคลื่อนที่ออกมาทางช่องคลอด ดังนั้นการป้องกันไม่ให้ฝีเย็บฉีกขาด ขณะทำคลอดจะต้องตัดบริเวณฝีเย็บ เรียกว่า ” episiotomy “ เพื่อเปิดช่องคลอดให้ กว้างขึ้นจะได้คลอดสะดวก เมื่อทารกคลอดออกมาแล้วค่อยทำการเย็บปิดกลับตามเดิม
อวัยวะเพศภายใน ( internal genitalia) ช่องคลอด(Vaginal Canal) เป็นช่องอวัยวะภายในที่ตั้งอยู่ระหว่างช่องปั สสาวะกับช่อง ทวารหนัก ยาวประมาณ 7 – 8 เซนติเมตร เป็นช่องสำหรับผ่านของตัวอสุจิเพื่อเข้าไป ปฏิสนธิกับไข่บริเวณปีกมดลูกหรือท่อนำไข่ รวมถึงเป็นทางออกของทารกในขณะคลอด ผนังภายในของช่องคลอดเป็นเยื่อเกือบติดกัน และสามารถแยกออกจากกันได้ สามารถยืด หดได้มาก และบริเวณปากช่องคลอดมีต่อมขนาดเล็กทำหน้าที่ขับน้ำเมือกมาเลี้ยงช่องคลอด เรียกว่า ต่อมบาร์โทลิน (Bartholin Grand) ในภาวะปกติ ช่องคลอดจะมีมีสภาพเป็นกรด ที่มาจากการเปลี่ยนไกลโคเจนให้เป็นกรดแลกติก (Lactic Acid)แบคทีเรียชนิดหนึ่ง จึงเป็น สภาวะที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อจุลินทรีย์ได้ และที่ปากช่องคลอดเยื่อบางๆ เรียกว่า เยื่อ พรหมจารี (Hymen) ปกคลุมอยู่ เยื่อนี้ จะขาดไปเมื่อมีเพศสัมพันธุ์ครั้งแรกหรือกรณีอื่นๆ เช่น การเล่นกีฬา การทำงานหนักที่ทำให้เกิดการฉีกขาดของเยื่อพรหมจารี แต่ในบางคนอาจ จะขาดมาแล้วตั้งแต่กำเนิด
มดลูก(Uterus) เป็นอวัยวะสืบพันธ์เพศหญิงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีรูปร่างลักษณะคล้ายผล ชมพู่ ตั้งอยู่ในอุ้งเชิงกราน และอยู่ระหว่างกระเพาะปั สสาวะซึ่งอยู่ด้านหน้า และทวารหนัก ซึ่งอยู่ด้านหลัง มีส่วนที่ติดต่อกับช่องคลอดทีเป็นปากมดลูก เรียกว่า เซอวิก (Cervix) ภายใน มดลูกมีลักษณะเป็นโพรงแคบๆ มีเยื่อบุโพรงมดลูกที่เป็นกล้ามเนื้อหนา และมีความแข็งแรง มีเส้นเลือดมาเลี้ยงจำนวนมาก และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดทุกรอบเดือนจากอิทธิพล ของฮอร์โมนเพศเอสโตรเจน และโปรเจสเตอร์โรน เยื่อผนังมดลูกจะหลุดลอกขณะมีประจำ เดือน แต่เมื่อตั้งครรภ์จะขยายตัวใหญ่เป็นที่ฝั งตัวของไข่ที่ปฏิสนธิจากเชื้ออสุจิแล้ว และ ค่อยๆเจริญเติบโตเป็นทารกในครรภ์ หลังการคลอดผนังมดลูกจะกลับคืนสู่สภาพเดิมภายใน 45 วัน มดลูกแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วนคือ - fundus คือส่วนบนที่อยู่เหนือท่อนำไข่ เป็นส่วนที่กว้างที่สุด - body คือส่วนที่อยู่ต่ำกว่าท่อนำไข่ เรียวลงไปจนถึงส่วนแคบที่เรียกว่า isthmus - Isthmus เป็นส่วนที่เล็กที่สุด ไม่มีความสำคัญเป็นแต่ส่วนแบ่งระหว่าง Corpus กับ cervix เท่านั้น - cervix คือส่วนล่างสุดที่อยู่ติดกับช่องคลอด หรือที่เรียกว่าปากมดลูก
Wall of uterus ประกอบด้วย 3 ชั้น คือ 1 Perimetrium: เป็น outer serous coat ประกอบด้วย peritoneum รองรับด้วยชั้นบาง ๆ ของเนื้อเยื่อเกี่ยวกัน 2 Myometrium: เป็น middle muscular coat ของ smooth muscle ที่สามารถขยายตัว ได้ดีคือขณะตั้งครรภ์ และมีแขนงใหญ่ ๆ ของ blood vessels ละเส้นประสาทของมดลูกเข้า มาในชั้นนี้ 3 Endometrium: เป็น inner mucous membrane coat ที่ยึดแน่นกับ myometrium และมี ชั้นนี้จะเป็นที่ฝั งของตัวอ่อน ถ้าไม่มีการตั้งครรภ์ ชั้นนี้จะลอกหลุดไปตาม menstruation period ผนังชั้นนี้แบ่งออกเป็น 2 ชั้นคือ 3.1 functional layer หรือ functionalis อยู่ติดกับโพรงมดลูกประกอบด้วยเยื่อบุผิว และ uterine gland และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ( endometrium stroma) ชั้นนี้เป็นชั้นที่มีการ เปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลาของรอบประจำเดือน และจะหลุดลอกออกไปขณะที่มีประจำ เดือน 3.2 basal layer หรือ basalis เป็นชั้นที่ติดกับ myometrium ชั้นนี้จะแบ่งเซลล์ให้ เนื้อเยื่อเจริญขึ้นไปแทนที่ชั้น functionalis หลังจากที่มีการหลุดลอกออกไปเป็นเลือดประจำ เดือนแล้ว ligament ซึ่งทำหน้าที่คอยยึดตัวมดลูกให้อยู่ภายในอุ้งเชิงกราน - broad ligament เป็นส่วนของเยื่อบุช่องท้อง ( parietal peritoneum) 2 ชั้น คลุม มดลูกเอาไว้ ด้านข้างจะแผ่ออกเป็นแผ่นกว้างยึดด้านข้างของมดลูกทั้ง 2 ข้างให้ติดกับผนัง ด้านข้างของอุ้งเชิงกราน - round ligament เป็นก้อนเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน อยู่ภายใน broad ligament จะเกาะที่ ด้านข้างของมดลูกบริเวณใต้ท่อนำไข่ แล้วทอดเข้า inguinal canal ไปยึดกับแคมเล็ก round ligament เป็นตัวดึงมดลูกให้งอพับไปทางด้านหน้า ปกติ ligament ทั้ง 2 ชนิดนี้จะ หย่อนตัวอยู่ในอุ้งเชิงกราน จึงไม่ค่อยมีผลในการที่จะคอยดึงหรือประคับประคองให้มดลูก ลอยอยู่ในอุ้งเชิงกรานได้ ดังนั้นจะต้องมีอวัยวะอื่นมาช่วยยึดมดลูกเอาไว้ได้แก่ 1. กล้ามเนื้อ levator ani เป็นกล้ามเนื้อที่ยึดจากกระดูก pubis, ischium และ ilium ไปเกาะที่กระดูก coccyx กล้ามเนื้อนี้ทำหน้าที่เป็นพื้นรองรับอวัยวะภายในช่องท้องทุกชนิด ไม่ให้ร่วงหล่นออกมาจากช่องท้อง กล้ามเนื้อนี้ยังให้เส้นใยบางส่วนไปเกาะติดกับปากมดลูก ดังนั้นจึงทำหน้าที่ยึดมดลูกให้อยู่ภายในอุ้งเชิงกราน และให้เส้นใยไปเกาะติดกับ perineal body จึงทำให้ perineal body เป็นอวัยวะอีกอันหนึ่งที่มีผลช่วยในการรองรับมดลูกและ ช่องคลอดไว้ด้วย
2. ligament ที่ทำหน้าที่ยึดมดลูกที่สำคัญมี 3 ligament คือ - transverse cervical ligament (Cardinal หรือ Mackenrodt's หรือ lateral cervical ligament) ตั้งอยู่ใต้ broad ligament ยึดจากปากมดลูกไปติดกับด้านข้างของ อุ้งเชิงกรานทั้ง 2 ด้าน - pubocervical ligament ยึดจากปากมดลูกไปเกาะที่ขอบของกระดูก pubis - sacrocervical ligament (uterosacral ligament) ยึดจากปากมดลูกและขอบบน ของช่องคลอดไปเกาะที่กระดูก sacrum รังไข่(Ovary) รังไข่ เป็นอวัยวะขนาดเล็ก สีขาวมัน มีรูปร่างคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ขนาดเท่าเมล็ดมะปราง มี 2 อัน อยู่บริเวณปีกมดลูกซ้าย-ขวา ทั้งสองข้าง เชื่อมติดกับ มดลูกด้วยปีกมดลูกหรือท่อนำไข่ เซลล์ไข่ (Ovum) หรือไข่ของเพศหญิงจะสุก และเคลื่อนออกมาที่ท่อนำไข่ ที่เรียกว่า การ ตกไข่ เดือนละ 1 ใบ โดยสุกสลับกันจากรังไข่แต่ละข้าง แต่ในบางครั้ง อาจพบการเจริญ และสุกของไข่เกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง และหากมีการปฏิสนธิพร้อมกันก็จะเกิดเป็นตัว อ่อนทั้ง 2 ฟอง หรือที่เรียกว่า การตั้งครรภ์แฝด
รังไข่จะมีไข่ (Ovum) ที่ยังไม่เจริญเต็มที่หลายพันฟอง เมื่อเด็กเติบโตเข้าอายุ 12 – 13 ปี ไข่จะ เริ่มสุก เพราะเกิดการกระตุ้นจากฮอร์โมนของต่อมพิทูอิตารี (Pituitary grand) ไข่ที่สุกแล้วจะ ตกจากรังไข่เดือนละ 1 ใบ ของแต่ละข้างสลับกัน และจะเคลื่อนเข้าสู่ท่อนำไข่ และหากมีการ ปฏิสนธิจากตัวอสุจิก็เข้าฝั งตัวในเยื่อบุมดลูก ซึ่งขณะที่ไข่เคลื่อนผ่านท่อนำไข่ ต่อมรังไข่จะ สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) กระตุ้นให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงของเยื่อบุมดลูกเพื่อเตรียมการฝั งตัวของไข่ ท่อนำไข่(Oviduct) หรือปีกมดลูก (Fallopian Tube) เป็นทางเชื่อมต่อระหว่างรังไข่ทั้งสอง ข้างกับมดลูก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก ท่อนำไข่เป็นบริเวณที่อสุจิ จะเข้าปฏิสนธิกับไข่ ส่วนต่างๆของ uterine tube ประกอบด้วย4ส่วน คือ 1. Infundibulum เป็นส่วนปลายสุดของท่อซึ่งบานออกเหมือนปากแตร 2. Ampulla คือส่วนของท่อที่กว้างที่สุดและเป็นส่วนที่มีการผสมของไข่และอสุจิ 3. Isthmus part ส่วนของท่อที่คอดและแคบสุด 4. Intersitial part คือส่วนของท่อที่ฝั งอยู่ใน uterine wall
3. หลังไข่เกิดการปฏิสนธิ เซลล์จะมีการแบ่งตัวทวีคูณในเวลาอันรวดเร็ว จาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 จาก 4 เป็น 8 จาก 8 เป็น 16 ฯลฯ การแบ่งตัวเกิดอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ไข่ ผสมแล้ว (Embryo – ตัวอ่อน) เคลื่อนตัวอย่างช้าๆ และภายในเวลา 7 วัน จะเคลื่อนไปถึง ตำแหน่งที่จะฝั งตัวลงใน เยื่อบุโพรงมดลูก ไข่ที่ผสมแล้วจะมีลักษณะกลม โดยประกอบ ด้วยเซลล์ประมาณ 100 เซลล์ เมื่อ ไข่ที่ผสมแล้ว (ตัวอ่อน) ฝั งตัวลงในเยื่อบุโพรงมดลูกซึ่ง มีลักษณะนุ่มและหนา เมื่อยึดเกาะกันมั่น คงดี จึงจะถือได้ว่าการปฏิสนธิเป็นไปอย่าง เรียบร้อยสมบูรณ์ ไข่ที่ผสมแล้ว (ตัวอ่อน - Embryo) จะยื่นส่วนอ่อนนุ่มแทรกลึกลงไปในผนังมดลูก เพื่อ สร้างทางติด ต่อกับเลือดของแม่ และจะเจริญเป็นรกสร้างสาย สะดือและถุงน้ำคร่ำห่อหุ้ม ต่อไป ซึ่งตัวอ่อน จะมี เนื้อเยื่อพิเศษ 3 ชั้น ซึ่งต่อไปแต่ละชั้นจะสร้าง เป็น อวัยวะต่างๆ ของร่างกายทารกน้อย
เต้านม (Female breasts) เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยต่อมสำหรับสร้างน้ำนมขนาดเล็กเป็นจำนวนมากทำหน้าที่สร้าง น้ำนมเลี้ยงทารก ต่อมเหล่านี้อยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนคล้ายพวงองุ่น เรียกว่า อัลวิโอไล (alveoli) น้ำนมที่สร้างแล้วจะถูกขับออกมาจากแหล่งสร้างมายังหัวนมโดยผ่านมาตามท่อ ขนาดเล็กและที่สำคัญคือมีฮอร์โมนอย่างน้อย 4 ชนิดทำหน้าที่เกี่ยวกับการเจริญของต่อม น้ำนม กระตุ้นการผลิตและการหลั่งน้ำนม ในระหว่างที่แม่ตั้งครรภ์คอร์พัสลูเทียมจะสร้าง ฮอร์โมน เอสโทรเจน และ โพรเจสเทอโรน ในปริมาณมาก ฮอร์โมนทั้ง 2ชนิดนี้ ทำหน้าที่ กระตุ้นการเจริญของต่อมน้ำนม ในช่วงการคลอดบุตรใหม่ๆ ต่อมน้ำนมจะผลิตน้ำนมที่เรียก ว่า คอรัสตรุม (colostrum) ออกมา น้ำนมชนิดนี้ประกอบด้วยโปรตีนและน้ำตาลแลกโตสใน ปริมาณสูง มีไขมันน้อย โดยมีฮอร์โมน โพรแลกติน (prolactin) กระตุ้นการผลิตน้ำนมและ เมื่อทารกดูดนมจะมีผลกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหลั่งให้หลังฮอร์โมนออกซิโทซิน(oxytocin) ออกมา และทำหน้าที่กระตุ้นการหลั่งน้ำนม
กระบวนการปฏิสนธิ 1. เมื่อไข่ตกจากรังไข่แล้ว จะเคลื่อนตัวไปตามท่อรังไข่ ซึ่งเยื่อบุท่อรังไข่จะมีขนช่วยพัดโบก และ นำพาไข่ไปจนถึงตำแหน่งที่จะพบกับอสุจิ ในขณะที่มีเพศสัมพันธ์จนถึงจุดสุดยอด ฝ่ายชายจะ หลั่งน้ำอสุจิ ซึ่งมีสเปิร์มถึง 400-500 ล้านตัวเข้าสู่ช่องคลอดของฝ่ายหญิง 2. เมื่อฝ่ายชายหลั่งน้ำอสุจิเข้าสู่ช่องคลอดของฝ่ายหญิง สเปิร์มจะผ่านเข้าสู่โพรงมดลูก และผ่าน ไปยังท่อนำไข่และปีกมดลูก โดยปกติอสุจิจะเดินทางด้วยอัตรา 2-3 มิลลิเมตรต่อ นาที แต่สเปิร์ม จะเคลื่อนที่ช้าลงในช่องคลอดที่มีสภาพเป็นกรด และเคลื่อนที่เร็วขึ้นเมื่อผ่าน จากปากมดลูกเข้า ไปในโพรงมดลูกที่มีความเป็นด่าง ซึ่งกว่าอสุจิจะผ่านพ้นเข้าไปในท่อ รังไข่ได้นั้น จำนวนอสุจิ 400-500 ล้านตัวในขณะหลั่ง จะเหลือรอดได้เพียงไม่กี่ร้อยตัวที่มี โอกาสไปผสมไข่ ส่วนหัวของอสุจิจะปล่อยสารย่อย (Enzyme) ซึ่งสามารถละลายผนังที่ห่อหุ้มปกป้องไข่ออก ได้ และจะมีอสุจิเพียงตัวเดียวที่เจาะเข้าสู่ไข่ได้สำเร็จ อสุจิตัวอื่นๆ จะไม่สามารถเข้าไปได้ อีก จาก นั้นอสุจิจะสลัดหางและย่อยส่วนหัว เพื่อปลดปล่อยโครโมโซมทั้ง 23 แท่งที่บรรจุ อยู่ภายในส่วน หัวเข้าสู่ไข่ เพื่อจับคู่ของตัวเองกับโครโมโซมอีก 23 แท่งในไข่ และหลอม รวมตัวกันกลายเป็น เซลล์เซลล์เดียว เรียกว่า เกิดการปฏิสนธิขึ้น
บทที่4 ระบบต่อมไร้ท่อ Endocrine system ต่อมไร้ท่อ (Endocrine Gland) คือ กลุ่มเซลล์หรือกลุ่มเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่สร้าง และผลิต สารเคมีพิเศษที่เรียกว่า “ฮอร์โมน” (Hormone) ให้กับร่างกาย ซึ่งสารดังกล่าวไม่สามารถ ผลิตได้จากต่อมอื่น ๆ โดยสารเคมีหรือฮอร์โมนเหล่านี้จะถูกส่งเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง โดยไม่ผ่านท่อลำเลียงภายนอก ดังนั้น ต่อมไร้ท่อจึงเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเส้นเลือด จำนวนมาก เพื่อทำหน้าที่ลำเลียงสารที่ต่อมผลิตได้ไปยังอวัยวะต่าง ๆ ผ่านการไหลเวียนของ น้ำเลือดหรือน้ำเหลืองทั่วร่างกาย ซึ่งฮอร์โมนแต่ละชนิดมีหน้าที่เฉพาะเจาะจงต่ออวัยวะเป้า หมาย (Target Organ) ที่แตกต่างกันออกไป
หน้าที่ของฮอร์โมน 1. ควบคุมระบบพลังงานของร่างกาย 2. ควบคุมปริมาณน้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย 3. ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย 4. ควบคุมระบบสืบพันธ์และต่อมน้ำนม ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวเป็นผลจากการทำงานของฮอร์โมน หลายๆ ชนิดพร้อมๆ กัน เพื่อก่อให้เกิดผลตามที่ร่างกายต้องการประเภทและคุณสมบัติของ ฮอร์โมน ฮอร์โมน แบ่งตามคุณสมบัติทางเคมีออกได้เป็น 4 ประเภท คือ 1. Peptide Hormone ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่ต่อกันด้วยโซ่เพปไทด์ ได้แก่ ฮอร์โมนจาก ไฮโพทาลามัส ต่อมใต้สมอง ตับอ่อน และ จากต่อมพาราไทรอยด์ 2. Steroid Hormone ได้แก่ ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมหมวกไต รังไข่ และอัณฑะ 3. Amines Hormone เป็นฮอร์โมนที่ได้จากกรดอะมิโน โดยตัดเอาหมู่คาร์บอกซิล (Carboxyl group) ออกได้อมีน ฮอร์โมนกล่มนี้ได้แก่ ฮอร์โมนไทรอกซิน และคาเทคอลามีน 4. Glycoprotein Hoemone โครงสร้างของฮอร์โมนชนิดนี้ จะมีคาร์โบไฮเดรต เป็นองค์ ประกอบในโมเลกุล ซึ่งเป็นส่วนแสดงบทบาทของฮอร์โมน ฮอร์โมนกลุ่มนี้ได้แก่ ฮอร์โมนโก นาโดโทรพินส์ (FSH, LH, HCG, และ TSH) อย่างไรก็ตาม ต่อมไร้ท่อแทบทุกต่อม จะถูก ควบคุมโดยฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง และอาจมีต่อมที่เป็นอิสระ ไม่ถูกควบคุมโดยฮอร์โมน จากต่อมใต้สมอง ได้แก่ ต่อมพาราไทรอยด์ ซึ่งจะขับฮอร์โมนเพื่อควบคุมระดับแคลเซียมใน น้ำเลือด และปริมาณแคลเซียมในน้ำเลือด ก็เป็นตัวควบคุมการผลิตและขับฮอร์โมนจากต่อม พาราไทรอยด์ ตามกลไกป้อนกลับเชิงลบ
Pituitary gland ต่อมใต้สมอง ( pituitary gland ) เป็นต่อมที่มีขนาดเล็กเท่าเมล็ดถั่วเขียว รูปร่างกลม อยู่ ใต้สมองแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ( anterior pituitary หรือ adenohypophysis ) และต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior pituitary หรือ neurohypophysis ) 1. ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ( Adenohypophysis) เป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุด และผลิตฮอร์โมน ได้มาก ชนิดที่สุด ฮอร์โมนที่ผลิตจากส่วนนี้ มีดังนี้ 1.1 Growth Hormone = GH ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกาย 1.2 Folliclle Stimulatung Hormone = FSH ทำหน้าที่ กระตุ้นการพัฒนารังไข่ใน หญิง และอสุจิในชาย 1.3 Luteinizing Hormone = LH ทำหน้าที่กระตุ้นการตกไข่ในหญิง และอสุจิในชาย เช่นเดียวกับ FSH 1.4 Luteotrophic Hormone = LTH ทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างน้ำนม 1.5 Thyroid Stimulaing Hormone = TSH ทำหน้าที่กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้เจริญ 1.6 Adrenocorticotophic Hormone = ACTH ทำหน้าที่กระตุ้นอะดรีนัล คอร์เทกซ์ เพื่อผลิต หรือลดฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ 2. ต่อมใต้สมองส่วนหลัง ( Neurohypophysis) ผลิตฮอร์โมนได้ ดังนี้ 2.1 Antidiuretic Hormone = ADH หรือวาโซเพรสซิน ทำหน้าที่ควบคุมการดูดน้ำ กลับของหลอดรวบรวมของไต 2.2 Oxytocin ถูกสร้างเฉพาะในหญิงมีครรภ์ ช่วยให้มดลูกหดตัวตอนคลอด ทำให้ คลอดได้ง่ายขึ้น และช่วยในการหลั่งน้ำนมในระยะให้นม
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าหรือ (anterior pituitary gland หรือ adenohypophysis) เป็นฮอร์โมนพวกโปรตีน ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ประเภทคือ กลุ่มแรกเป็นฮอร์โมนที่ไปกระตุ้นให้อวัยวะเป้าหมายสร้างฮอร์โมนออกมาเรียกฮอร์โมน พวกนี้ว่าฮอร์โมนกระตุ้นซึ่งจะมีคำต่อท้าย ว่า \" trophic hormone, trophin หรือ stimulating hormone \" ได้แก่ - adrenocortico trophic hormone เรียกย่อว่า ACTH - thyroid stimulating hormone เรียกย่อว่า TSH - luteinizing hormone เรียกย่อว่า LH หรือ interstitial cell stimulating hormone เรียกย่อว่า ICSH - follicle stimulating hormone เรียกย่อว่า FSH กลุ่มสองเป็นฮอร์โมนที่ไปมีผลต่ออวัยวะเป้าหมายโดยตรงไม่ได้กระตุ้นให้อวัยวะเป้าหมาย สร้างฮอร์โมน ได้แก่ - growth hormone เรียกย่อว่า GH หรือ somatotrophin เรียกย่อว่า STH - prolactin เรียกย่อว่า PRL
Thyroid gland ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อซึ่งอยู่บริเวณลำคอ อยู่ด้านหน้าของกล่องเสียง ติดกับฐาน ของคอหอยเป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในคนปกติมีน้ำหนักประมาณ 25 กรัม แบ่ง ออกเป็น 2 พูและเชื่อมกันตรงกลาง ด้วยส่วนที่เรียกว่าคอคอดหรืออิสมัส (isthmus) ต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมน ที่สามารถดึงไอโอดีนจากกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ได้ ต่อมไทรอยด์ จะประกอบด้วยถุงหุ้มที่เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เรียกว่า ไทรอยด์ฟอลลิเคิล (thyroid follicle) ซึ่งเป็นที่สร้างและหลั่ง ฮอร์โมนไทรอกซิน ( thyroxine ) ซึ่งมี ไอโอดีนเป็นส่วนประกอบแล้วเก็บไว้ในของเหลว ที่อยู่ตรงกลางเรียกว่า คอลลอยด์ (colloid cell) นอกจากนั้นในต่อมไทรอยด์ ยังพบกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า เซลล์ซี (C-cell) หรือ เซลล์ พาราฟอลลิคูลาร์ ( parafollicular cell ) เป็นเซลล์ที่แทรกอยู่ ในระหว่างไทรอยด์ฟอลลิเคิลของต่อมไทรอยด์ซึ่งสร้าง ฮอร์โมน แคลซิโทนิน ( calcitonin )
Search