Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ED-GAZINE Vol.1

ED-GAZINE Vol.1

Published by edgazine.usce, 2021-10-01 08:02:42

Description: ED-GAZINE Vol.1
วารสารของชาวคณะครุศาสตร์ประจำเดือนตุลาคม
แวะมาให้คำติชมหรือข้อเสนอแนะได้ที่แบบประเมินท้ายเล่ม
แล้วรอพบกันใหม่กับฉบับหน้า ในเดือนธันวาคม!

Search

Read the Text Version

Vol.1



สารบัญ 01 02 ชมรม EDVANCE ชมรมพลเมืองโลกและพลเมืองอาเซียน 04 ฝึกงาน ‘KING POWER’ 05 เรียนจีน ด้วยทุนขงจื่อ 07 ถอดบทเรียนจาก ED Talk การเปลี่ยนผ่าน เข้าสู่ Gen Alpha และวิธีวิทยาการสอนของครู 09 ปัญหาการศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ กิจกรรม (บังคับ) พัฒนาผู้เรียนที่ชื่อว่า ลูกเสือ 11 ก่อนคุณค่าของนักเรียนจะเปลี่ยนไป 13 หลังโรงเรียน 15 เมื่อโตไป…ความสนุกอาจมีไว้ให้แค่คิดถึง 17 ความสัมพันธ์ วันวาน และการเยียวยาจิตใจ 19 จุฬาไม่ใช่สถานที่ จุฬาคือผู้คน 22 รีวิว “Letters to Sam” 24 Inspire Express 26 แอนนา วินทัวร์ ผู้อยู่เบื้องหลังไบเบิลแห่งวงการแฟชั่น 27 รายชื่อผู้จัดทำ 30

ในแพลตฟอร์มออนไลน์เชิญชวนทุกคนมาติดแฮชแท็ก Writer : apocalypse ‘ ส่วนใหญ่แล้วคนนอกก็จะมองหรือคาดหวังว่า ชมรมเราคงจะมีแค่เรื่องของการเต้น แต่ว่านอกจาก การเต้นแล้ว เรายังมีการตัดเพลง การออกแบบโปสเตอร์ การจัดองค์ประกอบต่าง ๆ ในโชว์ให้น่า สนใจ และการจัดกล้องแฟนแคม ก็ค่อนข้างหนักพอตัวเลยล่ะ (หัวเราะ) ’ - ออม ประธานชมรมครุศาสตร์นานาศิลป์และศิลปะเพื่อการศึกษาร่วมสมัย edvance มาได้ยังไง และมีกิจกรรมอะไรบ้าง edvance เป็นการรวมตัวของนิสิตคณะครุศาสตร์ที่มีความสามารถและมีความสนใจในการเต้น และอยากที่จะทำการจัดแสดงโชว์มารวมตัวกันเพื่อจัดตั้งชมรมนี้ โดยเราก็มีการหาอีเว้นท์ต่าง ๆ ให้กันและกันด้วยครับ ซึ่งทางชมรมก็มีกิจกรรมเยอะมากไม่ว่าจะเป็นงาน New Gen, รับน้องครุฯ, Drop your beat, Actfest และอย่างกิจกรรม First meet ที่เป็นการพบปะระหว่างสมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ โดยในวันนั้นแต่ละคนจะมีการเตรียมโชว์ของตัวเองมาแสดงกัน ก็หวังว่าจะได้จัดกิจกรรมอีกครับ ถ้าได้ไปออนไซต์ ทำความรู้จักกับกิจกรรม #hashtags ที่จะจัดขึ้นในช่วงวันที่ 9 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน 2564 ถามว่าทำไมถึงต้องใช้ชื่อแฮชแท็ก เวลาอัพโหลดคลิปใน TikTok เขาจะมีการติดแฮชแท็กนั่นนี่ เราเลยเอา ส่วนของแฮชแท็กนี้มาใช้กับกิจกรรม เพื่อให้อย่างน้อย ๆ ในช่วงโควิดทุกคนจะได้มีโอกาสได้โชว์ของและได้ ระบายความรู้สึกออกมาผ่านการเต้น แน่นอนว่าทางชมรมได้จัดเตรียมรางวัลให้แล้วครับ ตอนแรกคาดหวัง จะทำกิจกรรมกันแค่สมาชิกภายในชมรมครับ แต่ถ้ามีใครต้องการเข้าร่วมก็ได้หมดเลยครับ ขึ้นอยู่กับว่าจะ มีมาไหม (หัวเราะ) ฝากถึงคนที่สนใจจะเข้าชมรม เอาจริง ๆ ชมรมเราไม่ได้มีเงื่อนไขอะไรในการเข้าร่วมชมรมเลยครับ ขอแค่มีความสนใจในการเต้นก็พอ ความสามารถมันฝึกกันได้ครับ และค่อนข้างที่จะยืดหยุ่นในเรื่องของช่วงเวลาสมัคร อย่างปีที่แล้วก็มีคน สมัครเข้ามากลางคัน ประสบการณ์ที่จะได้อย่างน้อย ๆ ก็คือได้ทำความรู้จักเพื่อนต่างสาขาต่างเอกกัน ได้เต้นในแนวเพลงที่หลากหลาย รวมถึงได้ฝึกทักษะการทำงานที่นอกเหนือจากการเต้นด้วยครับ ช่องทางการติดต่อชมรม edvance 1 FB : edvance club IG : edvance.educu TikTok : edvance.educu

เชื่อมโยงความเป็ นครู สู่ความเป็ นพลเมืองไปกับ 'ชมรมพลเมืองโลก และพลเมืองอาเซียน' Writer : นางสาวหยาดน้ำตา ชมรมที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย เป็นดั่งพื้นที่แลกเปลี่ยน เรียนรู้ เป็นพื้นที่ให้พลเมืองชาวครุศาสตร์ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลง และเป็นชมรมที่จะทำให้ทุกคนรู้ซึ้งถึงคำว่า “เราทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของโลกใบนี้” ?เรียน online แบบนี้ เหล่าพลเมืองทำอะไรกันบ้าง กิจกรรมพลเมือง Live ไง ? พบกันทุกวันพฤหัสบดี 17:15 น. ช่วงเวลาแล้วแต่ความสะดวกของสมาชิกชมรมและไม่ชน กับช่วงสอบ สบายใจได้ว่าหากแวะเข้ามาดูแล้วติดใจจะไม่เสีย การเรียนอย่างแน่นอน และกิจกรรม AGCC Movie talk เล่าภาพยนตร์ให้ปนพลเมือง ที่นำภาพยนตร์มาคุยผ่านมุมมอง ความเป็นพลเมืองร่วมกับ แขกรับเชิญตัวแทนชมรม จากคณะครุศาสตร์ จัดขึ้นทุกวันพุธ 17:15 น. เดือนเว้นเดือน โครงการ AGCC Krulumnist ที่อัดแน่นไปด้วยกิจกรรมย่อย ถึง 4 กิจกรรม นั่นคือ กิจกรรมถอดประสบการณ์การเรียนรู้ จากแขกรับเชิญเกี่ยวกับประเด็นทางสังคม กิจกรรมอบรม เชิงปฏิบัติการเพื่อการแสดงความคิดเห็นเชิงวิพากษ์ กิจกรรม ผลิตสื่อสร้างสรรค์สะท้อนสังคม และกิจกรรมร่วมกันแลกเปลี่ยน ความรู้ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางสังคมต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกับกรอบแนวคิดความเป็นพลเมือง ขอบอกไว้เลยว่า มีเกียรติบัตรให้ผู้ส่งผลงานเข้าร่วมกิจกรรมและมีรางวัลให้แก่ ผู้ชนะอีกด้วย 2

กลับมาเรียน onsite จะมีกิจกรรมอะไรรอสมาชิกชมรมอยู่บ้างนะ ในปีการศึกษานี้หากสถานการณ์ดีขึ้น ช่วงเดือนกุมภาพันธ์เราจะมีทริปสำรวจ วัฒนธรรมย่อยต่าง ๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ถึงแม้จะเป็น one day trip แต่รับรองว่าได้ทั้งมิตรภาพดี ๆ รวมถึงมีกิจกรรมและความสนุกอัดแน่นอย่างแน่นอน เมื่อกล่าวถึงความเชื่อม โยง นอกจากความเป็นพลเมืองแล้ว คิดว่ากิจกรรมชมรมของเราเชื่อมโยงกับความเป็นครูอย่างไรบ้าง เพราะทุก ๆ สิ่ง เรื่องทุกเรื่อง และโลกทั้งโลกล้วนส่งผลเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน การสอนเรื่องความเป็นพลเมืองโลกจึงไม่ใช่ แค่เรื่องของครูสังคม แต่เป็นเรื่องของครูทุกคน คนทุกคน เพราะเราทุกคนล้วนเป็นพลเมือง และความเป็นพลเมืองนี้ก็เชื่อมโยงกัน ทั่วทั้งโลก นอกจากนี้กิจกรรมทุกกิจกรรม กระบวนการทำงานต่าง ๆ ของชมรมยังเหมาะสม สอดคล้อง ส่งเสริมและสนับสนุน คุณลักษณะของการเป็นครูที่ดีอย่างรอบด้านอีกด้วย จากชมรมถึงพลเมืองชาวครุศาสตร์ ชมรมพลเมืองโลกและพลเมืองอาเซียน ไม่ใช่เพียงชมรมของเอกสังคม แต่เป็นชมรมของนิสิตทุกสาขา ทุกชั้นปี เพื่อเป็นพื้นที่ให้ทุกคนมาร่วมกันปรับ ความคิดให้กว้างไกลขึ้น ทุกคนล้วนมีส่วนร่วมในการสร้างชมรมนี้ขึ้นมา ไม่จำเป็นต้องสมัครแค่ช่วงต้นปีการศึกษา เพียงแค่ทุกคนบอกว่าสนใจ บอกว่าอยากเป็นพลเมืองโลก ชมรมพลเมืองโลกและพลเมืองอาเซียน ก็พร้อมยินดีและเต็มใจต้อนรับทุกคนเสมอ ทุกเมื่อ ทุกเวลา ช่องทางติดต่อและติดตามกิจกรรมชมรม Facebook : ชมรมพลเมืองโลกและพลเมืองอาเซียน Instagram : edu_agcc Podcast (Spotify, Apple Podcasts, Google Podcasts) : ASEAN and Global Citizenship Club 3

KING POWER CLICK เปิดประสบการณ์สำหรับน้อง ๆ 4 นิสิต นักศึกษาที่สนใจเรียนรู้การทำงานในองค์กรใหญ่ระดับแนวหน้าของประเทศ เพื่อฝึกทักษะการทำงานพร้อมได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ ในองค์กร จะมีโครงการฝึกงานในตำแหน่งไหนบ้างตามมาดูกันเลย 1 Marketing Internship ในตำแหน่งนี้น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการตลาดพื้นฐาน การตลาดออนไลน์พื้นฐาน และฝึกความคิดสร้างสรรค์ ในการทำงาน คุณสมบัติ - นิสิต/นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หรือจบการศึกษาปริญญาตรี ด้านบริหารธุรกิจ การตลาด การสื่อสาร หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง - มีความสามารถในการออกแบบโฆษณาและงานศิลปะ - สามารถใช้โปรแกรม Photoshop และ Illustratorได้ - มีความพยายามและพร้อมที่จะเรียนรู้ 2 Sale Support Internship น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และได้ฝึกประสบการณ์การรับออร์เดอร์จากลูกค้า คุณสมบัติ - นิสิต/นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หรือจบการศึกษาปริญญาตรี ด้านบริหารธุรกิจ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง - สามารถทำงานภายใต้แรงกดดันได้ - มีทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษที่ดี 3 Warehouse Staff Internship น้อง ๆ จะได้ฝึกงานด้านการจัดการสินค้าในคลังสินค้า ผ่านประสบการณ์จริง ฝึกการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น คุณสมบัติ - นิสิต/นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หรือจบการศึกษาปริญญาตรี ด้านบริหารธุรกิจ การขนส่งหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง หากสนใจสามารถสมัครได้โดยส่ง Resume ผ่านช่องทางอีเมล [email protected] หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-677-8888 ต่อ 4370 และทางเว็บไซต์ www.kingpowerclick.com ไมมีกำหนดการหมดเขตการรับสมัคร เริ่มโครงการฝึกงานเดือนพฤศจิกายน 2564 – มกราคม 2565

รสชาติอาหารส่งผลต่ออารมณ์มากฉันใด สภาพแวดล้อมย่อมส่งผลต่อการเรียนภาษาได้มากฉันนั้น หากได้อยู่ในที่ที่ได้ใช้ความรู้ความสามารถที่มีเท่าใด ก็ย่อมสามารถฝึกเกลาเหลาวิชาได้มากเท่ากัน” หนึ่งทางเลือกแด่ผู้มีวิชาภาษาจีนอยู่ติดตัว แด่ผู้ที่อยากสัมผัสบรรยากาศซึ่งรายล้อมไปด้วยเจ้าของภาษา ต้องการพัฒนาความรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่เมืองจีนด้วย โอกาสที่อยู่ไม่ไกลเกินมือคว้าด้วย ทุนขงจื่อหรือที่เรียกกันว่า ทุน CIS (Confucius Institute Scholarship) นั่นเอง สถาบันขงจื่อถูกจัดตั้งโดยหน่วยงานของรัฐบาลจีนเพื่อเผยแพร่ ภาษาและวัฒนธรรมจีน มีการจัดสรรทุน ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ทุนหนึ่งปีการศึกษา ทุนหนึ่งภาคเรียน ไปจนถึงทุนการศึกษาระยะสั้น สำหรับระยะเวลาสี่สัปดาห์ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเทอม ค่าที่พัก และค่าใช้จ่าย สำหรับการดำรงชีพซึ่งจะต่างกันตามประเภทของทุน ปกติจะเปิดรับในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยการสมัคร และส่งเอกสารต่าง ๆ ทางออนไลน์ เอกสารที่จำเป็นก็คือ หน้าแรกของพาสปอร์ต รูปถ่าย ผลสอบ HSK และ HSKK ใบเกรด ใบรับรองความ เป็นนิสิตนักศึกษา จดหมายแนะนำ จากสถาบันขงจื่อ แผนการศึกษา และผลงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาจีน 5

สิ่งที่ต้องระวัง คือ รายละเอียดเกณฑ์คะแนนการทดสอบ HSK และ HSKK ซึ่งจะแตกต่างกันตามประเภทของทุน และหากเป็นทุนเรียนภาษาแบบระยะเวลาหนึ่งปีการศึกษา หนึ่งภาคเรียน และสี่สัปดาห์ ผู้ขอทุนที่มีสภาพเป็นนิสิต นักศึกษา หรือนักเรียน จำเป็นจะต้องดำเนินการจัดการเรื่องเวลาเรียนกับทางสถาบัน การศึกษาด้วยตนเอง นอกจากนี้หลังจากรอการยืนยันเอกสารจากหน่วยงาน รัฐบาลที่ก่อตั้งสถาบันขงจื่อแล้ว จะต้องรอการคัดเลือกจากมหาวิทยาลัย ในจีนซึ่งไม่มีกำหนดการที่แน่นอน จึงทำให้วางแผนล่วงหน้าได้ค่อนข้างยาก แน่นอนว่าการที่ทุนจะไม่มีเงื่อนไขเลยนั้นเป็นไปได้ยาก กล่าวคือผู้ที่ได้รับทุนขงจื่อ จะต้องทำการสอบวัดระดับภาษาจีนให้คะแนนอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ขณะทำการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยในประเทศจีน ไม่เกี่ยวข้องกับคะแนนที่ใช้ในการสมัคร หากไม่สามารถ รักษาผลการสอบในระดับที่กำหนดไว้ได้ ทางสถาบันขงจื่อมีสิทธิ์ที่จะยกเลิกทุนได้ทันที ทั้งนี้ทั้งนั้น ข้อมูลหรือรายละเอียดของการสมัครอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้ ในแต่ละปีจำเป็นจะต้องศึกษาอย่างละเอียดรอบคอบ แต่ถ้าถึงตรงนี้แล้วตัดสินใจได้ในทันทีแล้วล่ะก็… สิ่งที่ต้องทำก็คือเตรียม เอกสารหลักฐานให้พร้อม เมื่อถึงช่วงเวลาที่เปิดรับสมัครสามารถเข้าไปส่ง เอกสารได้ที่ https://cis.chinese.cn/account/login เพื่อคว้าโอกาสใน การรับทุนดี ๆ ไปเรียนภาษาที่จีนมาไว้ในมือก่อนใคร 6

การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ G E N A L P H Aและวิธีวิทยาการสอถนอดขควอามงโดคยรดูาหลา ชีวิตคนเราย่อมมีการเปลี่ยนผ่าน การเปลี่ยนผ่านคือการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่เคยมี หรือเป็นอยู่ มาเป็น “สิ่งใหม่” เช่น เมื่อก่อนครูจะได้สอนเด็กในเจเนอเรชัน Z ซึ่งก็คือเด็กที่เกิดช่วง 1995-2009 แต่ต่อมาครูต้องมาสอนเด็กเจนเนอเรชันอัลฟา ซึ่งก็คือเด็กที่เกิดช่วง 2010-2024 การเปลี่ยนผ่านของ ยุคสมัย ส่งผลให้เด็กที่เกิดมาในช่วงนั้น ๆ มีความแตกต่างกันด้วย จึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งของครู ผู้สอนในยุคปัจจุบัน เด็กเจนอัลฟาเป็นเด็กที่เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยและรวดเร็ว ส่งผลให้พัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กเร็วไปด้วย อย่างไรก็ตามเด็กในเจนนี้มีความอดทนค่อนข้างต่ำและขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งส่งผลให้มีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาภาวะซึมเศร้า มากขึ้น การเกิดมาพร้อมกับความเจริญของเทคโนโลยีทำให้เด็กมีความสนใจสายงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีมากขึ้น เช่น บล็อกเกอร์ ยูทูบเบอร์ นักรีวิว ซึ่งอาชีพเหล่านี้เป็นอาชีพที่เกิดขึ้นใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์ เทคโนโลยีช่วยเปิดโลกกว้างให้กับเด็ก ทำให้เด็กส่วนใหญ่ สนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัวมากกว่าการเข้าไปเรียนในห้องเรียนด้วยหลักสูตรที่ไม่รู้ว่าจะนำไปใช้ในอนาคตอย่างไร เด็กบางคนไม่สามารถ รับรู้ได้ว่าอัตลักษณ์(identity) ของตนเองที่แท้จริงคืออะไร ดังนั้น ครูผู้สอนจำเป็นต้องเรียนรู้ เปิดใจ และเข้าใจเด็กในยุคนี้ เพื่อครูจะสามารถพัฒนาและส่งเสริมเด็กได้อย่างถูกทางและเหมาะสมกับเด็กแต่ละคน เทคโนโลยีที่ก้าวหน้านำพาให้โลกมีความซับซ้อนมากขึ้น ในหนึ่งวัน เราเสพข้อมูลหลากหลายประเภทที่มีทั้งจริงและเท็จมีทั้งดีและไม่ดี แล้วเด็กที่ยังไม่มีความพร้อมด้านการคิดวิจารณญาณ (critical thinking) จะเป็นเช่นไร ดังนั้น การฝึกทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนการสอนปัจจุบัน 7

การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์โดยมีเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การเรียน บรรลุผลไปได้นั้น นอกจากทักษะ critical thinking แล้ว ทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อรับข้อมูล ต่าง ๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทั้งครูและนักเรียนจะต้องเรียนรู้ไปพร้อมกัน ครูควรคำนึง ถึงเรื่องการจัดสรรเวลาให้เหมาะสมเพื่อให้ไม่เกิดความเหนื่อยล้าของสภาพร่างกายมากเกินไป นอกจากนี้ การบูรณาการกับสถานการณ์และสื่อต่าง ๆ ทำให้ดึงความสนใจของนักเรียน มากขึ้น เพราะการเรียนรู้ไม่ได้ถูกจำกัดเพียงในตำรา และตำราไม่ใช่สิ่งการันตีว่าเด็กในเจนนี้จะ เติบโตมาอย่างมีคุณภาพและไม่เป็นภาระของสังคม อย่างไรก็ตามการส่งเสริมและพัฒนาเด็กจะต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งครู ครอบครัว และชุมชน เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นผลิตผลที่ดีและมีคุณค่าต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ 8

เมื่อพูดถึงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หลายคนคงนึกถึงสังคมพหุวัฒนธรรม ที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม ศาสนา และนับได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีเอกลักษณ์ ทางภาษาอย่างมาก กล่าวคือ ชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ใช้ภาษามลายูในการติดต่อสื่อสาร และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่ 2 ซึ่งสวนทางกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เน้นการใช้ ภาษาไทยเป็นภาษาหลัก ดังนั้น ผลที่ตามมาคือปัญหาการศึกษาของนักเรียนในพื้นที่แห่งนี้ ที่มีผลสัมฤทธิ์เป็นที่ 1 จากสุดท้ายเสมอมา ร้อยละ 83 ของชาวมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ใช้ภาษามลายูเป็นภาษาแม่ เมื่อ เด็กในพื้นที่ถูกป้อนเข้าสู่ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ใช้ภาษาไทยในหลักสูตรการสอนทำให้พบ เจอกับปัญหามากมาย เช่น ปัญหาการอ่านภาษาไทยไม่ออกเขียนไม่ได้ โดยคุณสุวิไล เปรมศรี รัตน์ หัวหน้าวิจัยการเรียนการสอนแบบทวิภาษา กล่าวว่า เด็กในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละ 40-50 ไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้ เนื่องจากไม่ได้ใช้ภาษาไทยใน ชีวิตประจำวัน ปัญหาต่อมาคือผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน อ้างอิง จากผลคะแนนสอบ O-NET ปีการศึกษา 2563 ที่นักเรียนจากทั้ง 3 จังหวัดมีผลคะแนนต่ำที่สุด ในทุกระดับชั้น 9

ทั้งนี้ เป็นเพราะการวัดผลการศึกษามีการใช้ภาษาไทยเป็นหลัก ทำให้นักเรียนกลุ่มนี้ขาดความเข้าใจในภาษาและขาดความสามารถใน การคิดวิเคราะห์โจทย์ได้ นำไปสู่ปัญหาสุดท้ายคือการเพิ่มขึ้นของโอกาส การหลุดออกจากการศึกษาที่มากกว่าเด็กทั่วไป เพราะเมื่อนักเรียน ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการใช้ภาษาไทยในการศึกษา จึงเป็นเหตุ ให้ไม่สามารถที่จะอยู่ในระบบการศึกษาต่อไปได้ ปัญหาที่ตามมาคือ พื้นที่แห่งนี้จะขาดทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในการพัฒนาสังคม ต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ จากรายงานเรื่อง ‘สะพานเชื่อมโยงไปสู่อนาคตอันสดใส: โครงการจัด การศึกษาแบบทวิ-พหุภาษา (ภาษาไทย-มลายูถิ่น)’ ของ UNICEF และมหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า อุปสรรคหนึ่งของการเรียนรู้ นอกจากความยากจนแล้ว ยังมีเรื่องภาษาที่เป็นส่วน สำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กด้วย ไม่ใช่เพียงแต่พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ในทุกพื้นที่ชายแดนที่มีความ หลากหลายทางด้านภาษาล้วนเจอปัญหาเดียวกัน หากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษา ได้เล็งเห็นถึงปัญหาการศึกษาที่เกิดขึ้นนี้ และเข้าแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงบริบทของสังคม ตัวผมมั่นใจเหลือเกินว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านภาษา จะไม่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาได้อย่างแน่นอน - Achita Maluleem - 1100

จงเอาปากกามาวงภาพจำจากลูกเสือ - ดูคำตอบ ท้ายบทความ 1. ตรวจเครื่องแบบ 7. เข้าค่าย 2. ระเบียบแถว 8. ก่อกองไฟ 3. แบกไม้พลอง 9. เอาผ้าผูกคอมาดีดใส่กัน 4. สวนสนาม 10. โดนทำโทษทั้งกอง 5. ผูกเงื่อน 11. ควงแขนสามัคคีชุมนุมกันแบบ 6. ทำจิตอาสา เบียด ๆ แล้วก็ร้องแค่ อันความกลม เกลียว เพราะจำเนื้อไม่ได้ “...ขึ้นชื่อว่าเป็นกิจกรรม พัฒนาผู้เรียน แล้วมันไม่ดีตรงไหน ? ...” 11

โนดีfเ่iเขยห(rเีปDsกเยส็สน็ปtนe้บเนา็ง)าดนคcธส็ขข2ทักีำiาสย่ยsอื.ข่รถ)อiวะๆแo่อณากาTทบทnีงมั่3่ละ้eหต“ง)งท.,ปาีปaย)ทนน่่ผงก้รูmอรำ้เาพใเาะอะันหไขกรีฒwโมงโยกรนยวย้คoะนนาเาชาชปนทรrนงไา็นีนkฝน้์ดแเ์รสเึ้ขเักกยผวสีเปกงิืิยช่ิ็ดงรนนอค่จ่นนนฯาขใบมึก้ง่ม(น.น1.ัPอรกก.นกม.จ.รlยาีา.)aดา(กมรรยูไิิnรรๆงโจเมหลจ่กใวnแกั็พมนจดกูบบูiล่รnทดตาสกีขรระ่่gกตชาวามวยแ่่)งคอวรย,มหะฝปยอนลกคตกงลัรใงิะำทบทาีจาหะคั่กน้มช์ลกกักึเสูกนงทอธกหษรมรถ)รบเศึรละขาสงรพมืวายชนคอมิแ่ิชยออกวาจชลAารัอยาดไูงา่ะลปdดาม!เูต้พ”ๆกลนิคแvป็,ุ.บเกeบยม.ลสอช.ไทื่/nาบีออยวเด่ว่ถด้พtใดยาึียาuหงใแรงเถง้านตัหrทกลาแยกeมระลำาะผุใืงมสร(เแอนิตนนS่หต่ีมงลผ้ไัากaูคทม้ดทัอะีสงfน่งูาเสeงยเงิจขกะๆผtนีอิูระยู้yกด้าจใัมนับจยีกุคม, นา แนทมั้้ดองหูเกล3หัจกมาอืสอกูยต่นจนาีร้นจงแยนะเีักก้งกิเแนดลปฝก็กานงาลยภอราเสยปางู็่รฯอตนะนากจขมทาีะอ่ปรผหงิบรดคัวะังวงรัมคูตใัใวบหนถุ้ลยโปั“รกดรง.ฎเ.ะเ.ยรหผีสูีย้ยมเงดรนคีา์ยจทยีนแน่ลตูล้ไเกอกดะิ้เงดพลสสืัคงอฒอเวอนหนายวมราิืดชอไศ้ัมวาก่พลยชูยกกอ.ภราเบ.สาบรืแอพจ.้ลลอาตูีะกงกนคใเหสเซวื้ึอ่อทางงมคไหตวไร้าูแามทร่มุลพมก้วศรคาั้แกอฝนึตยมก่กอภ็ขใไานาอมจ่พคงไ่จดนา.้ัะ.ยชก.ไ”ลอเมูร่กบีเยหแเว็สนิตนืช่อแใาผนตลลู่อลกมีะกเาสคมืกุอนมนันกึง ใลเคนูไส้กืดนชอ้เ่เวสหเพืิปงอ่า็มนแท1ีพ่ลอูเ-ปน2ะงคครเีป์พยกีิว่ทมบาีร่ผมคอเ่ิสาเสวปมนาร็ืนอมมะผนสาู้โนากดแมำายวราใดกรเหกว้าถผงราูข้ทกไวีอ่มาาม่งีถงรคูตแศกัึววผกทาีเ่นษอมคัจงาสนัดมนส(ีัถกขใก้ิ่าจจาทนวีกสึลกรมโูัดกรภคมยเารสใวืพเิอหขธ้้ไีไาผแมูท้่ทกเอ้รยำีทอยีมก่นิกนา่จาลทกกสอำขรึน้งไนรนดใม้แึจอกแตแ่ยถบ่มึลาังบกะงตัจเเลวูตปะก็็ลมนเเะปสทส็ีืค่นอถรจใานRรนิทงuะาsขๆsงอeลเงนlบก้lินจจอกกาาาากจรรเเพรลปืัู่็อฒกนงเนผสืUลาอรขPทัาอ่วยขงโบอปลุังคกญคPหคลiืxาอaกด้rกาา)รานสบร่ผัูวใ้งเหนรค้ีักยผบูิ้จนสเรกอกี็ยานจนระกล็วไูจิกดชะ้า หหลวาังยว่คานบอทาคจวจาะมมนีอ้ งจขะ้าชมวไคนปำใจตห้นอผูก้บอ่ลจาานายกไเดตป้็เอนห็นปนัตญม้นุมหมาอองย่ขาองทงี่วเิหช็นาลทูุกกเวสัืนอนทีี้่... ติดกิตจากมาฉรลบูักบเหสืนอ้าในวต่า่าด้งวปยรแะนเทวโศน้ม Jakboree 12

ก่อนคุณค่าของนักเรียนจะเปลี่ยนไป การศึกษาไทยควรเปลี่ยนแปลง โดย กล้วยมะขามแถวสามย่าน ถ้าให้คุณลองมองย้อนกลับไป ในวันที่คุณกำลังอยู่ในวัยเรียน ภาพแห่งความทรงจำของคุณคืออะไร? ช่วงเวลานี้อาจเป็นช่วงที่หลาย ๆ คนมองว่า เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขที่ได้เติบโต โดยไร้ความกดดันจากชีวิตจริง แค่ไปเรียน เล่นกับเพื่อน ๆ แล้วกลับบ้าน แต่สำหรับบางคน เวลาในวัยเรียนอาจเป็น ช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความเครียด จากระบบการศึกษาที่กดดันให้นักเรียน แข่งขันอย่างเอาเป็นเอาตาย ภาพของนักเรียนที่มีความสุขกับการศึกษาหายไป กับภาระงานภายในโรงเรียน และตารางเรียนพิเศษที่แน่นขนัด เป็นผลมาจากรูปแบบการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ และขาดการใส่ใจ ในที่มาหรือกระบวนการคิดคำตอบจึงทำให้เกิดปัญหามากมาย ทั้งการเน้นท่องจำคำตอบจากแนวข้อสอบ มากกว่าการได้ฝึก วิเคราะห์คำถาม การแก้โจทย์ปัญหาที่เป็นเพียงขั้นตอนที่ต้องท่องจำ มากกว่าจะเข้าใจ ส่งผลให้เด็กไทยกลายเป็น“นักจำ” ข้อมูลมาเพื่อทำสิ่งเดิม ๆ มากกว่าเป็น “นักทำ” สิ่งใหม่ ๆ ให้คนจดจำ 13

ระบตบ้นกตารอศขึกอษงปาัขญอหงาไทอยยู่ใทีช่ก้กราะรบนวำนผกลากราวัรดปปรระะเมเิมนินขัผ้นลสุดเนืท่้อางยจาหกรือคะแนน ทคจแทีก“แัั่้ไวดลางอลดาล้ะรยะจๆม่ปำผาูสา้สัดปรงงทักีาบะไ่คกกตรมเัคมมา”วมาิรมรนเราลเอสอถเมกืปขงอ่งขก็อตเวนบ่อว่หกา่าคปงาางลเ่นนจรรปจาั็ะสะทกดนนีั่เมอ้เจภนเร้“คอบีอทยเรงเเืงทน่ตปขวอ่ไ่็้่าแาปนาางไงตมชทเรี่ผี้พู่ลหค”ๆ้ตีเัยะวารวีแคมงยวาเิตเลนมาทน่ลไคขสมยขมจีำ่ำตาคชไ่านเุลาดวรกดั้็วงยอาจนหณักมธ้ขๆนินำึบสเอ่แงพหแาาืงท่ปีนลมยอค่บระวายดน่ึผอตราดใัลถหกจเดถึ้ปืเอวงใส็อป่ินชทยา็นส้่นิคำคา่วงคค่งในะนานัหไะแ้ทเ้นรีคปแค่นมุ็เนนีณทนปนัค้็นนงคเนัคว้หน่นเวาัาพลกาไีมข่ดยามเ้สอรนงรีสีัยงา้เบำคพมนืเ่นาอร็รจถ และกระบวนการคิดถูกละเลยมากขึ้น แนวทางการแก้ไขปัญหานี้ต้องเริ่มจากการออกแบบการวัดผลทางการศึกษา โดยต้องเห็นคุณค่าของผู้เรียนมากกว่าจะมองว่าเป็นคนที่มีความสามารถจัดอยู่ในกลุ่มไหน แต่มองว่าเป็นคนที่มีคุณสมบัติอะไร ทั้งด้านทักษะ ความรู้ ตลอดจนกระบวนการคิด ด้วยการประเมินหลายด้าน หลายรูปแบบ ด้วยแนวทางที่เหมาะสม ไม่ใช่แค่เขียนลงในกระดาษคำตอบ แต่อาจประเมินผ่านการทำกิจกรรม การเขียนแสดงความคิด การอภิปรายข้อคิดเห็น เพื่อให้ได้ข้อมูลของผู้เรียนอย่างรอบด้าน ซึ่งแนวทางนี้นอกจากจะได้ผลลัพธ์ที่จะใช้เป็นข้อมูลเพื่อการประเมินผลการเรียนรู้แล้ว ยังสามารถนำรายละเอียดกลับไปพัฒนาผู้เรียนได้อีกด้วย เมื่อผู้เรียนทราบว่าตนมีความสามารถอย่างไร ผู้เรียนจะรู้แนวทางในการพัฒนาตนเองที่ถูกต้อง รู้ว่าตนมีความสามารถแบบไหน และจะนำไปประกอบอาชีพได้อย่างไร เปลี่ยนเวลานั่งคร่ำเคร่ง กับการเรียนพิเศษในห้องแคบ ๆ เป็นการออกไปเรียนรู้ในโลกกว้าง และประสบความสำเร็จ ในการพัฒนาตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้สังคมไม่มองว่าคะแนนการประเมินเป็นคำตอบของความสำเร็จ เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป และให้ความสำคัญกับความสามารถของนักเรียนในที่สุด 14

เมาท์แซ่บหลังโรงเรียน นนิิสสิิตตฝฝึึกกสสออนนออออนนไไลลนน์์ ใครว่าง่าย โดย Arya Stark สวัสดีนักอ่าน E D-GAZINEทเุตลกต้่แ้นาตคอ้ตเกอ่นรงืล่ำนรอไ้ะเดองรนเ้ัิรงรบอืด่่วาอาสู้ขวา่นงควชอทกีีอั่งวทฉนลิชตัืาบ่มัอนงบินคเส์รนิทีอตี้า่จลหคปััีะมลดหัม้นงสา์าโขใรเรนมอรงรามังเ้วทรเา์ีรโยแรรัานบซง่ไรเบรดหอ้ีนยเลิงชัสนวงิิ่ญตาโ(รเฝอพพึงีือก่่เปอนรีสหนียไอ้ลานนซนๆึ่์ง)มเมเปนรา็ืัา่นอกบใงหออ่้รากานว พี่เบลล์ กมลลักษณ์ ดวงแก้ว เอกจิตวิทยาคู่สังคมศึกษา คุณครูฝึกสอน ในโรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ โดยที่มาของชื่อคอลัมน์หลังโรงเรียน คือการที่พี่เบลล์และ เพื่อนคนหนึ่งได้เปิดกลุ่ม เพื่อเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้นิสิตปีห้าแบ่งปันชีวิตฝึกสอน ทำหน้าที่ เป็น Group counseling และชื่อหลังโรงเรียน คือการที่พื้นที่หลังโรงเรียนเหมือนพื้นที่ ที่สามารถปลดปล่อยความเป็นตัวเอง ความอิสระจากความเครียด ภาระงาน และข้อจำกัด ต่าง ๆ ในการพูดคุยเรื่องดังกล่าว แต่กลุ่มดังกล่าวอยู่ได้เพียงห้าชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากผู้จัดทำได้เล็งเห็นถึงช่องโหว่ ที่อาจเกิดขึ้น จึงปิดกลุ่มดังกล่าวไป 15

คิดว่าทักษะที่จำเป็นในการสอนคืออะไร? ชฟ่แัวองทสบยแั่เหาำอกงพทกิรีร้รกปน่ษืไลมดัออาีขนเะงใณทแงรปน์เกสัแอรดอแืญกาู่ำอกปหรลร้า์หหงไเพะจนรนขรััรา็มดรัลงาปตบีกิะัสกัเวแกญสนคบิตากลนิัถชไรหาใบัปะาอหนกยาเั้แนาบพคทมเโืีฉอหก่่ดวคาอใพปาชาากยวน้รรมาพงใทาีณอนาะ่อทมลส์ันิรหุกดำเเ่เดอหคคอนาสอิั้ยร่้รชลาางนีั่ยอจนาทๆตีกด่ไนอัตเัมน้่ารกกน่แา็รเใาสแงลหอจสชำบะยมๆออูค่ใบเัานบสนญกะแอเมบากพผือัโอรา่บนดอนเงเชตกพยเืไร้่ัืวอ่ลาพอกอีล่รมนงเผง์าเ่บมตททรอีกีี่ี่ลท่อยสนจัาลกอนอะรจ์ไษารตรนาูด้้้จอจ้กะอแตตะงกงงินไดตราใาห้ชะงนขอร้้ันคนคดีงื้เำอเมวบชรี่้ใตบแนาาัหว้ผคกงุ็นตม้อง ความท้าทายในการฝึกสอน ‘‘ทุกอย่าง’’ ทั้งการเปลี่ยนบทบาทไปเป็นผู้สอน การเตรียมบทเรียนเพื่อนำไปใช้สอน ความคาดหวัง ที่สูงของคณะและครูพี่เลี้ยง การสอนที่ท้าทาย การตามงานนักเรียนเป็นไปได้ด้วย ความยากลำบาก การไร้แรงบันดาลใจเนื่องจากต้อง Teach From Home การจัดการเวลายาก ด้วยภาระงานเยอะ ทั้งงานสอนและงานของคณะ แต่ประสบการณ์อันล้ำค่าก็เกิดขึ้นในการฝึกสอน คือ เป็นตัวพิสูจน์ว่าชีวิตการเป็นครูของเราควรไปต่อหรือ พอแค่นี้ ทำให้ภาพของการทำงานครูชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยพี่เบลล์ได้บอกเล่ากับเราว่าอาชีพของเธอใน อนาคตคงจะไม่ใช่การเป็นครูแล้ว อจมหยแะ่านาเลึเป่ลล็งะื่นมนใาีน่กใตกหิ็รา้ัดเ้ทวรปุ็ตโเกนมราคเงมารืนเท่กอร์ัไีแนงยดซร้นน่อาบ่อะาว!กอนขับนกอัใไนงคลนริฉนส์ิบทีตั่บเปรีหาห้นนา้ำาคน 16

โดย ทานตะวันฤดูหนาว 17

ด้วยสสภภอาาย่พพาเงกหทาี่ลหเรห่มทาเืีรล่่รืนอตีอีา่ย้ไกาใยนมงชล่ค้นคทชาีนี่นาหยวิทนตตเน่ปัเรมใา็กพานนงาขบรึพแนค้ีนา้กบบวเัะรนาบแเเาจมหดลทไีีอเดว่นะเืค่้ต่าคมคอยีกลยโยวชอาอิชานรอกดมอใยาเรบชจวั้สาบชาเลกีพหผกวูาิิทดมดทตีทืี่ี่จคอ่ชใไผุนะ่ดยนอา้อมอกเบนัมยอหบืูทม่่ีอเก่าเฉาเพกวพสื่ยิิ่ั่อเทองมลสน่นๆยมารกาสปา็เรัลคมปกัญ่คั็ยอ์ยขนึหห้แยเนกราตาีายคๆแกกรนวลาตพล่ามัระาัดกมจใธงลผหสะกย่้ังอนคหมบุนำกแาแสปแเกลลมวัทรละะยลึกาแนยเาิ่รษยลงเียพเเากืวป่นซอ็เึล่นปมงอัากไลธอีัผม่น่ยย่กาไมแนนดไ้ปลคเอไ่รืปะอใ่ออฝกน่กังหนขรไ้าปาาควงไวมหาานมกสนุก เพระลหงนวั่้นsาoงชืท่ีอl่กiวทv่ำ่าeอลเันTหงaจhคหนมุแlืeยนiอเึนf่กเ่eงนิรNนืใดข่อคนiyอคิอgงดoกนhวงนไีาuเา้วtด่พรs้มาเวwใพลส่คืขชา่ิ้งอiภดอเชlรรีlน้าทงวอีาิ่พrนเตวยeงัร่ักแาอวางmห่แวราใกยู้็ยช่อดทeมเุ้้Hปดชงลmจาิี้eชสวดอรกิิbตารงเมพ้sพยาeแไaทอปีงลrล่iAเ้.คdสไง”วผมvมว,เ่ชๆiปาปิเ“คc็ญทมนiO่รวหiาทอะรเnเไนรึยโปรหู่eรา็ย่งูงน้นัรสหขค้จ่ึึdน้เเกนรำ ทอพ ืีaทอ่ไดมงแลyีมำเ่าสปงๆทสใแyสนหลำด้oล่แาธท้ไาใัuวก้มลรสง้บ’ทรลวคเีl่ิพหมอลlลทืดี่ื่่กรดอะมlดทืีeัอในา่หงจหaสนมแ้ีาะ้vเดกาคลรหeชกละาวืยั่นเลุบาtตดพัhมอเวกหหลiสเงsรุรามงฟขะืัาwหคอใแงรูวหนสนo้ทึสิ้่า่ึงกงrอกกัมlแทบยีdหห่ส่ตัเชา่พวมนีเbงุวรเดิลกเeรตาคกงาhไตยนำัอมีiว่้nลตยเัเ้่คdงออาใยงงงจจฟกัังางมรจาะก่สอื่อน ไใวห้ไ้อสด้ยนุ่าอกงยแ่ทีา่ลเปนตะืล้อมร่ีองเคพยนีว้เลไาววงม้ลไไสาดุม้หข่บแอรอืนอย่ก่วโา่อางวัเกเนรตา็าหมสอนททึีาี่่่งจจใเจะวห้ลไะสดาไ้มดมช้ีกีพคัวิบตวบทาขีก่ัมคอบสรงัุช้งเขีรวหิกาตันบึกท่็ีงกต่มเ้ีารอครางวใมหีชาช้มมีชวีดิสวติุลตขแงใอลหยแ้ะ่หาตส่ลงกุาท่ดีอม่ไไนามป่รจเอถคะยสย่ถาึรคง้งิาวดนัง่นมาคนาเัว้สกนีา่ยอมเรดนทาากรคย็เงวปจถ็ร้นำาใดชไเี้รดเ้วๆาคลแาว้สขาโนอองลก้เำราคา่สา สดชนัีุงวกินตั้ในขห้ใอกคังบรเรตกั็าวตยเาัองมมงีทีเ่กวรู้รลสึอากบเหหคมลวืดอากอมำยสูล่ัมซงึ่บใงูจจรณะไ์รม้ขซาึอ่งกงแหชรีรวงืิอตบันเน้รอดายกา็เลจรใะาจไไ มใม่่นสถูกากามจราำใรกชั้ถดชีรูไว้ไิวต้ดเ้พีเแรยตาง่ถอเ้ทาย่เาารนกีา้แใยัหนง้่ทไนุมก่อหคนยนุดอลหยอ่าางลคคืิมวดาใตชม้าชสมีุวขิสิตแ่งกลทัีน่ะเรนคาวะบาคอมะก 18

REPLY 1988 ความสัมพันธ์ วันวานและการเยียวยาจิตใจ โดย เมธี หากจะให้นึกถึงซีรีส์เกาหลีที่ประทับใจที่สุด และเปียกปอน ที่สุด คงหนีไม่พ้นซีรีส์เรื่อง Reply 1988 ซีรีส์ ที่พูดถึงความสัมพันธ์ของเพื่อน คนรัก และครอบครัว ได้เรียบง่ายและกินใจที่สุด โดยผู้กำกับชินวอนโฮ ซึ่งใน วันนี้เราอยากชวนทุกคนมาเก็บเกี่ยวความประทับใจใน ซีรีส์ผ่านสายตาของแฟนซีรีส์เกาหลีที่บอกได้เลยว่า ซีรีส์เรื่องนี้สุดพิเศษและไม่เหมือนใคร Reply 1988 เล่าเรื่องราวขอ งเพื่อน 5 คน คือ ด็อกซอน จองฮวาน ซอนอู ดงรยง และชเวแท็ก ในปี 1988 ที่เติบโตมาในซอยซังมุนดง เกาหลีใต้ ความพิเศษของ ซีรีส์เรื่องนี้ คือ การเล่าเรื่องธรรมดา ๆ ที่แม้คนไทย ก็สามารถมีอารมณ์ร่วมได้อย่างน่าตกใจ ซีรีส์เล่าถึง ความเป็นเพื่อนที่ดูแลกันมาตั้งแต่เด็ก โดยมีบ้านของ ชเวแท็กเป็นศูนย์กลาง พวกเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ พูดคุย ดูโทรทัศน์ และเล่นสนุกกัน ซีรีส์เล่าตั้งแต่ต้น ว่า ในที่สุดจะมีเพื่อนชายหญิงคู่หนึ่งที่ลงเอยกันในฐานะ คู่รัก ทำให้ผู้ชมต่างสงสัย และพยายามหาคำตอบ 19

อีลอกอไูอกดยยหาอ้ย่มยค่ทใาอนีอุเาึน่อง่เตรนมไงงืกทั่ทงดอ่ว“เเครุ้ไาัอดรกถงกเบปีีวล้อากรยตูาลตาหมกังาคัยวมอบัวาขวาหงรพนพมัมเกใ้า่ไิังอรนอานเดมโมงอมศ่ดชักคั”ไมูี็นกนษีอซปไววคีทสิมทยตคีทรรู่่วื่าียำคไกะสอคัาัม์ใดใำหงบเำห้มหซราหพ้ควื้คธี่เิู่ฝรเอราาขดัดศรวีถ้นงคสงาเรเ์ารปนกร้กหเวใีืมมา่้็รจอลืเาาไล่จมจดอ่รคมมืงอ่าน่รงอาเนวเฝบนิีตนงีจน้หัไ้ิีาเ้็ในบ้หบหาทมนำแจกไาตโรำมเเเล่มดืตรพปปาง่อะย็็่เาิลไไานนอ่กจนึงหใด้นกไไ้ขนอาทกลถรปกไัวูอวำันปถเกับขตแ้นงใล่ถาเหคจออดตึทตย้ิยี็ง่ิตรัง่ไงอูเเมง้ใตปมสสสไใกืจิไึีเ่่มจไอกงอยตมค่ซด็่ผใตนวกใู้มมนอ่ช่้จีชาา่พลทขกนฟแัจ่สึุง็ม้ับ่อกแนคางวๆ่มคกคมน่าราทั้ีง่ สัสคกต่เวงพปวาัฉนอชตลนวม่ีั่ยาควกูยวหห่กเงวซเนเนสาัอจรึเา่งคแวมงาบงมมลปวตอุขเรนัาารลลกอไแวมาดงัอปงยจลคฝงดใัทะเะRชวนุดแไถจ้ก็าึeชปกสงะขคีมpวเเทดขอนีหปิสต่l็้แงใอyตนวนหั้ใสเเง้อคชหพป1ทนั้ด็งวยเีำ9นรพหทแาอี็ิมา8ก่นมัยเมะยำนศี8่กชวทใาล่ีใษหาัยงวฉรห้ง้ิ้กแตงาเาแใสัรยจนจนยยำต่าัำ่ไใใภนงเทวหปนดรัุต้า็อีนก้จทททพอนุๆุนคำกกึแงกงตนสคใรดลูาูช้นาตปตนีำระ่่มววาแหยอเัทิี้ตยนคง่ไบาวิกัเคกนปยวงบดำ็ิ็ตาดตนอวลนก้่่มััาออถอะ้งขนึฝงกไงัอกปมนจ็ีงยกาขังกาอรซงอย 20

ในสองภาพนี้มีจุดที่ต่างกันทั้งหมด 8 จุด ลองหาดูซิว่าอยู่ตรงไหนบ้าง เฉลย 21

โดย หนุ่มสามย่าน แอสการ์ดไม่ใช่สถานที่ แต่คือผู้คน จากภาพยนตร์ Thor: Ragnarok ประโยคนี้อาจจะคุ้นหูใครหลายคน แต่สำหรับเราอาจจะสามารถเทียบเคียงได้กับชีวิตที่ผ่านมาระหว่างที่ใช้ชีวิต เบื้องหลังจอสี่เหลี่ยมท่ามกลางการแพร่ระบาดนั้นได้ สำหรับเพื่อน ๆ หลายคน อาจจะเคยได้สัมผัสชีวิตในมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะ 1 ปี 2 ปี หรือไม่กี่เดือน หรือน้องปี 1 ที่ยังไม่เคยแม้แต่จะก้าวย่างเข้ามาในพื้นที่ของจุฬา ก็ตาม เพียงแต่การเข้ามาในรั้วของมหาวิทยาลัย ทำไมจึงเป็นเรื่องที่ยาก พร้อมกับเจอ คำถามที่วกวนอยู่ในใจว่า “เมื่อไหร่จะได้กลับไป on-site สักที” การมีปฏิสัมพันธ์โดยเฉพาะกับมิตรสหายหลาย ๆ ท่าน ก็ต้องถูกตีกรอบ อยู่ภายใต้ของการสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Zoom Meet Messenger Line Discord ฯลฯ ย่อมทำให้เรารู้สึกถึงความหมายของการใช้ ชีวิตที่น้อยลง การใช้ชีวิตนิสิตนั้นไม่ได้มีเพียงการทำกิจวัตรประจำวันอย่าง การเรียน การอ่านหนังสือ หรือแม้แต่การนั่งกินข้าวเท่านั้น แต่คือการได้เจอ เพื่อน ญาติพี่น้อง ครูอาจารย์ ได้เจอคุณป้าขายอาหาร คุณป้าแม่บ้าน คุณอารปภ. พี่วินมอเตอร์ไซค์ หรือแม้กระทั่งน้องแมวแห่งครุศาสตร์ (น้องแมวที่ไม่ใช่แมว) 22

ได้พบบรรยากาศของการต่อแถวขึ้นลิฟท์ในชั่วโมง Rush Hour ได้ทานข้าวที่โรงอาหารคณะ (แม้โต๊ะจะไม่ค่อยมีก็ตาม) ได้ไปเจอ อาจารย์ (แม้จะขี้เกียจก็ตาม) ได้ไปนั่งรถป๊อบ (แม้จะหลงบ่อยก็เถอะ) ได้นั่งจิบกาแฟที่อินทนิล แม้กิจวัตรหลาย ๆ อย่างจะสามารถปรับเป็น รูปแบบออนไลน์ได้ก็ตาม เพียงแต่ชีวิตเราไม่ได้ถูกกำหนดว่าต้องอยู่ เพื่อใช้ชีวิตเท่านั้น แต่ชีวิตมีความหมายมากมายกว่านั้น ดั่งประโยคที่ว่า “เพราะระหว่างทางสำคัญ ไม่แพ้จุดหมายปลายทาง” เก็บประสบการณ์ แรงบันดาลใจ รักษาแรงผลักดัน แรงขับเคลื่อนในชีวิต รอคอยอย่างมีความหวัง ความหวังที่จะทำให้เรานั้นใช้ชีวิตเพื่อพบกับวันที่ดีกว่า ภาวนาและขอให้ทุกคนรักษาสุขภาพกายและใจ ฟ้าหลังฝนสวยงามเสมอครับ ขอให้ได้พบกันเร็ว ๆ นี้ครับ “Make your life a masterpiece, imagine no limitations on what you can be, have or do” Brian Tracy 23

เขียน Daniel Gottlied แปล ธิดารัตน์ เจริญชัยชนะ ผู้เขียนได้พบหนังสือเล่มนี้โดยบังเอิญ Letter to Sam (จดหมายถึงแซม) แต่ตกหลุมรักกับบทเรียนที่คุณตาได้สอน และความอ่อนโยนที่ถูกส่งออกมาผ่านตัวหนังสือ เป็นหนังสือที่รวบรวม โดยมีจดหมายฉบับหนึ่งในหนังสือเล่มนี้ที่ผู้เขียนชอบมากเป็นพิเศษ เรื่องราวในจดหมายของคุณตานักจิตวิทยาบำบัด ผู้เป็นอัมพาตถึงแซมหลานชายออทิสติกที่เพิ่งเกิดได้ไม่นานของเขา เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวของโลกอันกว้างใหญ่และซับซ้อน หวังให้แซมได้อ่านและเรียนรู้เกี่ยวกับมันในวันที่เขาเติบโตขึ้น คุณตาเขียนเล่าถึงความยากลำบากเมื่อต้องขับรถกลับจากการบรรยาย คุณตาเรียนรู้ว่าเมื่อเปิดสัญญาณไฟกระพริบ ในวันที่ลมกระโชกแรงบนถนนสายหลักที่รถทุกคันแล่นด้วยความเร็วสูง นั่นแปลว่าคุณตากำลังบอกเพื่อนร่วมทางว่ามีปัญหา คุณตามีปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมกล้ามเนื้อจึงเลือกที่จะขับรถให้ช้าลง และพยายามแก้ไขอยู่ รถหลายคันที่ตามมาด้านหลัง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ แต่กลับทำให้ผู้ร่วมทางหลายคนไม่พอใจ ถึงแม้ว่าพวกเขาอยาก จะแซงแต่ก็ทำไม่ได้ บ้างก็บีบแตรไล่ บ้างก็ตะโกนด่าทอด้วยคำหยาบคาย ถึงขั้นมีคนขับรถมา เพราะถนนสายนี้มีรถสวนมา เทียบข้าง ๆ เพื่อชูนิ้วกลางใส่ วันถัดมาที่คุณตาต้องขับรถผ่านถนน อยู่ตลอด ๆ พวกเขากลับรออย่างใจเย็น เส้นนั้นอีกครั้ง คุณตาจึงตัดสินใจเปิดสัญญาณไฟกระพริบไว้ เพราะรู้ว่ารถคันข้างหน้ามีปัญหาบางอย่าง ความต่างที่เห็นได้ชัดคือ ไม่มีเสียงแตร ไม่มีคนตะโกนด่าทอ ไม่มีคนขับรถมาเทียบข้าง ๆ เพื่อชูนิ้วกลางใส่ คุณตาบอกเล่าเรื่องราวนี้และสอนว่า บางสถานการณ์เราจำเป็นต้องทำทีเป็นเข้มแข็งและ บางครั้งที่คุณรู้สึกเหนื่อยจากการเรียน กล้าหาญ แม้ว่าเราจะไม่ได้รู้สึกแบบนั้น สถานการณ์ทำนองนั้นมีไม่มากหรอก หลายครั้ง ผลลัพธ์อาจดีกว่าถ้าเราจะไม่แสร้งว่าเข้มแข็งเวลาที่รู้สึกอ่อนแอ หรือแสร้งว่ากล้าหาญทั้งที่ หรือเหนื่อยจากปัญหาที่ผ่านเข้ามาในชีวิต รู้สึกกลัวจับใจ ตาเชื่อจริง ๆ ว่าโลกนี้จะปลอดภัยมากขึ้น ถ้าทุกคนที่รู้สึกเปราะบางจะเปิด อย่ากลัวที่จะบอกใครว่าคุณกำลังประสบปัญหาอยู่ สัญญาณไฟที่ว่า “ฉันมีปัญหาและกำลังพยายามอย่างสุดความสามารถ” ไม่ต้องกังวลในการขอคำปรึกษา จากคนที่คุณสามารถพึ่งพิงได้ บนโลกใบนี้มีสถานที่พักพิงใจให้กับทุกคนเสมอ ขอให้คุณเป็นคนที่ถูกรักจากตนเองและคนรอบข้าง mie a p 24

ในสองภาพนี้มีจุดที่ต่างกันทั้งหมด 7 จุด ลองหาดูซิว่าอยู่ตรงไหนบ้าง เฉลย 25

เราทุกคนเติบโตขึ้นทุกวัน สอดคล้องกับเวลาที่เดินอย่างไม่มีวันหยุด เด็กน้อยที่พยายามกลืนกล้วยบดในวันนั้น เพียงพริบตาเดียวก็โตพอ ที่จะสยายปีกด้วยตนเอง ทะยานไปสู่โลกกว้างที่ไม่เคยพบเจอ วัยรุ่นที่ ยังแข็งแกร่งอย่างเรา เมื่อเจอเรื่องตลกก็หัวเราะออกมาได้ง่าย ๆ ใช้ชีวิตอย่างไม่ต้องระวังกระดูกกระเดี้ยว หรือแม้แต่ตอนเคี้ยวเอ็นข้อไก่ ก็ไม่ต้องระแวงว่าจะเผลอกลืนฟันตัวเองลงไปด้วย “เวลาเดินไปไม่มีวันหยุด ทุกอย่างก็จะผ่านไป ทุกอย่างต้องมีอายุที่ร่วงโรย ความเป็นหนุ่มสาวถึงได้งดงาม เพราะมันสดใสขึ้นมาทันตา แต่เราไม่อาจย้อนเวลากลับไปได้อีก” บทพูดของนางเอก ซอง ด็อกซอน ฉันเองก็เป็นคนหนึ่งที่ต้องโค่นความฝันของตัวเองลงมา จากเรื่อง Reply 1988 ด้วยความไม่เต็มใจจากสิ่งที่ทุกคนกำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ ความตั้งใจที่วาดฝันไว้กลับพังทลายลงมาไม่เหลือซาก เป็นสิ่งที่ติดอยู่ในใจของฉันมาจนถึงทุกวันนี้ อายุเพิ่มมากขึ้นอย่างไม่มีทางหวนกลับ ผกผันกับความเป็นจริง บรรยากาศอันแสนอบอุ่นของซีรีส์สะท้อนความเป็นจริง ที่บีบบังคับให้เราหยุดอยู่กับที่ น่ากลัวจนไม่อาจจะประกอบ มันขึ้นมาใหม่ได้ ไม่กล้าแม้แต่จะวางฐานใหม่ด้วยซ้ำ ที่เกิด โดยเฉพาะ “ความเป็นหนุ่มสาว” แต่เชื่อไหมคะ สำหรับฉัน ยิ่งบาดแผลมันเหวอะหวะมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็น แรงผลักดันให้อยากเอาชนะทุกอย่าง ในเมื่อสาหัสมาทั้งตัวแล้วเพิ่มอีกสักแผล ฉันไม่รู้หรอกว่า ในอนาคตสิ่งที่ฉันจินตนาการไว้มันจะถล่มลงมาอีกไหม จะเป็นอะไรไปคะ รอยแผลเป็นที่ได้มาในตอนท้ายจะคอยเตือนเราเสมอว่าเรามี แต่ขอแค่ให้ได้ทำมันก่อนในตอนที่เรายังทำได้ ถ้ามันพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็ ประสบการณ์ชีวิตโชกโชนขนาดไหน ไม่จำเป็นต้องใช้ชีวิตที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ หยุดพักสักนิด หาเส้นทางอื่นที่พอจะไปได้จนกว่าจะเป็นทางที่ถูกต้อง เรา หรือถูกโอบกอดไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะตลอดเวลา ปล่อยให้โดน เป็นวัยรุ่นได้แค่ครั้งเดียวจำไว้นะคะ ก่อนจะเข้าสู่วัยที่แม้แต่กล้วยบดก็ยัง หนามกุหลาบถากบ้าง เสียน้ำตาให้กับมันบ้างก็เป็นบทเรียนที่คุ้มค่ากับ กลืนอย่างทุลักทุเล ทำในสิ่งที่อยากทำกันเถอะค่ะ ฉันเชื่อว่าสักวันหนึ่งเรา การเกิดมาไม่ใช่เหรอคะ ถ้าเรามัวแต่ท้อจนล้มเลิกความตั้งใจไป ทุกคนจะบินไปถึงแสงสว่างที่พยายามไขว่คว้ามาตลอด ปล่อยให้เวลาและโอกาสไหลผ่านไปเรื่อย ๆ ฉันคิดว่ามันน่าเสียดายไม่น้อยเลย เป็นกำลังใจให้นะคะ ทุกคน และตัวฉันเอง Joaillerie 26

writer: นายชีสเบคอน เดือนกันยายนของทุก ๆ ปี นับว่ามีความสำคัญกับ อุตสาหกรรมที่มีมูลค่ากว่า 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐอย่าง “อุตสาหกรรมแฟชั่น” เพราะเดือนกันยายนเป็นช่วง เปลี่ยนฤดูกาล เดือนนี้เหล่าดีไซเนอร์จะเตรียมพร้อมและ เริ่มรังสรรค์คอลเล็คชั่นใหม่ ๆ ให้ทุกคนได้ยลโฉมในช่วง fall/winter แต่เพราะแฟชั่นไม่เคยหยุดนิ่งและยากที่จะ คาดเดา ทุกคนในวงการจึงจำเป็นต้องตามเทรนด์แฟชั่น อยู่เสมอ โดยมี “ไบเบิลแห่งวงการแฟชั่น” ทำหน้าที่ชี้นำ และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแฟชั่น แอนนา วินทัวร์ นิตยสารแฟชั่นอย่าง “Vogue” ไม่ได้เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อความบันเทิงเท่านั้น แต่ Vogue มีหน้ากำหนดทิศทาง ของเทรนด์แฟชั่น Vogue ฉบับเดือนกันยายนจะทำหน้าที่ “Trend Forecast” หรือพยากรณ์เทรนด์สำคัญในวงการ แฟชั่นตลอดหนึ่งปีถัดจากนี้ และด้วยหน้าที่นี้จึงขนานนาม นิตยสาร Vogue ฉบับเดือนกันยายนนี้ว่าเป็น “ไบเบิลแห่งวงการแฟชั่น” ซึ่งมี “แอนนา วินทัวร์” อยู่เบื้องหลัง “แอนนา วินทัวร์” จักรพรรดินีแห่งโลกแฟชั่น แอนนา วินทัวร์ คือบรรณาธิการบริหารของนิตยสาร Vogue America ด้วยเซนส์ด้านแฟชั่นที่ไม่เหมือนใคร ทำให้เธอกลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลแห่งวงการแฟชั่น เรียกได้ว่า ทุก ๆ รันเวย์ใหญ่จะเริ่มไม่ได้ ถ้าเธอยังมาไม่ถึง 27

ริฮานน่าในงาน Met Gala “กบฏ”แอนนาเป็นคนที่มีแนวคิด ที่ไม่ชอบทำอะไรตามกรอบ เธอสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และฉีกกฎเดิม ๆ ของวงการนี้เสมอ ๆ เช่น Vogue ฉบับแรกของเธอ ได้เปลี่ยนหน้าปกชุดหรูหราตามขนบ เป็นชุดสตรีทสไตล์ ซึ่งกลายเป็นเอกลักษณ์ของแฟชั่นวีคในทุกวันนี้ เธอเป็นคนริเริ่มที่นำดาราฮอลลีวูดมาขึ้นปกจากที่ปกติจะมีแค่นางแบบ เท่านั้นที่ได้ขึ้น จนนิตยสารอื่นทำตาม ๆ“Mกันet เธอเป็นคนจัดงานการกุศลชื่อดังอย่าง Gala” ที่ทุก ๆ ปีเราต้องเห็นคนดังใส่ชุดเก๋ไก๋เป็นไวรัลในโลกโซเชียล เลดี้กาก้าบนปกฉลอง 120 ปี Vogue America “ไบเบิลแห่งวงการแฟชั่น” ปี 2009 เธอได้ออกสารคดี “The September Issue” สารคดี เบื้องหลังการทำนิตยสาร Vogue ฉบับเดือนกันยายนในปีนั้น เพื่อเล่า เบื้องหลังและความสำคัญของฉบับเดือนกันยายนนี้และนิตยสารประจำปีนั้น ก็ทำลายสถิตินิตยสารที่หนาที่สุดกว่า 840 หน้าที่อัดแน่นได้ด้วย เทรนด์แฟชั่นอย่างจัดเต็ม เพื่อการกำหนดทิศทางอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเล่มอื่น ๆ ก็โดดเด่นไม่แพ้กัน เช่นปี 2012 ที่ได้ Lady Gaga มาขึ้นปก ฉลอง 120 ปี Vogue America ทำให้กลายเป็นปรากฏการณ์ของโลกแฟชั่น เนรมิตให้เดือนนี้เป็นเดือนสำคัญที่สุดของวงการโดยปริยาย ด้วยสายตาอันแหลมคม ความเด็ดขาดและตรงไปตรงมาของเธอ รวมถึงความกบฏและมองไปข้างหน้าอยู่ตลอด จึงทำให้ แอนนา วินทัวร์ สามารถปกครองอุตสาหกรรม ที่ไม่เคยหยุดนิ่งและยากที่จะคาดเดาอย่าง “แฟชั่น” ได้อย่างสวยงาม 28

ในสองภาพนี้มีจุดที่ต่างกันทั้งหมด 5 จุด ลองหาดูซิว่าอยู่ตรงไหนบ้าง เฉลย 29

รายชื่อผู้จัดทำ บรรณาธิการ ฝ่ายพิสูจน์อักษร ชนิดาภา จันทร์ประภาส #3 รุจิรา ชนะชัย #3 กันตฤทธิ์ บุญประเสริฐ #3 กิตติพัช ชิดสิน #3 เจษฎา รุ่งรัศมีวิริยะ #3 รุจิภาส ชื่นบาน #2 สิริยากร โรหิตเสถียร #2 สิรีธร สุวรรณหงษ์ #2 ฝ่ายศิลป์และและออกแบบ โสภิตา ปังเกตุ #3 ฝ่ายเนื้อหา พรชนก ชินอมรพงษ์ #3 อสมาภรณ์ พงษ์เกษม #5 ฐิตินันท์ เต็กสุวรรณ #3 ดวงดาว กาญวัฒนะกิจ #4 อาริสา เชยเอี่ยม #2 อชิตะ มะลูลีม #4 จริยา เรืองวัฒนานนท์ #2 อารีนา แมเร๊าะ #4 ปภานิช เสือจู #2 ปณิดา สร้อยสาย #3 กาญจน์หทัย ขันติยู #2 ปุญญพันธุ์ พิริปุญโญ #3 ปาณิสรา หาญธนบูรณ์ #2 กนกพล ศรีบุญเรือง #3 ชมพูนุช โชคเจริญผล #2 สธน สุวรรณวารี #2 ญาดาวดี ชัยสุวรรณ #2 มนัสวี จันทร์แจ่มศรี #2 อาซีฟัต กะดะแซ #2 ฝ่ายสื่อและเทคโนโลยี จิราพร เณรธรณี #2 ณดล โพธิ์ปิติ #3 พิมพ์ลภัส อัสสานุพงศ์ #2 พิมมาดา แสงจันทร์ #2 30 สุรัตนา ใจงาม #1 ทรงพร ขันตี #1

แบบป ร ะ เ มิน ED-GAZINE 2021 VOL.1 ทางทีมงานขอน้อมรับคำติชมและข้อเสนอแนะจาก ผู้อ่านทุกท่านเพื่อนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้นในเล่มถัดไป แ ล้ ว พ บ กั น ใ ห ม่ ใ น เ ดื อ น ธั น ว า ค ม


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook