Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore กว่าจะโตเป็นถั่วลายเสือแม่ฮ่องสอน

กว่าจะโตเป็นถั่วลายเสือแม่ฮ่องสอน

Published by phichamon231160, 2022-07-21 01:43:38

Description: ถั่วลายเสือ

Search

Read the Text Version

เรื่อง : พิชามญชุ์ บัวดี ภาพ : ญาณภัค สืบตระกูล

เรื่อง : พิชามญชุ์ บัวดี ภาพ : ญาณภัค สืบตระกูล

ต้นกำเนิดถั่วลายเสือ ถั่วลายเสือ คือ ถั่วลิสงสายพันธุ์กาฬสินธุ์ ๒ ปลูกอยู่ในพื้นที่ภาคกลางและภาคอีสาน ต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ครั้งเสด็จทรงงานโครงการ พระราชดำริในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้พระราชทาน เมล็ดพันธุ์ถั่วลายเสือแก่ชาวเขาอำเภอปางมะผ้านำไป ทดลองปลูก พบว่า ถั่วลายเสือปลูกและให้ผลผลิตได้ดีใน พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงแนะนำและส่งเสริมให้เกษตรกร ปลูกถั่วลายเสือเป็นอาชีพหลัก ๑

ฤดูกาลในการปลูก และเก็บเกี่ยวถั่วลายเสือ ช่วงที่ ๑ ปลูกช่วงเดือนเมษายน ถึงเดือน พฤษภาคม และเก็บเกี่ยวช่วงเดือน สิงหาคม ถึงเดือน กันยายน ช่วงที่ ๒ ปลูกช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกัน ยายนและเก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤศจิ กายนถึงเดือนธันวาคม ช่วงที่ ๓ ปลูกช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนม กราคม และเก็บเกี่ยวช่วงเดือน เมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ๒

ฤดูฝนนิยมปลูกบนพื้นที่สูง ๓ ฤดูแล้งนิยมปลูกบนพื้นที่ราบ

• การเตรียมเมล็ดพันธุ์ • เมล็ดพันธ์ุถั่วต้องมาจากพื้นที่ ๔ อำเภอของจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่เชื่อ ถือได้หรือมาจากแหล่งการผลิตของ เกษตรกร ที่ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์ลักษณะของเมล็ด พันธุ์ จะต้องเป็นเมล็ดที่สมบูรณ์ ไม่มีโรค และแมลงทำลาย ๔

ถั่วลากยาเสรือเปตลูรกีไยด้มดีใด นิ นดินก่ร่อวนนดปินลรู่วกนปน ทรายและดินร่วนเหนียว และต้องขุดหรือไถให้ดินร่วนซุย ประมาณ ๗ - ๑๐ วันก่อนปลูก ๕

การปลูกถั่วลายเสือ หากเป็นพื้นที่ราบ น้ำท่วมถึง ต้องทำการยกร่อง เพื่อไม่ให้น้ำท่วมขัง ป้องกันการเกิดเชื้อรา จากนั้นหยอดเมล็ดลงใน หลุมประมาณ ๒ - ๓ เมล็ด ระยะห่างระหว่างหลุม ประมาณ ๒๕ เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถว ๓๕ เซนติเมตร ๖

การดูแลรักษา การให้น้ำ หากปลูกในฤดูฝนให้ใช้ ๗ น้ำฝนเป็นหลัก หากปลูกในช่วง หลังการทำนา ให้น้ำทุก ๗ วันใน เดือนแรก หลังจากนั้นให้น้ำทุกๆ ๑๐ วันและควรงดน้ำก่อนเก็บเกี่ยว ๒๐ วัน การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยตามสภาพดิน เพื่อเป็นการเพิ่มธาตุอาหารและ ปรับปรุงคุณภาพของดิน

ก วาัรชป้พอืงชกั น ! การป้องกันวัชพืช ! มีหลายวิธี เช่น การตัด การถอน หรือการใช้สาร เคมีที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ เท่านั้น ๘

การเก็บเกี่ยว ทำได้ ๒ วิธี นั่นก็คือ… ๑.การเก็บเกี่ยวตามอาย ุอยู่ที่ ๑๐๐ - ๑๒๐ วัน หลังจากการปลูก ๒.การเก็บเกี่ยวจากการสุ่มตัวอย่างให้ทำ การสุ่มถอน เพื่อดูการแก่ของฝัก ๙

การตาก หลังจากเก็บเกี่ยวให้นำฝักถั่วลายเสือ มาตากให้แห้งประมาณ ๑๐ วัน ๑๐

การคัดคุณภาพเมล็ด นำฝักถั่วที่แห้งแล้วมาเข้าเครื่องกะเทาะ เปลือกออก แล้วคัดเมล็ดถั่วที่สมบูรณ์ ซึ่งจะต้องมีขนาดเมล็ดใหญ่ ไม่ลีบ ไม่ฝ่อ ไม่มีโรคและแมลงทำลาย ๑๑

การรับประทานถั่วลายเสือ การรับประทานถั่วลายเสือที่นิยมใน ท้องถิ่น คือ การนำมาทำเป็น ถั่วลายเสือคั่วเกลือ และ ถั่วลายเสือต้ม ถั่วลายเสือคั่วเกลือ ๑.นำถั่วลายเสือไปคั่ว ในเกลือด้วยอัตราส่วน ที่เหมาะสม ๒.ใช้เวลาคั่วประมาณ ๓ นาที หรือตามความเหมาะสม ๓.หลังจากคั่วแล้ว เทลงภาชนะเพื่อลดอุณหภูมิ ๔.คัดถั่วลายเสือที่ไหม้ออก และบรรจุลงห่อ ๑๒

การแปรรูปอื่นๆ หถนั่ลวำาลไกาปหยแเลปสาือรยรสเูปมามไนูดา้รถ เมนูพื้นบ้านสุดแซ่บ ไอศเมกนรูีเมอถ ัา่วใลจเาดย็กเสๆือ น้ำพริกคั่ว ถั่วลายเสือ จะเป็นเมนูสายสุขภาพ ๑๓ นั่นก็คือ เทมเป้ถั่วลาย เสือ

๑๔

คุณค่าทางโภชนาการ มีไขมันไม่อิ่มตัวที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โปรตีนสูง ช่วยซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ แคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูก ให้พลังงานกับร่างกายสูง มีวิตามิน B บำรุงสมอง อุดมด้วยแร่ธาตุต่างๆ เช่น สังกะสี แมกมีเซียม เหล็ก ๑๕

เล่าเรื่อง โดย นางสาว พิชามญชุ์ บัวดี ชื่อเล่น “ปริ้นเซส” ปัจจุบันศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน นักวาดภาพ โดย นางสาว ญาณภัค สืบตระกูล ชื่อเล่น “ฟิล์ม” ปัจจุบันศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน ___________________________ _ ___________________________ ๑๖ ___________________ ___________________


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook