Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Management Mind EP1_63

Management Mind EP1_63

Published by Charan ya, 2020-02-06 03:58:53

Description: Management Mind EP1_63

Search

Read the Text Version

เอกสารความรู้ฉบับท่ี 2/2563 ชุดนี้ช่ือเรื่อง Management Mind for Modern Executive โดยจัดเน้ือหาออกเป็น 3 ตอน โดยฉบับน้ีเป็น EP.1 Knowledge Sharing ได้รวบรวมจากคาบรรยาย และประสบการณ์ ผบู้ ริหารทถ่ี ่ายทอดผ่านโครงการศึกษาอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร ระดับสูงของกระทรวงมหาดไทยเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ประจาปี งบประมาณ พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นลักษณะการแบ่งปันความรู้ การถ่ายทอด ประสบการณ์และนาข้อมูลมาแลกเปลย่ี นซึง่ กันและกนั วัตถปุ ระสงค์ 1) เพอื่ สร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกัน และสามารถนาไปประยุกต์ใช้ ในการทางาน ตลอดจนการดาเนินชีวิต และการวางตนให้เหมาะสม ในฐานะผู้บรหิ ารระดบั สงู 2) เพื่อเป็นองค์ความรู้เพ่ือส่งเสริมและสนับสนุนการทางานผู้บริหาร ระดับสูงของกระทรวงมหาดไทยเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศและเป็นผู้บริหาร ยุคใหม่ที่มีศักยภาพสูง ให้สามารถขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์กระทรวงมหาดไทย พร้อมตอบสนองภารกิจ ของกระทรวงมหาดไทยในการบาบัดทุกข์ บารุงสุข เพื่อสู่คุณภาพชีวิตที่ดี ของประชาชน รวมท้ังก่อให้เกิดประโยชน์สุขท้ังในระดับพ้ืนท่ี องค์การ และประเทศชาติต่อไปให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ประเทศไทย “ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งค่ัง ย่ังยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนา ตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยประกอบด้วยประสบการณ์ ผ้บู ริหาร ดังตอ่ ไปนี้  นายพงศโ์ พยม วาศภูติ ผู้ทรงคณุ วุฒิ ในหัวข้อ “ยุทธศาสตรช์ าติ”

 นายวบิ ูลย์ สงวนพงศ์ ผทู้ รงคุณวฒุ ิ ในหัวข้อ “Meet & Share”  นายสุรอรรถ ทองนริ มล ผทู้ รงคณุ วุฒิ ในหัวข้อ “ประสบการณใ์ นตาแหน่งผู้วา่ ราชการจังหวัด”  นายสาโรช คชั มาตย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ในหัวข้อ “ประสบการณ์และแนวทางการปฏิบัติราชการของ ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงมหาดไทย”  ร.ต.ท. อาทิตย์ บญุ ญะโสภัต อธบิ ดกี รมการปกครอง ในหัวข้อ “เทคนิคการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลในพ้ืนที่ ใหส้ มั ฤทธ์ผิ ล”  นายปวิณ ชานปิ ระศาสน์ รองปลดั กระทรวงมหาดไทย ในหวั ขอ้ “ประสบการณ์นกั บรหิ าร”  นายบญุ ธรรม เลิศสขุ เี กษม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในหวั ขอ้ “ผวู้ ่าราชการจังหวดั : ความคาดหวงั ของประชาชน”  นายธนาคม จงจิระ รองปลดั กระทรวงมหาดไทย ในหัวขอ้ “ประสบการณน์ กั ปกครอง”  นายพรพจน์ เพ็ญพาส รองปลดั กระทรวงมหาดไทย ในหวั ขอ้ “การเพ่ิมประสิทธภิ าพในการบริหารงานจงั หวดั ” ท้ังน้ีเอกสารความรู้ฉบับน้ีได้จัดเก็บรวบรวมไว้ในระบบคลังความรู้ ของสถาบันดารงราชานุภาพ สานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย www.stabundamrong.go.th เพือ่ เปน็ ประโยชน์ในการสบื ค้นตอ่ ไป กลมุ่ งานพฒั นาและบริหารจดั การความรู้ สถาบันดารงราชานภุ าพ สป.

ยทุ ธศาสตรช์ าติ 1 นายพงศโ์ พยม วาศภตู ิ ผ้ทู รงคณุ วฒุ ิ Meet & Share 24 นายวบิ ลู ย์ สงวนพงศ์ ผู้ทรงคณุ วุฒิ ประสบการณ์ในตาแหน่งผู้ว่าราชการจงั หวัด 33 นายสุรอรรถ ทองนริ มล ผทู้ รงคณุ วฒุ ิ ประสบการณแ์ ละแนวทางการปฏิบตั ริ าชการ 40 ของผู้บริหารระดับสูงกระทรวงมหาดไทย นายสาโรช คัชมาตย์ ผ้ทู รงคุณวฒุ ิ เทคนิคการขบั เคล่ือนนโยบายรัฐบาล ในพน้ื ท่ใี ห้สัมฤทธผ์ิ ล 46 ร.ต.ท. อาทติ ย์ บุญญะโสภัต อธิบดกี รมการปกครอง

50 ประสบการณน์ ักบริหาร นายปวณิ ชานปิ ระศาสน์ รองปลดั กระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวดั : 54 ความคาดหวังของประชาชน นายบญุ ธรรม เลิศสุขเี กษม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ประสบการณ์นกั ปกครอง 65 นายธนาคม จงจิระ รองปลดั กระทรวงมหาดไทย การเพมิ่ ประสิทธิภาพ 74 ในการบริหารงานจังหวดั นายพรพจน์ เพญ็ พาส รองปลดั กระทรวงมหาดไทย

ยทุ ธศาสตรช์ าติ นายพงศโ์ พยม วาศภตู ิ ผ้ทู รงคุณวฒุ ิ ประเดน็ ความท้าทาย ประเดน็ ท้าทายในการเผชิญการเปล่ยี นแปลงของโลก  การวางวิสัยทศั น์ประเทศ ระยะสน้ั ระยะกลางและระยะยาวให้เหมาะสม  การสร้างชาติให้ ม่นั คง มั่งค่ัง ยัง่ ยนื เปน็ ประเทศที่เจริญแลว้  การปฏิรูปสสู่ ังคมแหง่ การเรยี นรู้ และการสร้างความเข้มแข็ง  การบริหารท่ามกลางวธิ คี ิดและวธิ ีดาเนนิ ชวี ติ ของผูค้ นทีเ่ ปล่ยี นแปลงไปจากเดิม  การตอ่ ส้โู ลกไร้พรหมแดน เศรษฐกจิ สงั คม การเมือง การทหาร  การรับมือกับความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Technology Disruption)  การดแู ลสิ่งแวดลอ้ มและการหลบรอดภัยธรรมชาตขิ นาดใหญ่  การแย่งชิงอานาจรฐั การเอาชนะ แบ่งฝักแบ่งฝ่ายโดยดึงการเมืองภายนอก ประเทศเขา้ มาเกยี่ วข้อง

ประเดน็ ทา้ ทายการบรหิ ารงานภาครัฐ  ธรรมาภบิ าล  ประสทิ ธิภาพ  คุณภาพ  การมีสว่ นร่วม  การตอบสนองรวดเรว็  การยดึ หลักกฎหมาย  ความโปร่งใส  ประสิทธผิ ล  คมุ้ คา่ เงนิ งบประมาณ  การตรวจสอบตดิ ตาม  การกระจายอานาจ  การบรู ณาการ เราจงึ ตอ้ งการวสิ ัยทัศน์ แผนงาน และระบบการดาเนนิ งานท่ดี ี รวมทั้ง ผมู้ ีความรูค้ วามสามารถในการพิจารณาจดั ทานโยบายสาธารณะ อย่างรอบคอบเพื่อประโยชน์ของบา้ นเมอื งและประชาชน

กฎหมาย พ.ร.บ. การจดั ทายุทธศาสตรช์ าติ พ.ร.บ. การจดั ทายุทธศาสตรช์ าติ 26 ก.ค. 2560 (ตาม ม.65) 26 ก.ค. 2560 (ตาม ม.65)

ยทุ ธศาสตรช์ าติ 20 ปี ( พ.ศ. 2561 – 2580) เม่ือวันที่ 8 ตุลาคม 2561 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) มีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ และได้เผยแพร่ใน ราชกจิ จานเุ บกษา เลม่ 135 ตอนท่ี 82 ก เม่อื วนั ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2561 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 65 ได้บัญญัติให้ รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างย่ังยืน ตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทาแผนต่างๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกัน เพ่ือให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่ เป้าหมายดังกล่าว และต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการจัดทา ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 โดยกาหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ รับผิดชอบในการจัดทายุทธศาสตร์ชาติ และเมื่อได้รับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนาข้ึน ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เพื่อมีพระบรมราชโองการประกาศใช้เป็น ยทุ ธศาสตรช์ าติตอ่ ไป



ดังนั้น หน่ว ยงานของรัฐ จึงมีหน้าที่ตามพระราช บัญญัติ การจัดทายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 ได้แก่  หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยมีหน้าที่ดาเนินการเพื่อให้บรรลุ เปา้ หมายตามทก่ี าหนดไวใ้ นยุทธศาสตรช์ าติ (มาตรา 5 วรรคสอง)  ให้ความรว่ มมอื สานกั งานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะเลขานุการฯ ในการประสานงานเก่ียวกับการดาเนินการ ตามพระราชบัญญัติการจัดทายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 (มาตรา 22 (3))  ให้หน่วยงานของรัฐรายงานผลการดาเนินการดังกล่าวต่อสานักงาน ภายในเวลาและตามรายการ ทส่ี านกั งานกาหนด (มาตรา 24)  หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนแม่บท ยุทธศาสตร์ รวมทั้งการจัดทางบประมาณรายจ่ายประจาปีงบประมาณ ตอ้ งสอดคล้องกบั แผนแมบ่ ทด้วย (มาตรา 10 (3))

 ดาเนินการแกไ้ ขกรณีความปรากฏว่า การดาเนินการใดของหน่วยงาน ของรฐั ไมส่ อดคล้องกบั ยุทธศาสตร์ชาติหรือ แผนแมบ่ ท (มาตรา 26) ยทุ ธศาสตรช์ าติ 20 ปี แผนแม่บทภายใต้ยทุ ธศาสตรช์ าติ แผนระดับท่ี 3 แผนปฏบิ ตั ิการ การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล

ระดับของแผนสามารถจาแนกออกเป็น 3 ระดบั ไดแ้ ก่ แผนระดบั ท่ี 1 ยทุ ธศาสตร์ชาติเป็นเปา้ หมายการพฒั นาประเทศ อย่างยงั่ ยืนตามหลกั ธรรมาภิบาลเพือ่ ใชเ้ ป็นกรอบในการจัดทาแผนตา่ งๆ ให้มีความสอดคล้องกนั และบูรณาการกนั แผนระดับท่ี 2 เป็นแนวทางการขับเคล่ือนประเทศในมิติต่างๆ เพ่ือบรรลตุ ามเป้าหมายของยทุ ธศาสตรแ์ ละถ่ายทอดไปส่แู นวทางในการปฏิบัติ ประกอบด้วย 4 แผน ได้แก่ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและ นโยบายและแผนระดับชาติว่าดว้ ยความมน่ั คงแห่งชาติ แผนระดับท่ี 3 เป็นแผนในเชิงปฏิบัติที่มีความชัดเจนตามภารกิจ ของส่วนราชการที่สอดคล้องและสนับสนุนการดาเนินงานของแผนระดับท่ี 1 และระดับที่ 2 หรือจัดทาขึ้นตามที่กฎหมายกาหนด หรือจัดทาขึ้น ตามพนั ธกรณีหรืออนุสญั ญาระหว่างประเทศ แผนงานโครงการของหน่วยงาน ของรัฐจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตาม แผนแม่บทยุทธศาสตร์ รวมทั้ง การจัดทางบประมาณรายจ่าย ป ร ะ จ า ปี ง บ ป ร ะ ม า ณ ต้ อ ง สอดคลอ้ งกบั แผนแมบ่ ทดว้ ย

การดาเนินงานเพื่อตอบสนอง การสร้างรายได้ให้กับประเทศ รองรับการเจริญเติบโต ดูแล และยกระดับ รวมถึงการแก้ไข ปั ญ ห า พ้ื น ฐ า น ใ น ด้ า น ต่ า ง ๆ ของประเทศ การพัฒนาประเทศในระยะเวลา 20 ปี ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติน้ัน จะมุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่าง การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม โดยประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ชาติ 6 ยุทธศาสตร์ ไ ด้ แ ก่ ยุ ท ธ ศ า ส ต ร์ ช า ติ ด้ า น ความมั่นคง ยุทธศาสตร์ชาติด้าน การสรา้ งความสามารถในการแข่งขนั ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนา และเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้าง โอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้าง การเติบโตบนคุณภาพชีวิตท่ีเป็นมิตรต่อส่ิงแวดล้อม และยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการปรบั สมดุลและพฒั นาระบบการบรหิ ารจัดการภาครัฐ

ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง มีเป้าหมายการพัฒนาที่สาคัญ คือ ประเทศชาติมั่นคง ประชาชน มีความสุข โดยประเด็นยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมน่ั คง ประกอบดว้ ย 5 ประเด็น ได้แก่  การรักษาความสงบภายในประเทศ เพ่ือเสริมสร้างความสงบเรียบร้อยและสันติสุข ให้เกิดข้นึ กบั ประเทศชาติ  ก าร ป้ อ งกั น แ ละ แ ก้ไ ข ปั ญห า ที่ มี ผลกระทบต่อความม่ันคง เพ่ือเป็นการแก้ไข ปัญหาเดิม พร้อมกับป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาใหม่ เกดิ ขึ้น  การพัฒนาศักยภาพของประเทศให้ พร้อมเผชิญหน้าภยั คุกคามทกี่ ระทบต่อความ ม่ันคงของชาติ เพื่อยกระดับขีดความสามารถของกองทัพและหน่วยงาน ด้านความม่นั คง  การบูรณาการความร่วมมือด้านความมั่นคงกับอาเซียนและ นานาชาติ รวมถึงองค์การภาครัฐและที่มิใช่ภาครัฐ เพื่อสร้างเสริมความ สงบสุข สันติสุข ความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศชาติ ภูมิภาค และโลกอยา่ งยั่งยืน

 การพัฒนากลไกการบริหารจัดการความม่ันคงแบบองค์รวม เพอ่ื ใหก้ ลไกสาคญั ต่างๆ สามารถทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้ หลักธรรมาภบิ าล และการบังคับใช้กฎหมายอยา่ งเคร่งครัด ยุ ท ธ ศ า ส ต ร์ ช า ติ ด้ า น ก า ร ส ร้ า ง ค ว า ม ส า ม า ร ถ ใ น ก า ร แ ข่ ง ขั น มีเป้าหมายการพัฒนาที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของ ประเทศ ในหลากหลายมิติ โดยมีเป้าหมายคือ ต่อยอดอดีต ปรับปัจจุบัน สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต โดยประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้าง ความสามารถในการแขง่ ขัน ประกอบด้วย 5 ประเดน็ ได้แก่  เกษตรสร้างมูลค่า ให้ความสาคัญกับการเพ่ิมผลิตภาพการผลิต ทัง้ เชิงปริมาณและมูลคา่  อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต โ ดยส ร้าง อุตส าหกร รมแ ละบ ริกา ร แห่งอนาคตท่ีขับเคล่ือนประเทศไทยไปสู่ ประเทศท่ีพัฒนาแล้วด้วยนวัตกรรมและ เทคโนโลยีแหง่ อนาคต  สร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว โดยการรักษาการเป็น เปา้ หมายท่ีสาคญั ของการท่องเทย่ี วระดบั โลกทีด่ งึ ดูดนักท่องเท่ียวทุกระดับ และเพม่ิ สดั ส่วนของนักท่องเท่ียวทม่ี คี ณุ ภาพสูง

 โครงสร้างพ้ืนฐาน เชื่อมไทย เช่ือมโลก ครอบคลุมถึงโครงสร้าง พื้นฐานทางกายภาพในด้านโครงข่ายคมนาคมเช่ือมโยงพื้นที่เมือง รวมถึง เทคโนโลยี ตลอดจนโครงสร้างพ้ืนฐานทางเศรษฐกิจ  พฒั นาเศรษฐกจิ บนพ้ืนฐานผปู้ ระกอบการยุคใหม่ สร้างและพัฒนา ผู้ประกอบการยุคใหม่ ที่มีทักษะและจิตวิญญาณของการเป็น ผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการแข่งขันและมีอตั ลักษณท์ ี่ชัดเจน ยทุ ธศาสตรช์ าติดา้ นการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมายการพัฒนาท่ีสาคัญเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัย ใหเ้ ปน็ คนดี เกง่ และมีคณุ ภาพสาหรับวถิ ีชีวติ ในศตวรรษที่ 21ประกอบดว้ ย7ประเดน็ ได้แก่  การปรับเปล่ียนค่านิยมและวัฒนธรรม มุ่งเน้นให้สถาบันทางสังคมร่วมปลูกฝัง ค่านิยมและวฒั นธรรมทีพ่ ึงประสงค์  การพัฒนาศักยภาพคนตลอด ช่ ว ง ชี วิ ต มุ่ ง เ น้ น ก า ร พั ฒ น า ค น เชิงคุณภาพในทุกชว่ งวยั  ป ฏิ รู ป ก ร ะ บ ว น ก า ร เ รี ย น รู้ ที่ตอบสนองต่อการเปล่ียนแปลงในศตวรรษท่ี 21 มุ่งเน้นผู้เรียนให้มี ทักษะการเรยี นรู้และมีใจใฝ่เรยี นรู้ตลอดเวลา

 การตระหนกั ถึงพหปุ ัญญาของมนุษย์ท่ีหลากหลาย เช่น การพัฒนา พหุปญั ญาผ่านครอบครวั ระบบสถานศึกษา สภาพแวดลอ้ ม เป็นต้น  การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี ครอบคลุมทั้งด้านกาย ใจ สตปิ ัญญาและสังคม  การสรา้ งสภาพแวดล้อมที่เอือ้ ต่อการพัฒนาและเสรมิ สรา้ งศักยภาพ ทรัพยากรมนษุ ย์  การเสริมสร้างศักยภาพการกีฬาในการสร้างคุณค่าทางสังคมและ พฒั นาประเทศ ให้เกดิ เป็นกีฬาสร้างคณุ คา่ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม มีเป้าหมายคือ ดึงเอาพลังของภาคส่วนต่างๆ ท้ังเอกชน ประชาสังคม ชมุ ชนท้องถ่นิ มาร่วมขบั เคลื่อน ประกอบด้วย 4 ประเดน็ ไดแ้ ก่

 การลดความเหลอื่ มลา้ สร้างความเป็นธรรมในทุกมติ ิ  การกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคมและ เทคโนโลยี  การเสริมสร้างพลังทางสังคม สร้างสังคมที่เข้มแข็ง พร้อมรองรับ สงั คมผู้สูงอายุอยา่ งมคี ุณภาพ  การเพ่ิมขีดความสามารถของชุมชนท้องถ่ินในการพัฒนา การพ่ึงตนเองและการจดั การตนเอง ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตท่ีเป็นมิตร ต่อส่ิงแวดล้อม มีเป้าหมายคือ การพัฒนาเพ่ือนาไปสู่การบรรลุเป้าหมาย การพัฒนาท่ีย่ังยืนในทุกมิติ โดย การสรา้ งการเตบิ โต อยา่ งสมดุล และ ย่ังยนื ประกอบดว้ ย 6 ประเดน็ ไดแ้ ก่  สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน บนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว เช่น เพ่ิมมูลค่าของเศรษฐกิจฐานชีวภาพ อ นุ รั ก ษ์ แ ล ะ ฟ้ื น ฟู แ ม่ น้ า ล า ค ล อ ง แหล่งนา้ ธรรมชาติทวั่ ประเทศ เป็นต้น  สร้างการเติบโตอย่างย่ังยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล เช่น เพ่ิม มูลค่าของเศรษฐกิจฐานชวี ภาพทางทะเล ฟน้ื ฟชู ายหาดทีเ่ ป็นแหล่งท่องเท่ยี ว เปน็ ตน้

 สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมท่ีเป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ เช่น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งเป้าสู่การลงทุนท่ีเป็นมิตรต่อสภาพ ภูมิอากาศในการพฒั นาโครงสร้างพนื้ ฐานของภาครฐั และภาคเอกชน เปน็ ต้น  พัฒนาพ้ืนที่ มีการพัฒนาพื้นท่ีเมือง ชนบท เกษตรกรรมและ อตุ สาหกรรมเชิงนิเวศ มงุ่ เนน้ ความเปน็ เมืองที่เติบโตอยา่ งย่ังยนื  พัฒนาความม่ันคง มีการพัฒนาน้า พลังงาน และเกษตรท่ีเป็นมิตร ตอ่ สง่ิ แวดล้อม  ยกระดับกระบวนทัศน์ เพ่ือกาหนดอนาคตประเทศ เช่น พัฒนา เคร่ืองมอื กลไกและระบบยุตธิ รรม และระบบประชาธปิ ไตยสง่ิ แวดล้อม เปน็ ต้น ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหาร จัดการภาครัฐ มีเป้าหมายคือ เพ่ือปรับเปล่ียนภาครัฐที่ยึดหลัก “ภาครัฐ ของประชาชน เพื่อประชาชน และประโยชน์ ส่วนรวม” ประกอบด้วย 8 ประเดน็ ไดแ้ ก่  ภาครฐั ทยี่ ึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตอบสนองความตอ้ งการของประชาชนและ ให้บริการอยา่ งสะดวก รวดเร็ว และโปรง่ ใส  ภาครัฐบริหารงานแบบูรณาการ โดยมียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายและ เ ชื่ อ ม โ ย ง ก า ร พั ฒ น า ใ น ทุ ก ร ะ ดั บ ทกุ ประเด็น ทุกภารกิจและทกุ พน้ื ที่

 ภาครัฐมีขนาดเล็กลงเหมาะสมกับภารกิจส่งเสริมให้ประชาชนและ ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ พร้อมปรับตัวให้ทันต่อ การเปลี่ยนแปลง  ภาครฐั มคี วามทันสมยั เชน่ องค์การภาครฐั มีความยืดหยุ่นเหมาะสม กับบริบทการพัฒนาประเทศ พัฒนาและปรับระบบวิธีการปฏิบัติราชการ ให้มีความทนั สมยั เป็นตน้  บุคลากรภาครัฐ บุคลากรภาครัฐเป็นคนดีและเก่ง ยึดหลักคุณธรรม จรยิ ธรรม มจี ติ สานกึ มีความสามารถสงู มงุ่ มั่น และเปน็ มอื อาชีพ  ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ เช่น ประชาชนและภาคีต่างๆ ในสังคมร่วมมือกันในการป้องกันการทุจริตและ ประพฤติมิชอบ บุคลากรภาครัฐยึดมั่นในหลักคุณธรรม จริยธรรมและ ความซือ่ สตั ย์ เป็นตน้  กฎหมายมีความสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทต่างๆ และมีเท่าที่ จาเป็น เช่น ภาครัฐจัดให้มีกฎหมายที่สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทต่างๆ ท่ีเปลี่ยนแปลง มีกฎหมายเท่าที่จาเป็น การบังคับใช้กฎหมายอย่างมี ประสิทธภิ าพ เป็นต้น  กระบวนการยุติธรรมเคารพสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติต่อประชาชน โดยเสมอภาค เพือ่ ประโยชน์สว่ นรวมของประเทศ

เป้าหมายของ ก.พ.ร. เพ่ือรองรับต่อยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ภาครัฐหรือ ระบบราชการจะตอ้ งทางานโดยยดึ หลักธรรมาภบิ าลของการบริหารกิจการ บ้านเมืองทีด่ ีเพ่อื ประโยชนส์ ขุ ของประชาชน หมายความว่า ระบบราชการ ต้องปรับเปล่ียนแนวคิดและวิธีการทางานใหม่เพ่ือพลิกโฉม (Transform) ใหส้ ามารถเป็นทเี่ ชื่อถือไว้วางใจและเป็นท่ีพ่ึงของประชาชนได้อย่างแท้จริง (Credible and Trusted Government) ดงั แผนภาพ ต่อไปน้ี ภาครัฐท่ีเปิดเผยและ เช่ือมโยงกัน ภาครฐั ทย่ี ึด ภาครัฐที่เฉลยี วฉลาด ประชาชนเป็น และมผี ลสัมฤทธิ์สงู ศูนย์กลาง เปา้ หมายของสานกั งานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พร.) สามารถจาแนกเปา้ หมาย ได้ดงั นี้

 จะต้องมีการเปิดกว้างและเช่ือมโยงกัน โดยต้องมี การเปิดเผยโปร่งใสในการทางาน โดยบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารของทางราชการหรือมกี ารแบ่งปนั ข้อมูลซึ่งกนั และกัน  การทางานในเชิงรุกและมองไปข้างหน้า โดยตั้งคาถาม เสมอว่า ประชาชนจะได้อะไร มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาและ ตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยไม่ต้องรอให้ ประชาชนมาขอความช่วยเหลือ พร้อมท้ังจัดบริการ สาธารณะทต่ี รงกบั ความตอ้ งการของประชาชน  จะต้องมีการทางาน ท่ีมขี ดี สมรรถนะสูงและทันสมัย มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง เพ่ือเตรียมการล่วงหน้า สร้างนวัตกรรมหรือความคิดริเร่ิม และประยุกต์องค์ความรู้ท่ีเป็นสหวิชาเข้ามาใช้ในการตอบโต้ กับโลกแหง่ การเปล่ียนแปลงอยา่ งฉบั พลนั

คตขิ องผใู้ หญใ่ นมหาดไทย ภมู ิวุฒิ เปน็ การขวนขวายหาความรู้ในสาขาวชิ าต่างๆอยา่ งสม่าเสมอ ภูมิธรรม การท่ีมีธรรมอยู่ในใจ ปฏิบัติราชการโดยอาศัยหลักความ ถกู ต้องเปน็ ธรรม มคี ุณธรรมประจาใจ ภมู ฐิ าน เป็นสงิ่ ท่ีผูด้ ารงตาแหนง่ ผูน้ าสูงสดุ จะละเลยไมไ่ ด้ จะต้องรักษา ไม่ว่าจะเป็นด้านบุคลกิ ภาพและทว่ งทวี าจา

ภาวะผู้นา  มีคุณธรรม จรยิ ธรรม ความสจุ ริต  กลา้ ยนื หยดั กลา้ รับผิดชอบ  กล้าตดั สินใจ  ยตุ ธิ รรม  เขม้ งวด แต่มเี มตตา  คาดการณเ์ ก่ง เห็นอนาคต  มองภาพแบบองค์รวม  รจู้ ักใช้คน ใหค้ วามสาคัญต่อข้อมูล ข่าวสาร  มคี วามชัดเจนในการสอื่ สาร สัง่ การ

ผูว้ ่าราชการจังหวดั กับ คนและงาน ผ้วู ่าราชการจงั หวัดกับคนและงาน ดูแลภูมิวฒุ ิ ภูมธิ รรม ภมู ิฐานของตน ระมัดระวงั บุคลิกลักษณะ ทว่ งที วาจาและมารยาทในสงั คม ตรงต่อเวลา ไม่จาเป็นต้องเปน็ ผู้นาตลอดเวลา ทุกคนทกุ ฝ่ายมศี กั ด์ิศรดี ้วยกันทั้งสิ้น ใช้เวลาและสาระในการประชมุ ให้เหมาะสม ดแู ลรองผู้วา่ ราชการจังหวดั หวั หนา้ ส่วนราชการและทางานเป็นทีม ดูแลเร่ืองเงิน เวลาใช้ลกู นอ้ งทางาน ใช้เงินสว่ นลดสลากกินแบ่งใหเ้ หมาะสม ข้อมูลขา่ วสารและความรวดเร็วถกู ตอ้ งในการตอบสนอง สนใจ จรงิ ใจในการแก้ไขปญั หาความเดือดร้อนของประชาชน งานสงั คม งานมวลชน สาคญั ไม่แพ้งานราชการ

การใชช้ วี ิตส่วนตัว  แบง่ เวลาให้เหมาะสม  จดั ระบบใหส้ ามารถตามตัวได้เสมอ  ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง  ระมัดระวงั อุบัติเหตุ/เหตุร้ายตา่ งๆ  พอเพยี ง ไมป่ ระมาท มีภูมิคุ้มกัน อันตรายของชีวติ ขา้ ราชการ  หนีส้ ิน  การพนัน  การทุจรติ ประพฤติมชิ อบ  สุรา / ยาเสพตดิ  เร่ืองเกีย่ วกับเพศ  วินยั อืน่ ๆ

หนทางเจริญก้าวหน้าในชีวิตราชการ  พัฒนาตนเองอย่เู สมอ  ดูแล image ของตน  รู้ จังหวะ เวลา สถานท่ี  มีมนษุ ยสมั พันธ์  คนสุภาพไดเ้ ปรยี บ  ตรงต่อเวลา  นกั วชิ าการอยไู่ ด้ทุกยุคสมยั  คนซือ่ สัตยส์ ุจริตไดร้ ับยกย่องยาวนาน  สร้างผลงาน ระบบงาน คนดแี ละเก่ง  หากชีวิตไม่เป็นดงั หวัง ก็ต้อง... “เข้าใจหลักความจริงแห่งชีวิตและวิถีความเป็นไป ของโลก (The Way Things Are)”

“Meet & Share” นายวบิ ูลย์ สงวนพงษ์ ผทู้ รงคณุ วุฒิ “ต้องรูต้ วั ” ต้ อ ง รู้ ตั ว ว่ า ต น เ อ ง เ ป็ น อ ะ ไ ร เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด หรือเป็นผู้ตรวจ ราชการกระทรวง ซ่ึงต้องรู้มาตรฐานกาหนด ต า แ ห น่ ง อ า น า จ ห น้ า ท่ี ต า ม ก ฎ ห ม า ย พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ร ว ม ถึ ง ต้ อ ง รู้ ก า ร บ ริ ห า ร ร า ช ก า ร ส มั ย ใ ห ม่ บริหารงานด้วยงาน งบ ระบบ คน บนพ้ืนฐาน ขอ งพ ระ ร าช กฤ ษ ฎีก าว่ า ด้ว ยห ลั กเ กณ ฑ์แ ล ะวิ ธีก า รบ ริห า รกิ จก า ร บ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ที่สาคัญ “ต้องรู้ตัว” รู้หน้าท่ีท่ีแท้จริงของตน รู้ว่าตน ได้ทาอะไรมาบ้างแล้ว และต้องรู้ว่าใช้ความรู้ความสามารถท่ีมีอยู่ในตัวอะไรบ้าง ทจ่ี ะทางานใหบ้ รรลเุ ปา้ หมายต่อไป

ตามพ.ร.บ.ระเบยี บบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 35 กระทรวง ทบวง หรือกรมใดโดยสภาพและปริมาณของงานสมควร มีผู้ตรวจราชการของกระทรวง ทบวง หรือกรมนน้ั ก็ให้กระทาได้ ผู้ตรวจราชการของกระทรวง ทบวง หรือกรม มีอานาจหน้าที่ตรวจ และ แนะนาการปฏิบัติราชการอันเกี่ยวกับกระทรวง ทบวง หรือกรมนั้นให้เป็นไปตาม กฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับของกระทรวง ทบวง หรือกรม หรือมติของ คณะรัฐมนตรี หรอื การส่ังการของนายกรฐั มนตรี มาตรา 54 ในจังหวัดหนึ่ง ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดคนหน่ึงเป็นผู้รับนโยบายและ คาส่ังจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรีกระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องท่ีและประชาชน และเป็นหัวหน้าบังคับ บัญชาบรรดาขา้ ราชการฝ่ายบริหาร ซ่ึงปฏิบัติหน้าท่ีในราชการส่วนภูมิภาคในเขต จังหวัด และรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอาเภอ และจะให้มีรองผู้ว่าราชการ จังหวัด หรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือทั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ช่วย ผวู้ า่ ราชการจงั หวัดเปน็ ผ้ชู ว่ ยสง่ั และปฏิบตั ริ าชการแทนผูว้ ่าราชการจังหวดั กไ็ ด้ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชา ข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการ รองจากผวู้ ่าราชการจงั หวดั ผวู้ า่ ราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจงั หวัด และผูช้ ่วยผวู้ ่าราชการจงั หวัด สงั กดั กระทรวงมหาดไทย การเปลี่ยนแปลงขอบเขตและคุณภาพงานของผู้วา่ ราชการจังหวัด ในการบูรณาการเพ่อื สรา้ งความสาเรจ็ ในการบรหิ ารราชการจงั หวดั

- การรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพยส์ นิ ของประชาชน - การเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนและชุมชนให้มีความพร้อม ในการป้องกันสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้น และการอานวยการเพื่อช่วยเหลือ ผู้ประสบภยั - การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและอานวยความเป็นธรรมให้กับ ประชาชนผ่านกลไกศนู ยด์ ารงธรรมจงั หวดั - การป้องกันและแก้ไขปญั หายาเสพติด - การปราบปราม ปอ้ งกันการกระทาความผดิ เกยี่ วกบั การค้ามนุษย์ - ยทุ ธศาสตรช์ าติ 20 ปี - แผนพัฒนาฯ ฉบบั ที่ 12 - แผนปฏิรูปประเทศ - กลไกในการพฒั นาระดับพนื้ ท่ี - ขอ้ ส่งั การนายกรฐั มนตรีทสี่ าคญั การบริหารราชการท่ีดีต้องนาหลักทฤษฎี POSDCoRB มาประยุกต์ใช้ พร้อมกับยึดหลักธรรมาภิบาล (การบริหาร กิจการบ้านเมืองท่ีดี) ตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วย ห ลั ก เ ก ณ ฑ์ แ ล ะ วิ ธี ก า ร บ ริ ห า ร กิ จ ก า ร บ้ า น เ มื อ ง ที่ ดี พ.ศ. 2546 มีหลักสาคัญ  ประการ ดังน้ี  หลักนิติธรรม  หลักคุณธรรม  หลักความโปร่งใส  หลักการ มีสว่ นร่วม  หลกั ความรับผิดชอบ  หลกั ความคุ้มคา่

เช่น งานมหาดไทย งานรัฐบาล งานกระทรวง ทบวง กรม งานส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น งานของพื้นท่ีจังหวัด กลุ่มจังหวัด ภาค งานตาม อานาจหน้าท่ี ตามกฎหมาย ผูน้ าทางสังคม ฯลฯ ย ก ตั ว อ ย่ า ง ง า น ส า คั ญ อ ย่ า ง ห น่ึ ง ข อ ง ผู้ว่าราชการจังหวัด คือ งานป้องกันสาธารณภัย อุทกภัย อัคคีภัย ซ่ึงเป็นงานเร่งด่วน การแก้ไขปัญหา ต้องรวดเร็ว ฉับพลัน เพื่อแก้ไขปัญหาให้ทันท่วงที แต่ต้องอาศัยเครื่องมือเป็นพื้นฐานในการประกอบ การพิจารณาในการตัดสินใจ สั่ง ก า ร ห รื อ ท า งา น เ ช่ น การใช้ภาพถ่าย ภาพถ่ายทาง อากาศ เป็นตน้

เช่น งบประมาณของราชการ เงินจากสาธารณะกุศล เงินบริจาค เอกชน งบประมาณ เป็นเร่ืองท่ีสาคัญที่สุด ต้องบริหารงบประมาณให้มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถตรวจสอบได้ มีความโปร่งใส การเสนอ ของบประมาณต้องทาอย่างตรงไปตรงมา และระมัดระวังให้มาก โดยการทา โครงการในแตล่ ะข้ันตอนจะตอ้ งเกิดผลสาเรจ็ และสามารถขยายผลตอ่ ได้ เช่น โครงสร้าง การจัดองค์กร การแบ่งงาน มอบงาน กฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆกระบวนการทางาน การบริหารงาน (POSDCoRB) หลักธรรมาภิบาล ล้วนมีความสาคัญย่ิงต่อการบริหารราชการ ซ่ึงเป็น ส่วนประกอบท่ีจะทาให้การบริหารราชการ มีประสทิ ธภิ าพ มีความสาเร็จในงาน และบรรลุ เป้าหมาย เ ช่น ตั ว เ รา เอ ง คน ใก ล้ชิ ด ผู้บังคับบัญชา เพ่ือนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา เอกชน ประชาชน สื่อมวลชน กระบวนการ บริหารงานบุคคลท่ีต้องรับผิดชอบ จาเป็นต้อง อาศัยการมีส่วนร่วม การบูรณาการ เช่ือมโยงซึ่งกันและกัน ประกอบกับการสร้าง แรงจูงใจ เพื่อผลักดันให้คนในองค์กรมีความรัก เอาใจใส่ในงานท่ีทา มีความ รบั ผิดชอบ มุ่งม่ันในการทางาน อันสง่ ผลให้งานบรรลผุ ลสาเร็จ การวางแผนการทางาน โดยการใช้เทคโนโลยีเพ่ือเพิ่มประสิทธิภาพของ การทางาน การจัดระบบการทางานที่สอดประสานระหว่างหน่วยงาน การมี เจ้าภาพหลัก เจ้าภาพรอง แบ่งงานกันชัดเจน มีศูนย์บัญชาการ คอยช่วยเหลือ และสนบั สนนุ การทางาน

ก า ร บ ริ ห า ร ค น เ ป็ น เ ร่ื อ ง ส า คั ญ ก า ร เ ลื อ ก ค น ท่ี ม า ท า ง า น ต้ อ ง เ ลื อ ก ค น ทีเ่ หมาะสม ต้องเป็นผู้ท่ีมีความรู้ ความสามารถ มีจิตใจดี และมีสุขภาพดี และไม่ว่าจะเป็น ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา ประชาชน ส่ือมวลชน ผู้นาต่างๆ ในพ้ืนที่ หรือ ต น เ อ ง ต้ อ ง เ รี ย น รู้ ก า ร อ ยู่ ร่ ว ม กั น สร้างสัมพันธไมตรีต่อกัน ผู้บริหารต้องใช้กลยุทธ์ ในการบริหารคน ทาอย่างไรให้คนอยากทางาน รักในงานท่ีทา สร้างวัฒนธรรมในองค์กร ซึ่งนอกจากนี้แล้ว ผู้บริหารต้องให้ ความสาคัญกับการพัฒนาบุคลากร การสร้างแรงจูงใจ รวมถึงการให้คุณให้โทษ ดาเนนิ ทางวนิ ัยด้วยความเป็นธรรม - สร้างภาวะผนู้ า (Leadership) - มี ม นุ ษ ย สั ม พั น ธ์ กั บ ค น ทุ ก ร ะ ดั บ ทุกองค์กร ทกุ กล่มุ คน - การสรา้ งแรงจงู ใจใหก้ บั ลูกน้อง - การวางแผนงานทเ่ี ปน็ ระบบ - การตดั สนิ ใจบนพ้ืนฐานข้อมูลที่ถูกต้อง - ก า ร ป ร ะ ชุ ม ส่ั ง ก า ร ต้ อ ง สั่ ง ก า ร ท่ี เฉยี บขาดและชดั เจน

- ประสานงานไดท้ กุ ภาคส่วนในพื้นที่ - สร้างความเขา้ ใจทต่ี รงกนั - ใช้การประสานและบูรณาการทาให้งานเดินหน้าอย่างราบร่ืน รวดเร็ว และเรยี บรอ้ ย - การรายงานตอ่ ผบู้ งั คบั บญั ชา เพื่อนร่วมงาน ประชาชน สือ่ มวลชน - การขา่ วดี ข้อมลู ถกู ต้อง แมน่ ยา - วิธีการพูด การให้สัมภาษณ์ทเ่ี หมาะสม - วธิ กี ารนาเสนอ เช่น Infographic Timeline Mindmapping - การประชาสมั พันธ์ การสร้างการรบั รู้ - การติดตามและรายงานเป็นระยะ อย่างต่อเนื่อง โดยการติดตาม คอยดูตรวจตราตลอดทาให้การผิดพลาดลดน้อยลง เช่น การลงพื้นที่ในพื้นท่ีจริง การเย่ียมเยียนชาวบ้าน คุยกับผู้นาชาวบ้าน หรือตัวแทนของชาวบ้าน เพือ่ รู้วถิ ชี ีวิตความเปน็ อยขู่ องชาวบา้ นทแ่ี ทจ้ รงิ - ป ร ะ เ ภ ท ข อ ง ง บ ป ร ะ ม า ณ ไ ด้ แ ก่ ง บ จั ง ห วั ด ง บ ท้ อ ง ถิ่ น งบสว่ นราชการ งบบูรณาการ งบกลาง งบจากภาคเอกชน งบอ่ืน เช่น เงินกาชาด เงินลอตเตอร่ี เงนิ การกุศล มลู นธิ ฯิ - การบริหารงบประมาณให้เป็นไปตามระเบียบ โปร่งใส พร้อมให้ ตรวจสอบ - การบูรณาการและเช่ือมโยงงบประมาณต่าง ๆ - การสอดสอ่ งดแู ลผใู้ ตบ้ ังคับบัญชา ในการใชง้ บประมาณ

หลกั และข้อคดิ ในการปฏบิ ตั หิ นา้ ที่ของผู้ว่าราชการจังหวดั เตรยี มตนเองให้พรอ้ ม - ประพฤตติ นให้เหมาะสม - สขุ ภาพกายและใจต้องพรอ้ มเสมอ - มคี วามเปน็ ผู้นา - มไี หวพริบปฏิภาณ - รจู้ กั การสมาคม รอบรู้ รลู้ ึกในงาน - มคี วามรู้ ความสามารถ - รแู้ ละเขา้ ใจในอานาจหน้าทภ่ี ารกิจ - รู้งานรัฐบาล งานของกระทรวงมหาดไทย และงานในพนื้ ที่ - งานของหน่วยงานอ่ืน พร้อมรบั การเปลยี่ นแปลง - กา้ วทนั โลก - ติดตามข้อมลู ข่าวสารต่างๆ - นาเทคโนโลยี /IT เป็นเคร่ืองมือในการทางาน - เรยี นรูภ้ าษา กฎหมาย และวัฒนธรรม ในแต่ละพน้ื ท่ี บริหารจดั การเกง่ - การบริหารคน - การบรู ณาการ ทางานรว่ มกัน - การบรหิ ารความขัดแยง้ - ใช้วิธกี าร เขา้ ใจ เขา้ ถึง พฒั นา

ครองตน ครองคน ครองงาน ครองตน ต้องตระหนกั ในเรื่องภมู ิวุฒิ ภมู ิธรรม ภูมฐิ าน ครองคน กับผู้ใหญ่ ผู้บังคบั บัญชา เพอื่ นร่วมงาน ผู้ใต้บังคบั บญั ชา ประชาชน ครองงาน ทาให้สาเรจ็ เป็นแบบอยา่ งได้

ประสบการณใ์ นตาแหน่งผวู้ ่าราชการจังหวัด นายสุรอรรถ ทองนริ มล ผทู้ รงคณุ วฒุ ิ ปัญหาความเดอื ดรอ้ นของประชาชน การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหัวใจสาคัญของ กระทรวงมหาดไทย โดยความเดือดร้อนของประชาชนน้นั มีหลายรูปแบบด้วยกัน ท้ังในรูปแบบภัยพิบัติ ความยากไร้ ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาเร่ืองที่ดินทากิน รวมถึงเร่ืองอ่ืนๆ ซ่ึงผู้ว่าราชการจังหวัด มีเคร่ืองมือ ทสี่ าคญั น่นั ก็คือ ศูนย์ดารงธรรม เป็นเครื่องมือท่ีใช้ในการแก้ไข ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยจะเป็นที่พึ่ง ให้กับประชาชนได้เป็นอย่างดียิ่ง โดยเฉพาะอย่างย่ิง ในกรณีที่จะต้องมีการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็วสามารถ ท่ีจัดโมบายทีมเพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัด สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ย่อมทาให้ประชาชนเกิดความพึงพอใจ มากยิ่งข้ึน และจะเป็นแรงสนับสนุนให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอีกด้วย ซ่ึงจาก สถติ กิ ารใช้ศูนย์ดารงธรรมน้นั มจี านวนสงู ขน้ึ ทกุ ปีในทุกจงั หวัดทั่วประเทศ

สถาบนั พระมหากษตั รยิ ์ สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันสูงสุดและเป็นสถาบันหลักท่ีอยู่ เคยี งคกู่ บั สังคมไทยมาอย่างยาวนาน ผ้วู า่ ราชการจังหวัดจึงมีหน้าท่ีปกป้อง และคุ้มครองสถาบันหลักแห่งนี้ให้อยู่คู่กับเมืองไทยตลอดไป ในที่นี้จะ กลา่ วถึง การรบั เสดจ็ ฯ โครงการอนั เนื่องมาจากพระราชดาริ และจิตอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ และ กล่าวถวายรายงานดว้ ยตนเองทุกคร้ัง ไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อ่ืนกระทา แทนได้ เว้นแต่จะมีการเสด็จพระราชดาเนินหลายแห่ง ในกรณีนี้จะมี ผู้ที่คอยรับเสด็จฯ และกล่าวถวายรายงานในแต่ละจุดไป รวมถึง การสง่ เสดจ็ ฯ เช่นเดยี วกัน จะตอ้ งมีการส่งเสด็จฯ เป็นรายทาง ความรับผิดชอบ ในการรบั เสดจ็ ฯ ผ้วู า่ ราชการจงั หวดั จะตอ้ งรับผิดชอบต้งั แตพ่ ระองคท์ ่านเสด็จฯ เมอื่ ถึงจังหวัดจนเสด็จฯ ออกนอกจังหวดั จึงจะพน้ จากความรับผดิ ชอบ

การต้ังแถวถวายรายงานจะต้องข้ึนต้นด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด ศาล ทหาร และตารวจ กรณีผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ได้และมอบหมายให้ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติหน้าท่ีแทน รองผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องยืน ในตาแหนง่ ผวู้ า่ ราชการจงั หวัด รวมถึงการเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ผู้ว่าราชการจังหวัดต้อง ดูแลด้วยเช่นเดียวกัน ซ่ึงถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ว่าราชการจังหวัด ท้ังสิ้น ยกเว้นกรณีผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการในต่างประเทศ รองผู้วา่ ราชการจังหวดั จะเปน็ ผรู้ กั ษาราชการแทนผวู้ ่าราชการจังหวดั พระบาทสมเดจ็ พระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดาริให้หน่วยงานต่างๆ ดาเนินงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดาริทั้งหมด จานวน 4,810 โครงการ ผู้ว่าราชการ จงั หวัดตอ้ งเป็นผู้ดูแลและให้ความสาคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างย่ิง หากองคมนตรีได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนพระองค์ ในการตรวจราชการ โครงการอันเน่ืองมาจากพระราชดาริ ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องให้ ความสาคัญกับองคมนตรีด้วย เพราะถือว่าองคมนตรีเป็นตัวแทนของ พระเจ้าอยู่หัว ซ่ึงผู้ว่าราชการจังหวัดต้องเป็นผู้ดูแลด้วยตนเองและ ไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นกระทาแทนได้

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้มี พระบรมราโชบาย จัดตั้งโครงการจิตอาสา “เราทาความดี ด้วยหัวใจ” ซ่ึงเป็นโครงการพระราชทานท่ีปลุก จิตอาสาให้ทุกภาคส่วน ทุกหน่วยงาน ตลอดจนประชาชน ร่วมกันบาเพ็ญ ประโยชน์สาธารณะเพ่ือประเทศชาติ ร ว ม ถึ ง เ พื่ อ เ ป็ น ก า ร ล ด สี เ สื้ อ ต่ า ง ๆ ให้เหลือเพียงสีเดียว คือ สีเหลือง เ ป็ น ก า ร ส่ ง เ ส ริ ม ใ ห้ สั ง ค ม ไ ท ย เกดิ การพัฒนาในทศิ ทางท่ีดียิ่งขึ้น ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องมีการปรับตัวเพื่อให้เป็นแบบอย่าง ในการเป็นจิตอาสาที่ดีพร้อมทั้งเผยแพร่ในการให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโครงการจิตอาสา “เราทาความดี ด้วยหัวใจ” ให้กับประชาชน เพอ่ื ใหเ้ กิดความรว่ มมือร่วมใจซ่งึ กนั และกนั

การปฏิบตั ติ นของผ้วู ่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องมีลักษณะความเป็นผู้นาหรือตามตารา ทฤษฎีภาวะผู้นาแบบความสามารถพิเศษ (Charismatic Leadership) ซ่ึงเป็นผู้นาท่ีมีอิทธิพลเหนือผู้ตามโดยไม่ต้องอาศัยตาแหน่ง อานาจหน้าท่ี และประเพณีที่ยึดถือกันมา หากอยู่ท่ีความสามารถของตัวผู้นาเอง ท่ีก่อใหเ้ กดิ อานาจบารมี ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องมคี วามสงา่ งาม ซอื่ สตั ย์สุจริต ยึดระเบียบ แบบแผนเปน็ หลกั และดูแลประชาชน อย่าดูถูกประชาชน และท่ีสาคัญคือ “ไม่โกง” นอกจากน้ี มีความจาเป็นต้องรู้จัก บุคคลและเส้นทางภายในพื้นท่ีเพ่ือให้สามารถ พัฒนาจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและ ประสทิ ธผิ ล รวมถึงจะต้องมีการมอบหมายงาน ท่ั ว ไ ป ใ ห้ กั บ ร อ ง ผู้ ว่ า ร า ช ก า ร จั ง ห วั ด เพื่อแบ่งเบาภาระผู้ว่าราชการจังหวัด และ บทบาทผู้ว่าราชการจังหวัดท่ีสาคัญ คือ จะต้องบริหารราชการที่เป็น นโ ย บ าย ส า คั ญข อ ง รัฐ บ า ล เ ช่ น แ ผ น ยุ ทธ ศ า สต ร์ ช า ติ 2 0 ปี แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติ ฉบับท่ี 12 น อ ก จ า ก น้ี จ ะ ต้ อ ง ส ร้ า ง เ อ ก ภ า พ ใ ห้ เ กิ ด ขึ้ น ภ า ย ใ น จั ง ห วั ด โดยการสร้างความสัมพันธ์กับประชาชนให้เกิดความรักใคร่กลมเกลียวกัน ภายในพื้นท่ี

หลกั การทางานของผ้วู ่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องทางานในเชิงรุก ถ้าเกิดปัญหาให้รีบ ปรับปรุงแก้ไขอย่างทันท่วงที และในการบริหารงานนั้นจะต้องมีการคิด นอกกรอบในบางเรื่องโดยไม่ต้องรอคาส่ังจากรัฐบาล ซ่ึงจะต้องคานึง ผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าส่วนตนเป็นหลักสาคัญ ติดตามข้อมูล ข่าวสารท้ังภายในประเทศและต่างประเทศตลอดเวลา การปฏิบัติหน้าที่ จะตอ้ งมคี วามตรงตอ่ เวลา มีความชัดเจนและมคี วามโปรง่ ใส ก า ร ท า ง า น จ ะ ต้ อ ง มี ก า ร ป ร ะ ช า สั ม พั น ธ์ ผ ล ง า น ใ น น า ม ข อ ง ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือในนามของจังหวัด เพื่อให้ประชาชนทราบถึง การทางานของผูว้ า่ ราชการจงั หวดั ถึงอย่างไรก็ตาม การทางานน้ันจะต้องควบคู่กับการดูแลสุขภาพ ร่างกายของตนเองร่วมด้วย โดยการตรวจร่างกายและออกกาลังกาย อย่างสมา่ เสมอ นอกจากนี้ การกากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินจะต้องกากับ ดู แ ล ด้ ว ย ค ว า ม ร ะ มั ด ร ะ วั ง ใ น ทุ ก เ รื่ อ ง แ ล ะ ยึ ด ถื อ ร ะ เ บี ย บ แ บ บ แ ผ น เปน็ หลักการสาคัญโดยเฉพาะเร่อื งการใช้งบประมาณหรอื การจัดซื้อจดั จ้าง

การป้องกนั และบรรเทาสาธารณภยั การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นส่ิงท่ีผู้ว่าราชจังหวัดจะต้อง ตระหนักและเตรียมความพร้อม เพราะการเตรียมความพร้อมในเร่ือง ดังกล่าวจะสามารถลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดข้ึนได้ เช่น การพยากรณ์ พายุ จะทาให้ทราบได้วา่ พายุจะเข้ามาในระยะเวลาใด เพื่อให้หน่วยงานที่ เกยี่ วข้องสามารถเตรียมการณ์ไว้ลว่ งหน้าได้อยา่ งทันการณ์ เป็นตน้ การป้องกันล่วงหน้าน้ันไม่ว่าจะเป็นอุทกภัย วาตภัย แผ่นดินไหว จะต้องมีแผนซักซ้อมไว้ ล่วงหน้าเพ่ือพร้อมรับมือกับสถานการณ์จริงที่ อาจจะเกดิ ขึ้นได้ในอนาคต

ประสบการณแ์ ละแนวทางการปฏิบตั ิราชการ ของผู้บริหารระดบั สูงกระทรวงมหาดไทย นายสาโรช คชั มาตย์ ผูท้ รงคณุ วุฒิ เรื่องการปรับวฒั นธรรมองค์กรเป็นเรื่องสาคัญไม่ใช่เร่ืองง่าย ๆ กระทรวงมหาดไทย จึงให้ความสาคัญกับตาแหน่ง “ผู้ตรวจราชการ” เ พ่ื อ เ ล่ื อ น ข้ึ น สู่ ต า แ ห น่ ง ผู้ ว่ า ร า ช ก า ร จั ง ห วั ด ใ น ห้ ว ง 2 ปี ม า น้ี นั บ เ ป็ น มิ ติ ใ ห ม่ ข อ ง กระทรวงมหาดไทย เรื่องการปรับเปล่ียน วัฒนธรรมองค์กร โดยเปล่ียนความคิดเดิมว่า ใครได้เป็นผู้ตรวจราชการ เหมือนกับคนน้ัน เข้าสุสานของผู้ว่าราชการจังหวัด ให้กลายเป็น มุมมองใหม่ เพราะตาแหน่งผู้ตรวจราชการจะก้าวขึ้น เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นตาแหน่งที่สาคัญ ต้องรอบรู้ รับผิดชอบ เขตตรวจราชการหลายจังหวัด ความก้าวหน้านี้จะคล้ายกับกระทรวงอ่ืนๆ ที่ให้ความสาคัญกับตาแหน่งผู้ตรวจราชการด้วยเช่นกัน เช่น กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวง คมนาคม เป็นต้น

“ผู้ตรวจราชการ” มีสถานะเหนือกว่ารองผู้ว่าราชการจังหวัด ตาแหน่งหน้าที่น้ีสาคัญแต่อย่ายึดติดกับคาว่า ตรวจราชการ ว่าเหมือนมีบทบาท มีอานาจ ตรวจแล้วจะสั่งอย่างไรจะอะไรก็ได้ จงึ เปน็ ทีม่ าของการขัดแยง้ ลองถามผู้ตรวจราชการเก่าๆ ที่ได้ออกไป เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดจะรู้เพ่ิมข้ึนว่า เขาทาอย่างไรที่จะไม่เกิด ความขดั แย้ง สรุป ภารกิจของผตู้ รวจราชการ แบ่งเปน็  ขาภารกจิ - มีหน้าท่ี ส่งเสริม แนะนา ประสาน ให้ความช่วยเหลืองาน ในส่วนภมู ภิ าค ทอ้ งถน่ิ ท้องที่ ในเขตตรวจราชการ เป็นคนคิดในเชิงบวก - มคี วามรอบรู้ รวดเรว็ กระฉับกระเฉง - ร้เู ข้าใจในพืน้ ท่ี - รู้คนในเขตตรวจ หมายถึง รู้ว่าใครเป็นใคร อุปนิสัยใจคอ คน ในพ้นื ทเ่ี ป็นอยา่ งไร ประกอบอาชพี อะไร - ต้องมีข้อมูลท่ีถูกต้อง เที่ยงธรรม เพ่ือ สรุปวิเคราะห์ ให้ขอ้ เสนอแนะกบั กระทรวงมหาดไทย เพื่อให้ผู้บริหารใช้เป็นข้อมูลตัดสินใจ ซ่ึงผู้บริหารจะใชว้ จิ ารณญาณวเิ คราะห์ข่าวของผู้ตรวจราชการอกี ช้นั หนึง่ - การรายงานท่ีดีเพื่อเป็นคลังสมอง จากการประมว ล เป็นข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ต่อกระทรวง ต่อสถาบัน และไม่เพ้อฝัน - อย่ารอให้กระทรวงถาม แต่เสนาธิการที่ดีต้องนาเสนอ ผลการตรวจราชการให้ทราบ อย่าให้ผู้บริหารต้องตอบว่า

เป็นผู้ประพฤติดี ปฏิบัติดี มี Spirit มีแรงจูงใจ ช่วยกันสร้าง ให้เกียรติผู้อื่น และขอฝากไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดด้วยว่า ท่านต้อง ให้เกียรติผู้ตรวจราชการด้วยเช่นกัน ถึงแม้เขาจะมีอาวุโสน้อยกว่า โดยใหเ้ กียรตติ าแหน่งของเขา “ ผู้ว่าราชการจังหวัด ” ท่ีมาจากผู้ตรวจราชการ เพราะ ปฏิบัติดี การเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดยากกว่าเป็นผู้ตรวจราชการ จึงจะพูดให้ทราบในส่ิงที่ผู้ว่าราชการจังหวัดใหม่ยังไม่รู้ ว่าควรท่ีจะได้ ศึกษา เข้าใจ ไตร่ตรอง ระมัดระวังอะไร ย่ิงเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดใหม่ หากเตรียมตัวไม่ดีอาจจะผิดพลาดได้ ยุคสมัยที่เรียกว่า ดิจิทัลนั้น ส่งขา่ วไดอ้ ย่างรวดเรว็ - รู้หน่วยงานอสิ ระในจงั หวัด (ศาล ทหาร องคก์ รอสิ ระ) - รู้กระทรวง/ทบวง/กรม ที่ไมข่ ้นึ กับจงั หวดั - รูส้ ่วนราชการประจาจงั หวัด เราต้องใหเ้ กยี รติ - รู้สอ่ื มวลชนวา่ กลมุ่ ใดท่มี กั ถา่ ยคลิปแชร์ - การปฏิบัติที่ดี ต้องเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดของ ทกุ กระทรวง ทบวง กรม - ต้องออกไปเยี่ยมเยียน เช่น ไปสถานีรถไฟ สนามบิน หากวันใดเรามีปัญหาจะได้อาศัยพึ่งพิงได้ หรือแขวงทางหลวง เจ้าท่า นนั้ กส็ าคัญ

- ครองใจคนให้ได้ เพราะเป็นศลิ ปะอยา่ งหนึ่ง - การใหเ้ กยี รติผ้อู ่นื มคี วามอดทน ไม่เสยี ดสีผู้อ่นื - เหน็ อกเห็นใจท้องถิ่น ให้ดูวิวัฒนาการของท้องถ่ิน เพราะท้องถ่ินใด ที่มีอานาจตัดสินใจอาจจะไม่ค่อยเชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดเท่าใดนัก เปรียบเหมอื นม้าพยศ การมีศิลปะในการปกครองทีต่ ้องผสมกลมกลืนกันน้ัน จึงมีความสาคัญ จึงจะครองใจ ให้เกิดความจงรักภักดี ความเชื่อถือ เชื่อมั่น การช่วยเหลือม้าพยศเพียงเร่ืองเดียวอาจทาให้เขาช่วยเรา ทั้งชีวิต - จดั เวลาให้เหมาะสม ไปเขา้ ร่วมงานประเพณี การศาสนา - ลงไปกากับดูแล อย่าให้ขาดตกบก พร่อง อย่าละเล ย โดยเฉพาะงานที่สาคญั ระดบั ชาติ งานท่เี กีย่ วกบั สถาบัน สรุปคือรู้คนในพ้ืนที่ให้มากท่ีสุด กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ พ่อค้า ข้าราชการ ประชาชนในแต่ละโซนประกอบอาชีพอะไร รู้จุดแข็ง จุดอ่อน แมแ้ ต่ผู้นาศาสนาในพน้ื ที่อาจสนับสนุนเร่ืองใดเร่ืองหนึ่งหรือไม่เป็นกลาง ในฐานะผู้วา่ ราชการจงั หวดั จงึ ตอ้ ง ให้มาก เนอ่ื งจาก ผู้วา่ ราชการจังหวดั กลายเปน็ คนใหม่ในพนื้ ท่ใี หม่ให้ระวงั คน ท่เี ข้ามาตีสนทิ อาจหวังผลประโยชน์จากตาแหน่งหน้าท่ีของผู้ว่าราชการ จงั หวดั เพอ่ื การอนุมัติ อนุญาต บางคนอาจมีธุรกิจมืด แ อ บ แ ฝ ง ( ค น สี เ ท า ) บ า ง ก ลุ่ ม ก า ลั ง ดู ท่ า ที บางกลุ่มอาจจะมีทั้งชอบและขัดกับผู้ว่าราชการ จังหวัดคนก่อน ดังน้ัน เมื่อไปรับตาแหน่ง ในห้วง 15 วันแรก จะมีผู้มาเข้าพบหาจานวนมาก ขณะทยี่ งั ไม่รู้ว่าใครเปน็ ใครจึงขอให้ฟังให้มาก อยา่ เพิ่งรับนัดทานข้าวกบั ใคร

แตล่ ะพ้ืนที่มีปัญหาท่ีแตกต่างกันต้องรู้ปัญหาอย่างลึกซ้ึง แต่ละพ้ืนที่จะมีวิธีการแก้ไขที่แตกต่างกัน เพื่อให้รู้พ้ืนที่ จึงต้องออกเย่ียมเยียนประชาชนให้บ่อยคร้ัง การไป พบปะพูดคุยรับฟังปัญหาจะรู้สิ่งท่ีประชาชนต้องการ ให้แก้ไข อย่าด่วนเช่ือหรือสรุปจากการฟังบรรยายสรุป ของผู้นาท้องถ่ิน อบต. เพราะจะรบั รูเ้ ร่ืองในเชิงบวกเท่านั้น เ มื่ อ รั บ ท ร า บ ปั ญ ห า ต่ า ง ๆ ข อ ง ต า บ ล ห มู่ บ้ า น ใ น พื้ น ที่ แ ล้ ว ต้องเตรียมหาวิธีแก้ไขปัญหาไว้ให้พร้อม เม่ือมีงบประมาณมาจะแก้ไข ได้ตรงจุด หรอื การเกาไดถ้ ูกทค่ี นั หากรู้ว่าเร่ืองใดเป็นจุดเด่นให้ส่งเสริม เปน็ จุดดอ้ ยต้องเลือกหาวิธแี ก้ไขที่ประชาชนพงึ พอใจดว้ ย งานที่ผู้ว่าราชการจังหวัดทา ต้องใช้ท้ังศาสตร์และศิลป์ผสมกัน ใหเ้ ลือกใช้ศาสตร์นาและตามจากการฟัง แล้วนาไปวิเคราะห์ ว่างานใด อาจจะต้องนิติศาสตร์นา รัฐศาสตร์ตาม หรืองานใดจะใช้รัฐศาสตร์นาตามด้วย นิติศาสตร์ แล้วเม่ือตัดสินใจจะทา ต้องพูดให้มากว่า เราจะทาแล้ว เราได้ ทาแล้ว สาเร็จแล้ว ทาแล้วได้ผลดี อย่างน้ี เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ ผลงานสรา้ งการรบั รู้ นามาซ่ึงคะแนนนิยม มีผลงานเปน็ ที่ยอมรับ

ถ้าเราไม่คอ่ ยรูเ้ ร่ืองหลักนติ ศิ าสตร์ หลักรัฐศาสตร์ ให้ยึด 3 หลกั น้ี 1) หลักความถูกตอ้ ง 2) หลักความเป็นธรรม 3) หลกั ความมีเหตุผลสามารถชีแ้ จงได้ เร่ืองที่ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ตัดสินใจกระทาในเร่ืองใด เรื่องหนึ่งลงไปต้องสามารถตอบได้ ชี้แจงได้ ไม่มีอะไร ท่ีคน จะพึงพอใจ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ต้องตัดสินใจแล้วคนส่วนใหญ่ พงึ พอใจมาก ท้ายที่สุดนี้ขอให้ให้ความสาคัญกับการข่าว ผู้ว่าราชการจังหวัด จะต้องรู้ข่าวกว้าง ลึก และถูกต้อง สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยตนเอง ว่าข่าวท่ีได้มาจริงหรือไม่ ถูกต้องหรือไม่ แล้วควรจะตัดสินใจอย่างไร บางครั้งอาจจะมีคนเข้ามาพูดคุยเพื่อหย่ังท่าทีหรือลองภูมิว่าเราจะรู้ไหม ถ้าเราไม่รู้มาก่อนแล้วถามลึกลงไปว่าเป็นอย่างไรหรือ เขาก็จะจับได้ ว่าเราไมร่ ูเ้ รื่อง ต้องหาให้เจอว่าจุดพอเพียงมันอยู่ท่ีไหน โลภโมโทสันไม่ได้ เห็นแก่เล็กแก่น้อยก็ไม่ได้ ต้องมีจุดพอเพียงว่าอะไรควร อะไรไม่ควร วางตัวให้เหมาะสมแตอ่ ยา่ ถึงขน้ั ถือตวั


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook