Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore โรคอัลไซเมอร์ (สื่อการสอนสุขศึกษา)

โรคอัลไซเมอร์ (สื่อการสอนสุขศึกษา)

Published by Kittirat Norkhud 633263005, 2022-05-20 02:56:54

Description: kittirat norkhud 633263005

Search

Read the Text Version

บทเรยี นคอมพวิ เตอร์ช่วยสอน โรคอัลไซเมอร์ Alzheimer เข้าสบู่ ทเรยี น

ภาวะสมองเส่อื มคืออะไร ➢ สมองเสื่อม เป็นภาวะที่สมรรถภาพการทางานของสมองถดถอย บกพร่องในด้านการรู้คิด ได้แก่ ความจา การตัดสินใจ การวางแผน และบริหารจัดการ การรับรู้รูปทรง และการกะระยะ การใช้ภาษา สมาธิ หรือ ความใส่ใจ ความสามารถในการรับรู้เกี่ยวกับสังคม รอบตัว โดยมีผลกระทบต่อความสามารถในการประกอบกิจวัตร ประจาวันและการเข้าสังคม แต่ต้องไม่มีภาวะเพ้อ โรคซึมเศร้า โรค ทางจิตเวชเรื้อรัง หรือวิตกกังวลรุนแรงขณะวินิจฉัย ซึ่งการวินิจฉัย ภาวะสมองเสื่อมอาศัยข้อมูลจากประวัติทั้งจากผู้ป่วยและญาติที่อยู่ ใกล้ชิดรู้จักผู้ป่วยเป็นอย่างดี การตรวจร่างกายทั่วไป การตรวจ ร่างกายทางระบบประสาท การตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมไปถึงการ ตรวจทางประสาทจิตวิทยา

ภาวะสมองเส่อื มคอื อะไร ➢ สมองเสื่อมเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งสาเหตุที่แก้ไขได้และ แก้ไขไม่ได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์ กินสัน เนื้องอกสมอง โพรงน้าในสมองขยายตัว โรคขาดฮอร์โมน ต่อมไทรอยด์ โรคติดเชื้อบางชนิด เช่น ชิฟิลิสและเอดส์ เป็นต้น ปัจจุบันพบโรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมที่พบ บอ่ ยท่สี ุด

ภาวะสมองเสอ่ื มคืออะไร ภาพแสดง พฒั นาการของโรคอลั ไซเมอร์ Alzheimer

โรคอัลไซเมอร์คอื อะไร ➢ โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะสมอง เสื่อม และเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด โดยความ ชุกของโรคจะเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุ พบความชุกร้อย ละ 10-15 ในประชากรที่อายุมากกว่า 65 ปี และ พบร้อยละ 20-30 ในประชากรที่อายุมากว่า 80 ปี

โรคอัลไซเมอร์คอื อะไร พบรอ้ ยละ 10-15 ในประชากรทีอ่ ายมุ ากกวา่ 65 ปี พบร้อยละ 20-30 ในประชากรท่อี ายมุ ากว่า 80 ปี

สาเหตุของโรคอลั ไซเมอร์ ➢ โรคอัลไซเมอร์เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสมองจนบางส่วน ของสมองทาหน้าที่ลดลง เกิดการฝ่อ ทาให้กระทบกับการทางานของ สมองส่วนนัน้ และแสดงอาการตา่ ง ๆ ออกมา เช่น หลงลืม ถามซ้า ๆ ฯลฯ อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของโรคอัลไซเมอร์ มีการศึกษา พบวา่ ในสมองของผ้ปู ว่ ยท่ีเปน็ โรคนมี้ กี ารสะสมของโปรตีนบางชนิด เช่น อะไมลอยด์ (amyloid) และ ทาว (tau) มากกว่าปกติ

(สมองปกติ) สาเหตขุ องโรคอลั ไซเมอร์ (สมองโรคอลั ไซเมอร์) ➢ ภาพแสดงในสมองของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มีการสะสมของโปรตีนบางชนิด เชน่ อะไมลอยด์ (amyloid) และ ทาว (tau) มากกวา่ ปกติ

สาเหตุของโรคอลั ไซเมอร์

อาการของโรคอัลไซเมอร์เปน็ อยา่ งไร ➢ ผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านความจาเป็นอาการหลัก ผู้ป่วยจะไม่สามารถจดจา และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ จึงมักจะลืมว่าวางของไว้ที่ไหนทั้งที่พยายามจา ถามซ้า ๆ พูดซา้ ๆ เปน็ ตน้ ➢ เมือ่ โรคดาเนนิ ไปจะทาให้เกิดความบกพร่องของการรู้คิดด้านอื่นร่วมด้วย เช่น หลงทาง คิดเลขไม่ได้ ไม่สามารถจัดการกิจวัตรประจาวันขั้น พื้นฐานได้เอง มีปัญหาด้านอารมณ์ ปัญหาพฤติกรรม และความผิดปกติ ทางจิตตามมา เช่น หงุดหงิด เฉื่อยชาและเฉยเมย ขาดการยับยั้งชั่งใจ มี อาการหลงผดิ ประสาทหลอน เปน็ ต้น

อาการของโรคอลั ไซเมอรเ์ ป็นอยา่ งไร

อาการของโรคอลั ไซเมอรเ์ ป็นอย่างไร ➢ การแบ่งระยะของผู้ปว่ ยโรคอัลไซเมอรแ์ บง่ เปน็ 3 ระยะดังน้ี ➢ ระยะแรก ผู้ป่วยจะมีความจาถดถอยจนตัวเองรู้สึกได้ ชอบถามซ้า พูด ซ้าๆ เรื่องเดิม สับสนทิศทาง เริ่มเครียด อารมณ์เสียง่ายและซึมเศร้า แต่ยังสื่อสารและทากิจวัตรประจาวันได้ ระยะนี้เป็นระยะที่คนรอบข้าง ยังสามารถดูแลได้

อาการของโรคอลั ไซเมอรเ์ ปน็ อย่างไร ➢ การแบ่งระยะของผปู้ ่วยโรคอัลไซเมอรแ์ บง่ เป็น 3 ระยะดงั นี้ ➢ ระยะกลาง ผู้ป่วยมีอาการชัดเจนขึ้น ความจาแย่ลงอีก เดินออกจาก บ้านไปโดยไม่มีจุดหมาย พฤติกรรมเปลี่ยนไปมาก เช่น จากที่เป็น คนใจเย็นก็กลายเป็นหงุดหงิดฉุนเฉียว ก้าวร้าว พูดจาหยาบคาย หรือ จากท่เี ปน็ คนอารมณร์ อ้ นก็กลับกลายเปน็ เงียบขรมึ และเมื่อเวลาผ่าน ไป ผปู้ ว่ ยจะเร่มิ มีปัญหาในการใช้ชีวติ ประจาวัน เช่น ชงกาแฟไม่ได้ ใช้รีโมททีวีหรือโทรศัพท์มือถือไม่ได้ คิดอะไรที่ไม่ถูกต้อง ไม่อยู่ใน โลกของความจริง เช่น คิดว่าจะมีคนมาฆ่า มาขโมยของ คิดว่าคู่สมรส นอกใจ ซึ่งเหลา่ นีล้ ้วนเป็นอาการทีย่ ากต่อการดแู ลและเขา้ สังคม

อาการของโรคอัลไซเมอร์เป็นอยา่ งไร ➢ การแบ่งระยะของผปู้ ว่ ยโรคอัลไซเมอร์แบง่ เป็น 3 ระยะดงั นี้ ➢ ระยะท้าย ผู้ป่วยอาการแย่ลง ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง สุขภาพ ทรุดโทรมลงคล้ายผู้ป่วยติดเตียง รับประทานได้น้อยลง การ เคลอื่ นไหวนอ้ ยลงหรอื ไมเ่ คลื่อนไหวเลย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สมอง เสอื่ มเปน็ วงกวา้ ง ไมพ่ ูดจา ภมู คิ ้มุ กันอ่อนแอซึ่งมักนาไปสู่การติดเชื้อ และเสียชีวิตในที่สุด โดยระยะเวลาทั้งหมดตั้งแต่แรกวินิจฉัยจน เสียชีวติ เฉล่ยี ประมาณ 8-10 ปี

เอกสารอ้างอิง โรงพยาบาลจุฬาภรณ์. (2560). โรคอัลไซเมอร์ Alzheimer, สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2564. จากเว็บ https://www.chulabhornhospital.com/page.php?name=589. วีรศักดิ์ เมืองไพศาล, ภาวะสมองเสื่อม, คลินิกผู้สูงอายุ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและ สังคม คณะแพทยศาสตรศ์ ริ ริ าชพยาบาล. สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์, แนวทางเวชปฏิบัติ ภาวะสมองเสื่อม Clinical Practice Guidelines : Demetia. 2557. กุศลากรณ์ ชัยอุดมสม, ภัทรี พหลภาคย์, ภาพันธ์ วัฒนวิกย์กิจ, พงศธร พหลภาคย์, จ ิ ต เ ว ช ศ า ส ต ร ์ Psychiatry: บ ท ท ี ่ 2 3 โ ร ค ข อ ง ป ร ะ ส า ท พ ุ ท ธ ิ ป ั ญ ญ า (Neurocognitive Disorders). 2559.

จบการนาเสนอ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook