Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore จดหมายข่าวระหว่างเดือน พฤษภาคม - สิงหาคม 2564

จดหมายข่าวระหว่างเดือน พฤษภาคม - สิงหาคม 2564

Published by pollajan.y, 2021-10-01 01:49:47

Description: จดหมายข่าวระหว่างเดือน พฤษภาคม - สิงหาคม 2564

Search

Read the Text Version

จ ด ห ม า ย ข่ า ว มมส งานวิชาการรับใช้สังคม ม ห า วิ ท ย า ลั ย ม ห า ส า ร ค า ม ร ะ ห ว่ า ง วั น ที่ 1 พ ฤ ษ า ค ม ถึ ง 3 1 สิ ง ห า ค ม พ . ศ . 2 5 6 4

โครงการบูรณาการหลักสูตรเพื่ อชุมชนของมหาวิทยาลัยมหาสารคามเกิดจาก กระบวนการขับเคลื่อนภารกิจ “ด้านการบริการวิชาการ” ที่มุ่งเน้นการพั ฒนานิสิตสู่การ เป็นบัณฑิตที่พึ งประสงค์ภายใต้หลักปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่ว่า “ผู้มีปัญญาพึ งเป็นอยู่ เพื่ อมหาชน” ซึ่งประกอบด้วยแนวคิดหลักสำคัญ คือ “นิสิตกับการช่วยเหลือสังคมและ ชุมชน” โดยบูรณาการผ่านภารกิจหลักสำคัญๆ ของมหาวิทยาลัยที่มุ่งสร้างกระบวนการ เรียนรู้แบบมีส่วนร่วม หรือ “การเรียนรู้คู่การให้บริการวิชาการ” ระหว่าง “มหาวิทยาลัย กับชุมชน” ด้วยการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยเชื่อมโยงภารกิจให้สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ของชาติ และตอบสนองต่อแนวนโยบายในการให้บริการวิชาการแก่สังคมของ มหาวิทยาลัย ซึ่งโครงการบูรณาการหลักสูตรเพื่ อชุมชน เกิดจากแนวนโยบายในการมุ่ง เน้นให้เกิด “นวัตกรรมเพื่ อการสร้างมูลค่าเพิ่ ม” และ “การสร้างชุมชนต้นแบบ” ที่ต้องเห็น ผลเป็นรูปธรรมชัดเจน มีการบูรณาการงานบริการวิชาการเข้ากับภารกิจด้านการเรียนการ สอนการวิจัยและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งสามารถบูรณาการการดำเนินงาน แบบข้ามศาสตร์/สาขาวิชา/คณะระหว่างสาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสายมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ โดยกำหนดให้ทุกคณะมี Area based หรือ Issue based ที่ชัดเจน ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน สามารถทำให้อัตลักษณ์/เอกลักษณ์ของชุมชนมี ความโดดเด่นเพื่ อต่อยอดสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืนต่อไป

มมส ง า น วิ ช า ก า ร รั บ ใ ช้ สั ง ค ม ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เจ้าของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำนักงาน กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ 01 ที่ปรึกษาอาวุโส อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 02 ที่ปรึกษา คณะกรรมการบริหารงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 03 บรรณาธิการ นายพลจันทร์ ยวดทอง 04 กองบรรณาธิการ นางวัชญา อ่อนนางใย นายสถาพร กินณรินทร์

การบริการทางวิชาการแก่สังคม เป็นหนึ่งในภารกิจหลักของสถาบัน อุดมศึกษา มหาวิทยาลัยพึ งให้บริการทาง วิชาการแก่ชุมชนสังคมและประเทศชาติใน รูปแบบต่างๆ ตามความถนัดและในด้านที่ สถาบันมีความเชี่ยวชาญ การให้บริการ ทางวิชาการอาจให้เปล่าโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรืออาจคิดค่าใช้จ่ายตามความเหมาะสม โดยให้บริการ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและ เอกชนหน่วยงานอิสระ หน่วยงาน สาธารณะ ชุมชนและสังคมโดยกว้าง รูป แบบการ ให้บริการทางวิชาการมีความ หลากหลายเช่นการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ ทรัพยากรของมหาวิทยาลัย เป็นแหล่ง อ้างอิงทางวิชาการให้คำปรึกษาให้การ อบรมจัดประชุมหรือสัมมนาวิชาการ ทำงานวิจัยเพื่ อตอบคำถามต่างๆ หรือ เพื่ อชี้แนะสังคมการให้บริการทางวิชาการ นอกจากเป็นการทำประโยชน์ให้สังคมแล้ว มหาวิทยาลัยยังได้รับประโยชน์ในด้าน ต่าง ๆ คือเพิ่ มพู นความรู้และประสบการณ์ ของอาจารย์อันจะนำมาสู่การพั ฒนา หลักสูตรมีการบูรณาการเพื่ อใช้ประโยชน์ ทางด้านการจัดการเรียนการสอนและการ วิจัยพั ฒนาตำแหน่งทางวิชาการของ อาจารย์ สร้างเครือข่ายกับหน่วยงาน ต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งงานของนักศึกษาและ เป็นการสร้างรายได้ของมหาวิทยาลัยจาก การให้บริการทางวิชาการด้วย พลจันทร์ ยวดทอง

ป ร ะ ชุ ม ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร บ ริ ห า ร ง า น บ ริ ก า ร วิ ช า ก า ร ม ห า วิ ท ย า ลั ย ม ห า ส า ร ค า ม ค รั้ ง ที่ 6 / 2 5 6 4 วันที่ 10 มิถุนายน 2564 กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ ได้จัดประชุมคณะกรรมการบริหารงาน บริการวิชาการ เพื่ อให้การดำเนินงานของ มหาวิทยาลัยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย การดำเนินแผนงานบริการวิชาการเพื่ อ สร้างนวัตกรรมสู่การพั ฒนาที่ยั่งยืน และ หารือการดำเนินกิจกรรมการแข่งขัน แฮกกาธอน (U2THackathon 2021) กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในระหว่างวันที่ 14-15 กรกฎาคม 2564 โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เป็นเจ้าภาพ ในการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ จัดประชุม ณ ห้องประชุมศูนย์ความเป็น เลิศทางนวัตกรรมไหม และ ผ่านระบบ ออนไลน์

จัดอบรมโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ U2T เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564 กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ ได้จัดอบรมโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ U2T โดยมี ศ.ดร.อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง (รองอธิการบดีฝ่ายพั ฒนาโครงสร้าง พื้ นฐาน วิจัย และนวัตกรรม) เป็น ประธานในพิ ธีเปิด และ นางฉวีวรรณ อรรคะเศรษฐัง (ผู้อำนวยการกองส่ง เสริมการวิจัยและบริการวิชาการ) กล่าว รายงานวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการ ซึ่งได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.คชากฤษ เหลี่ยมไธสง บรรยายหัวข้อการเตรียมข้อมูลเพื่ อการ ผลิตวิดีทัศน์เพื่ อการนำเสนอผลการ ดำเนินงานภายใต้โครงการ U2T และ อาจารย์ ดร.พิ มพ์ พร ภูครองเพชร บรรยายหัวข้อ การกรอกข้อมูลในระบบ pbm และการเข้าถึงระบบ tpmap โดยจัดอบรมผ่านระบบออนไลน์ webxe

จัดอบรมโครงการพั ฒนาศักยภาพ นักบริการวิชาการรับใช้สังคม เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ ได้จัดอบรมโครงการพั ฒนาศักยภาพ นักบริการวิชาการรับใช้สังคม โดยมี ศ.ดร.อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง (รองอธิการบดีฝ่ายพั ฒนาโครงสร้าง พื้ นฐาน วิจัย และนวัตกรรม) เป็น ประธานในพิ ธีเปิด และ นางฉวีวรรณ อรรคะเศรษฐัง (ผู้อำนวยการกองส่ง เสริมการวิจัยและบริการวิชาการ) กล่าว รายงานวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการ ซึ่งได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด บรรยายหัวข้อ\"การประเมิน ประโยชน์ ความสำเร็จ ผลกระทบ (เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม) และ ความยั่งยืนของงานวิชาการในสถาบัน ศึกษา\" โดยจัดอบรมผ่านระบบออนไลน์ webxe

จัดอบรมการรายงานผลและการประเมิน ตัวชี้วัดรายตำบล ภายใต้โครงการ U2T เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2564 กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ ได้จัดอบรมการรายงานผลและการ ประเมินตัวชี้วัดรายตำบล ภายใต้ โครงการ U2T โดยมี ศ.ดร.อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง (รองอธิการบดีฝ่ายพั ฒนาโครงสร้าง พื้ นฐาน วิจัย และนวัตกรรม) เป็น ประธานในพิ ธีเปิด และ นางฉวีวรรณ อรรคะเศรษฐัง (ผู้อำนวยการกองส่ง เสริมการวิจัยและบริการวิชาการ) กล่าว รายงานวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการ ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญ มาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและ วิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น บรรยายหัวข้อการรายงานผลและการ ประเมินตัวชี้วัดรายตำบล โดยจัดอบรมผ่านระบบออนไลน์ webxe

จัดอบรมโครงการพั ฒนาศักยภาพ นักบริการวิชาการรับใช้สังคม เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ ได้จัด โครงการพั ฒนาศักยภาพนักบริการวิชาการ การ สร้างผลงานวิชาการรับใช้สังคมสู่การขอกำหนด ตำแหน่งทางวิชาการ โดยมี ศ.ดร.อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง (รองอธิการบดี ฝ่ายพั ฒนาโครงสร้างพื้ นฐาน วิจัย และนวัตกรรม) เป็นประธานในพิ ธีเปิด และ นางฉวีวรรณ อรรคะเศรษฐัง (ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการวิจัย และบริการวิชาการ) กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ใน การจัดโครงการ ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.อาวรณ์ โอภาสพั ฒนกิจ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บรรยายหัวข้อ \"กระบวนการสนับสนุนการสร้างผลงานวิชาการรับใช้ สังคม สู่การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ\" และ อภิปรายแลกเปลี่ยน\"การขอกำหนดตำแหน่งทาง วิชาการด้วยผลงานวิชาการรับใช้สังคม\" โดยมี วิทยากร คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประพั ณฐ์ หลวงสุข คณะเทคนิคการแพทย์ และผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร.อลิชา ตรีโรจนานนท์ คณะการ สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยจัดอบรมผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting

ลงพื้ นที่ติดตามและประเมินผล หรือ เตือนภัยล่วงหน้า สำหรับ การดำเนินงานโครงการบริการ ชุมชน ซึ่งคาดหวังว่าเกษตรกรใน วิชาการเพื่ อสร้างนวัตกรรมสู่ พื้ นที่เป้าหมายสามารถนำผลลัพธ์ที่ การพั ฒนาที่ยั่งยืน ได้จากการดำเนินงานโครงการไป ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ประยุกต์ใช้ในการทำเกษตรกรรมได้ อย่างเหมาะสม เพื่ อบรรเทาความ วันที่ 4 กรกฎาคม 2564 เสียหายของผลผลิตทางการเกษตร คณะกรรมการบริหารงาน ที่เกิดจากภัยพิ บัติ (แล้ง น้ำท่วม บริการวิชาการ มหาวิทยาลัย ดินเค็ม) เพื่ อเพิ่ มรายได้และความ มหาสารคาม ลงพื้ นที่ติดตาม เป็นอยู่ของเกษตรกรได้อย่าง และประเมินผลการดำเนินงาน ยั่งยืน รวมถึงหน่วยงานที่ โครงการบริการวิชาการเพื่ อ เกี่ยวข้องสามารถนำผลลัพธ์นี้ไปใช้ สร้างนวัตกรรมสู่การพั ฒนาที่ ในการวางแผนเพื่ อส่งเสริมการทำ ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ เกษตรกรรม หรือ ส่งเสริมการ พ.ศ.2564 ภายใต้ “โครงการ ประกอบอาชีพด้านอื่นๆ ที่เหมาะสม พั ฒนาศักยภาพพื้ นที่เกษตรที่ กับพื้ นที่การเกษตรในพื้ นที่เป้า เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ หมายได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ภูมิอากาศบ้านปลาบู่ ต.หนอง แสง อ.วาปีปทุมจ.มหาสารคาม” ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการบู รณาการการทำงานระหว่าง อาจารย์ นักวิจัยของคณะ วิทยาศาสตร์ และ คณะสิ่ง แวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เพื่ อมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาจาก ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศต่อน้ำและดิน เค็มในพื้ นที่ทางการเกษตร และ พั ฒนาแผนที่เสี่ยงด้านน้ำ และ ดินเค็มในพื้ นที่ทางการเกษตร พร้อมทั้งพั ฒนาแอพพลิเคชัน “Water and Soil Salinity in agricultural Area : WSSA” ที่ใช้ในการตรวจสอบ

ลงพื้ นที่ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ เพื่อสร้างนวัตกรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2564 กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ลงพื้ นที่ ติดตาม \"โครงการพั ฒนานวัตกรรมการเพราะเลี้ยงกบด้วยจุลินทรีย์ พร้อมควบคุมคุณภาพน้ำด้วย เทคโนโลยี loT \" ให้แก่เกษตรกรชุมชนบ้านสี่เหลี่ยม ตำบลลานสะแก อำเภอพยัคฆภูมิพิ สัย จังหวัด มหาสารคาม โดยมีผู้รับผิดชอบโครงการ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิภาวี ไทเมืองพล อาจารย์ประจำ สาขาวิชาประมง ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จากการติดตามการดำเนินงานทางทีมงานได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ให้แก่เกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นการให้ อาหาร การจัดการบ่อ การจัดการน้ำ และการเตรียมน้ำให้มีคุณภาพเหมาะสมด้วยสารเคมีปลอดภัย รวมถึง ถ่ายทอดการติดตั้งและจัดทำชุดเพราะฟักกบเคลื่อนที่ ถือเป็นอุปกรณ์ที่สะดวก ลดต้นทุน ใช้พื้ นที่น้อย และ เกษตรกรใช้ได้จริง ยิ่งไปกว่านั้นชุดเพาะฟักกบที่เคลื่อนที่ได้นี้ ยังสามารถประยุกต์ใช้เป็นบ่อเลี้ยงและอนุบาล ลูกกบต่อได้

ลงพื้ นที่ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน โครงการบริการวิชาการเพื่ อสร้างนวัตกรรม สู่การพั ฒนาที่ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 วันที่ 27 สิงหาคม 2564 กองส่งเสริมการวิจัยและ บริการวิชาการ ได้ลงพื้ นที่เข้าร่วมติดตามโครงการ บริการวิชาการเพื่ อสร้างนวัตกรรมสู่การพั ฒนาที่ ยั่งยืน “โครงการแนวทางการพั ฒนาการใช้ประโยชน์ พื้ นที่ป่าโคกข่าวกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะ” ณ บ้าน ส้มกบ ตำบลเหล่าดอกไม้ จังหวัดมหาสารคาม โดยมี กิจกรรม จัดอบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรกรรม สมุนไพรพริกปรุงรสให้กลุ่มแม่บ้าน จำนวน 31 คน นอกจากนี้ได้มีการเตรียมที่พั กเพื่ อการรองรับการ บริการในรูปแบบโฮมสเตย์ โดยมีชาวบ้านในชุมชนที่มี ความสนใจพั ฒนาปรับปรุงบ้านเพื่ อรองรับนักท่อง เที่ยว ภายใต้พื้ นฐานการดำรงชีวิตตามวิถีชุมชนบ้าน ส้มกบ

ก า ร นำ เ ส น อ ก า ร ถ อ ด บ ท เ รี ย น แ ล ะ ก า ร ร า ย ง า น ผ ล ก า ร ดำ เ นิ น ง า น โ ค ร ง ก า ร ย ก ร ะ ดั บ เ ศ ร ษ ฐ กิ จ แ ล ะ สั ง ค ม ร า ย ตำ บ ล แ บ บ บู ร ณ า ก า ร U2T (ไตรมาส 2) กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ ได้จัดการนำเสนอการถอดบทเรียนและ การรายงานผลการดำเนินงานโครงการ ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ U2T (ไตรมาส 2) ซึ่งการถอดบทเรียน จะมีกิจกรรมที่ได้ ดำเนินงานที่ผ่านมา จุดเด่นที่ควรส่งเสริม กิจกรรมที่จะทำต่อ แลปัญหาที่ต้องแก้ไข ในพื้ นที่รับผิดชอบ ทั้ง 20 ตำบล และ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณะ กรรมการ ผ่านโปรแกรม Miro และ Webex ในวันที่ 2 11 13 17 และ 20 สิงหาคม 2564


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook