Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ผ้าจวนตานี จังหวัดปัตตานี

ผ้าจวนตานี จังหวัดปัตตานี

Description: ผ้าจวนตานี จังหวัดปัตตานี.

Search

Read the Text Version

จงั หวัดปตั ตานี ผ้าจวนตานี ที่มา : สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ผ้าจวนตานี หรือเรียกว่า ผา้ ลอ่ งจวนเปน็ ผา้ ที่ปรากฏ ตามพระราชนิพนธ์ดาหลัง ของพระบา ทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ จากคำบอกเล่าของผู้รู้ ที่ได้ทำการสืบร่องร อ ย ของผ้าจวนตานี ได้ให้ข้อมูล ไว้ว่า ผ้าจวนตานีมีอยู่ ๒ ชนิด เป็นผ้ามัดหมี่ชนิดหนึ่ง โ ดย แต่ เ ด ิ มน ั้น ใ ช้เชือกกล้วยตานีนำมาใช้ในการมัดหมี่ อีกชนิดหนึ่งเป็นผ้ายกสอดดิ้นเป็นลวดลาย คำว่าจวนเป็นการเพี้ยนเสียงจากคำเดิมคือ จูวา เมื่อเสียงพูดเร็วๆ จึงเพี้ยนมาเป็น จวน และคำ ว่าจวนนั้นหมายถึงการมาเจอกัน หรือพบกัน ซึ่งหมายถึง ในส่วนของผ้าที่เป็นตัวผ้าและเชิงผ้าซึ่งมาเจอกัน ถิ่นกำเนิดผ้าจวนตานี ผ้าจวนตานี ที่มา : สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ผา้ จวนตานี เปน็ ผา้ ทย่ี งั ไมพ่ บหลักฐานถ่นิ กำเนิดทีช่ ัดเจน จึงไม่มีใครสามารถบอกความเป็นมาได้แน่ชัด มีเพียงชื่อ ที่ปรากฏอยู่ตามเอกสารต่างๆ นายพิชัย แก้วขาวผู้รู้ ท่านหนึ่งของจังหวัดปัตตานีที่ได้ทำการสืบร่องรอยของ ผ้าจวนตานี ให้ข้อมูลส่วนหนึ่งว่า จากหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ จากการที่เมืองปัตตานีเป็นเมืองท่า สำคัญและเป็นตลาดกลางในการซื้อขายและส่งถ่าย สินค้าจากต่างแดน เมืองท่าปัตตานีในยุคนั้นจึง พลุกพล่านไปด้วยนักเดินเรือ อาจกล่าวได้ว่าเมือง ท่าปัตตานีเป็นตลาดกลางของการซื้อขายสินค้าประเภท ผ้าไหมแพรพรรณและผ้าจากต่างแดนชนิดต่างๆ นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งจำหน่ายวัตถุดิบสำหรับ ใช้ในการทอผ้าอันได้แก่ ฝ้ายและไหมดิบแหล่งใหญ ่อีกแห่งหนึ่งในภูมิภาคนี้

นอกจากจะเป็นแหล่งรวมผ้านานาพรรณจากต่างแดนด้วยแล้ว ช่างทอผ้าของเมืองปัตตานี เองก็คงจะมีฝีมือในการทอผ้าได้ดีไม่ด้อยไปกว่าช่างทอผ้าบ้านใกล้เมืองไกลอื่นๆ จากการ ที่มีความรู้และมีพื้นฐานในฝีมือการทอผ้าที่อยู่ในระดับดีมาก่อน บวกกับเทคนิคการทอผ้า ชั้นสูงที่ช่างทอผ้าเมืองปัตตานีได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อค้าผ้า หรือช่างทอผ้าชาวต่างชาติ โดยตรงที่ได้เข้ามาค้าขายติดต่อสัมพันธ์กับปัตตานีมาแต่ครั้งโบราณก็เป็นไปได้ ที่เป็นปัจจัย ทำให้ช่างทอผ้ามีฝีมือสูงและผ้าที่ทอได้มีคุณภาพเยี่ยมเป็นที่เลื่องลือจนเป็นที่รู้จักกันไปทั่ว แม้กระทั่งในราชสำนักของกรุงสยามทั้งในสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ในชื่อของ “ผ้าจวนตานี” และผ้ายกตานี ศิลปะและภูมิปัญญาผ้าจวนตานี จากหลักฐานทางเอกสารโบราณที่ชาวต่างชาติหลายชาติได้บันทึกเอาไว้ทำให้ทราบ ว่าเมืองปัตตานีแห่งนี้ได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับชาวจีน อินเดีย และอาหรับทั้งในด้านการค้า และวัฒนธรรมอารยธรรมมาเป็นเวลาช้านานตั้งแต่ครั้งอาณาจักรลังกาสุกะมาจนกระทั่งถึง ยุคสมัยของเมืองปัตตานีดารุสลัม ทั้งจีน อินเดียและอาหรับเป็นชาติที่มีช่างฝีมือในการทอ ผ้าชั้นสูงมีฝีมือเป็นเลิศอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง ช่างเหล่านี้ได้ทำการทอผ้าชั้นสูงประเภทต่างๆ ทั้งผ้าไหมแพรพรรณ ผ้ายกดิ้นเงินดิ้นทองส่งเป็นสินค้าออกไป ทั่วภูมิภาคเอเชียและยุโรป มาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล จากการที่ปัตตานีได้เคยติดต่อกับชาติเหล่านี้มาเป็นเวลาช้านานจึง มีความเป็นไปได้ที่จะกล่าวว่าชนชาติดังกล่าวอาจจะเป็นผู้ถ่ายทอดเทคนิคในการทอผ้าชั้น สูงบางประการให้แก่ช่างทอผ้าเมืองปัตตานีโดยตรงนั้นประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งก็สันนิษฐาน ว่า ช่างทอผ้าเมืองปัตตานีอาจจะได้รับการถ่ายทอดเทคนิคการทอผ้าชั้นสูงจากอินเดียและ อาหรับ โดยผ่านช่างทอผ้าชาวชวา สุมาตรา และช่างทอผ้าชาวมาลายู ตามหัวเมืองต่างๆ บริเวณปลายแหลมมลายูอันได้แก่ ยะโฮร์ ปาหัง ตรังกานู และกลันตัน แล้วจึงเข้ามาสู่เมือง ปัตตานีในที่สุด ทำให้ผ้าจวนตานี ที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาของช่างทอผ้าพื้นเมืองของเมือง ปัตตานี มีลักษณะของการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมต่างๆ กับเทคนิคการทอผ้าของท้องถิ่น ที่มีอยู่ดั้งเดิม อาทิ การได้รับอิทธิพลจากผ้าปโตลาของอินเดีย ในด้านของรูปแบบลวดลาย และสีสัน ทำให้ผ้าจวนตานี หรือลีมาจวน จึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับผ้าไหมลีมาของอินเดีย โดยมีลักษณะของการทำเป็นลวดลายร่อง (แถบ) ทั้งแนวตั้งและแนวนอน เต็มตลอดทั้งผืน

นอกจากนี้ยังอาจกล่าวได้ว่าจากฝีมือการทอผ้าที่มีคุณภาพของช่างทอผ้าของปัตตานี ในอดีต ทำให้ผ้าของปัตตานีมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันในทั่วกรุงสยาม จากการออกแบบลวด ลายและการให้สีสันทำให้ผ้าทอของปัตตานี แปลกและไม่เหมือนผ้าจากแหล่งอื่นๆของ สยามประเทศ ทั้งนี้ก็เพราะว่าสีสันและลวดลายของผ้าแหล่งนี้จะมีรูปลักษณ์เป็นแบบผ้า ที่ใช้กันอยู่ในชุมชนชาวชวา มลายู จากเหตุดังกล่าวจึงทำให้ผ้าของปัตตานีมีความสว ย แปลก ตาในสายตาของชาวสยาม มีความเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวทำให้คนทั่วไปที่พบเห็น จะรู้จักและจดจำได้ง่าย ผ้าจวนตานี ลายประแจจีน สมบัติของนายพิชัย แก้วขาว ผ้าจวนตานี ปูชอปอต็อง ทำด้วยไหม สุภาพบุรุษใช้นุ่งเลื้อยชาย ที่มา: สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณีวัฒนา ผ้าจวนตานี ปูชอปอต็อง ทำด้วยด้ายจูหลี สมบัติของนายพิชัย แก้วขาว

ความสำคัญทางวัฒนธรรมพื้นถิ่นผ้าจวนตานี ผ้าจวนตานีเป็นผ้าท่ีชา่ งทอพน้ื ถน่ิ จะตอ้ งทอขน้ึ มาในลกั ษณะทง้ั ทเ่ี ปน็ ผา้ พน้ื และผา้ ตา เพ่อื ใช้ในการนงุ่ หม่ ประจำวัน โดยสามารถใช้ได้ทง้ั ผหู้ ญงิ และผชู้ าย นอกจากน้ีเม่ือมีพธิ กี ารตา่ งๆ เช่น การนงุ่ หม่ เมอ่ื เขา้ รว่ มขบวนแห่ ซึง่ พอจะกลา่ วถึงรอ่ งรอยทแี่ สดงถึงความสำคัญทางวัฒนธรรมพ้นื ถิ่นของผ้าจวนตานี ไดด้ งั นี้ จากการศกึ ษาภาพถ่ายโบราณท่ี อาจารยพ์ ชิ ยั แกว้ ขาว ไดร้ วบรวมไว้ ซง่ึ เปน็ ภาพถา่ ยของผู้คนในทอ้ งถนิ่ ที่อยใู่ นชว่ งระหว่าง รชั กาลท่ี ๕ ถงึ รัชกาลท่ี ๗ พบว่าผชู้ ายชาวมุสลมิ ที่ปรากฏอยู่ในภาพเหล่าน้นั ส่วนใหญจ่ ะนุ่ง ผ้าโสร่งทอมือพื้นบ้านลายตาหมากรกุ หรอื ที่เรียกกัน ในกลุ่มชาวพุทธว่า “ผ้าตา” ซึ่งเรียกกันในกลุ่ม ชาวมุสลิมว่า “ผ้าแปลแก๊ะ” หรือ “ผ้าปะไลกั๊ต” และจากภาพถ่ายในสมัยรัชกาลที่ ๗ ซึ่งถ่ายที่บริเวณสนามหน้าเมืองปัตตานีเนื่องใน โอกาสเสด็จพระราชดำเนินมาทรงทอดพระเนตร สุริยุปราคาเต็มดวงในครั้งนั้น (๙ พ.ค. ๒๔๗๒) ซึ่งในภาพเป็นขบวนแห่บายศรีรับเสด็จของสุภาพ สตรีชาวเมืองปัตตานี ปรากฏว่าเป็นภาพของผู้เข้า รว่ มขบวนแห่ ทม่ี กี ารนงุ่ โสรง่ ซง่ึ มที ง้ั ผา้ พน้ื ผา้ ลายตาหมากรกุ การนุ่งห่ม “ผ้าจวนตานี” ของผู้คนในท้องถิ่น และผา้ อน่ื ๆ รวมทง้ั ผา้ ปาเตะ๊ ดว้ ย แตผ่ า้ ปาเตะ๊ นน้ั จะมอี ยู่ไมถ่ งึ คร่งึ หน่งึ ของผทู้ ย่ี นื อยใู่ นขบวนทม่ี องเหน็ ไดใ้ นภาพถา่ ย การนุ่งห่มผ้าจวนตานีในขบวนแห่บายศรี รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวของชาวเมืองปัตตานี เมื่อครั้งเสด็จทอดพระเนตรการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่เกิดขึ้น ณ เมืองปัตตานี (๙ พ.ค. ๒๔๗๒)

นอกจากนี้ อาจารย์พิชัย แก้วขาว ยังได้ทำการสัมภาษณ์คุณยายแหะหวอ หวังหมัด อายุ ๙๔ ปี และคุณยายมารีแย นิสาแล อายุ ๑๐๐ ปี คุณยายทั้งสองคนเป็นช่างทอผ้าที่ยังคง อนุรักษ์และทอผ้าพื้นเมืองบางชนิดของปัตตานีได้อยู่ในขณะนั้น ท่านกล่าวว่าในสมัยของ ท่าน ผู้หญิงชาวมุสลิมในท้องถิ่นในสมัยนั้นจะนุ่งผ้าที่ทอขึ้นมาเองกันทั้งสิ้น โดยมีทั้งเป็น ผ้าพื้นและผ้าตาเช่นเดียวกับผ้านุ่งของผู้ชาย ส่วนผ้าปาเต๊ะนั้นมานุ่งกันก่อนสงครามญี่ปุ่นไม่นาน สุภาพสตรีชาวมุสลิม นุ่งผ้าโสร่งแปลแก๊ะ (๑) ลักษณะการนุ่งผ้าแบบเลื้อยชาย (๒)ลักษณะการนุ่งผ้าจวนตานีทับกางเกงขายาว ซึ่งเป็นผ้าทอมือในท้องถิ่น ลักษณะการใช้สอยผ้าจวนตานี เนื่องจากผ้าจวนตานี เป็นผ้าชั้นสูงมีราคาแพงมาก ผู้ที่เป็นเจ้าของจะหวงแหนและทะนุถนอม ผ้าจึงถูกนำมาใช้เฉพาะงานสำคัญเท่านั้น สุภาพสตรีชาวมุสลิมจะใช้ทำเป็นผ้าสไบพาดไหล่ หรือคลุมศีรษะ ใช้เป็นผ้ากระโจมอก สำหรับสุภาพบุรุษจะใช้เป็นผ้านุ่ง ผ้านุ่งปิดทับกางเกงขายาว ใช้เป็นผ้าคลุมศพสำหรับชาวมุสลิมที่มีฐานะ ในกลุ่มชาวพุทธจะนิยมใช้แต่งกายออกงาน สุภาพบุรุษ จะใช้เป็นผ้านุ่งเลื้อยชาย หรือใช้เป็นผ้าพาดเฉวียงบ่าสำหรับสตรีสูงอายุ ใช้เป็นผ้าแต่งตัวให้กับนาค ใช้เป็นผ้าคลุมปากโลงศพ

แหล่งผลิตผ้าจวนตานี ผ้าจวนตานี เป็นที่นิยมมาในสมัยรัชกาลที่ ๑ ในขณะนัน้ เป็นที่รู้จักกันในราชสำนักแต่ต่อมาภาย หลังคอ่ ยๆ สญู หายไป เพราะประสบปัญหาถกู ผ้าจากโรงงานยุโรปราคาถูกเข้ามาทุ่มตลาด ผู้ทอผ้าจวนตานี ในขณะนั้นจึงค่อยๆ ล้มเลกิ การทอไปจนหมด ความเป็นมาทท่ี ำใหไ้ ดท้ ราบเรอ่ื งราวของผ้าจวนตานีในยุคปัจจุบัน เราทราบได้จากเอกสารทางวรรณคดีเท่านั้น เพราะตัวผ้าที่ปรากฏในวรรณคดีที่ได้กล่าวถึง จัดเป็นของ หายากมากในปัจจุบัน เนือ่ งจากแทบจะไมม่ กี ารสืบทอดสนับสนุนการทอผ้าจวนตานีเอาไว้เลยแต่อย่างไรก็ ตามยังพอมชี ่างทอทไ่ี ดม้ กี ารสบื ทอดความรแู้ ละภมู ปิ ญั ญาการทอผา้ จวนตานีที่ยังหลงเหลืออย่ใู นจงั หวดั ปตั ตานี อยูบ่ า้ ง จากการพบปะเจ้าหน้าที่สำนักงานวฒั นธรรมจังหวัดปัตตานี และนักวิชาการสถาบนั ทักษิณคดศี ึกษา ทำใหท้ ราบว่ามีการพยายามท่จี ะอนรุ กั ษแ์ ละฟื้นฟูการทอผ้าจวนตานี ไวโ้ ดยการผลติ ผา้ จวนตานีเลียนแบบผ้า จวนตานีแบบดั้งเดมิ ออกมาจำหน่าย และถือเป็นผลิตภณั ฑ์ผ้าทอเอกลักษณ์ของจังหวัดปัตตานี ดงั ตัวอยา่ ง กลุ่มทอผ้าจวนตานี ของนางสาวนัชฎาภรณ์ พรหมสขุ ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธ์ิ และกลมุ่ ทอผา้ จวนตานี อำเภอมายอ (บ้านตรัง) จงั หวดั ปัตตานี และนอกจากนี้ยงั มีผู้ท่ีสะสมผ้าจวนตานี ที่มีอายุผา้ ประมาณร้อยปีอยู่บ้างในจังหวัดปัตตานี เช่น อาจารย์พิชัย แก้วขาว อาจารย์วิทยาลัยเทคนิคจังหวัดปัตตานี, พิพิธภัณฑ์ผ้าสถาบันกัลยานิวัฒนา มหาวิทยาลยั สงขลานครนิ ทร์ และโรงแรมซีเอส จังหวดั ปตั ตานี เปน็ ตน้

การสืบทอดจากภูมปิ ญั ญาผ้าจวนตานี ลักษณะการสืบทอดความรู้และภูมิปัญญา การทอผ้าจวนตานีของช่างทอที่ยังหลงเหลืออยู่ใน จังหวัดปัตตานี ที่มีความพยายามที่จะอนุรักษ์และ ฟ้นื ฟูการทอผา้ จวนตานีไว้โดยการผลิตผ้าจวนตานเี ลยี น แบบผ้าจวนตานีแบบดั้งเดิมออกมาจำหน่ายให้เป็น ผ้าทอเอกลักษณ์ของจังหวัดปัตตานี ดังตัวอย่าง กลุ่มทอผ้าจวนตานี ของ นางสาวน ั ช ฎ า ภ รณ์ พรหมสุข ตำบลทรายขาว ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ก็ด้วยการรวบรวมชาวบ้านที่มีความต้องการทำอาชีพ เสริมมาถ่ายทอดความรู้เรื่องการผลิตผ้าจวนตานี โดยการเลียนแบบจากผ้าจวนตานีโบราณที่ยังพอ จะหาได้ คือ ลอกลายจากผ้าตัวอย่างลงในกระดาษ กราฟ (ดังตัวอย่างจากรูปด้านล่าง) แล้วนำเส้นด้าย (๑) การสร้างลวดลายโดยการมัดเส้นด้ายพุ่ง พุ่งมามัดเพื่อให้เกิดลวดลาย ตามเทคนิคการมัดหมีซึ่งเป็นเทคนิคการสร้างลวดลายบนผ้า ด้วยการย้อม สีของเส้นด้ายในส่วนที่ถูกมัดไว้จะไม่ติดสีย้อมสุดท้ายจึงนำเส้นด ้ า ย พ ุ่ง ที่ ย้อมสีตามลวดลายแล้วมาทอเป็นผ้าต่อไป ๒) ลายที่ถูกถ่ายทอดลงบนกระดาษกราฟ (๓) เส้นด้ายที่ผ่านการย้อมจากสีธรรมชาติ

วัสดอุ ุปกรณ์หลักทใ่ี ช้ในการผลติ ผ้าจวนตานี -วตั ถดุ ิบ เส้นดา้ ยไหม ใชเ้ ปน็ ด้ายยนื และดา้ ยพงุ่ -อปุ กรณ์หลัก กกี่ ระตกุ (๑) กี่กระตุกที่ชาวบ้านใช้ในการทอ ในสมัยโบราณใช้กี่กระทบหรือหูก (๒) รูปกี่กระทบหรือหูกที่ช่างทอผ้าปัตตานีใช้ทอผ้า ผ้าจวนตานีที่ได้รับการสืบทอดใหม่ (๓) กระสวยแบบโบราณ (๑) ผ้าจวนตานีลายดวงดาว (๒) ผ้าจวนตานีลายปูก๊ะ กระสวยที่ใช้กับกี่กระตุก

กระบวนการทอผา้ กระบวนการทอ “ผ้าจวนตาน”ี มดี ังนี้ - การฟอกกาวไหม คอื การนำเอาสารทเี่ คลือบเส้นไหมออก เพ่อื ให้เสน้ ไหมมคี ณุ สมบัติของเส้นด้ายที่ เหมาะจะเอาไปทอเป็นผา้ ได้ - การย้อมสี เป็นการทำใหเ้ สน้ ดา้ ยเกดิ ลวดลายตามตอ้ งการดว้ ยการยอ้ มสี การยอ้ มสใี นการทำผา้ จวนตานี จะเปน็ การยอ้ มสโี ดยใชเ้ ทคนิคของการมดั หม่ี ทีใ่ นสมัยโบราณชา่ งทอผา้ พน้ื เมืองจะใชเ้ ชือกกล้วยตานี เป็นวสั ดุที่ใช้ในการมดั ส่วนปจั จบุ ันจะใชเ้ ชือกฟางแทน - การร้อยด้ายและเอ็นเขา้ ฟันฟืม - การเก็บตะกอบน คอื การใช้เสน้ ดา้ ยสอดเขา้ ชอ่ งของตะกอ ตามทกี่ ำหนดไว้ - การเกบ็ ตะกอล่าง คือการใช้ไม้ชะนัดสอดเขา้ ไปทห่ี นา้ ฟมื แลว้ ยดึ ไวก้ บั กเี่ พ่ือปอ้ งกันดา้ ยตก - การกรอเส้นด้ายยืนเขา้ กี่ เป็นการกรอเสน้ ด้ายยืนเขา้ ก่ี โดยใช้เครอื่ งมอื ที่เรียกวา่ ระวงิ - การค้นดา้ ยยนื คอื การเตรยี มเสน้ ด้ายยืนให้ได้ตามความยาวทีต่ อ้ งการ - การรอ้ ยเส้นดา้ ยยืนเข้าตะกอ - การนำเสน้ ด้ายยืนเข้ากี่ - การค้นหม่ี เปน็ การเตรียมเสน้ ดา้ ยพ่งุ ให้ไดต้ ามความยาวตามลายท่ตี ้องการ - การย้อมเส้นดา้ ยพ่งุ ต้องทำการยอ้ มจนครบสีตามตอ้ งการ - การแกะมดั หม่ี เปน็ การแกะเอาเชือกหรือฟางทมี่ ัดเพื่อการเก็บสีไวอ้ อก - การระวงิ มัดหม่ีตัวผ้า ขั้นตอนนเี้ ป็นการเตรยี มเส้นด้ายพุ่ง - การทอผา้ คือการนำเอาเสน้ ด้ายพุ่งทีผ่ า่ นการสร้างลายด้วยเทคนิคมัดหม่ีแลว้ มาทอใหเ้ ป็นผืนผ้า การใช้เส้นด้ายสอดเข้าช่องของตะกอ ตามที่กำหนดไว้

ลักษณะความโดดเด่นของผ้าจวนตานี ลักษณะที่เป็นเอกลัก ษ ณ์ ข องผ้าจวนตานี คือ มีสีล่องหรือลวดลายตามชายผ้า หรือที่ ริมผ้า ช่างทอผ้าชาวเมืองปัตตานีรุ่นเก่าๆ เรียกล่องดังกล่าวว่า \"จูวา\" จูวา หมายถึงลวดลายที่ ปรากฏอยู่บริเวณชายผ้าทั้งสองด้าน หากลวดลายวางเป็นแนวอยู่ในช่องขนาน มีลักษณะเป็น ร่องริ้วเรียกว่า \"ล่องจูวา\" ลายจูวาส่วนอื่นเป็นลายที่ใช้กรรมวิธีมัดหมี่ รูปแบบของลายจูวามี หลากหลายลักษณะ ผ้าที่เป็นลายจูวาเต็มผืนเรียกว่า \"ผ้าลีมา\" เป็นผ้าชั้นสูง ต้องใช้ความ ประณีต มีราคาแพงสำหรับกรณีที่เอาลายจูวาไปทำเป็นลายผ้าที่ตำแหน่งสะโพก (ปาต๊ะ) เรียกว่า \"ปาต๊ะจูวา\" หากเป็นโสร่ง เรียกว่า \"ผ้าโสร่งปาต๊ะจูวา\" ผ้าโบราณที่พบในปัตตานี พบว่า ผ้าโบราณมีหลากหลายแบบทั้งกรรมวิธีการทอ เทคนิคพิเศษหรือวิธีการผลิตลวดลาย และวัสดุหรือเส้นใยที่นำมาใช้ ซึ่งผ้าจวนตานี มีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน ดังนี้ ลักษณะของผ้าโสร่งที่นำเอาลาย “ล่องจูวา” มาทำเป็นลวดลายที่ ปาต๊ะ (ตำแหน่งสะโพก) ผ้าโสร่งลักษณะนี้จึงเรียกกันว่า “ผ้าโสร่งปาต๊ะจูวา” หรือ “ผ้าโสร่งปาต๊ะจวน

} ล่องจูวา หรือ ล่องจวน } ล่องจูวา หรือ ล่องจวน แสดงตำแหน่งของ “ล่องจูวา” หรือ “ล่องจวน” ของผ้าลีมา ซึ่งเป็นผ้าชั้นสูงชนิดหนึ่ง {ล่องจูวา หรือ ล่องจวน {ล่องจูวา หรือ ล่องจวน

๑. ผ้าการะดูวอ เป็นผ้าผืนยาวรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือผ้าปล่อย ซึ่งผ้าแต่ละผืนจะมีองค์ ประกอบ ๓ ส่วน คือ เชิงผ้า ล่องจวน และตัวผ้า ล่องจวน องค์ประกอบของผ้าการะดูวอ ล่องจวน ผ้าการะดูวอ หรือ ผ้าสองตะกอ (การะ = ตะกอ, ดูวอ = สอง)

๒. ผ้าการะตีฆอหรือสามตะกอ เป็นผ้าผืนยาวหรือผ้าปล่อย รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประกอบด้วยเชิงผ้า ตัวผ้า ล่องจวนคั่นระหว่างเชิงผ้ากับตัวผ้า เทคนิคการทอเป็นแบบสาม ตะกอ กล่าวคือใช้ตะกอ ๓ ชุด เหยียบสลับกันทำให้เส้นยืนสับหว่างกันแล้วสอดเส้นพุ่งผ่าน เส้นยืน ผ้าที่ทอด้วยวิธีการแบบนี้ จะมองเห็นลายนูนบนเนื้อผ้าขึ้นเป็นแนวเฉียงคล้ายผ้ายีนส์ ผ้ามีความหนาและมีน้ำหนัก มองเห็นลายชัดเพียงด้านเดียว ผ้าการะตีฆอ ๓. ผ้าการะป๊ะห์หรือสี่ตะกอ มีลักษณะเด่น คือ เป็นผ้าผืนยาวหรือผ้าปล่อย รูปสี่เหลี่ยม ผืนผ้า ประกอบด้วยเชิงผ้า ตัวผ้า ล่องจวนคั่นระหว่างเชิงผ้ากับตัวผ้า เหมือนกับผ้าการะดูวอ และการะตีฆอ แต่ต่างกันที่เทคนิคการทอ คือ จะมองเห็นลายนูนบนเนื้อผ้า เช่น เป็นลายฟัน ปลา สี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือ สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ตลอดผืนผ้า สีของผ้าจะสดใส เช่น แดง ชมพู ฟ้า เหลือง เขียว ม่วง เป็นต้น เนื้อผ้าจะหนา นิ่ม และมีน้ำหนัก ลวดลายมัดหมี่จะชัดเจน กว่าผ้าสองตะกอ ผ้าการะป๊ะห์

๔. ผ้าซอแก๊ะ ใช้เรียกผ้าฝ้ายหรือผ้าไหม ที่ทอยกดอกด้วยดิ้นเงินและดิ้นทอง มีลักษณะเด่น คือ เป็นผ้าผืนยาวหรือผ้าปล่อย เน้นการตกแต่งลาย ด้วยวัสดุชนิดต่าง ๆ ผ้าซอแก๊ะประเภททอยกด้วยไหมล้วน ๕. ผ้าแปลก๊ะ เป็นผ้าลายตาหมากรุก หรือลายตาราง สีที่ใช้มีความหลากหลาย ทอ ขึ้นครั้งแรกที่เมืองปุลิกัต ในประเทศอินเดีย ชาวไทยพุทธในภาคใต้เรียกผ้าชนิดนี้ว่า ผ้าตา หรือผ้าตาคอกหมู ผ้าแปลแก๊ะทุกผืน มักมีสีชมพูและสีแดงเป็นหลัก ผ้าแปลก๊ะ (มลายูสำเนียงกลางจะเรียก “ปะไลกั๊ต”

ความโดดเด่นของลวดลายผ้าจวนตานี ๑. ลักษณะเด่นของผืนผ้าจะอยู่ที่เชิงของผ้า (มลายูจะเรียกว่าหัวผ้า) ซึ่งมีสีแดง เท่าที่ พบผ้าจวนตานีจะมีเชิงสีแดงทุกผืน แต่อาจมีบางผืนเป็นสีน้ำตาลแกมแดง ลวดลายที่เชิงผ้า จะมีความสวยงามและเด่นสะดุดตามากกว่าในผืนผ้า ลักษณะลายเชิงผ้า เป็นลวดลายในศิลปะ ชวา-มลายู หรือ คล้ายลายเชิงผ้าของอินเดียการที่ผ้าชนิดนี้มีเชิงเป็นสีแดง ที่ให้สีออกมาค่อนข้างแดง เพราะช่างทอผ้าจะใช้เทคนิคพิเศษโดยการมัดย้อมเส้นยืนในตำแหน่งของพื้นที่จะใช้เป็นเชิงผ้าให้ เป็นสีแดงเสียก่อน แล้วจึงทอเส้นพุ่งที่เป็นลายเชิงผ้าที่มัดย้อมให้พื้นมีสีแดงเช่นเดียวกัน ผ้าจวนตานีลายริ้ว อายุกว่า ๑๐๐ ปี สมบัติของนายพิชัย แก้วขาว ผ้าจวนตานีพื้นเขียว

๒. ลักษณะลวดลายของหมี่จูวา จะอยู่ในรูปทรงของสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดเป็นส่วนใหญ่ ที่มีการเรียกชื่อส่วนต่าง ๆ ของลวดลาย ดังนี้ ส่วนลวดลายแรกของงานมัดหมี่ บน – ล่าง จะเรียกว่า “เปลือก” ส่วนลวดลายที่สองของงานมัดหมี่ บน – ล่าง จะเรียกว่า “พะนอ” ส่วนลวดลายตรงกลางของงานมัดหมี่ บน – ล่าง จะเรียกว่า “ใจ” เปลือก พะนอ ใจ ๓. การใช้สีของผ้าจวนตานี มสี ีที่หลากหลาย ในลักษณะของสีที่ตัดกัน ดงั ภาพตัวอย่างจะเห็นไดว้ ่า เป็นการใช้สีเขียวของตัวผ้า ตัดกับเชิงผ้าสีแดง (ในทฤษฎีสี สีเขียวเป็นสีตรงข้ามกับสีแดง ตามวงจรสี) แสดงลักษณะการใช้สีตัดกัน (เขียว – แดง) ของผ้าจวนตานี การใช้สีตัดกันระหว่างท้องผ้ากับเชิงผ้า