Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ความเข้าใจเรื่องชีวิต

ความเข้าใจเรื่องชีวิต

Description: ความเข้าใจเรื่องชีวิต.

Search

Read the Text Version

ไม่ประพฤตผิ ดิ ในทางกามประเวณี วจสี ุจรติ จำ� แนกเปน็ ๔ คือ ไม่พดู ปด ไมพ่ ดู สอ่ เสียด ไม่พดู คำ� หยาบ ไม่พูดเพอ้ เจอ้ เหลวไหล มโนสุจริตจ�ำแนกเป็น ๓ คือ ไม่เพ่งเล็งทรัพย์สมบัติของผู้อื่น ด้วยโลภเจตนาคดิ จะเอามาเป็นของของตน ไมพ่ ยาบาทปองรา้ ย ไม่เห็นผิดจากคลองธรรม มีความเห็นว่า ท�ำดีได้ดี ท�ำช่ัวได้ช่ัว เป็นต้น รวมเป็น ๑๐ ประการ ส่วนการกระท�ำท่ีตรงกันข้าม เรียกวา่ ทจุ รติ แปลวา่ ประพฤตชิ ว่ั ประพฤตชิ ั่วทางกายเรยี กวา่ กายทุจริต ประพฤติชั่วทางวาจาเรียกว่าวจีทุจริต ประพฤติชั่ว ทางใจ เรยี กวา่ มโนทจุ รติ ทจุ รติ ๓ นม้ี จี ำ� แนกตรงกนั ขา้ มกบั สจุ รติ คำ� วา่ ประพฤติ มกั จะพดู มงุ่ หมายถงึ การกระทำ� ทางกาย และวาจา ค�ำว่า ท�ำ ก็มักพูดหมายถึงการท�ำทางกาย การท�ำ ทางวาจาเรียกว่าพูด การท�ำทางใจเรียกว่าคิด ส่วนทางธรรม การท�ำ พูด คิด เรียกเป็นอย่างเดียวกันว่า ท�ำหรือประพฤติ และมีค�ำว่า กาย วาจา ใจ ก�ำกับ เพ่ือให้รู้ว่าท�ำหรือประพฤติ ทางไหน 77

ทุจริต ทางธรรมเรยี กว่าไม่ดี เปน็ วิถีทางของผู้ไมฉ่ ลาด ทางโลกกเ็ หยยี ดหยามวา่ เลว ไมด่ ี โดยนยั น้ี จงึ เหน็ วา่ ทง้ั ทางโลก ทั้งทางธรรม นับถือสิทธิของผู้อื่น หรือเรียกว่านับถือขอบเขต แห่งความสงบสุขของผู้อ่ืน เพราะสุจริตและทุจริตที่จ�ำแนกไว้ อยา่ งละ ๑๐ ประการนน้ั โดยความกค็ อื ไมป่ ระพฤตลิ ะเมดิ สทิ ธิ หรอื ไมเ่ บยี ดเบยี นความสงบสขุ ของผอู้ นื่ และการประพฤตลิ ะเมดิ สิทธิและความสงบสุขของผู้อื่น น่ันเอง แต่ทางโลกนับถือสิทธิ ของบคุ คลและสตั วเ์ ดยี รัจฉานบางจำ� พวก ไม่นับถอื บางจำ� พวก โดยอาศัยกฎหมายเปน็ หลัก สว่ นทางธรรมนบั ถือทว่ั ไปไม่มแี บง่ แยกยกเว้น เพราะทางธรรมละเอยี ดประณีต อนึ่ง ทจุ ริต อยเู่ ฉย ๆ ประพฤติไม่ได้ ต้องประพฤติด้วย ความขวนขวายพยายามจนผดิ แผกแปลกไปจากปกติ จงึ จัดเปน็ ทจุ รติ ได้ สว่ นสจุ รติ ประพฤตไิ ดโ้ ดยไมต่ อ้ งลงทนุ ลงแรง ประพฤตไิ ป ตามปกตขิ องตนนนั่ แล ไมต่ อ้ งตบแตง่ เปลยี่ นแปลงกเ็ ปน็ สจุ รติ ได้ เพราะเหตนุ ี้ เมอื่ วา่ ทางความประพฤติ สจุ รติ จงึ ประพฤตไิ ดง้ า่ ยกวา่ 78

เมื่อเปน็ เชน่ นี้ เพราะเหตุไรทจุ ริตจึงเกดิ ขึ้นได้ ? ขอ้ นีเ้ ป็นเพราะ ยังขาดธรรมในใจเป็นเครื่องเหนี่ยวร้ัง ความประพฤติจึงเป็นไป ตามใจของตนเอง ผรู้ กั ษาศลี หรอื ประพฤตสิ จุ รติ หรอื แมป้ ระพฤติ กฎหมายของบ้านเมือง ถ้าไม่มีธรรมอยู่ในใจบ้างแล้ว ก็มักจะ รักษาหรือประพฤติท�ำนองทนายว่าความ เพราะการกระท�ำบาง อย่างไม่ผดิ ศลี ตามสิกขาบท ไม่ผดิ สจุ ริตตามหวั ข้อ แตผ่ ดิ ธรรม มีอยู่ และจะประพฤติหรือรักษาให้ตลอดไปมิได้ เพราะเหตุนี้ จงึ สมควรมีธรรมในใจส�ำหรบั ประพฤติคู่กนั ไปกบั สุจริต ธรรมมีมาก แต่ในที่น้ัจักเลือกแสดงแต่ธรรมท่ีสมควร ประพฤติปฏิบัติคู่กันไปกับสุจริต โดยนัยหนึ่ง คือมีความละอาย ใจในการเบียดเบียน มีความเอ็นดูขวนขวายอนุเคราะห์สัตว์ ทั้งปวงด้วยประโยชน์ คู่กับการไม่ฆ่าสัตว์ มีความโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เฉลี่ยความสุขของตนแก่คนที่ควรเฉลี่ยให้ด้วย การบรจิ าคให้ คกู่ บั การไมล่ กั ทรพั ย์ มสี นั โดษยนิ ดเี ฉพาะสามหี รอื ภรยิ าของตน ไมค่ ดิ นอกใจ สำ� หรบั ผทู้ ย่ี งั ไมม่ คี รอบครวั กม็ เี คารพ 79

ในธรรมเนยี มประเพณที ด่ี ี ไมค่ ดิ ละเมดิ คกู่ บั การไมป่ ระพฤตผิ ดิ ใน ทางกามประเวณี อน่ึง มีปากตรงกบั ใจ ไม่ลดเลี้ยวลับลมคมใน คู่กับไม่พูดปด พูดชักให้เกิดสามัคคีสมานสามัคคีด้วยใจสมาน ค่กู ับไมพ่ ูดส่อเสียด พดู กันดี ๆ อ่อนหวาน ตามสมควรแก่ภาษา นยิ ม มใิ ชก่ ด มใิ ชย่ กยอ ดว้ ยอธั ยาศยั ออ่ นโยนนมิ่ นวล ไมก่ ระดา้ ง คกู่ บั ไมพ่ ดู คำ� หยาบ พดู มหี ลกั ฐานทอ่ี า้ งองิ มกี ำ� หนด มปี ระโยชน์ มีจบ อย่างสูงเรียกว่ามีวาจาสิทธ์ิ ด้วยความตกลงใจทันท่วงที ม่ังคง ไม่โงนเงนโลเล คู่กับไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล อนึ่ง มีใจ สันโดษยินดีในสมบัติของตนตามได้ ตามก�ำลัง ตามสมควร และมใี จยนิ ดดี ว้ ย หรือวางใจเฉย ๆ ด้วยความรู้เทา่ ในเมื่อผอู้ ่นื ไดร้ บั สมบตั ิ หรือในเมื่อเหน็ สมบัติของผ้อู น่ื คูก่ ับไมเ่ พง่ เลง็ ทรัพย์ สมบัตขิ องผู้อนื่ ด้วยโลภเจตนาคิดจะเอามาเป็นของตน มีเมตตา ไมตรีจิตในสัตว์ทั้งปวง คู่กับไม่พยาบาทปองร้าย ท�ำความเห็น ให้ตรงเพื่อให้ถูกให้ชอบย่ิงข้ึน คู่กับความเห็นชอบ ธรรมตามที่ แสดงมาน้ีมอี ยูใ่ นบคุ คลใด บุคคลน้ันชอ่ื วา่ ธรรมจารี ผู้ประพฤติ 80

ธรรม หมายถึงความประพฤติเรยี กว่าธรรมจรยิ า สว่ นทตี่ รงกัน ขา้ มกบั ทแ่ี สดงมานี้ เรยี กวา่ อธรรม คกู่ บั ทจุ รติ สจุ รติ กบั ธรรมทค่ี ู่ กนั เรียกอยา่ งสั้นในทนี่ ีว้ า่ สุจริตธรรม นอกน้ีเรียกว่าทจุ รติ ธรรม 81

สจุ รติ ธรรม เหตุแห่งความสขุ ท่ีแท้จริง สุจริตธรรมให้เกิดผลอย่างไร ทุจริตธรรมให้เกิดผล อย่างไร คิดให้รอบคอบสักหน่อยก็จักให้เห็นได้ในปัจจุบันนี้เอง ผู้ประพฤติสุจริตธรรมย่อมเป็นคนไม่มีภยั ไม่มีเวร มีกายวาจาใจ ปลอดโปรง่ นเ้ี ปน็ ความสขุ ทเี่ หน็ กนั อยแู่ ลว้ สว่ นผปู้ ระพฤตทิ จุ รติ ธรรม ตรงกันข้าม มีกายวาจาใจหมกมนุ่ วนุ่ วาย แม้จกั มีทรพั ย์ ยศ ชอ่ื เสยี งสกั เทา่ ใด กไ็ มช่ ว่ ยใหป้ ลอดโปรง่ ได้ ตอ้ งเปลอื งทรพั ย์ เปลืองสขุ ระวงั ทรพั ย์ ระวงั รอบดา้ น นี้เป็นความทกุ ขท์ ่เี หน็ กัน อยู่แล้ว ส่วนในอนาคตเล่าจักเป็นอย่างไร อาศัยพุทธภาษิตท่ี แสดงว่า กลฺยาณการี กลฺยาณํ ผู้ท�ำดีย่อมได้ดี ปาปการี จ ปาปกํ ผู้ท�ำช่ัวย่อมได้ชั่ว จึงลงสันนิษฐานได้ว่า สุจริตธรรม อ�ำนวยผลท่ีดีคือความสุข ทุจริตอธรรมอ�ำนวยผลท่ีชั่วคือ ความทกุ ข์ แมใ้ นอนาคตแนแ่ ท้ อนง่ึ ในทนี่ รี้ วมผลแหง่ สจุ รติ ธรรม ทง้ั ส้ิน แสดงรวมยอดอย่างเดียวว่าความสขุ เพราะเหตุน้ี สิง่ ใด 82

เป็นอุปกรณ์แห่งความสุขหรือเรียกว่าสุขสมบัติ เช่น ความ บริบูรณ์ทรัพย์ ผิวพรรณงาม อายุยืน ยศ ชื่อเสียง เป็นต้น ส่ิงน้ันท้งั หมดเป็นผลแห่งสุจรติ ธรรม จกั แสดงวธิ ีปฏบิ ัติสุจริตธรรมสักคหู่ น่ึงโดยยอ่ ไว้ เผอ่ื ผู้ ตอ้ งการตอ่ ไป คอื ไมพ่ ยาบาทกบั เมตตา เมอ่ื อารมณร์ า้ ย อยา่ งเบา คือความหงุดหงิดไม่พอใจ แรงข้ึนเป็นความฉุนเฉียวร้ายกาจ แรงข้นึ อกี เป็นพยาบาท เหล่านอ้ี ยา่ งใดอย่างหนึง่ เกดิ ขนึ้ ควรท�ำ ความรู้จักตัวและพิจารณาโดยนัยว่า น้ีเท่ากับท�ำโทษตนเผาตน โดยตรง มิใช่ท�ำโทษหรือแผดเผาผู้อ่ืนเลย คราวท่ีตนผิด ใจยัง เคยใหอ้ ภัย ไม่ถือโทษโกรธแค้น เหตไุ ฉนเมอ่ื ผอู้ ่นื ท�ำผิด ใจจึงมา ลงโทษแผดเผาตนเลา่ ผู้อืน่ ทีต่ นโกรธน้นั เขามิได้ทุกขร์ อ้ นไปกับ เราด้วยเลย อน่ึง ควรต้ังกติกาข้อบังคับสำ� หรับตนว่า เมื่อเกิด อารมณร์ ้ายมีโกรธเป็นตน้ ขึ้น จกั ไมพ่ ดู จักไม่แสดงกิริยาของคน โกรธ หรอื ตงั้ กตกิ าประการอน่ื ซงึ่ อาจจกั รกั ษาอารมณร์ า้ ยเหลา่ นนั้ ไว้ข้างใน มิให้ออกมาเต้นอยู่ข้างนอก และพยายามดับเสียด้วย 83

อารมณเ์ ยน็ ชนดิ ใดชนิดหนึ่ง ด้วยการพิจารณาให้แยบคาย มใิ ห้ ลกุ กระพอื สมุ อกอยไู่ ด้ เมตตา มติ ร ไมตรี สามคำ� น้ี เปน็ ค�ำอนั หน่งึ อนั เดยี วกนั เมตตา คือความรักใคร่ปรารถนาจะให้เปน็ สุข มติ ร คือผู้มีเมตตา ปรารถนาสุขประโยชน์ต่อกนั ไมตรี คือความมีเมตตาปรารถนาดี ตอ่ กนั ผปู้ รารถนาจะปลกู เมตตาใหง้ อกงามอยใู่ นจติ พงึ ปลกู ดว้ ย การคิดแผ่ ในเบือ้ งต้นแผ่ไปโดยเจาะจงก่อน ในบคุ คลที่ชอบพอ มมี ารดาบดิ า ญาตมิ ติ ร เปน็ ตน้ โดยนยั วา่ ผนู้ น้ั ๆ จงเปน็ ผไู้ มม่ เี วร ไมม่ คี วามเบยี ดเบยี น ไมม่ ที กุ ข์ มสี ขุ สวสั ดริ์ กั ษาตนเถดิ เมอื่ จติ ได้ รบั การฝกึ หดั คนุ้ เคยกบั เมตตาเขา้ แลว้ กแ็ ผข่ ยายใหก้ วา้ งออกไป โดยล�ำดับดงั น้ี ในคนที่เฉย ๆ ไม่ชอบไม่ชงั ในคนทีไ่ มช่ อบนอ้ ย ในคนทไ่ี มช่ อบมาก ในมนษุ ยแ์ ละดริ จั ฉานไมม่ ปี ระมาณ เมตตาจติ เม่ือคิดแผ่กวา้ งออกไปเพยี งใด มติ รและไมตรีกม็ คี วามกว้างออก ไปเพียงนั้น เมตตาไมตรีจิตมิใช่อ�ำนวยความสุขให้เฉพาะบุคคล ย่อมให้ความสุขแก่ชนส่วนรวมต้ังแต่สองขึ้นไปด้วย คือหมู่ชนท่ี 84

มไี มตรจี ติ ตอ่ กนั ยอ่ มหมดความระแวง ไมต่ อ้ งจา่ ยทรพั ย์ จา่ ยสขุ ในการระวงั หรือเตรียมรุกรับ มีโอกาสประกอบการงาน อนั เปน็ ประโยชนแ์ กต่ นเองและหมเู่ ต็มท่ี มีความเจรญิ รุ่งเรืองและความ สงบสุขโดยส่วนเดยี ว เพราะเหตนุ ี้ พระสมั มาสมั พทุ ธเจา้ ผเู้ ปน็ พระบรมศาสดา ของเราทงั้ หลาย ผทู้ รงมพี ระเมตตาไมตรี มมี ติ รภาพในสรรพสตั ว์ ทอดพระเนตรเห็นการณ์ไกล จึงได้ทรงประทานศาสนาธรรมไว้ หนงึ่ ฉนั ทคาถา แปลความวา่ บคุ คลพงึ ประพฤตธิ รรมใหเ้ ปน็ สจุ รติ ไมพ่ งึ ประพฤตธิ รรมให้เปน็ ทจุ ริต ผมู้ ปี กติประพฤติธรรม ย่อมอยู่ เปน็ สุขในโลกน้แี ละในโลกอ่นื ดังน้ี ในขอ้ ว่า พึงประพฤติธรรมใหเ้ ปน็ สจุ รติ ไมพ่ งึ ประพฤติ ธรรมให้เป็นทุจริต ในฉันทคาถานั้น ค�ำว่า ธรรม น่าจักหมายเอา การงานท้ังปวงท่ีท�ำทางกาย วาจา และใจ คือการท�ำ การพูด การคิด ท่ีเปน็ ไปอย่ตู ามปกตินเี้ อง ทรงสอนให้ท�ำ พดู และคดิ ให้ 85

เป็นสุจริต มิให้เป็นทุจริต ส่วนในข้อว่า ผู้มีปกติประพฤติธรรม ย่อมอย่เู ป็นสขุ น้นั คำ� วา่ ธรรม หมายความว่าความดดี งั คำ� วา่ มีธรรมอยู่ในใจ ดังที่เข้าใจกันอยู่ท่ัวไป ผู้ประพฤติกายวาจาให้ เป็นสจุ ริต ไม่ประพฤติให้เปน็ ทุจริต ทัง้ ประพฤตธิ รรมคือมีธรรม อยู่ในใจ ย่อมอยู่เป็นสขุ ในโลกนีแ้ ละในโลกอน่ื คือในโลกอนาคต อันจกั คอ่ ยเล่อื นมาเป็นโลกปัจจุบันแกท่ กุ ๆ คนในเวลาไมช่ า้ ความสุขย่อมเกิดจากเหตุภายใน คือสุจริตธรรม ด้วย ประการฉะน้ี เพราะฉะนั้น ผปู้ รารถนาสุข เมื่อจับตัวเหตกุ ารณ์ แห่งความสุขและความทุกข์ได้ฉะน้ีแล้ว ควรเว้นทุจริตอธรรม อันเป็นเหตุของความทุกข์ ควรประพฤติสุจริตธรรมอันเป็นเหตุ ของความสขุ ถา้ ประพฤตดิ งั นี้ ชอ่ื วา่ ไดก้ อ่ เหตกุ ารณข์ องความสขุ สมบัติทั้งปวงไว้แล้ว นี้เป็นความชอบย่ิงของตนเอง ถ้ากลับ ประพฤติทุจริตอธรรม เว้นสุจริตธรรมเสีย ย่อมชื่อว่าได้ก่อ เหตุการณแ์ ห่งความทกุ ขพ์ ิบัติทง้ั ปวงไว้แลว้ น้เี ปน็ ความผิดของ ตนเอง 86

อน่ึง ถ้ามีปัญหาในชีวิตปัจจุบันของผู้ประพฤติสุจริต- ธรรมหรอื ทจุ รติ อธรรมเกดิ ขน้ึ พงึ ทราบวา่ ในคราวทสี่ จุ รติ ธรรมท่ี ไดท้ ำ� ไวแ้ ลว้ กำ� ลงั ใหผ้ ลอยู่ ผปู้ ระพฤตทิ จุ รติ อธรรมยอ่ มพรงั่ พรอ้ ม ด้วยสุขสมบตั ิและความสดช่ืน รา่ เรงิ อาจสำ� คญั ทจุ ริตอธรรมดจุ น�้ำหวาน และอาจเย้ยหยันผู้ประพฤติสุจริตธรรมได้ แต่ในกาล ที่ทุจริตอธรรมของตนให้ผล ก็จักต้องประจวบทุกข์พิบัติซบเซา เศรา้ หมอง ดุจต้นไม้ในฤดแู ล้ง อนงึ่ ในคราวทท่ี ุจรติ อธรรมทไ่ี ด้ ท�ำไว้แล้วก�ำลังให้ผลอยู่ ผู้ประพฤติสุจริตธรรมก็ยังต้องประสบ ทกุ ขพ์ บิ ตั ซิ บเซาอบั เฉาอยกู่ อ่ น แตใ่ นกาลทส่ี จุ รติ ธรรมของตนให้ ผล ย่อมเกดิ สุขสมบัตอิ ย่างน่าพศิ วง ดจุ ต้นไมใ้ นฤดฝู น แมส้ ุจริต ธรรมจักยังไม่ให้ผลโดยนัยท่ีกล่าวน้ี กายวาจาและใจของตนก็ ย่อมปลอดโปรง่ เป็นสุขสงบ เปน็ ผลท่มี ปี ระจ�ำทุกทิวาราตรีกาล 87