Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ความเข้าใจเรื่องชีวิต

ความเข้าใจเรื่องชีวิต

Description: ความเข้าใจเรื่องชีวิต.

Search

Read the Text Version

เป็นไปตามวิถีของโลก เหมือนอย่างไม่คิดดึงดวงอาทิตย์ให้หยุด หรอื ให้กลบั ซงึ่ เปน็ ไปไมไ่ ด้ หนา้ ทข่ี องบุคคลคอื ดงึ ใจให้หยุดหรือ ใหก้ ลับจากกเิ ลสและความทกุ ข์ ให้ดำ� เนินไปในทางท่ดี ี ไมย่ อม พา่ ยแพแ้ ก่ชีวิตและโลก คนเราต้องพบชีวิต หมายถงึ เหตุการณ์ต่าง ๆ ทีเ่ กดิ ขนึ้ แกช่ วี ติ ตามทป่ี รารถนาไวก้ ม็ ี ทมี่ ไิ ดป้ รารถนากม็ ี วา่ ถงึ ปญั หาทว่ี า่ คนเราควรจะวาดภาพชีวิตอนาคตของตนอย่างไรหรือจะให้ชีวิต เป็นอย่างไร ถ้าตอบตามวิถีชีวิตท่ัวไป ก็คงจะว่าจะให้เป็นชีวิต ที่บริบูรณ์ด้วยผล ตามท่ีปรารถนากันทางโลกทั่วไปนี้แหละรวม เขา้ ก็คือ ลาภ ยศ สรรเสรญิ สขุ อนั เรยี กวา่ โลกธรรม (ธรรมคอื เร่อื งของโลก) ส่วนทน่ี ่าปรารถนาพอใจ แตด่ ังทไ่ี ด้กล่าวแล้วว่า จะต้องพบชีวิตสว่ นทม่ี ิไดป้ รารถนาอีกด้วย คอื สว่ นทต่ี รงกนั ขา้ ม รวมเข้ากค็ ือ ความเส่อื มลาภ เสือ่ มยศ นนิ ทา ทกุ ข์ ชีวติ ของ ทุกคนจะต้องพบกบั โลกธรรมทัง้ สองฝ่ายน้ีอยดู่ ้วยกนั 27

ค�ำว่า โลกธรรม พดู ง่าย ๆ ก็คือ ธรรมดาโลก เพราะ ข้ึนชื่อว่าโลกย่อมมีธรรมดาเป็นความได้ความเสียหรือความสุข ความทกุ ขเ์ ชน่ นนั้ สง่ิ ทไ่ี ดม้ าบางทรี สู้ กึ วา่ ใหค้ วามสขุ มากเหลอื เกนิ แต่สิ่งน้ันเองกลับให้ความทุกข์มากก็มี พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัส ชใ้ี หเ้ หน็ ทกุ ขไ์ วก้ อ่ น ดงั เชน่ เมอื่ มเี ทพมากลา่ วคาถาแปลความวา่ “ผู้มีบุตรย่อมบันเทิงเพราะบุตร ผู้มีโคย่อมบันเทิงเพราะโค นรชนย่อมบันเทิงเพราะทรัพย์สมบัติ ผู้ไม่มีทรัพย์สมบัติย่อมไม่ บันเทิง” พระพทุ ธเจ้าได้ตรสั แกว้ ่า “ผู้มบี ตุ รยอ่ มโศกเพราะบตุ ร ผู้มีโคย่อมโศกเพราะโค นรชนย่อมโศกเพราะบุตร ผู้ไม่มีทรัพย์ สมบตั ิ (เปน็ เหตุก่อกิเลส) ยอ่ มไม่โศก” คำ� ของเทวดากล่าวได้ว่า เป็นภาษิตทางโลก เพราะโลกท่ัวไปย่อมเห็นดังนั้น ส่วนค�ำของ พระพุทธเจ้ากล่าวได้ว่าเป็นภาษิตทางธรรม แต่ก็เป็นความจริง เพราะเป็นธรรมดาโลก ที่จะต้องพบท้ังสุขและทุกข์ท่ีแม้เกิดจาก ส่ิงเดยี วกนั ฉะนน้ั ทกุ ๆ คนผูต้ อ้ งการโลก คอื ปรารถนาจะ ได้สิ่งที่น่าปรารถนา หรือต้องการท่ีจะให้เป็นไปตามปรารถนา 28

ก็ควรต้องการธรรมอีกส่วนหน่ึงท่ีจะเป็นเคร่ืองช่วยรักษาตน ทั้งในคราวได้ ทั้งในคราวเสยี พระพทุ ธศาสนาไดเ้ ขา้ มาเกยี่ วขอ้ งกบั ชวี ติ ของทกุ ๆ คน ตรงจุดนี้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนให้พิจารณาว่า สุขหรือทุกข์ ข้อน้ีเกิดขึ้นแล้วแก่เรา แต่ว่าสิ่งท่ีเกิดขึ้นน้ีเป็นของไม่เท่ียง เป็นทุกข์ คือแปรปรวนไปเป็นธรรมดา เม่ือพิจารณาอยู่ดังนี้ จนเกิดปัญญาเหน็ จริง สขุ หรอื ทุกขน์ นั้ ๆ ก็จะไมต่ ้ังครอบง�ำจิต อยู่ได้ ผู้ท่ีมีปัญญาพิจารณาเห็นจริงอยู่ดังน้ัน จะไม่ยินดีใน เพราะสขุ จะไมย่ ินรา้ ยในเพราะทุกข์นั้น ๆ ความสงบจิตซ่ึงเป็น ความสขุ จะมไี ด้ด้วยวธิ นี ี้ 29

ศกึ ษาชวี ิตทงั้ สองดา้ น พระพทุ ธเจา้ ไดต้ รสั ไวแ้ ปลความวา่ “ความโศกยอ่ มเกดิ จากสงิ่ เปน็ ทร่ี กั ภยั คอื ความกลวั ยอ่ มเกดิ จากสงิ่ เปน็ ทรี่ กั สำ� หรบั ผู้ที่พน้ แลว้ จากสงิ่ เป็นท่ีรัก จะไมม่ คี วามโศก ภัยจักมแี ต่ทไ่ี หน” พระพุทธภาษิตน้ี ดูคล้ายกับมองในทางร้ายว่า สิ่งเป็นท่ีรักจะ เป็นแหล่งเกิดแห่งความโศกและภัยเสมอ แต่ก็เป็นความจริงท่ี ความโศกและภยั ทกุ อย่างเกดิ จากแหลง่ รักทัง้ น้นั ใครกต็ ามทไี่ ด้ รับความสุขจากส่ิงเป็นท่ีรักเพียงอย่างเดียว ยังไม่ชื่อว่าได้พบ โลกหรือผ่านโลกท้ังสองด้าน ต่อเมื่อได้รับความทุกข์จากส่ิง เป็นที่รักอีกอย่างหน่ึง จึงจะช่ือว่า ได้ผ่านพบโลกครบสองด้าน เปน็ โอกาสทีท่ ำ� ใหร้ ู้จกั โลกดีข้นึ อนั ท่จี รงิ ชีวติ ทีด่ �ำเนินผา่ นสุขทุกขต์ า่ ง ๆ ในโลก หรอื ผ่านโลกท่ีมีท้ังสุขทั้งทุกข์ เท่ากับเป็นการศึกษาให้เกิดเจริญ ปัญญาข้ึนอยู่เสมอ อาจจะมีการหลงผิดไปในบางคราว ก็ไม่ใช่ 30

ตลอดไป และทุกคนที่เกิดมาย่อมมีพื้นปัญญาที่จะเพ่ิมเติมข้ึน ได้เสมอ ท้ังปัญญาที่จะเป็นปัญญาที่สมบูรณ์ขึ้น ก็เพราะรู้ทั้ง สองดา้ น คอื รู้ทงั้ สุขท้ังทกุ ข์ ถา้ รู้จกั แต่สขุ ไม่รูจ้ กั ทกุ ข์ กย็ งั ไม่ใช่ ปัญญาสมบูรณ์ จะรู้จักทุกข์ได้ก็ต้องประสบกับความทุกข์ และ ดูเข้าไปท่ีทุกข์ หรือดูเข้ามาที่จิตใจอันมีทุกข์ว่า จิตใจนี้มีทุกข์ ดอู าการจติ ใจทมี่ ที กุ ขว์ า่ อยา่ งไร อาการคอื แหง้ ผากใจ ปราศจาก ความสดชื่น เหมือนอย่างต้นไม้เหี่ยว คร่ําครวญใจด้วยความ คิดถึงส่ิงที่ล่วงมาแล้วหรือถึงส่ิงที่ยังไม่มาถึง ไขว่คว้าในส่ิงท่ี สิ้นไปหายไปแล้ว เหมือนอย่างไล่จับเงา หรือกลัวสิ่งที่ยังอยู่ว่า จะหายไปเสีย หรอื กลวั วา่ อะไรท่ีนา่ กลวั จะเกิดขึ้น ตรอมใจไม่มี ความผาสกุ คบั แคน้ ใจเหมอื นอยา่ งถกู อดั ถกู บบี อาการใจเหลา่ น้ี แสดงออกมาให้เห็นทางกายอันเปน็ เรือนอาศยั ของจิตใจ อวัยวะ ทางกายทบ่ี อกใจอยา่ งดที ส่ี ดุ คอื ดวงตาและสหี นา้ ดวงตาจะเศรา้ สหี นา้ จะหมอง ร่างการทวั่ ไปจะซบู อาการทางกายเหล่าน้กี ลา่ ว ได้ว่าเป็นผลพลอยเสีย ดูอาการจิตใจที่มีทุกข์ว่าเป็นอย่างน้ี ๆ 31

ดูให้เห็นชัด ให้คล้ายกับส่องกระจกเห็นเงาหน้าของตนชัดเจน แล้วศึกษา คือพยายามค้นหาความจริงในจิตใจของตนเองต่อ ไปว่า เป็นอาการประจ�ำหรือเป็นอาการจร เทียบอย่างเป็นโรค ประจำ� หรอื เปน็ โรคจร มอี ะไรเปน็ เหตเุ ปน็ สมฏุ ฐาน จะเหน็ วา่ เปน็ อาการจร เพราะแต่ก่อนนีไ้ มเ่ คยมีเคยเปน็ เคยมีแต่อาการที่เป็น ความสุขอันตรงกันข้าม ถึงอาการที่เป็นความสุขก็เหมือนกัน คือเป็นอาการจร เพราะก่อนแต่น้ันก็ไม่เคยมีเคยเป็น ได้แก่ เมอ่ื เปน็ เดก็ ยงั ไมม่ อี าการจติ ใจเชน่ นี้ มาเรมิ่ มขี นึ้ ตง้ั แตเ่ มอ่ื ยา่ งเขา้ ดรุณวัย เริม่ มสี ่ิงเป็นที่รักขึน้ ตัง้ แตห่ นึง่ สงิ่ สองสามสิ่ง เปน็ ตน้ เม่ือศกึ ษาจิตใจของตนเองไปดังน้ี จักไดพ้ บสัจจะขึน้ สมจรงิ ตาม พระพุทธพยากรณ์ นี้แหละเปน็ เหตุเปน็ สมุฏฐาน การหัดศึกษาให้รู้จักกระบวนแห่งจิตใจของตนเองนั้น เป็นข้อท่คี วรทำ� ทั้งในคราวมสี ุขและในคราวมีทุกข์ เหตแุ หง่ สุข และทุกข์ ข้อท่ีส�ำคัญก็คือสิ่งที่เป็นท่ีรัก ในขณะที่มีสุขจะยก ไว้ก่อน จะกล่าวแต่ท่ีมีทุกข์ ให้รวมใจดูท่ีตัวความทุกข์ที่ก�ำลัง 32

เสวยอยู่ ดูอาการของจิตที่เป็นทุกข์ว่าเป็นอย่างไร ห่อเห่ียว อย่างไร มีอาการเศร้าหมองอย่างไร ห่อเหี่ยวอย่างไร หมดรส หมดความส�ำราญอย่างไร ดูความคิดว่าในขณะท่ีจิตเป็นทุกข์ เชน่ น้ี จติ มคี วามคดิ อยา่ งไร คดิ ถงึ อะไร กจ็ ะรวู้ า่ กำ� ลงั คดิ ถงึ เรอ่ื ง ทท่ี ำ� ใหท้ กุ ขน์ นั้ แหละ เพราะจติ ผกู อยกู่ บั เรอื่ งนนั้ มาก ความผกู จติ มมี ากในเรือ่ งใด ก็ดงึ จติ ใหค้ ิดถึงเรอื่ งน้ันมาก และเป็นทุกข์มาก ฉะนนั้ ความทุกข์จึงเป็นผลตามความผกู จิต (สังโยชน)์ ซ่งึ คอย ดึงจติ ให้คิดไปถึงเร่อื งท่ผี ูกไว้ในใจ อันท่ีจริงเร่ืองที่ผูกใจไว้น้ี มิใช่เฉพาะแต่ส่ิงท่ีเป็นที่รัก เทา่ นนั้ ถงึ สง่ิ ทไ่ี มเ่ ปน็ ทร่ี กั กผ็ กู ใจไวเ้ หมอื นกนั จงึ เกดิ ความชอบใจ และความไมช่ อบใจ ถ้าไม่มีความผกู ใจไวเ้ สยี เลย ก็จะไมม่ ที ุกสง่ิ คือท่รี ักกไ็ มม่ ี ทีไ่ มร่ ักกไ็ มม่ ี ตลอดถงึ ความยนิ ดียินรา้ ยกจ็ ะไม่มี ตามทกี่ ล่าวมาน้เี ปน็ กระบวนทางจติ กลา่ วสนั้ คอื ความ ผกู จติ อยกู่ บั เรอ่ื ง (อนั เรยี กวา่ อารมณ)์ ทที่ กุ ๆ คนประสบพบผา่ น 33

มาทางอายตนะมี ตา หู เป็นตน้ และความคิดทีถ่ กู ดงึ ให้คิดไปใน เรอื่ งทผี่ กู ใจอยเู่ สมอ ถา้ เปน็ เรอ่ื งของสงิ่ ทเี่ ปน็ ทรี่ กั แและไมเ่ ปน็ ไป ตามทปี่ รารถนาต้องการ ยง่ิ คิดไปก็ยิง่ เป็นทุกข์ไป จิตครุ่นคิดไป ดว้ ยเสวยทกุ ขไ์ ปดว้ ย “หยุดคิดได้เมื่อใด กห็ ยุดทกุ ขล์ งเมื่อนนั้ ” ค�ำว่า หยดุ คดิ หมายถึงหยดุ คิดถึงเรือ่ งท่ที ำ� ให้เปน็ ทุกข์ ถา้ กลา่ วดงั นแ้ี กใ่ คร กน็ า่ จะไดร้ บั ตอบวา่ สำ� หรบั หลกั การทวี่ า่ นนั้ ไม่เถียง แตท่ ำ� ไม่ได้ คอื จะห้ามมิใหค้ ิดไมไ่ ด้ ถา้ แยง้ ดงั นี้ กต็ อ้ ง รับรองว่าห้ามไม่ได้จริง ด้วยเหตุที่ยังความผูกจิตอยู่ในเรื่องน้ัน ดังทีไ่ ด้กลา่ วขา้ งต้นแล้ววา่ ความผูกจติ ไว้นเ้ี อง คอยดึงจติ ให้คิด ไปในเร่ืองที่ผูกไว้ เป็นดังน้ีจนกว่าจะปล่อยความผูกนี้ได้ ถ้าว่า ดังน้ี ก็น่าจะถูกประท้วงอีกว่าปล่อยไม่ได้ เพราะเป็นส่ิงน้ันส่ิงน้ี ซง่ึ เปน็ ทรี่ กั และสามญั ชนทว่ั ไปกจ็ ะตอ้ งมสี ง่ิ เปน็ ทร่ี กั เชน่ จะตอ้ ง มพี อ่ แมล่ กู หลานเปน็ ตน้ ทเ่ี ปน็ ทรี่ กั เมอื่ มขี นึ้ จติ ใจกจ็ ะตอ้ งผกู พนั ทเ่ี รยี กวา่ ความผกู จติ จงึ ไมส่ ามารถจะปลอ่ ยได้ ถา้ มกี ารประทว้ ง ดังนี้ ก็ตอบชี้แจงได้ว่า รับรองว่าสามารถแน่ ถ้าลองปฏิบัติดู 34

ตามค�ำส่ังสอนของพระพุทธเจ้า เพราะความผูกพันแห่งจิตใจ นเ้ี ปน็ กเิ ลส เพอื่ ทจ่ี ะชใ้ี หเ้ หน็ หน้าตาใหช้ ัดขน้ึ พระพุทธเจา้ ไดต้ รสั ไว้ในธรรมบท แปลความรวมกันว่า “ความโศก ความกลัว เกิดจากความรัก ความยินดี ความใคร่ (กาม) ความอยาก (ตณั หา) ส�ำหรับผู้ที่พ้นแล้วจากความรกั ความยินดี ความใคร่ (กาม) ความอยาก (ตัณหา) จะไม่มีความโศก ความกลัวจักมี แตท่ ่ีไหน” 35

สิง่ อนั เปน็ ทีร่ กั ของชวี ิต คนท่ัวไปนั้นย่อมมีความรัก ความยินดี ความใคร่ ความอยาก ว่าถึงความรักเพยี งขอ้ เดยี วกอ่ น ทกุ ๆ คนก็มอี ยู่ ในบุคคลและในส่วนต่าง ๆ มาก เช่น บุตรธิดารักมารดาบิดา มารดาบดิ าก็รกั บุตรธิดา สามกี ร็ กั ภรรยา ภรรยากร็ ักสามี แตม่ กั จะลมื นกึ ถงึ อกี ผหู้ นงึ่ ซงึ่ เปน็ ทรี่ กั ของตนเองอยา่ งลกึ ซงื้ คอื ตนเอง คอื ลืมนกึ รักตนเอง คดิ ดใู หด้ ีจะเห็นวา่ ตนเป็นทีร่ ักยง่ิ ของตนเอง อย่แู ล้ว ดังที่มเี ร่ืองเลา่ ว่า ครั้งหน่ึงพระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามพระนางมัลลิกา เทวีของพระองค์ว่า ใครเป็นท่ีรักของพระนางยิ่งกว่าตนเอง (ของพระนาง) พระนางกราบทูลว่าไม่มี แล้วกราบทูลถาม พระราชาเช่นเดียวกันว่า ใครเป็นท่ีรักของพระองค์ยิ่งกว่า พระองค์เอง ตรัสตอบว่าไม่มีเช่นเดียวกัน พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลข้อท่ีตรัสโต้ตอบกันน้ี 36

พระพุทธเจ้าตรัสอุทานขึ้นในเวลาน้ันว่า “ตรวจดูด้วยใจไปทุก ทศิ แลว้ ก็ไมพ่ บผทู้ ี่เปน็ ทีร่ ักย่งิ กวา่ ตนในทีไ่ หน ตนเปน็ ท่รี กั มาก ของคนอน่ื ๆ อยา่ งนน้ั เพราะเหตนุ นั้ ผรู้ กั ตนจงึ ไมค่ วรเบยี ดเบยี น ผู้อ่นื ” พระพุทธอุทานนี้ตรัสสอนให้คิดถึงใจเราเทียบกับใจเขา ดงั ทก่ี ลา่ วกนั วา่ นำ� ใจเขามาใส่ใจเรา เพ่ือจะไดส้ งั วรจากการท�ำ ที่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น แต่ก็เป็นอันทรงรับรองข้อท่ีพระนาง มัลลิกากราบทูลพระเจ้าปเสนทิโกศลน้ันว่า ไม่มีใครจะเป็นที่รัก ของตนย่ิงกว่าตน และพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ในพระธรรมบทว่า “ถา้ รวู้ า่ ตนเปน็ ทร่ี กั พงึ รกั ษาตนไวใ้ หด้ ี บณั ทติ พงึ ประคบั ประคอง ตนตลอดยาม (คือวยั ) ทัง้ สามยามใดยามหนงึ่ ” นี้เปน็ พระพทุ ธ- โอวาทตรัสเตือนไว้เพ่ือมิให้หลงลืมตนเองไปเสีย หน้าท่ีของตน นนั้ จะต้องรักษาประคับประคองตนเองไว้ให้ดี ควรสังเกตว่า พระพุทธองค์มิได้ตรัสสอนว่า จงรักตน หรือควรรักตนหรือต้องรักตน เพราะตนเป็นที่รักของตนอยู่แล้ว 37

แก่ทกุ ๆ คน คอื ทกุ ๆ คนต่างรกั ตนเองอยดู่ ว้ ยกนั แล้วและรกั ยิ่งกว่าส่ิงอื่นหรือใครอื่นท้ังหมด เมื่อมีความจริงอยู่ดังน้ี จึงไม่ จ�ำเป็นจะต้องตรัสสอนให้รักตนเข้าอีก แต่ตรัสสอนให้ท�ำความรู้ ดงั กลา่ วและใหร้ กั ษาตนใหด้ ี คิดดูอีกสักหน่อย เม่ือเกิดมาก็มาตนผู้เดียว คราวจะ ตายไปก็คงไปตนผู้เดียวอีกเหมือนกัน บุคคลและส่ิงท้ังปวง แม้จะเป็นที่รักยิ่งนัก กเ็ กิดข้นึ หรือมาพบกนั เข้าในภายหลงั และ มีอยู่เฉพาะในชีวิตนี้ ไม่มีที่จะไปด้วยกันกับตนในภพหน้า ส่ิงที่ จะไปด้วยคือบุญหรือบาปที่ท�ำไว้เอง แม้ในชีวิตน้ีก็มิใช่ว่า จะร่วมสุขร่วมทุกข์ไปด้วยกันทุกอย่าง เช่น ถึงคราวเจ็บก็ต้อง เจบ็ เอง ใครจะเจบ็ แทนกนั หาไดไ้ ม่ ตนเองเทา่ นน้ั ตอ้ งรว่ มสขุ ทกุ ข์ กบั ตนเองตลอดไป ในคราวเกดิ แก่ เจบ็ ตาย ในโลกน้ี โลกหนา้ ในมนุษย์ ในนรก ในสวรรค์ ตลอดถึงนิพพาน ก็เป็นเร่ืองของ ตนเองผู้เดียวทั้งหมด พิจารณาให้ตระหนักในความจริงดังน้ี จะชว่ ยถอนความผกู ใจเปน็ ทกุ ขอ์ อกไดบ้ า้ งไมม่ ากกน็ อ้ ย 38

ในครั้งพุทธกาล เมื่อพระเจ้ามหากัปปินะทรงสละ ราชสมบัติ เสด็จออกจากรัฐของพระองค์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงขออุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าได้ ประทานอุปสมบทให้เป็นภิกษุแล้ว ฝ่ายพระเทวีของพระองค์มี พระนามวา่ อโนชา ไดเ้ สดจ็ ตดิ ตามไปเฝา้ พระพทุ ธเจา้ ทรงสอดสา่ ย พระเนตรหาพระราชาวา่ จะประทบั อยทู่ ไี่ หน ในหมพู่ ระพทุ ธสาวก ที่น่งั แวดล้อมพระพทุ ธองคอ์ ยู่นนั้ เมื่อไม่ทรงเห็นก็กราบทลู ถาม พระพุทธองค์ว่า ได้ทรงเห็นพระราชาบ้างหรือ พระพุทธองค์ได้ ตรัสถามว่า ทรงแสวงหาพระราชาประเสริฐหรือว่าแสวงหา พระองค์เอง (ตน) ประเสริฐ พระนางทรงได้สติกราบทูลว่า แสวงหาตนประเสริฐ ทรงสงบพระทยั ฟังธรรมได้ ครัน้ ทรงสดับ ธรรมไป ก็ทรงเกิดธรรมจักษุคือดวงตาเห็นธรรม ที่เรียกว่า ธรรมจักษุนี้ มีแสดงไว้ในท่ีอ่ืนว่า คือเกิดดวงตาเห็นธรรมขึ้นว่า “สิ่งใดสิ่งหน่ึงมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งน้ันท้ังหมดมีความ 39

ดับไปเป็นธรรมดา” ได้แก่ เห็นธรรมดาท่ีเป็นของคู่กัน คือเกิด และดับ จะกลา่ ววา่ เหน็ ความดบั ของทุกสิ่งทีเ่ กดิ มากไ็ ด้ ชีวติ นีเ้ รยี กไดว้ า่ เป็นความเกิดส่งิ แรก ซงึ่ เป็นท่ีเกดิ ของ สิ่งทั้งหลายในภายหลัง ก็ต้องมีความดับ ส่ิงที่ได้มาพร้อมกับ ชีวติ ก็คอื ตนเอง นอกจากตนเองไมม่ อี ะไรทงั้ น้ัน สามีภรยิ าบตุ ร ธิดาทรัพย์สินเงินทองไม่มีท้ังนั้น เรียกว่าเกิดมาตัวเปล่ามาตัว คนเดียว พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “ตนแลเป็นคติ (ท่ีไปหรือ การไป) ของตน” ในเวลาดับชีวิต ก็ตนเองเท่านั้นต้องไปแต่ ผู้เดียวตามกรรม ทิ้งทุกสิ่งไว้ในโลกนี้ แม้ชีวิตร่างกายน้ีก็น�ำไป ดว้ ยไม่ได้ พระพุทธเจา้ ไดต้ รัสไว้วา่ “บคุ คลผ้จู ะตอ้ งตาย ทำ� บุญ และบาปทงั้ สองอนั ใดไวใ้ นโลกน้ี บญุ บาปทง้ั สองนนั้ เปน็ ของผนู้ นั้ ผนู้ นั้ พาเอาบญุ บาปทง้ั สองนนั้ ไป บญุ บาปทง้ั สองนนั้ ตดิ ตามผนู้ น้ั ไปเหมอื นอยา่ งเงาทไ่ี มล่ ะตัว” 40

ก็เม่ือตนเองเป็นผู้มาคนเดียวไปคนเดียว เมื่อมาก็มา ตามกรรม เมอ่ื ไปกไ็ ปตามกรรม ถงึ ผอู้ น่ื กเ็ หมอื นกนั ไมว่ า่ จะเปน็ ใครทั้งนนั้ คือจะเป็นสามีภรยิ า เปน็ บตุ รธิดา เป็นญาติมิตรหรือ แม้นเป็นศัตรู ต่างก็มาคนเดียวตามกรรม ไปตามกรรม ฉะน้ัน ก็ควรที่จะต้องรักตนสงวนตนแสวงหาตน มากกว่าท่ีจะรัก จะสงวนจะแสวงหาใครท้ังนน้ั ค�ำว่า แสวงหาตน เป็นค�ำมีคติท่ีซึ้ง คิดพิจารณาให้ เข้าใจให้ดี จะบังเกิดผลดยี ิง่ นัก แต่ทจี่ ะเริ่มแสวงหาตนได้ กต็ อ้ ง ไดส้ ตยิ อ้ นมานกึ ถึงตนในทางทีถ่ กู ทค่ี วร และคำ� ว่า แสวงหาตน หาได้มีความหมายว่าเห็นแก่ตนไม่ เพราะผู้เห็นแก่ตน หาใช่ผู้ที่ แสวงหาตนไม่ กลายเปน็ แสวงหาส่ิงท่มี ิใชต่ นไปเสีย 41

แง่คดิ เก่ียวกับชวี ิต อนั เหตกุ ารณท์ บ่ี งั เกดิ ขนึ้ แกช่ วี ติ มอี ยเู่ ปน็ อนั มากบงั เกดิ ขึน้ โดยไมร่ ้ไู มค่ ดิ มากอ่ น แตเ่ ม่ือเป็นเหตุการณ์ท่ีจะต้องเกิดกเ็ กดิ ข้นึ จนได้ ถ้าหากใครมองดเู หตุการณ์ต่าง ๆ เหลา่ นัน้ อยา่ งของ เล่น ๆ ไม่จริงจัง กไ็ มเ่ กิดทุกขเ์ ดือดร้อน หรอื จะเกิดบา้ ง ก็เกดิ อย่างเล่น ๆ ถ้าจะหนีเหตุการณ์เสียบ้าง ก็เหมือนอย่างหนีไป เทย่ี วเลน่ หรือไปพกั ผอ่ นเสียครง้ั คราวหนึง่ คนเรานน้ั เมอื่ เหน็ วา่ ทใ่ี ดมที กุ ข์ กจ็ ะตอ้ งหนไี ปใหพ้ น้ จาก คนหรือเหตุการณ์ท่ีกอ่ ทกุ ข์ให้เกดิ ขน้ึ ฉะน้ัน ถ้าแตล่ ะคนไดร้ ะลกึ ถงึ ขอ้ นี้ กค็ วรจะไมป่ ระพฤตหิ รอื กระทำ� การกอ่ ทกุ ขใ์ หแ้ กก่ นั ทง้ั นี้ ดว้ ยมีความสำ� นึกตนและประพฤตติ นใหอ้ ยใู่ นขอบเขตท่สี มควร เรื่องว่าอะไรสมควรอะไรไม่สมควรนั้น ถ้าคนเรามีสติ รู้จักตนตามเป็นจริง ไม่หลงตน ไม่ล�ำเอียงแล้ว ก็จะรู้ได้โดย ไม่ยาก บางทหี ลอกคนอนื่ ได้ แตห่ ลอกตนเองหาได้ไม่ เช่นคนที่ 42

ร้อู ยวู่ า่ ตนเองเปน็ อยา่ งไร แตเ่ ทยี่ วพดู โออ้ วดคนอนื่ วา่ วเิ ศษตา่ ง ๆ บางทีหลอกตนเองให้หลงไปสนิท แต่หลอกคนอ่ืนไม่ได้ เช่นคน ท่ีหลอกหาได้มีความวิเศษอันใดไม่ แต่เข้าใจตนเองว่าวิเศษแล้ว แสดงตนเช่นนั้น ส่วนคนอ่ืนเขารู้ว่าเป็นอย่างไร จึงหัวเราะเอา หากได้มองดูความเป็นไปต่าง ๆ กันของคนในทางท่ีน่าหัวเราะ ดังน้ี ก็น่าจะมีทุกข์น้อยลง การมองดูคนอ่ืนนั้นสู้มองดูตนเอง ไมไ่ ด้ เพราะตนเองต้องรับผิดชอบตอ่ ตนเองโดยตรง ส่วนคนอืน่ เขากต็ อ้ งรับผดิ ชอบต่อตัวเขาเอง เรอื่ งความรับผิดชอบน้ี บางที ก็นึกไปไม่ออกว่า ได้ท�ำอะไรไว้ จึงต้องรับผิดชอบเช่นนี้ เช่น ตอ้ งรับเหตกุ ารณต์ ่าง ๆ ทเี่ กดิ ขึ้นแก่ชีวิต ในฐานะเชน่ นี้ ผเู้ ปน็ ศษิ ยข์ องพระพทุ ธเจา้ ยอ่ มใชศ้ รทั ธา ความเช่ือในกรรมและผลของกรรม ท�ำกรรมท่ีผิดไว้ก็ต้องรับผิด ตรง ๆ ทำ� กรรมทช่ี อบไวก้ ต็ อ้ งรบั ชอบตา่ ง ๆ จะเลอื กเอาอยา่ งใด อยา่ งหนงึ่ หาไดไ้ ม่ เมอ่ื ยอมรบั กรรมเสยี ไดด้ งั น้ี กจ็ ะมใี จกลา้ หาญ เป็นอะไรเป็นกนั ไมก่ ลัวตอ่ เหตกุ ารณ์ตา่ ง ๆ และเมอ่ื เหตุการณ์ 43

ต่าง ๆ เกดิ ขนึ้ จะแก้อย่างไร ศษิ ย์ของพระพุทธเจ้าย่อมแก้ด้วย สตแิ ละปญั ญา เพอ่ื ให้เปน็ ผู้ชนะดว้ ยความดี พระพทุ ธเจ้าไดต้ รสั ไว้ว่า “พงึ ชนะคนตระหน่หี รือความ ตระหนี่ด้วยการให้” นเี้ ป็นวิธเี อาชนะวิธีหนึ่ง ใครเปน็ คนมคี วาม ตระหนี่และความโลภ ก็คือตัวเราเองหรือคนอ่ืนก็ได้ ถ้าเป็น ตวั เราเอง กจ็ ะตอ้ งเอาชนะดว้ ยการให้ พยายามใหต้ วั เราเองเปน็ ผใู้ ห้ ถา้ เปน็ คนอน่ื กอ็ าจเอาชนะเขาดว้ ยการใหไ้ ดเ้ หมอื นกนั เชน่ ใหส้ งิ่ ทเ่ี ขาตอ้ งการ เขากพ็ อใจ แลว้ ใหส้ ง่ิ ทเ่ี ราตอ้ งการ บางทกี ซ็ อื้ เขาไดด้ ว้ ยการใหท้ รพั ย์ ผทู้ ม่ี จี ติ ใจสงู บางคนสละใหย้ งิ่ กวา่ เขาขอ เปน็ ทานอยา่ งสงู ทที่ ำ� ใหเ้ ปน็ ทพ่ี ศิ วงแกค่ นอน่ื ๆ วา่ ทำ� ไมจงึ ใหไ้ ด้ คนย่อมปฏิบัติตามระดับของจิตใจ ไม่สามารถจะท�ำให้ ต่�ำกว่าระดับของตนได้ แต่คนดีนั้นพระย่อมรักษา ดังภาษิตว่า “ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม” ศิษย์ของพระพุทธเจ้า ย่อมมีศรัทธาอยู่อย่างม่ันคงดังน้ี และย่อมปฏิบัติตนเป็นผู้หลีก ออกอยเู่ สมอ โดยเฉพาะเป็นผ้หู ลกี ออกทางใจ จงึ ไมเ่ ป็นทุกข์ 44

อันเรื่องของชีวิต บางคราวก็ดูเป็นของเปิดเผยง่าย ๆ บางคราวกด็ ูลึกลบั เพราะเหตุการณท์ เ่ี กิดขน้ึ แกช่ ีวติ บางอย่าง ก็เกิดตามที่คนต้องการให้เกิด บางอย่างก็เกิดขึ้นโดยคนมิได้ เจตนาให้เกิด แต่ผลทกุ ๆ อย่างยอ่ มมเี หตุ ถ้าได้รเู้ หตกุ เ็ ปน็ ของ เปดิ เผย สว่ นทวี่ า่ ลกึ ลบั กเ็ พราะไมร่ เู้ หตุ จู่ ๆ กเ็ กดิ ผลขน้ึ เสยี แลว้ เชน่ ไมไ่ ดค้ ดิ วา่ พรงุ่ นจ้ี ะไปขา้ งไหน ครน้ั ถงึ วนั พรงุ่ นเ้ี ขา้ กต็ อ้ งไป ดว้ ยเหตกุ ารณท์ เ่ี กดิ ขนึ้ บดั เดย๋ี วนนั้ วา่ ถงึ คนทว่ั ไปแลว้ เรอื่ งของ พรุ่งนี้เป็นเร่ืองลึกลับ เพราะต่างก็ไม่รู้พรุ่งน้ีของตนเองจริง ๆ ถึงวันนี้เองก็รู้อยู่เฉพาะปัจจุบันคือเดี๋ยวน้ี แต่อนาคตหารู้ได้ไม่ วา่ ต่อไปแม้ในวันนจี้ ะเกดิ อะไรขน้ึ บา้ ง คนเรามีความคิดหวังกันไป ซ่ึงจะคิดอย่างไรก็คิดได้ และก็อาจจะท�ำให้ได้ผลตามที่คิด แม้คนที่คิดทุจริต ก็อาจได้ผล จากการท�ำทุจริต คนท่ีประทุษร้ายมิตรหรือคนดีคนบริสุทธ์ิ ก็อาจได้รบั ผลจากการทำ� นนั้ เชน่ ไดท้ รพั ยส์ นิ เงนิ ทอง วนั นจ้ี น แตพ่ รงุ่ นม้ี งั่ มขี น้ึ ชวนใหเ้ คลบิ เคลม้ิ ไปไมน่ อ้ ย และคนเปน็ อนั มาก 45

กด็ เู หมอื นจะเคลม้ิ ไปในผลทล่ี อ่ ใจเชน่ นงี้ า่ ย จนถงึ บางทคี นทเี่ คย ตรงก็กลับคด เคยเป็นมิตรกก็ ลบั เปน็ ศัตรู เพราะมุง่ แต่จะไดเ้ ปน็ ประมาณ เพราะความกลวั ตอ่ วนั พรงุ่ นห้ี รอื โลภตอ่ วนั พรงุ่ น้ี บางที ก็เพ่ือตนหรือเพ่ือผู้อ่ืนที่ตนรักใคร่ วันพรุ่งน้ีอาจจะรวยข้ึนจริง แตว่ ันพรงุ่ น้มี ใิ ช่มเี พยี งวันเดยี ว ผทู้ ่ีคดิ ใหย้ าวออกไปอกี หลาย ๆ พรุ่งน้ี จึงน่าจะสะดุดใจ และถ้าใช้ความคิดให้มากสักหน่อย เชน่ วา่ นา่ ละอายไหมท่ไี ปช่วงชงิ ของของผอู้ ่นื ย่ิงถา้ ผอู้ น่ื นน้ั เป็น คนดีคนบริสุทธิ์ ก็ย่ิงน่าละอายใจ เพราะคนดีอย่างที่เรียกว่า ใจพระนน้ั ยอ่ มถอื วา่ “แพเ้ ปน็ พระ ชนะเปน็ มาร” จงึ เปน็ ผยู้ อมให้ แกผ่ ทู้ ตี่ อ้ งการ แมจ้ ะตอ้ งเสยี จนหมดสน้ิ กย็ งั ดกี วา่ จะเปน็ ทกุ ขใ์ จ มาก เพราะเหตทุ จี่ ะตอ้ งแกง่ แยง่ จะคดิ เอาเปรยี บนน้ั ไมต่ อ้ งพดู ถงึ เพียงคิดให้พอเสมอกันก็ไม่ประสงค์จะได้เสียแล้ว คนดีท่ีมีใจ เชน่ น้ี ไมม่ ปี ระทษุ รา้ ยจติ ตอ่ ใครเลยแมแ้ ตน่ อ้ ย ใครตอ้ งการจะเอา เปรยี บเมอ่ื ใด กไ็ ดเ้ ปรยี บเมอื่ นนั้ แตข่ อ้ ทส่ี ำ� คญั หากไปกระทบคนดี มใี จพระนนั้ มใิ ชจ่ ะไดเ้ ปรยี บอยา่ งงา่ ยดายอยา่ งเดยี ว ยงั ไดก้ รรม 46

ทห่ี นักด้วย คือได้บาปหนักหนา คดิ เอาเปรยี บคนทคี่ ิดเอาเปรยี บ ด้วยกันยังบาปน้อยกว่า เพราะมีใจเป็นอกุศลเสมอกัน ข้อที่ว่า เป็นบาปหนักหนานั้น คือกดระดับแห่งจิตใจของตนเองลงไป ใหต้ ำ�่ ทราม ไมจ่ �ำตอ้ งไปพดู ถงึ นรกหรอื ผลอะไรทค่ี อยจะคา้ นอยู่ ระดบั ของคนแม้เพยี งคนสามัญยอ่ มมียตุ ิธรรมตามควร ไมต่ อ้ งการเสยี เปรียบ ไมต่ ้องการเอาเปรยี บใคร ไมร่ ังแกข่มเหง ผ้อู น่ื ไม่ตอ้ งพดู ถึงมิตรหรอื ผู้มคี ุณมีอปุ การะแกต่ น ซง่ึ จะตอ้ งมี ความซ่ือตรงต่อมิตร มีความกตัญญูต่อผู้มีคุณโดยแท้ คนบาป หนักก็คือ คนทมี่ รี ะดบั แห่งจิตใจตำ�่ ลงไปกวา่ นี้ พระพุทธเจ้าทรง ปรารภคนทมี่ รี ะดบั จติ ใจตา่ ง ๆ กนั น้ี จงึ ตรสั วา่ “ความดอี นั คนดี ท�ำง่าย แตค่ นชัว่ ทำ� ยาก สว่ นความชวั่ อันคนช่ัวทำ� งา่ ย แต่คนดี ท�ำยาก” เมื่อนั่งรถไปตามถนนสายตา่ ง ๆ ถึงตอนที่มสี ัญญาณ ไฟเขยี วแดง จะพบวา่ ถกู ไฟแดงทตี่ อ้ งหยดุ รถ มากกวา่ ไฟเขยี วซงึ่ แลน่ รถไปได้ น่านกึ ว่าการดำ� เนนิ ทางชวี ิตของทกุ คน มกั จะตอ้ ง 47

พบอปุ สรรคทที่ ำ� ใหก้ ารงานตอ้ งชะงกั หากเทยี บกบั ทางโปรง่ นา่ จะ ตอ้ งพบความตดิ ขดั มากกวา่ ทจ่ี ะปลอดโปรง่ ไปไดท้ เี ดยี ว บางครงั้ อาจต้องประสบเหตุท่ีน่าตกใจว่าจะล้มเหลวหรือเสียหายมาก คล้ายอุบัติเหตุของรถที่วิ่งไปในถนน คนที่อ่อนแอย่อมยอมแพ้ อปุ สรรคงา่ ย ๆ สว่ นคนทเ่ี ขม้ แขง็ ยอ่ มไมย่ อมแพ้ เมอ่ื พบอปุ สรรค ก็แก้ไขไป รักษาการงานหรือสิ่งท่ีมุ่งจะท�ำไว้ด้วยจิตใจที่มุ่งม่ัน ถืออุปสรรคเหมือนอย่างสัญญาณไฟแดงที่จะต้องพบเป็นระยะ ถา้ กลัวจะตอ้ งพบสญั ญาณไฟแดงตามถนนซ่ึงตอ้ งหยุดรถ ก็จะ ไปข้างไหนไม่ได้ แม้ในการด�ำเนินทางชีวิตก็ฉันน้ัน ถ้ากลัวจะ ต้องพบอุปสรรค กท็ ำ� อะไรไมไ่ ด้ ฉะน้นั พระพุทธเจ้าจงึ ตรสั สอน ไว้แปลความวา่ “คนพึงพยายามร�่ำไปจนกวา่ จะสำ� เร็จประโยชน์ ทตี่ อ้ งการ” ความไมส่ ำ� เรจ็ และความพบิ ตั ติ า่ ง ๆ อาจมไี ดเ้ หมอื นกนั เมื่อได้ใช้ความพยายามเต็มที่แล้วไม่ได้รับความส�ำเร็จก็ไม่ควร เสียใจ ควรคิดปลงใจลงว่า เป็นคราวที่จะพบความไม่ส�ำเร็จใน 48

เรอื่ งนี้ ทั้งไม่ควรจนปญั ญาทีจ่ ะคิดแกห้ รือท�ำการอยา่ งอนื่ ตอ่ ไป เพราะการงานท่ีจะพึงท�ำให้เกิดผลนั้นมีอยู่เป็นอันมาก ดังค�ำว่า “ทรัพย์นี้มไิ กล ใครปัญญาไว หาไดบ้ ่นาน” วสิ ยั คนมปี ญั ญาไม่ อับจนถึงกับไปคิดแย่งทรัพย์ของใคร คนที่เท่ียวลักขโมยแย่งชิง หรือท�ำทุจริตเพ่ือได้ทรัพย์ ล้วนเป็นคนอับจนปัญญาที่จะหาใน ทางสุจริตทง้ั นน้ั ส่วนความพบิ ตั ติ า่ ง ๆ นั้น เม่อื ไม่ประมาทยงั ตอ้ งพบ กแ็ ปลวา่ ถงึ คราวหรอื ทเี่ รยี กวา่ เปน็ กรรม เชน่ ถกู ไฟไหม้ หรอื ถกู เสยี หายต่าง ๆ เรอ่ื งของกรรมทหี่ มายถึงกรรมเก่า เป็นแรงดนั ทสี่ ำ� คญั อย่างหนึ่ง กรรมเก่าท่ีท�ำไว้ไม่ดีย่อมเป็นแรงดันให้พบผลที่ไม่ดี กรรมเก่าที่ท�ำไว้ดีเป็นแรงดันให้พบผลท่ีดี แต่ยังมีแรงดันอีก อย่างหนึ่งท่ีส่งเสริมหรือต้านทาน คือกรรมใหม่ท่ีท�ำในปัจจุบัน ถ้ากรรมปัจจุบันไม่ดีเป็นแรงดันโต้แรงดันของกรรมเก่าท่ีดี ส่งเสริมแรงดันของกรรมเก่าท่ีไม่ดีด้วยกัน ถ้ากรรมปัจจุบันดี ก็เป็นแรงดันโต้แรงดันของกรรมเก่าที่ไม่ดี ส่งเสริมแรงดันของ 49

กรรมเกา่ ทด่ี ดี ว้ ยกนั ความทจี่ ะโตก้ นั หรอื สง่ เสรมิ กนั ไดเ้ พยี งไรนนั้ ขน้ึ อยแู่ ก่ระดับของกำ� ลังท่แี รงหรอื อ่อนกว่ากนั เพียงไร คตทิ างพระพทุ ธศาสนาแสดงว่า “บาปกรรมที่บุคคลใด ทำ� ไว้แล้ว บคุ คลนนั้ ยอ่ มละได้ดว้ ยกุศล” ฉะนน้ั ผู้ท่ีมีศรัทธาใน กรรมหรือในบุญบาป จงึ ท�ำการทด่ี อี ยูเ่ สมอ และมจี ติ ใจเดด็ เด่ยี ว กล้าหาญ เพราะได้เหน็ แล้ววา่ บุญช่วยได้จริงและชว่ ยไดท้ ันเวลา ผลทเี่ กดิ ขึน้ ในระยะเวลาตา่ ง ๆ กนั เปน็ เครือ่ งพิสจู น์ ความจรงิ เร่ืองบญุ บาปซึ่งจะเห็นกันได้ในชวี ติ นี้ ชวี ิตของทุก ๆ คนทผี่ ่านพ้นไปรอบปหี นึ่ง ๆ นับวา่ เปน็ ลาภอยา่ งยงิ่ เมอื่ ถงึ วนั เกดิ บรรดาผทู้ น่ี บั ถอื พระพทุ ธศาสนาจงึ ถอื เปน็ ปรารภเหตทุ ำ� บญุ นอ้ ยหรอื มาก เพื่อฉลองอายทุ ผี่ า่ นมาและ เพอ่ื ความเจรญิ อายุ พรอ้ มทงั้ วรรณ สขุ พล ยง่ิ ขน้ึ ความเจรญิ อายุ วรรณ สขุ พล เปน็ พรทีท่ ุก ๆ คนปรารถนา แตพ่ รเหล่านี้ หาไดเ้ กดิ ขน้ึ ดว้ ยลำ� พงั ความปรารถนาเทา่ นนั้ ไม่ ยอ่ มเกดิ ขน้ึ จาก การท�ำบญุ ฉะนั้น คนไทยเราส่วนมากจงึ ยนิ ดีในการท�ำบญุ และ 50

ยนิ ดไี ด้รบั พรอนุโมทนาจากพระสงฆห์ รอื ผใู้ หญ่ ยินดีรบั ประพรม น้ำ� พระพุทธมนตใ์ นทส่ี ดุ แหง่ การทำ� บญุ ถอื ว่าเปน็ สริ ิมงคล พจิ ารณาดถู งึ พฤตกิ รรมในเรอื่ งนโี้ ดยตลอดแลว้ จะเหน็ ว่าพึงเป็นสิริมงคลจริง เพราะสารส�ำคัญของเร่ืองน้ีอยู่ที่ว่าได้ ทำ� บุญแล้ว คำ� อวยพรต่าง ๆ จงึ ตามมาทหี ลัง สนบั สนนุ กันให้ จติ ใจมคี วามสขุ ขน้ึ ในปจั จบุ นั ทนั ที ความสขุ อนั บรสิ ทุ ธน์ิ แ้ี หละคอื บญุ ดังมพี ทุ ธภาษติ ตรสั ไวแ้ ปลความวา่ “ทา่ นท้งั หลายอยา่ กลวั ต่อบุญเลย คำ� ว่าบุญนเี้ ปน็ ช่อื แหง่ ความสุข” หมายถงึ ความสุข ทบี่ รสิ ุทธิ์คือความสุขอนั เกดิ จากกรรมที่บรสิ ทุ ธิ์ ซง่ึ ก็เรียกวา่ บญุ เชน่ เดียวกนั อีกแหง่ หนึ่ง พระพุทธเจ้าได้ตรสั ไว้แปลความว่า “ผทู้ ่ีได้ ทำ� บญุ ไวบ้ นั เทงิ เบกิ บาน เพราะเหน็ ความบรสิ ทุ ธแ์ิ หง่ กรรมของตน ผทู้ ไ่ี ดท้ ำ� บาปไวอ้ บั เศรา้ เพราะเหน็ ความเศรา้ หมองแหง่ กรรมของ ตน” อันกรรมท่บี รสิ ุทธิ์เกดิ จากจติ ใจท่ีบรสิ ุทธิ์ เพราะสงบความ โลภโกรธหลง ประกอบด้วยธรรมมีเมตตากรณุ า เป็นต้น จะเหน็ 51

ไดจ้ ากจติ ใจของผทู้ ท่ี ำ� การบรจิ าคในการบญุ ตา่ ง ๆ ของผทู้ รี่ กั ษา ศีลและอบรมจติ ใจกับปัญญา ใคร ๆ ท่เี คยท�ำทาน รกั ษาศีล และอบรมจิตกับปัญญา ดังกล่าว ย่อมจะทราบได้ว่ามีความสุขอย่างไร ตรงกันข้ามกับ จิตใจท่ีเร่าร้อนด้วยกิเลสต่าง ๆ และแม้จะได้อะไรมาด้วยกิเลส มีความสุขตื่นเต้น ลองคิดดูให้ดีแล้วจะเห็นว่าเป็นความสุข จอมปลอม เพราะเป็นความสุขของคนท่ีหลงไปแล้วเหมือน ความสุขของคนท่ีถูกเขาหลอกลวงน�ำไปท�ำร้าย ด้วยหลอกให้ ตายใจและดีใจด้วยเคร่ืองล่ออย่างใดอย่างหน่ึง คนที่ตายใจเสีย เพราะเหตุน้ี คือคนท่ีประมาทไปแล้ว ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “คนประมาทแลว้ เหมอื นคนตาย” ไมอ่ าจจะเหน็ สจั จะคอื ความจรงิ ตามธรรมของพระพทุ ธเจา้ อาจคดั คา้ นคำ� สงั่ สอนของพระพทุ ธเจา้ ได้ อย่างท่ีคิดว่าตนฉลาด ไม่มีอะไรจะช่วยบุคคลประเภทนี้ได้ นอกจากการท�ำบุญ เพราะการท�ำบุญทุกคร้ังไป ย่อมเป็นการ ฟอกชำ� ระจติ ใจใหบ้ รสิ ทุ ธสิ์ ะอาดขน้ึ ทกุ ที เหมอื นอยา่ งการอาบนำ�้ 52

ช�ำระร่างกายซ่ึงท�ำให้ร่างกายสะอาดสบาย เม่ือจิตใจมีความ สะอาดบรสิ ุทธข์ิ ้นึ ตามสมควรแล้ว จะมองเหน็ ไดเ้ องวา่ ความสุข ที่บริสุทธ์ิแท้จริงน้ันเกิดจากกรรมท่ีบริสุทธิ์เท่าน้ัน จะได้ปัญญา ซาบซ้ึงถึงคุณพระท้ังสามว่า “ความเกิดขึ้นของพระพุทธะ ท้ังหลายให้เกิดสุขจริง การแสดงพระสัทธรรมให้เกิดสุขจริง ความพร้อมเพรียงของสงฆ์คือหมู่ให้เกิดสุขจริง ความเพียร ของหมู่ท่พี รอ้ มเพรียงกันใหเ้ กิดสขุ จรงิ ” ผู้ที่มีจิตใจ กรรม และความสุขที่บริสุทธ์ิดังน้ี ชื่อว่า ผู้มีบุญอันได้ท�ำแล้วในปัจจุบัน เป็นผู้ท่ีมีความมั่นคงในตนเอง อยา่ งทีใ่ คร ๆ หรืออะไรจะท�ำลายมิได้ และจะเจรญิ พร คอื อายุ วรรณ สุข พล ยิง่ ๆ ดว้ ยเดชบุญ ความเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ท้ังที่เป็น เหตุการณ์ส่วนตนและส่วนรวม ตลอดถึงท่ีเรียกว่าเหตุการณ์ ของโลก ได้เกิดขึ้นบางทีก็รวดเร็วอย่างไม่นึก ถึงกับท�ำให้คน ท้ังปวงพากันตะลึงงันก็มี เหตุการณ์ในวันนี้เป็นอย่างน้ี แต่วัน 53

พรุ่งน้ีเล่า ยากที่จะคาดว่าจะอย่างไร วันน้ียังอยู่ดี ๆ พรุ่งนี้มี ข่าวออกมาว่าส้ินชีพเสียแล้วก็มี เมื่อวานนี้ระเบิดกันตูมตามอยู่ วันน้ีประกาศออกไปว่าหยุดระเบิดส่วนใหญ่ก็มี วันพรุ่งน้ีจะเป็น อย่างไรอีกก็ยากที่จะทราบ ความเปลี่ยนแปลงของโลกดังน้ี ผทู้ ศ่ี กึ ษาธรรมของพระพทุ ธเจา้ ยอ่ มไมเ่ หน็ เปน็ ของแปลก ถา้ โลก จักหยุดเปลี่ยนแปลงนั่นแหละจึงจะแปลก ซ่ึงไม่เป็นฐานะที่จะ มไี ด้ เพราะขึ้นชอ่ื วา่ โลกแลว้ ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทเ่ี รียกว่า ความเปล่ียนแปลงนนั้ คือเหตุการณ์อย่างหนึ่งดับไป เหตุการณ์ อีกอย่างหนง่ึ ก็เกดิ ขึ้นแทน ฉะน้นั ความเปลี่ยนแปลงก็คือ ความ ดบั -เกดิ หรือ ความเกิด-ดบั ของส่งิ ท้งั หลาย นีเ้ ปน็ วิบากคอื เป็น ผล ถา้ เปน็ ผลทเ่ี กดิ ขน้ึ ตามธรรมชาติ กม็ คี ำ� เรยี กวา่ ปรากฏการณ์ ตามธรรมชาติ ซึ่งจะยกไว้ไม่พูดถึง ในท่ีนจ้ี ะพูดถงึ แต่ที่เกีย่ วกบั บคุ คล คอื ทบี่ คุ คลกอ่ ข้นึ เอง อันเหตุการณท์ ่คี นก่อให้เกดิ ขน้ึ น้นั นบั วา่ กรรมของคน หมายความวา่ การทค่ี นทำ� ขน้ึ ไมใ่ ชห่ มายความวา่ กรรมเกา่ อะไร 54

ทไ่ี มร่ ู้ กรรมคือการท่ีท�ำทร่ี ู้ ๆ อยู่นีแ่ หละ เม่ือก่อข้ึนด้วยกเิ ลส ก็เป็นเหตุท�ำลายล้าง แต่เม่ือก่อข้ึนด้วยธรรมก็เป็นเหตุเก้ือกูล ให้เกดิ ความสุข เหตุการณส์ ว่ นใหญข่ องโลกนั้น มีข้นึ ด้วยกเิ ลส หรือกรรมของคนไมม่ ากคนนัก แตม่ ีผลถึงคนท้งั ปวงมากมาย ถ้าจะถามว่า กิเลสซึ่งนับว่าอธรรมกับธรรมน้ัน ก่อให้ เกดิ เหตกุ ารณต์ า่ งกนั ตรงกนั ขา้ ม ใคร ๆ กน็ า่ จะมองเหน็ แตไ่ ฉน จงึ ยังใชก้ ิเลสกนั อยู่ พระพทุ ธศาสนาหรือศาสนาอ่ืน ๆ จะชว่ ย ใหค้ นใช้ธรรมกันให้มากกว่านีม้ ิไดห้ รือ ถา้ มีค�ำถามมาดังน้ี กน็ ่าจะมคี ำ� ถามยอ้ นไปบ้างว่า เม่อื เป็นส่ิงท่ีน่ามองเห็นกันง่ายดังน้ัน ท�ำไมใคร ๆ จึงไม่สนใจที่จะ ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้ากันให้มากขึ้นเล่า พระพุทธศาสนา พร้อมท่ีจะช่วยทุก ๆ คนอยู่ทุกขณะ แต่เมื่อใครปิดประตูใจ ไม่เปดิ รับธรรม พระพทุ ธศาสนากเ็ ขา้ ไปช่วยไม่ได้ เมอื่ เป็นเช่นน้ี โลกจึงต้องปราบกันลงไปด้วยก�ำลังต่าง ๆ แม้ฝ่ายถูกก็ต้องใช้ ก�ำลงั แก่ฝ่ายผดิ นับว่าเป็นเรอื่ งของโลก ซึ่งมีวนุ่ วายมสี งบสลบั 55

กันไป และมนุษย์เราน้ันแม้มีก�ำลังกายด้อยกว่าช้างม้าเป็นต้น แตม่ กี ำ� ลงั ปญั ญาสงู กวา่ กำ� ลงั ปญั ญานเ้ี องทสี่ รา้ งแสนยานภุ าพ ได้ยิ่งใหญ่ ท้ังสร้างระบอบธรรมอย่างดีวิเศษขึ้นด้วย ฉะนั้น ในขณะที่มีจิตใจได้ส�ำนึกได้สติข้ึน แม้จะหลังท่ีตีกันมาใหญ่แล้ว กจ็ ะเปน็ โอกาสทมี่ ปี ญั ญามองเหน็ ธรรม และกลบั มาใชธ้ รรมสรา้ ง ความเจริญและความสขุ กนั ต่อไป 56

จุดหมายของชีวติ ชีวิตอันอุดม เป็นจุดหมายท่ีพระพุทธเจ้าสอนให้ทุกคน ปฏบิ ตั ิให้ถึง ถ้าจะต้ังปัญหาวา่ อะไรคือชวี ิตอันอดุ ม ก็น่าจะต้อง พจิ ารณากนั คำ� วา่ อุดม แปลวา่ สงู สุด ชีวติ อันอดุ มคอื ชวี ิตท่ี สูงสุด ผลท่ีปรารถนาจะได้อย่างสูงสุดในชีวิตใช่ไหมเป็นชีวิตอัน อดุ ม ถา้ ถือเอาความปรารถนาเป็นเกณฑด์ ังน้ี กต็ อบไดว้ า่ ไมใ่ ช่ เกณฑจ์ ดั ระดบั ชวี ติ ของพระพทุ ธเจา้ แนน่ อน เพราะแตล่ ะคนยอ่ ม มคี วามปรารถนาต่าง ๆ กนั ทั้งเพิ่มความปรารถนาขนึ้ ได้เสมอ จนถงึ มีพระพทุ ธภาษิตตรสั ไว้วา่ “แมน่ ำ�้ เสมอดว้ ยตัณหา (ความ อยาก) ไม่มี” เช่น บางคนอยากเรียนให้ส�ำเร็จปริญญาขั้นนั้น ข้ันนี้ บางคนอยากเป็นเศรษฐี บางคนอยากเป็นเจ้าเมืองอยาก เปน็ อธบิ ดี อยากเป็นผู้แทนราษฎร อยากเปน็ รัฐมนตรี อยากเปน็ นายกรฐั มนตรี เปน็ ตน้ แตค่ นทมี่ คี วามอยากดงั นี้ จะประสบความ สำ� เรจ็ ดงั ทอ่ี ยากไดส้ กั กคี่ น ตำ� แหนง่ ตา่ ง ๆ เหลา่ นยี้ อ่ มมจี ำ� นวน 57

จำ� กดั จะเปน็ ดว้ ยกนั ทกุ คนหาไดไ้ ม่ บางทคี นทไี่ มไ่ ดค้ ดิ ปรารถนา วา่ จะเปน็ กไ็ ดเ้ ปน็ บางคนคดิ อยากและขวนขวายตา่ ง ๆ มากมาย กไ็ มไ่ ด้เป็น ตอ้ งไปเป็นอยา่ งทีไ่ มอ่ ยากกม็ อี ยมู่ าก ฉะน้ัน ผลท่ีได้ด้วยความอยากอันเป็นตัณหา จึงมิใช่ เป็นเกณฑ์จัดว่าเป็นชีวิตอันอุดม เช่นว่าเมื่อได้เป็นอย่างน้ัน ๆ แล้วก็เป็นอันได้ถึงขีดชีวิตอันอุดม ในทางโลกอากจะเข้าใจกัน เช่นนั้น เช่น ท่ีพูดว่าก�ำลังรุ่งเรือง หมายถึงอยู่ในต�ำแหน่งสูง มีทรัพย์ มีบริวารมาก ก็ว่าชีวิตขึ้นถึงขีดสูง แต่ละคนย่อมมี ขีดสูงสุดต่างกัน ขีดสูงสุดของผู้ใดก็เป็นชีวิตอันอุดมของผู้น้ัน แต่ความข้ึนถึงขีดสูงสุดของชีวิตแบบน้ี ตามสายตาของท่านผู้รู้ ยอ่ มวา่ เปน็ เหมอื นอยา่ งความขน้ึ ของพลุ หรอื ความขนึ้ ของปรอท คนเปน็ ไข้ คอื เปน็ ของชว่ั คราว บางทใี นขณะทช่ี ะตาชวี ติ ขน้ึ สงู นน้ั กลบั มชี วี ติ ไมเ่ ปน็ สขุ ตอ้ งเปน็ ทกุ ขม์ ากเสยี อกี บางคนอาจจะไม่ ตอ้ งการต�ำแหน่งอะไรสงู นกั แตอ่ ยากเรยี นให้รู้มาก ๆ ให้สำ� เร็จ 58

ช้ันสูง ๆ ส่ิงอ่ืน ๆ ไม่ส�ำคัญ แต่ความมีวิชาสูง (ทางโลก) จะหมายความวา่ มชี วี ติ สงู ขึน้ ด้วยหรอื ไม่ อันวิชาย่อมเป็นปัจจัยอดุ หนุนชวี ิตข้ึนอยา่ งหนึ่ง แตจ่ ะ ตอ้ งมปี จั จยั อน่ื รว่ มสนบั สนนุ อกี หลายอยา่ ง ดงั จะเหน็ ตวั อยา่ งคน ทเ่ี รยี นมามวี ชิ าสูง ๆ แตร่ กั ษาตวั ไมร่ อด หรือรักษาตวั ให้ดีตาม สมควรไมไ่ ด้ ทง้ั ไมไ่ ดร้ บั ความนบั ถอื จากคนทง้ั หลายกม็ อี ยไู่ มน่ อ้ ย เพราะฉะนน้ั พระพุทธเจา้ ผตู้ รสั รจู้ ึงได้ทรงวางเกณฑข์ องชีวติ ไว้ วา่ ชีวิตมี ๓ อย่างก่อน คอื ทุชีวติ ชีวติ ช่วั รา้ ย หมายถงึ คนท่ี ใช้ชีวิตทำ� กรรมชวั่ ร้ายตา่ ง ๆ โมฆชวี ติ ชีวิตเปลา่ หมายถึงคน ท่ีปล่อยให้ชีวิตล่วงไปเปล่าปราศจากประโยชน์ และ สุชีวิต ชีวิตดี หมายถึงคนท่ีใช้ชีวิตประกอบกรรมที่ดีท่ีชอบต่าง ๆ และชวี ิตดนี ้ีนี่เอง เมือ่ มีมาก ๆ ขึ้น จะกลายเป็นชวี ติ อุดมในท่สี ุด ชวี ติ อนั อดุ มคอื ชวี ติ อนั สงู สดุ ในแงข่ องพระพทุ ธศาสนา คือชีวิตที่ดี อันเรียกว่าสุชีวิต หมายถึงความดีที่อาศัยชีวิต 59

ท�ำขึ้น ชีวติ ของผู้ทีท่ �ำดจี งึ เรียกวา่ ชีวติ ดี เมื่อท�ำดีมาก ชวี ติ ก็ สงู ขนึ้ มาก ท�ำดีท่ีสดุ ชวี ิตก็สงู สุด ที่เรียกว่าชีวิตอุดมน้ัน องค์ประกอบของส่ิงที่เรียกว่า ความดใี นชวี ิตมี ๔ ประการ คอื กรรม วิชา ศลี และ ธรรม อธิบายสั้น ๆ กรรม คือการงานที่ท�ำ หมายถึงการงานที่เป็น ประโยชน์ต่าง ๆ วิชา คือความรู้ในศิลปวิทยา ศีล คือความ ประพฤติที่ดี ธรรม คือคุณสมบัติที่ดีในจิตใจ ชีวิตที่ดีจะต้องมี องคคุณท้ังสี่ประการน้ี ชีวิตจะสูงขึ้นเพียงไร ก็สุดแต่องคคุณ ทั้งส่นี จ้ี ะสูงขึน้ เท่าไร นึกดูถึงบุคคลในโลกที่คนเป็นอันมากรู้จัก เรียกว่าคน มชี อื่ เสยี ง ลองตรวจดวู า่ อะไรทำ� ใหเ้ ขาเปน็ คนสำ� คญั ขนึ้ กจ็ ะเหน็ ไดว้ า่ ขอ้ แรกกค็ อื กรรม การงานทเี่ ขาไดท้ ำ� ใหป้ รากฏ เปน็ การงาน ท่ีสำ� คญั ในทางดีก็ได้ ในทางเสยี ทางร้ายก็ได้ ในทางดี เช่น คนที่ ได้ท�ำอะไรเป็นส่ิงเก้ือกูลมาก ในทางชั่ว เช่น คนท่ีท�ำอะไรที่ เลวรา้ ยเป็นขอ้ ฉกรรจ์ เหล่าน้ีเกยี่ วแกก่ รรมทง้ั นนั้ 60

ไมต่ อ้ งคดิ ออกไปใหไ้ กลตัว คิดเข้ามาทตี่ นเอง กจ็ ะเหน็ วา่ การงานของตนเปน็ องคป์ ระกอบสำ� คญั ของชวี ติ คนเราทกุ คน จะเป็นอะไรขึ้นมาก็เพราะการงานของตน เช่น จะเป็นชาวนา ก็เพราะท�ำนา กสิกรรมเป็นการงานของตนของผู้ท่ีเป็นชาวนา จะเปน็ พอ่ คา้ กเ็ พราะทำ� พาณชิ ยการคอื การคา้ จะเปน็ หมอกเ็ พราะ ประกอบเวชกรรม จะเปน็ นักเรยี นนักศกึ ษาก็เพราะท�ำการเรียน การศึกษา จะเปน็ โจรก็เพราะทำ� โจรกรรม ดงั นเ้ี ปน็ ต้น กรรมทงั้ ปวงนไ้ี มว่ า่ ดหี รอื ชวั่ ยอ่ มเกดิ จากการทำ� อยเู่ ฉย ๆ จะเป็นกรรมอะไรขึ้นมาหาได้ไม่ จะเป็นกรรมชั่วก็เพราะท�ำ อยเู่ ฉย ๆ กรรมชวั่ ไมเ่ กิดข้ึนมาเองได้ แต่ทำ� กรรมช่วั อาจรสู้ ึกว่า ทำ� ไดง้ า่ ย เพราะมกั มคี วามอยากจะทำ� มแี รงกระตนุ้ ใหท้ ำ� ในเรอ่ื ง นพ้ี ระพุทธเจา้ ตรสั ไวว้ ่า “กรรมช่วั คนชั่วทำ� งา่ ย แต่คนดีทำ� ยาก” ฉะน้ัน ใครที่รู้สึกตนว่าท�ำชั่วได้ง่าย ก็ต้องเข้าใจว่า ตนเองยังเป็นคนชั่วอยู่ในเร่ืองน้ัน ถ้าตนเองเป็นคนดีขึ้นแล้ว 61

จะทำ� ชวั่ ในเรอ่ื งนนั้ ไดย้ ากหรอื ทำ� ไมไ่ ดเ้ อาทเี ดยี ว ชวี ติ ชว่ั ยอ่ มเกดิ จากการท�ำชั่วน่ีแหละ สว่ นกรรมดกี เ็ หมอื นกนั อยเู่ ฉย ๆ จะเกดิ เปน็ กรรมดขี นึ้ มาเองหาไดไ้ ม่ แตอ่ าจรสู้ กึ วา่ ทำ� กรรมดยี าก จะตอ้ งใชค้ วามตง้ั ใจ ความเพยี รมาก แมใ้ นเรอื่ งของกรรมดี พระพทุ ธเจา้ กไ็ ดต้ รสั ไวว้ า่ “กรรมดคี นดที ำ� งา่ ย แต่คนช่วั ท�ำยาก” ฉะนน้ั ใครทที่ �ำดยี ากในขอ้ ใด กพ็ งึ ทราบว่าตนเองยังไม่ ดีพอ ต้องส่งเสริมตนเองให้ดีขึ้นอีกด้วยความพากเพียรท�ำ กรรมดีนี่แหละ ถ้าเกียจคร้านไม่ท�ำกรรมดีอะไร ถึงจะไม่ท�ำ กรรมช่วั ชวี ิตกเ็ ปน็ โมฆชีวติ คือชวี ิตเปลา่ ประโยชน์ คา่ ของชีวิต จงึ มีไดด้ ว้ ยกรรมดี ทำ� กรรมดีมาก คา่ ของชวี ติ กส็ ูงมาก ชีวิตของทุกคนเก่ียวข้องกับกรรม ทั้งที่เป็นกรรมเก่า ทงั้ ท่ีเป็นกรรมใหม่ จะกล่าวว่าชีวิตเปน็ ผลของกรรมกไ็ ด้ 62

คำ� วา่ กรรมเก่า กรรมใหม่ นี้ อธบิ ายไดห้ ลายระยะ เช่น ระยะไกล กรรมทท่ี ำ� แลว้ ในอดตี ชาติ เรยี กวา่ กรรมเกา่ กรรมทที่ ำ� แล้วในปจั จุบันชาติ เรียกว่ากรรมใหม่ อธบิ ายอยา่ งน้ีอาจจะไกล มากไป จนคนที่ไม่เช่ืออดีตชาติเกิดความคลางแคลงไม่เชื่อ จงึ เปล่ยี นมาอธบิ ายระยะใกล้วา่ ในปัจจุบนั ชาติน้ีแหละ กรรมท่ี ท�ำไปแล้วต้ังแต่เกิดมาเป็นกรรมเก่า ส่วนกรรมท่ีเพิ่งท�ำเสร็จลง ไปใหม่ ๆ เป็นกรรมใหม่ แม้กรรมที่ก�ำลังท�ำหรือท่ีจะท�ำก็เป็น กรรมใหม่ ความมีชีวิตดีหรือชั่วย่อมขึ้นอยู่แก่กรรมที่ท�ำแล้วน้ี กลา่ วอกี อยา่ งหนงึ่ วา่ ความขน้ึ หรอื ลงแหง่ ชวี ติ ยอ่ มแลว้ แตก่ รรม แต่ก็อาจจะกล่าวว่าย่อมแล้วแต่บุคคลด้วย เพราะบุคคลเป็นผู้ ทำ� กรรมเป็นเจ้าของกรรม สามารถท่ีจะละอกุศลกรรมด้วยกุศล กรรมได้ คอื สรา้ งกศุ ลกรรมขน้ึ อยเู่ สมอ เมอ่ื กศุ ลกรรมมกี ำ� ลงั แรง กว่า อกุศลกรรมจะตามไมท่ ันหรือจะเป็นอโหสกิ รรมไป 63

แต่ในการสร้างกุศลกรรมน้ัน ย่อมข้ึนอยู่แก่จิตใจเป็น ประการส�ำคัญ คือจะต้องมีจิตใจประกอบด้วยสัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบ ตั้งต้นแต่เห็นว่าอะไรเป็นบาปอกุศล อะไรเป็น บุญกุศล ตลอดถึงเห็นในเหตุผลแห่งทุกข์และความดับทุกข์ตาม เป็นจริง ความเห็นชอบดังนี้ จะมีขึ้นก็ต้องอาศัยวิชาที่แปลว่า ความรู้ อนั คำ� ทหี่ มายถงึ ความรู้ มอี ยหู่ ลายคำ� เชน่ วชิ า ปญั ญา ญาณ เฉพาะคำ� วา่ วชิ า หมายถึงความรู้ดังกล่าวกไ็ ด้ หมายถึง วิชาท่ีเรยี นรู้ ดังทพ่ี ูดกนั ว่า เรียนวิชานนั้ วชิ าน้ีกไ็ ด้ ในทีน่ ี้หมาย ถึงรวม ๆ กันไป จะเปน็ ความรโู้ ดยตรงกไ็ ด้ จะเป็นความรู้ท่เี รียน ดังท่ีเรียกว่าเรียนวิชาก็ได้ เมื่อหมายถึงตัวความรู้โดยตรงก็เป็น อย่างเดียวกับปญั ญา วิชาเป็นองค์ประกอบส�ำคัญแห่งชีวิตอีกข้อหน่ึง และ เมอ่ื พจิ ารณาดแู ลว้ จะเหน็ ว่า กรรมทกุ ๆ อย่างยอ่ มตอ้ งอาศยั 64

วิชา ถ้าขาดวิชาเสีย จะท�ำกรรมอะไรหาได้ไม่ คือจะต้องมีวิชา ความรู้จึงจะท�ำอะไรได้ ทุกคนจึงต้องเรียนวิชาส�ำหรับใช้ในการ ประกอบกรรมตามทปี่ ระสงค์ เชน่ ผทู้ ป่ี ระสงคจ์ ะประกอบกสกิ รรม กต็ ้องเรยี นวิชาทางกสิกรรม จะประกอบอาชพี ทางตุลาการหรือ ทนายความ ก็ต้องเรียนวิชากฎหมาย ดังน้ีเป็นต้น นี้เป็นวิชา ความรู้ท่ัวไป วิชาอีกอย่างหน่ึง คือวิชาที่จะท�ำให้เป็นสัมมาทิฐิ ดงั กลา่ วมาขา้ งตน้ ซงึ่ จะเปน็ เหตใุ หล้ ะอกศุ ลกรรมดว้ ยกศุ ลกรรม และทจี่ ะเปน็ เหตใุ หล้ ะความทกุ ขท์ เี่ กดิ ขน้ึ ทางใจได้ วชิ าละอกศุ ลธรรม และวิชาละความทุกข์ใจน้ี เป็นวิชาส�ำคัญท่ีจะต้องเรียนให้รู้ และเป็นวิชาของพระพุทธเจ้าโดยตรง ถึงจะรู้วิชาอื่นท่วมท้น แตข่ าดวิชาหลังน้ี ก็จะรักษาตวั รอดไดโ้ ดยยาก 65

พ่งึ ผิดที่ ชวี ิตยอ่ มมีภยั ภัยของชีวิตโดยตรงคือกิเลส กล่าวอย่างสามัญ คือ โลภะ ความอยากได้ โทสะ ความขัดเคือง โมหะ ความหลง เรียกกัน ส้ัน ๆ ว่า โลภ โกรธ หลง ส�ำหรับภูมิคฤหัสถ์ หมายถึงท่ีเป็นมูลให้ประพฤติช่ัว เรียกว่า กิเลสภัย ๑ อกุศล ทจุ ริตบาปกรรม เรยี กวา่ ทุจรติ ภัย ๑ ทางดำ� เนินทชี่ วั่ ประกอบ ด้วยทุกข์เดือดร้อน เรียกว่า ทุคติภัย ๑ ทั้งสามนี้เป็นเหตุผล เนือ่ งกนั คือ กเิ ลสเปน็ เหตใุ หป้ ระกอบทจุ ริต ทจุ ริตก็สง่ ไปสู่ทุคติ ภยั เหล่านี้บุคคลน่ันเองก่อขึ้นแก่ตน คอื กอ่ กเิ ลสขน้ึ ก่อน แล้วก็ กอ่ กรรมกอ่ ทกุ ขเ์ ดอื ดรอ้ น ทง้ั นเ้ี พราะระลกึ แลน่ ไปผดิ จะกลา่ ววา่ ถงึ สรณะผดิ ก็ได้ คือถึงกเิ ลสเปน็ สรณะ ไดแ้ ก่ ระลกึ แล่นไปถงึ สิง่ ที่เป็นเครอื่ งก่อโลภโกรธหลง เช่น แกว้ แหวน เงนิ ทอง ลาภ ยศ เปน็ ตน้ ทไ่ี มค่ วรไดค้ วรถงึ แกต่ น จะกลา่ ววา่ ถงึ ลาภยศเชน่ นน้ั เปน็ สรณะกไ็ ด้ ด้วยจำ� แนกออกเปน็ สงิ่ ๆ และระลึกแล่นไปถึงบคุ คล 66

ผมู้ ีโลภโกรธหลงว่า ผ้นู ั้นเป็นอยา่ งนัน้ ผู้นเ้ี ปน็ อยา่ งนแ้ี ละถอื เอา เป็นตัวอย่าง ถึงกรรมที่เป็นทุจริตเป็นสรณะ คือ ระลึกแล่นไป เพ่อื ฆา่ สัตว์ตัดชีวติ เพือ่ ลกั ขโมยฉ้อโกง เพื่อประพฤตผิ ดิ ในทาง กาม เพอ่ื พูดเทจ็ เพอื่ ดื่มน�้ำเมา อันเปน็ ทต่ี ั้งแหง่ ความประมาท หรือระลึกแล่นไปในทางอบายมุขต่าง ๆ เมื่อจิตระลึกแล่นไป เชน่ น้ี กเ็ ปน็ ผเู้ ขา้ นงั่ ใกลก้ เิ ลสทจุ รติ นนั้ ๆ ดว้ ยจติ กอ่ น แลว้ กเ็ ขา้ นั่งใกล้ด้วยกาย ด้วยประพฤติทุจริตน้ัน ๆ ทางกายวาจาใจ ทางด�ำเนินของตนจึงเป็นทุคติต้ังแต่เข้าน่ังใกล้กิเลสทุจริตใน ปัจจบุ ันนี้ทีเดยี ว คนเปน็ ผูก้ อ่ ภัยขน้ึ แกต่ นด้วยตนเอง เพราะถึง สรณะที่ผิดฉะน้ี และเพราะมีกิเลสก�ำบังปัญญาอยู่ จึงไม่รู้ว่า เปน็ ภยั ส่วนผู้ท่ถี ึงพระพทุ ธเจา้ พระธรรม พระสงฆ์ เปน็ สรณะ ท่ีระลึกแล่นไปของจิต ตลอดถึงน�ำกายเข้านั่งใกล้เป็นอุบาสก อุบาสิกาของพระพุทธเจ้า ย่อมเป็นผู้ไม่ก่อภัยเหล่าน้ี เพราะ พระรัตนตรัยเป็นที่ระลกึ ทีไ่ มก่ อ่ ภยั ทกุ อยา่ ง จึงเป็นผ้ลู ะภัยได้ 67

อนงึ่ ผถู้ งึ พระพทุ ธเจา้ พระธรรม พระสงฆเ์ ปน็ สรณะเขา้ นง่ั ใกลพ้ ระรตั นตรยั ยอ่ มเปน็ ผใู้ ครป่ รารถนาธรรม ทเี่ รยี กวา่ ธรรม กามบคุ คล จงึ เปน็ ผู้พอใจขวนขวายและต้ังใจสดับฟังธรรมจึงได้ ปัญญารู้ธรรมย่ิงข้ึนโดยล�ำดับ ความรู้ธรรมน้ัน กล่าวโดยตรง ก็คือรูส้ ัจจะ สภาพทจ่ี ริง กล่าวอย่างสามัญ ได้แก่ ร้วู ่าอะไรดีมี คณุ ประโยชน์ เป็นบุญเปน็ กุศล เป็นทางเจริญ อะไรช่วั เปน็ โทษ ไรป้ ระโยชน์ เปน็ บาปเป็นอกุศล เปน็ ทางเสื่อมเสยี อะไรเปน็ วิธีท่ี จะละหลกี ทางเส่ือมเสียน้ัน ๆ ดำ� เนนิ ไปสู่ทางเจริญ กล่าวอีกนัย หนึ่งกค็ อื รู้อรยิ สจั จ์ แปลว่า ของจริงของพระอริยะ คอื รูจ้ ักทกุ ข์ รู้จักเหตุเกิดทุกข์ รู้จักความดับทุกข์ รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความ ดบั ทุกข์ หลักอรยิ สจั จน์ อี้ าจน้อมมาใชเ้ พอ่ื แก้ทุกขใ์ นโลกไดท้ ่ัวไป และเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนแก่ผู้ท่ียังเกลือกกลั้วอยู่ ด้วยทุกข์ และมีความปรารถนาเพื่อจะเปลื้องทุกข์ออกจากตน เพราะหลกั อรยิ สจั จ์เป็นหลกั ของเหตผุ ล ผลตา่ ง ๆ น้นั ย่อมเกิด 68

แต่เหตุ เมื่อจะเปลี่ยนแปลงผล ก็ต้องเปล่ียนแปลงเหตุหรือ แกเ้ หตุ ผกู้ ลา่ ววา่ ไมต่ อ้ งการผลอยา่ งน้ี ๆ แตย่ งั ประกอบเหตเุ พอ่ื ให้เกิดผลอยา่ งนั้นอยู่ ไม่สามารถจะพน้ จากผลอยา่ งนน้ั ได้ เช่น กล่าวว่าไม่ต้องการความเสื่อมทรัพย์ แต่ก็ด�ำเนินไปในอบายมุข มเี ป็นนักเลงการพนันเป็นต้น กต็ อ้ งประสบความเสื่อมทรัพยอ์ ยู่ นน้ั เอง กลา่ ววา่ ไมต่ อ้ งการความววิ าทบาดหมางในระหวา่ ง แตย่ งั ประพฤตกิ อ่ เหตวุ ิวาทอยู่ ก็คงตอ้ งวิวาทกันอยนู่ น่ั เอง กล่าววา่ ไมต่ อ้ งการทคุ ติ แตย่ งั ประพฤตทิ จุ รติ อยู่ กค็ งตอ้ งประสบทคุ ตอิ ยู่ น่ันเอง กลา่ ววา่ ไมอ่ ยากแก่เจ็บตาย แต่ยังยดึ ถอื แกเ่ จ็บตายเปน็ ของเราอยู่ ก็ตอ้ งประสบทกุ ขเ์ หล่านอี้ ยูน่ ่ันเอง ทุกข์ในข้อหลงั นี้ พระบรมศาสดาทรงยกแสดงเปน็ ทกุ ขสจั จ์ ในทท่ี รงแสดงอรยิ สจั จ์ ทั่วไป และทรงยกตัณหาคือความด้ินรนกระเสือกกระสนของใจ เพ่ือได้ส่ิงท่ีชอบ เพื่อเป็นนั่นเป็นนี่ เพื่อไม่เป็นนั่นเป็นน่ี ว่าเป็น เหตุเกดิ ทุกข์ ยกทางมอี งคแ์ ปดมีความเห็นชอบ เปน็ ตน้ วา่ เปน็ 69

ทางปฏบิ ตั ใิ หถ้ งึ ความดบั ทกุ ข์ ความเหน็ ชอบนนั้ กค็ อื เหน็ เหตผุ ล ทั้งสองฝ่าย ตามหลกั อรยิ สัจจน์ นี้ นั่ เอง กล่าวโดยย่อ เมือ่ จะละ ทกุ ขก์ ต็ อ้ งรจู้ กั ทกุ ขแ์ ละปลอ่ ยทกุ ขเ์ สยี ดว้ ยปญั ญาทเี่ ขา้ ถงึ สจั จะ คอื ความจรงิ เมอ่ื ละทกุ ขไ์ ด้ กย็ อ่ มประสบความสงบสขุ โดยลำ� ดบั 70

ความสุขอยู่ทไี หน ? อันความสขุ ย่อมเปน็ ที่ปรารถนาของคนทกุ ๆ คน และ ทุก ๆ คนย่อมเคยประสบความสขุ มาแลว้ ความสขุ เป็นอย่างไร จงึ เปน็ ทร่ี จู้ กั กนั อยู่ ในเวลาทกี่ ายและจติ ใจอม่ิ เอบิ สมบรู ณ์ สบาย ก็กล่าวกันว่าเป็นสุข ความสุขจึงเกิดข้ึนที่กายและจิตใจนี่เอง ส�ำหรับกายนัน้ เพียงใหเ้ คร่อื งอุปโภคบริโภคพอให้เป็นไปได้ก็นบั วา่ สบาย แม้กายสบายดังกล่าวมาน้ี ถา้ จติ ไมส่ บาย กายกพ็ ลอย ซูบซีดเศร้าหมองด้วย ส่วนกายเมื่อไม่สบายด้วยความเจ็บป่วย หรอื ดว้ ยความคบั แคน้ อยา่ งใดอยา่ งหนงึ่ ถา้ จติ ยงั รา่ เรงิ สบายอยู่ กไ็ มร่ สู้ กึ วา่ เปน็ ทกุ ขเ์ ปน็ รอ้ นเทา่ ใดนกั และความไมส่ บายของกาย กอ็ าจบรรเทาไปได้ เพราะเหตนุ ค้ี วามสขุ จติ สขุ ใจนนั้ แลเปน็ สำ� คญั อันความสุขทางจิตใจน้ี คิด ๆ ดูก็น่าเห็นว่าหาได้ไม่ยากอีก เพราะความสุขอยู่ที่จิตใจของตนเอง จักต้องการให้จิตเป็นสุข เม่ือใดก็น่าจะได้ ใคร ๆ เมื่อคิดดูก็จักต้องยอมรับว่า น่าคิด 71

เห็นอยา่ งน้ัน แตก่ ต็ ้องยอมจนอีกวา่ สามญั ชนท�ำไมไ่ ดเ้ สมอไป เพราะยังต้องการเครื่องอุปกรณ์แห่งความสุข หรือเรียกว่า เครื่องแวดลอ้ มอุดหนนุ ความสุข มเี งนิ ทองเครอื่ งอปุ โภคเปน็ ตน้ ถ้าเคร่ืองอุปกรณ์แห่งความสุขขาดไปหรือมีไม่เพียงพอ ก็ท�ำให้ เป็นสขุ มิได้ นีเ้ รียกว่ายงั ต้องปล่อยใจให้เปน็ ไปตามเหตุการณ์อยู่ ข้อนี้เป็นความจริง เพราะเหตุฉะนี้ในที่นี้จึงประสงค์ความสุข ท่ีมีเคร่ืองแวดล้อมหรือที่เรียกว่าสุขสมบัติ อันเป็นความสุข ข้นั สามญั ชนทั่วไป คดิ ดูเผนิ ๆ ความสุขนี้นา่ จกั หาไดไ้ ม่ยาก เพราะในโลก นม้ี เี ครอ่ื งอปุ กรณแ์ หง่ ความสขุ แวดลอ้ มอยโู่ ดยมาก หากสงั เกตดู ชวี ติ ของคนโดยมากทกี่ ำ� ลงั ดำ� เนนิ ไปอยู่ จกั รสู้ กึ วา่ ตรงกนั ขา้ มกบั ทคี่ ดิ คาด ทง้ั นมี้ ใิ ชเ่ พราะเครอื่ งแวดลอ้ มอดุ หนนุ ความสขุ ในโลกน้ี มีน้อยจนไม่เพียงพอ แต่เป็นเพราะผู้ขาดแคลนความสุขสมบัติ ไมท่ ำ� เหตอุ นั เปน็ ศรแี หง่ สขุ สมบตั ิ จงึ ไมไ่ ดส้ ขุ สมบตั เิ ปน็ กรรมสทิ ธ์ิ ส่วนผู้ที่ท�ำเหตุแห่งสุขสมบัติย่อมได้สุขสมบัติมาเป็นกรรมสิทธิ์ 72

เพราะเหตุนี้ ผู้ปรารถนาสุขจึงสมควรจัดเหตุให้ได้ก่อนว่า อะไร เป็นเหตุของความสุข และอะไรเป็นเหตุของความทุกข์ บางคน อาจเห็นว่าเหตุของความสุขความทุกข์อยู่ภายนอก คือสุขเกิด จากสง่ิ ภายนอก มเี งินทอง ยศ ช่ือเสยี ง บ้านทส่ี วยงาม เป็นตน้ ส่วนความทุกข์ก็เกิดจากส่ิงภายนอกน้ันเหมือนกัน บางคนอาจ เห็นว่าความสุขความทุกข์เกิดจากเหตุภายใน จักพิจารณา ความเหน็ ทั้งสองนีต้ ่อไป 73

เงื่อนไขของความสุข สง่ิ ภายนอกโดยมาก ถ้าเปน็ ส่วนท่ดี มี ี เงิน ทอง ยศช่อื เสียง เป็นต้น ก็เป็นท่ีปรารถนาตรงกันของคนเป็นอันมาก จึงต้องมีการแสวงหาแข่งขันกันโดยทางใดทางหนึ่ง เมื่อได้มา กใ็ หเ้ กดิ ความสขุ เพราะสมปรารถนาบา้ ง เพราะนำ� ไปเลยี้ งชพี ตน และผอู้ น่ื ใหอ้ มิ่ หนำ� สำ� ราญบา้ ง สง่ิ ภายนอกยอ่ มอดุ หนนุ ความสขุ ฉะนี้ แต่ส่ิงภายนอกเป็นของไม่ย่ังยืน แปรเปลี่ยนไปอยู่เสมอ ความสุขท่ีเกี่ยวเกาะติดอยู่ก็ต้องแปรเปล่ียนไปตาม ความทุกข์ จึงปรากฏข้ึนติด ๆ กันไปทีเดียว ความสุขเช่นนี้เป็นความสุข ท่ีลอยไปลอยมา หรือเรียกว่าเป็นความสุขลูกโป่ง และในความ แสวงหา ถา้ ไม่ได้ หรอื ได้สงิ่ ที่ไมช่ อบ กใ็ หเ้ กดิ ความทุกข์ เพราะ ไม่สมปรารถนา อน่ึงถ้าได้สิ่งนั้น ๆ มาด้วยการกระท�ำที่ไม่ดี การกระทำ� นน้ั กจ็ กั เปน็ เครอื่ งตดั ทอนตนเองอกี สว่ นหนง่ึ ขอ้ ความ ทก่ี ลา่ วมานแี้ สดงวา่ สงิ่ ภายนอกอดุ หนนุ ความสขุ สำ� ราญใหบ้ า้ ง 74

แตจ่ ดั เป็นเหตขุ องความสขุ หรือ? ถ้าเปน็ เหตขุ องความสุข ผ้ทู ม่ี ี ส่ิงภายนอกบริบูรณ์จักต้องเป็นสุขทุกคน แต่ความจริงไม่เป็น อย่างนั้น ผู้ท่ีบริบูรณ์ด้วยสิ่งภายนอก แต่เป็นทุกข์มีถมไป เพราะเหตนุ ้ี สงิ่ ภายนอกจงึ มใิ ชเ่ ปน็ ตวั เหตขุ องความสขุ เปน็ เพยี ง เครอ่ื งแวดลอ้ มอดุ หนนุ ความสขุ ดงั กลา่ วแลว้ เทา่ นนั้ บดั นยี้ งั เหลอื อย่อู ีกความเหน็ หน่ึง ซึ่งว่าสขุ ทกุ ขเ์ กิดจากเหตุภายใน อนั สงิ่ ภายนอก มเี งนิ ทอง ยศ ชอ่ื เสยี ง เปน็ ตน้ อนั เปน็ อุปกรณแ์ ก่ความสุข เม่อื คิดดูให้ซงึ้ ลงไป จกั เห็นวา่ เกดิ จากการ กระทำ� ของตนเอง ถ้าตนเองอยเู่ ฉย ๆ ไม่ท�ำการงานอนั เปน็ เหตุ ท่เี พิ่มพนู สง่ิ ภายนอกเหลา่ นัน้ สง่ิ ภายนอกนนั้ กจ็ ะไมเ่ กิดขนึ้ ท่ีมี อยแู่ ลว้ กต็ อ้ งแปรเปลย่ี นไป ถา้ ไมม่ ใี หมม่ าชดเชย กจ็ กั ตอ้ งหมดไป ในทสี่ ดุ เพราะเหตฉุ ะนี้ จงึ กลา่ วไดว้ า่ สง่ิ ภายนอกทเี่ ปน็ อปุ การณ์ แกค่ วามสขุ นน้ั กเ็ กดิ ขน้ึ เพราะการกระทำ� ของตนเอง ในทางธรรม การประกอบอาชพี มกี สกิ รรมพาณชิ ยกรรมเปน็ ตน้ ไปตามธรรมดา ไมเ่ รยี กเปน็ การงานทด่ี หี รอื ชวั่ แมช้ าวโลกกไ็ มเ่ รยี กผปู้ ระกอบการ 75

อาชพี ไปตามธรรมดาวา่ เปน็ คนดหี รอื เปน็ คนเลว แตห่ ากวา่ มกี าร ท�ำอย่างอื่นพิเศษออกไป ถ้าต้องด้วยเนติอันงามก็เรียกกันว่าดี ถ้าไม่ต้องด้วยเนติอันงามก็เรียกันว่าเลว ไม่ดี เพราะเหตุฉะนั้น ผู้ปรารถนาสุขเบื้องต้นจึงสมควรหมั่นประกอบการงานหาเลี้ยง ชพี ตามทางของตน ๆ โดยไมต่ ัดรอนกนั ไม่เฉือ่ ยชา เกยี จครา้ น และแก้ไขในการงานของตนให้ดีข้ึน ก็จักไม่ต้องประสบความ แรน้ แคน้ ขดั ขอ้ ง ถา้ ไมห่ มนั่ ประกอบการงาน เกยี จครา้ น เฉอ่ื ยชา และไมค่ ิดแก้ไขการงานของตนใหด้ ีข้ึน ปลอ่ ยไปตามเรอื่ ง กอ็ าจ จักต้องประสบความยากจนข้นแค้น ต้องอกแห้งเป็นทุกข์ และ นน่ั เป็นความผดิ ใหญต่ ่อประโยชน์ปจั จบุ นั ของตนเอง การท�ำอย่างหน่ึงทางธรรมเรียกว่าเป็นวิถีทางของ คนฉลาดและทางโลกยกย่องนับถือว่าดี การท�ำอย่างนี้เรียกว่า สุจริต แปลว่า ประพฤติดี ประพฤติดีทางกาย เรยี กว่ากายสุจริต ประพฤตดิ ที างวาจา เรยี กวา่ วจสี จุ รติ ประพฤตดิ ที างใจ เรียกว่า มโนสจุ รติ กายสุจรติ จำ� แนกเปน็ ๓ คอื ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลกั ทรพั ย์ 76