Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เปอรานากัน บาบ๋า-ย่าหยามรดกทางวัฒนธรรมสายเลือดลูกผสมมลายู-จีน

เปอรานากัน บาบ๋า-ย่าหยามรดกทางวัฒนธรรมสายเลือดลูกผสมมลายู-จีน

Description: เปอรานากัน บาบ๋า-ย่าหยามรดกทางวัฒนธรรมสายเลือดลูกผสมมลายู-จีน.

Search

Read the Text Version

ฉบบั ภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สงั คมศาสตร์ และศลิ ปะ Veridian E-Journal, Silpakorn University ปที ่ี 11 ฉบบั ที่ 3 เดอื นกันยายน – ธนั วาคม 2561 ISSN 1906 - 3431 เปอรานากัน : บาบา๋ -ย่าหยามรดกทางวฒั นธรรมสายเลอื ดลกู ผสมมลาย-ู จีน อตยิ ศ สรรคบรุ านุรกั ษ์ (Atiyot Sankaburanurak)* ศศณิ ฎั ฐ์ สรรคบรุ านุรกั ษ์ (Sasinat Sankaburanurak)** บทคดั ยอ่ เปอรานากัน สายเลือดลูกผสมระหว่างมลายูและจีน ท่ีตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบมลายูและพ้ืนท่ีชายฝั่ง ทะเลของเกาะชวาและเกาะสุมาตราในชว่ งต้นศตวรรษท่ี 15 ในช่วงศตวรรษท่ี 19 เปอรานากันอพยพเข้ามาใน เขตท่าเรอื ของปีนงั และสิงคโปร์ ซ่งึ อยใู่ นชว่ งขยายอาณานิคมของอังกฤษ ชาวเปอรานากนั ประสบความสาเร็จใน ฐานะพ่อค้าจนกลายมาเปน็ นักทาการคา้ มืออาชพี ในเวลาต่อมา ชุมชนชาวเปอรานากนั ถกู ขนานนามว่า ช่องแคบ จีน (Straits Chinese) หรือบาบา๋ ย่าหยา คาที่ใช้เรียกสายเลือดลูกผสมระหว่างมลายูและจีนที่ถือกาเนิดและ อาศัยในแถบคาบสมุทรมลายู-อนิ โดนีเซยี อนั ได้แก่ เมอื งมะละกา เมอื งปีนงั ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ และหมู่เกาะชวาอินโดนีเซีย คาว่า บ้าบ๋า เป็นคาท่ีมาเลย์ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย แปลว่า การให้เกียรติ บรรพบุรุษ และถกู นามาใช้เรยี กชาวจีนเลือดผสมท่เี ปน็ เพศชาย และคาว่า ยา่ หยา นามาใชเ้ รียกชาวจนี เลือดผสม ทเ่ี ป็นเพศหญงิ ซึง่ เปน็ คาที่ชาวชวายืมมาจากภาษาอติ าลี แปลว่า หญงิ ตา่ งขาติทแ่ี ต่งงานแล้ว หรอื อาจจะมาจาก ภาษาโปตเุ กสท่ีแปลว่าคณุ ผู้หญิง บทความนีน้ าเสนอประวตั คิ วามเปน็ มา วิถีชวี ติ และความผสมผสาน ความเป็น พหุวฒั นธรรมของเปอรานากนั สายเลอื ดลูกผสมระหว่างมลายแู ละจนี คาสาคัญ: เปอรานากัน บาบ๋า ย่าหยา สายเลอื ดลูกผสม มลายู-จนี อ.ดร.ศศิณัฎฐ์ สรรคบุรานรุ ักษ์ 080-9802567 [email protected] อ.ดร.อติยศ สรรคบุรานุรกั ษ์ 089-8606059 * อาจารย์ ดร. สาขาวิชาทศั นศลิ ปศึกษา คณะศกึ ษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร Lecturer, Ph.D., Major of Visual Art Education,Faculty of education,Silpakorn University. E-mail: [email protected] ** อาจารย์ ดร. สาขาวิชาการสอนภาษาจนี ในฐานะภาษาต่างประเทศ คณะศกึ ษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร Lecturer, Ph.D., Major of Chinese Teaching as a Foreign Language,Faculty of education,Silpakorn University. E-mail: [email protected] 2740

Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนษุ ยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศลิ ปะ ISSN 1906 - 3431 ปที ่ี 11 ฉบับท่ี 3 เดือนกนั ยายน – ธันวาคม 2561 Abstract Peranakan refers to people of mixed Chinese and Malay who settled in Malayan and costal area on Java and Sumatra islands in the early 15th century. In 19th century that was the period of British colonization, Peranakan immigrants came to the ports of Penang and Singapore as merchandisers. They succeeded and became professional traders Peranakan community is commonly as known as Straits Chinese or Baba-Yaya. This word is used among the ethnic Chinese and Malay who were born and settled in Malay- Indonesia Peninsula; Malaka, Penang, Malaysia, Singapore, and Java islands in Indonesia. “Baba” is a Malay word borrowed from Persian which means honoring ancestors and is used to call male Peranakan, Female Peranakan is called as “Yaya”, a Java words borrowed from Italian which means married foreign woman or perhaps be based on Portuguese that mean “lady”. This article provided historical background, tradition and multicultural of Peranakan, Chinese-Malay descendants. Keywords : Peranakan, Baba-Nyonya , Chinese-Malay descendants บทนา เปอรานากัน เปน็ กลุ่มชาวจนี ทม่ี ีเช้อื สายมลายู เน่ืองมาจากในอดีตกลุ่มพ่อค้าชาวจีนโดยเฉพาะกลุ่ม ฮกเกี้ยนเดินทางเข้ามาค้าขายและก่อต้ังท่าเรือข้ึนในบริเวณดินแดนคาบสมุทรมลายู บริเวณมะละกา ปีนัง สงิ คโปร์ และตดั สินใจตั้งถ่นิ ฐานในเมืองมะละกาประเทศมาเลเซีย ในชว่ งตอนตน้ ทศวรรษท่ี 14 โดยแต่งงานกับ ชาวมลายทู ้องถิ่น (Andrew,1988) และภรรยาของชาวมลายูจะเป็นผู้ดูแลกิจการการค้าท่ีนี่ แม้แต่คนในระดับ พระราชวงศ์ก็มีสัมพันธไมตรีระหว่างกัน ระหว่างสุลต่านมะละกากับจักรพรรดิราชวงศ์หมิง ในปี ค.ศ. 1460 สลุ ตา่ นมันโซชาห์ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงฮังลีโปแห่งราชวงศ์หมิง และทรงประทับบนภูเขาจีน หรือ บูกิต จีนา (Bukit Cina) พร้อมเชื้อพระวงศ์อีก 500 พระองค์ เม่ือพวกเขาอพยพไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ก็ได้นา วัฒนธรรมของตนกระจายไปดว้ ย วฒั นธรรมใหมน่ จี้ ึงถกู เรยี กรวมๆว่า จีนช่องแคบ (อังกฤษ: Straits Chinese ; จีน:土生华人) เปอรานากนั เป็นภาษามลายู มีรากศัพท์มาจากคาว่า “ank” มคี วามหมายว่า เด็กเมื่อนามา รวมเขา้ กบั คาว่า “per-……an” อา่ นว่า peranakan หมายถงึ ครรภ์ หรอื \"เกดิ ท่ีน่ี\" จนในท่ีสุดคานี้นามาใช้เรียก สายเลือดลูกผสมท่ีถือกาเนดิ ณ ดนิ แดนคาบสมุทรมลายู-อินโดนีเซีย (Shamsul AB,2011) เมื่อชาวอาณานิคม ชาวดตั ช์ยา้ ยออกไปในช่วงตน้ ทศวรรษท่ี 1800 ผู้อพยพชาวจนี จานวนมากยา้ ยเข้ามามากข้ึน จนทาใหเ้ ลือดมลายู ของชาวเปอรานากนั จางลง จนทาใหค้ นรนุ่ หลังแทบจะเป็นชาวจีนเต็มตัว แต่ก็ไม่ได้ทาให้วัฒนธรรมผสมผสาน ของชาวเปอรานากนั จืดจางลงไปเลย การผสมผสานน้ียงั มใี ห้เหน็ ในการแตง่ กายแบบมลายเู ช่น ซารงุ กบายา และ ชุดย่าหยา (Pixie Dollhouse,2009) ซ่ึงถือเปน็ การแต่งกายอันสวยงามที่ผสมผสานรูปแบบของชาวจนี และมลายู เขา้ ดว้ ยกันอยา่ งงดงาม ฝ่ายหญิงใส่เสื้อฉลุลายดอกไม้ รอบคอ เอว และปลายแขนอย่างงดงาม นิยมนุ่งผ้าซ่ิน 2741

ฉบบั ภาษาไทย สาขามนษุ ยศาสตร์ สงั คมศาสตร์ และศลิ ปะ Veridian E-Journal, Silpakorn University ปที ี่ 11 ฉบบั ที่ 3 เดือนกนั ยายน – ธันวาคม 2561 ISSN 1906 - 3431 ปาเต๊ะ ฝ่ายชายยังคงแตง่ กาย คล้ายรูปแบบจีนด้ังเดิม อาหารแบบเฉพาะตัว และภาษาท่ีผสมผสานคาท้ังมลายู จนี และอังกฤษไวด้ ้วยกนั (Encyclopedia Britannica,2012)การเรียนรศู้ ิลปวัฒนธรรม เป็นกระบวนการหน่ึงที่ สร้างความเข้าใจในวัฒนธรรมของชุมชน กอ่ ให้เกิดความรักและหวงแหนในศิลปวัฒนธรรม ซึ่งจะพัฒนาไปเป็น ความร่วมมือท่จี ะทานบุ ารุงรกั ษาตามลาดับ (กรมวชิ าการ, 2540, อ้างถงึ ใน ประตมิ า ธันยบูรณ์ตระกลู และคณะ, 2560:2642) ทาใหก้ ลมุ่ ชาวเปอรานากันยงั คงสืบทอดวฒั นธรรมมาจนทกุ วนั น้ี เปอรานากัน สายเลือดลูกผสม ชาวจีนเช้ือสายสิงคโปร์และมาเลเซียเป็นสังคมท่ีมีความผสมผสานทางวัฒนธรรมท่ีหลากหลาย หรือที่รู้จักกันดีในนาม เปอรานากันเช้ือสายจีนหรือลูกคร่ึงจีน บ้างก็ถูกขนานนามว่าชาวจีนช่องแคบ (Straits Chinese ) หรือบ้างก็ถูกเรียกว่า “บ้าบ๋า ย่าหยา” คาว่า “บ้าบ๋า ย่าหยา” เพี้ยนมาจากคาว่า “บาบา นนยา” (Baba-Nyonya) ในภาษามลายแู ละชวา และจากคาว่า “บาบาเหนียงเหร่อ” (Baba Niangre: 峇峇娘惹) ในภาษาจนี “บา้ บ๋า” เปน็ คาภาษามลายูที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย และเป็นคาให้เกียรติแก่ ปู่ย่าตายาย ใช้เรียกชาวเปอรานากันที่เป็นผู้ชาย ส่วน “นนยา” เป็นคาภาษาชวาที่ยืมมาจากคาว่า “dona” ในภาษาดัชต์ หมายถงึ ผู้หญงิ ต่างประเทศทแ่ี ตง่ งานแลว้ คาว่า “บา้ บา๋ ” “เปอรานากนั ”และ”ชาวจีนช่องแคบ” สามคาน้ีนามาใชใ้ นชว่ งยคุ ใดนัน้ ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่ในชว่ งยคุ ศตวรรษท่ี19 ไม่มีคาว่า เปอรานากนั (Peranakan) ปรากฏในหนังสือ “Hikayat Abdulah”ชองอับดุลเลาะห์แต่อย่างใด แต่ทว่ามีการอ้างถึงคาว่า บ้าบ๋า (Baba) ในแถบบริติชมาลายาเท่านั้น (Abul Kadir,1970) อับดุลอิบบลาฮิมบุตรชายของอับดุลเลาะห์ ได้กล่าวไว้ใน หนังสือเล่มหน่ึง กลา่ วถงึ คาวา่ Peranakan awak ไวว้ า่ หมายถึง บตุ รหรอื ธดิ าของชายชาวไทยหรอื ชายชาวพมา่ ท่ีเกิดในทอ้ งทน่ี ั้นและแตง่ งานกบั หญงิ สาวชาวจีน (Abdullah Ibrahim,1975:90-91) จากการนิยามความหมาย ดังกล่าวแต กต่าง ออกไปจากคาว่า เปอรานากันที่คนทั่วไปเข้าใจกันอย่างสิ้นเชิง พจนานุกรม ฉบบั ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของ \"บ้าบ๋า\" และ \"ย่าหยา\" ว่า \"เรยี กชายท่ีเป็นลูกคร่ึงจีนกับ มลายทู ีเ่ กดิ ในมลายแู ละอินโดนีเซยี วา่ บา้ บา๋ , คกู่ บั ยา่ หยา ซ่งึ หมายถึงหญิงลูกครึ่งจีนกับมลายูท่ีเกิดใน มลายู และอนิ โดนเี ซยี Jian Yu, Liao (2005:22) ช้ีให้เห็นว่าในช่วงกลางศตวรรษท่ี 19 คาว่า เปอรานากันได้รับความนิยม อย่างมาก ตามพจนานกุ รมที่ตพี ิมพ์ในปี 1856 ได้กลา่ ววา่ Peranakan Cina เป็นช่ือที่ชาวมาเลเซียใช้เรียกชาว จนี ลูกผสม (Tan Chee Beng,1993:21) ตอ่ มาเปอรานากนั หมายถึง ลูกหลานชาวมาเลเซียที่เป็นเผ่าพันธ์ุผสม คอื Peranakan Cina ต่อมาคาว่า เปอรานากนั ไดก้ ลายเป็นช่อื ย่อของ Peranakan Cina ดูเหมือนว่า ปรากฏ การณ์เปอรานากนั ถกู จากดั เพยี งแค่ในกลมุ่ ชาตพิ ันธจุ์ ีนเท่าน้นั แต่นอกจากนี้ในกล่มุ ชาติพันธ์ุชาวอินเดียเรียกลูก ของชายชาวอินเดียที่นับถืออิสลามและแต่งงานหญิงสาวชาวมาเลเซียว่า Jawi Peranakan อย่างไรก็ตาม เนื่องจากจานวนของลูกครึ่งเลือดผสม หรือเปอรานากันดั้งเดิมนั้นมีจานวนมาก ดังนั้นเปอรานากันคานี้จึง กลายเปน็ ความเชอื่ มโยงกับชมุ ชนชาติพันธุ์ชาวจนี ไปโดยปรยิ าย 2742

Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบบั ภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สงั คมศาสตร์ และศลิ ปะ ISSN 1906 - 3431 ปที ี่ 11 ฉบับที่ 3 เดอื นกันยายน – ธนั วาคม 2561 ปรากฏการณ์ เปอรานากนั ไม่ได้จากัดเพียงแค่สงิ คโปร์ มาเลเซยี เทา่ นั้น ในแถบเอเซียตะวันออกเฉียง ใต้ยังรวมไปถึงอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ด้วย เปอรานากันใช้เรียกลูกครึ่งเลือดผสมกันอย่างแพร่หลายใน อนิ โดนเี ซยี แต่ในฟิลิปปนิ ส์จะเรียกลกู ครึ่งเหล่านวี้ า่ Mestizo แต่คาว่า Mestizo ในฟลิ ิปปนิ ส์นน้ั มีความแตกตา่ ง จากคาวา่ เปอรานากนั ในอินโดนีเซีย มาเลเซียและสิงคโปร์ท่ีใช้เรียกกัน กล่าวคือ คาว่า Mestizo สาหรับชาว อินโดนีเซียใช้เรียกคนฟิลิปปินส์ แต่สาหรับชาวมาเลเซียและสิงคโปร์แล้วกลับหมายถึง ชาวจีนโพ้นทะเล (Jian Yu, Liao ,2005:22) ชใ้ี ห้เห็นว่าชว่ งศตวรรษที่19 นั้น คาว่า เปอรานากันในอินโดนีเซียหมายถึง ชาวจีน มุสลมิ (Karl, 1984:87) ในแถบริตชิ มาลายา คาวา่ เปอรานากันก็มคี วามหมายเดยี วกนั คือ หมายถึง ชาวมุสลิม ลูกครงึ่ เชือ้ สายระหว่างอินเดยี และมาเลเซยี สงิ คโปร์ ในช่วงศตวรรษท่ี20 คาวา่ เปอรานากันมักใชใ้ นสงั คมชาวจนี โพน้ ทะเลท่อี าศยั อยใู่ นหมู่เกาะอนิ เดียตะวันออกของเนเธอแลนด์ (อนิ โดนเี ซยี ปัจจุบนั )และนิคมช่องแคบ (อาณา นิคมของจกั รวรรดอิ งั กฤษ) ซึง่ ในแถบนค้ี าว่า เปอรานากันไม่มีเร่ืองของศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง ผู้ครองประเทศ และกลุ่มชาตพิ นั ธทุ์ ใี่ ชภ้ าษามลายใู ชค้ าวา่ เปอรานากันในการอธิบายถึงชาวจีนลูกครึ่งเลือดผสม ต่อมาชาวจีนก็ ยอมรับการใช้คาน้ี เปอรานากันเกิดจากแนวคิดทางวัฒนธรรมมากกว่ามาจากแนวคิดทางการเมือง (Karl, 1984:23) การกาเนดิ เกดิ ข้นึ ของกลมุ่ เปอรานากนั เช้อื สายจนี หรือลูกครงึ่ จนี นัน้ มีจานวนมาก เน่ืองจากสมัยก่อน ชาวจนี อพยพนน้ั มกั จะยงั ไม่ได้แต่งงาน และไมม่ ีคู่ทเ่ี ปน็ ชายชาวจีนด้วยกัน พวกเขาแต่งงานกับคนพื้นเมืองทั้งที่ เป็นชาวมสุ ลมิ และไมไ่ ด้เป็นมสุ ลิม ลกู หลานของพวกเขากลายเป็นกลุ่มสังคมชาติพันธุ์ใหม่ที่ผสมผสานระหว่าง ความเป็นวัฒนธรรมจีนและมาเลเซีย สังคมพหุวัฒนธรรมดังกล่าวแตกต่างไปจากสังคมวัฒนธรรมชาวจีนและ สงั คมวัฒนธรรมของชาวมาเลเซยี เพราะสงั คมชาวเปอรานากันเชื้อสายจีนจะใช้ภาษามลายู ลูกหลานเปอรานา กันเชื้อสายจีนจะไม่สามารถพูดภาษาจีนได้ จะสามารถสื่อสารด้วยภาษามลายูเท่านั้น ซ่ึงสามารถพบได้ใน ปัตตาเวยี (จาการ์ตาปัจจุบนั ) มะละกาและสิงคโปร์ มงี านวจิ ยั ช้ีใหเ้ หน็ ว่าถงึ แมจ้ ะเปน็ โรงเรยี นคริสต์ของชาวจนี ใน สงิ คโปร์หรอื ศาสนาครสิ ตน์ ิกายโรมันคาทอลิกก็ตาม ในช่ัวโมงเรยี นภาษาจนี กจ็ ะใชภ้ าษามลายใู นการจดั การเรียน การสอน (Qin Yong Zhuang,2001) เครื่องแต่งกายของชาวเปอรานากันเชื้อสายจีนก็จะมีความผสมผสาน ระหว่างจีนและพ้ืนเมืองมาเลเซีย หญิงสาวชาวเปอรานากันจะสวมชุดของหญิงสาวมาเลเซียและใช้หวีแบบ มาเลเซีย อาหารของชาวเปอรานากันก็มีการใช้ส่วนผสมเช่นเดียวกับอาหารของชาวมาเลเซีย แต่การนิยม รับประทานเน้ือหมขู องชาวจนี กย็ ังคงความเป็นเอกลกั ษณไ์ ว้ ชาวเปอรานากันไม่เพียงแต่ตั้งถิ่นฐานในแถบเกาะ ชวาเท่านน้ั ยงั มีอาศยั อยู่ในแถบมาเลเซยี ตะวันตกและสิงคโปร์เช่นกัน (Jian Yu, Liao ,2005:23) ทง้ั น้ีมีชาวตา่ งชาตทิ ่อี พยพเข้ามาต้ังถิ่นฐานบริเวณคาบสมุทรมลายู-อนิ โดนเี ซีย ทาใหถ้ อื กาเนิดเปอรา นากนั ท่ีมีสายเลือดผสมระหวา่ งชนพ้นื เมอื งเดิมกบั ชาวต่างชาตอิ กี เป็นจานวนมาก ดังนั้นจึงสามารถแบ่งชาวเปอ รานากันที่มีสายเลือดผสมออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มชาวจีนเปอรานากัน (Peranakan Chinese) กลุ่มชาว อาหรับเปอรานากัน (Peranakan Aeabs) กลุ่มชาวดัชตเ์ ปอรานากนั (Peranakan Dutch)และกลุ่มชาวอินเดีย เปอรานากนั (Peranakan Indiants) เน่ืองด้วยกล่มุ ชาวจีนเปอรานากันเป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่และมีบทบาทใน สังคม ทาให้คาว่า “เปอรานากัน”ถูกนามาใช้อ้างถึงเฉพาะกลุ่มชาวจีนเปอรานากันเท่าน้ัน (Encycopedia Britannica, 2012) 2743

ฉบบั ภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สงั คมศาสตร์ และศลิ ปะ Veridian E-Journal, Silpakorn University ปที ่ี 11 ฉบบั ที่ 3 เดือนกันยายน – ธนั วาคม 2561 ISSN 1906 - 3431 บา้ บ๋า คาท่ีใช้เรียกเปอรานากนั สายเลอื ดผสม วอหน์ (J.D. Vaughan,1971) ได้กลา่ วถึงคาทใี่ ช้เรียกชาวเปอรานากนั ไวด้ ังน้ี คาวา่ “บา้ บ๋า” เป็นช่ือทใี่ ช้เรียกชาวจนี เปอรานากนั เพื่อใหต้ ่างกบั ชาวจีนโพน้ ทะเล โดยมที ่ีมาจากชน พ้นื เมอื งบงั คลาเทศใช้เรยี กลูกหลานหรอื เดก็ ทมี่ ีเช้ือสายยโุ รป บ้าบ๋า ยังมีที่มาจากกการที่ชาวอินเดียในปีนังใช้ เรียกเดก็ เช้ือสายจีน และจึงนิยมใช้เรยี กกันแพรห่ ลาย และ บ้าบ๋า ยังถกู ใหน้ ยิ ามความหมายว่า มที ่มี าจากลกู คร่ึง ชาวจีนท่อี าศัยในแถบชอ่ งแคบมะละกา แตค่ านีจ้ ะไว้ใช้เรียกชาวจีนที่ถือกาเนิดในแถบช่องแคบมะละกาเท่าน้ัน ไมว่ า่ จะเปน็ ลกู ครึง่ จนี หรือเป็นชาวจนี โดยแท้กต็ าม Zhi Ming, Chen (Tan Chee Beang,1993) กลา่ วว่า คาว่า บ้าบ๋ามที ีม่ าจากตะวันออกกลาง Jian Yu, Liao (2005:26 กล่าวว่า ถ้าจะหามาตรฐานของคาว่า เปอรานากันหรือบ้าบ๋านั้นมิใช่ เรือ่ งง่าย เพราะนิยามความหมายของสองคานย้ี งั คลมุ เครอื อาจกลา่ วได้วา่ เปอรานากันและบ้าบ๋า หมายถึงกลุ่ม ชาวจนี พ้นื เมืองท่ัวไป ความเหมอื นกันกค็ ือมีความเป็นมาเลเซีย บางกลมุ่ ก็จะมีความเป็นมาเลเซียสูง เช่น บ้าบ๋า ในแถบมะละกา บางกลมุ่ มคี วามเป็นมาเลเซียน้อย เช่นเปอรานากันในปีนัง คาว่า ความเป็นมาเลเซียหมายถึง ใช้ภาษามลายู สวมใสเ่ ส้ือผ้าชุดมาเลเซีย รวมท้ังทานอาหารมาเลเซีย แต่แท้จริงแล้ว ในสิงคโปร์และมาเลเซีย สมยั กอ่ นจะใชค้ าว่า บ้าบ๋าและยา่ หยาในการเรียนกขานชาวจนี โพ้นทะเล ชาวจีนโพน้ ทะเลกลุ้มนไ้ี ม่จาเปน็ จะตอ้ ง พูดภามลายูหรอื มีภูมิหลังที่เกย่ี วข้องกบั ความเปน็ มาเลเซยี ไมส่ ามารถปฏิเสธได้ว่า บ้าบ๋า ย่าหยาและเปอรานา กนั นนั้ ยังเป็นคาใช้เรียกกันมาจนปัจจุบัน ในสังคมชาวจีนโพ้นทะเลที่พูดภาษาจีนก็ยังคงเรียกขานชาวจีนโพ้น ทะเลทพี่ ูดภาษามลายหู รอื ชาวจีนลูกคร่ึงมาเลเซียว่า บ้าบ๋า ในประเทศอนิ โดนเี ซยี จะใช้คาวา่ บ้าบ๋าเพอ่ื เรยี กกล่มุ นกั เรยี นชาวจีนโพ้นทะเลท่ีกลับไปศึกษาต่อยังประเทศบ้านเกิดและใช้ภาษาจีนเป็นหลัก ต่อมาภายหลังคาว่า บ้าบ๋ายังมีเร่ืองของวฒั นธรรมแฝงอยดู่ ว้ ย กลา่ วคือ จะใช้คาว่าบ้าบ๋าเรียกชาวเปอรานากนั ที่มไิ ดร้ ับการศกึ ษาตาม แบบองั กฤษ ดงั นัน้ จงึ ไมส่ ามารถระบทุ ี่มาของคานไ้ี ด้อยา่ งแน่ชดั อาจเปน็ ไปไดว้ า่ คานี้มมี ากอ่ นท่ีชาวดัชตแ์ ละชาว องั กฤษจะเดนิ ทางมาถึง แต่สามารเห็นได้ชัดว่าคาน้ีมิได้จากัดให้ใช้เฉพาะในแถบนิคมช่องแคบเท่าน้ัน ในแถบ เมืองเมดันของเกาะสมุ าตรารวมไปถึงเกาะชวา (เชน่ จาการต์ า) ล้วนแลว้ ใช้คาว่า บา้ บา๋ ในการเรยี ก ชาวเปอรานา กนั หรอื กลุม่ ลูกคร่ึงมลายู-จนี (Jian Yu, Liao ,2005:24) มผี ทู้ ่นี าคาวา่ บา้ บ๋า มาใชเ้ รยี กกล่มุ ชาวจนี ท่ีพดู ภาษามาเลเซีย แท้ท่จี ริงไมถ่ กู ต้องเสียทีเดียว ในความ เป็นจริงเราสามารถเหน็ บา้ บา๋ ได้สองกล่มุ คือ บ้าบา๋ ในมะละกาและบา้ บ๋าในปีนัง (แม้กระทงั่ บา้ บ๋าในสิงคโปร์ ซึง่ ก็ คอื บา้ บ๋าทอ่ี พยพมาจากมะละกานน่ั เอง) บา้ บ๋าในมะละกามักจะถูกเข้าใจว่าคือแบบฉบับของบ้าบ๋าในมาเลเซีย ดงั นน้ั คนส่วนใหญ่จงึ เขา้ ใจว่าบา้ บา๋ คือผู้ท่ีพูดภาษามาเลเซียเทา่ นั้น และมีคนอีกจานวนมากไม่ทราบว่าบ้าบ๋าใน ปีนังคือบ้าบ๋าท่ีสามารถพูดภาษาฮกเก้ียนได้ พวกเขาถูกเรียกว่าบ้าบ๋าเพราะได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรม มาเลเซีย ภาษามาเลเซยี ของบา้ บ๋าในมะละกามกี ารหยิบยมื คาศพั ท์ในภาษาฮกเกี้ยนมาใช้ แต่ภาษาฮกเกี้ยนของ บา้ บ๋าในปนี ังก็มีการหยิบยืมคาในภาษามาเลย์มาใชเ้ ช่นกนั ดังนัน้ สามารถสรุปได้วา่ ในดา้ นการใชภ้ าษา บา้ บ๋าใน ปนี งั มีความใกล้เคยี งคนจีนมากกว่าบ้าบ๋าในมะละกา จากเหตุผลท่ีกล่าวมา นักวิชาการบางกลุ่มมองว่าชาวจีน โพ้นทะเลทเี่ ป็นบา้ บ๋าในปีนงั ไมใ่ ช่บ้าบ๋าโดยสายเลอื ด พวกเขาใชภ้ าษาฮกเก้ียนท่มี กี ารหยิบยืมภาษามาเลย์มาใช้ นกั วชิ าการกล่มุ น้จี ึงมองวา่ บ้าบ๋าในมะละกาคอื มาตรฐานของบา้ บา๋ ทีแ่ ทจ้ ริง ในชว่ งยุคศตวรรษ 50 มีการกล่าวถึง 2744

Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนษุ ยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศลิ ปะ ISSN 1906 - 3431 ปที ี่ 11 ฉบับที่ 3 เดอื นกันยายน – ธันวาคม 2561 บ้าบา๋ วา่ “บ้าบา๋ คอื ชาวจนี โพ้นทะเลในท้องท่ที ไี่ ด้รับการศึกษาแบบอังกฤษ บ้าบา๋ ในปีนังแทบจะได้รับการศึกษา แบบองั กฤษท้ังหมด” ถึงแม้ยังมีผู้ทใ่ี ช้คาวา่ บา้ บ๋า ย่าหยาในการเรยี กชาวจนี สายเลือดผสมมาโดยตลอด แต่กม็ ผี ู้ท่ี มองว่า ช่ือเรียกท่ีถูกต้องที่สุดควรเป็น “เปอรานากัน” มากกว่า ในปัจจุบันคาว่าเปอรานากันได้กลายเป็นคา สาคญั ของระบบการเมอื งของประเทศมาเลเซยี ไปแลว้ อย่างไรกต็ าม ก็ยงั มกี ารใช้คาว่า บา้ บา๋ และย่าหยาในการเรียกชายและหญิงที่มีสายเลือดผสมมลายู และจนี อยู่ โดยเฉพาะในมาเลเซียและสงิ คโปรทื ่ใี ช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น ในช่วงปี 1993 มีการจัดงานประชุม ใหญข่ องชาวเปอรานากันในสิงคโปร์ โดยใชช้ ่ือว่า “การประชุมใหญ่บ้าบ๋าครั้งที่6” แต่ไม่ใช้ชื่อว่า “การประชุม ใหญเ่ ปอรานากนั ครงั้ ท่ี6” การประชมุ ใหญ่ดงั กล่าว นอกจากเป็นการประชุมสมาคมเปอรานากันในสิงคโปร์แล้ว ยังมีการเข้าร่วมของอีกสี่สมาคมด้วยกัน ได้แก่ สมาคมเปอรานากันปีนัง สมาคมเปอรานากันมะละกา กลมุ่ นกั วชิ าการ Gunong, Shayangแห่งสงิ คโปร์ และสมาคมเปอรานากนั รัฐกลนั ตนั (Singapore,1993) ชาวจีนอาณานคิ มช่องแคบ ชาวจีนอาณานิคมช่องแคบ หมายถึง ชาวจีนที่ถือกาเนิดเกิดในอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยดินแดนท่ีเป็นรัฐปีนัง ดินดิง (ส่วนหนึ่งของรัฐเประก์) รัฐมะละ กา สิงคโปร์ และลาบวนในปจั จบุ ัน อาณานิคมแห่งนี้ก่อตง้ั ขนึ้ ในปี พ.ศ. 2369 โดยในตอนแรกเปน็ เพียงส่วนหนึ่ง ของดนิ แดนทอี่ ยู่ในความควบคมุ ของบริษทั อนิ เดียตะวันออกขององั กฤษ ต่อมาในวนั ท่ี 1 เมษายน พ.ศ. 2410 ได้ กลายเปน็ อาณานคิ มอยภู่ ายใต้การปกครองของรัฐบาลสหราชอาณาจกั รอยา่ งเตม็ ตัว และได้รับเอกราชภายหลัง สงครามโลกคร้ังท่ี 2 เมื่ออังกฤษปกครองคาบสมุทรมาเลย์และสิงคโปร์ เปอรานากันถูกมองว่าเป็น \"ชาวจีนอาณานิคม ชอ่ งแคบ\" เป็นเพราะพวกเขาอาศัยอยใู่ นช่วงท่ีครบรอบ18ปีการต้ังถิ่นฐานของช่องแคบอังกฤษ (ปีนัง, มะละกา และสิงคโปร)์ ชาวจีนอาณานคิ มชอ่ งแคบคานี้มีความหมายถึง สถานทเี่ กิดของชาวจนี เท่านนั้ ไมไ่ ด้มีความในเชิง วัฒนธรรม อยา่ งไรกต็ ามบางคนใชค้ านีเ้ พือ่ อธิบายถึงชาวสงิ คโปรม์ าเลยเ์ ช้ือสายจีน บางคนใช้คาวา่ \"ชาวจีนทเ่ี กิด ในอาณานิคมช่องแคบ\" มาอธบิ ายว่าคือ \"เปอรานากัน\" เพราะพวกเขาคิดว่า \"เปอรานากัน\" คือชาวจีนทุกคนท่ี เกิดในอาณานคิ มชอ่ งแคบนี้ ทง้ั ท่คี วามเป็นจรงิ แล้วความเข้าใจนี้ไม่ถูกต้องเพราะ “ไม่ใช่ชาวจีนอาณานิคมช่อง แคบทุกคนจะตอ้ งเป็นเปอรานากนั ” (Zhong Ling,Ye ,1994) เม่อื กลา่ วถึงกลุ่มชาติพันธ์ุมาเลย์ (รวมถึงสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย) และผู้ปกครองต่างชาติใช้ คาว่า เปอรานากนั ในการเรียก กลุ่มลกู ครึง่ มลายจู นี และใช้คาวา่ \"ชาวจนี ทเ่ี กิดในอาณานิคมช่องแคบ\" เฉพาะกับ ผทู้ ีไ่ ดร้ ับการศึกษาแบบอังกฤษและในภาษามาเลเซยี ไม่มีคาทมี่ ีความหมายใกล้เคียงนี้ เมอื่ ชาวมาเลเซียเรียกกลุ่ม ลกู ครึ่งมลายูจนี จะใช้คาวา่ Peranakan Cina (Peranakan) หรือ บ้าบ๋า (Baba) ชว่ งต้นศตวรรษที่ 19 และชว่ ง ต้นของศตวรรษที่ 20 มกี ารอพยพเข้าสเู่ อเชียตะวันออกเฉียงใตข้ องชาวจีนจานวนมาก ชาวจนี เหลา่ นไ้ี ด้อพยพมา จากภาคใต้ของจีนเรียกว่า “ผ้มู าเยือนใหม่” (Sinkhek) เปอรานากนั จะแต่งงานกนั เองภายในสังคมของพวกเขา มกี ารพฒั นาอาหารทีเ่ ป็นเอกลักษณ์เฉพาะทม่ี ีช่อื เสยี งระดบั โลกและสวมเสอ้ื ผ้าที่ได้รับอิทธิพลจากการออกแบบ จากมลายูทอ้ งถ่นิ 2745

ฉบบั ภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ Veridian E-Journal, Silpakorn University ปที ี่ 11 ฉบบั ที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม 2561 ISSN 1906 - 3431 อาหารและเครือ่ งถ้วยนนยา คาว่า “นนยา” นอกจากจะเป็นชื่อเรียกหญิงลูกคร่ึงจีนกับมลายูแล้ว ยังใช้เป็นชื่อเรียกแบบของ อาหาร ขนม ชุดสตรีและเคร่ืองถ้วยจีนประเภท ลงยาสีบนเคลือบกลุ่มหน่ึงที่ปรากฏบริเวณเขตอาณานิคม ซ่ึงชาว จีนมาต้ังถ่ินฐานทาให้เกิดช่ือเรียกของเคร่ืองถ้วยจีนกลุ่มนี้อีกอย่าง หนึ่งว่า “เครื่องถ้วยจีนชนิดเนื้อ กระเบอื้ งเขตอาณานิคม” (Straits ChinesePorcelain) อาหารนนยามีลักษณะผสมระหว่างสองวัฒนธรรม ซ่ึงหารับประทานได้ในประเทศมาเลเซีย และ ประเทศสิงคโปร์ ซ่ึงเป็นผลพวงจากการแตง่ งานข้ามเช้ือชาติ เหลา่ สาวยา่ หยาจึงนาสว่ นดที ีส่ ดุ ของอาหารทั้งสอง ชาตมิ ารวมกนั ในเรื่องของรสชาตนิ ้ันอาหารนนยามชี ื่อเสียงไปไกลระดับโลก มีความซับซ้อนและมีความเข้มข้น ชาวเปอรานากันจะมีวิธีการดูทักษะการทาอาหารของสาวท่ีจะเข้ามาเป็นสะใภ้ด้วยการ ให้หญิงสาวเหล่าน้ัน อธิบายวธิ ีการเตรียมอาหารและขั้นตอนการทาอาหาร (Online:arts.eastwestcenter.org) อาหารนนยามีการ นาส่วนประกอบของอาหารจีน เช่น หมู ซีอ๊ิว เต้าหู้ย้ี มาปรุงกับเริมปะห์ (Rempah) เครื่องผัดของชาว มลายู กะทิ และอาจใส่นา้ มะขาม ดว้ ยความท่ีชาวเปอรานากันไม่ใช่มุสลิม จึงมีหมูเป็นส่วนประกอบของอาหาร ด้วย อาหารทนี่ ยิ มได้แก่ แกงหมูน้ามะขาม (บาบอี าซัม) และหมูสะเต๊ะ น้าจิ้มถั่วลิสงใส่สับปะรดเพื่อเพิ่มรสชาติ เนือ้ เป็ดซงึ่ ชาวมลายูไมน่ ยิ มกนิ แตส่ าหรบั อาหารเปอรานากันน้นั กลับเป็นท่ีนิยม โดยนาเป็ดมาตุ๋นทั้งตัว ใส่แกง หรือตม้ ส้ม (อตี ะก์ ซีโย) สว่ นไก่นัน้ ใชร้ ับประทานท่วั ไป โดยสามารถทาอาหารไดห้ ลายอย่าง เชน่ ไก่ต้มกะทิรสจัด (กาปีตันไก่) และไก่ทอดพร้อมน้าจิ้ม (เอินจิก์ กาบิน) อาหารเปอรานากันน้ันคล้ายกับอาหารมลายูตรงท่ีมี วิวฒั นาการแตกต่างกนั ไปตามทอ้ งถนิ่ อยา่ ง ละกซ์ า (Laksa) เปน็ อาหารตน้ ฉบบั ยา่ หยา มสี องแบบ คือ แบบมะ ละกาจะเป็น ละกซ์ า ลมะก์ (แกงละกซ์ า) ประกอบดว้ ยเส้นกว๋ ยเตี๋ยว กุ้ง และเครอื่ งอน่ื ๆในนา้ แกงที่เข้มข้น ส่วน อาซัม ละกซ์ า เปน็ อาหารทีข่ ึน้ ช่อื ของชาวยา่ หยาในปีนงั ซึง่ ได้รับอทิ ธพิ ลมาจากไทย เป็นกว๋ ยเตยี๋ วปลาน้าใส โรย หน้าด้วยแตงกวาดิบ และใบสะระแหน่ (Online: th.wikipedia.org) ส่วนผสมท่ีสาคัญอีกอย่างหน่ึงคือ chinchalok เป็นเครื่องปรุงรสท่ีมีรสเผ็ดเปร้ียวและเค็มที่มักผสมกับน้ามะนาวพริกและหอมแดง รับประทาน กบั ขา้ ว ข้าวผัดและอาหารอืน่ ๆ อาหารเปอรานากนั มคี วามหอม เผ็ดจากสมุนไพร ได้รับอิทธิพลของอาหารจีน, ไทย, มาเลย์, อินโดนเี ซียและยุโรป อาหารจากสงิ คโปรแ์ ละมะละกา แสดงให้เห็นถงึ อทิ ธิพลของอนิ โดนเี ซยี โดยใช้ กะทมิ าทาอาหารเป็นส่วนใหญ่ ประเทศไทยก็ได้รับอิทธิพลการทาหารมาจากปีนังกล่าวคอื การปรุงอาหารให้มรี ส เปร้ียวโดยใชม้ ะขาม 2746

Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบบั ภาษาไทย สาขามนษุ ยศาสตร์ สงั คมศาสตร์ และศิลปะ ISSN 1906 - 3431 ปที ่ี 11 ฉบับท่ี 3 เดอื นกนั ยายน – ธนั วาคม 2561 ภาพการจดั แสดงหอ้ งครัวของชาวเปอรานากนั (ท่มี า คฤหาสน์เปอรานากนั ปีนงั ประเทศมาเลเซยี ภาพถ่ายโดยผเู้ ขยี น) นิสยั การรบั ประทานอาหารของชาวเปอรานากนั มีความแตกต่างจากชุมชนชาวจีนทั่วไป พวกเขาจะ เสิรฟ์ อาหารเป็นจาน โดยมีกบั ขา้ วรสเผด็ ราดบนข้าวและใชม้ อื ในการรับประทานอาหาร ลกั ษณะการรับประทาน อาหานลกั ษณะน้ีมมี าจนถึงชว่ งปลายศตวรรษท่ี 19 ที่การทานอาหารด้วยช้อนและซอ้ มจากทางยโุ รปถูกนามาใช้ ในม้อื อาหารแพรห่ ลายมากขึ้น เคร่ืองใช้ จาน ชามมักจะเป็นสีฟา้ และเป็นพอร์ซเลนสขี าว อย่างไรกเ็ คร่อื งเซรามิค ท่มี สี ีสันสดใสทรี่ ูจ้ ักกนั ในชือ่ เคร่อื งถ้วยนนยา (nyonya ware) จึงจะถกู นามาใช้ในโอกาสพิเศษเท่านั้น ส่วนการ ตกแต่งเครอ่ื งถว้ ยนนยาประเภทขียนลายสีนา้ เงินใตเ้ คลือบ มีผู้เรียกชื่อของเคร่ืองถ้วยประเทนี้แตกต่างกันออก ไปวา่ “เครอื่ งถว้ ยซา่ งไห่หรือเคร่ืองถ้วยเซี่ยงไฮ้” (Shanghai Wares) เครื่องถ้วยจีนประเภทลงยาสีบนเคลือบ กลุ่มหนง่ึ ที่นักวิชาการด้านเครื่องถ้วย เรยี กกันว่า “เคร่ืองถ้วยนนยา” (Nyonya Wares) เครื่องถ้วยนนยาสามา รถแบ่งออกเปน็ 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทลงยาสบี นเคลือบและประเภทเขียนลายสีน้าเงินใต้เคลือบ หรือท่ีมัก เรยี กกันส้ันๆ ตามภาษาชาวบ้านว่า “เคร่อื งลายคราม” โดยท่ัวไปเครอ่ื งถว้ ยลงยาสบี นเคลือบจะมีราคาแพงกว่า เครอ่ื งลายคราม ถูกตกแตง่ อย่างฟุม่ เฟือย เน่ืองจากต้องผา่ นขบวนการเผา หลายครง้ั ครงั้ แรกจะเผาในอุณหภูมิที่ ตา่ เพือ่ ใหเ้ น้อื ภาชนะสุกเรียก วา่ “เผาดบิ ” (Biscuit) จากนน้ั จึงนาไปชุบน้าเคลอื บ แล้วเผาครงั้ ท่ี 2 ในอณุ หภูมิ ที่สูงขึ้น เพ่ือเตรียมเป็นหุ่นภาชนะเคลือบสีขาว สาหรับลงยาสีโดยการนาน้าเคลือบผสมกับน้ามันการบูร (Camphor) ซ่ึงเป็นน้ามนั ท่ีมคี ณุ สมบัตทิ าใหส้ ีแห้งเรว็ สามารถละลายตวั สใี ห้ มคี วามข้นเพียงพอท่ีจะทาให้ตัวสี ติดกับผิวเคลือบที่เรียกว่า “การ ลงยา” โดยไม่ทาลายความสดใสของสีมีความหนา และแข็งตัว ง่าย เมื่อถูก อากาศ แลว้ นาเขา้ เผาอบภายในเตา หากตกแต่งดว้ ย สที องก็ต้องทาการเผาอบคร้ังสุดท้ายในอุณหภูมิท่ีต่ากว่า (ปริวรรต ธรรมาปรีชากรและนิสิต มโนตั้งวรพันธ์ุ, 2010:64) โดยลวดลายของเครื่องถ้วยนนยาเต็มไปด้วย ลวดลายแบบจีนโบราณและเคลอื บดว้ ยสชี มพู สีแดง สเี หลืองและสเี ขียวขุน่ (เทอควอยส์) สีชมพแู ละสีแดงได้รับ การเผยแพรใ่ นประเทศจนี จากยโุ รปในศตวรรษที่18และพอรซ์ เลนนเ้ี รยี กว่า ฟารฺมิลโรส (famille rose) ซึ่งเป็น เครื่องกระเบ้ืองท่ีมีการผลิตอย่างแพร่หลาย และได้รับความนิยมอย่างสูงในยุคจักรพรรดิหย่งเจิ้น (雍正, Yongzheng) แห่งราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2265 - 2278) ซึ่งลักษณะต่างจากเคร่ืองกระเบ้ืองในยุคท่ีผ่านๆ มาก็คือ 2747

ฉบบั ภาษาไทย สาขามนษุ ยศาสตร์ สงั คมศาสตร์ และศลิ ปะ Veridian E-Journal, Silpakorn University ปีที่ 11 ฉบับท่ี 3 เดือนกนั ยายน – ธนั วาคม 2561 ISSN 1906 - 3431 ฟามลิ ล์ โรสนั้นเป็นเครอ่ื งกระเบอื้ งทผี่ ลติ ในจีน เพื่อรสนิยมของชาวตะวันตก มีการนาเทคนิคการวาดและลงสี แบบตะวันตกมาใช้ในงานศลิ ปะการวาดละการลงสีแบบดง้ั เดมิ ของจีนก็คือจะเน้นสีสดๆ ค่อนไปทางแม่สี หรือสี โทนธรรมชาติ นบั ได้ว่าเปน็ ศลิ ปะท่ผี สมผสานระหว่างตะวนั ออก-ตะวันตกได้อย่างลงตัว เครื่องถ้วยนนยาหลาย ชิ้นถูกผลิตเพือ่ เปอรานากนั โดยเฉพาะ เช่น บริษทั เซรามิคในจ่งิ เต๋อเจ้ินประเทศจีน ชาวเปอรานากันโดยมากจะ ชอบเซรามคิ และเคร่อื งแก้วที่ผลติ ในยุโรปและซื้อจานชามทหี่ าซื้อได้ทว่ั ไปเพือ่ ใช้นาเสนออาหารที่ผ่านการปรุงมา อย่างประณตี สถาปตั ยกรรมของชาวเปอรานากนั ชาวเปอรานากันอาศัยและทางานในอาคารที่มีสไตล์แบบชิโนโปตุกีสหรือ Straits Eclectic architectural style และมีชื่อเรียกอ่ืนๆที่แตกต่างกันออกไป เช่น ชิโน เมเลย์ โคโรเนียล (Sino-Malay Colonial) ชิโน มาเลย์ พราเดียน (Sino-Malay-Palladian) ทรอปิคอล เรเนซองค์ (Tropical Renaissance) ไชนีส พาราเดียน (Chinese Palladian) และ บาโรค (Baroque) สถาปัตยกรรมนเี้ ป็นสว่ นผสมทเี่ ปน็ เอกลกั ษณ์ ขององคป์ ระกอบตะวันออกและตะวนั ตก สไตลน์ ้ีไดร้ ับการพัฒนาขึ้นในช่วงศตวรรษท่ี 19 และต้นศตวรรษที่ 20 และรวมไปถงึ สถาปัตยกรรมทเี่ ป็นรา้ นค้า วดั บ้านประจาตระกลู วลิ ลา่ และบังกะโล เป็นตน้ อาคารรา้ นค้าส่วนใหญ่จะมลี กั ษณะเป็นแบบสองชน้ั โดยชั้นล่างใช้เพื่อประกอบธุรกิจการค้าและชั้น สองสาหรับใช้เปน็ ท่อี ยู่อาศัย โดยตวั อาคารมีการเชอื่ มตอ่ กบั อาคารอืน่ ๆ โดยตวั อาคารจะสรา้ งตดิ กนั หลายๆห้อง และจะมีทางเดนิ ทอดยาวอยา่ งตอ่ เน่อื งอยดู่ ้านหนา้ ดา้ นของอาคารร้านค้า ถา้ ไมม่ ีการประกอบการเชิงพาณิชย์ท่ี ช้ันล่างมักเรียกกันวา่ บ้านระเบียง ผนงั ดา้ นหน้าทาจากปูนฉาบหรือเซรามคิ ในชว่ งปลายศตวรรษที่ 19 ชาวเปอรา นากันไดม้ กี ารปรับรูปแบบของสถาปตั ยกรรม โดยรวมเข้ากบั แบบตะวันตกรวมท้ังหน้าต่างแบบฝร่ังเศส เสาปูน ปลาสเตอร์และการฉาบปูนแบบด้งั เดมิ รวมไปถงึ การประดับตกแตง่ ดว้ ยลายดอกไม้ ผลไมต้ ามแบบจีนหรือยุโรป กระเบอื้ งเซรามิคทมี่ ีสสี นั สามารถมองเหน็ ไดบ้ นผนงั และบนพนื้ โดยอาจไดร้ บั อทิ ธพิ ลมาจากชาวดัตชห์ รือชาวจีน แตใ่ นชว่ งศตวรรษท่ี 20 การออกแบบสมัยใหม่จากอังกฤษกลายเปน็ ทนี่ ิยมมาก อาคารท่ีเป็นร้านค้าในยุคแรก ๆ จะใช้กระเบอ้ื งมงุ หลังคาแบบจีนด้ังเดมิ แต่ตอ่ มากระเบ้อื งดินเผาแบบมาเมดเิ ตอร์เรเนยี นก็ได้ถกู นามาใช้แทน 2748

Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนษุ ยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศลิ ปะ ISSN 1906 - 3431 ปที ่ี 11 ฉบบั ท่ี 3 เดอื นกนั ยายน – ธันวาคม 2561 สถาปตั ยกรรมท่พี ักอาศยั แบบชาวเปอรานากนั (ที่มา คฤหาสน์เปอรานากนั ปีนงั ประเทศมาเลเซยี ภาพถา่ ยโดยผเู้ ขียน) บา้ นของชาวเปอรานากนั ท่วั ไปจะแบง่ เปน็ ห้องโถงแรก ห้องโถงทีส่ องจะไว้จัดวางแท่นบชู าบรรพบรุ ษุ หอ้ งนอน ห้องเจ้าสาว ห้องครัวและลานบ้านเปิดโลง่ ซ่ึงทาหน้าทร่ี ะบายอากาศ ความม่ังค่งั ของชุมชนเปอรานากนั เพิ่มมากขน้ึ ในชว่ งตน้ ศตวรรษท่ี 20 เหน็ ไดจ้ ากการท่ชี าวเปอรานากันได้สร้างบังกะโลและบ้านพักแบบวิลล่าซ่ึง เต็มไปด้วยโคมระยา้ แบบยโุ รป เฟอร์นิเจอรป์ ระดับมกุ และตไู้ มส้ ักอันเตม็ ไปด้วยสีสนั สวยงาม 2749

ฉบับภาษาไทย สาขามนษุ ยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศลิ ปะ Veridian E-Journal, Silpakorn University ปีที่ 11 ฉบบั ที่ 3 เดอื นกนั ยายน – ธนั วาคม 2561 ISSN 1906 - 3431 การตกแตง่ อาคารบ้านเรอื นของชาวเปอรานากนั (ทม่ี า คฤหาสน์เปอรานากันปีนัง ประเทศมาเลเซยี ภาพถ่ายโดยผู้เขียน) พิธีกรรมของชาวเปอรานากนั พิธกี รรมของชาวเปรานากนั ผสมผสานแบบจนี และมาเลย์ เกิดจากการผสมผสานทางประวัติศาสตร์ พิธีกรรมของชาวเปรานากันจะเฉลิมฉลองในช่วงวันหยุดสาคัญเพื่อสักการะบรรพบุรุษ และราลึกถึงเหตุการณ์ สาคัญทางประวัตศิ าสตร์ พธิ ีแต่งงาน การจดั งานแต่งงานของชาวเปอรานากนั จะจดั ติดต่อกนั 12 วัน เปน็ สญั ลกั ษณข์ องการเปลี่ยนแปลง ของคสู่ ามภี รรยาในชีวิตจากวยั ผใู้ หญส่ ่ชู วี ติ สมรส ตลอดจนการใหพ้ รแก่คแู่ ต่งงานและอนาคตของคู่สมรส พิธีน้ีมี การประสานงานและดาเนนิ การโดยสมาชกิ ของทง้ั สองครอบครวั เพ่ือเปน็ พรในการแตง่ งาน และแสดงความมง่ั ค่ัง ของพวกเขา เครื่องแต่งกายมีพ้ืนฐานการแต่งกายมาจากชุดแต่งงานในสมัยราชวงศ์ชิง (ปี ค .ศ.1644-1912) ในขณะทพี่ ธิ กี รรมทางดา้ นศาสนาสว่ นใหญ่เป็นศาสนาพทุ ธและลัทธิเต๋า 2750

Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนษุ ยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศลิ ปะ ISSN 1906 - 3431 ปที ่ี 11 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธนั วาคม 2561 พธิ ศี พ ชาวเปอรานากันมีความเช่ือท่ีว่าผู้ตายจะยังวนเวียนเดินดินอยู่ในโลกมนุษย์ มีประเพณีต่างๆท่ี เกี่ยวขอ้ งกับงานศพเพ่ือใหแ้ นใ่ จว่าผู้ตายมีความสุขในชวี ิตหลังความตายจริง หลังจากที่ผู้ตายเสยี ชีวิตลง จะมกี าร คลมุ รา่ งกายทงั้ หมด และมนี ักบวชในลัทธิเต๋าหรอื นักบวชหญิงทาหน้าที่ในการทาความสะอาดร่างกายและแต่ง กายศพก่อนวางลงในโลงศพ ชาวเปอรานากนั แม้จะมเี ชื้อสายมลายูแต่ไมไ่ ด้นับถือศาสนาอิสลาม ส่วนใหญ่นับถือ ลัทธเิ ตา๋ ลัทธิขงจ๊อื และศาสนาพทุ ธนิกายมหายาน ในส่วนของบรเิ วณรฐั กลันตันก็จะนับถือเถรวาทควบคู่ไปกับ ความเช่ือดั้งเดิมที่นับถือ เวลามีกิจกรรมทางศาสนาก็จะไปวัดไทยบ้าง และมีการไหว้บรรพบุรุษเหมือนคนจีน ท่ัวไป แต่มีบางส่วนได้หันไปนับถือศาสนาคริสต์ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ชาวเปอรานากันได้เปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมตามถิน่ ทตี่ ้ังถิน่ ฐาน อยา่ งอิทธิพลของโปรตุเกส ดัตช์ มลายู อังกฤษ และอินโดนีเซีย (Joo Ee Khoo, 1996) เทศกาลตรษุ จนี วนั ปีใหมห่ รือตรุษจนี ถือว่าเป็นหน่ึงในวันหยุดที่สาคัญท่ีสุดในปีตามปฏิทินจันทรคติ วันตรุษจีนของ ชาวเปอรานากันมกั ตรงกบั วันแรกของเดอื นทางจนั ทรคติ ซง่ึ ก็คอื ระหว่างวนั ท่ี 21 มกราคมถงึ 20 กุมภาพันธต์ าม ปฏิทินทางจันทรคติ มีการกราบไหว้บรรพบุรุษ บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วจะได้รับการจารึกไว้บนแท่นบูชา ครอบครัว อย่างไรก็ตามหากสมาชิกในครอบครัวท่ีมีการต้ังรกรากอยู่ในอ่ืนๆ และไม่มีแท่นบูชาบรรพบุรุษ พวกเขากจ็ ะไปกราบไหว้บรรพบุรษุ ทว่ี ดั เส้อื ผา้ เคร่ืองแตง่ กาย ทักษะที่สาคญั ทสี่ ุดสาหรับหญิงสาวนนยาก็คือการเย็บปักถักร้อยและงานลูกปัด โดยเร่ิมต้ังแต่อายุ 8-10 ขวบสาว ๆ ถูกคาดหวงั ว่าจะต้องสามารถผลิตและสร้างผลงานการเย็บปักถักรอ้ ยท้ังน้ีคุณภาพและปริมาณ ของงานลูกปัดและงานเย็บปักเป็นเคร่ืองหมายในการแสดงถึงความพร้อมในการเข้าพิธีสมรสของหญิงสาว ดงั กล่าว รวมไปถึงรองเท้า เสื้อผ้าอ่ืน ๆ และของประดับตกแต่งสาหรับห้องเจ้าสาว คุณภาพและปริมาณของ ผลงานการเยบ็ ปกั ถักร้อยของสาวนนยาขึ้นอยูก่ บั การทีเ่ ธอไดร้ บั การอบรมปลกู ฝังเมือ่ เธอยังเดก็ และจานวนด้าย สที องและลูกปัดเปน็ ตัวบง่ ชี้ความม่ังคัง่ และสถานะทางสังคม หญงิ สาวนนยาโดยเฉพาะอยา่ งย่งิ หญงิ สาวที่อายยุ ัง น้อย มักจะชอบสวมใส่ซ่ินสีสันสดใสหรือที่เรียกว่า ปาเต๊ะซารุง (sarongs) หรือโสร่ง เป็นสีสันท่ีมาจากพ้ืนที่ ชายฝงั่ ตอนเหนอื ของเกาะชวา ซ่งึ เป็นแถบนคิ มอุตสาหกรรมทผ่ี ลติ ผา้ ปาเตะ๊ เป็นจานวนมาก ลกั ษณะเด่นของการ นงุ่ ผา้ ผ้าซารงุ ก็คือkepala kain หลังจากที่นุ่งผ้าซารุงเรียบร้อยแล้ว kepala kain จะนามาใช้รัดรอบเอวอย่าง ประณีตโดยหันออกด้านหนา้ ผา้ ปาเตะ๊ ซารุง มักจะสวมใส่คู่กับเสื้อบางที่มีการปักลายปักฉลุท่ีเรียกว่า เคบายา (Kebaya) 2751

ฉบับภาษาไทย สาขามนษุ ยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศลิ ปะ Veridian E-Journal, Silpakorn University ปที ่ี 11 ฉบับที่ 3 เดอื นกันยายน – ธันวาคม 2561 ISSN 1906 - 3431 การแตง่ กายตามแบบของชายหนุม่ และหญงิ สาวชาวเปอรานากนั (ที่มา คฤหาสน์เปอรานากนั ปีนัง ประเทศมาเลเซยี ภาพถา่ ยโดยผู้เขียน) กลางศตวรรษท่ี 19 ยุคอาณานิคมท่ีอยภู่ ายใต้การปกครองของอังกฤษ ชาวเปอรานากันส่วนใหญ่จะ ได้รับการศึกษา และรับเอาวัฒนธรรมแบบตะวันตก โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างปีนังและสิงคโปร์ ทาให้ วฒั นธรรมเปอรานากันบางอย่างที่สืบทอดมาถกู ปรบั เปลี่ยน หรือหลงลืมไปตามกระแสการพฒั นาทางสังคม เช่น การแต่งกายแบบบา้ บ๋า-ย่าหยาก็หดหายไป หรือปรับเปลี่ยนจากการใช้ผ้าปักฉลุมาเป็นผ้าลูกไม้สาเร็จรูปแทน หรอื การดาเนินชวี ติ แบบครอบครัวใหญ่กลายเปน็ ครอบครวั เดียว ด้วยภาวะทางเศรษฐกิจ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในเมอื งมะละกา ปีนงั สิงคโปร์ และภเู กต็ ก็ยงั คงปรากฏวัฒนธรรมเปอรานาอยู่ในรูปแบบของธุรกิจการค้า เช่น การทอ่ งเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีบ้านเรือนเปอรานากันให้กับนักท่องเที่ยวได้เข้าพักและเย่ียมชม หรือสินค้าเชิง วัฒนธรรมแบบเปอรานากนั ไดแ้ ก่ เสือ้ ผ้าชุดบา้ บา๋ -ยา่ หยาเคร่ืองถ้วยนนยา รองเท้าสตรีปักลวดลายด้วยลูกปัด หลากสี เปน็ ต้น (พุมรี อรรถรฐั เสถียร, 2556:94) จากภาพยนตรเ์ รือ่ ง รักยง่ิ ใหญ่จากใจดวงน้อย (The Little Nyonya) ละคร ซีรีสป์ ระวัติศาสตร์เรื่อง ยิ่งใหญท่ สี่ ุดของสิงคโปร์ เร่ืองราวของชาวบา้ บา๋ ย่าหยา กลุ่มชนชาวจีน-มลายูท่ี ถูกกลืนหายไปกับสงครามโลก ครง้ั ท่ี 2 สะทอ้ นเรอ่ื งราวความรักและการตอ่ สู้ชีวิตอย่างไม่ยอมพ่ายแพ้ต่อโชคชะตาของสาวน้อยผู้อาภัพ ท่ีถูก ปลูกฝงั คณุ ธรรมและวัฒนธรรมท่ีดีงามมาจากบรรพบุรุษ แต่ชะตากรรมชีวิตของเธอกลับถูกกาหนดด้วยจารีต ประเพณีที่เปน็ เสมือนขวากหนามท่ยี ากเกนิ กว่าใคร ๆ จะฝ่าฟนั ผา่ นไปได้ ภาพยนตรเ์ รอ่ื งนี้นบั ได้ว่าเป็นการปลุก กระแสของเปรานากนั กลับมาอีกครงั้ และสร้างความน่าสนใจใหก้ บั ผู้ชมเป็นอย่างมาก(พิสิษฐ์ ณัฎประเสริฐและ คณะ,2560:863) พพิ ิธภณั ฑเ์ ปอรานากันในมาเลเซีย สิงคโปร์ถือว่ายังคงแสดงให้เห็นถึงรากเหง้าเปอรานากัน อยา่ งชัดเจน ในประเทศไทยเปอรานากันกลมุ่ นจ้ี ะอยู่ในแถบจังหวัดฝั่งทะเลอันดามนั โดยเฉพาะภูเก็ต ตรัง และ จงั หวดั ใกลเ้ คยี งและวัฒนธรรมเปอรานากันยังไม่เด่นชัดมากนักในประเทศไทย พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจาเป็นต้อง จัดตัง้ ขึ้นเพอื่ คนในทอ้ งถน่ิ ด้วยบริหารจัดการของคนในทอ้ งถ่นิ ซ่งึ พิพธิ ภัณฑ์ในประเทศไทยได้เกดิ ขึน้ จานวนมาก 2752

Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบบั ภาษาไทย สาขามนษุ ยศาสตร์ สงั คมศาสตร์ และศลิ ปะ ISSN 1906 - 3431 ปที ี่ 11 ฉบบั ท่ี 3 เดอื นกันยายน – ธนั วาคม 2561 แต่เม่อื เทยี บกบั จานวนชุมชนหรือทอ้ งถนิ่ แล้วถือว่ามีจานวนน้อย พพิ ธิ ภัณฑ์ท้องถ่ินในประเทศไทยท่ีพัฒนาแล้ว ส่วนมากจัดขนึ้ เพอ่ื ใหค้ นในชาติรู้จกั ตนเองรู้จักท้องถิ่น เพื่อความเขา้ ใจในวฒั นธรรม รวบรวมหลักฐานในการตั้ง ถิ่นฐาน วิถีชีวิต การประกอบอาชีพ การปรับตัวของคนในท้องถ่ิน รวมถึงการพัฒนาทางสังคมเศรษฐกิจของ ท้องถนิ่ ซึ่งการจัดการพพิ ธิ ภัณฑ์ความสาคญั คอื การอนรุ กั ษ์มรดกทางภูมปิ ญั ญาวตั ถุโบราณสถาน โบราณคดีที่ เกิดข้ึนในแต่ละท้องถิ่น นับว่าเป็นพื้นฐานในการเกิดสติปัญญา การสร้างแรงบันดาลใจ ส่งผลต่อถึงระบบ การศึกษาที่ทาให้ได้เรียนรู้จากของจริง เปอรานากันในประเทศไทยมีบรรพบุรุษอพยพมาจากปีนัง และมะละ กา โดยเปอรานากันกลุ่มนี้มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับกลุ่มเปอรานากันในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และ สิงคโปร์ ชาวเปอรานากันในไทยใช้ภาษาไทยถ่นิ ใต้ ท่ีเจอื ไปดว้ ยคาศพั ทจ์ ากภาษามลายู จีน และองั กฤษ ชาวเปอ รานากันในประเทศไทย นยิ มเรียกกันว่า บ้าบ๋า หรือบาบา ไดท้ งั้ ชายและหญิง ปจั จุบันมีการรวมตวั กนั ของเปอรา นากนั โดยการจัดต้ังสมาคมเปอรานากัน (Peranakan Association) ในมะละกา ปีนัง กัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ และภูเก็ต เพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่ยังอยู่ในประเพณี เช่นการแต่งงาน อาหารด้ังเดิม แ ละบทเพลง พ้ืนเมือง เป็นส่วนหน่ึงท่ีทายาทเปอรานากันพยายามรักษาวิถีอันดีงามของบรรพบุรุษ โดยจัดงานพบปะ แลกเปลยี่ นระหวา่ งเปอรานากันทีอ่ ยูใ่ นมาเลเซีย อินโดนีเซยี และไทยปีละครั้ง เพ่ือให้วัฒนธรรมเปอรานากันที่มี อย่มู านานแลว้ ในเอเชยี ตะวันออกเฉียงใตม้ ่นั คงอยตู่ อ่ ไป 2753

ฉบับภาษาไทย สาขามนษุ ยศาสตร์ สงั คมศาสตร์ และศิลปะ Veridian E-Journal, Silpakorn University ปีที่ 11 ฉบบั ที่ 3 เดอื นกนั ยายน – ธันวาคม 2561 ISSN 1906 - 3431 เอกสารอ้างอิง ภาษาไทย นิสิต มโนต้ังวรพันธุ์ และปริวรรต ธรรมาปีชากร. (2553). เรียนรู้วัฒนธรรมเปอรานากัน (บ้าบ๋าย่าหยา) จากเคร่ืองถ้วยนนยา (ออนไลน์). สืบค้นจาก: htt://www.bu.ac.th/knowledgecenter/ executive_journal/july_sep_10/pdf/aw8.pdf [20 กุมภาพนั ธ์ 2561]. ประติมา ธันยบูรณ์ตระกูลและคณะ.(2560).ศิลปศึกษากับการใช้สถานที่เป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่า ทางศิลปวัฒนธรรม.วารสารVeridiant E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีท่ี 10 ฉบับที่3 เดือน กนั ยายน-ธันวาคม 2560. พุมรี อรรถรัฐเสถียร.(2556). เปอรานากัน (Peranakan) สายเลือดลูกผสม. รู้ไว้ใช่ว่า ปีที่ 34 ฉบับที่2 เมษายน-มถิ ุนายน 2556. Abul Kadir, The Hikayat Abdulah (an annotated translation by A.H. Hill)(Kuala Lumpur: Oxford University Press, 1970),pp. 75 and 266. Abdullah Ibrahim, The Voyages of Mahamed Ibrahim Mushi (translation with an introduction and notes by Amin Sweeney and Nigel Phillips)(Kuala Lumpur: Oxford University Press, 1975),pp.90-91. Andrew D.W. Forbes. (1988). The Muslims of Thailand. Soma Prakasan. pp. 14–15. Encyclopedia Britannica. 2012. Peranakan (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://www.britannica.com/ EBchecked/topic/451004/Peranakan [2018, Febuary 20] J. D. Vaughan, The Manners and Customs of the Chinese of Straits Settlements (Kuala Lumpur: Oxford University Press, 1971). Karl A. Beberapa Aspek Tentang Islam di Indonesia Abad Ke 19 (Jakarta: Bulan Bintang, 1984),p.87. Khoo Joo Ee, Straits Chinese : A Cultural History (Kuala Lumpur : The Pepin Press, 1996). Pixie Dollhouse.(2009). 2009 Of Beige, Gold, Flappers, Lasalle Reunions and Life. Shamsul AB.(2011). Discourseson“Peranakanness” with focus on The Peranakan Chinese Community in Contemporary Kelantan, Malaysia (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://ukm. academia.edu/wwwkitaukmmy/Papers/1127529/Discourses_on_Peranakanness_with_ focus_on_The_Peranakan_Chinese_Community_in_Contemporary_Kelantan_Malaysia [2018, Febuary 20] The east-weat Center.(2013). Peranakan Chinese Heritage of Southeast Asia.(online).สืบค้นจาก: http://arts.eastwestcenter.org/wpcontent/uploads/2013/05/PeranakanHandout4.pdf [2018, Janyury 15] 2754

Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ISSN 1906 - 3431 ปที ่ี 11 ฉบบั ที่ 3 เดอื นกนั ยายน – ธนั วาคม 2561 Wikipedia.(2017). Peranakan [online]. Retrieved January 25 , 2018, from https://th.wikipedia.org/ wiki/ Peranakan. 廖建裕.(2005).〈马来西亚的土生华人:回顾与前瞻〉,何国忠主编《百 年回眸:马华文化与教育(吉隆坡:华社研究中心,2005), 页 22,23,24,26. 叶钟铃.(1994).《陈省堂文集》(新加坡亚洲文化学会,1994). 庄钦永.(2001).〈1819-1844 年新加坡的华文学堂〉,台北,2001 年 5 月 (发表). 2755