Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวู้ดบอล

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวู้ดบอล

Description: คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวู้ดบอล

Search

Read the Text Version

คู่มอื ผู้ฝกึ สอนกฬี า T - Certificate

คำนำ

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวู้ดบอล T-Certificate เล่มนี้ กรมพลศึกษาจัดทำขึ้นเพื่อ เผยแพร่ความรู้ด้านการฝึกสอนกีฬาวู้ดบอล ให้มีความทันสมัย มีมาตรฐานสูงข้ึน สอดคล้องกับ การจัดการแขง่ ขนั กฬี าว้ดู บอลในปัจจุบนั และมอบใหแ้ ก่ผู้ฝึกสอนกีฬาว้ดู บอล ระดบั T-Certificate ผู้ฝึกสอนกีฬาวู้ดบอลทั่วไปและผู้สนใจได้ใช้เป็นคู่มือในการฝึกสอนกีฬาวู้ดบอล การดำเนินการได้รับ ความร่วมมือจากสมาคมวู้ดบอลแห่งประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาวู้ดบอล มาเป็นวิทยากร และร่วมจัดทำต้นฉบับ กรมพลศึกษาขอขอบคุณสมาคมผู้ฝึกสอนกีฬาวู้ดบอลแห่งประเทศไทยและ ผู้เชี่ยวชาญทกุ ทา่ นท่มี สี ่วนรว่ มในการจดั ทำคมู่ ือผฝู้ กึ สอนกีฬาวู้ดบอล T-Certificate จนสำเรจ็ ลลุ ่วง เป็นอย่างดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือเล่มน้ีจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ฝึกสอนกีฬาวู้ดบอลและผู้ที่สนใจ ท่ัวไปได้ศึกษา ค้นคว้า และนำไปใช้ในการพัฒนาการฝึกสอน ฝึกซ้อม และการจัดการแข่งขัน กีฬาว้ดู บอล ให้มีมาตรฐานสงู ข้นึ สนองต่อนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนาการกีฬาของชาตติ อ่ ไป กรมพลศกึ ษา



สารบสัญารบญั หนา้ คำนำ สารบญั 1 บทที่ 1 ความรทู้ วั่ ไปเกย่ี วกบั กีฬาวดู้ บอล 2 • กำเนดิ กีฬาวูด้ บอล 7 7 • กำเนดิ กีฬาวู้ดบอลในประเทศไทย 8 8 • ข้อแนะนำสำหรบั ผ้หู ัดเล่นกฬี าวู้ดบอล 9 • เทคนคิ สำคญั ในการเลน่ กฬี าวู้ดบอล 11 14 • การพัฒนาการกีฬาวู้ดบอลในประเทศไทย 14 • การพัฒนากฬี าวู้ดบอลในอนาคต 15 บทท่ี 2 คณุ สมบตั ขิ องผ้ฝู ึกสอนกีฬา 16 • ผู้ฝกึ สอนกีฬา 20 • ผูฝ้ กึ สอนกีฬาควรมีทักษะและความรอู้ ะไรบ้าง 22 • บทบาทของผู้ฝกึ สอนกฬี า • คุณลกั ษณะของผฝู้ ึกสอนที่ดี บทที่ 3 พฒั นาการของรา่ งกาย • พฒั นาการและปัจจยั ที่มผี ลตอ่ การพัฒนาของบคุ คล • พฒั นาการของบุคคลในวยั ตา่ งๆ • ขนั้ ตอนระยะพฒั นา บทที่ 4 การวางแผนการฝึกซ้อม • องค์ประกอบของการวางแผนการฝึก

สารบสัญารบัญ หนา้ บทท่ี 5 กติกาและการตัดสนิ กฬี าวู้ดบอล • กฎ กติกา ว้ดู บอล สนามวูด้ บอล 25 • อุปกรณ์วู้ดบอล 28 • องค์ประกอบของทีม 31 • บทบาทหนา้ ท่สี ำหรับผตู้ ัดสิน 32 • การแขง่ ขัน 34 • การใหส้ ญั ญาณมอื ของผู้ตดั สนิ กีฬาว้ดู บอล 40 • ใบบันทึกคะแนน 46 บทท่ี 6 ทักษะพื้นฐานการเลน่ กีฬาวู้ดบอล • การจับไม้ (Grip) 52 • การยืน (Address) 53 • การข้นึ ไม้และการลงไม้ (Take Back and Down Swing) 54 • การเลง็ เปา้ หมาย (Alignment) 56 • การยิงประตู (Shooting) 57 บทที่ 7 วิทยาศาสตรก์ ารกีฬากับกีฬาวดู้ บอล • การเสรมิ สรา้ งสมรรถภาพทางกายสำหรับนักกีฬา Woodball 59 • การยืดเหยยี ดกลา้ มเน้ือสำหรับนักกฬี า 60 • จติ วทิ ยาของผ้ฝู กึ สอนกฬี าว้ดู บอล 62 • โภชนาการกับกีฬาวดู้ บอล 67 นิยามศัพท์ (Woodball Technical terms) บรรณานกุ รม คณะผูจ้ ดั ทำ

บทท่ี 1 ค วามรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกีฬาวู้ดบอล กำเนิดกฬี าวูด้ บอล วู้ดบอลเป็นกฬี าใหม่ ซง่ึ นายเวง หมงิ ฮยุ (Mr.Weng Ming-Hui) ชาวไต้หวนั เป็นผคู้ ดิ ประดิษฐ์ข้ึน ในต้นปี พ.ศ. 2533 นายเวง หมิง ฮุย อยากให้คุณพ่อของเขามีสถานท่ี ออกกำลังกายท่ีประกอบไปด้วยสวนดอกไม้ เขาได้ซ้ือท่ีกว้างริมภูเขาแห่งหนึ่งที่อยู่ในเมืองไทเป (Taipei) และได้วางแผนปรับปรุงที่ดินสำหรับปลูกต้นไม้ดอกไม้ ต่อมาสถานท่ีแห่งนี้เอง ได้กลายเป็นสนามวูด้ บอลแห่งแรก โดยมีชอื่ วา่ โห้ ฮวั หยวน (แปลว่า สวนหลังบา้ น) กอ่ นหน้าน้ี นายเวง หมิง ฮุย ชอบเล่นกอล์ฟ แตม่ ีความร้สู ึกวา่ การเล่นกีฬากอลฟ์ มีค่า ใชจ้ ่ายค่อนขา้ งสูง ฝึกเล่นไดย้ ากสำหรบั ผสู้ งู อายุ ดังนนั้ นายเวง จึงเรมิ่ คดิ ท่ีจะประดิษฐ์อุปกรณ์ ง่ายๆ ข้ึนมา เพ่ือให้ครอบครัวสามารถออกกำลังกายในบริเวณเนินเขาที่สวยงามของตนเองได้ อย่างมีความสุข ส่ิงที่จะประดิษฐ์น้ีจะต้องมีความกลมกลืนกับธรรมชาติ น่าจะทำมาจากไม้ เพ่ือ จะได้เหมาะสมกับสถานท่ีท่ีสวยงาม แวดล้อมด้วยต้นไม้และดอกไม้แห่งนี้ เขาได้พยายาม ออกแบบคร้ังแล้วคร้ังเหลา่ อุปกรณ์ที่ได้ก็ยงั มรี ูปรา่ งและการใชง้ านไมเ่ ปน็ ท่ีถกู ใจอยู่ดี วนั หนง่ึ นายเวง หมิง ฮยุ สงั เกตเหน็ วา่ ทจ่ี ับราวบันไดทางขึน้ หวั เสามีลกั ษณะกลม และ ทำด้วยไม้ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตร (ปัจจุบันใช้ลูกบอลที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 9.5 เซนติเมตร) ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า วู้ดบอล วู้ด (Wood) แปลว่า ไม้ บอล (Ball) แปลว่า ลูกกลมๆ Woodball จึงแปลว่า ลูกกลมๆ ท่ีทำด้วยไม้ หรือลูกบอลไม้ หรือเรียกทับศัพท์ว่า ลูกวู้ดบอลน่ันเอง ส่วนรูปร่างของไม้ท่ีใช้ในการตี นายเวง หมิง ฮุย ได้ความคิดจากขวดเบียร์ ถ้านำขวดเบียร์มาทำเป็นหัวไม้ไว้สำหรับตีลูกวู้ดบอลคงเหมาะ แต่เป้าหมายในการตีลูกยังไม่ สามารถออกแบบได้ถ้าหากขุดหลุมเหมือนหลุมกอล์ฟ ต้องมีน้ำขังอยู่ในหลุมอย่างแน่นอน เพราะหลุมต้องใหญ่และดินในสวนจะเป็นดินไม่ซึมน้ำ ย่อมไม่เหมาะในการเล่น ส่วนเป้าหมาย น้ันควรติดตั้งและสามารถย้ายไปตามที่ต่างๆ ของสนามได้ง่ายและสะดวก หากนำประตูฟุตบอล มาประยุกต์ สองเสาของประตูฟุตบอลใช้ขวดไม้มาแทนสองข้าง ส่วนด้านล่างของขวดไม้น้ ี มีตะปูยาว 20 เซนติเมตร จะทำให้สามารถติดตั้ง เคล่ือนย้ายประตูไปตามท่ีต่างๆ ของทุ่งหญ้า ได้สะดวก โดยปักประตูลงได้บนดินทันที ตาข่ายของประตูใช้ถ้วยไม้แทน เมื่อลูกวู้ดบอล ผ่านประตูมีถ้วยไม้ที่คว่ำอยู่ตรงกลางจะถูกตีขึ้นไปข้างบน มีลักษณะคล้ายการชนแก้วฉลอง การเข้าประตู หมายถงึ ความสำเรจ็ คมู่ อื ผฝู้ ึกสอนกฬี าวดู้ บอล T - Certificate 1

ในการออกแบบและทดลองปรับปรุงลูกวู้ดบอล ไม้ตี และประตูน้ี ได้ใช้เวลาประมาณ 2 ปี หลังจากนั้น นายเวง หมิง ฮุย ได้เชิญเพื่อนๆ มาเล่นวู้ดบอลท่ี “โห้ ฮัว หยวน” มักจะ มีคำถามเสมอๆ ว่า การเล่นกีฬาชนิดน้ไี ดม้ าจากประเทศใด สนกุ มาก เปน็ สิ่งท่ีนายเวง หมงิ ฮยุ ดีใจและภูมิใจมากกับชนิดกีฬาใหม่ที่ได้ประดิษฐ์ข้ึนมา แต่ก็กังวลใจ เพราะกีฬาประเภทที่เล่น ด้วยลูกบอลมักจะประดิษฐ์คิดค้นมาจากชาวต่างชาติเป็นส่วนใหญ่ นายเวง หมิง ฮุยจึงตัดสินใจ ว่าจะนำกีฬาวู้ดบอลท่ีตนค้นพบออกเผยแพร่ไปท่ัวโลก เขาจึงได้จัดตั้งสมาคมวู้ดบอลไทเปข้ึน (The Chinese Taipei Woodball Association หรือ CTWA) เมื่อวันท่ี 11 กันยายน พ.ศ. 2536 โดยหวังว่าจะนำกีฬาวู้ดบอลออกเผยแพร่ไปท่ัวโลก และเป็นที่นิยมของคนทั่วไป และเพ่อื ใหท้ วั่ โลกได้รบั รูว้ ่ากีฬาประเภทบอลชนิดน้ปี ระดิษฐ์ขึ้นโดยชาวจีน กำเนิดกีฬาวดู้ บอลในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2538 เป็นช่วงเวลาท่ี ดร.พัฒนาชาติ กฤดิบวร อธิบดีกรมพลศึกษา คนปัจจุบัน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนกีฬาจังหวัดขอนแก่นในขณะน้ัน ได้ต้อนรับคณะผู้มาเย่ียมจากประเทศไต้หวัน นำโดยดร.ฟิลลิปส์ เช็ง (Phillip Cheng) ซ่ึงม ี ความสมั พนั ธ์เป็นเพื่อนร่วมชนั้ เรยี นในระดับปริญญาเอก ณ มหาวทิ ยาลยั นิวเมก็ ซโิ ก (University of New Mexico) ประเทศสหรัฐอเมริกา ดร.ฟิลลิปส์ เป็นผู้นำ Mr.Weng Ming Hui และคณะ บริหารมาสาธิตการเล่นกีฬาชนิดใหม่ของไต้หวันซ่ึงเรียกว่า Woodball ดร.พัฒนาชาต ิ มีความสนใจในกีฬาชนิดน้ีเป็นอย่างมาก เนื่องจากเห็นว่าเล่นได้ง่าย กฎ กติกาไม่มีความยุ่งยาก และสามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัย ต่อมาทางประเทศไต้หวันได้มีหนังสือเชิญกรมพลศึกษา ให้ไปดงู าน ณ ประเทศไตห้ วัน โดยมี รศ.ดร.ทองคณู หงสพ์ ันธุ์ (ตำแหน่งรองอธิบดีในขณะนน้ั ) เป็นหัวหน้าคณะการไปดูงานด้านพลศึกษาในคร้ังน้ัน ทำให้ ดร.พัฒนาชาติ กฤดิบวร ได้เห็น การเล่นวู้ดบอลอย่างแพร่หลายในประเทศไต้หวัน โดยเฉพาะภายในสวนสาธารณะต่างๆ ทำให้เล็งเห็นว่า กีฬาชนิดน้ีสามารถช่วยส่งเสริมสุขภาพได้ทุกระดับ ทุกเพศ ทุกวัย ดังน้ัน เมื่อกลับมาท่านจึงได้จัดการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกีฬาวู้ดบอลเป็นคร้ังแรก ณ โรงเรียนกีฬา จังหวัดขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2538 ซึ่งมีบุคลากรจากโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดขอนแก่น และ จังหวัดใกล้เคียงเข้าอบรม จึงนับว่าเป็นจุดเร่ิมต้นของกีฬาวู้ดบอลในประเทศไทยและได้มีการ เผยแพร่มาเปน็ ลำดบั ตอ่ มา จนกระทั่งไดก้ อ่ ตง้ั เปน็ สมาคมวู้ดบอลแห่งประเทศไทย เมื่อวนั ที่ 18 เมษายน 2541 โดยมี ดร.พัฒนาชาติ กฤดิบวร เป็นนายกสมาคมคนแรกจนถงึ ปจั จุบัน ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ดร.พัฒนาชาติ กฤดิบวร เป็นนายกสมาคมคนแรกในกีฬาวู้ดบอล ท่านได้นำนักกีฬาวู้ดบอลจากประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันในประเทศต่างๆ ในแถบเอเชีย หลายคร้ัง โดยเริ่มคร้ังแรกท่ีเมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 9-12 2 คู่มือผู้ฝกึ สอนกีฬาวูด้ บอล T - Certificate

สงิ หาคม 2541 หญงิ 1 ทีม และระหว่างวนั ที่ 1-5 กนั ยายน 2541 ในปเี ดยี วกันได้จัดสง่ ทมี ชาย 1 ทีม เข้าร่วมการแข่งขันที่เมืองเซ่ิงหยาง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน หลังจากน้ัน ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันไทยแลนด์วู้ดบอลอินวิเตชั่น (Thailand Woodball Invitation Championship) ท่ีสนามโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี นักกีฬาจากต่างชาติเข้าร่วมได้แก่ ไต้หวัน สาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และ มาเลเซีย ในระหว่างวันท่ี 24-29 พฤศจิกายน 2541 น้ันด้วย ได้สร้างความประทับใจให้กับ ชาวต่างชาติ และทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักย่ิงขึ้น นับเป็นการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและ การทอ่ งเทีย่ วทดี่ ีอีกทางหนึง่ ในปี พ.ศ. 2542 ได้นำนักกีฬา 21 คน จากภาครฐั และเอกชนท่ีสนใจเข้ารว่ มการแขง่ ขนั 1999 International Woodball Invitation Championship ที่เมืองไทเป ประเทศไต้หวัน ในระหว่างวันท่ี 24-29 พฤษภาคม ในคร้ังน้ันทีมชายนำโดย ดร.พัฒนาชาติ กฤดิบวร เป็นผู้นำทีมและอยากมาประเทศไทยเพิ่มมากข้ึน ในปีนี้ได้มีการจัดการแข่งขัน 1st Asian Woodball Championship ระหวา่ งวันท่ี 27-29 สิงหาคม 2542 ณ รฐั ปาหงั ประเทศมาเลเซยี โดยประเทศไทยได้ส่งนักกฬี าเข้ารว่ ม 19 คน ในปี พ.ศ. 2543 เข้าร่วมการแข่งขันในรายการ First Woodball Association Cup Invitation Championship 2000 ณ ประเทศสงิ คโปร์ ระหว่างวันที่ 5-8 สงิ หาคม มีนักกฬี า ทีมชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 17 คน และได้มีการจัดประชุมสมาชิกสหพันธ์วู้ดบอล แห่งเอเชียด้วยที่ประชุมมีมติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขัน 2st Asian Woodball Championship ระหว่างวันที่ 19-22 กุมภาพันธ์ โดยจัดที่สนามวู้ดบอลเชียงดาว จังหวัดเชยี งใหม่ มีสมาชกิ จากประเทศตา่ งๆ ในแถบเอเซยี เข้าร่วมแขง่ ขัน 8 ประเทศ มนี ักกฬี า เข้าร่วมกว่า 300 คน ได้แก่ ไต้หวัน สาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย เกาหลใี ต้ญป่ี ุ่น และไทย ในปี พ.ศ. 2549 ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันวู้ดบอล มหาวิทยาลัยโลก จัด ณ กรุงเทพมหานคร มีมหาวิทยาลัยศรีปทุมร่วมกับสมาคมวู้ดบอลเป็น เจ้าภาพ มีประเทศเข้าร่วมท้ังหมด 12 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง จีน ไต้หวัน มาเก๊า มาเลเซีย สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา โครเอเชีย อิตาลี และไทย ในการแข่งขันครั้งนี้ไทยสามารถ ครองรางวลั ชนะเลิศประเภทชายเด่ียวและทีมชาย ส่วนทมี หญิงไดร้ างวลั รองชนะเลิศ ในปี พ.ศ. 2551 กีฬาวดู้ บอลไดร้ บั การบรรจใุ หเ้ ขา้ รว่ มแขง่ ขนั ในกีฬานกั เรยี น นกั ศึกษา แห่งประเทศไทย (ชุมพรเกมส์) เป็นคร้ังแรก และมีรายการแข่งขันท่ีสมาคมวู้ดบอล แหง่ ประเทศไทยมสี ่วนร่วมการแข่งขนั ทั้งในและนอกประเทศ ดงั นี้ คู่มอื ผฝู้ กึ สอนกฬี าวดู้ บอล T - Certificate 3

- รายการแข่งขนั วูด้ บอล The 3rd World Cup Woodball Championship 2008 ระหวา่ งวันท่ี 16-21 พฤษภาคม 2551 ณ ประเทศสงิ คโปร์ - มหกรรมกีฬาผู้สูงอายุครั้งที่ 2 ระหว่างวันท่ี 28-30 สิงหาคม 2551 ณ จังหวัด มหาสารคาม - รายการแข่งขันวู้ดบอล The 7th Japan Open Woodball International Championship 2008 ระหวา่ งวนั ที่ 26-30 กนั ยายน 2551 ณ ประเทศญ่ีปุ่น - รายการแขง่ ขนั The 1th Asian Beach Games, Bali 2008 ระหวา่ งวันท่ี 18-26 ตุลาคม 2551 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ภายใต้การดำเนินการของ สหพันธ์โอลิมปิกแห่งเอเชีย (OCA) และในคร้ังนี้ประเทศไทยสามารถชนะ ควา้ เหรียญเงนิ ในการแขง่ ขันทัง้ ประเภททีมชายและทมี หญงิ - รายการแขง่ ขันวูด้ บอล The 4th World Cup Woodball Championship 2010 ระหวา่ งวันท่ี 4 มีนาคม - 4 เมษายน 2553 ณ สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร - รายการแข่งขัน The 2nd Asian Beach Games, Oman 2010 ระหว่างวันที่ 8-16 ธันวาคม 2553 ณ กรงุ มัสกัต รฐั สุลตา่ นโอมาน กีฬาวู้ดบอลนับเป็นกีฬาที่เป็นทางเลือกหนึ่งในการออกกำลังกาย และสามารถใช้ ในการแขง่ ขนั เหมาะกบั ทกุ เพศ ทกุ วัย ปจั จุบันเป็นทสี่ นใจอยา่ งมาก เนอื่ งจากปัจจยั ดังต่อไปน้ ี 1. เป็นกีฬาท่ีเล่นง่ายและสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็ว ไม่มีกฎ กติกาซับซ้อน ไม่ต้อง ฝึกทกั ษะนานกส็ ามารถเล่นได ้ 2. เป็นการฝึกสมาธิ แข่งขันกับตัวเอง และอีกท้ังเป็นการออกกำลังกายท่ีสนุกสนาน เพลิดเพลนิ ด้วย 3. วิธีการเล่นมีลักษณะคล้ายกอล์ฟ แต่สามารถเล่นได้กับทุกสนาม เช่น สนามหญ้า สนามดนิ ชายหาด ในท่รี ม่ หรอื กลางแจ้ง 4. อุปกรณ์มีราคาไม่แพง เสียค่าใช้จ่ายน้อย มีเพียงไม้ 1 อัน กับลูก และประตู ก็สามารถเล่นได้ 5. สามารถเล่นได้ทกุ เพศ ทกุ วยั 4 ค่มู อื ผฝู้ ึกสอนกฬี าวู้ดบอล T - Certificate

ปี 2552 1. ส่งผู้ตัดสินเข้าร่วมการตัดสินในการแข่งขันวู้ดบอลรายการ The 6th Asian Cup Woodball Championship 2009 ระหว่างวันที่ 12 - 16 สิงหาคม 2552 ณ เกาะบาหลี ประเทศอนิ โดนเี ซยี 2. เข้าร่วมการประชุมสหพันธ์วู้ดบอลเอเชีย ระหว่างวันที่ 14 - 16 สิงหาคม 2552 ณ เกาะบาหลี ประเทศอนิ โดนีเซีย 3. ร่วมการแข่งขันวู้ดบอลรายการ The 14th Taiwan Open International Woodball Championship 2009 ระหว่างวันท่ี 19 - 24 พฤศจิกายน 2552 ณ ประเทศไต้หวัน ปี 2553 1. จัดการแข่งขันกีฬาวู้ดบอลชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 4 (4th World Cup Woodball Championship 2010) และการแข่งขันวู้ดบอลรายการ Thailand Open Woodball Championship 2010 ระหว่างวันท่ี 30 มีนาคม - 4 เมษายน 2553 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ กรงุ เทพมหานคร 2. ร่วมจัดการแข่งขันวู้ดบอล (กีฬาสาธิต) ในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ คร้ังที่ 39 ระหว่างวันที่ 9 - 19 ธนั วาคม 2553 ณ จงั หวัดชลบุร ี 3. เข้าร่วมการแข่งขันวู้ดบอลรายการ China Beach International Woodball Championship 2010 ระหว่างวันท่ี 14 - 17 กันยายน 2553 ณ เมืองคุนฮวงด่าว ประเทศ สาธารณรฐั ประชาชนจีน 4. เข้าร่วมการแข่งขันวู้ดบอลรายการ เอเช่ียนบีช เกมส์ ครั้งท่ี 2 (The 2nd Asian Beach Games Muscat 2010) ระหว่างวันท่ี 8 - 16 ธันวาคม 2553 ณ เมืองมัสกัต รัฐสลุ ต่านโอมาน ปี 2554 1. เป็นเจา้ ภาพจัดการแข่งขันวดู้ บอลระดับนานาชาติรายการ Air Sea Land Beach Woodball Championship 2010 ระหวา่ งวนั ท่ี 3 - 7 พฤษภาคม 2554 ณ โรงแรมพินนาเคิล แกรนด์ พัทยา จังหวดั ชลบุรี 2. เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันวู้ดบอลระดับนานาชาติรายการ Thailand Open Woodball Championship 2010 ระหวา่ งวันที่ 6 - 11 มิถุนายน 2554 ณ สนามศภุ ชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ ประเทศไทย คมู่ อื ผ้ฝู กึ สอนกีฬาวูด้ บอล T - Certificate 5

3. ส่งบุคลากรเข้าอบรมผู้ตัดสินวู้ดบอลนานาชาติ ประจำปี 2554 (International Woodball Referee Workshop 2011) ระหว่างวันที่ 19 - 25 กรกฎาคม 2554 ณ เมอื งเพอริส ประเทศมาเลเซีย 4. จัดส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันวู้ดบอลรายการ 7th Asian Cup Woodball Championship 2011 ระหว่างวนั ท่ี 19 - 25 กรกฎาคม 2554 5. จัดส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันวู้ดบอลรายการ 16 Taiwan Open International Woodball Championship 2011 ระหวา่ งวันท่ี 9 - 14 ตลุ าคม 2554 ณ เมืองไทเป ประเทศ ไตห้ วนั . ปี 2555 1. เข้าร่วมการแข่งขันวู้ดบอลรายการ 12th Singapore Loin City Cup International Woodball Open Championship 2012 ระหวา่ งวนั ที่ 1 - 4 มถิ นุ ายน 2555 2. เข้าร่วมการแข่งขันวู้ดบอลรายการ เอเช่ียนบีชเกมส์ ครั้งที่ 3 ระหว่างวันท่ี 16 - 22 มิถนุ ายน 2555 ณ เมืองไฮหยาง สาธารณรฐั ประชาชนจนี 3. เข้าร่วมการแข่งขันวู้ดบอลรายการ 17th Taiwan Open International Woodball Championship 2012 ระหว่างวนั ที่ 22 - 27 ตลุ าคม 2555 ณ ประเทศไต้หวนั ปี 2556 1. เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันวู้ดบอลระดับนานาชาติรายการ The 6th Thailand Open Woodball Championship 2013 และ 3rd Air Sea land Games 2013 ระหว่าง วันที่ 21 - 26 พฤษภาคม 2556 ณ จงั หวัดเชียงใหม่ 2. จัดส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันวู้ดบอลรายการ 8th Asian Cup Woodball Championship 2013 ระหว่างวนั ท่ี 26 กนั ยายน - 2 ตุลาคม 2556 ณ เมืองคนิ เมนิ ประเทศ ไตห้ วนั 3. จัดสง่ นักกฬี าเขา้ ร่วมการแขง่ ขันวดู้ บอลรายการ 18th Taiwan Open International Woodball Championship 2013 ระหวา่ งวันที่ 26 กนั ยายน - 2 ตุลาคม 2556 ณ เมอื งคนิ เมนิ ประเทศไต้หวัน 4. จัดส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันวู้ดบอลรายการ Asian Woodball Championship 2013 ระหวา่ งวนั ท่ี 3 - 6 พฤศจกิ ายน 2556 ณ เมืองเพอริส ประเทศมาเลเซยี 6 คู่มือผฝู้ กึ สอนกฬี าวู้ดบอล T - Certificate

ขอ้ แนะนำสำหรับผูห้ ัดเล่นกีฬาวู้ดบอล กีฬาวู้ดบอลเป็นกีฬาท่ีนอกจากจะช่วยเสริมสร้างและรักษาสมรรถภาพทางกายท่ีดีแล้ว ยังเป็นกีฬาท่ีส่งเสริมการฝึกสมาธิเพื่อรวบรวมใจให้เป็นหนึ่งเดียวกับลูกวู้ดบอล ไม้ตี และประตู เป็นกีฬาที่ช่วยสร้างสรรค์แนวคิดในการวางแผน โดยผู้เล่นจะต้องวางแผนในการคาดคะเน เก่ียวกับสภาพพื้นที่ของสนาม หากสนามนั้นมีลักษณะไม่ราบเรียบจะเป็นส่ิงท้าทายการวางแผน ของผู้เล่นว่าจะใช้น้ำหนักในการตีลูกวู้ดบอลเท่าใด ลูกวู้ดบอลจึงจะไม่ออกนอกเขตท่ีทำให้ผู้เล่น ตอ้ งเสยี คะแนน ส่ิงที่ควรพึงระวังในการตีลูกวู้ดบอลให้เข้าประตูกลับเป็นระยะทาง ซ่ึงถ้าใกล้กับประตู มากบ่อยคร้ังท่ีพบว่าจะไม่สามารถตีลูกให้เข้าได้ ลูกกระดอนออกไป ดังนั้น การลงน้ำหนักของ ผู้เล่นให้เหมาะจึงเป็นสิ่งสำคัญย่ิง การฝึกทักษะเพ่ือตีลูกวู้ดบอลให้เข้าประตูน้ัน ควรฝึก อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง เพ่ือให้เกิดความชำนาญและแม่นยำในการตีลูกให้เข้าประตู และ พยายามหาวิธีท่ีจะไมเ่ สียคะแนนใหไ้ ด้ เทคนิคสำคัญในการเลน่ กฬี าวดู้ บอล 1. ผู้เล่นต้องประสานความคิด มือที่ใช้ในการตีลูกวู้ดบอล ตลอดจนประตูให้เป็น หน่ึงเดียวและลงน้ำหนักในการตีให้พอดีกับสถานการณ์ต่างๆ ลูกจึงจะสามารถเข้าประต ู ไดอ้ ย่างแมน่ ยำ 2. ผู้เล่นมือใหม่พึงจำไว้ว่าอย่าตีแบบเสี่ยงๆ จะเสียคะแนนไปอย่างน่าเสียดายและ ให้ตดี ้วยความใจเย็น มสี มาธจิ ะช่วยไดม้ าก นักกีฬามือใหม่ พบว่าลูกวู้ดบอลสอนให้ผู้เล่นเกิดปรัชญาแนวคิดในการดำรงชีวิต อย่างระมัดระวัง เม่ือพบปัญหาชีวิตเช่นเดียวกับพบสนามขรุขระ และเป็นเนินสูงลาดลง ทำให้มี สติในการวางชีวิตอย่างระมัดระวังมากข้ึน และถ้าสถานการณ์แห่งชีวิตราบเรียบ เช่น สนามท่ีราบเรียบจะทำให้ผู้เล่นประมาท ตีแบบสบายๆ และทำให้เสียคะแนนไปโดยไม่ต้ังใจ ดงั นัน้ จึงสรุปวา่ หากชีวติ ราบเรยี บ คนเราก็ต้องไม่ประมาทเช่นกัน ความมสี ตจิ ะช่วยนำพาชวี ิต ไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีความสุขและความภาคภูมใิ จในตนเองตลอดไป คู่มือผฝู้ ึกสอนกีฬาวู้ดบอล T - Certificate 7

การพฒั นาการกีฬาวดู้ บอลในประเทศไทย เริ่มจากเป็นชมรมวู้ดบอล เผยแพร่ในกลุ่มผู้รักกีฬาชนิดน้ี และมีการแข่งขันยัง กลุ่มจังหวัดเหล่าน้ี ผลัดกันเป็นเจ้าภาพ จนกระท่ังได้จดทะเบียนจัดตั้งสมาคมกีฬาวู้ดบอล เมือ่ วันท่ี 21 กันยายน พ.ศ. 2549 ไดร้ ับการอนมุ ตั จิ ากการกีฬาแห่งประเทศไทยใหเ้ ปน็ สมาคม กีฬาอันดบั ที่ 57 เม่อื วนั ท่ี 18 เมษายน 2551 โดยมี ดร.พฒั นาชาติ กฤดบิ วร เปน็ นายกสมาคม คนแรกจนถึงปัจจุบนั การพฒั นากีฬาวดู้ บอลในอนาคต 1. พัฒนาเพ่ือความเป็นเลิศในการแข่งขันในระดับนานาชาติต่างๆ ปัจจุบันบรรจุใน กฬี า Asian Beach Games มีแนวโนม้ จะบรรจใุ นกีฬา Sea Games ท่ีประเทศอนิ โดนีเซีย 2. ส่งเสริมในกีฬาเพ่ือมวลชน เป็นการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนเพราะเป็นกีฬา ที่เล่นง่าย กฎ กติกา ไม่ยุ่งยาก สถานท่ีจัดง่าย สนามหญ้า สนามดิน ชายหาด ทั้งท่ีร่มและ กลางแจ้ง 3. ปัจจุบันการแขง่ ขนั ท้ังในระดับนักเรียน ผ้สู งู อายุ และบคุ คลทวั่ ไป 4. ในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งต่อไปท่ีจังหวัดชลบุรีเป็นเจ้าภาพ วู้ดบอลเป็นกีฬา สาธิตและบรรจุในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 40 ท่ีจังหวัดขอนแก่นเป็นเจ้าภาพในเดือน ธนั วาคม พ.ศ. 2554 8 คมู่ ือผู้ฝึกสอนกีฬาวู้ดบอล T - Certificate

บทที่ 2 คุ ณสมบัติของผู้ฝึกสอนกีฬา ผู้ฝึกสอน คือ ผู้ท่ีถ่ายทอดวิชาความรู้ หรือทำให้เป็นตัวอย่าง เกิดความรู้ความเข้าใจ จนเกิดความชำนาญและสอนให้มีคุณธรรมจริยธรรม ดังนั้น ผู้ฝึกสอนจึงต้องมีองค์ประกอบ หลายอยา่ งทเี่ ป็นองคค์ วามรู้ทีจ่ ะถ่ายทอดให้นกั กฬี าเกิดความสามารถ เพอ่ื ไปสเู่ ป้าหมาย ผูฝ้ กึ สอนควรมคี ุณสมบัตอิ ะไรบ้าง 1. มคี วามรู้เก่ียวกบั กฎกตกิ าและวธิ ีการเล่น ผู้ท่ีทำหน้าท่ีเป็นผู้ฝึกสอนต้องมีการค้นคว้าศึกษาด้วยวิธีต่างๆ เช่น จากการอบรม จากเอกสาร ตำรา และสื่อการเรียนรู้อ่ืนๆ และองค์ประกอบท่ีสำคัญคือ การมีประสบการณ์ จากการเป็นนักกีฬามาก่อน เพราะจะช่วยให้มีความชัดเจนมากขึ้นและเป็นที่ยอมรับของนักกีฬา นอกจากน้ันการมีประสบการณ์การเล่นมาก่อนจะทำให้ผู้ฝึกสอนสามารถให้คำแนะนำได้เหมาะสม กับสถานการณใ์ นระหวา่ งทนี่ กั กฬี าปฏบิ ัติการฝกึ ซอ้ มรวมท้งั การลงเลน่ จรงิ 2. มีแรงบนั ดาลใจ แรงบันดาลใจในการเป็นผู้ฝึกสอนเป็นส่ิงสำคัญที่จะเป็นแรงผลักดันให้ผู้ฝึกสอนทำหน้าที่ ในการพัฒนานักกีฬาไปสู่จุดหมายท่ีกำหนดไว้ ความรู้และความสามารถทางทักษะทั้งหมดที่มีอยู่ ไมส่ ามารถนำพาไปสู่เปา้ หมายได้ ถา้ ขาดแรงจงู ใจท่ีเป็นเหมือนพลงั ขับเคลอ่ื นทด่ี ี 3. มีเหตุผล ต้องเป็นผู้ท่ีรู้ถึงเหตุท่ีทำให้เกิดผลจากการกระทำท้ังโดยตรงและโดยอ้อม ทำไมนักกีฬา จึงไม่สามารถปฏิบัติได้ ต้องวิเคราะห์ออกมาได้อย่างถูกต้องและรู้ถึงเหตุที่เกิด เม่ือวิเคราะห์ได ้ ก็ควรท่ีจะแก้ไขให้เกิดผลที่ดีได้ เหตุผลของการฝึกว่าทำไมต้องฝึก ฝึกอย่างไรและควรท่ีจะเร่ิม ท่ไี หน ซึง่ จะเปน็ ปัจจัยสำคญั ทจี่ ะทำใหน้ กั กีฬาเกดิ พฒั นาการ 4. มีความกระตอื รือรน้ ผฝู้ ึกสอนต้องทำงานท่ีเปน็ กระบวนการตอ่ เน่ืองไม่หยุดย้ัง งานฝึกสอนเป็นงานท่ตี ่อเนื่อง ไม่มีวันหยุด การที่จะทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้นไม่ได้ใช้เวลาส้ันๆ การฝึกสอนเป็นงาน ท้ังศาสตร์และศิลป์ท่ีต้องใช้ความพยายาม ความทุ่มเท ความกระฉับกระเฉง มีความสุขสนุก กับงานท่ีทำ และโดยเฉพาะอย่างย่ิงการมีแรงบันดาลใจที่เป็นตัวกระตุ้นก็ย่ิงเป็นเหตุให้ กระตือรือร้นที่จะทำงานนั้นให้สำเร็จด้วยดี แต่เมื่อใดท่ีไม่มีเป้าหมาย ไม่มีแรงบันดาลใจหรือไม่ สนุกกบั งานทีท่ ำ ความกระตอื รอื รน้ ท่ีจะทำกล็ ดน้อยลง งานท่ที ำกจ็ ะไมเ่ กิดผลดี คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวู้ดบอล T - Certificate 9

5. มคี วามอดทนอดกลั้น คุณสมบัติสำคัญสำหรับผู้ฝึกสอนคือ ต้องมีความอดทนและอดกล้ันอย่างสูง เพราะ การทำงานเป็นหมู่คณะต้องใช้ระยะเวลาเพ่ือให้เกิดผลสำเร็จน้ัน ต้องพบอุปสรรคปัญหามากมาย ที่เข้ามารุมเร้า ท้งั จากผู้ร่วมงาน นกั กีฬา นโยบายต่างๆ รวมไปถึงสภาพแวดลอ้ ม ผู้ฝกึ สอนจึงต้อง สามารถท่ีจะแก้ไขปญั หาต่างๆ ดว้ ยความอดทนและอดกลนั้ อยา่ งมีสต ิ 6. มีจิตใจมนั่ คงหนักแนน่ ต้องมีความเช่ือมั่นในคณะทำงาน นักกีฬา และโดยเฉพาะตัวเองต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจ หนักแน่น ไม่ใช่ใครว่าอย่างไรก็เห็นดีเห็นงามจะทำอย่างนั้น เห็นดีเห็นชอบไปกับเขาจนไม่เป็น ตวั ของตวั เอง ขาดความเช่อื มั่น เม่ือขาดความเช่ือมน่ั จิตใจก็เกิดความกงั วลขาดสมาธิกับงานท่ีทำ ผลเสียจึงเกิดกับงาน โดยเฉพาะความวิตกกังวล มีผลกระทบทำให้ความสามารถในการทำงาน ลดลงและเกิดความสบั สนในงานท่ีทำเนอ่ื งจากสภาพจติ ใจทไี่ ม่มน่ั คงหนกั แนน่ 7. มีความรบั ผิดชอบสูง ความตั้งใจท่ีจะทำงานให้ประสบความสำเร็จ การท่ีต้องทำงานอย่างหนัก มีความอดทน กับงานที่จะทำให้เกิดผลดี ต้องปฏิบัติภารกิจมากมายหลายอย่างในแต่ละวัน ทุ่มเทอย่างเต็ม ความสามารถ ต้งั แตเ่ ริ่มเปน็ ผู้ฝกึ สอน คอื การเรม่ิ มภี าระและเรมิ่ ที่จะตอ้ งรับผดิ ชอบทันที ดังน้นั ถ้าไม่รู้ถึงความรับผิดชอบและไม่มีความรับผิดชอบในส่ิงที่จะต้องทำ ก็จะไม่มีความสำเร็จในงาน อยา่ งแน่นอน 8. มีความร้คู วามสามารถเกยี่ วกบั การศกึ ษาคน การทำงานรว่ มกบั กลุม่ คนเป็นหมู่คณะ ส่ิงหน่ึงท่ีสำคญั คือ การเรยี นรลู้ กั ษณะนสิ ยั ใจคอ พฤติกรรมที่แสดงออกมาและแนวความคิดของแต่ละคน ผู้ฝึกสอนก็สามารถท่ีจะกำหนดบทบาท แก้ไขหรือใช้คนให้ถูกกับงานที่ต้องการเพ่ือให้บรรลุเป้าหมายได้ง่าย ซ่ึงจะมีผลถึงการพัฒนา นักกฬี าตามศกั ยภาพ คุณสมบัติเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการเป็นผู้ฝึกสอน เพราะการเป็น ผู้ฝึกสอน ส่ิงแรกที่เกี่ยวข้องในทันที คือ ความรับผิดชอบและเมื่อรับผิดชอบแล้วก็ไม่ต้องกังวล กับผลท่ีจะมากระทบในทุกๆด้าน เพราะเมื่อใดก็ตามท่ีมัวแต่คิดก็จะทำให้เกิดความกังวลและ ลังเล ซ่ึงจะส่งผลให้ความมั่นใจลดลงและมีผลถึงความกระตือรือร้นท่ีจะทำงาน แรงจูงใจก็จะลดลง ความเข้มแข็งลดลง ผลก็จะไปตกอยู่ท่ีเน้ืองานและผลของงาน นั่นคือ การสอน การฝึก และ พัฒนาการของนกั กฬี า 10 คมู่ ือผู้ฝกึ สอนกีฬาวดู้ บอล T - Certificate

ผ้ฝู กึ สอนกีฬาควรมีทักษะและความรอู้ ะไรบ้าง 1. ทักษะในกีฬาที่สอน สิ่งท่ีสำคัญคือถ้าจะเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาแล้วไม่เคยมีประสบการณ์ เกี่ยวกับการเลน่ เลย ความชดั เจนทีจ่ ะสอนและฝึกนกั กีฬาคงทำไดไ้ มด่ ี ความเขา้ ใจในมมุ การสัมผัส ลูกบอล ตลอดจนการที่จะแสดงหรือสาธิตให้นักกีฬาเห็นภาพและรวมไปถึงยุทธวิธีในการคิด ขณะปฏิบัติก็คงจะเกดิ การพฒั นาขนึ้ ได้ยาก 2. ความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา เพราะกีฬาวู้ดบอลเป็นกีฬาท่ีต้องใช ้ การเคลื่อนไหวของร่างกายโดยอาศัยการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ซ่ึงในแต่ละส่วน ของร่างกายมีทั้งกระดูก ข้อต่อ เอ็น กล้ามเน้ือ เป็นโครงสร้างและเป็นกลไกในการเคล่ือนไหว ร่างกายจะเคลื่อนไหวได้ดีเพียงใดข้ึนอยู่กับการทำงานที่ประสานสัมพันธ์ระหว่างกระดูก ขอ้ ต่อ เอน็ กลา้ มเนอ้ื จึงจำเปน็ อยา่ งย่งิ ทผ่ี ฝู้ ึกสอนจะต้องมคี วามร้ใู นเรอ่ื งนเ้ี ป็นพ้ืนฐาน 3. หลักและวธิ ีการฝึก เกีย่ วขอ้ งกบั กระบวนการทใ่ี ชใ้ นการฝึกนักกฬี า หากไมม่ ีความรู้ ในหลักการฝึกและใช้วิธีการท่ีถูกต้อง อันเป็นกุญแจสำคัญเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่อง ของผู้เล่นและเป็นหัวใจของลำดับขั้นตอนของการพัฒนานักกีฬา วัตถุประสงค์ท่ีต้องการจากการฝึก กจ็ ะล้มเหลว 4. ทักษะในการสื่อสาร เป็นองค์ประกอบของทักษะที่สำคัญของผู้ฝึกสอน เพราะการส่ือสารเป็นเคร่ืองมือท่ีจะทำให้นักกีฬาเกิดความเข้าใจในส่ิงท่ีผู้ฝึกสอนต้องการและประสงค์ ให้นักกีฬาปฏิบัติ จำเป็นอย่างยิ่งท่ีผู้ฝึกสอนจะต้องมีทักษะการส่ือสารท่ีดี ทั้งการเป็นผู้สื่อ และการเป็นผู้รับส่ือ ซึ่งองค์ประกอบที่จะทำให้เกิดความเข้าใจในงานที่ปฏิบัติร่วมกันด้วยความเข้าใจ และจะนำพาไปสู่จดุ หมายเดียวกัน 5. การปฐมพยาบาลเบ้ืองต้น เป็นทักษะหนึ่งที่ผู้ฝึกสอนต้องรู้และมีความเข้าใจใน เบ้ืองต้นเพราะในการเล่นกีฬาทุกชนิด อาจเกิดอุบัติเหตุทำให้บาดเจ็บได้ โดยเฉพาะนักกีฬาท่ีมี การปะทะกันอยู่ตลอดเวลา ไม่ต้องรู้ลึกถึงข้ันวินิจฉัยได้ เพียงแต่ผู้ฝึกสอนจำเป็นต้องรู้ถึงวิธีดูแล อาการบาดเจ็บเบื้องต้น เพื่อเป็นการบรรเทาหรือคงสภาพไม่ให้หนักมากข้ึนและง่ายต่อการฟ้ืนฟู รวมไปถึงเร่ืองของจิตวิทยาสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ เพราะจะทำให้เกิดผลบวกหรือลบกับ ความรสู้ ึกของนักกีฬาได ้ 6. จิตวิทยาท่ัวไปและจิตวิทยาทางการกีฬา มีความสำคัญอย่างยิ่ง จิตวิทยาท่ัวไป หรือจิตวิทยาเบ้ืองต้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาพฤติกรรมในแง่มุมที่แตกต่างทั้งภายในและ ภายนอก เพ่ือให้เกิดความเข้าใจในทุกด้านในส่วนของการเจริญเติบโต อารมณ์ สังคมและ สติปัญญาในแต่ละช่วงวัย เพื่อพิจารณาแบ่งกลุ่มการฝึกสอน เพือ่ พัฒนาสว่ นจิตวิทยาทางการกฬี า สามารถท่ีจะใช้ท้ังระหว่างเวลาฝึกสอนให้นักกีฬาฝึกซ้อมและใช้ในการแข่งขัน การกระตุ้นนักกีฬา จนเกิดแรงจูงใจ ทำให้นักกีฬามีความมุ่งม่ัน ส่งผลในทางความคิด จิตใจและเกิดการพัฒนา ค่มู ือผฝู้ กึ สอนกีฬาวู้ดบอล T - Certificate 11

ทางทักษะกีฬา ให้รู้สึกเกิดความเชื่อม่ันในตัวเองมากย่ิงขึ้นและที่สำคัญทำให้นักกีฬาสามารถ ท่จี ะควบคุมตวั เองในเรื่องของอารมณ์อีกดว้ ย 7. ความรู้ทางสถิติและรายงาน การที่จะพัฒนานักกีฬาให้ก้าวไปสู่ความเป็นผู้ที่มี ความสมบรู ณท์ างกายและประสบความสำเร็จทางกีฬาได้นนั้ จะตอ้ งวางแผนจัดระบบการฝกึ ซ้อม อย่างมีคุณภาพ ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การวางแผนจัดการอย่างมีคุณภาพคือ หลักฐาน ท่ีรวบรวมเป็นข้อมูลรายงานที่ผู้ฝึกสอนควรที่จะต้องทำหรือจัดทำขึ้น เพื่อใช้เป็นองค์ประกอบ สำหรับการพิจารณาจัดรูปแบบการฝึกและพิจารณาในส่วนตัวนักกีฬา เพ่ือปรับปรุงแก้ไขหรือ สง่ เสรมิ ผูฝ้ ึกสอนต้องทำหน้าทอี่ ะไรบา้ ง หน้าที่ ครู (Teacher) ให้ความรู้ ทักษะ และความคิดใหม่ๆ แก่นักกีฬา ท้งั ด้านการกฬี าและการดำรงชีวติ ผู้ฝกึ ซ้อม (Trainer) โดยการปรับปรุงสมรรถภาพ เทคนิค และทักษะ ใหน้ กั กีฬา ผูใ้ ห้คำแนะนำ (Instructor) แนะนำกิจกรรมและการฝึกปฏิบัติที่เหมาะสมและ ปลอดภยั ผู้สรา้ งแรงจงู ใจ (Motivator) พั ฒ น า ใ ห้ นั ก กี ฬ า เ ป็ น บุ ค ค ล ที่ มี ค ว า ม เ ชื่ อ มั่ น แ ล ะ มกี ำลงั ใจ ผู้สรา้ งวนิ ัย (Disciplinarian) มคี วามยุติธรรมและให้ความเสมอภาคกับนักกีฬาทกุ คน นกั จดั การ/ผ้จู ัดการ (Manager) จดั ระบบและวางแผนการฝึกซ้อมและการแขง่ ขนั ผบู้ ริหาร (Administrator) จัดดำเนินการฝึกซ้อมให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง เหมาะสม ตวั แทนสาธารณะ (Publicity Agent) การให้ขา่ วสารกับสาธารณะและสอื่ มวลชน นักสงั คมสงเคราะห์ (Social Worker) การให้คำปรึกษาและแนะนำช่วยเหลือนักกฬี า เพอ่ื น (Friend) ใหค้ วามสนทิ สนมกบั นักกีฬาเหมอื นกบั เพือ่ นคนหนง่ึ การวิเคราะห์ การประเมินผลและการแก้ไขปัญหา นกั วทิ ยาศาสตร์ (Scientist) ของนกั กฬี า นักเรยี น (Student) รบั ฟัง เรียนรู้ และแสวงหาความรู้ใหม่ๆ 12 คมู่ อื ผู้ฝกึ สอนกฬี าวดู้ บอล T - Certificate

การทำหน้าท่ีผู้ฝึกสอนกีฬา จึงเปรียบเสมือนนักแสดงที่บางคร้ังต้องแสดงหลายบทบาท ในเวลาเดียวกัน และต้องทำได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดข้ึน ต้องใช้องค์ประกอบ หลายอย่างในการช่วยตัดสินใจเมื่อเจอกับปัญหาที่เกิดข้ึน ดังน้ัน การฝึกสอนกีฬาของผู้ฝึกสอน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีทักษะที่เกี่ยวข้องหลายๆ อย่างและทำหน้าที่ได้หลากหลายในเวลา เดยี วกัน ผู้ฝึกสอนสามารถที่จะบันดาลให้นักกีฬาเป็นไปได้ต่างๆ การให้คำแนะนำนักกีฬาการให้ โอกาสแสดงความคิดเห็น แสดงความสามารถได้ตามที่คิดจะทำให้นักกีฬาเกิดความเช่ือม่ันเป็น เหมือนกำลังใจเติมกำลังกายให้นักกีฬาในการปฏิบัติ ตรงกันข้ามถ้าผู้ฝึกสอนเอาแต่ติเตียนต่อว่า กำหนดกรอบและการลงโทษอย่างเข้มงวด ความสนุกสนานในการฝึกก็จะหายไปกลายเป็น แรงกดดันต่อตัวนกั กีฬา เปรยี บเสมือนกบั การเป็นการทำลายกำลังใจและสง่ ผลถึงพลงั กายอีกด้วย ทำให้บรรยากาศการฝึกตึงเครียด ซึ่งมีผลไปถึงพัฒนาการอย่างแน่นอน การที่นักกีฬาถูกตำหนิ ติเตียนบ่อยๆ ทั้งนอกและในระหว่างการฝึก เหมือนกับการตอกย้ำจนเหมือนกับการเหยียบย่ำ ทำร้ายจิตใจความรู้สึกและการท่ีนักกีฬาไม่ค่อยได้รับโอกาสในการเข้าร่วมการฝึกหรือแข่งขัน ก็จะเกิดเป็นผลลบทางใจ ท้ังการได้รับบาดเจ็บท่ีขาดการดูแลหรือการรักษาอย่างต่อเนื่องก็ดี การสมยอมหรือตกลงกันในผลการแข่งขันระหว่างผู้ฝึกสอนด้วยกัน ซึ่งผลก็จะตกมาอยู่ท่ีนักกีฬา ท่ตี อ้ งปฏิบัตติ ามท่ผี ฝู้ ึกสอนต้องการโดยผลประโยชนใ์ ดๆ ก็ตาม ดงั นนั้ คณุ ลกั ษณะพิเศษท่ผี ฝู้ กึ สอนจำเป็นอยา่ งยง่ิ ตอ้ งมีอย่ใู นตวั และจิตใจ คอื จรรยาบรรณ หมายถึง ความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพอื่ รกั ษาและส่งเสริมเกยี รตคิ ณุ ชือ่ เสยี งและฐานะของสมาชิก จริยธรรม หมายถึง ธรรมท่ีเป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรมถ้าผู้ฝึกสอน มนี กั กฬี าจะเคารพและยอมรับในกฎกตกิ าตา่ งๆ และถา่ ยทอดส่นู กั กีฬาของเขา จริยศึกษา หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับความเจริญงอกงามในทางความประพฤติและ การปฏบิ ัตเิ พอ่ื ให้อยู่ในแนวทางของศลี ธรรมและวฒั นธรรม คู่มอื ผู้ฝึกสอนกฬี าว้ดู บอล T - Certificate 13

บทบาทของผู้ฝกึ สอนกีฬา ผู้ฝึกสอนกีฬา มีลักษณะการทำงานท่ีผสมผสานบทบาทหน้าที่หลายอย่างเข้าด้วยกัน ดงั น ี้ ผู้นำ ในสถานการณ์ที่สมาชิกในทีมต้องการบรรลุเป้าหมายท่ีร่วมกันกำหนดไว้ จึงจำเป็นต้องมีผู้ทำหน้าที่เป็นผู้นำ ดังน้ัน ผู้ฝึกสอนกีฬาจึงมีหน้าท่ีในการนำทีมไปยังเป้าหมาย ที่ทีมได้ร่วมกันกำหนดไว้ ผู้ฝึกสอนกีฬาที่มีประสิทธิภาพต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ ในทุกสถานการณ์แม้ในยามท่ีทีมประสบความพ่ายแพ้ผิดหวังต้องสามารถให้คำช้ีแนะแก่นักกีฬา ของตนเองได้ ต้องมีความสามารถในการคิดเทคนิคหรือกุศโลบายเพ่ือวางแผนการเล่นและ มีการส่ือสารท่ีด ี ผู้ตาม ผู้ฝึกสอนกีฬาที่ดีต้องรู้ช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสมว่าช่วงใดไม่ควรเป็นผู้นำ ซึ่งช่วงที่ไม่ได้เป็นผู้นำก็ควรเป็นผู้ตามที่ดี เพราะผู้ฝึกสอนกีฬาควรมีความสามารถในการรับฟัง เคารพการตัดสนิ ใจ และรบั รคู้ วามรูส้ กึ หรอื ความตอ้ งการของนกั กีฬาอย่างจริงใจ ครู ผู้ฝึกสอนกีฬาท่ีมีประสิทธิภาพ คือ ผู้ถ่ายทอดความรู้ได้ดี มีความสามารถในการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะกีฬาได้ นักกีฬาต้องได้รับการพัฒนาด้านความคิดสร้างสรรค์ความเช่ือมั่นใน ตนเองและประสบความสำเร็จได้และสิ่งสำคัญต้องทีความสามารถเกี่ยวกับการสื่อสารหรือ มีรูปแบบการสอนท่ีสามารถส่ือให้นักกีฬาเข้าใจได้ มีการแสวงหาความรู้อยู่เสมอ สามารถใช้ รูปแบบการส่ือสารไดห้ ลากหลายเพือ่ ความเขา้ ใจท่ีดีขึ้น ตวั แบบ ผฝู้ กึ สอนกีฬามักเป็นผทู้ ี่นักกฬี ายดึ ถือเปน็ ตวั แบบ จงึ ควรตะหนักว่าการกระทำ ทุกอย่างของผู้ฝึกสอนกีฬามีผลต่อการปฏิบัติตามของนักกีฬาด้วย บทบาทท่ีมีผลต่อการลด ความน่าเชือ่ ถอื ของผ้ฝู ึกสอนกฬี า เชน่ การติดสรุ า การใชย้ าที่ผดิ กฎหมาย การไม่รักษามาตรฐาน ในการดูแลนักกีฬาแต่ละคน ส่ิงเหล่าน้ีล้วนส่งผลต่อการลดความน่าเชื่อถือและทำให้นักกีฬา สูญเสยี ความเช่ือมนั่ ในตัวผูฝ้ ึกสอนกีฬาได ้ นักจิตวิทยาหรือผู้ให้คำปรึกษา ผู้ฝึกสอนกีฬาควรเข้าถึงความรู้สึกและความต้องการ ของนักกีฬา สามารถรับฟังและตอบสนองความต้องการของนักกีฬาได้โดยไม่ต้องไม่มีท่าทีหรือ วธิ กี ารอันใดทสี่ ่งผลตอ่ ความคดิ หรอื ความรู้สกึ ของนักกีฬาให้เกิดขึ้นทางลบ ตัวแทนของพ่อแม่ บทบาทของผู้ฝึกสอนกีฬามิใช่การเป็นพ่อแม่ แต่เป็นลักษณะ การดูแลเอาใจใส่ที่มีเป้าหมายเหมือนกับเป็นพ่อแม่เท่าน้ัน คือ การให้ความรัก ความเข้าใจ เอาใจใส่และดแู ลนกั กฬี าของตนเปรยี บเสมอื นเปน็ ลูกของตนเอง 14 คู่มือผฝู้ กึ สอนกีฬาวดู้ บอล T - Certificate

บทที่ 3 พั ฒนาการของร่างกาย การฝึกสอนที่จะทำให้เกิดผลดี มีความสำเร็จได้น้ัน องค์ประกอบไม่ได้อยู่ที่รูปแบบของ การฝึกซ้อมเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องใช้ความรู้เร่ืองของพัฒนาการทางร่างกายผู้เล่นด้วย เพราะระยะของการพัฒนาร่างกายของผู้เล่นแต่ละคนแต่ละกลุ่มอายุจะแตกต่างกัน เม่ือผู้ฝึกสอน มีความรู้ในส่วนนี้ก็จะมีแนวการฝึกที่ถูกต้องเหมาะสมและยังนำไปใช้ในการเตรียมร่างกาย เพอื่ เปน็ การสร้างพน้ื ฐานสำหรับการฝกึ ซ้อมท่หี นักและยากขน้ึ ในวนั ขา้ งหนา้ พฒั นาการและปัจจัยทีม่ ีผลตอ่ การพัฒนาของบุคคล พัฒนาการ หมายถึง การเปล่ียนแปลงด้านต่างๆ เช่น ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของบุคคลอย่างมีข้ันตอนและเป็นระเบียบแบบแผน นับแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระท่ัง เสียชีวิต โดยมากจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพ เพ่ือให้บุคคลนั้นพร้อมจะแสดง ความสามารถในการกระทำกิจกรรมใหม่ๆ ท่เี หมาะสมกบั วัย ปัจจยั ทีม่ ีอิทธพิ ลตอ่ พฒั นาการของมนุษย ์ พัฒนาการด้านต่างๆ ของบุคคลจะสมบูรณ์ได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คอื 1. การเจริญเติบโต (Growth) หมายถึง การเปล่ียนแปลงโครงสร้างส่วนต่างๆ ของ ร่างกายท่ีเกี่ยวกับขนาด น้ำหนัก สัดส่วน กระดูก กล้ามเนื้อ รูปร่าง เป็นการเปล่ียนแปลง ในเชิงปรมิ าณ การเจริญเติบโตจะเป็นปจั จยั แรกที่มอี ิทธพิ ลต่อพฒั นาการในด้านตา่ งๆ ของบุคคล 2. วุฒิภาวะ (Maturation) หมายถึง การเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งจะเกิดข้ึนกับบุคคลตามลำดับขั้นและเป็นไปตามธรรมชาติจนถึงสูงสุด มีผลทำให้บุคคลน้ัน เกดิ ความพร้อมทจ่ี ะกระทำกิจกรรมต่างๆ ไดเ้ หมาะสมกับวยั 3. การเรียนรู้ (Learning) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้างถาวร โดยอาศัยการฝึกฝน ฝึกหัดหรือประสบการณ์เดิมท่ีมีอยู่ ยิ่งมีการฝึกหัดมากเท่าไร การแสดง พฤติกรรมเหล่านั้นก็จะเกิดความเช่ียวชาญมากข้ึนเท่าน้ัน ดังน้ัน จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้จึงม ี ความสมั พันธ์กบั การเจรญิ เติบโตและวฒุ ภิ าวะในการเกดิ พัฒนาการดา้ นตา่ งๆ คู่มือผูฝ้ กึ สอนกีฬาวูด้ บอล T - Certificate 15

พัฒนาการของบุคคลในวยั ต่างๆ วัยเด็ก (Childhood) เป็นวัยที่พัฒนาต่อจากวัยทารก จัดอยู่ในช่วงอายุ 2-12 ปี เป็นระยะที่ร่างกายเจริญเติบโตช้าลงกว่าวัยทารก โดยเฉพาะระยะแรกเร่ิมต้นของวัย (3-5 ปี) ความสูงจะมีการเปล่ียนแปลงน้อยมาก แต่จะไปแสดงในช่วงปลายวัย โดยทั่วไปกระดูกและ กล้ามเน้ือจะเจริญเติบโตและแข็งแรงขึ้น เป็นวัยท่ีเด็กจะเร่ิมควบคุมร่างกายและอวัยวะต่างๆ ให้ทำงานประสานกันได้ตามต้องการของตน เน่ืองจากเป็นวัยที่เร่ิมจะทำอะไรด้วยตนเองและ เกิดพัฒนาการใช้อวัยวะต่างๆ เด็กจึงมักไม่อยู่น่ิงจะกระโดดโลดเต้น ปีนป่ายหรือขีดเขียน ผู้ใหญ่จึงมักเรียกว่า “วัยซน” เด็กเร่ิมเรียนรู้ท่ีจะแสดงพฤติกรรมตอบสนองอารมณ์จากพ่อแม่ คนใกล้ชิดรอบข้างโดยธรรมชาติของเด็กจะแสดงอารมณ์อย่างเปิดเผยไม่ปิดบังซ่อนเร้น แต่แปรปรวนง่าย อารมณ์ไม่มั่นคงเกิดง่ายหายเร็ว จะเร่ิมเรียนรู้ร่วมกับการอยู่ร่วมกับผู้อ่ืนท่ีไม่ใช่ พ่อแม่ พี่น้องของตน มีความสงสัย อยากรู้อยากเห็น ซ่ึงเป็นพัฒนาการทางสมองและมักจะกลัว ในส่ิงที่ไม่มีเหตุผล เช่น ความมืด หรือสิ่งที่ผู้ใหญ่บอกเล่า แต่ส่ิงที่สำคัญสติปัญญาจะ เร่ิมพัฒนาการมากข้ึนกว่าเดิม จะเร่ิมเรียนรู้ เข้าใจสัญลักษณ์ และคำศัพท์ต่างๆ เพ่ิมขึ้น เป็นวัย ท่ีชอบลอกเลียนแบบทั้งการพูดและกิริยาท่าทางจากผู้ใหญ่จนบางคร้ังเหมือนกับพวกเขาพูดและ มที ่าทางเกินวยั วัยเด็กตอนกลาง ระหว่างอายุ 6 - 9 ปี จะมีการเปล่ียนแปลงไม่มากนัก การเจริญ เติบโตของร่างกาย กระดูกและกล้ามเน้ือเป็นไปอย่างช้าๆ จะมีความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว ร่างกายได้ดีขึ้นกว่าเดิม สามารถควบคุมอวัยวะต่างๆ ให้ทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นผลมาจากพัฒนาการในวัยเด็กตอนต้นที่ผ่านไป ในช่วงระยะเวลานี้เด็กจึงมักจะใช้ ประสิทธิภาพของร่างกายดังกล่าวในการทำกิจกรรมด้านการเรียนและด้านกีฬาท่ีเขาต้องการได้ เป็นอย่างดี เร่ิมท่ีจะควบคุมอารมณ์ต่างๆ ได้บ้างแล้ว พัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็กวัยน ้ี จะเต็มไปได้ความสนุกสนาน ร่าเริง และมีความสุขกับการท่ีได้ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับเพ่ือน จนบางครั้ง ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าท่ีท่ีตนได้รับมอบหมาย โดยผู้ใหญ่มักเรียกวัยน้ีว่า “วัยสนุกสนาน” อย่างไรก็ตาม วัยนี้ยังจะทำกิจกรรมร่วมกันในระหว่างผู้หญิงและผู้ชายยังไม่มี การแบง่ กลมุ่ ทช่ี ดั เจนจะลดความเป็นจุดศนู ยก์ ลางของตัวเองลง จะให้ความสำคัญในความคิดของ ผู้อ่ืนและกระทำในส่ิงที่ผู้อ่ืนปรารถนามากข้ึน ความสัมพันธ์ระหว่างเพ่ือนจะแน่นแฟ้น จะเรียนรู้ วิธีทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม เด็กท่ีมีนิสัยคล้ายกันจะเริ่มรวมกลุ่มกัน เอ้ือเฟื้อกัน แบ่งปันกัน รู้จักใช้ ความคิดอย่างมีเหตุผลในการตัดสินใจ เลือกทำในสิ่งที่ตนต้องการและใช้วิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ ท่ีเกิดขึ้นด้วยตัวของเขาเอง มีความรับผิดชอบมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถจดจำส่ิงต่างๆ ที่ได้ เรียนรอู้ ย่างแมน่ ยำ เชน่ เรียงลำดับตัวเลขท่ีไม่มากนัก จากน้อยไปหามาก หรอื จากมากไปหาน้อย แยกแยะสีตา่ งๆ ได้เพ่มิ ขึ้น 16 คูม่ อื ผูฝ้ ึกสอนกีฬาวู้ดบอล T - Certificate

วัยเด็กตอนปลาย ระหว่างอายุ 10-12 ปี ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญ เน่ืองจากเป็น วัยที่มีการเปลี่ยนแปลงท่ีชัดเจนในทุกด้านหลายประการ ส่วนของร่างกายเร่ิมมีการเปล่ียนแปลง อย่างรวดเร็วอีกครั้งหน่ึง โดยเฉพาะผู้หญิงจะแสดงอาการเปล่ียนแปลงทางร่างกาย โดยจะ มีน้ำหนักและส่วนสูงเพ่ิมขึ้นเม่ืออายุ 10 ปีครึ่ง ในขณะที่เด็กผู้ชายเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงเม่ืออายุ 12 ปีครึ่ง ดังน้ัน เด็กผู้หญิงจึงเข้าสู่วัยรุ่นหรือแตกเนื้อสาว (Puberty) เร็วกว่าเด็กผู้ชาย 2 ปี เป็นการเปล่ียนแปลงจากวัยเด็กไปสู่วัยรุ่น วัยนี้จะมีความคล่องตัวในการทำกิจกรรมมากกว่าเด็ก วัยตอนตน้ และเดก็ วยั ตอนกลาง สามารถควบคุมการทำงานของรา่ งกาย เช่น มือ เทา้ ตา ใหเ้ กิด การประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ ดังน้ัน เด็กจะใช้ประสิทธิภาพทางร่างกายเหล่านี ้ ทำกิจกรรมต่างๆ ตอบสนองความต้องการของตนอย่างเต็มที่ จะควบคุมอารมณ์ได้บ้าง เรียนรู้ การแสดงอารมณ์ที่รุนแรงและไม่มีการควบคุมไม่ค่อยยอมรับการตำหนิ เด็กบางคนเริ่มท่ีจะมี ความเครียดจากปัญหาการคบเพื่อนและการทำให้เพื่อนยอมรับตน ซึ่งบางครั้งแสดงออกด้วยการ แข่งขนั แมก้ ระทง่ั ในกจิ กรรมตา่ งๆ พัฒนาการท่ีสำคัญด้านหน่ึงสำหรับเด็กวัยนี้ คือ การแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง จากความเป็นเด็กเข้าสู่วัยรุ่น กล่าวคือ จะเร่ิมมีการแบ่งกลุ่มระหว่างเพศหญิงและเพศชาย ขณะ เดียวกันก็จะเลือกทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับเพศของตน เพื่อนในวัยเดียวกันก็จะเริ่มเข้ามา มีบทบาท มีอิทธิพลต่อความคิดและการกระทำมากขึ้น ในด้านสติปัญญาจะเร่ิมมีความคิดแบบ สร้างจินตนาการได้กว้างไกลขึ้น สามารถคิดเปรียบเทียบจนเกิดความเข้าใจถึงความสัมพันธ์และ ความแตกต่างระหวา่ งสิ่งท้ังหลายรอบตัว มคี วามจำท่ีแมน่ ยำขนึ้ กวา่ เดิม วยั รุ่น (Adolescence) จะอยใู่ นชว่ งอายุ 12-20 ปี เปน็ วยั ที่มคี วามสำคญั มากวยั หน่งึ อาจกล่าวได้ว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต เนื่องจากเป็นวัยที่เกิดการเปล่ียนแปลงพัฒนาการ ในทุกด้าน ไม่วา่ จะเปน็ อารมณ์ ร่างกาย สงั คม และสตปิ ัญญา เพ่ือเปลยี่ นแปลงจากภาวะเดก็ ไปสู่ ภาวะผู้ใหญ่ มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างรวดเร็วและชัดเจนในหลายด้านท้ังน้ำหนัก ส่วนสูงท่ีเพิ่มข้ึน เริ่มแสดงสัดส่วนความเป็นผู้ใหญ่ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงและแสดงสัญลักษณ์ ทางเพศ (Sex Characteristics) อย่างชัดเจน ซึ่งการเปล่ียนแปลงเป็นผลมาจากการทำงานของ ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) และต่อมเพศ (Gonads Gland) เป็นต้น การเปล่ยี นแปลงระหว่างเด็กผูห้ ญงิ และเด็กชายจะมคี วามแตกตา่ งกันดงั นี ้ เด็กผู้หญิง จะเริ่มมีรอบเดือน (Menstruation) ซ่ึงเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้น การเป็นวัยรุ่นของเด็กผู้หญิง ส่วนจะเริ่มต้นอายุเท่าใดข้ึนอยู่กับสุขภาพและพันธุกรรมของแต่ละ บุคคล ซ่ึงโดยเฉล่ียเด็กไทยจะเริ่มประมาณอายุ 12 ปี 6 เดือน จากนั้นจะเร่ิมมีหน้าอก สะโพก เริ่มขยาย เนื่องจากมีไขมันเพ่ิมขึ้น เสียงเร่ิมเล็กใส มีขนลับข้ึนที่บริเวณอวัยวะเพศ เป็นต้น โดยทวั่ ไปเดก็ ผ้หู ญิงจะเปลย่ี นแปลงดา้ นความสงู โดยเฉลี่ยมากกว่าเด็กผู้ชายในวยั เดยี วกัน คูม่ อื ผู้ฝึกสอนกฬี าวดู้ บอล T - Certificate 17

เด็กผู้ชาย อัณฑะจะเจริญเติบโตเต็มที่และเร่ิมต้นผลิตอสุจิ (Sperm) ในช่วงอายุ ประมาณ 14 ปี 6 เดือน จากนั้นหน้าอกจะเร่ิมแตกพาน กล้ามเนื้อบริเวณไหล่ หน้าอก และ แขนจะเพ่ิมขึ้น มักจะปรากฏหนวดและขนบริเวณหน้าอกและอวัยวะเพศ อวัยวะเพศจะเจริญ คลา้ ยผู้ใหญ่เกดิ การฝนั เปยี กและเสยี งแตกห้าว เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะเกิดช่วงระยะแรกของวัย และจะเร่ิมช้าลงเมื่อเข้า สู่วัยรุ่นตอนปลาย ธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับวัยรุ่นในช่วงต้นนี้ บางคนที่ไม่ได้เตรียมตัวกับการ เปลี่ยนแปลงไว้ล่วงหน้าอาจเกิดปัญหากับการปรับตัวในระยะแรก ซ่ึงจะส่งผลต่ออารมณ์และ สังคมตามมาได้ วัยรุ่นมักจะแสดงอารมณ์อย่างเปิดเผยและมีความรู้สึกค่อนข้างรุนแรงแปรปรวนง่าย เช่น บางครง้ั รู้สึกมคี วามสุข แตบ่ างคร้งั รู้สกึ หดหู่ บางคร้ังโอบออ้ มอารี แตบ่ างครงั้ อาจเหน็ แก่ตัว แบบเด็กๆ ไม่ค่อยยอมใครง่ายๆ จึงมักขัดแย้งกับผู้ใหญ่เสมอ วัยน้ีมักจะเกิดความขัดแย้งในใจ อยู่เสมอ เช่น บางครั้งอยากเป็นผู้ใหญ่จะได้ทำตามใจตัวเอง แต่บางครั้งอยากสบายแบบเด็กๆ ที่มีคนเอาใจใส่ดูแล นอกจากน้ียังมักมีความวิตกกังวลสูงในหลายเร่ือง โดยเฉพาะเร่ืองรูปร่าง หน้าตา ซ่ึงให้ความสนใจ เอาใจใส่เร่ืองความสวยงามและความเปล่ียนแปลงท่ีจะเกิดกับตนเอง มากขนึ้ กวา่ เดมิ เชน่ กลัวจะสงู หรือเตีย้ เกนิ ไป ลกั ษณะเดน่ ทีส่ ำคญั อย่างหนง่ึ คอื เปน็ วัยทเ่ี ด็กจะต้องเผชญิ กบั ความคาดหวังจากผู้ใหญ่ มากกว่าวัยที่ผ่านไป จะเริ่มพ่ึงพาตนเองแบบผู้ใหญ่มากขึ้น เร่ิมรู้จักรับผิดชอบต่อตัวเอง ต้องเกิด การปรับตัวอย่างมาก จะพยายามค้นหาเอกลักษณ์ของตนเอง สร้างทัศนคติและคุณค่าแห่งชีวิต จะมคี วามสมั พันธใ์ กลช้ ิดกบั เพ่อื นรุ่นราวคราวเดียวกนั มากกว่าพ่อแม่ จากการพยายามค้นหาตัวเองอย่างแท้จริงในแง่มุมต่างๆ เช่น ความชอบ ความถนัด ความสนใจ เป้าหมายชีวิต การเลือกอาชีพ แม้กระทั่งปรัชญาในการดำเนินชีวิตน้ีเอง จึงทำให้ วัยรุ่น ต้องการความเป็นอิสระจากการควบคุมของผู้ใหญ่ เพื่อที่จะทดลองและแสวงหา ประสบการณ์ด้วยตนเอง ขณะเดียวกันก็ยังคงต้องการได้รับการยอมรับจากคนรอบข้าง โดยเฉพาะกลุ่มเพ่ือนรุ่นราวคราวเดียวกัน นอกจากน้ียังต้องการที่จะเลือกคบเพื่อนท่ีมีทัศนคติ ตรงกนั กบั ตนเองดว้ ยแมว้ ัยรุน่ ต้องการความเปน็ อสิ ระจากผู้ใหญ่ก็ตาม แตก่ ็ยงั คงต้องการความรกั ความเข้าใจ การเอาใจใส่ รวมท้ังการรับคำปรึกษาและแนะนำจากผู้ใหญ่ด้วย สำหรับพัฒนาการ ทางสติปัญญา จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีความก้าวหน้าจนใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ แต่แตกต่างกัน ท่ีความสุขุมรอบคอบและประสบการณ์ โดยวัยรุ่นจะสามารถคิดแก้ปัญหาได้อย่างมีระบบ แสวงหาเทคนิคในการจำต่างๆด้วยตนเอง รู้จักใช้เหตุผลในการตั้งสมมุติฐานแบบวิทยาศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพความสามารถทางสติปัญญาดังกล่าวนี้เองจะนำไปสู่ความสามารถ ท า ง ส ติ ปั ญ ญ า ดั ง ก ล่ า ว นี้ เ อ ง จ ะ น ำ ไ ป สู่ ค ว า ม ส า ม า ร ถ ใ น ก า ร เ รี ย น รู้ มี ค ว า ม คิ ด ใ น การแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งการใช้เหตุผลและวิจารณญาณของตนเอง 18 คมู่ ือผ้ฝู กึ สอนกีฬาวดู้ บอล T - Certificate

ในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ นอกจากน้ียังมีความสามารถในการปรับตัวได้ดี ซึ่งเป็นคุณสมบัต ิ ทสี่ ำคัญต่อความสำเรจ็ ของชวี ิตในวยั ผู้ใหญต่ ่อไป วัยผู้ใหญ่ (Adulthood) วัยนี้เร่ิมต้นต้ังแต่อายุ 21 ขึ้นไป เป็นอีกวัยหน่ึงท่ีมี ความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ นอกจากจะเป็นวัยแห่งความสมบูรณ์สูงสุดของพัฒนาการในด้านต่างๆ ท้ังร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาแล้ว ยังเป็นวัยเร่ิมต้นแห่งความเส่ือมของพัฒนาการ ทกุ ดา้ นอีกดว้ ย ในวัยน้ีจะเป็นระยะท่ีร่างกายของบุคคลจะมีความเจริญสมบูรณ์สูงสุดเต็มที่ ซึ่งอยู่ใน ระหวา่ งอายุ 20-25 ปี จากนน้ั จะเร่ิมคงทไ่ี ประยะหนึ่ง เม่อื ถงึ อายตุ ั้งแต่ 30 ปีเป็นตน้ ไปร่างกาย ก็จะเริ่มค่อยๆ เส่ือมลงตามวัย โดยท่ัวไปแล้ววัยผู้ใหญ่จะมีพัฒนาการทางอารมณ์ที่สมบูรณ์สูงสุด จึงเปน็ วัยทีค่ วรมคี วามมั่นคงทางอารมณ์ ไม่แปรปรวนง่าย สามารถควบคมุ อารมณไ์ ดเ้ ปน็ อย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถแสดงพฤติกรรมตอบสนองอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ บุคคล จะเริ่มรู้จักวางแผนชีวิตให้กับตนเอง เช่น การเลือกอาชีพ การสร้างฐานะ การเลือกคบเพ่ือน เป็นต้น การที่ผู้ใหญ่วัยนี้จะสามารถประสบความสำเร็จตามท่ีตนวางแผนไว้มากน้อยเพียงใด ย่อมข้ึนอยู่กับการพัฒนาการทางสังคมในช่วงระยะวัยรุ่น กล่าวคือ ถ้าสามารถค้นพบตัวตน ที่แท้จริงได้แล้วก็จะเลือกเรียนหรือประกอบอาชีพในสาขาที่ตนสนใจและถนัด เน่ืองจากวัยน ้ี เป็นวัยที่ร่างกายจะมีความเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมบูรณ์เต็มท่ี จึงเป็นวัยที่บุคคลควรจะ มีประสิทธภิ าพสงู สดุ ในการทำงาน สามารถจะท่มุ เทให้กับงานด้วยความอดทน กระตือรือร้น และ มุ่งม่ัน เพื่อให้ได้การยอมรับจากเพ่ือนร่วมงานและการสร้างฐานะ จากการศึกษาพบว่าวัยผู้ใหญ่ ตอนตน้ ในชว่ งระหวา่ งอายุ 20-30 ปี เป็นวยั ที่บุคคลจะสามารถสะสมประสบการณ์ในการทำงาน ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นงานประเภทท่ีต้องใช้ความอดทน มานะ พยายามและกระตือรือร้น จึงเหมาะกับผู้ใหญ่ในวัยน้ีที่สุด นักจิตวิทยาเช่ือว่าพัฒนาการทางสติปัญญาจะเจริญสูงสุดเต็ม ที่เมือ่ อายุ 25 ปี จากน้นั จะเร่มิ ลดลง แต่ส่ิงที่วัยผูใ้ หญส่ ามารถได้มาทดแทน ได้แก่ ประสบการณ์ ต่างๆ ทีส่ ะสมไว้ จะเห็นได้ว่าการศึกษาเรื่องพัฒนาการด้านต่างๆ ของมนุษย์น้ันเป็นสิ่งจำเป็นและ มีประโยชน์อย่างมาก ซึ่งนอกจากจะเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงท่ีเกิดขึ้นทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สงั คม และสตปิ ัญญาของคนในวัยตา่ งๆ อนั จะมีผลทำใหส้ ามารถตอบสนองความตอ้ งการได้อยา่ ง เหมาะสมแล้วการนำไปใช้ประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมแก่บุคคลในวัยต่างๆ ก็พิจารณาจัดได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องเกิดประสิทธิภาพในวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะกิจกรรม ทเ่ี กยี่ วขอ้ งกับการฝึกสอนกีฬาทุกชนดิ คู่มอื ผฝู้ กึ สอนกฬี าวดู้ บอล T - Certificate 19

ขน้ั ตอนระยะพัฒนา ǰ กลุม่ เด็กอายนุ อ้ ย กา้ วสู่เยาวชน วัยรุ่น Ăć÷čǰ ǰðŘǰ ǰðŘǰ ǰðŘ ÿĎÜǰ êćęĞ ÖüćŠ ǰǰàöǰ ǰàöǰ đÖĉîǰǰàö ǰǰ ǰàöð Ř úÖĆ þèąìćÜÖć÷üõĉ ćÙǰ ĂüĆ÷üąÿČïóĆîíđŤč úÖĘ ǰǰ ×îćéÖúćÜöĊ×îĂŠĂîǰ ĔĀâ׊ Ěîċ ǰöĊ×îĀ÷ĉÖ ǰ ĕöŠĒ×ĘÜĒÖøŠÜǰĕööŠ Ċ×îǰ Ē×î×ć÷ćüǰ Ē×ÜĘ ĒÖøŠÜǰÖúšćöđîČĚĂ ǰ ǰ ǰ óĆçîć×îċĚ đÖĊę÷ü×Ăš ÜÖĆïÖāĊ ćǰ üŠĂÜĕüéǰĊ ÿöøøëõćóǰ üŠĂÜĕüîĂš ÷ǰ ÿćöćøëÿîïĆ ÿîîč ǰ đú÷Ċ îĒïïǰ Öúćš öđîČĂĚ êÜċ ǰ ĔĀšöćÖǰÝøĉÜÝÜĆ úÖĆ þèą×ĂÜÝêĉ ĔÝǰ ÖĞćúÜĆ îĂš ÷ĔÝǰĔÝøĂš îǰǰ ĂćøöèøŤ ćš ÷ǰðøąßéðøąßîĆ ǰ ĕö÷Š ĂöøïĆ ÖćøĔßĂš ćĞ îćÝ ǰ ĕöøŠ ĎšÝĆÖóĂǰÿč×õćóéǰĊ ìĞćêĆüéĊđéŠîǰ õĆ÷ÝćÖïĀč øĊęǰÿčøćǰđóý êĂš ÜìćĞ Ă÷ćŠ Üĕøǰ ÙüćöÿćöćøëøĂïêüĆ ǰ ÙüćöđøĘüǰÙüćöĂéìîǰ đóöĉę øąéïĆ ÙüćöĀîÖĆ ĒÿéÜÙüćöÿćöćøëìĊéę Ċǰ Ē×ĘÜĒøÜǰÿĉęÜÿĞćÙâĆ ǰ ēé÷đÞóćąÿŠüîÿĞćÙĆâ ǰ đĂćĔÝĔÿŠÿ×č õćóǰǰ ÙČĂđìÙîĉÙǰ ÙüćöĒ×ĘÜĒøÜ ǰ ĒúąÖćĞ úÜĆ ǰ ǰ ÙüćöĂéìî÷ìč íüĉíĊ êćøćÜǰ ǰĒÿéÜߊüÜøą÷ąóĆçîćÖćø×ĂÜÖćøóĆçîćìćÜßĊüüĉì÷ć×ĂÜñšđĎ úŠîđ÷ćüßîđðŨîđøęĂČ ÜìęÿĊ ĞćÙĆâǰ ĒúąÝąđÖĉéðøąē÷ßîŤĂ÷ŠćÜöćÖÿĞćĀøĆïñšòĎ řÖÿĂîëšćĕéšýċÖþćđøęĂČ ÜîĚǰĊ àęÜċ ĂĆîìęÝĊ øĉÜÝąöĊךĂĒêÖêŠćÜÖĆîǰ ǰ ðŘǰ øąĀüŠćÜÖćøóçĆ îćìćÜßĊüüĉì÷ćĒúąđðŨîÝøĉÜìćÜĂć÷č 20 ค่มู อื ผู้ฝึกสอนกฬี าว้ดู บอล T - Certificate

บทที่ 4 ก ารวางแผนการฝึกซ้อม การท่ีผู้เล่นจะสามารถพัฒนาขีดความสามารถให้ไปสู่ระดับสูงได้นั้นต้องมาจากการฝึกซ้อม ทีเ่ ป็นระบบท่ีผู้ฝึกสอนได้เปน็ ผู้กำหนดและวางแผนการฝกึ ไว้ ฉะนนั้ ในการเตรียมแผนการฝกึ ซ้อม จึงมีปัจจัยท่ีสำคัญ คือ ความสามารถในงาน ซึ่งมีหลายปัจจัยและองค์ประกอบหลายอย่าง ทีจ่ ะเขา้ มาเก่ยี วขอ้ งกบั การเตรียมแผนการฝึกในระดับตา่ งๆ ในการฝกึ ซอ้ มทกุ ครั้งจะมปี จั จัยท่เี กย่ี วข้องอยู่ 5 ประการ คือ 1. ปัจจัยทางด้านร่างกาย (Physical) มีองค์ประกอบพ้ืนฐานท่ีเก่ียวข้องกับ การเลน่ กฬี า ดังน ี้ • ความแข็งแรงของร่างกาย (Strength) • ความอดทน (Endurance) • ความเร็ว (Speed) • ความอ่อนตัว (Flexibility) • ความว่องไว (Agility) 2. ปัจจัยทางด้านเทคนิค (Technical) คือ ความสามารถท่ีผู้เล่นจะปฏิบัติได้ด้วย ตวั เองและเคลือ่ นไหวเคลือ่ นทีไ่ ด้อยา่ งถกู ตอ้ งดว้ ยสมรรถภาพทางกายทด่ี ี 3. ปัจจัยทางด้านยุทธวิธี (Tactical) คือ การเรียนรู้และการใช้วิธีในการเล่นได ้ อย่างมีประสิทธภิ าพ โดยใช้เทคนิคเป็นเคร่อื งมอื 4. ปัจจัยทางด้านจิตใจ (Mental) คือ การฝึกท่ีทำให้ผู้เล่นเกิดความมุ่งม่ัน มีสมาธิ กับส่ิงท่ีทำ มีไหวพริบและสติปัญญาแก้ไข พลิกสถานการณ์ต่างๆ ท่ีเผชิญอยู่ได้อย่างมีสติด้วย ยทุ ธวธิ ีการเล่นมเี ทคนคิ เปน็ เคร่อื งมอื และขับเคลือ่ นดว้ ยสมรรถภาพทางกายทีด่ ี 5. ปจั จยั ทางดา้ นคุณธรรมจริยธรรม (Moral) คือ การสร้างวินยั และความประพฤติ ท่ดี ีให้รจู้ ักเคารพในกฎเกณฑ์ เคารพตัวเอง ผูอ้ ืน่ และเชื่อฟงั ผอู้ ่นื ในทกุ โอกาส ปัจจัยดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญท่ีผู้ฝึกสอนจะกำหนดให้มีในแผนการฝึกทุกครั้ง เพราะทุกครั้งผู้เล่นได้เข้าร่วมในการฝึกก็จะได้รับและปฏิบัติเพ่ือซึมซับในส่ิงที่จะช่วยให้ผู้เล่น เกิดพัฒนาการในทุกด้านในอนาคต ส่ิงท่ีได้รับจากการปลูกฝังก็จะช่วยขัดเกลาให้เป็นผู้ท่ีมี คุณภาพทัง้ ในและนอกสนาม ค่มู ือผ้ฝู ึกสอนกีฬาวูด้ บอล T - Certificate 21

องคป์ ระกอบของการวางแผนการฝกึ 1. วตั ถุประสงค์ หรอื จดุ มงุ่ หมายของการฝกึ เพ่อื แขง่ ขัน เพอื่ ทักษะพ้นื ฐาน เพือ่ มวลชน หรือเพ่ือสขุ ภาพ 2. ระดับของนักกฬี าท่ีจะเข้าร่วมรับการฝกึ อายุ เพศ ความสามารถ จำนวน 3. สถานที ่ สภาพพื้นท่ี พืน้ ผิว ขนาด ในร่ม หรอื กลางแจง้ 4. อุปกรณ ์ เพือ่ การฝึกซอ้ ม เพอ่ื การแขง่ ขนั และหรอื อปุ กรณเ์ สริม 5. เวลา นาที ชว่ั โมง วัน สัปดาห์ เดอื น หรอื ป ี องค์ประกอบเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ฝึกสอนต้องคำนึงถึงเสมอเม่ือจะวางแผนการฝึก เพราะเป็นสิ่งสำคัญในการใช้กำหนดรูปแบบของการฝึก ความหนักเบาของงาน เพ่ือที่จะเกิดผล ตามท่ตี อ้ งการ ในการจัดการเก่ียวกับแผนการฝึกในระดับน้ี จะไม่กล่าวถึงการวางแผนการฝึกเพื่อ ความเป็นเลิศหรือแข่งขัน แต่จะเก่ียวข้องกับฝึกเทคนิคและทักษะเพ่ือการพัฒนาเป็นหลักและ ใช้เพียงแค่พัฒนาเทคนิค ทักษะเท่านั้น สิ่งที่จะต้องปฏิบัติควบคู่กันไปในการฝึก เพ่ือพัฒนาเทคนิค ทักษะพ้ืนฐาน คือ การพัฒนาการทำงานการประสานกันระหว่างระบบประสาทกับระบบกล้ามเนื้อ ความสมดุลของร่างกายในขณะท่ีเคลื่อนไหวเคลื่อนท่ีทั้งขณะท่ีควบคุมลูกบอลและไม่ได้ควบคุม และไมล่ ืมทจ่ี ะปรบั ปรงุ ในเร่ืองของการมองและความว่องไว การฝึกทุกครั้งส่ิงที่ผู้ฝึกสอนต้องทำ คือ การทำให้ผู้เล่นเกิดความรู้ความเข้าใจ จากส่ิงที่ปฏิบัติในเหตุและผลและจากสิ่งท่ีเห็น การคาดคะเน การแก้ไขปัญหา การตัดสินใจ ความสนุกสนาน การท้าทาย ตลอดจนเกมเพ่ือส่งเสริมการฝึก โดยบางครั้งต้องรู้จักเรียนร้ ู จากการลองผิดลองถูกบา้ ง สงิ่ ท่ผี ฝู้ กึ สอนต้องทำทุกครัง้ ในการฝกึ 1. ตอ้ งปฏิบัตใิ หบ้ รรลจุ ุดม่งุ หมายเพอ่ื การรกุ หรอื การป้องกนั 2. ตอ้ งปฏบิ ัติซำ้ ๆ ให้มากและต้องมกี ารวางแผนใหเ้ หมาะสม 22 คู่มือผูฝ้ ึกสอนกีฬาว้ดู บอล T - Certificate

3. ต้องจัดแบ่งกลุ่มผู้เล่นตามเพศ อายุ ความสามารถ ประสบการณ์และใช้อุปกรณ์ ใหเ้ หมาะสม 4. ต้องฝึกสอนอย่างเหมาะสม ถูกต้อง สาธิตให้เห็นภาพในการฝึก การจูงใจมีอิทธิพล ตอ่ ผู้เล่นมกี ารถามตอบปญั หาเพอ่ื ใหเ้ กดิ ความรู้ความเขา้ ใจ 5. สังเกตการปฏบิ ตั ิของผเู้ ล่นตามวัตถุประสงค ์ 6. วเิ คราะห์ส่งิ ทีเ่ กดิ ข้นึ 7. ประเมินผลหลังการฝกึ โครงสร้างโปรแกรมการฝกึ ซอ้ ม 1. การอบอนุ่ รา่ งกาย (warm up) • อบอุ่นรา่ งกายทวั่ ไป • ยดื เหยยี ดกลา้ มเนื้อ (Stretching) • เตรียมร่างกาย 2. ฝึกเทคนคิ ทักษะ (Sport Skill) • ทบทวนทักษะเดิม • ทักษะใหม ่ • ทกั ษะเฉพาะบคุ คล 3. สมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness) • ท่ัวๆ ไป • เฉพาะส่วน • เฉพาะบุคคล 4. การผอ่ นคลายหลงั การฝกึ (Cool Down) • การกลบั สสู่ ภาพปกติ (จากเรว็ สู่ช้า) • การยดื เหยยี ดกล้ามเน้อื (Stretching) 5. สรุปสดุ ท้ายหลังการฝกึ ควรมีการพูดคุยซักถามถึงปัญหาในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความชัดเจน พูดถึงส่ิงที่ได้ จากการฝกึ อบรมและขอ้ บกพร่อง ผ้ฝู ึกสอนควรใหร้ างวลั ในความต้งั ใจด้วยการกล่าวชมและไม่ลมื ทจี่ ะเสรมิ ในเรื่องของจรยิ ธรรมด้วย คูม่ อื ผ้ฝู ึกสอนกฬี าวู้ดบอล T - Certificate 23

การวางแผนการฝึกซ้อมในระดับนี้ต้องคำนึงถึงการพัฒนาเป็นองค์ประกอบท่ีสำคัญ ดงั นน้ั จึงตอ้ งมกี ารวางแผนระยะยาว และแผนการฝกึ ซ้อมควรแบ่งเป็น 2 ชว่ ง ดังน้ี ชว่ งที่ 1 ช่วงการฝึกซอ้ มท่วั ๆ ไป (General Training) เปน็ การฝึกเบ้อื งตน้ เกี่ยวกบั เทคนิค ทักษะการปรับปรุงพื้นฐานในส่วนของเทคนิค ทักษะและสมรรถภาพทางกาย การเคลื่อนไหวเคล่ือนท่ีทีเ่ กยี่ วข้องกบั การเลน่ สว่ นบุคคล ช่วงที่ 2 ช่วงการฝึกเฉพาะเจาะจง (Specific Training) เป็นผลต่อเน่ืองจาก การฝึกเบ้ืองต้นเก่ียวกับเทคนิค ทักษะทั่วไป แล้วมาพัฒนาสู่ยุทธวิธีการเล่นเฉพาะบุคคลหรือ ยุทธวิธีการเล่นกีฬา ซึ่งผู้เล่นต้องเรียนรู้และมีความเข้าใจในหน้าท่ีของผู้เล่นและทุกสถานการณ์ เมอ่ื มกี ารปรบั ปรุงและพฒั นาสูงข้นึ สคู่ วามสมบรู ณ์ ผู้เล่นกจ็ ะเป็นผเู้ ล่นท่มี ีคณุ ภาพท่ีมัน่ คงต่อไป 24 คมู่ อื ผู้ฝกึ สอนกฬี าว้ดู บอล T - Certificate

บทที่ 5 ก ติกาและการตัดสินกีฬาวู้ดบอล กฎ กตกิ า วดู้ บอล สนามวู้ดบอล I หลักการท่ัวไป 1. สนามวู้ดบอลควรเป็นสนามหญ้า ทรายหรือดินที่เหมาะสำหรับการเล่นและ การแขง่ ขัน 2. สนามวู้ดบอล สามารถนำสิง่ กดี ขวางตามธรรมชาติ เชน่ ต้นไม้ พุม่ ไม้ กำแพงเตย้ี ๆ หรือเนนิ ดินเลก็ ๆ มาทำเป็นส่งิ กดี ขวางหรือเสน้ เขตสนามได้ 3. สนามวู้ดบอลควรจัดให้มีที่สำหรับชมการแข่งขันตามลักษณะภูมิประเทศ อยา่ งเหมาะสม 4. สนามวดู้ บอล ควรมีแผนผังแสดงลักษณะและรายละเอยี ดของสนามพอสงั เขป II การออกแบบสนามวดู้ บอล 1. สนามวู้ดบอล ควรมี 12 หรือ 24 เกท 2. สนามวดู้ บอล 12 เกท รวมแลว้ มีระยะทางมากกวา่ 700 เมตร 3. พื้นผวิ สนามควรเรยี บและเสมอกนั 4. สนามในแตล่ ะเกทควรจะเปน็ ทางตรงหรือทางโค้ง ตามลกั ษณะธรรมชาติของพืน้ ท ่ี 5. สนามในแต่ละเกทสามารถจัดส่งิ กดี ขวางได ้ 6. สนามวดู้ บอลแต่ละเกทมีระยะแตกตา่ งกนั ตง้ั แต่ 30-130 เมตร 7. สนามวู้ดบอลสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามลักษณะภูมิประเทศ แต่ต้องไม่ขัดกับกติกา เบอ้ื งตน้ 8. เสน้ เขตสนามใช้เชอื กสีขาวหรือสีเหลอื ง ทม่ี ีเสน้ ผ่าศูนยก์ ลาง 1 เซนติเมตร III มาตรฐานสนามวดู้ บอล 1. สนามการแข่งขนั ตอ้ งไดร้ ับการดูแลใหเ้ หมาะสมสำหรับการเล่นอยูเ่ สมอ 2. สนามในแตล่ ะเกทจดั ตามลักษณะภมู ปิ ระเทศ มคี วามกวา้ งอย่รู ะหวา่ ง 3-10 เมตร 3. สนามขนาดส้ันมรี ะยะทางส้ันกว่า 50 เมตร สนามขนาดกลางมรี ะยะทาง 51-80 เมตร สนามขนาดยาวมีระยะทาง 81-130 เมตร ค มู่ ือผฝู้ กึ สอนกฬี าวู้ดบอล T - Certificate 25

4. ใน 12 เกท ตอ้ งมอี ย่างน้อย 4 เกท ต้องเปน็ สนามแบบโคง้ (โค้งดา้ นซ้าย 2 เกท) และโคง้ ด้านขวา 2 เกท) 5. ใน 12 เกท อย่างน้อย 2 เกท ต้องเป็นสนามขนาดยาวและอย่างน้อย 2 เกท ต้องเปน็ สนามขนาดสน้ั 6. สนามในแต่ละเกท วัดความยาวจากจุดก่ึงกลางของเส้นเร่ิมเล่นไปตามก่ึงกลางของ ช่องสนามจนไปถงึ จุดกง่ึ กลางของประตู 7. การเร่ิมเล่น ต้องมีการกำหนดเส้นเริ่มท่ีเรียกว่า เส้นเริ่มเล่น โดยเส้นเร่ิมเล่นจะยาว 2 เมตรและหลังเส้นเร่ิมเล่นจะลากกลับไป 3 เมตร จะกลายเป็นพ้ืนที่ส่ีเหล่ียม ที่เรียกว่า เขตเริม่ เลน่ 8. สนามแต่ละเกทมีเขตประตูเป็นวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตร โดยมีประต ู อย่ตู รงกลาง และเขตนี้ควรอยู่หา่ งจากเสน้ หลัง 2 เมตร 9. ประตตู ง้ั ตรงกึ่งกลางเขตประตูและวางหันหนา้ ไว้ทิศใดของช่องตกี ็ได ้ 10. เขตเริ่มเล่นและเขตประตคู วรจะเรยี บและไม่มสี ง่ิ กีดขวาง 26 ค่มู ือผฝู้ กึ สอนกฬี าวู้ดบอล T - Certificate

III การใช้สนาม 1. สนามในแต่ละเกท ไม่อนุญาตให้กลุ่มต่อไปเข้ามาและเล่นในสนามก่อนการแข่งขัน เสรจ็ สิน้ 2. สนามในแต่ละเกท อนุญาตให้เล่นไดเ้ พยี งกลุม่ ละ 4-5 คน 3. ขณะที่มีการแข่งขัน ไม่อนุญาตให้บุคคลอ่ืนที่ไม่ใช่ผู้เล่นและผู้ตัดสินเข้าไปในบริเวณ สนาม 4. เมอ่ื ผู้เลน่ ตีลกู ผู้เล่นคนอน่ื ๆ ควรอยู่หา่ งในระยะ 3 เมตรและไม่รบกวนการเล่นของ ผเู้ ลน่ 5. เมอ่ื พน้ื หญา้ ในสนามชำรุด หลุดจากการตี ต้องรบี ซ่อมโดยทนั ท ี 6. กอ่ นการตลี ูก ไมอ่ นญุ าตใหผ้ เู้ ล่นปรบั เปลี่ยนพ้ืนที่บรเิ วณทตี่ ้งั ลูกบอล 7. สง่ิ กดี ขวางทจ่ี ดั ไว้ในสนาม ไม่อนญุ าตให้เลอ่ื นหรอื เคลอื่ นท่ ี 8. กรณีลมพัดแรงหรือฝนตกหนัก ผู้เล่นสามารถขออนุญาตเก็บใบไม้ กิ่งไม้ หรือ ขยะบนสนามได ้ คมู่ ือผฝู้ ึกสอนกีฬาวดู้ บอล T - Certificate 27

อุปกรณ์วู้ดบอล I หลักการท่ัวไป 1. อุปกรณว์ ู้ดบอล ประกอบดว้ ย ลกู บอล ไม้ตีและประตู 2. อุปกรณ์การเล่นต้องได้มาตรฐาน ภายใต้การรับรองจากสมาคมวู้ดบอล แห่งประเทศไทยและสหพนั ธว์ ูด้ บอลนานาชาต ิ II มาตรฐานอปุ กรณ์การเล่น 1. ลูกบอล (1) ลูกบอลมีลักษณะกลม ทำจากไม้ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 9.5 + 0.2 เซนติเมตร และน้ำหนกั 350 + 60 กรัม (2) บนลกู บอลติดหมายเลขตรงกบั หมายเลขผเู้ ลน่ (3) รปู รา่ งของลกู บอล มีลักษณะดงั ภาพประกอบ เส้นผา่ ศูนยก์ ลาง 350น+ำ้ ห6น0ักก รมั 1 เ9ซ.5นต+ิเม0ต.2ร 2. ไม้ตี (1) ไมต้ ีทำจากไม้เปน็ รูปตัวที (T) น้ำหนกั ประมาณ 800 กรมั (2) ไมต้ มี ีความยาว 90 + 10 เซนติเมตร รวมด้ามจับและหัวไมต้ รี ปู ขวด (3) หัวไม้ตียาว 21.5 + 0.5 เซนติเมตร ด้ามท้ายของหัวไม้ตีหุ้มยางโดยรอบท่ีม ี เส้นผ่าศูนย์กลาง 6.6 + 0.2 เซนติเมตร ความหนาส่วนล่าง 1.3 + 0.1 เซนติเมตร ความสูง 3.8 + 0.1 เซนตเิ มตร ความหนาขอบนอก 0.5 เซนติเมตร (4) รูปร่างของไม้ตี มลี กั ษณะดงั ภาพประกอบ ก. ไมต้ ี 90 + 10 เซนติเมตร คู่มอื ผู้ฝึกสอนกฬี าวดู้ บอล T - Certificate 28

ข. หัวไมต้ ีรปู ขวด เสน้ ผ่าศูนยก์ ลาง 3.5 + 0.1 เซนติเมตร 21.5 + 0.5 เซนตเิ มตร เส้นผา่ ศูนยก์ ลาง 6.6 + 0.2 เซนติเมตร ค. ยางห้มุ หัวไม ้ ความหนาขอบนอก 0.5 เซนตเิ มตร 3.8 + 0.1 เซนติเมตร ความหนาขอบนอก 0.5 เซนตเิ มตร เสน้ ผา่ ศนู ย์กลาง 6.6 + 0.2 เซนติเมตร 3. ประต ู (1) ประตตู อ้ งทำจากไม้ โดยมีแกนกลางท่ีประกอบดว้ ยวสั ดุ 3 ส่วน คอื แกนเหล็ก หลอดยาง และหัวปิดข้าง (2) ประตูประกอบด้วย ไม้รูปร่างคล้ายถ้วยอยู่ตรงกลางระหว่างขวดท้ังสองท่ีปัก บนพ้ืนดิน มีระยะกว้าง 15 + 0.5 เซนติเมตร โดยวัดจากด้านในของขวด ท้งั สองขา้ ง (3) รปู รา่ งของประตู มีลกั ษณะดังภาพประกอบ คมู่ ือผฝู้ ึกสอนกีฬาวดู้ บอล T - Certificate 29

(4) ส่วนประกอบของประตู ก. ขวดไม ้ 20.5 + 0.5 เซนติเมตร เส้นผา่ ศนู ยก์ ลาง 6.7 + 0.2 เซนติเมตร 15 เซนติเมตร ข. ถ้วยไม ้ เส้นผ่าศูนยก์ ลาง 6 เซนตเิ มตร 15 + 0.5 เซนตเิ มตร เสน้ ผา่ ศูนยก์ ลาง 6 เซนติเมตร ค. แกนเหล็ก หัวปดิ ขา้ ง 29 เซนติเมตร 30 คู่มือผูฝ้ ึกสอนกฬี าวู้ดบอล T - Certificate

องค์ประกอบของทมี I องค์ประกอบของทมี 1. ทมี และสมาชิกในทมี ประกอบดว้ ย ผ้จู ัดการทมี ผู้ฝึกสอน เจา้ หนา้ ที่ และผเู้ ลน่ 2. แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่น 4-8 คน การแข่งขันในประเภททีม สามารถส่งผู้เล่น ไดท้ มี ละ 4-6 คน และผลคะแนนประเภททีมจะคดิ จาก 4 คน ทม่ี ีคะแนนดที ีส่ ดุ II ดา้ นผูเ้ ลน่ 1. ผู้เลน่ ทไ่ี มไ่ ดส้ มคั รและลงทะเบยี นไมอ่ นุญาตให้ลงเล่น 2. ผู้เล่นต้องสวมชุดกีฬาท่ีสุภาพและเหมาะสมดังภาพประกอบ ส่วนผู้เล่นประเภททีม ตอ้ งสวมชุดที่เหมือนกัน ชดุ นักกีฬาวดู้ บอล 3. ผู้เล่นควรพกบตั รประจำตัวติดตัว เพื่อการตรวจสอบและยนื ยนั สถานภาพ คู่มอื ผฝู้ กึ สอนกฬี าวูด้ บอล T - Certificate 31

บทบาทและหน้าทส่ี ำหรบั ผตู้ ัดสนิ ก. ประธานผู้ตัดสิน (Tournament Director) หรือใช้อักษรย่อ T.D. (ที.ดี.) มอี ำนาจหน้าท่ีดงั น ี้ 1. เป็นผู้ชี้ขาดทุกกรณีที่มีการร้องทุกข์อุทธรณ์จากผู้แข่งขันและต้องอยู่ในภายใน บรเิ วณสนาม ขณะท่กี ารแขง่ ขันกำลังดำเนนิ อย่ ู 2. เป็นผชู้ ข้ี าดทกุ ปญั หาท่ีผูต้ ัดสนิ ไม่สามารถตดั สนิ ได ้ 3. เป็นผมู้ อี ำนาจในการยตุ กิ ารแขง่ ขันเมอ่ื มีเหตุการณจ์ ำเปน็ เช่น ฝนฟา้ คะนอง แสงสว่าง ไม่เพยี งพอ หรือเปลีย่ นแปลงเวลาการแข่งขัน 4. เป็นผู้มหี น้าที่แต่งตงั้ หรอื ถอดถอนกรรมการและเจา้ หน้าท่ปี ฏิบัตไิ มเ่ ป็นธรรม 5. เป็นผู้ควบคุมการแข่งขันให้เสร็จสิ้นและดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยตาม วัตถปุ ระสงคข์ องคณะกรรมการจัดการแข่งขนั 6. ตอ้ งตรวจสอบคะแนนและรบั รองผลคะแนนเป็นคนสุดทา้ ย 7. ประชมุ ผู้จดั การทีม ผฝู้ ึกสอนและตัดสินก่อนการแข่งขัน 8. ประชมุ สรปุ ผลการดำเนินงานในแตล่ ะวนั ให้เจ้าหน้าทแี่ ละผู้ตดั สินทราบ ข. ผคู้ วบคุมการตดั สนิ (Technical Officer) 1. ต้องเขา้ ใจกติกาวธิ ีการแข่งขนั และควบคมุ เกมได ้ 2. ทำหนา้ ท่คี วบคุมผตู้ ัดสนิ เกมและพจิ ารณาแก้ปญั หากรณีเกมมปี ัญหา 3. จะต้องตดั สินปญั หาเพอ่ื ชว่ ยใหเ้ กมสิ้นสดุ 4. ตอ้ งตรวจสอบคะแนนและรับรองผลคะแนน 5. ควบคุมผ้ทู ี่ไม่เก่ียวข้องเขา้ มารบกวนผู้เลน่ ขณะทำการแขง่ ขนั 6. ควบคมุ ผฝู้ กึ สอนและเจา้ หนา้ ทที่ ่ีไม่ใหค้ ำแนะนำนกั กฬี าหรอื ผู้เลน่ ในขณะทำการแข่งขัน 7. ผู้ตัดสินต้องตัดสินด้วยความเป็นธรรม ให้ความเสมอภาคกับทุกทีมที่ทำการแข่งขัน รวมถึงผู้เลน่ ทกุ คน เชน่ ไมค่ วรสอนหรือใหก้ ำลงั ใจนักกฬี าขณะท่ที ำการแข่งขนั ค. ผ้ตู ดั สิน (Referee) 1. ตรวจสอบรายช่ือผู้เลน่ และอปุ กรณก์ ารเลน่ 2. เรียกให้ผเู้ ลน่ เริม่ เล่นในแตล่ ะประตู และจัดการจัดลำดับก่อนและหลังในการเล่น 3. ขานคะแนนและจำนวนการตขี องผู้เล่นทกุ คนเม่อื เสร็จสน้ิ ในทุกประตู 32 ค่มู อื ผ้ฝู กึ สอนกฬี าวดู้ บอล T - Certificate

4. ควบคุมใหผ้ ูเ้ ลน่ เล่นเกมให้ครบทุกประตูตามลำดบั ของสนามแขง่ ขนั 5. หากมีการผดิ กตกิ าให้ยุติการเลน่ และตดั สินข้อปัญหาใหเ้ รียบร้อยก่อนเลน่ ต่อไป 6. จดแตม้ การตีของผ้เู ล่นและจำนวนครง้ั ทผ่ี ดิ กตกิ า 7. ตรวจสอบผลการเล่นและใหผ้ ู้เลน่ ลงชอ่ื เพ่ือรับรองผลการเลน่ 8. ผตู้ ัดสนิ ต้องเคลื่อนท่ีไปข้างหน้าในเสน้ ทางท่ีไมก่ ดี ขวางการตขี องผเู้ ล่น 9. ควรจะยืนในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นท่าทางการตีและทิศทางของลูกบอลได้ ชดั เจน ง. ผ้กู ำกับเสน้ (Linesman) 1. ช่วยเหลือผู้ตัดสินในการตัดสินการออกของลูกบอลนอกเส้นเขตสนามและบ่งช้ ี จดุ ทล่ี ูกบอลออกนอกเส้นเขตสนาม 2. ทำหน้าที่กำหนดจดุ ของลูกบอล (Mark) ใหก้ ับผู้เลน่ 3. ทำหน้าทีว่ างตำแหน่งลกู บอลใหก้ บั ผเู้ ลน่ เมือ่ ผเู้ ลน่ ตีลกู บอล คมู่ ือผู้ฝึกสอนกฬี าว้ดู บอล T - Certificate 33

การแขง่ ขัน I หลกั การทวั่ ไป 1. เกมการเล่นต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์และระเบียบของผู้จัดการแข่งขันและกติกาการ เลน่ วู้ดบอล 2. ผู้เล่นทุกคนควรจะเลน่ ใหค้ รบทัง้ 12 หรอื 24 เกท และผลการตัดสนิ สดุ ทา้ ยจะได้ จากการนบั จำนวนครง้ั การต ี 3. ในกรณีผูเ้ ล่นไมไ่ ดเ้ ลน่ จนจบเกม จะไม่ตัดสนิ ผลการแข่งขนั II ระบบการแขง่ ขนั 1. ประเภทของการแขง่ ขัน แบง่ ออกเป็น (1) การแข่งขนั ประเภทบุคคล (2) การแข่งขนั ประเภทคู่ โดยมีทัง้ ประเภทค่ชู าย คหู่ ญิง และคผู่ สม (3) การแข่งขันประเภททีม 2. วธิ กี ารแขง่ ขนั แบ่งออกเป็น (1) การแขง่ ขันแบบนับจำนวนการตี (Stoke Competion) ผ้เู ล่นทเี่ ล่นครบทัง้ 12 หรอื 24 เกท และตไี ด้นอ้ ยคร้ังทส่ี ดุ เป็นผู้ชนะ (2) การแข่งขันแบบนับจำนวนเกท (Fairway Competion) ผู้เล่นที่ชนะในแต่ละ สนามของท้ัง 12 หรือ 24 เกท มจี ำนวนเกททีช่ นะมากทีส่ ดุ เป็นผ้ชู นะ III ขั้นตอนการแข่งขนั 1. การเรมิ่ เลน่ (1) เมื่อผู้ตัดสินประกาศให้เร่ิมการแข่งขัน ผู้เล่นควรเร่ิมเล่นตามลำดับท่ีกำหนด หรือตามการจับสลาก (2) หากผู้เล่นมาสาย 5 นาที หรือปฏิเสธการเล่นหลังจากผู้ตัดสินประกาศ ใหเ้ ริ่มเลน่ ผเู้ ลน่ ดังกล่าวจะโดนตดั สทิ ธ์จิ ากการแขง่ ขนั (3) ขณะที่ผู้เล่นเข้าไปเล่นบริเวณเขตเริ่มเล่น ผู้เล่นอื่นต้องถอยไปอยู่บริเวณนอก เขตเริ่มเล่น เพ่อื ความปลอดภัย (4) การตีคร้ังแรกลูกบอลควรวางในบริเวณเขตเริ่มเล่นและตีไปในทิศทางของ ประต ู 34 คมู่ ือผฝู้ กึ สอนกฬี าวดู้ บอล T - Certificate

2. ขนั้ ตอนในการเล่น (1) ในการเล่น ลูกบอลท่ีเล่นต้องถูกตีให้ผ่านแกนกลางของประตูและอยู่ด้านหลัง ของถ้วยไม้ จึงจะส้ินสุดการแข่งขันในแต่ละเกท ถ้าลูกบอลผ่านประตูแล้วไหล กลับมาสัมผัสกับถ้วยไม้ ก็ให้ถือว่าสิ้นสุดการตี ณ เกทนั้น ด้วยการรู้เห็นของ พยาน โดยผตู้ ัดสิน ผกู้ ำกับเสน้ หรือผเู้ ล่นส่วนใหญเ่ หน็ ชอบ (ในกรณที ่ผี ตู้ ดั สนิ และผู้กำกับเส้นไม่เห็น ถ้ามีการโต้แย้งระหว่างผู้เล่นให้ตัดสินด้วยตำแหน่ง ทลี่ กู บอลอยใู่ นเวลานัน้ ) (2) ระหว่างการเล่น หากลูกบอลกลิ้งออกพ้ืนด้านนอกเขตสนามทั้งลูก ให้ถือว่า เป็นการออกนอกสนาม ถ้าลูกบอลกล้ิงออกนอกเส้นเขตสนาม หลังจากน้ัน กลงิ้ กลบั มาสัมผัสกบั เส้นเขตสนามก็ใหถ้ ือว่าออกนอกสนาม ด้วยการรู้เห็นของ พยาน โดยผ้ตู ดั สนิ ผกู้ ำกับเสน้ หรือผเู้ ล่นส่วนใหญเ่ หน็ ชอบ (ในกรณีที่ผู้ตดั สนิ และผู้กำกับเส้นไม่เห็น ถ้ามีการโต้แย้งระหว่างผู้เล่นให้ตัดสินด้วยตำแหน่งท่ี ลกู บอลอยู่ในเวลานั้น) (3) เม่ือลูกบอลออกนอกสนาม ให้นำลูกบอลมาวางยังตำแหน่งจุดที่ออกและใช้จุดน้ัน เปน็ ศนู ยก์ ลางในการวางเขตรัศมีไม่เกนิ 2 หัวไม้ (4) ถา้ ลูกบอลตกลงในอุปสรรคต่างๆ เช่น หลมุ ต้นไม้ ป่าละเมาะ แอ่งนำ้ เป็นต้น และไม่สามารถตีลูกบอลได้ ให้เก็บลูกบอลมาวางท่ีตำแหน่งของจุดอุปสรรค เข้าไปในเขตขอบสนามและให้ถือว่าเป็นการออกนอกสนาม จะถูกนับเพิ่ม อีก 1 แต้ม (5) ระหว่างการเล่น เม่ือผู้เล่นเร่ิมยกไม้ขึ้นตี ผู้เล่นอ่ืนๆ ต้องถอยไปอยู่บริเวณ ด้านข้างของเขตสนามหรือบริเวณด้านหลังของผู้ตี โดยถอยให้ห่างมากกว่า 3 เมตร (6) ผู้เล่นสามารถตีลูกบอลให้ผ่านประตูทั้งด้านหน้าและด้านหลังของประต ู เม่อื ลกู บอลผา่ นประตูให้ถือวา่ ส้นิ สดุ การตี ณ เกทนนั้ (7) ระหว่างการเล่นหากมีเหตุการณ์ตามธรรมชาติเกิดข้ึน การแข่งขันจะเล่นต่อ หรอื หยุด ให้ข้ึนอยกู่ ับดลุ ยพินจิ ของประธานผตู้ ดั สิน (8) ผู้เล่นที่จะเล่นในเกทถัดไปต้องเป็นผู้เล่นชุดเดิม ไม่อนุญาตให้เปล่ียนตัวผู้เล่น จนกวา่ จะเสร็จสิ้นการแข่งขนั (9) การเล่นเกทถัดไป ต้องมีการจัดลำดับในการเล่นและจะมีการหมุนเวียนผู้เล่น ลำดับตอ่ ไปเปน็ ผู้เริม่ เลน่ คู่มอื ผฝู้ ึกสอนกฬี าวดู้ บอล T - Certificate 35

(10) ระหว่างการเล่น ถ้าผู้เล่นต้องการเปลี่ยนอุปกรณ์ อนุญาตให้เปลี่ยนเม่ือส้ินสุด การแข่งขันแต่ละเกท (ยกเว้น อุปกรณ์เสียหาย) และอนุญาตให้เปลี่ยน เม่ือไดร้ ับการตรวจจากผู้ตดั สินแล้ว (11) ในการตี ผู้เล่นลูกบอลและไม้หัก นับเป็นการตี 1 ครั้ง และผู้เล่นไม่สามารถ เล่นต่ออีก จนกวา่ จะถงึ ลำดบั ครั้งถัดไป (12) กรณีลูกบอลถูกชนโดยลูกบอลจากเกทอ่ืนแล้วลูกบอลกลิ้งไปตกในท่ีตำแหน่ง ใหมถ่ อื วา่ ใหใ้ ช้ตำแหน่งนนั้ เลน่ ต่อไป ถา้ ลูกบอลถกู ชนออกนอกสนาม ให้ถือวา่ เป็นการออกนอกสนาม ใหถ้ อื ว่าเปน็ การออกนอกเขตสนาม แตไ่ มน่ ับแต้มเพิ่ม (13) ผู้เล่นไม่ใช้ส่วนใดส่วนหน่ึงของร่างกายหรืออุปกรณ์ใดๆ มาสัมผัสกับลูกบอล ทกี่ ำลังเล่นในสนาม ไมว่ ่าจะเปน็ ของตนเองหรอื ของผู้อ่นื (14) ในการยงิ ประตู ผเู้ ลน่ ต้องจับด้ามไม้ ไมค่ วรจับบริเวณหวั ไม้ (15) การตลี ูกบอล ผู้เลน่ ต้องไม่ถือไม้อยูร่ ะหวา่ งขาทง้ั สองขา้ ง (16) กรณีมีการกำหนดเส้น 5 เมตร ห่างจากประตู ผู้เล่นที่ทำประตูได้สำเร็จให้ลด ครง้ั ที่ตี 1 แตม้ จากทท่ี ำได้ (17) ในกรณีสนามขนาดกลางและสนามขนาดยาว ที่มีการกำหนดเส้น 30 เมตร ผูเ้ ล่นทีต่ ีลกู บอลครง้ั แรกและลกู บอลไมถ้ งึ เส้น 30 เมตร จะถูกนับเพมิ่ 1 แต้ม ถ้าลูกบอลออกนอกสนามและไม่ถึงระยะ 30 เมตร ให้ใช้ข้อกำหนดการต ี ไม่ถึงเส้น 30 เมตร และการออกนอกสนาม ถ้าลูกบอลผ่านเส้น 30 เมตร ให้ใช้ข้อกำหนดการตีไม่ถึงเส้น 30 เมตร และการออกนอกสนาม ถ้าลูกบอล ผา่ นเสน้ 30 เมตร และออกนอกสนาม ให้ใชข้ ้อกำหนดเดยี วกับการออกนอกสนาม 3. การสิ้นสุดการเลน่ (1) ผู้เล่นแต่ละคนควรมีการจดบันทึกจำนวนครั้งท่ีตีในแต่ละเกทและจำนวนครั้ง ท่ีตีท้ัง 12 หรือ 24 เกท มีการบันทึกไม่ครบจากกรรมการ ถือว่าผู้เล่นน้ัน ไม่สน้ิ สุดการแขง่ ขนั จะไมม่ กี ารนับผลรวมการแขง่ ขนั (2) การตัดสิน ก. การแขง่ ขันแบบนับจำนวนการต ี ก. 1 การแข่งขันแบบนับจำนวนการตีผู้เล่นทุกคนจะถูกตัดสินจากจำนวน ครั้งที่ตี โดยผู้เล่นที่ตีน้อยครั้งที่สุดจะเป็นผู้ชนะ ในกรณีที่มีจำนวน คร้ังการตีที่เท่ากัน ให้นับว่าผู้ใดตีได้จำนวนครั้งท่ีตีน้อยท่ีสุดในแต่ละ เกทของ 12 เกท สุดท้ายเป็นผู้ชนะ หากยังเสมอกันอีกให้ขึ้นอยู่กับ ดุลยพนิ จิ คณะกรรมการจัดการแขง่ ขนั 36 คมู่ อื ผู้ฝึกสอนกฬี าว้ดู บอล T - Certificate

ก.2 การตดั สนิ ประเภททีม นบั คะแนนรวมจากผ้เู ลน่ ท่ดี ที ีส่ ดุ 4 คน ในทีม ที่มีคะแนนรวมน้อยที่สุดเป็นทีมที่ชนะ กรณีคะแนนรวมเท่ากันทีม ท่ีมีผู้เล่นตีน้อยคร้ังที่สุดเป็นทีมชนะ หากยังเสมอกันอีกให้ข้ึนอยู่กับ ดุลยพนิ ิจคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ข. การแข่งขันแบบนับจำนวนเกทท่ีตีสำหรับทุกการแข่งขัน ผู้เล่นท่ีมีจำนวน เกทที่ชนะมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ กรณีท่ีได้จำนวนเกทที่ชนะเท่ากันจะจัด ให้มีการแข่งขันพิเศษเพ่ือตัดสิน ท้ังน้ี ให้อยู่ในดุลยพินิจของประธาน ผู้ตัดสนิ เพือ่ ใหไ้ ดซ้ งึ่ ผลการตดั สนิ สดุ ทา้ ย การละเมดิ กฏในการเลน่ คร้ังแรกและการลงโทษ 1. หลังจากผู้เล่นอยู่ในตำแหน่งการเล่น เมื่อผู้ตัดสินให้สัญญาณมือเริ่มเล่น (ตีลูก) ผเู้ ลน่ ตอ้ งตีลูกบอลภายใน 10 วินาที ผูฝ้ ่าฝนื จะถกู เตือน หากฝา่ ฝืนอีกจะถูกลงโทษ โดยนบั เพ่มิ 1 แตม้ 2. การตีคร้ังแรก ผู้เล่นต้องวางลูกบอลบนเส้นเริ่มเล่นหรือในเขตเร่ิมเล่นและต้องตีใน ขณะท่ีผู้เลน่ อยูก่ ับท่ี ผู้ฝา่ ฝนื จะถูกลงโทษโดยนบั เพม่ิ 1 แตม้ 3. เมื่อผู้เล่นเจตนาตีคร้ังแรกแต่พลาดลูกบอลไม่เคลื่อนจากเขตเริ่มเล่น ให้นับเป็น การตี 1 คร้งั จากนนั้ ให้ผูเ้ ล่นตีคร้ังแรกอกี ครง้ั แต่นบั เปน็ การตคี รง้ั ที่ 2 4. ขณะผู้เล่นกำลังกำลังตีลูกบอล ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นอ่ืนเดินเข้าหรือเดินตัดหน้าสนาม ผู้ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษโดยนบั เพมิ่ 1 แตม้ 5. ขณะผู้เล่นกำลังตีลูกบอล ผู้เล่นอ่ืนไม่ควรส่งเสียงตะโกนหรือพูดไม่สุภาพที่ส่งผล ตอ่ การตขี องผเู้ ล่น ผู้ฝ่าฝนื จะถูกลงโทษโดยนบั เพ่ิม 1 แตม้ 6. การตีลูกบอล ผู้เล่นท่ีเหว่ียงไม้สัมผัสลูกบอลหรือลูกบอลเคล่ือนที่ถือว่าเป็นการตี และนับ 1 แต้ม 7. การตีลูกบอล ผู้เล่นต้องตีลูกบอลด้วยหัวไม้หรือด้านท้ายของไม้เท่าน้ัน ไม่อนุญาต ให้ใชด้ ้านขา้ งหรือดา้ มจบั ของไม้ ผู้ฝา่ ฝืนจะถูกลงโทษโดยนบั เพิม่ 1 แตม้ และตคี ร้ัง ต่อไปจากตำแหนง่ ใหม่ของลูกบอล 8. ไม่อนุญาตให้ใช้ไม้ผลักหรือดันลูก ผู้ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษโดยนับเพ่ิม 1 แต้ม และ ตคี รงั้ ต่อไปจากตำแหนง่ ใหม่ของลูกบอล 9. ไม่อนุญาตให้ตีบอลซ้ำ (ขณะท่ีลูกบอลกำลังกลิ้งอยู่) ผู้ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษโดย นับเพ่มิ 1 แตม้ และตคี ร้ังต่อไปจากตำแหน่งใหมข่ องลูกบอล คมู่ อื ผู้ฝึกสอนกฬี าวูด้ บอล T - Certificate 37

10. ในการยิงประตู ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นจับหัวไม้ ผู้ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษโดยนับเพ่ิม 1 แต้ม และตีครั้งต่อไปจากตำแหน่งใหม่ของลูกบอล (ถ้าลูกบอลผ่านเข้าประตู ไมถ่ ือว่าเปน็ การสิ้นสุดการเลน่ ) การละเมดิ กฎในการเล่นและการลงโทษ 1. ผู้เล่นที่ตีลูกบอลห่างจากประตูมากกว่าจะได้เป็นผู้ตีก่อนหรือขึ้นกับดุลยพินิจของ ผู้ตัดสิน ผู้เล่นไม่สามารถเล่นได้ตามอำเภอใจ ผู้ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษโดยนับเพ่ิม 1 แตม้ และตคี รง้ั ต่อไปจากตำแหน่งใหม่ของลูกบอล 2. ผู้เล่นท่ีตีลูกบอลออกนอกเส้นเขตสนามโดยไม่สัมผัสกับเส้นเขตสนาม ถือว่าเป็น การออกนอกสนาม ถกู นับเพ่มิ 1 แตม้ 3. ในระหว่างการแข่งขัน หากลูกบอลไปขวางทางผู้เล่นคนถัดไป ผู้เล่นสามารถขอ อนุญาตตีลูกบอลก่อนหรือขอทำเคร่ืองหมายไว้ (Mark) ท้ังน้ี ต้องอยู่ในดุลยพินิจ ของผตู้ ดั สิน ผฝู้ ่าฝืนจะถกู ลงโทษโดยนบั เพ่มิ 1 แต้ม 4. หากลูกบอลชนสิ่งกีดขวางท่ีนำมาทำเป็นเส้นเขตสนามแล้วกระดอนอยู่บนสนาม ไม่ถือว่าเป็นการออกนอกเส้นสนาม แต่หากลูกบอลชนสิ่งกีดขวางแล้วออกนอก เส้นเขตสนาม ถือว่าเปน็ การออกนอกสนาม 5. เม่อื ผู้เล่นเลน่ ในเขตสนามทีม่ ีความโค้ง ต้องเลน่ ไปตามทางบนพ้ืนสนาม ไม่อนุญาต ให้ตีลูกบอลลอยออกจากนอกสนามเพ่ือเป็นการตัดมุมและจะถือว่าเป็นการออก นอกสนาม 6. เม่อื ลูกบอลในสนามมกี ารชนกัน (1) ลกู บอลท่ีถูกชนกลิ้งไปและไม่ออกนอกสนาม ให้ใช้ตำแหนง่ ใหม่ของลกู บอลใน การตคี รงั้ ต่อไป - ลูกบอลท่ีถูกชนกลิ้งไปและผ่านประตู ให้ถือว่าเป็นการสิ้นสุดการเล่นเกท นั้น - ลูกบอลที่ชนกล้ิงไปและออกนอกเส้นเขตสนาม ให้ถือว่าเป็นการออก นอกสนาม แต่ไม่นับแต้มเพิ่มและใช้จุดออกน้ันเป็นศูนย์กลางวัดเข้ามา รศั มี 2 หัวไม้ เพื่อตีครัง้ ต่อไป (2) ลูกบอลของผู้ตีชนและออกนอกเส้นเขตสนาม ถือว่าเป็นการออกนอกสนาม จะถกู นบั เพิม่ 1 แตม้ (3) ลูกบอลของผู้ตีชนและไม่ออกนอกสนาม ให้ใช้จุดท่ีลูกบอลหยุดเป็นตำแหน่งใหม่ ในการตคี ร้งั ต่อไป 38 คมู่ อื ผฝู้ กึ สอนกฬี าว้ดู บอล T - Certificate

7. ในขั้นตอนการเล่น ถ้าผู้เล่นแสดงพฤติกรรมไม่มีน้ำใจนักกีฬา ผู้ตัดสินจะเตือนให้ ปรับปรุง พรอ้ มกับถกู ลงโทษโดยนบั เพม่ิ 1 แตม้ หากยังกระทำการฝ่าฝืนซำ้ จะถูก ยกเลิกผลและตัดสทิ ธ์จิ ากการแข่งขัน 8. เมื่อผู้เล่นในสนามใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายหรืออุปกรณ์ใดๆ มาสัมผัสลูกบอล ของตนเองหรือของผู้อ่ืน จะถูกลงโทษโดยนับเพ่ิม 1 แต้ม และให้ใช้จุดท่ีลูกบอล หยุดเป็นตำแหนง่ ในการตคี รงั้ ตอ่ ไป 9. เม่ือผู้เล่นในสนามตีลูกบอลด้วยท่าท่ีไม่เป็นไปตามกฎหรือตีลูกบอลด้วยท่าที่ไม้อยู่ ระหวา่ งขาท้ังสองข้าง จะถกู ลงโทษโดยนบั เพิ่ม 1 แต้ม และใหใ้ ชต้ ำแหนง่ ใหม่ของ ลูกบอลในการตีคร้ังต่อไป (ถ้าลูกบอลผ่านเข้าประตู ไม่ถือว่าเป็นการส้ินสุด การเล่น) 10. ระหว่างการเล่น ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนอุปกรณ์ อนุญาตให้เปลี่ยนเมื่อส้ินสุด การแข่งขันแต่ละเกท (ยกเว้นอุปกรณ์เสียหาย) และอนุญาตให้เปลี่ยนเม่ือได้รับ การตรวจจากผู้ตัดสนิ แลว้ ผ้ฝู ่าฝนื จะถกู ตัดสิทธ์ิจากการแข่งขนั การละเมดิ กฎในเขตประตแู ละการลงโทษ 1. ผู้ตัดสินสามารถตัดสินใจในการเรียงลำดับการตีตามเงื่อนไขของการตีลูกบอล ภายในเขตประตู โดยหลักปฏิบัติแล้ว ลูกบอลท่ีอยู่ใกล้ประตูกว่าจะเป็นผู้ได้ตีก่อน หากผู้เล่นฝ่าฝืนกฎก็จะถูกลงโทษโดยนับเพิ่มแต้มและให้ใช้ตำแหน่งใหม่ของ ลูกบอลในการตีครั้งต่อไป (ถ้าลกู บอลผ่านเข้าประตูไมถ่ อื วา่ เป็นการสน้ิ สุดการเล่น) 2. ผู้เล่นที่มีเจตนาทำให้ประตูเสียหาย จะถูกเตือนและถูกลงโทษโดยนับเพ่ิม 1 แต้ม หากยังกระทำการฝ่าฝืนซ้ำจะถูกยกเลกิ และตดั สทิ ธิ์จากการแขง่ ขนั คูม่ อื ผูฝ้ ึกสอนกีฬาวดู้ บอล T - Certificate 39

การใหส้ ัญญาณมือของผู้ตดั สินกีฬาวูด้ บอล 1. สัญญาณการเร่มิ เล่น (Start to Play) ผู้ตัดสินย่ืนแขนออกไป และแบฝ่ามือเอียงทำมุม 45 องศา ช้ีไปยังลูกบอลที่ต้องการ ให้เร่มิ เล่น พร้อมขานหมายเลขผเู้ ลน่ ให้ออกมาเลน่ 40 คมู่ ือผฝู้ ึกสอนกฬี าว้ดู บอล T - Certificate

2. สญั ญาณการตี (Hand Sign of Hitting) ผู้ตัดสินยกแขนข้ึนอยู่ในระดับไหล่ ช้ีน้ิวไปยังทิศทางท่ีประตูต้ังอยู่กับชี้ไปทิศทาง ทผี่ ู้เล่นอยู่ พรอ้ มกับขานคร้ังท่ผี ้เู ลน่ ตี • ในบางโอกาสผู้ตัดสินจะให้สัญญาการเร่ิมเล่นและการตีต่อเน่ืองกัน เช่น หมายเลข 4 ตคี รง้ั ท่ี 5 คมู่ ือผู้ฝกึ สอนกฬี าวูด้ บอล T - Certificate 41

3. สญั ญาณลกู ออกนอกสนาม (Out of Bounds) ผู้ตัดสินกำมือโดยชนู ิ้วหัวแม่มือข้นึ พร้อมยกข้นึ เหนอื ไหล่และขานวา่ โอ บี (OB) ซ่งึ ย่อมาจาก Out of Bounds เพอื่ แสดงวา่ ลกู บอลทตี่ ีไปออกนอกสนาม 42 คู่มือผฝู้ กึ สอนกีฬาว้ดู บอล T - Certificate