Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore แมลงศัตรูผัก เห็ด และไม้ดอก

แมลงศัตรูผัก เห็ด และไม้ดอก

Description: แมลงศัตรูผัก เห็ด และไม้ดอก.

Search

Read the Text Version

เอกสารวิชาการ ISBN 978-974-436-768-6 พ.ศ. 2559 แมลงศัตรูผัก เหด็ และไม้ดอก Insect Pests of Vegetable Mushroom and Cut Flower สมศกั ดิ์ ศิรพิ ลตงั้ ม่ัน อรุ าพร หนูนารถ สมรวย รวมชัยอภกิ ลุ ศรจี ำนรรจ์ ศรีจนั ทรา เรยี บเรียง กลมุ่ บรหิ ารศตั รูพชื และ กลุ่มกีฏและสตั ววทิ ยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารกั ขาพืช กรมวชิ าการเกษตร



บทนำ เอกสารวิชาการ “แมลงศัตรูผัก เห็ดและไมด้ อก” ฉบับน ้ี ได้จัดพิมพ์เป็นครั้งท ี่ 2 โดย ปรับปรุงเนือ้ หาบางส่วนให้เป็นปัจจุบนั ขึ้น เพื่อใช้เป็นคู่มอื นักวิชาการ เกษตรกร และผเู้ กีย่ วข้อง ประกอบด้วยภาพและคำบรรยายเกี่ยวกับแมลงศัตรูผัก เห็ดและไมด้ อกทสี่ ำคัญ รวมทงั้ ลกั ษณะ การทำลาย แมลงศตั รผู กั เหด็ และไม้ดอกท่ปี รากฏในเอกสารฉบับน้ีไม่ไดค้ รอบคลมุ แมลงศตั รทู กุ ชนดิ แต่จะเนน้ แมลงศัตรูทสี่ ำคัญทีพ่ บการระบาด ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นประจำและมีปัญหาในการ ป้องกันกำจัด คำแนะนำทีป่ รากฏในเอกสารฉบับน ี้ ได้รวบรวมจากผลงานวิจัยของนักวิชาการ กลุม่ บริหารศัตรูพืชและกลมุ่ กีฏและสตั ววิทยา ที่ได้มีการศึกษาค้นคว้าปรับปรุงในเชิงวิชาการและ เทคโนโลยีในปจั จบุ ัน ในนามของสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ขอแสดงความชืน่ ชมทกี่ ลมุ่ บริหารศัตรูพืชและ กล่มุ กีฏและสัตววิทยาทไ่ี ด้รว่ มมอื ในการปรับปรงุ หนงั สือ “แมลงศัตรผู กั เห็ดและไม้ดอก” ทม่ี คี ณุ คา่ และหวงั ว่าจะเป็นประโยชนต์ อ่ นักวชิ าการ เกษตรกร และผเู้ กี่ยวข้องโดยตรงตอ่ ไป (นางวไิ ลวรรณ พรหมคำ) ผูอ้ ำนวยการสำนกั วจิ ัยพัฒนาการอารกั ขาพืช

คำนำของคณะผจู้ ัดทำ เอกสารวชิ าการ “แมลงศัตรูผกั เหด็ และไม้ดอก” ฉบับน้ี ไดจ้ ัดพิมพ์เป็นคร้ังท่ ี 2 เปน็ ผลงาน ทไี่ ด้รวบรวมจากงานวิจัยของนกั วิชาการกลมุ่ บริหารศัตรูพืชและกลมุ่ กีฏและสัตววิทยา โดยมกี าร รวบรวมและเรียบเรียงขึ้นใหมใ่ ห้กะทัดรัดและอ่านง่ายแบบกึง่ วิชาการ และปรับปรุงเนอื้ หาบางส่วน ให้เปน็ ปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบชนดิ และรูปร่างลักษณะของแมลงศัตรูผกั เห็ดและ ไม้ดอกทีส่ ำคัญ ความเสยี หายของพืชเนอื่ งจากการถูกทำลาย วิธีการปอ้ งกันกำจัด ตลอดจนแมลง ศัตรูธรรมชาติทีเ่ ป็นประโยชน ์ ทงั้ นีเ้ พื่อเนน้ ให้นกั วิชาการ เกษตรกร ตลอดจนผเู้ กีย่ วข้องทวั่ ไป สามารถใชป้ ระโยชน์จากหนังสือเล่มนไ้ี ด้ สว่ นสารฆ่าแมลงที่แนะนำไวใ้ นหนังสือเป็นผลงานทีผ่ ่านการ ทดลองวิจัยมาแล้วและมีประสิทธิภาพทีด่ ีในการป้องกันกำจัด สำหรับรูปภาพทีใ่ ช้สว่ นใหญเ่ ปน็ ของ คณะผูจ้ ัดทำ บางส่วนได้รับความอนเุ คราะห์จาก นายไพโรจน ์ ศรีจันทรา คณะผจู้ ัดทำขอขอบคุณ ในความเอื้อเฟ้ือมา ณ ท่ีน้ ี สดุ ทา้ ยน ี้ คณะผูจ้ ัดทำขอขอบคุณ นางสาววนาพร วงษ์นิคง ทีไ่ ด้รวบรวมและจัดทำภาพ ประกอบในเล่ม นางสาวกรกต ดำรักษ์ ทไี่ ด้ตรวจทานแก้ไขเนือ้ หาต้นฉบบั ในการพิมพ์ครั้งน ี้ นายศรตุ สทุ ธอิ ารมณ ์ ผอู้ ำนวยการกลุม่ บริหารศตั รูพืช และนางสาววิภาดา ปลอดครบุรี ทท่ี ำให้เกิด เอกสารวชิ าการฉบับปรบั ปรงุ น ้ี สมศกั ด ์ิ ศิรพิ ลต้งั ม่ัน สมรวย รวมชยั อภกิ ุล อรุ าพร หนนู ารถ ศรีจำนรรจ ์ ศรีจันทรา

สารบัญ บทนำ หนา้ คำนำของคณะผู้จัดทำ แมลงศัตรูผกั และการปอ้ งกนั กำจดั 1 2 ชนดิ ของพชื ผกั และแมลงศตั รทู ี่ทำลาย 15 แมลงศตั รผู กั ทส่ี ำคญั บางชนิดและการป้องกนั กำจดั 15 20 • หนอนใยผัก 23 • หนอนกระทูห้ อม 24 • หนอนกระทู้ผกั 25 • หนอนเจาะยอดกะหล่ำ 27 • หนอนเจาะสมอฝ้าย 28 • หนอนคบื กะหล่ำ 29 • หนอนเจาะฝกั ลายจุด 31 • หนอนผีเส้อื สีนำ้ เงนิ 32 • หนอนเจาะผลมะเขือ 33 • หนอนเจาะเถามนั เทศ 34 • หนอนผีเสื้อเจาะหวั มันฝร่ัง 35 • ดว้ งหมัดผักแถบลาย 36 • ด้วงเต่าแตงแดง 38 • ด้วงงวงมนั เทศ 40 • แมลงวันทองพริก 41 • แมลงวนั หนอนชอนใบ • แมลงวนั หนอนเจาะตน้ ถั่ว

• เพลย้ี ไฟพริก หนา้ • เพลีย้ ไฟฝ้าย 42 • เพล้ยี ไฟหอม 43 • เพลยี้ จักจั่นฝา้ ย 45 • แมลงหว่ีขาวยาสบู 47 บรรณานุกรม 48 แมลงศตั รเู ห็ดและการป้องกันกำจัด 49 บรรณานุกรม 50 แมลงศตั รูไม้ดอกและการป้องกันกำจัด 56 57 ชนดิ ของไม้ดอกและแมลงศตั รูทที่ ำลาย 57 แมลงศตั รไู ม้ดอกท่สี ำคญั บางชนิดและการป้องกันกำจดั 62 62 · เพล้ยี ไฟฝา้ ย 64 · เพลย้ี ไฟพรกิ 65 · เพลยี้ ไฟขอบปล้องหยกั 66 · เพลีย้ อ่อน 67 · หนอนกระท้หู อม 68 · หนอนเจาะสมอฝ้าย 68 · หนอนกระทูผ้ กั 69 · หนอนเจาะดอกมะลิ 70 · ด้วงกุหลาบ 71 · บัว่ กล้วยไม้ 72 · แมลงวันหนอนชอนใบ 74 บรรณานุกรม

แมลงศตั รผู ักและ การป้องกันกำจัด สมศกั ดิ์ ศริ พิ ลตง้ั มน่ั การผลติ พืชผักเพือ่ ให้ได้คุณภาพทีด่ ีตามความต้องการของตลาดในแหลง่ ปลูกผกั เป็นการค้า มกั ประสบปัญหาศัตรพู ืช ได้แก่ โรคพชื แมลงศตั รูพชื และวัชพืช โดยเฉพาะ “แมลงศตั รูพืช” จัดเป็น ปัญหาทสี่ ำคัญ เนอื่ งจากมีการระบาดทำลายอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้ผลผลิตเสยี หาย อีกทัง้ แมลงศัตรูพืชบางชนดิ สามารถพัฒนาความต้านทานสารฆ่าแมลงได้อยา่ งรวดเร็วและหลายชนดิ ดังนั้น ความรูเ้ กีย่ วกับแมลงศัตรูผกั หากได้อาศัยหลกั การแบง่ แยกเปน็ กลมุ่ หรือประเภทต่างๆ จะสามารถเข้าใจถึงความสำคัญของแมลงชนดิ นัน้ ๆ ได้ง่าย ซึง่ ทำให้ได้แนวทางแก้ไขและป้องกัน กำจัดได้อย่างถูกต้องและมปี ระสิทธิภาพ การจำแนกแมลงอยา่ งง่าย ตามลักษณะการเจริญเติบโต และการทำลาย สามารถแยกประเภทออกได้ ดังน้ี กลมุ่ ท ี่ 1 พวกหนอนผีเส้ือ แมลงศตั รผู ักในกล่มุ น้ที ่สี ำคญั ไดแ้ ก ่ หนอนใยผกั หนอนกระท้หู อม หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกระทผู้ ัก หนอนเจาะยอดกะหล่ำ หนอนคืบกะหล่ำ หนอนเจาะฝกั ลายจุด หนอนเจาะผลมะเขอื เป็นตน้ พบวา่ มีหลายชนดิ ทม่ี ีปัญหาในการปอ้ งกันกำจดั เนอ่ื งจากแมลงศัตรใู น กลุม่ นีไ้ ด้พัฒนาสร้างความต้านทานต่อสารเคมีปอ้ งกันกำจัดศัตรูพืช และมรี ายงานการสร้างความ ตา้ นทานต่อสารเคม ี ไดแ้ ก่ หนอนใยผกั และหนอนกระทหู้ อม เปน็ ตน้ กลุ่มที ่ 2 พวกแมลงปากดูด แมลงศัตรูผกั ในกลมุ่ นีท้ ีส่ ำคัญได้แก่ เพลีย้ ไฟ เพลีย้ จักจัน่ เพล้ยี แปง้ เพลยี้ ออ่ น และแมลงหวีข่ าว เปน็ ต้น ซ่ึงนอกจากทำลายพชื ทำให้เกดิ ความเสียหายแลว้ ยัง พบว่าบางชนดิ เป็นพาหะนำโรคไวรัสได้อีกด้วย นอกจากน ี้ ยังพบติดไปกับผลผลิตทำให้มีผลกระทบ ตอ่ การส่งออก ทีม่ กั พบเสมอๆ ได้แก ่ เพล้ยี ไฟ เพล้ยี แป้ง และตวั อ่อนแมลงหวีข่ าว กลุ่มที ่ 3 พวกด้วงปกี แขง็ แมลงศัตรผู ักในกล่มุ น้ี เมอ่ื ระบาดแล้วก่อใหเ้ กดิ ความเสียหายเป็น ประจำ ทีส่ ำคัญ ได้แก่ ด้วงหมัดผัก ดว้ งเตา่ แตง และด้วงงวงมนั เทศ กลุ่มท ี่ 4 พวกหนอนแมลงวนั แมลงศัตรูผกั ในกลุ่มนี้ ได้แก่ หนอนแมลงวนั เจาะต้นถั่ว และ หนอนแมลงวันชอนใบ เปน็ ต้น แมลงศัตรูผักดงั กล่าวข้างตน้ บางชนดิ ทำลายเฉพาะเจาะจงพชื เชน่ หนอนใยผกั หนอนเจาะ ยอดกะหลำ่ และดว้ งหมดั ผัก คอื พบทำลายเฉพาะพืชผกั ตระกลู กะหลำ่ เทา่ น้นั แต่มแี มลงศตั รผู กั อีก หลายชนดิ ท่ีทำลายพชื ไดห้ ลายพชื เชน่ หนอนกระท้ผู ัก หนอนกระท้หู อม หนอนเจาะสมอฝา้ ย เพล้ยี ไฟ และแมลงหวีข่ าว เป็นต้น โดยพบทำลายพืชเศรษฐกิจ ทั้งพืชผัก พืชไร่และไมด้ อกต่างๆ และใน ช่วงบางฤดูปลกู หากสภาพเหมาะสมอาจพบแมลงศัตรูหลายชนิดระบาดพร้อมๆ กัน ในพืชชนดิ เดียวกัน ดังน้นั จะตอ้ งทราบชนดิ ของศัตรพู ืชทีส่ ำคญั และการปอ้ งกันกำจัดที่เหมาะสม ท้ังนี ้ เพื่อลด การระบาดของแมลงศัตรผู ักให้อย่ใู นระดับที่ไม่กอ่ ให้เกิดความเสยี หายตอ่ ผลิตผล แมลงศัตรผู กั เหด็ และไมด้ อก 1

ชนดิ ของพชื ผกั และ แมลงศตั รูท่ีทำลาย พืชผัก ตระกลู กะหลำ่ พืชผักตระกูลกะหลำ่ (Crucifers, Brassica spp.) จัดเปน็ พืชผกั ทีส่ ำคัญทีส่ ุดตระกูลหนึง่ ในประเทศไทย เนือ่ งจากเป็นผักทีใ่ ช้บริโภคในชีวิตประจำวัน จึงมีการปลูกทัว่ ทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะในเขตจังหวัดรอบๆ กรุงเทพฯ มแี หล่งปลกู ใหญ่หลายแห่ง พืชผักตระกูลนมี้ คี วามสำคัญ ทางเศรษฐกจิ ไดแ้ ก่ กะหล่ำปลี คะน้า ผักกาดขาวปลี ผักกาดเขยี วปลี กะหล่ำดอก บรอ็ คโคล่ี และ ผกั กาดหัว เป็นต้น การผลิตพชื ผักตระกลู กะหล่ำเพ่อื การคา้ เปน็ สวนผักท่ีมพี น้ื ท่ีปลูกขนาดใหญ่และปลกู ตอ่ เน่ือง ตลอดปี มักประสบปญั หาศตั รูพืชเข้าทำลายโดยเฉพาะแมลงศัตรูพชื ทส่ี ำคญั ไดแ้ ก ่ พวกหนอนผีเส้อื เช่น หนอนใยผัก หนอนกระทูห้ อม หนอนกระทผู้ กั หนอนเจาะยอดกะหล่ำ ซึง่ หนอนจะเข้าทำลาย โดยการกัดกินใบหรือเจาะเข้าสว่ นยอด และพวกด้วงปีกแข็ง เช่น ด้วงหมัดผกั ซึ่งมีลักษณะการ ทำลายโดยตัวอ่อนทเี่ จริญเติบโตในดินกัดทำลายราก สว่ นตัวแก่กัดกินใบพืชตระกูลกะหลำ่ เป็นต้น แนวทางการป้องกันกำจัดมีความยุง่ ยากและซับซ้อน เนือ่ งจากแมลงศัตรูมคี วามต้านทานต่อสารฆ่า แมลงหลายชนดิ และมักพบระบาดรุนแรงเสมอในแหล่งปลูก จึงต้องใช้หลายวิธีการจึงจะประสบผล สำเรจ็ ในการควบคุมแมลงศตั รูดังกล่าว เช่น วธิ เี ขตกรรม วิธกี ล การใชร้ ะดับเศรษฐกจิ รว่ มกับการใช้ สารฆ่าแมลงทีม่ ีประสทิ ธิภาพในการลดจำนวนแมลงศัตรูให้อยใู่ นระดับต่ำกว่าระดับเศรษฐกิจ ท้ังน้ี เพือ่ ให้ได้ผลผลิตทดี่ ีทงั้ ปริมาณและคุณภาพ รวมทัง้ วิธีการทีน่ ำมาใช้ต้องปลอดภัยต่อผูใ้ ช้และ ผู้บริโภค ไมม่ สี ารพษิ ตกค้าง โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ ไมก่ อ่ ใหเ้ กดิ มลภาวะต่อส่งิ แวดล้อม ชนดิ ของแมลงศัตรพู ืชผกั ตระกูลกะหล่ำและส่วนของพืชทถี่ กู ทำลาย ชนิดแมลงศัตรพู ชื ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชื่อสามัญ ช่อื วิทยาศาสตร์ 1. หนอนใยผกั Plutella xylostella Linnaeus กดั กินใบ ก้านใบ ยอด ดอก (diamondback moth) หัว 2. ด้วงหมัดผกั Phyllotreta chontanica Duvivier กดั กินใบ ตัวหนอนกัดกนิ ราก (leaf eating beetle) Phyllotreta sinuata Stephen แมลงศัตรูผัก เห็ดและไม้ดอก 2

ชนิดแมลงศัตรพู ืช ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชอ่ื สามัญ ช่อื วิทยาศาสตร์ 3. หนอนเจาะยอดกะหลำ่ Hellula undalis (Fabricius) เจาะกดั กนิ ยอด ดอก หวั (cabbage webworm) 4. หนอนกระทผู้ ัก Spodoptera litura (Fabricius) กดั กินใบ ดอก หัว (common cutworm) 5. หนอนกระท้หู อม Spodoptera exigua (Hübner) กัดกินใบ ดอก หัว (beet armyworm) 6. หนอนคืบกะหลำ่ Trichoplusia ni Hübner กดั กนิ ใบ (cabbage looper) 7. หนอนแมลงวนั ชอนใบกะหล่ำ Liriomyza brassicae (Riley) ชอนใบ กดั กนิ ใบ (cabbage leafminer) 8. หนอนกระท้ดู ำ Agrotis ipsilon (Hüfnagel) กัดกนิ ตน้ กลา้ (black cutworm) 9. เพล้ียอ่อนฝา้ ย Aphis gossypii Glover ดดู กินน้ำเล้ียงใบอ่อน (cotton aphid) 10. แมลงหวขี่ าวยาสบู Bemisia tabaci (Gennadius) ดดู กินนำ้ เล้ียงใบ (tobacco whitefly) 11. หนอนกะหล่ำ Crocidolomia binoltalis Zeller กดั กินใบ ดอก (cabbage moth) 12. มวนผกั Eurydema pulchra Westwood ดดู กนิ นำ้ เล้ียงใบ (leaf sucking bug) 13. เพล้ยี อ่อนกะหล่ำ Lipaphis erysimi (Kaltenbach) ดูดกนิ น้ำเลี้ยงใบ ยอดอ่อน (cabbage aphid) ดอก 14. เพลยี้ อ่อน Myzus persicae (Sulzer) ดูดกินนำ้ เล้ียงใบ ยอดอ่อน (aphid) ดอก 15. หนอนผีเส้ือขาว Pieris rapia (Linnaeus) กัดกินใบ ดอก (cabbage white butterfly) 16. เพลย้ี ออ่ นข้าวโพด Rhopalosiphum maidis (Fitch) ดูดกินน้ำเลีย้ งใบ (corn leaf aphid) แมลงศัตรผู กั เหด็ และไม้ดอก 3

ถ่วั ฝกั ยาวและ ถว่ั ลนั เตา ถั่วฝกั ยาวและถั่วลนั เตา เปน็ พืชผกั เศรษฐกิจทมี่ คี วามสำคัญอีกชนดิ หนงึ่ ของประเทศไทย การส่งออกมีตลาดตา่ งประเทศท่สี ำคญั ได้แก ่ ฮ่องกง สงิ คโปร ์ ประเทศในตะวนั ออกกลางและยุโรป ปจั จุบนั การส่งออกถั่วฝกั ยาวจะขยายตัวมากยงิ่ ขึ้น โดยเฉพาะในแหล่งทีม่ คี นเอเชียเข้าไปประกอบ อาชีพหรืออาศัยอย ู่ การผลติ ถัว่ ฝักยาวและถั่วลันเตาเพื่อการค้านนั้ พบแมลงและไรศัตรูพืชเปน็ สาเหตุหนงึ่ ทที่ ำให้ผลผลติ ถั่วฝกั ยาวลดลง 20-25% ศัตรูทีส่ ำคัญและเป็นสาเหตุทำให้ผลผลติ ของ ถัว่ ฝกั ยาวลดลงอย่างเด่นชัด ได้แก่ หนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว หนอนเจาะฝกั ลายจุด หนอน ผีเส้อื สนี ำ้ เงิน หนอนกระทหู้ อม เพลยี้ ออ่ น เพลีย้ ไฟ และไรขาว เปน็ ต้น การเข้าทำลายของศัตร ู ดังกลา่ วพบทุกระยะการเจริญเติบโต แต่ความรุนแรงในการระบาดและทำลายแตกต่างกันไป โดย แมลงศัตรูพืชทีส่ ามารถจัดเปน็ ชนิดทมี่ คี วามสำคัญทางเศรษฐกิจเพราะเคยระบาดทำลายถัว่ ฝักยาว จนเกดิ ความเสียหายมี 3 ชนิด คือ หนอนแมลงวนั เจาะต้นถ่ัว หนอนเจาะฝักลายจดุ และหนอนผีเส้อื สนี ำ้ เงนิ ชนดิ ของแมลงศัตรถู ่ัวฝกั ยาว ถ่วั ลนั เตาและสว่ นของพืชทถ่ี ูกทำลาย ชอ่ื สามัญ ชนดิ แมลงศตั รพู ชื สว่ นของพชื ท่ีถกู ทำลาย ชือ่ วิทยาศาสตร์ 1. หนอนแมลงวนั เจาะตน้ ถ่วั Melanagromyza sojae (Zehntner) เจาะตน้ เถา (bean fly) Ophiomyia phaseoli (Tryon) 2. หนอนเจาะฝกั ลายจุด Maruca testulalis (Geyer) เจาะดอก ฝกั ถว่ั (bean pod borer) 3. หนอนผีเสือ้ สนี ้ำเงนิ Lampides boeticus (Linnaeus) เจาะดอก ฝกั ถ่ัว (bean butterfly) 4. หนอนกระทูห้ อม Spodoptera exigua (Hübner) กัดกนิ ใบ ดอก ฝกั ถั่ว (beet armyworm) 5. เพลย้ี ออ่ นถั่ว Aphis craccivora Koch ดดู กนิ นำ้ เลี้ยงใบอ่อน (bean aphid) ยอดอ่อน ดอก ฝกั ถว่ั 6. ไรขาวพริก Polyphagotarsonemus latus ดดู กนิ นำ้ เล้ียงใบออ่ น (broad mite) (Banks) ยอดออ่ น 7. เพล้ียไฟดอกถั่ว Megalurothrips usitatus ดดู กนิ นำ้ เลีย้ งใบอ่อน ยอดอ่อน (bean flower thrips) (Bagnall) ดอก ฝักถ่วั 8. ไรแดง Tetranychus macfarlanei ดูดกนิ นำ้ เลย้ี งใบ (red mite) Baker & Pritchard แมลงศัตรูผกั เห็ดและไมด้ อก 4

พรกิ พริกจัดเปน็ พืชผกั ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลกู พริกกันอย่างเป็นล่ำเปน็ สนั ทั้งนี้ เพราะว่า ขณะนี้พรกิ เป็นพืชผักเศรษฐกิจที่สำคัญ สำหรบั ใชท้ ง้ั บรโิ ภคภายในประเทศ และส่งเป็นสินค้าออกไป ตา่ งประเทศ ในยุคก่อนๆ การปลูกพริกอาจจะไม่มปี ญั หามากเช่นในปัจจบุ ันเพราะไม่ไดป้ ลูกกันเปน็ บรเิ วณกว้างหรือปลกู เป็นประจำ เป็นธรรมดาของการปลูกพืชในท่ีใหม ่ มักจะไม่ค่อยมีปญั หามากนกั แต่ถ้ามีการปลกู พืชซ้ำทีเ่ ดิมและขยายเนือ้ ทกี่ ารปลูกเปน็ บริเวณกว้างติดต่อกัน ปัญหาต่างๆ ก็มักจะ สะสมมากขึน้ เป็นลำดับ การแก้ไขโดยวิธีการแผนใหมท่ ไี่ ด้จากงานวิจัย เกษตรกรจะสามารถเพิ่ม ผลผลิตได้ทงั้ ปริมาณและคุณภาพ ศัตรูพริกทีเ่ ป็นปัญหาสำคัญในปจั จุบนั ม ี 3 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ เพล้ียไฟ ไรขาวพรกิ และหนอนเจาะผลพรกิ เม่ือระบาดแลว้ จะเกดิ ความเสียหาย ทำใหเ้ กษตรกรต้อง พ่นสารฆ่าแมลงเป็นประจำและบ่อยครง้ั ดังน้ัน เกษตรกรจงึ ต้องแก้ไขปญั หา โดยควรศึกษาถงึ สาเหตุ และวิธีการปอ้ งกันกำจัดทีไ่ ด้ผลดีเหมาะสม โดยมงุ่ เน้นการลดการใช้สารเคมีและหาแนวทางเลอื กอนื่ ทดแทน ชนดิ ของแมลงศัตรพู รกิ และส่วนของพืชทถี่ กู ทำลาย ชนดิ แมลงศตั รูพชื สว่ นของพืชทถ่ี ูกทำลาย ชอ่ื สามัญ ช่ือวทิ ยาศาสตร์ 1. เพล้ียไฟพริก Scirtothrips dorsalis Hood ดูดกินนำ้ เลยี้ งใบออ่ น ยอด (chili thrips) ตาดอก ผลพรกิ 2. เพล้ยี ไฟมะละกอ Thrips parvispinus (Karny) ดูดกินน้ำเลย้ี งใบอ่อน ยอด (papaya thrips) ตาดอก ผลพรกิ 3. หนอนเจาะสมอฝ้าย Helicoverpa armigera (Hübner) กัดกินใบ ดอก ผลพริก (cotton bollworm) 4. เพลีย้ อ่อนฝา้ ย Aphis gossypii Glover ดดู กินน้ำเลีย้ งใบ ผลพริก (cotton aphid) 5. แมลงหว่ขี าวยาสบู Bemisia tabaci (Gennadius) ดดู กนิ นำ้ เล้ยี งใบ (tobacco whitefly) 6. แมลงวันทองพรกิ Bactrocera latifrons (Hendel) เจาะกดั กนิ ในผล (solanum fruit fly) 7. เพล้ยี ไฟดอกไม้ Frankliniella schultzei (Trybom) ดูดกนิ นำ้ เลย้ี งท่ีดอก (cotton bud thrips) 8. หนอนกระทู้ผกั Spodoptera litura (Fabricius) กดั กินใบ ดอก ผลพรกิ (common cutworm) 9. หนอนกระท้หู อม Spodoptera exigua (Hübner) กัดกนิ ใบ ดอก ผลพริก (beet armyworm) แมลงศตั รผู ัก เห็ดและไม้ดอก 5

พชื ผกั ตระกลู แตง พืชผกั ตระกูลแตง (Cucurbitaceae) จัดเป็นพืชผกั ทีส่ ำคัญทางเศรษฐกิจของไทย พืชท่ี สำคัญในตระกูลน ี้ ได้แก่ แตงโม แตงกวา มะระ ฟักทอง ฟักเขียว บวบและแคนตาลปู เปน็ ต้น โดยผลติ เพอื่ บรโิ ภคภายในประเทศและการสง่ ออก ท้ังในรปู แบบบริโภคสดและแปรรูป เช่น แตงกวา มกี ารสง่ เสริมให้ปลกู เพือ่ แปรรูปเป็นผกั ดองส่งตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เป็นต้น ส่วนมะระก็มี การผลิตเพือ่ การสง่ ออกและบรโิ ภคสด แต่ปัญหาการผลติ ทส่ี ำคัญในขณะน้ ี ไดแ้ ก ่ แมลงศตั รทู ส่ี ำคัญ และสรา้ งความเสียหายคอื เพล้ียไฟฝ้าย นอกจากทำลายพชื ใหเ้ สียคณุ ภาพแลว้ บางคร้งั ตดิ ไปกบั ผลผลิต ทำให้มีปญั หาด้านการสง่ ออก จากรายงานของสำนกั ควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร เมอื่ ประมาณ ต้นป ี 2542 พบว่ามเี พลีย้ ไฟฝ้ายติดไปกับมะระทำให้มีผลกระทบต่อการส่งออก ดังน้ัน การจัดการ แมลงศัตรูดงั กลา่ ว ควรมีการปอ้ งกันและควบคมุ ตง้ั แตก่ ารปลกู ในสภาพไร่จนถงึ หลังการเกบ็ เก่ยี ว ชนิดของแมลงศตั รพู ืชตระกูลแตงและสว่ นของพชื ทถ่ี กู ทำลาย ชนดิ แมลงศตั รูพชื สว่ นของพชื ท่ีถกู ทำลาย ชอื่ สามญั ชือ่ วทิ ยาศาสตร์ ดดู กนิ นำ้ เล้ยี งใบอ่อน ยอดออ่ น 1. เพลี้ยไฟฝ้าย Thrips palmi Karny ผลอ่อน ดอก (cotton thrips) 2. ด้วงเตา่ แตงดำ Aulacophora frontalis Baly กัดกนิ ใบ ตวั หนอนกัดกนิ ราก (black cucurbit leaf beetle) 3. ดว้ งเต่าแตงแดง Aulacophora indica (Gmelin) กดั กินใบ ตวั หนอนกัดกนิ ราก (red cucurbit leaf beetle) 4. เพลี้ยออ่ นฝา้ ย Aphis gossypii Glover ดูดกนิ น้ำเลย้ี ง ใบออ่ น (cotton aphid) ยอดอ่อน ผลออ่ น 5. แมลงวันแตง Bactrocera cucurbitae (Coquillett) เจาะกดั กินในผล (melon fruit fly) 6. เส้ียนดิน Dorylus orientalis Westwood กนิ ผลออ่ นแตงโม (subterranean ant) 7. หนอนแตง Margaeonia indica Saunders กัดกนิ ใบ (leaf eating caterpillar) Spodoptera exigua (Hübner) กดั กินใบ แทะผิวผล เจาะผล 8. หนอนกระทหู้ อม Spodoptera litura (Fabricius) กดั กินใบ แทะผวิ ผล เจาะผล (beet armyworm) 9. หนอนกระทผู้ กั (common cutworm) แมลงศัตรูผกั เหด็ และไมด้ อก 6

มะเขือเทศ มะเขอื เทศจดั เปน็ พชื ผักทีม่ ีความสำคญั ทางเศรษฐกจิ อกี พืชหนง่ึ การผลิตมะเขือเทศมที งั้ ใน รปู แบบบริโภคสดและแปรรปู ในเชงิ อตุ สาหกรรม เพื่อบรโิ ภคภายในประเทศและส่งออก แต่การผลติ มะเขือเทศเพื่อให้ได้ทัง้ ปริมาณและคุณภาพนัน้ มปี ัญหาเรื่องแมลงศัตรูเปน็ สิง่ สำคัญ แมลงศัตรูที่ สำคัญดังกล่าวได้แก ่ หนอนเจาะสมอฝา้ ย ทำลายโดยการเจาะผล แมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะนำ เชื้อไวรัสทำให้เกิดโรคใบหงิกเหลอื ง และหนอนแมลงวันชอนใบกัดกินใต้ผิวใบ เป็นต้น เกษตรกร สว่ นใหญ่มกี ารใช้สารเคมีชนดิ ใดชนิดหนงึ่ อย่างต่อเนือ่ งเปน็ ประจำ ก่อให้เกิดการสร้างความต้านทาน ต่อสารเคมใี นเวลาต่อมา ดังน้ัน การจัดการแมลงศัตรูของมะเขือเทศจึงมงุ่ การลดการใช้สารเคมีเป็น ประเด็นสำคัญและให้มกี ารใช้เทา่ ทีจ่ ำเป็น เลือกใช้สารฆ่าแมลงทมี่ ีความปลอดภัย หาวิธีการอนื่ ทดแทนการใชส้ ารเคม ี เชน่ การใชเ้ ชือ้ แบคทเี รีย และวธิ ีการอ่นื เช่น ใช้กบั ดักกาวเหนียวสีเหลอื งมา ผสมผสานกันเพื่อปอ้ งกนั กำจดั แมลงศัตรูดงั กลา่ วตอ่ ไป ชนิดของแมลงศตั รูพืชมะเขอื เทศและส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ชนดิ แมลงศัตรพู ชื สว่ นของพชื ท่ถี กู ทำลาย ช่อื สามญั ชอ่ื วิทยาศาสตร์ 1. หนอนเจาะสมอฝา้ ย Helicoverpa armigera (Hübner) กัดกินดอก เจาะผลมะเขือเทศ (cotton bollworm) Bemisia tabaci (Gennadius) ดูดกนิ นำ้ เลี้ยงจากใตใ้ บ 2. แมลงหวี่ขาวยาสูบ Liriomyza sativae Blanchard กดั กินใตผ้ วิ ใบ (tobacco whitefly) Spodoptera litura (Fabricius) กัดกนิ ใบ ดอก ผล 3. หนอนแมลงวันชอนใบ Spodoptera exigua (Hübner) กัดกนิ ใบ ดอก ผล (leaf miner flies) 4. หนอนกระทู้ผัก (common cutworm) 5. หนอนกระทู้หอม (beet armyworm) มะเขือเปราะและ มะเขอื ยาว มะเขือเปราะ และมะเขือยาว เปน็ พืชผักทีม่ ีความสำคัญชนิดหนงึ่ ซึง่ สามารถทำรายได้ดีไม่ แพ้พืชผกั ตระกูลอืน่ ๆ สามารถเพาะปลกู และเก็บเกีย่ วผลผลิตได้ตลอดทงั้ ป ี ช่วยเพิม่ รายได้ให้แก่ แมลงศตั รผู ัก เหด็ และไมด้ อก 7

เกษตรกรผู้ปลูกอย่างสมำ่ เสมอ แตต่ อ้ งมีการปฏิบัตดิ แู ลรักษาและป้องกันแมลงศัตรูท่ีคอยมาทำลาย แมลงทีส่ ำคัญในขณะน ี้ ได้แก ่ หนอนเจาะผลมะเขือ ซึ่งถ้าหากระบาดอย่างรุนแรงก็ทำให้ผลผลิตเกิด ความเสียหาย คุณภาพต่ำ ไมเ่ ปน็ ทีต่ ้องการของตลาด เกษตรกรต้องลงทุนเสยี ค่าใช้จ่ายเกีย่ วกับสาร ฆ่าแมลงทีน่ ำไปใช้พ่นปอ้ งกันกำจัดเปน็ มลู ค่าสูงในปีหนึง่ ๆ สว่ นการทีจ่ ะพิจารณาใช้สารฆ่าแมลงชนิด ใดหรือวิธีป้องกันอย่างไร ผใู้ ช้จำเป็นจะต้องทำการศึกษาทำความเข้าใจข้อมูลเบือ้ งต้นให้เข้าใจชัดเจน ใหด้ เี สียก่อนจงึ สามารถนำเอาวธิ ีการต่างๆ ไปปฏบิ ัต ิ เพอื่ ใหก้ ารปอ้ งกนั กำจดั แมลงศตั รูมะเขือได้ผลดี และมีประสิทธภิ าพ ชนดิ ของแมลงศตั รูมะเขือเปราะ มะเขอื ยาวและสว่ นของพืชทีถ่ กู ทำลาย ชือ่ สามญั ชนดิ แมลงศตั รพู ชื ส่วนของพชื ท่ีถกู ทำลาย ชอื่ วิทยาศาสตร์ 1. หนอนเจาะผลมะเขอื Leucinodes orbonalis Guenée เจาะยอดและผลมะเขือ (fruit boring caterpillar) 2. เพลีย้ จกั จนั่ ฝ้าย Amrasca biguttula biguttula (Ishida) ดูดกินน้ำเลีย้ งใบ (cotton leafhopper) 3. แมลงหวีข่ าวยาสบู Bemisia tabaci (Gennadius) ดดู กินนำ้ เล้ียงใบ (tobacco whitefly) 4. เพลีย้ ไฟฝ้าย Thrips palmi Karny ดูดกนิ น้ำเลีย้ งตาดอก ดอก (cotton thrips) ยอดออ่ น ใบ ขว้ั และผลมะเขอื หอมแดง หอมแบง่ และ หอมหวั ใหญ่ หอมแดง หอมแบง่ และหอมหัวใหญ ่ แต่เดิมพืน้ ทีป่ ลกู หอมแหลง่ ใหญ่และปลกู เปน็ การค้า อยู่ท่ีจงั หวดั ราชบรุ ี แตเ่ น่ืองจากขณะน้นั มปี ญั หาดา้ นการระบาดของแมลงศตั ร ู ซ่งึ ไดแ้ ก ่ หนอนกระทู้หอม เกษตรกรผปู้ ลกู มีปญั หาด้านการป้องกันกำจัด ทำให้มีการพ่นสารฆ่าแมลงเกือบทุกชนิด แต่ยังพบ การลงทำลายและไม่สามารถเกบ็ ผลผลติ ได้ จงึ มีการขยายแหล่งปลกู ไปยังแหล่งใหม่ซ่ึงเปน็ แหลง่ ใหญ่ ในปัจจุบัน คอื จงั หวดั ศรสี ะเกษ และอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ในการป้องกันกำจดั ศตั รูหอมใน ปจั จุบนั มุ่งเน้นการลดการใช้สารเคมีและหาทางเลอื กอืน่ ทดแทนการใชส้ ารเคมี แมลงศตั รูผกั เห็ดและไมด้ อก 8

ชนดิ ของแมลงศตั รหู อมแดง หอมแบง่ หอมหวั ใหญ่และสว่ นของพืชที่ถกู ทำลาย ชนิดแมลงศัตรูพชื สว่ นของพชื ท่ีถกู ทำลาย ชอื่ สามัญ ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ 1. หนอนกระทหู้ อม Spodoptera exigua (Hübner) กดั กนิ หลอดหอม หวั (beet armyworm) 2. หนอนแมลงวันชอนใบหอม Liriomyza chinensis (Kato) ชอนใบ กดั กนิ ใบ (onion leaf miner flies) 3. เพลีย้ ไฟหอม Thrips tabaci Lindeman ดูดกนิ นำ้ เลีย้ งใบ หวั (onion thrips) 4. หนอนกระทผู้ กั Spodoptera litura (Fabricius) กดั กินหลอดหอม หวั (common cutworm) หน่อไม้ฝร่ัง หน่อไม้ฝรั่ง เปน็ พืชผกั ส่งออกทีม่ ตี ลาดรองรับแน่นอน ราคาประกันคงทีแ่ ละทสี่ ำคัญคือ ไดผ้ ลตอบแทนตอ่ ไรส่ ูง และทำรายไดเ้ ขา้ ประเทศสูงมากพชื หน่ึง หนอ่ ไมฝ้ รง่ั เป็นพชื ท่ีปลูกมานานแลว้ ในประเทศไทย ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศและอยูใ่ นแผนเร่งรัดเพือ่ บริโภคสดและ ส่งเสริมเป็นสนิ ค้าออก เปน็ พืชทีจ่ ัดอยูใ่ นแผนหลักของกรมวิชาการเกษตร แต่เดิมพื้นทปี่ ลูกหนอ่ ไม้ ฝร่ังมีน้อยมาก ในปี 2530 มเี พยี ง 3,000 ไร่ ปลกู เพียง 7-8 จงั หวัด แต่ในปัจจุบนั มีการขยายพนื้ ที่ ปลูกนบั หมนื่ ไร่ และเพิม่ ขึน้ อกี หลายจังหวัด ความต้องการหน่อไม้ฝรั่งมเี พิม่ มากขึ้นทัง้ ตลาดใน ประเทศและต่างประเทศ สำหรับในประเทศนัน้ หนอ่ ไมฝ้ รัง่ ทนี่ ำมาบริโภคกันทวั่ ไปส่วนหนงึ่ มาจาก หน่อไมฝ้ ร่งั ท่ีไม่ได้มาตรฐาน ส่วนผลผลติ ท่ีไดม้ าตรฐานจะทำการส่งออกไปยงั ต่างประเทศ จากขอ้ มลู ของสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวชิ าการเกษตร ระบวุ ่า ตลาดสง่ ออกของหน่อไม้ฝรัง่ ใน ปจั จุบนั มีมากกว่า 20 ประเทศ และทีเ่ ป็นตลาดสำคัญรายใหญค่ ือ ญี่ปุ่น การผลิตหนอ่ ไมฝ้ รัง่ ใน ประเทศไทยมีท้งั หน่อขาวและหนอ่ เขยี ว คอื หน่อขาวผลติ เพอ่ื แปรรปู ทางอุตสาหกรรมบรรจกุ ระปอ๋ ง ส่วนหนอ่ เขียวผลติ เพือ่ บริโภคสด เพือ่ ให้ได้ตรงตามมาตรฐานการสง่ ออกโดยมขี ้อกำหนดดังน ี้ ลักษณะของหนอ่ ต้องตรงไม่คดงอ ไม่แคระแกร็น ความยาวของหนอ่ 25 ซม. มสี ว่ นเขียวมากกว่า 18 ซม. ต้องปราศจากโรคและแมลง ซึง่ จากข้อกำหนดดงั กล่าวจึงนำมาจัดเป็นเกรด เอ ซึง่ มีเสน้ ผ่าน ศนู ยก์ ลางขนาด 1 ซม. ขน้ึ ไป สว่ นเกรด บ ี มขี นาด 0.8-1.0 ซม. ปญั หาสำคัญทสี่ ุดอันเป็นอปุ สรรคต่อการปลูกหนอ่ ไม้ฝรั่ง ซึง่ ทำให้ผลผลิตไมไ่ ด้มาตรฐาน การส่งออกก็คือ แมลงศัตร ู ซึ่งพบมมี ากมายหลายชนิด การผลิตหน่อไม้ฝรัง่ ในประเทศไทยนนั้ แมลงศตั รผู กั เห็ดและไม้ดอก 9

เกษตรกรต้องทำการพ่นสารฆ่าแมลงเปน็ ประจำเพื่อปอ้ งกันกำจัดแมลงศัตรูพืช พบเกษตรกรใช้สาร ฆ่าแมลงต่างๆ กันถึง 8 กลมุ่ สาร โดยมชี ่วงพ่น 7-10 วัน แมลงศัตรูสำคัญทีเ่ ป็นปัญหาควรแก้ไขใน ขณะน ี้ ได้แก ่ หนอนกระทหู้ อม หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกระทูผ้ ัก และเพลีย้ ไฟหอม แมลงศัตรู ดังกล่าวข้างต้นนใี้ นปัจจุบันได้มีการค้นคว้าหาวิธีการป้องกันกำจัด และพัฒนาไปถึงขัน้ การป้องกัน กำจัดแบบผสมผสาน พบว่าวธิ ีดงั กล่าวสามารถลดการใช้สารลงได้ 40% และได้มีการถ่ายทอดวิธีการ และเทคโนโลยีไปยังเกษตรกรผูป้ ลูก รวมทัง้ เจ้าหน้าทีแ่ ละผเู้ กี่ยวข้อง ซึ่งวิธีการดังกล่าวสามารถ ยดึ ถือเป็นหลักในการปฏบิ ัติเพ่ือความสำเร็จในการปลูกหน่อไมฝ้ รั่งในอนาคตต่อไป ชนดิ ของแมลงศตั รูหนอ่ ไม้ฝร่ังและส่วนของพชื ทถ่ี ูกทำลาย ชนิดแมลงศตั รูพืช ส่วนของพชื ทถี่ ูกทำลาย ชือ่ สามัญ ชือ่ วิทยาศาสตร์ 1. หนอนกระทหู้ อม Spodoptera exigua (Hübner) กดั กินใบ หนอ่ กงิ่ กา้ น ตน้ (beet armyworm) 2. หนอนเจาะสมอฝ้าย Helicoverpa armigera (Hübner) กัดกินใบ ดอก หน่อ ลำต้น (cotton bollworm) กิง่ ก้าน เมลด็ 3. หนอนกระทูผ้ ัก Spodoptera litura (Fabricius) กัดกนิ ใบ หนอ่ ก่ิง ก้าน ต้น (common cutworm) 4. เพลย้ี ไฟหอม Thrips tabaci Lindeman ดดู กนิ นำ้ เลย้ี งใบ หน่อ ใบ (onion thrips) 5. หนอนกระท้ดู ำ Agrotis ipsilon (Hüfnagel) กัดกินหนอ่ (black cutworm) 6. บุง้ เหลอื ง Dasychira mendosa Hübner กัดกินใบ กงิ่ กา้ น (leaf eating caterpillar) 7. หนอนคืบ Hyposidra talaca (Walker) กัดกินใบ กิง่ กา้ น (leaf eating caterpillar) 8. บ้งุ ปกเหลือง Orgyia postica (Walker) กัดกินใบ ก่ิง กา้ น (leaf eating caterpillar) 9. บุ้งปกขาว Orgyia turbata (Butler) กัดกนิ ใบ กิ่ง กา้ น (leaf eating caterpillar) 10. แมลงคอ่ มทอง Hypomeces squamosus กัดกินใบ (green weevil) (Fabricius) 11. ด้วงงวง Astycus lateralis Fabricius กัดกินใบ (weevil) แมลงศัตรผู ัก เห็ดและไมด้ อก 10

กระเจย๊ี บเขยี ว กระเจี๊ยบเขียว เปน็ พืชผกั ทมี่ ีความสำคัญในด้านการส่งออก มกี ารปลกู กันอย่างจริงจัง ตอ่ เน่อื งกนั มานานประมาณ 10 ป ี มีแหลง่ ผลติ ท่ีสำคญั อย่ใู นภาคกลางและภาคตะวนั ตก ตลาดท่สี ำคญั ของกระเจ๊ยี บเขียวในขณะนคี้ อื ประเทศญีป่ นุ่ สำหรับเมลด็ พันธุ์ทีป่ ลูกเพื่อการสง่ ออกนัน้ ยังต้องใช้พันธุจ์ ากต่างประเทศ โดยมีการนำเข้า มาจากประเทศญีป่ ุน่ ซึ่งลักษณะประจำพันธุ์คือ ฝกั ต้องเป็นรูปห้าเหลยี่ ม สเี ขียว ฝกั ตรงไม่โค้งงอ ไมม่ รี อยตำหนิและปราศจากการทำลายของโรคและแมลง ขนาดความยาวฝกั ตอ้ งอย่รู ะหวา่ ง 7-11 ซม. และเส้นผ่านศูนย์กลางต้องไม่เกิน 1.5 ซม. การปลกู กระเจี๊ยบเขียวเพือ่ การส่งออกนัน้ มตี ลาดรองรับ แนน่ อน ราคาประกันคงท ี่ และทีส่ ำคัญได้ผลตอบแทนต่อไร่สูง และจัดเปน็ พืชผกั สง่ ออกทที่ ำรายได้ สงู พืชหนง่ึ ปัญหาสำคัญทสี่ ุดปญั หาหนงึ่ ทเี่ ป็นอุปสรรคต่อการปลกู กระเจี๊ยบเขียวทที่ ำให้ผลผลิตไมไ่ ด้ มาตรฐานส่งออกคือ แมลงศัตร ู ซึ่งพบมีมากมายหลายชนดิ เกษตรกรทำการพ่นสารฆ่าแมลงเปน็ ประจำเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชดังกลา่ ว ในการพ่นแต่ละครัง้ จะผสมสารฆ่าแมลงหลายชนดิ มักพบ สารฆ่าแมลง 3 ชนดิ ผสมกนั มากทส่ี ดุ แมลงศตั รูสำคญั ได้แก ่ หนอนกระทู้หอม หนอนเจาะสมอฝ้าย เพลี้ยไฟฝ้าย และเพลีย้ จกั จัน่ ฝ้าย ปจั จบุ นั ไดม้ กี ารค้นคว้าหาวธิ ีการป้องกนั กำจัดและพฒั นาไปถงึ ขัน้ การป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน พบวา่ วิธกี ารดงั กลา่ วสามารถลดการใชส้ ารเคมลี งได ้ 40% สามารถ ยดึ ถอื เป็นแนวทางในการปฏบิ ัตเิ พอื่ ความสำเร็จในการปลูกกระเจ๊ียบเขียวในอนาคตตอ่ ไป ชนดิ ของแมลงศตั รกู ระเจยี๊ บเขยี วและส่วนของพชื ทถี่ ูกทำลาย ชนดิ แมลงศัตรูพืช สว่ นของพืชทถ่ี กู ทำลาย ช่ือสามัญ ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ 1. หนอนกระทู้หอม Spodoptera exigua (Hübner) กัดกนิ ใบ ดอก ฝกั (beet armyworm) Helicoverpa armigera (Hübner) กัดกนิ ใบ ดอก ฝกั 2. หนอนเจาะสมอฝ้าย Spodoptera litura (Hübner) กัดกนิ ใบ ดอก ฝัก (cotton bollworm) Bemisia tabaci (Gennadius) ดูดกนิ น้ำเล้ยี งใบ 3. หนอนกระทูผ้ กั Amrasca biguttula biguttula ดดู กินนำ้ เลี้ยงใบ (common cutworm) (Ishida) 4. แมลงหวี่ขาวยาสบู (tobacco whitefly) 5. เพลย้ี จกั จัน่ ฝา้ ย (cotton leafhopper) แมลงศตั รูผกั เห็ดและไมด้ อก 11

ชนดิ แมลงศัตรูพืช ส่วนของพชื ท่ถี กู ทำลาย ดูดกนิ นำ้ เลยี้ งใบ ยอด ฝกั ชือ่ สามัญ ช่ือวทิ ยาศาสตร์ ดูดกินนำ้ เล้ยี งใบ ยอด ฝัก เจาะดอก ฝกั 6. เพลี้ยแปง้ Phenacoccus spp. ดูดกนิ นำ้ เล้ียงฝกั ใบ ยอด (mealybug) Thrips palmi Karny กัดกนิ ใบ 7. เพลี้ยไฟฝา้ ย Earias fabia Stoll กัดกนิ ใบ (cotton thrips) Aphis gossypii Glover ชอนใบกัดกินใตผ้ วิ ใบ 8. หนอนหนามเจาะสมอฝา้ ย Archips micaceana (Walker) ดดู กินน้ำเลยี้ งใบ (spiny bollworm) Syllepte derogate (Fabricius) 9. เพลี้ยออ่ นฝ้าย Agromyza sp. (cotton aphid) Tetranychus macfarlanei 10. หนอนมว้ นใบ Baker & Pritchard (leaf roller) 11. แมลงวนั หนอนมว้ นใบ (leaf roller) 12. หนอนแมลงวันชอนใบ (leaf miner flies) 13. ไรแดง (red mite) มนั เทศ มันเทศ (Sweet potato, Ipomoea batatas Lamk.) เปน็ พชื ท่ีปลกู งา่ ยและข้นึ ไดใ้ นดนิ ทกุ ชนิด ในประเทศไทยพบปลูกท่วั ทกุ ภาคและตลอดปี พนั ธม์ุ ันเทศท่นี ิยมปลูกมอี ายุระหวา่ ง 3-6 เดอื น ทัง้ นขี้ ึน้ อยกู่ ับแหลง่ ปลูกและฤดูกาล เช่น ในแหล่งทีป่ ลูกมันเทศโดยอาศัยนำ้ ฝนจะมกี ารปลกู ปีละครัง้ หลงั นา พันธุม์ นั เทศทีน่ ิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์อายสุ นั้ 3 เดือน ส่วนในแหลง่ ทมี่ ีการ ชลประทานและปลกู เป็นการคา้ พนั ธม์ุ ันเทศที่นยิ มปลูกจะมอี ายุเก็บเก่ยี วนานถึง 4-6 เดือน โดยอาจ ปลกู 2 ฤดู หรอื ปลูกตอ่ เนือ่ งกันตลอดปี แมลงศัตรูมันเทศมมี ากถึง 10 ชนดิ แต่ทีเ่ ป็นแมลงศัตรูทสี่ ำคัญ ได้แก่ ด้วงงวงมันเทศ หนอนเจาะเถามันเทศ หนอนชอนใบมันเทศ หนอนกระทูห้ อม แต่ทีส่ ำคัญทีส่ ดุ ก็คือ ด้วงงวงมันเทศ แมลงศัตรูชนิดนีพ้ บระบาดทำความเสยี หายมากทสี่ ดุ ในแหลง่ ปลูกมันเทศทวั่ ไป โดยเฉพาะอยา่ งยิง่ แหลง่ ปลกู เพือ่ เปน็ การคา้ ซ่ึงมกั พบปลกู มนั เทศตอ่ เนือ่ งกันตลอดป ี จะมปี ญั หาดว้ งงวงมันเทศระบาด มาก แมลงศตั รผู ัก เหด็ และไม้ดอก 12

ชนิดของศตั รูมันเทศและส่วนของพชื ท่ถี กู ทำลาย ชนิดแมลงศัตรพู ชื สว่ นของพืชท่ถี ูกทำลาย ชือ่ สามัญ ชอ่ื วิทยาศาสตร์ 1. ดว้ งงวงมันเทศ Cylas formicarius (Fabricius) กดั กินเถา ลำตน้ หัว (sweet potato weevil) 2. หนอนเจาะเถามันเทศ Omphisa anastomosalis (Guenée) เจาะเถา ลำตน้ (sweet potato stem borer) 3. หนอนชอนใบมันเทศ Bedellia somnulentella (Zeller) กัดกนิ ใต้ผิวใบ (leaf mining caterpillar) 4. หนอนกระทหู้ อม Spodoptera exigua (Hübner) กดั กนิ ใบ (beet armyworm) 5. หนอนผเี สอ้ื เหยย่ี ว Agrius convolvuli (Linnaeus) กดั กนิ ใบ (hawk moth) 6. หนอนกระท้ผู กั Spodoptera litura (Fabricius) กัดกนิ ใบ (common cutworm) 7. แมลงหว่ขี าวยาสูบ Bemisia tabaci (Gennadius) ดูดกินนำ้ เลี้ยงใบ (tobacco whitefly) 8. เพล้ียไฟ Taeniothrips sp. ดูดนำ้ เลีย้ งใบ (thrips) 9. ดว้ งเต่า Metriona circuemdata Hbst. กัดกินใบ (leaf eating beetle) 10. ไรแดง Tetranychus hydrangeae ดดู กนิ น้ำเลย้ี งใบ (red mite) Pritchard & Baker มนั ฝร่ัง มันฝร่ัง (Irish potato, Solanum tuberosum Linnaeus) เปน็ พืชทมี่ ีความสำคัญทาง เศรษฐกิจพืชหนึง่ มีถิ่นกำเนิดทางแถบทีร่ าบสูงของเทือกเขาแอนดิสในอเมริกาใต ้ ปลกู กันมานาน แลว้ แถบท่มี ีพืน้ ทปี่ ลกู มาก ไดแ้ ก่ ยุโรปตะวันตก เอเชยี อเมรกิ าเหนือ อเมรกิ าใต ้ และประเทศแถบ อฟั ริกา สำหรับในประเทศไทยการปลกู มนั ฝรง่ั จดั เป็นพชื เศรษฐกิจท่สี ำคญั ในภาคเหนือ เนือ่ งจากทำ รายได้ให้แก่เกษตรกรสูง ซึ่งร้อยละ 90 ของผลผลิตทไี่ ด้ นำไปเป็นวัตถุดิบเพือ่ การผลิตมนั ฝรั่งทอด กรอบ (potato chips) จากการทมี่ กี ารขยายพ้ืนทปี่ ลูกและปลกู อยา่ งต่อเนอ่ื งในบางพ้นื ท่ี เช่น เขต อำเภอพบพระ จังหวดั ตาก อำเภอฝาง จงั หวดั เชยี งใหม ่ ทำให้มีแมลงศตั รทู ่สี ำคญั บางชนดิ ลงทำลาย แมลงศัตรผู กั เห็ดและไม้ดอก 13

เสมอๆ แต่ทีส่ ำคัญและก่อให้เกิดความเสยี หาย ได้แก่ หนอนผเี สอื้ เจาะหัวมนั ฝรั่ง หากเกษตรกรไม่ ทำการป้องกนั กำจัด หรือใช้วธิ ีปอ้ งกันกำจดั ไม่ถกู ตอ้ งและเหมาะสม จะทำให้หวั มนั ฝร่งั ทเ่ี กบ็ ไว้ได้รับ ความเสียหาย ชนิดของแมลงศตั รูมันฝร่งั และสว่ นของพืชท่ีถกู ทำลาย ชนดิ แมลงศัตรพู ชื สว่ นของพชื ทถี่ ูกทำลาย ชื่อสามัญ ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ 1. หนอนผเี สอ้ื เจาะหวั มนั ฝร่ัง Phthorimaea operculella (Zeller) กดั กินใบ หัว (potato tuber moth) 2. เพลย้ี ไฟฝา้ ย, เพล้ยี ไฟพรกิ Thrips palmi Karny ดดู กนิ นำ้ เล้ยี งใบ ดอก (cotton thrips, chili thrips) Scirtothrips dorsalis Hood กัดกินใบ ดอก 3. หนอนกระทู้หอม Spodoptera exigua (Hübner) (beet armyworm) 4. หนอนกระทผู้ ัก Spodoptera litura (Fabricius) กดั กินใบ ดอก หัว (common cutworm) 5. หนอนกระทดู้ ำ Agrotis ipsilon (Hüfnagel) กดั กนิ ตน้ หวั (black cutworm) 6. หนอนแมลงวันชอนใบกะหล่ำ Liriomyza brassicae (Riley) ชอนใบ กัดกินใตผ้ ิวใบ (cabbage leaf miner) 7. เพล้ยี ออ่ น Myzus persicae (Sulzer) ดูดกนิ นำ้ เล้ยี งใบ (aphid) Aphis gossypii Glover กัดกนิ ใบ ดอก 8. หนอนเจาะสมอฝา้ ย Helicoverpa armigera (Hübner) (cotton bollworm) แมลงศตั รูผกั เหด็ และไม้ดอก 14

แมลงศัตรูผกั ท่ีสำคญั บางชนิดและ การปอ้ งกนั กำจดั หนอนใยผกั (diamondback moth) ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ Plutella xylostella Linnaeus วงศ์ Yponomeutidae อนั ดบั Lepidoptera ความสำคญั และลักษณะการทำลาย หนอนใยผักเปน็ แมลงศัตรูสำคัญและก่อให้เกิดความเสียหายกับผกั ตระกูลกะหล่ำ ท่ัวประเทศไทย โดยเฉพาะในแหลง่ ปลกู ผักเพอ่ื การคา้ จะพบหนอนใยผักระบาดเป็นประจำและรวดเรว็ ทั้งน ้ี เนือ่ งจากหนอนใยผกั มีวงจรชีวิตสัน้ และมีการแพร่ขยายพันธุ์รวดเร็ว กลา่ วคือ ตัวเต็มวัยเพศ เมยี สามารถวางไข่ได้หลงั ออกจากดักแด ้ และผสมพันธุ์ภายใน 24 ชั่วโมง และวางไข่ได้ตลอดชีวิต นอกจากน ี้ ในแหล่งปลูกสว่ นใหญ่มีการปลกู ผักตระกูลกะหล่ำอยา่ งต่อเนือ่ งสมำ่ เสมอทำให้มพี ืช อาหารตลอด จึงเป็นอกี ปัจจัยหนึง่ ทีท่ ำให้พบการระบาดของหนอนใยผกั เสมอ ส่งผลให้เกษตรกรมี การพ่นสารฆ่าแมลงอย่างต่อเนือ่ ง จึงทำให้หนอนใยผักมีการพัฒนาสร้างความต้านทานต่อสารฆ่า แมลงได้รวดเร็วและมากชนดิ ยากแก่การปอ้ งกันกำจัด ดังนนั้ จึงต้องมแี นวทางการป้องกันกำจัด หลากหลายวธิ ีผสมผสานกนั จึงจะสามารถลดการระบาดของหนอนใยผักลงได ้ รูปร่างลักษณะและชวี ประวตั ิ ระยะเวลาการเจริญเติบโตของหนอนใยผกั ขึ้นอยกู่ ับอณุ หภูมิในเขตทสี่ ภาพภูมิอากาศ อบอนุ่ วงจรชีวิตจะสัน้ กว่าเขตทีม่ ีอากาศเยน็ กว่า ตัวอยา่ งเช่น เขตเกษตรทรี่ าบสูงอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ ์ ในช่วงฤดูร้อนเดือนเมษายน-พฤษภาคม วงจรชีวิตหนอนใยผักเฉลีย่ 17-18 วัน และในชว่ งฤดูหนาวเดอื นพฤศจิกายน-ธันวาคม วงจรชีวิตหนอนใยผกั เฉล่ยี 28-29 วนั หรือโดยเฉลย่ี ม ี 17 ชว่ั อายขุ ัยตอ่ ปี ส่วนในเขตเกษตรทีร่ าบอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม วงจรชวี ติ หนอนใย ผกั เฉลยี่ 14-18 วัน หรือโดยเฉลีย่ ม ี 25 ชัว่ อายขุ ัยต่อป ี ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นฟองเดีย่ วๆ หรือกลุม่ เล็กๆ ทงั้ บนใบและใต้ใบพืช แต่จะพบใต้ใบพืชเป็นส่วนใหญ ่ โดยเฉลีย่ ตัวเต็มวัยเพศเมีย สามารถวางไขไ่ ดป้ ระมาณ 50-400 ฟอง ข้นึ อย่กู บั ความสมบูรณ์ของอาหารท่ีกนิ ในวยั หนอนระยะตา่ งๆ แมลงศัตรผู กั เห็ดและไมด้ อก 15

ไขม่ ีขนาด 0.8 มม. สเี หลอื งออ่ น คอ่ นขา้ งกลมแบน ระยะไข ่ 2-4 วนั และจะเปลย่ี นเป็นสีดำเมอ่ื ใกล้ จะฟกั เป็นตวั หนอน หนอนเมอ่ื ฟักจากไข่ใหมๆ่ จะมขี นาดเล็กประมาณ 1.5 มม. มลี กั ษณะเรยี วยาว หัวแหลมทา้ ยแหลม สว่ นทา้ ยมปี ุม่ ยืน่ ออกเป็น 2 แฉก และมสี ีเขียวอ่อนหรือเทาออ่ น หรือเขียวปน เหลือง เมือ่ ถูกตัวจะดิ้นอยา่ งแรงและสร้างใยพาตัวขึน้ ลงระหว่างพืน้ ดินกับใบพืชได ้ หนอนจะกัดกิน ผิวใบทำให้ผกั เปน็ รูพรุนคล้ายร่างแห ระยะหนอนมกี ารเจริญเติบโต 4 ระยะ ใช้เวลาเฉลยี่ 7-10 วัน และระยะสดุ ท้ายมขี นาดประมาณ 0.8-1.0 ซม. ก็จะเข้าดักแด้บริเวณใบพืชโดยมใี ยบางๆ ปกคลุมติดใบพืช และมขี นาดประมาณ 1 ซม. ดักแด้ระยะแรกจะมีสีเขียว แลว้ เปลยี่ นเป็นสเี หลือง ปนน้ำตาลเม่อื ใกล้ฟักออกเป็นตัวเต็มวัย เฉล่ยี อายรุ ะยะดกั แด้ 3-4 วัน ตวั เต็มวัยเมอื่ ออกจากดักแด้ จะอาศัยอยูต่ ามบริเวณตน้ ผัก ใตใ้ บ ทัง้ น ้ี เพราะตวั เต็มวยั เปน็ ผีเสอ้ื กลางคนื ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 6-7 มม. ไม่ชอบบนิ ไปไกลพชื อาหาร มสี ีเทา สว่ นหลังมีแถบเหลอื งสม้ ลกั ษณะหลายเหลี่ยมเหมอื น เพชรทเี่ จียรนยั แล้ว หนวดเปน็ แบบเสน้ ด้าย แต่ละปล้องมสี ีดำสลบั ขาว ตัวเต็มวัยมีอายขุ ัยเฉลยี่ 5-7 วนั และจากการใช้กับดกั แสงไฟ พบว่าตัวเต็มวยั ท้ังเพศผแู้ ละเพศเมยี บินมาเล่นแสงไฟจากกับดัก มากท่สี ุด เวลา 18.00-20.00 น. และมีอัตราสว่ นเพศผู้ตอ่ เพศเมยี เท่ากบั 1 : 0.9 เชน่ เดยี วกับการใช ้ กับดักกาวเหนียวสีเหลอื ง พบว่าตัวเต็มวัยมชี ่วงเวลาทีบ่ ินมากทีส่ ดุ เวลา 18.00-21.00 น. และมี อตั ราสว่ นเพศผู้ตอ่ เพศเมยี เท่ากบั 1 : 0.79 พชื อาหาร พชื ผกั ตระกลู กะหล่ำ เชน่ ผกั คะน้า กะหลำ่ ปลี กะหล่ำดอก กะหลำ่ ดอกอิตาเลียน กะหล่ำปม ผกั กาดเขียวปลี ผักกาดขาวปลี ผักกาดเขยี วกวางต้งุ ผกั กาดหวั ผักกาดดอก ผักกาดฮ่องเต ้ เป็นต้น ศัตรธู รรมชาติ หนอนใยผักมีศัตรูธรรมชาติคอยควบคุมหลายชนดิ ได้แก่ แมลงเบยี นชนดิ ต่างๆ เช่น แตน เบยี นไข่ (Trichogramma confusum Viggiani และ Trichogrammatoidea bactrae Nagaraja) ซึ่งมีประสทิ ธิภาพในการควบคุมไข่หนอนใยผัก 16.2-45.2 เปอร์เซ็นต์ แตนเบยี นหนอน (Cotesia plutellae Kurdjumov และ Oomyzus sokolowskii Kurdjumov) มีประสิทธภิ าพใน การเข้าทำลายหนอนใยผกั 60-90 เปอร์เซ็นต ์ และแตนเบยี นดักแด ้ (Thyrarella collaris (Gravenhorst)) มีประสิทธิภาพทำลายดักแด ้ 23.28 เปอร์เซ็นต ์ การปอ้ งกันกำจัด 1. การใช้กบั ดักชนดิ ต่างๆ ไดแ้ ก่ - กับดักกาวเหนียวสีเหลอื งเป็นกับดักทรงกระบอก หรือกระป๋องน้ำมันเครอ่ื งทาด้วยกาว เหนยี ว ทกุ 7-10 วันครงั้ สามารถจับผีเสอ้ื หนอนใยผกั ไดเ้ ฉลยี่ 16 ตัวตอ่ วนั ต่อกบั ดกั โดยจบั ผีเสอื้ เพศเมยี ต่อเพศผ ู้ ได้ 0.79 : 1 และเมอื่ ติดตั้งกับดักกาวเหนียวสีเหลอื งจำนวน 80 กับดักต่อไร ่ สามารถลดการใช้สารฆ่าแมลงมากกวา่ 50 เปอรเ์ ซน็ ต์ แมลงศัตรูผกั เหด็ และไมด้ อก 16

- กับดกั แสงไฟ หลอดสนี ้ำเงนิ 20 วัตต์ เป็นหลอดเรอื งแสงที่เหมาะสมในการใชจ้ ับผีเสอ้ื หนอนใยผักมากทส่ี ุด มรี าคาถกู กว่าหลอด blacklight-blue 20 วัตต ์ และปลอดภยั ไม่มีอนั ตรายจาก แสงอุลตร้าไวโอเลต็ ในการติดตัง้ กับดักแสงไฟควรติดตั้งรอบนอกแปลงผกั และควรดำเนินการติดตัง้ พร้อมกนั ในพื้นที่ - กบั ดักสารเพศ กบั ดักเพศของ Takeda ซงึ่ มีสว่ นผสมของ cis-II-hexadecenal : cis- II-hexadecenyl acetate : cis-II-hexadecenol ในอัตรา 5 : 5 : 0.1 จำนวน 0.1 มก. มีประสิทธิภาพสูงสุดในการดักจับผเี สอื้ หนอนใยผกั เพศผ ู้ และพบว่าจำนวนหนอนใยผักบนต้นผัก มีความสมั พันธก์ ับผเี สอื้ ท่ีจับได้ในกับดักสารเพศ ซง่ึ ปัจจุบนั สารเพศลอ่ ชนดิ นีค้ อ่ นข้างหายาก 2. การใช้โรงเรือนตาข่ายไนลอ่ น หรือการปลกู ผักกางมุง้ โดยการปลกู ผกั ในโรงเรือนทีค่ ลุม ด้วยตาข่ายไนลอ่ นขนาด 16 mesh (256 ช่องต่อตารางนิว้ ) สามารถปอ้ งกันการเข้าทำลายของ หนอนใยผักและหนอนผีเสือ้ อืน่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งน้ ี โรงเรือนตาข่ายไนลอ่ นต้องปิดอย่าง มดิ ชิดตลอดเวลาเพ่ือป้องกันผีเสอ้ื เพศเมยี เล็ดลอดเข้าไปวางไข ่ 3. การใชศ้ ตั รูธรรมชาติ ไดแ้ ก่ - การใชแ้ ตนเบียนไข่ จากการทดลองปล่อยแตนเบยี นไข ่ อตั รา 60,000 ตวั /ไร ่ สามารถ ควบคมุ การระบาดของหนอนใยผกั ให้อยตู่ ่ำกวา่ ระดับการทำลาย - การใชเ้ ชอ้ื แบคทเี รยี (บาซลิ ลัส ทูรงิ เยนซสิ ) ปกตใิ นธรรมชาตจิ ะพบเช้อื แบคทเี รยี ชนิดน้ ี ซึง่ มปี ระสิทธิภาพในการกำจัดหนอนใยผัก แต่เนอื่ งจากสภาพแวดลอ้ มเปน็ ปจั จัยสำคัญทมี่ ผี ลต่อ ปริมาณเชื้อแบคทเี รียทจี่ ะทำให้หนอนใยผักตาย ปัจจุบนั จึงมกี ารผลติ เชื้อแบคทเี รียในรูปการค้าออก จำหน่ายทีส่ ำคัญม ี 2 สายพันธ ุ์ คือ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai และ Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki 4. การใช้วิธีทางเขตกรรม สามารถช่วยลดการระบาดของหนอนใยผักได ้ เช่น การไถพรวน ดินตากแดด หรือการทำลายซากพืชอาหาร หรือการปลูกพืชหมุนเวียน ทั้งน้ี เพื่อขัดขวางการขยาย พนั ธอ์ุ ย่างตอ่ เนอื่ งของหนอนใยผกั 5. การใช้ระดับเศรษฐกิจและการสุม่ ตัวอยา่ ง ในการพิจารณาพ่นสารฆ่าแมลงป้องกันกำจัด หนอนใยผกั ควรสำรวจตรวจนบั จำนวนหนอนใยผกั กอ่ นตดั สนิ ใจ โดยทำการสำรวจแบบซีเควนเชยี ล ซึ่งเป็นวิธีการทีร่ วดเร็ว สะดวก และมีความแมน่ ยำสงู ผลการใช้ตารางสำรวจสามารถลดการใช้สาร ฆา่ แมลงไดม้ ากกวา่ 50 เปอรเ์ ซ็นต ์ แมลงศัตรผู กั เห็ดและไม้ดอก 17

ตารางสำรวจปรมิ าณหนอนใยผกั แบบซเี ควนเชยี ลในกะหลำ่ ปลตี ่อพืน้ ท่ี 1 ไร่ เพ่อื ประกอบการตัดสินใจในการพน่ สารฆ่าแมลง ระยะก่อนเขา้ ปลี จำนวนหนอนใยผัก จำนวนต้นทีต่ รวจนับ ระดับตำ่ ระดบั สูง 1-10 10 27 1-15 20 41 1-20 31 55 1-25 42 70 1-30 54 84 1-5 2 25 1-10 20 53 1-15 42 82 1-20 64 111 จำนวนต้นทีต่ รวจนบั ระยะเข้าปลี จำนวนหนอนใยผัก ระดับตำ่ ระดับสงู 1-5 2 25 1-10 20 53 1-15 42 82 1-20 64 111 หมายเหตุ 1. เม่ือพบจำนวนหนอนใยผักตำ่ กวา่ จำนวนในระดับตำ่ ของแตล่ ะช่วงจำนวนต้นท่ีตรวจนบั ไมต่ ้องพน่ สารฆา่ แมลง 2. หากพบจำนวนหนอนใยผักสงู กวา่ จำนวนในระดับสูงของแต่ละชว่ งจำนวนต้นทีต่ รวจนบั ใหพ้ น่ สารฆ่าแมลง 3. หากพบจำนวนหนอนใยผกั อยู่ระหว่างระดบั ตำ่ ให้เพม่ิ จำนวนต้นทีต่ รวจนับเพื่อเพ่ิมความถูกต้องในการตดั สินใจย่งิ ข้ึน 4. หากพบจำนวนหนอนคืบกะหล่ำ ใหค้ ดิ เป็นจำนวนหนอนใยผกั ดงั น้ ี หนอนคบื กะหล่ำ 1 ตวั = หนอนใยผัก 20 ตวั ทมี่ า : ปยิ รัตน ์ และคณะ (2544) 6. การใช้สารฆ่าแมลง เนือ่ งจากหนอนใยผักเป็นแมลงทสี่ ามารถสร้างความต้านทานต่อสาร ฆา่ แมลงไดร้ วดเรว็ และหลายชนดิ โดยเฉพาะในแหลง่ ปลูกเพ่อื การคา้ เชน่ บางแค ไทรน้อย บางบัวทอง เปน็ ต้น การพิจารณาเลอื กใช้สารฆ่าแมลงทมี่ ีประสทิ ธิภาพก็เป็นแนวทางหนึง่ ทีส่ ามารถป้องกันกำจัด หนอนใยผักไมใ่ ห้เข้าทำลายผลผลติ กะหล่ำปลใี ห้เกิดความเสยี หายได ้ สารฆ่าแมลงทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ในการปอ้ งกนั กำจัดหนอนใยผกั ดงั แสดงในตารางท ่ี 1 แมลงศตั รูผกั เห็ดและไม้ดอก 18

ตารางท่ี 1 การใชส้ ารฆ่าแมลงใหม้ ปี ระสิทธภิ าพป้องกนั กำจัดหนอนใยผัก สารกำจดั แมลง กล่มุ สารตามกลไก % สารออกฤทธ์ิ อตั ราการใช้ หมายเหตุ การออกฤทธิ์ และสูตรทใ่ี ช้ 40-60 มล./นำ้ 20 ลติ ร ควรใชส้ ลบั กลุ่มสารและใชไ้ มเ่ กนิ สไปนโี ทแรม 5 12% SC 2-3 คร้ังต่อฤดู และใชส้ ลบั กับ (spinetoram) 13 การใช้เช้อื แบคทเี รยี เม่ือการระบาดลดลง คลอรฟ์ นิ าเพอร์ 22 10% SC 40-60 มล./น้ำ 20 ลิตร เพ่ือหลีกเลีย่ งการสร้างความตา้ นทาน (chlorfenapyr) อินดอ๊ กซาคาร์บ 15% SC 40-60 มล./น้ำ 20 ลติ ร ไมค่ วรใช้ในแหล่งปลกู ผกั (indoxacarb) ภาคกลาง โทลเฟนไพแรด็ 21 16% EC 40-60 มล./น้ำ 20 ลิตร ในช่วงทมี่ ีการระบาดมาก (tolfenpyrad) พจิ ารณาการใช้อตั ราสงู และ ฟิโปรนลิ 2 5% SC 60-80 มล./น้ำ 20 ลติ ร ชว่ งเวลาพน่ ถ่ขี น้ึ หรอื พน่ สลับ (fipronil) 11 สารฆ่าแมลง บาซิลลัส ทรู งิ เยนซสิ WDG 60-80 ก./นำ้ 20 ลติ ร Bacillus thuringiensis subsp. (เซนทารี) 100-200 มล./นำ้ 20 ลติ ร aizawai 60-80 ก./น้ำ 20 ลิตร FC 100-200 มล./น้ำ 20 ลติ ร Bacillus thuringiensis subsp. (ฟลอรแ์ บค เอฟซี) kurstakii WG แมลงศตั รผู กั เห็ดและไมด้ อก (เดลฟนิ ) 19 FC (แบคโทสปนิ เอฟซี) ท่มี า : สมศักด ์ิ และคณะ (2554 และ 2555)

หนอนกระทหู้ อม (beet armyworm) ชื่อวิทยาศาสตร์ Spodoptera exigua (Hübner) วงศ์ Noctuidae อันดบั Lepidoptera ความสำคญั และลกั ษณะการทำลาย หนอนกระทูห้ อมเป็นแมลงศัตรูทสี่ ำคัญอกี ชนิดหนงึ่ ก่อให้เกิดความเสยี หายกับผกั ตระกูล กะหล่ำทกุ ชนิดทวั่ ประเทศไทย โดยเฉพาะตามแหล่งปลกู การค้า กอ่ ให้เกดิ ความเสยี หายตอ่ ผูป้ ลูกผกั อยา่ งมาก ทั้งน ้ี เกษตรกรไม่สามารถปอ้ งกันกำจัดหนอนชนิดนีไ้ ด ้ เนือ่ งจากหนอนสร้างความ ต้านทานต่อสารฆ่าแมลงหลายชนดิ และมีพฤติกรรมชอบหลบซ่อนตัว การระบาดจะรุนแรงมากใน ช่วงฤดูรอ้ น โดยหนอนเม่ือฟักออกจากไขจ่ ะกัดกนิ ผวิ ใบบรเิ วณสว่ นตา่ งๆ ของพชื เป็นกล่มุ และความ เสียหายรนุ แรงในระยะหนอนวยั 3 ซ่งึ จะแยกย้ายกดั กินทกุ สว่ นของพืช หากปริมาณหนอนมากความ เสยี หายจะรุนแรง ผลผลติ จะเสยี หายและคุณภาพไมเ่ ปน็ ทต่ี ้องการของตลาด รปู ร่างลักษณะและชีวประวตั ิ ตัวเต็มวยั เพศเมียจะวางไขใ่ นตอนหัวค่ำ (ชว่ งเวลา 18.00-20.00 น.) ใตใ้ บพืชเปน็ กล่มุ เลก็ ๆ มีจำนวนไข่ 20-80 ฟองขึ้นไป แต่โดยเฉลีย่ อยูใ่ นระหว่าง 20 กว่าฟอง กลมุ่ ไข่ปกคลมุ ด้วยขนสขี าว ระยะไข่ประมาณ 2-3 วัน หากอุณหภูมคิ วามชืน้ สงู ไข่จะฟักตัวเร็วขึน้ ตัวเต็มวัยเพศเมีย 1 ตัว สามารถวางไข่ได้มากกว่า 200 ฟอง ไข่เมื่อฟกั เป็นหนอนระยะแรกจะอยู่รวมกนั เป็นกลมุ่ แทะกนิ ผิว ใบดา้ นล่าง และจะอยู่รวมกันจนกระทง่ั ระยะหนอนวัย 3 เป็นระยะทเี่ ร่มิ มกี ารเปลีย่ นแปลงทางสีสนั เชน่ สเี ขยี วอ่อน เทา เทาปนดำ นำ้ ตาลออ่ น และนำ้ ตาลดำ เปน็ ตน้ หากสังเกตดา้ นขา้ งจะมแี ถบสีขาว ข้างละแถบพาดยาวจากส่วนอกถงึ ปลายสดุ ของลำตัว หนอนวยั 3 เป็นระยะทีแ่ ยกกนั อยู่เพราะตัวโต ขึ้น ระยะหนอนมีการเจริญเติบโต 6 ระยะ ใช้เวลาตลอดการเจรญิ เตบิ โต 14-17 วนั และหนอนระยะ สุดทา้ ยมขี นาด 2.5 ซม. ก็จะเริม่ หาทางเข้าใต้ผิวดินหรือบริเวณโคนต้นพืชเพือ่ เข้าดักแด ้ ดักแด้ม ี สีน้ำตาลเข้มยาวประมาณ 1.5 ซม. ระยะดักแด ้ 5-7 วัน ก็จะเป็นตัวเต็มวัย อาศัยอยตู่ ามใต้ใบผกั ท้ังน้ตี วั เตม็ วยั เป็นผีเส้ือกลางคนื ขนาดกลางสีน้ำตาลแกป่ นเทา กางปกี กวา้ ง 2.0-2.5 ซม. ลกั ษณะเดน่ คือ มีจุดสีนำ้ ตาลออ่ น 2 จดุ ตรงกลางปีกคู่หนา้ ตวั เต็มวยั มีอายเุ ฉลี่ย 4-10 วนั วงจรชีวติ หนอนกระทู้ หอมเฉลยี่ 30-35 วัน หรอื โดยเฉลยี่ มี 10-12 ช่ัวอายขุ ยั ต่อปี พืชอาหาร ผกั ตระกูลกะหล่ำทกุ ชนิด เชน่ ผกั คะนา้ กะหลำ่ ปลี กะหล่ำดอก ผักกาดขาวปลี ผกั กาด เขียวปล ี ผกั กาดหัว เป็นต้น นอกจากน ี้ ยังทำลายพืชผกั ชนดิ อนื่ ๆ ไมผ้ ล พืชไร่ และไมด้ อก ได้แก่ แมลงศัตรผู กั เห็ดและไมด้ อก 20

หอมแดง หอมหวั ใหญ ่ หนอ่ ไม้ฝร่งั กระเจ๊ยี บเขยี ว พรกิ อง่นุ ขา้ วโพด ถ่วั เหลอื ง กหุ ลาบ ดาวเรือง และกล้วยไม้ เป็นต้น ศตั รธู รรมชาติ แมลงศัตรูธรรมชาติทีพ่ บเข้าทำลายหนอนกระทูห้ อมได้แก ่ แมลงเบียน เช่น แตนเบียน หนอน Microplitis manilae Ashmead แตนเบียนหนอน Charops sp. แตนเบียนหนอน Trathala sp. แตนเบยี นหนอน Chelonus sp. แตนเบียนหนอน Apanteles sp. และแมลงวัน Peribaea orbata (Wiedemann) แมลงห้ำ เช่น มวนพฆิ าต Eocanthecona furcellata (Woff) การปอ้ งกนั กำจดั 1. การใช้วิธีเขตกรรม เช่น การไถพรวนดินตากแดด เพือ่ ฆ่าดักแด้หนอนกระทูห้ อมทีอ่ ยูใ่ น ดิน การทำลายซากพืชอาหาร เพือ่ ลดแหล่งอาหารในการขยายพันธุอ์ ยา่ งต่อเนือ่ ง ทำให้ช่วยลดการ ระบาดของหนอนกระทู้หอมในการปลูกผกั ครง้ั ต่อไป 2. การใช้วิธีกล เช่น เก็บกลุม่ ไข่และหนอนทำลายจะช่วยลดการระบาดลงได้อยา่ งมี ประสทิ ธภิ าพ 3. การใช้โรงเรือนตาข่ายไนลอ่ น หรือการปลกู ผกั กางมงุ้ โดยการปลูกผกั ในโรงเรือนทคี่ ลมุ ด้วยตาข่ายไนล่อนขนาด 16 mesh สามารถป้องกันการเข้าทำลายของหนอนกระทหู้ อมได้อยา่ งมี ประสิทธิภาพ 100 เปอรเ์ ซ็นต์ 4. การใชส้ ารจุลินทรีย์ฆา่ แมลง (microbial insecticides) ได้แก ่ - การใช้เชือ้ แบคทีเรีย (บาซิลลสั ทรู ิงเยนซิส) ได้แก่ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai และ Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki (ตารางท ี่ 2) 5. การใช้สารฆ่าแมลงทีม่ ีประสทิ ธิภาพ ในการป้องกันกำจัดหนอนกระทหู้ อม ดังแสดงใน ตารางที่ 2 แมลงศัตรูผกั เห็ดและไม้ดอก 21

แมลงศตั รผู ัก เหด็ และไมด้ อก ตารางที่ 2 การใชส้ ารฆ่าแมลงใหม้ ีประสทิ ธิภาพปอ้ งกนั กำจดั หนอนกระทหู้ อมและหนอนกระทู้ผัก 22 สารกำจัดแมลง กลุม่ สารตามกลไก % สารออกฤทธ์แิ ละสตู รท่ใี ช้ อัตราการใช้ หมายเหตุ การออกฤทธ์ิ คลอรฟ์ นิ าเพอร์ 13 10% SC 30-40 มล./นำ้ 20 ลิตร ควรใชเ้ ม่ือหนอนมขี นาดเล็ก (chlorfenapyr) ถ้ามกี ารระบาดมากใหใ้ ชอ้ ัตราสงู อนิ ดอ๊ กซาคารบ์ 22 15% SC 15-30 มล./น้ำ 20 ลิตร และชว่ งเวลาพ่นถี่ขึ้น และควรใชส้ ลับ (indoxacarb) กลมุ่ สารและใชไ้ มเ่ กนิ 2-3 ครั้งตอ่ ฤด ู สไปนโี ทแรม เมอื่ การระบาดลดลงใหใ้ ชส้ ารจุลนิ ทรยี ์ (spinetoram) 5 12% SC 20-30 มล./น้ำ 20 ลิตร สลบั เพ่ือหลกี เล่ยี งการสร้างความต้านทาน อมิ าเม็กตินเบนโซเอต 6 1.92% EC 15-20 มล./น้ำ 20 ลิตร (emamectin benzoate) ลเู ฟนนูรอน 15 5% EC 20-30 มล./น้ำ 20 ลติ ร (lufennuron) คลอร์ฟลอู าซรู อน 5% EC 20-40 มล./นำ้ 20 ลิตร (chlorfluazuron) ฟลเู บนไดอะไมด์ 28 20% WDG 4-6 กรัม/น้ำ 20 ลิตร (flubendiamide) ไซแอนทรานิลโิ พรล 10% OD 40 มล./น้ำ 20 ลติ ร (cyantraniliprole) บาซิลลสั ทรู ิงเยนซิส 11 WDG 60-80 ก./นำ้ 20 ลติ ร ใช้ในระยะหนอนระบาดน้อยและมีขนาดเลก็ Bacillus thuringiensis subsp. (เซนทารี) ถ้าหากมีการระบาดมากใหใ้ ชส้ ารฆ่าแมลง aizawai FC 60-100 มล./นำ้ 20 ลิตร (ฟลอรแ์ บค เอฟซ)ี Bacillus thuringiensis subsp. WG 60-80 ก./นำ้ 20 ลติ ร kurstakii (เดลฟนิ ) 60-100 มล./นำ้ 20 ลติ ร FC (แบคโทสบิน เอฟซ)ี

หนอนกระทู้ผกั (common cutworm) ชอื่ วทิ ยาศาสตร์ Spodoptera litura (Fabricius) วงศ์ Noctuidae อนั ดับ Lepidoptera ความสำคญั และลักษณะการทำลาย หนอนกระทผู้ กั เปน็ แมลงทีส่ ำคัญอีกชนิดหนงึ่ ทพี่ บเข้าทำลายพืชผักตระกูลกะหล่ำ โดย หนอนระยะแรกเข้าทำลายเป็นกลมุ่ ในระยะต่อมาจะทำลายรุนแรงมากขึน้ เนือ่ งจากเปน็ หนอนทมี่ ี ขนาดใหญ ่ สามารถกัดกินใบ ก้าน หรือเข้าทำลายในหัวกะหล่ำ ทำความเสยี หายและยากแก่การ ปอ้ งกันกำจัด ซึง่ การเข้าทำลายมักเกิดเป็นหย่อมๆ ตามจุดทีต่ ัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ และมกั แพร่ ระบาดได้รวดเรว็ ตลอดทงั้ ปโี ดยเฉพาะในช่วงฤดฝู น รปู ร่างลกั ษณะและชีวประวตั ิ ตัวเต็มวัยเพศเมยี วางไข่เป็นกลมุ่ ใหญจ่ ำนวนนบั ร้อยฟอง ปกคลุมด้วยขนสนี ำ้ ตาลออ่ น หรือ สฟี างข้าวใตใ้ บพชื ระยะไข่ 3-4 วนั กจ็ ะฟกั เปน็ ตวั หนอน ระยะแรกจะอยรู่ วมกนั เปน็ กลุ่ม แทะกนิ ผิว ใบจนบางใส เมอื่ ลอกคราบได ้ 2 ครั้ง จะสงั เกตแถบสีดำทีป่ ล้องอกท ี่ 3 ได้ชัดเจน ลำตัวจะเปลีย่ น จากสีเขียวออ่ นเกิดลายเสน้ หรือจุดสดี ำ และผิวลำตัว มขี ีดดำพาดตามยาว หนอนจะเริม่ แยกย้าย ทำลายพืชกัดกินใบ ยอดอ่อน หรือเข้ากัดกินซอกกลีบใบในหัวกะหลำ่ ทีย่ ังเข้าไม่แนน่ ทำให้เสยี หาย ระยะหนอนมกี ารเจรญิ เติบโต 5 ระยะ ใชเ้ วลา 10-15 วัน หนอนระยะสดุ ทา้ ยเคลือ่ นไหวช้ามขี นาด 1.5 ซม. ระยะดักแด้ 7-10 วัน ก็จะฟักเปน็ ตัวเต็มวัย ซึง่ เป็นผีเสอื้ กลางคืนขนาดกลางสนี ำ้ ตาล กางปกี กวา้ ง 3-3.5 ซม. ปกี คูห่ น้ามเี ส้นสเี หลืองพาดหลายเส้น ตัวเตม็ วยั มอี ายเุ ฉลยี่ 5-10 วนั วงจร ชีวิตหนอนกระทผู้ กั เฉล่ีย 25-35 วัน หรือ 12-14 ช่วั อายขุ ัยต่อปี พชื อาหาร ผักตระกูลกะหล่ำทกุ ชนดิ เช่น ผักคะนา้ กะหลำ่ ปล ี กะหล่ำดอก ผักกาดขาวปล ี ผกั กาด เขียวปล ี ผักกาดหัว เป็นต้น นอกจากน ี้ ยังทำลายพืชผักชนดิ อนื่ ๆ ไมผ้ ล พืชไร ่ และไมด้ อก ได้แก ่ หอมแดง หอมหวั ใหญ่ หนอ่ ไม้ฝร่ัง กระเจีย๊ บเขยี ว พรกิ องนุ่ ข้าวโพด ถวั่ เหลือง กุหลาบ ดาวเรือง และกลว้ ยไม ้ เป็นต้น ศัตรธู รรมชาติ แมลงศัตรูธรรมชาติทีพ่ บเข้าทำลายหนอนกระทผู้ กั ได้แก่แมลงเบยี น เช่น แตนเบยี นหนอน Microplitis manilae Ashmead แมลงวนั Peribaea orbata (Wiedemann) และ แมลงหำ้ เช่น มวนพฆิ าต (Eocanthecona furcellata (Woff)) เป็นต้น แมลงศตั รผู กั เห็ดและไมด้ อก 23

การป้องกันกำจัด 1. การใชว้ ิธเี ขตกรรม เช่น การไถตากดนิ และการเก็บเศษซากพืชอาหาร เพ่ือฆ่าดกั แด้และ ลดแหล่งอาหารในการขยายพนั ธ์ุของหนอนกระทู้ผัก เป็นตน้ 2. การใช้วิธีกล โดยการเก็บกลุม่ ไข่และหนอนทำลาย จะช่วยลดการระบาดลงได้อย่างมี ประสทิ ธภิ าพ และปลอดภยั 3. การใชโ้ รงเรือนคลมุ ดว้ ยตาขา่ ยไนลอ่ น หรอื การปลูกผกั กางมงุ้ ซ่ึงมปี ระสทิ ธิภาพปอ้ งกนั การเขา้ ทำลายของหนอนกระทผู้ ักไดด้ ี 4. การใช้สารจุลินทรีย์ฆ่าแมลง (microbial insecticides) ได้แก่ การใช้เชือ้ แบคทีเรีย (บาซลิ ลสั ทูริงเยนซิส) (ตารางท่ี 2) 5. การใช้สารฆา่ แมลงที่มีประสิทธิภาพ (ตารางท่ี 2) หนอนเจาะยอดกะหลำ่ (cabbage webworm) ช่อื วทิ ยาศาสตร์ Hellula undalis (Fabricius) วงศ์ Pyralidae อันดบั Lepidoptera ความสำคญั และลกั ษณะการทำลาย หนอนเจาะยอดกะหล่ำพบระบาดทำความเสยี หายกับผักตระกูลกะหล่ำโดยเฉพาะกับ กะหล่ำปลี โดยหนอนเจาะเขา้ ไปกัดกินในส่วนยอดทก่ี ำลงั เจริญเตบิ โต ทำให้ยอดขาด ไม่เขา้ ปลี หรือ กัดกินเข้าไปในส่วนของก้าน และลำต้นเป็นทาง ตัวหนอนมกั สร้างใยคลมุ และมีขุยมูลทีถ่ ่ายออกมา บรเิ วณที่เจาะทำให้กะหล่ำปลแี ตกแขนง โดยทั่วไปมักพบการระบาดตลอดท้ังป ี แต่พบระบาดมากใน ฤดูแลง้ รูปร่างลกั ษณะและชีวประวัติ ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เล็กๆ สีขาวนวลตามยอดหรือยอดตา ไข่จะวางเดีย่ ว หรือเป็น กล่มุ เล็กๆ และตวั เตม็ วยั เพศเมยี วางไขไ่ ด ้ 14-255 ฟอง ระยะไข ่ 3-5 วนั ไขจ่ ะเป็นสชี มพแู ละฟกั ออก เป็นตัวหนอน เมือ่ โตขึน้ เจาะเข้าไปกัดกินภายในส่วนยอดโดยสร้างใยปกคลมุ ระยะหนอนมีการ เจริญเติบโต 5 ระยะ ใช้เวลา 15-23 วัน หนอนระยะสดุ ท้ายมขี นาดลำตัวยาวประมาณ 1.2 ซม. ลำตัวมีแถบสนี ้ำตาลแดงพาดตามยาว และจะเข้าดักแด้ซึ่งมีใยหุม้ ตามเศษพืชผิวดินหรือใต้ดิน ดักแด้ มขี นาด 0.6-0.8 ซม. ระยะดักแด้ 7-11 วัน ก็จะฟักเป็นตัวเต็มวัย เปน็ ผีเสอื้ กลางคืนขนาดเลก็ กางปกี กวา้ ง 1.7-1.9 ซม. ปีกคหู่ น้ามแี ถบสนี ้ำตาลปนเทาพาดตามขวางโคง้ ไปมา ตวั เตม็ วยั มีอายุเฉล่ยี 6-10 วนั วงจรชวี ิตหนอนเจาะยอดกะหล่ำเฉล่ยี 30-42 วัน หรือ 8-12 ช่ัวอายขุ ัยต่อป ี แมลงศัตรผู กั เหด็ และไม้ดอก 24

พชื อาหาร พืชผกั ตระกูลกะหลำ่ เช่น ผักคะน้า กะหล่ำปล ี กะหล่ำดอก ผกั กวางตุ้ง ผกั กาดขาวปล ี ผกั กาดเขียวปล ี ผักกาดหัว เป็นตน้ ศัตรูธรรมชาติ แมลงศัตรูธรรมชาติทพี่ บเข้าทำลายหนอนเจาะยอดกะหล่ำ เช่น แตนเบียนหนอน Apanteles sp. การป้องกันกำจัด 1. การใชว้ ธิ ีเขตกรรม เช่น การไถดินตากแดด หรอื เก็บซากพืชที่ผิวดินทำลาย เพือ่ ฆา่ ดกั แด้ หนอนเจาะยอดกะหล่ำ 2. การใชโ้ รงเรือนตาข่ายไนลอ่ น หรอื การปลกู ผักกางมงุ้ 3. การใช้สารฆ่าแมลงทมี่ ีประสทิ ธิภาพป้องกันกำจัด เช่น อมิ าเมก็ ตินเบนโซเอต 1.92% อีซี หรือ อนิ ด๊อกซาคาร์บ 15% อีซี หรือ แลมบ์ดาไซฮาโลทริน 2.5% ซีเอส อัตรา 30, 20 และ 40 มล./นำ้ 20 ลติ ร ตามลำดบั โดยพน่ เมือ่ พบไขห่ รือหนอนระยะแรกเริ่มเข้าทำลายทุก 4-7 วนั และ พน่ ติดต่อกนั 2-3 คร้งั หนอนเจาะสมอฝ้าย (cotton bollworm) ชื่อวทิ ยาศาสตร์ Helicoverpa armigera (Hübner) วงศ์ Noctuidae อนั ดับ Lepidoptera ความสำคัญและลกั ษณะการทำลาย หนอนชนิดนีเ้ ป็นทีร่ ูจ้ ักกันดีในหมูเ่ กษตรกรผปู้ ลูกฝ้าย โดยหนอนเจาะสมอฝ้ายเริม่ เข้า ระบาดทำความเสยี หายในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 และพบระบาดติดต่อกันทุกปี เกษตรกรมี ปัญหาในการปอ้ งกันกำจัดเนอื่ งจากหนอนเจาะสมอฝ้ายได้พัฒนาสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าแมลง ได้รวดเร็วและหลายชนดิ หนอนชนิดนที้ ำลายพืชผกั โดยการกัดกินส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ดอก ใบ เจาะกัดกินภายในลำต้น ฝกั และหนอ่ สำหรับในพืชผักบางชนิดทีผ่ ลติ เพื่อการสง่ ออก เช่น หน่อไม้ ฝรั่งและกระเจี๊ยบเขียว แม้ถูกทำลายเพียงเลก็ น้อยจะทำให้ผลผลิตเสยี คุณภาพในการส่งออก เพื่อ เปน็ การรกั ษาคุณภาพดังกลา่ ว เกษตรกรจงึ มีการพน่ สารฆา่ แมลงเปน็ ประจำและบ่อยครั้ง บางคร้ังไม่ ถูกวิธ ี ทำให้ผลผลิตนอกจากไม่เป็นทตี่ อ้ งการของตลาดแล้วยงั เพิ่มต้นทนุ การผลิตและบางครัง้ พบพิษ ตกค้างในผลผลิตอีกดว้ ย แมลงศัตรูผกั เหด็ และไม้ดอก 25

รปู ร่างลักษณะและชวี ประวัติ ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เปน็ ฟองเดีย่ วๆ ตามส่วนอ่อนของพืช เช่น ใบ ก้านใบ ไข่มีลกั ษณะ กลมคลา้ ยฝาชี ไข่ที่วางใหมๆ่ จะมีสขี าวนวลเปน็ มัน ระยะไข่ 2-3 วัน จึงฟักออกเปน็ ตวั หนอน หนอน มีด้วยกนั ทงั้ หมด 5 วยั โดยวัยแรกจะมีสขี าวนวล เมื่อเขา้ ส่วู ยั สอง สีของลำตัวเข้มข้ึนเปน็ ดำปนเขียว หนอนวัยท่ีสามลำตัวมีสนี ำ้ ตาลปนเขยี ว เม่อื เข้าสูว่ ัยทส่ี ่ี ลำตวั จะมสี เี ข้มขนึ้ เปน็ ดำปนเขยี ว หนอนวัย ท่ีหา้ ลำตวั จะเปล่ยี นเป็นสีส้มแก่ หนอนโตเตม็ ทีม่ ีขนาด 3.5 ซม. ระยะหนอนประมาณ 16-22 วนั ดักแด้มีสีน้ำตาลไหม ้ ขนาด 1.8 ซม. อายดุ ักแด้ประมาณ 10-12 วัน จึงออกเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งเป็น ผีเส้ือกลางคนื วดั เม่ือกางปีกยาว 3-4 ซม. ตวั เมยี ปีกค่หู น้าสนี ้ำตาลปนแดง สว่ นตวั ผ้สู ีน้ำตาลอมเขยี ว เลยกึ่งกลางปกี คูห่ นา้ ไปทางหน้าเลก็ นอ้ ยมจี ุดสีน้ำตาลเข้มขนาดโตกว่าหัวเข็มหมุดปีกละจุด ถัดจาก จุดนไี้ ปทางปลายปกี เลก็ นอ้ ยมแี ถบสนี ้ำตาลเขม้ พาดตามขวาง และมีจุดสดี ำเรยี งรายตามแถบน้ ี ปีกคู่ หลงั มแี ถบสนี ้ำตาลทปี่ ลายปกี พาดต่อกับปีกคู่หนา้ สขี องปกี คูห่ น้าเข้มกว่าปีกคูห่ ลงั อายตุ ัวเต็มวัย ประมาณ 7-18 วนั รวมวงจรชีวติ ประมาณ 29-38 วัน ศัตรูธรรมชาติท่สี ำคัญที่พบทำลายหนอนเจาะ สมอฝา้ ยไดแ้ ก่ โรคทำลายแมลง เช่น ไวรสั NPV ของหนอนเจาะสมอฝ้าย ซึ่งเป็นไวรสั ทพี่ บระบาดอยู่ ตามธรรมชาติในแหล่งทมี่ หี นอนเจาะสมอฝ้ายระบาด พบว่าไวรัสชนิดนมี้ ีประสทิ ธิภาพสงู มากในการ ทำลายหนอนเจาะสมอฝา้ ย ลักษณะอาการของโรค มีลักษณะอาการทวั่ ๆ ไป คลา้ ยกับหนอนกระทู้ หอม อาการโรคจะเห็นชดั ในวนั ท ่ี 3 ภายหลังจากหนอนไดร้ ับเช้อื พชื อาหาร หนอนเจาะสมอฝา้ ย เปน็ แมลงศัตรูสำคัญของมะเขือเทศ และยงั เป็นศัตรูสำคัญของพืชผกั ไม้ผล ไมด้ อกและพืชไรห่ ลายชนิด ได้แก่ ถวั่ ฝกั ยาว ถั่วลันเตา พรกิ มะเขือ กระเจย๊ี บเขียว หนอ่ ไม้ ฝรั่ง ส้มเขยี วหวาน มะมว่ งหมิ พานต ์ สตรอวเ์ บอรร์ ่ ี กหุ ลาบ เบญจมาศ คาเนชน่ั เยอบรี ่า ถัว่ เหลือง ถัว่ เขยี ว ข้าวโพด ยาสูบ ฝา้ ย และปอกระเจา เป็นต้น ศตั รูธรรมชาติ แมลงศตั รูธรรมชาติทพ่ี บเข้าทำลายหนอนเจาะสมอฝา้ ย ได้แก่ แมลงวันเบยี น Tachina sp. และ มวนพฆิ าต (Eocanthecona furcellata (Woff)) เปน็ ตน้ การป้องกันกำจดั 1. การใช้วิธีเขตกรรม เช่น การไถพรวนดินตากแดด เพือ่ ฆ่าดักแด้หนอนเจาะสมอฝา้ ยทอี่ ยู่ ในดิน การทำลายซากพืชอาหาร เพือ่ ลดแหล่งอาหารในการขยายพันธุอ์ ยา่ งต่อเนอื่ ง ทำให้ช่วยลด การระบาดของหนอนกระท้หู อมในการปลูกผักคร้งั ต่อไป 2. การใช้โรงเรือนตาข่ายไนลอ่ น หรือการปลูกผกั กางมงุ้ โดยการปลูกผักในโรงเรือนทคี่ ลมุ ด้วยตาข่ายไนล่อนขนาด 16 mesh สามารถป้องกนั การเขา้ ทำลายของหนอนเจาะสมอฝ้ายไดอ้ ย่างมี ประสทิ ธภิ าพ 100 เปอรเ์ ซ็นต ์ แมลงศตั รูผกั เหด็ และไมด้ อก 26

3. การใช้เชือ้ แบคทีเรีย (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส) ได้แก ่ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai และ Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki 4. การใช้สารฆ่าแมลงทมี่ ีประสิทธิภาพปอ้ งกันกำจัด เช่น อนิ ด๊อกซาคาร์บ 15% เอสซี หรือสไปนโี ทแรม 12% เอสซ ี หรอื อมิ าเมก็ ตินเบนโซเอต 1.92% อซี ี อัตรา 15, 20 และ 20 มล./นำ้ 20 ลิตร ตามลำดับ หนอนคบื กะหลำ่ (cabbage looper) ช่อื วิทยาศาสตร์ Trichoplusia ni Hübner วงศ์ Noctuidae อันดบั Lepidoptera ความสำคญั และลักษณะการทำลาย หนอนคืบกะหล่ำเปน็ หนอนขนาดกลางกินจุ ในระยะแรกตัวหนอนจะกัดกินทีผ่ ิวใบ เมือ่ ตัว หนอนโตขึน้ จะกัดกินใบทำให้เป็นรอยแหว่งเหลอื แต่ก้านใบ แมลงชนดิ นีจ้ ะทำลายโดยการกัดกินใบ เปน็ ส่วนใหญ่และการทำลายเป็นไปอยา่ งรวดเร็ว พบตามแหลง่ ปลูกทวั่ ๆ ไป ในประเทศไทยใน ภาคกลางทีจ่ ังหวัดราชบุร ี นครปฐม กรุงเทพมหานคร ปทุมธาน ี เพชรบรุ ี กาญจนบุรี สพุ รรณบรุ ี นครนายก ชัยนาท ประจวบครี ขี นั ธ ์ ฉะเชิงเทรา ส่วนใหญ่จะระบาดในชว่ งเดือนกมุ ภาพนั ธ-์ มีนาคม รปู ร่างลกั ษณะและชวี ประวัติ แม่ผีเสอื้ วางไข่เป็นฟองเดีย่ วๆ สีขาวนวล หรือเหลืองออ่ นตามใต้ใบ มีลกั ษณะคล้ายฝาช ี ตรงกลางมรี อยบ๋มุ มผี ิวเปน็ มัน ขนาดของไขป่ ระมาณ 0.5-0.6 มม. ระยะไข่ 3-4 วัน ตัวหนอนโตเตม็ ทมี่ ีสีเขียวออ่ น ความยาว 2.5-3.5 ซม. หัวเล็ก ลำตัวแบ่งออกเปน็ ปล้องชัดเจนและมีขนปกคลุม กระจายทว่ั ไปใกล้ๆ กับสันหลัง ลำตวั มแี ถบสีขาว 2 แถบขนานกัน เคลอื่ นตวั โดยการงอตวั และคบื ไป ระยะหนอน 14-21 วัน เข้าดักแด้ภายในรังสีขาวตามใต้ใบพืช ดักแด้จะมีสีเขียวในระยะแรกและ เปลีย่ นเปน็ สนี ้ำตาล ขนาดดักแด้ประมาณ 2 ซม. อายุดักแด้ประมาณ 5-7 วัน ตัวเต็มวัยเปน็ ผเี สอื้ ขนาดกลาง เมอื่ กางปีกกว้างประมาณ 2.7-3.0 ซม. ปีกคูห่ นา้ สนี ำ้ ตาลแก่ปนเทา รอบๆ ปลายปีก มสี ีนำ้ ตาลแก่และปลายสุดของปีกจะมสี ขี าว ส่วนทอ้ งปกคลุมด้วยขนสีขาวปนเทา อายุตัวเต็มวัย 8-10 วัน เพศเมยี สามารถวางไข่ได้ประมาณ 400-1,150 ฟอง เพศผูส้ ามารถผสมพันธุไ์ ด้หลายครัง้ สว่ นเพศเมียผสมพนั ธุไ์ ดเ้ พยี งครง้ั เดยี ว พืชอาหาร พืชผกั ตระกูลกะหล่ำ เช่น ผกั คะนา้ กะหลำ่ ปล ี กะหล่ำดอก ผกั กวางตุ้ง ผกั กาดขาวปล ี ผักกาดเขยี วปล ี ผกั กาดหวั เปน็ ต้น แมลงศัตรูผกั เหด็ และไม้ดอก 27

ศัตรูธรรมชาติ หนอนคืบกะหล่ำมีแตนเบยี นทำลายหนอนอย ู่ 2 ชนดิ คือ Apanteles sp. และ Brachymeria sp. นอกจากน ี้ ยังมเี ชือ้ แบคทีเรีย Bacillus thuringiensis Berliner ซึง่ สามารถ ทำลายหนอนคบื กะหล่ำไดอ้ ย่างมีประสทิ ธภิ าพ การปอ้ งกนั กำจัด 1. การใช้โรงเรอื นตาข่ายไนล่อน หรือการปลกู ผักกางมงุ้ 2. การใช้เชื้อแบคทเี รีย (บาซิลลสั ทูริงเยนซิส) ได้แก่ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai และ Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki 3. การใช้สารฆ่าแมลงทมี่ ีประสิทธิภาพปอ้ งกันกำจัด เช่น แลมบด์ าไซฮาโลทริน 5% อีซ ี หรือ เดลทาเมทริน 3% อซี ี หรอื คลอรฟ์ ลอู าซรู อน 5% อีซี อตั รา 30, 20 และ 40 มล./นำ้ 20 ลติ ร ตามลำดับ หนอนเจาะฝกั ลายจุด (bean pod borer) ชอื่ วิทยาศาสตร์ Maruca testulalis (Hübner) วงศ์ Pyralidae อันดับ Lepidoptera ความสำคัญและลักษณะการทำลาย หนอนเจาะฝกั ลายจดุ เปน็ แมลงศตั รูทีส่ ำคัญของถ่วั ฝักยาวทำความเสียหายและมผี ลกระทบ ต่อผลผลติ หนอนชนดิ นเี้ มอื่ ฟักออกจากไข่จะเจาะเข้าไปกัดกินภายในดอกออ่ น ต่อมาจะกัดส่วนของ ดอกและเกสรทำให้ดอกร่วง เมอื่ หนอนโตขึน้ จะเจาะเข้าไปกัดกินภายในฝกั สว่ นทเี่ ป็นเมลด็ อ่อน ทำให้ฝักและเมลด็ ลบี ผลผลิตลดลงหนอนเจาะฝกั ชนิดนีพ้ บระบาดในพืชตระกูลถัว่ ทัว่ ไปในแหลง่ ปลกู ผกั ทีส่ ำคัญของประเทศ เช่น จังหวัดนครปฐม ราชบุรี กาญจนบรุ ี จะพบหนอนชนดิ นรี้ ะบาดอย่าง รนุ แรงในชว่ งฤดแู ล้งระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถงึ มีนาคมของทุกปี รูปร่างลักษณะและชวี ประวัติ ตัวเตม็ วยั ของหนอนเจาะฝกั ลายจดุ เปน็ ผีเส้ือกลางคืนขนาดเล็ก กางปีกเต็มทีว่ ัดได ้ 2.5 ซม. ปกี คู่หนา้ สีนำ้ ตาลดำ ตรงกลางปีกคู่หลงั เปน็ แผน่ ใสมากกว่าปกี คู่หน้า วางไข่เปน็ ฟองเดีย่ วหรือซ้อน กนั 2-3 ฟอง ตามกลบี ดอก ลักษณะของไขเ่ ปน็ เกลด็ ขาว ขนาดเล็กประมาณ 0.5-0.8 มม. มองดว้ ย ตาเปลา่ เหน็ ได้คอ่ นข้างยาก ระยะไข่ประมาณ 3 วนั หนอนเมื่อฟักออกจากไขแ่ ลว้ จะแทรกตวั เขา้ ไป ระหว่างรอยต่อของกลีบดอก และเข้าไปอาศัยกินเกสร หนอนระยะแรกมขี นาดประมาณ 1.3 มม. แมลงศตั รูผกั เห็ดและไม้ดอก 28

ลำตัวมสี ขี าวนวล คอด้านบนมแี ผน่ แข็งสนี ำ้ ตาลดำสงั เกตง่าย หนอนเจริญเติบโตโดยกัดกินเกสร ภายในดอก ในระยะทห่ี นอนทำลายอยา่ งรนุ แรงจะมขี นาดประมาณ 5 มม.ขึ้นไป ลักษณะการทำลาย จะกดั ก้านเกสรและเคล่อื นยา้ ยจากดอกหนงึ่ ไปยังอกี ดอกหน่งึ หนอนเจริญเตม็ ที่มขี นาด 1.5-1.7 ซม. จะพบการทำลายโดยกัดกินและเจาะรูเข้าไปในฝกั ถั่ว ก่อนเข้าดักแด้หนอนจะเคลือ่ นย้ายจากฝักหนงึ่ ไปยังอกี ฝักหนง่ึ พบหนอนมากกว่าหนึง่ ตัวในฝักเดยี วกัน ดกั แดจ้ ะพบตามใบแหง้ หรอื ซอกกลีบดอก แห้งทีต่ ิดตามต้นและฝัก ระยะดักแด้ 7 วัน ตัวเต็มวัยมีลักษณะของลำตัวเปน็ ลายประสีนำ้ ตาลเข้ม ลกั ษณะเช่นนจ้ี งึ เรยี กวา่ หนอนเจาะฝักลายจดุ พืชอาหาร ระบาดในพชื ตระกลู ถวั่ ศัตรธู รรมชาติ แมลงศตั รธู รรมชาติท่พี บเข้าทำลายหนอนเจาะฝักลายจดุ ได้แก่ แมลงห้ำ เช่น ต่อ (Vespa sp.) มวนพิฆาต (Eocanthecona furcellata (Woff)) เปน็ ต้น การป้องกันกำจดั 1. วธิ กี ล กอ่ นปลูกพชื ประมาณ 2 สปั ดาห์ ควรทำการไถพรวน และตากดนิ เพ่ือกำจดั ดักแด้ ของแมลงศตั รทู อี่ าจหลงเหลืออยู่ในแปลงปลูก 2. การใช้เชือ้ แบคทีเรีย (บาซิลลสั ทูริงเยนซิส) ได้แก่ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai และ Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki 3. การใช้สารฆ่าแมลงทีม่ ปี ระสทิ ธิภาพป้องกันกำจัด เช่น เบต้าไซฟลูทริน 2.5% อีซี หรือ เดลทาเมทริน 3% อีซ ี อัตรา 30 และ 20 มล./นำ้ 20 ลติ ร ตามลำดบั หนอนผเี สื้อสีนำ้ เงิน (bean butterfly) ชอ่ื วิทยาศาสตร์ Lampides boeticus (Linnaeus) วงศ์ Lycaenidae อันดบั Lepidoptera ความสำคญั และลักษณะการทำลาย หนอนผเี สือ้ สีน้ำเงิน เป็นหนอนเจาะฝักทสี่ ำคัญอีกชนิดหนงึ่ การทำลายใกลเ้ คียงกับหนอน เจาะฝักลายจดุ แตม่ ักจะพบทำลายถว่ั ลนั เตามากกวา่ ถ่วั ชนิดอ่ืนๆ โดยเฉพาะส่วนของเมลด็ ภายในฝกั แมลงศตั รูผกั เหด็ และไม้ดอก 29

การระบาดทำลายของหนอนผีเสอื้ สีน้ำเงิน จะพบทัว่ ไปในแหลง่ ทีม่ กี ารปลูกพืชตระกูลถั่ว ในถัว่ ฝักยาวจะพบระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝน แต่สำหรับการปลกู ถั่วลันเตาในภาคเหนอื นัน้ จะพบ ระบาดในช่วงฤดูหนาว คอื ประมาณเดือนพฤศจิกายนถงึ กมุ ภาพนั ธข์ องทุกปี รูปร่างลกั ษณะและชีวประวัติ ตวั เตม็ วยั เปน็ ผเี สื้อกลางวันขนาดปกี กว้าง 2 ซม. ปกี คูห่ นา้ สนี ้ำตาลอ่อนปนน้ำเงิน ด้านหลัง ปกี สเี ทา ปีกคู่หลังมีติง่ แหลมด้านล่างทัง้ สองข้าง ในสภาพแปลงปลกู ทวั่ ไปจะพบตัวเต็มวัยในเวลา กลางวันระหว่าง 10.00-14.00 น. และจะพบมากกวา่ ปกติในระยะทถี่ ่ัวเรมิ่ มีดอก ตวั เต็มวยั ผสมพันธ์ุ และวางไข่ในเวลากลางวัน ลกั ษณะของไข่เปน็ เม็ดเดีย่ วๆ กลม สีฟ้า วางไข่ตามกลบี เลยี้ งของดอก อ่อน ไข่มขี นาดประมาณเทา่ หวั เขม็ หมดุ (0.5 มม.) ระยะไข ่ 2-3 วัน หนอนทฟี่ กั ออกจากไขจ่ ะมสี ีเทา ออ่ น หรือเขียวออ่ นปนเทา ลักษณะอ้วน ส้ัน ส่วนท้องแบนคล้ายหอยทากหรือปลงิ ขนาดโตเต็มที่ ประมาณ 1 ซม. เหมอื นกบั หนอนเจาะฝักลายจุด เมื่อหนอนมขี นาดใหญข่ น้ึ จะเข้าไปกดั กนิ ภายในฝกั และจะออกจากฝักถ่วั เพ่อื เขา้ ดกั แดภ้ ายนอกในบรเิ วณซอกดอกและใบ ลกั ษณะดกั แดอ้ ้วน กลม สีเทา ระยะดกั แด้ 5-7 วัน พชื อาหาร ระบาดในพืชตระกูลถัว่ ศัตรธู รรมชาติ - การปอ้ งกันกำจดั 1. วธิ ีกล ก่อนปลูกพชื ประมาณ 2 สปั ดาห์ ควรทำการไถพรวน และตากดนิ เพือ่ กำจัดดกั แด้ ของแมลงศตั รทู ี่อาจหลงเหลืออยใู่ นแปลงปลูก 2. การใช้เชื้อแบคทเี รีย (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส) ได้แก่ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai และ Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki 3. การใช้สารฆ่าแมลงทีม่ ีประสทิ ธิภาพป้องกันกำจัด เช่น เบต้าไซฟลทู ริน 2.5% อีซ ี หรือ เดลทาเมทริน 3% อีซี อตั รา 30-40 และ 20-30 มล./นำ้ 20 ลติ ร แมลงศัตรูผัก เหด็ และไมด้ อก 30

หนอนเจาะผลมะเขือ (fruit boring caterpillar) ชอื่ วิทยาศาสตร์ Leucinodes orbonalis Guenée วงศ์ Pyralidae อันดบั Lepidoptera ความสำคญั และลักษณะการทำลาย หนอนเจาะผลมะเขือ หนอนเจาะชนดิ นที้ ำความเสยี หายให้แก่ยอดมะเขือเปน็ ประจำใน บริเวณพืน้ ทปี่ ลกู มะเขือทัว่ ๆ ไป ในระยะต้นมะเขือกำลังเจริญเติบโต จะพบว่ายอดเหี่ยวเห็นชัดเวลา แดดจัด เพราะทอ่ นำ้ ท่ออาหารของพืชถูกทำลาย และเมอื่ ตรวจดูจะพบรูเจาะประมาณไม่เกิน 10 ซม. จากปลายยอด หนอนจะกัดกินภายใน การทำลายต่อยอดบางครัง้ สงู ถึง 30 เปอร์เซ็นต ์ ผลเสยี คอื ทำใหย้ อดท่ีแข็งแรงถูกทำลาย ยอดใหม่ที่แตกมามีขนาดเลก็ กวา่ และผลมะเขือที่เกิดมายัง ได้รับความเสียหาย โดยหนอนเจาะผลทำให้เสยี คุณภาพส่งขายไมไ่ ด้ ในช่วงระบาดรุนแรงอาจถูก ทำลายถงึ 50 เปอรเ์ ซน็ ต ์ รูปร่างลักษณะและชวี ประวตั ิ ผีเสอื้ หนอนเจาะผลมะเขือขณะกางปกี กวา้ ง 1.5-2 ซม. สีขาวมแี ต้มสนี ้ำตาลปนเทา ที่ปีกคู่ หน้าข้างละสองแห่ง ผเี สือ้ หนอนเจาะยอดมักมีขนาดเลก็ กว่าหนอนเจาะผล หนอนขนาดเล็ก ลำตัว ยาวประมาณ 1.0 ซม. หวั สีน้ำตาล ลำตวั ใสสเี นื้อ พืชอาหาร พบในมะเขือชนดิ ต่างๆ ยกเวน้ มะเขือเทศ และชอบทำลายมะเขอื เปราะมากกว่ามะเขือยาว ศตั รธู รรมชาติ ศัตรูธรรมชาติได้สำรวจพบแตนเบยี นหนอนเจาะผลมะเขือเมอื่ ป ี พ.ศ. 2537 ทอี่ ำเภอชะอำ จังหวดั เพชรบรุ ี มีแตนเบยี น 2 ชนดิ คือ Thratata sp. และ Eriborus sp. การปอ้ งกันกำจัด 1. วธิ ีกล เกบ็ ยอดและผลที่ถกู ทำลายทั้งที่มีหนอนและไมม่ หี นอน จะชว่ ยลดการระบาด 2. ใชส้ ารฆา่ แมลงท่ีมีประสทิ ธภิ าพ เชน่ เบตา้ ไซฟลทู รนิ 2.5% อซี ี หรอื อมิ าเมก็ ตนิ เบนโซเอต 1.92% อีซ ี อัตรา 80 และ 10 มล./น้ำ 20 ลิตร ตามลำดบั แมลงศตั รผู กั เห็ดและไม้ดอก 31

หนอนเจาะเถามนั เทศ (sweet potato stem borer) ชอื่ วทิ ยาศาสตร์ Omphisa anastomosalis (Guenée) วงศ ์ Pyralidae อันดับ Lepidoptera ความสำคญั และลกั ษณะการทำลาย หนอนเจาะเถามันเทศ เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญอีกชนดิ หนึง่ ของมนั เทศ เข้าทำลายโดยการ เจาะเข้าไปในลำต้นและเถา จะพบมลู สีน้ำตาลเปน็ กระจุกตรงบริเวณรอยเจาะทำลาย ผลจากการ ทำลายทำให้ต้นมันเทศเหยี่ วเฉา บริเวณโคนตน้ กลวง และทำให้ผลผลติ ของมันเทศลดลง รปู ร่างลักษณะและชีวประวตั ิ ตวั เตม็ วยั เปน็ ผเี สอื้ ขนาดกลางกางปีกวัดไดป้ ระมาณ 1.5-2.5 ซม. ปีกมีลักษณะโปร่งใส และ มีทางสีนำ้ ตาลเข้มขวางปีก ปกี คู่ทีส่ องโปร่งกว่าปีกคูแ่ รก ตัวเต็มวัยวางไข่เปน็ ฟองเดี่ยวๆ บนลำต้น และเถามนั เทศ ไข่มลี ักษณะกลมรีและมสี ีเหลอื งนวล ระยะไข่ประมาณ 5-8 วัน หลงั จากนัน้ จะฟัก เป็นตัวหนอน หนอนทฟี่ ักออกจากไข่จะเจาะเข้าไปในลำต้นและกัดกินเนือ้ เยือ่ ภายในลำต้นและเถา ระยะหนอนประมาณ 28-40 วัน หนอนผเี สอื้ เมอ่ื โตเตม็ ทมี่ ีขนาด 2 ซม. มีสนี ้ำตาลปนชมพูและมีหวั สนี ำ้ ตาล เขา้ ดักแด้ภายในลำต้นและเถา โดยดักแด้จะมีปลอกหุม้ เปน็ ใยบางๆ มีขนาด 2 ซม. ระยะ ดักแด้ประมาณ 14 วัน หลงั จากนัน้ ผเี สือ้ จะออกจากดักแด้ ระยะตัวเต็มวัยประมาณ 7 วัน ขนาด 1 ซม. หัวสนี ้ำตาล ลำตวั ใสสีเนือ้ พชื อาหาร มนั เทศ และทำลายพชื ในวงศ์ Convovulaceae ศตั รูธรรมชาติ - การป้องกนั กำจัด เช่นเดียวกับดว้ งงวงมันเทศ แมลงศตั รูผัก เหด็ และไม้ดอก 32

หนอนผีเสอ้ื เจาะหวั มนั ฝรั่ง (potato tuber moth) ชือ่ วทิ ยาศาสตร์ Phthorimaea operculella Zeller วงศ์ Gelechiidae อันดบั Lepidoptera ความสำคญั และลกั ษณะการทำลาย หนอนผเี ส้ือเจาะหัวมนั ฝรัง่ เปน็ แมลงศัตรทู ่สี ำคญั ต่อการปลกู มนั ฝรง่ั โดยการท่ตี วั เตม็ วยั ของ หนอนผเี สอื้ เจาะหัวมนั ฝรงั่ จะวางไขบ่ นใบมนั ฝรง่ั หลังจากน้ันไข่กจ็ ะฟักเป็นตัวหนอน หนอนเหลา่ นน้ั จะเริม่ ทำลายมันฝรั่งโดยการชอนไชใบเจาะเข้าไปในกิง่ ก้าน ลำต้น จนถึงหัวทีอ่ ยใู่ ต้ดิน ปัญหาท่ี สำคัญจะเกิดจากหนอนผเี สอื้ เจาะหัวมันฝรั่งระบาดอย่างรุนแรงในระยะการเก็บรักษาหัวมันฝรั่ง ทำให้หวั มันฝรัง่ ทีเ่ กบ็ ไว้เนา่ เละได ้ รูปร่างลักษณะและชวี ประวัติ ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นกลุม่ ประมาณ 44-100 ฟอง สขี าวขนาดเล็กบนหัวมันฝรัง่ ไข่มี ลกั ษณะกลม ระยะไข่ประมาณ 4-5 วัน จึงฟักออกเป็นตัวหนอน เมอื่ ฟักออกจากไข่ในระยะแรกจะ เริม่ ทำลายมนั ฝรัง่ โดยการเจาะเข้าไปกัดกินในลำต้นหรือหัวมนั ฝรั่ง ก่อให้เกิดความเสยี หายเปน็ อยา่ งมาก ลกั ษณะของตวั หนอนลำตัวมสี ขี าว หัวมสี ีน้ำตาล หนอนมีการเจริญเตบิ โต 4 ระยะ โตเต็ม ทีม่ ขี นาดประมาณ 1 ซม. ระยะหนอนประมาณ 9-10 วัน หลังจากนัน้ จะเข้าสูร่ ะยะก่อนเข้าดักแด้ ประมาณ 5-6 วัน หนอนเม่อื โตเตม็ ทจ่ี ะเข้าดกั แดบ้ ริเวณทห่ี นอนเจาะหรือเขา้ ทำลาย ซ่งึ ระยะดักแด้ จะใชเ้ วลาประมาณ 5-13 วนั จงึ จะออกมาเปน็ ผีเส้อื กลางคนื มีลักษณะปีกค่หู ลังมสี ีขาวขนุ่ เม่อื กางปีก กว้างประมาณ 1 ซม. ตวั เตม็ วัยจะมเี ส้นขนสขี าวบนลำตัว ตัวเตม็ วยั เพศผู้มอี ายปุ ระมาณ 30-35 วนั ส่วนตวั เต็มวยั เพศเมยี มอี าย ุ 9-25 วัน พืชอาหาร หนอนผเี สือ้ เจาะหวั มนั ฝรง่ั ทำลายพชื ในตระกลู Solanaceae ซงึ่ ได้แก ่ มนั ฝรง่ั พริก มะเขอื ยาสูบ นอกจากนั้น ยงั พบในแปลงมะเขือเทศ และยงั พบว่าสามารถทำลายในพืชชนิดต่างๆ รวม ประมาณ 60 ชนิด ศตั รูธรรมชาติ - แมลงศัตรูผกั เหด็ และไม้ดอก 33

การปอ้ งกนั กำจัด 1. วิธีเขตกรรม ไมค่ วรปลูกมันฝรั่งหรือพืชอาหารของแมลงชนดิ นีต้ ่อเนือ่ งตลอดทัง้ ป ี ควรปลูกสลับกบั การปลกู พืชชนดิ อื่น คัดเลือกหัวมนั ฝรัง่ ท่ไี มม่ ีการทำลายหรือเน่าเสยี นำเขา้ เก็บรักษา และในกรณีทเ่ี ก็บทำหวั พันธ ์ุ ควรเก็บในกล่องกระดาษที่ปิดมดิ ชดิ ความจุไม่เกิน 10 กิโลกรมั วางใน ท่ีร่ม 1-2 เดือน แลว้ นำมาวางในโรงเกบ็ แบบพรางแสงคลมุ ดว้ ยแกลบใหม้ ดิ ชดิ 2. ใช้สารฆ่าแมลงทีม่ ีประสทิ ธิภาพ เช่น คาร์บาริล 85% ดับบลวิ พี หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อซี ี อัตรา 30 กรมั และ 20 มล./นำ้ 20 ลติ ร ตามลำดับ ด้วงหมดั ผักแถบลาย (leaf eating beetle) ช่ือวิทยาศาสตร์ Phyllotreta sinuata Stephen วงศ์ Chrysomelidae อันดับ Coleoptera ความสำคญั และลกั ษณะการทำลาย ดว้ งหมัดผักพบแพรร่ ะบาดอยู่โดยท่ัวๆ ไป ในธรรมชาต ิ พบ 2 ชนดิ คอื ดว้ งหมดั ผกั แถบลาย P. sinuata และด้วงหมดั ผักสีน้ำเงิน P. chontanica ชนดิ ทสี่ ำคัญคือ ด้วงหมัดผักแถบลาย ตัวหนอนกัดกินหรือชอนไชเข้าไปกินอยูบ่ ริเวณโคนต้นหรือรากของผัก ทำให้พืชผักเหีย่ วเฉาและ ไม่เจริญเตบิ โต ถ้ารากถกู ทำลายมากๆ ก็อาจจะทำให้พืชผกั ตายได้ ตวั เต็มวัยชอบกัดผวิ ดา้ นลา่ งของ ใบทำให้ใบเปน็ รูพรุน และอาจกัดกินผิวลำต้น และกลบี ดอกด้วย ด้วงหมัดผักชอบอยรู่ วมกันเปน็ กลมุ่ ๆ ตัวเตม็ วัยเม่อื ถูกกระทบกระเทือนชอบกระโดด และสามารถบนิ ไดไ้ กลๆ รูปรา่ งลกั ษณะและชวี ประวตั ิ ตัวเต็มวัยเพศเมยี จะวางไข่เปน็ ฟองเดี่ยวๆ หรือกลุม่ บริเวณโคนต้นพืช เส้นกลางใบพืช และ ตามพืน้ ดิน ไข่รูปร่างคลา้ ยไข่ไก่มขี นาด 0.13x0.27 มม. สีขาวอมเขียว ผิวเรียบเปน็ มัน และจะ เปล่ยี นเปน็ สเี หลืองก่อนฟกั เป็นตวั ระยะไข ่ 3-4 วัน ตัวหนอนมสี ขี าว ส่วนหัวและส่วนหลังปล้องแรก สนี ้ำตาล มีจุดสีน้ำตาลตามลำตัวและแผ่นสนี ้ำตาลอยูท่ างด้านบนของปลอ้ งสุดท้ายลำตัว หนอน อาศยั อยู่ในดิน ระยะหนอน 10-14 วัน และเขา้ ดกั แดใ้ นดนิ สว่ นปกี และขาของดกั แด้แยกจากลำตัว เป็นอิสระเคล่อื นไหวได ้ ระยะดกั แด ้ 4-5 วนั ตวั เตม็ วยั เป็นดว้ งขนาดเลก็ ความยาวประมาณ 2-2.5 มม. ปกี คู่หนา้ สดี ำ มแี ถบเหลืองสองแถบพาดตามความยาว ด้านล่างของลำตัวสีดำ ขาคูห่ ลงั ตรงส่วน ของฟเี มอรข์ ยายใหญแ่ ละโตกวา่ ขาคอู่ ่ืนๆ หนวดแบบเส้นด้าย อายตุ ัวเตม็ วยั 30-60 วนั ผสมพนั ธไ์ุ ด้ หลายครั้ง เพศเมยี แต่ละตัววางไขไ่ ด้ 80-200 ฟอง แมลงศตั รูผัก เหด็ และไมด้ อก 34

พชื อาหาร ด้วงหมัดผักชอบทำลายผักตระกลู กะหล่ำ เช่น ผักคะนา้ กะหล่ำปล ี กะหลำ่ ดอก กะหล่ำปม ผักกาดเขียวกวางตงุ้ ผกั กาดเขียวปล ี ผกั กาดหวั เป็นตน้ ศตั รธู รรมชาติ - การป้องกนั กำจดั 1. วิธีเขตกรรม การลดการระบาดของด้วงหมดั ผกั สามารถทำได้โดยการไถตากดินไว้เป็น เวลานานพอสมควร เพือ่ ทำลายตัวหนอนและดักแด้ทอี่ าศัยอยูใ่ นดิน นอกจากน ี้ ควรเปลยี่ นมาปลูก พืชท่ดี ้วงหมัดผักไมช่ อบก็จะเปน็ การชว่ ยลดการระบาดไดอ้ ีกทางหน่งึ 2. การใชไ้ สเ้ ดอื นฝอย (Steinernema carpocapsae) อตั รา 4 ล้านตัวต่อพ้นื ที่ 20 ตาราง เมตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เชอื้ แบคทเี รียบาซลิ ลัส ทรู ิงเยนซสิ โดยพน่ หรือราดทกุ 7 วนั เพอื่ ฆ่าตัว หนอนดว้ งหมดั ผกั ในดิน 3. การใช้สารฆา่ แมลง เช่น คารบ์ าริล 85% ดับบลิวพ ี หรือ คารโ์ บซลั แฟน 20% อซี ี อตั รา 40 กรมั และ 50 มล./น้ำ 20 ลิตร ตามลำดบั ยงั คงใช้ไดผ้ ลดใี นแหล่งปลูกผกั ใหม่ๆ ท่มี กี ารระบาดไม่ รุนแรง สว่ นในแหล่งทีป่ ลกู ผักเป็นประจำ ควรใช้สารฆ่าแมลง เช่น ฟิโปรนลิ 5% เอสซ ี หรือ อะเซตามิพรดิ 20% เอสพี หรอื ไดโนทฟี ูแรน 10% ดับบลิวพี หรือ โทลเฟนไพแรด็ 16% อซี ี อัตรา 40 มล. 20 กรมั 30 กรมั และ 40 มล./นำ้ 20 ลติ ร ตามลำดบั จะใหผ้ ลดีกว่า ด้วงเตา่ แตงแดง (red cucurbit leaf beetle) ชอ่ื วิทยาศาสตร์ Aulacophora indica (Gmelin) วงศ์ Chrysomelidae อันดบั Coleoptera ความสำคญั และลักษณะการทำลาย ด้วงเต่าแตงแดงจะพบเปน็ ปญั หาอยูเ่ สมอกับแตงทเี่ ริ่มงอกยงั มีใบนอ้ ย การทำลายยอดแตง โดยแทะกัดกินใบ หากการระบาดรุนแรงอาจทำให้ชะงักการทอดยอดได ้ ด้วงเต่าแตงแดงพบระบาด ในสวนแตงทมี่ วี ัชพืชหนาแน่น ทัง้ นเี้ พราะตัวออ่ นอาศัยกัดกินรากพืช จึงมักเป็นปญั หาในแหล่งปลูก แตงใหม่บริเวณรอบๆ ทไี่ มม่ ีการไถพรวนและปราบวัชพืชเพียงพอ พบระบาดแทบทุกฤด ู โดยเฉพาะ ในชว่ งท่แี ตงเรม่ิ แตกใบจรงิ ในภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื มักพบเสมอๆ แมลงศัตรผู กั เหด็ และไม้ดอก 35

รูปร่างลักษณะและชวี ประวตั ิ ด้วงเต่าแตงแดงเปน็ แมลงปีกแข็งขนาดลำตัวยาว 0.8 ซม. ปกี คูแ่ รกแข็งเปน็ มันสแี ดงสด ลำตัวคอ่ นข้างยาว เคลื่อนไหวช้า จะพบเสมอเวลากลางวันแดดจา้ ตวั หนอนอาศัยอยู่ในดิน ลกั ษณะ ตัวหนอนสีขาว อาศัยกัดรากพืชในบริเวณทีเ่ ปน็ อาหาร อาจเป็นอันตรายต่อรากแตงในระยะต้นออ่ น ด้วย ตัวเต็มวัยสามารถมีอายุได้ถึง 100 วัน หรือมากกว่า เพศเมียจะวางไข่เปน็ ฟองเดี่ยว หรือเป็น กล่มุ เล็กๆ ในดินใกลโ้ คนตน้ แตง อายฟุ กั ไข่ 8-15 วนั หนอนที่ออกจากไขใ่ หมๆ่ จะมสี ีเหลืองซีด และ ค่อยๆ เปลีย่ นเปน็ สเี หลอื งสม้ เมอ่ื โตเต็มท ี่ ตวั หนอนกดั กินรากพืช การเจรญิ เตบิ โตม ี 4 ระยะ อายตุ วั หนอน 18-35 วัน เมอื่ โตเต็มทีจ่ ะเข้าดักแด้ในดินโดยสร้างเกราะปอ้ งกัน อายุดักแด้แตกต่างกันไป ระหว่าง 4-14 วัน พืชอาหาร พชื ตระกูลแตงทุกชนดิ ศตั รธู รรมชาติ - การปอ้ งกันกำจัด 1. วิธีกล ถ้าทำได้โดยการจับทำลายด้วยมอื จะช่วยได้มาก โดยหมัน่ ดูสวนแตงในเวลาเช้า แดดยงั ไม่จัด ขณะเดียวกันภายหลังเก็บเกีย่ วผลเสร็จแล้วไมค่ วรปลอ่ ยต้นแตงทิง้ ไว ้ ควรถอนทำลาย มฉิ ะน้ันจะกลายเป็นแหลง่ สะสมของดว้ งเต่าแตงแดงต่อไป 2. ใช้สารฆ่าแมลงทมี่ ปี ระสิทธิภาพปอ้ งกันกำจัด เช่น อิมดิ าโคลพริด 10% เอสแอล อตั รา 10 มล./นำ้ 20 ลิตร หรือ ฟิโปรนิล 5% เอสซี อตั รา 20 มล./น้ำ 20 ลติ ร หรอื คารบ์ ารลิ 85% ดับบลวิ พ ี อตั รา 30 มล./น้ำ 20 ลติ ร ด้วงงวงมนั เทศ (sweet potato weevil) ชื่อวทิ ยาศาสตร์ Cylas formicarius (Fabricius) วงศ ์ Curculionidae อันดับ Coleoptera ความสำคญั และลักษณะการทำลาย ด้วงงวงมนั เทศ จัดเป็นแมลงศัตรูทีส่ ำคัญทีส่ ดุ ของมันเทศ โดยตัวเต็มวัยจะทำลายทกุ สว่ น ของพืช ในขณะทีต่ ัวหนอนทำลายในหัวและเถา สำหรับหัวมันเทศทีถ่ ูกด้วงงวงทำลายจะมีลกั ษณะ แมลงศัตรูผัก เหด็ และไมด้ อก 36

เป็นทางคดเคีย้ ว มสี ีเขียวและสดี ำ แม้ถูกทำลายเพียงเล็กนอ้ ยก็ไม่สามารถรับประทานได้ เพราะมี กลนิ่ เหม็นและรสขม หัวมนั เทศทถี่ ูกทำลายรุนแรงบางครัง้ เนา่ และมกี ลิน่ เหมน็ ในช่วงเดือนแรกจะ พบด้วงงวงมันเทศทำลายมนั เทศเฉพาะบรเิ วณต้นและเถาเท่านัน้ เมื่อมนั เทศอายุ 1½ เดือน ซง่ึ เป็น ระยะเร่ิมมหี ัว จะพบด้วงงวงมนั เทศเร่มิ เข้าทำลาย แตบ่ างแหลง่ ปลูกกพ็ บเมื่ออายุ 2-2½ เดือน ท้ังนี้ ขึ้นอยูก่ ับแหล่งปลกู และความรุนแรงของการระบาด การแพร่กระจายของด้วงงวงมันเทศมีแนวโนม้ วา่ เปน็ แบบรวมกลมุ่ ด้วงงวงมนั เทศชอบออกบนิ ในช่วงเวลา 20.00-21.00 น. ซึ่งสว่ นใหญเ่ ปน็ เพศผู้ สว่ นช่วงเชา้ (8.00-9.00 น.) และกลางวัน (12.00-13.00 น.) ไมพ่ บตวั เต็มวยั ออกบนิ จำนวนตวั เต็ม วัยจะพบมากขึ้น เม่ือพชื อายมุ ากขนึ้ และพบสงู สดุ ในชว่ งเก็บเกยี่ วมนั เทศ รูปร่างลักษณะและชวี ประวัติ ตัวเต็มวัยของด้วงงวงมันเทศเปน็ แมลงปีกแข็งขนาดเล็ก ลำตัวสว่ นปีกมีสีน้ำเงินเข้มเป็นมัน บริเวณอกและขามีสอี ฐิ แดง ส่วนหัวยืน่ ยาวออกมาเป็นงวงและโค้งลง ปีกคู่แรกแข็งกว่าลำตัว ลำตัว ยาวประมาณ 5.0-6.5 มม. กว้าง 1 มม. ตวั เต็มวยั เพศเมยี วางไขเ่ ปน็ ฟองเดี่ยวๆ บริเวณหวั และเถา มนั เทศ ในรอยเจาะใต้ผวิ เปลือก ถ้าเปน็ เถามันเทศแมลงจะวางไข่ใกลต้ าและกา้ นใบ ไข่มสี คี รีม สว่ น หัวแหลมส่วนทา้ ยกว้าง รูปทรงรีๆ คลา้ ยไข่ไก ่ ผิวเรียบแต่ไมเ่ ปน็ มัน เปลอื กไข่บางมากและแตกง่าย ขนาดของไขก่ วา้ งยาวเฉลี่ย 0.44x1.61 มม. ปกตไิ ข่จะไม่เปล่ยี นส ี ระยะไข่ใกลฟ้ ักจะมองเหน็ หัวของ ตัวหนอนมีสดี ำด้านบนของไข่ ระยะไข่ของด้วงงวงมันเทศประมาณ 4-5 วัน หนอนทีฟ่ ักออกจากไข่ ใหม่ๆ จะมีสขี าวไมม่ ขี า ลำตวั ออ่ นบางสามารถมองเหน็ อวยั วะภายในได ้ หวั มสี ีนำ้ ตาล ลำตวั งอเล็กนอ้ ย ระยะหนอนประมาณ 11-13 วัน หนอนม ี 3 ระยะ หนอนวัยท ี่ 1 มกั พบทำลายบริเวณผวิ มนั เทศ ลกึ ประมาณ 0.5 ซม. หนอนวยั ท่ี 2 ทำลายลึกกวา่ หนอนวัยท ่ี 1 และหนอนวัยท่ี 3 จะทำลายลึกกวา่ หนอนวยั ท ี่ 1 และ 2 หวั มันเทศทีถ่ ูกทำลายและเสียหายมกั เกดิ จากหนอนวัย 3 หนอนขนาดโตเต็มที่ ยาวประมาณ 7 มม. หนอนจะเข้าดักแด้บริเวณหัวและเถามันเทศ ดักแด้ระยะแรกมสี ีขาว ต่อมาตา ปีกและขาจะเปลีย่ นเปน็ สีดำ ลำตัวมีสีค่อนข้างเหลอื ง ส่วนท้องมองเห็นไม่ชัดและเคลอื่ นไหวได ้ ขนาดดักแด้เฉลยี่ 5 มม. ระยะดักแด ้ 5-6 วัน มกั พบดักแด้ภายในบริเวณหัวและเถามนั เทศทถี่ ูก ทำลาย ตัวเต็มวัยด้วงงวงมนั เทศทีอ่ อกจากดักแด้ใหมๆ่ จะอาศัยอยภู่ ายในหัวและเถามนั เทศ ประมาณ 1-2 วัน หลงั จากนนั้ จึงออกมาภายนอก พบว่าในสภาพที่มอี าหารตัวเต็มวัยสามารถมีอายุ ได้นานถึง 40-53 วัน เพศผูม้ อี ายุยาวนานกว่าเพศเมยี แต่ในสภาพทไี่ ม่มอี าหารแมลงจะมีอายเุ พียง 10 วันเท่านั้น พชื อาหาร มันเทศ ผกั บงุ้ และวชั พืชตระกลู เดียวกบั มนั เทศ แมลงศัตรูผัก เหด็ และไมด้ อก 37

ศตั รธู รรมชาติ ศตั รธู รรมชาตขิ องดว้ งงวงมนั เทศท่ีพบ ไดแ้ ก ่ แตนเบียนหนอน (Rhaconotus sp.) ซง่ึ ส่วนใหญ ่ พบทำลายหนอนทีอ่ ยูบ่ ริเวณเถามนั เทศเหนือดินเท่านัน้ ไม่พบทำลายหนอนทีห่ ัวมนั เทศ แต่ความ เสียหายของมนั เทศนัน้ เกิดจากการทำลายของแมลงทหี่ ัวมันเทศ ซึง่ แตนเบียนไม่สามารถเข้าทำลาย หนอนได้ ดังน้ัน แตนเบยี นชนดิ นจี้ ึงไมส่ ามารถควบคุมการระบาดของด้วงงวงมนั เทศได้ เชื้อราขาว Beauveria bassiana และ ไสเ้ ดอื นฝอย Steinernema carpocapsae และ Heterorhabdtis sp. เป็นศัตรูธรรมชาติของด้วงงวงมนั เทศ ซึง่ ทำให้ด้วงงวงมันเทศตายภายใน 24-48 ชัว่ โมง ตามลำดบั การปอ้ งกันกำจัด 1. วธิ ีเขตกรรม 1.1 หลกี เลีย่ งการปลกู มันเทศในแหลง่ ทีม่ ีการระบาดของด้วงงวงมนั เทศ 1.2 หลีกเลยี่ งการปลกู มันเทศซ้ำทเี่ ดิม ถ้าเปน็ ไปได้ควรปลกู หมุนเวียนโดยใช้พืชต่าง ตระกูลกับมันเทศ ควรใช้เถามันเทศทสี่ มบรู ณ ์ แข็งแรงและปราศจากด้วงงวงมนั เทศ และไมน่ ำเถา มนั เทศจากแหล่งทีม่ กี ารระบาดของด้วงงวงมนั เทศมาปลกู กำจัดวัชพืชทเี่ ปน็ ตระกูลเดียวกันกับ มนั เทศบรเิ วณรอบๆ แปลงปลกู มนั เทศออกใหห้ มด 2. ใช้สารฆ่าแมลงท่ีมปี ระสิทธิภาพ เช่น คาร์โบซลั แฟน 20% อีซี หรอื ฟิโปรนลิ 5% เอสซ ี อตั รา 100 และ 20 มล./นำ้ 20 ลติ ร ตามลำดับ แมลงวนั ทองพริก (solanum fruit fly) ชอื่ วทิ ยาศาสตร์ Bactrocera latifrons (Hendel) วงศ์ Tephritidae อนั ดับ Diptera ความสำคัญและลักษณะการทำลาย แมลงวันทองพริกเปน็ ศัตรูพืชทีส่ ำคัญโดยเฉพาะในพริก ซึ่งเป็นพืชผกั ทีม่ กี ารปลูกกันอยา่ ง แพร่หลาย เป็นทนี่ ิยมนำไปใช้ประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน ใช้ในอตุ สาหกรรมอาหารต่างๆ เปน็ พืชเศรษฐกิจทสี่ ำคัญทำรายได้ด ี อีกทงั้ เปน็ พืชทมี่ ศี ักยภาพในการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่เนอื่ งจากการปลูกพริกในประเทศไทยนนั้ มปี ัญหาจากการทำลายของแมลงวันทองพริก ชนิดที่ สำคัญคือ Bactrocera latifrons (Hendel) ทำให้ผลผลิตเสยี หายและคณุ ภาพตำ่ ทำให้ตอ้ งป้องกัน แมลงศตั รผู กั เหด็ และไมด้ อก 38

กำจัด ซึ่งเป็นการเพ่ิมตน้ ทนุ การผลติ และการป้องกนั กำจดั แมลงวันทองพริกโดยใช้สารฆา่ แมลงอยา่ ง ต่อเนือ่ งจนเก็บเกีย่ ว ยังก่อให้เกิดปญั หาของสารพิษตกค้างในผลผลติ และสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดปัญหาด้านกักกันพืชและใช้เป็นเครือ่ งมอื กีดกันทางการค้าของต่างประเทศ เช่น การ ส่งออกไปยงั ประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป รูปร่างลักษณะและชีวประวตั ิ ตัวเต็มวัยเพศเมียมอี วัยวะวางไข่ (ovipositor) ทแี่ หลมและแข็งแรง แทงผวิ ของเนอื้ เยอื่ พืช เพื่อวางไข่ทมี่ ลี ักษณะรูปร่างยาวร ี สขี าวขุน่ ผิวเป็นมนั สะท้อนแสง เมอื่ ใกลฟ้ ักสขี องไข่จะเข้มขึ้น ระยะไข่ 2-3 วัน ก็จะเข้าฟักเป็นตัวหนอนมีลกั ษณะหัวแหลมทา้ ยป้าน มสี ีขาวหรือสีใกล้เคียงกับสี ของพืชอาหาร ตัวหนอนเคลอื่ นทโี่ ดยการยืดหดลำตัวซึ่งเปน็ ปลอ้ งๆ สว่ นหัวมีปากเป็นตะขอแข็งสดี ำ หน่งึ คู่ เรียกวา่ “mouth hook” ซง่ึ เปน็ อวยั วะที่หนอนใช้ชอนไชกนิ เน้ือเยือ่ ภายในผลพรกิ ทำให้ผล พริกเน่าและร่วง นอกจากน ี้ ตัวหนอนยังมคี วามสามารถพิเศษในการงอตัวและดีดตัวไปได้ไกล (หนอนวัย 3) ซึ่งช่วยให้หนอนหาทีเ่ หมาะสมเพื่อเข้าดักแด้ในดิน ดักแด้มรี ูปร่างกลมรีคล้ายถังเบียร ์ ไมเ่ คลอื่ นไหว ระยะแรกจะมสี ขี าวและค่อยเปลี่ยนเป็นสนี ้ำตาล และสีเข้มขึน้ เรือ่ ยๆ จนออกเป็น ตวั เตม็ วัย ซ่งึ มีปีกบางใสสะท้อนแสงและมีแถบสีเหลอื งท่สี ว่ นอก จึงเรยี กวา่ “แมลงวนั ทอง” พืชอาหาร ทำลายพืชในวงศ ์ Solanaceae พวกพริก มะเขอื ไดแ้ ก ่ พรกิ ชีฟ้ า้ พรกิ ขหี้ น ู มะเขอื เปราะ มะเขอื พวง มะเขอื ยาว มะแวง้ ตน้ มะแวง้ เครือ เป็นตน้ ศัตรธู รรมชาติ พบแมลงศัตรูธรรมชาติ 2 ชนิด คือ แตนเบียนไข่ (egg-pupal parasitoid) Fopius arisanus (Sonan) และแตนเบียนหนอน (larval-pupal parasitoid) Diachasmimorpha longicaudata (Ashmead) การปอ้ งกนั กำจดั 1. วิธีเขตกรรม เช่น ทำความสะอาดแปลงปลูก โดยการเก็บผลพริกทรี่ ่วงหลน่ เผาทำลาย เพอ่ื ลดแหล่งเพาะพันธ์ขุ องแมลงวันทองพริก หรอื ทำลายพชื อาศยั ท่ีอยูร่ อบๆ แปลงปลูกพริก 2. การใช้น้ำมันปิโตรเลยี ม 83.9% อซี ี อตั รา 60 มล./น้ำ 20 ลติ ร 3. การใชส้ ารฆา่ แมลงท่ีมปี ระสทิ ธภิ าพ ไดแ้ ก ่ มาลาไธออน 83% อซี ี อัตรา 40 มล./น้ำ 20 ลิตร แมลงศัตรผู กั เหด็ และไมด้ อก 39

แมลงวันหนอนชอนใบ (leaf miner flies) ชื่อวิทยาศาสตร์ Liriomyza spp. วงศ์ Agromyzidae อันดับ Diptera ความสำคญั และลักษณะการทำลาย แมลงวนั หนอนชอนใบมหี ลายชนดิ ถ้าทำลายพชื ตระกูลกะหลำ่ มชี ่ือเรียกว่า หนอนแมลงวัน ชอนใบกะหลำ่ (cabbage leaf miner, Liriomyza brassicae (Riley)) ทำลายหอมมีชือ่ เรียกว่า หนอนแมลงวันชอนใบหอม (onion leaf miner, Liriomyza chinensis (Kato)) เป็นต้น พืชผกั หรือไม้ดอกบางชนิดทถี่ ูกทำลายเกิดจากตัวเต็มวัยเพศเมยี วางไข่ทีม่ ีขนาดเลก็ ภายในผิวพืช เมือ่ ไข่ฟัก เป็นตัวหนอนทมี่ ีลกั ษณะหัวแหลมทา้ ยป้าน ตัวหนอนจะชอนไชอยใู่ นใบทำให้เกิดรอยเสน้ สีขาวคด เคีย้ วไปมา เมือ่ นำใบพืชมาสอ่ งดูจะพบหนอนตัวเล็กๆ สีเหลอื งออ่ นโปร่งแสง ใส อยูภ่ ายในเนอื้ เยือ่ ใบพืช หากระบาดรุนแรงจะทำให้ใบเสียหายร่วงหลน่ ซึง่ จะมผี ลต่อผลผลิตหากพืชนัน้ ๆ ไมส่ ามารถ สร้างใบทดแทนไดพ้ ืชกจ็ ะตายไปในทส่ี ุด รูปรา่ งลกั ษณะและชีวประวตั ิ ตัวเต็มวัยเป็นแมลงวันขนาดเล็ก มีขนาด 1-2 มม. ตัวเต็มวัยเพศเมยี วางไข่ขนาดเล็กไว้ใต้ สว่ นของเนือ้ เยอื่ บางๆ ของพืช ระยะไข ่ 2-4 วัน เมอื่ ฟักเป็นตัวหนอนมลี ักษณะหัวแหลมท้ายป้าน (รูปกระสวย) ไม่เป็นปล้องชดั เจน ไมม่ ีขา เคล่ือนไหวโดยการดีดตัว มีขนาดยาวประมาณ 0.5-1 มม. จะชอนไชไปตามเนื้อเยื่อพืชในระยะหนอนใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน จงึ เข้าดักแด ้ ดกั แดร้ ปู รา่ งคล้าย เมลด็ ข้าวสารอยูต่ ามส่วนของพืชทถ่ี ูกทำลาย และตามใบรว่ งหล่นลงดนิ ขนาดดักแด้ยาว 0.8-1 มม. ในระยะดักแด้ ใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน จึงออกเปน็ ตัวเต็มวัย แมลงวันมีสดี ำปนสีเหลอื ง ตลอด วงจรชวี ติ ใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห ์ พืชอาหาร แมลงวนั หนอนชอนใบ เปน็ แมลงศตั รทู เ่ี รมิ่ มบี ทบาทสำคัญต่อพืชผกั หลายชนดิ ทป่ี ลกู ได้แก ่ พืชตระกูลกะหล่ำ หอม มะเขือเทศ มะเขือเปราะ มะระ พริก บวบ กระเจี๊ยบเขียว พืชตระกูลถัว่ ต่างๆ นอกจากนี ้ ยงั ทำลายในไม้ดอกบางชนดิ ได้แก่ ดาวเรือง เบญจมาศ กุหลาบและเยอบีร่า เป็นต้น ศัตรูธรรมชาติ - แมลงศตั รผู ัก เห็ดและไม้ดอก 40