Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์และลักษณะอาคารสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกิส ในเมืองภูเก็ต. ระหว่าง พ.ศ. 2545-2559

การเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์และลักษณะอาคารสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกิส ในเมืองภูเก็ต. ระหว่าง พ.ศ. 2545-2559

Description: การเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์และลักษณะอาคารสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกิส ในเมืองภูเก็ต. ระหว่าง พ.ศ. 2545-2559.

Search

Read the Text Version

ภาพการตัง้ เส่ยี หนาเป็นกระปุกออมสนิ ขนาดใหญ่ตง้ั ไวห้ นา้ ธนาคารออมสนิ สาขาภูเกต็ การบูรณะอาคารสถาปตั ยกรรมแบบชิโน-โปรตกุ ีสในย่านอนรุ ักษ์เมืองเก่า บรเิ วณย่านอนรุ กั ษ์เมืองเกา่ เขตเทศบาลเมอื งภูเกต็ ซ่ึงมีกลุ่มอาคารเกา่ แก่ ท่ีสุดในย่านถนนถลาง เนื่องจากเป็นย่านที่กำเนิดข้ึนจากการก่อต้ังที่ทำการบริษัท เหมอื งแร่ตั้งแตส่ มัยรัชกาลท่ี 5 และขยายไปบรเิ วณใกลเ้ คยี ง คอื ถนนดีบกุ ถนน กระบี่ ถนนเยาวราช ถนนพังงา และถนนภเู ก็ต ภมู ิทศั น์ที่เป็นองคร์ วมของยา่ น เหล่านี้ที่มีการก่อสร้างอาคารติดกันเป็นแนวทอดยาวหลายแห่ง ยังคงไว้ซึ่งความ สวยงามสะดุดตา ประกอบกบั ตลอดระยะเวลามากกว่า 30 ปี นกั วิชาการ นกั ปราชญ์ทอ้ งถ่ิน เจ้าของอาคารบา้ นเรือน ชาวจงั หวดั ภเู กต็ และผทู้ ่สี นใจ ได้รวมตัว จัดสัมมนาวิชาการในเร่ืองปัญหาและแนวทางในการอนุรักษ์อย่างสม่ำเสมอ นอกจากน้ีนโยบายและการดูแลของเทศบาลเมืองภูเก็ต การสนับสนุนจากภาครัฐ และภาคเอกชน ทำให้นักท่องเท่ียวท้ังชาวไทยและชาวต่างประเทศยังคงให้ความ 89

สนใจกับการมาชมอาคารสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีสในย่านอนุรักษ์เมืองเก่า อยา่ งต่อเนอื่ ง สืบเนื่องจากการทภี่ เู กต็ เปน็ เมืองท่ีมรี ายได้หลักจากการท่องเท่ียว เกิดการ ขยายตัวของเมืองตามการพัฒนาเศรษฐกิจ จึงทำให้ไม่เพียงคนไทยต่างถิ่นที่เข้ามา หางานทำในจงั หวดั ภเู ก็ต หากยงั มีแรงงานต่างดา้ วอพยพเขา้ มาอย่อู าศัยและทำงาน ในจังหวัดภูเก็ตเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เม่ือมีผู้คนจากถ่ินฐานอื่นเข้ามาอาศัยเป็น จำนวนมากจึงเริ่มมีผลกระทบต่อความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมและเกิดการเปลี่ยน แปลง คนท่ีเคยอยู่อาศัยในจงั หวัดภูเก็ตตั้งแตบ่ รรพชนมาหลายรุน่ ได้เคลอื่ นยา้ ย ไปอยู่อาศัยท่ีอืน่ สว่ นคนที่เข้ามาอยู่อาศยั ใหม่ในรอบไมเ่ กิน 10 ปี มจี ำนวนมากข้นึ กวา่ ในอดีต ทำใหค้ วามเขา้ ใจและความผกู พันกับรากวฒั นธรรมเดมิ มนี ้อยลงและไม่ ต่อเนื่อง สำหรับอาคารสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีสมีทั้งเจ้าของรายเก่าและ ผู้เช่าหรอื เปน็ เจา้ ของรายใหม่ ท้ังนีม้ ีปัจจยั หลายอย่างในการอนรุ กั ษ์ ได้แก่ ความชน่ื ชอบ ความเข้าใจทางวฒั นธรรม ทุนทรพั ย์ การตระหนักรคู้ ุณคา่ ลว้ นสง่ ผลตอ่ การอนุรักษซ์ ึง่ ปรากฏให้เห็นหลายแนวทาง ดังนี้ 1. รกั ษาโครงสร้างเดิมและเก็บรักษารายละเอยี ด ในกลมุ่ นี้ มี ความพยายามในการรักษาโครงสรา้ งโดยรวมทัง้ หมดทง้ั บรเิ วณ ชน้ั 1 และ บริเวณชน้ั 2 ของอาคาร บางกลมุ่ อาคารทอี่ ยูต่ ดิ กนั และมีแนวทางใน การอนรุ กั ษ์ดูแลแบบเดยี วกนั จะทำใหเ้ กดิ ภมู ิทัศนท์ ่ีสวยงามและกลมกลนื พบเห็น ไดใ้ นบรเิ วณถนนถลางและถนนดีบุก 90

ภาพกล่มุ อาคารบริเวณถนนถลาง ชัน้ บนยงั คงอนุรักษ์ซมุ้ หน้าต่าง บานหนา้ ต่างบานเกล็ดไม้ และลวดลายปนู ปน้ั ถนนถลาง อำเภอเมอื ง จงั หวดั ภูเกต็ ภาพอาคารบรเิ วณถนนถลาง ยงั คงอนุรักษซ์ ุ้มหนา้ ตา่ งและลวดลายปนู ป้นั แตห่ ลังคาปรับเปลี่ยน ถนนถลาง อำเภอเมอื ง จงั หวดั ภเู ก็ต 91

2. ทำเลียนแบบโดยอยใู่ นโครงสรา้ งเดิม ในกล่มุ อาคารยา่ นถนนถลาง มีอาคารหลายหลงั ทไ่ี ด้รับการดัดแปลงและ ปรบั เปลย่ี นเปน็ โรงแรมและรา้ นกาแฟ (Café) ซงึ่ รวมไปถงึ ศนู ยบ์ รกิ ารข้อมลู ทอ่ งเทยี่ ว มีการปรบั ปรงุ ใหม่ (Renovated) เพอ่ื ทำใหต้ ัวอาคารโดดเด่นมากข้ึน ยอ้ นกลบั ไป ในช่วงเวลา พ.ศ.2539-2542 ย่านถนนถลางยงั เต็มไปดว้ ยรา้ นค้าทม่ี สี นิ ค้าหลาก หลาย เช่น ขายผ้าปาเต๊ะ เสอ้ื ลูกไม้ ของที่ระลึกท้องถนิ่ ประเภทเครอื่ งประดับ ไม่มี โรงแรมและร้านอาหารเหมือนในปัจจุบัน ซึ่งโรงแรมและร้านอาหารส่วนใหญ่ถูก ปรบั เปลยี่ นและออกแบบมาเพอื่ ใหน้ กั ทอ่ งเทย่ี วไดม้ าอยอู่ าศยั และสมั ผสั ในบรรยากาศ ของอาคารเกา่ จะมเี จา้ ของอาคารหลายหลงั ทท่ี ำการปรบั ปรงุ อาคารใหม่ (Renovated) โดยทำเลยี นแบบภายใต้โครงสรา้ งเดิม เพม่ิ เตมิ วสั ดุอุปกรณส์ มยั ใหมแ่ ทนทแ่ี บบเดิม เนอื่ งดว้ ยวัสดุเดิมหาไมไ่ ด้ ช่างซ่อมแซมหายากและค่าจ้างมีราคาแพง ตัวอยา่ งเชน่ อาคารหวู (Woo Gallery & Boutique Hotel. The Old Town Phuket.) ทต่ี ั้ง อยรู่ มิ ถนนถลาง มีการออกแบบบรเิ วณด้านลา่ งของอาคารตามสถาปตั ยกรรมแบบ จนี ท้ังประตไู ม้ หน้าต่างไม้ ช่องแสง สำหรับประตูมกี ารเพม่ิ บานพบั เหล็กเพ่ือเสรมิ ความแข็งแรงและสะดวกในการใชง้ าน นอกจากนั้นมกี ารตกแตง่ กระเบ้อื งสมัยใหม่ แต่เลอื กลวดลายใหม้ ีความผสมกลมกลนื 92

ภาพดา้ นหนา้ ของ หวู (Woo Gallery & Boutique Hotel. The Old Town Phuket.) ถนนถลาง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ภาพการใช้บานพบั เหลก็ เสรมิ ความแขง็ แรง และปา้ ย หวู Woo Gallery & Boutique Hotel. ถนนถลาง อำเภอเมือง จังหวดั ภูเก็ต 93

ภาพหน้าตา่ งและชอ่ งแสงที่คงรูปแบบ เดมิ ของ หวู Woo Gallery & Boutique Hotel. ถนนถลาง อำเภอเมอื ง จังหวัดภูเก็ต ภาพอาคารที่ใชโ้ ครงสร้างเดิมเปน็ สถาปัตยกรรมแบบจนี แตเ่ ปลยี่ นวัสดแุ ละรปู แบบของลวดลาย ถนนถลาง อำเภอเมือง จังหวดั ภเู กต็ 94

ภาพการออกแบบหนา้ ต่าง เขา้ ไปแทนทีแ่ บบเดมิ ถนนถลาง อำเภอเมือง จงั หวดั ภูเกต็ ภาพการปรับเปล่ยี นชอ่ งแสงเป็นแบบสมยั ใหม่ ถนนถลาง อำเภอเมือง จังหวดั ภเู กต็ 95

3. เปลยี่ นแปลงโดยไมย่ ดึ ตามรปู แบบสถาปตั ยกรรมเดิม เจ้าของอาคารหรือผู้เช่าหลายรายที่เข้ามาอยู่อาศัยครอบครองอาคาร พาณชิ ย์เพอื่ ทำธุรกิจ ต้องการใช้พนื้ ทข่ี องอาคารรวมไปถึงบริเวณอาเขด (Arcade) ดังน้นั จึงไดซ้ ่อมแซมตัวอาคารเดมิ ซึง่ เปน็ อาคารเก่าแก่ มีการปรบั เปลยี่ นประตูดา้ น หน้าบริเวณช้ันล่างโดยไม่ได้คงสถาปัตยกรรมแบบจีนซ่ึงเป็นรูปแบบเดิมของอาคาร ห้องแถว (shophouse) ท่ีเป็นสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตกุ สี สว่ นอาคารชัน้ บน มีหลายอาคารท่ีปรับเปล่ียนเปน็ สมัยใหม่ ทำใหซ้ มุ้ หนา้ ตา่ ง หน้าต่างบานเกลด็ ไม้ และลวดลายปูนปัน้ หายไป สว่ นการเปล่ียนท้ังบรเิ วณชนั้ บนและบรเิ วณช้ันล่างก็มใี ห้ พบเหน็ หลายอาคาร ภาพอาคารบริเวณถนนกระบ่ี อำเภอเมอื ง จงั หวดั ภูเกต็ ท่มี ีการเปลย่ี นแปลงรูปแบบสถาปตั ยกรรม 96

ภาพอาคารศาลเจา้ ไหหลำทาสแี ดง สด มีการปรับเปล่ยี นท้ังบรเิ วณชัน้ บนและชั้นล่าง ถนนถลาง อำเภอเมือง จังหวดั ภเู กต็ การรกุ ล้ำพน้ื ที่เพ่อื การใช้สอยประโยชน์ทางธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงประโยชน์ของการใช้อาคารเพ่ือธุรกิจการท่องเที่ยว เจา้ ของธรุ กจิ โดยเฉพาะทเ่ี ปน็ แบบเชา่ จากเจ้าของอาคาร จะใชพ้ ื้นทขี่ องอาคารเตม็ ที่ มีการตง้ั ข้าวของ ปา้ ยอาหารและเครอ่ื งด่ืมแบบถาวร แขวนเสื้อผ้าสนิ คา้ อ่นื ๆ ที่ ขายในบริเวณท่ีเป็นทางเดินเท้าหรืออาเขด (Arcade) ทำให้อาเขดที่ยาวท่ีสุดใน ประเทศไทย อนั เป็นประวัติศาสตรข์ องถนนถลาง จังหวดั ภเู ก็ต ถูกปิดทางเดินเท้า และกลายเป็นตำนานทางสถาปัตยกรรมโบราณของประเทศไทยเหมือนกรณีถนน เกา่ แกร่ ว่ มสมัยในกรุงเทพมหานคร 97

ลักษณะการนำของมาตั้งกีดขวางใน บริเวณทเ่ี คยเป็นอาเขด (Arcade) ย่านถนนถลาง อำเภอเมอื ง จงั หวัดภเู ก็ต ภาพการตดิ ต้งั ปา้ ยขายอาหารแบบถาวรและการวางของกดี ขวาง ในบรเิ วณอาเขด (Arcade) ย่านถนนถลาง อำเภอเมอื ง จงั หวดั ภเู ก็ต 98

การทำ Street Art ในยา่ นอนุรกั ษเ์ มอื งเก่า ส่วนที่เพ่ิมเติมเข้ามาในการปรับปรุงภูมิทัศน์ย่านอนุรักษ์เมืองเก่าในเขต เทศบาลเมืองภูเก็ต คอื การทำภาพ Street Art มที ้งั ภาพทว่ี าดโดยศลิ ปนิ ทีม่ ชี ื่อ เสยี งระดับโลกอยา่ ง Alex Face โดยมเี อกลกั ษณใ์ นการวาดเปน็ ตัวการต์ ูนหนา้ เด็ก ผ้หู ญงิ มีสามตา ชอ่ื วา่ หนูนอ้ ยมารด์ ี (ชือ่ ลกู สาวของ Alex Face) ภาพสว่ นใหญท่ ่ี ปรากฏเปน็ Street Art ทำเพื่อใหผ้ นังเดมิ ท่เี กา่ ทรดุ โทรมมีทัศนียภาพทส่ี วยงามขึ้น สว่ นใหญจ่ ะเน้นสื่อสารวิถชี ีวติ และวัฒนธรรมของชาวจีนฮกเก้ียนในเมอื งภูเก็ต เชน่ ภาพประเพณีกินเจ บริเวณส่ีแยกถนนกระบตี่ ัดกับถนนปฏพิ ทั ธ์ ภาพหนนู ้อยมาร์ดี กลายเป็นขนมรูปเต่าในประเพณีไหว้ผ้อต่อ และภาพท่ีมีคุณค่าทางจิตใจมากท่ีสุด คือภาพชดุ ในหลวงรชั กาลท่ี ๙ บริเวณหัวมุมส่แี ยกถนนดบี กุ ตดั กับถนนเยาวราช ซึง่ วาดโดยอาจารย์และนักเรียนศิลปะในเมืองภูเก็ตหลังเหตุการณ์สวรรคตของในหลวง รัชกาลท่ี ๙ เพ่ือแสดงถึงการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและแสดงการรำลึกถึง พระองคท์ ่าน ภาพ Street Art ประเพณีถือศีลกนิ เจ ไดส้ รา้ งภมู ทิ ัศน์ทส่ี วยงามให้บรเิ วณด้านขา้ งของอาคาร และสร้างความกลมกลนื ทีส่ อ่ื สารเกย่ี วกบั การอนุรกั ษ์อาคารเกา่ แบบชโิ น-โปรตกุ สี บรเิ วณสี่แยกถนนกระบ่ีตัดกบั ถนนปฏิพัทธ์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเกต็ 99

ภาพ Street Art ขนมเต่าในประเพณีไหวผ้ ้อตอ่ แสดงวัฒนธรรมชาวจีนฮกเก้ยี น ไดส้ ร้างภูมิทศั น์ ใหม้ คี วามโดดเด่นสะดดุ ตาในบรเิ วณดา้ นขา้ งของอาคาร บรเิ วณถนนถลาง หน้าซอยรมณยี ์ อำเภอเมอื ง จงั หวดั ภเู ก็ต ภาพ Street Art ช่ือภาพ “ซอ่ นแอบ” เพิม่ เตมิ ความนา่ สนใจของภมู ิทัศน์บรเิ วณด้านหนา้ ของ รา้ นค้าบรเิ วณในซอยรมณีย์ ถนนถลาง อำเภอเมอื ง จังหวดั ภเู กต็ 100

ภาพ Street Art หนนู ้อยมารด์ ีแตง่ กายตามแบบวัฒนธรรมชาวจนี ในเมอื งภเู กต็ คอื เส้ือลูกไม้ สีขาว และนุ่งผา้ ปาเตะ๊ ลายดอกไม้สีชมพูกำลังเขน็ รถขนของ เนอื่ งจากเปน็ ภาพวาดบนผนังเก่า ของอาคารหน่ึงในย่านตลาดใหญ่ (เดนิ ทะลจุ ากถนนกระบี่เขา้ ไปได้) อำเภอเมอื ง จังหวดั ภเู ก็ต ภาพ Street Art ชื่อภาพ “โอวต้าว” (อาหารชาวจนี ฮกเกย้ี น เหมอื นหอยทอดแต่เปน็ หอย นางรมตัวเล็ก) ถนนพังงา เยื้องกับศาลเจ้าแสงธรรม อำเภอเมือง จังหวัดภูเกต็ 101

ในภาพ Street Art “โอวต้าว” เด็กผูห้ ญิงกำลังคยุ กับคุณย่าท่แี ตง่ กายแบบย่าหยา ใกล้ๆ กัน มีเด็กผู้ชายมุสลิม กำลังเตรยี มข้าวของ ภาพดงั กล่าวทำใหผ้ นังเก่าธรรมดามีเสนห่ ์ และถ่ายทอด ความเปน็ สังคมพหวุ ัฒนธรรมในเมืองภเู ก็ต เรื่องราวของวิถชี วี ิตชุมชนภายใต้ทุนวฒั นธรรมเดิม ถนนพงั งา เย้ืองกับศาลเจา้ แสงธรรม อำเภอเมอื ง จังหวัดภูเก็ต ภาพ Street Art ในหลวงรัชกาลท่ี ๙ สร้างภูมทิ ศั นใ์ ห้สวยงามและดึงดดู นกั ทอ่ งเที่ยว บริเวณสี่แยกถนนดีบุกตดั กบั ถนนเยาวราช อำเภอเมอื ง จังหวดั ภเู กต็ 102

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเจ้าของอาคารหลายหลังได้ดัดแปลงมาเป็นธุรกิจ รา้ นคา้ ต่างๆ การเปลย่ี นแปลงทางภูมทิ ัศนข์ องสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตกุ ีสทีเ่ กดิ ข้ึน สว่ นใหญเ่ ป็นผลกระทบจากการขยายตัวทางการท่องเท่ียว การมงุ่ เนน้ หารายได้จาก การทอ่ งเทีย่ วนน้ั ทำให้มีผเู้ ข้ามาลงทนุ สรา้ งธุรกิจรายใหม่จำนวนมาก อีกท้งั กระแส และรูปแบบทางการท่องเทีย่ วทเี่ ปล่ียนแปลงไป ได้สรา้ งผลกระทบทง้ั ในทางทีด่ แี ละ ไม่ดี นอกเหนอื จากความสวยงามหรือคณุ คา่ ของความเก่าแกท่ างสถาปตั ยกรรมแลว้ สถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส หรือสถาปัตยกรรมแบบชิโน-ยูโรเปียนในเมือง ภูเก็ต ยังคงทำหน้าที่สะท้อนเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และถ่ายทอดการเป็นสังคม พหวุ ฒั นธรรมของภเู กต็ ซง่ึ กลมุ่ และหนว่ ยงานทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั การอนรุ กั ษท์ กุ ภาคสว่ น ทง้ั ภาครฐั และภาคเอกชน ควรจะตอ้ งมีการประชมุ พิจารณาวางแผนร่วมกันในการ วางแนวทางการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของอาคารบ้านเรือนในย่านอนุรักษ์เมืองเก่า ส่ิงที่ต้องคำนึงถึงให้มากท่ีสุด คือไม่ให้เกิดการเปล่ียนแปลงแบบไร้ทิศทางหรือ เปล่ียนแปลงเพียงเพ่ือตอบโจทย์ความต้องการของกระแสนักท่องเที่ยวซึ่งส่วนใหญ่ เป็นการท่องเที่ยวแบบระยะส้ันหรือไม่ยั่งยืน ควรสร้างแนวทางการท่องเที่ยวแบบ ยั่งยืนที่จะเก็บรักษาเอกลักษณ์และเสน่ห์ของอาคารอนุรักษ์ รวมถึงธำรงรักษา วัฒนธรรมท้องถิ่นอันเป็นอัตลักษณ์ของเมืองภูเก็ตที่สะท้อนความเชื่อมโยงทางสังคม และวัฒนธรรมของชุมชนในอดีต สถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส ให้มีคุณค่า มากกว่าความสวยงามทางการออกแบบหรือสร้างขึ้นมา สถาปัตยกรรมแบบ ชโิ น-โปรตกุ สี ในเมอื งภเู กต็ ไดท้ ำหนา้ ทที่ นี่ กั ทฤษฎที างสถาปตั ยกรรม ออ็ งรี เลอแฟบร์ เรียกว่า พื้นทีเ่ ชิงภาพตวั แทน (Representational Spaces)38 เป็นการแสดงถงึ การผสมผสานทางวัฒนธรรมตะวันออกกับวัฒนธรรมตะวันตก และประยุกต์ใช้ให้ เหมาะกับท้องถิ่น ส่วนคุณค่าทางสุนทรียะในสถาปัตยกรรม สอดคล้องตามท่ี หมอ่ มหลวงปยิ ลดา ทวปี รงั สพี ร ไดส้ รปุ แนวคดิ ของรอเจอร์ สกรตู นั (Roger Scruton) 38สนั ต์ สุวัจฉราภินันท์. (2557). “พน้ื ทท่ี างสังคม” : การผสานรอยแยกของพนื้ ทก่ี ายภาพและนามธรรม ใน วา่ ดว้ ยทฤษฎีสถาปัตยกรรม: พ้นื ทส่ี าธารณะและพน้ื ทีท่ าง สังคม. หน้า 137. 103

จากหนงั สอื The Aesthetics of Architecture ไว้ 5 ประการ คือ หนา้ ท่ีใช้สอย ความเฉพาะที่เฉพาะถ่ินอย่างยิ่ง ความงามท่ีอิงกับวัสดุและเทคโนโลยีการก่อสร้าง ความเป็นศิลปะสาธารณะ และการไม่จำกัดว่าต้องสร้างโดยศิลปินหรือสถาปนิก39 ในปจั จุบนั การใชส้ อยพนื้ ทอี่ าคารสถาปตั ยกรรมแบบชโิ น-โปรตกุ สี มงุ่ เนน้ เพอื่ ธรุ กจิ เชงิ พาณชิ ย์ แต่สถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีสในภูเก็ตยังคงแสดงความเฉพาะที่ เฉพาะถน่ิ อยเู่ สมอ การดแู ลที่ดี การอนุรกั ษ์รูปแบบอย่างถูกตอ้ ง รวมถึงการสรา้ ง เลยี นแบบของเดมิ กย็ งั คงความงามตามวสั ดแุ ละเทคนคิ การกอ่ สรา้ งได้ สถาปตั ยกรรม แบบชิโน-โปรตุกีสในย่านอนุรักษ์เมืองเก่า (Old Town) จงึ เป็นจุดหมายของ นกั ทอ่ งเทยี่ วเชิงวัฒนธรรมและผู้มีสุนทรียะทางศิลปะอยู่เสมอ การท่องเท่ียวอย่าง เข้าใจและ ตระหนักรู้ จะทำใหค้ ณุ ค่าของสถานท่ีเพม่ิ มากขึ้น และนกั ทอ่ งเท่ยี วเปน็ ผู้มีส่วนสำคัญส่วนหน่ึงในการขับเคล่ือนแนวทางในการอนุรักษ์เพื่อให้สถาปัตยกรรม ทส่ี วยงามน้ีคงอยูต่ อ่ ไปอย่างย่งั ยนื 39ปยิ ลดา ทวีปรงั สพี ร. (2557). รสู้ กึ นกึ คดิ กบั ประสบการณส์ นุ ทรียะใน สถาปตั ยกรรม ใน วา่ ดว้ ยทฤษฎีสถาปตั ยกรรม: พื้นที่สาธารณะและพืน้ ทีท่ างสงั คม. หน้า 152. 104

บรรณานกุ รม หนงั สอื ภาษาไทย กรมทรพั ยากรธรณ.ี (2535). “เหมืองแร่,” ใน 100 ปี กรมทรพั ยากรธรณ.ี กรุงเทพฯ : บรษิ ทั ฉลองรตั น์. กรมศลิ ปากร. (ม.ป.ป.). ตำนานเมอื งนครศรธี รรมราช. ม.ป.ท. _________. (2530). รายงานการสำรวจโบราณสถานเมืองภูเกต็ . ภูเกต็ : โรงพิมพ์กรมศิลปากร. บลั แลนไทน,์ แอนดรูว.์ แปลโดย อนสุ รณ์ ติปยานนท.์ (2557). สถาปัตยกรรม: ความรฉู้ บบั พกพา. กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวลิ ์ดส พับลิชชิ่ง เฮาส์. ประสิทธิ ชนิ การณ์ และคนอนื่ ๆ. (2536). ภูเก็จเมอื งแกว้ (หนังสือทีร่ ะลึก งานทา้ วเทพกระษตั รี – ท้าวศรีสนุ ทร. ภูเกต็ : โรงพิมพ์กองทอง. ปยิ ลดา เทวกลุ ทวีปรังสพี ร, หมอ่ มหลวง. (2554). คำ ความคดิ สถาปัตยกรรม. กรงุ เทพฯ : บรษิ ัท ลายเสน้ พับบลิชช่ิง จำกัด. วริ ุณ ต้งั เจรญิ . (2552). วสิ ัยทศั น์ศิลปวัฒนธรรม. กรงุ เทพฯ : ศนู ยส์ ำนักพมิ พ์ มหาวทิ ยาลยั ศรนี ครนิ ทรวโิ รฒ. สมหมาย ป่นิ พทุ ธศลิ ป.์ (2538). แหลง่ ศลิ ปกรรมและแหล่งประวตั ศิ าสตร์ภูเก็จ. ภูเก็ต : ศนู ย์วัฒนธรรมภเู กต็ . สนั ต์ สวุ จั ฉราภนิ นั ท์ บรรณาธิการ. (2557). วา่ ดว้ ยทฤษฎีสถาปัตยกรรม: พืน้ ที่ สาธารณะและพน้ื ทที่ างสงั คม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชยี งใหม่. สุนยั ราชภัณฑารกั ษ์. (2518). ภูเก็ต. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เฟือ่ งอักษร. โอภาส สุกใสและคนอ่นื ๆ. (2533). ภเู กจ็ ’๓๓ : บางส่วนเสีย้ วของประวัตศิ าสตร์ ประสบการณแ์ ห่งการตอ่ สูก้ ารล่มสลายและการดำรงอยู่ของผ้คู น. ภเู กต็ : ฝ่ายจดั ทำหนงั สอื ทร่ี ะลกึ และเอกสารประชาสัมพันธ์ กองประชาสัมพันธ์ การแข่งขนั กีฬาเยาวชนแหง่ ชาติ คร้งั ท่ี 6 จังหวัดภูเก็ต 105

วารสาร วิรณุ ตง้ั เจรญิ . (2552, มกราคม – มิถนุ ายน). การจัดการวัฒนธรรมและ ทัศนศิลป์. วารสารมหาวทิ ยาลัยศรนี ครนิ ทรวโิ รฒ. 1(1) : 1 – 6. สุธรี ะ ประเสรฐิ สรรพ์. (2551, กรกฎาคม – ธนั วาคม). การจัดการวัฒนธรรมใน ระดับนโยบายของรฐั . วารสารสถาบนั วฒั นธรรมและศิลปะ มหาวทิ ยาลยั ศรีนครินทรวิโรฒ. 10(1) : 41 – 50. ปริญญานิพนธแ์ ละงานวจิ ยั ดรณุ ี แก้วม่วง. (2526). พระยารัษฎานปุ ระดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบ้ี ณ ระนอง) : ผนู้ ำการปกครองหวั เมอื งไทยฝง่ั ตะวนั ตก พ.ศ.2444 – 2456. ปรญิ ญานพิ นธ์ กศ.ม. (ประวตั ิศาสตร์). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรนี ครินทรวโิ รฒ. นพดล กติ ติกลุ . (2534). คำยมื ภาษาจนี ฮกเกีย้ นที่ใชใ้ นภาษาถ่นิ จงั หวัดภูเก็ต. ปรญิ ญานพิ นธ์ กศ.ม. เอกภาษาไทย. กรงุ เทพฯ : มหาวทิ ยาลยั ศรนี ครนิ ทรวโิ รฒ ประสานมิตร. นวลศรี พงศ์ภัทรวตั . (2543). บทบาทผู้นำชาวจนี ฮกเกยี้ นในเกาะภูเก็ต ระหว่าง พ.ศ.2396 – 2475. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (ประวัตศิ าสตร)์ . กรุงเทพฯ : มหาวทิ ยาลยั ศรนี ครินทรวิโรฒ. ปิยะนาถ ลมิ่ สกุล. (2542). การศึกษาอิทธิพลของต่างประเทศจากสถาปตั ยกรรม ในเมอื งภเู ก็ต ระหวา่ ง พ.ศ.2411 – 2468. ปรญิ ญานพิ นธ์ ศศ.ม. (ประวัตศิ าสตร)์ . กรุงเทพฯ : มหาวทิ ยาลยั ศรนี ครนิ ทรวโิ รฒ. สมปอง ยอดมณี. (2535). คตินิยมการก่อสรา้ งท่ีปรากฏในสถาปัตยกรรมจีนใน เขตอำเภอเมืองสงขลา จงั หวัดสงขลา. ปรญิ ญานิพนธ์ กศ.ม. (เอกไทยคดี ศกึ ษา) สงขลา : มหาวทิ ยาลยั ศรนี ครนิ ทรวิโรฒ สงขลา. ฮันส์ เดทเลฟ และพรใจ ศริ ิรตั น.์ (2527). โครงการอนุรักษส์ ถาปัตยกรรมและ พฒั นาเมืองภูเก็ต. งานวจิ ยั แผนกวางแผนพฒั นาชุมชนและท้องถิน่ . กรงุ เทพฯ : สถาบันเทคโนโลยแี หง่ เอเชีย (AIT). 106

ภาษาตา่ งประเทศ Khoo Su Nin. (2001). Streets of George Town Penang. Third Edition. Penang : Janus Print & Resources. Nopadon Sahachaisaeree. (1982). Traditional Chinese Shophouses in Phuket (South Thailand) and George Town (Penang, Malaysia) : Towards a Policy of Conservation. M.Sc. (Human Settlement Planning). Bangkok : Asian Institute of Technology (AIT). ขอ้ มลู สัมภาษณ์ จรูญรตั น์ ตัณฑวณชิ . (2562, 19 มนี าคม). สัมภาษณโ์ ดย ปิยะนาถ อังควาณิชกุล ท่ีบา้ นชนิ ประชา เลขท่ี 98 ถนนกระบี่ อำเภอเมือง จังหวดั ภเู กต็ . ปญั ญา ตอ่ เจริญ. (2562, 21 มนี าคม). สมั ภาษณ์โดย ปิยะนาถ อังควาณชิ กุล ที่ บ้านเลขท่ี 112 ถนนเยาวราช อำเภอเมอื ง จงั หวดั ภูเก็ต. สมหมาย ปนิ่ พทุ ธศลิ ป.์ (2562, 20 มนี าคม). สมั ภาษณโ์ ดย ปยิ ะนาถ องั ควาณชิ กลุ , ทว่ี ดั มงคลนิมิตร (วัดกลาง) อำเภอเมือง จงั หวดั ภเู กต็ . แหล่งข้อมูลออนไลน์ กระทรวงการทอ่ งเท่ียวและกฬี า. (2554). แผนพฒั นาการทอ่ งเที่ยวแหง่ ชาติ พ.ศ.2555–2559. สืบค้นเมอ่ื วันท่ี 12 มนี าคม 2562, จาก http:// www.mots.go.th/download/ImplementationOfThePolicy/ NotificationofTheNationalTourismPolicy.PDF การทอ่ งเทยี่ วมาเลเซีย. คฤหาสน์เปอรานากัน (Pinang Peranakan Mansion). สบื คน้ เม่อื วันที่ 14 มถิ นุ ายน 2563, จาก http://www.tourism.gov.my/ th-th/places/states-of-malaysia/penang/ pinang-peranakan- mansion. 107

การทอ่ งเท่ยี วแหง่ ประเทศไทย. (2560). พพิ ธิ ภัณฑเ์ พอรานากนั นิทศั น์. สืบคน้ เม่ือ 18 มีนาคม 2562, จาก https://www.phuketemagazine.com/ พิพิธภณั ฑ์เพอรานากนั นทิ ัศน/์ ภาพเก่าสถานีตำรวจเทศบาลเมืองเดมิ และธนาคารชารเ์ ตอรด์ . สืบค้นเม่ือวันท่ี 12 มีนาคม 2562, จาก https://sites.google.com/site/172phuket172/ prawatisastr. มิวเซยี มไทยแลนด์. (2563). มิวเซียมภเู กต็ . สบื ค้นเมื่อ 14 มถิ ุนายน 2563, จาก https://www.museumthailand.com/th/museum/Museum- Phuket สอ่ งตึกธนาคารกสกิ รไทย KBANK สาขาภเู ก็ต. สบื ค้นเม่อื วันที่ 10 มนี าคม 2562, จาก https://sistacafe.com/summaries/22430. Tripadvisor. Blue Elephant Phuket. สืบคน้ เม่ือวันที่ 14 มถิ นุ ายน 2563, จาก https://th.tripadvisor.com/LocationPhotoDirectLink-g1215781- d1759741-i110979406-Blue_Elephant_Phuket- Phuket_Town_Phuket.html 108