Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ความสุขหาได้ไม่ยาก

ความสุขหาได้ไม่ยาก

Description: ความสุขหาได้ไม่ยาก.

Search

Read the Text Version

ความสขุ หาไดไ้ ม่ยาก พระนพิ นธ์ สมเดจ็ พระญาณสงั วร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสงั ฆปรณิ ายก ีทฆายุโก โห ุต สังฆราชา ทรงเจริญพระ ัชนษา ๑๐๐ ีป ๓ ุตลาคม ๒๕๕๖

ความสขุ หาไดไ้ มย่ าก พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสงั วร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสงั ฆปรณิ ายก ๓ ตุลาคม ๒๕๕๖

ความสุขหาไดไ้ มย่ าก พระนิพนธ ์ สมเดจ็ พระญาณสังวร สมเด็จพระสงั ฆราช สกลมหาสงั ฆปรณิ ายก ๓ ตุลาคม ๒๕๕๖



อาศริ วาทฉลองพระชนั ษา ๑๐๐ ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรณิ ายก ๓ ตุลาคม ๒๕๕๖ บุญพสิ ทิ ธพ์ิ ุทธศาสนแ์ ท้ เที่ยงธรรม บญุ กษตั รยิ ์รตั น์เลิศล้ำ ยิ่งแล้ บญุ แผ่นดนิ ถิน่ เน่ืองนำ สยามพสก สขุ เฮย อุบตั สิ งฆ์ทรงสกิ ขแท้ สมเด็จพระญาณสงั วร อา้ องคพ์ ระสมั มา สัมพุทธานุภาภรณ์ ล้ำเลิศเจดิ ขจร ด้วยพุทธาบารมี ช้ธี รรมแล นำสงฆ์ เกิดเปน็ องคม์ งคลตร ี เบ้ืองน้นั จนวนั นี้ เปน็ ศักด์ศิ รนี ริ ันดร ประทานพระสงั ฆราช ณ อาวาสวดั บวร ฯ สมงามสมนามกร ญาณสังวรพทุ ธางกรู ยงั ชาติ ศาสน์ กษตั ริย์ โสมนสั พพิ ัฒนพ์ ูล ทกุ ใจไทยเทดิ ทนู บรบิ ูรณ์ศรัทธาธรรม พระชนม์สงั ฆราช เยอ้ื งพลู ทว ี คำรบ ๑๐๐ ปี รุ่งแลว้ ญาณสงั วรขจรศร ี ศภุ มิง่ มงั คลา ทกุ ใจไทยผอ่ งแผ้ว นอบนอ้ มทูลถวาย



สังฆปรณิ ายก เฉลิมดิลก พรรณราย พระชนม์ดลกำจาย ๑๐๐ ป ี มงคล ดวงใจไทยทกุ ผู้ นอ้ มจติ สูส่ ิ่งกศุ ล อทุ ศิ ผลิตผล เป็นอานนท์จนิ ตนา ทูลถวายแทบพระบาท อาศิรวาท สงั ฆราชา เพ่อื พระชนมม์ า จรี ังรนื่ พันหม่นื ป ี สขุ ขะพลานามัย จ่งุ ผอ่ งใส เกษมศร ี พลังสังฆบารม ี พูนทวี นริ นั ดร์เทอญ ฯ อาจารย์เสรี หวงั ในธรรม ประพนั ธ์ถวาย (เมอื่ ครง้ั ๘๔ พรรษา)



สมเดจ็ พระญาณสงั วร สมเดจ็ พระสงั ฆราช สกลมหาสงั ฆปริณายก



โครงการบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถาน ศาสนสถาน พิพธิ ภัณฑสถานจงั หวดั กำแพงเพชร เฉลมิ พระเกยี รต ิ ศูนย์ จรยิ ศกึ ษา สธ กำแพงเพชร ซง่ึ ไดร้ บั ประทานพระสงั ฆราชปู ถมั ภ์ ในการบรู ณะและกอ่ สรา้ ง ระหวา่ ง ปี พ.ศ. ๒๕๓๓-๒๕๔๐ ณ เขตพื้นท่ีอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อขอประทานน้อมถวายเป็นพระกุศลเทิดพระเกียรติ เน่ือง ในมงคลกาลที่ เจ้าพระคณุ สมเดจ็ พระญาณสงั วร สมเดจ็ พระ สงั ฆราช สกลมหาสงั ฆปรณิ ายก ทรงเจรญิ พระชนั ษา ๙๙ ป ี และทรงเจรญิ พระชันษา ๑๐๐ ปี ๓ ตุลาคม ๒๕๕๖



คำน ำ พระนิพนธ์เร่อื ง ความสขุ หาไดไ้ มย่ าก น้ี ไดป้ ระมวลจาก พระนพิ นธเ์ รือ่ ง การบริหารจิต สำหรบั ผู้ใหญ ่ แล้วนำมาเรยี บเรยี ง ให้เป็นเร่อื งเดียวกนั ไดพ้ ิมพเ์ ผยแพรค่ รงั้ แรก เน่อื งในวนั คล้ายวนั ประสูต ิ ๓ ตลุ าคม ๒๕๓๓ พระนิพนธ์เรื่องนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จ พระสังฆราช ทรงอธิบายใหเ้ หน็ ถงึ วิธีสรา้ งความสขุ ให้แก่ชวี ติ ตาม แนวคำสอนของพระพุทธศาสนาท่ีบุคคลทุกระดับสามารถนำมาปฏิบัติ ให้เกิดผลแก่ตนเองของแต่ละบุคคลได้โดยวิธีท่ีไม่ยาก จึงเป็นพระ นิพนธท์ ที่ กุ ผ้ใู ฝใ่ จที่ใหค้ วามสุข แก่ตนเอง ควรศกึ ษาปฏบิ ตั ิ เน่ืองในงานฉลองพระชนั ษา ๑๐๐ ป ี ของเจ้าพระคณุ สมเดจ็ พระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ๓ ตุลาคม ๒๕๕๖ น ้ี ในนามคณะสงฆ์และชาวจังหวัดกำแพงเพชร จึงได้จัดพิมพ์พระนิพนธ์เร่ืองน ้ี น้อมถวายเป็นเครื่องสักการบูชา พระคณุ เจา้ พระคณุ สมเดจ็ พระญาณสังวร สมเด็จพระสงั ฆราช

คณะสงฆพ์ ร้อมด้วยพทุ ธศาสนกิ ชนชาวกำแพงเพชร ขอนอ้ ม จิตอธิษฐานถวายพระกุศล ถวายพระพรชัย ขออำนาจคุณพระศรี รัตนตรัยและพระกุศลบารมีท้ังปวงท่ีได้ทรงปฏิบัติบำเพ็ญมาแล้ว อภิบาลรักษาเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสงั ฆปรณิ ายก ใหท้ รงพระสำราญ ทรงพระสุขภาพสมบูรณ ์ ทรงเจริญพระจตุรพิธพร เสดจ็ สถิตเป็นหลกั ใจและประทปี ธรรมของ ปวงพทุ ธบรษิ ัทยิ่งยืนนานสบื ไปเทอญ. พระโสภณคณาภรณ์ ในนามคณะสงฆแ์ ละชาวจังหวัดกำแพงเพชร ๓ ตุลาคม ๒๕๕๖

หน้า ฎ ๑ ๑๓ สาร บัญ ๑๘ ๒๙ ๔๐ ๕๑ คำนำ ๕๙ ความสขุ ทเ่ี หน็ ได ้ ๘๒ สำคัญท่ใี จ ๘๖ ทำอย่างไรกบั อารมณ์คา้ ง ๑๐๖ ถ้าไมร่ ู้จกั พอ ก็ไม่รู้จกั สขุ ๑๑๗ ทำไมจะตอ้ งเหน็ดเหน่ือยกบั ความอยาก ? ๑๒๗ อยา่ ทำผดิ ท้งั ชีวิต ทำอยา่ งไรดกี ับความโกรธ ? จะเปน็ อยา่ งไรข้ึนอยกู่ ับความคิด คิดให้เปน็ เปน็ สุขยิง่ ความสขุ ต้องร้จู กั หาใหถ้ กู ทาง อะไรคอื ศัตรูของความสขุ ? ความจรงิ คือท่ีมาของความสขุ



ความสขุ ท่ีเหน็ ได ้ อันความสุขย่อมเปน็ ที่ปรารถนาของคนทุก ๆ คน และทกุ ๆ คนย่อมเคยประสบความสขุ มาแลว้ ความสุขเป็นอย่างไรจงึ เปน็ ที่รู้จัก กันอย ู่ ในเวลาท่ีกายและจิตใจอิ่มเอิบสมบูรณ์สบาย ก็กล่าวกันว่า เป็นสุข ความสขุ จงึ เกดิ ข้นึ ทีก่ ายและจิตใจนเี่ อง สำหรับกายน้ัน เพียงให้เคร่ืองอุปโภคบริโภคพอให้เป็นไปได้ ก็นับว่าสบาย แม้กายสบายดังกล่าวมาน ี้ ถ้าจิตไม่สบาย กายก็ พลอยซูบซีดเศร้าหมองด้วย ส่วนกายเมื่อไม่สบายด้วยความเจบ็ ปว่ ย หรอื ด้วยความคับแค้นอยา่ งใดอย่างหน่ึง ถ้าจติ ยงั ร่าเรงิ สบายอย่ ู ก็ ไม่รู้สึกว่าเป็นทุกข์เป็นร้อนเท่าใดนัก และความไม่สบายของกายก็ อาจบรรเทาไปได้ เพราะเหตุนี้ความสขุ จิตสขุ ใจน่นั แลเป็นสำคญั อันความสุขทางจิตใจนี ้ คิด ๆ ดูก็น่าเห็นว่าหาได้ไม่ยากอีก

2 เพราะความสุขอยู่ท่ีจิตใจของตนเอง จักต้องการให้จิตเป็นสุขเมื่อใด ก็น่าจะได้ ใคร ๆ เมื่อคิดดูก็จักต้องยอมรับว่าน่าคิดเห็นอย่างนั้น แต่ก็ต้องยอมจนอีกว่าสามัญชนทำไม่ได้เสมอไป เพราะยังต้องการ เครื่องอุปกรณ์แห่งความสุข หรือเรียกว่าเครื่องแวดล้อมอุดหนุน ความสุข มีเงินทอง เครื่องอุปโภคบริโภค เป็นต้น ถ้าเคร่ือง อุปกรณ์แห่งความสุขขาดไปหรือมีไม่เพียงพอ ก็ทำให้เป็นสุขมิได้ นี้เรียกว่ายังต้องปล่อยใจให้เป็นไปตามเหตุการณ์อยู ่ ข้อนี้เป็น ความจรงิ เพราะเหตุฉะน้ี ในทน่ี ีจ้ ึงประสงคค์ วามสขุ ท่ีมเี ครอื่ งแวดลอ้ ม หรอื ทีเ่ รียกว่าสขุ สมบตั ิ อนั เปน็ ความสขุ ขนั้ สามัญชนท่ัวไป คิดดูเผนิ ๆ ความสขุ นี้น่าจกั หาไดไ้ มย่ าก เพราะในโลกนมี้ ี เครื่องอปุ กรณแ์ ห่งความสุขแวดล้อมอยูโ่ ดยมาก หากสงั เกตดูชีวติ ของคนโดยมากท่กี ำลังดำเนนิ ไปอยู่ จกั รู้สึก ว่าตรงกันข้ามกับที่คิดคาด ทั้งนี้มิใช่เพราะเครื่องแวดล้อมอุดหนุน ความสุขในโลกนี้มีน้อยจนไม่เพียงพอ แต่เป็นเพราะผู้ขาดแคลนสุข สมบัต ิ ไม่ทำเหตุอันเป็นศรีแห่งสุขสมบัต ิ จึงไม่ได้สุขสมบัติเป็น กรรมสิทธ์ ิ ส่วนผู้ท่ีทำเหตุแห่งสุขสมบัต ิ ย่อมได้สุขสมบัติมาเป็น กรรมสิทธ์ ิ เพราะเหตุน ี้ ผู้ปรารถนาสุขจึงสมควรจับเหตุให้ได้ก่อนว่า อะไรเป็นเหตุของความสุข และอะไรเป็นเหตุของความทกุ ข์ บางคน อาจเหน็ ว่า เหตขุ องความสขุ ความทกุ ขอ์ ย่ภู ายนอก คือสขุ เกดิ จาก สิ่งภายนอก มีเงนิ ทอง ยศ ช่ือเสยี ง บ้านที่สวยงาม เปน็ ตน้

3 ส่วนความทุกข์ก็เกิดจากส่ิงภายนอกน้ันเหมือนกัน บางคนอาจเห็น ว่าความสุขความทุกข์เกิดจากเหตุภายใน จักพิจารณาความเห็น ทง้ั สองน้ีตอ่ ไป สิ่งภายนอกโดยมาก ถ้าเป็นส่วนท่ีด ี มีเงิน ทอง ยศ ช่ือเสียง เป็นต้น ก็เป็นที่ปรารถนาตรงกันของคนเป็นอันมาก จึง ต้องมีการแสวงหาแข่งขันกันโดยทางใดทางหน่ึง เม่ือได้มาก็ให้เกิด ความสุขเพราะสมปรารถนาบ้าง เพราะนำไปเล้ียงชีพตนและผู้อื่นให้ อ่ิมหนำสำราญบ้าง สิ่งภายนอกย่อมอุดหนุนความสุขฉะน ี้ แต่ส่ิง ภายนอกเป็นส่ิงไม่ย่ังยืน แปรเปล่ียนไปอยู่เสมอ ความสุขท่ีเก่ียว เกาะติดอยู่ก็ต้องแปรเปล่ียนไปตาม ความทุกข์จึงปรากฏขึ้นติด ๆ กันไปทเี ดียว ความสุขเช่นนีเ้ ปน็ ความสุขที่ลอยไปลอยมา หรือเรยี ก วา่ เป็นความสขุ ลูกโป่ง และในความแสวงหา ถา้ ไมไ่ ดห้ รอื ได้สงิ่ ทีไ่ ม่ ชอบก็ให้เกิดความทุกข์เพราะไม่สมปรารถนา อนึ่ง ถ้าได้ส่ิงน้ัน ๆ มาด้วยการกระทำที่ไม่ด ี การกระทำนนั้ กจ็ กั เปน็ เครือ่ งตดั ทอนตนเอง อีกส่วนหนงึ่ ข้อความที่กล่าวมาน้ีแสดงว่าส่ิงภายนอกอุดหนุนความสุข สำราญใหบ้ า้ ง แตจ่ ัดเปน็ เหตขุ องความสขุ หรอื ? ถา้ เป็นเหตขุ องความสขุ ผ้ทู มี่ สี ่ิงภายนอกบริบูรณจ์ กั ต้องเปน็ สขุ ทกุ คน แต่ความจริงไมเ่ ปน็ อยา่ งน้นั ผู้ทบี่ ริบูรณด์ ้วยส่งิ ภายนอก แตเ่ ป็นทุกขม์ ีถมไป เพราะเหตุน้ี สิ่งภายนอกจึงมใิ ช่เป็นตวั เหตขุ อง ความสุข เป็นเพียงเครื่องแวดล้อมอุดหนุนความสุขดังกล่าวแล้ว เท่านนั้

4 บัดน้ียังเหลืออยู่อีกความเห็นหนึ่ง ซ่ึงว่าสุขทุกข์เกิดจากเหตุ ภายใน อันสิ่งภายนอกม ี เงิน ทอง ยศ ชอื่ เสียง เปน็ ตน้ อันเป็น อุปกรณ์แก่ความสุข เมื่อคิดดูให้ซึ้งลงไป จักเห็นว่าเกิดจากการ กระทำของตนเอง ถ้าตนเองอยู่เฉย ๆ ไม่ทำการงานอันเป็นเหตุที่ เพิ่มพูนสิ่งภายนอกเหล่าน้ัน สิ่งภายนอกน้ันก็จะไม่เกิดข้ึน ท่ีมีอยู่ แล้วก็ต้องแปรเปลี่ยนไป ถ้าไม่มีใหม่มาชดเชยก็จักต้องหมดไปใน ที่สุด เพราะเหตุฉะนี้จึงกล่าวได้ว่า สิ่งภายนอกท่ีเป็นอุปกรณ์แก่ ความสุขน้ัน ก็เกิดข้ึนเพราะการกระทำของตนเองในทางธรรม การ ประกอบอาชีพมกี สกิ รรม พาณิชยกรรม เปน็ ต้น ไปตามธรรมดา ไม่เรียกเป็นการงานท่ีดีหรือช่ัว แม้ชาวโลกก็ไม่เรียกผู้ประกอบการ อาชีพไปตามธรรมดาว่าเป็นคนดีหรือเป็นคนเลว แต่หากว่ามีการทำ อย่างอ่ืนพิเศษออกไป ถ้าต้องด้วยเนติอันงามก็เรียกกันว่าด ี ถ้าไม่ ต้องด้วยเนตอิ ันงามกเ็ รียกกนั วา่ เลว ไม่ดี เพราะเหตุฉะนั้น ผู้ปรารถนาสุขเบื้องต้นจึงสมควรหม่ัน ประกอบการงานหาเล้ียงชีพตามทางของตน ๆ โดยไม่ตัดรอนกัน ไม่เฉ่ือยชาเกียจคร้าน และแก้ไขในการงานของตนให้ดีข้ึน ก็จัก ไม่ต้องประสบความแร้นแค้นขัดข้อง ถ้าไม่หม่ันประกอบการงาน เกียจครา้ น เฉอ่ื ยชา และไมค่ ดิ แก้ไขการงานของตนให้ดีขึน้ ปลอ่ ย ไปตามเร่อื ง ก็อาจจักตอ้ งประสบความยากจนขน้ แคน้ ต้องอกแห้ง เปน็ ทกุ ข ์ และน่ันเปน็ ความผดิ ใหญต่ ่อประโยชนป์ จั จบุ ันของตนเอง การทำอย่างหน่ึง ทางธรรมเรียกว่าดี เป็นวิถีทางของคน

5 ฉลาด และทางโลกยกย่องนับถือว่าด ี การทำอย่างนี้ เรียกว่า สุจริต แปลว่า ประพฤติดี ประพฤติดีทางกาย เรียกกายสุจริต ประพฤติดีทางวาจา เรียกว่าวจีสุจริต ประพฤติดีทางใจ เรียกว่า มโนสุจรติ กายสุจรติ จำแนกเปน็ ๓ คือ ไมฆ่ ่าสตั ว์ ไมล่ กั ทรพั ย ์ ไม่ประพฤติผิดในทางกามประเวณี วจีสุจริต จำแนกเป็น ๔ คือ ไมพ่ ูดปด ไมพ่ ดู ส่อเสียด ไมพ่ ูดคำหยาบ ไม่พดู เพอ้ เจ้อเหลวไหล มโนสจุ รติ จำแนกเป็น ๓ คือ ไม่เพง่ เล็งทรพั ยส์ มบตั ิของผอู้ ื่นดว้ ย โลภเจตนาคดิ จะเอามาเป็นของ ๆ ตน ไม่พยาบาทปองร้าย ไมเ่ หน็ ผิดจากคลองธรรม มคี วามเห็นว่าทำดีได้ดที ำชวั่ ได้ชว่ั เป็นต้น รวม เป็น ๑๐ ประการ ส่วนการกระทำท่ีตรงกันข้ามเรียกว่า ทุจริต แปลว่า ประพฤตชิ ั่ว ประพฤตชิ ่วั ทางกายเรยี กว่า กายทจุ ริต ประพฤติชั่ว ทางวาจาเรียกว่า วจีทุจริต ประพฤติช่ัวทางใจเรียกว่า มโนทุจริต ทจุ รติ ๓ น้ีมจี ำแนกตรงกันขา้ มกบั สจุ รติ คำวา่ ประพฤติ มักจะพดู ม่งุ หมายถงึ การกระทำทางกายและ วาจา คำว่า ทำ กม็ กั พดู หมายถึงการทำทางกาย การทำทางวาจา เรียกว่า พูด การทำทางใจเรียกว่า คิด ส่วนทางธรรม การทำ พูด คิด เรยี กเปน็ อยา่ งเดียวกันว่า ทำ หรือประพฤตดิ ี และมคี ำ วา่ กาย วาจา ใจ กำกับเพื่อให้รวู้ ่าทำหรอื ประพฤติทางไหน ทุจริต ทางธรรมเรยี กวา่ ไม่ดี เปน็ วิถีทางของผูไ้ ม่ฉลาด ทาง โลกก็เหยียดหยามว่าเลว ไม่ด ี โดยนัยน้ีจึงเห็นว่าทั้งทางโลก ท้ัง ทางธรรม นับถือสิทธิของผู้อ่ืน หรือเรียกว่านับถือขอบเขตแห่ง

6 ความสงบสุขของผู้อื่น เพราะสุจริตและทุจริตที่จำแนกไว้อย่างละ ๑๐ ประการนั้น โดยความก็คือไม่ประพฤติละเมิดสิทธิหรือไม่ เบียดเบียนความสงบสุขของผู้อ่ืน และการประพฤติละเมินสิทธิและ ความสงบสุขของผอู้ นื่ น้ันเอง แต่ทางโลกนับถือสิทธิของบุคคลและสัตว์เดียรัจฉานบาง จำพวก ไม่นบั ถือบางจำพวก โดยอาศยั กฎหมายเป็นหลกั สว่ นทาง ธรรม นับถือทั่วไปไม่มีแบ่งแยกยกเว้น เพราะทางธรรมละเอียด ประณตี อน่งึ ทุจริต อยเู่ ฉย ๆ ประพฤติไม่ได ้ ต้องประพฤตดิ ้วย ความขวนขวายพยายามจนผิดแผกแปลกไปจากปกต ิ จึงจัดเป็น ทุจริตได้ ส่วนสุจริตประพฤติได้โดยไม่ต้องลงทุนลงแรง ประพฤติ ไปตามปกติของตนนั่นแลไม่ต้องตบแต่งเปลี่ยนแปลงก็เป็นสุจริตได ้ เพราะเหตนุ ้ี เมื่อว่าทางความประพฤต ิ สุจรติ จงึ ประพฤติได้งา่ ยกว่า เมอื่ เปน็ เชน่ นี ้ เพราะเหตุไรทจุ ริตจงึ เกิดขึ้นได้ ? ข้อนี้เป็นเพราะยังขาดธรรมในใจเป็นเคร่ืองเหนี่ยวรั้งความ ประพฤตจิ งึ เปน็ ไปตามใจของตนเอง ผ้รู กั ษาศีล หรอื ประพฤติสจุ รติ หรือแม้ประพฤติกฎหมายของบ้านเมือง ถ้าไม่มีธรรมอยู่ในใจบ้าง แลว้ ก็มกั จะรกั ษาหรอื ประพฤตทิ ำนองทนายวา่ ความ เพราะการกระ ทำบางอย่างไม่ผิดศีลตามสิกขาบท ไม่ผิดสุจริตตามหัวข้อ แต่ผิด ธรรมมอี ยู่ และจะประพฤติหรอื รกั ษาใหต้ ลอดไปมิได้ เพราะเหตนุ ้ี จึงสมควรมีธรรมในใจ สำหรับประพฤติคู่กันไปกบั สจุ รติ ธรรมมีมาก แต่ในที่น้ีจักเลือกแสดงแต่ธรรมท่ีสมควร

7 ประพฤติปฏิบัตคิ ูก่ นั ไปกับสุจริต โดยนัยหน่ึง คือ มคี วามละอายใจในการเบยี ดเบียน มคี วามเอน็ ดู ขวนขวาย อนเุ คราะหส์ ัตว์ทง้ั ปวงด้วยประโยชน ์ คู่กบั การไมฆ่ ่าสตั ว์ มีความโอบอ้อมอารี เอ้ือเฟ้ือเผ่ือแผ ่ เฉลี่ยความสุขของตน แก่คนท่ีควรเฉลี่ยให้ ดว้ ยการบรจิ าคให ้ คู่กบั การไมล่ ักทรัพย ์ มีสันโดษยินดีเฉพาะสามีหรือภริยาของตน ไม่คิดนอกใจ สำหรับผู้ท่ียังไม่มีครอบครัว ก็มีเคารพในธรรมเนียมประเพณีท่ีด ี ไมค่ ดิ ละเมิด คกู่ ับการไมป่ ระพฤติผิดในทางกามประเวณ ี มีปากตรงกับใจ ไม่ลดเลย้ี วลบั ลมคมใน คกู่ ับไม่พูดปด พูดชักให้เกิดสามัคคี สมานสามัคคีด้วยในใจสมานคู่กับไม่ พดู ส่อเสยี ด พูดกันดี ๆ อ่อนหวานตามสมควรแก่ภาษานิยม มิใช่กด มใิ ชย่ กยอ ดว้ ยอัธยาศยั ออ่ นโยนน่มิ นวล ไมก่ ระดา้ ง ค่กู ับไม่พูด คำหยาบ พูดมีหลักฐานท่ีอา้ งองิ มกี ำหนด มปี ระโยชน ์ มจี บอย่างสูง เรียกว่า มีวาจาสิทธ์ิด้วยความตกลงใจทันท่วงที ม่ันคงไม่โงนเงน โลเล คกู่ ับไมพ่ ูดเพอ้ เจอ้ เหลวไหล มีใจสันโดษยินดีในสมบัติของตนตามได ้ ตามกำลังตาม สมควร และมใี จยินดีด้วยหรอื วางใจเฉย ๆ ดว้ ยความรู้เทา่ ในเมอ่ื ผู้ อ่ืนได้รับสมบัต ิ หรือในเม่ือเห็นสมบัติของผู้อื่นคู่กับไม่เพ่งเล็ง ทรพั ย์สมบตั ิของผู้อน่ื ด้วยโลภเจตนา คิดจะเอามาเป็นของตน มเี มตตาไมตรีจิตในสัตว์ทัง้ ปวง คู่กับไม่พยาบาทปองรา้ ย

8 ทำความเหน็ ใหต้ รงเพอื่ ใหถ้ กู ใหช้ อบยงิ่ ขน้ึ คกู่ บั ความเหน็ ชอบ ธรรมตามท่ีแสดงมาน้ีมีอยู่ในบุคคลใด บุคคลน้ันชื่อว่า ธรรมจารี ผู้ประพฤติธรรม หมายถึงความประพฤติเรียกว่า ธรรมจริยา ส่วนท่ีตรงกันข้ามกับที่แสดงมาน้ีเรียกว่าอธรรม คู่กับ ทจุ ริต สจุ รติ กับธรรมท่คี ู่กนั เรยี กอย่างสนั้ ในท่นี ้ีวา่ สุจริตธรรม นอก นเ้ี รียกวา่ ทจุ รติ ธรรม สุจรติ ธรรมใหเ้ กิดผลอยา่ งไร ? ทุจริตธรรมให้เกิดผลอยา่ งไร ? คดิ ใหร้ อบคอบสักหนอ่ ยก็จักใหเ้ ห็นได้ในปัจจุบันนี้เอง ผู้ประพฤติสุจริตธรรมย่อมเป็นคนไม่มีภัย ไม่มีเวร มีกาย วาจา ใจปลอดโปร่ง น้ีเปน็ ความสุขท่เี หน็ กนั อยู่แล้ว ส่วนผู้ประพฤติทุจริตอธรรม ตรงกันข้าม มีกายวาจา ใจ หมกมุ่นวุน่ วาย แม้จักมีทรพั ย์ ยศ ชื่อเสียงสักเท่าใด ก็ไมช่ ว่ ยให้ ปลอดโปร่งได้ ต้องเปลอื งทรัพย์ เปลอื งสุข ระวงั ทรัพย์ ระวงั รอบ ด้าน นีเ้ ป็นความทกุ ข์ทเี่ หน็ กันอยแู่ ล้ว สว่ นในอนาคตเล่าจักเป็นอย่างไร ? อาศัยพุทธภาษิตที่แสดงว่า กลฺยาณการ ี กลฺยาณํ ผู้ทำดี ย่อมได้ดี ปาปการี จ ปาปกํ ผทู้ ำชัว่ ยอ่ มได้ชั่ว จงึ ลงสนั นิษฐาน ไดว้ ่า สจุ ริตธรรมอำนวยผลที่ดีคอื ความสขุ ทจุ รติ อธรรมอำนวยผล ทช่ี ัว่ คอื ความทุกข์ แม้ในอนาคตแนแ่ ท้ อน่งึ ในทีน่ รี้ วมผลแหง่ สุจรติ ธรรมทั้งสิน้ แสดงรวมยอดอยา่ ง เดียวว่าความสุข เพราะเหตุนี ้ สิ่งใดเป็นอุปกรณ์แห่งความสุขหรือ

9 เรียกวา่ สขุ สมบตั ิ เชน่ ความบรบิ ูรณ์ทรพั ย์ ผิวพรรณงาม อายุยนื ยศ ชอ่ื เสียง เปน็ ต้น สิง่ นนั้ ท้งั หมดเปน็ ผลแห่งสจุ รติ ธรรม จกั แสดงวธิ ีปฏิบัตสิ ุจรติ ธรรมสักคหู่ น่ึงโดยยอ่ ไว้เผ่อื ผู้ตอ้ งการ ตอ่ ไป คอื ไมพ่ ยาบาทกบั เมตตา เม่ืออารมณ์ร้ายอย่างเบาคือความหงุดหงิดไม่พอใจ แรงขึ้น เป็นความฉุนเฉียวร้ายกาจ แรงข้ึนอีกเป็นพยาบาท เหล่าน้ีอย่างใด อย่างหนึ่งเกิดขึ้น ควรทำความรู้จักตัวและพิจารณาโดยนัยว่า น้ี เทา่ กบั ทำโทษตน เผาตนโดยตรง มใิ ชท่ ำโทษหรือแผดเผาผอู้ ืน่ เลย คราวที่ตนผดิ ใจยงั เคยใหอ้ ภัยไม่ถือโทษโกรธแคน้ เหตไุ ฉนเม่ือผู้อน่ื ทำผิดใจจึงมาลงโทษแผดเผาตนเล่า ผู้อื่นท่ีตนโกรธน้ันเขามิได้ทุกข์ ร้อนไปกับเราด้วยเลย อน่ึง ควรต้ังกติกาข้อบังคับสำหรับตนว่า เม่ือเกิดอารมณ์ร้ายมีโกรธเป็นต้นขึ้น จักไม่พูด จักไม่แสดงกิริยา ของคนโกรธ หรือต้ังกติกาประการอ่ืนซ่ึงอาจจักรักษาอารมณ์ร้าย เหลา่ นนั้ ไวข้ า้ งใน มิใหอ้ อกมาเต้นอยู่ข้างนอก และพยายามดบั เสยี ดว้ ยอารมณ์เย็นชนดิ ใดชนดิ หนึ่ง ดว้ ยการพจิ ารณาใหแ้ ยบคาย มใิ ห้ ลุกกระพือสุมอกอยูไ่ ด้ เมตตา มติ ร ไมตรี สามคำน ี้ เป็นคำหนึ่งอนั เดยี วกัน เมตตาคือความรักใคร่ปรารถนาจะให้เป็นสุข มิตรคือผู้มี เมตตาปรารถนาสุขประโยชน์ต่อกัน ไมตรีคอื ความมเี มตตาปรารถนา ดตี อ่ กัน ผู้ปรารถนาจะปลูกเมตตาให้งอกงามอยู่ในจิต พึงปลูกด้วย การคิดแผ่ ในเบื้องต้นแผ่ไปโดยเจาะจงก่อนในบุคคลที่ชอบพอ มี

10 มารดาบดิ า ญาตมิ ติ ร เป็นต้น โดยนัยว่า ผู้น้นั ๆ จงเป็นผูไ้ มม่ เี วร ไมม่ ีความเบยี ดเบียน ไม่มีทกุ ข์ มสี ุขสวสั ดิ ์ รักษาตนเถดิ เมอ่ื จติ ได้รับการฝึกหัดคุ้นเคยกับเมตตาเข้าแล้ว ก็แผ่ขยายให้กว้างออกไป โดยลำดับ ดงั นี้ ในคนที่เฉย ๆ ไม่ชอบ ไม่ชัง ในคนทีไ่ มช่ อบ น้อย ในคนท่ีไม่ชอบมาก ในมนษุ ยแ์ ละดริ จั ฉานไมม่ ปี ระมาณ เมตตาจติ เม่อื คดิ แผ่กวา้ งออกไปเพยี งใด มิตรและไมตรีก็ มีความกว้างออกไปเพยี งนน้ั เมตตาไมตรจี ิตมิใช่อำนวยความสขุ ให้ เฉพาะบุคคล ย่อมให้ความสุขแก่ชนส่วนรวมตั้งแต่สองข้ึนไปด้วย คือ หมู่ชนที่มีไมตรีจิตต่อกันย่อมหมดความระแวง ไม่ต้องจ่าย ทรัพย ์ จ่ายสุขในการระวังหรือเตรียมรุกรับ มีโอกาสประกอบการ งานอันเป็นประโยชน์แก่ตนเองและหมู่เต็มที ่ มีความเจริญรุ่งเรือง และความสงบสขุ โดยสว่ นเดียว เพราะเหตุนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดาของ เราท้ังหลาย ผู้ทรงมีพระเมตตาไมตร ี มีมิตรภาพในสรรพสัตว ์ ทอดพระเนตรเห็นการณ์ไกล จึงได้ทรงประทานศาสนธรรมไว้หน่ึง ฉันทคาถา แปลความว่า บุคคลพึงประพฤติธรรมให้เป็นสุจริต ไม่พึงประพฤติธรรมให้เป็นทุจริต ผู้มีปรกติประพฤติธรรมย่อมอยู่ เปน็ สขุ ในโลกน้ีและในโลกอ่นื ดังนี ้ ในข้อว่า พึงประพฤติธรรมให้เป็นสุจริต ไม่พึงประพฤติ ธรรมให้เป็นทุจริต ในฉันทคาถานั้น คำว่า ธรรม น่าจักหมาย เอาการงานทง้ั ปวงท่ที ำทางกาย วาจา และใจ คอื การทำ การพูด การคิด ทเี่ ป็นไปอยตู่ ามปรกตนิ ี้เอง ทรงสอนใหท้ ำพูดและคดิ ให้

11 เปน็ สจุ รติ มใิ ห้เป็นทุจริต ส่วนในข้อว่า ผู้มีปรกติประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขนั้น คำวา่ ธรรม หมายความวา่ ความดี ดังคำว่ามีธรรมอย่ใู นใจ ดงั ที่ เขา้ ใจกันอยูท่ ่วั ไป ผู้ประพฤตกิ ายวาจาให้เป็นสุจริต ไม่ประพฤติให้ เป็นทุจริต ทั้งประพฤติธรรมคือมีธรรมอยู่ในใจ ย่อมอยู่เป็นสุขใน โลกน้ีและในโลกอื่นคือในโลกอนาคต อันจักค่อยเล่ือนมาเป็นโลก ปัจจุบนั แกท่ ุก ๆ คน ในเวลาไม่ชา้ ความสุขย่อมเกิดจากเหตุภายในคือสุจริตธรรมด้วยประการ ฉะน้ี เพราะฉะนนั้ ผูป้ รารถนาสขุ เมอ่ื จับตวั เหตกุ ารณ์แห่งความ สุขและความทุกข์ได้ฉะนี้แล้ว ควรเว้นทุจริตอธรรมอันเป็นเหตุของ ความทุกข ์ ควรประพฤติสุจริตธรรมอันเป็นเหตุของความสุข ถ้า ประพฤตดิ ังนี ้ ช่อื ว่าได้กอ่ เหตกุ ารณข์ องความสขุ สมบตั ิทงั้ ปวงไว้แล้ว น้ีเป็นความชอบย่ิงของตนเอง ถ้ากลับประพฤติทุจริตอธรรม เว้น สุจริตธรรมเสียย่อมช่ือว่าได้ก่อเหตุการณ์แห่งความทุกข์พิบัติท้ังปวง ไว้แล้ว นเ้ี ปน็ ความผิดของตนเอง อนึ่ง ถ้ามีปัญหาในชีวิตปัจจุบันของผู้ประพฤติสุจริตธรรม หรอื ทจุ รติ อธรรมเกิดข้นึ พึงทราบวา่ ในคราวทส่ี ุจรติ ธรรมทีไ่ ดท้ ำไว้ แล้วกำลังให้ผลอยู่ ผู้ประพฤติทุจริตอธรรมย่อมพร่ังพร้อมด้วยสุข สมบัติและความสดช่ืนร่าเริง อาจสำคัญทุจริตอธรรมดุจน้ำหวาน และอาจเย้ยหยันผู้ประพฤติสุจริตธรรมได้ แต่ในกาลท่ีทุจริตอธรรม ของตนให้ผล ก็จักต้องประจวบทุกข์พิบัติซบเซาเศร้าหมองดุจต้นไม้

12 ในฤดูแล้ง อนึง่ ในคราวท่ีทุจริตอธรรมที่ได้ทำไว้แลว้ กำลังให้ผลอย่ ู ผู้ ประพฤติสุจริตธรรมก็ยังต้องประสบทุกข์พิบัติซบเซาอับเฉาอยู่ก่อน แต่ในกาลท่ีสุจริตธรรมของตนให้ผล ย่อมเกิดสุขสมบัติอย่างน่า พิศวง ดุจต้นไม้ในฤดูฝน แมส้ ุจริตธรรมจักยงั ไมใ่ หผ้ ล โดยนยั ที่ กล่าวน้ ี กาย วาจา และใจของตนก็ย่อมปลอดโปร่งเป็นสุขสงบ เปน็ ผลทีม่ ีประจำทกุ ทวิ าราตรกี าล

สำคญั ท่ีใจ “ธรรรมท้ังหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จ แล้วด้วยใจ ถา้ บคุ คลมีใจรา้ ยแล้ว จะพูดหรอื จะทำทกุ ข์ย่อมติดตาม ผู้น้ันไปเพราะเหตุน้ัน เหมือนอย่างล้อไปตามรอยเท้าโคท่ีลากเกวียน ไปฉะน้นั ” น้ีเปน็ คำแปลพระพทุ ธภาษิตในพระธรรมบทคาถาต้น กบั อีกบทหนึ่งในลำดับต่อไปว่า “ธรรมท้ังหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจ ประเสริฐสุด สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว จะพูด หรือทำ สขุ ยอ่ มตดิ ตามผูน้ ัน้ ไปเพราะเหตนุ ้ัน เหมอื นอยา่ งเงาไมล่ ะ ตัวฉะนนั้ ” บุคคลผู้มีใจร้ายคือบุคคลผู้มากด้วยกิเลส บุคคลผู้มีใจ ผ่องใสคือบุคคลผู้ไกลกิเลสหรือมีกิเลสเบาบาง พระพุทธภาษิตข้าง ต้นมีความหมายง่าย ๆ ว่า บุคคลผู้มากด้วยกิเลสคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง จะคิดจะพดู จะทำอะไรยอ่ มเปน็ เหตใุ หต้ นเอง เปน็ ทกุ ข ์ สว่ นบคุ คลผไู้ กลกิเลสหรอื มกี ิเลสบางเบา คือ ไม่มีความ

14 โลภ ความโกรธ ความหลง หรอื มีเพียงบางเบา จะคดิ จะพดู จะทำ อะไร ยอ่ มเปน็ เหตุให้ตนเองเปน็ สขุ ดังนี้ย่อมแสดงว่า ใจสำคัญที่สุด ความสุขความทุกข์ของ ทุกคนเกดิ จากใจ ใจดที ำใหเ้ กดิ สุข ใจไมด่ ีทำให้เกดิ ทกุ ข ์ ความสุข ความทุกข์ของทุกคนไม่ได้เกิดจากภายนอก คือไม่ได้เกิดจากบุคคล อน่ื ไม่ได้เกิดจากเรื่องภายนอก คอื ไม่ได้เกดิ จากเหตกุ ารณท์ ั้งหลาย อยา่ งไรกต็ าม สามัญชนมกั จะเขา้ ใจว่าความสขุ ความทุกข์ของ ตนเกดิ จากภายนอก เกดิ เพราะบุคคลอื่นบา้ ง เกิดเพราะเหตุการณ์ ทัง้ หลายบ้าง โดยเฉพาะความทุกข ์ สามัญชนมกั จะหลงเข้าใจผดิ วา่ เกิดขึ้นแก่ตนเพราะผู้อ่ืนเป็นเหตุทั้งสิ้น ไม่ใช่เพราะใจตนเป็นเหตุ สำคญั เม่ือไม่รู้เหตุที่แท้จริงของความทุกข์จึงแก้ความทุกข์ไม่ได ้ เพราะการแก้โรคทุกชนิดต้องแก้ท่ีเหตุ คือ แก้ให้ถูกตรงเหตุจึงจะ แกไ้ ด้ โรคจงึ จะหาย เช่น ผ้ทู ่จี ับไข ้ มีอาการหนาวส่ัน คดิ ว่าเหตุ ของอาการหนาวสั่นนั้นเกิดจากแรงลมจึงเข้าห้องปิดประตูหน้าต่าง หมด มไิ ด้ใช้ยาแกไ้ ข ้ อาการหนาวสั่นกจ็ ะหายไมไ่ ด้ ตอ่ เม่ือใดรูว้ ่า อาการหนาวส่ันนั้นเกิดจากความไข ้ ใช้ยาแก้ไข้แก้ให้ถูกกับโรค เรยี กวา่ แก้ใหถ้ ูกท่ีเหต ุ จึงจะหาย แต่ไหนแต่ไรมาจนกระทั่งทุกวันน้ี ความทุกข์ของบุคคลผู้มี ใจร้ายมีอยู่มากมาย และความสุขของบุคคลผมู้ ีใจผ่องใสกม็ ีอยู่ พิจารณาพระพุทธภาษิตข้างต้นที่ว่า ถ้าบุคคลมีใจร้ายแล้ว จะพูดหรือจะทำ ทุกข์ย่อมติดตามเขาไปเหมือนล้อตามรอยเท้าโคที่

15 ลากเกวยี นไป ถ้าบุคคลมีใจผอ่ งใสแล้ว จะพูดหรือจะทำ สขุ ย่อม ติดตามเขาไปเหมือนอย่างเงาตามตัวย่อมจะสามารถรู้จักตัวเองได้ตาม ความเป็นจรงิ คือ รจู้ ักว่าตนเป็นผมู้ ีใจร้ายหรือมีใจผอ่ งใส ถ้าพดู ไปแล้ว ทำไปแลว้ หรือเพยี งคดิ แลว้ เกิดความทุกข ์ กร็ จู้ กั ตนเอง ได้ว่าเป็นผู้มีใจร้าย ถ้าพูดไปแล้ว ทำไปแล้ว หรือเพียงคิดแล้ว เกดิ ความสุขก็รูจ้ กั ตนเองไดว้ า่ เปน็ ผู้มีใจผ่องใส แม้ไม่ปรารถนาความทุกข์ แต่ปรารถนาความสุข ก็ต้อง พยายามอบรมตนเองให้พ้นจากความเป็นผู้มีใจร้ายกลายมาเป็นผู้มี ใจผอ่ งใส หรือใจดนี ัน่ เอง ผู้ใดมีความโลภในทรัพย์สิ่งของของใครก็ตาม มีความโกรธ แค้นขุ่นเคืองอาฆาตพยาบาทในใครก็ตาม มีความหลงผิดในเรื่อง หน่ึงเร่ืองใดก็ตาม ผู้น้ันจักเป็นผู้ได้รับทุกข์ด้วยตนเอง อย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได ้ ผู้อ่ืนที่ต้องสูญเสียทรัพย์ส่ิงของเพราะความโลภของ ผู้นั้นก็ตาม ต้องถูกโกรธแค้นอาฆาตพยาบาทปองร้ายเพราะผู้น้ัน ก็ตาม หรือต้องได้รับความหลงผิดของผู้น้ันก็ตาม ยังพอสามารถ หลีกเลยี่ งความทกุ ข์ทผี่ นู้ ้นั พยายามก่อให้ได้บา้ ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า จิตท่ีฝึกแล้วนำความสุข มาให ้ การฝึกจติ จงึ เป็นการด ี ปรกตินนั้ จติ เปน็ สิ่งทข่ี ม่ ยาก แตก่ ็ข่ม ได้ เบา ไว อ่อนไหวไปตามอารมณต์ ่าง ๆ ง่าย แตด่ ว้ ยการขม่ การ ฝกึ กส็ ามารถทำให้หนักแน่นมน่ั คงสมำ่ เสมอได ้ และแม้มีปรกตติ กไป ตามใคร ่ คือยนิ ดีพอใจในสง่ิ ทีน่ ่าใครน่ ่าปรารถนาพอใจ แตด่ ว้ ยการ ข่มการฝึกก็สามารถทำให้ละความยินดีพอใจน้ันได้ เมื่อจิตได้รับการ

16 ข่มการฝึกแล้วให้ไม่อ่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามอารมณ์ต่าง ๆ โดย ง่าย และให้ละความยินดีพอใจในส่ิงที่น่าใคร่น่าปรารถนาพอใจได ้ จิตก็จะเป็นจิตที่เป็นสุข และน้ีแลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าจิต ท่ฝี กึ แล้วนำความสขุ มาให ้ ท่ีกล่าวว่า จิตไว หรือเบา หรืออ่อนไหว หมายถึงจิต เปลี่ยนแปลงง่าย เกิดดับเร็ว เดี๋ยวไปอยู่กับอารมณ์ทางตาเช่นรูป เด๋ียวไปอยู่กับอารมณ์ทางหูเช่นเสียง เด๋ียวไปอยู่กับอารมณ์ทางจมูก เช่นกลิน่ เปน็ ต้นว่า เด๋ียวเหน็ รปู ปรุงวา่ สวยหรือไมส่ วย ชอบใจ หรือไม่ชอบใจ เดี๋ยวไปได้ยินเสียง ปรุงว่าไพเราะหรือไม่ไพเราะ ชอบใจหรือไม่ชอบใจ เดี๋ยวไปได้กล่ิน ปรุงว่าหอมหรือไม่หอม ชอบใจหรือไม่ชอบใจ จิตที่ไปอยู่กับอารมณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว เป็นต้น เปน็ ไปอยา่ งรวดเร็ว วอ่ งไว จนปรกตสิ ามญั ชนยากจะจับ จะตามจิตของตนให้ทันได้ หรือเรียกว่าสามัญชนตามไม่ทันรู้อาการ แห่งจติ ของตน เพราะความเบา ไว ดงั กลา่ วแลว้ อย่างไรก็ตาม ด้วยการฝึกโดยอาศัยสติตามรู้อาการของจิต ก็จะสามารถข่มจิตไว้ได้ให้หนักแน่นมั่นคง ไม่เบา ไม่ไว ไม่รับ อารมณต์ า่ ง ๆ โดยงา่ ย ทก่ี ลา่ วว่าจิตมีปรกตติ กไปตามใคร ่ หมายถึงจิตของสามญั ชน มักจะหมกมุ่นอยู่ในกามคุณารมณ์คืออารมณ์อันเป็นท่ีน่าใคร่น่า ปรารถนาพอใจทั้งปวง จนยากท่ีจะถอนเสียได้ แต่อย่างไรก็ตาม การฝึกจิตโดยอาศัยสติและปัญญาประกอบกันสม่ำเสมอ ก็จะ สามารถทำให้จิตละอารมณ์อนั เป็นทีน่ า่ ใคร่น่าปรารถนาพอใจได ้

17 อนั สติและปญั ญาเป็นสิ่งสำคัญท่จี ำเป็นในการขม่ จติ ฝกึ จติ ปราศจากสติและปัญญาแล้วการข่มจิตจะไม่เกิดผล จิตนั้น ขม่ ยาก พระพุทธองคก์ ็ทรงกลา่ วไวแ้ ลว้ จติ ทขี่ ่มยากจึงน่าจะเปรียบ ได้กับคนด้ือเกเรซ่ึงเคารพเหตุผล เพราะคนด้ือเกเรซึ่งเคารพเหตุผล นั้นเป็นคนที่อาจเอาชนะให้หายด้ือหายเกเรได ้ ถ้าสามารถหาเหตุผล มาทำให้ยอมจำนนให้ยอมเช่ือว่าความด้ือความเกเรท้ังหลายของเขา นนั้ ไม่ดอี ยา่ งไร จติ ทขี่ ม่ ยากก็เช่นกัน แม้อบรมสติปัญญาใหเ้ กดิ ขน้ึ เพียงพอจนสามารถรู้ผิดชอบช่ัวดีอะไรควรอะไรไม่ควรได้แล้ว จิตก็ จะละสง่ิ ทผี่ ิดทช่ี ว่ั ทไ่ี มค่ วรได ้ เรยี กว่าสตแิ ละปญั ญาสามารถข่มจิตไว้ ได้ไม่ให้กวัดแกว่งดิ้นรนทะยานอยากไปในสิ่งท่ีน่าใคร่น่าปรารถนา พอใจทง้ั หลาย โดยไม่คำนงึ ถึงความดีไมด่ ี ควรไม่ควรเสียเลย จิตท่ีข่มได้แล้ว หยุดกวัดแกว่งวุ่นวายแล้ว หยุดตกอยู่ใต้ อำนาจความปรารถนาพอใจแล้ว เป็นจติ ท่ีนำสขุ มาใหจ้ รงิ ๆ ลองเปรียบเทียบดูก็จะเข้าใจพอสมควร ผทู้ ่ีปรกติวนุ่ วาย ไป นน่ั มานอี่ ย่ตู ลอดเวลาไม่หยุดหย่อน จะเปน็ สุขไดอ้ ย่างไรเพราะความ ยุ่งความเหน็ดเหน่ือย จิตที่เบา ไว ก็เช่นกัน ย่อมเหน็ดเหนื่อย ย่งุ ยากหาความสขุ ไมไ่ ด ้ สว่ นจิตท่ไี ม่ตกอย่ใู ต้อำนาจความยินดพี อใจ รกั ใคร่ในส่งิ ท่นี ่าใครน่ ่าปรารถนาพอใจ เหมือนผเู้ ปน็ อิสระ มเี สรภี าพ ไม่ถูกจองจำด้วยเครื่องพันธนาการคือความติดอยู่ในอารมณ์ที่น่าใคร่ นา่ ปรารถนาพอใจ ยอ่ มเปน็ สุข

ทำอยา่ งไรกับอารมณค์ า้ ง คำว่า “อารมณ์ค้าง” น้ีมักจะพูดเข้าใจกันในตัวอย่างเช่น บางคนเม่ือไปถึงท่ีทำงานแสดงอาการฉุนเฉียวอย่างผิดปรกติในเรื่องที่ ไม่น่าจะฉุนเฉยี ว มกั จะถูกหาว่ามอี ารมณค์ า้ งมา โดยจะค้างมาจาก ไหนก็สุดแต่ใคร ๆ จะวิจารณ์กันไป เพราะถ้าใครแสดงอาการ อารมณค์ า้ งดังน้ ี ถา้ เป็นเพอ่ื นกนั ก็อาจจะวิจารณเ์ อาตอ่ หน้าทนั ที ถา้ ไม่ใช่เพื่อนสนิทกัน หรือเป็นผู้น้อยกว่า ไม่กล้าจะวิจารณ์ต่อหน้าก็ คงจะวิจารณ์กันลับหลัง แต่ทำไมจึงจะต้องแสดงอารมณ์ค้างให้คน อ่ืนพากนั วิจารณ์ จะวิจารณ์เรอื่ งนก้ี นั เสียก่อนมดิ ีกวา่ หรอื เพอื่ ทจี่ ะ ได้ป้องกันแก้ไขทางจิตของตนเอง ไม่ให้ไปแสดงความพิการแห่งจิต ดังกลา่ วให้ใครเขาเห็น ที่กล่าวในท่ีน้ีว่า ความพิการแห่งจิต อาจเป็นคำท่ีแรงไปใน บางลักษณะของอารมณค์ า้ งท่จี ะกล่าวถึงต่อไป แตไ่ ม่แรงตามตวั อยา่ ง ข้างต้นอันเป็นความหมายที่ใช้และเข้าใจกันท่ัวไป เพราะเป็นอาการ

19 ของจิตท่ีผิดปรกติจึงต้องเป็นความพิการของจิตแน่ ส่วนท่ีจะน้อย หรอื มากนนั้ เปน็ อกี เร่อื งหน่งึ ในช้นั ตน้ นนี้ ่าจะวจิ ารณ์ถ้อยคำนก้ี ่อน คำว่า “อารมณค์ า้ ง” ประกอบข้ึนด้วยคำสองคำ คืออารมณ ์ ได้แก ่ เรอ่ื งในใจ กับ คา้ ง ได้แก ่ ทค่ี ั่งค้างกลมุ้ กลัดอดั อนั้ ใจอยู่ จะระงับก็ไม่ได้ จะแสดงออกไปในที่หรือในบุคคลท่ีเป็นตัวเหตุก่อ อารมณ์นั้นขึ้นก็ไม่ได ้ ไม่สะดวก จึงมักจะไปแสดงออกผิดที่ผิด บุคคล แต่เม่ือให้ความหมายของอารมณ์ว่าเรื่องในใจ และอารมณ์ ค้างก็คือเรื่องในใจที่คั่งค้างอยู่ ก็น่ามีความหมายที่ใช้ได้เป็นกลาง ๆ คือ มิใช่เร่ืองยินร้ายหรือเรื่องที่ทำให้เศร้าหมองร้อนรนเท่านั้น เป็น เร่ืองยินดีพอใจที่ทำให้เบิกบานก็ได้ ฉะน้ัน จะได้กล่าวในทางที่ เป็นกลาง ๆ ท่วั ไปกอ่ น อารมณ์ค้างท่ีแรง มักจะรู้ได้ทันทีที่รู้ตัวต่ืนในตอนเช้า คือ ทำใหใ้ จเบกิ บานผิดปรกติ หรอื เศร้าหมองร้อนรนผิดปรกติ แต่ถ้าไม่ตั้งใจดูให้รู้ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้นจะไม่รู้ตั้งใจดูแล้ว จะรู้ จะพบเหตทุ ที่ ำใหเ้ บิกบานหรือเศรา้ หมองผดิ ปรกตเิ ชน่ นั้น เช่น เบิกบานเพราะเมื่อวันวานมีผู้มาบอกว่าได้ยินคนน้ันคนน้ีพูดถึงอย่าง นยิ มชมเชย เมอื่ ได้ฟงั เลา่ ใจก็พองบานแล้ว วันวานทัง้ วนั เบกิ บาน ใจเพราะความปลื้ม จนกระทั่งตกกลางคืนหลับไป ความคิดสงบ ความปลาบปล้ืมเบิกบานก็สงบไปด้วย แต่พอต่ืนก็กลับเกิดขึ้นมา ใหมท่ นั ที จติ ใจเบกิ บานผิดปรกต ิ นี้คอื อารมณค์ า้ งมาจากวนั วานท่ี คุ้นเคยพอสมควรแล้ว เพราะได้รับอารมณ์มาแล้วหลายชั่วโมงไม่ ตื่นเต้นจนเกินไปแล้ว พอท่ีจะสามารถสงบใจพิจารณาได้แล้ว ว่า

20 ทำไมคำนิยมชมเชยจึงเกิดข้ึน และนึกถึงตัวเองว่าได้ทำอะไรสมควร แก่คำสรรเสริญนั้นหรือไม ่ ทำอะไรนึกให้ได้เพียงอย่างสองอย่างที่ สมควรจะได้รับคำสรรเสริญน้ันก็พอแล้ว แต่ถ้านึกให้ได้ทั้งหมดก็ดี แล้วก็ให้ทำความเขา้ ใจกบั ตนเองว่า เพราะเราทำเหตดุ ี ผลท่เี กดิ จาก เหตจุ งึ ดีด้วย ปรกตินั้นผู้ไม่ได้ทำความดีแม้จะได้รับคำสรรเสริญใจของเขาก็ จักไม่เบิกบานปลาบปลื้มเหมือนใจของผู้ท่ีทำความดีอันควรแก่คำ สรรเสรญิ ผูไ้ ม่ไดท้ ำความดไี ดร้ ับคำสรรเสรญิ อาจจะดีใจชอบใจ แต่ ไม่เบิกบานเป็นสุข ไม่เหมือนกับผู้ทำความดี ความเบิกบานนี้เม่ือ เกิดขนึ้ แล้ว พิจารณาให้ดี ใหจ้ บั ใจในเหตุ จะเปน็ กำลังใจใหท้ ำดตี อ่ ไปยงิ่ ๆ ข้นึ เพราะจักม่นั ใจว่าผลของการทำดีมจี รงิ เป็นผลดีที่ให้ ความเบิกบานใจจริง แมจ้ ะไมม่ ผี ู้สรรเสรญิ หากไดท้ ำความดีไวแ้ ล้ว นึกทบทวนดูแล้ว ผู้ทำความดีก็อาจจะเบิกบานได้ด้วยความรู้ตัวของ ตัวเอง ตรงกันข้ามกับเหตุที่ทำให้เบิกบาน คือเหตุที่ทำให้เศร้าหมอง เช่น เศร้าหมองเพราะเมื่อวันวานมีผู้บอกว่าคนน้ันคนนี้นินทาว่าร้าย อย่างน้ันอย่างน้ี เมื่อได้ฟังเล่าก็ใจร้อนผ่าวแล้ว วันวานท้ังวันก็ เร่าร้อนหงุดหงิดเพราะความไม่ชอบใจจนกระท่ังตกกลางคืนหลับไป ความคิดสงบ ความร้อนของใจก็สงบไปด้วย แต่พอต่ืนก็กลับเกิด ขนึ้ ใหม่ทนั ท ี จิตใจเร่ารอ้ นผิดปรกต ิ นค้ี อื อารมณ์คา้ งมาจากวนั วาน ทค่ี วรตอ้ งพจิ ารณาว่าทำไมคำนินทาวา่ ร้ายเชน่ นั้นจึงเกดิ ข้นึ นกึ ถงึ ตัว เองว่าได้ทำอะไรที่ทำให้เกิดคำนินทาว่าร้ายน้ัน ๆ นึกอย่างไม่หลอก

21 ตัวเอง อย่างเปิดเผยจรงิ ใจตอ่ ตัวเอง กน็ า่ จะได้พบเหตุมากบา้ งนอ้ ย บ้างหนกั บ้างเบาบา้ ง ให้ยอมทำความเขา้ ใจกับตนเองวา่ เพราะเหตนุ ้นั จึงทำให้เกดิ การนนิ ทาวา่ ร้าย ทอี่ าจจะแรงไปกวา่ ความจริง ผิดพลาด ไปบ้างจากความจริง แตก่ ็มใิ ช่วา่ ไมม่ ีมลู เสียเลย มลู เหตมุ ี และเกดิ จากตัวเรา อย่าพิจารณาออกไปนอกตวั เรา พิจารณาเขา้ มาในตวั เรา เทา่ นั้นว่า ได้ทำเหตไุ วอ้ ยา่ งไรจึงทำใหเ้ กิดการนินทาว่ารา้ ย ทำให้เปน็ ทุกข์ ทำให้ไม่ชอบใจ ถ้าไม่คิดออกไปตำหนิผู้กล่าวคำนินทาว่าร้าย พยายามตัดผู้น้ันออกเสียจากความคิดพิจารณาแต่เราว่าทำเหตุควร แก่ผลเช่นน้ันจริง ยอมรับว่าผลไม่ได้เกิดโดยไม่มีเหตุ ผลเกิดจาก เหตุ เหตดุ ีผลก็ดี เหตุไม่ดีผลกไ็ มด่ ี การประมาทแมเ้ พียงเล็กนอ้ ย แลว้ ทำเหตุไม่ดีก็จกั ต้องไดร้ บั ผลไมด่ ี สขุ ทุกข์ ผลดีผลไม่ด ี เกดิ จากตวั เองทงั้ สน้ิ ทำดีก็มีผลดี มีความสุข ทำไม่ดีก็มีผลไม่ดี มีความทุกข ์ ต้องการผลอย่างไหน ตัวเองเลือกได ้ ทำได้ ผลกับเหตุจกั ตอ้ งตรง กันเสมอ ไมม่ ที ่ีไม่ตรงกัน ผลดีตอ้ งเกิดจากเหตุดี ผลดีจกั ไมเ่ กิด จากเหตไุ มด่ ี ผลไมด่ ตี อ้ งเกดิ จากเหตไุ มด่ ี ผลไมด่ จี กั ไมเ่ กดิ จากเหตดุ ี นแ่ี น่นอนตายตวั ได้กล่าวถึงอารมณ์ค้างท่ีแรง ซึ่งมักจะรู้ได้ทันทีที่รู้ตัวตื่นใน ตอนเช้า คือทำให้ใจเศร้าหมองร้อนรนผิดปรกติหรือเบิกบานผิด ปรกต ิ แต่ถ้าไม่ตั้งใจดใู ห้รวู้ ่าทำไมจึงเป็นเชน่ นน้ั จะไม่ร้ ู ตง้ั ใจดูแลว้ จะร ู้ จะพบเหตทุ ่ที ำใหเ้ ศร้าหมองหรือเบกิ บานผิดปรกตเิ ชน่ นนั้ ควร สงบใจพิจารณาให้เห็นว่า ผลดีท่ีให้ความสุข ความเบิกบาน ย่อม

22 เกดิ จากเหตุดเี ท่านนั้ จกั ไม่เกิดจากเหตุไม่ดีเปน็ อนั ขาด ผลไม่ดีท่ใี ห้ ความทุกข ์ ความเศร้าหมอง ย่อมเกิดจากเหตุไม่ดีเท่านั้น จักไม่ เกิดจากเหตุดีเป็นอันขาด ถ้าพิจารณาไปเห็นว่าผลดีเกิดจากเหตุไม่ดี หรือผลไม่ดีเกิดจากเหตุด ี ทำดีไม่ได้ด ี หรือทำไม่ดีได้ดี ให้ พยายามมีสติรู้ว่าตนกำลังเข้าใจผิดอย่างยิ่ง แล้วพิจารณาใหม ่ จน ได้ความเข้าใจถูก แม้เพียงสมควร ว่าทำดีต้องได้ดีทำช่ัวต้องได้ชั่ว ใครต้องการผลอยา่ งไหน ดีชัว่ สขุ ทุกข ์ ตัวเองเลือกได้ ทำได้ ทุกเช้าก่อนจะเริ่มภารกิจประจำวัน ควรจะย้ำเตือนตัวเองให้ หนักแน่นว่าต้องการผลอย่างไหน ต้องการผลดีเป็นความสุขก็ต้อง ทำความดี ต้องมีสติม่ันท่ีสุดเท่าท่ีจะมั่นได้เพ่ือทำความดีให้ได้ตลอด วนั นัน้ เพ่อื จะได้รับผลดีเป็นความสุขดงั ปรารถนา อารมณ์ค้างที่แรงอีกอย่างหนึ่งให้ผลเป็นความไม่สงบสุขของ จิตใจ ซึ่งเม่ือตั้งใจดูแล้วจะรู ้ จะพบเหตุว่าเนื่องมาจากความโลภ เช่น เม่ือวันก่อนมีผู้นำล็อตเตอร่ีมาเสนอขายให้ถึงที่ แต่ดู ๆ เลข แล้วไม่ชอบใจ ไม่คิดว่าจะออกเลขน้ัน จึงไม่ยอมซื้อ ครั้นมาเม่ือ วานล็อตเตอร่ีออกเลขท้ายที่จำได้ว่าตรงกับใบที่ไม่ยอมซ้ือไว้เม่ือวัน ก่อน ความเสียดายเงินรางวัลมีมาก จนทำให้หงุดหงิดไม่เป็นสุข ท่จี รงิ ความรสู้ ึกนกี้ เ็ ช่นเดียวกับอารมณ์คา้ งทัง้ หลาย เวลาผา่ นไปนาน หน่อยก็จะกลับเป็นปรกติ แต่ไม่ควรจะปล่อยให้เป็นไปเองเช่นน้ัน ควรจะถือเอาประโยชน์จากอารมณ์ค้างของตนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะ สามารถทำได ้ “อนั จิตที่ไดร้ บั การบรหิ ารหรืออบรมให้เป็นจติ ท่ีดแี ล้วนน้ั นับ

23 ว่าเป็นจิตที่มีค่าอย่างยิ่ง ค่าของจิตเช่นนี้สูงกว่าค่าของอะไรอื่น จึง ควรสนใจบริหารใหจ้ ริงจังสมำ่ เสมอดว้ ยกนั ทุกคน ทกุ โอกาสทที่ ำได้” เช่นเมื่อเกิดอารมณ์ค้างดังกล่าวแล้วอันเนื่องมาจากไม่ถูก ล็อตเตอรี่ใบท่ีไม่ยอมซื้อ ก็ควรพิจารณาลงไปให้เห็นว่าอารมณ์ค้าง น้ันท่ีแท้เกิดจากความโลภของตนเอง ความอยากได้เงินรางวัล ล็อตเตอร่ีทำให้เกิดอารมณ์ค้างเป็นความหงุดหงิดไม่เป็นสุข ถ้าไม่ โลภอยากได้เงินรางวัลนั้นแล้วอารมณ์ค้างเช่นน้ันก็จะไม่เกิดขึ้น ความโลภในใจตัวเองจึงเป็นเหตุท่ีแท้จริงของอารมณ์ค้างดังกล่าว เป็นเหตขุ องความหงดุ หงิดไม่เปน็ สุขท่ีไมเ่ ปน็ ทป่ี รารถนาของใคร ทุกคนต้องการความสุข ไม่ต้องการความทุกข ์ เม่ือความ โลภทำใหเ้ ป็นทกุ ข์ ก็ให้พยายามกำหนดรู้ไว้ว่าความโลภไมด่ ี เป็น เหตุไม่ดีที่จะทำให้เกิดผลไม่ดีคือความทุกข ์ ไม่ต้องการทุกข์ก็ต้อง พยายามไม่โลภ ที่จรงิ แม้อารมณ์คา้ งบางเรอื่ งจะไม่แรง จนไมอ่ าจทำให้รู้ได้ ทันทีเมื่อรู้ตัวตื่นในตอนเช้า แต่หากใช้ความต้ังใจจริงพิจารณาใจ ตนเองทุกวัน ทุกคนกน็ า่ จะได้พบวา่ มีความทุกข์อันเกดิ จากความโลภ ในใจตวั เองอยู่ทุกวัน โลภอยากได้ลาภ โลภอยากได้ยศ โลภอยาก ได้สรรเสริญ โลภอยากได้สุข ซึ่งล้วนแต่ทำให้ใจไม่สงบ วุ่นวาย เดือดร้อนมากบ้างน้อยบ้างทั้งน้ัน ผู้มีเงินมากมายแล้วก็ยังทุกข์ด้วย ความต้องการเงินยิ่งข้ึนอีกได้เพราะโลภ ผู้มียศใหญ่โตแล้วก็ยังทุกข์ ด้วยความต้องการยศใหญ่ย่ิงขน้ึ อีกไดเ้ พราะโลภ ผู้มีคนเอาอกเอาใจ ยกย่องสรรเสริญมากมายแล้วก็ยังทุกข์ด้วยความต้องการให้ยิ่งข้ึนอีก

24 ได้เพราะโลภ ผู้มีความสุขล้นเหลือแล้วก็ยังทุกข์ด้วยความต้องการ สุขให้ยิ่งข้ึนอีกได้เพราะโลภ ความโลภมีอยู่ในใจผู้ใดจึงเป็นเหตุแห่ง ความทกุ ขข์ องผูน้ ้นั มีโลภมากกม็ ีทกุ ขม์ าก มโี ลภนอ้ ยกม็ ที กุ ข์น้อย ผลเปน็ ไปตามเหตทุ กุ ประการ เหตแุ รงผลกแ็ รง เชน่ เดยี วกับเหตดุ ี ผลก็ด ี เหตุช่ัวผลกช็ ว่ั และผู้ทำเหตุเท่านั้นจะเป็นผ้ไู ดเ้ สวยผล ผ้ไู ม่ ได้ทำเหตุจะเสวยผลไม่มีเลย เมื่อต้องการเสวยผลด้วยตนเอง จึง ต้องทำเหตุด้วยตนเอง เม่ือต้องการเสวยผลดีจึงต้องทำเหตุด ี ควร ตง้ั สติเตอื นตนเองไวเ้ ชน่ นี้เสมอ เม่ือไม่ต้องการเสวยทุกข์เพราะความโลภ ก็ต้องละเหตุแห่ง ทุกข์คือความโลภเสีย ละได้น้อยก็จะเสวยทุกข์มากละได้มากก็จะ เสวยทุกข์น้อย นี้เป็นความจริงที่ผู้ฝึกฝนตนเองจะได้ประจักษ์ด้วย ตนเองเป็นระยะ ๆ ไปถ้ามีความพยายามไม่ย่อหย่อน เพราะความ พยายามสม่ำเสมอจักนำให้บรรลุผลสำเร็จถึงจุดหมายปลายทางได้ทุก กรณี ในอิทธิบาททางไปส่คู วามสำเร็จ พระสัมมาสัมพุทธเจา้ จึงทรง บัญญัติให้มีวิริยะความเพียรรวมอยู่ด้วย ผู้ประสงค์ความสำเร็จใน การฝึกฝนตนเองเพื่อทำจิตให้มีค่าอย่างยิ่ง จึงต้องมีความเพียรไม่ ว่างเวน้ จติ นนั้ ดกี ด็ เี ปน็ ทสี่ ดุ ชวั่ กช็ วั่ เปน็ ทสี่ ดุ ไมม่ สี งิ่ ใดเปรยี บเสมอ ทงั้ ทดี่ แี ละทช่ี ่วั จึงควรเหน็ ความสำคัญของจติ และมมี านะพยายามอบรมจิต ของตนให้เป็นจิตที่ดีท่ีสุดด้วยกันทุกคน ผลที่ได้รับจะไม่เป็นอื่น นอกจากความสขุ อยา่ งทีส่ ุดของตนเอง

25 ในการพิจารณาอารมณ์ค้างในจิต อย่างไม่หลอกตัวเอง อย่างเปิดเผยจริงใจต่อตัวเอง อาจจะพบเหตุที่เนื่องมาจากความโลภ อีกเหตุหนึ่ง เช่น เช้าวันนี้ต่ืนข้ึนด้วยอารมณ์หงุดหงิดขุ่นมัวผิด ปรกติ พยายามทำสตดิ ใู จตนเองว่าทำไมจงึ เป็นเชน่ น้ัน ก็ได้พบเหตุ ว่าเน่ืองมาจากเมื่อวันวานมารดามีเพื่อนผู้ใหญ่คนหนึ่งมาชักชวนให้ ร่วมทำบุญ และท่านก็ได้ช่ืนชมยินดีบริจาคให้ไปเป็นจำนวนมาก จำนวนท่ีท่านบริจาคน้ันหากสะสมไว้ให้ลูกหลานก็จะดีกว่าทำบุญเสีย ใหค้ นอื่นไปเสยี น่าเสยี ดาย ถงึ จะยังมอี กี แตท่ ำให้จำนวนลดน้อยลง โดยไมจ่ ำเปน็ ต่อว่าท่าน อธบิ ายให้ทา่ นฟงั ทา่ นกไ็ ม่สนใจ ซ้ำยงั เอะอะว่าดีไม่ดีท่านอาจจะทำพินัยกรรมยกทรัพย์สมบัติให้บำรุงการ ศึกษาหรือการกุศลสงเคราะห์ต่าง ๆ เสียอีกก็ได้ ลูกเต้าจะให้ก็ เพยี งพอมีพอใช ้ มีสติปัญญากันแลว้ หากนั เองต่อไปกแ็ ล้วกนั เพยี ง ได้ยินว่าท่านมีความคิดจะแบ่งสมบัติส่วนใหญ่ให้การกุศลอีก ความ หวงแหนเสียดายก็ปรากฏข้ึนในใจอย่างรุนแรง ทำให้หงุดหงิดขุ่นมัว อย่างบอกไมถ่ ูก ท่านทำบุญไปไมร่ ้เู ท่าไหร่แล้ว ทำให้เงินทจ่ี ะตกเป็น ของลูกลดจำนวนลงไปอยา่ งน่าเสียดายทสี่ ดุ ถึงจะยงั มอี ีกมาก แต่ ถา้ ไมท่ ำบญุ มาก ๆ จำนวนท่มี ีก็จะเพมิ่ ข้ึน ไม่ลดน้อยลง แลว้ ถา้ หากทา่ นเกิดแบ่งครงึ่ ทำบญุ ไปจริง ๆ จะยงิ่ น่าเสียดายใหญ ่ นี้คือความโลภอันเป็นเหตุแห่งความทุกข ์ เพราะความโลภ เป็นเหตุไม่ด ี ผลที่เกิดจากความโลภจึงเป็นผลไม่ดีด้วย ถ้าไม่มี ความโลภอยากได้เงินท่ีท่านสละทำบุญไป ใจก็จะไม่เป็นทุกข์ใน เร่ืองนี้ ดูแต่ท่านผู้เป็นเจ้าของเงินแท้ ๆ ท่านยังไม่เป็นทุกข์ ท่าน

26 ยนิ ดมี สี ขุ พรอ้ มจะสละได้อีกเปน็ จำนวนยง่ิ ข้ึน เพราะอะไร เพราะ ท่านไม่มีความโลภอยู่ในใจ ความโลภจึงไม่เป็นเหตุแห่งความทุกข์ ของท่าน ดูความแช่มชื่นเป็นสุขของท่านผู้มีความไม่โลภอันเป็นเหตุด ี แล้วดูความหงุดหงิดเศร้าหมองขุ่นมัวของตนเองผู้มีความโลภอันเป็น เหตุไม่ดี ดูให้เข้าใจถูกต้องถ่องแท้สมกับท่ีเป็นผู้นับถือพระพุทธ ศาสนา ว่าความแช่มช่ืนเป็นสุขเกิดจากไม่โลภ ความหงุดหงิดเป็น ทุกข์เกิดจากโลภ หากคิดออกไปนอกลู่นอกทางว่าความแช่มช่ืนเป็น สุขของท่านเกิดจากความหลงผิดว่าการกระทำของท่านนั้นถูกต้อง สมควร ก็ให้พยายามมีสติรู้ว่าตนกำลังเข้าใจผิดอย่างยิ่ง แล้ว พิจารณาใหม ่ จนได้ความเข้าใจถูกแม้เพียงสมควร ว่าความโลภ เป็นเหตุไม่ด ี มีโทษจริง ความไม่โลภเป็นเหตุดี มีคุณจริง แล้ว พยายามยำ้ ถามตนเองไว้ใหเ้ สมอว่า ตอ้ งการใหโ้ ทษเกดิ แกต่ น หรอื ต้องการให้คุณเกิดแก่ตน ถ้าต้องการให้คุณเกิดแก่ตนเป็นความ แช่มชื่นเป็นสุขไม่หงุดหงิดเป็นทุกข์ ก็ต้องเพียรทำความโลภให้ลด น้อยลง อบุ ายวิธีท่ีจะทำให้ความโลภลดน้อยลงอยา่ งได้ผลก็คอื การหัด เป็นผู้ให้ แมจ้ ะเป็นเพยี งเล็ก ๆ น้อย ๆ กด็ ีกว่าไมร่ ู้จักให้เสยี เลย อยา่ งไรก็ตาม เมื่อจะให้ จะต้องมสี ติบอกตัวเองให้ชัดแจง้ วา่ ที่ให้นี้เพื่อทำความโลภอันเป็นเหตุไม่ดี ให้ลดน้อยลงมิได้ให้เพื่อหวัง ผลตอบแทนเป็นลาภยศสรรเสริญสุขอันเป็นการจะทำเหตุไม่ดีย่ิงขึ้น หาไดเ้ ป็นการทำใหล้ ดนอ้ ยลงไป

27 สำหรับผู้ดำเนินอุบายวิธีลดความโลภในใจตนด้วยการหัดเป็น ผู้ให้นี ้ นอกจากเมื่อจะให้ต้องมีสติบอกตัวเองให้ชัดแจ้งว่าให้เพื่อ ทำความโลภให้ลดน้อยลงแล้ว เมื่อให้แล้วให้มีสติพิจารณาใจตนเอง ว่า เหตุคือการให้ก่อให้เกิดผลคือความรู้สึกหรืออารมณ์ในใจตน อยา่ งไร และต้องพจิ ารณาดังกล่าวแล้วขา้ งต้น คอื พิจารณาอยา่ งไม่ หลอกตวั เอง อย่างเปดิ เผยจริงใจต่อตวั เอง แมพ้ ิจารณาเห็นอารมณ์ หงุดหงิดขุ่นมัวเกิดจากการให ้ ก็ให้รู้ว่ายังกระทำเหตุไม่สมกับผลท่ี มุ่งหมาย ยังมิได้ให้ด้วยตั้งใจจริงให้เป็นการลดความโลภ ให้เพิ่ม ความตั้งใจจริงให้ย่ิงข้ึนในการให้ครั้งต่อไปและต่อไป แล้วพิจารณา อารมณ์ตนเองอย่าได้ขาด ตราบใดยังเห็นอารมณ์หงุดหงิดขุ่นมัวเกิดจากการให้ตราบน้ัน การให้ยังมีความต้ังใจจริงท่ีจะลดความโลภไม่เพียงพอต้องเพ่ิมความ ตัง้ ใจจริงใหย้ ิง่ ข้นึ ใหห้ นกั แน่นมน่ั คงขนึ้ ในการใหค้ รง้ั ตอ่ ไป และต่อ ไป เม่ือใดพิจารณาอารมณ์ตนเองเห็นว่าปราศจากความหงุดหงิด ขุ่นมัวจากการให้แล้ว เมื่อน้ันให้รู้ว่าอุบายวิธีลดความโลภในใจตน กำลงั ได้ผลแล้ว ควรยินดแี ล้ว เพราะความโลภเป็นเหตุไม่ดี ผู้ใดมีความโลภอยู่ในใจความ โลภยอ่ มเปน็ เหตแุ ห่งความทุกข์ของผูน้ ั้น น้ีเป็นความจริง ความจริงดังกล่าวน้ีควรมีสติทำใจให้รู้อย่างซาบซึ้งและอย่าง สม่ำเสมอ จักเปน็ คุณย่ิงนัก คา่ ของจิตทีไ่ ด้รับการบรหิ ารหรืออบรม อยา่ งเตม็ ท่ีแล้วยอ่ มสงู กวา่ ค่าของอะไรทั้งสนิ้ ไมม่ คี ่าของอะไรเปรียบ ได้ท้ังส้ิน ในทางตรงกันข้ามจิตท่ีไม่ได้รับการบริหารหรืออบรมเลย

28 ย่อมไม่มีค่าเลย ความไม่มีค่าของอะไรก็เปรียบกับความไม่มีค่าของ จิตท่ไี ม่ไดร้ ับการอบรมไมไ่ ด้ท้งั ส้ิน กล่าวสน้ั ๆ วา่ จิตนัน้ ดีกด็ ีเป็น ท่ีสุด ชั่วกช็ ั่วเปน็ ทส่ี ดุ ดีก็ให้คณุ แกเ่ จา้ ของเป็นท่ีสดุ ชว่ั กใ็ หโ้ ทษแก่ เจ้าของเป็นท่ีสุด ไม่มีผู้ใดจะได้รับคุณหรือโทษของจิตเท่ากับเจ้าของ จติ เองเลย ความโลภเป็นเหตแุ หง่ ความทกุ ข์ดงั นี ้ เมื่อตั้งใจพิจารณาอย่าง มีสติจนเห็นแน่ชัดแม้พอสมควรแล้ว ว่าใจกำลังมีความทุกข์มาก เพราะความโลภมาก หรอื มีความทกุ ข์นอ้ ยเพราะความโลภน้อย ให้ มีสติเพ่งโทษของความโลภให้ชัดท่ีสุดเท่าท่ีจะทำได ้ มันเป็นโทษของ ความโลภจริง ๆ หากพิจารณาแล้วจะกลบั เห็นไปวา่ ไมไ่ ด้โลภ เปน็ ส่ิงที่ควรได้ต่างหากเพราะไม่ได้ส่ิงท่ีควรได้ต่างหากจึงเป็นทุกข์ ก็ให้ พยายามมีสติรู้ว่าตนกำลังเข้าใจผิดอย่างยิ่ง แล้วพิจารณาใหม่ จน ได้ความเขา้ ใจถูก แม้เพยี งสมควร ว่าความทุกขค์ ร้งั น้ีเกดิ จากความ โลภ มิไดเ้ กดิ จากอะไรอื่น ท่ีจริงสิ่งทีค่ วรไดข้ องทุกคนมีอย ู่ แต่แม้เปน็ สงิ่ ท่คี วรไดเ้ พยี ง ใดก็ตาม หากไมม่ ีความโลภอยากได้ กจ็ ะไม่เป็นทุกขเ์ มอื่ จะเกิดไม่ ได้ในส่ิงท่ีควรได ้ ตรงกันข้ามกับผู้มีความโลภแม้ไม่ได้ส่ิงท่ีไม่ควร ไดก้ ย็ ังเปน็ ทุกข์ อยา่ วา่ แต่จะไม่ได้สิ่งทค่ี วรไดเ้ ลย และการเป็นผู้ให้โดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นลาภยศสรรเสริญ คือทางดำเนินที่ถูกต้องไปสู่ความละความโลภในข้ันต้นสำหรับทุกคน จึงควรที่ทุกคนผู้ปรารถนาความสงบเย็นจากความไม่โลภจะหัดเป็นผู้ ให้เสียแต่บัดน้ีเป็นต้นไป เริ่มทำเหตุดีเมื่อใด จักได้รับผลดีเม่ือน้ัน แน่นอน

ถ้าไม่รจู้ ักพอ กไ็ มร่ จู้ กั สขุ เหตุไม่ดีทำให้เกิดอารมณ์ค้างท่ีเศร้าหมองร้อนรนได้ฉันใด เหตุดีก็จักทำให้เกิดอารมณ์ค้างท่ีเบิกบานแจ่มใสได้ฉันน้ัน คราวน ้ ี จะพูดถึงอารมณ์ค้างที่เกิดจากเหตุดีที่ทำให้เบิกบานแจ่มใส มีความ ไม่โลภเป็นตน้ ดงั ได้กล่าวแลว้ อารมณ์คา้ งทีแ่ รง มักจะรไู้ ด้ทันทที ่รี ตู้ วั ตืน่ ในตอนเช้า ไม่เพียงแต่อารมณ์ค้างท่ีทำให้เศร้าหมองร้อนรนเท่าน้ันที่ จะรู้ได ้ อารมณ์ค้างท่ีทำให้เบิกบานแจ่มใสก็รู้ได้เช่นกัน แต่ถ้าไม่ ตงั้ ใจดูให้รู้วา่ ทำไมจึงเปน็ เชน่ นั้นจะไม่รู้ ตอ้ งตงั้ ใจดูจึงจะร ู้ เชน่ วนั นตี้ น่ื ขน้ึ ดว้ ยอารมณเ์ บกิ บานแจม่ ใสผดิ ปรกต ิ พยายาม ทำสติดใู จตนเองวา่ ทำไมจึงเปน็ เชน่ นน้ั ก็ได้พบเหตวุ ่า เนื่องมาจาก เม่ือวนั วานข้ึนรถยนตเ์ ชา่ จะไปธรุ ะ เมอื่ ขนึ้ ไปนัง่ ไดเ้ ห็นถงุ กระดาษใบ หนงึ่ วางอยู่บนที่นงั่ ดา้ นหลังสำหรบั ผู้โดยสาร เมือ่ ลองเปิดออกดกู ็ได้ เห็นธนบัตรจำนวนหน่ึงในนั้นเป็นจำนวนไม่น้อย มองดูผู้ขับรถก็รู้ว่า

30 เขาไมร่ เู้ รอื่ งรรู้ าวดว้ ย สันนิษฐานไดว้ า่ ต้องเป็นผ้โู ดยสารก่อนหน้าน้ัน หลงลืมไว ้ ความโลภทำให้คิดว่าได้ลาภไม่รู้ตัว เกิดความยินดีท่ีจะ เก็บไปเป็นของตนเสียเงยี บ ๆ ความผิดกจ็ ะไม่มแี ละจะไมม่ ีใครรู้ สติทำใหค้ ดิ ว่าการทำเช่นนัน้ ไม่สมควร แม้จะมไิ ดเ้ ป็นการลกั ขโมยก็จริง แต่ก็เป็นการถือเอาของผู้อ่ืนโดยท่ีเจ้าของมิได้ยกให้ และเจ้าของก็น่าจะได้รับความทุกข์เพราะการหลงลืมคร้ังน้ีเป็นอันมาก สติ ความยับยั้ง ทำให้ความโลภทเี่ กิดขนึ้ กอ่ นระงบั ดับไป เมือ่ ความ โลภในเงินจำนวนนั้นดับ เงินจำนวนน้ันก็ไม่เป็นสิ่งที่ใจปรารถนา ต้องการ ความรู้เหตุผลผิดชอบชวั่ ดีและความควรไม่ควรอยา่ งไรเกิด ตามมาทันที จึงได้นำถุงเงินน้ันไปมอบท่ีสถานีตำรวจ เจ้าหน้าท่ีเท เงินออกจากถุงต่อหน้าเพื่อนับเงินมีจำนวนพันเศษ และในน้ันมี กระดาษพิมพ์จำนวนเงินไว้ด้วย มีรายชื่อละเอียดชัดเจน จึงเป็นที่ ปรากฏว่าเงินทั้งหมดเป็นเงินท่ีผู้มีใจเป็นกุศลพวกหนึ่งรวมกันบริจาค คนละมากบ้างน้อยบ้าง เพื่อนำไปมอบให้สถานการกุศลแห่งหนึ่ง และผรู้ ับมอบหน้าทีใ่ ห้นำเงนิ ไปบริจาคได้หลงลมื ในรถเชา่ ในตอนนี้เกิดความรู้สึกขึ้นในใจของตนเองวา่ ความโลภเกือบ จะทำให้ทำกรรมไม่ดีที่แรงไม่น้อย คือถือเอาของของผู้อื่นท่ีเจ้าของ มิได้ให ้ ท้ังยังเป็นของที่เจ้าของมุ่งอุทิศเป็นการกุศลแล้ว ถ้าสติเกิด ไมท่ นั ความโลภไม่ดบั ลงเสยี กอ่ น ความรู้ผิดชอบชั่วดี การควรไม่ ควรไม่เกิด ยินดีถือเอาเงินนั้นไปเป็นของตน ใช้จ่ายเพ่ือประโยชน์ ตน ผลได้กจ็ ะหาเทา่ กับผลเสียไม่ การทำเชน่ นัน้ เปน็ การทำเหตุไม่ดี แน่นอน ผลจักต้องเป็นผลไม่ดีแน่นอน ตรงกันข้ามกับผลท่ีได้รับ

31 เมื่อนำเงินไปมอบให้เจ้าหน้าที่หาเจ้าของ เพราะเป็นผลท่ีให้ความ เบิกบานสบายใจจริง ๆ เร่ิมแต่เม่ือสติเกิด ยับยั้งความโลภไว้ได้ ทำให้ความโลภดับไป ใจก็เริ่มได้รับความเย็นแล้วทันท ี แม้เมื่อมา ยอ้ นพิจารณาในภายหลังกจ็ ักเหน็ ได้ว่าเปน็ เชน่ นน้ั จรงิ ใจเรมิ่ มีความ สงบเยน็ เกดิ ข้นึ จรงิ เมอื่ สติเกิด ความโลภดบั ไม่มคี วามตอ้ งการจะ ถือเอาเงินนั้นเป็นของตน ครั้นตัดสินใจจะนำเงินไปมอบให้เจ้าหน้าท่ี จนถงึ นำไปมอบเรียบรอ้ ย ใจมคี วามเบกิ บานสบายเพมิ่ ขึน้ ทุกที ย่งิ เม่ือได้รู้ชัดว่าเป็นเงินท่ีเจ้าของทั้งหลายอุทิศเพ่ือการกุศล ใจก็ย่ิง เบิกบานสบายขึน้ อยา่ งยากจะบอกไดถ้ กู ตอ้ ง ผู้ใดก็ตาม จะเป็นผู้ฝักใฝ่ในการบุญการกุศลหรือไม่ก็ตาม ถ้าเรื่องที่ยกมาเป็นตัวอย่างข้างต้นได้เกิดกับตนเอง ใจของผู้น้ันจะ ตอ้ งเบกิ บานสบายอยา่ งยากจะบอกได้ถกู ต้องเชน่ เดยี วกนั และความ เบิกบานสบายอย่างเหลือเกินน้ันจะฝังอยู่ในใจเป็นอารมณ์ค้างได้นาน วัน นี้คือผลของการดบั ความโลภลงไดแ้ ม้ในบางคร้ังบางคราว เปน็ ผลที่ดอี ย่างแทจ้ รงิ อย่างเหน็ ไดถ้ นดั ชดั เจนประจกั ษแ์ กใ่ จตนเอง ท่จี ริง ความเบกิ บานสบายใจตนเองในตัวอยา่ งขา้ งต้นน ้ี เป็น ผลดีเพียงผิวเผินของเหตุดีคือการละความโลภได้แม้เป็นบางคร้ังบาง เวลา ผลดีอย่างลึกซึ้งยังมีอยู่ และได้เกิดข้ึนฝังลงในจิตใจทันทีท่ี ความโลภระงับดับลง ความไมโ่ ลภเกิดขน้ึ และแมผ้ ลดีเพียงผิวเผิน คือการเบิกบานสบายใจจะเลือนหายหมดส้ินไปในวันหนึ่ง แต่ผลดี อย่างลึกซ้ึงท่ีเกิดขึ้นและฝังในจิตใจแล้วจะไม่มีเวลาลบเลือนหรือลด น้อยลงเลย จะฝังแน่นเป็นพ้ืนฐานที่ดีงามของจิตใจอยู่เช่นน้ันตลอด

32 ไป ทุกภพทุกชาติละความโลภได้คร้ังหนึ่ง เกิดความยินดีเบิกบาน ขน้ึ ครัง้ หนึง่ ผลดอี ย่างลกึ ซง้ึ ก็จะเกิดขนึ้ และฝงั ลงเป็นพ้นื ฐานทีด่ ีงาม ของจิตใจครั้งหนึ่งด้วยทันทีเช่นกัน ละความโลภได้มากครั้ง เกิด ความยินดีเบิกบานขึ้นมากคร้ังเพียงใด ผลดีอย่างลึกซ้ึงก็จะเกิดข้ึน และฝังลงเป็นพ้ืนฐานที่ดีงามของจิตใจมากคร้ังเพียงน้ัน ในทาง ตรงกนั ข้าม ความโลภเกดิ ขึน้ ครั้งหนึง่ ความเศร้าหมองร้อนรนเกิด ข้ึนครั้งหนึ่ง ผลร้ายอย่างลึกซ้ึงก็จะเกิดข้ึนและฝังลงเป็นพ้ืนฐานที่ไม่ ดีของจิตใจครั้งหนึ่งด้วยเช่นกัน ความโลภเกิดขึ้นมากครั้ง ความ เศร้าหมองร้อนรนเกิดข้นึ มากครั้งเพยี งไร ผลร้ายอย่างลึกซึ้งก็จะเกิด ข้นึ และฝังลงเป็นพื้นฐานทไ่ี มด่ ขี องจติ ใจมากครง้ั เพยี งนัน้ การละความโลภและการเกิดความโลภ ทั้งสองอย่างนี้ เปน็ การทำเหต ุ ซ่งึ ต้องมผี ลแนน่ อน การละความโลภเป็นการทำเหตุ ดี ซึ่งจะต้องมีผลดีแน่นอน การเกิดความโลภเป็นการทำเหตุไม่ดี ซ่ึงจะต้องมีผลไม่ดีแน่นอน ควรมีสติพิจารณาว่าต้องการให้ใจมี พนื้ ฐานทดี่ ีงามหรอื ไม่ หากตอ้ งการ กใ็ ห้พยายามต้ังใจมัน่ ว่า แม้ ความโลภปรากฏข้ึนเม่ือใด จะมีสติละเสียเมื่อนั้น ด้วยคำนึงถึง เหตุผล นำเหตุผลข้ึนมาลบล้างจนเกิดผลสำเร็จ และเหตุผลที่จริง แท้มีอยู่ให้นำข้ึนลบล้างความโลภได้ทุกเวลาก็คือ ความโลภเป็นเหตุ ไม่ด ี ความไมโ่ ลภเป็นเหตดุ ี ต้องการผลดี ตอ้ งเพียรละความโลภ ใหล้ ดนอ้ ยลง มิใชเ่ สริมใหย้ งิ่ ขน้ึ ใจที่มีความโลภน้อยกับใจท่ีมีความโลภมาก ย่อมมีความสุข ผิดกนั ใจที่มคี วามโลภนอ้ ยเปน็ ใจทีม่ ีความสุขมาก สว่ นใจท่ีมีความ

33 โลภมากเป็นใจที่มีความสุขน้อย ไม่ควรเข้าใจผิดไปจากนี ้ ควรจะ ทำความเหน็ ในเรื่องนี้ให้ถูกต้อง ความเหน็ ถกู เปน็ ความสำคญั ยง่ิ จะ นำใหเ้ กิดการปฏบิ ตั ิถกู ได้เกิดผลดงั ความปรารถนาตอ้ งการได ้ ที่จริง ความโลภหรือไม่โลภน้ันเป็นเร่ืองของจิตใจโดยแท ้ ไม่เกี่ยวกับโอกาส ไม่เก่ียวกับกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับผู้รู้เห็นที่จะ ตำหนิติโทษ เมื่อความโลภไม่เกิดขึ้นในจิตใจเสียอย่างเดียว แม้โอกาสจะ เปิด กฎหมายจะไมล่ งโทษ ไมม่ ผี ู้รู้เหน็ ท่ีจะตำหนิตโิ ทษ กจ็ ะไมม่ ี การถือเอาของของผู้อื่นโดยท่ีเจ้าของมิได้ยกให้ หรือแม้ยกให้ก็อาจ จะไม่ปรารถนาต้องการรับไว ้ จึงเห็นได้ชัดว่าความไม่โลภเป็นเรื่อง ของจิตใจโดยแท ้ ไม่เก่ียวกับอะไรอื่น เช่นเดียวกันกับความโลภ เพราะความโลภก็เป็นเร่ืองของจิตใจโดยแท ้ เม่ือความโลภเกิดขึ้นใน ใจเสียอย่างเดียวแล้ว แม้จะยังไม่มีโอกาส แม้กฎหมายจะลงโทษ แม้มีผู้รู้เห็นท่ีจะตำหนิติโทษ ก็จะต้องมีการพยายามจนสุดความ สามารถท่ีจะถือเอาของของผู้อ่ืนโดยท่ีเจ้าของมิได้ยกให้จนได ้ น่ีเป็น อย่างแรง อย่างเบาก็ต้องมีความร้อนรนด้วยความปรารถนาอยากได้ แมจ้ ะไมม่ ที างไดจ้ ริง ๆ กต็ าม ด้วยเหตุน้ีจึงกล่าวได้ว่าใจท่ีมีความโลภน้อยกับใจท่ีมีความ โลภมากมีความสุขผิดกัน ใจท่ีมีความโลภน้อยเป็นใจที่มีความสุข มาก ใจที่มีความโลภมากเป็นใจท่ีมีความสุขน้อย ความสุขส่วนน้ี เป็นเร่ืองเฉพาะของใจที่มีโลภน้อยจริง ๆ หาได้เป็นเร่ืองของการ สามารถถือเอาของของผู้อื่นมาเป็นของตนดังปรารถนาต้องการของใจ

34 ท่ีมีโลภมากไม ่ ใชส้ ติ ใช้เหตุผล พิจารณาอารมณ์ของตนในเรอ่ื งน ี้ จะไดพ้ บความจริงว่าเปน็ ดังกลา่ ว ความโลภไม่อาจทำให้เป็นสุขได้จริง ความไม่โลภต่างหากที่ ทำให้เป็นสขุ ได้ เชน่ วนั นีต้ ่นื ขึ้นดว้ ยอารมณ์เป็นสขุ เบิกบานแจ่มใส ผิดปรกติ พยายามทำสติดูใจตนเองว่าทำไมจงึ เป็นเช่นนั้น ก็ได้พบ เหตุว่าเน่ืองมาจากเม่ือวันวานเป็นวันเกิดของตน ซ่ึงเป็นผู้มีตำแหน่ง สูง ได้ทำบุญเล้ียงพระ เลี้ยงแขก มีแขกเหรื่อท้ังที่เป็นเพื่อนฝูง พี่น้องและผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดจนคนรู้จักคุ้นเคยมาในงานเป็น จำนวนมาก เมอ่ื แขกกลบั หมดแล้ว เหลอื แตล่ ูกหลานในบา้ นกช็ ว่ ย กันเปดิ หอ่ ของขวญั ที่มผี ู้นำมามอบให ้ ทง้ั ห่อเล็กหอ่ ใหญ่มากมาย มี อยู่ห่อหน่ึงเมื่อเปิดออกทุกคนก็ต้องอุทานด้วยความประหลาดใจอย่าง ท่ีสุด ธนบัตรสีแดงเรียงซ้อนกันแน่นอยู่เต็มกล่องกระดาษสี่เหลี่ยม ไมเ่ ล็กนัก ประมาณได้ในทนั ทีวา่ เปน็ เงินจำนวนหลายหมื่น ลูกหลาน เตรยี มแย่งกนั วนุ่ วาย คนนน้ั ก็จะเอาเท่าน ้ี คนน้กี ็จะเอาเทา่ น้นั มอง ดูหน้าทุกคนทีละคนเห็นเปล่งปลั่งด้วยความตื่นเต้นยินดีผิดกว่าเมื่อ ครู่ก่อนมากมาย ก็คงจะด้วยความโลภนั่นเองทำให้คิดว่าได้ลาภ มากมายโดยไม่รู้ตัว จึงเล่าให้ฟังว่าทำไมจึงมีการส่งเงินจำนวนมาก น้ันมาให้เป็นของขวัญวันเกิด เป็นเงินสินบนจากผู้ต้องการให้ใช้ อำนาจหน้าท่ีช่วยเหลือเขาเป็นพิเศษ เขาได้เคยพูดจาขอร้องไว้ แล้วแต่ยังมิได้ให้คำตอบแต่อย่างใด ด้วยยังไม่สนิทใจว่าเป็นสิ่งท่ี สมควรทำ ทุกคนนิ่งฟังเงียบกริบ คงจะคาดหมายไปตามกันว่าจะ ตัดสินใจอย่างไร ทุกคนโตพอแล้ว ได้ยินได้ฟังเร่ืองการรับสินบน